eco172

Page 1


openbooks

60

.indd 1

3/3/2554 16:02:24


ปาฐกถา 60 ปี เศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม 2554 เลขมาตรฐานสากลประจำ�หนังสือ 978-616-7347-36-3 ราคา 280 บาท บรรณาธิการบริหาร ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา บรรณาธิการ ปกป้อง จันวิทย์ บรรณาธิการเล่ม กิตติพงศ์ สนธิสัมพันธ์ กองบรรณาธิการ บุญชัย แซ่เงี้ยว ออกแบบปก ลักษวงษ์ ประกิตภูพิสุทธิ์ รูปเล่ม ธีรณัฏฐ์ ขวัญกิจประณิธิ

60

.indd 2

3/3/2554 16:02:24


สำ�นักพิมพ์ openbooks 286 ถนนพิชัย แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทรศัพท์ 0-2669-5145 โทรสาร 0-2669-5146 www.onopen.com onopenon@yahoo.com จัดจำ�หน่าย บริษัท เคล็ดไทย จำ�กัด 117-119 ถนนเฟื่องนคร ตรงข้ามวัดราชบพิธ กรุงเทพ 10200 โทรศัพท์ 0-2225-9536-40 โทรสาร 0-2222-5188

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ ปาฐกถา 60 ปี เศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์.-- กรุงเทพฯ : โอเพ่นบุ๊กส์, 2554. 368 หน้า. 1. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. คณะเศรษฐศาสตร์.--ปาฐกถา. I. ชื่อเรื่อง. 330 ISBN 978-616-7347-36-3

60

.indd 3

3/3/2554 16:02:24


ปาฐกถา 60 ปี เศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์

คำ�นำ�

เนื่องในวาระครบรอบ 60 ปี ของการสถาปนาคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2552 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จดั การแสดง ปาฐกถา 60 ปี เศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ตลอดทั้งปี เดือนละ 1 ครั้ง รวมทั้งสิ้น 12 ครั้ง เพื่อ เป็นการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม โดยเผยแพร่องค์ความรู้ด้าน เศรษฐศาสตร์สู่สาธารณะ อันเป็นภารกิจหลักที่คณะให้ความสำ�คัญ เสมอมาตลอดระยะเวลา 60 ปี กล่าวสำ�หรับ ปาฐกถา 60 ปี เศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ คณะ ผูจ้ ดั ตัง้ ใจเชือ้ เชิญนักคิดในสาขาวิชาต่างๆ มาร่วมมอง ‘เศรษฐศาสตร์’ และ ‘เศรษฐกิจ’ ผ่านแว่นตาที่หลากหลาย และผ่านความหมายที่มิได้ ถูกผูกขาดเพียงนักเศรษฐศาสตร์เท่านัน้ เราปรารถนาให้การให้คณ ุ ค่า ความหมายของ ปาฐกถา 60 ปี เศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ของพวก เราเป็นภาพสะท้อนจิตวิญญาณประการหนึ่งของสำ�นักเศรษฐศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ที่มองเห็นความเชื่อมโยงของเศรษฐศาสตร์กับศาสตร์ อื่นๆ รวมถึงการทำ�งานร่วมกันระหว่างเศรษฐศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ ในการอธิบาย วิพากษ์วจิ ารณ์ และแก้ไขปัญหาของสังคมเศรษฐกิจไทย -460

.indd 4

3/3/2554 16:02:24


คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เพื่อความอยู่เย็นเป็นสุขของสมาชิกในสังคม และเพื่อสังคมเศรษฐกิจ ที่เป็นธรรมและมีประสิทธิภาพ รายละเอียดทัง้ หมดของการแสดง ปาฐกถา 60 ปี เศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ มีดังนี้ ครั้งที่ 1 หัวข้อ “ประเทศไทยกับการพัฒนาตามกระแสโลกาภิวัตน์” โดย ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2552 เวลา 13.30-15.00 น. ณ ห้อง 101 คณะเศรษฐศาสตร์ ครัง้ ที่ 2 หัวข้อ “เศรษฐศาสตร์และการเมือง” โดย ศ.ดร.อภิชยั พันธเสน วันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 เวลา 14.00-15.30 น. ณ ห้องประชุมชั้น 5 คณะเศรษฐศาสตร์ ครั้งที่ 3 หัวข้อ “การเงินชุมชน เศรษฐศาสตร์ชุมชน” โดย พระสุบิน ปณีโต และ ครูชบ ยอดแก้ว วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2552 เวลา 14.00-15.30 น. ณ ห้องประชุมชั้น 5 คณะเศรษฐศาสตร์ ครั้งที่ 4 หัวข้อ “ศาสนาในสังคมไทยปัจจุบัน” โดย ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2552 เวลา 14.00-15.30 น. ณ ห้องประชุมชั้น 5 คณะเศรษฐศาสตร์ ครั้งที่ 5 หัวข้อ “เศรษฐศาสตร์กลางทะเลลึก: อำ�นาจของ ภาษา” โดย รศ.ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ วันจันทร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 เวลา 14.00-15.30 น. ณ ห้องประชุมชั้น 5 คณะเศรษฐศาสตร์ ครั้งที่ 6 หัวข้อ “จาก 2492 ถึง 2552” โดย ศ.รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2552 เวลา 9.30-11.00 น. ณ ห้อง 101 คณะเศรษฐศาสตร์ -5-

60

.indd 5

3/3/2554 16:02:24


ปาฐกถา 60 ปี เศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์

ครั้งที่ 7 หัวข้อ “การบริโภคและการลงทุนของชนชั้นกลาง: สู่การฟื้นฟูด้วยอุปสงค์มวลรวมภายในประเทศ” โดย รศ.ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 เวลา 14.00-15.30 น. ณ ห้องประชุมชั้น 5 คณะเศรษฐศาสตร์ ครัง้ ที่ 8 หัวข้อ “การปรับโครงสร้างชนบทไทยกับปัญหาทีม่ อง ไม่เห็น” โดย ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธุ์ วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2552 เวลา 14.00-15.30 น. ณ ห้องประชุมชั้น 5 คณะเศรษฐศาสตร์ ครั้งที่ 9 หัวข้อ “เศรษฐธรรมแห่งความรุนแรง” โดย รศ.ดร. ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ วันจันทร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2552 เวลา 14.00-15.30 น. ณ ห้องประชุมชั้น 5 คณะเศรษฐศาสตร์ ครั้ ง ที่ 10 หั ว ข้ อ “เศรษฐศาสน์ กั บ การผลิ ต อวิ ช ชาเชิ ง โครงสร้าง” โดย ดร.เสกสรรค์ ประเสริฐกุล วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2552 เวลา 14.00-15.30 น. ณ ห้องประชุมชั้น 5 คณะเศรษฐศาสตร์ ครั้งที่ 11 หัวข้อ “นิติรัฐกับความยุติธรรมทางสังคม” โดย รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 เวลา 14.00-15.30 น. ณ ห้องประชุมชั้น 5 คณะเศรษฐศาสตร์ ครั้งที่ 12 หัวข้อ “เสน่ห์และอัปลักษณ์ของวิชาเศรษฐศาสตร์” โดย ศ.ดร.อัมมาร สยามวาลา วันจันทร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2552 เวลา 13.30-15.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 5 คณะเศรษฐศาสตร์

-660

.indd 6

3/3/2554 16:02:24


คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

หนังสือ ปาฐกถา 60 ปี เศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ เป็น หนึ่งในหนังสือชุด เศรษฐ’ธรรมศาสตร์ คลาสสิก ภายใต้โครงการ เศรษฐ’ธรรมศาสตร์ ตลาดวิชา ซึ่งคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ร่วมกับสำ�นักพิมพ์ openbooks ตีพิมพ์ผลงานวิชาการ ของอาจารย์และอดีตอาจารย์ของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ และถอดความการสัมมนาทางวิชาการครั้งสำ�คัญของ คณะ ออกมาในรูปแบบหนังสือเล่ม และวางจำ�หน่ายตามร้านหนังสือ ทั่วไป เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์สู่สาธารณะ เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้เป็นการรวบรวมบทปาฐกถาและ บทความประกอบปาฐกถา 60 ปี เศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ทุกครั้ง ยกเว้นครั้งที่ 6 ครั้งที่ 7 และครั้งที่ 12 ซึ่งเราหวังว่าบทปาฐกถาที่ยัง ไม่ได้รวมตีพมิ พ์อยูใ่ นหนังสือเล่มนีจ้ ะได้รบั การเผยแพร่ในอนาคต เมือ่ ต้นฉบับเสร็จสมบูรณ์ ท้ายที่สุด คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอ ขอบพระคุณปาฐกทุกท่านทีใ่ ห้เกียรติมาร่วมให้ความรูแ้ ละแลกเปลีย่ น ความคิดเห็นกับประชาคมเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์และผูส้ นใจทัว่ ไป ท่านผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสารเกี่ยวกับการสัมมนาวิชาการของ คณะที่จัดขึ้นต่อเนื่องตลอดทั้งปี รวมทั้งดาวน์โหลดไฟล์เสียงของการ สัมมนาในอดีต รวมถึงปาฐกถา 60 ปี เศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ทุกครั้ง ได้ที่ http://www.econ.tu.ac.th/seminar/ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

-760

.indd 7

3/3/2554 16:02:24


ปาฐกถา 60 ปี เศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์

สารบัญ

10 |

ประเทศไทยกับการพัฒนาตามกระแสโลกาภิวัตน์ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล

34 |

เศรษฐศาสตร์และการเมือง ศ.ดร.อภิชัย พันธเสน

56 |

การเงินชุมชน เศรษฐศาสตร์ชุมชน พระสุบิน ปณีโต ครูชบ ยอดแก้ว

86 |

ศาสนาในสังคมไทยปัจจุบัน ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์

148 |

60

.indd 8

“เศรษฐศาสตร์กลางทะเลลึก” อํานาจของภาษา รศ.ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์

3/3/2554 16:02:24


คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

60

.indd 9

194 |

การปรับโครงสร้างชนบทไทยกับปัญหาที่มองไม่เห็น ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธ์ุ

248 |

เศรษฐธรรมแห่งความรุนแรง [Moral Economy(ies) of Violence] ศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์

296 |

เศรษฐศาสน์กับการผลิตอวิชชาเชิงโครงสร้าง ดร.เสกสรรค์ ประเสริฐกุล

322 |

นิติรัฐกับความยุติธรรมทางสังคม รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์

3/3/2554 16:02:24


| ประเทศไทยกับการพัฒนาตามกระแสโลกาภิวัตน์

ประเทศไทยกับการพัฒนา ตามกระแสโลกาภิวัตน์ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2552

- 10 60

.indd 10

3/3/2554 16:02:24


ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล |

โลกาภิวัตน์เป็นพัฒนาการตามธรรมชาติของโลกเศรษฐกิจเสรีนิยม ประเทศที่เจริญจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม สามารถผลิตสินค้าได้ มากกว่าความต้องการในประเทศ จึงต้องขยายตลาดไปยังต่างประเทศ ซึ่ ง รวมทั้ ง ประเทศที่ เ คยเป็ น อาณานิ ค มของตนหรื อ ประเทศด้ อ ย พั ฒ นาที่ ต้ อ งพึ่ ง พาประเทศอุ ต สาหกรรมในทางเศรษฐกิ จ การค้ า เพื่อให้ประเทศด้อยพัฒนาสามารถซื้อสินค้าจากประเทศอุตสาหกรรม ได้ ประเทศอุตสาหกรรมจึงซื้อสินค้าพื้นเมืองที่ใช้ประโยชน์ได้จาก ประเทศนั้นกลับไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติ ทีจ่ ะนําไปใช้เป็นวัตถุดบิ ในอุตสาหกรรม ทรัพยากรธรรมชาติบางอย่าง มีต้นทุนในการเคลื่อนย้ายสูงมาก ไม่คุ้มค่า เช่น แร่ โลหะ หรือนํ้ามัน ประเทศอุ ต สาหกรรมก็ ใ ช้ วิ ธี เ ข้ า ไปตั้ ง กิ จ การในประเทศที่ มี แ หล่ ง วัตถุดิบนั้น เมื่ อ ตลาดสํ า หรั บ สิ น ค้ า บางอย่ า งในประเทศด้ อ ยพั ฒ นา ขยายตัวมากพอ ประเทศอุตสาหกรรมก็เข้าไปตั้งโรงงานผลิตสินค้า ในประเทศนั้น เพื่อลดต้นทุนค่าขนส่งสินค้าป้อนตลาดนั้นและตลาด ประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคนั้น - 11 60

.indd 11

3/3/2554 16:02:25


| ประเทศไทยกับการพัฒนาตามกระแสโลกาภิวัตน์

บริษัทที่ลงทุนข้ามชาติทํากําไรได้สูง และขยายกิจการอย่าง รวดเร็ว บริษัทข้ามชาติจํานวนไม่น้อยมียอดขายต่อปีสูงกว่ารายได้ ประชาชาติของหลายประเทศ และเป็นหัวหอกสําคัญในการขยาย อิทธิพลทางเศรษฐกิจของประเทศใหญ่ๆ นอกจากวั ต ถุ ดิ บ ทรั พ ยากรธรรมชาติ อ ย่ า งหนึ่ ง ที่ บ ริ ษั ท ข้ามชาติเห็นประโยชน์ก็คือแรงงานมนุษย์ในประเทศด้อยพัฒนา ซึ่งมี ต้นทุนตํ่า จึงมีการตั้งโรงงานเพื่อผลิตสินค้าที่ใช้แรงงานราคาถูก โดย นําวัตถุดิบหรือสินค้ากึ่งสําเร็จจากอีกประเทศหนึ่งมาประกอบ เช่น โรงงานผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหลาย ต่อมาการเข้าไปตั้งโรงงาน ผลิตสินค้าในประเทศด้อยพัฒนาเพื่อใช้วัตถุดิบท้องถิ่นก็ดี หรือเพื่อ ใช้แรงงานค่าแรงตํ่าก็ดี ได้พัฒนาเป็นการสร้างเครือข่ายการผลิต ป้อนระหว่างกันในประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเดียวกัน ประเทศผู้รับการลงทุนได้ประโยชน์จากการขยายตัวทาง เศรษฐกิจ คนมีงานทํามากขึ้น ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีมากขึ้น มีสนิ ค้าสาํ หรับอาํ นวยความสะดวกให้แก่ชวี ติ มากขึน้ จึงออกมาตรการ เพื่อดึงดูดการลงทุน และพยายามรักษาการลงทุนของบริษัทข้ามชาติ ไว้ ด้ ว ยการอํ า นวยความสะดวกต่ า งๆ ให้ แ ก่ บ ริ ษั ท ข้ า มชาติ เ ป็ น อย่างดี นอกจากนี้ การลดภาษีอากรนําเข้าระหว่างประเทศในภูมภิ าค ช่ ว ยให้ ก ารสร้ า งเครื อ ข่ า ยการผลิ ต ซึ่ ง ป้ อ นชิ้ น ส่ ว นซึ่ ง กั น และกั น เป็นไปได้สะดวกขึ้น ทีผ่ า่ นมา การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นการพัฒนา ที่เกาะไปกับกระแสโลกาภิวัตน์ เราเดินตามสี่เสือแห่งเอเชีย อันได้แก่ ฮ่องกง เกาหลีใต้ ไต้หวัน และสิงคโปร์ คือพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อ ทดแทนการนําเข้า และก้าวไปถึงการผลิตเพื่อการส่งออก นํารายได้ มาใช้พัฒนาประเทศในด้านต่างๆ พร้อมกับสร้างงานให้คนทํา การ ส่งออกที่พัฒนาขึ้นมา บางส่วนเป็นการผลิตสินค้าจากทรัพยากร - 12 60

.indd 12

3/3/2554 16:02:25


ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล |

ที่เรามีอยู่ บางส่วนเราทําหน้าที่เป็นโรงงานประกอบผลิตภัณฑ์ และ บางส่วนเราเป็นส่วนหนึ่งของ Supply Chain ของโลก คงต้ อ งยอมรั บ ว่ า การพั ฒ นาเศรษฐกิ จ ที่ ผ่ า นมาประสบ ผลสําเร็จเป็นอย่างดีในด้านความเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ ทําให้คน มีงานทํามากขึ้น ปัจจุบันเราเป็นประเทศที่ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค ที่ ดี ที่ สุ ด ในอาเซี ย น นอกจากนี้ ยั ง เป็ น ศู น ย์ ก ลางการผลิ ต รถยนต์ ขนาดเล็ ก และรถกระบะของโลก เป็ น ผู้ ส่ ง ออกรายใหญ่ ข องโลก สําหรับข้าว ยางพารา นํ้าตาล อาหารทะเล และอัญมณี รายได้ตอ่ หัวของคนไทยโดยรวมเพิม่ ขึน้ อย่างมาก จาก 2,029 บาทในปี 2503 เมื่อเริ่มต้นแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 มาเป็น 109,696 บาทในปี 2548 เมื่อสิ้นสุดแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 การจ้างงานเพิ่ม สูงขึ้นจนเกือบเต็มที่ คนส่วนใหญ่ได้รับบริการโครงสร้างพื้นฐาน และ มีสิ่งอํานวยความสะดวกในชีวิตดีขึ้น เช่นเดียวกับประเทศที่เจริญแล้ว แต่การขยายตัวดังกล่าวไม่ได้ได้มาโดยไม่มตี น้ ทุน การเติบโต ทางเศรษฐกิจที่ผ่านมาอยู่บนพื้นฐานการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่าง สิ้นเปลือง โดยธรรมชาติ ธุรกิจอุตสาหกรรมย่อมใช้ประโยชน์จาก ทรัพยากรธรรมชาติ และเมื่อกิจการขยายตัวมากขึ้น ก็ใช้จนหมดหรือ เกือบหมด เช่น กรณีดีบุก หรือใช้ในอัตราที่มากเกินกว่าที่ธรรมชาติ จะสร้างใหม่ได้ทัน เช่น การใช้ไม้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรม ทำ�ให้ ไม้หรือทรัพยากรนํ้าเริ่มขาดแคลน ใช้กันเต็มที่ แต่ไม่ได้ดูแลอย่าง เพียงพอ นอกจากนี้ อุตสาหกรรมต่างๆ ยังมีผลทําลายสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิต กระแสโลกาภิวัตน์ที่เร่งการลงทุนด้านอุตสาหกรรม เพื่อผลิตป้อนตลาด ยิ่งเร่งการขยายตัวของอุตสาหกรรม และมีผล ทาํ ลายสิง่ แวดล้อมและคุณภาพชีวติ เร็วขึน้ ธุรกิจท่องเทีย่ วในสถานที่ หลายแห่งที่ไม่มีคนดูแลการก่อสร้างที่เหมาะสม กลับกลายเป็นสิ่งที่ - 13 60

.indd 13

3/3/2554 16:02:25


| ประเทศไทยกับการพัฒนาตามกระแสโลกาภิวัตน์

ขัดสายตาและทําลายทิวทัศน์ ธุรกิจท่องเที่ยวหลายประเภทกลาย เป็นแหล่งเสื่อมโทรมทางวัฒนธรรม เป็นที่ขัดหูขัดตาของคนที่อยู่ ใกล้เคียง แม้กระทั่งธุรกิจการเงินซึ่งเป็นธุรกิจที่ไม่กระทบสิ่งแวดล้อม ไม่ก่อให้เกิดแหล่งเสื่อมโทรม แต่ก็มีผลกระทบทางสังคมและคุณภาพ ชีวิตของลูกค้า เช่น ธุรกิจบัตรเครดิตหรือสินเชื่อบุคคลกลายเป็นสิ่ง ล่อใจให้มีการใช้เงินเกินตัว เปลี่ยนวัฒนธรรมจากการออมก่อนใช้ เป็ น การใช้ ก่ อ นออม ซึ่ ง ก่ อ ให้ เ กิ ด หนี้ สิ น พอกพู น ขึ้ น จนเกิ น ความ สามารถในการชําระหนี้ กระทบความเป็นอยู่ของลูกค้า บางคนถูก ทวงหนีจ้ นต้องตกงาน เสียอนาคต กระทบถึงครอบครัว ซึง่ สถานการณ์ เหล่านีไ้ ม่เคยเกิดขึน้ ในช่วงก่อนทีบ่ ริษทั ต่างชาติจะเข้ามาผลักดันธุรกิจ บัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคลในช่วง 7-8 ปีที่ผ่านมา การพัฒนาที่เกาะความเจริญของกระแสโลกาภิวัตน์เพียง อย่างเดียวโดยไม่จัดกระบวนการพัฒนาในประเทศให้ตามทันควบคู่ กันไป ไม่สามารถผันรายได้ส่วนเพิ่มที่ได้จากการพัฒนาตามกระแส โลกาภิวัตน์ให้กระจายไปยังส่วนต่างๆ ในสังคมได้อย่างทั่วถึง ภาค การส่งออกซึ่งก้าวทันกระแสโลกาภิวัตน์ได้ประโยชน์เต็มที่ กิจการ รุ่งเรือง มีฐานะรํ่ารวย แต่ภาคการเกษตรได้รับประโยชน์น้อยกว่ามาก ภาคอุตสาหกรรมและการค้ามีอตั ราการเติบโตเร็วกว่าภาคเกษตรกรรม ช่องว่างระหว่างรายได้ของคนในภาคอุตสาหกรรมและการค้าซึ่งอยู่ ในเมือง กับคนในภาคเกษตรกรรมซึ่งอยู่ในชนบท ไม่ได้ลดลงเลย หลังจาก 50 ปีที่พัฒนามา ยิ่งไปกว่านั้น การเติบโตของรายได้ของ บุคลากรในภาคการเงิน ซึง่ ทาํ กาํ ไรกันได้งา่ ยๆ ตามโครงสร้างทีผ่ กู พัน กับตลาดการเงินต่างประเทศ ยิ่งทําให้ช่องว่างรายได้ของคนในเมือง ห่างไกลจากคนในชนบทมากขึ้นไปอีก ซึ่งถ้าปล่อยให้ช่องว่างมากขึ้น ในที่สุดอาจพัฒนาไปเป็นความขัดแย้งในสังคมได้ คําถามที่ว่า พัฒนาการต่างๆ ของเศรษฐกิจและบ้านเมืองเรา นั้นคุ้มค่ากับธรรมชาติที่ถูกทำ�ลายไปและคุณภาพชีวิตและวัฒนธรรม - 14 60

.indd 14

3/3/2554 16:02:25


ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล |

ที่เสื่อมลงไปหรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่าเราถามใคร ถ้าเราถามนักธุรกิจก็จะ ได้คําตอบว่าการพัฒนาเศรษฐกิจที่ผ่านมาก่อให้เกิดประโยชน์โภชผล มากมาย แต่ถ้าถามแรงงานที่อาบเหงื่อต่างนํ้า คําตอบก็จะเป็นไปใน ลักษณะทีไ่ ม่แน่ใจ และถ้าถามเกษตรกร ก็อาจจะเห็นว่าไม่มอี ะไรดีขนึ้ เลย ถ้าเราถามเด็กรุน่ ใหม่ทโี่ ชคดีได้จบการศึกษาสูงๆ และทาํ งาน ในธุรกิจที่มีโอกาสในการทําเงินได้สูง เราก็จะได้คําตอบว่าเศรษฐกิจ ที่พัฒนามาแบบนี้ให้ผลดีเป็นอย่างยิ่ง แต่ถ้าเราถามเด็กในครอบครัว ยากจนในชนบทห่างไกลที่ด้อยโอกาสในการศึกษา คําตอบที่ได้ก็จะ เป็นไปในลักษณะตรงกันข้าม ความแตกแยกทางความคิดอันเป็นผลจากพัฒนาการที่เน้น เศรษฐกิจเป็นสําคัญ และค่อนข้างละเลยในด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม เห็นได้ชัดขึ้นและมากขึ้นทุกที นอกจากนี้ การพัฒนา เศรษฐกิจที่ผ่านมาไม่ได้ช่วยให้การกระจายรายได้ดีขึ้นแต่อย่างใด ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนยังมากอยู่เช่นเดิม ดังจะเห็นได้จาก สัดส่วนของคนรวยที่สุด 20 เปอร์เซ็นต์ ครอบครองรายได้ถึง 56.5 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ทั้งหมด เมื่อเทียบกับเพียง 4.2 เปอร์เซ็นต์ของ คนจนที่สุด 20 เปอร์เซ็นต์ นอกจากแนวทางการพัฒนาประเทศทีผ่ า่ นมาแล้ว อีกสิง่ หนึง่ ซึ่งมีผลต่อสภาพเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ในปัจจุบัน ก็คือ ค่านิยมตะวันตกและแบบแผนชีวติ แบบตะวันตกทีเ่ ข้ามาผ่านการติดต่อ ทางการค้า การลงทุน และธุรกิจบริการต่างๆ ซึ่งมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ต่อประเทศไทย ในด้านข้อดีก็คือ การนํามาซึ่งเทคโนโลยีสมัยใหม่ ที่ช่วยเพิ่มความสามารถและประสิทธิภาพในการผลิต ตลอดจนความ สามารถในการแข่งขันของธุรกิจไทยในตลาดโลก แต่ขณะเดียวกัน กระแสโลกาภิ วั ต น์ แ ละบริ ษั ท ข้ า มชาติ ก็ นํ า ค่ า นิ ย มแบบธุ ร กิ จ และ เศรษฐกิจตะวันตกเข้ามาด้วย ซึ่งได้แก่ค่านิยมของความใหญ่และ - 15 60

.indd 15

3/3/2554 16:02:25


| ประเทศไทยกับการพัฒนาตามกระแสโลกาภิวัตน์

การทํากําไรสูงสุด สังคมธุรกิจตะวันตกให้ความสําคัญกับขนาดของ กิจการและการทํากําไรสูงมาก นิตยสารธุรกิจยกย่องธุรกิจที่มีขนาด ใหญ่ ธุรกิจที่โตเร็ว ธุรกิจที่ทํากําไรสูง และแม้แต่ซีอีโอที่มีรายได้สูง ก็ได้รับการกล่าวขานถึง สังคมธุรกิจในเมืองไทยก็เริ่มดูดซับค่านิยม เหล่านี้เข้ามามากแล้ว นักธุรกิจที่ซึมซับค่านิยมในการทํากําไรให้สูงที่สุดแต่เพียง อย่างเดียว มักจะพยายามประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษาสิ่งแวดล้อม ให้เหลือเฉพาะทีต่ อ้ งทาํ ตามกฎหมายเท่านัน้ หรือบางรายก็ทาํ น้อยกว่า ที่กฎหมายต้องการเสียด้วยซํ้า ความเต็มใจที่จะทําเพื่อสร้างคุณภาพ ชีวิตที่ดีให้แก่สังคมรอบด้านยังมีไม่มากเท่าที่ควร ธุรกิจบางชนิดที่ต้องแข่งขันในตลาดโลก จําเป็นต้องมีขนาด ใหญ่ เพื่อให้เกิดการประหยัดจากขนาด (Economy of Scale) ก็ควร ส่งเสริมให้มีขนาดใหญ่ แต่ธุรกิจบางประเภทที่ไม่มีความจําเป็นต้อง ออกไปแข่งในตลาดโลก แม้ว่าขนาดที่ใหญ่อาจจะช่วยในด้านการลด ต้นทุนในการทาํ ธุรกิจ แต่หากมีผลในการทําลายคุณค่าทางวัฒนธรรม บางประการ เราก็ควรที่จะระมัดระวัง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือธุรกิจ ค้าปลีก ซึง่ เราปล่อยให้กระแสโลกาภิวตั น์เข้าครอบงาํ ในรูปบริษทั ขนาด ยักษ์ เช่น เทสโก้ โลตัสและแม็คโครสร้างเป็นเครือข่ายครอบคลุมไป ทั้งประเทศ ทำ�ให้ร้านขายของชําขนาดเล็กของคุณลุงคุณป้าต้องมีอัน ทยอยปิดไป คนตัวเล็กๆ ซึ่งเคยมีอาชีพเป็นผู้ประกอบการรายย่อย ต้องหมดโอกาส ความสุขที่ผู้บริโภคเคยได้รับจากการซื้อของในร้าน ขนาดเล็กซึ่งเจ้าของร้านให้ความสนิทสนมและรับฟังเรื่องทุกข์ร้อน ขาดหายไป เปลี่ยนไปเป็นการซื้อของโดยไม่มีการโอภาปราศรัย และ ต้องเข้าแถวเพื่อจ่ายเงินให้แก่พนักงานที่เร่งกดเครื่องแข่งกับเวลา ความกรุณาของเจ้าของร้านเล็กๆ ที่ช่วยให้ผู้ที่ขัดสนได้ของไปใช้ ไปกินก่อนในยามจำ�เป็น และนาํ เงินมาชาํ ระภายหลัง ไม่มเี หลืออีกแล้ว - 16 60

.indd 16

3/3/2554 16:02:25


ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล |

สิ่งที่ขาดหายไปทั้งหมดนี้ เพื่อแลกกับราคาสินค้าที่ถูกลง เนือ่ งจากธุรกิจขนาดยักษ์มอี าํ นาจต่อรองสูงในการเจรจาซือ้ สินค้าจาก ผู้ผลิต และขณะเดียวกันก็มีอํานาจต่อรองสูงกับชาวไร่ชาวสวนที่นํา พืชผักผลไม้มาขาย ชาวไร่ชาวสวนที่ยากจนอยู่แล้วยิ่งได้น้อยลงกว่า เดิม ประสิทธิภาพที่ได้มาจากธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่ดูจะเป็นศัตรูต่อ การกระจายรายได้ไปสูเ่ จ้าของร้านค้ารายย่อยและชาวไร่ชาวสวนผูข้ าย สินค้า ที่ผมพูดมาถึงตรงนี้ก็เพื่อจะชี้ให้เห็นว่า สภาวการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ที่เป็นอยู่ในขณะนี้ เป็นผลมาจากแนวทาง การพัฒนาประเทศในระยะ 50 ปีที่ผ่านมา และเป็นผลมาจากค่านิยม ตะวันตก ท่านผู้ฟังอาจจะนึกว่าผมคงจะแนะนําให้เปลี่ยนแนวทาง ในการพัฒนาเศรษฐกิจจากที่เคยทํามา หรือคงจะเสนอให้ปฏิเสธ กระแสโลกาภิวัตน์และบริษัทข้ามชาติ ที่จริงแล้วไม่ใช่ครับ แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจที่ผ่านมา เป็ น แนวทางที่ เ กิ ด ประโยชน์ แ ก่ เ ศรษฐกิ จ ของประเทศชาติ อ ย่ า ง มากมาย เรายังจําเป็นต้องใช้การพัฒนาตามกระแสนี้เป็นแนวทาง หลักต่อไป เนื่องจากเป็นแนวทางที่ช่วยให้เศรษฐกิจของเราก้าวหน้า มาได้ค่อนข้างดี สามารถผลิตสินค้าใช้เองได้มากมาย ตลอดจนผลิต เป็นสินค้าออกหารายได้มาใช้พัฒนาประเทศได้อีกเป็นจํานวนมาก เรายังจําเป็นต้องเดินตามแนวทางนี้ต่อไป เพื่อใช้พื้นฐานที่ได้พัฒนา มาแล้วเป็นฐานในการทํารายได้ให้แก่ประเทศชาติต่อไป แต่สิ่งที่ต้อง เปลี่ยนแปลงก็คือ เราต้องปรับปรุงภาคการผลิตของเราให้ดีขึ้น การ เป็นโรงประกอบผลิตภัณฑ์ที่นําวัตถุดิบเข้ามาประกอบเป็นสินค้า ส่งออกไปขายก็ดี การเป็นส่วนหนึ่งของ Supply Chain ของภูมิภาค หรือของโลกก็ดี ยังต้องดําเนินต่อไป แต่เราต้องพัฒนาอุตสาหกรรม - 17 60

.indd 17

3/3/2554 16:02:25


| ประเทศไทยกับการพัฒนาตามกระแสโลกาภิวัตน์

ที่ใช้วัตถุดิบจากทรัพยากรที่เรามีอยู่ให้มากขึ้น ยังมีทรัพย์สินในดิน อี ก มากที่ เ ราสามารถพั ฒ นาเป็ น อุ ต สาหกรรมหลั ก เพื่ อ เพิ่ ม ความ แข็งแกร่งให้กบั อุตสาหกรรมในประเทศ เช่น โพแทส ดีบกุ สําหรับผลิต แทนทาลัม และแร่ทองคํา ถ้าเราวางแผนอย่างจริงจัง เราจะสามารถ มีอุตสาหกรรมหลักเพื่อสร้างความเจริญให้แก่เศรษฐกิจของประเทศ เพิ่มเติมได้อีก แต่เราจะคิดแต่เพียงการพัฒนาอุตสาหกรรมหลักเพิ่มเติม เท่านั้นไม่ได้ เราจําเป็นต้องดําเนินการแก้ไขในส่วนที่เป็นจุดอ่อน ที่เกิดจากการพัฒนาในอดีตควบคู่กันไปด้วย ตลอดจนต้องระมัดระวัง ในเรื่ อ งที่ ล ะเอี ย ดอ่ อ นเป็ น พิ เ ศษ ซึ่ ง กระทบต่ อ ชี วิ ต ความเป็ น อยู่ ในสังคมและกระทบต่อวัฒนธรรม เราจําเป็นต้องระมัดระวังการใช้ทรัพยากร ไม่ให้มีการใช้ ในอั ต ราที่ ม ากเกิ น กว่ า อั ต ราที่ ธ รรมชาติ จ ะสร้ า งขึ้ น มาใหม่ ไ ด้ ทั น ในเรื่องนี้ การปิดป่าซึ่งอาจจะเกิดจากอุบัติเหตุทางการเมือง เป็นจุด เริ่ ม ต้ น ให้ ค นตื่ น ตั ว ในเรื่ อ งการดู แ ลทรั พ ยากรธรรมชาติ จนเกิ ด โครงการปลูกป่าเป็นจํานวนไม่น้อย เราจําเป็นต้องจัดการการใช้นํ้า เพื่อให้แน่ใจว่ามีการนํานํ้าจากธรรมชาติไปใช้ได้มากที่สุด และปล่อย ให้ไหลลงทะเลโดยไม่ได้นําไปใช้ก่อนให้น้อยที่สุด เราจําเป็นต้อง ดูแลให้มีแหล่งนํ้าเพียงพอสอดคล้องกับความต้องการเพื่อการเกษตร อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว และครัวเรือน ในเรื่องนี้ กรมชลประทาน ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐที่ดูแลเรื่องนํ้า ได้เริ่มบทบาทการจัดการให้มี นํ้ า ใช้ เ พี ย งพออย่ า งจริ ง จั ง แล้ ว กล่ า วคื อ หลายเดื อ นที่ ผ่ า นมามี การเสนอขออนุมัติจัดทําโครงการผันนํ้าขนาดใหญ่หลายโครงการ เช่น โครงการนํานํ้าจากแม่นํ้าเจ้าพระยาไปยังอ่างเก็บนํ้าบางพระ โครงการนํานํ้าจากจันทบุรีมาให้อุตสาหกรรมในจังหวัดระยองใช้ และ โครงการนาํ นาํ้ หลังเขือ่ นรัชประภาทีส่ รุ าษฎร์ธานีไปยังพังงาและภูเก็ต - 18 60

.indd 18

3/3/2554 16:02:25


ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล |

เพื่อดูแลการท่องเที่ยว เป็นต้น นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นที่ยังไม่เพียงพอ เรายังต้องดําเนินการในเรื่องการบริหารจัดการนํ้าต่อไปอีกมาก เราจําเป็นต้องดูแลไม่ให้โรงงานปล่อยควันพิษหรือนํ้าเสีย ไปทําลายสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของผู้คนในท้องถิ่นใกล้เคียง ต้องดูแลไม่ให้มีโรงงานตั้งหนาแน่นเกินไป ทําให้เกิดความต้องการ ใช้นํ้าเกินความสามารถของแหล่งนํ้าในท้องที่นั้น ในปัจจุบัน ความ ตื่นตัวของท้องถิ่นทําให้หน่วยงานราชการสนองตอบมากขึ้น โรงงาน ต่างๆ จึงต้องปรับปรุงในเรื่องนี้ให้ดีขึ้น ซึ่งเป็นพัฒนาการที่ดําเนินไป ถูกทิศทาง เราต้ อ งจํ า กั ด การขยายตั ว ของธุ ร กิ จ ท่ อ งเที่ ย วประเภท ที่ ก ระทบต่ อ ศี ล ธรรมและวั ฒ นธรรมอั น ดี ข องไทย และกํ า จั ด แหล่ ง เสื่ อ มโทรมอั น เป็ น ผลจากธุ ร กิ จ ท่ อ งเที่ ย วประเภทที่ ไ ม่ พึ ง ปรารถนา ในเรื่องนี้มีการพูดถึงกันมาก แต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ยังไม่ได้ดําเนินการในเรื่องนี้อย่างจริงจัง ปัญหาจึงยังคงมีอยู่มาก เราต้องหามาตรการป้องกันมิให้ธุรกิจบัตรเครดิตหรือสินเชื่อ บุคคลขยายตัวในทิศทางที่จะยั่วยุให้คนใช้เงินเกินกําลัง จนกลายเป็น ปัญหาสังคมในภายหลัง ในเรื่องนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เริ่มทํา แล้ว แต่ตอ้ งทําเพิม่ ขึน้ อีก นอกจากนีย้ งั มีธรุ กิจสินเชือ่ บุคคลทีผ่ ดิ ปกติ และผู้กู้ถูกเอารัดเอาเปรียบมาก ซึ่งต้องอาศัยตํารวจช่วย จึงจะปราบ ได้สําเร็จ เราต้องใช้มาตรการต่างๆ เสริม เพื่อทำ�ให้ราคาพืชผลจาก ภาคเกษตรกรรมสูงขึน้ เพือ่ เพิม่ รายได้ให้แก่ภาคเกษตรกรรมในชนบท ให้ไล่ทันรายได้ของคนในเมือง และเราต้องหาทางทำ�ให้รายได้ที่มา จากการทําตามกระแสโลกาภิวัตน์กระจายออกไปยังชนบท เช่น การ ส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศ ชักจูงให้คนกรุงเทพฯ ออกไปเที่ยว ต่างจังหวัดให้มากขึ้น ทั้งนี้เพื่อมิให้ความแตกต่างระหว่างคนในเมือง - 19 60

.indd 19

3/3/2554 16:02:25


| ประเทศไทยกับการพัฒนาตามกระแสโลกาภิวัตน์

ใหญ่ กั บ คนในชนบทห่ า งไกลพั ฒ นาไปจนกลายเป็ น ความขั ด แย้ ง ในสังคม สิ่งที่ยากที่สุดที่เราจะต้องทำ�ก็คือ การลดช่องว่างการพัฒนา ระหว่างเมืองใหญ่กับชนบท เพื่อมิให้ชุมชนชนบทถูกทิ้งห่าง และ สามารถพัฒนาไล่ทันชุมชนในเมืองใหญ่ได้บ้าง เราจึงจําเป็นต้องมี “ยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชนท้องถิ่น” เพิ่มขึ้นมาอีกยุทธศาสตร์หนึ่ง ควบคู่ไปกับ “ยุทธศาสตร์การพัฒนากระแสหลัก” ที่กล่าวถึงขั้นต้น เราจาํ เป็นต้องดําเนินการพัฒนาชุมชนอย่างมีแบบแผนจริงจัง เพื่อไม่ให้ท้องถิ่นชนบทถูกทิ้งห่างดังที่เคยเป็นมา ในอดีต สภาพัฒน์ ได้กําหนดแผนพัฒนาชุมชนท้องถิ่นไว้อย่างน่าสนใจ โดยเริ่มจากการ ยอมรับในสิ่งที่ประชาคมในท้องถิ่นทําได้สําเร็จ กล่าวคือ ประชาคม ในท้องถิ่นจํานวนหลายหมื่นหมู่บ้าน หลายพันตําบล ได้รวมตัวกัน เพื่อช่วยเหลือตัวเอง เนื่องจากมาตรการของหน่วยงานของรัฐในการ พัฒนาท้องถิน่ ชนบทไม่ได้ผลดี หรือได้ผลไม่ตรงกับความต้องการของ ท้องถิน่ ประชาคมในท้องถิน่ จึงรวมตัวกันจัดทําสิง่ ทีเ่ รียกว่าแผนชุมชน เพือ่ ช่วยกันพัฒนาในสิง่ ทีช่ มุ ชนต้องการจริงๆ จากทรัพยากรและความ สามารถที่มีอยู่ ปรากฏว่ า หมู่ บ้ า นหรื อ ตํ า บลที่ มี แ ผนชุ ม ชนที่ ดี สามารถ ดึงดูดหน่วยงานพัฒนาของรัฐให้เข้าไปช่วยพัฒนาในสิ่งที่ระบุไว้ตาม แผน เพราะแน่ใจได้ว่าตรงกับความต้องการของชุมชน และยังดึงดูด ให้องค์การบริหารส่วนตําบล (อบต.) จัดสรรงบประมาณให้ใช้ในแผน ชุมชนนั้นๆ อีกด้วย จากการพิจารณาของหน่วยงานที่ปฏิบัติงาน สนับสนุนประชาคมต่างๆ พบว่าในปี 2549 มีประมาณ 18,000 หมูบ่ า้ น หรือประมาณ 1,700 กว่าตําบล ที่มีแผนชุมชนที่ได้มาตรฐาน ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ซึง่ เริม่ ดาํ เนินการในปีงบประมาณ 2549 สภาพัฒน์จึงได้วางแนวทางที่จะกระตุ้นให้ชุมชนในท้องถิ่น - 20 60

.indd 20

3/3/2554 16:02:25


ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล |

จัดทําแผนชุมชนด้วยตนเอง หรือปรับปรุงแผนชุมชนที่มีอยู่แล้วให้ได้ มาตรฐาน โดยขอความร่วมมือจากสมาชิกของกลุม่ ประชาสังคมต่างๆ ในท้องถิน่ เช่น ศูนย์อ�ำ นวยการต่อสูเ้ พือ่ เอาชนะความยากจนแห่งชาติ เครือข่ายแผนแม่บทชุมชนพึ่งตนเอง ตลอดจนสถาบันพัฒนาองค์กร ชุมชน ซึ่งมีความชํ่าชองในการจัดทําแผนชุมชน เป็นผู้แนะนําวิธีทํา แผนชุมชนที่ดีให้แก่ชุมชนต่างๆ เมื่อมีแผนชุมชนที่ดีแล้ว การพัฒนา ตามแผนก็จะตามมา จากการลงมือปฏิบัติของหน่วยงานราชการที่ เกี่ยวข้อง และงบประมาณสําหรับท้องถิ่นก็จะตามมาจาก อบต. ที่ จัดสรรมาให้ การพัฒนาตามแผนและการใช้งบประมาณท้องถิ่นสนับสนุน แผนชุมชนดังกล่าวจะให้ผลเต็มเม็ดเต็มหน่วย เนื่องจากผลที่เกิดขึ้น จะตรงกับความต้องการที่แท้จริงของชุมชน ไม่มีสิ่งที่เรียกว่าส่วนเกิน ทางเศรษฐกิจหรือสังคมที่ชุมชนไม่ต้องการ และชุมชนไม่ต้องถูก ทางการหรือ อบต. ยัดเยียดให้ดังเช่นในอดีต พัฒนาการทีช่ มุ ชนท้องถิน่ ช่วยกันทําแผนชุมชนเพือ่ ช่วยเหลือ ตนเอง และพัฒนาเป็นกลุ่มประชาสังคมที่เข้มแข็งและน่าภาคภูมิใจ เป็นปรากฏการณ์สําคัญที่น่าจับตามอง เป็นหนทางออกที่แท้จริงของ การพัฒนาชนบทของประเทศไทย เป็นการเสริมสร้างโครงสร้างทาง เศรษฐกิจในท้องถิ่นให้รองรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจระหว่างสมาชิก ในท้องถิ่นที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น และเป็นรากฐานของการสร้างสังคม ทีเ่ ข้มแข็งในหลายๆ เรือ่ งต่อไป เป็นการถูกต้องแล้วทีส่ ภาพัฒน์ใช้การ เชิญชวนให้มีการจัดทำ�แผนชุมชนที่ดีเป็นมาตรการนําในการพัฒนา ชุมชนในท้องถิ่น ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 สภาพัฒน์กําหนดเป้าหมายไว้ว่า จะผลักดันให้ตําบลทั่วประเทศจํานวน 7,000 กว่าตําบลมีแผนชุมชน ที่ได้มาตรฐานครบทุกตําบลภายในปี 2554 ขณะนี้กลุ่มประชาสังคม - 21 60

.indd 21

3/3/2554 16:02:25


| ประเทศไทยกับการพัฒนาตามกระแสโลกาภิวัตน์

ต่ างๆ กํ าลั ง ตื่ น ตัว ที่จะช่ว ยกัน แนะนํา การจัดทําแผนชุมชนให้กับ ท้องถิ่นต่างๆ เชื่อว่าพัฒนาการที่เกิดขึ้นตามแนวทางนี้จะช่วยให้ ชุมชนในท้องถิน่ เจริญขึน้ เร็วกว่าทีเ่ คยเป็นมา มีสงิ่ อาํ นวยความสะดวก ในการดํารงชีวิตที่ดีขึ้น มีสิ่งอํานวยความสะดวกรองรับกิจกรรมทาง เศรษฐกิจภายในท้องถิ่นและระหว่างท้องถิ่นมากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ เศรษฐกิจระดับท้องถิน่ มีบทบาทมากขึน้ ในการขยายตัวของเศรษฐกิจ แต่การมีแผนชุมชนยังไม่สามารถแก้ปัญหาเรื่องการกระจายรายได้ ได้ดีพอ ยังมีความจําเป็นที่จะต้องเพิ่มโอกาสในการหารายได้ให้กับ ชนบท จึงจะทําให้การกระจายรายได้ดีขึ้น การเพิ่มรายได้ให้กับชนบทนั้นไม่ควรจะเป็นไปในลักษณะ ของการแจกเงินเป็นครั้งๆ ดังนโยบายประชานิยมบางเรื่อง แต่ควร จะเป็นไปในลักษณะของการเพิ่มโอกาสในการทํามาหากิน เพราะการ นําเงินไปให้เป็นครั้งๆ นั้นเป็นการสร้างความเคยตัวในลักษณะที่ว่า ไม่ต้องทําอะไรก็ได้เงินมาใช้ ซึ่งจะทําให้ผู้รับไม่เห็นคุณค่าของการ หารายได้ ด้ ว ยนํ้ า พั ก นํ้ า แรงของตนเอง แต่ ก ารเพิ่ ม โอกาสในการ ทํามาหากินนั้น นอกจากจะเป็นการกระจายรายได้แล้ว ยังเป็นการ เพิ่มผลผลิตให้แก่ระบบเศรษฐกิจอีกด้วย การเพิม่ โอกาสในการทาํ มาหากินนัน้ มีมากมายหลายรูปแบบ ตัง้ แต่การสร้างอุตสาหกรรมในแหล่งทีผ่ ลิตวัตถุดบิ เพือ่ อุตสาหกรรมนัน้ เช่น อุตสาหกรรมซอสมะเขือเทศที่หนองคาย สร้างแหล่งหัตถกรรม เพือ่ รองรับการท่องเทีย่ ว เช่น แหล่งไม้แกะสลักทีบ่ า้ นถวาย สร้างอาชีพ ที่สองให้แก่เกษตรกรในช่วงนอกฤดูเพาะปลูก หรือการแนะนําให้ปลูก พืชผลประเภทที่สองนอกฤดูกาลหลัก บุ ค คลชั้ น นํ า ของจั ง หวั ด ต่ า งๆ ก็ ส ามารถช่ ว ยกั น คิ ด ถึ ง หนทางที่ จ ะเพิ่ ม การทํ า มาหากิ น ให้ แ ก่ จั ง หวั ด ของตนได้ เพื่ อ ให้ สอดคล้องกับพัฒนาการทางเศรษฐกิจที่กําลังเกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น - 22 60

.indd 22

3/3/2554 16:02:25


ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล |

จังหวัดเชียงรายซึง่ มีแผนการระดับชาติทจี่ ะมีเส้นทางคมนาคมจากจีน ตอนใต้เข้าสู่ประเทศไทยที่จังหวัดเชียงรายสองเส้นทาง คือเส้นทาง ถนนเข้าพม่า ผ่านเมืองเชียงตุง แล้วเข้าสูป่ ระเทศไทยทีอ่ าํ เภอแม่สาย และเส้นทางรถไฟพร้อมถนนทีเ่ ข้าประเทศลาวทีเ่ มืองบ่อเต็น ลงมายัง เมืองห้วยทราย แล้วข้ามแม่นํ้าโขงเข้าสู่ประเทศไทยที่เมืองเชียงของ โดยทั้งสองเส้นทางนี้จะเข้ามาบรรจบกันในจังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็น โครงสร้างอย่างดีที่จะทําให้เชียงรายกลายเป็นศูนย์กระจายสินค้า ทั้งสินค้าที่ลงมาจากจีนเพื่อไปยังตลาดในส่วนต่างๆ ของประเทศไทย และสินค้าที่ขึ้นมาจากส่วนต่างๆ ของประเทศไทยเพื่อป้อนตลาด จีน ผู้นําภาคธุรกิจเอกชนในเชียงรายจึงได้ร่วมกันเตรียมการในเรื่อง ต่างๆ เพื่อให้เชียงรายพร้อมที่จะพัฒนาเป็นศูนย์กระจายสินค้าที่มี ประสิทธิภาพ ซึ่งจะเป็นการสร้างโอกาสในการทํามาหากินให้กับชาว เชียงรายเป็นจํานวนมาก ในแต่ละจังหวัดจะมีลักษณะเฉพาะของตนเอง ถ้าช่วยกัน พิจารณาให้ดี ก็จะเห็นลักษณะที่เอื้อต่อการสร้างโอกาสในการทํามา หากินให้กับคนในจังหวัดได้ นอกจากการเพิม่ โอกาสในการทํามาหากินเพิม่ เติมจากทีม่ อี ยู่ เดิมแล้ว การเพิม่ ขึน้ ของราคาพืชผลก็เป็นอีกทางหนึง่ ในการเพิม่ รายได้ ให้กับเกษตรกร ราคาพืชผลจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงนั้นขึ้นอยู่กับสภาวะ ของตลาด ซึ่งแปรเปลี่ยนตามปริมาณผลผลิตและความต้องการซื้อ เพื่อใช้ประโยชน์จากพืชผลนั้นตามปกติประการหนึ่ง อีกประการหนึ่ง เกิดจากการที่สามารถนําพืชผลนั้นไปใช้ในการผลิตสินค้าชนิดใหม่ ตัวอย่างเช่น การใช้มันสําปะหลังและอ้อย หรือกากนํ้าตาล (โมลาส) จากอ้อย เป็นวัตถุดิบในการผลิตเอทานอล ซึ่งใช้ผสมกับเบนซินเป็น แก๊สโซฮอล์ หรือใช้ปาล์มนํ้ามันในการผลิตไบโอดีเซล เป็นต้น การ ผลิตพลังงานทดแทนจากพืชผลเหล่านี้ ในระยะยาว เมื่อราคานํ้ามัน - 23 60

.indd 23

3/3/2554 16:02:25


| ประเทศไทยกับการพัฒนาตามกระแสโลกาภิวัตน์

เพิ่มขึ้น ราคาของพืชผลเหล่านี้ก็จะเพิ่มขึ้นตาม ซึ่งจะมีส่วนสําคัญ ในการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร สําหรับราคาพืชผลซึ่งขึ้นลงตามสภาวะการผลิตและความ ต้องการซื้อของตลาดตามปกตินั้น มีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของ เกษตรกรไม่น้อย ปีใดที่ราคาตํ่ามากจนขาดทุน ก็จะทําให้เกษตรกร ต้องเป็นหนีส้ นิ เพิม่ ขึน้ จึงมีความจําเป็นอย่างยิง่ ทีร่ ฐั บาลจะต้องบริหาร จัดการในเรื่องนี้ให้ดีที่สุด ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ทําได้ง่ายๆ การใช้วิธีแทรกแซงตลาดด้วยการรับจํานําในราคาสูงๆ นั้น ไม่ได้หมายความว่าราคาตลาดจะเพิ่มสูงตาม ดังที่เห็นได้ในปัจจุบัน ว่าการที่หน่วยงานของรัฐรับจํานําข้าวและเก็บสต็อกไว้สูงมากถึง 6 ล้านตัน กลับมีผลให้ผู้ซื้อชะลอการซื้อ และรอให้ราคาข้าวลดลง อีก เนื่องจากมี Supply ของข้าวเหลืออยู่มาก เมื่อผู้ซื้อชะลอการซื้อ ในขณะที่มีข้าวออกมามากขึ้นหลังจากการเก็บเกี่ยว จึงมีผลกดให้ ราคาตลาดตํ่าลงไปอีก ผู้รับผิดชอบในรัฐบาลต้องเข้าใจในเรื่องนี้อย่าง แท้จริง จึงจะทําได้ถูกต้อง ต้องเข้าใจว่าราคาจํานํานัน้ ไม่ใช่เป้าหมายทีแ่ ท้จริง ราคาตลาด ต่างหากทีเ่ ป็นเป้าหมายทีเ่ ราต้องดูแลไม่ให้ลดตํา่ จนเกินสมควร ซึง่ จะ มีผลกระทบต่อรายได้ของเกษตรกรส่วนใหญ่ แต่ในปีทผี่ า่ นมา รัฐบาล ดําเนินนโยบายเรื่องราคาข้าวผิดมาโดยตลอด ไม่ได้ขายข้าวในสต็อก ในช่วงที่ราคาสูง แต่กลับรับจํานําเพิ่มขึ้นในช่วงนาปรัง ซึ่งไม่จําเป็น ต้องรับจํานํา เนื่องจากราคาในตลาดสูงมากอยู่แล้ว นอกจากนี้ยัง กําหนดราคารับจํานําข้าวนาปรังในราคาที่สูงเกินจําเป็น ทําให้สต็อก สะสมมาก จนมีผลกดราคาตลาดลงไปอีก ชีใ้ ห้เห็นถึงความไม่สามารถ ของรัฐบาลในเรื่องนี้ และน่าจะนับว่าเป็นความบกพร่องครั้งใหญ่ ซึ่ง นอกจากจะไม่สามารถป้องกันมิให้ราคาข้าวลดลงกว่าที่ควรแล้ว ยัง อาจจะทําให้ยอดการส่งออกลดลงมาก และสูญเสียตลาดต่างประเทศ - 24 60

.indd 24

3/3/2554 16:02:25


ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล |

ให้แก่คู่แข่งอย่างเวียดนามมากเป็นประวัติการณ์อีกด้วย ที่สําคัญก็คือ ราคาตลาดก็ไม่สามารถคงไว้ในระดับสูง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อรายได้ ของเกษตรกรในที่สุด ทีน่ า่ เป็นห่วงก็คอื รัฐบาลปัจจุบนั กาํ ลังจะดาํ เนินการแทรกแซง ตลาดเพือ่ ให้ราคาพืชผลอีกหลายชนิดอยูใ่ นระดับสูง ซึง่ เป็นความตัง้ ใจ ทีด่ ี แต่คาํ ถามก็คอื รัฐบาลจะแทรกแซงด้วยวิธใี ดจึงจะได้ผล เพราะหาก ใช้วธิ กี ารรับจํานําในราคาทีส่ งู กว่าราคาตลาดต่อไปอีก อาจทาํ ให้มกี าร สะสมสต็อกเป็นจํานวนมาก จนมีผลกดราคาตลาดของพืชผลเหล่านี้ ให้ตํ่าลงกว่าที่ควรจะเป็น เรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่าติดตามต่อไป ที่ ผ มนํา เสนอมาส่ ว นใหญ่ เ ป็ น เรื่ อ งโลกาภิวัตน์ในภาคเศรษฐกิจ ที่ แท้ จ ริ ง สํ า หรั บ ภาคการเงิ น นั้ น ประเทศไทยได้ ดํ า เนิ น การตาม พัฒนาการของประเทศที่เจริญแล้วในโลกตะวันตกเช่นกัน ทั้งตลาด ทุน ตลาดเงิน และระบบสถาบันการเงิน ในเรื่ อ งของตลาดทุ น เราได้ พั ฒ นาตลาดหลั ก ทรั พ ย์ ต าม แบบแผนของตะวันตกทุกประการ และใช้มาตรการต่างๆ ดึงดูดเงิน ทุนจากต่างชาติให้เข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ได้มาก ช่วยให้ ตลาดหลักทรัพย์ขยายตัวอย่างรวดเร็ว รํ่ารวยไปตามๆ กัน และเป็น แหล่งระดมทุนที่สําคัญสําหรับธุรกิจเอกชนจํานวนไม่น้อย แต่ด้วย ความทีไ่ ม่ระมัดระวัง เราได้ปล่อยให้ตลาดหลักทรัพย์ของเราอยูภ่ ายใต้ การครอบงําของทุนต่างชาติโดยไม่รู้ตัว ก่ อ นวิ ก ฤตการเงิ น โลกครั้ ง นี้ ต่ า งชาติ ถื อ หุ้ น ในตลาด หลักทรัพย์เป็นมูลค่า 40 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าตลาดทั้งหมด ขณะนี้ หลังจากที่เทขายกันบ้างแล้ว ต่างชาติก็ยังถือหุ้นอยู่ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าทั้งหมด และเป็น 30 เปอร์เซ็นต์ที่ทําการซื้อขาย ในตลาดเป็นประจาํ ในขณะที่ 70 เปอร์เซ็นต์ทเี่ หลือซึง่ เป็นของคนไทย - 25 60

.indd 25

3/3/2554 16:02:25


| ประเทศไทยกับการพัฒนาตามกระแสโลกาภิวัตน์

มีบางส่วนเท่านั้นที่ทำ�การซื้อขายในตลาดเป็นประจํา การซื้อขาย ในแต่ละวันจึงอยู่ภายใต้อิทธิพลของนักลงทุนต่างชาติ วิกฤตเศรษฐกิจของโลกครั้งนี้แสดงให้เห็นชัดถึงผลกระทบ ต่อตลาดทุนของเราอันเนื่องมาจากการครอบงําของทุนต่างชาติ ในปี 2551 มูลค่าของหลักทรัพย์ในตลาดลดลงอย่างรวดเร็ว เนือ่ งจากความ อ่อนแอของผู้ลงทุนชาวต่างชาติ โดยไม่ได้ลดลงตามผลประกอบการ ของบริษัทที่จดทะเบียนหุ้นให้ค้าขายในตลาดแต่อย่างใด จึงมีความ จําเป็นที่เราจะต้องปรับแก้ทิศทางการพัฒนาของตลาดหลักทรัพย์ เพื่อลดการครอบงําของนายทุนต่างชาติลง เราควรพัฒนาให้มีกําลัง ซื้อและขายที่เกิดจากกําลังเงินของคนไทยในประเทศมากกว่าที่เป็น อยู่ เพื่อมิให้ราคาในตลาดหลักทรัพย์ของเราแกว่งไกวไปกับการไหล เข้าออกของเงินทุนจากต่างชาติมากเกินไปดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ในเรื่องของตลาดเงิน เราได้ปรับกฎเกณฑ์ต่างๆ ให้สามารถ รองรับพัฒนาการของสินค้าใหม่ทซี่ อื้ ขายในตลาดการเงิน โดยอนุญาต ให้เงินทุนเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี เพื่อการชําระเงินที่เกี่ยวกับการ ซื้อขายสินค้าในตลาดการเงิน แต่ธนาคารแห่งประเทศไทยก็ยังดูแล ความปลอดภัยของสถาบันการเงินที่เข้ามาค้าขายในตลาดการเงิน เพือ่ มิให้เสีย่ งจนเกินไปจากพัฒนาการใหม่ๆ ของสินค้าในตลาดการเงิน ของโลก และยังแทรกแซงในตลาดเงินตราต่างประเทศ เพื่อมิให้อัตรา แลกเปลี่ยนแกว่งไกวมากจนเป็นอุปสรรคต่อการค้าและการขยายตัว ของภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง ในเรื่ อ งของอั ต ราแลกเปลี่ ย นนี้ นั ก เศรษฐศาสตร์ บ างคน เชื่อว่า ถ้าปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด ทุกอย่างจะปรับตัวได้อย่าง เหมาะสม และไม่จําเป็นต้องเข้าไปแทรกแซงให้เหนื่อยยาก ผมอยาก จะบอกว่า ในเรื่องของตลาดการเงินนั้น กําลังเงินของผู้เล่นรายใหญ่ ในตลาดมีมากกว่าขนาดของธุรกรรมภายในตลาดของเราหลายเท่า ผู้ เ ล่ น เหล่ า นี้ ส ามารถใช้ พ ลั ง เงิ น ทำ � ให้ ต ลาดเป็ น ไปในทางที่ เ ป็ น - 26 60

.indd 26

3/3/2554 16:02:25


ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล |

ประโยชน์แก่เขาได้โดยไม่ยาก และเมื่อเขาได้ประโยชน์แล้ว จึงปล่อย ให้ปรับตัวอย่างเสรี ซึ่งหมายความว่า ทุกขณะที่ตลาดขึ้นหรือลง เขาสามารถควบคุมตลาด และเอาประโยชน์จากตลาดเล็กๆ ของ เราได้ตลอดเวลา ทําให้ตลาดแกว่งไกวมากกว่าที่ควรจะเป็น อัตรา แลกเปลี่ยนไม่มีเสถียรภาพเพียงพอที่จะทำ�ให้ภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง พัฒนาหรือเติบโตได้อย่างราบรื่น ความเป็นจริงทีเ่ กิดขึน้ เป็นข้อพิสจู น์ในเรือ่ งนี้ กล่าวคือ ในช่วง ปี 2541 ถึงกลางปี 2544 ทุกอย่างเป็นไปตามพลังของตลาดอย่างเสรี อัตราแลกเปลีย่ นของเราขาดเสถียรภาพอย่างมาก การค้าต่างประเทศ ไม่สามารถขยายตัวได้อย่างราบรื่น เศรษฐกิจไม่สามารถฟื้นตัวได้ใน ช่วงนั้น แต่หลังจากเดือนมิถุนายน 2544 เมื่อมีการใช้มาตรการต่างๆ ดูแลตลาดให้เกิดเสถียรภาพ แม้เงินบาทจะแข็งค่าขึ้น แต่ก็แข็งค่าขึ้น อย่างค่อยเป็นค่อยไป ปรากฏว่าการค้าต่างประเทศดำ�เนินไปได้อย่าง ราบรื่น ภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง (Real Sector) ทำ�งานได้ดีขึ้น และมี ผลทำ�ให้เศรษฐกิจฟื้นขึ้น ความเป็นห่วงของธนาคารแห่งประเทศไทยในเรือ่ งความเสีย่ ง ที่เกี่ยวกับสินค้าการเงินแบบใหม่ๆ และลักษณะอนุรักษนิยมของ ผูบ้ ริหารระดับสูงของสถาบันการเงินต่างๆ ของไทย มีผลทำ�ให้สถาบัน การเงินของไทยเข้าไปซื้อขายและลงทุนในสินค้าการเงินแบบใหม่ๆ ในจํานวนจํากัด ซึ่งถือว่าเป็นโชคดีของประเทศไทย เนื่องจากวิกฤต เศรษฐกิจของโลกซึ่งเริ่มจากสหรัฐอเมริกาในครั้งนี้มีสาเหตุมาจาก ฟองสบู่สองแห่ง คือฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐอเมริกา แห่งหนึ่ง และฟองสบู่ในตลาดการเงินของสหรัฐอเมริกาและตลาด การเงินของโลกอีกแห่งหนึ่ง ฟองสบู่ที่แตกในภาคอสังหาริมทรัพย์ทําให้ฟองสบู่ในภาค การเงินแตกตามไปด้วย และเป็นตัวคูณทีท่ าํ ให้ปญ ั หาขยายตัวออกไป มากมายหลายเท่าตัว ฟองสบู่ หรือ Economic Excess ในภาคการเงิน - 27 60

