วารสารสมาคมแพทย์มุสลิม

Page 89

ข้อแนะน�ำด้านสุขภาพ ผู้ที่มีโรคประจ�ำตัวต่างๆ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน รับประทานยาสม�ำ่ เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งยาฉีดลดน�้ำตาล (อินซูลิน) ซึ่งถ้าไม่ได้ฉีด อาจเกิด ภาวะน�้ำตาลสูงในระดับอันตราย หรือ ภาวะเลือดเป็นกรดได้ ควรตรวจระดับน�ำ้ ตาลเป็นระยะ เช่นทุก 7–10 วัน หรือมีอาการผิดปรกติ เช่น อ่อนเพลีย กระหายน�้ำมาก มีอาการหอบเหนื่อย ใจสั่น เป็นลมหรือ ซึม ให้สังเกตอาการจากน�้ำตาลต�ำ่ เช่น ใจสั่น มือสั่น เป็นลม ให้หยุดพักและดื่มน�ำ้ หวาน อมทอฟฟี่ หรือ รับประทานอาหารหรือขนมที่มีน�้ำตาลทันที ดูแลเท้าซึ่งเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ ถลอกเป็นแผล เมื่อกลับถึงที่พักให้ ตรวจสอบทันทีว่าเริ่มมีแผลหรือไม่ ผู้ป่วยเบาหวานบางรายไม่ค่อยรู้สึกเจ็บปวด แม้ว่าจะมีแผลที่เท้าขนาดใหญ่ เพราะปลายประสาทชา เมื่อเริ่มมีรอยแดงที่เท้า ให้ปิดบริเวณนั้นด้วยผ้าก๊อส พลาสเตอร์ ปิดแผลจะป้องกันการเกิดแผลได้ ถ้ามี แผลเกิดขึ้นต้องรีบรักษาโดยเร็ว บางรายต้องพบแพทย์เพื่อพิจารณาการรักษา ที่เหมาะสมต่อไป เช่น การตกแต่งบาดแผล หรือการให้ยาปฏิชีวนะร่วมด้วย จากประสบการณ์ของผู้เขียนเคยพบ ผู้ป่วยบางรายเกิดแผลรุนแรงจนต้องตัดขา ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็ม รับประทานยาสม�่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ อาจตรวจเช็คความดัน โลหิตเป็นระยะ เช่น ทุก 7 วัน ผู้ป่วยโรคหัวใจ รับประทานยาต่อเนื่อง ยาอมใต้ลิ้นติดตัวเสมอ ถ้ามีอาการแน่นหน้าอกให้หยุดพักทันที ใช้ยาอมใต้ลิ้น ถ้าอาการไม่ดีขึ้น หรือเจ็บหน้าอกเป็นระยะเวลานานๆ หรือบ่อย หรือมีอาการร่วมเช่น คลื่นไส้–อาเจียน เป็นลม หน้ามืด หอบเหนื่อย นอนราบไม่ได้ ให้ปรึกษาแพทย์ ทันที ผู้ป่วยโรคหอบหืด หลีกเลี่ยงสิ่งที่กระตุ้นให้หอบ งดสูบบุหรี่ ใช้ยาต่อเนื่องทั้ง ยาสูดและยารับประทาน ถ้ามีอาการก�ำเริบ (เหนื่อยมากกว่าเดิม ผิดปรกติ หายใจมีเสียงหวีด) ให้สูดยาเพิ่มขึ้น และรับประทาน ยา เพรดนิโซโลน 6–8 เม็ดต่อวัน นาน 5–7 วัน จะป้องกันอาการ รุนแรง และท�ำให้อาการก�ำเริบหายไวขึ้น

วารสารสมาคมแพทย์มุสลิม พ.ศ. 2554 - 2556

87


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.