วารสารเฮือนเฮา(ส์)

Page 1



บทบรรณาธิการ วารสาร “เฮือนเฮา(ส์)” ฉบับที่สองนี้ เริ่มเปิดประเด็นเนื้อหาออกสู่ความเป็น นานาชาติ สู่ประเทศเพื่อนบ้านและไกลออกไป โดยแต่ละพื้นที่ย่อมมีปัจจัยที่ส่งผลต่อการ ออกแบบทัง้ ผลิตภัณฑ์ สถาปัตยกรรม และเมือง ทำ�ให้เกิดเป็นความเฉพาะตัวทีอ่ าจจะแตกต่าง กันไปไม่มากก็น้อย ความน่าสนใจของการนำ�เสนอเนื้อหาอันหลากหลายของแต่ละประเทศ หรือแม้แต่ในประเทศเอง คือ การทำ�ให้ผู้อ่านได้เปิดมุมมอง เปิดความคิด และสามารถนำ� เอาความเหมือนหรือความแตกต่างเหล่านี้ไปต่อยอดกระบวนคิด พัฒนาการออกแบบ หรือ การวิจัยในเชิงวิชาการต่อไป หวังเป็นอย่างยิ่งว่า เนื้อหาของวารสาร “เฮือนเฮา(ส์)” จะเป็นประโยชน์แก่สังคม ทัง้ นักออกแบบ สถาปนิก นักผังเมือง และผูค้ นทัว่ ไป ทัง้ นีท้ มี งานยินดีรบั ฟังความคิดเห็นและ ข้อเสนอแนะในการพัฒนาวารสารให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ผศ.ดร.ชำ�นาญ บุญญาพุทธิพงศ์ บรรณาธิการ

1 เฮือนเฮา(ส์)

เฮือนเฮา(ส์) 1


สารบัญ The Faculty ข่าวภายในคณะ

Research

โครงการการออกแบบอาคารสำ�นักงาน The Diamond Building’ เมือง Putrajaya ประเทศมาเลเซีย

Architecture

3

3

5

แนวโน้มการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเรือนพื้นถิ่นภาคอีสาน

Industrial Design สถาปัตยกรรมในตราสัญสักษณ์ลาว

7

7

9

9

มาเลเซีย ผ้าพื้นเมืองและความหลากหลายทางวัฒนธรรม 11

ผลงานศิษย์เก่า

13

ผลงานศิษย์เก่าสถาปัตยกรรม 13 ผลงานศิษย์เก่าออกแบบอุตสาหกรรม 14

คณะผู้จัดทำ� วารสารเฮือนเฮา(ส์) แบ่งเนื้อหาออกเป็น 4 ส่วน หลัก ได้แก่ (1) The Faculty; (2) Architecture ; (3) Industrial Design; และ (4) Students and Alumni โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อแพร่ความรู้ ผลงานวิจัย งานบริการวิชาการ ของคณาจารย์ ผลงานนักศึกษาปัจจุบนั และศิษย์เก่า และเนือ้ หา ครอบคลุมข่าวประชาสัมพันธ์ สาระความรู้ที่เป็น ประโยชน์ทางด้านสถาปัตยกรรม และศาสตร์ ที่ เ กี่ ย วข้ อง สามารถดาวน์โ หลดวารสารได้ที่ http://huan-haus.kku.ac.th ห รื อ ใ น รู ป แ บ บ e - m a g a z i n e ไ ด้ ที่ http://issuu.com/huenhaus

2

เฮือนเฮา(ส์)

บรรณาธิการ ผศ.ดร.ชำ�นาญ บุญญาพุทธิพงศ์ ที่ปรึกษา รศ.ดร.ยิ่งสวัสดิ์ ไชยะกุล กองบรรณาธิการ ผศ.วาริน บุญญาพุทธิพงศ์ อ.ดร.จันทนีย์ จิรัณธนัฐ นางพิมพ์ชนก ศรีสุริยะมาตย์ นางสาวกรรณภัสส์ สิริเกียรติ ออกแบบ นางสาวกรรณภัสส์ สิริเกียรติ ถ่ายภาพ นางสาวดุษฎี สุ่มมาตย์


The Faculty ... NEWS นศ.ID มข. คว้ า รางวั ล รองชนะเลิ ศ M Design Award จาก โมเดิร์นฟอร์ม นั ก ศึ ก ษาสาขาวิ ช าการออกแบบอุ ต สาหกรรม คณะสถาปั ต ยกรรมศาสตร์ คว้ า รางวั ล รอง ชนะเลิ ศ การประกวด M Design Award รับรางวัล 100,000 บาท ขอแสดงความยินดีกับ นักศึกษาสาขาวิชาการ ออกแบบอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คว้ารางวัลรองชนะเลิศ การประกวด M Design Award รับรางวัล 100,000 บาท ภายใต้การ แข่งขันแบบ แข่งขันแบบ Reality Showcase กับ นักศึกษาอีก 9 ทีมทั่วประเทศ บริษัทโมเดอร์นฟอร์มกรุ๊ป จำ�กัด (มหาชน) จัดงาน โมเดอร์นฟอร์มดีไซน์คอนเทสต์ อย่าง ต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 16 โดยกำ�หนดจัดการแข่งขัน แบบ Reality Showcase ซึ่งโจทย์ในปีนี้เป็นการ ออกแบบ Functional Art โดยมีพื้นที่ในการติด ตั้งผลงาน กว้าง 2 เมตร ยาว 2 เมตร และ สูง 3 เมตร เป็นการสร้างสรรค์งานศิลปะเพื่อประโยชน์ ใช้สอย ติดตั้งกลางแจ้ง (สามารถอยู่ได้ 1 ปีในทุก สภาพอากาศ) สามารถมีปฏิสมั พันธ์กบั ผูท้ พ ี่ บเห็น ได้ และติดตั้งผลงานภายในระยะเวลา 35 ชั่วโมง ซึ่ ง ผลปรากฏว่ า ผลงานของนั ก ศึ ก ษา ส า ข า วิ ช า ก า ร อ อ ก แ บ บ อุ ต ส า ห ก ร ร ม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คว้ารางวัลรองชนะเลิศ รับรางวัล 100,000 บาทต่อทีม (มหาวิทยาลัย 50,000 บาทและนักศึกษา 50,000 บาท) สำ � หรั บ ที ม ที่ เ ข้ า ร่ ว มการประกวดครั้ ง นี้ ประกอบด้ ว ยนั ก ศึ ก ษาสาขาวิ ช าการออกแบบ อุ ต สาหกรรมทั้ ง หมด 5 คน โดยเป็ น นศ.ปี 3 3 คน คื อ นางสาวกั ญ ญารั ต น์ คึ ง จั น ทึ ก นายณัฐพงศ์ กงแก้ว นางสาวสุกานดา ถิ่นฐาน และนักศึกษาปี 4 2 คน คือ นายทัศสิยะ ปัดน้อย นายอภิชาติ มีศรี ทีมงานนักศึกษาทั้ง 5 คน ได้ เล่าถึงการประกวดครั้งนี้ว่า “ชื่อผลงาน สัมผัสแห่ง ความงาม แนวคิดในการออกแบบ คื อต้ องการ ออกแบบ functional art ที่ให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ กับผู้ใช้งานทัง้ การมองเห็นทีเ่ กิดจากความงาม ของ ค่าเฉดสีที่เปลี่ยนไปและการสัมผัสที่เกิดจากการ เข้าไปใช้งาน และยังคำ�นึงถึงกระบวนการผลิตใน ระบบอุตสาหกรรม จึงทำ�ให้ funtional art ชิ้นนี้ ออกมาสมบูรณ์แบบมากที่สุด