.indd 27

3/3/2554 16:02:25


| ประเทศไทยกับการพัฒนาตามกระแสโลกาภิวัตน์

นี้มีปริมาณสูงมาก ดังจะเห็นได้จากข้อเท็จจริงที่ว่า ภาคการเงินของ สหรัฐอเมริกาขยายตัวเร็วกว่าภาคเศรษฐกิจที่แท้จริงถึง 3 เท่าตลอด ทศวรรษที่ผ่านมา การที่สถาบันการเงินในสหรัฐอเมริกาล้มลงนั้น เป็นเพราะลงทุนในสินค้าอนุพนั ธ์ทางการเงินเป็นจาํ นวนมาก บางแห่ง มากกว่าครึง่ หนึง่ ของสินทรัพย์ทงั้ หมด เมือ่ ฟองสบูแ่ ตก สินค้าการเงิน ที่เป็น Economic Excess เหล่านี้ก็หมดค่าลง สถาบันการเงินจึงล้มลง อย่างรวดเร็ว มีข้อมูลที่ไม่ยืนยันว่าขณะนี้มีสินค้าอนุพันธ์ทางการเงิน คงค้างอยู่ในสหรัฐอเมริกาอย่างน้อย 10 เท่าของ GDP และอาจสูงถึง 20 เท่าเสียด้วยซํ้า เป็น Economic Excess ที่จะยังสร้างปัญหาให้กับ เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาต่อไป โชคดีที่ประเทศไทยไม่ได้ดูดซับพัฒนาการของตลาดการเงิน ในเรื่องนี้เร็วนัก ตลาดอนุพันธ์ทางการเงินในประเทศไทยยังมีจํากัด ผูบ้ ริหารระดับสูงของสถาบันการเงินไทยยังระมัดระวังและไม่ได้เข้าไป ลงทุนในตลาดอนุพันธ์ทางการเงินมากนัก ประกอบกับธนาคารแห่ง ประเทศไทยยังควบคุมยอดสูงสุดสุทธิที่สถาบันการเงินจะลงทุนใน สินค้าการเงินที่เป็นเงินตราต่างประเทศ จึงทําให้สถาบันการเงินไทย ได้รับผลเสียหายจากตลาดอนุพันธ์น้อยมากในครั้งนี้ วิกฤตเศรษฐกิจ ครั้งนี้ เราจึงยังมีสถาบันการเงินที่แข็งแรงพอที่จะช่วยรองรับแรง กระแทกได้บ้าง ประสบการณ์ครัง้ นีช้ ใี้ ห้เห็นว่า แนวทางทีด่ แู ลให้ตลาดการเงิน และระบบสถาบันการเงินเปิดรับกระแสโลกาภิวัตน์ในระดับที่สมควร ตามความสามารถและความแข็งแรงของตลาดและระบบนั้น เป็น แนวทางที่เหมาะสมแล้ว การแทรกแซงค่าเงินเพื่อรักษาเสถียรภาพ ของอัตราแลกเปลี่ยนเป็นสิ่งจําเป็น เพื่อมิให้ภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง ถูกกระทบ การไม่ปล่อยให้ตลาดเงินเสรีอย่างเต็มที่นั้นคงต้องรักษา ไว้ต่อไป เพราะจุดสําคัญที่สุดก็คือ ภาคเศรษฐกิจที่แท้จริงต้องเติบโต อย่างมั่นคง - 28 60

.indd 28

3/3/2554 16:02:25


ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล |

ที่ผ่านมา การพัฒนาตามกระแสโลกาภิวัตน์โดยภาพรวมนับว่าเป็น ประโยชน์ต่อประเทศไทยมาก และเป็นกระแสหลักของการพัฒนา ที่ควรดําเนินต่อไป แต่เราควรมีเข็มทิศนําทางที่ชัดเจนว่า จากวันนี้ไป เราควรจะทําให้เศรษฐกิจของเราพัฒนาตามกระแสโลกาภิวัตน์แต่ละ ด้านอย่างไรบ้าง จึงจะก้าวหน้าได้ดี และลดผลพวงที่เป็นผลเสียให้ น้อยที่สุด พร้อมทั้งป้องกันมิให้ความเสี่ยงของพัฒนาการตามกระแส โลกาภิวัตน์บางเรื่องกระทบต่อประเทศไทย ในภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง การผลิตและการค้าเดินมาถูกทาง เป็นส่วนใหญ่ อาจจะด้อยประสิทธิภาพไปบ้างในบางเรื่อง แต่ไม่ผิด ทาง เราควรพัฒนาตามกระแสโลกาภิวัตน์ต่อไป พร้อมทั้งเพิ่มความ มั่นคงให้แก่ภาคอุตสาหกรรมด้วยการพัฒนาอุตสาหกรรมจากทรัพย์ ในดิ น ที่ เ รามี อ ยู่ ใ ห้ เ ป็ น อุ ต สาหกรรมหลั ก มากขึ้ น เช่ น โพแทส แทนทาลั ม และทองคํ า ในขณะเดี ย วกั น เราต้ อ งเพิ่ ม มาตรการ ระมัดระวังผลกระทบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิตรอบด้าน ให้เพียงพอ พร้อมทั้งดูแลให้ทรัพยากรธรรมชาติฟื้นตัวได้ทันอัตรา การใช้ ตลอดจนบริหารจัดการให้มีนํ้าเพียงพอ เพื่อรองรับความเจริญ ของภาคต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ในภาคการเงินนั้น การเปิดตลาดเงินและตลาดทุนของเรา ให้เชื่อมโยงกับโลกภายนอก ทําให้เราสามารถดึงดูดเงินทุนมาช่วย พัฒนาประเทศของเราได้เป็นอย่างดี ในส่วนทีเ่ ป็นตลาดเงินและระบบ สถาบันการเงินซึง่ เราค่อยๆ เปิดรับกระแสโลกาภิวตั น์ในระดับทีส่ มควร และดูแลระมัดระวังในเรือ่ งทีเ่ รายังไม่พร้อมนัน้ เป็นแนวทางทีส่ ามารถ ใช้ได้ต่อไป และอาจทยอยเปิดรับมากขึ้นเมื่อตลาดและระบบของเรา แข็งแรงและมีความสามารถมากพอ สําหรับตลาดหลักทรัพย์ของเรานั้น กลไกต่างๆ เอื้อต่อการ ลงทุนของต่างชาติเป็นอย่างดีอยู่แล้ว แต่เพื่อลดการครอบงําของทุน - 29 60

.indd 29

3/3/2554 16:02:25


| ประเทศไทยกับการพัฒนาตามกระแสโลกาภิวัตน์

ต่างชาติและเพิ่มความมั่นคงให้แก่ตลาด กระทรวงการคลัง สำ�นักงาน คณะกรรมการกำ �กับหลักทรัพย์แ ละตลาดหลัก ทรัพย์ (สำ�นักงาน คณะกรรมการ ก.ล.ต.) และคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ น่าจะให้ ความสนใจในเรื่องการพัฒนาหนทางที่จะดึงดูดเงินทุนในประเทศจาก แหล่งต่างๆ ให้เข้ามาลงทุนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์มากขึ้นอย่าง จริงจัง นอกจากการแก้ไขจุดอ่อนต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น เราต้อง หันไปดูแลการเพิ่มรายได้ให้กับภาคเกษตรกรรมในชนบทให้มากขึ้น เพื่อลดช่องว่างของรายได้ที่เป็นอยู่ให้น้อยลง นอกจากการใช้แผน ชุมชนพัฒนาโครงสร้างทางเศรษฐกิจในระดับท้องถิ่นแล้ว รัฐบาลต้อง ให้ความสนใจเป็นพิเศษในการเพิ่มโอกาสทํามาหากินให้กับชนบท ในทุกรูปแบบ ตั้งแต่การสร้างอุตสาหกรรมรองรับแหล่งวัตถุดิบใน ท้องถิ่น การสร้างแหล่งหัตถกรรมรองรับการท่องเทีย่ ว การเพิ่มอาชีพ ที่สองให้แก่เกษตรกรนอกฤดูเพาะปลูก ตลอดจนการแนะนําพืชที่สอง สําหรับเพาะปลูกนอกฤดูกาลหลัก นอกจากนี้ ควรส่งเสริมการนําพืชผลที่มีอยู่ไปผลิตเป็นสินค้า ชนิดอื่นที่ตลาดต้องการ เช่น การผลิตพลังงานทดแทน ที่สําคัญก็คือ มีความจําเป็นที่รัฐบาลจะต้องให้ความสนใจในการดูแลราคาพืชผล เพื่อให้ราคาตลาดไม่ตํ่ากว่าที่ควรจะเป็น เพราะจะกระทบต่อรายได้ ของเกษตรกรโดยตรง แต่จะต้องกระทําอย่างถูกต้องด้วยวิธีการต่างๆ ผสมผสานกัน ทั้งการขายและการรับจํานําในราคาและช่วงเวลาที่ เหมาะสม โดยมีเป้าหมายอยู่ที่ราคาตลาด ไม่ใช่ราคารับจํานํา การ รับจํานําเป็นเพียงวิธีการที่จะทําให้ราคาตลาดไม่ลดตํ่าลง และกลับ เพิ่มสูงขึ้นในภายหลังจนสูงกว่าราคารับจํานํา การเพิ่ ม รายได้ ใ ห้ แ ก่ ภ าคเกษตรกรรมในชนบทจะมี ผ ล ให้คนไทยในชนบทซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศมีรายได้สูงขึ้น - 30 60

.indd 30

3/3/2554 16:02:25


ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล |

มีความสามารถในการจับจ่ายใช้สอยมากขึน้ เป็นการทำ�ให้การบริโภค ในประเทศเป็ น ตั ว ขั บ เคลื่ อ นเศรษฐกิ จ ที่ แ ข็ ง แรงขึ้ น ควบคู่ กั น ไป กั บ การส่ ง ออก ซึ่ ง จะทํ า ให้ เ ศรษฐกิ จ ของไทยมี ก ารเติ บ โตที่ มี เสถี ย รภาพมากขึ้ น ปี ใ ดที่ ก ารส่ ง ออกชะลอตั ว ลง เราก็ ยั ง มี ก าร บริ โ ภคในประเทศช่ ว ยขั บ เคลื่ อ นเศรษฐกิ จ ไว้ ไ ด้ อี ก แรงหนึ่ ง สิ่ ง ที่ ตามมาก็คือจะช่วยลดช่องว่างทางเศรษฐกิจ และเป็นการลดโอกาส ที่จะเกิดความขัดแย้งขึ้นในสังคม

- 31 60

.indd 31

3/3/2554 16:02:25


| ประเทศไทยกับการพัฒนาตามกระแสโลกาภิวัตน์

ประวัติปาฐก ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล จบการศึกษาระดับปริญญาตรี (เกียรตินิยม ดี ม าก) จากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร์ และปริ ญ ญาโท บริหารธุรกิจ สาขาธุรกิจระหว่างประเทศ จากวาร์ตันสคูล มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ม.ร.ว.ปรีดิยาธรเริ่มต้นทำ�งานที่ธนาคารกสิกรไทย (มิ.ย. 2514 - ธ.ค. 2533 ตำ�แหน่งสุดท้ายคือรองกรรมการผู้จัดการอาวุโส) หลังจากนั้นจึงเข้ารับ ตำ�แหน่งโฆษกประจำ�สำ�นักนายกรัฐมนตรี (ธ.ค. 2533 - ก.พ. 2534 ในรัฐบาลพล เอกชาติชาย ชุณหะวัณ) รัฐมนตรีชว่ ยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (ก.ค. 2534 - เม.ย. 2535, มิ.ย. 2535 - ต.ค. 2535 ในรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน และ เม.ย. 2535 - มิ.ย. 2535 ในรัฐบาลพลเอกสุจินดา คราประยูร) กรรมการผู้จัดการ ธนาคาร เพื่อการส่งออกและนำ�เข้าแห่งประเทศไทย (ต.ค. 2536 - พ.ค. 2544) ประธาน กรรมการบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (ธ.ค. 2540 - เม.ย. 2546) ผูว้ า่ การธนาคารแห่งประเทศไทย (พ.ค. 2544 - ต.ค. 2549) และรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (ต.ค. 2549 - ก.พ. 2550 ในรัฐบาลพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์) ปัจจุบัน ม.ร.ว.ปรีดิยาธรดำ�รงตำ�แหน่งกรรมการและเลขานุการมูลนิธิ อาจารย์ ป๋ ว ย ประธานกรรมการ สถาบั น ป๋ ว ย อึ๊ ง ภากรณ์ กรรมการสภา มหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และกรรมการในคณะ กรรมการข้าราชการพลเรือน

- 32 60

.indd 32

3/3/2554 16:02:26


60

.indd 33

3/3/2554 16:02:26


| เศรษฐศาสตร์และการเมือง

เศรษฐศาสตร์และการเมือง ศ.ดร.อภิชัย พันธเสน

วันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

- 34 60

.indd 34

3/3/2554 16:02:26


ศ.ดร.อภิชัย พันธเสน |

ความหมายและความเป็นมา

ประเด็นที่จะบรรยายในวันนี้คือ เศรษฐศาสตร์และการเมือง (Economics and Politics) หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างวิชา เศรษฐศาสตร์และการดําเนินการทางการเมือง โดยทีว่ ชิ าเศรษฐศาสตร์ หมายถึงวิชาทีว่ า่ ด้วยกิจกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์ ซึง่ มีเป้าหมาย เพื่อต้องการให้มนุษย์ในฐานะที่เป็นปัจเจกชนบรรลุซึ่งอรรถประโยชน์ สูงสุด หรือถ้าหากเป็นสังคมก็คือทําให้สังคมได้รับสวัสดิการสูงสุด แต่ถา้ หากเป็นพุทธเศรษฐศาสตร์กจ็ ะมีเป้าหมายทีจ่ ะให้มนุษย์มคี วาม สงบสุข ถ้าหากเป็นสังคมก็คือทําให้สังคมมีศานติสุข ส่วนการเมือง เป็นเรื่องของกระบวนการที่พยายามดําเนินการให้ได้มาซึ่งอํานาจ โดยเฉพาะอย่างยิง่ อาํ นาจในการตัดสินใจ หรือใช้อาํ นาจในการตัดสินใจ เพือ่ ให้ได้มาซึง่ วัตถุประสงค์ทตี่ อ้ งการ การเมืองในทีน่ คี้ อื กระบวนการ หรือกิจกรรมที่ต้องมีการลงมือกระทํา ไม่ใช่แนวคิดทางทฤษฎี ผู้เขียนขอขอบคุณ รศ.สุริชัย หวันแก้ว และ รศ.ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ซูซูกิ ที่ให้ข้อ คิดเห็นที่เป็นประโยชน์ ส่วนข้อผิดพลาดที่ยังคงมีอยู่ในบทความนี้เป็นความรับผิดชอบ ของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว

- 35 60

.indd 35

3/3/2554 16:02:26


| เศรษฐศาสตร์และการเมือง

ดังนั้น เศรษฐศาสตร์และการเมืองจึงเป็นการนําเอาความรู้ ทางเศรษฐศาสตร์ไปผสมกับกิจกรรมทางการเมือง เพื่อให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงตามแนวทางการวิเคราะห์ของวิชาเศรษฐศาสตร์ โดย ไม่ปล่อยให้เกิดเป็นพลังขับเคลื่อนจนแนวคิดดังกล่าวเป็นความจริง ในที่สุด เพราะกว่าพลังดังกล่าวจะก่อตัวและขับเคลื่อนได้ อาจจะต้อง ใช้เวลานานมาก จนไม่ทันที่จะป้องกันหรือตั้งรับปัญหาที่เกิดขึ้น ดั ง นั้ น สิ่ ง ที่ จ ะนํ า เสนอในครั้ ง นี้ จึ ง มิ ใ ช่ เ ศรษฐศาสตร์ แ ละ รัฐศาสตร์ (Economics and Political Science) ถึงแม้จะมีความ เกีย่ วพันกันอยูบ่ า้ ง และก็ไม่ใช่เศรษฐกิจการเมือง (Political Economy) คําว่า “เศรษฐกิจการเมือง” ใช้โดยตั้งใจ เพราะในประเทศไทยเรา แปลว่ า เศรษฐศาสตร์ ก ารเมื อ ง แต่ คํ า ว่ า Economy ควรแปลว่ า เศรษฐกิจมากกว่าเศรษฐศาสตร์ ที่ว่าไม่ใช่เศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์ก็เพราะไม่ได้เอาวิชา เศรษฐศาสตร์ไปผสมผสานกับวิชารัฐศาสตร์ และก็ไม่ได้กล่าวถึง เศรษฐกิ จ การเมื อ ง ซึ่ ง เป็ น เรื่ อ งเศรษฐกิ จ ที่ มี ผ ลต่ อ กิ จ กรรมหรื อ ความสัมพันธ์ทางการเมือง หรือในทางกลับกัน ดังนั้น ตรงนี้จึงขอ ให้แยกแยะระหว่างคําจํากัดความที่ฟังดูแล้วเหมือนจะมีความหมาย ใกล้เคียงกันให้เห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน ทีจ่ ะอภิปรายในประเด็นทีเ่ รียกว่าเศรษฐศาสตร์และการเมือง นั้น ก็เพราะเห็นว่านักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ ถึงแม้บางครั้งจะมี ประสบการณ์ที่เกิดจากการปฏิบัติจริง แต่ที่ผ่านมามีความรู้และความ เข้าใจในฐานะที่เป็นวิชาการแขนงหนึ่งที่นักเศรษฐศาสตร์ควรจะมี ความรู้และความเข้าใจน้อยมาก ในฐานะที่เป็นตัวเนื้อหาทางวิชาการ ที่ไม่รวมเอาเรื่องการนําไปสู่การปฏิบัติจริง ทั้งนี้เพราะในอดีต นัก เศรษฐศาสตร์ถูกสอนให้มีความทะนงตัวว่าเป็นนักวิชาการบริสุทธิ์ หรื อ เป็ น มื อ อาชี พ ที่ มี ห น้ า ที่ ใ นการนํ า เอาความรู้ ห รื อ หลั ก การที่ - 36 60

.indd 36

3/3/2554 16:02:26


ศ.ดร.อภิชัย พันธเสน |

วิ เ คราะห์ไ ด้จากการนํา ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มาวิเคราะห์หาความ สัมพันธ์ในเชิงทฤษฎีในลักษณะที่เป็นตรรกะทางคณิตศาสตร์ หรือ นําเอาหลักฐานเชิงประจักษ์ (Empirical Evidence) มาใช้ประกอบ เป็นทฤษฎีหรือความเชื่อ เพื่อนําไปเป็นข้อเสนอให้นักการเมืองใช้ ในการตัดสินใจ นั ก เศรษฐศาสตร์ ถู ก สอนว่ า ไม่ ค วรจะยุ่ ง กั บ นั ก การเมื อ ง การตัดสินใจเป็นเรื่องของนักการเมืองที่จะต้องทําหน้าที่ในฐานะผู้ที่ ได้ รั บ มอบอํา นาจจากประชาชนให้ มี ห น้ า ที่ ใ นการตั ด สิ น ใจ โดยที่ นักเศรษฐศาสตร์มีสถานภาพเป็นผู้เชี่ยวชาญที่ไม่ได้รับมอบอํานาจ หน้าทีใ่ ห้ทาํ เช่นนัน้ ส่วนการตัดสินใจของนักการเมืองนัน้ มีความหมาย ต่อไปอีกว่า การตัดสินใจดังกล่าวควรจะเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของ ประชาชนส่วนใหญ่ เพราะนักการเมืองได้รับเลือกมาจากประชาชน ส่วนใหญ่ของประเทศ นักการเมืองจึงจะต้องนึกถึงผลประโยชน์ของ ประชาชนส่วนใหญ่ เพื่อใช้ประกอบในการตัดสินใจ ถ้าหากเป็นเช่นนี้ นั ก เศรษฐศาสตร์ ก็ ไ ม่ จํา เป็ น ที่ จ ะต้ อ งห่ ว งใยการทํ า หน้ า ที่ ข องนั ก การเมือง เพราะนักการเมืองคํานึงถึงผลประโยชน์ของประชาชน ส่วนใหญ่อยู่แล้ว ถึงแม้ว่านักเศรษฐศาสตร์จะใช้คำ�ที่ต่างกัน โดย เรียกว่าสวัสดิการของสังคมสูงที่สุด แต่ก็น่าจะมีความหมายใกล้เคียง กับคําว่าผลประโยชน์สูงสุดของประชาชนส่วนใหญ่ ทั้งหมดนี้เป็นความจริงเมื่อวิเคราะห์จากหลักตรรกะที่เกิด จากระบบคิด แต่ทุกอย่างในโลกนี้มิได้เป็นไปตามตรรกะ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งเรื่องที่เกี่ยวข้องกับจิตและพฤติกรรมของมนุษย์ ปัญหา จริงๆ มิได้เกิดจากการที่มนุษย์ไม่มีตรรกะหรือวิธีคิดที่เป็นระบบ แต่ ในความเป็นจริงมีปัจจัยมากมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมนุษย์ในฐานะที่เป็น ปัจเจกบุคคลไม่อาจเข้าใจหรือทราบได้ทั้งหมด นอกจากนั้น ความ สัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ ก็อาจจะไม่เป็นไปตามตรรกะที่มนุษย์คิด - 37 60

.indd 37

3/3/2554 16:02:26


| เศรษฐศาสตร์และการเมือง

และที่สําคัญที่สุดซึ่งอาจจะไม่ใช่ประเด็นท้ายที่สุด ก็คือความจํากัด ในความเข้ า ใจ หรือสมองของมนุษย์แ ต่ล ะคนมีความแตกต่างกัน และไม่สามารถสร้างแบบจําลองที่เป็นต้นแบบ (Prototype) มาอธิบาย การตัดสินใจของมนุษย์ได้ อย่างดีที่สุดก็อาจจะนําเอาปัจจัยที่สําคัญ บางตัวมาประกอบการพิจารณา เป็นต้นว่าผลประโยชน์ส่วนตัวและ พวกพ้องของผู้ที่ตัดสินใจ ผลประโยชน์เฉพาะหน้าเมื่อเปรียบเทียบ กับผลประโยชน์ในระยะยาวของผู้ที่ตัดสินใจ หรือผลประโยชน์ทาง การเมืองของผู้ที่ตัดสินใจ เทียบกับผลประโยชน์อื่นๆ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ อาจจะเป็นปัจจัยทีส่ าํ คัญ แต่กค็ งไม่สามารถครอบคลุมปัจจัยทุกปัจจัย ที่เข้ามาอยู่ในความคิดคํานึงของนักการเมือง ซึ่งจะนํามาใช้ในการ ตัดสินใจในเรื่องต่างๆ แต่ละเรื่อง คาํ อธิบายทีน่ าํ เสนอมาทัง้ หมดนีม้ วี ตั ถุประสงค์เพียงประการ เดี ยว คื อต้องการชี้ให้เห็นว่า เพราะเหตุใดความคิดเห็นดีๆ ของ นักเศรษฐศาสตร์ที่มีการนําเสนอในที่สาธารณะ หรือแม้แต่นําเสนอ ต่อนักการเมืองโดยตรงเพื่อนําไปสู่การตัดสินใจ จึงไม่มีผลอย่างที่ นักเศรษฐศาสตร์คาดหวัง พร้อมกับการที่ข้อเสนอดังกล่าวหายไปกับ สายลม เมื่อปัญหาเป็นเช่นนี้ จึงมีคําถามต่อมาว่านักเศรษฐศาสตร์ ควรจะต้องทําอย่างไร เพื่อให้ข้อเสนอของนักเศรษฐศาสตร์มีผลต่อ การตัดสินใจทางการเมืองอย่างแท้จริง การศึกษาเรื่องนี้มีงานทาง วิ ช าการโดยนั ก เศรษฐศาสตร์จํา นวนมากที่สนใจจะตอบคําถามนี้ ในคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก็มีวิทยานิพนธ์ ของ ดร.พงษ์ธร วราศัย ที่สําเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยอีราสมุส ประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้ศึกษาในเรื่องนี้ สิง่ ทีจ่ ะบรรยายในวันนีค้ งมิได้มลี กั ษณะเป็นวิชาการลึกซึง้ มาก เท่ากับงานเขียนดังกล่าวของอาจารย์พงษ์ธร ด้วยเหตุผลสําคัญว่าเรา - 38 60

.indd 38

3/3/2554 16:02:26


ศ.ดร.อภิชัย พันธเสน |

ไม่อาจแน่ใจว่าปัจจัยที่นักเศรษฐศาสตร์เห็นว่านักการเมืองควรนํามา เป็นปัจจัยหลักในการตัดสินใจประกอบกับตรรกะในทางคณิตศาสตร์ นั้นสามารถใช้ได้จริงหรือไม่ เพราะข้อจํากัดอย่างที่ได้กล่าวมาแล้ว นอกจากนั้ น การตั ด สิ น ใจยั ง มี ป ระเด็ น ในเรื่ อ งจั ง หวะและโอกาส ซึ่งก็ได้กลายมาเป็นปัจจัยหนึ่งที่อาจจะมีผลช่วยทำ�ให้นักการเมือง ตัดสินใจในแนวทางที่นักเศรษฐศาสตร์พึงประสงค์ จากลักษณะของเรือ่ งทีจ่ ะต้องนํามาพิจารณาประกอบมากมาย ดั ง กล่ า ว นั ก เศรษฐศาสตร์ จึ ง ควรจะต้ อ งมี ค วามรู้ ใ นเรื่ อ งเหล่ า นี้ พอสมควร ประกอบกับประสบการณ์ในตัวของนักเศรษฐศาสตร์เอง ทีผ่ า่ นมา ถึงแม้จะมีจาํ นวนไม่มากนัก แต่กม็ นี กั เศรษฐศาสตร์ ที่ พ ยายามจะทํ า ให้ ค วามคิ ด เห็ น ของตนนํ า ไปสู่ ก ารตั ด สิ น ใจทาง การเมืองในรูปแบบต่างๆ ดังต่อไปนี้ 1) ไปเป็นนักการเมืองเสียเอง ซึ่งเมื่อใดที่นักเศรษฐศาสตร์ ไปเป็นนักการเมือง ก็มักจะได้รับการอ้างถึงในฐานะนักการเมือง มากกว่านักเศรษฐศาสตร์ 2) ไปเป็นที่ปรึกษานักการเมือง ในกรณีนี้ นักเศรษฐศาสตร์ อาจจะยังคงรักษาสถานภาพการเป็นนักเศรษฐศาสตร์เอาไว้ได้ แต่ก็ ไม่แน่นอนเสมอไปว่าความคิดเห็นของนักเศรษฐศาสตร์จะถูกนําไปใช้ ในการตัดสินใจทางด้านนโยบายของนักการเมือง 3) ทำ � ให้ เ กิ ด การเคลื่ อ นไหวทางการเมื อ งในรู ป ของข้ อ เรียกร้องหรือข้อเสนอผ่านสาธารณชน เพื่อให้สาธารณชนเกิดความ ตระหนัก ก่อเป็นกระแสที่ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง โดยที่ นั ก เศรษฐศาสตร์ เ หล่ า นี้ ยั ง คงมี ส ถานภาพเป็ น นั ก วิ ช าการ เศรษฐศาสตร์อย่างเดิม 4) เนื่องจากในยุคที่เรียกว่า เศรษฐกิจบนพื้นฐานของความรู้ หรือในทางการเมือง ความรู้ก็เป็นส่วนสําคัญของอํานาจ ซึ่งจะนําไป - 39 60

.indd 39

3/3/2554 16:02:26


| เศรษฐศาสตร์และการเมือง

สู่การตัดสินใจทางการเมืองที่มีเป้าหมาย และสนองผลประโยชน์ของ คนส่วนใหญ่เป็นสําคัญ การสร้างองค์ความรู้ การขยายฐานความรู้ ในโอกาสและเวลาที่เหมาะสม ก็เป็นแนวทางของการเคลื่อนไหว ทางการเมื อ งที่ สํ า คั ญ ด้ ว ยเช่ น กั น วิ ธี ก ารเช่ น นี้ อ าจจะทํ า ให้ นั ก เศรษฐศาสตร์ยังสามารถคงสภาวะการเป็นนักวิชาการที่บริสุทธิ์จาก การเมือง ในขณะที่สร้างความเคลื่อนไหวให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทางการเมืองโดยไม่จําเป็นต้องปะทะสังสรรค์กับนักการเมืองโดยตรง แต่สามารถกระทาํ ผ่านเครือข่ายประชาสังคมและสือ่ มวลชนในรูปแบบ ต่างๆ ในวงกว้าง แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่สามารถประเมินผลสําเร็จ ในระยะสั้นได้ 5) ผ่านการให้ความรูท้ างเศรษฐศาสตร์แก่นกั ศึกษา ทีจ่ ะช่วย ให้นกั ศึกษาเกิดความตระหนักทางการเมือง ซึง่ เป็นวิธที อี่ าจจะช่วยให้ ได้ผลในระยะยาว แต่จะไม่มีผลในระยะสั้นแต่อย่างใด ถึ ง แม้ จ ะมี รู ป แบบของการที่ นั ก เศรษฐศาสตร์ จ ะสามารถ มี บ ทบาททางการเมื อ งได้ อ ย่ า งหลากหลายดั ง ที่ ไ ด้ ก ล่ า วมาแล้ ว แต่ ใ นบทความนี้ จ ะเน้ น เพี ย งเรื่ อ งเดี ย ว คื อ ความสั ม พั น ธ์ ข องนั ก เศรษฐศาสตร์กับการเมืองในรูปแบบของการเคลื่อนไหวทางการเมือง โดยใช้ประสบการณ์ในอดีตของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ เพือ่ ให้เห็นอีกมิตหิ นึง่ ของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ในระยะ 60 ปีที่ผ่านมา ซึ่งก็เป็นส่วนหนึ่งของการฉลอง ของคณะในครั้งนี้ เมื่อกล่าวถึงการเคลื่อนไหวทางการเมือง ก็จะต้องศึกษา จากประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต โดยส่วนที่เป็นประสบการณ์นั้น ไม่สามารถถ่ายทอดกันได้โดยตรง แต่สามารถนําเสนอในรูปของ “ความรู้” ผ่านกรณีศึกษา ซึ่งเป็นประเด็นที่จะแลกเปลี่ยนกับผู้ฟัง ในวันนี้ แต่ที่สําคัญในเบื้องต้นก็คือ นักเศรษฐศาสตร์เองจะต้อง - 40 60

.indd 40

3/3/2554 16:02:26


ศ.ดร.อภิชัย พันธเสน |

เข้าใจว่า ถ้าหากต้องการจะให้ความคิดทีต่ นเองคิดว่าเป็นความคิดทีด่ ี มีโอกาสผ่านกระบวนการตัดสินใจออกมาเป็นนโยบาย และนาํ ไปสูก่ าร ปฏิบัติ นอกจากความรู้ในวิชาเศรษฐศาสตร์ที่ได้รํ่าเรียนมาโดยตรง แล้ว จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ตลอดจนมีความสามารถในการ แสวงหาโอกาสและเวลาที่เหมาะสมด้วย แต่ถ้าหากนักเศรษฐศาสตร์ มีความรู้ถึงขั้นนั้นแล้วจะเปลี่ยนใจไปเป็นนักการเมืองเองเสียเลย แทนที่จะเป็นครูสอนวิชาเศรษฐศาสตร์ ก็ย่อมเป็นดุลพินิจของนัก เศรษฐศาสตร์ผู้นั้นเอง ซึ่งก็มีอดีตอาจารย์หลายคนในคณะนี้เป็น ตัวอย่างให้เห็น รวมทั้ง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ในปัจจุบัน ในทางตรงกันข้าม ระยะเวลาที่ผ่านมาได้พิสูจน์แล้วว่านัก เศรษฐศาสตร์ทไี่ ม่มคี วามรู้เรือ่ งการเมืองเลย ย่อมไม่มโี อกาสที่จะช่วย ให้ความรู้ดีๆ เหล่านั้นมีผลออกมาเป็นนโยบายและนําไปสู่การปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบสารสนเทศที่มีความก้าวหน้ามาก แต่ ขณะเดียวกันก็มี “เสียง” (Noise) รบกวนเกิดขึ้นมากมาย ซึ่งทําให้ผู้ที่ ได้ยินแต่ไม่ได้ตั้งใจฟังไม่สามารถจับประเด็นได้ เนื่ อ งจากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร์ มีประวัติอันยาวนานในการมีส่วนร่วมในการเมืองของไทย จึงมีความ อุดมสมบูรณ์ไปด้วย “กรณีตัวอย่าง” ที่คณะเศรษฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยอื่นๆ ไม่มี หรือมีก็ไม่มากเท่า จึงน่าเสียดายหากไม่มีการนํา “กรณีศึกษา” เหล่านี้มารื้อฟื้นเพื่อให้เกิดเป็น “ความรู้” อันจะช่วยให้ มีการนําความรู้ที่ได้ไปพัฒนาเป็นนโยบายทางการเมือง และนําไป ปฏิบัติให้บังเกิดผลอย่างแท้จริง

- 41 60

.indd 41

3/3/2554 16:02:26


| เศรษฐศาสตร์และการเมือง

ประวัติที่เกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์ของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กับการเมืองของประเทศ ในฐานะทีเ่ ป็นอาจารย์ทเี่ กษียณอายุแล้ว และสําเร็จการศึกษา จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นรุ่นสุดท้ายของยุคตลาดวิชา จึงอาจ จะช่วยเชือ่ มโยงอดีตของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในฐานะทีเ่ ป็นตลาด วิชาเข้ากับการรับรู้ของคณาจารย์และผู้ที่สนใจคนอื่นๆ ในรุ่นปัจจุบัน การที่มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง (University of Moral and Political Science) ถือกําเนิดขึ้นในปี 2476 หลัง การเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475 นั้น ถือได้ว่าเป็นผลจากการ เปลีย่ นแปลงทางการเมือง นอกจากนัน้ การก่อตัง้ มหาวิทยาลัยทีเ่ น้น วิชาธรรมศาสตร์และการเมืองก็ด้วยเหตุผลในการเผยแพร่และสร้าง จิตสํานึกของการเมืองในระบอบประชาธิปไตยให้ขยายออกไปใน วงกว้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมหาวิทยาลัยถูกก่อตั้งขึ้นมาพร้อมกับ ประเด็นเพือ่ ถามหาความเป็นธรรมในสังคม ซึง่ เป็นสิง่ ทีค่ วรจะเกิดขึน้ และดํารงอยู่ตลอดไปในสังคมประชาธิปไตย การถามหาความเป็นธรรมในยุคต้นของมหาวิทยาลัยย่อม มีผลกระทบต่อโครงสร้างทางการเมืองและการปกครองที่ดํารงอยู่ใน สังคมขณะนั้น ซึ่งมีพื้นฐานจากความเป็นจริง ประกอบกับความเชื่อ ของชนชัน้ นาํ หรือชนชัน้ ปกครองในขณะนัน้ ว่าคนส่วนใหญ่ของประเทศ ยังมีการศึกษาไม่มากพอ นอกจากนั้น การศึกษาที่ดีก็ยังไม่กระจาย อย่างทั่วถึง โดยตัวแทนของชนชั้นปกครองในยุคนั้นก็คือทหาร ซึ่งมี อํานาจทางการทหารหนุนหลัง โดยมีสถาบันกษัตริย์ในฐานะที่เป็น สถาบั น อั น สู ง สุ ด ที่ ส ถาบั น ทหารสามารถใช้ อ้ า งอิ ง ได้ เป็ น เครื่ อ ง รับรองความชอบธรรมของสถาบันทหาร เมื่อเป็นเช่นนั้น สถาบัน ทหารจึงจําเป็นต้องได้รับการท้าทายจากคําถามถึงความเป็นธรรม - 42 60

.indd 42

3/3/2554 16:02:26


ศ.ดร.อภิชัย พันธเสน |

ในสั ง คม ซึ่ ง แนวคิ ด สั ง คมนิ ย มที่ แ พร่ ห ลายในขณะนั้ น มี คํ า ตอบ สํ า เร็ จ รู ป ให้ อ ยู่ แ ล้ ว การปะทะกั น ระหว่ า งแนวคิ ด ทั้ ง สอง ซึ่ ง มี มหาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร์ เ ป็ น ผู้ ที่ พ รวนดิ น ใส่ ปุ๋ ย ให้ กั บ แนวคิ ด สังคมนิยม ทําให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ถูกเพ่งเล็ง และมีความ พยายามจากรัฐเผด็จการทหารในยุคนั้นที่จะครอบงํา เพื่อมิให้หน่อ อ่อนของความคิดสังคมนิยมเกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์ และการเมืองในยุคนั้น จนต้องถูกลดทอนความเป็น “การเมือง” ลงมา เหลือแต่ชื่อ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิ ช าเศรษฐศาสตร์ ข องมหาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร์ ซึ่ ง เป็ น มหาวิ ท ยาลั ย แห่ ง เดี ย วของประเทศไทยในขณะนั้ น ที่ ส อนวิ ช านี้ ก็ยิ่งถูกเพ่งเล็งเป็นพิเศษจากทั้งสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งคือชนชั้นปกครอง ที่จะป้องกันมิให้เกิดหน่ออ่อนทางความคิดสังคมนิยม อีกฝ่ายหนึ่ง ก็คืออาจารย์และกระบวนการสังคมนิยมภายนอกมหาวิทยาลัย ซึ่ง พยายามที่จะเข้ามามีบทบาทในการช่วยให้นักศึกษาคิดถึงทางเลือก โดยฝ่ายแรกมีสถานภาพที่สูงกว่า คือมีกฎหมายและอํานาจทางการ เมืองที่หนุนหลังด้วยอํานาจทางการทหาร แต่ฝ่ายหลังใช้การอธิบาย ด้วยตรรกะ ประกอบกับความรู้ที่ไหลบ่ามาจากทั้งโลกตะวันตกและ โลกตะวั น ออก ผลก็ คื อ มี อ าจารย์ ถู ก ห้ า มไม่ ใ ห้ เ ข้ า มาสอนในคณะ เศรษฐศาสตร์เป็นระยะๆ วิชาหลักเศรษฐศาสตร์ถูกเปลี่ยนจากตํารา ที่แปลมาจากภาษาฝรั่งเศสเป็นตําราที่เขียนโดยศาสตราจารย์ที่มี ชื่อเสียงของสหรัฐอเมริกาในยุคนั้น คือศาสตราจารย์พอล แซมมวลสัน (Paul Samuelson) และนักศึกษาทํากิจกรรมทางการเมืองได้ใน ขอบเขตที่จํากัด กรณีตัวอย่างนี้ชี้ให้เห็นว่า ถึงแม้ความเป็นธรรมจะเป็นมิติ ที่ทุกฝ่ายปรารถนา ยกเว้นชนชั้นปกครอง แต่ในสภาพที่ประชาชน ส่วนใหญ่ยงั ขาดการศึกษา และในขณะทีช่ นชัน้ ปกครองยังมีอาํ นาจสูง - 43 60

.indd 43

3/3/2554 16:02:26


| เศรษฐศาสตร์และการเมือง

ปัญญาชนคนชั้นกลางที่ได้รับความรู้ในเรื่องเหล่านี้ และพยายามจะ ก่อให้เกิดกระแสการเปลี่ยนแปลงทางแนวคิด ย่อมไม่สามารถทําให้ บังเกิดผลได้ ตรงนี้เป็นตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นว่า ถ้าไม่เข้าใจบริบทและ พลังอํานาจทางการเมืองในขณะนั้น “การดันทุรัง” ย่อมมีผลเพียง ทําให้อาจารย์ที่มีความตั้งใจจะก่อให้เกิดการ “เปลี่ยนแปลงทางสังคม” ถู ก ระงั บ ไม่ ใ ห้ ส อน ตลอดจนผู้ นํ า นั ก ศึ ก ษาบางคนอาจถู ก ลบชื่ อ หรือมีประวัติอยู่ที่ตํารวจสันติบาล ซึ่งมีหน้าที่โดยตรงในการติดตาม ตรวจสอบคดีทางการเมือง มีผบู้ ริหารมหาวิทยาลัยในขณะนัน้ ทีม่ วี สิ ยั ทัศน์กว้างไกล และ สามารถทํางานร่วมกับอํานาจที่ครอบงํามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในยุคดังกล่าวได้ ได้เสนอให้นกั ศึกษาหันมาให้ความสนใจเฉพาะในส่วน ที่เป็นทฤษฎี และขออย่าให้เคลื่อนไหวอย่างเด่นชัด ขอให้รอโอกาส ให้ประเทศไทยมีความพร้อมกว่านี้ ซึ่งคําเตือนดังกล่าวก็มีคุณูปการ ต่อนักศึกษาจํานวนหนึ่งค่อนข้างมาก ให้หันมาเอาดีทางการเล่าเรียน แทนการเคลือ่ นไหวทางการเมือง และสาํ เร็จการศึกษาระดับสูงในทีส่ ดุ เพื่อที่จะสามารถรับใช้อุดมการณ์ของตนได้ในระยะยาว และทําหน้าที่ ได้นานกว่า ถึงแม้จะไม่มกี ารเคลือ่ นไหวทางการเมืองโดยเปิดเผย แต่คณะ เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก็ไม่เคยทิ้งห่าง “การเมือง” เมื่อศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ รับที่จะดํารงตําแหน่งคณบดี คณะเศรษฐศาสตร์ และค่อยๆ ถอนตัวจากการเป็นผู้ว่าการธนาคาร แห่งประเทศไทย ซึ่งมีตัวอย่างทางการเมืองที่น่าสนใจและอาจนํามา เป็นกรณีศึกษาได้ ท่ า นอาจารย์ ป๋ ว ยได้ เ ล่ า ให้ ฟั ง ด้ ว ยความภาคภู มิ ใ จว่ า มหาวิทยาลัยของท่าน คือมหาวิทยาลัยลอนดอน ซึ่งมีสคูลที่เด่นคือ London School of Economics and Political Science นั้นถอดแบบ มาจากมหาวิทยาลัยปารีสที่ท่านศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ - 44 60

.indd 44

3/3/2554 16:02:26


ศ.ดร.อภิชัย พันธเสน |

ผูป้ ระศาสน์การมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง สําเร็จการ ศึกษามา ต่างกันแต่เพียงว่าของอังกฤษนั้นเป็นระบบจํากัดรับ ขณะที่ มหาวิทยาลัยปารีสเป็นระบบไม่จํากัด ท่ า นอาจารย์ ป รี ดี เ รี ย กระบบสั ง คมนิ ย มของท่ า นว่ า ลั ท ธิ สมานฉันท์ (Socialism) ซึ่งเน้นการสร้างจิตสํานึกในเชิงสหกรณ์ ผ่านกระบวนการสหกรณ์ ส่วนท่านอาจารย์ป๋วยนั้นสนใจและยึดมั่น ในแนวทาง Fabian Socialism คือการเปลี่ยนไปสู่สังคมนิยมโดย สันติวิธีและด้วยปัญญา คล้ายๆ กับธัมมิกสังคมนิยมของท่านอาจารย์ พุทธทาสภิกขุ โดยทั้งท่านอาจารย์ปรีดีและท่านอาจารย์ป๋วยนั้นมี ความเข้าใจในเรือ่ งพุทธธรรมเป็นพืน้ ฐานอย่างลึกซึง้ ทําให้ทงั้ สองท่าน มีความคิดที่แตกต่างจากสังคมนิยมในตะวันตกซึ่งเป็นแม่แบบ และ ทัง้ สองท่านมีความเข้าใจสังคมไทยเป็นอย่างดี แต่ทงั้ สองท่านก็ไม่พ้น จากการกล่าวให้ร้ายจากฝ่ายสุดโต่งที่อยู่ตรงข้าม ซึ่งเป็นการสะท้อน ว่าท่านทั้งสองมาก่อนกาลเวลาอันสมควร นี่เป็นต้นทุนที่ทั้งสองท่าน และครอบครัวของท่านทัง้ สองจําเป็นต้องยอมรับ ในฐานะทีท่ า่ นทัง้ สอง เล็ ง เห็ น ความจํ า เป็ น ในการวางรากฐานเพื่ อ สร้ า งความเป็ น ธรรม ในสังคม ในกรณี ข องท่ า นอาจารย์ ป๋ ว ย งานทางวิ ช าการชิ้ น แรกที่ ท่านส่งเสริมในฐานะที่เป็นคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ คือให้มีการจัดสัมมนานักวิชาการชั้นนําเรื่องปัญหาของ ค่าพรีเมียมข้าว ในฐานะที่เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรม แก่ชาวนาของประเทศอย่างใหญ่หลวง หรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นการ ปล้นเงียบชาวนาโดยรัฐก็วา่ ได้ และมีผลกระทบคือปัญหาความยากจน ของชาวนามาจนถึงปัจจุบัน การสัมมนาดังกล่าวมีข้อเสนอให้ยกเลิกค่าพรีเมียมข้าว ซึ่ง เป็นภาษีสง่ ออกของข้าวทีก่ อ่ ให้เกิดความไม่เป็นธรรมและสร้างปัญหา ความยากจนให้กับชาวนา อันเป็นผลจากความจําเป็นของรัฐบาลไทย - 45 60

.indd 45

3/3/2554 16:02:26


| เศรษฐศาสตร์และการเมือง

ในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ไม่สามารถหารายได้เป็นกอบเป็นกํา ได้จากแหล่งภาษีส่งออกอย่างอื่น เมื่อเวลาผ่านไป มีการพัฒนา ประเทศจนเกิดช่องว่างอย่างมากระหว่างเมืองกับชนบท การเก็บภาษี ดังกล่าวจึงเป็นการช่วยเหลือผูท้ มี่ ฐี านะดีอยูแ่ ล้ว และเกิดความไม่เป็น ธรรมอย่างยิ่งสําหรับคนยากจน แต่ปรากฏว่ารัฐบาลในยุคนั้นไม่ยอม เปลี่ยนใจ เพราะมีหลายฝ่ายได้ประโยชน์จากการเก็บค่าพรีเมียมข้าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานที่ทําหน้าที่จัดเก็บย่อมมีผลประโยชน์ ร่วมกับรัฐมนตรีและคณะรัฐบาลในยุคนั้น สิ่งที่ควรจะมีการศึกษาแต่ ไม่ได้ทําในยุคนั้นก็คือ งานวิจัยจะต้องดําเนินต่อไปถึงขั้นเปิดเผยว่า ใครบ้างที่ได้ประโยชน์จากการคงค่าพรีเมียมข้าวเอาไว้ แต่ถ้าจะมี การวิจัยในประเด็นนี้ นักวิจัยก็คงจะมีปัญหากับฝ่ายการเมืองโดยตรง ด้วยเช่นกัน จนกระทัง่ ในยุคของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี (2523-2530) ซึ่งเป็นยุคที่ราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลก ตกตํ่าติดต่อกันเป็นเวลา 5 ปี อันเป็นผลจากการเพิ่มผลผลิตทางการ เกษตรอย่างรวดเร็วจากสิง่ ทีเ่ รียกว่าการปฏิวตั เิ ขียว จนไม่สามารถเก็บ ค่าพรีเมียมข้าวได้ การเก็บค่าพรีเมียมข้าวจึงถูกยกเลิกไปโดยปริยาย ตัวอย่างนีเ้ ป็นตัวอย่างทีช่ ใี้ ห้เห็นชัดเจนว่า ความคิดทีด่ ใี นทาง เศรษฐศาสตร์ ไม่สามารถแปรเป็นนโยบายเพื่อนำ�ไปสู่การปฏิบัติได้ ถ้าโอกาสทางการเมืองไม่เอื้ออํานวย ดังนั้น ในยุคที่ท่านศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เป็น คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ สิ่งหนึ่งที่ท่านได้ทําเป็นระยะๆ คือมีการ ประชุมภายในเฉพาะอาจารย์ในคณะเศรษฐศาสตร์ มีการอธิบาย เหตุผลทางการเมืองที่อยู่เบื้องหลัง ซึ่งไม่อาจเสนอให้สาธารณชนรับรู้ ได้ เนื่องจากจะเป็นอันตรายต่อผู้ที่มีความรู้นั้น การกระทําดังกล่าว ก็เพื่อให้อาจารย์มีข้อมูลรอบด้าน ซึ่งก็รวมทั้งข้อมูลและบริบททาง การเมืองด้วยเช่นกัน - 46 60

.indd 46

3/3/2554 16:02:26


ศ.ดร.อภิชัย พันธเสน |

สิ่งที่น่าสนใจเป็นพิเศษสําหรับท่านศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ก็คือ ถึงแม้ท่านจะมีอิทธิพลทางความคิดอย่างมากกับ นโยบายระดับมหภาคทีม่ ผี ลต่อการพัฒนาประเทศ ไม่วา่ จะในตาํ แหน่ง ประธานคณะที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจของนายกรัฐมนตรี ผู้ว่าการ ธนาคารแห่ ง ประเทศไทย ผู้ อํ า นวยการสํ า นั ก งบประมาณ และ ผู้อํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง แต่ท่านได้เล่าให้อาจารย์ ในคณะฟังว่า นโยบายในระดับมหภาคไม่สามารถแก้ปัญหาความ ยากจนในชนบทได้อย่างแท้จริง และนี่คือแรงบันดาลใจให้ท่านก่อตั้ง มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งเป็น องค์กรพัฒนาเอกชนแห่งแรกของประเทศไทย และได้ผลิตนักอาสา พัฒนาเอกชนเป็นจํานวนมากในระยะต่อมา อีกทั้งท่านได้ริเริ่มจัดทํา โครงการลุ่มนํ้าแม่กลอง ซึ่งเป็นการร่วมมือกันระหว่างมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีการ ก่อตัง้ สาํ นักบัณฑิตอาสาพัฒนาชนบทขึน้ ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพือ่ ให้บณ ั ฑิตได้เรียนรูแ้ ละเข้าใจปัญหาการพัฒนาชนบทได้ดว้ ยตัวเอง อีกทัง้ ท่านได้รเิ ริม่ เปิดสอนวิชาพัฒนาชนบทไทยในคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ด้วยตัวท่านเอง ทั้ ง หมดนี้ ส ะท้ อ นข้ อ จํ า กั ด ทางการเมื อ งของประเทศไทย ในขณะนัน้ ทีไ่ ม่สามารถทาํ งานพัฒนาชนบทให้ได้ผลจากระดับนโยบาย มหภาค และนี่ก็เป็นบทเรียนทางการเมืองและเศรษฐศาสตร์ที่นัก เศรษฐศาสตร์รุ่นต่อมาไม่ค่อยซึมซับ โดยยังอยากจะเรียนและเสนอ นโยบายที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจมหภาคเป็นหลัก เพราะจะทําให้ตนเองดู เด่นกว่าผู้อื่น แต่ไม่อาจแก้ปัญหาของคนส่วนใหญ่ในประเทศได้มาก นัก เนื่องจากไม่เข้าใจบริบทของปัญหาอย่างแท้จริง แน่ น อนว่ า ในยุ ค ที่ ท่ า นอาจารย์ ป๋ ว ยเป็ น คณบดี ค ณะ เศรษฐศาสตร์ และหลังจากนั้นได้เป็นอาจารย์ประจําธรรมดา ก่อนจะ - 47 60

.indd 47

3/3/2554 16:02:26


| เศรษฐศาสตร์และการเมือง

เป็นอธิการบดีของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาจารย์และนักศึกษา จํานวนหนึ่งมีความตื่นตัวและสนใจการเมือง ตลอดจนมีส่วนร่วมใน กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในระดับหนึ่ง อาจารย์ในขณะ นั้นก็มีอาจารย์ทวี หมื่นนิกร อาจารย์รังสรรค์ ธนะพรพันธ์ุ อาจารย์ ไตรรงค์ สุวรรณคีรี และผู้เขียน นอกจากนั้นก็ยังมีอาจารย์ในคณะ อีกเป็นจํานวนมากที่อาจจะไม่ใช่พวกกองหน้า แต่ก็เป็นกองหลังและ กองหนุน ทุกครั้งที่มีความไม่ชอบมาพากลทางการเมืองซึ่งมีผลต่อ เศรษฐกิจของประเทศ อาจารย์ในคณะเศรษฐศาสตร์จะเปิดประเด็น ด้วยการอภิปรายทางวิชาการ และเชิญผู้เกี่ยวข้องมาร่วมอภิปราย เพื่อสร้างผลสะเทือนทางการเมือง หรือบางครั้งก็จะมีการจัดสัมมนา ทางวิชาการที่เรียกว่า Symposium โดยเลือกประเด็นเด่นทางสังคม เป็ น ประเด็ น ในการอภิ ป ราย เพื่ อ หวั ง ผลให้ เ กิ ด การเปลี่ ย นแปลง ด้านนโยบายทางการเมือง มีกรณีศึกษากรณีหนึ่งที่เป็นตัวอย่างที่น่าสนใจ กล่าวคือ ในช่วงที่เศรษฐกิจไทยเริ่มซวนเซ ก่อนที่จะมีการประกาศลอยตัวค่า เงินบาทเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 มีนักเศรษฐศาสตร์ที่มีชื่อเสียง และมีตําแหน่งสําคัญในธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ออกมาเรียกร้อง ให้รัฐบาลเพิ่มค่าเงินบาท ด้วยเหตุผลว่าเศรษฐกิจของประเทศไทย มีพื้นฐานดี และจะไม่มีปัญหาอะไร อีกทั้งเป็นการสร้างความเชื่อมั่น ให้กับฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งความจริงอีกด้านหนึ่งก็คือ เนื่องจากในขณะนั้นธนาคารดังกล่าวได้กู้เงินดอลลาร์มาปล่อยกู้ต่อ ภายในประเทศไทยมากพอสมควร ถ้าค่าเงินบาทลดลงจากการลอยตัว ค่าเงินบาท ธนาคารแห่งนัน้ ก็จะประสบปัญหามาก คณาจารย์ในคณะ เศรษฐศาสตร์เห็นว่าแนวคิดดังกล่าวเป็นเรื่องของการคํานึงถึงผล ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าผลประโยชน์ของประเทศ จึงร่วมกันออก - 48 60

.indd 48

3/3/2554 16:02:26


ศ.ดร.อภิชัย พันธเสน |

แถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาลลอยตัวค่าเงินบาท พร้อมทั้งเสนอให้ รัฐบาลไทยในขณะนั้นแสวงหาความช่วยเหลือจาก IMF ในที่สุด เมื่อ วันที่ 2 กรกฎาคม 2540 รัฐบาลก็ได้ประกาศลอยตัวค่าเงินบาท และขอ ให้ IMF เข้ามาช่วยลดปัญหาการขาดแคลนเงินสํารองระหว่างประเทศ ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ซึ่งเกิดจากการป้องกันการโจมตีค่าเงินบาทของ ธนาคารแห่งประเทศไทยในช่วงก่อนหน้านั้น แต่บทเรียนที่ได้รับก็คือ IMF ได้ให้ยาในลักษณะทีเ่ ป็นประโยชน์กบั ทุนต่างชาติ แทนทีจ่ ะรักษา อาการของประเทศไทยให้ฟื้นตัวเร็วขึ้น ซึ่ง IMF ก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์ จากนักเศรษฐศาสตร์ทั้งต่างประเทศและในประเทศ นี่ จึ ง เป็ น กรณี ตั ว อย่ า งของการเคลื่ อ นไหวทางการเมื อ ง ด้วยจิตสํานึกที่คํานึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลักใน โอกาสทีเ่ หมาะสม ถ้าหากไม่มกี ารเคลือ่ นไหวทางการเมืองในลักษณะ ดังกล่าว ข้อเสนอของคณาจารย์ก็จะเป็นเพียงประเด็นถกเถียงกันใน สังคม และสถานการณ์ก็อาจจะถลําลึกไปกว่านี้ เมื่ อ เร็ ว ๆ นี้ นั ก วิ ช าการท่ า นเดิ ม ที่ เ คยสั ง กั ด อยู่ กั บ กลุ่ ม การเมืองฝั่งตรงข้ามกับรัฐบาลชุดปัจจุบัน (2552) ได้ออกมากล่าวหา การดําเนินงานของรัฐบาลว่าจะทําให้ GDP ของประเทศไทยมีค่า -4.5 ซึ่งตํ่าที่สุดในเอเชียและในโลก แต่บัดนี้ก็ปรากฏผลชัดเจนแล้ว ว่าประเทศญี่ปุ่นและประเทศสิงคโปร์มีปัญหามากกว่าประเทศไทย โดยคราวนี้ไม่มีนักเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ออก มาให้ความเห็นในเรื่องนี้แต่อย่างใด ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์ควรจะชี้ ให้เห็นว่าในสถานการณ์เช่นนี้ ถึงแม้ GDP จะมีผลเกี่ยวเนื่องกับ การจ้างงาน แต่การแก้ปัญหาโดยเน้นการจ้างงานและการกระจาย รายได้ในประเทศเป็นหลัก และลดการพึ่งพาการส่งออกของประเทศ ในลักษณะที่เป็นการเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส มีความสําคัญกับ ประเทศในระยะยาวมากกว่า กรณีศึกษานี้จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจ ซึ่ง - 49 60

.indd 49

3/3/2554 16:02:26


| เศรษฐศาสตร์และการเมือง

สะท้ อ นแนวโน้ ม ในอนาคตของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร์ ถึงความไม่ชัดเจนในเรื่องจุดยืนของความเป็นธรรม ในสังคม ดังจะได้กล่าวต่อไป การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งสําคัญ ไม่ว่าจะเป็น 14 ตุลาคม 2516, 6 ตุลาคม 2519, 17 พฤษภาคม 2535 แม้กระทั่ง กระบวนการขับไล่อดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร ในปี 2548 จะมีอาจารย์ จากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นหัวหอกในการ ล่ารายชื่อหรือเข้าร่วมในกิจกรรมเหล่านั้น แต่ต่อไปในอนาคตจะมีการ เคลื่อนไหวในลักษณะนี้อีกหรือไม่ คงเป็นเรื่องที่คณาจารย์ในคณะ เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะเป็นผู้ให้คําตอบ ทั้งหมดนี้คือตัวอย่างของกรณีศึกษาที่สะท้อนความเกี่ยวพัน ของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กับบทบาทการ เคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในทางเศรษฐกิจ สำ�หรับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ เหตุการณ์เหล่านี้มิได้เกิดขึ้น ลอยๆ แต่มาจากพื้นฐานทางประวัติศาสตร์ที่แตกต่างจากสถาบัน การศึกษาอื่นๆ การเคลื่อนไหวแต่ละครั้งมิได้ประสบความสําเร็จเสมอไป แต่ อย่างน้อยก็เป็นการเคลื่อนไหวเพื่อสร้างโอกาสทางการเมือง หรือ มิฉะนั้นก็เป็นการเคลื่อนไหวในโอกาสและจังหวะที่จะช่วยให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงทางการเมืองได้ หนทางต่อไปในอนาคต หลั ง จากการเคลื่ อ นไหวทางการเมื อ งครั้ ง สุ ด ท้ า ยของ คณาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี 2548 - 50 60

.indd 50

3/3/2554 16:02:26


ศ.ดร.อภิชัย พันธเสน |

ในฐานะทีเ่ ป็นผูส้ งั เกตการณ์จากภายนอก ผูเ้ ขียนเห็นว่าการเคลือ่ นไหว เพื่อเปลี่ยนแปลงนโยบายที่สําคัญค่อนข้างจะแผ่วเบาลง ความจริง ความแผ่วเบาดังกล่าวเริ่มมีมาตั้งแต่หลังจากยุค 17 พฤษภาคม 2535 แต่ก็ยังมีเชื้อที่จะเดินต่อบ้าง เข้าใจว่าต่อจากนีเ้ ป็นต้นไป คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ก็คงจะเหมือนๆ กับคณะเศรษฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัย อื่นๆ คือเน้นการทํางานทางวิชาการเป็นหลัก โดยสาเหตุน่าจะมาจาก สี่ประการหลัก กล่าวคือ ประการแรก ความไม่ต่อเนื่องของอาจารย์ โดยอาจารย์ในรุ่นหลังๆ นั้นไม่ได้ผ่านประสบการณ์การมีส่วนร่วม ทางการเมืองมากนัก นอกจากนั้น สถานภาพของวิชาเศรษฐศาสตร์ ก็ได้สอนให้พวกเราเน้นการเป็น “มืออาชีพ” และปล่อยให้การเมือง เป็นเรื่องของนักการเมืองที่จะตัดสินใจกันเอง ประการที่สอง เกิดการแบ่งขั้วทางอุดมการณ์เช่นเดียวกับ การแบ่งขั้วทางอุดมการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมไทยทั่วไป ทําให้อาจารย์ ที่คิดว่าตนเองมีอุดมการณ์ต่างกับผู้อื่นไม่สามารถทํางานร่วมกันได้ ซึ่งต่างจากในอดีตที่อาจารย์อาจจะคิดเห็นไม่ตรงกัน แต่ก็ยังทํางาน ด้วยกันได้ จากลักษณะความสัมพันธ์ฉันเพื่อนร่วมคณะ และคิดว่า ความแตกต่างทางความคิดไม่ใช่เรื่องที่ควรจะแบ่งพวก เพราะทุกคน ต่างก็มิได้มีผลประโยชน์แฝงเร้นในความคิดหรือความเชื่อของตน ประการที่สาม ถูกครอบด้วยกรอบและโครงสร้างของลัทธิ ทุนนิยม ทําให้อาจารย์ทั้งหลายเน้นที่จะอยู่รอดในโลกของวัตถุนิยม ด้วยการหารายได้จากกิจกรรมทางวิชาการที่ตนเองมีความได้เปรียบ เป็นหลัก และประการสุดท้ายซึง่ เป็นประการทีส่ าํ คัญ นัน่ คือ ในปัจจุบนั สังคมและการเมืองมีความยุ่งยากและสลับซับซ้อนเกินกว่าที่จะอุทิศ เวลาเพื่อทําความเข้าใจหรือมีส่วนร่วมทางการเมืองได้ และยิ่งหาก - 51 60

