จุลสารคณะนิติศาสตร์ ปีที่ 2 ฉบับที่ 4

Page 1

จุลสารคณะนิ ต ิ ศ าสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 4 พฤษภาคม 2559

อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา (อัดตานัง ทะมะยันติ ปันฑิ​ิตา) บัณฑิตย่อมฝึกฝนตนเอง

นมัสการ สรงนำ�้ ปิดทอง พระพุทธกันทรวิชัย อภิสมัยธรรมนายก และแห่ดอกไม้บุญเดือน 5 มหาสงกรานต์ มมส (บ่สาด บ่ซิด หันมาวิดฟาย)


I2I

สารบัญ

แสดงความยินดีกับคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์

เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2559 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้มอบ กระเช้าของขวัญเพื่อแสดงความยินดีกับ รองศาสตราจารย์ ดร.อนงค์ฤทธิ์ แข็งแรง ในโอกาสเข้ารับตำาแหน่ง “คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์” มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. บทบรรณาธิการ

ผศ.ศุภวุฒิ โมกข เมธากุล

สวัสดีครับ พบกับจุลสารคณะนิติศาสตร์นี้อีกครั้ง ก่อนอื่นทาง คณะต้องขอแสดงความยินดีกับ ศาสตราจารย์ ดร.สัมพันธ์ ฤทธิเดช ในโอกาสเข้ารับตำาแหน่งอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม นอกจาก นัน้ จุลสารฉบับนีย้ งั นำาเสนอข่าวคราวและกิจกรรมทีค่ ณะได้จดั ขึน้ และ ยังมีเนื้อหาในภาคของความรู้ทางกฎหมายที่เขียนโดยอาจารย์ภายใน คณะ ในส่วนของนิสิตนั้น เรามีบทความที่เขียนโดยศิษย์เก่าที่จบออก ไป และศิษย์ปัจจุบันที่กำาลังศึกษาอยู่ โดยได้มาถึงเล่าประสบการณ์ใน การทำางาน การเรียน การทำากิจกรรม เพื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพของการ เรียนนิติศาสตร์ เราหวังว่าผู้ที่ได้อ่านจะได้รับทั้งความรู้และแรงบันดาล ใจไม่มากก็น้อย แล้วพบกันใหม่ฉบับหน้าครับ.

นมัสการ สรงน้ํา ปดทอง พระพุทธกันทรวิชัยอภิ สมัยธรรมนายก และแหดอกไมบุญเดือน 5 มหาสงกรานต มมส (บสาด บซิด หันมาวิดฟาย) >1< แสดงความยินดีกับคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร >2< บุคลากรคณะนิติศาสตรรวมสรงน้ําพระและรดน้ํา ขอพรคณบดี เนื่องในประเพณีสงกรานต >3< คณะนิติศาสตรรวมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู กับผูบริหารมหาวิทยาลัย >3< โครงการนิติศาสตรรวมใจบริจาคโลหิต ถวายเปนพระราชกุศล >3< ศึกษาดูงานดานการบริหารงานบุคคล ของคณะนิติศาสตร >4< โครงการเตรียมความพรอมเพื่อการทํางาน (การเขียน Resume) >4< โครงการการประกันคุณภาพการศึกษา สําหรับนิสิต >4< ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู เครือขายหัวหนาสํานักงาน สถาบัน สํานัก วิทยาลัย >5< โครงการแนะแนวใหความรูเกี่ยวทุน กยศ./ งานสวัสดิภาพนิสิต และวินัยนิสิตพบนิสิตใหม >5< การเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารองคกรนิสิต ประจําปการศึกษา 2559 >5< ฉันจึงมาหาความหมาย >6< เปดประตูสูประชาคมอาเซียนดวยภาษาอังกฤษ >6< ศิษยเกาคนเกง >7< กฎหมายนารู >8<

เจาของ : คณะนิติศาสตร มหาว�ทยาลัยมหาสารคาม ที่ปร�กษา : ผศ.ดร.อิสระพัฒน ธีรพัฒนสิร� บรรณาธิการ : ผศ.ศุภวุฒิ โมกขเมธากุล ผูชวยบรรณาธิการ : ผศ.สุภาพร พ�ทักษเผาสกุล กองบรรณาธิการ : คณาจารยและบุคลากรคณะนิติศาสตร มหาว�ทยาลัยมหาสารคาม ออกแบบและถายภาพ : มิ�งมนัสชน จังหาร, วาที่รอยตร�ประสาน ศาลางาม คณะนิติศาสตร อาคารราชนคร�นทร ชั้น 4 ตําบลขามเร�ยง อําเภอกันทรว�ชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150 โทร. 0-4375-4333 ตอ 2118, 2119, 2123, 09-4310-0113 laws.msu.ac.th facebook.com/lawsmsu


I3I

บุคลากรคณะนิติศาสตร์ร่วมสรงน้ำ�พระ และรดน้ำ�ขอพรคณบดี เนื่องในประเพณีสงกรานต์

คณะนิติศาสตร์ร่วมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับผู้บริหารมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2559 เวลา 11.00 น. คณะนิติศาสตร์ ร่วมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้บริหารมหาวิทยาลัย หน่วย งาน โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.สัมพันธ์ ฤทธิเดช ผูร้ กั ษาราชการ แทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นประธาน พร้อม ด้วยทีมคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมประชุม เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะร่วมกัน โดยมี ผู้ บริหาร คณาจารย์ และบุคลากรจาก 3 คณะเข้าร่วม ได้แก่ คณะนิติศาสตร์ คณะการบัญชีและการจัดการ และวิทยาลัย การเมืองการปกครอง.