สถาปั ต ย์ มข. กวาด 3 ใน 4 รางวั ล สถาปั ต ยกรรมโครง สร้างเหล็ก 2014 นศ.สถาปัตย์ มข. กวาด 3 ใน 4 รางวัลการประกวดสถาปัตยกรรมโครงสร้างเหล็ก 2014 ทั้งรางวัลชนะเลิศ รองชนะเลิศ และรางวัลชมเชย จากผลงาน 150 ผลงานของ นักศึกษาจากสถาบันต่าง ๆ ทั่วประเทศ

นักศึกษาสาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ซึ่งได้คว้า รางวัลชนะเลิศ รองชนะเลิศ และรางวัลชมเชย 3 ใน 4 ของรางวัล การประกวด SYS Student Design Contest 2014 “STEELABLE” จาก 150 ผลงานจากสถาบันต่าง ๆ ทั่วประเทศ และได้เดินทางไปรับรางวัลเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2558 ที่ผ่านมา บริษัท เหล็กสยามยามาโตะ จำ�กัด การประกวดออกแบบ ประกวดออกแบบ SYS Student Design Contest 2014 “STEELABLE” สถาปัตยกรรมโครงสร้างเหล็ก ประเภท นิสิต/นักศึกษา ประจำ�ปีการศึกษา 2557 เพื่อส่งเสริมให้นิสิต/นักศึกษาได้แสดงความรู้ ความสามารถในการออกแบบ รวมถึงความเข้าใจในการใช้ศักยภาพของเหล็กโครงสร้าง รูปพรรณรีดร้อน มาสร้างสรรค์งานทางสถาปัตยกรรมที่สวยงาม โดดเด่น หลากหลาย ทั น สมั ย โดยไม่ จำ � กั ด รู ป แบบในการแสดงแนวความคิ ด ผู้ ส่ ง ผลงานเข้ า ประกวด จะต้ อ ง ออกแบบงานสถาปั ต ยกรรม ที่ มี พื้ น ที่ ใ ช้ ส อยไม่ เ กิ น 300 - 1,000 ตรม. โดยใช้ เ หล็ ก โครงสร้ า งรู ป พรรณรี ด ร้ อ น H-Beam,Cut-Beam, Channel,

เฮือนเฮา(ส์) 3


Angel เป็ น วั ส ดุ ห ลั ก ในการออกแบบ และต้ อ งมี ค วามสวยงาม แสดงศั ก ยภาพ และมี เ อกลั ก ษณ์ เ ฉพาะตั ว ของโครงสร้ า งเหล็ ก สามารถนำ � ไปก่ อ สร้ า งได้ จ ริ ง จากการประกวดดังกล่าว นักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ได้รว่ มส่งผลงานเข้าประกวด และผลปรากฎว่ า ผลงานของนั ก ศึ ก ษาได้ รั บ รางวั ล ชนะเลิ ศ รองชนะเลิ ศ และรางวัลชมเชย โดยมีรายละเอียดดังนี้ • นายศุภฤกษ์ ฦๅแรง ผลงาน The Observer : รับรางวัลชนะเลิศ ได้รับทุนการศึกษา มูลค่า 60,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ • นางสาวกมลวรรณ บัวศรี ผลงาน Moving Forward รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้รับทุนการศึกษามูลค่า 30,000 บาท พร้อมโล่ห์ประกาศเกียรติคุณ • นายปาริตต์ หินหมืน่ ไวย นายภาณวิชญ์ คงน้อย นางสาวกุลนันทน์ สำ�ราญใจ และนางสาว รัญชนา นิลกำ�แหง ผลงาน Activity Space Folding รับรางวัลชมเชย ได้รับทุนการศึกษา มูลค่า 10,000 บาท พร้อมโล่ห์ประกาศเกียรติคุณ • นางสาวเบญจรัตน์ ศิรจิ รี ะชัย และนางสาวอภิญญา งามทองใบ ผลงาน MUSHROOM Pavilion รับรางวัลชมเชย ได้รับทุนการศึกษามูลค่า 10,000 บาท พร้อมโล่ห์ประกาศ เกียรติคุณ

อาจารย์คณะสถาปัตย์ มข. เป็นตัวแทนศิลปินหญิงร่วมแลกเปลี่ยน ด้านศิลปะนานาชาติ ผศ.วาริน บุญญาพุทธิพงศ์ อาจารย์คณะสถาปัตย์ มข. รับเชิญให้เป็น 1 ใน 18 ศิลปิน หญิงไทย-ญีป่ นุ่ ร่วมนำ�ผลงานไปจัดแสดงในจัดนิทรรศการ “ทัศนะแห่งจิต” Mindscapes 2015 International Women’s Art Exhibition

de esucuitura” ณ มหาวิทยาลัย Universidad de Ciencias y Artes de Chiapas ประเทศเม็กซิโก ในปี พ.ศ.2552 จากโอกาสต่าง ๆ เหล่านีท้ ที่ �ำ ให้ศลิ ปินกลุม่ นี้ได้พัฒนาความสัมพันธ์อันดีซึ่งกันและกัน และทำ�ให้ เกิดการขยายวงกว้างขึน้ ได้มกี ารเชิญชวนให้กลุม่ เพือ่ น ศิลปินที่รู้จักสนิทสนมเข้าร่วมด้วย จนกลายเป็นการ เชื่อมโยงกิจกรรมสร้างสรรค์ของศิล ปินนานาชาติ ( ไทย – ญี่ปุ่น – เกาหลี – ออสเตรเลีย-อเมริกา) ที่ มีความหลากหลายตั้งแต่ศิลปินที่มีชื่อเสียงในระดับ สากลจนถึ ง ศิ ล ปิ น รุ่ น ใหม่ โดยมุ่ ง หวั ง ในการสร้ า ง ความเข้มแข็งและกระชับความสัมพันธ์อันดีระหว่าง ศิลปินหญิงนานาชาติในการจัดนิทรรศการครั้งนี้ขึ้น

อาจารย์ ส ถาปั ต ย์ มข. คว้ า รางวั ล วิทยานิพนธ์ ดีเด่น จากสภาวิจยั แห่งชาติ อ.ดร.สัญชัย สันติเวส กับผลงาน “การรับรูส้ สี นั ของ ภาพศิลปะโดยใช้ระดับเสียง สำ�หรับผู้พิการทางสายตา ตั้งแต่กำ�เนิด” คว้ารางวัลดีเด่น ปี 2557 สาขาการศึกษา จากสภาวิจัยแห่งชาติ

เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2558 สำ�นักงานคณะ กรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประกาศรางวัลสภาวิจัย ผศ.วาริน บุญญาพุทธิพงศ์ อาจารย์ประจำ�สาขาวิชาการออกแบบอุตสาหกรรม คณะ แห่งชาติ ประจำ�ปี 2557 พร้อมมอบรางวัลนักวิจัยดี เด่นแห่งชาติ รางวัลผลงานวิจยั และรางวัลวิทยานิพนธ์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ ได้รบั เชิญจากกลุม่ ศิลปินอิสระ ให้เป็น 1 ใน 18 ศิลปินหญิงไทย-ญีปนุ่ ร่ ว มนำ � ผลงานไปจั ด แสดงในจั ด นิ ท รรศการ "ทั ศ นะแห่ ง จิ ต " Mindscapes 2015 ดีเด่นเพื่อเป็นขวัญและกำ�ลังใจแก่นักวิจัยไทย ระหว่าง International Women's Art Exhibition โครงการแสดงนิทรรศการผลงานศิลปิน พิธีเปิดงานวันนักประดิษฐ์ ประจำ�ปี 2558 ณ อาคาร หญิงนานาชาติ 2558 ในวันที่ 9 - 23 มีนาคม 2558 เวลา 10.00-18.00 น. อิมแพ็ค ฮอลล์ 9 เมืองทองธานี และอ.ดร.สัญชัย ณ ห อ ศิ ล ป ะ แ ล ะ ก า ร อ อ ก แ บ บ ค ณ ะ มั ณ ฑ น ศิ ล ป์ ม ห า วิ ท ย า ลั ย ศิ ล ป า ก ร สันติเวส เจ้าของผลงานวิทยานิพนธ์ “การรับรูส้ สี นั ของ โครงการ International Women's Art Exhibition เกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ระหว่าง ภาพศิลปะโดยใช้ระดับเสียง สำ�หรับผูพ้ กิ ารทางสายตา ศิลปินไทยและญีป่ นุ่ ทีไ่ ด้เข้าร่วมในโครงการ “The residency of International Sculpture ตั้งแต่กำ�เนิด” ได้คว้ารางวัลดีเด่น ปี 2557 สาขาการ Symposium” ณ โอกินาว่า ประเทศญี่ปุ่น ในปีพ.ศ. 2544 และนำ�มาสู่ความร่วมมือใน ศึกษา จากสภาวิจัยแห่งชาติ การจัดนิทรรศการ “True Colors” การแลกเปลีย่ นด้านศิลปะระหว่างศิลปินไทยและศิลปิน สำ�หรับวิทยานิพนธ์ดังกล่าว อ.ดร.สัญชัย ได้ศึกษา ญีป่ นุ่ ซึง่ จัดแสดง ณ หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร ในปีพ.ศ. 2547 และการจัดนิทรรศการ เพื่อสร้างอุปกรณ์ เครื่องมือ และโปรแกรม ด้วยการใช้ “ Haiku Image Sculpture ” การแสดงงานประติมากรรมนานาชาติ ณ โอกินาว่า ประเทศ การฟังระดับของเสียงแทนรหัสของสีสนั ผ่านเทคโนโลยี ญี่ปุ่น ในปีพ.ศ. 2549 และ 2550 รวมทั้งการร่วมงาน “Simposium International จอภาพแบบสัมผัส (Touch-Screen monitor) เพือ่ ให้ ผู้พิการทางสายตาสามารถสร้างและเรียนรู้งานศิลปะ ได้ด้วยตนเอง 4 เฮือนเฮา(ส์)


The Faculty Research

โครงการการออกแบบอาคาร สำ�นักงาน ‘The Diamond Building’ เมือง Putrajaya ประเทศมาเลเซีย ผศ.ดร.ชูพงษ์ ทองคำ�สมุทร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัขอนแก่น อาคารนี้เป็นอาคารสำ�นักงานของรัฐบาลที่มีสูง 7 ชั้น มีที่จอดรถ ใต้ดิน 2 ชั้น ใช้การออกแบบที่มุ่งเน้นความยั่งยืน โดยอาคารนี้ได้รับการ ประเมินอาคารเขียวด้วยดัชนี Malaysian Green Building Index (GBI) ของประเทศมาเลเซียในระดับสูงสุดคือระดับ Platinum อีกทัง้ ยังได้รบั การ ประเมินด้วยดัชนี Green Mark ของประเทศสิงคโปร์ในระดับสูงสุดด้วย โดยมีแนวทางในการออกแบบอาคารเพือ่ ให้บรรลุวตั ถุประสงค์ดงั ต่อไปนี้

ทัศนียภาพภายนอกของอาคาร‘The Diamond Building’ (ภาพได้รับความเอื้อเฟื้อจาก NR-ARCHITECT)

1. การปรั บ สภาพแวดล้ อ มภายนอกอาคาร (Microclimate Modification) โดยการใช้พืชพรรณทางธรรมชาติ เนินดิน ม่านน้ำ� เพื่อ ปรับสภาพแวดล้อมภายนอกอาคารให้เย็นลง เพื่อลดความแตกต่างของ อุณหภูมิภายนอกและภายในอาคาร ในการที่จะลดการใช้พลังงานของ เครื่องปรับอากาศ 2. การเลือกรูปทรงอาคารที่มีความเหมาะสม (Building Configuration) การเลือกรูปทรงเพชรในการออกแบบเพื่อความโดดเด่นและ มีเอกลักษณ์ ลดพื้นที่ผิวอาคารเพื่อลดการถ่ายเทความร้อน มุมเอียง ของอาคารก็คือการออกแบบให้พื้นชั้นบนช่วยบังแดดให้กับพื้นชั้นล่าง (Self Shading) อีกทั้งมุมดังกล่าวนี้ยังช่วยสะท้อนแสงแดดไม่ให้หักเห เข้าสู่อาคารได้เป็นการลดการใช้พลังงานของระบบปรับอากาศอีกทาง หนึ่ง นอกจากนี้รูปทรงอาคารรูปทรงนี้ยังสามารถนำ�เอาแสงธรรมชาติ ผ่านทางด้านบนของอาคารที่สามารถปรับการให้แสงได้ทั้งในระบบแสง ตรง (Direct Sunlight) และแสงสะท้อน (Diffuse Radiation) เพื่อที่จะ ลดการใช้พลังงานในส่วนของแสงประดิษฐ์

เฮือนเฮา(ส์) 5


3. การเลือกใช้วัสดุอาคาร (Building Materials) เนื่องจากเป็นอาคารสำ�นักงานที่ใช้ในเวลากลางวัน กิจกรรมการ ทำ�งานต้องใช้สมาธิสูง ดังนั้นจึงเลือกใช้ระบบปรับอากาศทั้งอาคาร โดยที่ใช้ระบบผนังที่มีฉนวนภายนอก (Exterior Insulation and Finished System: EIFS) และกระจกสองชั้น (Double Insulated Glass) เพื่อที่จะลดความร้อน และความชื้นที่ถ่ายเทจากภายนอกอาคาร ทั้งนี้เพื่อลดการใช้พลังงานในส่วนปรับอากาศลง วัสดุภายในยังใช้วัสดุที่มี สีสว่างเพื่อที่จะประหยัดพลังงานในส่วนของแสงประดิษฐ์ ใช้วัสดุในท้องถิ่น วัสดุสามารถนำ�กลับมาใช้ใหม่ได้ อีกทั้ง การเลือกใช้วัสดุที่ปลอดสารอินทรีย์ระเหยง่ายหรือมีสารนี้ในปริมาณต่ำ� (Low-VOC’s Material) เพื่อที่จะคำ�นึงถึง คุณภาพอากาศภายในอาคารเป็นสำ�คัญ