.indd 51

3/3/2554 16:02:26


| เศรษฐศาสตร์และการเมือง

ความคิดหรือจุดยืนเรื่องความเป็นธรรมในสังคมเสื่อมคลายลงไป คณาจารย์มีลักษณะเป็นปัจเจกชนนิยมมากขึ้น ต่างคนต่างอยู่ เพราะ เป็นจุดยืนที่สบายกว่า ก็อาจจะมีผลทําให้การมีส่วนร่วมทางการเมือง ของคณาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์แผ่วลงได้ แต่ถ้าหากคณาจารย์ เหล่านั้นหันมาใช้แนวทางขยายความรู้เพื่อการสร้างอํานาจทางการ เมือง ก็น่าจะสอดคล้องกับยุคสมัย แต่ในฐานะผู้สังเกตการณ์จาก ภายนอก แนวโน้มดังกล่าวยังไม่ค่อยชัดเจนมากนัก คาํ ถามต่อไปจึงมีอยูว่ า่ การเน้นความเป็นมืออาชีพแบบนีก้ บั การมีส่วนร่วมทางการเมืองแบบเดิม อย่างไหนจะดีกว่ากัน คําตอบ ในเรื่องนี้ก็คือ คงจะเปรียบเทียบกันไม่ได้ ทั้งนี้เพราะบริบททั้งหลาย ได้เปลี่ยนไปหมดแล้ว ต่อไปอาจจะต้องเน้นการสร้างองค์ความรู้ใหม่ ให้มีผลในการขับเคลื่อนทางการเมือง ซึ่งอาจจะสอดคล้องกับบริบท ที่เปลี่ยนไปก็ได้ อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนอยากจะขอเตือนอาจารย์รุ่นน้องและ รุ่ น ลู ก ศิ ษ ย์ ว่ า การเป็ น นั ก เศรษฐศาสตร์ ที่ ดี สํ า หรั บ ประเทศไทย นอกจากจะต้องเข้าใจปัจจัยทางเศรษฐศาสตร์แล้ว ยังต้องเข้าใจปัจจัย ในมิติอื่นๆ สามารถเห็นภาพรวมของเรื่องที่ต้องการศึกษา รวมทั้ง ผลกระทบของเรือ่ งทีศ่ กึ ษา ตลอดจนเข้าใจบริบททีจ่ ะนําไปประยุกต์ใช้ และในที่สุดจะต้องติดตามการเคลื่อนไหวทางการเมือง เพื่อผลในการ จุดประกายความคิดให้กบั สังคม หรือผลทีจ่ ะทำ�ให้เกิดการเปลีย่ นแปลง ขึน้ อย่างแท้จริง ซึง่ อาจต้องรอคอยจังหวะและโอกาสทีส่ มควร ในขณะ เดียวกันก็ไม่มคี วามจําเป็นทีจ่ ะต้องไปเป็นนักการเมือง ยกเว้นเป็นผูท้ ี่ มีจริตเช่นนัน้ อยูแ่ ล้ว และก็ไม่จาํ เป็นต้องมีความรูค้ วามเข้าใจในทฤษฎี การตัดสินใจของนักการเมือง ซึ่งเป็นประเด็นที่สลับซับซ้อน โดยนัก เศรษฐศาสตร์ควรพยายามทําความเข้าใจเหตุผลทางตรรกะหรือทาง ทฤษฎี ซึ่งไม่จําเป็นจะต้องสะท้อนความเป็นจริงแต่อย่างใด - 52 60

.indd 52

3/3/2554 16:02:26


ศ.ดร.อภิชัย พันธเสน |

สิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์สามารถทําได้คือติดตามพฤติกรรม ของตัวละครที่สำ�คัญทางการเมือง ตลอดจนพัฒนาการทางการเมือง รวมทัง้ ค้นหาจุดทีจ่ ะเป็นคานงัด ตลอดจนจังหวะทีอ่ าจจะเป็นจุดเปลีย่ น ที่สําคัญ ซึ่งจะช่วยให้สังคมมีความเป็นธรรมมากขึ้น ที่สําคัญก็คือ จะต้ อ งเปิ ด ใจให้ ก ว้ า งในการหาความรู้ แ ละรั บ ฟั ง ความคิ ด เห็ น ที่ หลากหลาย และสร้ า งเสริ ม องค์ ค วามรู้ ใ หม่ ที่ เ ป็ น ประโยชน์ แ ละ สอดคล้องกับความเป็นจริงของสังคมในแต่ละช่วงของการเปลีย่ นผ่าน ข้อเสนอเหล่านี้ดูเหมือนจะเป็นพันธกิจ (mission) ที่ไม่อาจ ประสบความสําเร็จได้ (impossible) แต่สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่เคยเป็น จิตวิญญาณของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่ก็ ไม่จําเป็นจะต้องรักษาจิตวิญญาณเหล่านั้นไว้ถ้าหากบริบทเปลี่ยนไป โดยสิ้นเชิง ทั้งนี้เพราะการเป็น “นักเศรษฐศาสตร์มืออาชีพ” ที่สนใจ เฉพาะประเด็นทางเศรษฐศาสตร์ จะช่วยให้การดํารงชีวติ ง่ายกว่ามาก เพียงแต่เป็นชีวิตที่ไม่ค่อยท้าทายเท่านั้น

- 53 60

.indd 53

3/3/2554 16:02:26


| เศรษฐศาสตร์และการเมือง

ประวัติปาฐก ศ.ดร.อภิ ชั ย พั น ธเสน จบการศึ ก ษาระดั บ ปริ ญ ญาตรี จ ากคณะ เศรษฐศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร์ ปริ ญ ญาโทและปริ ญ ญาเอกจาก มหาวิทยาลัยแวนเดอร์บิลต์ สหรัฐอเมริกา และรับราชการเป็นอาจารย์ประจำ � ที่คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จนกระทั่งเกษียณอายุราชการ ในตำ�แหน่งศาสตราจารย์ เมื่อปี พ.ศ. 2544 ศ.ดร.อภิชยั มีบทบาทสำ�คัญในการขับเคลือ่ นปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้เป็นรูปธรรมทั้งในเชิงวิชาการและในเชิงปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลงาน ที่เกี่ยวข้องกับพุทธเศรษฐศาสตร์และเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นผลงานที่เปลี่ยน โฉมหน้าการศึกษาทางด้านวิชาการเศรษฐศาสตร์ในประเทศไทย ศ.ดร.อภิ ชั ย ดำ � รงตำ � แหน่ ง ผู้ อำ � นวยการโครงการปริ ญ ญาเอก สหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2544 และได้รับการยกย่อง เป็นกีรตยาจารย์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2545 ปัจจุบัน ศ.ดร.อภิชัยดำ�รงตำ�แหน่งผู้อำ�นวยการสถาบันการจัดการ เพือ่ ชนบทและสังคม โดยสถาบันดังกล่าวทำ�หน้าทีด่ �ำ เนินงานด้านการวิจยั ทัง้ งาน วิจัยเชิงนโยบายและงานวิจัยเชิงปฏิบัติการ และให้ความสำ�คัญกับการนำ�ผลการ วิจัยไปประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ได้จริง

- 54 60

.indd 54

3/3/2554 16:02:27


60

.indd 55

3/3/2554 16:02:27


| การเงินชุมชน เศรษฐศาสตร์ชุมชน

การเงินชุมชน เศรษฐศาสตร์ชุมชน พระสุบิน ปณีโต ครูชบ ยอดแก้ว วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2552

- 56 60

.indd 56

3/3/2554 16:02:27


พระสุบิน ปณีโต, ครูชบ ยอดแก้ว |

ครูชบ ยอดแก้ว มนั ส การพระคุ ณ เจ้ า กราบเรี ย น รศ.ดร.ปั ท มาวดี ซู ซู กิ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และท่านผู้มี เกียรติทเี่ คารพรักทุกท่าน วันนีผ้ มรูส้ กึ เป็นเกียรติอย่างสูงทีไ่ ด้มโี อกาส มานั่งอยู่ ณ ที่แห่งนี้ ผมไม่ได้จบจากสถาบันสูงๆ เลยรู้สึกดีใจ เป็น เกียรติ พูดด้วยความภาคภูมิใจเลยว่า ได้ยกระดับตนเองขึ้นถึงระดับ มหาวิทยาลัยที่คนยอมรับกัน ตามความเข้าใจในเรื่องเศรษฐศาสตร์ของครูบ้านนอก ผม คิดว่าเศรษฐศาสตร์มีทั้งเศรษฐศาสตร์ตะวันตกและเศรษฐศาสตร์ ตะวั น ออก เศรษฐศาสตร์ ต ะวั น ตกคิ ด เรื่ อ งตั ว เงิ น เป็ น ตั ว ตั้ ง เช่ น ลงทุน 100 บาท ถ้าได้เงินคืนไม่ถึง 100 บาท เศรษฐศาสตร์ถือว่า ขาดทุน ต้องทําให้ได้กลับคืนมามากกว่า 100 บาท จึงจะถือว่ากําไร แต่เศรษฐศาสตร์ตะวันออกตามที่ผมเข้าใจ หากเราลงทุนไป 100 บาท ได้ ก ลั บ มาเพี ย ง 80 บาท แต่ ทํ า ให้ ค นดี ขึ้ น มี ค วามสุ ข ขึ้ น เศรษฐศาสตร์ตะวันออกถือว่าประสบผลสําเร็จ เรามองกันคนละมุม คนละจุด - 57 60

.indd 57

3/3/2554 16:02:27


| การเงินชุมชน เศรษฐศาสตร์ชุมชน

ถ้าเราจะทําอะไรสักอย่างหนึง่ ไม่วา่ จะเป็นเรือ่ งเศรษฐศาสตร์ หรือเรื่องอะไรก็ตาม ต้องคิดถึงทุนของเราก่อนว่าเรามีทุนแค่ไหน ทุนทางเศรษฐศาสตร์ก็คือเงิน แต่ทุนตามความคิดของผมคือทุนทาง สังคม ซึ่งมีอยู่ 7 ทุน คือ ทุนที่หนึ่ง ทุนคน ในทุนคนนี้มีภูมิปัญญา ซึ่งเป็นทุนตัวที่สอง แต่ละคนมีปัญญาไม่เท่ากัน ทุ น ที่ ส าม ทุ น ศาสนาและวั ฒ นธรรม ทุ ก คนมี ศ าสนาและ วัฒนธรรมของตนเอง ทุนที่สี่ ทุนทรัพยากรธรรมชาติ ดิน นํ้า ป่า แสงแดด ฯลฯ ทุนที่ห้า ทุนแรงงาน ทุกคนเกิดมามีแรงงานของตนเอง ทุนทีห่ ก เรามักจะละเลยทุนตัวนี้ ไม่คอ่ ยนาํ มาคิด ทุนตัวนีค้ อื ทุนเวลา ทั้งโลกมีเวลา 24 ชั่วโมงเท่ากัน และผู้ที่สมมติเรื่องนี้ขึ้นมา ก็คือคน ทุนทีเ่ จ็ด เงินตรา ผมเอาไว้อนั ดับสุดท้าย พออยูอ่ นั ดับสุดท้าย หลายท่านก็คงค้านอยู่ในใจ โลกปัจจุบันไม่เห็นเป็นอย่างที่ครูชบว่า เพราะทุนตัวที่เจ็ดมีแรงมาก มีพลังมาก เป็นทุนตะวันตก ความคิด แบบตะวันตกทําให้คนเราอ่อนแอ ทําให้ทุนที่หนึ่งถึงทุนที่หกอ่อนแอ ล้มระเนระนาด ทรัพยากรเราหายหมด ศาสนาและวัฒนธรรมเราถูก ทําลายไปเยอะ แต่อย่างไรก็ตาม ทุนเหล่านี้ยังไม่หมด ยังมีอยู่ตาม ชนบท ตามบ้านนอก เหตุของปัญหา ปัญหาของคน พระพุทธเจ้าสอนว่า เมื่อปัญหาเกิดขึ้น ต้องไปแก้ที่เหตุของ ปัญหา เพราะฉะนั้น ผมจึงมองว่าปัญหาของประเทศหรือของโลก อยู่ที่คน เช่น เมื่อยางพาราราคาตกตํ่า ยางพาราไม่เคยเดือดร้อน - 58 60

.indd 58

3/3/2554 16:02:27


พระสุบิน ปณีโต, ครูชบ ยอดแก้ว |

มันสําปะหลังราคาถูก มันสําปะหลังก็ไม่เคยเดือดร้อน ฝนตกนํ้าท่วม นํ้าก็ไม่เคยเดือดร้อน ฝนแล้ง ความแห้งแล้งก็ไม่เคยเดือดร้อน แต่ที่ เดือดร้อนคือคน เพราะฉะนั้น การแก้ปัญหาที่ถูกจุดตามหลักศาสนา ต้องแก้ที่คน ถ้าไปแก้ที่อื่น ไม่จบ แก้กันอยู่อย่างนั้น วนเวียนกันอยู่ อย่างนั้น เมื่อต้องแก้ปัญหาที่คน จึงต้องมาดูที่คน คนประกอบด้วย 2 ส่วน ส่วนที่หนึ่งคือจิตใจ ส่วนที่สองคือร่างกาย จิตใจ ท่านจะเชื่อผมหรือไม่ก็ช่าง คนสมัยนี้ขาดคุณธรรมกัน มาก ขาดจริยธรรม ขาดศีลธรรม เมือ่ ขาดคุณธรรมก็ตอ้ งเพิม่ คุณธรรม ให้คนมีคณ ุ ธรรม มีศลี ธรรม เมือ่ ปี 2525 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั มีพระราชดํารัสเรื่องคุณธรรม 4 ประการ ผมก็ยกเอาเรื่องนี้มาพัฒนา คนให้มคี ณ ุ ธรรม เป็นคุณธรรมทีท่ กุ คนควรศึกษาและน้อมนาํ มาปฏิบตั ิ คุณธรรม 4 ประการนี้ประกอบด้วย ประการแรก การรักษาความสัตย์ ความจริงใจต่อตนเอง ที่จะประพฤติปฏิบัติสิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรม ประการที่สอง การข่มใจ ฝึกใจตนเองให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ ในความสัตย์ อยู่ในความประพฤติอันดี ประการที่สาม การอดทน อดกลั้น อดออม ประการที่สี่ การรู้จักละวางความชั่ว ความทุจริต และสละ ประโยชน์ส่วนน้อยของตนเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง คุณธรรมทั้ง 4 ประการนี้ ถ้าแต่ละคนพยายามปลูกฝังและ บํารุงให้เจริญงอกงามขึ้นโดยทั่วกันแล้ว จะช่วยให้ประเทศชาติบังเกิด ความสุข ความร่มเย็น และมีโอกาสที่จะปรับปรุงและพัฒนาให้มั่นคง ก้าวหน้าต่อไปได้อย่างเหมาะสม พระราชดํารัสเป็นนามธรรม เพราะฉะนั้นต้องแปลงพระราชดํ า รั ส ให้ เ ป็ น รู ป ธรรมให้ ไ ด้ ให้ ส ามารถแลเห็ น ได้ ว่ า พระราชดํา รั ส ที่เป็นนามธรรมสามารถปฏิบัติได้และเกิดผลได้ ผมเลยทดลองใช้กับ - 59 60

.indd 59

3/3/2554 16:02:27


| การเงินชุมชน เศรษฐศาสตร์ชุมชน

กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ที่ผมเป็นคนตั้งขึ้นเมื่อปี 2526 ผมทดลองใน 11 หมูบ่ า้ นของตาํ บลนํา้ ขาว แต่กอ่ นทีจ่ ะทดลองในตาํ บล ผมก็ทดลอง ในโรงเรียนก่อน ปรากฏว่าประสบผลสาํ เร็จ และชาวบ้านก็อยากทดลอง ผมเลยนําออกสู่ชุมชน และก็ประสบผลสําเร็จทั้ง 11 หมู่บ้านตามที่ ได้ทราบกันบ้างแล้ว นี่คือการพัฒนาทางด้านจิตใจ เมื่อเงินมันมาเอง ก็ใช้เงินเป็น เครื่องมือเพื่อพัฒนาคนให้เกิดคุณสมบัติตามที่ผมได้กล่าวไว้แล้ว ร่างกาย เราพัฒนาเรื่องนี้จนประสบผลสําเร็จมากพอสมควร เพราะตอนนี้คนอายุยืน ไม่ตายง่าย เราประสบผลสําเร็จทางด้าน สาธารณสุข ส่วนวัตถุประสงค์ในการพัฒนาคนของผมมีอยู่ 3 ข้อ คือ 1. พัฒนาคนให้มีสุขภาพอนามัยสมบูรณ์ ปราศจากโรคภัย ไข้เจ็บทุกชนิด เน้นอนามัยส่วนบุคคลและอนามัยสิ่งแวดล้อม 2. พัฒนาคนให้มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ เน้นการงาน พื้นฐานอาชีพ 3. พัฒนาคนให้เป็นนักประชาธิปไตย ที นี้ เ ราต้ อ งการลั ก ษณะคนอย่ า งไร ลั ก ษณะของคนก็ คื อ คุณสมบัติของคนที่เราต้องการ ได้แก่ 1. ต้ อ งพั ฒ นาคนให้ พึ่ ง ตนเอง มี ค วามเสี ย สละ เห็ น แก่ ประโยชน์ส่วนรวม ไม่เห็นแก่ตัว 2. ต้องพัฒนาคนให้มวี นิ ยั ในตนเอง มุง่ มัน่ ทาํ การงานให้สาํ เร็จ 3. ต้องพัฒนาคนให้ขยันหมั่นเพียร ซื่อสัตย์ ประหยัด และ อดทน 4. ต้องพัฒนาคนให้รจู้ กั คิด วิจารณ์ และตัดสินใจอย่างมีเหตุผล - 60 60

.indd 60

3/3/2554 16:02:27


พระสุบิน ปณีโต, ครูชบ ยอดแก้ว |

5. ต้ อ งพั ฒ นาคนให้ มี ขั น ติ ธ รรมต่ อ คํ า วิ จ ารณ์ รู้ ถึ ง ความ แตกต่างระหว่างบุคคล 6. ต้องพัฒนาคนให้มีนํ้าใจเป็นนักกีฬา รู้จักยกย่องผู้อื่น 7. ต้องพัฒนาคนให้ทํางานร่วมกับผู้อื่นได้ รู้จักเป็นผู้ให้ ผู้รับ ผู้นํา และผู้ตามที่ดี ผมเชื่อสุภาษิตที่กล่าวว่า “จะปลูกพืชต้องเตรียมดิน จะกิน ต้องเตรียมอาหาร จะพัฒนาการต้องเตรียมประชาชน จะพัฒนาคน ต้องพัฒนาจิตใจ จะพัฒนาใครต้องพัฒนาตนเองก่อน” ต้องเริ่มจากตัว เรา นี่คือหลักการ แล้วก็นําเงินตรามาเป็นเครื่องมือ การสร้างกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ และการจัดสวัสดิการชุมชน

กลุม่ สัจจะออมทรัพย์เริม่ ต้นจากการทีผ่ มไปถามพีน่ อ้ งทีบ่ า้ น ว่า ทําไมถึงส่งลูกเรียนหนังสือ เขาก็บอกว่า เพราะอยากให้ลูกได้เรียนหนังสือ จบมาเป็น เจ้าคนนายคน เป็นข้าราชการ ผมเลยถามต่อว่า ทําไมอยากเป็นข้าราชการ เขาก็บอกว่า ข้าราชการมีสวัสดิการดี มีเงินเดือน พอเจ็บป่วย รัฐบาลก็ช่วยรักษา ตัวเองก็ได้ พ่อแม่ก็ได้ เมียก็ได้ ลูกก็ได้ ผมเลยถามว่า รู้ไหมว่าข้าราชการเอาเงินจากที่ไหนมาจัด สวัสดิการ เขาก็ตอบว่า จากภาษีของประชาชน ผมถามว่ า เมื่ อ เก็ บ ภาษี จ ากประชาชน แสดงว่ า เราเป็ น เจ้าของเงินใช่ไหม - 61 60

.indd 61

3/3/2554 16:02:27


| การเงินชุมชน เศรษฐศาสตร์ชุมชน

เขาตอบว่า ใช่ ผมเลยถามว่า ในเมือ่ เราเป็นเจ้าของเงิน ทําไม เราไม่จัดสวัสดิการเอง ไปเรียนเป็นข้าราชการอยู่ทําไม จัดสวัสดิการ เองไม่ได้หรือ เขาบอกว่า ไม่ได้ ไม่รู้จะทําอย่างไร ผมบอกว่า ผมมีวธิ คี ดิ จะทาํ ให้ได้ ทาํ ให้เหมือนกับทีข่ า้ ราชการ ได้รับ ผมอธิบายให้เขาฟังว่า ไม่ต้องให้เขาเก็บภาษีไปกรุงเทพฯ แล้วรอกลับมาให้เรา เราทําของเราเองที่บ้านเราเลยดีกว่า ด้วยเหตุนี้ ผมเลยมีความคิดจะตั้งกลุ่มออมทรัพย์ที่ภาษา ใต้เรียกว่า “ปุ๊กปิ๊กปุกปิก” หมายความว่า ตั้งใหญ่บ้าง เล็กบ้าง เต็ม บ้านเต็มเมือง ไม่ต้องรวมให้ใหญ่ เพราะถ้ารวมให้ใหญ่เมื่อไร เดี๋ยว ต่างประเทศมาดูดเราอีก มาทําเราล้มอีก เพราะฉะนั้น ถ้าเราทํา ปุ๊กปิ๊กปุกปิก ใครมาทําอย่างไรเราก็ไม่ล้ม เราอยู่ด้วยตัวของเราเอง เต็มบ้านเต็มเมือง ประชาชนอยู่ได้ ตอนที่ผมเริ่มฝึกให้นักเรียนมีสัจจะวันละ 1 บาท ครูค้านกัน เต็มที่เลย บอกว่าทําไม่ได้ พ่อแม่จน จะทําได้หรือ ผมก็บอกว่า ถ้ารู้ ว่าพ่อแม่เขาจน เราเป็นครู ทําไมเราไม่คิดให้เด็กมีเงินฝาก ครูก็บอก ว่าคิดไม่ได้ คิดไม่ออกว่าจะให้เด็กมีเงินได้อย่างไร เขาบอกว่าครูใหญ่ คิดสิ ตอนนั้นผมเปลี่ยนหมดเลย เวลาครูจะเรียกนักเรียนให้เรียก ว่าลูก ส่วนครูผู้ชายให้นักเรียนเรียกว่าพ่อครู ครูผู้หญิงให้เรียกว่า แม่ครู ผมเป็นครูใหญ่ให้เรียกว่าพ่อครูใหญ่ จากนัน้ ผมก็ดวู า่ ลูกชาวบ้านทีม่ าเรียนกับเราเป็นลูกเกษตรกร โรงเรียนที่ผมเป็นครูใหญ่ตอนนั้นมีเนื้อที่ 5 ไร่ สนามฟุตบอล 1 ไร่ อาคาร 4 หลัง นอกนั้นปลูกไม้ดอกไม้ประดับ ทีนี้เราคิดให้เด็กมีเงิน โดยเน้นประเด็นการเกษตร เพราะประเทศไทยเด่นทางด้านการเกษตร ทางด้านการผลิตอาหาร ผมก็ออกนโยบาย - 62 60

.indd 62

3/3/2554 16:02:27


พระสุบิน ปณีโต, ครูชบ ยอดแก้ว |

ขอเกริ่นก่อนเข้าเรื่องสักเล็กน้อย โรงเรียนนี้มีอนุบาล เป็น อนุบาลชนบท ผมเป็นคนคิด เขาเชิญผมร่างแผนพัฒนาประเทศ ฉบับที่ 5 ผมก็คิดว่าการพัฒนาคนต้องเริ่มจากการพัฒนาด้านการ ศึกษา แต่การศึกษาของประเทศเราไม่ยุติธรรม คนในเมืองได้เรียน อนุบาล คนบ้านนอกไม่ได้เรียน เพราะฉะนั้นต้องมีอนุบาลในชนบท ทั้งประเทศ เขาก็รับหลักการ ออกมาเป็นอนุบาลชนบท ผมทําเป็น คนแรก และผมสอนเอง มีครัง้ หนึง่ เจ้าหน้าทีม่ าตรวจโรงเรียน ถามผมว่า เด็กๆ เรียน ชั้นอะไร แต่งตัวเหมือนชั้นอนุบาลที่สงขลา ผมบอกว่า ชัน้ อนุบาลครับ ตอนนัน้ ผมเป็นครูใหญ่ได้ประมาณ 6 เดือน เขายังไม่รู้ว่าผมเป็นครูใหญ่ เขาบอกว่า ชั้นอนุบาลมีแห่งเดียวที่สงขลา ที่นี่มีด้วยหรือ ผมบอกว่า มีครับ เขาถามว่า ใครสั่งให้ตั้ง ผมก็บอกว่า ครูใหญ่ครับ เขาถามต่อว่า ใครเป็นครูใหญ่ ผมก็ตอบว่า ผมนี่แหละครับ ครูใหญ่ เขาก็บอกว่า ครูใหญ่ รู้ไหมว่าผิดกฎหมาย ผมบอกว่า รู้ แต่ทําไมคนในเมืองไม่ผิดกฎหมาย ทําไมคน บ้านผมถึงผิดกฎหมาย ถ้าอยากเอาเรื่อง ผมท้าเลย เพราะที่ผมเป็น ครูใหญ่ ผมไม่ได้สอบ ผมไม่ได้ซื้อ ผมไปขอจากนายอําเภอ ผมอยาก จะทําตามความคิด นายอําเภอก็เลยให้ผมเป็น ผมเลยไม่กลัว ผมบอกว่า ถ้าจะเอาเรื่อง เชิญเลย ผมยินดีเข้าตะราง ให้รู้ไป ว่าสอนลูกชาวบ้านแล้วติดตะราง เขาก็เงียบ กิจกรรมที่ผมให้เด็กทํา คือให้เด็กทุกคนในโรงเรียนนี้ ตั้งแต่ ชัน้ อนุบาลจนถึงพ่อครูใหญ่ ต้องทาํ แปลงผัก กว้าง 1 เมตร ยาว 3 เมตร - 63 60

.indd 63

3/3/2554 16:02:27


| การเงินชุมชน เศรษฐศาสตร์ชุมชน

ทําทุกคน ไม่มียกเว้น ไม้ดอกไม้ประดับรื้อทิ้งหมด ปลูกผักแทน เต็ม บ้านเต็มเมือง เต็มทั้งโรงเรียน ท่านทายดูสิว่าแปลงของใครสวยกว่า เพื่อน แปลงชั้นอนุบาลสวยกว่าเพื่อน เพราะเด็กอนุบาลยกจอบกัน ไม่รอด ใครเป็นคนมาทํา พ่อกับแม่มาทํา ผมบอกว่าผมไม่ได้ขอร้อง ไม่ได้ขอแรง คุณมาทําเอง ตอนมาส่งลูกก็ทําแปลง ตอนมารับลูกก็ รดนาํ้ พอได้แปลงผักสวย ผมบอกว่าให้เอาผักไปขาย เอาไปกินทีบ่ า้ น เป็นผักปลอดสารพิษ และผมให้เด็ก ป. 6 ตัวโต กับเด็กอนุบาลตัวเล็ก จับคู่กัน—ผมลืมเล่าไปว่า ตอนนั้นโรงเรียนเริ่มเข้าเรียน 9 โมงเช้า เลิก 3 โมงเย็น แต่ผมให้ขึ้นเรียน 7 โมงครึ่ง เลิก 4 โมงครึ่ง จน ครูใหญ่ในอําเภอจะนะบอกว่า ครูชบมันบ้าอํานาจ พอเป็นครูใหญ่ มาเปลีย่ นแปลงหมดเลย—เสร็จแล้วก็ให้เด็กเอาผักไปขายทีต่ ลาดของ หมูบ่ า้ น ปรากฏว่าเด็กออกจากโรงเรียนไม่เกิน 500 เมตร คนรุมกันซือ้ จนหมด ไม่ใช่อยากได้ผกั เขาสงสารเด็ก ผมก็ให้เด็กเอาเงินไปฝากกับ พ่อแม่ และฝากโรงเรียนวันละ 1 บาท ผมในฐานะครูใหญ่ มีเงินเดือนมาก เอาเงินเดือนตัวเองไปซื้อ ลูกไก่แจกเด็กคนละ 2 ตัว ให้ไปเลี้ยงที่บ้าน มีกติกาคือ ไก่ 2 ตัวนี้ห้าม ตาย ตัวที่หนึ่งจะแกงหรือจะขายแล้วแต่ผู้ปกครอง ตัวที่สองต้องเอา กลับมาโรงเรียน แล้วขายรวมกัน เงินที่ได้แบ่งเป็น 2 ส่วน ครึ่งหนึ่ง ให้เด็กเอาไปฝากโรงเรียนวันละ 1 บาท อีกครึ่งหนึ่งนํามาตั้งกองทุน ในโรงเรียน เป็นกองทุนวิชาชีพ จบ ป. 6 แล้วมายืมเงินกองทุนไป ประกอบอาชีพได้ ผมทําสําเร็จ มีเงินเข้าโรงเรียนทุกวัน ตอนนั้น โรงเรียนมีนกั เรียน 225 คน ก็มเี งินเข้าโรงเรียนวันละ 225 บาท ปรากฏ ว่าครูเขาก็ออมด้วย จากนั้นจะเอาเงินไปไหน ผมไม่เอาไปฝากธนาคาร เรื่องอะไร จะเอาเงินของคนจนไปให้คนรวยอีก บริหารงานเอง เป็นผู้จัดการ ธนาคารเองดีกว่า ก็เลยทําสมุดฝากแบบธนาคาร ให้เด็กๆ เซ็นชื่อ - 64 60

.indd 64

3/3/2554 16:02:27


พระสุบิน ปณีโต, ครูชบ ยอดแก้ว |

พอสิน้ เดือนก็รวมกัน ให้ครูประจาํ ชัน้ เซ็นชือ่ แล้วเสนอครูใหญ่ ครูใหญ่ คือผู้จัดการธนาคาร แล้วเงินนี้ก็เอาไว้บริหารโรงเรียน จากนั้นผมก็สํารวจดูว่ามีครูคนไหนเป็นหนี้บ้าง ตอนนั้นมี ครู 9 คน เป็นหนี้ทั้ง 9 คน ยกเว้นครูใหญ่คนเดียวที่ไม่เป็นหนี้ เพราะ ผมจะต้องสอนให้คนไม่เป็นหนี้ แล้วผมก็ถามว่า กู้ในหมู่บ้านร้อยละ เท่าไร เขาบอกว่าร้อยละ 20 ต่อเดือนบ้าง ร้อยละ 15 บ้าง ร้อยละ 10 บ้าง ถ้าเป็นพีน่ อ้ งร้อยละ 8 ผมเลยบอกว่า ครูหา้ มเป็นหนีช้ าวบ้านนะ เป็นหนี้สหกรณ์ได้ เป็นหนี้ ธ.ก.ส. ได้ แต่อย่าเป็นหนี้ชาวบ้าน เพราะ เวลาประชุมชาวบ้าน ถ้าเจ้าหนี้มาประชุมด้วย ครูจะเงียบ ไม่กล้าพูด เพราะเจ้าหนี้นั่งมองตา คนที่เป็นเจ้าหนี้กับลูกหนี้มันแพ้กันทางจิตใจ เราอย่าไปเป็นหนี้ชาวบ้าน เราเป็นครู ต้องเป็นผู้นํา ผมบอกว่า ผม ไม่เอาดอกเบี้ย แต่คุณต้องเสียค่าบํารุงร้อยละ 5 ต่อเดือน ถือว่าไม่ผิด กฎหมายการเงิน ผมก็ได้เงินเข้าโรงเรียนเดือนละประมาณ 6,000 บาท ในสมัยนัน้ โรงเรียนประถมไม่มงี บประมาณ แต่ผมมี ถ้ามีคนมาเยีย่ มชม โรงเรียน ผมจัดเลี้ยงได้ มีเงินกองกลางใช้ เงิ น ที่ ไ ด้ ม าจะแบ่ ง สั ด ส่ ว นดั ง นี้ พอได้ ค่ า บํ า รุ ง มา 5 บาท 1 บาทให้เด็ก อีก 4 บาทตั้งกองทุนสวัสดิการโรงเรียน เด็กคนไหน ป่วย นอนโรงพยาบาล มาเบิกได้ ให้คืนละ 30 บาท ถ้านักเรียนไปทํา กิจกรรมนอกโรงเรียน จะจ่ายเบีย้ เลีย้ งคนละ 30 บาท พ่อแม่เลยให้เด็ก มาโรงเรียน มากันร้อยละ 99-100 เผื่อว่าพ่อครูจะใช้ให้ไปไหนอีก จะ ได้เบี้ยเลี้ยงด้วย ขนาดป่วยยังบรรทุกมาให้ผม นั่งรถมอร์เตอร์ไซค์มา ถ้าเป็นครูคนอื่นเขาก็คงรําคาญ ป่วยแล้วทําไมต้องเอามาให้พ่อครู ทำ�ไมไม่นอนอยู่ที่บ้าน แต่ผมภูมิใจ แสดงว่าขนาดป่วยยังเอามาให้ ผม ให้ผมพาไปหาหมอ เขาบอกว่าถ้าพ่อครูพาไป หมอเขาเกรงใจ พ่อครู ถ้าเขาพาไปเอง หมอไม่ค่อยเกรงใจ พ่อครูจัดการได้เร็ว ผมก็ ดีใจ แสดงว่าชาวบ้านเขาเชื่อถือเรา - 65 60

.indd 65

3/3/2554 16:02:27


| การเงินชุมชน เศรษฐศาสตร์ชุมชน

นอกจากนี้ ผมยังแจกแก้วนํ้าให้เด็กคนละ 1 ใบ แปรงสีฟัน 1 อัน ยาสีฟัน 1 หลอด คือต้องแปรงฟันทุกวัน ยาสีฟันหลอดนี้ต้องใช้ แปรงฟันให้ได้ 1 ปี ถ้าหมดก็ซื้อไปแปรงต่อเอง ส่วนครูในฐานะที่เป็นคนเสียค่าบํารุง ถ้าไปราชการจะจ่าย เบี้ยเลี้ยงตามสิทธิ์ ถ้าครบ 12 ชั่วโมงก็เบิกไปตามสิทธิ์ แต่ถ้าไม่ครบ ก็ เ บิ ก เป็ น ค่ า นํ้ า มั น แทน เพราะครู มี ส วั ส ดิ ก ารอย่ า งอื่ น เยอะแล้ ว นอกจากนั้น ผมก็ตัดเครื่องแบบแจกครู แจกเครื่องแบบครูปีละ 2 ชุด ชุดหนึ่งสีกากี มีขีดเรียบร้อย อีกชุดหนึ่งให้ไปคนละ 1,500 บาท ไปตัด ชุดที่สวยงาม จะตัดอย่างไรก็ได้ เกินก็จ่ายเอง ให้แค่นี้ จากนั้นชาวบ้านก็เชิญผมไปออกชุมชน เขาต้องการจะทํา กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ ผมก็เลยไปให้ความรู้ ผมบอกว่า ถ้าอยากทํา เหมือนโรงเรียนก็ให้ตั้งสัจจะกับตัวเองว่าแต่ละเดือนจะสัจจะครั้งละ กี่บาท 10 บาทก็ได้ 20 บาทก็ได้ ตํ่าที่สุดคือ 10 บาท สูงที่สุดคือ 30 บาท ปรากฏว่ามีชาวบ้านเชื่อผมประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ ผมบอกว่า ให้ 30 เปอร์เซ็นต์นี้ทดลองดูว่าความคิดนี้จะได้ผลหรือไม่ได้ผล ช่วงนั้นผมไปพูดทุกหมู่บ้าน ผมออกชุมชนอยู่ 4 ปี ตั้งแต่ ปี 2526 ถึงปี 2529 ไปทุกคืน กลางวันไปโรงเรียน กลางคืนไปชุมชน ใช้เวลาตั้งแต่ 1 ทุ่มจนถึง 4 ทุ่ม วันที่ 5 ของทุกเดือน ผมจะไปหมู่ 2 วันที่ 6 หมู่ 1 วันที่ 7 หมู่ 3 วันที่ 8 หมู่ 9 วันที่ 9 หมู่ 5 วันที่ 10 เขาเชิญให้ไปเขตโรงเรียนอื่น แต่อยู่ตําบลเดียวกัน ผมไปหมู่ 7 กับ หมู่ 11 คืนวันที่ 11 พัก 1 คืน คืนวันที่ 12 หมู่ 8 คืนวันที่ 13 หมู่ 4 คืนวันที่ 14 หมู่ 10 ทั้งหมด 11 หมู่บ้าน ผมทําแบบนี้ 4 ปี เพื่อ ทดลองเรื่องนี้ว่าจริงหรือไม่จริง สมาชิกที่กู้ก็เสียค่าบํารุงเหมือนกับครูที่โรงเรียน คือร้อยละ 5 แล้วผ่อนส่ง ตอนแรกใครที่จะกู้เงิน ต้องเอา นส. 3 มา เอาโฉนด ที่ดินมา ให้กู้ได้ 500 บาท ไม่ได้ให้กู้มาก พอสิ้นปี คนไม่ทำ�ผิดกติกา เลย เพราะถือสัจจะ พอไม่ผิดกติกา ผมก็บอกว่า ทําไมถึงใช้ นส. 3 - 66 60

.indd 66

3/3/2554 16:02:27


พระสุบิน ปณีโต, ครูชบ ยอดแก้ว |

ประกันได้ กระดาษ 1 แผ่น มีครุฑ มีลายเซ็นของใครก็ไม่รู้ อ่านก็ ไม่ออก ทําไมถึงประกันเงินได้ แล้วเราที่เป็นคน ทําไมถึงจะประกัน เงินไม่ได้ เลยเลิกการใช้เอกสารสิทธิ์ เอาคนมาเป็นผู้ประกันดีกว่า และให้กู้ได้คนละ 1,000 บาท ถ้าใครผ่อนส่งดีขึ้นก็จะขึ้นเงินกู้ให้เป็น 2,000 บาท ดีขึ้นอีกก็จะขึ้นเป็น 4,000 บาท ดีขึ้นอีกก็เป็น 8,000 บาท จนกระทั่งบัดนี้ขึ้นเป็น 200,000 บาท ไม่ต้องใช้เอกสารสิทธิ์ กู้กันเอง ใช้เครดิตตัวเอง เมือ่ ถึงสิน้ ปีกจ็ ะมาดูคา่ บํารุง ปรากฏว่าได้มาก เพราะดอกเบีย้ ร้อยละ 5 มันหมุนกลับหลายรอบ ทีนี้เงินที่ได้ก็จะแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่ ว นหนึ่ ง ปั น ผลตามหลั ก สหกรณ์ ตามหลั ก เศรษฐศาสตร์ ส ากล ออม 10 บาทจะได้กําไรกี่บาท ออม 20 บาทจะได้กําไรกี่บาท ยุติธรรม อีกส่วนหนึ่งนํามาตั้งเป็นกองทุนสวัสดิการชุมชน ให้เบิกสวัสดิการ ตามที่ต้องการ ส่วนแรกที่ปันผลนั้นดูที่เงิน แต่ส่วนที่สองนั้นไม่ดูที่เงิน แต่ดู ที่สัจจะ ใครสัจจะ 12 เดือนไม่เคยขาด ถ้าป่วย นอนโรงพยาบาล จะได้คนื ละ 30 บาท แต่ไม่เกิน 600 บาทต่อปีตอ่ คน ถ้าสัจจะ 24 เดือน มาเบิกได้คืนละ 60 บาท แต่ไม่เกิน 1,200 บาทต่อปีต่อคน ถ้าสัจจะ 36 เดือน มาเบิกได้คืนละ 90 บาท แต่ไม่เกิน 1,800 บาทต่อปีต่อคน ถ้าสัจจะ 48 เดือนไม่เคยขาด มาเบิกได้คืนละ 120 บาท แต่ไม่เกิน 2,400 บาทต่อปีต่อคน นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งของสวัสดิการที่จัดขึ้นมา ทีนี้พอสิ้นปี ปรากฏว่าสวัสดิการเบิกได้จริง คนที่ไม่เชื่อว่า เบิกได้จริงก็เข้ามาร่วม แต่ก็ยังมีพวกที่คิดว่า 2 ปีก็ล้มได้เหมือนกัน แต่ 2 ปี ผ่ า นไปก็ ยั ง เบิ ก สวั ส ดิ ก ารได้ อี ก เหมื อ นเดิ ม คนก็ เ ข้ า มา เรื่อยๆ สุดท้าย หมู่บ้านของผมมีคนเข้าร่วม 98 เปอร์เซ็นต์ เหลืออีก 2 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งคือครู แต่ไม่ต้องห่วง ตอนนี้ครูก็เข้าร่วมเรียบร้อย ตอนนี้เข้าร่วมกัน 100 เปอร์เซ็นต์แล้ว - 67 60

.indd 67

3/3/2554 16:02:27


| การเงินชุมชน เศรษฐศาสตร์ชุมชน

แต่หากใครผิดสัจจะเมื่อไร จะถูกตัดสวัสดิการทันที และต้อง ไปนับหนึ่งใหม่ กลับมาตั้งสัจจะใหม่ เพราะฉะนั้น คนที่ตั้งสัจจะไป หลายเดือน หลายปี ก็ยิ่งเคร่งขึ้น เพราะหากผิดสัจจะต้องไปเริ่มที่ 12 เดือนใหม่ คนจึงอยู่ในระเบียบ นี่คือสาเหตุที่คนไม่โกง นี่เป็นเพราะสวัสดิการ เพราะฉะนั้น สวัสดิการเป็นเครื่องมือพัฒนาคน พระสุบิน ปณีโต

ความแตกแยก ความยากจน เศรษฐศาสตร์ และหลักธรรม

ขอความเจริญในธรรมจงมีแก่ผู้จัดและผู้ร่วมงานทุกท่าน สิง่ ทีส่ งั คมไทยปรารถนาและแสวงหาคือความสุข แต่ความสุข ขั้นพื้นฐานที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ เป็นความสุขขั้นพื้นฐานของฆราวาส ผู้ครองบ้านครองเรือน เป็นความสุขที่เกิดจากการมีทรัพย์ จากการ ใช้จ่ายทรัพย์ จากการไม่เป็นหนี้ และจากการประกอบสัมมาอาชีวะ สิ่งเหล่านี้เป็นความสุขขั้นพื้นฐานที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ เป็นความสุข ที่ต้องวิ่งไล่ตาม เหมือนวิ่งไล่ลูกบอล ยิ่งวิ่งไล่ ยิ่งห่าง ยิ่งวิ่งไล่ ยิ่งไกล ในทีส่ ดุ ขบวนการทัง้ หลายก็ยงิ่ ไกลตัวมากขึน้ ห่างตัวมากขึน้ เมือ่ ห่าง ตัวมากขึ้นก็เหนื่อยมากขึ้น ทุกข์มากขึ้น และความสุขก็หายไป สิ่งที่เกิดขึ้นกับสังคมนี้คือ คนรวยก็รวยขึ้น คนจนก็จนลง ภาวะของความเหลื่อมลํ้ามีมากขึ้นเรื่อยๆ คนที่มีที่ดินทํามาหากินก็มี มากขึ้นเรื่อยๆ คนที่ไม่มีที่ดินทํามาหากินก็มีมากขึ้นเรื่อยๆ ช่องว่าง ดังกล่าวมากขึ้นเรื่อยๆ ปัญหาทั้งหลายเหล่านี้ได้โยงไปสู่การจัดการ - 68 60

.indd 68

3/3/2554 16:02:27


พระสุบิน ปณีโต, ครูชบ ยอดแก้ว |

ทางเศรษฐศาสตร์มากขึ้น ดังนั้น ภาครัฐจะจัดเศรษฐศาสตร์แบบไหน จึงจะเกิดการเกื้อกูลต่อกันได้ พระพุทธเจ้าตรัสว่า การให้นั้นดี แต่การเลือกให้นั้นดีกว่า เพราะตอนนี้เราไม่ได้นําหลักพุทธไปใช้ เรานําหลักของนโยบายไปใช้ คือใช้นโยบายที่ถูกใจคน นโยบายแบบแจกอย่างเดียว แจกวัตถุ แต่ ไม่แจกปัญญา แจกความต้องการ แต่ไม่แจกความพอประมาณ การแจกแบบนี้ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า ความต้องการของคน ไม่มคี าํ ว่าสิน้ สุด เหมือนนาํ้ ฝนทีต่ กลงมา ไม่วา่ กีร่ อ้ ยห่า นํา้ ก็ไม่เคยล้น ทะเล เพราะฉะนั้น ยิ่งมีนโยบายประชานิยมมากขึ้นเท่าไร ก็เหมือน กับการที่เราตักนํ้าใส่ทะเลให้มันเต็มให้ได้ ทําอย่างนี้แล้วมันเหนื่อย หรือเปล่า เมือ่ เกิดช่องว่างเหล่านี้ สิง่ ทีอ่ าตมามองเห็นจากการเดินธุดงค์ ก็คือ ปัญหาความแตกแยก นับวันความแตกแยกยิ่งมากขึ้นเรื่อยๆ แล้วเราจะจัดการทางเศรษฐศาสตร์อย่างไร ถามว่าความแตกแยกมาจากอะไร ความแตกแยกมาจาก ความจน เมื่อคนจนไปกู้เงินจากคนที่มีฐานะ ถูกเรียกดอกเบี้ยแพงๆ เช่น กู้ดอกเบี้ยรายวัน มีพวกหมวกกันน็อกผู้มีอิทธิพลเข้าไปตาม ท้องถิ่นต่างๆ เก็บร้อยละ 60 ต่อเดือน ร้อยละ 2 ต่อวัน กลุ่มสัจจะฯ ก็ พ ยายามเรียกลูกหนี้เข้า ไปคุย พยายามแก้ปัญหาให้ เขาถูกรื้อ ข้างฝาบ้าง พังหลังคาบ้าง ให้ไปแจ้งความก็ไม่มีใครกล้าไปแจ้ง ไม่รู้ จะจัดการอย่างไร เราเห็นปัญหาเหล่านี้ เช่น กู้เงินมา 20,000 บาท ส่งประมาณ 40 สัปดาห์ รวมแล้วต้องจ่ายดอกเบี้ยประมาณ 120,000 บาท นี่คือ สถาบันการเงินของคนรวย คนจนเขาไม่ทํากัน คนจนเขากู้ดอกเบี้ย ร้อยละ 9-12 ส่วนคนรวยกู้ดอกเบี้ยร้อยละ 60 ต่อเดือน แล้วถามว่า อย่างนี้จะถูกยึดที่ไหม - 69 60

.indd 69

3/3/2554 16:02:27


| การเงินชุมชน เศรษฐศาสตร์ชุมชน

ความจนเหล่านี้ ความแตกแยกเหล่านี้ เกิดขึ้นเนื่องจาก สังคมเป็นวัตถุนิยมและเป็นบริโภคนิยมมากขึ้น หากเราจัดการด้วย เศรษฐศาสตร์เชิงเดีย่ ว สังคมก็จะยิง่ ห่างกันมากขึน้ เพราะเราไม่จดั การ สังคมในเชิงสงเคราะห์แบบสังคหวัตถุในรูปของพระพุทธศาสนา และ ความแตกแยกก็เกิดจากการเมืองด้วย ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งกํานัน ผู้ใหญ่บ้าน อบต. อบจ. ส.ส. ส.ว. ชุมชนก็ยิ่งแตกแยกหนักขึ้นไปอีก นอกจากนี้ เมื่อเขาจน เขาก็ต้องทิ้งครอบครัว ทิ้งพ่อทิ้งแม่ ทิ้งพี่ทิ้งน้อง ไปหางานทําที่อื่น หรือโยกย้ายไปทํางานที่อื่น ในที่สุด ก็จะเป็นปัญหาชุมชนที่หนักมากขึ้นเรื่อยๆ ไปบุกรุกที่สาธารณะบ้าง เขตป่าสงวนบ้าง แผ้วถางป่าบ้าง ป่าจึงถูกทําลายมากขึ้นเพื่อเอามา เลี้ยงปากเลี้ยงท้อง เศรษฐศาสตร์ที่เราจะต้องจัดการจึงหนักมากขึ้น สิ่งแวดล้อมที่เราจะต้องจัดการจึงหนักมากขึ้น กว่าจะปลูกต้นไม้ได้ 1 ต้น ใช้เวลาเป็นสิบๆ ปี แต่เวลาโค่น ต้นไม้ 1 ต้น ใช้เวลาไม่ถึง 10 นาที ทําอย่างไรก็ไม่ทันกัน ทำ�อย่างไรก็ ไม่ทนั กับความต้องการของผูบ้ ริโภค ฉะนัน้ จะจัดการกับเศรษฐศาสตร์ อย่างไรจึงจะเกิดความสมดุล ความจนเหล่ า นี้ โ ยงไปถึ ง ความแตกแยกของครอบครั ว ความแตกแยกของครอบครัวก็โยงไปถึงการโยกย้ายถิ่นฐาน การ โยกย้ายถิ่นฐานก็โยงไปถึงปัญหาที่คนกรุงเทพฯ พูดกันเป็นประจํา คื อ ปั ญ หาสลั ม ใต้ ท างด่ ว นมี ค นมาอยู่ อ าศั ย มากขึ้ น เพราะไม่ มี ที่ จะอยู่ หนีไปตายเอาดาบหน้า ในที่สุดก็เกิดเป็นสลัม มีการมั่วสุม ยาเสพติดมากขึ้น การจราจรติดขัดมากขึ้น เกิดปัญหาต่างๆ มาก ขึ้น เราจะใช้เศรษฐศาสตร์แก้ปัญหาได้อย่างไร เราจะนําแนวทาง เศรษฐศาสตร์มาจัดการเพื่อให้เกิดความเข้มแข็งและยั่งยืนได้อย่างไร เราจะเลือกเศรษฐศาสตร์ที่เข้มแข็งเฉพาะคน เฉพาะชุมชน เฉพาะ จังหวัด หรือประเทศชาติ ต้องฝากให้พวกเราช่วยกันคิด เพราะอาตมา - 70 60

.indd 70

3/3/2554 16:02:27


พระสุบิน ปณีโต, ครูชบ ยอดแก้ว |

ไม่มีกําลังจะจัดการเรื่องนี้ และไม่มีความรู้ ไม่ได้เรียนเศรษฐศาสตร์ แบบนี้ เพียงแต่ได้เรียนธรรมะมา และเห็นว่าหลักการของธรรมะเป็น พืน้ ฐานทีจ่ ะจัดการเรือ่ งเหล่านีไ้ ด้ ซึง่ อาตมาเรียกว่าเศรษฐศาสตร์แนว พุทธ คือคิดแบบมีเมตตาต่อกันอย่างที่พระพุทธเจ้าตรัส ตั้งกายกรรม ประกอบด้วยเมตตา ตั้งวจีกรรมประกอบด้วยเมตตา ตั้งมโนกรรม ประกอบด้วยเมตตา แบ่งปันลาภที่ตนเองได้มาโดยชอบธรรมให้แก่ เพื่อนและผู้อื่น สิ่งเหล่านี้คือธรรมแห่งการเกื้อกูล ธรรมแห่งการอยู่ ร่วมกัน สิ่งเหล่านี้กําลังจะหายไปจากสังคม เป็นปัญหาหนัก กําลัง ลุกลาม ซึ่งโยงมาจากปัญหาความยากจน เราจะแก้ ปั ญ หาความยากจนด้ ว ยอะไร เพราะระบบการ ศึกษาอาจจะพาเขาไปผิดทาง เราจะช่วยกันปรับปรุงอย่างไร เพราะ การศึกษาเป็นเหมือนแผนที่ แต่ตอนนีค้ นทีเ่ ดินตามแผนทีแ่ ล้วไม่บรรลุ เป้าก็มีเยอะ เรามุ่งให้เรียนและทิ้งถิ่นมากขึ้น ทิ้งครอบครัวมากขึ้น คนที่มีความรู้ ไม่มีใครกลับสู่ชุมชน เศรษฐศาสตร์จะจัดการอย่างไร อาตมาเคยถามคนทีไ่ ปหาอาตมาว่า จะพัฒนาชุมชนให้รวดเร็ว ได้อย่างไร ตอนนี้เราอยู่กับคนในชุมชนที่มีแต่ หนึ่ง คนแก่ ไปไหน ไม่ค่อยไหวแล้ว ต้องอยู่กับบ้าน สอง เด็กไปโรงเรียนแล้วเกเร เขา ไม่เอา เขาก็ไล่กลับบ้าน สาม เด็กที่หัวไม่ไหวจริงๆ เขาก็ไล่กลับบ้าน คนเหล่านี้ไปมั่วสุมยาเสพติด เขาไม่เอา เขาก็ไล่กลับบ้าน พอคน เหล่านี้ไปทํางานที่ไหน โรงงานเขาก็ไม่เอา เขาก็ไล่กลับบ้าน คนที่ พิการทางสมองและพิการทางร่างกายก็เอาไว้กับบ้าน เราทํางานกับ คนฐานราก ต้องทํางานกับคนประเภทนี้ คนที่มีความรู้เขาหนีไปหมด แล้วจะจัดการเศรษฐศาสตร์ฐานรากอย่างไร อันนี้วิเคราะห์ให้ฟัง ให้ เราช่วยกันคิดหาทางออก เรื่องสําคัญที่สุดซึ่งเกี่ยวโยงกับความยากจนก็คือ การมั่วสุม อบายมุข คนจนหาที่พึ่งไม่ได้ ก็หันเข้าหาเหล้าเป็นสรณะ คนจนหา - 71 60

.indd 71

3/3/2554 16:02:27


| การเงินชุมชน เศรษฐศาสตร์ชุมชน

ที่พึ่งไม่ได้ และหวังรวย ก็ไปคิดออกด้วยการเล่นหวย การพนัน หรือ บ่อนคาสิโน อย่างนี้เราจะจัดการเศรษฐศาสตร์อย่างไร พอมั่วสุมมากๆ ก็ป่วยไข้มากขึ้น เป็นโรคจิตมากขึ้น ทะเลาะ กันในครอบครัวมากขึ้น เราจะใช้เศรษฐศาสตร์จัดการปัญหาเหล่านี้ อย่างไร สวัสดิการเพื่อการพัฒนาคุณธรรม และการพึ่งตนเอง

ชีวิตคนจะอยู่รอดได้ ต้องอาศัยปัจจัยสี่ แต่ปัจจุบันโฆษณา ในโทรทัศน์บอกว่าปัจจัยสี่ไม่พอแล้ว ต้องมีปัจจัยที่ห้า คือโตโยต้าและ โคโรลล่า อาตมาศึกษาธรรมะ และมองเห็นปัญหาว่า เราสอนธรรมะ แต่ไม่อาจทําให้เป็นรูปธรรมได้ ธรรมะเลยกลายเป็นทฤษฎีมากกว่า การปฏิบตั ิ ผลทางปริยตั มิ มี าก แต่ผลทางการปฏิบตั ไิ ม่คอ่ ยมี ปฏิเวธ คือสังคม ก็เลยแตกร้าวแตกแยก มีปญ ั หามากมายก่ายกอง จนอาตมา คิดว่าต้องหยุดสอนธรรมะ หนีเข้าป่า พักตนเอง ไปอยูป่ า่ ช้าหรืออยูถ่ าํ้ ไปตามเรื่อง จนเมือ่ ปี 2528 อาตมามีแนวคิดเรือ่ งแผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง อาตมามองแล้วว่า ถ้าเราไปบรรยาย มันเป็นนามธรรม ไม่อาจแก้ปญ ั หา สังคมได้ เลยต้องหนี—ทีจ่ ริงไม่ได้อยากจะทาํ อย่างนี้ แต่มนั เกิดแนวคิด ว่าแนวทางแผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง ไม่มีทางสําเร็จหรอก เพราะ เป็นเพียงทฤษฎี เลยต้องหนี หลังจากนัน้ ปี 2530 อาตมาไปอยูป่ า่ คนมาอ้อนวอนขอให้ไป บรรยายหลักการคิดเป็น ทําเป็น แก้ปัญหาเป็น อาตมาบอกว่าอาตมา ไม่รับกิจนิมนต์เทศน์แล้ว เขาก็บอกว่าหาพระเทศน์ไม่ได้ ขอให้ไป - 72 60

.indd 72

3/3/2554 16:02:27


พระสุบิน ปณีโต, ครูชบ ยอดแก้ว |

ช่วยหน่อย ไปจังหวัดสตูล สุดท้ายจึงตัดสินใจไปช่วยเขา อาตมาก็ไป บรรยาย อาตมาก็ดวู า่ จะแก้ปญ ั หาของชุมชนนีอ้ ย่างไร ทัง้ ปัญหาความ ยากจน ปัญหาความขัดแย้ง และปัญหาความแตกแยก หมู่บ้านนี้ชื่อ บ้านนํ้าตกวังสายทอง มีนํ้าตกไหลผ่านทั้งปี แต่ทําการเกษตรไม่ได้ เพราะไม่มีเครื่องมือนํานํ้ามาใช้ ตอนกลางวันเขาคุยกัน อาตมาก็จับ ประเด็น พอตอนกลางคืนก็เรียกผู้นํา 5 คนมาคุยกัน เพราะเมื่อตอน กลางวันเขาคิดจะกู้เงิน ธ.ก.ส. มาทําฝาย เพื่อนํานํ้ามาทําการเกษตร อาตมาก็เลยบอกว่าพวกคุณคิดกันไม่เป็นแล้ว เพียงแค่คิด คุณก็เป็น หนี้แล้ว นี่เป็นประเด็นแรก คือจัดการเศรษฐศาสตร์ไม่เป็น ต้นทุนจึง สูงทันที ประเด็นที่สอง ถ้าคุณสร้าง คุณต้องใช้เงินกี่บาท จึงจะได้ ฝายคอนกรีตที่แข็งแรง และคุณต้องจ่ายดอกเบี้ยทุกวัน คุณไม่มีทาง สู้ได้ เพราะนํ้าตกไหลตลอดทั้งปี ต้องสร้างฝายใหญ่แค่ไหนจึงจะ แข็งแรงพอ และชาวบ้านก็ยากจนกันอยู่แล้ว ประเด็นที่สาม คุณคิดจะทําฝายเพื่อการเกษตร แล้วคุณมี ตลาดหรือยัง ยังไม่มี ไม่รู้ว่าจะขายที่ไหน ถ้าคุณปลูกแล้วขายไม่ออก ถามว่าจะกําไรหรือขาดทุน เพราะฉะนั้น คุณจึงมีต้นทุนตั้งแต่ฝาย พันธ์ุพืช ขั้นตอนการ เพาะปลูก จนกระทัง่ ถึงการขาย ซึง่ คุณก็ยงั ไม่รเู้ ลยว่าผลจะเป็นอย่างไร อย่างนีไ้ ม่ได้คดิ แบบพุทธ พอไม่ได้คดิ แบบพุทธ เศรษฐศาสตร์กย็ นื หยัด อยู่บนความโลภ ยืนหยัดอยู่บนความต้องการ ยืนหยัดอยากจะได้ แต่ ไม่ได้มองว่าต้นทุนมันมาจากที่ไหน และจะแก้อย่างไร อาตมาเลยบอกชาวบ้านว่า หากคิดอย่างนี้ ไปไม่รอด เปลีย่ น ความคิดได้ไหม แทนที่จะสร้างฝาย เปลี่ยนมาเป็นขอคนละ 10 บาท ต่อเดือน มาลองทํากันดูก่อน ถามว่าคุณซื้อหวยกันไหม ซื้อ เกิน 10 - 73 60

.indd 73

3/3/2554 16:02:27


| การเงินชุมชน เศรษฐศาสตร์ชุมชน

บาทไหม เกิน 10 บาทหากผิดพลาดก็คงไม่เสียหายมากนัก ถ้าตลาด มันดี แล้วเราค่อยมาคุยกันต่อ เป็นขั้นที่สอง ที่สาม ที่สี่ อย่าเพิ่งคิด ลงทุนมากๆ ลงทุนหนักๆ ความเสียหายจะเกิดขึ้น อันนี้เป็นประเด็น ของการคิดเป็น ทําเป็น แก้ปัญหาเป็น อาตมาบอกกับชุมชนว่า เมือ่ คุณคิดไม่เป็น คุณก็จะทําไม่เป็น เพราะสิ่งที่คุณทํากําลังมัดตัวเอง และเมื่อคุณแก้ปัญหาไม่ได้ ถ้าคุณ เป็นหนี้สิน จะปลดบ้านออกมาอย่างไร จะปลดที่ดินออกมาอย่างไร จะถอยตัวเองออกมาอย่างไร ฉะนั้น เรื่องทั้งหมดนี้คือการผูกมัดคุณ ไม่ใช่เรื่องที่เป็นทางออกเลยสักทางเดียว จนกระทัง่ อาตมาไปอยูอ่ าํ เภอเมือง ก็เกิดความคิดว่า 10 บาท มันน้อยไป น่าจะเป็นวันละ 1 บาท แต่อยู่ที่อำ�เภอเมืองได้ไม่นาน อาตมาก็ไปอีก มีคนมารับอาตมาไปหาดใหญ่ มีเจ้าของห้างมาขอร้อง ให้ไปช่วยเรื่องโครงการอาหารเด็ก เนื่องจากมีคนมาขอเงินแกมาก เดี๋ยวโรงเรียนนั้นโรงเรียนนี้มาขอ แกถามอาตมาว่าช่วยอย่างนี้ดี ไหม อาตมาก็บอกว่าดี แต่การช่วยอย่างนี้ คุณกําลังทําให้คนไทย เป็นขอทานกันทั้งประเทศ นี่อาตมาไม่ได้ด่าเขานะ อาตมาบอกเขา ว่า เดี๋ยวครูเขาก็จะไม่ทําอะไรเลย เขาก็มาขอเงินคุณ พ่อแม่ก็ไม่ต้อง ทําอะไรเลย ไม่ต้องเลี้ยงลูก แล้วก็มาขอเงินคุณ เด็กก็ไม่ต้องเป็นการ เกษตรอะไร ก็มาขอเงินคุณ เสร็จแล้วคุณก็ไปเอากําไรจากชาวบ้าน ต่อไปห้างร้านของคุณก็จะเจ๊งไปด้วย เพราะต้องเอากําไรมากๆ เพื่อ ไปเลี้ยงเด็ก ในที่สุด เด็กก็ไม่ทําอะไรเลย ก็กลับมาขอคุณต่อ ถามว่า วัฏจักรนี้มันจะสิ้นสุดไหม ในที่สุด อาตมาก็มาทําร่วมกับครูชบ เป็นคนพื้นที่เดียวกัน อาตมาก็เรียกครูชบมา แล้วเอาโรงเรียนแถบของครูชบเป็นตัวตั้ง หมู่บ้านนี้ โรงเรียนนี้ ต้องการทุนกี่หมื่น ให้ไปเลย แต่ต้องเลี้ยงตัวเอง ให้ได้ ให้ที่เรียนแล้วต้องเลี้ยงตัวเองให้ได้ ทําการเกษตร ทํามาค้าขาย ผู้ปกครองต้องมาซื้อมาขายกันเองอยู่ในนั้น หมุนเวียนเปลี่ยนกันไป - 74 60