โครงการนิติศาสตร์ร่วมใจบริจาคโลหิต ถวายเป็นพระราชกุศล

เมื่อวันศุกร์ที่ 8 เมษายน 2559 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหาสารคาม ร่วมกับเหล่ากาชาดมหาสารคาม จัดโครงการ นิติศาสตร์ร่วมใจบริจาคโลหิตถวายเป็นพระราชกุศล เพื่อ เป็นการน้อมถวายความจงรักภักดี โดยมีคณาจารย์ นิสิต และ บุคลากร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พร้อมใจ กันร่วมบริจาคโลหิต ณ ห้อง GE Learning Area ชั้น 1 อาคาร ราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ซึง่ มีผรู้ ว่ มบริจาคโลหิต ครั้งนี้ จำ�นวน 91 คน รวมทั้งสิ้น 36,400 ซีซี.


I4I

ศึกษาดูงานด้านการบริหารงานบุคคลของ คณะวิทยาศาสตร์

เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2559 ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่คณะ นิติศาสตร์ ได้เข้าศึกษาศึกษาดูงานด้านการบริหารงานบุคคล ของคณะวิทยาศาสตร์ ณ ห้องประชุม S2-201/2 ชั้น 2 คณะ วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

โครงการเตรียมความพร้อมเพื่อการทำ�งาน (การเขียน Resume)

เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2559 คณะนิติศาสตร์ ได้จัดโครงการ เตรียมความพร้อมเพือ่ การทำ�งาน (การเขียน Resume) ณ ห้อง ประชุม 1 กองกิจการนิสิต โดยโครงการนี้จัดขึ้นเพื่อให้นิสิตได้ ฝึกปฏิบตั กิ ารเขียนจดหมายสมัครงาน เขียนประวัตสิ ว่ นตัว และ เทคนิคในการเตรียมตัวเข้าสูก่ ารสัมภาษณ์งาน โดยได้รบั เกียรติ จาก อ.เยาวภา นียากร อาจารย์จากคณะการท่องเทีย่ วและการ โรงแรม มาเป็นวิทยากรให้ความรู้.

โครงการการประกันคุณภาพการศึกษา สำ�หรับนิสิต

เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2559 คณะนิติศาสตร์ ได้จัดโครงการ การประกันคุณภาพการศึกษา สำ�หรับนิสติ ณ ห้องประชุมคณะ นิ ติ ศ าสตร์ ( RN-405) โดยมี วั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อ ให้ ผู้ เ ข้ า ร่ ว ม โครงการมีความรูค้ วามเข้าใจในบทบาทของนิสติ กับการประกัน คุณภาพการศึกษา และเพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำ� กลไกการประกันคุณภาพไปใช้ในกิจกรรมหรือโครงการของนิสติ โดยได้รับเกียรติจาก นายกัมปนาท อาชา ผู้ช่วยผู้อำ�นวยการ ศูนย์พัฒนาและประกันคุณภาพการศึกษา และหัวหน้างาน มาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา เป็นวิทยากร.


I5I 5

ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เครือข่ายหัวหน้าสำ�นักงานเลขานุการคณะ สถาบัน สำ�นัก วิทยาลัย

เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2559 คณะนิติศาสตร์ ร่วมกับคณะ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เครือข่ายหัวหน้าสำ�นักงานเลขานุการคณะ สถาบัน สำ�นัก วิทยาลัย โดยได้มกี ารแลกเปลีย่ นเรียนรูใ้ นประเด็น “การดำ�เนิน การสอบทายาท” โดย นายสุรชัย ศรีสมนาง นิติกร กองการ เจ้าหน้าที่ และนายอานุภาพ งามสูงเนิน หัวหน้าสำ�นักงาน เลขานุ ก ารคณะนิ ติ ศ าสตร์ โดยมี ก ารให้ ข้ อ เสนอแนะจาก อาจารย์ ดร.อภิราดี จันทร์แสง รองคณบดีฝ่ายบริหารและ วิเทศสัมพันธ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และ ผศ.ดร. อิสระพัฒน์ ธีรพัฒน์สิริ คณบดีคณะนิติศาสตร์.

โครงการแนะแนวให้ความรู้เกี่ยวกับทุน กยศ./ การเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารองค์กรนิสิต งานสวัสดิภาพนิสิต และวินัยนิสิตพบนิสิตใหม่ ประจำ�ปีการศึกษา 2559 เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2559 คณะนิติศาสตร์ ได้จัดโครงการ แนะแนวให้ความรู้เกี่ยวกับทุน กยศ./งานสวัสดิภาพนิสิต และ วินัยนิสิตพบนิสิตใหม่ โดยมีนายฤทธินนท์ นามศักดิ์ เจ้าหน้าที่ งานทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา กองกิจการนิสิต มหาวิทยาลัย มหาสารคาม และนายจรัญ วิชาคุณ หัวหน้างานวินัยนิสิต กอง กิจการนิสติ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มาเป็นวิทยากรให้ความ รู้ ณ ห้อง RN 409 คณะนิตศิ าสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เมื่อวันศุกร์ที่ 8 เมษายน 2559 คณะนิติศาสตร์ได้จัดหน่วย เลือกตั้งคณะกรรมการบริหารองค์กรนิสิต ประจำ�ปีการศึกษา 2559 ณ บริเวณหน้าห้องสมุดคณะนิติศาสตร์ อาคารราช นครินทร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ทั้งนี้มีนิสิตของคณะออก มาใช้สิทธิ์เลือกตั้งเป็นจำ�นวนมาก.