ภาพแสดงรูปตัดอาคาร (ซ้าย) ทัศนียภาพภายในอาคารชั้นที่หนึ่ง (ขวา) (ภาพได้รับความเอื้อเฟื้อจาก NR-ARCHITECT)

4. การใช้พลังงานทางเลือก (Alternative Energy Resources) การออกแบบให้พื้นที่ หลั ง คาสามารถติ ด ตั้ ง แผงเซลล์ สุ ริ ย ะ เพื่ อ เปลี่ยนมาเป็นพลังงานที่ใช้ในอาคารได้ 5. การใช้น้ำ�ของอาคารและการหมุนเวียน น้ำ� (Water Conservation and Recycle) ออกแบบอาคารให้มีความสามารถในการเก็บ น้�ำ ฝนจากหลังคาอาคาร เพือ่ นำ�มารดน้�ำ ต้นไม้ มีการออกแบบให้ระบบมีการหมุนเวียนน้�ำ เพือ่ นำ�กลับมาใช้ในสุขภัณฑ์ (Gray Water Recycle) รวมไปถึงการใช้อปุ กรณ์ทปี่ ระหยัดน้� ำ เช่น สุขภัณฑ์ที่มีระบบ Dual Flush สุขภัณฑ์ที่มี อัตราการไหลของน้ำ�ต่ำ� (Low Flow Fixture) เป็นต้น 6. งานระบบอาคารประสิ ท ธิ ภ าพสู ง (High Efficiency System) ได้แก่ระบบปรับ อากาศประสิทธิภาพสูงทีใ่ ช้การทำ�น้�ำ เย็นและ ระบายความร้อนด้วยน้ำ� (Water CooledWater Chilled) ผสมผสานกับการทำ�ความ เย็นด้วยการแผ่รังสี (Radiant Cooling) โดย

6

เฮือนเฮา(ส์)

ใช้การติดตั้งท่อน้ำ�เย็นที่พื้นของอาคาร การใช้ ระบบแสงประดิษฐ์ประสิทธิภาพสูงทั้งในส่วน ของหลอดไฟฟ้า ดวงโคม และอุปกรณ์ควบคุม เนือ่ งจากรัฐบาลของประเทศมาเลเซียต้องการ ให้อาคารราชการหลังนี้เป็นอาคารตัวอย่าง ในเรื่องของการใช้พลังงาน ความยั่งยืน และ อาคารเขียว การออกแบบอาคารนี้จึงต้องใช้ องค์ความรู้ที่มาจากการวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์ โดยสามารถทีจ่ ะนำ�เอาพลังงานจากธรรมชาติ มาใช้ เ พื่ อ ตอบสนองคุ ณ ภาพชี วิ ต ของผู้ ใ ช้ อาคารในด้ า นต่ า งๆ ได้ แ ก่ ค วามสบายเชิ ง อุณหภาพ (Thermal Comfort) ความสบาย ทางด้านแสงสว่าง (Visual and Lighting Comfort) ความสบายทางการได้ ยิ น เสี ย ง (Acoustical Comfort) และคุณภาพอากาศ ภายในอาคาร (Indoor Air Quality) โดยทีต่ อ้ ง ใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ มากที่สุดเท่าที่จะทำ�ได้


Architecture แนวโน้มการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเรือนพื้นถิ่นภาคอีสาน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล ตั้งสกุล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัขอนแก่น จากประวั ติ ศ าสตร์ ก ารเคลื่ อ นย้ า ยไปมาของ ผู้คนในภูมิภาคลุ่มน้ำ�โขงที่มีมาตั้งแต่อดีต ไม่ว่าจะเกิด จากการแสวงหาพื้ น ที่ ที่ อุ ด มสมบู ร ณ์ สำ � หรั บ การอยู่ อาศัยและการตั้งถิ่นฐาน หรือเกิดจากการอพยพหนีภัย สงครามก็ตาม ล้วนเกิดจากความจำ�เป็นพื้นฐานในการ แสวงหาความมั่ น คงในการดำ � รงชี วิ ต การปรั บ ตั ว เพื่ อ ความอยู่รอดทำ�ให้ผู้คนต้องทำ�ความเข้าใจถึงเงื่อนไขมิติ ต่ า งๆอั น ส่ ง ผลต่ อ การดำ � รงอยู่ ข องตน ที่ อ ยู่ อ าศั ย อั น เป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ของมนุษย์ จึงเป็นส่วนสำ�คัญในการ ศึกษาค้นคว้าเพื่อทำ�ความเข้าใจถึงกลไกในการปรับตัว กั บ สภาพแวดล้ อ มที่ เ ปลี่ ย นแปลง เมื่ อ เวลาเปลี่ ย นไป การศึ ก ษาและวิ จั ย เกี่ ย วกั บ เรื อ นพื้ น ถิ่ น ในภาคอี ส านที่ ผ่ า นมาอย่ า งน้ อ ยสองทศวรรษ หากจะนั บ ตั้ ง แต่ มี ก าร ก่ อ ตั้ ง คณะสถาปั ต ยกรรมศาสตร์ แห่ ง แรกในภู มิ ภ าค เมื่อปี พ.ศ. 2531 การทุ่มเทของนักวิชาการรุ่นบุกเบิก อย่างรองศาสตราจารย์วิโรฒ ศรีสุโร รองศาสตราจารย์ วิชิต คลังบุญครอง รองศาสตราจารย์สมชาย นิลอาธิ รองศาสตราจารย์ สุวิทย์ จิระมณี รองศาสตราจารย์ ธาดา สุทธิธรรมและทีมคณาจารย์จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย ขอนแก่ น ทำ � ให้ ท ราบถึ ง มุ ม มองของนั ก วิ ช าการที่ เ ริ่ ม ต้ น ความสนใจจากการรวบรวมหลั ก ฐาน ที่ ยั ง คงปรากฎอยู่ ใ นพื้ น ที่ ต่ า งๆในภู มิ ภ าคผ่ า นรู ป แบบ ทางสถาปั ต ยกรรมโดยเน้ น การศึ ก ษาภาคสนาม เพื่ อ ค้ น หาเอกลั ก ษณ์ ด้า นรู ป แบบของภาคอี ส าน ซึ่ ง ใน ช่ ว งเวลานั้ น มี ก ารบั น ทึ ก และศึ ก ษาจำ � นวนน้ อ ยมาก