.indd 74

3/3/2554 16:02:27


พระสุบิน ปณีโต, ครูชบ ยอดแก้ว |

จนกระทั่งปี 2530 ก็เกิดปัญหาอีก ทางใต้มีปัญหาเรื่องการ จับตัวเรียกค่าไถ่ อาตมาไปรับบิณฑบาตที่บ้านเขาทุกวัน กลางคืน ชาวบ้านถูกตีหัว เราเป็นพระ ไม่ช่วยไม่ได้ เลยเกิดความคิดว่าต้องหา ทางออกด้วยการรวมตัวให้ได้ จนกระทัง่ ไปหาอาจารย์สมบูรณ์ซงึ่ สอน อยู่ที่จังหวัดสตูล เขาบอกว่าสิ่งที่อาตมาคิดคือสิ่งที่ครูชบทําไปแล้ว อาตมาเลยไปนั่งคุยกับครูชบ แล้วก็มาดูว่าธรรมะจะช่วยแก้ปัญหานี้ ได้อย่างไร ก็โยงมาถึงเรื่องธรรมะที่จะนำ�ไปใช้แก้ปัญหาความยากจน เพราะหลักธรรมะที่พระพุทธเจ้าตรัสมีเยอะมาก แต่เรายังไม่ได้นำ�มา ประยุกต์ใช้ให้เป็นเรื่องเป็นราว ก็เลยเกิดแนวคิดเรื่องการแก้ปัญหา ความยากจนโดยใช้เงินเป็นสื่อ ความยากจนทําให้เราเห็นความแตกแยก คือเงินทองทําให้ ความเป็นพี่เป็นน้องแตกแยก อาตมาถามว่า เรามีพี่น้อง 5 คน ใน 5 คนนี้ โยมคิดว่ารวยจนเท่ากันไหม ไม่เท่ากัน ถ้าเกิดพี่มีเงินเหลือ จะเอาเงินไปไว้ทไี่ หน ก็ฝากธนาคาร แล้วถ้าน้องอยากลงทุน จะไปเอา เงินทีไ่ หน ก็ทธี่ นาคาร พีเ่ อาเงินไปฝาก ได้ดอกเบีย้ ร้อยละ 75 สตางค์ น้องอยากลงทุนก็ไปกูม้ า ดอกเบีย้ ร้อยละ 9 ร้อยละ 12 แล้วเวลาพีป่ ว่ ย นึกถึงใคร ก็นึกถึงน้องใช่ไหม ทําไมไม่นึกถึงพนักงานธนาคาร เวลา มีเงินนึกถึงคนอื่น แต่เวลาป่วยไข้บากหน้าไปหาน้อง เงินกําลังทำ�ให้ สังคมแตกแยก เนื่องจากทิ้งหลักธรรมะของพระพุทธเจ้า ซึ่งท่านสอน ว่าการสงเคราะห์ญาติเป็นมงคล ต่อจากนั้น อาตมาก็มองไปถึงชุมชน คนในชุมชนรวยจน ไม่เท่ากัน คนรวยก็เอาเงินไปฝาก คนจนก็ตามไปเอา เงินอยู่ที่ไหน ก็ตามไปที่นั่น แล้วทําไมไม่ดึงเงินเข้าวัดบ้าง อาตมาใช้คําว่า สัจจะ พัฒนาคุณธรรม ไม่ได้พัฒนาเงินนะ เพราะเงินเหมือนกับนํ้ามัน และ คนก็เหมือนกับไฟ เอาไว้ใกล้กันไม่ได้ ถ้าไม่กันไว้ให้ดี มันอันตราย ฉะนั้น เราต้องยํ้าหลักธรรมะมากขึ้น เหมือนเป็นตัวกั้นระหว่างไฟกับ นํ้ามัน ดังนั้น คุณธรรมเป็นเรื่องที่สําคัญมากในการพัฒนาคน ถ้าเรา - 75 60

.indd 75

3/3/2554 16:02:28


| การเงินชุมชน เศรษฐศาสตร์ชุมชน

ทิง้ เรือ่ งคุณธรรม เป็นอันว่ามันก็หมดแน่นอน ชุมชนจะเข้มแข็งได้ ต้อง พัฒนาตรงนี้ก่อน ธรรมะเป็นเรื่องพื้นฐานที่สําคัญมาก เหมือนอาคารหลังนี้ อะไรสําคัญที่สุด สิ่งที่สําคัญที่สุดซึ่งมองไม่เห็นก็คือเสาเข็ม ถ้าเสาเข็ม ทรุดไปทางไหน ทุกสิ่งทุกอย่างก็จะทรุดไปทางนั้น พังราบหมด ถ้า คุณธรรมด้านไหนมันทรุด มันก็เอียงไปทางนัน้ ในทีส่ ดุ สังคมก็ลม่ สลาย นีค่ อื การทีส่ งั คมไม่มคี ณ ุ ธรรมพืน้ ฐานรองรับ จิตสาํ นึกของเรือ่ งเหล่านี้ มันถดถอยลดน้อยลงเรื่อยๆ ไม่ว่าเราจะสร้างกฎหมายมาเท่าไร สร้าง ระเบียบมาเท่าไร สร้างกติกามาเท่าไร ก็กันไม่ได้ กันไม่อยู่ กันไม่ไหว ฉะนั้น มีทางเดียวที่จะทําให้สังคมเข้มแข็ง คือการปลูกฝัง คุณธรรม และยํ้าตอกเหมือนกับการตอกเสาเข็ม มีเสาเข็มที่ไหน ที่เขาตอกทีเดียวแล้วหยุด มีไหม ไม่มี ตอกแล้วก็ตอกอีกจนกระทั่ง ไม่ทรุด จนคนสร้างอาคารเขามั่นใจว่าสร้างอาคารได้ ชุมชนก็ต้องพูด เรื่องคุณธรรมจนกระทั่งคนมีความรู้สึกว่าไม่อยากโกง เมื่อนั้นแหละ สังคมจึงจะเข้มแข็ง ต้องยํ้าลงไปจนคนรู้สึกว่าละอายต่อชั่ว กลัวต่อ บาป และละอายต่อสิ่งที่มันไม่ดี ค่อยๆ ปลูกฝังไปเรื่อยๆ จึงจะทําให้ สังคมเข้มแข็ง เศรษฐกิจก็จะพลอยเข้มแข็ง การเมือง วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม สุขภาพ ก็จะเข้มแข็งตามกันมาเป็นลําดับ ถ้าคุณธรรม ไม่เข้มแข็งแค่ตัวเดียว ตัวอื่นๆ ก็จะแย่ตามไปหมด อาตมาขอพูดแบบรวบรัดว่า ฐานธรรมะเป็นเรื่องที่สําคัญ ที่สุด และหัวใจเศรษฐี คือ อุ อา กะ สะ (อุฏฐานสัมปทา อารักขสัมปทา กัลยาณมิตตตา สมชีวิตา) อาตมาพยายามพูดแล้วพูดอีก ยํ้าแล้ว ยํ้าอีก แต่คนก็ยังไม่ค่อยเข้าใจหลักธรรมะที่พระพุทธเจ้าแสดง ตอนนี้ อาตามพยายามโยงทั้ง 4 ข้อนี้เข้ากับเศรษฐกิจพอเพียงที่ในหลวง ทรงนำ�มาใช้ คนถามกันว่าเศรษฐกิจพอเพียงนำ�มาจากอะไร ก็มาจาก โภชเนมัตตัญญุตา รู้จักประมาณในการบริโภค สมชีวิตา เลี้ยงตนพอ - 76 60

.indd 76

3/3/2554 16:02:28


พระสุบิน ปณีโต, ครูชบ ยอดแก้ว |

สมควรแก่กําลังทรัพย์ และต้องมีสันโดษเข้ามาด้วย ควบคู่กันไปทั้ง 3 ข้อ จึงจะเกิดเศรษฐกิจพอเพียงได้ ฐานธรรมะที่ จ ะทํ า ให้ ชุ ม ชนแก้ ปั ญ หาของตนเองได้ ก็ คื อ หนึ่ง ต้องขยันหา สอง ต้องรู้จักรักษา แต่ตอนนี้ยิ่งรักษายิ่งจนมากขึ้น อาตมาเลยกลับมามองว่า สำ�หรับการออม เราออมกันมานานแล้ว แต่ ทําไมยิ่งออมถึงยิ่งจน มันขัดกับหลักการ ขัดกับทฤษฎี ตอนนี้อาตมา เลยบอกชาวบ้านว่า ให้เอาเศษเงินมาทํา ไม่ใช่เอาเงินก้อนมาทํา อาตมาถามชาวบ้านว่า เดือนหนึ่งๆ เราทําบุญงานบวชงานแต่งเกิน 100 บาทไหม เกินใช่ไหม เดือนหนึง่ ๆ เราทาํ บุญงานศพเกิน 100 บาท ไหม เกินใช่ไหม เดือนหนึง่ ๆ เราทํางานบุญกฐินฝ้าป่า ปิดทองลูกนิมติ เกิน 100 บาทไหม ก็เกินใช่ไหม สิ่งเหล่านี้เราทําแล้วไม่ได้กลับ เรา ยังกล้าทําใช่ไหม แล้วถ้าเรามาทําเพื่อสงเคราะห์คนในชุมชนเดือนละ 100 บาท เราจะทําได้ไหม 50 บาทหรือ 20 บาทพอทําได้ไหม ถามว่า เราถึงกับเดือดร้อนไหม ก็ไม่เดือดร้อน อย่างนั้นก็ลองดู อาตมาบอกชาวบ้านว่า ตอนนีม้ คี น 100 คนเก็บเงินใส่กระปุก ออมสินวันละ 1 บาท เงินก็ตายวันละ 100 บาท เงินทีอ่ อมก็เก็บไว้เฉยๆ ในขณะที่พ่อแม่ต้องไปกู้จากธนาคารหรือจากนายทุนมาใช้ คนนั้นก็ จ่ายดอกเบี้ย คนนี้ก็ออมเอาไว้เฉยๆ อาตมาก็บอกว่า พอเต็มกระปุก สัก 1,000 บาท เราก็เก็บเงินคนละ 1,000 บาทไปเปิดบัญชี ก็ได้เงิน 100,000 บาท อย่างนี้เราจะรวยขึ้นไหม คือหลักเศรษฐศาสตร์แนวพุทธสอนให้หัดคิด หัดวิเคราะห์ หัดมอง แล้วจะตัดสินใจอย่างไรเป็นเรื่องของเขา แต่ทุกคนมีสิทธิ์ที่ จะคิด มีสิทธิ์ที่จะทําตามแนวทางของตนเอง หลักพุทธไม่มีหน้าที่ไป บังคับใคร แต่มีหน้าที่ชี้ให้เห็น และกิจทั้งหลาย ท่านต้องทําเอง อาตมาบอกว่า สมมติเก็บเงินใส่กระปุกออมสิน หวังจะซือ้ เสือ้ ตัวหนึ่ง ราคา 50 บาท พอเก็บเงินจนเต็มกระปุก เสื้อตัวนี้ก็ราคาขึ้น - 77 60

.indd 77

3/3/2554 16:02:28


| การเงินชุมชน เศรษฐศาสตร์ชุมชน

เป็น 100 บาท แต่ค่าของเงินมันอ่อนลงเรื่อยๆ สมัยก่อน ข้าวจานละ 10 บาท แต่ตอนนี้จานละ 20 บาทยังไม่อิ่ม ภาวะเงินเฟ้อมากขึ้นๆ เราจึงยิ่งขาดทุน ยิ่งออมยิ่งจน ทุกคนก็เป็นอยู่อย่างนี้ แล้วฐานรากจะ ไม่แตกแยกได้อย่างไร การจัดการมันไม่ได้เป็นไปตามกระบวนการ ของหลักธรรมะ ยิ่งออมก็เลยยิ่งจน ทุกคนก็เลยแย่ลงๆ ฉะนั้น ความจนเหล่านี้มันก็โยงไปถึงความแตกแยกของเขา อาตมาก็เลยเอาเศษเงินบุญมาทดลอง ขยันหาแล้วเอามารักษาร่วมกัน พอสิ้นเดือนก็เอามาฝากร่วมกัน เพื่อเอาเงินนี้มาเชื่อมความแตกแยก เพราะตอนนี้ไม้แตกก็มีกาวจับ เหล็กแตกก็มีตัวเชื่อม กระเบื้องแตกก็ มีกาวจับ แล้วคนแตกจะเอาอะไรมาจับ จะเทศน์เรือ่ งรูร้ กั สามัคคีเท่าไร ก็ไม่มีใครฟัง พูดเรื่องสมานฉันท์เท่าไรก็ไม่มีใครเชื่อ มันจึงต้องมีกาว มีผลประโยชน์ หลักพุทธศาสนาบอกว่าต้องมีเหยือ่ มาล่อ เรียกว่าอามิส แล้วทุกคนก็มาตอมเหยื่อ พอติดเบ็ด เราจะจูงไปที่ไหนก็อยู่ที่เรา พอเข้ามาติด เราก็ค่อยๆ ใส่อะไรเข้าไป ให้คนมารวมกัน เพราะเมื่อก่อนต่างคนต่างอยู่ ต่างคนต่างไป วัฒนธรรมถูกทําลาย หมด จากคนที่เคยเกี่ยวข้าว ถางป่า ทํานาโดยไม่ต้องใช้เงิน แต่ตอนนี้ ต้องใช้เงินทุกรูปแบบ คนรวยก็ซื้อเครื่องจักรมากขึ้น คนจนก็จ้างเขา มากขึ้น ต้นทุนก็สูงขึ้นๆ และตนเองก็จนลงๆ ในที่สุดก็ถูกยึดบ้าน ยึดนา ยึดสวน ความแตกแยกและความยากจนก็ลุกลามมากขึ้นๆ เศรษฐศาสตร์จะจัดการอย่างไรให้อยู่ดีมีสุขร่วมกันได้ อาตมาเป็นพระ เป็นสายกลาง ไม่ใช่สายเหลืองหรือสายแดง ถึงอย่างไรเราก็เกิด แก่ เจ็บ ตาย ร่วมกัน เกิดมาต้องมีปัจจัยสี่เหมือน กัน ต้องอยูใ่ นสภาพเดียวกัน มาช่วยกันได้ไหม ไม่ใช่ทาํ บุญกันแต่ตอน ตายอย่างเดียว ทาํ บุญกันตอนเป็นบ้าง ใครขัดสนทุกข์ยากก็มาช่วยกัน แก้ปัญหา ใช้เงินเหล่านี้เป็นสื่อ และสร้างกัลยาณมิตรไปพร้อมๆ กัน การกู้เงิน ถ้าเป็นกลุ่มของครูชบ ไม่ต้องมีหนังสือคํ้าประกัน แต่ อ าตมาจะทํ า อย่ า งนั้ น ไม่ ไ ด้ ต้ อ งมี สั ญ ญาสั ก หน่ อ ย ต้ อ งมี ค น - 78 60

.indd 78

3/3/2554 16:02:28


พระสุบิน ปณีโต, ครูชบ ยอดแก้ว |

คํ้าประกันสักหน่อย เพราะอาตมาดูแล้วว่า วันนี้คนที่จะกู้เงินเดินกัน มา 3 คน มันไม่พูดกันเลย เราจะทําให้มันพูดกันได้อย่างไร ก็ต้อง คํ้าประกันกัน ฉะนั้น ใครจะกู้ ต้องหาคนมาคํ้าประกันอีก 2 คน มัน อยากได้เงินพร้อมกัน มันเลยต้องมาคุยกัน พอคุยกัน เดี๋ยวก็เริ่มดี ลืม เรื่องแตกร้าวต่างๆ เขาเรียกว่าหาตัวเชื่อม เพราะมันมีผลประโยชน์ ร่วมกัน มันก็ค่อยๆ แก้ความแตกแยกต่างคนต่างไป เลือกตั้งแต่ละที กว่าจะกลับมาคืนดีกันได้ ใช้เวลานานมาก แต่หากใช้วิธีนี้ มันก็ต้อง มาทุกเดือน ปัญหาต่างๆ ก็ลืมได้เร็วขึ้น กลายเป็นการค่อยๆ สร้าง กัลยาณมิตร มีเงินเข้ามาเป็นตัวล่อ มีสวัสดิการเป็นตัวล่อ เอื้ออาทร ต่อกันเท่าที่จะเป็นไปได้ การจะทําให้ชุมชนเข้มแข็งและยั่งยืน ก็คือหลักธรรมะเรื่อง หัวใจเศรษฐีข้อที่สี่ หัวใจของความเป็นเศรษฐีต้องใส่ล้อที่สี่ด้วย อย่า ใส่แค่ 3 ล้อ ไปไม่รอด ล้อที่สี่คือสมชีวิตา ซึ่งเราเอามาใช้ในเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง ถามว่าเศรษฐกิจพอเพียง เราเอาอะไรเป็นตัววัด รถมีเกจ์วัดความเร็วใช่ไหม ความดันหัวใจมีเครื่องวัด ไข้มีเครื่องวัด กิ น ข้ า วมี เ ครื่ อ งวั ด ตั ด เสื้ อ ผ้ า มี เ ครื่ อ งวั ด แล้ ว เศรษฐกิ จ พอเพี ย ง เอาอะไรมาวัด มีดอกเตอร์คนหนึ่งบอกว่า ให้แบ่งที่ดินเป็น 4 ส่วน ทํานาส่วนหนึ่ง ขุดสระส่วนหนึ่ง ทําสวนส่วนหนึ่ง ปลูกบ้านส่วนหนึ่ง อาตมาถามว่า ถ้าคนมีรถเข็นคันเดียวจะแบ่ง 4 ส่วนอย่างไร ตอบ ไม่ได้ นี่ไม่ได้ดูถูกนะ คือคนที่ไม่มีที่ดินจะแบ่ง 4 ส่วนอย่างไร บ้านก็ ต้องเช่า มีรถเข็นหากินไปวันๆ จะแบ่ง 4 ส่วนอย่างไร แสดงว่าหลัก ธรรมะไม่ได้เอาวัตถุเป็นตัวตั้ง แต่เอาพฤติกรรม ความรู้สึก และความ เป็นจริง เป็นตัวตั้ง คํ า ว่ า “เศรษฐกิ จ พอเพี ย ง” ตามหลั ก พุ ท ธศาสนานั้ น พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีมาก ท่านตรัสว่า ได้ทรัพย์มาให้แบ่งเป็น 4 ส่วน ถ้าใครไม่อยากยากจน ให้แบ่งทรัพย์สมบัติตามนี้ ส่วนที่หนึ่ง นํามา กินมาใช้ เลี้ยงตัวเองและครอบครัวให้เกิดสุข ส่วนที่สอง นํามาลงทุน - 79 60

.indd 79

3/3/2554 16:02:28


| การเงินชุมชน เศรษฐศาสตร์ชุมชน

อย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อหากําไร ส่วนที่สาม เสียภาษีและเพื่อการกุศล ส่วนที่สี่ เก็บไว้ยามมีภัยพิบัติหรือยามแก่ชรา มีปัญหาเกิดขึ้นจะได้ นำ�มาใช้ได้ทันท่วงที แต่สังคมยังก้าวไปไม่ถึงเศรษฐศาสตร์แบบพุทธ อาตมาเห็นว่าสอนเท่าไรก็ไปไม่ถึง จึงต้องใช้กระบวนการทางสังคม เข้ามาแก้ เพราะทําคนเดียวไม่ได้ พูดคนเดียวไม่ได้ มันข่มใจไม่ได้ ก็ ต้ อ งเข้ า สู่ ก ระบวนการทางสั ง คมที่ ต้ อ งอิ ง กั น ไว้ ฉะนั้ น ก็ รู้ สึ ก ว่ า เราใช้สิทธิ์คนเดียวไม่ได้ มันต้องใช้กระบวนการเข้ามา เพื่อจัดการ เศรษฐศาสตร์เหล่านี้ให้เป็นรูปธรรมให้ได้ ส่ ว นเป้ า หมายท้า ยที่สุด ของสมชีวิตาก็คือ เลี้ยงชีวิตตาม สมควรแก่กําลังทรัพย์ ต้องจัดระบบให้ได้ ตอนนี้ก็พยายามจัดระบบ อยู่ อาตมาพยายามพูดแล้วพูดอีก ในหมู่บ้านก็พยายามทํากันอยู่ แต่กระบวนการการศึกษายังไม่ให้ความสําคัญกับเรื่องสมชีวิตาหรือ เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ ทีนี้ถามว่าเอาอะไรเป็นตัววัด อาตมาถามว่า ถ้าธนาคารไม่มี บัญชี จะเจ๊งไหม เจ๊ง ถ้าห้างร้านใหญ่ๆ ไม่มีบัญชี จะเจ๊งไหม เจ๊ง ถ้าสหกรณ์ใหญ่ๆ ไม่มีบัญชี จะเจ๊งไหม เจ๊ง แล้วถ้าครอบครัวไม่มี บัญชี จะเจ๊งไหม เพราะฉะนั้น ตอนนี้คนไทยห่างไกลพุทธศาสนามาก ขึ้น เมื่อถามเรื่องของผู้อื่น รู้หมด แต่พอถามเรื่องของตนเอง ไม่รู้เลย อย่างนีเ้ ขาเรียกว่ายิง่ เรียนยิง่ ไกลตัวเอง ยิง่ เรียนยิง่ ห่างตัวเอง ยิง่ เรียน ยิ่งไม่รู้จักตัวเอง ถ้าเราจะแก้เศรษฐศาสตร์ จะเริม่ ต้นทีใ่ คร ทีค่ รูชบบอกว่าต้อง แก้ที่ตัวเองก่อน พุทธศาสนาก็บอกว่าตนเป็นที่พึ่งแห่งตน แต่เรา เรียนแล้วกลับยิ่งห่างไกลออกไปเรื่อยๆ การจัดการกับเศรษฐศาสตร์ ก็ยิ่งห่างไกลกับตัวเองมากขึ้น เพราะคนไม่มีข้อมูลของตัวเองเลย ที่เราอุตส่าห์เรียนมาทั้งหมด 10 ปี 20 ปี หมดเงินไปหลายแสน โดย ไม่ทราบว่าที่เราเรียนมาทั้งหมด เราเรียนมาเพื่อใคร เรียนมาเพื่อ - 80 60

.indd 80

3/3/2554 16:02:28


พระสุบิน ปณีโต, ครูชบ ยอดแก้ว |

ตัวเองหรือ แล้วเราเอาเงินของใครไปเรียน ก็เงินของพ่อแม่ อย่างนี้ เห็นแก่ตัวไหม ขอถามต่ออีกนิดหนึ่งว่า ตอนที่ไม่สบาย เจ็บป่วยเป็นไข้ เราไปหาหมอ ใครเป็นคนบันทึกประวัติคนไข้ หมอบ้าง พยาบาลบ้าง ใช่ไหม พอผ่านไป 3 ปี ไม่สบายอีก กลับไปหาหมอใหม่ ใครต้องไป เปิดแฟ้มคนไข้ หมอใช่ไหม ตกลงถ้าเราอยากรู้เรื่องของเรา เราต้อง ไปถามใคร อาตมาขอฝากเป็นมุมมองไว้ เราเรียนเรื่องของตัวเอง แต่เรากลับไม่รู้เรื่องของตัวเองเลย เราป่วยตอนนี้ แทนที่เราจะบันทึกไว้ว่าเราป่วยเป็นโรคอะไร เรากิน ยาอะไร เราแพ้ยาอะไร เราบอกกับหมอได้ทันที แต่เรากลับต้องไป ถามหมอ หากหมอคนนั้นตายไป เราจะไปถามใคร ที่ เ ราเรี ย นมาทั้ ง หมด เราเรี ย นเพื่ อ ต้ อ งการพึ่ ง พาตนเอง ต้องการรู้จักตนเอง ต้องการจัดการตนเอง ดังนั้น หลักเศรษฐศาสตร์ ตามความเป็นจริงของพุทธต้องเริ่มที่ตนเอง ต้องรู้ข้อมูลของตนเอง ก่อน สังคมเราในเวลานี้ไม่รู้ข้อมูลของตนเองเลย เมื่อไม่รู้ก็แก้ปัญหา ไม่ได้ การบันทึกข้อมูลของตนเองก็เหมือนกับการทําข้อมูลให้กับ ตัวเอง เหมือนกับเราทําวิจัย เราต้องไปเก็บข้อมูล แต่ข้อมูลนั้นไม่ใช่ ข้อมูลของเรา เราทํ าเรื่องของคนอื่นเพื่อที่จะเอาประกาศนียบัตร ใบเดียว แต่การจะบรรลุเป้าหมายของชีวิตหรือไม่ มันไม่ใช่กระดาษ แผ่นนั้น เราจะเอากระดาษแผ่นนั้นไปสอนลูกก็ไม่ได้ เพราะเราไม่รู้ ว่าการค้ามันล้มเหลวเพราะอะไร มันยากจนเพราะอะไร มันผิดพลาด เพราะอะไร วิทยานิพนธ์ไม่สามารถบอกอะไรกับชีวิตได้เลย ฉะนั้น นักวิทยาศาสตร์จงึ ต้องเก็บข้อมูลอย่างต่อเนือ่ ง เพือ่ ทีว่ า่ ถ้าคนเก่าตาย ไป คนต่อไปก็มาทําต่อจากข้อมูลเก่า จนบรรลุเป้าหมายในแต่ละเรื่อง ที่ตอนนี้เราไม่บรรลุเป้าหมายตามเศรษฐศาสตร์ เพราะเราห่างไกล ตัวเอง ทิ้งข้อมูลของตัวเอง ไม่เริ่มต้นจัดการจากตัวเอง - 81 60

.indd 81

3/3/2554 16:02:28


| การเงินชุมชน เศรษฐศาสตร์ชุมชน

โยงไปอีกนิดหนึ่ง อาตมาอยากถามเป็นมุมมองไว้ว่า หลัก ธรรมะต้องพูดให้ใกล้ตัวที่สุด ไม่ใช่พูดให้ไกลตัวที่สุด จนกระทั่งไป โลกไหนก็ไม่รู้ พิสูจน์ไม่ได้ กลายเป็นพูดเรื่องที่ห่างไกลตัวเอง โดย หลักความเป็นจริง พระพุทธเจ้าสอนว่าตนเป็นที่พึ่งแห่งตน แต่เรา ลืมตัว หากให้โยมเลือกระหว่างหายใจเองกับเอาออกซิเจนมาให้ โยม จะเลือกอย่างไหน เห็นไหม ธรรมชาติต้องการหายใจเองใช่ไหม โยม กินข้าว บางทีเศษอาหารติดฟัน ก้างแทงเหงือก หรือข้าวติดคอ ต้อง แยงเหงือก บางทีแยงจนเลือดออก ลําบากมากเลย ให้โยมเลือกเอา สักอย่าง ระหว่างเคี้ยวเองกับเอาใส่เครื่องปั่นแล้วเอามาฉีด จะเลือก อย่างไหน (ผู้ฟังตอบว่าเคี้ยวเอง) เดี๋ยวติดเหงือกติดฟันอีกนะ ทําไม ไม่เลือกอย่างปั่น แสดงว่าธรรมชาติไม่ต้องการใช่ไหม ใจไม่ต้องการ ความรู้สึกไม่ต้องการ เรามีความรู้สึกว่าต้องการพึ่งพาตนเอง แต่เรา ก็ไม่พยายามทาํ เพือ่ ตัวเอง ฉะนัน้ ระบบการจัดการก็ยงิ่ ยุง่ ยากมากขึน้ อีกสักตัวอย่างหนึ่ง ถ้าโยมเดิน โยมก็จะเมื่อย เมื่อยก็ต้องนั่ง โยมมีทางเลือกคือโยมนั่งรถเข็นไปเรื่อยๆ ให้เลือกเอาสักทาง จะเดิน เองหรือจะนั่งรถเข็น โยมเลือกเดินใช่ไหม แสดงว่าธรรมชาติต้องการ พึง่ พาตนเอง เพราะฉะนัน้ การจัดการเศรษฐศาสตร์ให้บรรลุเป้าหมาย ต้องเริ่มต้นที่ตัวเรา ต้องมองตัวเองให้ออก จัดการตัวเองให้ได้ คิดขบ ปัญหาจากข้อมูลทั้งหมดที่ตัวเองบันทึก เอาปัญหามาวิเคราะห์ให้ได้ ก็จะเดินไปสู่ความยั่งยืนได้ อาตมาทดลองจากชุมชน แก้ปญ ั หาความแตกแยก แก้ปญ ั หา ความยากจน ทำ�ให้เขามีสวัสดิการทีย่ งั่ ยืน ด้วยการเอาเศษเงินมาออม รวมกัน ทดลองทาํ แล้วก็โยงไปสูส่ งิ่ แวดล้อม ตอนนีก้ พ็ ยายามปลูกป่า กันมากขึ้น อาตมาก็ทดลองทําเล่นๆ จากเศษเงิน ใครเอามาฝากเกิน 500 บาทไม่รับ ถ้าเกิน 500 บาทเอาไปฝากธนาคารเอง ที่นี่ไม่รับ - 82 60

.indd 82

3/3/2554 16:02:28


พระสุบิน ปณีโต, ครูชบ ยอดแก้ว |

ฉะนั้น จากเงินประมาณ 2,000 กว่าบาท ผ่านมา 19 ปี มีเงินทั้งหมด 900 กว่าล้านบาท จากเศษเงินล้วนๆ เลย เงินโตปีละ 200 กว่าล้าน บาทต่อปี ในเขตจังหวัดตราด สวัสดิการโตปีละกว่า 100 ล้านบาท โดยตัวของมันเอง โดยที่ภาครัฐไม่ได้สมทบเลย ชาวบ้านเขาสอนวิธี บริหารจัดการสวัสดิการกันเอง เลี้ยงตัวเอง เหมือนกับต้นไม้ที่ทิ้งใบ ทิ้งดอก ทิ้งผล มาเลี้ยงตัวเอง อาตมาเล่าโยงธรรมะเพื่อให้เห็นภาพประสบการณ์ความเป็น จริงอิงพุทธศาสนา และเพื่อให้เห็นภาพของการจัดการเศรษฐศาสตร์ สู่ความยั่งยืน อาตมาขอเจริญพรเพียงเท่านี้

- 83 60

.indd 83

3/3/2554 16:02:28


| การเงินชุมชน เศรษฐศาสตร์ชุมชน

ประวัติปาฐก พระสุบิน ปณีโต อุปสมบทที่วัดบางปรือ อำ�เภอเมือง จังหวัดตราด ศึกษาจนสอบได้นักธรรมศึกษาชั้นเอก จากนั้นจึงเดินทางไปศึกษาธรรมะที่ สวนโมกขพลาราม อำ�เภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี และออกธุดงค์แสวงหา ความรู้ สะสมประสบการณ์ จนเกิ ด แนวคิ ด ในการใช้ ก ลุ่ ม ออมทรั พ ย์ เ ป็ น เครื่องมือสอนธรรมะ โดยนำ�มาประยุกต์กับหลักธรรมคำ�สอน จนสามารถตั้งเป็น กลุ่มออมทรัพย์ที่บ้านเกาะขวาง ตำ�บลห้วยแร้ง อำ�เภอเมือง จังหวัดตราด เป็น กลุ่มแรก เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2543 จากนั้นจึงขยายกลุ่มจนครอบคลุม เกือบทั่วทั้งจังหวัดตราดและจังหวัดอื่นๆ ในนามของกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์เพื่อ พัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต ปัจจุบัน พระสุบินจำ�พรรษาอยู่ที่วัดไผ่ล้อม อำ�เภอเมือง จังหวัดตราด โดยเป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้ ให้คำ�ปรึกษา กำ�กับดูแล และติดตามการดำ�เนิน งานของกลุม่ สัจจะสะสมทรัพย์เพือ่ พัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวติ ในจังหวัดตราด ทุกกลุ่ม ตลอดจนเป็นที่ปรึกษาการจัดตั้งกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ให้แก่หน่วยงาน ต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน และชุมชนทั่วประเทศ

- 84 60

.indd 84

3/3/2554 16:02:28


พระสุบิน ปณีโต, ครูชบ ยอดแก้ว |

ประวัติปาฐก ครูชบ ยอดแก้ว จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากวิทยาลัยครูสงขลา และเข้ารับราชการในตำ�แหน่งครูผู้สอนในโรงเรียนประถมศึกษา ก่อนจะได้รับ ตำ�แหน่งครูใหญ่โรงเรียนวัดนํ้าขาว อำ�เภอจะนะ จังหวัดสงขลา ในปี พ.ศ. 2521 ซึ่งท่านปฏิบัติหน้าที่นี้จนเกษียณอายุราชการ ครูชบได้ด�ำ เนินโครงการพัฒนาต่างๆ หลากหลายโครงการ โดยเฉพาะ โครงการออมทรัพย์ ซึ่งกลายเป็นต้นแบบของแนวคิดในการจัดตั้งกลุ่มสัจจะ ออมทรัพย์ และขยายผลไปสู่การสร้างระบบสวัสดิการชุมชน อันเป็นแบบอย่าง ให้กับกลุ่มออมทรัพย์ทั่วประเทศ ปัจจุบนั ครูชบดำ�รงตำ�แหน่งประธานมูลนิธิ ดร.ครูชบ-ปราณี ยอดแก้ว ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางที่ทำ�หน้าที่ดำ�เนินงานเผยแพร่และจัดตั้งกลุ่มสัจจะลด รายจ่ายวันละ 1 บาทสำ�หรับภาคประชาชน

- 85 60

.indd 85

3/3/2554 16:02:28


| ศาสนาในสังคมไทยปัจจุบัน

ศาสนาในสังคมไทยปัจจุบัน

ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2552

- 86 60

.indd 86

3/3/2554 16:02:28


ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ |

เรื่องของศาสนาในสังคมไทยสมัยใหม่หรือสังคมไทยปัจจุบันนั้นมีผู้ ศึกษามากพอสมควร ทั้งนักวิชาการไทยและต่างประเทศ โดยเฉพาะ พระพุทธศาสนา งานศึกษาชิ้นนี้ก็ได้อาศัยงานที่ผู้อื่นได้ทํามาแล้ว นั่นเอง อย่างไรก็ตาม ในงานศึกษาที่ผ่านมาดูเหมือนผู้ศึกษาจะแยก ความเคลือ่ นไหวทางศาสนาในสังคมไทยปัจจุบนั ออกเป็นสองประเภท คือประเภททีส่ ามารถอ้างคัมภีรศ์ าสนาได้ กับประเภททีไ่ ม่ได้อา้ งคัมภีร์ ฉะนั้น ความเคลื่อนไหวทางศาสนาที่มีศูนย์กลางอยู่ที่คําสอนของ ท่านพุทธทาสภิกขุ ธรรมกาย หรือสันติอโศก จึงมักไม่ได้ถูกพิจารณา ร่วมกันไปกับการทรงเจ้าเข้าผีหรือลัทธิพิธีต่างๆ ซึ่งงอกงามขึ้นเป็น จํานวนมากในปัจจุบัน ในงานศึ ก ษาชิ้ น นี้ จ ะถื อ ว่ า ความเคลื่ อ นไหวทางศาสนาที่ สามารถอ้ า งคั ม ภี ร์ ไ ด้ กั บ ขบวนการอื่ น ๆ ที่ ไ ม่ ส นใจจะอ้ า งคั ม ภี ร์ ล้วนเป็นความเคลื่อนไหวทางศาสนาซึ่งเกิดขึ้นในสังคมไทยปัจจุบัน อย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพราะล้วนเป็นการตอบสนองต่อความ เปลีย่ นแปลงทางเศรษฐกิจ-สังคมซึง่ เกิดขึน้ ในสังคมไทยอย่างต่อเนือ่ ง มากว่าศตวรรษ และในที่นี้ขอเรียกความเปลี่ยนแปลงนี้อย่างกว้างๆ - 87 60

.indd 87

3/3/2554 16:02:28


| ศาสนาในสังคมไทยปัจจุบัน

ว่า “ความทันสมัย” นอกจากนี้ ความเคลื่อนไหวทางศาสนาที่ไม่สนใจ จะอ้างคัมภีร์ ไม่ว่าจะเป็นการทรงเจ้าเข้าผีหรือลัทธิพิธีอีกหลายอย่าง ก็ล้วนเป็นที่นับถือของคนที่รู้สึกตัวว่าเป็นชาวพุทธทั้งสิ้น ในที่นี้เราสนใจศาสนาในฐานะระบบความเชื่อที่มีพิธีกรรม ชุดคําสอน และโลกทรรศน์กบั อภิปรัชญา ฯลฯ อย่างหนึ่ง ซึง่ มีอทิ ธิพล ต่อพฤติกรรมของคนในสังคมอย่างยิ่ง ว่าได้ปรับเปลี่ยนไปตามความ เปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างไร มากกว่าการเจาะจงดู พัฒนาการของพุทธศาสนาในสังคมไทย อันที่จริง แม้ในหมู่ชาวไทย ที่นับถือศาสนาอิสลามและคริสต์ศาสนา ก็คงได้ปรับระบบความเชื่อ ของตนเพื่อเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกับชาวไทยที่นับถือ พุทธศาสนา เพียงแต่ว่ายังมีผู้สนใจศึกษาศาสนิกของทั้งสองศาสนา น้ อ ย จึ ง ไม่ อ าจรวมเข้ า ในงานชิ้ น นี้ ไ ด้ คงต้ อ งจํ า กั ด อยู่ เ ฉพาะกั บ ชาวไทยที่อ้างว่านับถือพุทธศาสนาหรือร่วมในพิธีกรรมที่สัมพันธ์โดย ทางใดทางหนึ่งกับพุทธศาสนาเท่านั้น ศาสนาไทยก่อนการปฏิรูปคณะสงฆ์ นักวิชาการทั้งไทยและเทศจํานวนมากมักเสนอภาพของ ศาสนาในเมืองไทยว่าประกอบด้วยความเชื่ออันมีแหล่งที่มาหลาก หลาย เช่น ศาสนาผี พราหมณ์ และพุทธ โดยสรุปว่าแม้จะมีความ หลากหลายเช่นนี้ แต่ทุกความเชื่อต่างก็ถูกพุทธศาสนาโอบล้อมไว้ ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ มีการผสมปนเปกัน ระหว่างลัทธิความเชื่อต่างๆ แต่ก็เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพราะทุก ศาสนาต่างยอมรับหลักการสาํ คัญของพุทธศาสนา (หลักธรรมและศีล) และมักจะยกคํากล่าวซึ่งเชื่อกันว่ามีมาแต่โบราณ ที่ว่า “พุทธกับไสย เป็นของคู่กัน” ขึ้นมาเป็นพยาน - 88 60

.indd 88

3/3/2554 16:02:28


ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ |

ข้อสรุปดังกล่าวน่าสงสัยว่าเกิดขึ้นหลังการปฏิรูปคณะสงฆ์ ในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อรัฐไทยพยายามจะสถาปนาพุทธศาสนาที่เป็น ทางการขึ้น และพยายามทั้งบังคับและกล่อมเกลาให้ระบบความเชื่อ ต่างๆ ลงรอยกับพุทธศาสนาที่เป็นทางการทั้งหมด ทั้งนี้เนื่องจาก หลักฐานทีพ่ อมีอยูท่ งั้ หมดล้วนส่อให้เห็นว่าการผสมกลมกลืน (syncretism) ทางศาสนามิใช่จดุ เด่นของศาสนาไทยโบราณ ความหลากหลาย ของความเชื่อและแบบปฏิบัติทางศาสนาที่แตกต่างกันอาจดํารงอยู่ ร่วมกัน โดยไม่มีฝ่ายใด “กลืน” ศาสนาอื่นให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ความสัมพันธ์ระหว่างลัทธิความเชื่อต่างๆ มีลักษณะตั้งประชิดกัน (juxtaposition) โดยที่ไม่ได้ขัดแย้งกันเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็มีกรณีที่เห็น ได้ชัดว่าขัดแย้งกันด้วย ดังจะยกตัวอย่างความเชื่อเรื่องผีกับพุทธ โดยทั่ ว ๆ ไป ความเชื่ อ เรื่ อ งผี ไ ม่ ถึ ง กั บ คั ด ค้ า นต่ อ ต้ า น พุทธศาสนาโดยตรง แต่ก็มีกรณียกเว้นเพราะเงื่อนไขเฉพาะตนหรือ เฉพาะท้องถิ่นปรากฏให้เห็นด้วย ในปี พ.ศ. 2464 เมื่อหลวงปู่แหวน เดินทางจากอุดรธานีไปยังโคราช ท่านเล่าว่าเดินทางผ่านหมูบ่ า้ นต่างๆ แม้แต่ละแห่งจะมีวัด แต่การนับถือผีก็ยังเป็นศาสนาเด่นอยู่นั่นเอง แต่ละหมู่บ้านมีศาลผีปู่ตา ชาวบ้านจะทําพิธีบูชาบัดพลีใหญ่ปีละครั้ง และแต่ละคน แต่ละครอบครัว หรือแต่ละกลุ่ม ก็ยังอาจทําพิธีบูชาได้ อีกเมื่อประสบปัญหา เช่น สัตว์เลี้ยงหรือสมาชิกในครอบครัวเจ็บป่วย (Kamala, 1997: 202) หลวงปู่เทศก์ก็มีประสบการณ์อย่างเดียวกัน ซาํ้ ท่านยังได้เคยเผชิญหน้ากับหมอผีซงึ่ มีอทิ ธิพลในหมูบ่ า้ นด้วย ตาม คําให้การของเมียหมอผีผู้นี้ ได้เรียนหลวงปู่ว่า สามีถือตัวว่ามีฤทธิ์ยิ่ง กว่าเจ้าอาวาสวัดในหมู่บ้าน จึงไม่ยอมไหว้พระ และทุกครั้งที่ผ่านวัด ก็จะยกเท้าใส่ แทนที่จะยกมือไหว้ (Kamala,1997: 206-7) ชาวบ้าน นับถือและเกรงกลัวผีอย่างมาก และอาจจะมากกว่าพระรัตนตรัย เสียอีก อาจารย์มั่นและศิษย์ต้องทําให้ชาวบ้านมั่นใจว่า หากนับถือ - 89 60

.indd 89

3/3/2554 16:02:28


| ศาสนาในสังคมไทยปัจจุบัน

พระรัตนตรัยแล้ว จะได้รับความปลอดภัยจากผี เพราะที่จริงแล้ว การ นับถือผีมีพิธีกรรมยุ่งยาก ซึ่งสิ้นเปลืองกว่าการนับถือพระรัตนตรัย อย่างมาก (Kamala, 1997: 209) เรื่องนี้สอดคล้องกับที่ได้พบในกัมพูชา หมอผีในกัมพูชามี สองประเภท ประเภทหนึง่ เรียกว่า “ครู” เป็นหมอผีทอี่ งิ กับพุทธศาสนา เช่ น เข้ า ทรงแม่ พ ระธรณี (ตามที่ มี ใ นพุ ท ธประวั ติ ) เพื่ อ ขอความ ช่วยเหลือ อีกประเภทหนึ่งเรียกว่า “ถมบ” ไม่อิงกับพุทธ ตรงกับที่ เขมรเรียกว่า “ไสยดํา” หรือไสยศาสตร์ฝ่ายซ้าย อาจทําอันตรายผู้คน ได้ เช่น เสกอาวุธเข้าท้อง บางกรณี “ถมบ” บางคนเป็นศัตรูกับพุทธ อย่างออกหน้า เช่น ไม่เข้าไปในเขตที่ทําสังฆกรรมของวัด หรือไม่ไหว้ พระพุทธรูป เป็นต้น (Harris, 2006: 60)1 อันที่จริง เพิ่งในสมัยใหม่นี้เองที่ศาสนาในโลกตะวันออกถูก สร้างพรมแดนที่ชัดเจนแน่นอนขึ้น เพราะได้รับอิทธิพลจากศาสนา ของโลกตะวันตกซึ่งมีการปะทะกันของความเชื่อมานาน จนทําให้ ต้องกําหนดอย่างชัดเจนว่าจะต้องเชื่อหรือปฏิบัติอะไรจึงจะถือว่าเป็น ศาสนิกของศาสนาหนึ่งๆ ซึ่งในที่นี้หมายถึงการปฏิบัติในชีวิตจริง ของผู้คน ไม่ได้หมายถึงตัวคัมภีร์ศาสนาซึ่งอาจกําหนดความเชื่อและ แบบปฏิบัติตายตัวไว้แล้ว ดังเช่นศาสนาอิสลาม แต่ในการปฏิบัติจริง ของชาวมุสลิมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สมัยโบราณ ก็มีทั้งความ เชื่อหรือการปฏิบัติที่ไม่สอดคล้องกับคําสอนของอิสลามมากมาย โดย ชาวมุสลิมเหล่านั้นไม่ได้รู้สึกว่าตนกําลังฝ่าฝืนคําสอนทางศาสนาแต่ จอห์น คลิฟฟอร์ด โฮลต์ (John Clifford Holt) ศึกษาศาสนาในลาว และเห็นว่าที่จริง แล้ว ศาสนาผีคาํ้ จุนอำ�นาจของผูป้ กครอง “เมือง” และท้องถิน่ ทีเ่ ล็กลงไปกว่านัน้ ในขณะ ที่พุทธศาสนาคํ้าจุนอำ�นาจของผู้ปกครอง “มณฑล” ซึ่งหมายถึงราชอาณาจักรที่รวม เอาท้องถิ่นทั้งหมดไว้ในอำ�นาจ ความขัดแย้งระหว่างสองศาสนาจึงดำ�รงอยู่ตามความ ขัดแย้งทางการเมืองระหว่างท้องถิ่นกับศูนย์กลาง และยังดำ�รงอยู่สืบมาจนถึงปัจจุบัน (ดู Holt, 2009, บทที่ 1 และ 5) 1

- 90 60

.indd 90

3/3/2554 16:02:28


ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ |

อย่างใด มุสลิมชาวสตูลในสมัยก่อนยังจําได้ว่าบรรพบุรุษของตนเคย นับถือพุทธ ฉะนั้น เมื่อมีลูกหลานเจ็บป่วยหรือหายจากการเจ็บป่วย หนัก ก็อาจส่งไปบวชเป็นเณร พระ หรือชี ในวัดพุทธ เพื่อ “แก้บน” แก่ ผีบรรพบุรุษ (Jerryson, 2009: 35) แล้วก็กลับมา “เข้าแขก” (masuk yawi) ได้เป็นปรกติ ศาสนาที่ ไ ม่ มี พ รมแดนอั น ชั ดเจนแน่น อนเช่น นี้ แหละ คือ ศาสนาที่นับถือและปฏิบัติในชีวิตจริงของคนไทยมาแต่โบราณ เป็น ระบบความเชื่อที่ตั้งอยู่ร่วมกัน โดยกลมกลืนกันบ้าง ขัดแย้งกันบ้าง แต่คนส่วนใหญ่ก็ไม่รู้สึกว่าเป็นระบบความเชื่อที่ไปด้วยกันไม่ได้ หรือ ต้องให้ระบบความเชื่อใดเป็นหลักเป็นรอง อันที่จริง ไม่มีคํา ว่า religion ในภาษาตะวันออกมาก่อน ญี่ปุ่นสร้างคํานี้ด้วยอักษรจีนว่า shukyo ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 จีน นํามาใช้ต่อมาว่า zongjiao และเวียดนามใช้ตามจีนว่า ton giao ทั้งนี้ เพราะระบบความเชื่อของโลกตะวันออกย่อมคละเคล้าระหว่างความ เชื่อต่างๆ จนแยกไม่ออก (Dror, 2006: 4) ในภาษาบาลี “ศาสนา” หมายถึงคําสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น ไม่รวมลัทธิ ความเชื่ออื่นใด และไม่รวมพิธีกรรม วัตถุเคารพบูชา โลกภูมิ ระเบียบ ทางสังคม ฯลฯ อันเป็นคุณสมบัติของ religion ตามที่เราเข้าใจใน ปัจจุบนั ภาษาไทยใช้ในความหมายนีส้ บื มา ดังทีเ่ รียกว่า “พระศาสนา” ซึ่งไม่ได้หมายถึงศาสนาอื่น นอกจากพุทธ ไทยขยายความหมายของ คาํ นีใ้ ห้กลายเป็นระบบความเชือ่ ทุกอย่าง เพือ่ ให้ตรงกับคําว่า religion ในภาษาตะวันตกในภายหลัง ดังนัน้ คนไทยโบราณจึงไม่ได้รสู้ กึ ว่าตน นับถือ “ศาสนา” ผีควบคู่กันไปกับ “ศาสนา” พุทธ และไม่ได้รู้สึกว่าได้ ผสมกลมกลืน (syncretization) ผีเข้ามาในพุทธ เพราะความคิดเรื่อง การผสมกลมกลืนทางศาสนาเช่นนี้จะมีขึ้นได้ ก็ต้องมีความคิดว่ามี “ศาสนา” หรือ religion แบบฝรั่งขึ้นก่อน - 91 60

.indd 91

3/3/2554 16:02:28


| ศาสนาในสังคมไทยปัจจุบัน

และด้วยท่าทีเช่นนีแ้ หละทีท่ าํ ให้ชาวมุสลิมในภาคใต้ตอนล่าง ในสมัยโบราณสามารถเข้ามาใช้ประโยชน์จากพืน้ ทีข่ องวัด ซึง่ หากมอง ในปัจจุบันก็เป็นศาสนสถานของพุทธ ร่วมกับชาวพุทธได้ เช่น ใช้ใน การฉลองของชุมชนร่วมกัน เป็นต้น เพียงแต่ไม่ร่วมในพิธีกรรมทาง ศาสนาของวัดเท่านั้น เพราะพื้นที่ของวัดเป็นพื้นที่กลางของชุมชน ไม่เกี่ยวกับ “ศาสนา” เพียงอย่างเดียว ฉะนั้น เมื่อพูดถึง “ศาสนา” ของไทยแต่โบราณ ลักษณะเด่น สําคัญซึ่งควรยํ้าไว้ก็คือความหลากหลาย นับตั้งแต่ความเชื่อและแบบ ปฏิบัติทางศาสนาที่หลากหลาย ที่เรียกว่าศาสนาผีก็มีความหลาก หลาย โดยผีในแต่ละท้องถิ่นย่อมแตกต่างกัน แม้แต่ในท้องถิ่นเดียว ก็มีผีหลายประเภท ผีในที่ศักดิ์สิทธิ์ (เช่น ขุนนํ้า ช่องเขาที่เป็นด่าน ยอดเขา ฯลฯ) ก็เป็นผีที่ต่างตนกัน มีแบบปฏิบัติเพื่อบูชาไม่เหมือน กัน ด้วยเหตุดังนั้นจึงมี “นักบวช” (หมอผี คนทรง ผู้เสกเป่า ฯลฯ) ที่แตกต่างกันด้วย แม้แต่ที่จัดว่าเป็นพุทธศาสนาในปัจจุบันก็มีความ หลากหลายเช่นเดียวกัน แต่ละ “สํานัก” อาจารย์ก็ตีความพระวินัย ไม่ตรงกันนัก อีกทัง้ ยังต้องคล้อยตามความจําเป็นในท้องถิน่ ของแต่ละ วัด วัตรปฏิบัติของพระสงฆ์จึงไม่ได้ลงรอยเดียวกันทั้งหมด ดังที่อาจ พบได้ในปัจจุบัน “นักบวช” ในพุทธศาสนาก็มิใช่มีแต่พระและเณร หากรวมถึงแม่ชี ฤษี ชีปะขาวหรือผ้าขาว และผู้ปฏิบัติธรรมทั้งชาย และหญิ ง อี ก มาก ซึ่ ง มี ส่ ว นในการสอนศาสนา โดยเฉพาะการทํา วิปัสสนา ทั้งแก่ฆราวาสที่สนใจ หรือแม้แต่แก่พระภิกษุเอง2

อลิซาเบธ กัตทรี (Elizabeth Guthrie) กล่าวว่า พุทธศาสนาในอุษาคเนย์ภาคพื้นทวีป มีนักบวชมากกว่าพระมาโดยตลอด เช่น ในกัมพูชา นอกจากมีแม่ชีแล้ว ยังมี “พระครู” หรือพราหมณ์ราชสำ�นัก มี “ตบะ” ซึ่งมักนุ่งขาวหรือนุ่งลายหนังเสือ มี “ฤษี” หรือในพม่า เรียกว่า “ยะเก” ซึ่งมีทั้งชายและหญิง โดยนุ่งสีกลัก (Guthrie II, 2004: 144) 2

- 92 60

.indd 92

3/3/2554 16:02:28


ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ |

เรื่องความหลากหลายนี้มีความสําคัญ เพราะจะทําให้เข้าใจ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับศาสนาในสังคมไทยปัจจุบันได้ดีขึ้น เนื่องจากมีงานศึกษาเกี่ยวกับความหลากหลายในศาสนาเดิมด้าน ที่เป็นพุทธศาสนาอยู่พอสมควร ในขณะที่ไม่ค่อยมีงานศึกษาเกี่ยว กับความหลากหลายในศาสนาผีมากนัก จึงขอกล่าวถึงพุทธศาสนา ในประเทศไทยก่อนการปฏิรูปคณะสงฆ์ไว้ในที่นี้ เพื่อให้เห็นความ หลากหลายดังกล่าว พุทธศาสนาในประเทศไทยก่อนการปฏิรูปคณะสงฆ์ การปกครองคณะสงฆ์ในสมัยโบราณอาศัย “สํานักอาจารย์” เป็นฐาน กล่าวคือ เพราะได้บวชและเล่าเรียนมากับพระอุปัชฌาย์ เดียวกัน ก็อยู่ใน “สาย” เดียวกันหรือ “นิกาย” เดียวกัน แม้แต่อยู่ ต่างวัดหรือต่างเมืองกันก็ถอื ว่าร่วมอยูใ่ น “สาย” เดียวกัน พระอุปชั ฌาย์ ย่อมเป็นผูบ้ งั คับบัญชาพระใน “สาย” เดียวกันทัง้ หมด รวมแม้กระทัง่ วัด ทีอ่ ยูใ่ น “สาย” เดียวกัน ในภาคเหนือเรียกวัดทีเ่ ป็นศูนย์กลางเช่นนี้วา่ หัวหมวดวัด ประกอบด้วยวัด 10-30 วัด พระผูใ้ หญ่ซงึ่ เป็นผูด้ แู ลบังคับ บัญชาเรียกว่า “เจ้าหมวดอุโบสถ” ซึ่งนอกจากจะมีหน้าที่บวชกุลบุตร ในหัวหมวดวัดเดียวกันแล้ว ยังมีหน้าที่ชี้อธิกรณ์ในหัวหมวด อํานาจ หน้าที่นี้เกิดขึ้นโดยไม่เกี่ยวกับวัด แต่มาจากการเลือกร่วมกันของ พระภิกษุและชาวบ้าน โดยมีอาํ นาจจากการเป็นพระอุปชั ฌาย์ของพระ ในหัวหมวดอยู่แล้ว ในภาคกลางก็มีลักษณะใกล้เคียงกัน คือวัดเล็ก ขึ้นกับวัดใหญ่ซึ่งเป็นที่อยู่ของพระอุปัชฌาย์ แม้จะอยู่ต่างเมืองกัน ก็ตาม ส่วนบทบาทของรัฐในการปกครองคณะสงฆ์จะกระทําเป็น สัญลักษณ์เท่านั้น เพราะไม่มีผลในทางปฏิบัติ เจ้าคณะใหญ่ในสมัย - 93 60

.indd 93

3/3/2554 16:02:28


| ศาสนาในสังคมไทยปัจจุบัน

รัชกาลที่ 4 ดูแลพระและวัดได้จริงเฉพาะในเขตเมืองหลวง แม้แต่ พระสังฆราชซึง่ โปรดให้ดอู ธิกรณ์พระได้ทวั่ ราชอาณาจักร พระสังฆราช ปาลเลอกัวซ์ซึ่งใช้ชีวิตในเมืองไทยขณะนั้นก็กล่าวว่าเป็นอํานาจที่ ไม่เคยใช้จริงเลย คงดูเฉพาะวัดที่ท่านครองอยู่และวัดที่ขึ้นกับวัดนั้น อีกทีหนึ่งเท่านั้น (พระไพศาล วิสาโล, 2552: 52-5) ด้วยเหตุดังนั้น พุทธศาสนาของไทยแต่เดิมจึงมีความหลาก หลายมาก แม้แต่ที่เรียกว่า “นิกาย” ก็ไม่ได้มีเพียงหนึ่ง ในล้านนามีถึง 18 นิกาย ในภาคกลางเองก็คงมีอีกหลาย “นิกาย” แต่มาถูกเรียกรวม กันว่า “มหานิกาย” ในภายหลัง3 อันที่จริง เถรวาทมิได้มีนิกายเดียว มาแต่ไหนแต่ไร ในลังกาพุทธศตวรรษที่ 20 มี 3 นิกาย คือมหาวิหาร อภัยคีรี และเชตวัน มหาวิหารเองต่อมาก็แยกออกเป็น 5 นิกาย (พระ ไพศาล วิสาโล, 2552: 552) ในอินเดียหลังพุทธกาล มีสํานักอาจารย์ ที่สอนหลักธรรมและวัตรปฏิบัติต่างๆ ซึ่งถือว่าเป็นเถรวาท รวมกัน แล้วกว่า 100 นิกาย วัดส่วนใหญ่ไม่มผี อู้ ปุ ถัมภ์ ต้องอาศัยการอุดหนุนจากชาวบ้าน ในเกือบทุกด้าน ฉะนั้น วัตรปฏิบัติของพระจึงต้องสอดคล้องกับความ คาดหวังของท้องถิ่นซึ่งแตกต่างกัน วัดในท้องถิ่นจึงผูกพันกับชีวิต ของชาวบ้านอย่างแยกออกจากกันไม่ได้ พระในหัวเมืองและชนบทจึง มักจัดงานบุญของวัดเอง ทํางานก่อสร้าง ไถนา (หรือแม้แต่เกี่ยวข้าว) เลี้ยงวัว ควาย หรือม้า ขุดเรือ เล่นดนตรีในงานบุญพระเวศ หรือสอน มวย (Kamala, 1997: 23 และ 2003: 251-2) ในบางจังหวัดยังพบ ว่าชาวบ้านบางแห่งกลัวผีซึ่งอยู่รักษาที่นา ฉะนั้นต้องนิมนต์พระมา มักเข้าใจกันผิดว่านิกายที่ไม่ใช่ธรรมยุติทั้งหมดคือมหานิกาย ที่จริงชื่อมหานิกาย นี้เกิดขึ้นเมื่อมีนิกายธรรมยุติแล้ว หมายถึงพระภิกษุที่ไม่ได้ถือวัตรอย่างเดียวกับ ธรรมยุติทั้งหมด แต่ในบรรดาพระภิกษุเหล่านี้ก็ถือวัตรที่แตกต่างกันเป็นหลาย “นิกาย” (Kamala, 1997: 6, 293-4) 3

- 94 60

.indd 94

3/3/2554 16:02:28


ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ |

เป็นผู้ไถนาประเดิมก่อนเสมอ หรือมิฉะนั้นก็ทําพิธีปัดรังควาญไร่นา ชาวบ้านไม่ได้มองว่าเป็นการกระทําที่ผิดพระวินัย เพราะพระไม่ได้ ทําเพื่อประโยชน์ส่วนตัว แต่อาจถูกพระกรุงเทพฯ หลังการปฏิรูป คณะสงฆ์แล้วมองว่าไม่เคร่งครัด จนถูกตําหนิหรือรังเกียจ เพราะ ประเพณีของพระในกรุงเทพฯ สมัยนั้นไม่นิยมให้พระทํางานแบกหาม ออกเหงื่อ ดูมอมแมม “เหมือนไพร่” แต่นิยมให้รับบริจาคเงินเพื่อใช้ ในการรักษาความสะอาดของวัดแทน (Kamala, 1997: 23-24) พระที่อยู่ในหมู่บ้านหรือในเมืองล้วนมีความสัมพันธ์ใกล้ชิด กับชาวบ้าน พระไม่แยกความรู้ทางธรรมออกจากความรู้ทางช่าง หมอดู หมอยา ฯลฯ เพื่อเป็นประโยชน์แก่ชุมชน แม้แต่ “สมณศักดิ์” ของพระก็เป็นเกียรติยศที่ชาวบ้านเป็นผู้ยกย่องให้ (Kamala, 2002: 352) เพราะความจําเป็นที่จะต้องตอบสนองต่อผลประโยชน์ของ ท้ อ งถิ่ น เช่ น นี้ พุ ท ธศาสนาในประเทศไทยจึ ง มี ค วามหลากหลาย แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น นักวิชาการบางท่านเรียกพุทธศาสนา แบบนีว้ า่ เป็น “พุทธแบบชุมชน” คือมีศนู ย์กลางอยูท่ วี่ ถิ ชี วี ติ ของชุมชน แต่ละแห่ง ซึง่ มีความแตกต่างกันไป (ดู O’Connor, 1993) พุทธศาสนา ของชาวบ้านในท้องถิน่ ต่างๆ ก็เน้นความสาํ คัญของฆราวาสและชุมชน มากกว่าวัด อาจารย์กมลา ติยะวณิช ตั้งข้อสังเกตว่า วันศักดิ์สิทธิ์ ของพุทธศาสนานั้น ชาวบ้านเรียกว่า “วันศีล” อันบ่งบอกว่าเป็นวันที่ ชาวบ้านต้องทําอะไร ในขณะที่ภาษาทางการหลังการปฏิรูปคณะสงฆ์ เรียกว่า “วันพระ” เพราะการปฏิรปู ทําให้ศาสนากลายเป็นของพระและ ของวัด (Kamala, 1997: 38-40) ในด้าน “นักบวช” หรือคนกลางระหว่างฆราวาสกับสิง่ ทีถ่ อื ว่า ศักดิ์สิทธิ์ ก็ปรากฏว่าในสมัยโบราณมีคนประเภทนี้อยู่หลายระดับชั้น ก่อนจะถึงพระภิกษุ มีคนที่เคยบวชเรียนมาแล้ว รู้บทสวด และรู้ - 95 60