I6I 6

เปิดประตูสู่ประชาคมอาเซียนด้วยภาษาอังกฤษ

ผศ.ดร.ดวงเด่น นาคสีหราช1

นักกฎหมายกับ การแปลภาษาอังกฤษในสนามสอบ

อี

กทั ก ษะหนึ่ ง ที่ สำ � คั ญ สำ � หรั บ นั ก กฎหมาย คื อ “การแปลภาษากฎหมาย” (legal translation) เนื่องจากเป็นภาษาของผู้มีวิชาชีพ (profession) ที่ ต้องใช้คำ�ศัพท์เทคนิคทางกฎหมาย (legal terminology) ซึ่งยุ่งยากและซับซ้อน ลำ�พังการแปลในความ หมายทั่วไปยังไม่เพียงพอ จำ�ต้องแปลถ้อยคำ�ภาษา อังกฤษให้เกิดความสอดคล้องและถูกต้องตามหลักภาษากฎหมายของไทย ด้วย จึงจะถือว่าสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการตอบข้อสอบข้อ เขียนการแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย เช่น อัยการผู้ช่วย หรือผู้ช่วยผู้ พิพากษา เป็นต้น อย่างไรก็ดี แม้จะเป็นการแปลเอกสารทางกฎหมาย หลัก พื้นฐานของการแปลทางวิชาชีพยังคงใช้หลักเดียวกับการแปลภาษาอังกฤษ โดยทั่วไป ซึ่งผู้เขียนมีเทคนิคและข้อสังเกตง่ายๆ ดังนี้ ตัวอย่างเช่น “We should realize that the problems of transnational crimes cannot be eliminated overnight and the international cooperation cannot be established solely by legal instrument. Whether the international cooperation to combat the transnational crimes will be achieved or not depends on all the personnel involved in the justice system of each country to take serious action…” 1.หาคำ�สำ�คัญ (keyword) ให้พบ การหาคำ�ที่กล่าวถึงมากที่สุด ในบทความ ส่วนใหญ่จะเป็น noun หรือคำ�นาม จากตัวอย่างจะเห็นคำ�ว่า transnational crimes แปลว่า อาชญากรรมข้ามชาติ เพราะมีการกล่าวถึง คำ�เดิมหรือที่มีความหมายใกล้เคียงมากกว่า 2 ครั้งขึ้นไป 2.ดูทิศทางของบทอ่านจาก “คำ�สำ�คัญ” ว่าเป็นเรื่องอะไร และ ทิศทางของบทความที่จะพูดต่อไปมีว่าอย่างไร เช่น คำ�สำ�คัญคือ transnational crimes จึงทำ�ให้ทราบว่าเป็นเรื่องอาชญากรรมข้ามชาติ ซึ่งย่อมต้องมี ความสัมพันธ์กับกฎหมาย หลักเกณฑ์หรือทางปฏิบัติเกี่ยวกับอาชญากรรม ข้ามชาติ เช่น ความสัมพันธ์กับความร่วมมือระหว่างประเทศ (international cooperation) เป็นต้น นอกจากนี้ ส่วนขยายอืน่ ๆ ยังทำ�ให้เข้าใจรายละเอียด ของเนื้อหาที่กำ�ลังแปลอยู่ด้วย สังเกตจากคำ�ว่า “transnational”(ข้ามชาติ) กับ “international” (ระหว่างประเทศ) ทัง้ สองคำ�นีเ้ ป็น คุณศัพท์ (adjective) ทำ�ให้ทราบว่าเรื่องที่แปลอยู่ ต้องเกี่ยวกับกฎหมายระหว่างประเทศด้วย เป็นต้น 3.หา main idea หรือใจความสำ�คัญของเรื่อง ส่วนใหญ่มักจะอยู่ ในประโยคแรกของบทความเสมอ ในการแปลให้เป็นภาษาไทย ใน full stop

