วารสารยุติธรรมคู่ขนาน เล่มที่ 7 (ปีที่6 ฉบับที่1)

Page 96

ความเสี่ยงต่อการกระทำผิดซ้ำ เนื่องจากหลังจากการที่ได้รับการประกันตัวไปแล้ว พนักงานสอบสวน ไม่มีอำนาจหน้าที่ในการควบคุมหรือติดตามพฤติกรรมความเสี่ยงต่างๆ อีก ถึงแม้จะเป็นหน้าที่ของ พนักงานคุมประพฤติก็ตามด้วยข้อจำกัดด้านภาระงานที่มากมายจุดนี้จึงเป็นช่องว่างให้เด็กหรือเยาวชน ที่กลับไปสภาพแวดล้อมเดิมที่มีความเสี่ยงต่อการกระทำผิดอีกหรือหาช่องทางกลับไปยุ่งเกี่ยวกับยา เสพติดได้ในภายหลังการถูกดำเนินคดี

อภิปรายผล

จากโจทย์การวิจัยที่มุ่งศึกษาว่าการคุ้มครองสิทธิเด็กและเยาวชนที่ต้องหาคดีความผิดเกี่ยวกับ ยาเสพติดในชั้นสอบสวน ศึกษากรณีกองบังคับการตำรวจปราบปรามยาเสพติด 1 เมื่อนำข้อมูลที่ได้ จากการศึกษาค้นคว้าจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญซึ่งประกอบด้วยกลุ่ม บุคคล 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนเป็นเจ้าพนักงานสอบสวนและสหวิชาชีพผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือปฏิบัติงานใน ชั้นสอบสวน และเด็กและเยาวชนที่ผ่านการดำเนินการสอบสวนดังกล่าว รวมทั้งข้อมูลจากการ สังเกตการณ์ และประมวลสิ่งที่ค้นพบเป็นหมวดหมู่สามารถอภิปรายผลการศึกษาในลักษณะการ พรรณนาความ และตอบโจทย์การวิจัยได้ทั้งหมด ดังนี้ 1. แนวคิดเกี่ยวกับสิทธิเด็กและเยาวชนที่ต้องหาคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดและหลักการ สอบสวนคดียาเสพติด การสอบสวนคดีที่เด็กและเยาวชนเป็นผู้ต้องหาโดยพนักงานสอบสวน กลุ่มงานสอบสวนและ ตรวจสอบทรัพย์สินของกองบังคับการตำรวจปราบปรามยาเสพติด 1 นั้นมีแนวคิดและแนวทางการ ปฏิบัติและการคุ้มครองสิทธิเด็กและเยาวชนดังกล่าวเช่นเดียวกับคดีอาญาทั่วไป คือคำนึงถึงหลัก กฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 40 โดยให้มีสิทธิที่จะได้รับการปฏิบัติที่ เหมาะสม ได้รับการสอบสวนหรือการพิจารณาคดีที่อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรมได้รับความ ช่วยเหลือในทางคดีจากทนายความ รวมถึงการได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว และตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 นอกจากนี้ยังใช้ กระบวนการตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 20) พ .ศ.2542 ร่วมด้วยในกรณีเด็กที่อยู่นอกเขตอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัว และสอดคล้องกับหลัก สากลตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กซึ่งมีการกำหนดกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของเด็กให้แตกต่าง จากกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของผู้ใหญ่ โดยให้มีบุคคลเข้าร่วมปฏิบัติหน้าที่ในการสอบสวน ผู้ต้องหาที่อายุไม่เกิน 18 ปี สำหรับประเด็นการสอบสวนคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พนักงานสอบสวนจะต้องเก็บ รักษาของกลางและหลักฐานในเบื้องต้นจากตัวเด็กหรือเยาวชน เช่น ปัสสาวะ ไว้สำหรับส่งตรวจ ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 เดือนกันยายน 2554

70


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.