.indd 95

3/3/2554 16:02:28


| ศาสนาในสังคมไทยปัจจุบัน

ขั้นตอนการทําพิธีกรรม ซึ่งมักจะเป็นผู้นําในการประกอบพิธีกรรม ในวัด เช่น เป็นผู้อาราธนาธรรมและขอศีล เป็นต้น ทางภาคเหนือ เรียกว่า “แก่วัด” ภาคกลางเรียกว่า “มัคนายก” ในกัมพูชาเรียกว่า “อาจารย์” (Guthrie I, 2004: 128) นอกจากนี้ยังมีคนทั้งหญิงและชาย ซึ่งใช้ชีวิตแตกต่างจากคนทั่วไป นับตั้งแต่หญิงถือศีลแปด โกนหัว นุ่งขาวห่มขาว ที่เรียกกันว่าแม่ชี อาจจะยังอยู่ที่บ้านหรือไปอยู่ที่วัด หมอธรรมในภาคอี ส านซึ่ ง มั ก เคยบวชเรี ย นมาแล้ ว ทํ า การรั ก ษา พยาบาลด้วยมนต์และการทาํ สมาธิภาวนา ชีผา้ ขาวหรือผ้าขาวใช้ชวี ติ ทางศาสนาอย่างเคร่งครัด และมักไม่ครองเรือน แต่อยูท่ วี่ ดั หรือในทีส่ งัด นอกชุมชน บางคนมีความสามารถทางสมาธิภาวนาถึงกับเป็นครูสอน ให้แก่ผู้อื่นได้ รวมทั้งสอนแก่พระภิกษุด้วย ยังมีคนอีกประเภทหนึ่ง ที่ปรากฏในหลักฐานเก่าทั้งในหมู่ชาวลาว ยวน มอญ และไทยสยาม นัน่ คือคนทีเ่ รียกว่า “ฤษี” คือคนทีเ่ คยบวชเรียนมาก่อน แล้วสึกออกมา ครองเรือน ต่อมาก็สละเรือนออกไปปฏิบตั ธิ รรมอย่างเคร่งครัดจนสําเร็จ ญาณบางอย่าง เช่น มีหูทิพย์ ตาทิพย์ รู้วาระจิตของผู้อื่น ฯลฯ เป็นต้น (Kamala, 2003: 259) ฤษีจึงมีฤทธิ์เดช และสามารถเป็นผู้สร้างเมือง ได้ในตํานานของทั้งภาคเหนือ กลาง และอีสาน4 ในกัมพูชา นักวิชาการชาวฝรั่งเศสผู้หนึ่งได้พบกับ “ฤษี” จำ�นวนมากที่พนมกุเลนในปี พ.ศ. 2503 (ก่อนเขมรแดง) ฤษีบางตนที่ให้สัมภาษณ์กล่าวว่าเคยบวชอยู่ในวัดธรรมยุติ ทีพ่ นมเปญ และสึกออกมาร่วมอยูใ่ นกลุม่ เขมรอิสระ แต่หลบหนีการสูร้ บไปบำ�เพ็ญพรต ที่นั่น สอนการทำ�สมาธิแก่ทั้งฆราวาสและพระภิกษุ โดยฤษีตนนั้นอ้างว่าสืบเชื้อสาย มาจากฤษีที่ปรากฏในภาพสลักของปราสาทกุเลนนั้นเอง นอกจากนี้ยังมีฤษีตนอื่นๆ ทีน่ นั่ อีกมาก บางตนก็มลี กู เมียอยูด่ ว้ ย และใช้เวลาส่วนหนึง่ ทำ�การเพาะปลูก แม้แต่หลัง สมัยเขมรแดง เอียน แฮร์ริส (Ian Harris) ก็ได้พบกับฤษีที่จังหวัดตาแก้ว (Harris, 2006: 62) นอกจากนี้ ในกัมพูชายังมี “หมอเขมร” อยู่ตามชุมชนต่างๆ ซึ่งทำ�การรักษาตาม แบบแผนการแพทย์ประเพณี และยังมีผู้ที่รับรักษาด้วย “จูลรูป” หรือเข้าทรง พวกแรก เป็นผู้ชาย ในขณะที่พวกหลังเป็นผู้หญิง (Guthrie I, 2004: 129) 4

- 96 60

.indd 96

3/3/2554 16:02:28


ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ |

คนที่ทําหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างชาวบ้านกับสิ่งที่ชาวบ้าน ถือว่า “ศักดิ์สิทธิ์” จึงมีความหลากหลายมาก ในขณะเดียวกันก็ไม่อาจ จําแนกได้ชัดเจนว่า “นักบวช” เหล่านี้เป็นของ “ศาสนา” ใด เพราะ สิ่งที่ชาวบ้านเห็นว่าเป็น “ศาสนา” ของตนนั้นคือระบบความเชื่อที่ตั้ง อยู่เคียงกัน โดยไม่จําเป็นต้องหักล้างหรือกลืนระบบความเชื่ออื่นให้ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน อีกด้านหนึ่งของความหลากหลายทางศาสนาคือการเจริญ สมาธิภาวนา อันเป็นแบบปฏิบัติทางศาสนาที่กระทํากันโดยทั่วไปใน สมัยนั้น แม้ไม่ใช่ในหมู่ชาวบ้านทุกคน แต่ก็มีคนปฏิบัติเช่นนี้ในเกือบ ทุกชุมชน การเจริญสมาธิภาวนาเป็นการศึกษาที่สำ�คัญส่วนหนึ่งของ พระภิกษุ เมื่อออกพรรษา พระอาจารย์มักจะพาศิษย์ออกธุดงค์เพื่อ เรียนรูธ้ รรมชาติ และเพือ่ ฝึกจิตใจตนเองในการเผชิญภัยอันตรายต่างๆ ได้โดยสงบ ถือเป็นการ “ไปเทีย่ ว” อย่างหนึง่ ซึง่ ช่วยดึงให้พระบวชใหม่ ไม่สึกไปเสียในพรรษาเดียว (Kamala, 1997: 37-8) การเจริญสมาธิ ภาวนาไม่ได้จํากัดอยู่แต่พระภิกษุในวัดเท่านั้น ชาวบ้านที่มีศรัทธา แรงกล้าก็มักจะเจริญสมาธิภาวนาเช่นกัน โดยศึกษาการทําสมาธิ ทั้งจากพระภิกษุ ฤษี หรือผ้าขาว ดังที่กล่าวแล้ว อีกทั้งชาวบ้านโดย ทั่วไปก็ไม่ได้ถือว่าฆราวาสทั้งหญิงและชายที่ปฏิบัติธรรมเหล่านี้ด้อย กว่าพระภิกษุ ฉะนั้น ฆราวาสเหล่านี้ก็อาจกลายเป็นผู้สอนธรรมและ สอนการเจริญสมาธิภาวนาแก่ผู้อื่นได้ (Kamala, 1997: 197) ฆราวาสเองก็อาจธุดงค์ได้เหมือนกัน โดยจาริกไปนมัสการ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ แม็กคาร์ธีย์หรือพระวิภาคภูวดล หัวหน้าช่าง แผนที่ซึ่งรัฐบาลสยามจ้างไว้ เคยพบหญิงกลุ่มหนึ่งซึ่งนุ่งขาวห่มขาว จากลําปาง จาริกไปนมัสการพระที่ถํ้าเชียงดาว แต่ก่อนจะเข้าถํ้า หญิงเหล่านี้ต้องถือศีลห้าบ้าง ศีลแปดบ้าง หรือศีลสิบบ้าง และเมื่อ เข้าถํ้าไปแล้วก็ใช้เวลาส่วนหนึ่งในการเจริญสมาธิภาวนา เพราะอาจ - 97 60

.indd 97

3/3/2554 16:02:29


| ศาสนาในสังคมไทยปัจจุบัน

ถูกเจ้าหรือผีที่เป็นผู้พิทักษ์ถํ้าทําร้ายเอาได้ หญิงกลุ่มนี้ยังจะเดินทาง ไปนมัสการพระพุทธบาทสี่รอยที่ลําพูนด้วย (Kamala, 2003: 270)5 จะเห็ น ได้ ว่ า ระบบความเชื่ อ ของผู้ ห ญิ ง กลุ่ ม นี้ มี ค วามหลากหลาย ในตัวเองอย่างมาก เพราะเชื่อในอิทธิฤทธิ์ของผี จึงต้องปฏิบัติธรรม ในพุทธ การปฏิบตั ธิ รรมจึงเป็นส่วนหนึง่ ของการจะอยูร่ ว่ มกับผีในโลกนี้ แม้หมอธรรมในภาคอีสานจะใช้มนต์ในพุทธศาสนาในการ รักษาพยาบาล แต่ก็ใช้เวทมนตร์อื่นร่วมด้วย และในการประกอบพิธี ก็มีพระพุทธรูปตั้งไว้เป็นประธานของพิธี หมอลําผีฟ้าต้องถือศีลห้า อย่างเคร่งครัด อีกทั้งพราหมณ์และจํ้าก็ล้วนนับถือพุทธ (พระไพศาล วิสาโล, 2552: 113) ควรกล่าวด้วยว่า การทําสมาธิ (เพื่อปฏิบัติธรรมในพุทธศาสนาหรือการเข้าฌานก็ตาม) อาจเป็นการปฏิบตั ศิ าสนาทีป่ ระชาชน ในภูมภิ าคนีค้ นุ้ เคยอยูแ่ ล้ว ดังนัน้ จึงเป็นเครือ่ งมือในการปฏิบตั ศิ าสนา ในลัทธิความเชื่อต่างๆ รวมทั้งการนับถือผี ซึ่ง “นักบวช” มักใช้การ ทาํ สมาธิเพือ่ ติดต่อกับผี หรือมิฉะนัน้ ก็เข้าทรงผี ฉะนัน้ แม้แต่แนวทาง มักเข้าใจผิดว่าประเพณี ก ารธุ ด งค์ เ ริ่ ม จากพระอาจารย์ เ สาร์ แ ละพระอาจารย์ มั่น ที่จริงแล้วประเพณีนี้มีมาก่อน เพียงแต่พระภิกษุเหล่านั้นไม่ใช่พระธรรมยุติ แต่เป็น พระ ในนิกายท้องถิ่น พระอาจารย์เสาร์เองก็เคยบวชในนิกายลาวมาก่อน และได้เรียน กรรมฐานในนิกายนั้น ก่อนจะบวชเป็นธรรมยุติในภายหลัง ศิษย์ของทั้งพระอาจารย์ เสาร์และพระอาจารย์มั่นจำ�นวนมากก็ได้บวชเรียนมาในนิกายอื่นๆ ก่อนจะบวชเป็น ธรรมยุติในภายหลัง และต่างก็ได้เรียนสมาธิภาวนามาก่อนหลายรูปด้วยกัน เช่น พระอาจารย์ชาได้เรียนกรรมฐานมาจากหลายนิกายและหลายสำ�นักก่อนจะได้พบกับ พระอาจารย์มั่น เมื่อได้พบกัน พระอาจารย์มั่นถามถึงครูกรรมฐานที่พระอาจารย์ชาเคย มีมาก่อน พระอาจารย์ชาตอบว่าคือพระอาจารย์เภา ซึ่งเป็นพระเขมร พระอาจารย์มั่น ตอบว่า “ดี” พระธุดงค์รุ่นก่อนหน้าธรรมยุติอาจยึดถือพระวินัยที่แตกต่างออกไป เช่น อาจเก็บอาหารไว้ในถํ้าที่พำ�นัก ทำ�ยาสมุนไพรไว้ใช้เอง ตลอดจนเก็บไม้ป่ามาทำ�ยา เป็นต้น (อันขัดกับพระวินัยตามการตีความของธรรมยุติ) ดังนั้น พวกธรรมยุติจึงเห็น ว่าพระธุดงค์เหล่านี้ไม่ใช่พระธุดงค์จริง (Kamala, 1997: 269) 5

- 98 60

.indd 98

3/3/2554 16:02:29


ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ |

ปฏิบัติศาสนาก็ไม่ใช่ของระบบความเชื่ออย่างใดอย่างหนึ่ง แต่มีความ หลากหลายในตัวเอง พุทธศาสนาแห่งชาติ ลักษณะหลากหลายของ “ศาสนา” ไทยที่มีมาแต่เดิมนี้ถูกรัฐ พยายามทําลายลง เพือ่ แทนทีด่ ว้ ยพุทธศาสนาทีม่ ลี กั ษณะเป็นอันหนึง่ อันเดียวกัน นับตั้งแต่จุดเน้นของคําสอน แนวทางการปฏิบัติศาสนา คณะนักบวช วินัยของนักบวชที่ตีความให้ตรงกัน และการจัดองค์กร ปกครองคณะสงฆ์ให้เป็นอันหนึง่ อันเดียวกัน ภายใต้การกาํ กับควบคุม ของส่วนกลาง ทัง้ หมดเหล่านีเ้ ป็นส่วนหนึง่ ของความพยายามรวมศูนย์ อํานาจ (ทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม) ไว้ภายใต้ ราชบั ล ลั ง ก์ ใ นสมั ย สมบู ร ณาญาสิ ท ธิ ร าชย์ นั บ ตั้ ง แต่ รั ช กาลที่ 5 เป็นต้นมา แม้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์จะถูกเพิกถอนไปในปี พ.ศ. 2475 แต่ลักษณะรวมศูนย์เช่นนี้ก็ยังดํารงสืบมาถึงปัจจุบัน ก่อนที่จะออกพระราชบัญญัติปกครองคณะสงฆ์ในปี พ.ศ. 2445 ได้มคี วามเคลือ่ นไหวเพือ่ ปฏิรปู พุทธศาสนามาก่อนแล้ว ประเด็น สําคัญของการปฏิรูปก็คือทําให้พุทธศาสนาสอดคล้องกับอารยธรรม ตะวันตก โดยเฉพาะวิทยาศาสตร์แผนใหม่ เพื่อตอบโต้กับลัทธิล่า เมืองขึ้นที่ขยายอํานาจในขณะนั้น เป้าหมายหลักของการปฏิบัติทาง ศาสนาของพุทธที่มีมาแต่เดิม คือพระนิพพาน ถูกลดความสําคัญลง นับตั้งแต่รัชกาลที่ 4 แล้ว โดยทรงตีความว่าเฉพาะพระภิกษุเท่านั้นที่ พึงหวังพระนิพพานเป็นที่หมาย และในบางแห่งยังทรงตีความให้แคบ ลงเหลือเพียงพระภิกษุที่มรณภาพในผ้าเหลืองและยังท่องเที่ยวอยู่ ในภพต่างๆ เท่านั้นที่พึงหวังพระนิพพานได้ พระราชนิพนธ์คําอุทิศ - 99 60

.indd 99

3/3/2554 16:02:29


| ศาสนาในสังคมไทยปัจจุบัน

ส่วนบุญสําหรับพระภิกษุใช้สวดให้ทายก ไม่ได้กล่าวถึง “การทําพระ นิพพานให้แจ้ง” ตามแบบโบราณ เป็นต้น (พระไพศาล วิสาโล, 2552: 16) พุทธศาสนาแบบเหตุผลนิยมทีว่ ชิรญาณภิกขุได้เริม่ ไว้นมี้ กี าร ขยายตัวอย่างมาก ภายใต้การนําของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรม พระยาวชิรญาณวโรรส การสอนศาสนาผ่านชาดกเริม่ ลดน้อยลง (พระ ไพศาล วิสาโล, 2552: 31) โดยทรงเริ่มการศึกษาแผนใหม่ในหมู่สงฆ์ ก่อน ทรงเน้นการศึกษาด้านปริยัติมากกว่าด้านปฏิบตั ิสมถกัมมัฏฐาน หรือวิปสั สนากัมมัฏฐาน เพราะทรงเห็นว่าเป็นวิชาทีไ่ ม่มหี ลักจะสอบไล่ ได้ (พระไพศาล วิสาโล, 2552: 32-3) สมเด็จฯ ยังเป็นผู้รับผิดชอบนําการศึกษาแผนใหม่เข้ามา ในระยะแรกๆ โดยในปี พ.ศ. 2435 มีพระราชบัญญัติให้เด็กเข้าเรียน ในโรงเรียนประถมที่รัฐตั้งขึ้น ระบบการศึกษาแบบนี้ใช้หลักสูตรแบบ ตะวันตก โดยมีคาํ สัง่ ไม่ให้ครู (ซึง่ ในระยะแรกคือพระ) สอนอะไรทีพ่ สิ จู น์ ไม่ได้ด้วยวิทยาศาสตร์ ในด้านศาสนา คําสั่งเช่นนี้ทําให้การสอนผ่าน ชาดกหรือนิยาย เช่น พระมาลัยคำ�หลวง ไม่อาจทําได้ เพราะรัชกาล ที่ 5 ทรงเห็นคล้อยตามนักวิชาการฝรั่ง [ไรส์ เดวิดส์ (Rhys Davids)] ว่าชาดกที่มีในคัมภีร์เป็นเพียงการรวบรวมนิทานพื้นบ้านในอินเดีย ซึ่งมีอยู่ในสมัยพุทธกาลหรืออาจจะก่อนหน้านั้นเท่านั้น และเมื่อใช้ เหตุผลนิยมแบบตะวันตกก็ทําให้อธิบายชาติหน้าหรือนรกสวรรค์ ไม่ได้ (Kamala, 2003: 307-9) รวมทัง้ อธิบายพระนิพพานไม่ได้เช่นกัน ดังที่กล่าวแล้วว่าพระราชบัญญัติการปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ. 2445 มุ่งจะรวมศูนย์อํานาจการปกครองคณะสงฆ์ ซึ่งแต่เดิมมีความ หลากหลายและกระจายไปยังท้องถิ่นต่างๆ ให้อยู่ภายใต้การกํากับ ควบคุมของรัฐส่วนกลาง พระสงฆ์นั้นไม่น่าไว้วางใจทางการเมืองนัก เพราะอาจใช้สถานะที่สูงในสังคมไปในทางต่อต้านรัฐได้ (และเกิดขึ้น - 100 60

.indd 100

3/3/2554 16:02:29


ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ |

ในสังคมเอเชียอื่นมาแล้ว) (McCargo, 2009: 5) โดยในส่วนวิธีการนั้น อาจสรุปได้ดังนี้ 1. ริบเอาสิทธิการเป็นพระอุปัชฌาย์ตามพระวินัย (คือเป็น เถระ และบวชมาแล้ว 10 พรรษา) ให้อยู่ในการพิจารณาอนุมัติของรัฐ การกระทําเช่นนี้เท่ากับทําลายการจัดองค์กรปกครองของคณะสงฆ์ แต่เดิมลงทั้งหมด คือการปกครองกันตามสายของสํานักซึ่งมาจาก พระอุปัชฌาย์รูปเดียวกัน ในขณะเดียวกัน สิทธิของชาวบ้านที่จะ ร่วมเลือกพระในเครือข่ายให้เป็นพระอุปัชฌาย์ของกลุ่มวัดนั้นๆ ก็ถูก เพิกถอนไปพร้อมกัน อํานาจการเป็นผู้อุปสมบทกุลบุตรในเครือข่าย ของวัด เป็นฐานของการจัดองค์กรปกครองคณะสงฆ์มาแต่โบราณ ซึ่ง เกี่ยวโยงกับสิทธิและอํานาจของฆราวาสในละแวกที่จะดูแลคณะสงฆ์ ทั้งในเชิงอุปถัมภ์และควบคุม เมื่ออํานาจนี้ถูกรัฐริบเอาไป วัดและพระ จึงหลุดออกไปจากท้องถิ่นโดยปริยายนั่นเอง 2. การตั้งวัดหรือสํานักสงฆ์ต้องได้รับการอนุมัติจากรัฐ ซึ่ง แต่เดิมนั้นเป็นอํานาจของประชาชนในท้องถิ่นฝ่ายเดียว 3. การแต่ ง ตั้ ง ทั้ ง สมณศั ก ดิ์ แ ละตํ า แหน่ ง ด้ า นบริ ห ารของ คณะสงฆ์ เป็นอาํ นาจหน้าทีข่ องส่วนกลางเพียงฝ่ายเดียว และส่วนกลาง ก็ใช้อํานาจนี้ในการส่งเสริมพระที่ยอมอยู่ในสังกัดให้ได้ทั้งเกียรติยศ และอาํ นาจการบริหารตัง้ แต่ระดับท้องถิน่ ขึน้ มาถึงส่วนกลาง ในขณะที่ ใช้ปราบหรือปรามพระที่ไม่ยอมอยู่ในระเบียบแบบใหม่ได้สะดวก 4. การศึกษาของพระสงฆ์ก็เป็นเครื่องมือสําคัญในการรวม อํานาจเข้าสู่ศูนย์กลาง สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณ วโรรส ทรงสร้างระบบการศึกษาแบบใหม่ของพระสงฆ์ โดยอาศัย การตีความคัมภีร์ศาสนาในภาษาบาลีด้วยพระองค์เอง หลักของการ ตีความคือเหตุผลนิยมแบบตะวันตก ละเลยโลกุตรธรรม และละเลย หลักธรรมทางสังคม “จึงทําให้พุทธศาสนาเป็นเพียงคําสอนทางโลกิย- 101 60

.indd 101

3/3/2554 16:02:29


| ศาสนาในสังคมไทยปัจจุบัน

ธรรมสําหรับปัจเจกบุคคล ขาดทั้งความลึกและความกว้าง” (พระ ไพศาล วิสาโล, 2552: 514) ทีต่ อ้ งละเลยโลกุตรธรรมก็เพราะเป็นเรือ่ ง ทีพ่ สิ จู น์ดว้ ยเหตุผลแบบตะวันตกได้ยาก อีกทัง้ ผูน้ าํ การปฏิรปู เองก็ไม่มี ศรัทธาต่อโลกุตรธรรมในพุทธศาสนามากนัก6 ส่วนหลักธรรมทางสังคม ในพุทธศาสนากลับสร้างพลังให้แก่ศาสนิก ทั้งในการวิพากษ์วิจารณ์ ผู้ปกครอง และการเกิดขึ้นของสิ่งที่ปัจจุบันเรียกว่า “ประชาสังคม” อันเป็นการจํากัดอํานาจรัฐโดยปริยาย การศึกษาดังกล่าวประกอบด้วยวุฒิบัตรและการสอบ ซึ่งใน ระยะแรกมักนําไปผูกพันกับสมณศักดิ์ด้วย ดังนั้น พระที่ผ่านการสอบ และมีวุฒิบัตรแล้ว จึงมักได้รับการแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งในองค์กร ปกครองคณะสงฆ์ ซึ่งช่วยเผยแพร่ทั้งวัฒนธรรมและอํานาจของผู้ ปกครองในกรุงเทพฯ ออกไปตามหัวเมือง (Kamala, 1997: 9) ตัวอย่างเช่น ตําแหน่งสมภาร แต่เดิมนั้น สมภารคือพระที่ได้ รับเลือกจากพระลูกวัดและฆราวาสซึ่งเป็นผู้อุปัฏฐากวัด ในประเพณี ของชาวลาว (รวมทัง้ ในภาคอีสาน) สมภารต้องมีความรูท้ างโหราศาสตร์ การระงับข้อพิพาท การรักษาพยาบาล รวมแม้กระทั่งการทําคลอด ในกรณีที่คลอดยาก ส่วนการศึกษาในวัดก็จัดขึ้นเพื่อตอบสนองความ จําเป็นตามประเพณี สมภารอาจสนับสนุนให้เรียนโหราศาสตร์ สมุนไพร การช่าง สมาธิภาวนา หรือศึกษาเล่าเรียนคัมภีร์ แล้วแต่ความสามารถ ของท่าน และแล้วแต่ประเพณีที่มีมาของวัดนั้นๆ การศึกษาของพระ ในวั ด คื อ การลอกเลี ย นทํ า ตามอาจารย์ ไม่ ใ ช่ เ รี ย นจากตั ว หนั ง สื อ (Kamala, 1997: 255) ทั้งหมดนี้แตกต่างจากเกณฑ์การเลือกสมภาร รัชกาลที่ 5 มีพระราชหัตถเลขาถึงหลวงไพศาลศิลปศาสตร์ (เจ้าพระยาพระเสด็จ สุเรนทราธิบดี) ในปีสุดท้ายของรัชกาลว่า “ขอให้จำ�ไว้ การศาสนาไม่สำ�คัญอะไร ศาสนา ไหนๆ ก็เก่าเกินไปทุกอย่างที่จะเอามาลงกับการปัจจุบันไม่ได้ เว้นแต่จะตั้งขึ้นใหม่ให้ อัปตูเดต จะไปเอาเรื่องที่ ๒,๐๐๐ ปีล่วงมาแล้วมาเถียง ป่วยการเวลาเปล่าๆ” (พระ ไพศาล วิสาโล, 2552: 36) 6

- 102 60

.indd 102

3/3/2554 16:02:29


ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ |

ของพุทธศาสนาที่ได้ผ่านการปฏิรูปคณะสงฆ์ไปแล้ว เพราะต้องการ ให้สมภารสนับสนุนการเล่าเรียนนักธรรมและบาลี ตามหลักสูตรที่ กําหนดไปจากกรุงเทพฯ การปฏิรูปคณะสงฆ์ดึงเอาวัดและพระภิกษุทั่วราชอาณาจักร ให้มาอยู่ในความควบคุมของส่วนกลาง แทนที่พระภิกษุจะได้ศึกษา เล่าเรียนกับอาจารย์ กลับต้องเรียนนักธรรมซึง่ เป็นหลักสูตรส่วนกลาง ทําให้การมี “สํานัก” ของสายอาจารย์หมดไป ส่วนทายกและทายิกา ของวัดในท้องถิ่นก็ไม่มีอํานาจในการสั่งการหรือเข้าไปมีส่วนร่วมกับ วัดดังทีเ่ คยเป็นมา วัดจึงไม่ใช่ของท้องถิน่ อีกต่อไป ศาสตราจารย์เคิรช์ ตั้งข้อสังเกตว่า วัดท้องถิ่นในสมัยหลังเป็นสองอย่างที่ขัดแย้งกัน คือ เป็นอํานาจท้องถิ่น เพราะพระบางรูปของวัดเป็นที่นับถือของคนใน ท้องถิ่น แต่ในขณะเดียวกัน วัดก็เป็นสัญลักษณ์ของอํานาจส่วนกลาง (ดู O’Connor, 1993: 330-9) ซึ่งชาวบ้านไม่รู้จักและไม่รู้จักชาวบ้าน อยู่ไกลและสูงจนเกินกว่าชาวบ้านจะควบคุมได้ อันทีจ่ ริง การหันกลับไปศึกษาคัมภีร์ โดยเฉพาะพระไตรปิฎก จนเกิดความเคลื่อนไหวปฏิรูปพุทธศาสนาซึ่งเริ่มมาตั้งแต่วชิรญาณ ภิ ก ขุ นั้ น ไม่ จํ า เป็ น ว่ า จะต้ อ งลงเอยด้ ว ยการปฏิ รู ป คณะสงฆ์ ใ ห้ รั ฐ เข้ามาควบคุมอย่างเด็ดขาด หรือด้วยการแยกศาสนาออกไปจากเรื่อง ทางโลกและสังคม ในกัมพูชา อิทธิพลของธรรมยุติกนิกายในไทย ทําให้เกิดการหันกลับไปศึกษาคัมภีร์บาลีเช่นเดียวกัน รวมทั้งการ ตีความพระวินัยให้ตรงกับพระบาลีด้วย แต่นอกจากคําสอนของพระ ภิกษุกัมพูชากลุ่มนี้จะอิงบาลีแล้ว ยังอิงกับนิทานพื้นบ้าน เพื่อแสดง ว่าความเป็นไปของชีวิตย่อมขึ้นอยู่กับ “โลก” (สังคม) และ “ธรรม” การกระทําของแต่ละคนจึงกระทบคนอื่นด้วยเสมอ คําสอนจึงเน้นการ ประพฤติปฏิบัติของบุคคลให้ถูกต้องตามคําสอนของพระพุทธเจ้า อัน จะนําประโยชน์สุขมาสู่ตนเองและสังคมในวงกว้าง (ดู Hansen, 2007) - 103 60

.indd 103

3/3/2554 16:02:29


| ศาสนาในสังคมไทยปัจจุบัน

พระภิกษุกัมพูชากลุ่มนี้เป็นกลุ่มแรกๆ ที่ก่อกระแสชาตินิยมให้แพร่ หลายในกัมพูชา7 ในประเทศไทย ศาสนาและคณะสงฆ์ที่ถูกรัฐปฏิรูปแล้วก็ถูก นํามาใช้เพื่อเสริมชาตินิยมเช่นกัน แต่เป็นชาตินิยมในการกํากับและ ริเริ่มของรัฐเอง (พระไพศาล วิสาโล, 2552: 31-41) ฉะนั้น ศาสนาจึง ถูกชาติกลืนให้เป็นเพียงเครือ่ งส่งเสริมชาติเท่านัน้ ทัง้ รัชกาลที่ 6 และ สมเด็จฯ กรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงมีความเห็นตรงกันว่า ชาติตอ้ ง มาก่อนศาสนา (เพราะไม่มีชาติ ศาสนาก็อยู่ไม่ได้) ชาติจึงกลายเป็น สิ่งศักดิ์สิทธิ์อีกอย่างหนึ่งในศาสนา (พระไพศาล วิสาโล, 2552: 40-7) ผู้นําของคณะสงฆ์พร้อมจะตีความศาสนาให้สอดคล้องหรือสนับสนุน สิ่งที่ผู้นําทางการเมืองเห็นว่าเป็นผลประโยชน์ของชาติ เช่น ตีความ ว่าการฆ่าเพื่อปกป้องธรรมะไม่บาป หรือไม่สอนเรื่องโลกุตระและ สันโดษ เพื่อส่งเสริมการพัฒนา (ดู พระไพศาล วิสาโล, 2552: 128-31) ผลของการปฏิรูปศาสนาและการปฏิรูปคณะสงฆ์ ทําให้ใน เชิงสถาบัน พุทธศาสนาไทยเปลี่ยนจากศาสนาที่มีวัดเป็นศูนย์กลาง กลายเป็ น ศาสนาที่มีพระสงฆ์เป็นศูน ย์กลาง สิ่งที่เคยเป็นของวัด กลับกลายเป็นของพระสงฆ์ ในเชิงหลักธรรมคําสอน พุทธศาสนาของ พระสงฆ์กลับแคบลง เพราะจํากัดอยู่กับหลักธรรมสําหรับปัจเจก และ เน้นหนักทางด้านโลกิยธรรมเพียงด้านเดียว อีกทั้งคําสอนและการ ปฏิบัติ (วินัย) ก็ถูกควบคุมให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน การปฏิรูปศาสนาและคณะสงฆ์มีข้อดีอยู่ด้วย กล่าวคือ การ ตีความศาสนามีความหมายทางวิทยาศาสตร์และเหตุผลนิยม จึง อย่างไรก็ตาม ในลังกา การณ์กลับเป็นตรงกันข้าม และคล้ายกรณีของไทย กล่าวคือ ความพยายามของพระที่จะมีบทบาทในสังคมสมัยใหม่ ทำ�ให้การศึกษาของพระเปลี่ยน ไป โดยหันมาศึกษาวิชาคันถธุระเหมือนการเรียนของฆราวาส คือเรียนจากตำ�รา จึง ไม่ได้รับการบ่มเพาะอบรมจากพระอุปัชฌาย์เหมือนเดิม ในที่สุด พระก็ถูกวัตถุนิยม ครอบงำ�อย่างเดียวกับฆราวาส และหมดพลังที่จะนำ�สังคม (ดู Watts II, 2009: 120-1) 7

- 104 60

.indd 104

3/3/2554 16:02:29


ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ |

สามารถดึงเอาคนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มชนชั้นนําที่มีการศึกษาแผน ตะวันตก ไว้ในศาสนาได้ต่อไป (ผิดจากในลังกา ซึ่งชนชั้นนําได้หันไป นับถือศาสนาคริสต์จาํ นวนมาก) นอกจากนี้ ในระยะแรก พระสงฆ์ยงั มี บทบาทในการศึกษาแผนใหม่ทรี่ เิ ริม่ ขึน้ ในประเทศ แต่พอมาถึงรัชกาล ที่ 6 บทบาทนี้ก็ยุติลง เพราะทรงแยกวัดออกไปจากการจัดการศึกษา แผนใหม่โดยสิ้นเชิง พระไพศาล วิสาโล ตั้งข้อสังเกตที่สําคัญว่า “นับ จากนัน้ มา การปรับตัวของพุทธศาสนาทีร่ เิ ริม่ โดยผูน้ าํ สงฆ์กย็ ตุ ลิ งโดย สิน้ เชิง ขณะเดียวกัน การทีพ่ ระสงฆ์จาํ กัดตัวอยูแ่ ต่ในกําแพงวัด โดยมี ระบบราชการแบบสงฆ์เป็นอีกปัจจัยหนึง่ ในการดึงพระสงฆ์ให้เหินห่าง จากชุมชน ส่วนฆราวาสก็ถูกระบบการศึกษาแบบใหม่ดึงให้ออกจาก วัด พุทธศาสนาจึงเหินห่างจากชีวิตและสังคม จนมีอิทธิพลน้อยมาก ในการนําพาสังคมไทยรับมือกับกระแสการพัฒนาหรือความทันสมัย ที่ไหลบ่าอย่างรวดเร็ว” (พระไพศาล วิสาโล, 2552: 512-3) การปฏิ รู ป คณะสงฆ์ ไ ม่ เ พี ย งขจั ด วั ต รปฏิ บั ติ ที่ แ ตกต่ า งใน ท้องถิน่ และกล่อมเกลาบังคับให้เข้ามาอยูใ่ นแนวทางเดียวกันตามการ ตีความพระวินัยของผู้นําคณะสงฆ์เท่านั้น การปฏิรูปยังได้ขจัดความ เชื่ออื่นๆ ที่ถูกถือว่าไม่ใช่พุทธออกไปจากพุทธศาสนาของทางการ หรือพุทธศาสนาแห่งชาติอีกด้วย การทรงเจ้าเข้าผี เวทมนตร์คาถา ตลอดจนการรักษาพยาบาล การนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ในรูปของ ผีและเทพารักษ์ และไสยศาสตร์ทั้งหมด ถูกถือว่าเป็นสิ่งแปลกปลอม ที่เข้ามาปะปนกับพุทธศาสนา และทําให้พุทธศาสนาในประเทศไทย “เสื่อม” ลง สิ่งเหล่านี้เคยอยู่ในชุมชนและในวัดมาก่อน แต่หลังจาก การสถาปนาพุทธศาสนาแห่งชาติ สิ่งเหล่านี้ก็ไม่มีที่อยู่ในวัดอีกต่อไป (อย่างน้อยก็อย่างเปิดเผยหรืออย่างเป็นทางการ)

- 105 60

.indd 105

3/3/2554 16:02:29


| ศาสนาในสังคมไทยปัจจุบัน

ความทันสมัยและวิกฤตความทันสมัย วิธีหนึ่งที่จะอธิบายความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยก็คือ อธิบายผ่านกระบวนการความทันสมัย (modernity) และวิกฤตของ ความทันสมัย แต่ความทันสมัยและวิกฤตของความทันสมัยเป็นแนวคิด ที่เกิดในโลกตะวันตก มีแนวทางการนิยามแตกต่างกันในแต่ละสํานัก คิด ผูศ้ กึ ษาบางท่านเห็นว่าสภาพความเป็นจริงของความเปลีย่ นแปลง ในประเทศไทยไม่เหมาะที่จะใช้กรอบคําอธิบายกระบวนการความ ทันสมัยและวิกฤตความทันสมัย เพราะคนไทยเพียงแต่พยายามจะ ดํารงชีวิตอยู่ท่ามกลางการปะทะและผสมผสานกันระหว่างสิ่งที่เป็น “สมัยใหม่” กับสิ่งที่ถือว่าเป็น “จารีตประเพณี” เท่านั้น (ดู Santikaro Bhikkhu, 15) ความเปลี่ยนแปลงสู่ความทันสมัยของสังคมไทย ก่อให้เกิด ความเปลี่ยนแปลงทางด้านใดบ้าง ก. การเข้าสูเ่ ศรษฐกิจทุนนิยม ลักษณะของเศรษฐกิจทุนนิยม ที่กระทบประชาชนไทยมากที่สุดคือการเข้าสู่เศรษฐกิจตลาด ความ สัมพันธ์ทางสังคมเปลี่ยนไปสู่การแลกเปลี่ยนโดยผ่านเงินตรา และ การพัฒนาความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่สลับซับซ้อนมากขึ้น อันเป็น สิง่ จาํ เป็นในเศรษฐกิจทุนนิยม เกิดคนชัน้ กลางจาํ นวนมาก ซึง่ มีสถานะ ทางเศรษฐกิจและสังคมต่างกัน นับตั้งแต่คนชั้นกลางที่มีรายได้สูง ไปจนถึงพ่อค้าแม่คา้ รายย่อยในชนบท และเกิด “ช่าง” กึง่ ฝีมอื เช่น ช่าง ทาํ ผม ช่างซ่อมเครือ่ งใช้ไฟฟ้า ช่างประกอบเครือ่ งประดับศพ ไปจนถึง ช่างซักผ้าและช่างนวด เป็นต้น เมืองขยายตัวอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งในปัจจุบัน คนไทย ส่วนใหญ่อาศัยอยูใ่ นเขตทีเ่ รียกว่า “เมือง” ไม่วา่ จะนิยามความเป็นเมือง อย่างไร - 106 60

.indd 106

3/3/2554 16:02:29


ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ |

ในส่วนของผู้ที่เคยมีอาชีพเกษตรกรรม ส่วนใหญ่หลุดออก จากเกษตรกรรมไปสูแ่ รงงานรับจ้าง หรืออาจไต่เต้ามาเป็นคนชัน้ กลาง ระดับล่าง เกษตรกรรมเปลี่ยนไปสู่การผลิตเชิงพาณิชย์อย่างเข้มข้น โดยอาศัยเครื่องจักรและแรงงานรับจ้าง วิถีชีวิตและมาตรฐานของคนชั้นกลาง ซึ่งถูกครอบงําด้วย บริโภคนิยม กลายเป็นวัฒนธรรมที่ครอบงําสังคมมากที่สุด โดยผ่าน สื่อและการศึกษา ข. สื่อและการศึกษาทําให้เกิดสํานึกถึงสังคมที่ใหญ่โตและ ซับซ้อนกว่าเครือญาติและชุมชน กลไกของระบบทุนนิยมกล่อมเกลา ให้คนมองตนเองเป็นปัจเจก จึงทําให้คนไทยซึ่งเคยสัมพันธ์เชื่อมโยง กับคนอื่นโดยผ่านเครือญาติและชุมชน ไม่รู้วิธีที่จะเชื่อมโยงกับสังคม ที่ใหญ่โตและซับซ้อน สื่อซึ่งนับวันก็ตกอยู่ภายใต้การกํากับควบคุม ของทุนมากขึ้นทุกที ยิ่งช่วยตอกยํ้าบริโภคนิยมและความสัมพันธ์เชิง พาณิชย์มากขึ้น ค. การสร้างรัฐรวมศูนย์ขนึ้ ครอบหน่วยทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของท้องถิ่นต่างๆ ทั้งหมด ซํ้ายังแทรกเข้าไป ในวิถีชีวิตและความคิดของพลเมืองแทบจะทุกส่วน อีกทั้งรัฐไทยก็ ไม่ได้เปิดกว้างให้พลเมืองทุกสถานภาพได้เข้าไปกํากับควบคุมหรือมี ส่วนร่วมในรัฐอย่างเสมอภาค การเข้าถึงอํานาจอันไพศาลของรัฐจึง ทําไม่ได้ แต่รัฐมีอํานาจที่จะเข้าไปกําหนดชีวิตของผู้คน ง. การแพร่หลายของแนวคิดในเชิงวิทยาศาสตร์ ในที่นี้ต้องการพูดถึงแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ (ไม่ใช่ความรู้ ทางวิทยาศาสตร์) ที่ทําให้เกิดทัศนคติชุดหนึ่ง อันเป็นผลให้เกิด 1) การเห็นความสําคัญของโลกนี้เหนืออื่นใด 2) มนุษย์มีความสามารถที่จะปรับเปลี่ยนโลกนี้อย่างไรก็ได้ (บางท่านเรียกว่ามนุษยนิยม) - 107 60

.indd 107

3/3/2554 16:02:29


| ศาสนาในสังคมไทยปัจจุบัน

3) ชีวิตที่ดีกว่าหรือเป้าหมายในชีวิตของเรารออยู่ข้างหน้า8 4) วิธีคิดที่แยกส่วนประสบการณ์ด้านต่างๆ ออกจากกันได้ อย่างเด็ดขาด ความเป็นจริงที่เรายอมรับนับถือ คือความเป็นจริงที่ถูก นักวิชาการแยกส่วนออกจาก “ทัง้ หมด” แล้ว และตัง้ อยูข่ า้ งนอกตัวเรา ไม่ว่าจะเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติหรือปรากฏการณ์ทางสังคม 5) ความสัมพันธ์ทางสังคมเกิดในกลุม่ ทางสังคมทีม่ าจากการ สมมติ เช่น “รุ่นเดียวกัน” “คนไทยด้วยกัน” “ทํางานบริษัทเดียวกัน” “ลู ก โดมด้ ว ยกั น ” “ประชาธิ ปั ต ย์ ด้ ว ยกั น ” “ละแวกบ้ า นเดี ย วกั น ” ด้วยเหตุดังนั้นจึงอาจเปลี่ยนกลุ่มความสัมพันธ์ได้ง่าย เพราะความ ผูกพันต่อกันนั้นเกิดขึ้นโดยการสมมติทั้งสิ้น ในขณะที่ความสัมพันธ์ ในสังคมโบราณตั้งอยู่บนสิ่งที่ “จริง” เช่น สายสัมพันธ์ทางเครือญาติ หรือเป็นคนในหมู่บ้านเดียวกัน วิถีชีวิตของเขาก็ทําให้เขาต้องเป็น คนในหมู่บ้านนั้นตลอดไป เป็นพี่น้องถือผีเดียวกัน ก็ถือผีเดียวกัน ตลอดไป จึงเป็นความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนกว่ากันมาก9 นักวิชาการตะวันตกบางท่านอธิบายว่า เรามองโลกว่ากำ�ลังเปลี่ยนผ่านไปสู่อะไร สักอย่างหนึง่ ในอนาคต ฉะนัน้ เราจึงแสวงหาความหมายและคุณค่าของชีวติ จากอนาคต ทีไ่ ม่รวู้ า่ จะมาถึงเมือ่ ไร เป็นการมองโลกนีจ้ ากอนาคตย้อนกลับมาสูป่ จั จุบนั (teleological) แอนโธนี กิดเดนส์ (Anthony Giddens) กล่าวว่า สังคมทันสมัยเป็นสังคมที่ไม่เหมือน สังคมใดในอดีต เพราะมีชีวิตอยู่ในอนาคต ในขณะที่สังคมโบราณมีชีวิตอยู่ในอดีต (Giddens, 1998: 94) 9 ทีน่ บั เอาความสัมพันธ์ทางสังคมในสังคมสมัยใหม่เป็นผลของแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ ด้วยนั้น เพราะสืบเนื่องกับการมองความเป็นจริงอย่างแยกส่วน นักวิชาการตะวันตก ท่านหนึ่งให้คำ�อธิบายที่น่าสนใจว่า ที่จริงการแยกส่วนของความเป็นจริงคือการทำ�ให้ ความเป็นจริงกลายเป็นนามธรรม ซึ่งสามารถแยกออกจากกันได้เป็นส่วนๆ นั่นเอง กลุ่มทางสังคมของเราในปัจจุบันก็ล้วนเป็นกลุ่มนามธรรม เช่น ชาติ บริษัท ชนชั้นทาง เศรษฐกิจ เชื้อชาติ ฯลฯ ขณะที่ในสังคมโบราณ กลุ่มทางสังคมมีรากฐานจากความ เป็นจริงกว่า คือจับต้องได้ เช่น ถือเค้าผีเดียวกัน หรือมิฉะนั้นก็มีรากฐานทางชีววิทยา เช่น เป็นเครือญาติกัน 8

- 108 60

.indd 108

3/3/2554 16:02:29


ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ |

การเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ความทันสมัยดังกล่าวล้วนก่อให้เกิด “วิ ก ฤตความทั น สมั ย ” ขึ้ น กั บ คนในสั ง คมไทย ซึ่ ง แม้ จ ะมี ลั ก ษณะ ใกล้เคียงกับสิ่งที่นักวิชาการตะวันตกกล่าวไว้ แต่ก็มีเงื่อนไขเฉพาะใน สังคมไทย (และสังคมอื่นๆ ทุกสังคม) ขึ้นชื่อว่าวิกฤต ย่อมหมายถึง ปัญหาซึ่งไม่อาจแก้ได้ด้วยวิธีการปรกติหรือวิธีการที่แต่ละคนคุ้นเคย วิกฤตเหล่านี้อาจจะมีสาเหตุที่มาจากความเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ความ ทันสมัยหลายอย่าง เป็นปัจจัยที่หลากหลายซับซ้อนจนยากที่บุคคล จะหาทางออกได้ แต่กลับพบเงื่อนไขที่อาจทําให้ปลอดโปร่งใจได้ มากขึ้นจากศรัทธาและการปฏิบัติทาง “ศาสนา” ก. ความสัมพันธ์ทางสังคมซึง่ เคยมีฐานจากเรือ่ งอืน่ ๆ อีกมาก เช่น เครือญาติ การร่วมในชุมชนเดียวกัน ฯลฯ กลับต้องผ่านเงินตรา มากขึ้น คนที่ไม่มีเงินพอที่จะนํามาทดแทนฐานความสัมพันธ์อื่นที่ลด ความสําคัญลง ก็รู้สึกว่าตัวโดดเดี่ยว ไร้เส้นสาย ขาดที่พึ่งและความ มั่นคงในชีวิต ยิ่งความเป็นปัจเจกอันเป็นลักษณะเด่นของชีวิตในเมือง ซึง่ คนส่วนใหญ่ตอ้ งเข้ามาใช้ชวี ติ ก็ยงิ่ ทำ�ให้รสู้ กึ โดดเดีย่ ว อ้างว้าง และ ขาดที่พึ่งมากขึ้นไปอีก ข. ความสามารถที่จะหาเงินเพิ่มขึ้นมีจํากัด ในขณะที่ทุกคน ถูกเร่งเร้าให้บริโภคมากขึ้น ทั้งจากสื่อและวิถีชีวิตของตนเอง ก่อให้ เกิดความเครียดอย่างมาก ค. สังคมทีใ่ หญ่โตซับซ้อนทําให้คนรูส้ กึ ว่าตัวเองไร้อาํ นาจทีจ่ ะ ควบคุมสิ่งแวดล้อมรอบตัว การมองโลกอย่างแยกส่วนตามการศึกษา และสื่อที่ได้รับมา ก็ยิ่งทําให้งุนงงต่อสภาพความเป็นไปของสังคมและ ชะตากรรมของตนเองยิ่งขึ้น แต่การยอมรับความเป็นไปโดยดุษณี ก็เป็นความเดือดร้อน ไม่มีความสุขสงบทางจิตใจ ชีวิตไร้ความหมาย ง. รัฐมีความสําคัญในการดํารงชีวิตของตน แต่ก็เข้าไม่ถึงรัฐ เพราะถูกกีดกันในทางชาติพันธ์ุบ้าง กําเนิดบ้าง อาชีพบ้าง ฯลฯ จึง รู้สึกว่าตัวเองเป็นคนชายขอบของรัฐตลอดเวลา - 109 60

.indd 109

3/3/2554 16:02:29


| ศาสนาในสังคมไทยปัจจุบัน

จ. ในด้านหนึ่งก็คิดว่าอนาคตของตนน่าจะดีขึ้น ชีวิตที่ดีกว่า หรือเป้าหมายในชีวิตของเรารออยู่ข้างหน้า แต่ความไร้อํานาจ ไร้สิทธิ ไร้ศักดิ์ศรี ไร้โอกาสของตน ทําให้มองไม่เห็นทางว่าจะทําให้ชีวิตดีขึ้น ได้อย่างไร (นอกจากมีโชคลาภพิเศษ) ในทางตรงกันข้าม อนาคตที่คนในโลกทันสมัยมอง ไม่รวม ถึงโลกหน้า โดยเน้นให้ความสําคัญกับโลกนี้เป็นหลัก แต่โลกนี้เพียง อย่างเดียวเป็นคาํ อธิบายทีไ่ ม่เพียงพอสำ�หรับชีวติ ของบุคคลและสังคม ในหลายกรณี (เช่น ทําไมจึงเกิดมาจน หรือทําไมจึงเกิดในประเทศ ที่ยากจน) จึงเกิดความสับสนในจิตใจเกี่ยวกับชะตากรรมของตนอยู่ ตลอดเวลา ฉ. ทุกคนรู้ว่าความผูกพันที่มีต่อกันเป็นเพียงเรื่องชั่วคราว อาจเปลี่ยนแปรไปได้ จึงทําให้ขาดความมั่นคงทางจิตใจ เพราะไม่ สามารถเชื่อมโยงกับมนุษย์คนอื่นได้อย่างแท้จริง ช. สถานะและบทบาทของหญิง-ชายเปลี่ยนไป ไม่สอดคล้อง กับสถานะและบทบาทของหญิง-ชายที่มีมาในสถาบันเก่า เช่น พุทธศาสนาแห่งชาติ เป็นต้น พุทธศาสนาแห่งชาติกับวิกฤตความทันสมัย การปฏิรูปศาสนาและคณะสงฆ์ในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้นมีจุด มุง่ หมายแคบ โดยเพียงแค่ตอ้ งการรวมศูนย์อาํ นาจของรัฐและควบคุม พระสงฆ์ทั่วราชอาณาจักรเท่านั้น มิได้มีจุดมุ่งหมายที่จะปรับพุทธศาสนาให้เผชิญกับความเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ที่จะเกิดขึ้น แม้แต่ ธรรมยุติกนิกายซึ่งเป็นรากฐานทางความคิดของการปฏิรูปคณะสงฆ์ ก็เพียงแค่ต้องการจะอธิบายพุทธศาสนาให้สอดคล้องกับเหตุผลนิยม - 110 60

.indd 110

3/3/2554 16:02:29


ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ |

แบบตะวันตก ไม่ใช่ตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคมที่จะเกิดขึ้น ดังนั้น พุทธศาสนาแห่งชาติจึงไม่มีคําตอบให้แก่ คนในสังคมเมือง แก่คนที่รู้สึกว่าตัวเองไร้อํานาจในการควบคุมหรือ ต่อรองกับอํานาจต่างๆ ที่เข้ามากําหนดชีวิตของตน แก่คนที่มีชีวิตอยู่ กับอนาคต แก่คนที่ไม่อาจระงับความต้องการของตนได้ เพราะถูกขับ ด้วยบริโภคนิยม แก่คนที่รู้สึกขาดความมั่นคงในความสัมพันธ์ ฯลฯ อันเป็นวิกฤตของความทันสมัยที่คนในสังคมไทยต้องเผชิญ ยิง่ พุทธศาสนาแห่งชาติพยายาม “ผูกขาด” ความเป็น “ศาสนา” ไว้เพียงผู้เดียว โดยเดียดฉันท์ลัทธิความเชื่ออื่นและการปฏิบัติอื่นว่า นอกรีตนอกรอยของพุทธที่แท้จริง พุทธศาสนาแห่งชาติก็ยิ่งอ่อนแอ ลงเมื่อต้องเผชิญกับวิกฤตแห่งความทันสมัย จนเหลือแต่หน้าที่ทาง พิธีกรรมเท่านั้น10 อย่างไรก็ตาม “ศาสนา” ในสังคมไทยปัจจุบันก็ใช่ว่าจะไร้ ความหมายและไม่สัมพันธ์กับชีวิตของผู้คนอีกต่อไปไม่ เพราะมีการ ปรับตัวอย่างคึกคักในระบบความเชื่อต่างๆ เพื่อตอบสนองต่อปัญหา ของชีวิตสมัยใหม่ที่เกิดขึ้นกับผู้คน แม้จํานวนมากอาจถูกเหยียดว่า เป็น “ไสยศาสตร์” หรือนอกพระธรรมคําสอนในพุทธศาสนา แต่กป็ ฏิบตั ิ และสมาทานกันในหมูค่ นทีป่ ระกาศว่าตนเองเป็นชาวพุทธ ทัง้ ผูท้ าํ พิธี และผู้รบั บริการ อันที่จริง ความแพร่หลายของมิติดา้ นนี้ของ “ศาสนา” นักวิชาการบางท่านเห็นว่า เราพึงหาเหตุแห่งความอ่อนแอของพุทธศาสนาในเมือง ไทยได้จากการปฏิรปู คณะสงฆ์ซงึ่ เริม่ มาตัง้ แต่สมัยรัชกาลที่ 5 นีเ้ อง แทนทีจ่ ะไปดูความ เปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ-สังคมซึ่งเกิดขึ้นจากความทันสมัย เพราะการปฏิรูปไปยึด เอาพระและวัดมาจากคนท้องถิ่น (ดู O’Connor, 1993) ปฏิเสธไม่ได้ว่าข้อเสนอนี้มี ความจริงส่วนหนึ่ง แต่ไม่เพียงพอที่จะอธิบายความเคลื่อนไหวทางศาสนาที่เกิดขึ้นใน สังคมไทยปัจจุบัน พุทธศาสนาแห่งชาตินั้นอ่อนแอลงอย่างเห็นได้ชัด แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มี ความพยายามปรับตัวทาง “ศาสนา” ให้รับกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น “ศาสนา” ผีหรือ “ศาสนา” พุทธ 10

- 111 60

.indd 111

3/3/2554 16:02:29


| ศาสนาในสังคมไทยปัจจุบัน

ในสังคมไทยปัจจุบันมีมากและเด่นชัด เปิดโอกาสให้ผู้คนได้ “เจรจา ต่อรอง” กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ (ผ่านพิธีกรรม ของถวาย เงิน และการปฏิบัติ ศาสนา) มากเสียยิ่งกว่าจะมีโอกาส “เจรจาต่อรอง” กับอํานาจในชีวิต จริงหลายเท่านัก ใช่แต่เพียงลัทธิความเชือ่ ทีถ่ กู จัดว่าเป็น “ไสยศาสตร์” เท่านัน้ พระภิกษุและองค์กรในพุทธศาสนาอีกหลายแห่งก็ได้มีการปรับจุด เน้นหรือตีความคําสอนให้ตอบสนองต่อความทันสมัยและวิกฤตความ ทันสมัยในสังคมไทยอีกมาก เพียงแต่พระภิกษุและองค์กรเหล่านี้ถูก จัดว่าเป็น “ชายขอบ” ของพุทธศาสนาแห่งชาติ หรือมิฉะนั้นก็เป็น “ภายนอก” ไปเลย แม้แต่การผลักดันให้เปลีย่ นพระราชบัญญัตคิ ณะสงฆ์ ให้มีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น จนสามารถออกพระราชบัญญัติ ใหม่ได้ในปี พ.ศ. 2484 ก็มาจากความเคลื่อนไหวของพระชั้นเล็กๆ (พระไพศาล วิสาโล, 2552: 543) (แต่พระราชบัญญัตินี้ถูกยกเลิก ในสมัย สฤษดิ์ ธนะรัชต์) ด้วยเหตุดังนั้น การจะเข้าใจความเคลื่อนไหวทาง “ศาสนา” ในสั ง คมไทยปั จ จุ บั น จึ ง ไม่ ค วรใช้ ก รอบการวิ เ คราะห์ ว่ า ความ เคลื่อนไหวนั้นเป็น “พุทธแท้” หรือ “พุทธเทียม” สอดคล้องหรือไม่กับ คําสอนในพุทธศาสนา เป็นความเชื่อนอกศาสนาหรือไม่ โดยเฉพาะ ใช้การตีความของพุทธศาสนาแห่งชาติเป็นเกณฑ์ เพราะจะมองไม่เห็น ความคึกคักเข้มแข็งของความเคลื่อนไหวทาง “ศาสนา” ที่เกิดขึ้นเลย

- 112 60

.indd 112

3/3/2554 16:02:29


ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ |

“ศาสนา” ในสังคมไทยปัจจุบัน11 “ศาสนา” ในประเทศไทย โดยเฉพาะพุทธศาสนาแบบรวมศูนย์ ให้คําตอบแก่วิกฤตของความทันสมัยอย่างไรบ้าง การเน้นโลกนี้ การปฏิรูปศาสนาตั้งแต่ปลายสมัยรัชกาลที่ 3 ได้เริ่มในเรื่องนี้ มาก่อน คือลดความสําคัญของโลกุตระในคําสอนลง และทําให้หลัก ธรรมของพุทธศาสนากลายเป็นหลักศีลธรรมโลกียะ เพื่อเป็นกรอบ ความประพฤติของคนในโลกนี้ มีอานิสงส์ที่สามารถเห็นได้ในโลกนี้ พุทธศาสนาแห่งชาติจึงหันมาใส่ใจแก้ปัญหาชีวิตในทางปฏิบัติ เช่น การทํามาค้าขายต้องซื่อสัตย์สุจริต ปัญหาครอบครัวอาจแก้ได้ด้วย การทําหน้าที่ให้ครบถ้วน (ตามทิศหก) แต่ในขณะเดียวกัน เศรษฐกิจ และสังคมไทยก็เปลีย่ นไปมาก หลักธรรมหมวดทีเ่ รียกกันว่าคิหปิ ฏิบตั ิ เหล่านีไ้ ม่อาจชีท้ างสาํ หรับคนในสังคมปัจจุบนั ได้ในอีกหลายเรือ่ ง เช่น ในฐานะผูซ้ อื้ หุน้ ในฐานะผูจ้ งรักภักดี ในฐานะผูบ้ ริโภค ในฐานะสมาชิก พรรคการเมือง ฯลฯ เพราะพุทธศาสนาแห่งชาติได้ตัดทอนหลักธรรม ส่วนที่เกี่ยวกับสังคมออกไปดังที่กล่าวแล้ว จึงทําให้ไม่สามารถอธิบาย นับ จากตอนนี้ ไ ป ได้ นำ� เอาปาฐกถาซึ่ งแสดงในโอกาสครบรอบ 60 ปี ข องคณะ เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มาปรับเพียงเล็กน้อย ที่จริงแล้ว ผู้เขียน ต้องการพูดถึงวิกฤตความทันสมัยแต่ละประเด็น ว่าระบบความเชื่อต่างๆ ในสังคมไทย ได้พัฒนาขึ้นตอบสนองอย่างไร เพื่อให้เห็นว่า “ศาสนา” ของไทยได้กลับไปสู่ลักษณะที่ หลากหลายเหมือนก่อนการปฏิรปู ใหม่อกี ครัง้ หนึง่ ในท่ามกลางความอ่อนแอและเฉยชา ของพุทธศาสนาแห่งชาติ แต่เนือ่ งจากมีเวลาไม่เพียงพอ จึงไม่อาจปรับแก้โครงสร้างของ เนื้อหาให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ได้ทัน แม้กระนั้นก็หวังว่าผู้อ่านจะสามารถจับประเด็น ดังกล่าวจากเนื้อหาที่ไม่อยู่ในโครงสร้างที่ต้องการได้ไม่ยาก 11

- 113 60

.indd 113

3/3/2554 16:02:29


| ศาสนาในสังคมไทยปัจจุบัน

ความขัดแย้งกันของหลักศีลธรรมที่เป็นส่วนตนกับส่วนรวมได้ และ ไม่สามารถให้แนวทางเชิงศีลธรรมแก่บทบาททางสังคมได้ ในอีกด้านหนึ่งซึ่งพบใน “ศาสนา” ของไทยปัจจุบัน คือการ ทําให้อุดมคติทางโลกุตระของพุทธศาสนา รวมทั้งชาติภพอื่น เข้ามา ปรากฏอยู่ในโลกนี้ เช่น การทําให้นิพพานหรือความหลุดพ้นเป็น สภาวะที่อาจเกิดขึ้นได้กับทุกคน “ที่นี่ เดี๋ยวนี้” โดยไม่ต้องรอไปถึง ชาติหน้า เส้ น แบ่ ง ระหว่ า งโลกุ ต ระและโลกี ย ะแคบลง นั ก วิ ช าการ บางท่านเรียกว่า สิ่งที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์กับสิ่งที่ถือว่าสาธารณ์เข้ามาอยู่ ใกล้กัน หรือบางกรณีปะปนกัน ใน “พุทธศาสนาแห่งชาติ” นั้น ความ หลุดพ้นเป็นเรื่องที่อยู่ไกล ต้องสั่งสมบุญบารมีไปหลายชาติกว่าจะได้ บรรลุธรรมขั้นสูงสุด ฉะนั้น หลักธรรมที่เป็นแก่นแท้ของพุทธศาสนา จึงห่างไกลจากชีวิตปรกติของคนทั่วไป เราอาจมองประเด็นปัญหานี้จากอีกแง่มุมหนึ่งก็ได้ว่า ใน ทุกศาสนาล้วนมีมิติสองด้านอยู่ด้วยกันทั้งสิ้น คือด้านที่เป็นโลกุตระ (transcendental) และด้านที่อยู่ใกล้ชิดกับชีวิตมนุษย์ (immanent) (เช่น พระเจ้าสูงส่งยิ่งใหญ่เกินกว่าที่มนุษย์จะหยั่งถึง หรือพระเจ้า เป็นส่วนหนึ่งของเราทุกคน) ซึ่งมิติของศาสนาด้านที่อยู่ใกล้ชิดกับ มนุษย์ได้รับการเน้นยํ้าในประเทศไทยปัจจุบันมาก การจัดพิธีกรรมตักบาตรหรือถวายข้าวแก่พระพุทธเจ้าของ ธรรมกายเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัด ในขณะเดียวกัน การนับญาติกับ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในลัทธิพิธีหลายอย่างก็สะท้อนความใกล้ชิดดังกล่าว เช่น เรียกรัชกาลที่ 5 ว่าเสด็จพ่อ เรียกกวนอิมว่าเจ้าแม่หรือพระแม่ เป็นต้น แขกของสํานักทรงเจ้าเข้าผีก็เรียกผีที่เข้าทรงในเชิงเครือญาติเป็น ส่วนใหญ่ ยังไม่ต้องพูดถึงความสามารถที่จะสนทนาปราศรัยขอความ ช่วยเหลือจากผีได้โดยตรง - 114 60

