วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง
วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง สมัยศรีอยุธยาตอนกลาง ถึงแม้จะมีเวลาสั้นกว่าตอนต้น คือ นับตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาท ทอง ถึง รัชกาลสมเด็จพระพุทธเจ้าเสือ และระยะเวลาที่เกิดวรรณคดีอย่างแท้จริง ก็เพียงสมัยเดียว คือ ใน รัชกาล สมเด็จพระนารายณ์ แต่ในรัชกาลนี้ ได้รับยกย่องว่า เป็น ยุคทองแห่งวรรณคดี เพราะมีนักปราชญ์ราช กวี และวรรณคดีสาคัญเกิดขึ้นมากมายในเวลาเพียงรัชสมัยเดียวนี้ แทบจะกล่าวได้ว่าในยุคทองแห่งวรรณคดี มี การหายใจเป็นกาพย์กลอนกันต่อไป นับตั้งแต่องค์ประมุขของประเทศ คือ สมเด็จพระนารายณ์ จนถึงบุคคล ชั้นผู้น้อยทั้งหญิงชาย เช่น นายประตู ต่างพากันสนใจในงานวรรณคดี และสามารถสร้างสรรค์วรรณคดีอัน ยอดเยี่ยมไว้ ราชสานักของสมเด็จพระนารายณ์ เป็นที่ชุมนุมกวีปราชญ์คับคั่ง ยิ่ งมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์ อุปถัมภ์เช่นนั้นแล้ว ยิ่งเพิ่มความครึกครื้นมากขึ้น เช่น สมเด็จพระนารายณ์ ทรงพระราชนิพนธ์โคลงไว้ ๒ บท แล้วรับสั่งให้พระโหราธิบดีนาไปแต่งต่อ สมเด็จพระนารายณ์ทรงตอบโต้โคลงกับพระมเหสี และศรีปราชญ์ตอบ โต้นายประตู และมหาราชเชียงใหม่เป็นต้น วรรณคดี ในยุคทองแห่งวรรณคดีมีหลายเรื่องหลายประเภท และเกิดประเภทใหม่ๆ ขึ้นอีกหลายอย่าง เช่น กาพย์ห่อโคลง นิราศ กาพย์ขับไม้ มีการนาฉันท์ไปแต่งเป็นเรื่องราว และเกิดแบบเรียนภาษาไทยขึ้น การที่วรรณคดีรุ่งเรือง ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ คงจะมีสาเหตุดังนี้ ๑. ความเจริญของบ้านเมือง สมเด็จพระนารายณ์ ทรงเป็นกษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถ และ ประกอบด้วยบุญญาธิสมภาร มีบุรุษรัตน์ช่วยเสริมพระบารมีในด้านต่างๆ เช่น นักรบ นักการฑูต และสถาปนิก ทั้ง ที่เป็นคนไทย และชาวต่างประเทศ เมื่อบ้านเมืองเจริญ ก้าวหน้า สมบูรณ์พูนสุข เช่นนั้ น วรรณคดีก็ย่อม เจริญตามไปด้วย ๒. สมเด็จ พระนารายณ์ ทรงสนพระทัย และทรงพระปรีช าญาณทางวรรณคดีเ ป็นพิเ ศษ จึ ง ทรง สนับสนุนและอุปการะกวี ๓. ในรัชกาลนี้ ชาวยุโรปเข้ามาเผยแพร่ศาสนาคริสต์เป็นอันมาก คนไทยจึง ต้องตื่นตัวหันมาใสใจ ศึกษาภาษาและศาสนาของตนเอง ลักษณะวรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง ๑. เป็นยุคทองของวรรณคดี มีวรรณคดีและกวีเกิดขึ้นมากมาย ๒. ลักษณะคาประพันธ์นิยมใช้โคลงมากที่สุด ฉันท์และกาพย์มีบ้าง ส่วนกลอนไม่ปรากฏ ๓. มีแบบเรียนภาษาไทยเกิดขึ้น “จินดามณี” กวีและวรรณคดีที่สาคัญก่อนยุคทองแห่งวรรณคดี สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ๑. กาพย์มหาชาติ พระมหาราชครู ๒. เสือโคคาฉันท์ ๓. สมุทรโฆษคาฉันท์ (ตอนต้น)
สมเด็จพระนารายมหาราช ๔. สมุทรโฆษคาฉันท์ (ต่อจากของพระมหาราชครู) ๖. โคลงทศรถสอนพระราม ๕. โคลงพาลีสอนน้อง ๗. โคลงราชสวัสดิ์ พระโหราธิบดี ๘. จินดามณี ๙. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา (ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ) ศรีปราชญ์ ๑๐. อนิรุทธ์คาฉันท์ ๑๑. โคลงเบ็ดเตล็ด พระศรีมโหสถ ๑๒. กาพย์ห่อโคลง ๑๔. โคลงอักษรสาม ๑๓. โคลงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ๑๕. โคลงนิราศนครสวรรค์ ขุนเทพกวี ๑๖. ฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง กวีไม่ปรากฏนาม ๑๗. ราชาพิลาปคาฉันท์ ๑. กาพย์มหาชาติ ผู้แต่ง สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ทรงพระนามเดิมว่า พระศรีศิลป์ เป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระเอกาทศ รถ ก่อนได้ราชสมบัติผนวชอยู่ที่วัดระฆัง ๘ พรรษาได้สมณศักดิ์เป็นพระพิมลธรรม มีสมัครพรรคพวกมาก แย่งราชสมบัติแล้วปลงพระชนม์เจ้าฟูาศรีเสาวภาคย์ ซึ่งเป็นพระอนุชาต่างพระมารดาได้ปราบดาภิเษกเป็น กษัตริย์เมื่อ พ.ศ. ๒๑๖๓ อยู่ในราชสมบัติ ๘ ปี สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมใฝุพระทัยในพระพุทธศาสนา รับสั่งให้ค้นหารอยพระพุทธบาทจนพบที่ไหล่เขาเขตเมื องสระบุรี และโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างมณฑปสวมรอย พระพุทธบาทนั้นไว้ นอกจากนี้ยังได้ทรงพระราชนิพนธ์กาพย์มหาชาติ ประวัติ พระราชพงศาวดารยืนยันว่าสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมทรงพระราชนิพนธ์ “มหาชาติคาหลวง” เมื่อ จ.ศ. ๙๘๙ พ.ศ. ๒๑๗๐ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดารงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่า หมายถึง กาพย์มหาชาติ แต่ต้นฉบับที่ เหลือตกทอดมาไม่ครบทุกกั ณฑ์ พระราชนิพ นธ์ที่เหลือ อยู่ตามพระมติของ สมเด็จฯกรม พระยาดารงราชานุภาพ ได้แก่ กัณฑ์กุมารบรรพ มีต้นฉบับเป็นตัวเขียน ณ วันแรม ๑๐ ค่า เดือน ๗ พ.ศ. ๒๓๒๕ ก่อนพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟูาจุฬาโลกมหาราชทรงประกอบพิธีปราบดาภิเษก นอกจากนี้ยังมี สักบรรพอีกกัณฑ์หนึ่งซึ่งอาจเป็นพระราชนิพนธ์ที่เหลืออยู่ของสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม เช่นกัน ทานองแต่ง แต่งเป็นร่ายยาว มีคาถาบาลีแทรกเป็นตอน ๆ เพื่อให้ฟังเรื่องติดต่อกันได้สะดวก ความมุ่งหมาย ใช้เทศน์ให้อุบาสกอุบาสิกาฟัง เรื่องย่อ เช่นเดียวกับมหาชาติคาหลวง ตัวอย่างข้อความบางตอน พระเวสสันดรทรงราพึงในพระทัยตอนชูชกเฆี่ยนตีสองกุมาร