หนึ่ง จะประกอบด้วยหนึ่งประโยค ประธาน + กริยา + ไม่มีกรรม/กรรม + ส่วนขยาย (ถ้ามี) เสมอ สำ�หรับส่วนขยาย เช่น มีคุณศัพท์ (adjective) กริยาวิเศษณ์ (adverb) บุพบท (preposition) หรือ คำ�นาม (noun) และ ส่วนขยายมักจะไม่ใช่ keyword แต่เป็นรายละเอียดของเรื่องที่แปล ถ้าแปล ได้รู้เรื่องและเข้าใจจะเห็นภาพว่า “ใคร ทำ�อะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อไร” จาก ตัวอย่างใจความสำ�คัญเป็นเรือ่ ง “การแก้ปญ ั หาแรงงานข้ามชาติ ต้องเกิดจาก ความร่วมมือระหว่างประเทศที่มิใช่ในด้านกฎหมายเท่านั้น” จากตัวอย่างข้างต้น ประโยคแรก “We should realize that the problems of transnational crimes cannot be eliminated overnight and the international cooperation cannot be established solely by legal instrument. แปลได้ว่า “เราควรตระหนักว่าปัญหาต่างๆ ของอาชญากรรม ระหว่างประเทศไม่สามารถถูกขจัดไปได้ในชัว่ ข้ามคืนและความร่วมมือระหว่าง ประเทศไม่สามารถสร้างขึน้ โดยตราสารทางกฎหมายเพียงอย่างเดียวเท่านัน้ ” ข้อสังเกต ในประโยคแรก จะมี We (ประธาน) + should (กริยาช่วย) + realize (กริยาแท้) จึงต้องแปลเรียงตามลำ�ดับจากหน้าไปหลังแล้วตามด้วย ส่วนขยายซึ่งอยู่หลังคำ�ว่า that นอกจากนี้ ภายในประโยคเดียวกันยังถูกคั่น หรือ “เชื่อม” ด้วย and (และ) หน้าและหลัง “and” ต้องมีสอดคล้องกัน ดัง นั้น ความหมายของ “คำ�เชื่อมชนิดต่างๆ” ไม่ว่าจะเป็นสันธาน หรือบุพบท ย่อมช่วยเพิ่มคะแนนในการแปลได้ ในประโยคที่สอง “Whether the international cooperation to combat the transnational crimes will be achieved or not depends on all the personnel involved in the justice system of each country to take serious action.” ประโยคที่สอง แปลได้ว่า “ไม่ว่าความร่วมมือระหว่าง ประเทศเพื่อต่อสู้กับอาชญากรรมข้ามชาติจะบรรลุผลหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับ บุคลากรทั้งปวงที่เกี่ยวข้องกับระบบยุติธรรมของแต่ละประเทศดำ�เนินการ อย่างจริงจัง” ข้อสังเกต whether + ประโยค + or not แปลว่า ไม่ว่า....หรือ ไม่.... ส่วนคำ�ว่า international cooperation (ความร่วมมือระหว่างประเทศ) เป็นประธาน ส่วนกริยา คือ will be achieved (จะบรรลุผล) สำ�หรับ “to combat the transnational crimes” และ “depends on all the personnel involved in the justice system of each country to take serious action” เป็นส่วนขยายว่า ความร่วมมือระหว่างประเทศจะบรรลุผลได้อย่างไรนั่นเอง น.ด. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, น.ม. (กฎหมายระหว่างประเทศ) มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์, น.บ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปัจจุบัน เป็นอาจารย์ประจำ�ภาค วิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2 บางส่วนของข้อสอบในการสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการใน ตำ�แหน่งอัยการผู้ช่วย พ.ศ. 2558 วิชาภาษาอังกฤษ 23 เมษายน 2559 ข้อ 9 จงแปลเป็นภาษาไทย 1

ฉันจึงมาหาความหมาย

ทำ�ไมถึงเลือกเรียนนิติศาสตร์