.indd 114

3/3/2554 16:02:29


ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ |

การเน้ น มิ ติ ข องความใกล้ ชิ ด กั บ สิ่ ง ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ เ ช่ น นี้ ข อง ศาสนา ทําให้ศาสนาของไทยปัจจุบันเข้ามาทําอะไรที่พุทธศาสนา แห่งชาติพยายามกีดกันไว้ตลอดมา นั่นก็คือการนําหลักธรรมทาง ศาสนาเข้ามาแทรกแซงหรือประยุกต์ใช้ในทางโลกย์ ท่านพุทธทาสภิกขุยอมรับเลยว่า นอกจากความทุกข์จะมีเหตุ มาจากภายในเช่นตัณหาหรืออวิชชาแล้ว ยังมีเหตุมาจากภายนอกด้วย จึงเป็นหน้าที่ของชาวพุทธในการช่วยกันทําให้เหตุจากภายนอกนั้น ลดลง (เช่น ขยายศีลธรรมให้ครองโลก) (Jackson, 1988: 51-4) สั น ติ อ โศกทํ า สิ่ ง เดี ย วกั น นี้ แต่ อ ย่ า งเป็ น รู ป ธรรมกว่ า โดยการตั้ ง คอมมูนของตนขึน้ หลายแห่งทัว่ ประเทศ (ยังไม่ตอ้ งพูดถึงการสนับสนุน พรรคการเมืองและการเข้าร่วมชุมนุมทางการเมือง) พระพยอม กัลยาโณ แห่งวัดสวนแก้ว นําวัดเข้ามาเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการแก้ปัญหา สังคมในระดับที่สูงกว่าชุมชนโดยตรง พระนักพัฒนาในภาคอีสานนํา ชาวบ้านพัฒนาในแนวทางที่เป็นอิสระจากแนวทางการพัฒนาของรัฐ เป็นต้น ในทีน่ สี้ มควรจะกล่าวถึงลักษณะพิเศษบางอย่างของความเป็น “จารีตนิยม” อย่างเหนียวแน่นของพุทธศาสนาแห่งชาติ เพื่อให้เห็นว่า เหตุใดในนามของพุทธศาสนาเช่นเดียวกันนี้ หนทางที่จะปรับเปลี่ยน จึงเปิดได้กว้างมาก พุทธศาสนาแห่งชาติไม่มหี รือไม่คอ่ ยมี “ลัทธิ” คาํ สอนทีต่ ายตัว ซึ่งต้องยึดถือ เพราะเป้าหมายในการสถาปนาพุทธศาสนาแห่งชาติ ไม่ใช่เรื่องของศาสนาเท่ากับการเมือง คือต้องการสร้างรัฐรวมศูนย์ และใช้องค์กรสงฆ์เป็นเครื่องมือของรัฐดังที่ได้กล่าวแล้ว ในขอบเขต กว้างๆ อันหนึ่งนี้ จะเน้นคําสอนส่วนใดก็ได้ ฉะนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า พุทธศาสนาแห่งชาติไม่มี orthodoxy หรือหลักธรรมคําสอนแบบฉบับ ถึงมีก็ค่อนข้างเปิดกว้างให้แก่การตีความ (เปรียบเทียบกับศาสนา - 115 60

.indd 115

3/3/2554 16:02:29


| ศาสนาในสังคมไทยปัจจุบัน

คริสต์ ซึ่งหากไม่ยอมรับว่าพระเยซูเป็นพระบุตร แต่เป็นเพียงนัก ปราชญ์ผู้มีปัญญาเลิศ ก็พ้นออกไปจากความเป็นคริสเตียนได้เลย) ในทางตรงกันข้าม พุทธศาสนาแห่งชาติกลับมีแบบฉบับของวัตรปฏิบตั ิ ที่ตายตัวค่อนข้างมาก แต่จํากัดเฉพาะพระภิกษุ เช่น การโกนคิ้ว การ กินอาหารในยามวิกาล ฯลฯ (orthopraxie) ในฐานะเครื่องมือของ รัฐ ย่อมเป็นธรรมดาที่วัตรปฏิบัติที่นอกรีตนอกรอยย่อมเป็นอันตราย ต่อรัฐได้มาก ฉะนั้น ตราบเท่าที่การปรับเปลี่ยนศาสนาไม่กระทบต่อ แบบฉบับของวัตรปฏิบัติที่ตายตัว ก็จะตีความหรือเปลี่ยนจุดเน้นของ คําสอนไปอย่างไรก็ได้ (ดู Jackson, 1988: 33-47) การให้ ค วามสํ า คั ญ กั บ วั ต รปฏิ บั ติ เ หนื อ หลั ก คํ า สอนของ พุทธศาสนาแห่งชาติ สร้างข้อจํากัดให้แก่การตีความใหม่หรือการสร้าง จุดเน้นใหม่บ้างเหมือนกัน ข้อนี้เข้าใจได้ไม่ยากเมื่อดูจากสิ่งที่เป็นความเปลี่ยนแปลง ดังทีก่ ล่าวแล้วข้างต้น คือย่อมมาจากการตีความหรือให้จดุ เน้นคาํ สอน ใหม่อย่างแน่นอน แต่สิ่งที่ต้องการชี้ให้เห็นในที่นี้ก็คือ โดยวิธีการแล้ว มีทางเลือกจะทําได้หลายอย่าง เพราะอุปสรรคสําคัญคือพุทธศาสนา แห่งชาติ ซึ่งมีอํานาจรัฐหนุนหลัง การตีความที่อาจเป็นอันตรายต่อ ประโยชน์ปลูกฝังขององค์กรพุทธศาสนาแห่งชาติ ย่อมก่อให้เกิดการ สกัดกัน้ อย่างรุนแรงได้ บางสาํ นักเช่นของท่านพุทธทาสภิกขุ อาจเลือก ที่จะตีความหลักธรรมไปในทิศทางที่แตกต่างไปมาก แต่รักษาวัตรปฏิบัติตามแบบแผนไว้อย่างเหนียวแน่น (orthodoxy vs orthopraxie) บางสํานักพร้อมจะเผชิญกับองค์กรพุทธศาสนาแห่งชาติอย่างตรงไป ตรงมา จนเป็นผลให้ต้องแยกตัวออกไป เช่น สันติอโศก บางสํานัก ใช้การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ใหญ่ในองค์กรพุทธศาสนาแห่งชาติ เช่น ธรรมกาย อีกประการหนึง่ ทีต่ อ้ งการชีใ้ ห้เห็นในข้อนีด้ ว้ ยก็คอื การนับถือ ผีสางเทวดาของไทยไม่มี “จารีต” ทีต่ ายตัว หรือไม่มี orthodoxy ฉะนัน้ - 116 60

.indd 116

3/3/2554 16:02:29


ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ |

ถึงจะมีความเปลีย่ นแปลงอย่างไรก็ไม่อาจกล่าวได้ถนัดว่ามีการตีความ หรือสร้างจุดเน้นของคําสอนใหม่ แต่ที่จริงแล้วมีความเปลี่ยนแปลง มากมายในการนับถือผีของไทยในปัจจุบนั นับตัง้ แต่ผที ลี่ งประทับทรง มีจาํ นวนเพิม่ ขึน้ มาก โดยเฉพาะในเขตเมือง ผีเก่าบางตนหมดบทบาท ไปแทบจะสิ้นเชิง หรือกลับเป็นที่นิยมใหม่ แต่เปลี่ยนลักษณะไปจาก เดิมจนไม่เหลือเค้า ในขณะทีผ่ มี ี “ฤทธิ”์ ในการแก้ปญ ั หาแตกต่างออก ไปจากทีเ่ คยมีในอดีตอย่างมาก เช่น หมดบทบาทในการรักษาระเบียบ ของสังคม แต่หันไปเป็นผู้แก้ปัญหาชีวิตของปัจเจกบุคคลแทน การให้ความสําคัญกับชีวิตในโลกนี้ ดังที่กล่าวแล้วว่าพบได้ ในความเคลื่อนไหวทางศาสนาในประเทศไทยปัจจุบันทุกสํานัก ที่อ้าง กันอยู่เสมอก็คือคําสอนของท่านพุทธทาสภิกขุ ดังที่ท่านมักจะเน้น เรื่องจิตว่างและนิพพาน “ที่นี่ เดี๋ยวนี้” คําสอนชั้นสูงในพุทธศาสนา จึงมีความหมายแก่ชีวิตฆราวาส เช่นเดียวกับในสํานักอื่นๆ แทบ ไม่มีสํานักใดที่ปฏิเสธศักยภาพของมนุษย์ในการบรรลุธรรมในชาตินี้ หรือในโลกนี้ ไม่ว่าจะเป็นธรรมกาย สันติอโศก ตลอดจนความนิยม ในการทําสมาธิซึ่งแพร่หลายทั้งในระบบโรงเรียนและในสังคมวงกว้าง ซึ่งนั่นก็คือการทำ�ให้แบบปฏิบัติที่ครั้งหนึ่งเคยถือว่าเกินความจําเป็น ของชี วิ ต ฆราวาส กลายเป็ น วั ต รปฏิ บั ติ ป รกติ ธ รรมดา เพื่ อ ทํ า ให้ ฆราวาสสามารถเผชิญกับโลกนี้ได้ดีขึ้น อันที่จริง เมื่อเราพูดถึงคุณค่าของโลกนี้ ความหมายที่มีต่อ ชีวิตของคนย่อมกว้างกว่าหลักธรรมคําสอนมาก เช่น พิธีกรรมก็อาจ ให้ความหมายแก่ชวี ติ ด้วย นอกจากความเชือ่ ในทีน่ จี้ ะขอยกตัวอย่าง การจัดองค์กรของสาํ นักธรรมกายและสันติอโศก ซึง่ เข้าไปเกีย่ วข้องกับ ชีวิตของฆราวาสที่นับถือมากกว่า วัดพระธรรมกาย (และสาขา) มีฆราวาสที่ศรัทธากระจายอยู่ ทั่วประเทศ และมีการจัดองค์กรของฆราวาสกลุ่มนี้อย่างหลวมๆ เพื่อ ติดต่อรับบริการจากวัด หรือช่วยเหลือวัดทางด้านการเงินหรือแรงงาน - 117 60

.indd 117

3/3/2554 16:02:29


| ศาสนาในสังคมไทยปัจจุบัน

ได้สะดวก โดยเรียกว่ากลุ่มกัลยาณมิตร ในโอกาสที่วัดจัดพิธีกรรม ประจําสัปดาห์หรือพิธีกรรมขนาดใหญ่ จะมีรถรับส่งกลุ่มกัลยาณมิตร เป็นสายๆ ทั่วกรุงเทพฯ โดยนัดเวลาและสถานที่ไปขึ้นรถพร้อมกัน และสมาชิกจะแต่งกายคล้ายกัน (เช่น นุ่งขาวหรือห่มผ้าคลุมไหล่ขาว) เพื่อเข้าร่วมในพิธีกรรมของวัด แม้ว่าจะเป็นการจัดตั้งอย่างหลวมๆ แต่กลุ่มกัลยาณมิตรก็ สามารถสานสัมพันธ์กันได้แนบแน่น กลายเป็น “ชุมชน” ซึ่งขาดหาย ไปในเขตเมือง แต่ในขณะเดียวกัน กลุ่มทางสังคมนี้ก็ยังมีประโยชน์ ในเชิงธุรกิจของสมาชิกด้วย เช่น เพราะอยูใ่ นกลุม่ กัลยาณมิตรด้วยกัน ก็อาจให้ความช่วยเหลือโดยการรับผู้ที่ตกงานมาช่วยงานในธุรกิจ ขนาดเล็กของตน บางคนอาจใช้ความสัมพันธ์นี้ในการบอกขายที่ดิน และบางคนอาจใช้ความสัมพันธ์นี้เพื่อเสริมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของ ตน ซึ่งอยู่ในพื้นที่ใกล้วัด เป็นต้น (อภิญญา, 2540) ควรเข้าใจด้วยว่า ฆราวาสทีศ่ รัทธาวัดพระธรรมกายส่วนใหญ่ เป็นคนชั้นกลางระดับกลางๆ ลงมา คนเหล่านี้ไม่มีเครือข่ายทางธุรกิจ กว้างขวางนัก “ชุมชน” ทางศาสนาที่ตัวเองได้พบจึงมีประโยชน์ทั้ง ทางด้านจิตวิญญาณและทางด้านธุรกิจในโลกนี้ไปพร้อมกัน ส่ ว นสั น ติ อ โศกนั้ น ถึ ง กั บ ตั้ ง แดนอโศกขึ้ น ตามที่ ต่ า งๆ ใน หลายจังหวัด (9 แห่งทั่วประเทศ) ใช้ชีวิตเป็นแบบอย่างของการ ปฏิบัติธรรม เช่น อยู่ง่าย กินง่าย ถือประโยชน์ของชุมชนเป็นที่ตั้ง เน้นความเสมอภาค สามารถวิจารณ์กันเองได้ (เรียกว่า “ชี้ขุมทรัพย์”) (ขัตติยา, 2547: 63-4) รวมทัง้ ทําการผลิตและทําการค้าทีอ่ ยูน่ อกระบบ ทุนนิยม (เรียกว่าบุญนิยม) ซึ่งกํากับตั้งแต่การบริโภค การผลิต และ การแลกเปลีย่ น คือบริโภคโดยไม่ยดึ ติด ผลิตโดยไม่ทาํ ลายสิง่ แวดล้อม และไม่เอารัดเอาเปรียบกัน ส่วนการแลกเปลี่ยนก็เป็นการแลกเปลี่ยน ทีม่ งุ่ เอาบุญเป็นทีต่ งั้ นับตัง้ แต่ขายของขาดทุนถือว่าเป็นทาน (เรียกว่า - 118 60

.indd 118

3/3/2554 16:02:29


ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ |

“กาํ ไรอาริยะ”) ไปจนถึงเอากําไรแต่พอสมควรเพือ่ ยังชีพ เป็นการนําเอา อุดมคติของศาสนามาปฏิบัติในชีวิตจริงของโลกนี้ พร้อมกันไปกับการ เป็นคําตอบให้แก่ปัญหาต่างๆ ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ของโลกปัจจุบันด้วย (ดู ขัตติยา, 2547: 99-111) ในขณะเดียวกัน สันติอโศกก็มีเครือข่ายของตนเองที่ไม่ได้อยู่ ร่วม “ชุมชน” โดยตรง เรียกว่ากลุ่ม “ญาติธรรม” คนเหล่านี้อาจดําเนิน ธุรกิจหรือกิจกรรมอื่นๆ ในชีวิตปรกติของตน แต่ก็ประยุกต์เอาหลัก คําสอนของสันติอโศกมาใช้ในกิจกรรมเหล่านั้น เช่น เปิดร้านอาหาร มังสวิรัติ เปิดร้านขายของที่ผลิตจากแดนอโศกต่างๆ หรือผลิตโดย ไม่ขัดกับหลักการของสันติอโศก พร้อมทั้งแจ้งราคาต้นทุนแก่ลูกค้าไว้ ในสินค้าทุกชิ้น เป็นต้น การทําให้ศาสนาไปกันได้กับวิทยาศาสตร์ตะวันตกระดับหนึ่ง มีได้ตั้งแต่การใช้ระบบเหตุผลที่มีลักษณะเชิงประจักษ์ เพื่อ อธิบายคําสอนหรือหลักธรรม (ซึ่งเป็นแนวทางที่ชนชั้นนําไทยใช้ ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา) หรือแสดงให้เห็นว่าหลักธรรมของ พุทธศาสนานั้นไม่ได้ขัดแย้งกับสิ่งที่วิทยาศาสตร์ค้นพบ และบางส่วน อาจเหนือกว่าวิทยาศาสตร์เสียอีก หรือการใช้เทคโนโลยีของตะวันตก ช่วยในพิธีกรรม แม้แต่ในความเชื่อเกี่ยวกับผีก็อาศัยเหตุผลในเชิง กลไกสําหรับพิธกี รรมอย่างมาก เช่น เพือ่ ตัดกรรมทีเ่ คยฆ่าสัตว์ตดั ชีวติ ก็ให้ปล่อยนกปล่อยปลา เป็นต้น ที่น่าสนใจเป็นพิเศษคือ “ศาสนา” ส่วนที่เกี่ยวกับการทรงเจ้า เข้าผี สุริยา สมุทคุปติ์ ซึ่งศึกษาการทรงเจ้าเข้าผีในเขตเมืองของ นครราชสีมา พบว่าปัญหาชีวิตที่นำ�ลูกค้าไปพบคนทรงนั้นประกอบ ด้วย การเจ็บไข้ได้ปว่ ยทีแ่ พทย์สมัยใหม่รกั ษาไม่หาย ปัญหาครอบครัว - 119 60

.indd 119

3/3/2554 16:02:29


| ศาสนาในสังคมไทยปัจจุบัน

โดยเฉพาะความประพฤติของสามี การค้าขาย ธุรกิจ และความอยาก รวย (สุริยา, 2539) น่าสังเกตว่าทั้งหมดนี้ล้วนเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริง ในชีวิตของผู้คน โดยเฉพาะคนชั้นกลางในเขตเมือง ในหมู่ผู้ศึกษาการทรงเจ้าเข้าผีโดยทั่วไปพบว่า ปริมาณของ เจ้าทีป่ ระทับทรงและคนทรงนัน้ มีเพิม่ ขึน้ ในเขตเมืองของไทยอย่างมาก ผู้ศึกษาบางท่านคิดว่าการทรงเจ้าเข้าผีเป็นสิ่งตกค้างมาจากศาสนาผี ในสมัยโบราณ ซึ่งไม่น่าจะจริง เพราะปริมาณที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว เมื่อ เปรียบเทียบกับสมัยก่อนตามคําบรรยายเกี่ยวกับการทรงเจ้าเข้าผี ของพระยาอนุมานราชธน ซึ่งกล่าวว่าในหมู่บ้านชนบทแต่ก่อนมักมี “แม่มดคนทรง” แต่กท็ าํ พิธเี พียงปีละครัง้ ในเทศกาลสาํ คัญของหมูบ่ า้ น ผีสําคัญคือผีบรรพบุรุษ ซึ่งมักกล่าวว่าลงมาเพื่อร่วมสนุกกับลูกหลาน และอาจมี ผี อื่ น ๆ ลงมาประทับทรงด้ว ย ในขณะที่คนในหมู่บ้านก็ ร้องรําทําเพลงหรือขอพรและถามโชคชะตากับผีที่ลงมาประทับทรง โดยใช้เวลาจากเช้าถึงบ่าย ผีต่างๆ จึงออกไป (พระยาอนุมานราชธน, 2503: 374-6) นักมานุษยวิทยาตะวันตกบางคนตัง้ ข้อสังเกตว่า การทรงเจ้า เข้าผีของชนเผ่ามักกระทําในนามของชุมชน แต่การทรงเจ้าเข้าผี ในปัจจุบนั ทาํ ตามแนวคิดของความทันสมัย เช่น กระทาํ โดยอาํ นาจของ ปัจเจกบุคคล (ทีเ่ ป็นเจ้าหรือเป็นคนทรง) และเพือ่ แก้ปญ ั หาของปัจเจก ที่เป็นลูกค้าซึ่งไปขอ(หรือซื้อ)ความช่วยเหลือ (ดู Morris, 2006: 36) ปรากฏการณ์ความแพร่หลายของการทรงเจ้าเข้าผีในโลก สมัยใหม่ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทย แต่เกิดขึ้นในโลกทันสมัย ทัว่ ไป โดยเฉพาะในโลกตะวันตก ยิง่ หากนับรวมการเข้าฌานชนิดต่างๆ ร่วมด้วย ก็จะยิ่งพบความแพร่หลายในสังคมเหล่านั้นมากขึ้นไปอีก (ดู Morris, 2006: 34-6 และ 39-40) อนึง่ นักมานุษยวิทยาตะวันตกบางคนทีไ่ ด้ศกึ ษาเกีย่ วกับการ เข้าทรงและเข้าฌานมามากอย่าง เอริกา บูร์กินญอน (Erika Bour- 120 60

.indd 120

3/3/2554 16:02:30


ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ |

guignon) เสนอว่า การเข้าทรงมีแกนเรื่องอยู่สองเรื่องเสมอ นั่นก็คือ อาํ นาจและเพศสัมพันธ์ (Morris, 2006: 38-9) ในประเทศไทย คนทรง จะได้รบั การเคารพกราบไหว้เป็นอย่างยิง่ ในระหว่างเข้าทรง หรือแม้แต่ ในชีวิตปรกติ เช่น ห้ามมิให้ใครถูกศีรษะ เพราะถือว่าส่วนหนึ่งของเจ้า ยังสถิตอยู่ในร่างคนทรง (วิรัชและนิภาวรรณ, 2533: 79) ในขณะที่ คนทรงถูก “ประทับ” หรือ “ขี”่ จากเจ้าโดยสิน้ เชิง สูญเสียบุคลิกส่วนตัว ไปหมด เมือ่ เปรียบเทียบกับการเข้าฌานจึงแตกต่างกัน โดยผูเ้ ข้าฌาน ยังเป็นตัวของเขาเอง คนทรงเจ้าจึงเป็นผูถ้ กู กระทํา (passive) ในขณะ ที่คนเข้าฌานอาจท่องเที่ยวไปในนิมิตต่างๆ ซึ่งย่อมเป็นผู้กระทําเอง (active) บทบาทผูถ้ กู กระทาํ คือบทบาทของผูห้ ญิง และนัน่ เป็นเหตุให้ ในบางท้องถิ่นเรียกว่า “ม้าทรง” (บางชนเผ่าในแอฟริกาเหนือก็เรียก คนทรงว่าเป็นม้าเช่นกัน) คือถูก “ขี”่ นีน่ บั เป็นอีกมิตหิ นึง่ ของ “ศาสนา” ในประเทศไทยปัจจุบันที่เกี่ยวกับอํานาจและเพศสัมพันธ์ แต่ก็ยึดถือ โดยคนที่นับถือพุทธศาสนา ฉะนั้ น หากสรุ ป อย่ า งกว้ า งๆ ก็ คื อ ภาวะความทั น สมั ย ทํ า ให้ ศ าสนาต้ อ งหั น มาให้ ค วามสํ า คั ญ กั บ โลกนี้ ม ากขึ้ น โดยทั่ ว ไป พุทธศาสนาในเมืองไทยก็ทําอย่างเดียวกัน แต่ด้วยวิถีทางที่ต่างกัน และเหมาะกับคนต่างสถานะกันในสังคม ซึ่งต้องเผชิญกับปัญหาที่ เกิดจากความทันสมัยต่างกัน ในขณะที่พุทธศาสนาแห่งชาติซึ่งรัฐ ให้การสนับสนุนอยู่นั้นแข็งตัวทั้งในแง่การอธิบายหลักธรรมให้เข้ากับ ยุคสมัยและในแง่การจัดองค์กร โดยแทบไม่ได้เข้ามาเผชิญกับความ ทันสมัยในแง่นี้เลย ผู้หญิง ใน “ศาสนา” แบบเดิมซึ่งมีอยู่ในสังคมไทยก่อนการปฏิรูป ผู้หญิงมีบทบาทใน “ศาสนา” อยู่มากพอสมควร เช่น ในภาคเหนือ - 121 60

.indd 121

3/3/2554 16:02:30


| ศาสนาในสังคมไทยปัจจุบัน

ผู้หญิงเป็นผู้สืบสายผีบรรพบุรุษหรือ “เค้าผี” ในภาคกลาง คนทรง ในหมู่บ้านที่เรียกว่า “แม่มดคนทรง” อันมีหน้าที่เข้าทรงผีบรรพบุรุษ ในเทศกาลสาํ คัญของหมูบ่ า้ น ก็ลว้ นเป็นผูห้ ญิง ถึงแม้ผหู้ ญิงจะไม่อาจ บวชเรียนในพุทธศาสนาได้ แต่การถือศีลและแปลงเพศเป็นนักบวช ที่เรียกว่าชี ผ้าขาว ฤษี หรือแม้แต่ “อาจารย์” ก็ทํากันเป็นปรกติ และ ไม่ทําให้สถานภาพทางสังคมตกตํ่าลงเหมือนในปัจจุบัน ในทางสังคม ผู้หญิงไม่ได้สืบเฉพาะสายของผีบรรพบุรุษ แต่ ยังเป็นผู้สืบมรดกของครอบครัวอีกด้วย เพราะครึ่งหนึ่งหรือกว่าครึ่ง ของการแต่งงานในสังคมไทยโบราณ เป็นการแต่งงานเข้าสู่ตระกูล ของฝ่ายหญิง ภรรยาจึงมีอํานาจในการต่อรองกับสามีสูง ผ่านวงศาคณาญาติใกล้ชิดในหมู่บ้านของตน และผ่านกําลังทางเศรษฐกิจที่ตน ได้รับสิทธิจากครอบครัว ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับเศรษฐกิจ-สังคมไทยปัจจุบัน ทําให้บทบาทของผู้หญิงทางศาสนา ครอบครัว และสังคม ลดลง เช่น ในพุทธศาสนาแห่งชาติ การนับถือผีถกู เหยียดว่าเป็นเรือ่ งนอกศาสนา ของคนไร้การศึกษา อีกทั้งเครือข่ายญาติมิตรของผู้หญิงก็อ่อนพลัง ลงด้วยเหตุหลายประการ ทําให้ภรรยามีอํานาจต่อรองกับสามีน้อยลง ไปมาก ในขณะเดียวกัน ความสัมพันธ์ในครอบครัวก็เปลี่ยนไป เช่น เนื่องจากผู้หญิงต้องรับผิดชอบภาระทางเศรษฐกิจของครอบครัวมาก ขึ้น ทําให้ไม่มีศักยภาพในการกํากับควบคุมพฤติกรรมของบุตรหลาน ชีวติ ดาํ เนินไปโดยขาดการช่วยเหลือจากชุมชนในการเข้ามาแก้ปญ ั หา โดยสรุปก็คือ เกิดช่องว่างใน “ชีวิตทางศาสนา” ของผู้หญิงไทยอย่าง กว้างใหญ่ (“ชีวิตทางศาสนา” นั้นไม่อาจแยกออกจากชีวิตด้านอื่นๆ ของมนุษย์ได้) สิ่งที่น่าสนใจก็คือ ศาสนาในสังคมไทยสมัยใหม่เข้ามาตอบ ปัญหาช่องว่างตรงนี้ของผู้หญิงอย่างไร - 122 60

.indd 122

3/3/2554 16:02:30


ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ |

ความเคลื่อนไหวของพุทธศาสนาในวัดพยายามตอบปัญหา นี้มานานแล้ว กล่าวคือ การนําวิปัสสนาแบบพม่าเข้ามาเผยแพร่ใน ประเทศไทยของท่านเจ้าคุณพระพิมลธรรมที่วัดมหาธาตุ โดยรับ ผู้ปฏิบัติทั้งชายและหญิง เช่นเดียวกับหลวงพ่อวัดปากนํ้าที่ฝึกสมาธิ แบบธรรมกาย นอกจากนี้ “ลานอโศก” ของวัดมหาธาตุยังเป็นแหล่ง กระตุ้นการเรียนรู้พุทธศาสนาที่เปิดกว้างแก่คนทั้งสองเพศ เช่น การ ศึกษาและถกเถียงกันเรื่องพระอภิธรรม ผู้หญิงจึงเริ่มเข้ามาเป็นผู้ เชี่ยวชาญทางพุทธศาสนา อันเป็นสถานะและบทบาทที่ผู้หญิงเคยมี มาก่อนในพุทธศาสนาไทยก่อนการปฏิรูป สวนโมกขพลารามรับผู้หญิงเข้าไปพํานัก โดยแยกสัดส่วน ให้ เ หมาะสม และเคยมี โ ครงการ “ธรรมมาตา” เพื่ อ อบรมผู้ ห ญิ ง โดยเฉพาะ สถานะของผู้หญิงเหล่านี้แตกต่างจาก “ชี” ในวัดทั่วไป กล่าวคือ มีสถานะเป็นผู้ปฏิบัติธรรมเหมือนกับฆราวาสผู้ชายอีกมาก ในวัด ในกรณีธรรมกาย ผู้นําทางจิตวิญญาณที่สําคัญที่สุดคือแม่ชี จันทร์ ขนนกยูง แม้ว่าสถานะทางพระวินัยของพุทธศาสนาย่อมเป็น รองพระภิกษุ แต่แม่ชีจันทร์เป็นอาจารย์ของเจ้าอาวาส จึงได้รับการ ยกย่องสูงสุด ในการทําบุญใหญ่ (เช่น สร้างพระมหาเจดีย)์ ผูท้ บี่ ริจาค เงินเป็นจํานวนมากๆ จะได้เดินตามหลังแม่ชีจันทร์ในการเดินเทียน เป็นต้น นอกจากนี้ วัดพระธรรมกายยังรับสมัครผู้ปฏิบัติงานเพื่อ ช่วยงานของวัดและทํางานในโครงการ “ธรรมมาถึงหน้าประตูบ้าน” หรือเรียกในภาษาอังกฤษว่า Knock-Door Program คนเหล่านี้ต้อง ใช้ชีวิตที่เคร่งครัดมากๆ เช่น ถือศีลแปด นอนร่วมกันใน “อาศรม” แต่ แยกเพศ ตื่นตีสี่ ทําวัตรเช้าเย็น (อภิญญา, 2540: 37-8) โดยวัดจะ คัดเลือกผู้สมัครทั้งสองเพศ ฉะนั้น แม้ผู้หญิงจะไม่ใช่ “นักบวช” ใน - 123 60

.indd 123

3/3/2554 16:02:30


| ศาสนาในสังคมไทยปัจจุบัน

พุทธศาสนา แต่ก็กลายเป็นสมาชิกส่วนหนึ่งของวัด และมีภาระหน้าที่ ชัดเจน กรณีสันติอโศก แม้จะไม่เจตนาให้มีภิกษุณี แต่ก็มีผู้หญิง เข้ามาปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัด ที่สําคัญก็คือ ผู้หญิงเหล่านี้สามารถ ไต่เต้าสถานะของการปฏิบัติจากขั้นตํ่าไปสู่ขั้นสูงขึ้นได้ และย่อมได้รับ ความนับถือจากผู้คนในสํานักเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย สถานะเหล่านี้ เรียกว่า อารามิก ปะ กรัก และสามัณทเทศ (ซึ่งถือได้ว่าเป็นนักบวช) (พระไพศาล วิสาโล, 2552: 323) หากดูความเคลื่อนไหวทั้งหมดของพุทธศาสนาในวัดดังที่ บรรยายโดยสรุปมานี้ อาจกล่าวได้ว่าการพัฒนาไปสู่การมี “นักบวช” หญิงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะเรียกว่าภิกษุณีหรือไม่ก็ตาม และไม่ว่าจะได้รับการรับรองจากพุทธศาสนาแห่งชาติหรือไม่ก็ตาม (ส่วนความพยายามที่จะตั้งสํานักภิกษุณีขึ้นในประเทศไทยนั้นจะ ไม่กล่าวถึง เพราะทราบกันอยู่โดยมากแล้ว) ในส่วนพุทธศาสนานอกวัดนั้น ผู้หญิงยิ่งมีบทบาทมากขึ้น อย่างเด่นชัด สุริยาและคณะอ้างงานศึกษาของ พอล โคเฮน (Paul Cohen) และ เกฮาน ไวจีย์วอร์ดีน (Gehan Wijeyewardene) ในภาค เหนือว่า พิธีกรรมของพุทธและของผู้ปกครอง เช่น การเซ่นสรวง ผีอารักษ์หลักเมืองซึ่งทํากันเป็นปรกติในอดีต เป็นพื้นที่ของผู้ชาย ในทางตรงกันข้าม การทําพิธีเกี่ยวกับผีบรรพบุรุษ เช่น ผีมด ผีเมง หรือเค้าผี เป็นพื้นที่ของผู้หญิง (สุริยา, 2539: 48-9) ฉะนั้น เมื่อการ ทรงเจ้าเข้าผีแพร่หลายมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นพิธีกรรมที่ค่อนข้างจะ สืบเนือ่ งกับการบูชาผีบรรพบุรษุ ผูห้ ญิงจึงมีบทบาทมากกว่า นิตยสาร มหาลาภ คอลัมน์ “เปิดประตูตําหนักทรง” รายงานว่า จากการสํารวจ ร่างทรง 69 คน ปรากฏว่า 66.67 เปอร์เซ็นต์เป็นผู้หญิง การสํารวจ ของสุริยาและคณะในเมืองนครราชสีมาก็พบสถิติทํานองเดียวกัน (สุริยา, 2539, บทที่ 20) - 124 60

.indd 124

3/3/2554 16:02:30


ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ |

ไม่แต่เพียงส่วนใหญ่ของคนทรงเท่านั้นที่เป็นผู้หญิง ผู้ใช้ บริการส่วนใหญ่ก็เป็นผู้หญิงเช่นกัน (ฉลาดชาย, 2527; สุริยา, 2539, บทที่ 29; วิรัชและนิภาวรรณ, 2533: 30-1) ทั้งหมดนี้ล้วนแสดงให้เห็นการใช้ศาสนาเพื่อทดแทนอํานาจ ที่สูญเสียไปของผู้หญิง และเพื่อแก้ปัญหาในชีวิตประจําวันซึ่งผู้หญิง ต้องเผชิญอย่างไร้ทางออก ปรากฏการณ์ที่ผู้หญิงใช้มิติการทรงเจ้า เข้าผีในศาสนาเพื่อตอบสนองสภาวะที่ตนต้องเผชิญในโลกสมัยใหม่ นั้นไม่ได้พบเฉพาะในประเทศไทย แต่พบได้ในอีกหลายสังคมทั่วโลก นักมานุษยวิทยาบางคน [ไอโอน ลูว์อิส (Ioan Lewis)] ถึงกับกล่าวว่า การเข้าทรงเป็นการแสดงออกซึง่ ความทุกข์ใจของผูห้ ญิง และเป็นการ ประกาศความไม่ขนึ้ ต่อและเป็นอิสระจากผูช้ าย (อ้างใน Morris, 2006: 38) บรรดาลัทธิพธิ ตี า่ งๆ ทีเ่ กิดขึน้ อย่างแพร่หลายในประเทศไทย ก็มีลักษณะที่ไม่ต่างกับแนวโน้มทางศาสนาที่พบได้ทั่วไป กล่าวคือ เปิดพื้นที่ให้แก่ผู้หญิงมากกว่า หรืออย่างน้อยก็เท่าเทียมกับผู้ชาย เช่น การบูชาเสด็จพ่อ ร. 5 ก็ไม่ได้กีดกันผู้หญิง (ผมขอเดาด้วยว่า ในบรรดาผูท้ หี่ อ้ ยเหรียญหรือล็อกเก็ต ร. 5 นัน้ ผูห้ ญิงมีมากกว่าผูช้ าย ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะคุณลักษณะของอานุภาพเสด็จพ่อค่อนข้างจะ เน้นไปทางเมตตามหานิยม กล่าวคือ ทรงช่วยในด้านทรัพย์สนิ เงินทอง) พิธีกรรมที่ลานพระบรมรูปทรงม้าในวันอังคาร ไม่ว่าหญิงหรือชาย ก็สามารถเข้าร่วมพิธีได้ตามสะดวก แม้แต่การปลุกเสกสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ในลัทธิพิธีก็ทําได้ง่าย คือเพียงแค่นำ�เข้าร่วมพิธีกรรมในวันอังคาร เท่านั้น หาได้มีนักบวชหรือเวทมนตร์ที่จะต้องสวดเป็นพิเศษไม่ ลัทธิพิธีกวนอิมบูชาเทพซึ่งเป็น “ผู้หญิง” โดยตรง เจ้าสํานัก ของลัทธิพิธีนี้ (เท่าที่ผมรู้) ล้วนเป็นผู้หญิง สัญลักษณ์ที่กราบไหว้บูชา คือรูปผูห้ ญิงทีแ่ สดงเพศสภาพหญิงอย่างชัดเจน เช่น อุม้ เด็ก ทอดแขน ลงเบือ้ งล่างในท่าของการแสดงความทะนุถนอมกล่อมเกลีย้ งเหมือนแม่ - 125 60

.indd 125

3/3/2554 16:02:30


| ศาสนาในสังคมไทยปัจจุบัน

นอกจากนี้ ความเชื่อที่ว่าเป็นเทพผู้ประทานพรตามที่ขอ (หากปฏิบัติ ตามคําสั่งสอน) ก็คือสมมติของแม่ที่เป็นผู้ให้รางวัลแก่ลูก ในทางตรงกันข้าม ผู้หญิงก็อาจเป็นสัญลักษณ์ของอํานาจที่ ผู้ชายไม่อาจควบคุมได้ด้วย เช่น ในลัทธิพิธีผีแม่ม่าย ซึ่งทําให้ผู้ชาย ทุ ก คนตกเป็ น คนอ่ อ นแอที่ ไ ม่ มี ท างป้ อ งกั น ตนเองได้ ด้ ว ยประการ ทั้งปวง ขึ้นอยู่กับอารมณ์ปรารถนาของผีแม่ม่ายโดยสิ้นเชิง ทั้งนี้อาจ รวมถึงลัทธิพิธีบูชา “พระแม่อุมา” ที่วัดแขก สีลม (วัดพระศรีมหา อุมาเทวี) ด้วยก็ได้ เพราะมีคนไทยที่ไม่ได้นับถือศาสนาฮินดูเข้าร่วม ในพิธีกรรมมากกว่าผู้นับถือศาสนาฮินดูเสียอีก คนชั้นกลาง พุทธศาสนาแห่งชาติไม่ได้เกิดขึ้นเพื่อรับใช้คนชั้นกลาง แต่ เป็นศาสนาของราชสํานักและชาวนา เน้นหลักคําสอนและการจัด องค์กรที่จะให้อํานาจรัฐรวมศูนย์ เมื่อตอนสร้างพุทธศาสนาแห่ง ชาติขึ้นนั้น ในเมืองไทยแทบไม่มีคนชั้นกลางที่เป็นอิสระจากรัฐเลย ส่วนใหญ่เป็นคนจีน ส่วนที่เป็นคนไทยก็เป็นข้าราชการของระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่ในปัจจุบัน คนชั้นกลางขยายตัวขึ้นอย่างมโหฬาร อีกทั้ง ยังเป็นผู้วางอุดมคติของวิถีชีวิตให้แก่สังคม พุทธศาสนาสํานวนแห่ง ชาติก็ไม่ได้ปรับเปลี่ยนตนเองเพื่อตอบสนองต่อพุทธศาสนิกส่วนใหญ่ ซึ่งไม่ใช่ชาวนา (peasants) และคนในราชสํานักเสียแล้ว จึงไม่แปลก ที่คนชั้นกลางแทบไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับวัด องค์กรคณะสงฆ์ หรือ หลั ก ธรรมคํ า สอนของพุ ท ธศาสนาแห่ ง ชาติ สั ก เท่ า ไร นอกจากใน พิธีกรรมและการศึกษาตามหลักสูตรบังคับ อย่างไรก็ตาม อิทธิพลของคนชัน้ กลางนัน้ มีมาก ฉะนัน้ แม้จะ ไม่เข้าวัด แต่คนชั้นกลางกลับมีอิทธิพลต่อวัดมากที่สุด เนื่องจากคน - 126 60

.indd 126

3/3/2554 16:02:30


ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ |

ชั้นกลางคือทายกและทายิกาใหญ่ของวัด ไม่ในทางตรงก็ทางอ้อม เพราะธุรกิจหารายได้ทวี่ ดั ต่างๆ ทาํ อยูน่ นั้ ล้วนมีคนชัน้ กลางเป็นลูกค้า ทัง้ สิน้ ไม่วา่ จะเป็นการให้เช่าทีส่ าํ หรับจอดรถยนต์ สร้างห้องแถว หรือ สร้างศูนย์การค้า การทําบุญในงานศพใหญ่ๆ รวมทั้งการสร้างศาลา งานศพถวายวั ด การก่ อ สร้ า งขนาดใหญ่ ต่ า งๆ ในวั ด ก็ ต้ อ งอาศั ย เงินของทายกและทายิกาที่เป็นคนชั้นกลาง ฉะนั้นจึงไม่แปลกที่วัด ในปัจจุบัน โดยเฉพาะในเขตเมือง จะเปลี่ยนสภาพมาตอบสนองคน ชั้นกลางมากขึ้น เช่น สะอาดสะอ้านมีระเบียบตามมาตรฐานของคน ชั้นกลาง มีความโอ่อ่าตามที่คนชั้นกลางชอบ (เช่น วิหารทรงปราสาท พระพุทธรูปหินหยกทัง้ แท่ง พระเจดียท์ มี่ ลี ฟิ ต์ขนึ้ ไปถึงชัน้ องค์ระฆังได้ ฯลฯ) บางวัดก็อาจขายบริการทีค่ นชัน้ กลางกาํ ลังแสวงหา เช่น มีสถาน วิปัสสนาติดแอร์และจัดห้องเหมือนโรงแรมชั้นหนึ่ง หรือเปิดโรงเรียน วันอาทิตย์ เป็นต้น การตอบสนองดั ง กล่ า วของวั ด ในพุ ท ธศาสนาแห่ ง ชาติ ไม่สัมพันธ์กับ “ชีวิตทางศาสนา” ของคนชั้นกลางนัก ไม่ว่าจะมอง ในแง่ของจิตวิญญาณ การสร้างอัตลักษณ์ ความคับข้องใจทางการเมือง เศรษฐกิจ หรือสังคม ยกเว้นอยูอ่ ย่างเดียว คือลดส่วนทีเ่ ป็นตํานานและ นิทานทางศีลธรรมลง เพราะสอดคล้องกับโลกทรรศน์ทางวิทยาศาสตร์ ที่คนชั้นกลางได้รับผ่านการศึกษา การลดตํานานและนิทานในคําสอนทางพุทธศาสนานั้นเป็น แนวโน้มของการสถาปนาพุทธศาสนาแห่งชาติมาตัง้ แต่ตน้ เช่น ชาดก ซึง่ เคยมีความสําคัญมาก ก็ถกู ลดความสาํ คัญลง พร้อมกันไปนัน้ ก็เน้น คําสอนในกาลามสูตรที่สอนให้ใช้ปัญญาไตร่ตรองก่อนเชื่อถือ อย่างไรก็ตาม กมลา ติยะวณิช ได้ชี้ให้เห็นว่า ตํานานและ นิ ท านเหล่ า นี้ เ ป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ที่ พุ ท ธศาสนาหลายสํ า นั ก ซึ่ ง เคยมี ใ น เมืองไทยใช้เป็นประโยชน์ในการสั่งสอนธรรมอย่างได้ผล โดยกมลา เรียกว่าการสอนธรรมโดยผ่านการแสดง (เช่น ในงานเทศน์มหาชาติ) - 127 60

.indd 127

3/3/2554 16:02:30


| ศาสนาในสังคมไทยปัจจุบัน

พุทธศาสนาแห่งชาติตัดทอนอุบายการสอนธรรมด้วยวิธีอื่นลงหมด เหลือแต่เพียงการแสดงธรรมด้วยการเทศน์ของพระภิกษุ เฉพาะในแง่ นีจ้ ะเห็นต่อไปข้างหน้าว่า ความเคลือ่ นไหวทางศาสนาใหม่ๆ ทีเ่ กิดขึน้ ในสังคมไทย ได้พัฒนาการเผยแพร่ธรรมหลายรูปแบบมากทีเดียว แม้ พุ ท ธศาสนาแห่ ง ชาติ จ ะไม่ มี คํา ตอบให้ กั บ คนชั้ น กลาง แต่ความเคลื่อนไหวทางศาสนานอกพุทธศาสนาแห่งชาติ มุ่งที่จะสื่อ กับคนชั้นกลางโดยตรง มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า สันติอโศก ศิษย์ของท่าน พุทธทาสภิกขุ และธรรมกาย ล้วนได้รับการสนับสนุนจากคนชั้นกลาง ผู้ประกอบวิชาชีพ เจ้าของธุรกิจขนาดกลาง และข้าราชการชั้นผู้น้อย ทั้ ง สิ้ น (ขั ต ติ ย า, 2547: 19 อ้ า งงานของ สุ ว รรณา สถาอานั น ท์ , ขบวนการศาสนาในประเทศไทยปัจจุบัน, 2533) เมื่ อ พิ จ ารณาโดยละเอี ย ด คนชั้ น กลางที่ให้การสนับ สนุน การเคลื่อนไหวทางศาสนาเหล่านี้อาจไม่ใช่กลุ่มเดียวกันทั้งหมด เช่น สาํ นักท่านพุทธทาสภิกขุได้รบั การสนับสนุนจากปัญญาชน ข้าราชการ ระดับค่อนข้างสูงหรือได้รับการศึกษาสูง เช่น ผู้พิพากษา แพทย์ และ อาจารย์มหาวิทยาลัย เป็นต้น อภิญญาสรุปว่า อุปฏั ฐากสําคัญของวัด คือคนชั้นกลางที่มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมเข้มแข็ง (อภิญญา, 2540: 74) แต่ในขณะเดียวกัน ธรรมกายก็ไม่ได้ทอดทิ้งคนชั้นกลาง ระดับกลางทั่วไป โดยมีการจัดสถานที่ให้สอดคล้องกับความนิยมของ คนชั้นกลาง คือสง่างามและอลังการ “เป็นความพยายามที่จะนําเสนอ ‘ความศักดิส์ ทิ ธิ’์ ผ่านความเป็นระเบียบและความลงตัวสบายตา... ผูม้ า เยือนมักออกปากอยู่เนืองๆ ว่าเข้ามาแล้วสบายใจ” (อภิญญา, 2540: 31) ยุทธศาสตร์เชิงรุกในโครงการ “ธรรมมาถึงหน้าประตูบ้าน” ของ ธรรมกาย ก็มุ่งจะรุกเข้าไปในพื้นที่ของคนชั้นกลางโดยตรง จึงจําเป็น ต้องรับผู้สมัครงานที่มีการศึกษาดี และทําให้ต้องรุกเข้าไปยังชมรม พุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยต่างๆ (อภิญญา, 2540: 37-8) - 128 60

.indd 128

3/3/2554 16:02:30


ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ |

วัดสวนแก้วอาจมีผสู้ นับสนุนทีเ่ ป็นคนชัน้ กลางระดับรองลงมา เพราะเจ้าอาวาส คือพระพยอม กัลยาโณ ตระหนักอย่างดีว่า บทบาท ของวัดแบบเดิมที่เป็นองค์กรทางสังคมสงเคราะห์ใหญ่ของชุมชน ได้หมดไปแล้ว เพราะชุมชนชาวนาแบบเดิมได้สูญสลายไปหมดแล้ว ท่านจึงปรับวัดให้ทาํ หน้าทีเ่ ก่าต่อไป แต่ทาํ กับชุมชนเมือง วัดสวนแก้ว มีโครงการสงเคราะห์คนชรา โครงการเลีย้ งดูเด็กยากจนให้ได้เล่าเรียน โครงการจํากัดขยะ โครงการฝึกอาชีพระยะสั้น โครงการบําบัดผู้เสพ ยาเสพติด โครงการซูเปอร์มาเก็ต และโครงการอื่นๆ อีกจํานวนมาก ซึ่งล้วนเป็นปัญหาของเมืองอันเป็นที่อยู่ของคนชั้นกลางส่วนใหญ่ ทั้งสิ้น แม้ผู้ที่เข้ารับบริการส่วนใหญ่จะเป็นคนชั้นกลางระดับล่าง คนจนที่เป็นแรงงาน หรือคนจากต่างจังหวัด แต่การที่โครงการเหล่านี้ ดําเนินอยู่ได้ ก็เพราะการสนับสนุนของคนชั้นกลางระดับกลางขึ้นไป ซึ่งบริจาคทั้งทรัพย์และของเหลือใช้อื่นๆ ให้วัดนําไปใช้ในโครงการ สันติอโศกก็เช่นกัน แม้ส่วนใหญ่ในหมู่นักบวช (ทั้งสมณะ และสิกขมาตุ) จะมีการศึกษาสูง แต่ในหมู่ฆราวาสนั้นเป็นคนชั้นกลาง ระดับล่าง โดยส่วนใหญ่เรียนจบชั้นมัธยมศึกษา และเคยมีอาชีพทาง ด้านการเกษตรเป็นจํานวนมากที่สุด รองๆ ลงมาคือค้าขายรายเล็ก ข้าราชการระดับล่างเช่นครู และรับจ้าง (ขัตติยา, 2547: 54-8) ลัทธิพิธีที่แพร่หลายในสังคมไทยก็เป็นลัทธิพิธีที่ตอบสนอง ปัญหาบางอย่างของคนชั้นกลางเช่นกัน ลัทธิพิธีเสด็จพ่อ ร. 5 เปิด โอกาสให้คนชั้นกลางซึ่งส่วนหนึ่งมีเชื้อสายจีน เข้าถึงรัฐโดยผ่าน พิธกี รรม ในฐานะที่ ร. 5 เป็นสัญลักษณ์ของรัฐชาติไทย ในขณะเดียวกัน ร. 5 ก็เป็นสัญลักษณ์ของรัฐที่มีความเมตตาปรานีต่อประชาชนด้วย แน่นอน เสด็จพ่อย่อมอํานวยโชคลาภด้านทรัพย์สนิ เงินทองแก่ผนู้ บั ถือ ด้วย (ดู นิธิ เอียวศรีวงศ์, 2536) เจ้าแม่กวนอิมอาจไม่เกี่ยวกับรัฐโดยตรง แต่เจ้าแม่กวนอิม ให้ความรู้สึกด้านศีลธรรมแก่ผู้นับถือ เช่น การไม่กินเนื้อวัวเพราะเป็น - 129 60

.indd 129

3/3/2554 16:02:30


| ศาสนาในสังคมไทยปัจจุบัน

สัตว์ใหญ่หรือสัตว์มีคุณ การได้ท่องบทสวดสรรเสริญเจ้าแม่ รวมทั้ง การมีชุมชนของตนเองในสํานักกวนอิมต่างๆ อันเป็นสิ่งที่ขาดหายไป ในชีวิตของคนชั้นกลางในเมือง และแน่นอนว่าเจ้าแม่ย่อมอํานวย โชคลาภและความสําเร็จแก่ผู้นับถือด้วย ส่วนการทรงเจ้าเข้าผีซึ่งระบาดในชุมชนเมืองของไทยทั่วไป นัน้ งานศึกษาทีไ่ ด้ทาํ มาล้วนส่อให้เห็นว่าตอบสนองต่อปัญหาชีวติ ของ คนชั้นกลางในเขตเมืองทั้งสิ้น ความเชี่ ย วชาญของเจ้ า ที่ เ ข้ า ทรงส่ ว นใหญ่ ซึ่ ง ผู้ ศึ ก ษาได้ สัมภาษณ์ เป็นความเชี่ยวชาญในการแก้ปัญหาของคนชั้นกลาง เช่น เจ้าข้อมือเหล็กเก่งเป็นพิเศษทางช่วยเหลือนักศึกษา พ่อค้า หรือนัก ธุรกิจ ส่วนเจ้าพ่อเสือดาวเก่งทางช่วยเหลือทหาร-ตํารวจ (ฉลาดชาย, 2527: 45) ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นกลุ่มคนชั้นกลางระดับล่าง ซึ่งเป็นลูกค้า ส่วนใหญ่ของการทรงเจ้าเข้าผี ซึง่ ตรงกับการสาํ รวจของผูศ้ กึ ษาคนอืน่ เช่น สุรยิ าและคณะในนครราชสีมา และวิรชั กับนภาวรรณในฉะเชิงเทรา ความเชี่ยวชาญเหล่านี้ไม่เกี่ยวกับการเกษตรเลย โดยคนที่ระบุว่าเป็น เกษตรกรนั้นมีสัดส่วนน้อยที่สุดในบรรดา “แขก” ของสํานักทรง ยังมีสิ่งที่น่าสนใจในการทรงเจ้าเข้าผีซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ พุทธศาสนาของคนชั้นกลาง นั่นก็คือเกิดความสับสนในลําดับขั้นของ สถานภาพของผีที่เข้าทรง เช่น แต่เดิมนั้น ผีประทับทรงในภาคเหนือ ทีถ่ อื ว่าใหญ่ทสี่ ดุ คือเจ้าคาํ แดงประจาํ ดอยหลวงเชียงดาว แต่เจ้าคาํ แดง ไม่ประทับทรง เพราะอยู่ในบรรดาผีชั้นที่ 9 ถึงชั้นที่ 6 ซึ่งเป็นเทพชั้น สูงที่จะไม่ลงประทับทรง เพื่อรอเวลาครบ 5,000 ปีก็จะมาตรัสรู้เป็น พระอรหันต์ (ฉลาดชาย, 2527: 38-9) แต่มาในภายหลัง เทพเหล่านี้ รวมทั้งเจ้าคําแดง ก็ลงประทับทรงหมด แม้แต่พระมหาโมคคัลลานะ และพระสารีบตุ ร ซึง่ ชาวพุทธเชือ่ ว่าสําเร็จพระอรหันต์แล้ว ก็กลายเป็น เทพที่ได้รับการบูชาในสํานักทรงบางแห่ง - 130 60

.indd 130

3/3/2554 16:02:30


ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ |

ความเชือ่ เกีย่ วกับพรหมก็เช่นกัน เคยเชือ่ กันว่าเทพชัน้ พรหม ย่อมไม่ลงมาประทับทรง แต่ปจั จุบนั กลับมาเป็นเจ้าประทับทรงในบาง สาํ นัก รวมทัง้ เทีย่ วสถิตอยูต่ ามศาลพระภูมบิ างแห่ง ทัง้ ๆ ทีแ่ ต่เดิมนัน้ ผีประจําศาลพระภูมิเป็นผีท้องถิ่นที่อยู่ในละแวกนั้น เมื่อสร้างหมู่บ้าน ก็มกั เชิญผีนนั้ ให้อยูใ่ นศาลของหมูบ่ า้ นทีส่ ร้างขึน้ แถวประตูปากทางเข้า หมู่บ้าน ถ้าชุมชนนั้นเป็นเมืองก็เรียกว่าพระทรงเมือง แตกต่างจากผี บรรพบุรุษของหมู่บ้านหรือเมือง (พระเสื้อเมือง) ซึ่งจะไม่มีการสร้าง ศาลพระภูมิไว้ในเขตเรือนของแต่ละคน เพราะถือว่าพระภูมิเจ้าที่หรือ พระทรงเมืองนั้นให้ความคุ้มครองทั้งชุมชน ในบริเวณเรือนของแต่ละ คนอาจมีผีที่ให้ความคุ้มครองเฉพาะที่ได้อีก เช่น พระภูมิรักษาประตู และหัวกระได พระภูมิรักษาเรือนหอ พระภูมิสวน พระภูมินา ฯลฯ แต่ ไม่มีการสร้างศาลขึ้นแก่พระภูมิเหล่านี้ หากจะเซ่นสรวงก็อาจตั้งศาล เพียงตาขึ้นเป็นครั้งคราว (พระยาอนุมานราชธน, 2503: 312-33) ความสับสนในเรื่องของลําดับขั้นของสถานภาพ (hierachy) ของผีดงั กล่าว สะท้อนความสับสนในเรือ่ งสถานภาพทางสังคมของคน ชั้นกลางเองด้วย เพราะคนชั้นกลางเป็นกลุ่มคนที่อยากและพยายาม เลื่อนขั้นสถานภาพของตนเองอยู่เสมอ สถานภาพจึงไม่ใช่เรื่องคงที่ ในคนคนเดียว หรือยิง่ ไปกว่านัน้ สถานภาพย่อมกําหนดความแตกต่าง กัน ความเคร่งครัดในสถานภาพโดยแสดงออกทางมารยาท ประเพณี ความเชื่อ และทัศนคติ จึงไม่มีหรือสับสนตามไปด้วย รัฐรวมศูนย์ รัฐรวมศูนย์ซงึ่ เกิดขึน้ ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้ตกทอด มาเป็นรัฐชาติไทยในปัจจุบัน พลังอํานาจของรัฐในการแทรกเข้าไป กํ า กั บ ควบคุ ม ชี วิ ต ของพลเมื อ งเพิ่ ม ขึ้ น อย่ า งมากด้ ว ยเทคโนโลยี - 131 60

.indd 131

3/3/2554 16:02:30


| ศาสนาในสังคมไทยปัจจุบัน

ในขณะที่กลไกซึ่งพลเมืองจะใช้เพื่อควบคุมรัฐ ไม่ได้พัฒนาขึ้นให้ทัน กับอํานาจรัฐที่เพิ่มขึ้น โดยวิธีที่จะ “เข้าถึง” รัฐ (เพื่อควบคุมหรือหา ประโยชน์ก็ตาม) เป็นวิธีที่คนส่วนใหญ่เข้าไม่ถึง ซึ่งประกอบด้วย การ เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของระบบราชการ การเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของ การเมืองระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ โดยผ่านเงินหรือผ่านเส้น (ไม่ว่าจะอยู่ภายใต้ระบบเลือกตั้งหรือระบบรัฐประหาร) และการใช้เงิน เปิดประตูของรัฐ เช่น ให้สินบน คนที่สามารถเข้าถึงรัฐได้ด้วยวิธีดังกล่าวย่อมมีจํานวนน้อย รวมเรียกว่าชนชั้นนําของสังคม และถึงแม้ว่าชนชั้นนําเหล่านี้อาจ เกาะเกี่ยวโยงใยกันอยู่ในทางวัฒนธรรมและสังคม แต่ก็มีความหลาก หลายในแง่ผลประโยชน์และโลกทรรศน์อยู่มาก จึงมิได้มีความเป็น อันหนึ่งอันเดียวกันทางการเมือง ความสงบเรียบร้อยทางการเมือง ในสังคมไทยจึงขึ้นอยู่กับการประสานประโยชน์ของชนชั้นนําให้ลงตัว ดังทีอ่ าจเห็นได้จากวิธกี ารเข้าถึงรัฐและลักษณะของชนชัน้ นํา ที่กล่าวข้างต้น รัฐของไทยจึงเป็นรัฐรวมศูนย์ที่ไม่มีศูนย์ หมายความ ว่าการแทรกแซงของรัฐเข้าสู่ชีวิตของพลเมืองไม่ได้มาจากนโยบาย ของรัฐเพียงอย่างเดียว แต่มาจากการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่รัฐในนาม ของนโยบายนั้นๆ ซึ่งอาจทําได้หลายอย่าง แต่เศรษฐกิจ-สังคมไทยได้เปลี่ยนไปแล้ว ประชาชนส่วนใหญ่ กลายเป็นคนชัน้ กลาง (หากถือว่าคนชัน้ กลางคือผูท้ สี่ ามารถบริโภคได้ ในอัตราตัง้ แต่ 70 บาทหรือ 2 เหรียญสหรัฐขึน้ ไป) ซึง่ การดาํ รงชีวติ ของ เขาย่อมขึน้ อยูก่ บั นโยบายของรัฐหรือการปฏิบตั ขิ องเจ้าหน้าทีร่ ฐั อย่าง ไม่มที างหลีกเลีย่ งได้ (ชาวนาทีท่ าํ การเกษตรเลีย้ งตนเองย่อมเป็นอิสระ ในระดับสูงจากนโยบายของรัฐรวมศูนย์) แต่คนชั้นกลางเหล่านี้เข้า ไม่ถึงรัฐ และบางกลุ่มบางเหล่ายังอาจถูกกีดกันออกไปมากกว่าคนอื่น ด้วยซํ้า เช่น ในสมัยหนึ่ง ผู้มีเชื้อสายจีนย่อมตกเป็นเหยื่อการรีดไถ - 132 60

.indd 132

3/3/2554 16:02:30


ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ |

ของเจ้าหน้าที่รัฐได้ง่าย เพราะมีความเป็นพลเมืองน้อยกว่าคนอื่น เช่นเดียวกับชาวเขาที่อพยพลงมาจากที่ทํากิน และกลายเป็นผู้ค้า รายย่อยในเมือง ฉะนั้นจึงหาความมั่นคงในชีวิตได้ยาก ขึ้นอยู่กับว่า อํานาจที่ตนควบคุมไม่ได้จะแทรกลงมาเมื่อไรและอย่างไร และเช่นเดียวกับทีก่ ล่าวแล้ว พุทธศาสนาแห่งชาติไม่มคี าํ ตอบ สำ�หรับปัญหาในชีวิตจริงของผู้คนในเรื่องนี้เช่นเดียวกับเรื่องอื่นๆ แต่ พุทธศาสนาไทย (ซึง่ มีความหลากหลายและเหลือ่ มลาํ้ อย่างมาก) กลับ พยายามปรับเปลีย่ นและเสนอสิง่ ทีใ่ ห้คาํ ตอบสำ�หรับปัญหานีข้ องผูค้ น อย่างน้อยก็เป็นคําตอบทางจิตใจ จํานวนไม่น้อยของปัญหาที่สํานักทรงต่างๆ ช่วยแก้ให้กับ ประชาชนนั้นเป็นปัญหาเกี่ยวกับอํานาจรัฐ โดยเฉพาะการสอบเข้า มหาวิทยาลัยของนักเรียน การสอบเลื่อนขั้นของข้าราชการชั้นผู้น้อย การขอย้ายของครู และอุปสรรคในด้านการค้าขายที่เกิดจากอํานาจรัฐ เช่น การเก็บภาษีอากร การถูกเบี้ยวหนี้ หรือการถูกขโมย เป็นต้น ในสํานักทรงบางแห่งซึ่งมีเครือข่ายกว้างขวาง นอกจากเจ้าพ่อเจ้าแม่ จะใช้อิทธิฤทธิ์ช่วยแก้ปัญหาให้แล้ว ยังอาจก่อให้เกิดการแก้ไขที่เป็น รูปธรรมมากกว่า เช่น ทําให้ “แขก” ที่มีปัญหาได้รู้จักหรือได้ให้บริการ กับข้าราชการระดับกลางๆ ในท้องถิ่น เช่น ตำ�รวจระดับรองผู้กํากับฯ พนักงานสรรพากรอําเภอ หรือพนักงานที่ดินจังหวัด เป็นต้น อาจารย์ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับผีเจ้านาย ซึ่งบางตนก็เกิดขึ้นใหม่ ในขณะ ทีบ่ างตนก็เสือ่ มสูญ ไม่เป็นทีน่ ยิ มนับถืออีกต่อไป อันเป็นปรากฏการณ์ ทีเ่ กิดขึน้ อยูต่ ลอดเวลา ว่าสะท้อนความเปลีย่ นแปลงอย่างรวดเร็วของ สังคมทันสมัย (ฉลาดชาย, 2527: 179) ยิง่ หากนําข้อสังเกตนีม้ าอธิบาย ความเชือ่ ของคนชัน้ กลางไทย ซึง่ นอกจากจะขยายตัวอย่างรวดเร็วแล้ว ยังมีพลวัตสูงมากอีกด้วย ปัญหาที่ต้องการให้เจ้าหรือผีช่วยแก้จึง ปรับเปลี่ยนตัวเองไปอย่างรวดเร็วเช่นกัน - 133 60