โอ้แสนสงสารพระลูกเอย กระไรเลยอนาถา ทั้งพราหมณ์เฒ่าก็ไม่เมตตาตีกระหน่า นี่เนื้อแกล้งให้เรา ชอกช้าแตกฉานในมกุฏทานบารมี เหมือนชายชาติเสื่อมศรีริษยา มาตีกั้นสกัดปลาที่หน้าไซ บรรดาจะได้พระ โพธิญาณ เพราะพระปิยบุตรทานบารมี ทชีไม่ช่วยชูถนอม ข้อความตอนนี้กว่าถึงสานวน ตีปลาหน้าไซ เช่นเดียวกับสุภาษิตพระร่วง กาพย์มหาชาติมีทานองแต่งต่างกับมหาชาติคาหลวง คือ ใช้คาประพันธ์ประเภทร่ายยาวอย่างเดียว และวิธีแปลจากภาษาบาลีแตกต่างกันคือ มหาชาติคาหลวงยกคาถาบาลีมาวรรคหนึ่งแล้วแปลเป็นภาษาไทย วรรคหนึ่ง สลับกันไป แต่กาพย์มหาชาติยกคาถาไว้ตอนหนึง่ แล้วจึงแปลเป็นภาษาไทยให้เนื้อความติดต่อกัน ยาว ๆ เพื่อฟังเข้าใจได้สะดวกขึ้น ถ้อยคาสานวนที่ใช้เรียบเรียงกาพย์มหาชาติเป็นภาษาง่าย ๆ ไม่สู้มีศัพท์ โบราณ แต่อย่างไรก็ดี กาพย์มหาชาติยังมีเนื้อความยืดยาวเกินไป ไม่อาจเทศน์ให้จบภายใน ๑ วันได้ จึง เป็นการขัดกับความเชื่อของผู้ฟัง ซึ่งเชื่อว่าจะต้องฟังเทศน์มหาชาติให้จบใน ๑ วัน จึงจะได้อานิสงส์แรง เกิดทันศาสนาพระศรีอาริย์ เป็นเหตุให้กาพย์มหาชาติเสื่อมความนิยมไป ต่อมาจึงมีการแต่งมหาชาติสาหรับ เทศน์ให้จบใน ๑ วันขึ้นใหม่อีกหลายสานวนตามที่เรียกกันว่า “มหาชาติกลอนเทศน์” ๒. เสือโคคาฉันท์ ผู้แต่ง พระมหาราชครู สันนิษฐานว่ามีเชื้อสายพราหมณ์เป็นพระอาจารย์ถวายพระอักษรแด่สมเด็จพระ นารายณ์มหาราช อาจด ารงตาแหน่งพระมหาราชครูฝุา ยลู กขุน ณ ศาลหลวง หรือ พระมหาราชครู พราหมณ์ปุโรหิตอย่างใดอย่างหนึ่ง มีบางท่านสันนิษฐานว่าเป็นคนเดียวกับพระโหราธิบดี ชาวเมืองพิจิตร ผู้ แต่งจินดามณี เนื่องจากได้เป็นพระอาจารย์ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จึงเรียกกันว่า “พระมหาราช ครู” แต่ตามความจริงตาแหน่งพระมหาราชครูกับโหราธิบดีเป็นคนละตาแหน่งดังปรากฏในกฎมณเฑียรบาล พระมหาราชครูที่แต่งสมุทรโฆษคาฉันท์ตอนต้นและแต่งเสือโคคาฉันท์กับพระโหราธิบดีที่แต่งจินดามณี จึง น่าจะต่างคนกัน ประวัติ สันนิษฐานว่าแต่งก่อนสมุทรโฆษคาฉันท์ โดยนาเค้าเรื่องมาจากปัญญาสชาดก เรื่อง พหลคาวีชาดก ปัญญาสชาดกเป็นเรื่องเกี่ยวกับพระประวัติของพระโพธิสัตว์ ภิกษุชาวเชียงใหม่แต่งไว้เป็นภาษาบาลี มี ๕๐ เรื่อง ประมาณ พ.ศ. ๒๒๐๐ ทานองแต่ง แต่ง ด้วยคาฉันท์ และกาพย์ แต่มีจ านวนฉั นท์แ ละกาพย์น้ อยชนิด กว่า สมุทรโฆษคาฉัน ท์ ตอนท้ายเป็นโคลงสี่สุภาพ ความมุ่งหมาย เพื่อสอนคติธรรม เรื่องย่อ เริ่มต้นกล่าวสรรเสริญคุณเทวดา กษัตริย์ และพระรัตนตรัย แล้ว ดาเนินเรื่องว่า เสือแม่ลูกอ่อน และโคแม่ลูกอ่อนอาศัยอยู่ในปุาแห่งหนึ่ง วันหนึ่งแม่เสือออกไปหาอาหาร ลูกโคสงสารจึงบอกแม่ให้นมแก่ ลูกเสือ ลูกเสือและลูกโคจึงเริ่มรักกันอย่างพี่น้อง แม่เสือสาบานว่าจะไม่ทาร้ายโคแม่ลูก แต่แม่เสือไม่รักษาคา สัตย์กินแม่โคเสีย ลูกเสือและลูกโคจึงช่วยกันประหารแม่เสือ แล้วชวนกันไปหากินจนพบพระฤๅษี พระฤๅษี เมตตาชุบให้เป็นคน ลูกเสือเป็นพี่ได้ชื่อว่า พหลวิชัย ลูกโคเป็นน้องชื่อ คาวี พระฤๅษีอวยพรและมอบพระ ขรรค์วิเศษให้ ทั้งสองจึงลาพระฤๅษีเดินทางไปเมืองมคธ พระคาวีได้ฆ่ายักษ์ที่คอยทาร้ายชาวเมืองนั้นตาย ได้
นางสุรสุดาราชธิดาท้าวมคธ แต่พระคาวีถวายแก่พระพหลวิไชยแล้วเดินทางต่อไป ต่างฝุายต่างเสี่ยงบัวไว้องค์ ละดอก เมื่ อ ไปถึ ง เมื อ งร้ า งแห่ ง หนึ่ ง พบกลองใหญ่ ใ บหนึ่ ง ตี ไ ม่ ดั ง ผ่ า ดู พ บนางจั น ทรผู้ มี ผ มหอม ธิ ด า ท้าวมัททราชและนางแก้วเกสร แห่งเมืองรมยนคร ได้ทราบความจากนางว่านกอินทรีใ หญ่คู่หนึ่ง มากิ น ชาวเมืองตลอดจนพระชนกชนนี นางรอดชีวิตได้เพราะกลองใบนั้น พระคาวีปราบนกอินทรีด้วย พระขรรค์ วิเศษและได้นางจันทรเป็นชายา วันหนึ่งนางจันทรลงสรงในแม่น้า ใส่ผมหอมในผอบแล้วลอยน้าไป ท้าวยศภูมิผู้ครองเมืองพัทธวิ ไสย เก็บได้หลงใหลผมหอมนั้นมาก นางทาสีอาสาไปนานางมาถวาย โดยออกอุบายลวงถามความลับเกี่ยวกับพระ ขรรค์จากนางจันทร ครั้นทราบว่าพระคาวีทรงถอดพระชนม์ไว้ในพระขรรค์ จึงนาพระขรรค์ไปเผาไฟ พระ คาวีสลบไป แล้วนางทาสีพานางจันทรไปถวายท้าวยศภูมิ แต่ไม่อาจเข้าใกล้นางได้เ พราะนางร้อนดังไฟ ด้วย อานาจความรักภักดีที่นางมีต่อพระคาวี เมื่อพระพหลวิไชยเห็นบัวอธิษฐานเหี่ยวลงเป็นลางร้ายจึง ตามหาจนพบร่างพระคาวี และพบพระ ขรรค์ในกองไฟ นามาชาระล้างแล้ววางลงบนองค์พระคาวี พระคาวีฟื้นขึ้น แล้วพากันออกตามหานางจันทร จนถึงเมือง ท้าวยศภูมิ พระพหลวิไชยแปลงเป็นพระฤๅษีอาสาชุบท้าวยศภูมิให้เป็นหนุ่มแล้วฆ่าเสียเอาพระคาวี ออกมาอ้างแทนว่าชุบตัวเป็นหนุ่มได้สาเร็จ พระคาวีได้อภิเษกกับนางจันทร และครองเมืองพัทธวิไสยสืบต่อมา ตัวอย่างข้อความบางตอน ลูกเสือลูกโคช่วยกันประหารแม่เสือ บัดนั้นลูกพยัคฆ์ ใส่กลทารัก แม่เข้าไปหา เคล้าคลึงเคลียชม ตระบัดโกรธา แหงนกัดกรรฐา คอขาดบัดใจ นางจันทรกล่าวถึงความเป็นมาของนางแก่พระคาวี ตัวข้าพระเจ้า พระชนกเกิดเกล้า รักยิ่งชีวัน ชีวาตมองค์ สมเด็จจอมธรรม์ จึงไว้ในครรภ์ เภรีราชา เสือโคคาฉันท์เป็นหนังสือประเภทฉันท์เรื่องแรกที่จบสมบูรณ์ ชนิดของฉันท์ที่ใช้แต่งมีไม่มากและไม่ เคร่งครัดในแผนบังคับนัก นอกจากนี้มีกาพย์ชนิดต่าง ๆ แต่งปนอยู่ด้วย