แนวทางการดำเนินงานการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัว

Page 36

2. การจัดท�ำแผนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัว การจัดท�ำแผนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัว แบ่งออกเป็น 2 ประเด็นคือ ความส�ำคัญและ ความจ�ำเป็น และองค์ประกอบของแผนการจัดการศึกษา ซึ่งองค์ประกอบของแผนการจัดการศึกษาประกอบด้วย 1.ข้อมูลพื้นฐานของครอบครัว 2.ข้อมูลพื้นฐานของผู้เรียน 3.ระดับการศึกษาที่จัด 4.จุดมุ่งหมายของการจัดการ ศึกษา 5.รูปแบบการจัดการศึกษา 6. การจัดกลุ่มสาระการเรียนรู้ 7. การจัดกระบวนการเรียนรู้ 8. การประเมินผล การเรียนรู้ 9. อื่นๆ 2.1 ความส�ำคัญและความจ�ำเป็น แผนการจัดการศึกษาโดยครอบครัว มีความส�ำคัญคือเป็นเสมือนเข็มทิศน�ำทางหรือเป็นแนวทาง หรือข้อก�ำหนดของการจัดการศึกษาในแต่ละระดับ ทั้งระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมทั้งการจัดการ ศึ ก ษาส�ำ หรั บผู้เรียนที่มีความสามารถพิเ ศษ หรื อ ความต้ อ งการจ� ำ เป็ นพิ เ ศษ ที่ จะพั ฒ นาให้ ผู ้ เรี ย นมี ค วามรู ้ ความสามารถ มวลประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ และการพัฒนาของแต่ละบุคคลไปสู่ศักยภาพสูงสุดของตน รวมถึงจะช่วยให้ผู้เรียนน�ำความรู้ไปสู่การปฏิบัติได้ ประสบความส�ำเร็จในการเรียนรู้ด้วยตนเอง รู้จักตนเอง มีชีวิต อยู่ในชุมชน สังคม และโลกอย่าง มีความสุข รวมทั้งยังมีความส�ำคัญเป็นเครื่องมือชี้แนะให้ส�ำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษา ผู้จัดการศึกษา/ครอบครัว ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาได้พยายามจัดมวลประสบการณ์ให้แก่ ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองในด้านความรู้ ทักษะ คุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์บรรลุตามจุดหมาย ของการจัดการศึกษา นอกจากนี้ยังเป็นแนวทางในการส่งเสริม สนับสนุน และรับรองผลให้น�ำไปสู่ความสามารถ ในการปฏิบัติของทุกฝ่ายได้อย่างมีคุณภาพและมีความสุขตามข้อก�ำหนดในกฎกระทรวงว่าด้วยสิทธิในการจัดการ ศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัว “ข้อ 2 (7) แผนการจัดการศึกษา ที่ครอบครัวและส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ร่วมกันก�ำหนดตามความมุ่งหมาย หลักการและแนวทางการจัดการศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ” การจัดท�ำแผนการจัดการศึกษาโดยครอบครัว ควรให้เป็นอิสระของครอบครัวเป็นหลัก ที่จะเป็น ผู้ออกแบบจัดวางให้เหมาะสมกับพื้นฐานศักยภาพผู้เรียนและบริบทของครอบครัวและชุมชน โดยคณะท�ำงาน วิชาการ/คณะกรรมการการจัดการศึกษาโดยครอบครัวของส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ให้การพิจารณาร่วมคิด ร่วมให้ค�ำปรึกษาแนะน�ำ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมทางวิชาการ แสดงถึงประสิทธิภาพอันจะน�ำมาซึ่งความส�ำเร็จ บรรลุผลในการจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ สอดคล้องกับการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนรายบุคคล ทั้งนี้ต้องให้เป็นไป ตามหลั ก สู ต รหลั ก สู ต รการศึ ก ษาปฐมวั ย พุ ท ธศั ก ราช 2546 หรื อ หลั ก สู ต รแกนกลางการศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐาน พุทธศักราช 2551 ที่สอดคล้องกับระดับการศึกษา และกลุ่มเป้าหมายที่จัดการศึกษา ซึ่งครอบครัวสามารถจัดเวลา เรียนเป็นรายภาค หรือรายปีก็ได้ การจัดเวลาเรียนของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้/กลุ่มประสบการณ์ สามารถ ปรับยืดหยุ่นตามบริบท จุดเน้น ปรัชญาของการจัดการศึกษาของครอบครัว โดยให้มีเวลาเรียนเหมาะสมที่จะพัฒนา ผู้เรียนให้เกิดคุณภาพตามมาตรฐาน 2.2 องค์ประกอบของแผนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัว 2.2.1 ข้อมูลพื้นฐานของครอบครัว 2.2.1.1 ระบุข้อมูลเกี่ยวกับชื่อ - สกุล บิดา มารดา วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ อายุ อาชีพ ที่อยู่ 2.2.1.2 ให้เหตุผลในการจัดการศึกษาของครอบครัว อธิบายถึงแนวคิด ความเชื่อ เหตุผล หรือปรัชญาที่เป็นสาเหตุให้ครอบครัวจัดการศึกษา รวมทั้งจุดเด่นที่ควรส่งเสริม สนับสนุน จุดด้อยที่ต้องการในการ ได้รับการพัฒนา และโอกาสในการประสบความส�ำเร็จของการจัดการศึกษาของครอบครัว 2.2.1.3 ผู้จัดการศึกษา/ครอบครัว สามารถก�ำหนดชื่อบ้านเรียนหรือไม่ก็ได้ แนวทางการดำ�เนินงานการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัว

29


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.