Thailand Biotech Guide 2021/2022

Page 19

THAILAND BIOTECH GUIDE

• สารสกัดจากต�ำรับสมุนไพรอายุวฒ ั นะ ทีม่ าจากต�ำรา โบราณของหมอพืน้ บ้านและถูกพัฒนาต่อโดยแพทย์แผนไทย ผู้เชี่ยวชาญ มีข้อบ่งใช้ คือ รับประทานเพื่อให้ร่างกายสดชื่น แข็งแรง ไม่ออ่ นเพลีย ป้องกันอาการไข้ตามฤดูกาล ท�ำให้ออ่ นวัย ต�ำรับนี้มีส่วนผสมของสมุนไพร เช่น โกฐ ชะเอมเทศ เป็นต้น จากรายงานการวิ จั ย ภายใต้ ก ารสนั บ สนุ น ของโปรแกรม สนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iTAP) พบว่า สารสกัดต�ำรับนี้มีฤทธิ์กระตุ้นการแสดงออกของยีนชะลอวัย (sirt-1, Foxo-1, Tert และ Klotho) ได้เทียบเท่าสารเรสเวอราทรอล ที่มาจากองุ่นแดง ซึ่งยีนชะลอวัยนี้จะช่วยให้เซลล์ต่าง ๆ ในร่ า งกายมี อ ายุ ยื น ยาวขึ้ น ช่ ว ยลดกระบวนการอั ก เสบ ของอวัยวะและป้องกันโรคที่มาจากการชราของเซลล์ เช่น อัลไซเมอร์ เบาหวาน เป็นต้น นอกจากนี้ สารสกัดจากต�ำรับ สมุนไพรอายุวัฒนะยังมีฤทธิ์ต้านออกซิเดชันทั้ง 3 กลไก คือ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ต้านการเกิดเปอร์รอกซิเดชันของ ไขมัน ฤทธิ์คีเลชันของโลหะ อีกด้วย [9] นอกจากนี้ยังพัฒนา สารสกัดให้อยูใ่ นรูปแบบนาโนอีมลั ชันในน�ำ้ มันจากพืชธรรมชาติ ด้วยเทคนิค Sonication ซึ่งจะท�ำให้สารสกัดมีขนาดอนุภาค เล็ก กระจายตัวได้ดี มีความคงตัวสูง และยังช่วยการดูดซึม ในระบบทางเดินอาหารได้ดี และน�ำนาโนอีมลั ชันทีไ่ ด้ไปบรรจุ ใส่แคปซูลนิ่มเพื่อเพิ่มความแตกต่างด้านรูปแบบยา (Dosage Form) ให้แก่ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โดยผลงานวิจยั นีไ้ ด้ถกู น�ำ ไปต่อยอดเชิงพาณิชย์ในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสาร สกัดจากต�ำรับสมุนไพรอายุวัฒนะ โดยบริษัทเอกชนซึ่งเป็น เจ้าของต�ำรับแล้ว นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์นี้ยังได้รับรางวัลการ ประกวดนวัตกรรมจากต่างประเทศ ซึ่งจะได้น�ำผลงานวิจัยนี้ ไปใช้ในการตลาดด้วย ขณะนี้ได้อยู่ในระหว่างการยื่นจด อนุสิทธิบัตรและการตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติต่อไป ประเทศไทยอุดมไปด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติทมี่ คี วาม หลากหลายทางชีวภาพสูง จึงเป็นโอกาสที่ดีที่ประเทศไทย จะน�ำข้อได้เปรียบนี้มาใช้เป็นพื้นฐานในการสร้างนวัตกรรม และผลักดันธุรกิจผลิตภัณฑ์สมุนไพรของประเทศได้ การ ใช้องค์ความรู้จากภูมิปัญญาไทย เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการ สร้างนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ธรรมชาติส�ำหรับสุขภาพและ ความงาม และควบคู่กับการใช้กระบวนการวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีในการพิสจู น์แนวคิด กลไกการท�ำงาน ปรับปรุงและ พัฒนา ลดข้อจ�ำกัด และหาความเป็นไปได้ เพื่อใช้ประโยชน์ จากภูมปิ ญ ั ญาไทยทีม่ มี าแต่โบราณ รวมถึงเพิม่ โอกาสประสบ ความส�ำเร็จในการต่อยอดนวัตกรรม ทั้งด้านการใช้ประโยชน์ เชิงสุขภาพและเชิงพาณิชย์