ถ้อยคาสานวนเข้าใจง่ายกว่าสมุทร โฆษ คาฉันท์ เรื่องเสือโคคาฉันท์นี้ ได้ต้นเค้ามาจากปัญญาสชาดก แต่ไม่ได้กล่าวถึงการกลับชาติของบุคคลใน เรื่องอย่างชาดกทั่วไป เรื่องเสือโคคาฉันท์เป็นที่นิยมแพร่หลายในเวลาต่อมา กวีตอนปลายกรุงศรีอยุธยานาไป แต่งเป็นบทละครนอกให้ชื่อว่าคาวี ในสมัยรัตนโกสินทร์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระราช นิพนธ์บทละครนอก เรื่องคาวี ตามเค้าเรื่องเสือโคคาฉันท์นี้ขึ้นอีก ชาดกเรื่องนี้ให้คติธรรมเกี่ยวกับการรักษา สัตย์ ๓. สมุทรโฆษคาฉันท์ ผู้แต่ง พระมหาราชครู สมเด็จพระนารายณ์มหาราช และสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส ประวัติ สมุทรโฆษคาฉันท์เกิดขึ้นโดยพระราชประสงค์ของสมเด็ จพระนารายมหาราช รับสั่ง ให้พระมหา ราชครูแต่งขึ้นเพื่อใช้เล่นหนังใหญ่ ในคราวเฉลิมพระชนมพรรษาครบเบญจเพส แต่แต่งไม่จบ พระมหาราชครู
ถึงแก่อนิจกรรมเสียก่อน สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงพระราชนิพนธ์ต่อแต่ก็ไ ม่จบอีก เรื่องนี้จึงค้างอยู่ ต่อมากรมพระปรมานุชิตชิโนรสทรงนิพนธ์ต่อจนเสร็จ ทานองแต่ง แต่งด้วยฉันท์และกาพย์ ความมุ่งหมาย พระราชประสงค์เดิมของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่รับสั่งให้พระมหาราชครูแต่ง สมุทร โฆษคาฉันท์เพื่อใช้เล่นหนังใหญ่ เมื่อครั้งฉลองพระชนมายุครบเบญจเพส การที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่งเพราะทรงเสียดายที่หนังสือซึ่งเริ่มต้นแต่งได้ดีแล้วต้องค้างอยู่ ส่วนกรมพระปรมานุชิตชิโนรสแต่งให้จบก็ เพราะเหตุผลที่ว่า “โดยมุมานะหทัย อดสูดูไขษย กวีฤาแล้งแหล่งสยาม” เรื่องย่อ พระพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็นพระสมุทรโฆษ โอรสท้าวพินทุทัตกับนางเทพธิดาแห่งเมืองพรหมบุรีมี พระชายาทรงพระนามว่า สุรสุดา พระสมุทรโฆษตรัสลาพระบิดาพระมารดาและพระชายาเสด็จประพาสปุา เพื่ อ คล้ อ งช้ า ง ขณะพระสมุ ท รโฆษประทั บ ใต้ ต้ น โพธิ์ ไ ด้ ต รั ส สดุ ดี ข อพรเทพารั ก ษ์ แ ล้ ว บรรทมหลั บ ไป เทพารักษ์ทรงพระเมตตาพาอุ้มไปสมนางพินทุมดี พระราชธิดาท้าวสีหนรคุปต์กับนางกนกพดีแห่งรมยบุรี จน สว่างจึงทรงนากลับไปไว้ที่เดิม พระสมุทรโฆษกับนางพินทุมดีครวญถึงกัน พอท้าวสีหนรคุปต์ทรงประกาศพิธี สยุมพร นางพินทุมดี พระสมุทรโฆษจึงเสด็จมายังเมืองรมยบุรี พระสมุทรโฆษทรงประลองศรมีชัยในพิธี สยุมพรได้อภิเษกกับนางพินทุมดี วันหนึ่งพระสมุทรโฆษเสด็จประพาสสวน ทรงเมตตาพยาบาลรณาภิมุขซึ่งถูกรุณบุตรพิทยาธรอีกตน หนึ่งทาร้ายบาดเจ็บเพราะแย่งนางนารีผลกันและถูกชิงนางไป รณาภิมุขถวายพระขรรค์วิเศษเป็นการตอบ แทน พระสมุทรโฆษทรงใช้พระขรรค์นั้นพานางพินทุมดีเสด็จประพาสปุาหิมพานต์ ต่อมาพิทยาธรอีกตนหนึ่ง ลัก พระขรรค์ไป พระสมุทรโฆษทรงพานางพินทุมดีเสด็จพระดาเนินโดยพระบาทกลับเมืองทรงข้ามแม่น้าใหญ่ โดยเกาะขอนไม้ไปและเกิดพลัดกันกลางแม่น้า นางพินทุมดีทรงขึ้นฝั่งได้ นางเมขลาและพระอินทร์ช่วยให้ พระสมุทรโฆษขึ้นฝั่ง และบังคับให้พิทยาธรนาพระขรรค์วิเศษมาคืน พระสมุทรทรงตามหานางพินทุมดีจนพบ ทั้งสองพระองค์ได้เสด็จกลับเมืองและได้รับเวนราชสมบัติ ตัวอย่างข้อความบางตอน ประวัติการแต่งต่อ โดยมุมานะหฤทัย อดสูดูไขษย กวีฤาแล้งแหล่งสยาม สมุทรโฆษคาฉันท์ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสร ในรัชกาลที่ ๖ว่าเป็นยอดของคาประพันธ์ ประเภทฉันท์นอกจากความไพเราะและลีลาอันเหมาะสมของฉันท์แต่ละบทแล้วยังประกอบด้วยรสวรรณคดี ครบถ้วน สมุทรโฆษคาฉันท์มีประวัติความเป็นมาน่าอัศจรรย์ ต้องใช้กวีต่อเนื่องถึง๓ท่าน ๓แผ่นดินตั้งแต่กรุงศรี อยุธยามาเสร็จลงในสมัยรัตนโกสินทร์ กวีทั้งสามไม่ได้แต่งพร้อมกันแต่สามารถรักษาระดับรสกวีนิพนธ์ไว้ได้ เท่าเทียมกันและกลมกลืนกันสนิท ๔. โคลงพาลีสอนน้อง
ผู้แต่ง สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทานองแต่ง เป็นโคลงสี่สุภาพ ความมุ่งหมาย เพื่อใช้เรื่องรามเกียรติ์เปรียบเทียบในการอบรมสั่งสอนข้าราชการ เรื่องย่อ เริ่มเรื่องว่าพาลีเจ้าเมืองขีดขิน เมื่อใกล้จะถึงแก่ความตายด้วยศรของพระราม ก็เกิดสานึกผิดใน ความประพฤติที่แล้วมาของตน ได้เรียกสุครีพน้องร่วมมารดาและองคตลูกชายมาสั่งสอนข้อปฏิบัติตนในการที่ จะรับราชการอยู่กับพระราม ตัวอย่างข้อความบางตอน ไม่ยักยอกของหลวง หนึ่งของกองโกศไว้ ในคลัง อย่าคิดปิดแสวงหวัง อาจเอื้อม เอาออกนอกคลังรัง แรงโทษ อย่าได้มีใจเงื้อม เงื่อนร้ายสลายคุณ โคลงพาลีสอนน้อง แสดงค่านิยมของสังคมไทยในการรับราชการในเวลานั้น และแสดงอิทธิพลเรื่อง รามเกียรติ์ที่มีต่อสังคมไทยอีกด้วย ๕. โคลงทศรถสอนพระราม ผู้แต่ง สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทานองแต่ง เป็นโคลงสี่สุภาพ ความมุ่งหมาย เพื่อแสดงพระราชจริยวัตรของผู้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน เรื่อ งย่อ เริ่มต้นกล่าวถึง ท้าวทศรถตรัสเรียกพระรามมาพระราชทานโอวาท เมื่อจะทรงมอบบ้านเมืองให้ ครอง มีสาระสาคัญเกี่ยวกับความเมตตากรุณา อกุศลมูล ได้แก่โทสะ โลภะ โมหะ ตลอดจนอหิงสาและ ขันติ ตัวอย่างข้อความบางตอน อกุศลมูล ครองภพลบโลกล้า ศุภผล ระงับดับกังวลกล โกรธเกรี้ยว โลภอวิชชาผจญ มนทโมหะ กาจัดสลัดสละเลี้ยว อย่าได้ประมูลมา