Kc02s

Page 49

49 (2) พ.ศ. 2457 ประกาศใช้ พ.ร.บ.ลักษณะ เครื่องหมายการค้า และยี่ห้อการค้าขาย พ.ศ. 2457 (LAW ON TRADE MARKS AND TRADE NAME OF B.E. 2457) ซึ่งถือได้ว่าเป็นกฎหมาย เครื่องหมายการค้าฉบับแรกของไทย ที่มี บทบัญญัติเกี่ยวกับการรับจดทะเบียน เครื่องหมายการค้า (3) พ.ศ. 2474 ประกาศใช้ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ใช้บังคับ แทน พ.ร.บ. ลักษณะเครื่องหมายการค้าและ ยี่ห้อการค้าขาย พ.ศ. 2457 ที่ถูกยกเลิกไป โดย มีผลใช้ บังคับเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2474 ในสมัย รัชกาลที่ 7 กฎหมายฉบับนี้ยึดตามแนวทาง กฎหมายเครื่องหมายการค้าของอังกฤษ คือ TRADE MARK ACT 1905 และต่อมาได้มีการ ปรับปรุงแก้ไขอีก 2 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2476 และ พ.ศ. 2500 (4) พ.ศ. 2534 ประกาศใช้ พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 ใช้บังคับแทน พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 ที่ยกเลิก ไป โดยกฎหมายฉบับนี้ ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2534 และเริ่ม มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2535 และใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน ส่วนหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจด ทะเบียนเครื่องหมายการค้า ได้มีการพัฒนา เปลี่ยนแปลง มาตามล�ำดับ ดังนี้ (1) พ.ศ. 2453 ได้เริ่มจัดตั้ง หอทะเบียน เครื่องหมายการค้าขึ้นในกระทรวงเกษตราธิการ (2) พ.ศ. 2466 ได้มีประกาศพระบรม ราชโองการตั้ง กรมทะเบียนการค้าและตั้งที่ ปรึกษา กฎหมายแห่งสภาเผยแพร่พาณิชย์ ใน กระทรวงพาณิชย์ขึ้น และได้โอนงานรับจด ทะเบียนเครื่องหมายการค้าจากกระทรวง เกษตราธิการ มาเป็นหน้าที่รับผิดชอบของกรม ทะเบียนการค้า (3) พ.ศ. 2535 จัดตั้งกรมทรัพย์สินทาง ปัญญาในกระทรวงพาณิชย์ขึ้น และรับโอนงาน ด้านทรัพย์สินทางปัญญาทั้งหมด รวมทั้งงาน เครื่องหมายการค้ามาดูแลรับผิดชอบจนถึง ปัจจุบัน “เครื่องหมายการค้า” หรือทรัพย์สินทาง ปัญญาเหล่านี้ ยังมีความส�ำคัญอีกมาก ในฉบับ หน้าเราจะมาพูดถึงความหมายของ “เครื่องหมายการค้า” แบบทะลุปรุโปร่ง อย่าลืม ติดตามนะครับ p

ทนายวิรัตน์ : wirat2001@hotmail.com

นิตยสารคมช่างฉบับประจ�ำเดือนกันยายนนี้ขอน�ำเรื่องที่ได้ รับค�ำปรึกษาหารืออยู่บ่อยๆ จากแฟนรายการ ผู้ฟังที่ติดตามฟัง รายการคลื่น วิทยุ 91.75 MHz มีนบุรี ช่วงที่ผมด�ำเนินรายการ มี ผู้ฟังคนหนึ่งถามว่า “ทนายครับ ผมชื่อหรั่ง ผมไปจัดการ

แนะน�ำให้เขาซื้อขายที่ดินแปลงหนึ่งมูลค่าหลายล้านบาท พรุ่งนี้นัดวางมัดจ�ำไม่รู้ผมจะได้เงินค่านายหน้าหรือเปล่า”

