เอกสารประกอบการสอนเรื่อง วัสดุเย็บและเทคนิกการเย็บ

Page 5

Suture materials and technique เพื่อให้เกิดการหายของแผลที่เหมาะสมสิ่งสําคัญคือการจัดตําแหน่งของเนื้อเยื่อให้ใกล้เคียงกับตําแหน่งเดิมมากที่สุด มี ความคงตัว (stable) มีแรงตึงของแผลน้อยที่สุด การเย็บแผลที่ดีจะทําให้เกิดลักษณะที่ต้องการดังกล่าว เป้าหมายของการเย็บแผลคือการยึด (secure) ตําแหน่งของแผ่นเนือ้ เยื่อ (flaps) ที่ถูกต้องเพื่อการส่งเสริมให้เกิดการหาย ที่ดีที่สุด ไหมเย็บควรจะดึงขอบแผลให้อยู่ในตําแหน่งทีต่ ้องการจนกระทั่งแผลอยู่ในขั้นตอนการหายที่มีความแข็งแรงเพียงพอต่อ การต้านแรงดึงในแนวต่างๆจากการใช้งานปกติ การยึดตรึงเนื้อเยื่ออยู่ในตําแหน่งที่ถูกต้องในขณะที่มแี รงตึงน้อยจะทําให้เกิดการลด การเกิดแผลเป็น (fibrous scarring) ลดโอกาสของการติดเชื้อ ช่วยในการห้ามเลือด และทําให้เกิดความสวยงามขึ้น [1]

สิ่งที่ต้องพิจารณาในการเย็บแผลมีดังต่อไปนี้ 1. 2. 3. 4.

ชนิดของไหมเย็บ (Thread type) ขนาดของไหมเย็บ (Thread diameter) เข็มเย็บ (Surgical needle) วิธีการเย็บและการผูกปมเย็บ (The appropriate suturing technique and Use of the proper surgical knot)

ชนิดของไหมเย็บ (Thread type) ไหมเย็บมีมากมายหลายชนิด แต่สงิ่ สําคัญที่นํามาพิจารณาเพื่อการเลือกใช้ไหมเย็บ คือ คุณลักษณะของไหมเย็บ ได้แก่ ความทนแรงดึง (tensile strength), การคลายตัวหลังการผูกปม (Knot security), ระยะเวลาของถูกดูดซึมและมีการสลายตัว (Absorption time), ปฎิกิริยาของเนื้อเยื่อต่อไหม (Tissue Reaction) เป็นต้น

การแบ่ งประเภทของไหมเย็บ มีการแบ่งได้มากมายหลายประเภท ที่นิยมคือ การแบ่งตามสมรรถนะ (performance) ขนาด (size) และ โครงร่างทาง กายภาพ (physical configuration) การแบ่งตามสมรรถนะ (performance) แบ่งเป็น ไหมละลาย (absorbable) และไหมไม่ละลาย (nonabsorbable) การแบ่งตามขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง (diameter) แบ่งตาม ข้อกําหนดของ The United States Pharmacopeia (USP) และ the European Pharmacopeia (EP)

4


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.