โคลงเรื่องนี้แสดงให้เห็นความนิยมเรื่องรามเกียรติ์เหมือนโคลงพาลีสอนน้อง ๖. โคลงราชสวัสดิ์ ผู้แต่ง สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ทานองแต่ง แต่งเป็นโคลงสี่สุภาพ มีทั้งหมด ๖๓ บท ความมุ่งหมาย เพื่อใช้เป็นหลักปฎิบัติตนของข้าราชการผู้ใหญ่ เรื่องย่อ มีใจความสอนข้อประพฤติปฏิบัติแก่ข้าราชการ ตัวอย่างข้อความบางตอน ไม่อาจเอื้อมนั่งนอนบนเพราะราชอาสน์และพระแท่นประทับ เตียงตั่งตั้งไว้อย่า เถลิงกาย แท่งทองผ่องพรรณราย เพริศแพร้ว ขององค์พงศ์สุทธสาย กษิรโลก อย่านั่งจังไรแล้ว เสนียดร้ายรังแสดง โคลงราชสวัสดิ์มีเนื้อความคล้ายกับโคลงพาลีสอนน้อง แต่ละเอียดพิสดารกว่า มีส่วนดีในด้านคติ ธรรมสอนความประพฤติ และแสดงให้เห็นความนิยมรับราชการของสังคมไทยซึ่งมีมาแต่โบราณ โคลงพาลีสอนน้อง โคลงทศรถสอนพระราม และโคลงราชสวัสดิ์ ใช้คาศัพท์และโวหารใหม่กว่า สมุ ทรโฆษค าฉั นท์ และอนิรุ ทธ์ คาฉัน ท์ ซึ่ง แต่ ง ในรั ชกาลสมเด็ จพระนารายณ์ม หาราช มี ผู้สั นนิ ษฐานว่ า โคลงสุภาษิตสามเรื่องนี้ไม่ใช่ พระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่น่าจะเป็นพระราชนิพนธ์ ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เพราะใช้ถ้อยคาภาษาและลีลาการประพันธ์ คล้ายเรื่องโคลงชะลอพระ พุทธไสยาสน์วัดปุาโมก นอกจากนี้ยังมีข้อสนับสนุนที่ว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศมีพระราชนิยมกวดขันการศึกษาอบรม แก่กุลบุตรที่จะเข้ารับราชการเป็นพิเศษ ๗.จินดามณี ผู้แต่ง พระโหราธิบดี แต่งเมื่อ พ.ศ. ๒๒๑๕ พระโหราธิบดี รับราชการในหน้าที่โหรหลวงอยู่ที่กรุงศรีอยุธยารัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตานานศรีปราชญ์ที่พระยาปริยัติธรรมธาดาแต่ง กล่าวว่าพระโหราธิบดีเป็นบิดาของศรีปราชญ์ สันนิษฐานว่า อาจถึงแก่กรรมก่อน พ.ศ. ๒๒๒๓ ซึ่งเป็นปีที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชรับสั่งให้รวบรวมชาระจดมายเหตุ ซึ่งท่านแต่งไว้เข้ากับฉบับอื่นๆ เรียกชื่อต่อมาว่า พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับหลวงประเสริฐอักษร นิติ ข้อความในหนังสือจินดามณี กล่าวถึง พระโหราธิบดีว่าเดิมอยู่สุโขทัย อีกตอนหนึ่งกล่าวว่าเป็นชาว โอฆบุรี (พิจิตร) สันนิษฐานว่าเดิมอยู่สุโขทัยแล้วย้ายมาอยู่พิจิตร ประวัติ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดารงราชานุภาพ ทรงอธิบายไว้ในบันทึกสมาคมวรรณคดีปี ที่ ๑ เล่ม ๕ พ.ศ. ๒๔๗๕ มีใจความว่า ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พวกบาทหลวงฝรั่งเศสกาลัง เข้ามาเผยแผ่ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกที่กรุงศรีอยุธยา และตั้งโรงเรียนสอนหนังสือแก่เด็กไทยด้วย เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นเหตุให้สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงพระราชดาริที่จะบารุงการศึกษาสาหรับเด็กไทย ให้รุ่งเรืองขึ้น เพื่อมิให้คนไทยหันไปเข้ารีตและนิยมอย่างฝรั่ง จึงมีรับสั่งให้พระโหราธิบดีแต่งจินดามณีเพื่อ คนไทยจะได้มีแบบเรียนหนังสือไทยของตนเองและรู้วิชาการอย่างไทย ๆ หนังสือจินดามณีเดิมคงมี ๕ เล่ม
ดังปรากฏข้อความในกลบทศิริวิบุลกิตติ ของหลวงศรีปรีชา (เซ่ง) ว่า มีคาไทย ใส่ประกอบ สอบตารา มหาคัมภีร์ อสีติธาตุ ราชฤกษ์ เบิกพยากรณ์ ผ่อนเข้าหมด จดหาผล ชนหญิงชาย หมายเป็นแบบ แอบ เข้าอรรถ จัดเข้าสิ้น จินดามณี มีเสร็จสุด สมุดเล่มหนึ่ง ถึงเล่มสอง ต้องเล่มสาม ตามเล่มสี่ มีเล่มห้า ทานองแต่ง แต่งเป็นร้อยแก้ว บางตอนเป็นคาประพันธ์ประเภทต่างๆ เรื่องย่อ เริ่มต้นกล่าวประณามพระรัตนตรัย และพระสรัสวดี แล้วกล่าวถึงอักษรศัพท์ คานมัสการ คาที่ ใช้ ส ศ ษ คาที่ใช้ไม้ม้วน ไม้มลาย ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ อักษรสามหมู่ การผันอักษร เครื่องหมายต่าง ๆ เช่น วรรณยุกต์ ทัณฑฆาต นฤคหิต ตอนต่อไปอธิบายวิธีแต่งคาประพันธ์พร้อมด้วยตัวอย่างจากหนังสืออื่นๆ และที่แต่งขึ้นเอง ตัวอย่างจากหนังสือต่าง ๆ เช่น โคลงแช่งน้าพระพัฒน์ มหาชาติคาหลวง ลิลิตพระลอ คาพากย์เรื่องรามเกียรติ์ นอกจากนี้ยังกล่าวถึงหนังสือเรื่องอื่น เช่น คาสวรสมุทร (กาสรวลศรีปราชญ์) สมุทรโฆษ ราชาพิลาป และบอกชื่อและประวัติผู้แต่ง ตัวอย่างข้อความบางตอน บอกชื่อและประวัติผู้แต่ง จินดามุ ณี พระโหราธิบ ดี เดอมอยู่เมือ งสุโขทัย แต่ง ถวายแต่ครั้ ง สมเด็จพระนารายณ์เ ป็นเจ้ า ลพบุรีย จินดามณีเป็นหนังสือสอนอ่านและตาราแต่งคาประพันธ์ภาษาไทยเล่มแรก สานวนภาษาที่ใช้ เข้าใจได้ยากมีคาอธิบายเพียงสั้น ๆ แต่ก็นับว่ามีความสาคัญต่อการศึกษาภาษาไทยเป็นเวลาช้านาน ได้ใช้เป็น หนังสือเรียนมาจนถึงต้นรัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ถึงแม้ต่อมาจะได้มีหนังสือเรียนภาษาไทยอื่น ๆ เกิดขึ้น เช่น จินดามณีสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ประถมกกา จินดามณีของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวง วงศาธิราชสนิท ปฐมมาลาในรัชกาลที่ ๓ และมูลบทบรรพกิจในรัชกาลที่ ๕ ล้วนได้แนวคิดใน การแต่งจากจินดามณีของพระโหราธิบดีทั้งสิ้น จินดามณีเป็นหลักฐานเกี่ยวกับวิวัฒนาการทางอักษรสตร์และประวัติวรรณคดีของไทย จินดามณี บางฉบับกล่าวถึงพ่อขุนรามคาแหงมหาราชทรงประดิษฐ์อักษรไทยเมื่อ พ.