.indd 133

3/3/2554 16:02:30


| ศาสนาในสังคมไทยปัจจุบัน

ยังมีการเข้าถึงรัฐในเชิงสัญลักษณ์ของสํานักทรงบางแห่งที่ น่าสนใจ ฉลาดชาย รมิตานนท์ เล่าถึงสํานักทรงของเจ้าพีแ่ สนแสบว่า ในห้องที่ใช้ทําพิธีนั้น ด้านขวาของคนทรงจะมีขันตั้ง (เป็นสัญลักษณ์ ของเจ้าที่ลงมาประทับทรงหรือที่นับถือ) ของพระพุทธเจ้า พระสารีบุตร เจ้าพ่ออินทจักร (บ้างว่าคือพระอินทร์) เจ้าพ่อจองอางหรือปาง หนึ่งของเจ้าพ่อศาลพระกาฬลพบุรี พระมหาโมคคัลลานะ และขันตั้ง ของเจ้าพี่แสนแสบเอง ส่วนด้านซ้ายมีขันตั้งของเจ้าพ่อน้อยสามฝั่ง แกน (อดีตกษัตริย์เชียงใหม่) เจ้าหลวงคําแดง พรหมแสงอาทิตย์ (ว่าคือพรหมเอราวัณในกรุงเทพฯ) และพระฤษีทั้งห้า คือปัญจวัคคีย์ สุดทางซ้ายไปอีกเป็นโต๊ะบูชาซึ่งมีพระพุทธรูปต่างๆ รูปภาพและ รูปหล่อของพระภิกษุเกจิอาจารย์ชื่อดังหลายรูป ธงชาติ ธงธรรมจักร พระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จ พระบรมราชินีนาถ และพระฉายาลักษณ์ของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ ทุกพระองค์ (ฉลาดชาย, 2527: 60) นอกจากนี้ ม้าขี่ของเจ้าพี่แสนแสบยังเล่าว่า เจ้าพี่แสนแสบ มีหน้าที่ส่งรายงานความประพฤติของเทพต่างๆ ในเขตเชียงใหม่ลําพูนไปให้ที่ประชุมเทพที่อ่างสะหลุง ถํ้าเชียงดาว แล้วเจ้าพ่อข้อมือ เหล็กก็จะส่งรายชือ่ และความประพฤติ(ของเทพในภาคเหนือทัง้ หมด?) ไปให้แก่เจ้าพ่อหลักเมืองที่กรุงเทพฯ (ฉลาดชาย, 2527: 129-30) ทั้ ง หมดนี้ คื อ รั ฐ ชาติ ไ ทยตามความเข้ า ใจของคนชั้ น กลาง ซึ่งประกอบด้วยสัญลักษณ์ของชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ครบถ้วน อีกทัง้ ยังมีการโยงใยเครือข่ายรวมเข้าสูศ่ นู ย์กลางในกรุงเทพฯ การเข้าขอความช่วยเหลือจากเจ้าพีแ่ สนแสบ (ซึง่ มีความสัมพันธ์กบั ตน ในเชิงเครือญาติ เพราะเป็น “พี่”) จึงเข้าถึงได้ง่าย ซึ่งนี่คือการเข้าถึง รัฐชาติรวมศูนย์ที่ในชีวิตจริงไม่อาจเข้าถึงได้ การเข้ า ถึ ง รั ฐ ผ่ า นสั ญ ลั ก ษณ์ เ ช่ น นี้ ป รากฏในลั ท ธิ พิ ธี ด้ ว ย เช่นกัน ดังที่กล่าวถึงลัทธิพิธีเสด็จพ่อ ร. 5 ว่าส่วนหนึ่งคือการเข้าถึง - 134 60

.indd 134

3/3/2554 16:02:30


ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ |

รัฐไทยสมัยใหม่ โดยผ่านสัญลักษณ์รูป ร. 5 ซึ่งประวัติศาสตร์แห่งชาติ ยกให้เป็นผู้สร้างรัฐทันสมัยขึ้นในประเทศไทย และเป็นรัฐแห่งความ เมตตาปรานี แม้แต่ในลัทธิพธิ ผี แี ม่มา่ ย ซึง่ รวมเอาทัง้ คนชัน้ กลางระดับล่าง และคนระดับล่างไว้ในลัทธิพิธี ก็ยังเกี่ยวพันไปถึงรัฐชาติอย่างห่างๆ เพราะชาวบ้านเชื่อว่าเรื่องผีแม่ม่ายนั้นมาจากพระสุบินของสมเด็จ พระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ และทรงเตือนพสกนิกรของพระองค์ ให้ระวังอันตรายจากผีตนนี้ ผีแม่ม่ายจึงไม่ใช่ผีท้องถิ่น แต่เป็นผีระดับ ชาติ (ในความเป็นจริง ผีแม่ม่ายเป็นผีท้องถิ่นของภาคอีสานเท่านั้น เพราะเป็นลัทธิพิธีที่ไม่ปรากฏในที่อื่นเลย) ในแง่นี้ เราอาจนับรวมเอาความเชือ่ ในเรือ่ งเครือ่ งรางของขลัง ทีแ่ พร่หลายในสังคมไทยปัจจุบนั ไว้ดว้ ยก็ได้ เพราะพระเครือ่ งของขลัง ต่างๆ นั้นนิยมนับถือกันตาม “กระแส” ระดับชาติเสมอ อีกทั้งมีคุณ วิเศษทีแ่ ตกต่างและผันแปรไปเรือ่ ยๆ เหมือนผีทเี่ ข้าทรง ตามแต่ความ ต้องการของคนชั้นกลางซึ่งผันแปรไปได้เรื่อยๆ12 ในส่วนพุทธศาสนาของวัดซึ่งมีการเคลื่อนไหวทางศาสนา มากเหมือนกันนั้น ความสัมพันธ์กับรัฐชาติมลี กั ษณะซับซ้อนมากกว่า การเข้าถึงผู้นับถือ แต่ที่จริงแล้วเป็นเรื่องของการจัดความสัมพันธ์กับ พุทธศาสนาแห่งชาติอันมีอํานาจรัฐหนุนหลัง ว่าจะจัดความสัมพันธ์ อย่างไร จึงจะรักษาอัตลักษณ์ของตนเองซึ่งแตกต่างจากพุทธศาสนา แห่งชาติไว้ได้ พระป่าเป็นสํานักหนึ่งของพุทธศาสนาแบบรวมหรือแบบ หลากหลายซึ่งมีมานานในเมืองไทย เมื่อแรกสถาปนาพุทธศาสนา แน่นอนว่าจะวิเคราะห์ความนิยมเครื่องรางของขลังไปในทางธุรกิจเชิงพาณิชย์ ความ เป็นปัจเจกของสังคมทันสมัย ความแพร่หลายของสือ่ ฯลฯ ก็ได้เช่นกัน แต่ในทีน่ ตี้ อ้ งการ ชี้เพียงว่ามีอะไรที่เกี่ยวกับรัฐชาติอยู่ในความนิยมแพร่หลายของลัทธินี้ 12

- 135 60

.indd 135

3/3/2554 16:02:30


| ศาสนาในสังคมไทยปัจจุบัน

แห่งชาติขึ้นนั้น ประเพณีของพระป่าเป็นที่รังเกียจของพุทธศาสนา แห่งชาติด้วยซํ้า จึงถูกผู้ใหญ่ในองค์กรคณะสงฆ์รังแกหลายครั้ง แต่ การที่พุทธศาสนาแห่งชาติผนวกเอาพระป่าเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งนั้น เกิดขึ้นภายหลัง และเป็นผลมาจากการแข่งขันกันระหว่างธรรมยุติกนิกายและมหานิกายมากกว่า เพราะเห็นคุณค่าของการปฏิบัติของ พระป่า หรือพร้อมจะปรับเปลี่ยนจุดเน้นของคําสอนในพุทธศาสนา แห่งชาติ ดังนั้น เมื่อกระแสความนิยมพระป่าเกิดขึ้นในช่วงทศวรรษ 2510 เป็นต้นมา เพราะสื่อนําเรื่องราวของพระป่าออกเผยแพร่ และ ในภายหลังราชสํานักก็เข้ามาเกี่ยวข้องอุปถัมภ์พระป่า กลายเป็น กระแสความนิยมกว้างขวางไปทั่วประเทศ พุทธศาสนาแห่งชาติก็ ไม่สามารถผนวกเอาประเพณีของพระป่าเข้ามาในหลักธรรมคําสอนได้ พระป่ากาํ ลังกลายเป็นอีกสาํ นักอาจารย์หนึง่ ทีอ่ าจสังกัดคณะสงฆ์ของ พุทธศาสนาแห่งชาติ แต่ก็แตกต่างอย่างเห็นได้ชัด และเป็นที่นิยม นับถือของคนชั้นกลางในเมืองมากกว่าชาวบ้านระดับล่างซึ่งเคยเป็น ฐานพุทธบริษัทของพระป่ามาก่อน เพราะพระป่าไม่อาจธุดงค์ไปตาม นิคมชนบทห่างไกลอย่างที่เคยทําได้เสียแล้ว (ดู Kamala, 1997) ในส่วนของสํานักท่านพุทธทาสภิกขุ ดูจะเป็นความตั้งใจ มาแต่แรกที่จะไม่เผชิญหน้ากับองค์กรสงฆ์ของพุทธศาสนาแห่งชาติ ท่านพุทธทาสภิกขุทา้ ทายแบบแผนของหลักธรรมคําสอน (orthodoxy) ของพุทธศาสนาแห่งชาติอย่างมาก แต่ทา่ นไม่เคยท้าทายแบบแผนของ วัตรปฏิบัติ (orthopraxie) ของพุทธศาสนาแห่งชาติเลย13

คำ�สอนที่ว่านิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้ ทำ�ให้พระสงฆ์สิ้นความสำ�คัญลง เพราะจากที่เคย แยกว่าโลกุตระเป็นเรือ่ งของพระ โลกียะเป็นเรือ่ งของฆราวาส ทำ�ให้ไม่อาจแยกได้อกี ต่อ ไป แม้กระนั้น ท่านก็ไม่เคยไปเปลี่ยนพระสงฆ์ และยืนยันไม่เข้าไปยุ่งกับกิจใดๆ ของ ฆราวาส อันเป็นความขัดแย้งในตัวเอง 13

- 136 60

.indd 136

3/3/2554 16:02:30


ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ |

และดังที่กล่าวแล้วว่า พุทธศาสนาแห่งชาติกํากับควบคุม ด้านที่เป็นแบบแผนของวัตรปฏิบัติมากกว่าด้านที่เป็นแบบแผนของ หลักธรรมคาํ สอน แม้ทา่ นพุทธทาสภิกขุอาจเป็นทีร่ ะแวงของบ้านเมือง ในระยะหนึ่ง แต่มาในภายหลัง เมื่อเห็นว่าไม่มีอันตราย พุทธศาสนา แห่งชาติกไ็ ด้ยกสมณศักดิข์ องท่านขึน้ รวมทัง้ มอบอํานาจการปกครอง คณะสงฆ์ในท้องถิน่ ให้แก่ทา่ นด้วย อย่างไรก็ตาม จนถึงทุกวันนีก้ เ็ ห็น ได้วา่ การตีความหลักธรรมคําสอนของท่านพุทธทาสภิกขุกย็ งั มิได้ถกู ผนวกเข้าสู่แบบแผนของหลักธรรมคําสอนของพุทธศาสนาแห่งชาติ อยู่นั่นเอง (เช่น ไม่มีงานนิพนธ์ของท่านสักเล่มเดียวที่ถูกกําหนดไว้ ในหลักสูตรนักธรรม) ดังนั้น สํานักพุทธทาสภิกขุจึงเป็นสํานักหนึ่ง ที่อยู่ในขบวนการเคลื่อนไหวทางศาสนาที่ไม่เกี่ยวกับพุทธศาสนา แห่งชาติ (ดู Jackson, 1988) กรณี ค วามสั ม พั น ธ์ ข องธรรมกายและสั น ติ อ โศกกั บ พุ ท ธศาสนาแห่งชาติซับซ้อนกว่านั้น การดําเนินงานของธรรมกายนั้นล่วงลํ้าเข้ามาสู่ส่วนที่เป็น แบบแผนของวัตรปฏิบัติอยู่เหมือนกัน เช่น การยกย่องแม่ชีจันทร์ ขนนกยูง ไว้สูงสุด การครองผ้าซึ่งแม้จะถูกต้องตามแบบแผน แต่ก็มี การแบ่งชั้นระหว่างพระชั้นผู้ใหญ่ (คือที่ว่าบรรลุธรรมขั้นสูงกว่า) เป็น ผ้าไหมสวิส กับพระอื่นซึ่งใช้ผ้าเหลืองธรรมดา น่าสังเกตว่าลําดับ “ชั้น” ของพระในวัดนั้นมิได้กําหนดมาจากมหาเถรสมาคม แต่เป็น การกําหนดขึ้นเองในวัด บทบาทของวัดในจินตนาการของหลวงพ่อ ธัมมชโยก็แตกต่างจากพุทธศาสนาแห่งชาติ เช่น กันเขตของ “ธรรมาวาส” ไว้ใหญ่มาก เพราะตั้งใจจะให้เป็นวัดมวลชน กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือไม่ได้มฐี านทีช่ มุ ชนในประเทศเท่านัน้ แต่รวมผูศ้ รัทธาต่อธรรมกาย ทั้งโลก ความคิดที่จะมีวัดของ “มวลชน” ระดับโลกเช่นนี้อาจถือได้ว่า อยู่นอกจินตนาการของพุทธศาสนาแห่งชาติ ฯลฯ - 137 60

.indd 137

3/3/2554 16:02:30


| ศาสนาในสังคมไทยปัจจุบัน

แต่ในขณะเดียวกัน ธรรมกายก็มีการประสานงานกับมหาเถรสมาคม เช่น มอบทุนให้แก่สามเณรที่มีผลการเรียนดีในสถาบัน การศึกษาภายใต้องค์กรคณะสงฆ์ นอกจากนี้ก็ยังร่วมงานกับองค์กร พุทธศาสนาในต่างประเทศ เช่น จัดสัมมนาพุทธศาสนานานาชาติ แลกเปลีย่ นบุคลากรกับวัดพุทธในต่างประเทศ และเข้าร่วมเป็นสมาชิก ขององค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก ในวันสําคัญทางศาสนาซึ่ง พุทธศาสนาแห่งชาติให้ความสําคัญ เช่น วันวิสาขบูชาหรือมาฆบูชา ธรรมกายก็ร่วมจัดงานใหญ่ของวัดเช่นกัน (อภิญญา, 2540: 36) ในด้านองค์กรปกครองของคณะสงฆ์ กล่าวกันว่าธรรมกาย มี ค วามสั ม พั น ธ์ ที่ ดี กั บ พระราชาคณะชั้ น สมเด็ จ ในสายมหานิ ก าย ทุกรูป ทางด้านเจ้าคณะจังหวัดและเจ้าคณะอาํ เภอทีว่ ดั พระธรรมกาย ตั้งอยู่ก็มีความสัมพันธ์ที่ดี กับฝ่ายปกครองท้องที่ ธรรมกายก็อุทิศ เงินสร้างศาลาพักผ่อนให้แก่อําเภอเมืองปทุมธานี อีกทั้งยังบริจาค เงินช่วยการก่อสร้างที่ว่าการอําเภอคลองหลวงอีกด้วย ความสัมพันธ์ของธรรมกายยังขึ้นไปถึงพระบรมวงศานุวงศ์ ด้วย โดยบางพระองค์เคยเสด็จไปทรงประกอบพิธีที่วัดพระธรรมกาย (อภิญญา, 2540) ด้วยเหตุดงั นัน้ ธรรมกายจึงไม่ถกู พุทธศาสนาแห่งชาติเนรเทศ ออกไปจากวงการ เพราะธรรมกายไม่ส่อท่าทีที่จะคุกคามรัฐชาติไทย แต่อย่างใด ไม่ว่าคําสอนของธรรมกายจะแตกต่างจากที่ยอมรับกันใน พุทธศาสนาแห่งชาติอย่างไร14 กรณีของพระนักพัฒนาในภาคอีสานก็มีลักษณะใกล้เคียงกัน กล่าวคือ ในระยะแรกถูกทางบ้านเมืองระแวงสงสัย แต่การทํางานของ ที่จริงน่าจะเป็นเรื่องเดียวกัน คือ orthodoxy vs orthopraxie เพียงแต่ธรรมกาย อาจมีกฎระเบียบของวัดบางอย่างทีก่ ระทบต่อ orthopraxie บ้างนิดหน่อย แต่ดว้ ยความ สัมพันธ์อันดี ทำ�ให้คณะสงฆ์ยอมรับได้ สิ่งที่ขัดแย้งอย่างหนักเป็นเรื่อง orthodoxy และหนังสือพิมพ์โจมตี โดยคณะสงฆ์ไม่ค่อยเดือดร้อนนัก คือเรื่องพระนิพพานมีตัวตน 14

- 138 60

.indd 138

3/3/2554 16:02:30


ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ |

พระนักพัฒนาบางรูปประสบความสําเร็จ (เช่น หลวงพ่อนาน) ได้รับ การรายงานข่าวในสื่ออย่างแพร่หลาย รัฐชาติไทยจึงใช้วิธีกลืนเอา พระนักพัฒนาเหล่านี้เข้ามา โดยกระทรวงมหาดไทยทําโครงการ “แผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง” และโครงการของพระนักพัฒนาในบาง ท้องที่ได้รับคัดเลือกให้ได้รับรางวัล “แผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง” โครงการของพระพยอม กัลยาโณ แห่งวัดสวนแก้ว หลาย โครงการด้ ว ยกั น เป็ น การร่ ว มมื อ กั บ ทางราชการ บางส่ ว นก็ เ ป็ น โครงการอันสืบเนื่องมาจากพระราชดําริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กรณีของสันติอโศกเป็นตรงกันข้าม เพราะสันติอโศกเข้ามา ท้าทายแบบแผนของวัตรปฏิบัติของพุทธศาสนาแห่งชาติโดยตรง สิ่งที่สันติอโศกในระยะแรกโจมตีคือวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์ในพุทธศาสนาแห่งชาติ จึงเกินกว่าที่พุทธศาสนาแห่งชาติจะใช้วิธี “กลืน” เข้ามาอย่างที่ทํากับความเคลื่อนไหวของพระสงฆ์อื่น และก็อย่างที่ ทราบกันแล้วว่า ในทีส่ ดุ สันติอโศกก็กลายเป็นนักบวชทีไ่ ม่อยูใ่ นสังกัด ของคณะสงฆ์ไทย แต่สันติอโศกก็อยู่รอดปลอดภัย โดยยังมีนักบวช ที่นุ่งห่มแตกต่างสืบมาจนถึงทุกวันนี้ พร้อมทั้งขยายสาขาออกไปอีก หลายจังหวัด และแพร่หลายอยูใ่ นหมูค่ นชัน้ กลางกลุม่ หนึง่ แต่ในขณะ เดียวกันก็มรี ายงานว่าสันติอโศกเริม่ จะสร้างความสัมพันธ์ทรี่ าบรืน่ กับ ฝ่ายปกครองบ้างเหมือนกัน เช่น เชิญข้าราชการฝ่ายปกครองเข้ามา ร่วมในพิธีของสํานัก เป็นต้น เช่นเดียวกับกรณีพระประจักษ์ ซึ่งในที่สุดก็ต้องคดีอาญา และต้องสึกหาลาเพศออกไป สิ่งที่พอจะจับได้จากการสํารวจความสัมพันธ์ระหว่างการ เคลื่อนไหวทางศาสนากับรัฐชาติ ผมคิดว่าปัจจัยสําคัญที่จะเป็นตัว ตัดสินว่าความสัมพันธ์นั้นจะราบรื่นหรือไม่ คือการจัดองค์กร - 139 60

.indd 139

3/3/2554 16:02:30


| ศาสนาในสังคมไทยปัจจุบัน

การจัดองค์กรนับเป็นหัวใจสําคัญของการที่ศาสนาใดศาสนา หนึง่ จะดาํ รงสืบมาได้ในภายหลัง และนีเ่ ป็นจุดอ่อนไหวอันหนึง่ ทีร่ ฐั ชาติ จับตามองเป็นพิเศษ ความเคลื่อนไหวทางศาสนาต่างๆ ในสังคมไทย สมัยใหม่นั้น ถึงจะมีการจัดองค์กร ก็ทํากันในระดับบน เช่น ธรรมกาย มี ก ารจั ด องค์ ก รระดั บ บนไว้ สู ง แต่ ก็ แ วดล้ อ มที่ ศู น ย์ ก ลางอั น เป็ น ตัวบุคคล การจัดองค์กรไม่ลงมาถึงระดับกัลยาณมิตรอย่างเคร่งครัด ทั่วถึงนัก แม้จะมีการจัดองค์กรในระดับนี้อยู่บ้าง แต่ก็ค่อนข้างหลวม และเหลื่อมลํ้ากับความสัมพันธ์ส่วนบุคคล กรณีของศิษย์ท่านพุทธทาสภิกขุแทบจะไม่มีการจัดองค์กรเลย ผู้ที่พยายามเผยแพร่คําสอน ของท่านมีหลายกลุ่ม และบางกลุ่มก็ไม่ได้สัมพันธ์กับกลุ่มอื่น เช่นเดียวกับการทรงเจ้าเข้าผีต่างๆ แม้ว่าในบรรดาคนทรง จะมีการจัดองค์กรในระดับหนึ่ง เช่น มีการทําพิธีร่วมกันปีละครั้ง และ มีการยอมรับความสัมพันธ์พิเศษระหว่างสํานักที่ “รับขันธ์” (รับเป็น คนทรง) จากเจ้าองค์เดียวกัน แต่องค์กรเหล่านีไ้ ม่เข้มแข็งพอจะทาํ อะไร ได้มากไปกว่าพิธีกรรม นอกจากนี้ แม้จะมีสานุศิษย์จํานวนมาก แต่ก็ ไม่ได้จดั องค์กรของตนเองขึน้ เพือ่ ขยายไปยังสังคมในวงกว้าง ลักษณะ ที่ไม่มีการจัดองค์กรหรือมีอย่างหลวมๆ เช่นนี้พบได้ในลัทธิพิธีต่างๆ และสํานักพระป่าเช่นเดียวกัน (ยกเว้นสํานักวัดป่าบางแห่ง แต่องค์กร ที่เกิดขึ้นจะเป็นอิสระในตนเองหรือเป็นเพียงเครื่องมือของการต่อสู้ แย่งชิงอํานาจของชนชั้นนํานั้นยังไม่แน่ชัด) ด้ ว ยเหตุดังนั้น ความเคลื่อนไหวทางศาสนาเหล่านี้จึงไม่ กระเทือนถึงโครงสร้างอํานาจในรัฐชาติไทยแต่อย่างใด ส่ ว นสั น ติอโศก นอกจากจะจัดองค์กรของตนอย่างรัดกุม แล้ว ยังเชื่อมโยงองค์กรของตนออกไปสู่สังคมภายนอก เช่น การ ตั้งกลุ่มญาติธรรม ซึ่งเข้าไปร่วมกิจกรรม หรือแม้แต่มีสถานภาพ ในองค์กรร่วมกับนักบวช รวมทั้งมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม - 140 60

.indd 140

3/3/2554 16:02:30


ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ |

(และการเมือง) ในนามของสันติอโศกโดยตรง สันติอโศกจึงคุกคาม รัฐชาติไทยที่รวมศูนย์อย่างมาก เพราะเกิด “ศูนย์” ใหม่ที่อยู่นอกการ กํากับควบคุมของชนชั้นนําขึ้น ตราบเท่าที่สันติอโศกยังรักษาอัตลักษณ์เช่นนี้ของตนไว้ ถึงแม้ความสัมพันธ์กับรัฐจะ “สงบ” แต่ก็ยาก ที่จะเกิดความไว้วางใจระหว่างทั้งสองฝ่ายขึ้นได้ ในทาํ นองเดียวกับการเคลือ่ นไหวของพระประจักษ์ คุตตจิตโต แม้ว่าตัวท่านจะไม่ได้จัดองค์กร แต่ท่านไปเชื่อมต่อกับองค์กรของ ชาวบ้านที่กําลังต่อสู้รักษาป่า จึงขัดแย้งกับป่าและทุนอย่างรุนแรง ฉะนั้น เมื่อเปรียบเทียบกับกรณีวัดสวนแก้วซึ่งเข้ามาช่วยแก้ปัญหา สังคมเหมือนกัน ผลจึงต่างกันไกล เพราะพระพยอมช่วยแก้ปัญหา สังคมร่วมกับรัฐ ในขณะที่พระประจักษ์แก้ปัญหาสังคมโดยเผชิญหน้า กับรัฐ สืบเนื่องจากที่กล่าวข้างต้น หากมีการจัดองค์กรที่เชื่อมโยง ไปถึงประชาชนภายนอก จะยิ่งไม่เป็นที่ไว้วางใจของรัฐชาติมากขึ้น บางครั้งถึงกับต้องส่งทหารไปปราบ ดังกรณีสํานักปู่สวรรค์15 ซึ่งคล้าย กับกบฏผู้มีบุญในสมัยก่อน ในกรณีของวัดถํ้ากระบอกซึ่งพยายาม จะบํ า บั ด ผู้ ติ ด ยาเสพติ ด จึ ง เป็ น ธรรมดาที่ ก ารจั ด องค์ ก รต้ อ งคลุ ม มาถึงฆราวาสด้วย ในระยะแรกก็ไม่เป็นที่ไว้วางใจของรัฐเช่นกัน ซํ้า พระจรูญก็ไม่ยอมจดทะเบียนสถานที่เป็นวัดหรือสํานักสงฆ์ให้ถูกต้อง ตามกฎหมาย มาในภายหลังเมื่อรัฐสืบรู้แน่ชัดว่าวัดถํ้ากระบอกไม่มี กิจกรรมอื่นนอกจากรักษาผู้เสพยา รัฐจึงปล่อย

สำ�นักปู่สวรรค์คล้ายกับสันติอโศกตรงที่ตั้งคอมมูนของตนขึ้นต่างหาก มีผู้คนเข้าไป อาศัยอยูใ่ นนัน้ และอยูภ่ ายใต้องค์กรจัดตัง้ ของสำ�นัก ว่ากันว่าถึงกับมีอาวุธในครอบครอง อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนไม่ได้ศึกษาสำ�นักปู่สวรรค์ ข้อมูลที่กล่าวนี้เป็นข้อมูลที่รัฐพยายาม เผยแพร่ผา่ นสือ่ ความจริงเป็นอย่างไร และเหตุใดรัฐจึงต้องปราบ ผูเ้ ขียนไม่อาจทราบได้ 15

- 141 60

.indd 141

3/3/2554 16:02:30


| ศาสนาในสังคมไทยปัจจุบัน

ฉะนั้น กล่าวโดยสรุปก็คือ หากจําเป็นจะต้องมีการจัดองค์กร ต้องไม่เชื่อมโยงองค์กรไปถึงคนภายนอกอย่างรัดกุมนัก และต้อง แสดงให้เห็นว่ากิจกรรมขององค์กรไม่มีภัยต่อรัฐ การจัดองค์กรในการเคลื่อนไหวทางศาสนามีความจําเป็น และเป็นพลังสําคัญที่จะทําให้การเคลื่อนไหวนั้นขยายตัวหรือไม่ แต่ ในรัฐชาติไทย การจัดองค์กรมีข้อจํากัดบางประการที่การเคลื่อนไหว ทางศาสนาต้องระวัง เพื่อไม่ให้ขัดแย้งกับพุทธศาสนาแห่งชาติอย่าง ออกหน้า พลวัตของพุทธศาสนาในสังคมไทยสมัยใหม่ ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ-สังคมที่เกิดขึ้น ในประเทศไทย ดูประหนึ่งว่าพุทธศาสนาของไทยไม่ได้ปรับตัวรับกับ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเลย (หลังจากได้ปรับตัวเมื่อต้องเผชิญกับ จักรวรรดินิยมตะวันตก) แต่ที่จริงแล้ว เฉพาะพุทธศาสนาแห่งชาติ เท่านัน้ ทีแ่ ข็งตัวจนกระทัง่ ไม่อาจปรับตัวอะไรได้อกี ในส่วนพุทธศาสนา ไทยที่ชาวพุทธทั่วไปให้ความนับถือ ได้มีการเคลื่อนไหวเพื่อตอบรับ ความเปลี่ยนแปลงอย่างคึกคัก ทั้งด้านศาสนาที่สัมพันธ์สืบเนื่องกับ คัมภีร์ และศาสนาทีเ่ ป็นความเชือ่ เกีย่ วกับผีสางเทวดา อันเป็นลักษณะ ของพุทธศาสนาของไทยที่มีมาแต่โบราณ

- 142 60

.indd 142

3/3/2554 16:02:30


ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ |

การอ้างอิง ขัตติยา ขัตยิ วรา, “การก่อรูปทางอัตลักษณ์ของขบวนการเคลือ่ นไหวทางศาสนา: กรณีศึกษาชุมชนสันติอโศก” วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2547. ฉลาดชาย รมิตานนท์, ผีเจ้านาย, เชียงใหม่: โครงการตํารามหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2527. นิธิ เอียวศรีวงศ์, “ผีแม่ม่าย,” ศิลปวัฒนธรรม, 2551. นิธิ เอียวศรีวงศ์, “ลัทธิพิธีเจ้าแม่กวนอิม,” ศิลปวัฒนธรรม. นิธิ เอียวศรีวงศ์, ลัทธิพิธีเสด็จพ่อ ร. ๕, ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ, กรุงเทพฯ: มติชน, 2536. พระไพศาล วิสาโล, พุทธศาสนาไทยในอนาคต: แนวโน้มและทางออกจากวิกฤต, กรุงเทพฯ: มูลนิธิโกมลคีมทอง, 2552. วัดสวนแก้ว, เว็บไซต์ของวัด. วิรัช วิรัชนิภาวรรณ และ นิภาวรรณ วิรัชนิภาวรรณ, การเข้าทรงและร่างทรง: ความเชื่อ พิธีกรรม และบทบาทที่มีต่อสังคม, กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์ โอเดียนสโตร์, 2533. สุรยิ า สมุทคุปติ,์ วาทกรรมของลัทธิพธิ แี ละวิกฤตการณ์ของความทันสมัยในสังคม ไทย: ทรงเจ้าเข้าผี, กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, 2539. สุวรรณา สถาอานันท์, เงินกับศาสนา: เทพยุทธแห่งยุคสมัย, ปาฐกถาซินแคลร์ ทอมป์สัน, กรุงเทพฯ: มูลนิธิโกมลคีมทอง, 2541. อนุมานราชธน, พระยา, “ผีสางเทวดา,” ใน เมืองสวรรค์และผีสางเทวดา, พระนคร: แพร่พิทยา, 2503: 279-381. อภิ ญ ญา เฟื่ อ งฟู ส กุ ล, ศาสนทั ศ น์ ข องชุ ม ชนเมื อ งสมั ย ใหม่ : ศึ ก ษากรณี วั ด พระธรรมกาย, งานวิ จั ย เสนอศู น ย์ พุ ท ธศาสน์ ศึ ก ษา จุ ฬ าลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, 2540.

- 143 60

.indd 143

3/3/2554 16:02:30


| ศาสนาในสังคมไทยปัจจุบัน

Askew, Marc, “Landscapes of fear, horizon of trust: villagers dealing with danger in Thailand’s insurgent South,” Journal of Southeast Asian Studies, Vol. 40, pt. I (February, 2009): 59-86. Didier, Bertrand, “A Medium Possession Practice and Its Relationship with Cambodian Buddhism,” in Marston, John & Guthrie, Elizabeth, (ed.), History and New Religious Movements in Cambodia, Honolulu: University of Hawaii Press, 2004: 150-169. Dror, Olga, Cult, Culture & Authority: Princess Lieu Hanh in Vietnamese History, Honolulu: The University of Hawaii Press, 2006. Elizabeth Guthrie I, “The Ethnography of Contemporary Cambodian Religion,” in Marston, John & Guthrie, Elizabeth, New Religious Movements in Cambodia, Honolulu: University of Hawaii Press, 2004: 127-31. Elizabeth Guthries II, “Khmer Buddhism, Female Asceticism, and Salva tion,” in Marston, John & Guthrie, Elizabeth, New Religious Movements in Cambodia, Honolulu: University of Hawaii Press, 2004: 133-149. Giddens, Anthony, The Third Way: The Renewal of Social Democracy, Cambridge: Polity, 1998. Hansen, Ann Ruth, How to Behave: Buddhism and Modernity in Colonial Cambodia, 1860-1930, Chiang Mai: Silkworm Books, 2007. Harris, Ian, Cambodian Buddhism: History and Practice, Honolulu: University of Hawaii Press, 2006. Holt, John Clifford, Spirit of the Place: Buddhism and Lao Religious Culture, Honolulu: University of Hawaii Press, 2009. Jackson, Peter, Buddhadasa: A Buddhist Thinker for the Modern World, Bangkok: The Siam Society, 1988. Jerryson, Michael, “Appropriating a space for violence: State Buddhism in southern Thailand,” Journal of Southeast Asian Studies, Vol. 40, pt. I (February, 2009): 33-57. - 144 60

.indd 144

3/3/2554 16:02:31


ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ |

Kamala Tiyavanich, Forest Recollections: Wandering Monks in Twentieth Thailand, Honolulu, University of Hawaii Press, 1997. Kamala Tiyavanich, The Buddha in the Jungle, Chiang Mai: Silkworm Books, 2003. McCargo, Duncan I, “Thai Buddhism, Thai Buddhists and the southern conflict,” Journal of Southeast Asian Studies, Vol. 40, pt. I (Febru ary, 2009): 1-10. McCargo, Duncan II, “The politics of Buddhist identity in Thailand’s deep south,” Journal of Southeast Asian Studies, Vol. 40, pt. I (Febru ary, 2009): 11-32. Morris, Brian, Religion and Anthropology: A Critical Introduction, New York: Cambridge University Press, 2006. O’Connor, Richard, “Temples, Sangha reform and social change,” Journal of Southeast Asian Studies, Vol. 24, pt. II (September, 2009): 330-339. Pham Quynh Phuong, Hero and Deity: Tran Hung Dao and the Resurgence of Popular Religion in Vietnam, Chiang Mai: Mekong Press, 2009. Santikaro Bhikkhu, “Socially Engaged Buddhism & Modernity: What Sort of Animals Are They?” Swearer, Donald K., The Buddhist World of Southeast Asia, Albany: State University of New York Press, 1995. Taylor, J.L., “New Buddhist movements in Thailand,” Journal of Southeast Asian Studies, Vol. 21, No. 1, (March, 1990): 135-154. Watts, Jonathan S. I, “Karma for Everyone: Social Justice and the Problem of Reethicizing Karma in Theravada Budhist Societies,” in Watts, Jonathan S., Rethinking Karma, The Darma of Social Justice, Chiang Mai: Silkworm Books, 2009: 13-38. Watts, Jonathan S. II, “The Positive Disintegration of Buddhism: Reforma tion and Deformation in the Sri Lankan Sangha,” in Watts, Jona than S., Rethinking Karma, The Darma of Social Justice, Chiang Mai: Silkworm Books, 2009: 91-132. - 145 60

.indd 145

3/3/2554 16:02:31


| ศาสนาในสังคมไทยปัจจุบัน

ประวัติปาฐก ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ จบการศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญา โทสาขาประวัติศาสตร์ จากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ปริ ญ ญาเอกสาขาประวั ติ ศ าสตร์ จากมหาวิ ท ยาลั ย มิ ชิ แ กน สหรั ฐ อเมริ ก า จากนัน้ จึงทำ�หน้าทีเ่ ป็นอาจารย์ประจำ�ทีภ่ าควิชาประวัตศิ าสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จนกระทั่งเกษียณอายุราชการในตำ�แหน่งศาสตราจารย์ เมื่อปี พ.ศ. 2543 ศ.ดร.นิธมิ งี านเขียนเผยแพร่สสู่ งั คมไทยอย่างต่อเนือ่ งตัง้ แต่ครัง้ ยังเป็น นิสิต จนกระทั่งปัจจุบันมีหนังสือตีพิมพ์ออกมาแล้วหลายสิบเล่ม อาทิ การเมือง ไทยสมัยพระนารายณ์ (2523) ปากไก่และใบเรือ (2527) การเมืองไทยสมัยพระเจ้า กรุงธนบุรี (2529) กรุงแตก พระเจ้าตาก และประวัติศาสตร์ไทย (2538) ชาติไทย เมืองไทย แบบเรียน และอนุสาวรีย์ (2538) ลัทธิพิธีเสด็จพ่อ ร. 5 (2545) และ อ่านวัฒนธรรมการเมืองไทย (2547) เป็นต้น ศ.ดร.นิธิเป็นผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนขึ้นเมื่อปลายปี พ.ศ. 2540 เพื่อท้าทายการศึกษากระแสหลักในระบบ และยังคงเป็นผู้มีส่วนสำ�คัญในการ แสดงความคิดเห็นสู่สังคมผ่านบทความทางหนังสือพิมพ์และนิตยสารอย่าง ต่อเนื่อง ปัจจุบัน ศ.ดร.นิธิรับหน้าที่เป็นหนึ่งในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ เพื่อยกร่างแผนปฏิบัติการที่จะนำ�ไปใช้แก้ไขปัญหาความอยุติธรรมและความ เหลื่อมลํ้าในสังคมไทย

- 146 60

.indd 146

3/3/2554 16:02:31


60

.indd 147

3/3/2554 16:02:31


| “เศรษฐศาสตร์กลางทะเลลึก” อํานาจของภาษา

“เศรษฐศาสตร์กลางทะเลลึก” อํานาจของภาษา รศ.ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ วันจันทร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

- 148 60

.indd 148

3/3/2554 16:02:31


รศ.ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ |

สวัสดีครับท่านคณาจารย์และผู้ฟังทุกท่าน ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ที่ ไ ด้ รั บ เชิ ญ ให้ ม าพู ด ในวาระครบรอบ 60 ปี ข องการก่ อ ตั้ ง คณะ เศรษฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตอนที่อาจารย์ปกป้อง จันวิทย์ ติดต่อขอให้มาพูด ผมลังเล ใจ เพราะตัวเองมิได้อยู่ในแวดวงเศรษฐศาสตร์ และไม่มีความรู้ด้าน เศรษฐศาสตร์แต่อย่างใด นึกไม่ออกว่าจะพูดอะไรที่จะเป็นประโยชน์ ต่อวงวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ได้ แต่อาจารย์ปกป้องได้กรุณาอธิบาย ว่าไม่จําเป็นต้องเป็นเรื่องเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์โดยตรง เพราะจุด มุ่งหมายของการจัดซีรีส์ปาฐกถาครั้งนี้คือเพื่อเปิดขอบฟ้าวิชาการ และเชื่อมต่อศาสตร์สาขาต่างๆ เข้าด้วยกัน ได้ยินดังนี้ ผมเบาใจไป ได้ระดับหนึ่ง เพราะถ้าจะต้องมาพูดเรื่องเศรษฐศาสตร์โดยตรง ผมคง ไม่มีปัญญา คําอธิบายของอาจารย์ปกป้องและจุดมุ่งหมายของการจัด ซีรีส์ปาฐกถาครั้งนี้ จะว่าไปแล้วก็แสดงถึงสปิริตของ “เศรษฐศาสตร์ สํานักธรรมศาสตร์” อย่างที่ผมเข้าใจมาโดยตลอด นั่นคือ บทบาทของ คณาจารย์และผลงานทางวิชาการของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย - 149 60

.indd 149

3/3/2554 16:02:31


| “เศรษฐศาสตร์กลางทะเลลึก” อํานาจของภาษา

ธรรมศาสตร์ นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มิได้จํากัดตัวเองอยู่แค่เรื่อง เศรษฐศาสตร์ล้วนๆ แต่มีความโน้มเอียงที่จะเชื่อมโยงเศรษฐศาสตร์ เข้ากับมิติด้านการเมือง สังคม และวัฒนธรรมเสมอมา ถือได้ว่าเป็น ลั ก ษณะเด่ น ของเศรษฐศาสตร์ สํ า นั ก ธรรมศาสตร์ ส่ ว นความเด่ น ดังกล่าวจะกลายเป็นจุดแข็งหรือจุดอ่อนนัน้ ผมมิอยูใ่ นฐานะทีจ่ ะตัดสิน ชี้ชัดได้ ผมตั้งหัวข้อปาฐกถาครั้งนี้ว่า “เศรษฐศาสตร์กลางทะเลลึก” ส่วนหนึง่ ก็เพราะคิดว่ามันฟังดูหวือหวาดี โดยเฉพาะเมือ่ คํานึงถึงวิกฤต เศรษฐกิจที่โลกทั้งโลกกําลังเผชิญหน้าอยู่ เชื่อได้แน่ว่าคนไม่น้อยจะ ต้องรู้สึกว่าคําว่า “เศรษฐศาสตร์กลางทะเลลึก” น่าจะบรรยายสภาวะ ที่ กํ า ลั ง เกิ ด ขึ้ น ได้ ดี และหวั ง ว่ า อาจจะได้ ยิ น ได้ ฟั ง อะไรที่ เ กี่ ย วกั บ สถานการณ์ของวงวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ผม ต้องขออภัยไว้ล่วงหน้าว่าท่านอาจจะต้องผิดหวัง เพราะเนื้อหาที่ผม จะพูดในวันนี้ไม่ค่อยจะเกี่ยวข้องกับเศรษฐศาสตร์โดยตรงนัก แม้ว่า ชื่อจะชวนให้คิดไปเช่นนั้น ชือ่ หัวข้อปาฐกถาครัง้ นีข้ องผม จริงๆ แล้วนํามาจากชือ่ เรือ่ งสัน้ ของ อาจินต์ ปัญจพรรค์ นักเขียนเรื่องสั้นและบรรณาธิการนิตยสาร ฟ้าเมืองไทย ที่โด่งดังมากในอดีต เรื่องสั้นเรื่องนี้นําเสนอปัญหา ทางชนชั้ น ในสั ง คมไทยด้ ว ยวิ ธี ก ารและมุ ม มองที่ น่ า สนใจไม่ น้ อ ย อาจินต์เขียนเรื่องสั้นเรื่องนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2490 เดิมตั้งชื่อว่า “ในทะเล มีเศรษฐศาสตร์” ต่อมาอิงอร (นามปากกาของ ศักดิ์เกษม หุตาคม) ได้ แนะนาํ ให้เปลีย่ นชือ่ เป็น “เศรษฐศาสตร์กลางทะเลลึก” ตีพมิ พ์ครัง้ แรก ในนิตยสาร พิมพ์ไทยวันจันทร์ ในปี พ.ศ. 24941 เรือ่ งสัน้ เรือ่ งนีก้ ลับมา เป็นที่กล่าวขานในหมู่ผู้ศึกษาวรรณกรรมไทย เมื่อสมาคมนักเขียน แห่งประเทศไทยยกย่องให้อาจินต์เป็นหนึ่งในนักเขียนเรื่องสั้นดีเด่น อ้างจากชีวประวัติ อาจินต์ ปัญจพรรค์ ใน http://www.praphansarn.com/new/c_writer/ detail.asp?ID=248 1

- 150 60

.indd 150

3/3/2554 16:02:31


รศ.ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ |

ของไทยในวาระครบรอบ 100 ปีเรื่องสั้นไทยเมื่อปี พ.ศ. 2528 โดย เรื่องสั้นที่คัดมาเป็นตัวอย่างผลงานของอาจินต์ก็คือเรื่องสั้นเรื่องนี้ “เศรษฐศาสตร์ ก ลางทะเลลึ ก ” มี ค วามยาวไม่ ถึ ง สิ บ หน้ า เนื้อเรื่องตรงไปตรงมา ไม่ซับซ้อน กล่าวคือ เป็นเรื่องราวของคน สองคนที่บังเอิญต้องมาอยู่ด้วยกันในเรือบดกลางทะเล หลังจากเรือ โดยสารเกิดอับปางลง คนหนึ่งเป็นกะลาสี อีกคนเป็นเศรษฐี ก่อนจะ กระโดดลงเรือบด กะลาสีคว้ากระติกนํ้ากับ “ขนมปังสองแถวสีเหลือง อร่าม” ติดมือมาด้วย ส่วนเศรษฐีนั้นไม่มีอะไรติดมือมาเลย นอกจาก สมบัติติดตัว อันได้แก่กระเป๋าเงินที่อัดแน่นไปด้วยธนบัตร “ใบละร้อย ใหม่เอีย่ มหลายต่อหลายใบ...สีแดงบาดตา” นาฬิกา แหวน เสือ้ ผ้า และ รองเท้าราคาแพง ตอนต้ น เรื่ อ ง กะลาสี ดู จ ะแสดงความเป็ น มิ ต รกั บ เศรษฐี ในฐานะเพื่อนมนุษย์ที่ต้องร่วมชะตากรรมเดียวกัน เห็นได้จากการ ปันนํ้าให้เศรษฐีดื่ม แถมยังใจกว้างออกปากให้เศรษฐีเก็บกระติกนํ้าไว้ แต่ด้วยความหมั่นไส้ผสมกับความไม่พอใจใน “ความเป็นพ่อค้า” ของ เศรษฐีผู้นี้ และความโลภอยากได้สมบัติ กะลาสีได้เปลี่ยนท่าทีของเขา และหันมาต่อรองกับเศรษฐี เมื่อเขาประกาศว่า

“ในเรือลํานี้ไม่ควรมีการซื้อขาย” กะลาสีพูดต่อไปอย่าง ใจปํ้า “มันควรแต่จะมีมิตรจิตมิตรใจ มันควรจะมีก็แต่ การเห็นอกเห็นใจและการแบ่งปัน แต่ว่า...ที่ใดมีเศรษฐี กับคนจนรวมกัน ที่นั่นต้องมีการสูบเลือดและอาฆาต ผมให้คุณไม่ได้แม้แต่กลิ่นของมัน ผมจะต้องขาย”2

อาจินต์ ปัจญพรรค์, “เศรษฐศาสตร์กลางทะเลลึก,” ใน นักเขียนเรื่องสั้นดีเด่นวาระ ครบรอบ 100 ปีเรื่องสั้นไทย (กรุงเทพฯ: สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย, 2528), หน้า 234. นับจากนี้ไป เลขหน้าอ้างอิงถึงเรื่องสั้นเรื่องนี้จะปรากฏในวงเล็บต่อจาก ข้อความที่ยกมา 2

- 151 60

.indd 151

3/3/2554 16:02:31


| “เศรษฐศาสตร์กลางทะเลลึก” อํานาจของภาษา

กะลาสีเสนอว่าเขาจะขายขนมปังให้ครึ่งหนึ่ง แลกกับสมบัติ ทั้งหมดที่เศรษฐีมีติดตัว ไม่ว่าจะเป็นเงิน นาฬิกา เรื่อยไปจนถึงเสื้อ และรองเท้าหนังคู่งาม ฝ่ายเศรษฐีจําต้องยอมทําตามข้อเสนอ เพราะ ทนหิวไม่ได้ กะลาสีสบโอกาสพูดจาแดกดันเศรษฐีซํ้าสอง “บนบก” กะลาสีพดู ขึน้ ลอย ๆ “ในเมือง ขนมปังสองแถวนี้ มีราคาเพียงสองบาท แต่ทว่าในเมืองเป็นถิ่นที่เศรษฐี เดินบนหัวคนจน เปล่านะ! ไม่ใช่เดินเฉย ๆ เดินไปพลาง ถือปฏักทิ่มหลังสูบเลือดไปพลาง เดี๋ยวนี้เป็นโอกาส ของคนจนบ้างละ ขนมปังกับนํ้าจืดนี่แหละจะทําให้ผม ตัง้ เนือ้ ตัง้ ตัวได้เสียที ถึงฝัง่ เมือ่ ไหร่กส็ บายเมือ่ นัน้ คุณก็ เป็นนักตักตวงโอกาสอยูแ่ ล้ว คงเห็นใจทีผ่ มตัง้ ราคาเกิน ธรรมดา” (หน้า 235)

เมื่อเวลาผ่านไปหนึ่งวันกับหนึ่งคืน แต่เรือบดก็ยังไม่ถึงฝั่ง ดังที่กะลาสีคาดการณ์ไว้แต่แรก สถานการณ์จึงกลับตาลปัตรกับตอน เริ่มเรื่อง เพราะเศรษฐีแอบเก็บขนมปังของตนเองไว้ส่วนหนึ่ง ขณะที่ กะลาสีนั้นกินขนมปังของตัวเองจนหมดสิ้น ทําให้เขาต้องเป็นฝ่ายขอ ซื้อขนมปังจากเศรษฐีบ้าง “เมือ่ วานแกขายฉันราคาเท่าไรจําได้ไหมล่ะ คราวนีฉ้ นั จะ ขายแกบ้าง เอาขนมปังไปคําหนึ่ง แล้วเอาของทุกอย่าง ของฉันคืนมา นาํ้ จืดในกระติกด้วย แล้วก็ลองค้นกระเป๋า ของตัวเองดูซีว่ามีอยู่เท่าไหร่ ฉันเอาหมด” “มันควรถูกลงตามส่วนซี” “อย่า...ป่วยการพูดเรื่องสัดส่วน เพราะมันไม่ใช่ บนบก เดี๋ยวนี้แม้ว่าเป็นเศษขนมปังนิดเดียวก็ต้องซื้อ กันจนหมดตัว มันไม่ได้อยู่ที่จํานวนสิ่งของ แต่มันอยู่ที่ - 152 60

.indd 152

3/3/2554 16:02:31


รศ.ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ |

ความต้องการ ลงแกต้องการละก็เป็นเสร็จฉันละ” กะลาสีตะโกนสบถออกมาอย่างหยาบคาย “ลองดู ซิว่ามันจะตายด้วยความหิว ไม่ซื้อ...ข้าไม่ซื้อแก ข้าจะ ทนหิว..” (หน้า 237)

เรื่องไม่ได้บอกชัดเจนว่ากะลาสียอมซื้อขนมปังตามที่เศรษฐี เสนอขายหรือไม่ แต่มาจบโดยหักมุมอีกครั้งในตอนท้ายด้วยรายงาน ข่าวจากหน้าหนังสือพิมพ์ว่าพบศพคนตายสองศพในเรือบดที่ชาว ประมงลากเข้าฝั่ง ในแง่ของพล็อตเรื่อง “เศรษฐศาสตร์กลางทะเลลึก” มีความ คล้ายคลึงบางส่วนกับเรื่องสั้นคลาสสิกอันโด่งดังชื่อ “Open Boat” ของนักเขียนอเมริกันแนวธรรมชาตินิยมนาม สตีเฟน เครน (Stephen Crane, 1871-1900) เครนเขียนเรื่องสั้นเรื่องนี้จากประสบการณ์จริง เมื่อเขารอดชีวิตจากอุบัติเหตุเรือโดยสารล่มกลางทะเล ขณะที่เขา เดินทางไปประเทศคิวบาเพื่อรายงานข่าวสงครามต่อต้านสเปนที่นั่น “Open Boat” ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1897 (ตรงกับปี พ.ศ. 2440 ก่อนหน้าเรื่องสั้น “เศรษฐศาสตร์กลางทะเลลึก” หลายสิบปี) เนือ้ เรือ่ งบรรยายการต่อสูเ้ พือ่ เอาชนะธรรมชาติของชายสีค่ นในเรือบด กลางทะเล หลังจากทีเ่ รือโดยสารอับปาง โดยชายทัง้ สีค่ นประกอบด้วย พ่อครัวประจาํ เรือ กัปตันเรือทีไ่ ด้รบั บาดเจ็บจากเหตุการณ์เรือโดยสาร อับปาง นักค้านาํ้ มัน และนักข่าว พวกเขาร่วมแรงร่วมใจทําหน้าทีเ่ ท่าที่ ตนจะทาํ ได้เพือ่ พาเรือบดเข้าหาฝัง่ ในท้ายทีส่ ดุ พวกเขาก็ทาํ ได้สาํ เร็จ แต่นักค้านํ้ามันกลับต้องจบชีวิตลงขณะที่ว่ายนํ้าจวนจะถึงฝั่งอยู่แล้ว เรื่องสั้นเรื่องนี้ได้รับการยกย่องอย่างมากว่าเป็นตัวอย่างที่ดี ที่สุดของวรรณกรรมแนวธรรมชาตินิยม โดยมุ่งชี้ให้เห็นถึงความไม่ ยินดียนิ ร้ายของธรรมชาติตอ่ ชะตากรรมไม่วา่ จะในแง่ทกุ ข์หรือสุขของ มนุษย์ ชายทัง้ สีค่ นมีสทิ ธิจ์ ะตายและรอดชีวติ พอๆ กัน แต่สามคนรอด - 153 60

.indd 153

3/3/2554 16:02:31


| “เศรษฐศาสตร์กลางทะเลลึก” อํานาจของภาษา

ขณะทีอ่ กี หนึง่ คนต้องเสียชีวติ โดยปราศจากเหตุผลใดๆ ทัง้ สิน้ ทัง้ หมด เป็นเรือ่ งของความบังเอิญและการเล่นตลกของโชคชะตา ทีน่ กั ค้านํา้ มัน ต้องมาตายในขณะที่กําลังถึงฝั่งอยู่รอมร่อ แม้วา่ เครนจะไม่หลงละเมอไปกับพลังธรรมชาติอนั เกือ้ กรุณา ดุจมารดาดังทีพ่ วกนักเขียนแนวโรแมนติกโหมประโคม แต่ดเู หมือนว่า เขามิได้สญ ู เสียความหวังและความศรัทธาในคุณค่าความเป็นมนุษย์ไป ทั้งหมด ดังจะเห็นจากการนําเสนอภาพความร่วมมือร่วมใจ เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ อดทน เสียสละ ของชายทั้งสี่คนในเรือบดกลางทะเล อันเป็น ภาพที่ติดตราตรึงใจผู้อ่านไปอีกนาน แม้ว่า “เศรษฐศาสตร์กลางทะเลลึก” ของอาจินต์จะสร้าง สถานการณ์ให้ตัวละครต้องอยู่ในสภาพที่คล้ายกันกับตัวละครในเรื่อง “Open Boat” ของเครน นัน่ คือ คนแปลกหน้าจําต้องมาร่วมชะตากรรม เดียวกันในสถานที่ปิดตายที่ห่างไกลจากสังคมและผู้คน แต่ก็เห็นได้ ชัดว่าปฏิสมั พันธ์ระหว่างตัวละครในเรือ่ งสัน้ ของอาจินต์นนั้ แตกต่างราว ขาวกับดํากับเรื่องสั้นของเครน ในขณะที่เรื่องสั้นของเครนมุ่งความ สนใจไปยังประเด็นการต่อสู้ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ เรื่องสั้นของ อาจินต์กลับสนใจประเด็นเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ โดยเฉพาะการ เผชิญหน้ากันระหว่างมนุษย์ดว้ ยกันเอง บนเรือบดของเครนนัน้ มนุษย์ สี่คนอยู่ในสถานะเปลือยเปล่า ปลอดจากอคติทางสังคมที่พวกเขาทิ้ง ไว้ข้างหลัง พวกเขาร่วมกันต่อสู้เพื่อเอาชนะธรรมชาติอันยิ่งใหญ่น่า สะพรึงกลัวที่รายล้อมพวกเขาอยู่ แต่บนเรือบดของอาจินต์ ทั้งเศรษฐี และกะลาสีมิได้ทิ้งสถานะและอคติทางสังคมไว้เบื้องหลังแต่อย่างใด ทั้งสิ้น พวกเขาสวมใส่และผูกมันไว้อย่างสนิทแนบแน่นเป็นหนึ่งเดียว กับตัวตนของพวกเขา จนอาจจะกล่าวได้ว่าเรือบดกลางทะเลของ อาจินต์คอื อุปมานิทศั น์ของนาวาสังคมไทยในขณะนัน้ และการขับเคีย่ ว ต่อสู้กันระหว่างเศรษฐีกับกะลาสีคือภาพจําลองของการเผชิญหน้ากัน ระหว่างคนสองชนชั้นในสังคมไทย - 154 60

.indd 154

3/3/2554 16:02:31


รศ.ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ |

“เศรษฐศาสตร์กลางทะเลลึก” จากมุมมองเรื่องชนชั้น ปัญหาชนชั้นและความขัดแย้งทางชนชั้นเป็นปัญหาใจกลาง ของสังคมไทยมาโดยตลอด มิใช่เพิ่งจะมาเกิดขึ้นในรอบไม่กี่ปีมานี้ ชั่วแต่ว่ามันจะได้รับการพูดถึงและครุ่นคิดหาทางแก้ไขอย่างจริงจัง หรือไม่เท่านั้นเอง ในบางช่วงบางขณะ สังคมไทยอาจจะแกล้งทําเป็น ลืมๆ มันไป หรือไม่ก็ปิดตาเสียข้างหนึ่ง ไม่ยอมมองเห็นหรือรับรู้การ เอารัดเอาเปรียบทางชนชั้นที่ดําเนินอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ส่งผลให้ปัญหา ชนชั้นนับวันจะทวีความรุนแรงหนักหน่วงแผ่ขยายเป็นวงกว้าง และ แทรกซึมเข้าไปในทุกอณูของชีวิตและทุกอิริยาบถของผู้คน หากพิจารณาเฉพาะงานวรรณกรรมก็จะพบเช่นกันว่า ใน แต่ละยุคแต่ละสมัย วรรณกรรมได้นําเสนอปัญหาชนชั้นไว้ในหลายแง่ หลายมุม หนัก แก่ เบา อ่อน ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขทางสังคมและความ สนใจส่วนตัวของผู้ประพันธ์ บ้างก็นําเสนอในเชิงอ้อมๆ ผ่านเรื่อง ความรักอันไม่สมหวัง เพราะฐานันดรศักดิ์และชนชั้นที่แตกต่างกัน ในทํานอง “ดอกฟ้ากับหมาวัด” ที่นักอ่านวรรณกรรมโรมานซ์คุ้นเคย กันดี บ้างนําเสนออย่างจริงจัง ตรงไปตรงมา ผ่านเรื่องราวการกดขี่ ข่มเหงและการเอารัดเอาเปรียบสารพัดรูปแบบ ดังที่เราพบกันบ่อย ในงานประเภทวรรณกรรมเพือ่ ชีวติ เรือ่ งสัน้ “เศรษฐศาสตร์กลางทะเล ลึก” ของ อาจินต์ ปัญจพรรค์ ก็เป็นหนึ่งในงานวรรณกรรมที่พยายาม นําปัญหาความแตกต่างทางชนชั้นมาตีแผ่ ประเด็นทีเ่ ห็นได้ชดั เจนทีส่ ดุ ใน “เศรษฐศาสตร์กลางทะเลลึก” คือทัศนคติของอาจินต์ตอ่ ธรรมชาติมนุษย์ในฐานะทีเ่ ป็นสัตว์เศรษฐกิจ ขนาดอยู่กลางทะเลรอคอยวันตาย มนุษย์ยังไม่วายที่จะคิดถึงเรื่อง การซือ้ ขายแลกเปลีย่ น การชิงไหวชิงพริบ แน่นอน มโนสํานึกในความ - 155 60

.indd 155

3/3/2554 16:02:31


| “เศรษฐศาสตร์กลางทะเลลึก” อํานาจของภาษา

เป็นมนุษย์นั้นมีอยู่ แต่เราก็จะเห็นว่ามันมีอยู่เพียงชั่วจิบนํ้าเท่านั้น ดังจะเห็นจากตอนเปิดเรือ่ งทีก่ ะลาสียนื่ กระติกนาํ้ ให้เศรษฐีจบิ ฉันเพือ่ น ร่วมชะตากรรม แต่ทันทีที่เขาตระหนักว่าเขามีสินค้าที่จะขาย และ เศรษฐีมีปัญญาที่จะจ่าย ความเป็นสัตว์เศรษฐกิจก็เข้ามาแทนที่ทันที ส่วนเศรษฐีนั้นไม่ต้องพูดถึง เขาเป็นพ่อค้าที่หายใจเข้าออกเป็นเรื่อง ค้าขายและการเก็งกําไร นับตั้งแต่ประโยคแรกที่เขาเอ่ยปาก เมื่อเขา จงใจเรียกกะลาสีว่า “พี่ชาย” เพื่อหวังตีสนิทด้วย แต่เขาคาดการณ์ ผิด เพราะกะลาสีนั้นรู้ทันอาการเสแสร้งของเศรษฐี และเพราะคําว่า พี่ชายนี่เองที่ไปกระตุ้นความรู้สึกหมั่นไส้และความรู้สึกขุ่นข้องใจของ กะลาสีต่อความเหลื่อมลํ้าตํ่าสูงของชีวิต “‘พี่ชาย’ หนอยแน่ กะลาสี ทวนคําในลําคออย่างแค้น ขณะหนึ่งเมื่ออยู่บนเรือใหญ่เขาถูกเรียก ว่าไอ้ แต่ขณะนี้ในเรือเล็กซึ่งเขาเป็นผู้ควบคุม ท่านเศรษฐีเรียกเขาว่า พี่ชาย” (หน้า 232) ประเด็นถัดมาที่เราเห็นในเรื่องสั้นเรื่องนี้คือการทํางานของ กลไกตลาด ซึ่งราคาสินค้าถูกกําหนดด้วยอุปสงค์และอุปทาน และ ประเด็นเรื่องความแตกต่างระหว่างมูลค่าเชิงใช้สอยกับมูลค่าเชิง แลกเปลี่ยนตามหลักเศรษฐศาสตร์ กะลาสีสามารถตั้งราคาขนมปัง ซึ่งปกติซื้อขายกันเพียงแถวละ 1 บาทด้วยราคาอันแพงลิบลิ่ว เพราะ สภาวะตลาดเปลีย่ นแปลงไป กลางท้องทะเลลึก ขนมปังกลายเป็นของ หายาก หรือที่ถูกควรพูดว่าหาไม่ได้เอาเลย นั่นก็คืออุปทานตํ่า ขณะที่ อุปสงค์ คือความต้องการของเศรษฐี มีสงู มาก ในทํานองเดียวกัน เมือ่ เศรษฐีกลายเป็นผู้ครอบครองสินค้าที่มีจํานวนจํากัด เขาก็สามารถ เรียกราคาที่แพงมากได้เช่นกัน เหมือนกับที่เศรษฐีพูดในตอนหนึ่งว่า “มันไม่ได้อยู่ที่จํานวนสิ่งของ แต่มันอยู่ที่ความต้องการ ลงแกต้องการ ละก็เป็นเสร็จฉันละ” ประเด็นที่น่าสนใจในการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าในเรื่องสั้น เรื่องนี้คือ ทั้งกะลาสีและเศรษฐีจะพูดซํ้าแล้วซํ้าเล่าว่า ระบบซื้อขายที่ - 156 60