ภายหลั ง จากนั้ น ได้ มี ก ารศึ ก ษาเกี่ ย วกั บ พั ฒ นาการด้ า นที่ อ ยู่ อ าศั ย เพื่ อ เข้ า ใจถึ ง การปรั บ ตั ว ของผู้ ค นที่ ส่ ง ผลต่ อ รู ป แบบเรื อ นจากแบบประเพณี ดั้งเดิม และแนวทางการศึกษาได้พัฒนาสู่ประเด็นความ สนใจที่มีลักษณะเฉพาะทางมากขึ้น โดยเฉพาะด้าน เทคโนโลยี วิธีการก่อสร้างและวัสดุพื้นถิ่น รวมไปถึง การบู ร ณาการศาสตร์ ที่ ห ลากหลายมากกว่ า การให้ ความสนใจเฉพาะตัวเรือน อันเป็นเพียงผลลัพธ์ปลาย ทางที่เกิดจากการตกผลึกจากบริบทของสิ่งแวดล้อม สังคม-วัฒนธรรมของพืน้ ที่ ซึง่ รวมความถึงขอบเขตด้าน พื้นที่ที่ไม่ได้จำ�กัดเพียงแค่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทยเท่านั้น ทั้งนี้ เนื่องจากผลการศึกษา เรือนพื้นถิ่น ผ่านมุมมองทางสังคม-วัฒนธรรม โดย เฉพาะการใช้ แ นวทางด้ า นมนุ ษ ยศาสตร์ ท่ี เ ปิ ดพื้ น ที่ วิจัยด้านสภาพแวดล้อมการอยู่อาศัยทางกายภาพกับ ความสัมพันธ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ชี้ให้เห็นความ เชื่อมโยงที่เข้มแข็งของวิถีการอยู่อาศัยที่สะท้อนผ่าน ลักษณะทางกายภาพของเรือนพืน้ ถิน่ ได้แสดงถึงความ สัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับการจัดระบบทางกายภาพ ของเรือน เช่น การจัดระบบของทีว่ า่ งทางสถาปัตยกรรม ระบบสังคมและคติในการใช้พื้นที่ เป็นต้น ในขณะ ที่ แ นวทางการศึ ก ษารู ป แบบเรื อ นพื้ น ถิ่ น มี ข้ อ เสนอ แนะให้มีการประยุกต์และปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับ เงื่อนไขของปัจจุบันมากขึ้น โดยให้พยายาม “ถอดรหัส”

เฮือนเฮา(ส์) 7


เพื่อทำ�การต่อยอดสู่การแสวงหาเอกลักษณ์ในการนำ�ไปปรับใช้ สำ�หรับการออกแบบร่วมสมัย โดยเสนอแนวทางการออกแบบที่ อยู่อาศัยที่เข้าใจถึงเงื่อนไขและข้อจำ�กัดของทรัพยากรในท้องถิ่น และกรรมวิธีในการก่อสร้างที่เปลี่ยนแปลงจากเดิม อย่างเช่น โครงการเคหะชนบทภาคอีสาน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการ ทำ � ความเข้ า ใจสถาปั ต ยกรรมพื้ น ถิ่ น โดยการถอดองค์ ค วามรู้ และภูมิปัญญาอันเกิดจากคุณลักษณะความเป็นสถาปัตยกรรม พื้นถิ่นในระดับแนวความคิด เพื่อให้สามารถสืบสานปรัชญาที่ สัมพันธ์กับเรือนพื้นถิ่นยังคงอยู่และมีการนำ�ไปใช้กับอาคารร่วม สมัยที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ได้อย่างเหมาะสมและยั่งยืน ปัจจุบัน การเคลื่อนย้ายของผู้คนในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำ�โขง ก็ยงั คงดำ�เนินอยู ่ แม้วา่ เหตุผลทางเศรษฐกิจอาจจะเป็นปัจจัยหลัก ในการขับเคลือ่ นและเชือ่ มโยงผูค้ นซึง่ อาจจะแตกต่างจากในอดีตที่ ผ่านมา และเป็นทีแ่ น่นอน การเปลีย่ นแปลงของวิถชี วี ติ ย่อมส่งผล ต่อสถาปัตยกรรม โดยเฉพาะวัฒนธรรมของการอยู่อาศัย ดังนั้น การทำ�ความเข้าใจถึงพลวัฒน์ในมิตติ า่ งๆทีม่ ผี ลกระทบต่อเรือนพืน้ ถิ่น โดยไม่ยึดติดกับขอบเขตของความเป็นประเทศย่อมเป็นเรื่องที่ ท้าทาย โดยเฉพาะท่ามกลางกระแสแห่งการเปิดประเทศรับเพื่อน บ้านทีเ่ ปิดรับการเปลีย่ นแปลงครัง้ ใหญ่ทกี่ �ำ ลังจะเกิดขึน้ ในเร็ววันนี้ เอกสารอ้างอิง ข้อมูลบางส่วนรวบรวมจากผลการศึกษาของงานวิจัยหลายเรื่อง ดำ�เนินการภายใต้คณาจารย์จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อาทิ ภูมิปัญญา พัฒนาการและความ สัมพันธ์กันระหว่างเรือนพื้นถิ่นไท-ไทย: คุณลักษณะของ สถาปัตยกรรมสิ่งแวดล้อมในเรือนพื้นถิ่น (2551) โดย ผู้ช่วย ศาสตราจารย์ ทรงยศ วีระทวีมาศ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นพดล ตั้งสกุล, ดร.จันทนีย์ จิรัณธณัฐและอาจารย์สุดจิต สนั่นไหว ซึ่ง ศึกษาประเด็นเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมสิ่งแวดล้อมในเรือนพื้นถิ่น ไท-ลาว ในภาคอีสานของไทยและในสปป.ลาว และ งานวิจัยซึ่ง ให้การสนับสนุนโดยการเคหะแห่งชาติ ดำ�เนินการโดยผู้เขียน และคณะวิจัย เรื่อง บ้านเคหะชนบทแบบบูรณาการ ภาคอีสาน (2553) และเรื่อง การจัดการความรู้เรื่องที่อยู่อาศัยและวิถีการ อยู่อาศัยผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่น พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กรณีศึกษาพื้นที่ลุ่มน้ำ�เลย (2557) 8

เฮือนเฮา(ส์)