ศ. ๑๘๒๖ การแต่งจินดามณี เมื่อ พ.ศ. ๒๒๑๕ ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช รูปวรรณยุกต์ตรีกับจัตวาและคาประพันธ์ประเภท กลอน ยังไม่ปรากฏในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ม หาราช นอกจากนี้ยังยืนยันสมัยที่แต่งวรรณคดีสาคัญ คือ ลิลิตพระลอ และกาสรวลศรีปราชญ์ว่าน่าจะแต่งก่อนสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และช่วยรักษา วรรณคดีสมัยอยุธยาบางเรื่องซึ่งต้นฉบับสูญหายไปแล้ว เช่น คาพากย์เรื่องรามเกียรติ์ ๘.พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา (ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ) ผู้แต่ง พระโหราธิบดี ประวัติ พระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ ตาละลักษณ์) เมื่อครั้ง เป็นหลวงประเสริฐอักษรนิติ ได้ต้นฉบับ พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา เป็นสมุดไทย ตัวเขียนกล่าวถึง สมัยอยุธยา มาจากบ้านราษฎรแห่งหนึ่ง ที่จังวัด เพชรบุรี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๐ ได้นาขึ้นถวายสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดารงราชานุภาพ
จึงทรงเรียกพงศาวดารนี้ว่าพระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ไป พบ พงศาวดารฉบับนี้เรียบเรียงเมื่อ จ.ศ. ๑๐๔๒ ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มาราช ทานองแต่ง แต่งเป็นร้อยแก้ว ลาดับศักราชและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นคล้ายบันทึกปูมโหร ความมุ่งมาย เรียบเรียงโดยพระราชประสงค์ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เพื่อรวบรวมจดหมายเหตุของ พระโหราธิบดี จดหมายเหตุในที่ต่าง ๆ และพระราชพงศาวดารเข้าด้วยกันตามลาดับศักราช เรื่องย่อ เริ่มต้นเป็นบานแผนก บอกปีที่เรียบเรียง ผู้รับสั่งให้เรียบเรียง ตลอดจนความมุ่งหมายแล้วกล่าวถึง เหตุการณ์ตั้งแต่ จุลศักราช ๖๘๖ ชวดศก แรกสถาปนาพระพุทธเจ้าพแนงเชิง ซึ่งเป็นปีที่สร้างพระพุทธรูป วัดพนัญเชิง การสร้างกรุงศรีอยุธยา จนถึง จุลศักราช ๙๖๖ มะโรงศก วัน (๕ ฯ๖ ๒ ค่า) เสด็จพยุห ยาตราจากปุาโมกโดยทางชลมารค และฟันไม้ข่มนามตาบลเอกราช ตั้งทัพไชยตาบลพระหล่อ วันนั้นเป็นวัน อนุ แลเป็นวันสงกรานต์ พระเสาร์ไปราศีธนูเป็นองศาหนึ่ง ครั้งนั้นครั้นเสด็จพระราชดาเนินถึงเมืองหลวง ตาบลทุ่งดอนแก้ว ซึ่งเป็นปีที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงยกทัพไปตีพม่า และสวรรคตที่เมืองห้างหลวง ตัวอย่างข้อความบางตอน การแต่งหนังสือมหาชาติคาหลวง ในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ศักราช ๘๔๔ ขานศก ท่านให้เล่นการมหรสพ ๑๕ วัน ฉลองพระศรีรัตนมหาธาตุ แล้วจึง พระราชนิพนธ์พระมหาชาติคาหลวงจบบริบูรณ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดารงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่า พระราชพงศาวดารชุด นี้คงจะมี ๒ เล่ม แต่ฉบับที่ได้มานี้จบเพียงรัชกาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พงศาวดารฉบับหลวง ประเสริฐอักษรนิติ เป็นหลักฐานสาคัญทางประวัติศาสตร์ ให้ความกระจ่างเกี่ยวกับเหตุการณ์สมัยกรุงศรี อยุธยามากกว่า พงศาวดารฉบับอื่น เช่นเดียวกับศิลาจารึกของพ่อขุนรามคาแหงมหาราชให้ความกระจ่าง เกี่ยวกับเหตุการณ์สมัย กรุงสุโขทัย ๙. อนิรุทธ์คาฉันท์ ผู้แต่ง ศรีปราชญ์ ตานานศรีปราชญ์ ซึ่งพระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ ตาละลักษณ์) แต่งไว้กล่าวว่าศรีปราชญ์เป็นบุตร พระโหราธิบดี ข้าราชการตาแหน่งโหรในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ศรีปราชญ์ได้ถวายตัวเข้ารับราชการใน รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ต่อมาศรีปราชญ์มีเรื่องวิวาทกับนางสนมเป็นการผิดกฎมนเทียรบาล แต่ เนื่องด้วยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงรับคาไว้กับบิดาของศรีปราชญ์ว่าจะไม่ลงโทษประหารศรีปราชญ์จึง เพียงแต่ถูกเนรเทศไปอยู่นครศรีธรรมราช ที่นครศรีธรรมราชนี้ศรีปราชญ์มีเรื่องชู้สาวกับภรรยาเจ้าเมืองจึงถูกเจ้าเมืองประหารชีวิต เมื่อสมเด็จ พระนารายณ์ม หาราชคลายพระพิ โ รธ โปรดให้ห าศรี ปราชญ์ เ ข้า ไปกรุง ศรีอ ยุ ธยา ทรงทราบว่ า เจ้ า เมื อ ง นครศรีธรรมราชประหารชีวิตศรีปราชญ์โดยพลการ จึงมีรับสั่งให้สาเร็จโทษเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช แต่อย่างไรก็ดีชีวประวัติของศรีปราชญ์ยังไม่เป็นที่ยุติ เพราะไม่ตรงกับเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ จาก หลักฐานทางประวัติศาสตร์ไม่ปรากฏว่าเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชคนใดถูกลงพระราชอาญาประหารชีวิตแต่ใน
รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีการตั้งพระยารามเดโชไปเป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช แทนเจ้าเมืองคน เดิมซึ่งถึงแก่อนิจกรรมประมาณ พ.ศ. ๒๒๒๖ มีบางท่านให้ความเห็นว่า ศรีปราชญ์ เป็นราชทินนาม อาจมีศรี ปราชญ์หลายคนก็ได้ ศรีปราชญ์ที่แต่งโคลงกาสรวลเป็นคนละคนกับที่แต่งอนิรุทธ์คาฉันท์ หนังสือคาให้การ ของชาว กรุงเก่าและคาให้การของขุนหลวงหาวัด (สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร) กล่าวว่าศรีปราชญ์เกิดและ เสียชีวิตในรัชกาลสมเด็จพระพุทธเจ้าเสือ ประวัติ การที่ศรีปราชญ์แต่งอนิรุทธ์คาฉันท์ มีผู้วิพากษ์วิจารณ์กันมาก บางท่านว่าแต่งเพื่อแข่งขันกับสมุทร โฆษ คาฉันท์ บางท่านว่าเพื่อพิสูจน์ความสามารถในการแต่งฉันท์ เพราะถูกสบประมาทว่าแต่งได้แต่โคลง ทานองแต่ง แต่งด้วยฉันท์ และกาพย์ นอกจากนี้ยังมีร่ายสุภาพแทรกอยู่ด้วย ความมุ่ง หมาย แต่ง ด้ว ยอารมณ์ ก วี และเป็น ไปตามความนิย มที่ นาเรื่อ งเกี่ย วกั บศาสนา มาแต่ ง เป็น ค า ประพันธ์ เรื่องย่อ เริ่มต้นกล่าวถึงพระนารายณ์อวตารเป็นพระกฤษณะแห่งเมืองทวาราวดี พระกฤษณะมีพระนัดดา คือ พระอนิรุทธ์ ซึ่งเชี่ยวชาญในการรบมากและมีสิริรูปงดงาม วันหนึ่งพระอนิรุทธ์ทูลลาพระอัยกายกกองทัพไปล่า สัตว์ไ ด้ประทับแรมใต้ต้นไทรใหญ่ ก่อนบรรทมได้กล่าวสดุดีพระไทรเทพารักษ์ขอให้ช่วยปกปูองภัยอันตราย พระไทรเมตตาร่ายมนต์สะกดพาไปอุ้มสมนางอุษาธิดาท้าวพานาสูรแห่งโสนินคร พอใกล้รุ่ง พระไทรพาพระอนิ รุทธ์ไปไว้ในปุาดังเดิม ครั้นตื่นบรรทมพระอนิรุทธ์เศร้าโศกพระทัยแล้วยกทัพกลับเมือง นางอุษาให้นางพิจิตร เลขาพระพี่เลี้ยงวาดภาพเทพและกษัตริย์ทั่วสามภพ พอถึงรูปพระอนิรุทธ์นางก็จาได้ว่าคือองค์ที่เสด็จมาหานาง พระพี่เลี้ยงจึงเหาะมาสะกดพาพระอนิรุทธ์นาไปยังโสนินคร ความทราบถึงท้าว พานาสูรผู้บิดาของนาง จึงสั่ง ให้ ท หารมาล้ อ มจั บ พระอนิ รุ ท ธ์ แ ละแผลงศรมั ด พระอนิ รุ ท ธ์ ไ ว้ ขณะนั้ น พระนารทฤๅษี พ ระสหายของ พระกฤษณะเหาะผ่านมาพบ จึงนาความไปแจ้งพระกฤษณะ พระกฤษณะยกกองทัพมาปราบ ท้าวพานาสูรไป ทูลขอให้พระอิศวรเสด็จมาช่วยทัพหน้าของพระอิศวรแพ้แก่พระกฤษณะ พระกฤษณะจะประหารแต่อากาศ ภาคห้ามไว้เกรงโลกจะพินาศ ตอนหนึ่งพระอิศวรจะผลาญศัตรูด้วย พระเนตรที่สาม ฤๅษีและวิทยาธรห้าม ไว้ เกรงโลกจะเป็นอันตราย พระอิศวรทรงถอนทัพกลับ ท้าวพานาสูรเกิดขัตติยมานะออกรบเองเกือบถูก พระกฤษณะประหาร พระศิวะขอชีวิตไว้ พระกฤษณะตัดแขนหนึ่งพันแขนของท้ าวพานาสูรออกเหลือเพียง สองแขน และให้เป็นนายทวาร พระอนิรุทธ์และนางอุษาได้อยู่ร่วมกันเป็นสุขต่อมา ตัวอย่างข้อความบางตอน นางอุษาเห็นรูปพระอนิรุทธ์ที่นางพิจิตรเลขาพระพี่เลี้ยงวาดถวาย จึงวาดนแน่งโฉม อนิรุทธราชา นางเอาขดานมา บันทับทรวงก็ไห้โหย อ้านี้และรูปท้าว อันมาชมมาชายโชย จานองกระอืดโอย ทุกขทรวงรลวงกาม ศรีปราชญ์ได้เค้าเรื่องในการแต่งอนิรุทธ์คาฉันท์มาจากคัมภีร์วิษณุปุราณะ หรือเรื่องหริวงศ์ ซึ่งเป็น ภาคผนวกของมหากาพย์ภารตะ ทั้งสองเรื่องต่างเป็นคติฝุายพราหมณ์ แตกต่างจากสมุทรโฆษคาฉันท์ซึ่ งเป็น
เรื่องในชาดกพุทธศาสนา แต่ตอนต้นดาเนินเรื่องคล้ายสมุทรโฆษคาฉันท์ คือ ตอนลานาง ล่าสัตว์ เทวดาอุ้มสม และพระพี่เลี้ยงวาดรูปเทพและกษัตริย์ และมีบางตอนเลียนแบบลิลิตพระลอ เช่น บทชมโฉมพระอนิรุทธ์ อนิรุทธ์คาฉันท์ พรรณนาความคล้ายคลึง กันหลาย ๆ แห่ง ลีลาการแต่ง และการดาเนินเรื่องรวดเร็ว แสดงลักษณะความเป็นผู้มีอารมณ์ร้อนของผู้แต่ง อนิรุ ทธ์ คาฉั นท์ ของศรี ปราชญ์ มีล าดับ เรื่ องผิดแปลกออกไปจากเรื่อ งอื่น ๆ คื อ ไม่มี ประณามบท (บทไหว้ครู) ในตอนต้น แต่ไปขอพรให้ตนเองในตอนท้าย และยังได้ใช้ร่ายสุภาพแทรกในฉันท์เรื่องนี้ ด้วยนับว่า แตกต่างกับวรรณคดีที่แต่งเป็นฉันท์เรื่องอื่น ๆ แสดงว่าศรีปราชญ์เป็นกวีที่มีความคิดอิสระ แต่อย่างไรก็ดีคืออนิรุทธ์คาฉันท์ ก็ได้รับยกย่องว่าแต่งดี มีรสวรรณคดีหลายหลาก โวหารค่อนข้างโลด โผน ลีลาฉับไวเป็นที่รู้จักกันกว้างขวาง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟู าจุฬาโลกมหาราชทรงนาเค้าเรื่องนี้มา ทรง พระราชนิพนธ์เป็นบทละครเรื่องอุณรุท ๑๐. โคลงเบ็ดเตล็ด ผู้แต่ง ศรีปราชญ์ ประวัติ โคลงเบ็ดเตล็ดของศรีปราชญ์มีอยู่ในโคลงกวีโบราณ ซึ่งพระยาตรังคภูมิบาลในรัชกาลที่ ๒ แห่งกรุง รัตนโกสินทร์รวบรวมไว้และมีปรากฏในตานานศรีปราชญ์ของพระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ ตาละลักษณ์) ทานองแต่ง เป็นโคลงสี่สุภาพ ตัวอย่างโคลงบางบทของศรีปราชญ์ ตอบโต้มหาราชเชียงใหม่ เกี่ยวกับตาแหน่งที่ได้รับพระราชทาน รังศรีพระเจ้าฮื่อ ปางใด (มหาราชเชียงใหม่) ฮือเมื่อพระเสด็จไป ปุาแก้ว (ศรีปราชญ์) รังศรีบ่สดใส สักหยาด (มหาราชเชียงใหม่) ดาแต่นอกในแผ้ว ผ่องเนื้อนพคุณ (ศรีปราชญ์) ประชันโคลงกับมหาราชเชียงใหม่ หน้าพระที่นั่ง เรียมไห้ชลเนตรถ้วม ถึงพรหม พาหมู่สัตว์จ่อมจม ชีพม้วย พระสุเมรุเปื่อยเปนตม ทบท่าว ลงแฮ อักนิฐมหาพรหมฉ้วย พี่ไว้จึงคง (ศรีปราชญ์) ตอบโต้นายประตูเกี่ยวกับแหวนพระราชทาน แหวนนี้ท่านได้แต่ ใดมา (นายประตู) เจ้าพิภพโลกา ท่านให้ (ศรีปราชญ์) ทาชอบสิ่งใดนา วานบอก (นายประตู) เราถวายกาพย์โคลงไท้ ท่านให้รางวัล (ศรีปราชญ์) ตอบโต้พระสนม