สวัสดีค่ะ ดิฉัน นางสาวกิตติยาพร พิงชัยภูมิ (แป้งปู) นิสิตชั้นปีที่ 4 คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีคติประจำ�ใจคือ “จงรีบทำ�ในสิ่งที่ควรทำ� โดยไม่เดือดร้อนใคร” ในช่วงมัธยมศึกษาปีที่ 6 เทอม 2 เป็นช่วงที่นักเรียนแต่ละคนหาสถาบัน คณะ สาขา ที่ตัวเองชอบ เพื่อศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ส่วนตัวดิฉนั แล้ว ได้เลือกลงสมัครนิตศิ าสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในรอบรับตรง และดิฉนั ก็ได้รบี ลงสมัครเรียนโดยรูเ้ พียงว่านิตศิ าสตร์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับในสังคม ในประเทศ ต่างประเทศ ประกอบกับดิฉันกลัวไม่มีที่เรียน และโดยส่วนตัวดิฉันแล้ว ไม่อยากเรียนหรือทำ�อะไรซำ�้ ๆ กับคนอื่นสักเท่าไหร่ เลยเลือกลงสิ่งที่เพื่อนไม่ลงกัน ประจวบที่พ่อกับแม่ของดิฉันอยากให้เรียนนิติศาสตร์พอดี เพราะท่านมองว่านิติศาสตร์เป็นวิชาที่สามารถทำ�งานได้หลายอาชีพและสามารถหางานไปได้กว้างขึ้นค่ะ หลังจากทีไ่ ด้รบั ให้เข้ามาเรียนนิตศิ าสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ซึง่ ก็ถอื ว่าดิฉนั เข้าสูผ่ ศู้ กึ ษากฎหมายอย่างเต็มตัว และดิฉนั ก็ได้ เข้าร่วมกิจกรรมทุกกิจกรรมควบคู่กับการเรียนมาโดยตลอด ตั้งแต่ปี 1 ถึงปี 4 ไม่ว่าจะเป็นผู้เข้าร่วมกิจกรรมหรือผู้จัดกิจกรรมเอง เนื่องจากดิฉันชอบความสนุก ชอบเข้าสังคม และดิฉันก็ได้ประสบการณ์จากการทำ�กิจกรรมและการเข้าเรียนอีกมากมาย ทำ�ให้ดิฉันพบเจออะไรใหม่ๆ และกว้างขึน้ จนกระทัง่ ถึงช่วงชีวติ นิสติ ชัน้ ปี ที่ 4 ดิฉนั ก็ได้มโี อกาสหรือได้รบั โอกาสจากท่านอาจารย์ศภุ วุฒิ โมกข์เมธากุล และเพื่อนๆ นิติศาสตร์ทั้งชั้นปีให้เขียนบทละครเวทีเรื่อง คดีดำ�หมายเลข 8 ผูกตาย โจงแดง ซึ่งเป็นบทละครเวทีประจำ�นิติศาสตร์รุ่น 8 ของพวกเราทั้งชั้นปี ซึ่งละครเวทีเรื่องนี้เป็นการร่วมมือ ร่วมแรงกายแรงใจของเพื่อนๆ ทั้งรุ่น ช่วยกันสรรสร้าง ขึ้นมา แม้ระหว่างการเตรียมงานร่วม 3 เดือนจะทำ�ให้พวกเราพบเจออุปสรรค ปัญหาต่างๆ มากมาย แต่เพื่อนๆ ทั้งรุ่น ทุกฝ่าย ทุกหน้าที่ ก็ได้ช่วยกันแก้ปัญหามา โดยตลอด จนกลายเป็นละครเวทีที่สมบรูณ์ ได้นำ�ออกแสดงให้ผู้คนได้รับชม และจากการทำ�งานละครเวทีเรื่องนี้กับเพื่อนๆ ทำ�ให้ดิฉันได้รู้จักการทำ�งานร่วมกับคน หมู่มาก การทำ�งานเป็นทีมเวิร์ก การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า และอื่นๆ ต้องขอขอบคุณทุกท่านที่เกี่ยวข้องกับละครเวทีเรื่องนี้ โดยเฉพาะเพื่อนๆ ผู้อยู่เบื้องหลังกับ การเขียนบทละครของดิฉันมา ณ ที่นี้ด้วยนะคะ ช่วงชีวติ เด็กมหาวิทยาลัยกับการเรียนนิตศิ าสตร์ของดิฉนั ถือว่าคุม้ ค่าแล้ว ทัง้ ได้รบั ประสบการณ์มากมายจากกิจกรรม และการเรียนยังสอนให้ดฉิ นั ทำ�งาน เป็น ไม่ว่าจะเป็นการที่ได้รู้จักเพื่อน พี่ น้อง ครูอาจารย์ การกล้าแสดงออก การวางตัว การวางแผนการเรียน การวางแผนชีวิต การแบ่งเวลาทำ�กิจกรรมกับการ เรียนควบคู่กันไป ที่สำ�คัญนิติศาสตร์สอนให้เป็นผู้ที่ต้องรับใช้ สร้างความยุติธรรม ความถูกต้องแก่ประชาชน ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ต้องขอขอบพระคุณอาจารย์ นิติศาสตร์ทุกๆ ท่านที่ทำ�ให้ดิฉันรู้ว่าการเรียนนิติศาสตร์ไม่จำ�เป็นต้องเก่ง ขอแค่มีความขยันก็สำ�เร็จได้ และขอบคุณพี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ นิติศาสตร์ทุกคนที่ช่วยกัน ให้คณะนิติศาสตร์ของเรามีเอกลักษณ์ที่ชัดเจน สุดท้ายนี้ ดิฉันขอฝากให้น้องๆ ทุกคนที่ศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีใช้ชีวิตเด็กมหาวิทยาลัยให้คุ้มค่า และสนุกไปกับสิ่งที่เรียนกับกิจกรรมที่ทำ� และเรา จะได้ประสบการณ์พร้อมกับความสุขอีกมากที่จะตามมาค่ะ.