Industrial

Design

สถาปัตยกรรมในตราสัญลักษณ์ลาว

ดร.ขาม จาตุรงคกุล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัขอนแก่น

การสร้างอัตลักษณ์ลาวออกไปสูส่ ายตานานาประเทศ ในหลายๆ องค์กร ทงั้ ของรัฐและเอกชน คือการออกแบบ ตราสัญลักษณ์ทถี่ อื ว่าเป็นการบีบอัดความหมายต่างๆ ลง ไว้ในภาพ ภาพเดียวทัง้ ตัวอักษร สี รูป สัญลักษณ์ ซึง่ ตรา สัญลักษณ์ที่ใช้ในการสื่อสารถึงกิจกรรม ถึงสถานที่ ถึง องค์ กร มั ก มีก ารใช้ภ าพสถาปัตยกรรมมาเป็ น องค์ ประกอบหนึ่งในการออกแบบอย่างมีนัยสำ�คัญ ตรา สัญลักษณ์น้ันมีมูลเหตุมาจากว่าต้องการสร้างการจดจำ� รูปแบบอาคารนั้นๆ จึงนำ�เอาลักษณะเด่นมานำ�เสนอ ส่วนมากจะเป็นตราของสถานที่ต่างๆ เช่น ห้างร้าน โรงแรม เป็นต้น ต้องการสร้างความหมายถึงตัวแทน ของประเทศลาว จึงเลือกเอาสถาปัตยกรรมที่เป็นศิลปะ ประจำ�ชาติ ทีม่ คี วามเก่าแก่ยาวนาน มีความสวยงาม มี ความยิง่ ใหญ่สง่างาม และทีท่ ศี่ รัทธาของผูค้ นในประเทศ มากที่สุด คือ พระธาตุหลวง และ การนำ�เอาเอกลักษณ์ ของเมือง (Landmark) มาสร้างเป็นตัวแทนของภูมิภาค เช่ น เวี ย งจั น ทน์ นิ ย มใช้ พ ระธาตุ ห ลวงมาเป็ น ภาพ สัญลักษณ์ ส่วนหลวงพระบางนิยม นำ�สิมวัดเชียงทอง และพระธาตุพูสี มาเป็นภาพสัญลักษณ์ ส่วนจำ�ปาสัก นิยมใช้ปราสาทวัดพู มาเป็นภาพสัญลักษณ์ เนื่องจาก ความยาวนานและความใหญ่โตสวยงาม ลักษณะการนำ�เสนอตราสัญลักษณ์ใน 3 ลักษณะ คือ แบบเหมือน จริง,ตัดทอน และ นามธรรม

แบบเหมือนจริง

แบบตัดทอน

แบบนามธรรม

ความแตกต่างของสถานที่สำ�คัญอันเป็นเอกลักษณ์ของเมือง (Landmark)

แบบเหมือนจริงเป็นการสื่อสารที่ง่าย ซื่อตรง เน้นความ เป็นธรรมชาติ สื่อให้เห็นบรรยากาศสถานที่จริง วัตถุจริง นิยมใช้ภาพถ่าย แสดงความทันสมัยในการใช้เทคโนโลยี ในการสร้างภาพ ข้อเสียคือการนำ�ไปใช้งานสื่ออื่นๆ ยาก หรือย่อขนาดเล็กลงจะทำ�ให้เห็นได้ ไม่ชัดเจน แบบตัดทอนเป็นการสื่อสารที่ทำ�ให้เกิดความง่ายใน การนำ�ไปใช้งานกับสือ่ ต่างๆ และเป็นแนวคิดในแบบสมัย ใหม่นยิ ม ในตัวอย่างจากซ้ายไปขวา ลักษณะการตัดทอน จากตัดทอนน้อยๆ ไปหาการตัดทอนทีม่ าก จนเหลือเพียง เค้าโครงที่สำ�คัญที่สุด แล้วค่อยเติมเนื้อหาของกิจกรรม ของตนลงไป ให้เกิดเอกภาพในภาพทั้งหมด แบบนามธรรมเน้นความคิดสร้างสรรค์ทางด้านความ งามของรูปร่างรูปทรงทำ�ให้เกิดรูปแบบของการสื่อสาร ใหม่ๆ อาจมีความหมายแฝงและเป็นแนวคิดในแบบสากล นิยม เช่น การไหลของสายน้� ำ การลดหลัน่ ของภูเขา หรือ สวรรค์ - โลก หรือความเจริญงอกงามเป็นต้น เฮือนเฮา(ส์) 9 เฮือนเฮา(ส์) 9


ตราสัญลักษณ์ สมาคมสถาปนิก และวิศวกรลาว “ALACE” (The Association of Lao Architects and Civil Engineers) ก่อ ตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อ 15 กันยายน 2005 ภายใต้การอุปถัมภ์ของกระทรวงการ สื่อสารการขนส่งไปรษณีย์และการก่อสร้าง (MCTPC) มี วั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อ ส่ ง เสริ ม กิ จ กรรมการทำ � งานของ สมาชิก และการพัฒนาและ บรรลุ ผลสัมฤทธิ์ทางการ เรี ยน ทั กษะวิช าชีพ อีก ทั้ง ยัง ส่ง เสริมและ เผยแพร่ ข้อมูลด้านการศึกษาการวิจัย ในการอนุรักษ์มรดกทาง สถาปัตยกรรมของชาติให้สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติ ของสถาปัตยกรรม ระหว่างประเทศ และเพื่อเผยแพร่, ส่งเสริมการใช้เทคนิคทีท่ นั สมัยในด้านวิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยีขนั้ สูงในการก่อสร้างและ มีการจัดสัมมนาเพือ่ ส่งเสริมให้สมาชิกได้เรียนรูแ้ ลกเปลีย่ นประสบการณ์อนั มี ประโยชน์ต่อวิชาชีพ องค์ประกอบศิลป์มี วงกลมน้ำ�เงิน ภายในมีเส้นโค้ง 3 เส้น เป็นระดับๆ ไปทางซ้าย ตัดด้วย เส้นโค้งอีก 1 เส้นไปทางขวา ทำ�ให้เห็นเป็นภาพโครง หลังคาสถาปัตยกรรมลาว หรืออาจเห็นเป็นภาพ สะพาน และถนนก็ ได้ อาจสื่อถึงการประสานงานกัน เป็นการ ออกแบบในสไตล์โมเดิร์น แต่ยังคงนำ�เอาเอกลักษณ์ของ สถาปัตยกรรมลาวมาใช้ ปรากฏเพียงแค่เส้นของหน้าจั่ว ที่มีความโค้ง และเห็นเป็นภาพหลังคาซ้อนกันอย่างวัด เชียงทอง ได้อีกด้วย และใช้สีน้ำ�เงินของธงชาติที่สื่อถึง ประเทศลาวได้ สรุป การนำ�เอาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นของตนเองมา เป็นตัวแทนองค์กรหรือกิจกรรมในตราสัญลักษณ์เพื่อ สื่อ ถึงเนื้อหา สถานที่ รูปแบบทางศิลปะท้องถิ่น และ ต้องการแสดงให้เห็นถึงอำ�นาจความยิ่งใหญ่ พลังทาง ภูมปิ ญ ั ญาทีม่ มี าแต่อดีตของพืน้ ถิน่ นัน้ ๆซึง่ สถาปัตยกรรม ทีถ่ กู นำ�มาใช้สว่ นใหญ่จะเป็นศาสนสถานทีค่ นลาวให้ความ เคารพนับถือศรัทธามาอย่างยาวนาน เรียกได้ว่าเป็นสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง อีกทั้งยังมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของ ผู้คนทั่วโลก และ ตราสัญลักษณ์ในลาวก็ยังจะพัฒนา 10

เฮือนเฮา(ส์)

เปลีย่ นแปลงไป ซึง่ สามารถสะท้อนความคิดของคนแต่ละ ยุคสมัยได้อีกด้วย * อาจารย์ ป ระจำ � สาขาวิ ช าการออกแบบอุ ต สาหกรรม คณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