หะหายกระต่ายเต้น ชมแข สูงส่งสุดตาแล สู่ฟูา ระดูฤดีแด สัตว์สู่ กันนา อย่าว่าเราเจ้าข้า อยู่พื้นเดียวกัน (ศรีปราชญ์) โคลงอธิษฐาน ศรีปราชญ์กล่าวเมื่อถูกประหารที่นครศรีธรรมราช ธรณีภพนี้เพ่ง ทิพญาณ หนึ่งรา เราก็ลูกอาจารย์ หนึ่งบ้าง เราผิดท่านประหาร เราชอบ เราบ่ผิดท่านมล้าง ดาบนี้คืนสนอง โคลงต่าง ๆ ที่ยกมาพอเป็นตัวอย่าง ส่วนมากศรีปราชญ์แต่งขึ้นในทันทีทันใด ทานองกลอนสดแต่มี คารมกล้า คมคาย สมควรแก่ความเป็นปฏิภาณกวีในยุคทองแห่งวรรณคดี ๑๑. กาพย์ห่อโคลง ผู้แต่ง พระศรีมโหสถ รับราชการในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ปรากฏในบานแผนกโคลงนิราศ นครสวรรค์ ฉบับสมุดไทยในหอสมุดแห่งชาติว่า เดิมชื่อ เรื่อง เป็นบุตรพระครูมเหธร นอกจากกาพย์ห่อโคลง พระศรีมโหสถยังแต่งโคลงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โคลงอักษรสาม และโคลงนิราศ นครสวรรค์ ประวัติ วิธีแต่งกาพย์ห่อโคลงปรากฏอยู่ในหนังสือจินดามณี แต่ไม่อาจทราบได้ว่าผู้ใดได้แต่งกาพย์ห่อโคลงเป็น เรื่องราวไว้กอ่ นหน้านัน้ บ้าง ทานองแต่ง แต่งด้วยกาพย์ยานีและโคลงสี่สุภาพสลับกัน ข้อความในกาพย์และโคลงคู่หนึ่ง ๆ ใกล้เคียงกัน ความมุ่งหมาย สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดารงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่า พระศรีมโหสถแต่ง กาพย์ห่อโคลงขึ้นในงานสมโภชช้างเผือกในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เรื่องย่อ กล่าวถึงชีวิตความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมประเพณี การรื่นเริงของชาวอยุธยา เมื่อมีมหรสพหนุ่มสาว พากันแต่งตัวสวยงามออกเที่ยวเตร่และเกี้ยวพาราสีกัน ตัวอย่างข้อความบางตอน คาฝ่ายชาย โต้ตอบฝ่ายหญิง เรียมฤๅคือบันทัด ช่างชาญดัดขัดเกลาขยัน ทอดเขียนเรียนพระธรรม ใช่สันเคียวเบี้ยวบิดงอ ใจเรียมเทียมดุจด้วย บันทัด คนช่างเกลาเหลาขัด รอบรู้ ทอดเขียนรเมียนอัถ ธรรเมศ ใช่อันสันเคียวคู้ คดค้อมคมหนา ถ้อยคาสานวนที่ใช้แต่งกาพย์ห่อโคลง เข้าใจง่าย มีความเปรียบเทียบลึกซึ้งคมคาย เป็นคาเกี้ยวพาราสี
โต้ตอบกันระหว่างหญิงชายที่สุภาพนุ่มนวล วรรณคดีเรื่องนี้แสดงถึงความสมบรูณ์พูนสุขของบ้านเมือง การเล่น มหรสพ ตลอดจนการแต่งกายและประเพณีต่าง ๆ และเป็นกาพย์ห่อโคลงที่แต่งเป็นเรื่องเป็นราวเรื่องแรกที่ เป็นแบบอย่างสืบต่อมา ๑๒. โคลงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ผู้แต่ง พระศรีมโหสถ ทานองแต่ง แต่งด้วยโคลงสี่สุภาพ เป็นโคลงทั้งหมด ๗๘ บท ความมุ่งหมาย เพื่อสรรเสริญพระบารมีสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เรื่องย่อ เริ่มต้นขอประทานพรจากพระผู้เป็นเจ้าทั้งสามของพราหมณ์ ต่อจากนั้นกล่าวถึงการได้ช้างเผือกพัง จากกาญจนบุรี ได้เชียงใหม่ และพระพุทธสิหิงค์ เมืองต่าง ๆ มาอ่อนน้อมขอพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ความ วิจิตรงดงามของพระนครลพบุรี การเสด็จประพาสปุา พรรณนาธรรมชาติ พระราชพิธีคชกรรม พิธีเบิก โขลนทวาร การเสด็จนิวัติสู่ พระนคร ตอนสุดท้ายขอประทานพรจากทวยเทพให้อภิบาลสมเด็จพระนารายณ์ มหาราช ตัวอย่างข้อความบางตอน การประปาที่พระราชวังลพบุรี มีสินธุสายสีตซึ้ง ชลใส เติมแต่เศขรใน ซอกชั้น พุพวยหลั่งลงไหล เซงซ่าน วางท่อทางด้นดั้น สู่ท้องวังเวียน โคลงเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีลักษณะดีเด่นในการใช้คาง่าย ๆ ไพเราะ นิ่มนวล การบรรยายละเอียดแจ่มแจ้ง กล่าวถึง ความรุ่ ง เรือ งของพระนครลพบุรี และเหตุ การณ์ หลาย ประการซึ่งมิได้ปรากฏในหนังสือพระราชพงศาวดาร จึงมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ และโบราณคดี โคลงเรื่องนี้ เป็นแบบอย่างให้กวีรุ่นหลังแต่งโคลงเฉลิม พระเกียรติพระมหากษัตริย์ทานองเดียวกันอีกหลายเรื่อง เช่น นายสวนมหาดเล็ก แต่งโคลงเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และพระยาตรังคภูมิบาล แต่งโคลงดั้นเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเป็นต้น ๑๓. โคลงอักษรสาม ผู้แต่ง พระศรีมโหสถ ประวัติ โคลงเรื่องนี้เหลืออยู่เพียง ๒๙ บท เดิมคงมีมากกว่านี้ เพราะเนื้อเรื่องขาดตอนไปไม่ติดต่อกันการที่ ใช้ ชื่อว่า อักษรสาม เนื่องจากใช้คาที่มีวรรณยุกต์ ๓ รูปคือสามัญ เอก และโท โคลงบทนี้บางทีเรียกว่า โคลง อักษรสามหมู่ โคลงตรีเพชรประดับ หรือโคลงตรีพิธประดับ ทานองแต่ง แต่งด้วยโคลงสี่สุภาพ ทานองกลบท ความมุ่งหมาย เพื่อแสดงการผันคาที่ใช้รูปวรรณยุกต์ สามัญ เอก โท ทานองบทสอนอ่าน
เรื่องย่อ เนื้อเรื่องไม่ติดต่อกัน ตอนต้นเกี่ยวกับการรบ ต่อมาเปลี่ยนเป็นชมไม้ชมนก ตัวอย่างข้อความบางตอน ชมไม้ชมนก เขาขันคูคู่คู้ เคียงสอง เยื้องย่างนางยูงทอง ท่องท้อง ทิวทุ้งทุ่งทุงมอง มัจฉพราศ เทาเท่าเท้าย่างหย้อง เลียบลิ้มริมธาร หนังสือเรื่องนี้มุ่งแสดงศิลปะการใช้คามากกว่าเนื้อเรื่อง การแต่งถูกแบบแผนบังคับ ได้ใจความ กะทัดรัดและมีความไพเราะพอสมควร ๑๔. โคลงนิราศนครสวรรค์ ผู้แต่ง พระศรีมโหสถ ประวัติ แต่งเมื่อ พ.