ผมถามกลับทันทีว่ามีข้อตกลงหรือมีข้อสัญญาเป็นลายลักษณ์ อักษร ลงลายมือชื่อกันไว้บ้างไหม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 16 ว่า ด้วยเรื่องนายหน้า มาตรา 845 ได้วางหลักอันเป็นสาระส�ำคัญว่า “บุคคลใดตกลงจะให้ค่าบ�ำเหน็จแก่นายหน้า เพื่อที่ชี้ช่องให้เข้าท�ำ สัญญาก็ดี จัดการไห้เข้าท�ำสัญญาก็ดี ท่านว่าบุคคลผู้นั้นจะต้อง รับผิดใช้ค่าบ�ำเหน็จก็ต่อเมื่อสัญญานั้นได้ท�ำกันส�ำเร็จเนื่องแต่การ ที่นายหน้าได้ชี้ช่องหรือจัดการนั้น ถ้าสัญญาที่ได้ท�ำกันไว้นั้นมี เงื่อนไขเป็นเงื่อนไขบังคับก่อนไซร้ ท่านว่าจะเรียกร้องบ�ำเหน็จค่า นายหน้ายังหาได้ไม่ จนกว่าเงื่อนไขนั้นส�ำเร็จแล้ว นายหน้ามีสิทธิ ที่จะได้รับชดใช้ค่าใช้จ่ายที่เสียไป ก็ต่อเมื่อได้ตกลงท�ำกันไว้เช่น นั้น ความข้อนี้ท่านให้ใช้บังคับแม้ถึงว่าสัญญาจะมิได้ท�ำกันส�ำเร็จ” สิ่งส�ำคัญ คือการชี้ช่อง จัดการให้ทั้งสองฝ่ายได้เข้าท�ำ สัญญาไม่ว่าซื้อขายที่ดิน จ�ำนอง ซื้อขายฝาก หรืออื่นใดจนท�ำ สัญญากันเสร็จ ชอบที่จะได้รับบ�ำเหน็จ ซึ่งผมแนะน�ำเสมอว่าควร มีสัญญานายหน้าโดยให้ที่ปรึกษากฎหมายหรือทนายความท�ำให้ จะได้มีความสมบูรณ์ ปัญหาที่เกิดขึ้นกับนายหน้าบางรายคือว่า ชี้ช่องเชิญชวนให้คู่สัญญาท�ำการซื้อขายจนส�ำเร็จแต่ไม่ได้รับค่า บ�ำเหน็จ ค่าใช้จ่ายที่เสียไประหว่างการด�ำเนินการมากพอ ประมาณพูดกันง่ายๆว่าถูกเบี้ยว บางท่านไม่มีสัญญาเป็นลาย ลักษณ์อักษรครั้นจะน�ำไปฟ้องร้องใช้สิทธิทางศาลบังคับคดีนั้น สามารถท�ำได้แต่เป็นเรื่องที่ยุ่งยากพอสมควร เพราะไม่มีเอกสาร หลักฐานใดๆ บุคคลที่เป็นนายหน้าสามารถ จะน�ำตนเองหรือผู้รู้ เห็นเข้าเป็นพยานเบิกความ หรือเอกสารอื่นเข้าประกอบน�ำสืบให้ ศาลเชื่อว่ามีการตกลงเรื่องค่านายหน้าจริง สัญญานายหน้านั้นเป็นสัญญาที่ไม่มีแบบแผนไม่จ�ำเป็นต้อง ท�ำหลักฐานเป็นหนังสือเพียงแต่คู่สัญญาตกลงด้วยวาจา สัญญา ย่อมเกิดขึ้น การแต่งตั้งหรือมอบหมายไม่จ�ำเป็นต้องท�ำตามแบบ ขออ้างถึงเลขที่ฎีกา 2046/2535 สัญญานายหน้าเป็นการตกลง ระหว่างกันว่านายหน้าจะท�ำการ เพื่อชี้ช่องหรือจัดการให้อีกฝ่าย หนึ่งได้ท�ำสัญญากับบุคคลภายนอกและไม่มีกฎหมายบัญญัติ ว่าการท�ำสัญญาจะต้องปฏิบัติเช่นใด ดังนั้นการท�ำสัญญาหรือ ตกลงดังกล่าวจึงไม่มีแบบ เพียงแต่คู่สัญญาตกลงกันด้วยวาจา สัญญานายหน้าย่อมเกิดขึ้นตามข้อตกลงนั้น p


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.