บทความนี้ได้เขียนขึ้นหลังจากการทำ�วิจัย เรื่อง ตราสัญลักษณ์ลาว : การสื่อสารอัตลักษณ์องค์กรเชิง วัฒนธรรมในกระแสโลกาภิวัตน์ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิง คุณภาพ ใช้ระเบียบวิธวี จิ ยั การสือ่ สาร เพือ่ หาความหมาย ความแตกต่าง ทัง้ ทางสังคม ทางรูปแบบของศิลปะ โดย มีประชากรและกลุ่มเป้าหมาย อันได้แก่ ตัววัตถุ ได้แก่ ตราสัญลักษณ์ลาวรูปแบบต่างๆ , ตัวบุคคล ได้แก่ ผู้ส่ง สาร และกลุ่มเป้าหมายผู้รับสาร ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลป วัฒนธรรมลาว และ ผู้ออกแบบ ผู้ใช้ตราสัญลักษณ์ใน ลาว โดยได้กำ�หนดขอบเขตด้านพื้นที่ได้แก่ เมืองหลวง พระบาง, นครหลวงเวียงจันทน์ และ เมืองจำ�ปาสัก เน้น การค้นคว้าด้วยการถ่ายภาพจากสถานที่จริง จากสื่อ ต่างๆ ทั้งป้ายหน้าร้าน ในหนังสือเอกสาร การค้นคว้า ผ่านทางอินเตอร์เน็ต ทัง้ ในและนอกประเทศลาว เพือ่ การวิเคราะห์หาความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันซึ่งเป็นส่วนที่ มีความสำ�คัญต่อประเด็นของกระบวนการสื่อสารในกระ แสโลกาภิวัตน์ ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลจากการรวบรวม ตราสัญลักษณ์ลาว จำ�นวน 1,000 ตรา ตราสัญลักษณ์ (Logo) ในลาวตั้งแต่มีการเปิด ประเทศในปี ค.ศ.1999 ที่ประกาศให้เป็นปีแห่งการท่อง เที่ยวลาว จวบจนปี ค.ศ. 2015 เกิดปรากฏการณ์ทั้ง กระแสโลกาภิวตั น์ทหี่ ลัง่ ไหลเข้ามาสูล่ าว พบว่าความนิยม ในการสร้างอัตลักษณ์ 10 อันดับแรก สิ่งที่นิยมนำ�มาใช้ มากที่สุดคือคำ�ว่า ลาว , Lao อันดับสองเป็น ช้างและ ช้างเอราวัณ อันดับสามคือภาษาถิ่น ซึ่งใช้คำ�พูดในชีวิต ประจำ�วันต่างๆ อันดับสี่คือ ดอกจำ�ปา ดอกไม้ประจำ� ชาติลาว อันดับห้า คือ พระธาตุหลวง อันดับหก คือ ลายลาว อันดับเจ็ด คือ ชื่อเมืองต่างๆ อันดับแปด คือ ธงชาติลาว อันดับเก้าคือ อักษรลาวประดิษฐ์ และ อันดับ สิบคือ สถาปัตยกรรมจำ�พวกเฮือนและสิม


Industrial

Design มาเลเซีย ผ้าพื้นเมืองและความ หลากหลายทางวั ฒ นธรรม อาจารย์เกศินี ศรีสองเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัขอนแก่น

เมื่อเอ่ยถึงสิ่งทอของประเทศเพื่อนบ้านที่มีพรมแดนติดกับภาคใต้ ของไทยอย่างประเทศ หลายคนคงนึกถึงผ้าปาเต๊ะหรือผ้าบาติกลวดลาย ไม้ดอกเป็นอย่างแรก ทว่าในความเป็นจริงแล้วผ้าแพรพรรณของชาว มาเลเซียจากอดีตถึงปัจจุบัน มีหลายชนิดหลากเทคนิคเลยทีเดียว เมือ่ พิจารณาทางด้านภูมศิ าสตร์พบว่า มาเลเซียเป็นประเทศทีถ่ กู แบ่ง เป็นสองฝัง่ โดยมีทะเลจีนใต้กนั้ กลาง พืน้ ทีส่ ว่ นแรก คือมาเลเซียตะวันตก ติดกับตอนใต้ของประเทศไทย ที่รู้จักกันในนามแหลมมาลายู ส่วนพื้นที่ อีกด้านหนึ่งคือมาเลเซียตะวันออก อยู่ทางตอนเหนือของเกาะบอร์เนียว มีพื้นที่ติดกับอินโดนีเซีย และบรูไน ปัจจุบันชาวมาเลเซียประกอบไปด้วยคนหลายเชื้อชาติ มีชาวมาลายู ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศรวมถึงชนดังเดิมอย่างชนเผ่าใน ซาราวักและบาซา ทั้งยังมีชาวมาเลเซียเชื้อสายจีน อินเดีย และลูกครึ่ง คริสตังอันเป็นผลพวงจากช่วงเจริญรุ่งเรืองของการค้าทางทะเล ยอ้ นกลับไปในประวัตศิ าสตร์ เส้นทางการค้าและช่วงการล่าอาณานิคม สมัยศตวรรษที่ 15 ช่องแคบมะละกาหรือเมืองท่าแห่งคาบสมุทรอินโดจีน ปัจจุบันคือมาเลเซียตะวันตก เป็นเมืองท่าที่สำ�คัญแห่งหนึ่งของโลก ซึ่ง คร่อมเส้นทางการค้าทางทะเลจากตะวันออกสู่ตะวันตก ระหว่างสอง เมืองสำ�คัญอย่างจีนและอินเดีย สินค้าที่สำ�คัญมากในอดีตนอกจากจะ เป็นเครื่องเทศแล้วยังมีสิ่งทอซึ่งเป็นสินค้าอีกอย่างหนึ่งที่นิยม โดยได้ มาจากจีน ตะวันออกกลาง และอินเดีย โดยมาเลเซียได้รับเอาวัสดุและ เทคนิคใหม่ๆของสิ่งทอผ่านทางเส้นทางการค้าในอดีต

เส้นทางการค้าทางทะเลและที่มาสิ่งทอที่มีอิทธิพลต่อผ้าพื้นเมืองมาเลเซีย 1) ตะวันออกกลาง 2) อินเดีย 3) จีน 4) อินโดนีเซีย

เฮือนเฮา(ส์) 11


Songket ผ้ายกดอกที่พุ่งด้วยเส้นทอง เชิงผ้าทอ เป็นรูปร่างหน่อไม้

ผ้าบาติกมาเลเซีย เทคนิคการใช้บล็อกไม้พิมพ์ขี้ ผึ้งลงบนผ้าเพื่อให้เกิดลวดลาย

ผ้ามัดหมี่แบบสองชั้นที่มัดทั้งเส้นพุ่งและเส้นยืน ที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดีย 12

เฮือนเฮา(ส์)

