กลยุทธ์การสอนและประเมินผลที่บรรลุมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานฯ 2

Page 13

3.1 ความตรงตามสภาพ (Concurrent Validity) เป็นความสามารถของแบบทดสอบที่วัดได้ตรงกับ สภาพความเป็นจริงของบุคคลในขณะนั้น เช่น แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์วิชาภาษาไทย นาไปให้ผู้เรียนคนหนึ่งสอบ ปรากฏว่า ได้คะแนนสูง ซึ่งในสภาพความเป็นจริงผู้เรียนมีความสามารถทางภาษาไทยสูงจริง แสดงว่าแบบทดสอบวัดได้ตรงตามสภาพที่ เป็นอยู่ 3.2 ความตรงตามการพยากรณ์ (Predictive Validity) เป็นความสามารถของแบบทดสอบที่วัดผลได้ตรง กับสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในอนาคต เช่น แบบทดสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อ เมื่อนาไปใช้สอบคัดเลือกบุคคลเข้า ศึกษา ปรากฏว่าผู้ที่สอบคัดเลือกได้คะแนนดี เมื่อเข้าศึกษามีผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์ดี แสดงว่าแบบทดสอบมีความตรงตาม การพยากรณ์ 2. ความเชื่อถื่อได้ (Reliability) หมายถึง ความคงที่ของคะแนนที่วัดได้แต่ละครั้ง วิธีการหาค่าความเที่ยงของ แบบทดสอบทาได้หลายวิธี คือ วิธีสอบซ้า วิธีแบบทดสอบคู่ขนาน และวิธีหาความสอดคล้องภายใน แบ่งเป็น วิธีแบ่งครึ่ง แบบทดสอบ วิธีหาจากสูตรคูเดอร์และริชาร์ดสัน และวิธีหาจากสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟา 2.1. วิธีสอบซ้า การหาความเชื่อถือได้โดยวิธีสอบซ้า เป็นการหาความสัมพันธ์ของคะแนนจากการทาแบบทดสอบ ฉบับเดียวกันสองครั้ง โดยทิ้งช่วงห่างให้เหมาะสม (ประมาณ 2 สัปดาห์) การหาความเชื่อถือได้โดยวิธีนี้เป็นการตรวจสอบ ความคงที่ของการแสดงออกของผู้สอบสองครั้งว่า จะมีความคงที่หรือไม่ วิธีการนี้มีจุดอ่อนที่ความแปรเปลี่ยนภายในตัวผู้สอบใน ระหว่างทิ้งช่วงการสอบ ดังนั้น การหาความเชื่อถือได้โดยวิธีนี้ควรนาไปใช้กับแบบทดสอบวัดคุณลักษณะที่ค่อนข้างจะคงที่ไม่ แปรเปลี่ยนโดยง่าย 2.2 วิธีใช้แบบทดสอบคู่ขนาน การหาความเชื่อถือได้โดยใช้วิธีแบบทดสอบคู่ขนาน เป็นการหาความสัมพันธ์ของ คะแนนจากการนาแบบทดสอบ 2 ฉบับที่เทียบเท่ากันไปสอบกับบุคคลกลุ่มเดียวกัน วิธีการนี้มีจุดอ่อนที่ความเป็นคู่ขนานกันของ แบบทดสอบ 2 ฉบับซึ่งสร้างได้ยาก 2.3 วิธหี าความสอดคล้องภายใน มีอยู่ด้วยกัน 3 วิธี 2.3.1 วิธีแบ่งครึ่งแบบทดสอบ การหาความเที่ยงโดยวิธีนี้ เป็นการหาความสัมพันธ์ของคะแนนจากการใช้ แบบทดสอบฉบับเดียว และสอบเพียงครั้งเดียว โดยนาผลการสอบมาแบ่งเป็นข้อมู ล 2 ชุด โดยอาจแบ่งเป็นข้อคู่ - ข้อคี่ แบ่งเป็นครึ่งฉบับแรก ครึ่งฉบับหลัง จากการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์จะได้ สัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบครึ่ง ฉบับ แล้วจึงนาไปปรับขยายเป็นสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของแบบทดสอบทั้งฉบับ 2.3.2 วิธีหาจากสูตรของคูเดอร์และริชาร์ดสัน การหาความเที่ยงโดยวิธีนี้ เป็นการหาความสัมพันธ์ของคะแนนจาก การใช้แบบทดสอบฉบับเดียวและสอบเพียงครั้งเดียวโดยนาผลการสอบมาคานวณค่าสัมประสิทธิ์ ใช้สูตรของคูเดอร์และริชาร์ด สัน สูตรที่ใช้มี 2 สูตร คือ สูตร KR - 20 กับสูตร KR – 21 2.3.3 วิธีหาจากสูตรสัมประสิทธิ์ แอลฟาการหาค่าความเที่ยงโดยใช้สูตรของครอนบัค (Cronbach) นี้ปรับมา จากสูตร KR - 20 ใช้หาความเที่ยงของเครื่องมือวัดที่ให้คะแนนแตกต่างกันไปในแต่ละข้อได้ โดยไม่จาเป็นต้องเป็นระบบการ ให้คะแนน แบบ 1 กับ 0 เกณฑ์ในการเลือกข้อสอบ การเลือกข้อสอบที่มีคุณภาพนั้น พิจารณาจากสิ่งต่อไปนี้ 1. ดัชนีความยากง่าย (P) ควรมีค่าตั้งแต่ 0.20 ถึง 0.80 แบ่งเป็นรายละเอียดดังนี้ ดัชนีความยากง่าย (P) คุณภาพของข้อสอบ 0.00 – 0.10 ยากมาก 0.20 – 0.40 ค่อนข้างยาก 0.41 – 0.60 พอเหมาะ 0.61 – 0.80 ค่อนข้างยาก 0.81 – 1.00 ง่ายมาก ณรุทธ์ สุทธจิตต์ 2557 ประเมิผล

13

การวัดและ


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.