I7I

ศิษย์เก่าคนเก่ง

เส้ น ทางเดิ น สู่ เ ป้ า หมายแห่ ง ความสำ � เร็ จ ด้วยวิถีและต้นทุนของชีวิตของแต่ละคน แล้วย่อมไม่เหมือนกัน ทว่าทุกคนที่ประสบ ความสำ�เร็จ ฯลฯ ที่ต่างต้องมีเหมือนกัน นั้นก็คือ การเริ่มต้น..การไขว่คว้า.. และ ที่สุดย่อมนำ�พาเราไปสู่ความสำ�เร็จได้เฉก เช่นกัน

รียนท่านผูอ้ า่ นทีเ่ คารพทุกท่าน กระผมนายจรัญ บรรลือ เป็น ศิษย์เก่าสาขาวิชานิติศาสตร์ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง รุ่นที่ 4 ปัจจุบันมีความภูมิใจอย่างยิ่งที่จะกล่าวว่าเป็นศิษย์เก่า คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ผมเป็นคนจังหวัด ร้อยเอ็ด เรียนจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจาก โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย, จบปริญญาตรีนิติศาสตรบัณทิต ได้ รับประกาศนียบัตรเรียนดี ด้วยเกรดเฉลี่ยสะสม 3.26, ปี 2555-2556  สอบผ่านการอบรมวิชาว่าความของสภาทนาย ความ รุ่นที่ 39, ปี 2558 สอบผ่านการอบรมการเป็นที่ปรึกษา กฎหมายในศาลเยาวชนและครอบครัว และปีการศึกษา 25582559 สอบผ่านเนติบัณฑิตไทย สมัยที่ 68 ปัจจุบันประกอบ วิชาชีพทนายความ ตัวผมเองเป็นคนเรียนไม่เก่ง แต่เป็นคนช่างคิด ช่าง สงสัย ประกอบกับความชอบในเนื้อหาวิชาทางด้านกฎหมาย เป็นทุน เลยทำ�ให้มคี วามสุขในการได้เรียนนิตศิ าสตร์ และสุขใจ ทีไ่ ด้อยูใ่ นวงการนิตศิ าสตร์จวบจนวันนี้ และถึงวันนีผ้ มเชือ่ อย่าง สนิทใจเลยว่า เราอาจเรียนกฎหมายจบตามหลักสูตรได้ แต่เรา ไม่สามารถหยุดศึกษากฎหมายได้ วันใดหยุดค้นคว้าเชื่อแน่ว่า วันนั้นเราจะกลายเป็นผู้ไม่รู้กฎหมายอย่างแน่นอน มหาวิทยาลัย...มาหาอะไร? ก้าวแรกทีผ่ มเข้ามาศึกษา ที่นี่ นอกจากความหวังที่จะได้รับสรรพวิทยาการและความรู้ ต่างๆ จากที่นี่ ผมเกิดคำ�ถามหนึ่งว่า “ผมสามารถทำ�อะไร และ ให้อะไรกับทีน่ ไี่ ด้บา้ ง” ผมเรียนไม่เก่งตามทีก่ ล่าวไปแล้ว ฉะนัน้ งานด้านกิจกรรมเป็นสิ่งที่ตัวเองถนัดคือคำ�ตอบ งานกิจกรรม ของนิสิตนิติศาสตร์ผมร่วมและทำ�ทุกอย่างเท่าที่ทำ�ได้ หากจะ กล่าวว่าเคยทำ�มาเกือบทุกหน้าทีง่ านก็คงไม่ผดิ มากนัก ทีย่ กมา กล่าวเช่นนี้มิได้ยกเอาความดีเข้าใส่ตัวแต่ประการใด เพียงแต่ อยากจะยืนยันว่า “กิจกรรมสร้างคน” ผมบอกตัวเองเสมอว่าการ เรียนและการอ่านหนังสือคือหน้าที่สำ�หรับเด็กนิติศาสตร์ ส่วน การทำ�, การร่วม, การสนุกกับกิจกรรมนั่นคือการพักผ่อน อีก ทั้งเป็นประสบการณ์ชีวิต และเกิดความภูมิใจที่ได้ทำ�เพื่อบ้าน ของเรา ผมเชือ่ ว่าบัณฑิตใหม่สว่ นใหญ่ทอ้ จากปัญหาแต่ละคน นานาประการ ผมเตือนตัวเองเสมอว่า อย่าท้อ ให้ตั้งสติ อย่า ปิดกั้นโอกาส อย่ารอความหวัง และอย่าทิ้งความฝัน หลังจาก จบการศึกษา  ผมได้ทำ�งานเป็นลูกจ้างเหมาบริการของกรม การค้าภายใน  กระทรวงพาณิชย์  ตำ�แหน่งเจ้าหน้าที่ติดตาม โครงการโชห่วยช่วยชาติ (ร้านค้าถูกใจ) เพื่อหารายได้นำ�มา เป็นทุนสมัครเรียนเนติบณ ั ฑิต และสมัครอบรมวิชาว่าความ ซึง่ ทัง้ สองหลักสูตรก็มเิ คยได้มโี อกาสไปนัง่ เรียนและอบรมเลย โดย ระยะนั้นได้ใช้เวลาว่างฝึกงานในสำ�นักงานทนายความไปด้วย

หลังจากรับปริญญาบัตร ผมสอบบรรจุเป็นครูพเิ ศษ (อัตราจ้าง) ของโรงเรียนกุดชุมวิทยาคม จังหวัดยโสธร และทำ�งานเป็นครู ได้ 1 ปีการศึกษา ต่อมาเมื่อปี 2557 ได้รับใบอนุญาตว่าความ จากทางสภาทนายความ จึงได้ลาออกจากการเป็นครูมาประกอบ วิชาชีพทนายความจนถึงปัจจุบัน การเป็นทนายความ เป็นอีกวิชาชีพหนึง่ ทีม่ เี กียรติ และ สามารถสร้างรายได้ให้เราได้อย่างพอมีพอกิน หรือบางท่านก็ อาจประสบความสำ�เร็จจนรำ่ �รวยได้ ทนายความเป็นอาชีพที่ ท้าทาย เป็นอิสระ พบเจออะไรแปลกใหม่อยูเ่ สมอ และเป็นอาชีพ ทีไ่ ม่หยุดนิง่ ในการค้นคว้ากฎหมาย ตลอดจนการแสวงหาข้อเท็จ จริงต่างๆ อยู่เสมอ ทั้งเป็นอาชีพที่สามารถช่วยเหลือและรักษา ผลประโยชน์ของชาวบ้านได้อย่างแท้จริง หากได้สัมผัสและเข้า ถึงการเป็นทนายความ ทนายความก็เป็นอาชีพหนึ่งที่มีเสน่ห์ และน่าสนใจ การเรียนเนติบัณฑิต สำ�หรับคนทำ�งานถือว่าเป็นเรื่อง ที่หนักและเหนื่อยมาก ต้องจัดระบบความคิด ห้ามคิดว่าตัวเอง ด้อยโอกาสหรือไม่มคี วามสามารถ และอย่ากลัวการสอบตก การ ไม่เต็มทีก่ บั การอ่านต้องเผือ่ ใจยอมรับกับการผิดหวังในการสอบ ในทุกครั้ง เพียงแต่อย่าสอบแบบสิ้นหวัง ที่สำ�คัญจะต้องลงสอบ ทุกครั้ง เพราะหากสอบ โอกาสสอบผ่านต้องมี แต่ถ้าไม่สอบ เลย มันไม่มโี อกาสสอบผ่านได้แน่นอนล้านเปอร์เซ็นต์ ผมกล่าว ได้อย่างไม่อายเลยว่าผมลงสมัครเรียนในสมัยที่ 65 จากการ ผลักดันของรุ่นพี่ที่หวังดีท่านหนึ่ง เริ่มสอบอย่างจริงจังในสมัยที่ 66 สมหวังบ้างผิดหวังบ้าง ถึงจะท้อก็ไม่เคยถอย ถือคติปลอบ ใจตัวเองว่า ถึงจะเดินช้า แต่ถ้าเดินไปไม่หยุด สักวันมันต้องถึง เมื่อไม่ทิ้งความฝันและไม่ละความพยายาม ความสำ�เร็จย่อมมา เยือนพอให้เห็นประจักษ์เรื่อยมา วันนี้ผมก้าวสู่ความสำ�เร็จอีก ขัน้ หนึง่ คือสอบไล่ครบตามหลักสูตรของเนติบณ ั ฑิตยสภาในสมัย ที่  68  แม้จะใช้เวลายาวนานก็ตามที  และหากผมไม่หยุดเดิน ผมคงอาจประสบความสำ�เร็จ ฯลฯ ต่อไปไม่ว่าช้าหรือเร็ว ทุก ท่านก็เช่นเดียวกัน ท้ายสุดนีข้ อน้อมจิตคารวะกราบขอบพระคุณคณาจารย์ ทุกท่านที่อบรมบ่มสอน เป็นแบบอย่างและแรงบันดาลใจที่ดี ตลอดจนความเมตตากรุณาของทุกท่าน ขอบคุณรุ่นพี่ทุกคนที่ นำ�ทางและคอยให้ความช่วยเหลือเกือ้ กูลกัน รุน่ น้องทีเ่ ป็นแรงใจ ผองเพื่อน (รุ่น 4) ที่สุขทุกข์เคียงบ่าเคียงไหล่กัน รวมกันเรียก ว่า “บ้านนิติศาสตร์ของเราหลังนี”้ ไม่มีนติ ิศาสตร์ที่ใดเป็นเลือด แท้ หรือเลือดเทียม ระยะเวลาที่ผ่านมากว่าทศวรรษพิสูจน์แล้ว ว่าคณะนิติศาสตร์ มมส มีคุณภาพจริง ขอบคุณและสวัสดีครับ