จากตัวอย่างสารสกัดและผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่กล่าวมา ข้างต้น เป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้ว่าการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี มีความจ�ำเป็นอย่างมากในการสร้างความแตกต่างให้แก่ ผลิตภัณฑ์สมุนไพร ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาชนิดของสาร สกัดให้มีความใหม่และหลากหลายขึ้น การพัฒนาคุณภาพ ประสิทธิภาพ และความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์และสารสกัด เช่น การใช้เทคโนโลยีนาโน การใช้กระบวนการผลิตทีท่ นั สมัย และการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ให้แตกต่าง เป็นต้น นอกจากนี้ การศึกษากฎหมายและมาตรฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ สารสกัดและผลิตภัณฑ์สมุนไพร จะช่วยให้สามารถควบคุม คุณภาพของสารสกัดและผลิตภัณฑ์สมุนไพรให้ได้มาตรฐาน สร้างความเชื่อมั่นต่อผู้บริโภค ซึ่งจะท�ำให้ผู้ประกอบการมี นวัตกรรมที่เป็นของตนเอง มีงานวิจัยเชิงวิทยาศาตร์รองรับ ทั้งประสิทธิภาพและความปลอดภัย ซึ่งจะสามารถยกระดับ ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ส มุ น ไพรไทยได้ ลดการพึ่ ง พาเทคโนโลยี ห รื อ เครื่องมือจากต่างประเทศ ลดการน�ำเข้าสารสกัดและวัตถุดิบ สมุนไพรจากต่างประเทศ ผลิตภัณฑ์สมุนไพรของประเทศไทย สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก นอกจากนี้ยังสามารถส่งเสริม ให้ปลูกพืชสมุนไพรเพื่อเป็นรายได้หลักและรายได้เสริม เพื่อ ช่วยเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนให้เข้มแข็ง และน�ำไปสู่การ ยกระดับศักยภาพการแข่งขันเพือ่ สร้างความเข้มแข็งและความ ยั่งยืนให้แก่เศรษฐกิจและสังคมของประเทศ อีกทั้งอาจยัง สามารถอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยมิให้สูญหายอีกด้วย

เอกสารอ้างอิง [1] กรุงเทพธุรกิจ. (2564). สมุนไพร ช่วยต้าน ‘โควิด 19’ ทางรอดของเศรษฐกิจไทย. สืบค้น 24 กันยายน 2564. จาก https://www.bangkokbiznews.com/news/944144 [2] ศูนย์ข้อมูลข่าวสารอาเซียน กรมประชาสัมพันธ์. (2564).แนวโน้มการบริโภคสมุนไพร และผลิตภัณฑ์สมุนไพรในไทย. สืบค้น 24 กันยายน 2564. จาก http://www.aseanthai.net/ mobile_detail.php [3] Roland Berger’s. (2020). TREND COMPENDIUM 2050: MEGATRENDS SHAPING THE COMING DECADES. Retrieved from https://www.rolandberger.com/en/Insights/GlobalTopics/Trend-Compendium [4] ดวงกมล เรือนงาม. (2557). การสกัดสารต้านอนุมูลอิสระ. วารสารวิทยาศาสตร์ลาดกระบัง, 23(2), 120-139 [5] Chutoprapat R., Malilas W., Rakkaew R.l, Udompong S., Boonpisuttinant K. (2020). Collagen biosynthesis stimulation and antimelanogenesis of bambara groundnut (Vigna subterranea) extracts, Pharmaceutical Biology, 58:1, 1023-1031 [6] Boonpisuttinant, K., Sodamook, U., Ruksiriwanich, W., & Winitchai, S. (2014). In Vitro Antimelanogenesis and Collagen Biosynthesis Stimulating Activities of Star Grass (Hypoxis aurea Lour.) Extracts. Asian Journal of Applied Sciences, 2(4), 405-413 [7] กรวินท์วิชญ์ บุญพิสุทธินันท์. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ส�ำหรับดูแลเส้นผมจากสมุนไพร ไทย (รายงานผลการวิจัย). โครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (ITAP) [8] กรวินท์วิชญ์ บุญพิสุทธินันท์ และ อมร ไชยสัตย์. (2559). การศึกษาฤทธิ์ต้านปวดและอักเสบ ของต�ำรับยาสมุนไพรไทยจากต�ำราโรคนิทานค�ำฉันท์ 11เพื่อประยุกต์ใช้ในผู้สูงอายุ (รายงานผล การวิจัย). ส�ำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) [9] กรวินท์วิชญ์ บุญพิสุทธินันท์ และ มนสมลย์ ธนโชติสิทธิกุล. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ ต้านการอักเสบกล้ามเนื้อเส้นเอ็น (รายงานผลการวิจัย). โครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยี ของอุตสาหกรรมไทย (ITAP)

17


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.