ศ. ๒๒๐๑ ในโอกาสโดยเสด็จสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งเสด็จพระราชดาเนินโดย กระบวนพยุหหยาตราทางชลมารคไปเมืองนครสวรรค์เพื่อรับช้างเผือก ซึ่งต่อมาระวางเป็นเจ้าพระยาบรมค เชนทรฉัททันต์ ทานองแต่ง บทแรกเป็นร่ายสุภาพ ต่อจากนั้นเป็นโคลงสี่สุภาพ จานวน ๖๙ บท เรื่องย่อ เริ่มต้นกล่าวชมปราสาทราชวัง และกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค ต่อจากนั้นพรรณนาสถานที่ ต่าง ๆ ตามเส้นทางการเดินทาง เช่น เพนียดคล้องช้าง วัดพระงาม ไชโย บ้านแปูง เมืองอินทรบุรี จบ ลงตอนกล่าวถึงเขาสรรพยา ตัวอย่างข้อความบางตอน กล่าวถึงการเสด็จประพาสเมืองนครสวรรค์ เสด็จแถลงยศเจ้าแผ่น ธรนินทร แล้วค่อยคละโดยสินธุ์ คล่าวคล้าย โดยเสด็จปิ่นภูมินทร ยูรยาตร ยังนครสวรรคผ้าย ยาตรเต้าตามชล โคลงนิราศนครสวรรค์มีความไพเราะในเชิงพรรณนาสถานที่และธรรมชาติระหว่างทาง ขาดบทคร่า ครวญถึงหญิงที่รัก มีบทอาลัยถึงที่อยู่พอเป็นสังเขป โคลงนิราศเรื่องนี้ให้ความรู้เกี่ยวกับปราสาทราชวังสมัย กรุงศรีอยุธยา กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค ตลอดจนสภาพชีวิตของประชาชน ภู มิสถานบ้านเรือน และธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ระหว่างสองฝั่งแม่น้าเจ้าพระยาในสมัยนั้น ๑๕. ฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง ผู้แต่ง ขุนเทพกวี เป็นชาวสุโขทัย รับราชการในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ประวัติ ฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้างสมัยกรุงศรีอยุธยาที่ยังเหลืออยู่มี ๒ ฉบับ ปรากฏหลักฐานว่าฉบับหนึ่งเป็น ของขุนเทพกวี สันนิษฐานว่าแต่งในคราวสมโภชเจ้าพระยาบรมคเชนทรฉัททันต์ ช้างเผือกคู่พระบารมีใน รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อีกฉบับหนึ่งไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง ทานองแต่ง แต่งด้วยฉันท์และกาพย์ ความมุ่งหมาย ใช้ขับในพระราชพิธีสมโภชช้างหลวง เรื่องย่อ ฉบับของขุนเทพกวี เริ่มต้นกล่าวสรรเสริญพระไพร พระกรรมบดี และเทพเจ้าในลัทธิพราหมณ์ มี พระพรหม พระนารายณ์ พระอิศวร และพระพิฆเนศวร เป็นต้น เพื่อขอพรให้มีความปลอดภัย ต่อจากนั้นสดุดี ขอช้างอันมีมงคลลักษณะ แล้วกล่าวถึงการเตรียมกิจพิธี คล้องช้าง ตอนท้ายกล่าวสรรเสริญพระอิศวรอีกครั้ง หนึ่ง ฉบับที่ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง เริ่มต้นกล่าวสรรเสริญและขอพรพระไพร และพระกรรมบดี แล้วกล่าว ปลอบขวัญช้างปุามิให้อาลัยคร่าครวญถึงชีวิตในปุาที่เคยอยู่ ควรตั้งใจไปรับตาแหน่งช้างหลวงเพราะการได้ไป อยู่ในนคร หลวงย่อมมีเกียรติยศและสุขสบายยิ่ง ตอนท้ายกล่าวลาพระไพร และบอกที่มาของบทสดุดีว่าถอดความจาก ภาษาเขมร ตัวอย่างข้อความบางตอน บทกล่อมช้างในฉบับที่ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง อ้าพ่ออย่าโศรกอย่าทุกขเลย แลอย่าเศร้าอย่าโศกา อย่าไห้พิลาปจิตรอา ดุรเลยจงฟังยิน ฉันท์ของขุนเทพกวีนับเป็นฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้างที่เก่าที่สุด เป็นต้นตารับการแต่งบทกล่อมช้าง และบทสังเวยสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ในภายหลัง ใช้คาเขมรปนอยู่มากจึงเข้าใจความหมายได้ยาก ส่วนฉบับที่ไม่ ปรากฏผู้แต่งใช้ถ้อยคาเข้าใจง่าย มีความไพเราะสมเป็นบทกล่อมขวัญ ฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้างในระยะต่อมาล้วนเดินตามแบบอย่างฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้างของขุนเทพ กวี เช่นของสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร ) ท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้างแสดงถึงบทบาทสาคัญของช้างในอดีต ความสามารถเชี่ยวชาญในการจับ ช้างและฝึกช้าง ตลอดจนต้นกาเนิดพิธีกรรมเกี่ยวกับช้าง ซึ่งเขมรรับมาจากพราหมณ์ และถ่ายทอดให้แก่ไทย อีกต่อหนึ่ง ๑๖. ราชาพิลาปคาฉันท์ ผู้แต่ง ไม่ปรากฏ ประวัติ คาฉันท์เรื่องนี้ได้ชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า นิราศสีดา สันนิษฐานว่า เป็นนิราศคาฉันท์เรื่องแรก แต่งใน สมัยกรุงศรีอยุธยา ก่อนหนังสือจินดามณีของพระโหราธิบดี เพราะปรากฏว่าพระโหราธิบดี นาข้อความบาง
ตอนจากเรื่องนี้เป็นตัวอย่างการแต่งกาพย์ฉบัง ต้นฉบับตัวเขียนเหลืออยู่ที่หอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร เคยลงพิมพ์ในหนังสือวชิรญาณวิเศษเพียงครั้งเดียว ทานองแต่ง แต่งเป็นฉันท์และกาพย์ ความมุ่งหมาย เพื่อแสดงความคร่าครวญของพระรามที่มีต่อนางสีดา ซึ่งถูกทศกัณฐ์ลักพาไป เรื่องย่อ จับตอนตั้งแต่พระรามพระลักษมณ์เสด็จตามหานางสีดา ระหว่างทางพระรามทรงคร่าครวญถึงนาง และแสดงความสงสัยว่าเทพองค์ใดเป็นผู้ลักนางไป ทรงขอร้องหมู่นกและเนื้อให้ช่วยนาข่าวคราวของนางมา แจ้ง แก่พระองค์ต่อมาทรงพบนกยางกับนกยูงสนทนากันถึงกษัตริย์ผู้หนึ่งซึ่งได้ลอบลักคู่ ของผู้อื่นไป นกยูง กล่าวตาหนิสามีผู้ทอดทิ้งนางจนต้องเกิดเหตุร้าย พระรามกริ้วและทรงดาริจะประหารนกทั้งสองด้วยพระแสง ศร แต่ก็ทรงได้พระสติหักห้ามพระทัยไว้ได้เพราะทรงเกรงจะเป็นเวรเป็นภัยต่อกัน แล้วเสด็จต่อไปตามทางที่ นกทั้งสองทูลแนะถวาย ระหว่างทางทรงพบลิงที่รับฝากผ้าของนางสีดาไว้ พระลักษมณ์ทรงประหารยักษ์ตน หนึ่งซึ่งร่ายมนต์บันดาลให้ปุามืดครื้มไปทั่ว ต่อมาทั้งสองพระองค์ทรงพบนกซึ่งถวายแหวนของนางสีดา และ ทูลเล่าเรื่องที่ตนเข้าขัดขวางทศกัณฐ์ขณะนานางไป จนต้องบาดเจ็บสาหัส พระรามทรงโศกเศร้าหนักเมื่อทรง ทราบข่าวของนางสีดา เมื่อทรงแผลงศรเผาร่างของนกแล้ว สองพระองค์เสด็จต่อไปจนได้มาประทับแรมที่ร่ม ไม้แห่งหนึ่ง ความจบลงเพียงนี้ ตัวอย่างข้อความบางตอน ข้อความเริ่มเรื่อง จักร่าปางเมื่อนรา นเรศนิรา นิราศสีดาดวงมาลย์ ราชาพิลาปคาฉันท์ เป็นฉันท์เรื่องแรกที่มีลักษณะเป็นนิราศ ใช้ถ้อยคาและลีลาของฉันท์ไ พเราะ ประณีตบรรจงบางตอนแต่งเป็นกลบท ใช้ศัพท์และสานวนแปลก ๆ พระโหราธิบดีสมัยสมเด็จพระนารายณ์ มหาราชนาตอนหนึ่งไปเป็นตัวอย่างการแต่งกาพย์ฉบังในหนังสือจินดามณี