(นิติธรรมสกุลวงศ์)


กฎหมายน่ารู้

คณาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

เหยื่อ(บริสุทธิ์)ในคดีอาญา

ภาพจาก http://wearechange.org/wp-content/uploads/2013/11/prisoner.jpg

ถ้ากล่าวถึงคำ�ว่า “เหยือ่ ในคดีอาญา” ผูอ้ า่ นอาจจะคิดถึง แต่เพียงผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำ�ความผิด หรือผู้ ที่เดือดร้อนเสียหายจากการกระทำ�ความผิดเท่านั้น เพราะเมื่อ เกิดการกระทำ�ความผิดในคดีอาญาขึน้ ผูเ้ สียหายหรือทีเ่ ราเข้าใจ กันว่าเป็นเหยื่อในคดีอาญานั้น จะได้เข้าแจ้งความร้องทุกข์ต่อ พนั ก งานเจ้ า หน้ า ที่ ให้ พ นั ก งานเจ้ า หน้ า ที่ ผู้ มี อำ � นาจใน กระบวนการยุตธิ รรมอาญาดำ�เนินการตามกฎหมายเพือ่ ลงโทษ กับผู้กระทำ�ความผิด และในส่วนของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มี อำ�นาจในกระบวนการยุตธิ รรมทางอาญาก็จะต้องนำ�ตัวผูก้ ระทำ� ความผิดที่แท้จริงมาลงโทษให้ได้ อีกทั้งจะต้องนำ�ตัวมาโดย รวดเร็ว จึงจะถือว่ารัฐได้บริหารกระบวนการยุติธรรมอย่างมี ประสิทธิภาพ ซึง่ การบังคับใช้กฎหมายของเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ ในกระบวนการยุติธรรม เจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่จะเน้น การปราบปรามอย่างรวดเร็วเพื่อให้ง่ายต่อการดำ�เนินงาน ซึ่งใน บางครั้งอาจมีการก้าวล่วงไปถึงสิทธิเสรีภาพของผู้ต้องหาหรือ จำ�เลยที่ได้รับหลักประกันสิทธิในทางกฎหมาย เช่น ผู้ต้องหา หรือจำ�เลยอาจถูกซ้อมทรมาน หรือถูกละเลยไม่ได้มีการจัดหา ทนายความให้ตามที่กฎหมายกำ�หนด และในบางคดีอาจมีการ กดดันให้พนักงานเจ้าหน้าทีผ่ มู้ อี �ำ นาจต้องดำ�เนินคดีอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ทันใจต่อทั้งผู้เสียหาย ญาติผู้เสียหาย หรือกระแสสังคม จึงทำ�ให้พนักงานเจ้าหน้าที่อาจหาพยานหลักฐานมาอันเป็นการ ปรักปรำ�ผูต้ อ้ งหาเพือ่ ให้สามารถดำ�เนินคดีได้อย่างเร็วรวดทันใจ แต่นนั้ ก็ท�ำ ให้มาถูกยกฟ้องในศาลในเวลาต่อมา เพราะเนือ่ งจาก ผูถ้ กู กล่าวหาไม่ใช่ผกู้ ระทำ�ความผิดทีแ่ ท้จริง อีกซำ�้ ในบางคดีอาจ มีการลงโทษผูต้ อ้ งหาหรือจำ�เลยเหล่านัน้ ไปแล้วด้วย เราจึงเรียก พวกเขาเหล่านั้นว่าเป็น “เหยื่อในกระบวนการยุติธรรมเช่นกัน กล่าวคือ ผู้ต้องหาหรือจำ�เลยที่ถูกละเมิดสิทธิหรือดำ�เนินคดีผิด พลาด” ได้อีกฐานะหนึ่ง ในการดำ�เนินกระบวนการยุติธรรมทางอาญา แม้จะมี กฎหมายกำ�หนดหลักเกณฑ์วธิ กี ารทีม่ เี ริม่ ขึน้ ตัง้ แต่ชนั้ พนักงาน สอบสวน พนักงานอัยการและศาลไว้อย่างละเอียดรอบคอบเพือ่ เป็นหลักประกันว่าประชาชนทีไ่ ด้รบั การพิจารณาคดีจะได้รบั การ พิจารณาอย่างเป็นธรรม แต่เรามักจะได้รับทราบข้อมูลข่าวสาร สื่อต่างๆ อยู่เรื่อยมาเกี่ยวกับความผิดพลาดของกระบวนการ

