Acc 52016

Page 20

6

ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ไม่มีที่นั่งสาหรับเด็กในรถเป็นต้น จึงทาให้เมื่อเกิดอุบัติเหตุจราจรแล้วเกิดการบาดเจ็บ รุนแรง การนารถที่หมดสภาพขาดการตรวจสภาพมาใช้บนท้องถนน เป็นต้น สาหรับในประเทศไทยอุบัติเหตุจราจรเป็นปัญหาสาธารณสุขที่คร่าชีวิตคนไทยมายาวนาน โดยเฉพาะในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาจาก 5.7 คนต่อแสนคนต่อปี เป็น 21.3 คนต่อแสนคนต่อปี นั่นคือเพิ่ม สูงขึ้นกว่า 4 เท่าตัว ยิ่งแนวโน้มของการเติบโตทางเศรษฐกิจมีการเพิ่มสูงขึ้นเท่าใด การเกิดอุบัติเหตุจราจร ยิ่งเพิ่มสูงขึ้นตามมา สถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนในช่วง ปี 2547-2550 แนวโน้มการเกิดอุบัติเหตุจราจร ในช่วงเวลาดังกล่าวมีแนวโน้มลดลงโดยจากข้อมูลสถิติการเกิดอุบัติเหตุทางถนนของสานักงานตารวจ แห่งชาติพบว่าจานวนครั้งการเกิดอุบัติเหตุลดลงจาก 124,530 ในปี 2547 เป็น 101,752 ครั้งในปี 2550 คิด เป็นร้อยละ 18.29 ในขณะที่อัตราการเกิดการบาดเจ็บและเสียชีวิตก็มีแนวโน้มลดลงเช่นเดียวกัน อัตราการ บาดเจ็บต่อแสนประชากรมีจานวนลดลงจาก 151.94 เป็น 125.37 คิดเป็นร้อยละ 17.49 และอัตราการ บาดเจ็บต่อยานพาหนะจดทะเบียนหนึ่งหมื่นคัน ลดลงจาก 4,565.59 เป็น 3,084.85 คิดเป็นร้อยละ 32.43 อัตราการเสียชีวิตต่อแสนประชากรในช่วงเวลาเดียวกันมีจานวนลดลงจากอัตรา 22.21 เป็น 19.82 คิดเป็น ร้อยละ 10.97 และอัตราการเสียชีวิตต่อยานพาหนะจดทะเบียนหนึ่งหมื่นคัน ลดลงจาก 667.45 เป็น 487.62 คิดเป็นร้อยละ 26.94 (แหล่งที่มาของข้อมูลสานักงานตารวจแห่งชาติกรมการขนส่งทางบก, สานักงานทะเบียนราษฎร์) ซึ่งชี้ให้เห็นว่าจากการให้ความสาคัญกับมาตรการด้านการลดอุบัติเหตุทางถนน ของประเทศส่งผลให้เกิดการลดลงของอุบัติเหตุทางถนนได้จริงและมีความจาเป็นจะต้องมีการดาเนินการ ต่อไปเพื่อเป้าหมายในการลดความสูญเสียชีวิตอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุจราจรทางถนน นอกจากนี้ ในการ เฝ้าระวังด้านสถิติอุบัติเหตุจราจรในประเทศไทย พบว่าอุบัติเหตุจราจรเป็นสาเหตุการตายที่สาคัญที่สุดของ ประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยทางาน ช่วงอายุ 15-45 ปี ที่เป็นกาลังหลักของประเทศ เห็นได้ชัดว่า สาเหตุการตายอันดับหนึ่งของคนกลุ่มนี้มาจากอุบัติเหตุจราจร ซึ่งนาความสูญเสียมาสู่สังคมไทยทาง เศรษฐกิจปีละ 106,994-115,932 ล้านบาท พิการสะสม 65,000 คนในปี 2545 เสียชีวิตปีละประมาณ 14,000 คน โดยมีอัตราการตายด้วยอุบัติเหตุการจราจรทางบกอยู่ในระดับสูงและค่อนข้างคงที่ สาเหตุ สาคัญจากเมาแล้วขับเพิ่มขึ้น และผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ไม่นิยมสวมหมวกนิรภัย การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ รถจักรยานยนต์ 200,000 คนต่อปี และได้รับอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตเฉลี่ยวันละ 18 คน (แผนพัฒนา แห่งชาติฉบับที่ 10,2550) จะเห็นได้ว่าการเกิดอุบัติเหตุจราจรส่วนมากเกิดจากกรณีรถจักรยานยนต์ ( ประมาณร้อยละ 70-80 ) ซึ่งใกล้เคียงกับจานวนการจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ที่เป็นสัดส่วนสูงที่สุดในการ จดทะเบียนรถทั้งหมดในประเทศ เมื่อเปรียบเทียบ การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจากการจราจรกับการบาดเจ็บ จากสถิติอุบัติเหตุอื่นๆพบว่า อุบัติเหตุจราจรเป็นสาเหตุการบาดเจ็บและเสียชีวิตสูงสุด เป็นร้อยละ 51.6 ของอุบัติเหตุทั้งหมด โดยเมื่อเปรียบเทียบการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ พบว่าอุบัติเหตุจากการจราจรมีสัดส่วน มากที่สุดถึง ร้อยละ 62.68-70.05 ของการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุ รถจักรยานยนต์เป็น พาหะที่เกิด อุบัติเหตุมากที่สุด ร้อยละ 75.67 ของการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจากการจราจรทั้งหมด โดยหากแยก พิจารณาผู้ขับขี่จักรยานยนต์ก็ยังสูงที่สุด ร้อยละ 88.62 ของผู้ขับขี่ทั้งหมดที่เกิดอุบัติเหตุและผู้โดยสาร เป็น ร้อยละ 61.95 ของผู้โดยสารทั้งหมดที่เกิดอุบัติเหตุ และกลุ่มอายุ 10-19 ปีมีแนวโน้มการเกิดอุบัติเหตุสูงขึ้น จากสถิติดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุในเมืองไทยควรให้ความสาคัญในการแก้ไขปัญหา ด้านการใช้รถจักรยานยนต์เป็นอย่างยิ่งเนื่องจากมีสถิติการเกิดอุบัติเหตุสูง นอกจากนี้ร้อยละ 88.6 เป็นการ


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.