ผ้าฝ้ายพื้นหลากสีสัน ผ้าทอที่พุ่งด้วยเส้นทอง รวมถึงผ้าไหมอัน ทรงคุณค่าจากที่ต่างๆล้วนเป็นสินค้าที่ผู้คนต้องการ ท่ามกลางสินค้า เหล่านี้ ผ้าจากประเทศอินเดียถือเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมมากที่สุด อย่างเช่น ปาโตลา ( Patola ) ซึ่งเป็นผ้าทอมัดหมี่สองชั้น (มัดทั้งเส้น พุ่งและเส้นยืน) จากเมืองคุชราต และ บันดานี (bandhani) หรือผ้า มัดย้อมจากเมืองคุชราตและเมืองราชสถาน นอกจากนี้ ผ้าลายตาราง จากคุชราต ที่มีชื่อเรียกว่า ปูลิคัท (Pulicat) หรือผ้าโสร่ง ยังส่งอิทธิพล สู่เครื่องแต่งกายชายชาวมุสลิมที่ยังเห็นสวมใส่ในชีวิตประจำ�วันจนถึง ปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีเทคนิคการตกแต่งผ้าแบบต่างๆ เช่น การ ตกแต่งผ้าคลุมศีรษะของผู้หญิงมุสลิม หรือที่เรียกว่า เคริงกัม (Keringkam) ที่เป็นการปักลวดลายด้วยเส้นทองบนผืนผ้า จากอิทธิพลต่างๆด้านสิ่งทอที่ได้รับมา ชาวมาเลเซียได้สร้างสรรค์ สิ่งทอหลากลายชนิดของตนขึ้น เช่น ซองเกต (Songket) ผ้าที่ทอด้วย เส้นเงิน เส้นทอง หรือไหม ยกดอกเป็นลวดลายที่ดูหรูหราสวยงาม และ ผ้าบาติกที่เป็นที่นิยมของชาวมาเลเซียเชื้อสายจีนในแถบมะละกา ซึ่ง คล้ายคลึงกับผ้าโสร่งของคนทางภาคใต้ของประเทศไทย เนื่องจากเป็น ที่แพร่หลายและผลิตแถบเมืองกลันตันกับเตเรงกานูที่เป็นพรมแดนติด กับประเทศไทย โดยมาเลเซียได้รับอิทธิพลการทำ�ผ้าบาติกด้วยเทคนิค การพิมพ์ลายด้วยขี้ผึ้งมาจากอินเดียและอินโดนีเซีย ช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ปัจจุบันลวดลายดั้งเดิมอย่างลายดอกไม้ใบไม้ พบเห็นได้ทั่วไปตาม สิ่งทอที่ผลิตตามหัวเมืองต่างๆ ของประเทศ อย่างกัวลาลัมเปอร์ ปีนัง โจฮอร์ภารู เป็นต้น จากวัฒนธรรมสิ่งทอและเครื่องแต่งกายอันหลากหลายชนิดและ เทคนิคในมาเลเซียที่กล่าวมาแล้วนั้น ถือเป็นเครื่องสะท้อนความแตก ต่างของนานาวัฒนธรรม ที่ผสมสืบสานสู่ผู้คนในประเทศนับแต่เริ่มต้น มีเส้นทางการค้าทางทะเลเมื่อครั้งศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา บ่มเพาะ ผู้คนและประเทศผ่านกาลเวลาเป็นวัฒนธรรมของประเทศนับจากอดีต จนถึงปัจจุบัน เอกสารอ้างอิง: - ข้อมูลจาก National Textile Museum ประเทศมาเลเซีย เรื่อง The Evolution of Malaysia Textile - Datuk Syed Ahmad Jamal. The Encyclopedia of Malaysia: Craft and the Visual Arts. Kualar Lumpur : Archipelago Press, 2007 - http://www.seasrepfoundation.org/pdf/articles/oct01d.pdf


ผลงานศิษย์เก่า A R

เฮือนเฮา(ส์) 13


ผลงานศิษย์เก่า I D

สิทธินนท์ มงคลแสงสุรีย์ (แฮม) ID6 BIGHAM_ILLUSTRATION - ออกแบบเสื้อยืดและกระเป๋าผ้าสำ�หรับงานการกุศล friends for friends นำ�ทีมโดย ชมพู่ อารยา, ใหม่ ดาวิกา , มาริโอ้ เมาเร่อ, เคน ภูภูมิ - ออกแบบปฏิทินตั้งโต้ะ ปี 2015 สำ�หรับ บริษัท หมอมวลชน จำ�กัด - ออกแบบดิสเพลย์ และสติกเกิร์คาแรคเตอร์สำ�หรับ CHARLES & KEITH THAILAND - ออกแบบกระเป๋า TRAVELLING BAG ให้กับห้างสรรพ สินค้า ZEN - ออกแบบภาพประกอบหนังสือ สวยครบสูตร โดย พาย ภัทรียา ณ นคร Line : big.ham tel. 084-6027288 Instagram : bigham_illustration Email: haaaaammy@gmail.com 14

เฮือนเฮา(ส์)

จากงานอดิเรกที่ชอบทำ�อยู่ทุกวันคือการวาดรูป ทำ�ให้เรา อยากนำ�เสนอสิง่ ทีเ่ ราทำ�ออกสูส่ าธารณะ เลยได้เริม่ ใส่ใจและ จริงจังกับผลงานมากขึน้ โดยงานของแฮมจะมีสไตล์ทชี่ ดั เจน เพราะไม่อยากเหมือนใคร การค้น หาตัวเองก็ ใช้เ วลาพอ สมควรแต่พอเจอแล้ว มันก็ท�ำ ให้เรารูส้ กึ มีตวั ตน มีเอกลักษณ์ ชัดเจนกว่าเดิม โดยแรงบันดาลใจในการออกแบบก็คือสิ่งที่ ชอบวาดมาตลอดตัง้ แต่เด็กๆคือชอบวาดตัวการ์ตนู ผูห้ ญิง เรา รูส้ กึ ว่าในยุคนีส้ งิ่ ทีผ่ หู้ ญิงรูส้ กึ ใส่ใจเป็นพิเศษคือดวงตา เพราะ ดวงตาเป็นสิ่งที่สื่ออารมณ์และเป็นสิ่งแรกที่คนจะมองเรา เวลาที่เจอกัน และสิ่งที่ทำ�ให้ผู้หญิงรู้สึกมั่นใจกับดวงตาของ ตัวเองมากขึน้ นัน้ ก็คอื ขนตา เลยดึงจุดนีม้ าเป็นจุดเด่นสำ�คัญ ในการสร้างสรรค์ผลงาน และบวกกับสัดส่วนของตัวการ์ตนู ที่ น่ารักและผิดสัดส่วนแต่ลงตัวพอดี การจะออกแบบอะไรสัก อย่างออกมานั้น กลุ่มเป้าหมายเป็นสิ่งที่สำ�คัญมาก เพราะ เค้าคือคนที่จะสนใจและซื้อผลงานเรา เค้าจึงต้องเป็นส่วน หนึ่งของแรงบันดาลใจเราเวลาที่จะใช้ออกแบบ


สมาคมศิษย์เก่า สถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขแนแก่น ชมรมศิษย์เก่า สถาปัตยกรรมศาสตร์ มข.สาขาภูเก็ต ชมรมศิษย์เก่า สถาปัตยกรรมศาสตร์ มข.สาขาอุบลราชธานี ชมรมศิษย์เก่า สถาปัตยกรรมศาสตร์ มข.สาขากรุงเทพมหานคร ชมรมศิษย์เก่า สถาปัตยกรรมศาสตร์ มข.สาขาอุดรธานี

เฮือนเฮา(ส์) 15


16

เฮือนเฮา(ส์)




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.