อาจารย์วิชุฎา อารีมิตร อาจารย์ประจำ�ภาควิชากฎหมายเอกชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ยุตธิ รรมทีท่ �ำ ให้ผบู้ ริสทุ ธิต์ อ้ งตกเป็นเหยือ่ หรือต้องได้รบั โทษทาง อาญาโดยที่ผู้นั้นมิได้เป็นผู้กระทำ�ความผิดจริง เช่น คดีหญิงผู้ ต้องขังกล่าวอ้างว่าร้อยเวรกับพวกร่วมกันข่มขืนตนบนโรงพัก และศาลได้มีคำ�พิพากษาคดีลงโทษตำ�รวจทุกนาย แต่ภายหลัง ต่อมาคดีนี้ ผูต้ อ้ งหาหญิงดังกล่าวกลับมาสารภาพว่าตำ�รวจทีถ่ กู กล่าวหานัน้ ไม่ใช่ผกู้ ระทำ�ความผิดทีแ่ ท้จริง ตำ�รวจผูถ้ กู กล่าวหา จึงได้รับการปล่อยตัวไป หรือบางคดีจำ�เลยต้องเสียชีวิตระหว่าง ที่ถูกคุมขังและในระหว่างต่อสู้คดีจะต้องสูญเสียอิสรภาพ บ้างก็ ขาดโอกาสในการประกอบอาชีพ และในการนี้ยังต้องเสียค่าใช้ จ่ายต่างๆ เป็นจำ�นวนมากในการต่อสูค้ ดี กว่าความจริงจะปรากฏ ได้วา่ บุคคลทีถ่ กู ดำ�เนินคดีนนั้ มิได้เป็นผูก้ ระทำ�ความผิดทีแ่ ท้จริง ผู้ที่ตกเป็นผู้ต้องหาหรือจำ�เลยต้องสูญเสียอิสรภาพ เสียค่าใช้ จ่ายต่างๆ เป็นจำ�นวนมากและต้องไปฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็น คดีแพ่งกับผู้ทำ�ละเมิดเอง ซึ่งกว่าจะได้รับการเยียวยาความเสีย หายทีเ่ กิดขึน้ จากความผิดพลาดของกระบวนการยุตธิ รรมก็ตอ้ ง เสียเวลานาน แม้จะมีสุภาษิตที่ว่า “สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้ พลั้ง” และรัฐจะตระหนักดีถึงความผิดพลาดของกระบวนการ ยุติธรรมที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้เสมอ และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อ่ งก็ได้ ใช้ความระมัดระวังให้มากยิ่งขึ้นแล้วก็ตาม หรือแม้แต่กฎหมาย นั้นได้เปิดโอกาสให้ผู้บริสุทธิ์หรือไม่ได้รับความเป็นธรรมในการ พิจารณาคดีร้องขอให้รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ได้ ประกอบกับ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 40 บัญญัติรับรองสิทธิได้รับค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายตามควร จากรัฐตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ หากปรากฏ ตามคำ�พิพากษาอันถึงที่สุดในคดีนั้นว่าจำ�เลยมิได้เป็นผู้กระทำ� ความผิดหรือการกระทำ�ของจำ�เลยไม่เป็นความผิดก็ตาม และ แม้กฎหมายจะให้ผู้ที่ได้รับผลร้ายจากการดำ�เนินกระบวนการ ยุตธิ รรมทางอาญาสามารถร้องขอให้รฐั เยียวยาความเสียหายได้ ตามพระราชบัญญัตคิ า่ ตอบแทนผูเ้ สียหายและค่าทดแทนและค่า ใช้จ่ายแก่จำ�เลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 ด้วยแล้วนั้นก็ไม่เพียง พอทีจ่ ะทดแทนอิสรภาพทีจ่ �ำ เลยผูบ้ ริสทุ ธิเ์ หล่านัน้ ในอันทีจ่ ะต้อง สูญเสียไปได้ ดังนั้นผู้ที่ใช้อำ�นาจในกระบวนการยุติธรรม จึงต้องพึง ระลึ ก อยู่ เ สมอว่ า จะต้ อ งใช้ ค วามระมั ด ระวั ง ความละเอี ย ด รอบคอบในการพิจารณาคดีในทุกๆ ขั้นตอน เพื่อมิให้เกิดข้อ ผิดพลาด อย่าพึงลงโทษหากไม่แน่ใจในพยานหลักฐาน ดัง สุภาษิตที่ว่า “ปล่อยผู้กระทำ�ผิดร้อยคนดีกว่าลงโทษผู้บริสุทธิ์ เพียงคนเดียว”.


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.