EGAT Magazine | พ.ย. - ธ.ค. 2554

Page 29

นายสามารถ กล่าวต่อไปว่า หลังจากมีการรณรงค์ผ่าน สื่อต่างๆ พบว่ามีกระแสการตอบรับจากประชาชนดีมาก มีการ จองวันและสถานที่เพื่อร่วมโครงการผ่าน Call Center: ๐ ๒๔๓๖ ๔๖๙๙ จากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ยังไม่รวมถึงประชาชน และหน่วยงานที่ลงพื้นที่ปลูกจริงทั้ง ๙ แห่ง เรียกได้ว่าคิวแน่นถึง เดือนสิงหาคมในปีที่ผ่านมาเลยทีเดียว แต่ก็ยังเรียกความสนใจ จากคนรุ่ น ใหม่ โดยเพิ่ ม ทางเลื อ กปลู ก ต้ น ไม้ ผ่ า นทางระบบ ออนไลน์จาก www.egat.co.th และ www.kapook.com ซึ่งมี ประชาชนทั่วไปเข้าร่วมผ่านระบบนี้นับหมื่นคน สำหรับพันธุ์ ไม้ที่ ใช้ปลูกในโครงการ ได้แก่ ต้นขานาง กัลปพฤกษ์ แดง สาธร เคี่ยม สัก ยางนา ขี้เหล็กบ้าน และ ราชพฤกษ์ ซึ่งต่างเป็นไม้ท้องถิ่นทั้งสิ้น

ปลูกป่าต้องใช้เวลาให้ธรรมชาติปรับตัวเอง

กว่ า จะได้ พื้ น ที่ สี เ ขี ย วกลั บ มา ต้ อ งยอมรั บ ว่ า ใช้ เ วลา อย่างน้อย ๑๐ ปี กว่าจะเรียกได้อย่างเต็มปากว่า “ป่า” ที่ต้องดู จากดัชนีชี้วัดทางธรรมชาติ คือ นกขนาดเล็ก นกขนาดใหญ่ สัตว์กินพืช ตามมาด้วยสัตว์กินเนื้อ นั่นบ่งบอกว่าป่าที่ปลูกไว้ อย่างน้อย ๑๐ ปีนั้นมีแหล่งอาหารให้สัตว์ป่าดำรงชีวิตได้ เมื่อถึง เวลานี้แล้วเราก็ เป่าปากด้วยความโล่งใจได้ เพราะป่าเป็นป่า อย่างแท้จริง กฟผ.เชื่อเหลือเกินว่าการปลูกป่ามันคือการแก้ปัญหา ระยะยาว เพียงปล่อยให้ธรรมชาติปรับตัวเองเท่านั้น เพราะ นอกจากจะซับ CO2 แล้วยังเป็นการซับน้ำในดินไม่ ให้ไหลเร็ว จนเกิดความเสียหายต่อส่วนรวม การดำเนินงานของ กฟผ. วั น นี้ ต้ อ งปรั บ ตั ว เองเพื่ อ ให้ ป ระชาชนมี ส่ ว นร่ ว มมากขึ้ น ต่ อ กิจกรรมเพื่อสังคม และร่วมปลูกจิตสำนึกในเรื่องสิ่งแวดล้อม เพราะผลที่ เ กิ ด ขึ้ น ปฏิ เ สธไม่ ไ ด้ ว่ า “ผลกระทบจากต้ น น้ ำ ย่อมมีผลถึงคนปลายน้ำ” ด้วย ถึงเวลานี้แล้ว กฟผ. อยากเห็นคนไทยร่วมกันปลูก ต้นไม้มากขึ้น และหวงแหนป่าไม้เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นภาวะโลกร้อน หรืออุทกภัย ที่สำคัญมันต้องอาศัย เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์การกระทำ

27


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.