.indd 156

3/3/2554 16:02:31


รศ.ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ |

ใช้กันบนบกนั้นไม่สามารถใช้ได้ในกลางทะเล ขนมปังที่มีราคาค่างวด เพียงแถวละ 1 บาทบนบก จึงมีราคาสูงลิบลิ่วเมื่ออยู่กลางทะเล หรือ จะพูดให้เข้ากับกระแสตอนนี้ก็คือ ระบบซื้อขายมีสองมาตรฐาน คือ มาตรฐานบนบกกับมาตรฐานกลางทะเล แต่เมื่อคิดอย่างถี่ถ้วนแล้ว ระบบซื้อขายในเรื่องนี้มีเพียงมาตรฐานเดียว คือการกําหนดมูลค่า ขนมปัง ไม่ว่าจะบนบกหรือกลางทะเล ล้วนเป็นไปตามหลักอุปสงค์อุปทานทัง้ สิน้ บนบก ขนมปังมีราคาแค่แถวละ 1 บาทก็เพราะอุปทาน มีมากมาย สามารถหาซื้อได้ทั่วไป ขณะที่อุปสงค์ค่อนข้างตํ่า เพราะ คนมีทางเลือกหลากหลาย ไม่กินขนมปังก็ไม่ตาย เพราะสามารถกิน ข้าว ก๋วยเตี๋ยว และอาหารชนิดอื่นได้ จะว่าไปแล้วก็เหมือนกับเรื่อง “สองมาตรฐาน” ที่พูดกันทุก วันนี้ เนื่องจากจริงๆ แล้วไม่ใช่เรื่องสองมาตรฐานแต่อย่างใด แต่เป็น เรื่องการใช้มาตรฐานเดียวทั้งสิ้น นั่นคือมาตรฐานที่ว่า ถ้าเป็นอะไร ที่คุณทักษิณเข้าไปเกี่ยวข้องล้วนชั่วช้าสารเลวหมด ไม่ว่าจะเป็นการ เลือกตั้ง รัฐบาล การชุมนุมตามสิทธิในรัฐธรรมนูญ ขณะที่ถ้าเป็น อะไรที่เกี่ยวข้องกับพันธมิตรฯ เป็นเรื่องดีงามทั้งสิ้น การชุมนุมล้อม ทาํ เนียบรัฐบาลและการปิดถนนของคนเสือ้ แดงจึงเป็น “การก่อจลาจล” ส่วนการชุมนุมยึดทําเนียบรัฐบาล ยึดสถานีโทรทัศน์ และการปิด สนามบิน ของพันธมิตรฯ ถือว่าเป็น “อารยขัดขืน” ที่เรียกๆ กันว่า “สองมาตรฐาน” นั้นก็เพราะเริ่มจากพื้นฐาน ความเชื่อที่ว่า ทุกคนในสังคมมีสถานะเท่าเทียมเสมอภาคกัน ดังนั้น กฎหมาย กฎระเบียบ และหลักปฏิบัติ ควรจะต้องใช้กับทุกคนอย่าง เสมอหน้าเหมือนกันหมด ไม่มีข้อยกเว้น แต่เมื่อมีการเลือกบังคับ ใช้กฎหมายและกฎระเบียบกับคนบางกลุ่ม และเลือกไม่ใช้กับคน บางกลุ่ม จึงมีความรู้สึกว่าเป็นระบบสองมาตรฐาน แต่ความเป็นจริง ก็คือ ในสังคมไทยนั้น ถ้าจะยืมคําของ จอร์จ ออร์เวลล์ (George Orwell) ใน Animal Farm มาใช้ ก็ตอ้ งบอกว่า “บางคน บางกลุม่ มีความ - 157 60

.indd 157

3/3/2554 16:02:31


| “เศรษฐศาสตร์กลางทะเลลึก” อํานาจของภาษา

เสมอภาคมากกว่าคนโดยทัว่ ไป” การใช้กฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ ล้วนเริ่มจากสมมติฐานนี้ ถ้าจะแก้ไขก็ต้องเริ่มต้นจากการยอมรับ หลักการที่ว่าคนทุกคนเท่าเทียมกันโดยไม่มีข้อยกเว้นเสียก่อน แม้จะเป็นเรือ่ งบังเอิญทีอ่ าจินต์บรรยายขนมปังของกะลาสีวา่ เป็น “สีเหลือง” โดยนําไปเทียบแย้งกับธนบัตรใบละร้อย “สีแดง” ของ เศรษฐี แต่ความขัดแย้งระหว่าง “คนจน” กับ “คนรวย” หรือระหว่าง สีเหลืองกับสีแดง ทีส่ อื่ ผ่านความรูส้ กึ ของตัวละครสองตัวในเรือ่ ง ก็เป็น ประเด็นที่ชัดเจนแจ่มแจ้งจนเราไม่อาจสรุปเป็นอื่นไปได้ นอกเสียจาก ว่าเรื่องสั้นเรื่องนี้มุ่งชี้ประเด็นเรื่องความไม่เท่าเทียมกันของคนและ ความแตกต่างทางชนชั้นในสังคมไทย การเรียกตัวละครจากสถานะ ของพวกเขา คือ “เศรษฐี” และ “กะลาสี” แทนการตั้งชื่อเสียงเรียงนาม ดังทีพ่ บในงานวรรณกรรมทัว่ ไป ยังช่วยตอกยํา้ ให้ผอู้ า่ นสํานึกอยูต่ ลอด เวลาถึงสถานะของตัวละครในฐานะตัวแทนของชนชั้นที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ ลักษณะของตัวละครตามทีบ่ รรยายไว้ในท้องเรือ่ งก็องิ แอบ อยู่กับภาพแบบฉบับของคนรวยและคนจน

คนหนึ่งผิวดําคลํ้าแดด ร่างกายกํายําเพราะเป็นกะลาสี เรือ ตลอดชีวติ ของเขามีแต่กลิน่ เหล้า คาวทะเล และงาน ๆ ๆ ซึ่งหนักอึ้งจนกล้ามเนื้อทุกอณูพองขึ้นมาต้อนรับ ความตรากตรําเหล่านั้น อีกคนหนึ่งผิวขาวเพราะเคยอยู่แต่ในชายคาตึก และประทุนรถเก๋ง ข้อมือเล็กแต่มากด้วยเนื้อเพราะ บริบรู ณ์อาหารการกิน มีนาฬิกาและแหวนราคาแพงเท่า ค่าอาหารของคนจนเป็นปี ๆ (หน้า 233-4)

บทบรรยายตัวละครในที่นี้มุ่งฉายลักษณะทางกายภาพของ แบบฉบับ “คนจน” และ “คนรวย” เป็นสําคัญ โดยการสร้างภาพให้ - 158 60

.indd 158

3/3/2554 16:02:31


รศ.ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ |

คนจนมีผิวดําคลํ้า เรือนร่างกํายํา แข็งแรง มีกล้ามเนื้อเป็นสมบัติ ติดตัว (ในความหมายตามตัวอักษร คือกล้ามเนื้อติดอยู่กับตัว) เพื่อ ตอกยํ้ามโนภาพคนจนในฐานะ “ผู้ขายแรงงาน” นั่นคือ แรงงานเป็น สมบัติสถานเดียวของคนจนที่มีไว้ซื้อขายแลกเปลี่ยนเพื่อการดํารง ชีวิต ขณะที่คนรวยมีผิวขาว เรือนร่างเจ้าเนื้อ (“ข้อมือเล็กแต่มากด้วย เนื้อ”) มีเครื่องประดับราคาแพงเป็นสมบัติติดตัว ซึ่งทําหน้าที่ขับเน้น ภาพคนรวยในฐานะพ่อค้าทีห่ ากินอยูก่ บั การซือ้ ขายแลกเปลีย่ นสินค้า3 การผูกติดสถานะทางชนชั้นเข้ากับลักษณะทางกายภาพของคนอย่าง แน่นแฟ้นนี้กระมังที่ทําให้อคติทางสังคมเรื่องชนชั้นตามติดพวกเขา มาถึงเรือบดกลางทะเลที่ห่างไกลจากสังคมและผู้คน ผิดกันกับเรื่อง “Open Boat” ของเครน ที่แม้ว่าตัวละครทั้งสี่จะมีสถานะทางสังคม และชนชั้นต่างกันลิบลับ แต่บนเรือบดกลางทะเล พวกเขาล้วนเป็น คนเรือแตกที่ต้องช่วยกันเพื่อเอาชีวิตรอด นอกจากนี้ เมื่อพิจารณานิสัยใจคอของตัวละครใน “เศรษฐศาสตร์กลางทะเลลึก” ก็ยิ่งชัดเจนว่าเรื่องมุ่งสร้างตัวละครเศรษฐี และกะลาสีในฐานะตัวแทนของชนชั้นมากกว่าในฐานะปัจเจกบุคคล ตัวละครเศรษฐีถูกสร้างภาพให้เป็นคนทีเ่ ล็งผลเลิศ ตามแบบฉบับของ ที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งในบทบรรยายนี้ก็คือ การเชื่อมโยงคนจนเข้ากับสุรา อันเป็น ภาพแบบฉบับที่จำ�หลักแน่นอยู่กับความยากจน แม้กระทั่งในทุกวันนี้ ภาพแบบฉบับ นี้ก็มิได้เสื่อมคลายไปแต่อย่างใด ดังจะเห็นได้จากบรรดาโฆษณารณรงค์ให้งดดื่มสุรา ขององค์กรภาครัฐ เช่น โฆษณาชุด “เลิกเหล้า เลิกจน” ของ สสส. (สำ�นักงานกองทุน สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ) ที่สร้างวิตรรกะลวงตาว่า “กินเหล้าจึงทำ�ให้จน” ใน ลักษณะคล้ายคลึงกับวิตรรกะ “ลูกมากจะยากจน” ที่เคยอื้อฉาวในอดีต น่าแปลกใจ ไม่น้อยที่โฆษณาของผู้ทรงศีลซึ่งห่วงใยสุขภาพคนไทยอย่าง สสส. ไม่เคยเห็นการ ดื่มเบียร์จิบไวน์ของคนชั้นกลางและผู้มั่งคั่งเป็นเรื่องน่ารังเกียจเดียดฉันท์คู่ควรต่อการ นำ�มาประจานหน้าจอโทรทัศน์ ประเด็นสำ�คัญที่โฆษณาชุดนี้ต้องการบอกจึงมิได้อยู่ ที่ว่าเหล้าเป็นสิ่งน่ารังเกียจ แต่คือคนจนต่างหากที่น่ารังเกียจ อันเป็นอคติที่ฝังแน่นอยู่ ในหมู่ผู้ทรงศีลของบ้านเราในปัจจุบัน 3

- 159 60

.indd 159

3/3/2554 16:02:31


| “เศรษฐศาสตร์กลางทะเลลึก” อํานาจของภาษา

ภาพแทนพ่อค้าที่มองทุกอย่างเป็นเรื่องของการซื้อขาย การต่อรอง และการเก็ ง กํ า ไรทั้ ง สิ้ น ดั ง จะเห็ น จากฉากที่ เ ศรษฐี ค รุ่ น คิ ด ว่ า จะ กาํ หนดท่าทีอย่างไรในการเจรจากับกะลาสีเรือ่ งขนมปัง จึงจะทาํ ให้ตน ไม่เสียเปรียบ “ถ้าเราจะขอซือ้ เขาก็ตอ้ งขึน้ ราคาสูงๆ แต่ถา้ เราขอเฉยๆ เขาจะเพียงพูดถึงราคา เอาละเราต้องเริ่มต้นด้วยการขอ” (หน้า 234) และเพือ่ จะตอกยาํ้ วิสยั ของพ่อค้าทีม่ ากด้วยเล่หเ์ หลีย่ ม ตัวบทบรรยาย ต่อว่า “คิดแล้ว ด้วยเสียงแหบๆ แต่เต็มไปด้วยชั้นเชิงของตัวเลข ท่าน เศรษฐีจึงพูดว่า” (หน้า 234) ในทํานองเดียวกัน กะลาสีก็ถูกสร้างภาพให้เป็นตัวแทนของ คนจนที่มีสํานึกอย่างแน่นเฟ้นในชนชั้นของตัวเอง โดยเฉพาะคําพูด ของกะลาสีทวี่ า่ “ทีใ่ ดมีเศรษฐีกบั คนจนรวมกัน ทีน่ นั่ ต้องมีการสูบเลือด และอาฆาต” (หน้า 234) คาํ ทีน่ า่ สนใจในทีน่ คี้ อื คาํ ว่า “อาฆาต” เราพบ ว่าอารมณ์ความรูส้ กึ เคียดแค้นของกะลาสีมไิ ด้เกิดขึน้ เพราะเขาไม่ชอบ หน้าเศรษฐีผู้นี้เป็นการส่วนตัว เนื่องจากทั้งคู่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน แต่เป็นความรู้สึกเคียดแค้นทางชนชั้นที่มองเห็นคนรวยคือศัตรูทาง ชนชัน้ โดยธรรมชาติ ดังทีก่ ะลาสีอธิบายการเรียกร้องเอาสมบัตทิ งั้ หมด ของเศรษฐีแลกกับขนมปังแถวเดียวว่าเป็นการแก้แค้นทางชนชั้น “ในเมืองเป็นถิ่นที่เศรษฐีเดินบนหัวคนจน เปล่านะ! ไม่ใช่เดินเฉย ๆ เดินไปพลาง ถือปฏักทิ่มหลังสูบเลือดไปพลาง เดี๋ยวนี้เป็นโอกาสของ คนจนบ้างละ” (หน้า 235) วรรณกรรมกับปัญหาชนชั้น การหยิบยกประเด็นความขัดแย้งทางชนชั้นระหว่างคนรวย กับคนจนมาเป็นสารัตถะสําคัญในเรื่องสั้นเรื่องนี้ อาจนับว่าเป็นเรื่อง - 160 60

.indd 160

3/3/2554 16:02:31


รศ.ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ |

แปลกใหม่พอสมควรสาํ หรับนักอ่านในปัจจุบนั ทีค่ นุ้ เคยกับวรรณกรรม ร่วมสมัย ซึ่งต่างก็หันเหความสนใจไปยังประเด็นโลกภายในของตัว ละครหรือวิถีชีวิตอันแตกกระจายของคนเมืองเป็นสําคัญ (นับตั้งแต่ รัฐประหารปลายปี พ.ศ. 2549 โดยฝ่าย “อาํ มาตย์” เป็นต้นมา นักเขียน และนักอ่านไทยในปัจจุบันควรจะ “ตาสว่าง” ตระหนักรู้ว่าปัญหาความ แตกต่างทางชนชัน้ ยังดํารงอยูอ่ ย่างเหนียวแน่นในสังคม และนับวันจะ ทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกที หากพวกเขายังไม่รู้สึกรู้สมกับปัญหานี้ พวกเขาก็จะหมดที่ยืนในประวัติศาสตร์) แต่หากพิจารณาจากบริบท ทางประวัตศิ าสตร์และสังคมทีเ่ รือ่ งสัน้ เรือ่ งนีถ้ กู แต่งขึน้ มา คือในปี พ.ศ. 2490 จะพบว่านี่มิใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด ดังที่ทราบกันดีว่าการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยในปี พ.ศ. 2475 ภายใต้การนําของคณะราษฎร เป็นเงื่อนไขสําคัญที่ทําให้แนวคิด เรื่องความเสมอภาคของมนุษย์โดยไม่คํานึงถึงชาติกําเนิดได้รับการ ยอมรับมากขึ้น การวิพากษ์วิจารณ์การแบ่งคนในสังคมเป็น “ผู้ดี” และ “ไพร่” สามารถกระทําได้อย่างเปิดเผยและกว้างขวางกว่าในสมัย ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง ปรากฏการณ์ดังกล่าวยังสามารถพบ ได้จากงานวรรณกรรมในช่วงนั้น นักเขียนอย่าง กุหลาบ สายประดิษฐ์ ผูถ้ อื ได้วา่ เป็นแถวหน้าของสามัญชน ได้ลกุ ขึน้ มาตัง้ คําถามกับ “ความ เป็นสมมติเทพ” ของเหล่าผูด้ เี ชือ้ เจ้าอย่างตรงไปตรงมา โดยชีว้ า่ คุณค่า ของคนอยูท่ กี่ ารกระทํา มิใช่ชาติกาํ เนิด4 โดยเขาได้เขียนนวนิยายเชิดชู สามัญชนและเรียกร้องความเห็นใจต่อผู้ยากไร้ในสังคมควบคู่กันไป ดังจะเห็นได้ใน สงครามชีวติ (2475) ขณะเดียวกัน นักเขียนทีม่ ภี มู หิ ลัง ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกีย่ วกับบทบาทของ กุหลาบ สายประดิษฐ์ และคณะสุภาพบุรษุ ต่อปัญหาเรื่อง “ผู้ด”ี ใน ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์, “ปริศนาข้างหลังภาพ ‘คณะสุภาพบุรษุ ’,” อ่าน (ไม่) เอาเรื่อง, พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพฯ: คบไฟ, 2548), หน้า 71-84. 4

- 161 60

.indd 161

3/3/2554 16:02:31


| “เศรษฐศาสตร์กลางทะเลลึก” อํานาจของภาษา

เป็นชนชั้นสูงอย่างดอกไม้สด (ม.ล.บุปผา กุญชร นามสกุลในขณะนั้น) ได้ลกุ ขึน้ มาเขียนนวนิยายทีพ่ ยายามสร้างความชอบธรรมให้กบั ความ เป็นผูด้ ี โดยการปรับเปลีย่ นนิยามของ “ผูด้ ”ี เสียใหม่ เพือ่ ให้สอดรับกับ กระแสการเปลีย่ นแปลงในสังคม ดังปรากฏในนวนิยายเรือ่ งทีไ่ ด้รบั การ ยกย่องจากทางการมากเป็นพิเศษ คือ ผู้ดี (2480) ซึ่งมุ่งชี้ว่า แม้ความ เป็นผูด้ ที แี่ ท้จริงจะอยูท่ กี่ ารกระทาํ มิได้อยูท่ ชี่ าติกาํ เนิด แต่เธอก็ยนื ยัน ว่าชาติกําเนิดมีส่วนสําคัญไม่แพ้กัน เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง ปรากฏว่าขบวนการ ปลดแอกกู้ ช าติ แ ละขบวนการของพรรคคอมมิ ว นิ ส ต์ ใ นประเทศ เพื่อนบ้านรอบๆ ประเทศไทย โดยเฉพาะในคาบสมุทรอินโดจีน ได้ ขยายตัวเติบใหญ่อย่างก้าวกระโดด ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลเกื้อหนุนต่อ การเติบโตของขบวนการสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย ซึ่งเริ่มก่อตัวมาตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่สองจะปะทุ นอกจากนี้ การที่รัฐบาลไทยจําใจประกาศยกเลิกกฎหมายว่าด้วยการกระทํา อันเป็นคอมมิวนิสต์เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2489 เพราะหวังเอาใจ สหภาพโซเวียตให้สนับสนุนประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกขององค์การ สหประชาชาติ (กฎหมายนีไ้ ด้รบั การแก้ไขและนํามาประกาศใช้ใหม่ในปี พ.ศ. 2495) ยิ่งเปิดโอกาสให้กระแสความคิดสังคมนิยมและขบวนการ คอมมิวนิสต์สามารถนําเสนอแนวคิดของพวกเขาในวงกว้าง ดังจะเห็น ว่าพรรคคอมมิวนิสต์สยาม (ชื่อในขณะนั้น) สามารถเคลื่อนไหวทาง การเมืองและความคิดได้อย่างเปิดเผย ถึงขนาดมีสอื่ สิง่ พิมพ์ของตนเอง คือนิตยสารรายสัปดาห์ มหาชน ออกเผยแพร่อย่างถูกกฎหมาย โดยมี ธง แจ่มศรี เป็นบรรณาธิการคนแรก5 ดูรายละเอียดบรรยากาศทางการเมืองและวรรณกรรมในช่วงนีไ้ ด้ใน เสถียร จันทิมาธร, สายธารวรรณกรรมเพื่อชีวิตของไทย (กรุงเทพฯ: เจ้าพระยา, 2525). และวิทยานิพนธ์ เรื่อง “ประวัติศาสตร์นิพนธ์แนวคิด ‘ศิลปะเพื่อชีวิต’ (พ.ศ. 2492-2501)” ของ สมิทธิ์ ถนอมศาสนะ (คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2548). 5

- 162 60

.indd 162

3/3/2554 16:02:31


รศ.ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ |

ความเคลือ่ นไหวเหล่านีม้ บี ทบาทสาํ คัญในการผลักดันให้การ ถกเถียงเรือ่ งความไม่เท่าเทียมกันในสังคมระหว่างไพร่/ผูด้ แี ละคนจน/ คนรวยกลายเป็นประเด็นเรื่องความแตกต่างทางชนชั้น ในช่วงนี้ นักเขียนจํานวนไม่น้อยเริ่มหยิบยกประเด็นเรื่องชนชั้นมานําเสนอ ในงานวรรณกรรมของพวกเขา ไม่ว่าจะเป็น กุหลาบ สายประดิษฐ์, ป. บูรณปกรณ์ (ชื่อเดิม ป่วน บูรณศิลปิน), ทนง ศรัทธาทิพย์, อิศรา อมันตกุล, เสนีย์ เสาวพงศ์ ฯลฯ ในแง่นี้ เรื่องสั้น “เศรษฐศาสตร์ กลางทะเลลึก” ของ อาจินต์ ปัญจพรรค์ จึงเป็นเสมือนหนึ่งหยดของ กระแสธารวรรณกรรมสายก้าวหน้าในขณะนัน้ ทีห่ นั มาให้ความสําคัญ กับประเด็นความแตกต่างทางชนชั้นในสังคมไทย คุณธรรมกับชนชั้น

ข้ อ สั ง เกตประการหนึ่ ง เกี่ ย วกั บ วรรณกรรมว่ า ด้ ว ยชนชั้ น จาํ นวนไม่นอ้ ยในช่วงนีก้ ค็ อื วรรณกรรมเหล่านีม้ แี นวโน้มทีจ่ ะนําเสนอ ความขัดแย้งทางชนชัน้ ไม่วา่ จะในรูปของความขัดแย้งระหว่างนายทุน/ กรรมกร เจ้าทีด่ นิ /ชาวนา คนรวย/คนจน โดยนาํ ไปเชือ่ มโยงกับประเด็น เรื่องคุณธรรม กล่าวคือ ระดับจิตสํานึกทางคุณธรรมของตัวละครจะมี ความสัมพันธ์อย่างแยกไม่ออกกับสถานะทางเศรษฐกิจของตัวละคร โดยเรื่องส่วนใหญ่จะสร้างให้ความสัมพันธ์ดังว่านี้มีลักษณะผกผันกัน นัน่ คือ ยิง่ ตัวละครมีสถานะทางเศรษฐกิจสูงมากเท่าไร เช่น เป็นนายทุน เป็นเศรษฐี เป็นเจ้าที่ดิน พวกเขาก็จะยิ่งมีคุณสมบัติทางคุณธรรมตํ่า เท่านั้น เข้าทํานอง นายทุนหน้าเลือด เศรษฐีใจร้าย ในทางกลับกัน ยิ่งตัวละครมีสถานะทางเศรษฐกิจตํ่าต้อยเพียงใด เช่น เป็นกรรมกร เป็นคนจน เป็นชาวนาไร้ที่ทํากิน พวกเขาก็จะยิ่งมีคุณธรรมสูงส่ง - 163 60

.indd 163

3/3/2554 16:02:31


| “เศรษฐศาสตร์กลางทะเลลึก” อํานาจของภาษา

เพียงนั้น เข้าทํานอง คนจนใจดีมีนํ้าใจ6 คําถามที่ไม่ต้องการคําตอบ ของ เยาว์ ทิวา ในเรื่องสั้น “จักต้องไม่มี ‘เยาว์ ทิวา’ คนที่สอง” ของ อิศรา อมันตกุล สรุปรวบยอดลักษณะดังกล่าวได้อย่างชัดเจนที่สุด

จะมีใครสักคนไหมหนอทีเ่ ข้าใจได้วา่ ในมือของคนชัน้ ขีข้ า้ ทีจ่ บั แต่เศษสตางค์ทกุ ๆวันนัน้ มีความสะอาดกว่ามือของ พวกผู้ดีที่คลําแต่ธนบัตรและเพชรพลอย และในหัวใจที่ ซ่อนอยูใ่ นแผงอกอันเกรียมกร้านดํากระมอมกระแมมนัน้ จะมีความสัตย์จริงยิ่งกว่าหัวใจของเศรษฐีที่คลุมไว้ด้วย พัสตราภรณ์ราคาแพง?7

การสร้างตัวละครโดยผูกโยงสถานะทางเศรษฐกิจเข้ากับระดับ ของคุณธรรมในวรรณกรรมเหล่านี้ อาจพิจารณาได้ว่าเป็นวิธีการหนึ่ง ในการปฏิเสธค่านิยมศักดินาที่ใช้ “ชาติกําเนิด” เป็นตัวกําหนดสถานะ ของคนและระดับสูงตํ่าของคุณธรรม ในคติความเชื่อแบบศักดินา คําว่า “ผู้ดี” หรือ “ไพร่” จึงหมายรวมทั้งชาติกําเนิด พฤติกรรม และ นิสัยใจคอไปพร้อมกัน ระบบความเชื่ออันตายตัวเช่นนี้ย่อมไม่เป็นที่ พึงปรารถนาของชนชั้นกลางที่เริม่ ขึน้ มามีอํานาจทางเศรษฐกิจแทนที่ เหล่าบรรดาผู้ดีในยุคก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองปี พ.ศ. 2475 ด้วยเหตุนี้ พวกเขาจึงเร่งผลักดันให้มีการนําสถานะทางเศรษฐกิจ มาเป็นตัวกําหนดระดับของคุณธรรมแทนที่ “ชาติวุฒิ” ตามระบบ ความเชื่อแบบศักดินา เพราะระบบใหม่นี้จะเปิดโอกาสให้ชนชั้นกลาง สามารถใช้สถานะทางเศรษฐกิจของพวกเขาเป็นตัวขับเคลื่อนสถานะ ดูการวิเคราะห์รวมเรื่องสั้นของ อิศรา อมันตกุล ในประเด็นนี้โดยละเอียดใน ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์, “คุณธรรมของความยากจน และความยากจนของคุณธรรม,” อ่าน (ไม่) เอาเรื่อง, พิมพ์ครั้งที่ 2, หน้า 97-102. 7 อิศรา อมันตกุล, ใครจะเลือกเกิดได้ (กรุงเทพฯ: มติชน, 2539), หน้า 133. 6

- 164 60

.indd 164

3/3/2554 16:02:31


รศ.ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ |

ทางสังคมได้โดยตรง ไม่จําเป็นต้องไปพึ่งการเลื่อนชนชั้นทางอ้อม ผ่านการแต่งงานกับบุตรหรือธิดาของพวกตระกูลขุนนางเช่นที่เคย ปฏิบัติกันมา การขับเคี่ยวกันระหว่างค่านิยมสองกระแสนี้ปรากฏให้เห็น อย่างน่าสนใจในงานวรรณกรรมแนวโรมานซ์ที่สําคัญสองเรื่อง คือ ผู้ดี ของดอกไม้สด และ บ้านทรายทอง ของ ก. สุรางคนางค์ (นามปากกา ของ กัณหา เคียงศิริ คู่ชีวิตของ ป. บูรณปกรณ์) ขณะที่ “วิมล” ใน ผู้ดี เป็นแบบฉบับที่ยืนยันว่าคุณธรรมของคนนั้นผูกพันอย่างแน่นแฟ้น กับชาติกําเนิด “พจมาน” ใน บ้านทรายทอง ก็คือหญิงในอุดมคติของ ชนชั้นกลาง ที่พิสูจน์ว่าคุณธรรมของคนมิได้ตัดสินจากชาติกําเนิด แต่ตัดสินจากการกระทําของแต่ละบุคคล วรรณกรรมของนักเขียนกลุ่มก้าวหน้าในช่วงปี พ.ศ. 2490 อาจจะมีลักษณะต่างจากความเชื่อในเรื่องคุณธรรมของชนชั้นกลาง ตรงที่พวกเขานําเสนอความสัมพันธ์ระหว่างฐานะทางเศรษฐกิจกับ ระดับคุณธรรมของตัวละครในเชิงผกผัน คือแทนที่ “ยิ่งรวย ยิ่งดี” ดังที่พวกชนชั้นกลางเสนอ กลับกลายมาเป็น “ยิ่งรวย ยิ่งเลว” อย่างไรก็ตาม ข้อพึงพิจารณาก็คอื แม้นกั เขียนกลุม่ นีจ้ ะบิดผัน ให้ความสัมพันธ์ของปัจจัยทั้งสองนี้เป็นไปในลักษณะผกผัน แต่ในเชิง โครงสร้างความคิดก็ยังคงนําระดับของคุณธรรมไปผูกเข้ากับสถานะ ทางเศรษฐกิ จ โดยมิ ไ ด้ นํ า เสนอโครงสร้ า งชุ ด ใหม่ ขึ้ น มาทดแทน ผิดกับชนชั้นกลางที่เสนอระบบคุณธรรมชุดใหม่ของตนขึ้นมาแทนที่ ระบบค่านิยมของศักดินา ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น เมื่อย้อนกลับมาพิจารณาประเด็นความขัดแย้งทางชนชั้น ดังที่ปรากฏใน “เศรษฐศาสตร์กลางทะเลลึก” ของ อาจินต์ ปัญจพรรค์ พบว่าบางส่วนเป็นไปตามกรอบการมองเรื่องคุณธรรมกับฐานะทาง เศรษฐกิจของตัวละครดังที่ปรากฏในงานของนักเขียนกลุ่มก้าวหน้า - 165 60

.indd 165

3/3/2554 16:02:32


| “เศรษฐศาสตร์กลางทะเลลึก” อํานาจของภาษา

ในยุคเดียวกัน เช่น การสร้างภาพให้เศรษฐีเป็นนักเก็งกําไรและไร้นาํ้ ใจ แต่ภาพของกะลาสีในเรื่องสั้นเรื่องนี้กลับมิใช่คนจนผู้โอบอ้อมอารี มีนํ้าใจเหมือนคนจนในวรรณกรรมยุคเดียวกัน จะว่าไปแล้ว เรื่องสั้น เรื่องนี้ไม่มีพื้นที่ใดๆ ให้กับคุณธรรมเลย คุณธรรมที่กล่าวอ้างกันมี สถานะเป็นเพียงมูลค่าชนิดหนึง่ ทีต่ วั ละครหยิบฉวยมาใช้เป็นเครือ่ งมือ ในการสร้างอํานาจต่อรองเพื่อช่วงชิงความได้เปรียบ อย่างไรก็ตาม สภาวะปลอดศีลธรรมและคุณธรรมในเรื่องสั้น เรือ่ งนี้ แท้จริงแล้วทําหน้าทีเ่ ป็นเครือ่ งสอนคุณธรรมและศีลธรรมให้กบั ผู้อ่าน ดังจะเห็นได้จากการผูกเรื่องให้ตัวละครทั้งคู่ต้องตายในตอนจบ ซึ่งชี้โดยนัยว่านี่คือชะตากรรมที่จะเกิดขึ้นกับคนหรือสังคมที่แตกแยก แก่งแย่ง ยึดเอาแต่เรื่องผลประโยชน์ ทรัพย์สิน เงินทอง เป็นที่ตั้ง โดยไม่ใส่ใจในหลักคุณธรรมหรือศีลธรรมใดๆ และถ้าหากเราถือว่า เรือ่ งราวระหว่างเศรษฐีกบั กะลาสีบนเรือบดกลางทะเลคืออุปมานิทศั น์ ของนาวาสังคมไทยท่ามกลางความปั่นป่วนอันเกิดจากความขัดแย้ง ทางชนชั้นที่ยากจะรอมชอมได้ คงจะไม่น่าประหลาดใจแต่อย่างใด หากจะมีใครสักคนหยิบเรื่องสั้นเรื่องนี้ขึ้นนั่งบนธรรมาสน์ และเริ่ม เทศนาในทาํ นองคนไทยไม่ควรละโมบโลภมากหรือหลงใหลตกเป็นทาส วัตถุนิยมหรือบริโภคนิยม เพราะสมบัติเงินทองล้วนเป็นของนอกกาย ตายแล้วก็เอาติดตัวไปด้วยไม่ได้ พร้อมกับตบท้ายด้วยคติสอนใจว่า คนไทยควรหันหน้าเข้าหากัน เลิกแตกแยกแบ่งชนชั้น เพราะไม่ว่า จะเป็นเศรษฐี ผู้ดี ไพร่ หรือยาจก ก็เป็นคนไทยเหมือนกัน ยากจะปฏิเสธว่าเรื่องสั้นเรื่องนี้มิได้มีเนื้อหาเอื้อให้ตีความ เพื่อลากเข้าวัดและอยู่ภายใต้ร่มธงไทยดังที่กล่าวมาข้างต้น แต่ใน ขณะเดียวกันก็ตอ้ งยอมรับเช่นกันว่าชัน้ เชิงทางวรรณศิลป์ของอาจินต์ ทําให้ “เศรษฐศาสตร์กลางทะเลลึก” มีความกํากวมพอที่จะเปิดกว้าง ให้สามารถตีความได้หลายแง่หลายมุม ความกํากวมที่เห็นได้ชัดเจน - 166 60

.indd 166

3/3/2554 16:02:32


รศ.ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ |

ที่สุดก็คือฉากจบของเรื่องที่มีลักษณะปลายเปิด คือปล่อยให้ผู้อ่าน สรุปเอาเองว่า ในท้ายที่สุด กะลาสียินยอมนําทรัพย์สมบัติทั้งหมด ทีม่ ตี ดิ ตัวแลกกับขนมปังของเศรษฐีหรือไม่ ดังจะเห็นจากตอนจบทีอ่ ยู่ ในรูปของรายงานข่าวบนหน้าหนังสือพิมพ์ ความว่า “...ต่อมาในวันที่ห้า มีเรือบดลําเล็กลอยเข้ามาใกล้ฝั่ง ชาวประมงช่วยกันออกไปรับเข้ามา และได้พบว่ามีบคุ คล สิ้นชีวิตแล้วสองศพอยู่ในเรือนั้น สันนิษฐานว่า คนหนึ่ง เป็นพ่อค้าใหญ่ที่โดยสารไปในเรือเที่ยวนั้น เพราะมี นาฬิกา แหวน กระเป๋าธนบัตรใบใหญ่ มีนามบัตรและ เอกสารต่างๆ อีกคนหนึ่งมีเพียงเสื้อยืดกับกางเกงติด กาย เข้าใจว่าคงเป็นคนรับใช้หรือกุ๊กประจําเรือ” (หน้า 238)

จากรายงานข่ า ว เรารู้ แ ต่ เ พี ย งว่ า ทั้ ง คู่ เ สี ย ชี วิ ต ในเรื อ บด พร้ อ มกั บ ข้ อ สั น นิ ษ ฐานของนั ก ข่ า วว่ า คนหนึ่ ง น่ า จะเป็ น “พ่ อ ค้ า ใหญ่” เพราะมีทรัพย์สินเงินทองเต็มตัว ขณะที่อีกคนหนึ่งน่าจะเป็น “คนรับใช้หรือกุ๊กประจําเรือ” เพราะมีแต่เสื้อยืดกับกางเกง แต่ข้อ สันนิษฐานนี้ไม่สามารถยืนยันอะไรได้ทั้งสิ้น เพราะในตอนต้นเรื่อง เรารูว้ า่ กะลาสีได้แลกขนมปังหนึง่ ก้อนกับทรัพย์สนิ ทุกอย่างของเศรษฐี ดังนัน้ จึงมีความเป็นไปได้วา่ ศพทีม่ สี มบัตเิ ต็มตัวนัน้ อาจจะเป็นกะลาสี และศพที่มีแต่เสื้อยืดกับกางเกงคือเศรษฐี แต่ที่แน่ๆ ข้อสันนิษฐาน ของนักข่าวยืนยันกับเราว่า คําสอนประเภท “แก้วแหวนเงินทองเป็น ของนอกกาย ตายแล้วก็เอาไปไม่ได้” นัน้ ไม่จริงอย่างยิง่ ไม่มใี ครปฏิเสธ ว่าคนตายไม่สามารถนาํ ทรัพย์สมบัตติ ดิ ตัวไปใช้ในปรโลกหรือ ณ แห่ง หนใดก็ตามที่คนตายจะไปอยู่ แต่ทั้งนี้ก็มิได้หมายความสมบัติติดตัว จะไร้คุณค่าและความหมายใดๆ ต่อผู้ตาย ข้อสันนิษฐานที่ปรากฏ - 167 60

.indd 167

3/3/2554 16:02:32


| “เศรษฐศาสตร์กลางทะเลลึก” อํานาจของภาษา

ในเนื้อข่าวนี้บอกเราอย่างไม่อ้อมค้อมว่าสมบัติติดตัวมีความสําคัญ อย่างยิง่ ต่อผูต้ าย เพราะมันจะเป็นสิง่ ทีบ่ อกว่าเขาเป็นเศรษฐีหรือยาจก ที่สําคัญยิ่งกว่านั้นก็คือ ข้อสันนิษฐานในรายงานข่าวเตือน สติเราว่า คติสอนใจเรื่อง “คนไทยควรหันหน้าเข้าหากัน เลิกแตกแยก แบ่งชนชั้นกัน” เป็นเพียงคาถาสะกดจิตให้เราก้มหน้าก้มตายอมรับ สภาพความเหลื่อมลํ้าตํ่าสูงในสังคมให้ดํารงอยู่ต่อไป เพราะเห็นได้ ชัดเจนว่าในที่นี้สื่อหนังสือพิมพ์มิได้ทําหน้าที่รายงานความจริง แต่ กลับร่วมผลิตซํ้าอคติของสังคมและตอกยํ้าความแตกต่างทางชนชั้น เสียเอง โดยการรีบด่วนสรุปว่าศพที่มีทรัพย์สินติดตัวต้องเป็นพ่อค้า ใหญ่ และศพที่มีเพียงเสื้อยืดกับกางเกงต้องเป็นคนรับใช้ นอกจากนี้ ข่าวหนังสือพิมพ์ยงั เป็นประจักษ์พยานว่าสังคมไทยหายใจเข้าออกเป็น เรื่องการแบ่งชนชั้น ข่าวการตายของคนเรือแตกกลางทะเลสามารถ จะนําเสนอได้หลากหลายแง่มุม แต่สื่อกลับเลือกจะนําเอาประเด็น เรื่องชนชั้นของศพทั้งสองมาเป็นไฮไลต์ของเนื้อข่าว ในเมื่อสื่อที่เชื่อ กันว่าตั้งมั่นอยู่ในจรรยาบรรณยังรายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม ผ่านแว่นตาของชนชั้นเสียแล้ว จะมีประโยชน์อันใดที่จะมาพรํ่าเทศนา เรื่องสังคมไทยไม่มีชนชั้น และชนชั้นมิใช่ปัญหาสําคัญของสังคมไทย จากการตีความข่าวหนังสือพิมพ์ดังที่เสนอมาข้างต้น เรา อาจจะกล่าวได้เช่นกันว่า ความตายของตัวละครทั้งสองในตอนจบ ยิ่งตอกยํ้าให้เห็นว่าปัญหาความแตกต่างและความขัดแย้งทางชนชั้น เป็นปัญหาร้ายแรง หยั่งรากลึกและแผ่ซ่านอยู่ทวั่ ไปในสังคมไทย มิใช่ เพียงเพราะข่าวความตายของพวกเขาบนหน้าหนังสือพิมพ์ถูกฉาบ เคลือบไว้ด้วยอคติทางชนชั้นเท่านั้น แต่เพราะในการต่อสู้ขับเคี่ยวกัน นัน้ ตัวละครทัง้ คูพ่ ร้อมจะเอาชีวติ ของพวกเขาเป็นเดิมพัน เพือ่ ชัยชนะ ของชนชั้นตน

- 168 60

.indd 168

3/3/2554 16:02:32


รศ.ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ |

การแลกเปลี่ยนเชิงสัญลักษณ์ แน่ น อนว่ า การต่ อ สู้ ท างชนชั้ น ระหว่ า งเศรษฐี กั บ กะลาสี ในเรื่อง มิได้ต่อสู้กันด้วยการจับอาวุธมาประหัตประหาร หรือชุมนุม เดินขบวน ปิดถนน ยึดทําเนียบรัฐบาล ยึดสนามบิน หรือกรีดเลือด พิสูจน์ตัวเอง เช่นที่ได้เกิดขึ้นและกําลังขึ้นในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา แต่ เป็นการต่อสู้ผ่านการต่อรองแลกเปลี่ยน ที่แม้จะแลดูว่าเป็นมิติด้าน เศรษฐศาสตร์ลว้ นๆ แต่หากพิจารณาโดยละเอียดก็จะประจักษ์วา่ มีมติ ิ ทางวัฒนธรรมและการเมืองเรื่องชนชั้นอยู่อย่างล้นเหลือ ตามท้องเรือ่ ง การต่อรองแลกเปลีย่ นระหว่างกะลาสีกบั เศรษฐี เกิดขึน้ 3 ครัง้ ด้วยกัน ครัง้ แรกเมือ่ กะลาสียนื่ กระติกนาํ้ ให้เศรษฐีจบิ โดย ไม่คิดราคาค่างวดใดๆ ซึ่งหากพูดด้วยภาษาวิชาการสายสังคมวิทยามานุษยวิทยา ก็ต้องมองว่านี่เป็นการแลกเปลี่ยนเชิงสัญลักษณ์ (symbolic exchange) เช่น การมอบแหวนแต่งงานในพิธีแต่งงาน การมอบ ของขวัญให้กันและกันในวันขึ้นปีใหม่ หรือการนํากระเช้าดอกไม้ไป มอบให้กบั ผูท้ ไี่ ด้รบั ตําแหน่งใหญ่โต เป็นต้น การแลกเปลีย่ นประเภทนี้ ทาํ หน้าทีเ่ ชิงสัญลักษณ์เพือ่ สถาปนาและกาํ หนดรูปแบบความสัมพันธ์ บางประการระหว่างผู้ให้กับผู้รับ อาทิ สามี-ภรรยา เพื่อน-เพื่อน เจ้า นาย-ลูกน้อง โดยมูลค่าของสิ่งของไม่มีความสําคัญเท่ากับพิธีกรรม การแลกเปลี่ยน สิ่งของทําหน้าที่เป็นสัญลักษณ์ให้กับการแลกเปลี่ยน ดังนั้น ประเด็นสําคัญของการมอบนํ้าให้เศรษฐีดื่มจึงมิได้อยู่ที่มูลค่า ของนํ้า แต่อยู่ที่การให้-การรับ ซึ่งทําหน้าที่สถาปนาความสัมพันธ์ ของคนคู่นี้ โดยกะลาสีอยู่ในฐานะผู้โอบอ้อมอารีมีนํ้าใจ ส่วนเศรษฐี อยู่ในฐานะผู้ตกทุกข์ได้ยาก จําต้องพึงพาความเมตตากรุณาของผู้อื่น ในแง่ นี้ การเผื่ อ แผ่ นํ้ า ให้ เ ศรษฐี จึ ง เป็ น กลวิ ธี ที่ ก ะลาสี ใ ช้ เ พื่ อ กลั บ ตาลปัตรสถานะระหว่างเขากับเศรษฐี กล่าวคือ การยื่นกระติกนํ้า - 169 60

.indd 169

3/3/2554 16:02:32


| “เศรษฐศาสตร์กลางทะเลลึก” อํานาจของภาษา

พลิกบทบาทและสถานะของกะลาสีมาเป็น “ผู้ให้” และผลักให้เศรษฐี ต้องกลายมาเป็น “ผู้รับ” และเมื่อเศรษฐีทําไขสือเก็บกระติกนํ้าไว้กับ ตัวเสียเองตามที่กะลาสีเอ่ยปาก เขาก็ต้อง “เสียหน้า” ซํ้าสอง เมื่อโดน กะลาสีตําหนิอย่างรุนแรงว่า “ผมคิดว่าคุณจะเป็นผู้ดีพอจะหยั่งในมารยาทไพร่ที่ผม ฝืนปฏิบัติเสียอีก ที่แท้ก็เปล่า เศรษฐีเข้าไม่ถึงจิตใจ ไพร่...นี่หมายความว่าอย่างไรกัน การเป็นเศรษฐีสอน ให้คุณดื่มนํ้าของผมได้หน้าตาเฉย ครั้นเมื่อผมพูดว่า ให้เก็บไว้ก่อน คุณก็กลับตีขลุมเอาเสียเลย นี่คือความ หมายของเศรษฐี และนี่คือวิธีทําตัวให้กลายเป็นเศรษฐี รวมทุกอย่าง เก็บทุกอย่างที่มีโอกาสจะทําได้ ใช่ใหม่ ล่ะ?” (หน้า 234)

จะเห็นว่าในที่นี้กะลาสีได้สถาปนาตัวเองเป็นผู้ทรงสิทธิทาง ศีลธรรม (moral authority) สามารถจะด่าทอเศรษฐีได้อย่างสะดวก ปากสะดวกใจ เพราะเศรษฐีไม่เคารพในพิธีกรรมการแลกเปลี่ยน เชิงสัญลักษณ์ที่จะต้องรักษามารยาทของการเป็นผู้ให้และผู้รับที่ดี ผู้ให้แสดงออกว่าเป็นการให้ที่ไม่หวังผลตอบแทนใดๆ ส่วนผู้รับก็ต้อง แสดงออกว่าซาบซึ้งในความมีนํ้าใจของผู้ให้ และต้องหาโอกาสที่จะ มอบสิง่ ของเพือ่ ตอบแทนนํา้ ใจ น่าสนใจว่ากะลาสีเลือกเรียกการแสดง นํ้าใจของตนเองว่าเป็น “มารยาทไพร่” และพูดเป็นนัยว่าพฤติกรรม ไร้มารยาทของเศรษฐีเป็น “มารยาทผู้ดี” นี่ต้องถือเป็นการตบหน้า เศรษฐีซํ้าสอง เพราะโดยทั่วไป คนมักชอบพูดกันว่าการแสดงนํ้าใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่โดยไม่หวังผลตอบแทนเป็นสมบัติของผู้ดีมีสกุล แต่ กะลาสีได้พลิกความเชือ่ นีเ้ สียใหม่วา่ พฤติกรรมดังกล่าวเป็น “มารยาท ไพร่” ซึ่งมีนํ้าหนักน่ารับฟัง เพราะเศรษฐีทําผิดมารยาทตั้งแต่ต้นที่ - 170 60

.indd 170

3/3/2554 16:02:32


รศ.ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ |

“ตีขลุม” ยึดเอากระติกนํ้าเป็นของตัวเอง คําประณามเศรษฐีว่าคือผู้ ที่ยึดเอาสมบัติของผู้อื่นมาเป็นของตัวเองโดยปราศจากความละอาย ใจใดๆ จึงยิ่งตอกยํ้าความสามานย์ของ “มารยาทผู้ดี” ให้หนักแน่น ยิ่งขึ้นไปอีก ฉากการปะทะกันระหว่างกะลาสีกับเศรษฐีในยกแรกนี้จึง จบลงด้วยคําบรรยายของผู้เล่าเรื่องว่า “เป็นการด่าอย่างเจ็บแสบที่สุด ถูกต้องตรงจุดที่สุด แม้จะหยาบคาย เย้ยหยัน แต่ท่านเศรษฐีก็ต้อง หัวเราะเก้อๆ และส่งกระติกนํ้าคืนเจ้าของไป” (หน้า 234) อาจสรุปได้ว่าสงครามระหว่างชนชั้นในยกแรกนี้ กะลาสีเป็น ผู้ชนะ เพราะสามารถสถาปนาตนเองเป็นผู้สูงส่งทางศีลธรรมและ คุณธรรม ทั้งยังสามารถกลับตาลปัตรสถานะและนิยามของ “คนจน/ คนรวย” และ “ไพร่/ผู้ดี” ที่สังคมสร้างขึ้นได้สําเร็จ มูลค่าเชิงแลกเปลี่ยน

การแลกเปลี่ยนครั้งที่สองเกิดขึ้นเมื่อกะลาสีตั้งราคาขนมปัง หนึ่งแถวแลกกับสมบัติทั้งหมดที่เศรษฐีมีติดตัว นี่เป็นเรื่องของมูลค่า เชิงแลกเปลี่ยน (exchange value) ตามกฎอุปสงค์-อุปทานฉบับ คลาสสิกโดยแท้ เศรษฐีมีความต้องการอาหารเป็นที่สุด และอาหารก็ เป็นสิง่ ทีห่ ายากมาก หรือควรกล่าวว่าหาไม่ได้เลยบนเรือบดกลางทะเล ยกเว้นขนมปังและนํ้าของกะลาสี ดังนั้น เศรษฐีจึงยินยอมนําสมบัติ ทั้งหมดที่มีติดตัวแลกกับขนมปังหนึ่งแถว เราจะพบว่าในการแลกเปลี่ยนครั้งนี้ กะลาสีมีสถานะเป็น “พ่อค้าผูกขาด” ถือครองสินค้าอันเป็นปัจจัยในการดํารงชีวิต (นํ้าและ ขนมปัง) ไว้แต่เพียงผู้เดียว ดังนั้น เขาจึงสามารถกําหนดราคาสินค้า - 171 60

.indd 171

3/3/2554 16:02:32


| “เศรษฐศาสตร์กลางทะเลลึก” อํานาจของภาษา

ได้ตามใจนึก ส่วนเศรษฐีมีสถานะเป็น “ลูกค้าผู้ไม่มีทางเลือก” ที่น่า สนใจคือ กะลาสีสร้างความชอบธรรมให้กับการกระทําของตนเอง ในลักษณะ “เกลือจิ้มเกลือ” กล่าวคือ กะลาสีได้หยิบยกเอาพฤติกรรม ของเศรษฐีมาเป็นข้ออ้าง เมื่อเขาพูดขึ้นว่า “ในเมืองเป็นถิ่นที่เศรษฐี เดินบนหัวคนจน เปล่านะ! ไม่ใช่เดินเฉย ๆ เดินพลางถือปฏักทิ่มหลัง สูบเลือดไปพลาง เดี๋ยวนี้เป็นโอกาสของคนจนบ้างละ” โดยนัยก็คือ หากจะประณามการกระทาํ ของเขาทีเ่ รียกเอาทรัพย์สมบัตทิ งั้ หมดจาก เศรษฐีเพื่อแลกกับขนมปังหนึ่งแถวว่าไร้มนุษยธรรมหรือฉวยโอกาส เอารัดเอาเปรียบแล้วไซร้ ผู้ที่สมควรถูกประณามก็คือบรรดาเศรษฐี มิใช่ตัวเขา เพราะนี่คือพฤติกรรมปกติสามัญที่คนพวกนี้กระทําอยู่ ทุกเมือ่ เชือ่ วัน นีจ่ งึ เป็นอีกครัง้ หนึง่ ทีก่ ะลาสีกลับตาลปัตรความสัมพันธ์ ระหว่างคนจนกับเศรษฐี และชิงนิยามความชอบธรรมทางศีลธรรม ให้กับตัวเอง มูลค่าเชิงสัญญะ ข้อสังเกตประการหนึ่งในการแลกเปลี่ยนครั้งที่สองคือความ รู้สึกของเศรษฐีต่อทรัพย์สมบัติของเขา “นึกเกลียดเจ้าสมบัติเหล่านี้ เสียแล้ว เกลียดเพราะมันเป็นสิง่ ทีป่ ระกาศความพ่ายแพ้และเสียเปรียบ ของเขา” (หน้า 235) ความหมายที่เปลี่ยนไปของทรัพย์สินเงินทอง คื อ จากเครื่ อ งหมายแสดงความสํ า เร็ จ กลายมาเป็ น ความพ่ า ยแพ้ มีนัยสําคัญต่อการทําความเข้าใจการแลกเปลี่ยนครั้งที่สามในเรื่อง เมื่อเศรษฐียื่นข้อเสนอแลกขนมปังหนึ่งคํากับสมบัติทั้งหมดที่กะลาสี ครอบครองอยู่ การแลกเปลี่ยนครั้งนี้มีนัยยะต่างกับการแลกเปลี่ยน ครั้งที่สอง เพราะประเด็นสําคัญมิใช่เรื่องสมบัติเงินทองอีกต่อไปแล้ว ดังที่เรื่องได้บอกความในใจของเศรษฐีว่า “ความจริงเขาไม่อยากได้ - 172 60

.indd 172

3/3/2554 16:02:32


รศ.ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ |

สมบัติกลับคืนมามากไปกว่าต้องการยืนยันชัยชนะซึ่งจะต้องเป็นของ นายทุนในบั้นปลาย” (หน้า 238) ในทํานองเดียวกัน กะลาสีก็มิได้มอง ว่านี่เป็นเรื่องเงินๆ ทองๆ อีกต่อไป ดังจะเห็นได้จากคําพูดของเขา ที่ว่า “‘อดเอา อดเอา คนจน ๆ อย่างเราอดได้ อดตายดีกว่าให้สมบัติ ถูกเปลี่ยนมือ’” (หน้า 238) จะพบว่ า การแลกเปลี่ ย นครั้ ง ที่ ส ามนี้ เ ป็ น เรื่ อ งของมู ล ค่ า บางอย่างทีอ่ ยูพ่ น้ ไปจากเรือ่ งมูลค่าเชิงใช้สอยหรือมูลค่าเชิงแลกเปลีย่ น ของสินค้า แต่เป็นเรื่องมูลค่าเชิงนามธรรม ซึ่งในกรณีนี้คือ “ศักดิ์ศรี” เศรษฐีต้องการเอาชนะกะลาสี เพราะรู้สึกเสียเชิงที่ถูกกะลาสีโก่งราคา ค่ าขนมปังในตอนต้น ส่ว นกะลาสีก็รู้สึกว่าสมบัติที่ตนได้มามิได้มี ความหมายเพียงแค่เงินที่จะนำ�ไปเริ่มต้นชีวิตใหม่เท่านั้น แต่เป็นเรื่อง ของศักดิศ์ รีคนจนทีค่ รัง้ หนึง่ สามารถเอาชนะเศรษฐีได้ การแลกเปลีย่ น ครัง้ ทีส่ ามนีจ้ งึ เป็นการแลกเปลีย่ นทีน่ กั วิชาการอย่าง ฌอง โบดริยาร์ด (Jean Baudrillard) เรียกว่าการแลกเปลี่ยนเชิงสัญญะ โดยตัวสินค้ามี มูลค่าเพิ่มอีกมูลค่าหนึ่งที่นอกเหนือไปจากมูลค่าเชิงแลกเปลี่ยนและ มูลค่าเชิงใช้สอย โบดริยาร์ดเรียกมูลค่าที่เพิ่มมานี้ว่ามูลค่าเชิงสัญญะ (sign exchange value) อันเป็นมูลค่าเชิงวัฒนธรรมที่ผนวกรวมอยู่ ในสินค้า และอิงแอบอยู่กับความเชื่อ ค่านิยม ระบบคุณค่า ตลอดจน อุดมการณ์ในสังคม บ่อยครั้งที่มูลค่าเชิงสัญญะมีคุณค่าและความ สําคัญมากเสียยิ่งกว่ามูลค่าเชิงใช้สอยและมูลค่าเชิงแลกเปลี่ยนของ สินค้า บริษัทผู้ผลิตสินค้าและบริษัทโฆษณาจํานวนมากต่างเล็งเห็น ถึงความสําคัญของมูลค่าเชิงสัญญะ และพยายามสร้างมูลค่าดังกล่าว ให้กับสินค้าของตนเอง ตัวอย่างทีโ่ จ่งแจ้งแสบนัยน์ตาคือเพลงโฆษณาเบียร์ยหี่ อ้ หนึง่ ที่ผูกโยงเบียร์ยี่ห้อนี้เข้ากับความเป็นไทย โดยเริ่มจากการตั้งคําถาม ทํานองว่า เราจะรู้ได้อย่างไรว่าคนไหนเป็นคนไทย แล้วตบท้ายว่า “กิน [เบียร์ยี่ห้อนี้] แล้วภาคภูมิใจ เบียร์คนไทยทําเอง” ในที่นี้ ความ - 173 60

.indd 173

3/3/2554 16:02:32


| “เศรษฐศาสตร์กลางทะเลลึก” อํานาจของภาษา

เป็นไทยกลายเป็นมูลค่าเชิงสัญญะที่โฆษณาพยายามยัดใส่ปากผู้ดื่ม เบียร์ การดื่มเบียร์ยี่ห้อนี้จึงมิได้มีมูลค่าเชิงประโยชน์ใช้สอยประเภท เพื่อความผ่อนคลายหรือเพื่อความเมามายเท่านั้น แต่เป็นการดื่มเพื่อ แสดงความเป็นไทยด้วย อีกตัวอย่างที่น่าสนใจไม่แพ้กันคือโฆษณา ชุด “เลิกเหล้า เลิกจน” ของ สสส. ที่สร้างวิตรรกะลวงตาว่ากินเหล้าจึง ทําให้จน ในลักษณะคล้ายคลึงกับวิตรรกะ “ลูกมากจะยากจน” ที่เคย อือ้ ฉาวในอดีต ไม่ปฏิเสธว่าโฆษณาชุดนีเ้ ป็นส่วนหนึง่ ของการรณรงค์ ให้งดดืม่ สุรา จึงพยายามสร้างมูลค่าเชิงสัญญะให้กบั สุราและเครือ่ งดืม่ มึนเมาว่าเป็นเรื่องตํ่าช้าน่ารังเกียจ แต่ก็อดสะดุดใจไม่ได้ว่าทําไมจึง ต้องเลือกใช้คนจนมารับบทเป็นคนดื่มเหล้า ทําไมไม่เลือกใช้เศรษฐี จับกลุ่มนั่งดื่มเบียร์เป็นโหลๆ หรือหนุ่มและสาวสังคมจิบไวน์เดิน กรีดกรายตามงานหรูหราในโรงแรม เพราะถ้าต้องการจะบอกว่าเหล้า เป็นสิ่งชั่วร้าย น่ารังเกียจ จะเป็นคนจนหรือคนรวยดื่มก็ต้องชั่วร้าย เหมือนกัน เว้นเสียแต่ว่าคนรวยในสังคมไทยมีกระเพาะอาหารไม่ เหมือนกับคนจน ทําให้ดื่มเหล้าแล้วไม่เป็นไร จึงอดสงสัยไม่ได้ว่า โฆษณาชุดนีต้ อ้ งการสร้างมูลค่าเชิงสัญญะให้กบั เหล้าว่าเป็นสิง่ ชัว่ ร้าย จริงหรือ ยิ่งเมื่อดูวิธีการนําเสนอภาพคนจนให้เป็นคนหน้าตาดุร้าย น่าสะพรึงกลัว อัตคัดขัดสน ขนาดเสื้อผ้าก็ไม่มีสวมใส่ และเมื่อเหล้า เข้าปากแล้วก็มีลักษณะไม่ต่างจากหมาบ้า ไม่นับรวมถึงการจงใจ ถ่ายทําเป็นภาพยนตร์ขาว-ดําที่คมชัด (ไม่ใช่ภาพขาว-ดําที่มัวหรือ พร่าเลือน ซึ่งทําหน้าที่สื่อความเก่าแก่หรืออดีต) เพื่อขับเน้นประเด็น เรือ่ งดี-เลวแบบขาว-ดํา และตอกยํา้ ให้ผดู้ รู สู้ กึ ถึงความชัว่ ร้ายของคนจน มากขึน้ ไปอีก ทัง้ หมดนีท้ าํ ให้ฉกุ คิดขึน้ มาว่า ประเด็นสําคัญทีโ่ ฆษณา ชุดนี้สื่อ (อาจจะโดยไม่ตั้งใจ) จึงมิได้อยู่ที่ว่าเหล้าคือสัญญะของความ ชั่วร้าย แต่คนจนต่างหากคือสัญญะของความชั่วร้ายน่ารังเกียจ และ นี่คืออคติต่อคนจนที่ฝังแน่นอยู่ในหมู่ผู้ทรงศีลของบ้านเราในปัจจุบัน - 174 60

.indd 174

3/3/2554 16:02:32


รศ.ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ |

ย้อนกลับมาที่การแลกเปลี่ยนครั้งที่สามในเรื่อง จะพบว่าทั้ง กะลาสีและเศรษฐีมิได้มองทรัพย์สมบัติในฐานะที่เป็นมูลค่าเชิงใช้สอย หรือมูลค่าเชิงแลกเปลี่ยนอีกต่อไป แต่มองว่ามันมีมูลค่าเชิงสัญญะ กล่าวคือ สมบัตเิ ป็นเครือ่ งหมายแทนศักดิศ์ รีความเป็นมนุษย์ของตนเอง โดยเฉพาะในกรณีของกะลาสี เขาตระหนักถึงความหมายเชิงสัญญะ ของสมบัติมากเป็นพิเศษ ดังจะเห็นว่าเมื่อเศรษฐีพยายามพูดให้เขา เปลี่ยนใจ โดยงัดเอาคติธรรมสอนใจเรื่องสมบัติเป็นของนอกกายมา เกลี้ยกล่อมกะลาสี “อย่าให้ความโลภหรือทิฐิมาฆ่าตัวเองเสียซี สมมุติ ว่าถ้าตายเพราะความหิว สมบัติแกที่กกกอดไว้เหล่านั้นจะมีประโยชน์ อะไร” (หน้า 237) แต่กะลาสียังคงยืนกรานไม่ยอมท่าเดียว ถึงกับ ประกาศว่ายอมอดตายดีกว่า เรื่องไม่ได้ชี้ชัดว่าการแลกเปลี่ยนครั้ง ที่สามนี้เกิดขึ้นหรือไม่ แต่เปิดโอกาสให้ผู้อ่านตีความเอาเองว่ากะลาสี จะยอมอดตายเพื่อรักษาศักดิ์ศรีของตนเอง หรือจะยอมแลกสมบัติกับ ขนมปังหนึง่ คาํ เหมือนกับทีเ่ ศรษฐียอมแลกสมบัตกิ บั ขนมปังหนึง่ แถว ตอนกลางเรื่อง การจบในลักษณะปลายเปิด (open end) ของเรือ่ งนีถ้ อื เป็นบท ทดสอบทัศนคติทางชนชั้นของผู้อ่านได้ดีทีเดียว และก็ไม่น่าแปลกใจ หากจะพบว่า ถึงแม้เรื่องสั้นเรื่องนี้จะเผยแพร่มาแล้วร่วม 60 ปี และ สังคมไทยได้เปลีย่ นแปลงไปมากแล้ว แต่คนจํานวนไม่นอ้ ยยังคงปักใจ เชือ่ ว่า ในท้ายทีส่ ดุ กะลาสีกต็ อ้ งยอมแลกสมบัตกิ บั ขนมปังสถานเดียว เพราะหาไม่แล้ว เราคงจะไม่ได้ยินได้ฟังบรรดาผู้ทรงภูมิปัญญาและ ผูส้ งู ส่งทางศีลธรรมในปัจจุบนั ออกมาพรํา่ พูดผ่านหน้าหนังสือพิมพ์และ จอทีววี า่ คนจนหลอกง่าย ยอมขายสิทธิข์ ายเสียง ปล่อยให้คนจูงจมูกไป ทางไหนก็ไป ไม่สนใจเรือ่ งคุณธรรมหรือความถูกต้องใดๆ ทัง้ สิน้ ขอให้ ท้องอิม่ ไปวันๆ เป็นพอ แต่หากดูจากการเคลือ่ นไหวระลอกล่าสุดของ ขบวนการ “ไพร่” ในสังคมไทย ผมค่อนข้างมั่นใจว่าคนจํานวนมากขึ้น - 175 60

.indd 175

3/3/2554 16:02:32


| “เศรษฐศาสตร์กลางทะเลลึก” อํานาจของภาษา

ทุกทีจะตอบว่า กะลาสียอมอดตายดีกว่าสูญเสียศักดิ์ศรีความเป็นคน ปัญหาอยู่ที่ว่าบรรดาท่านผู้ดี เศรษฐี อภิสิทธิ์ชน ปัญญาชน และสื่อมวลชน จะตระหนักถึงคําตอบของคนเหล่านี้หรือไม่ หรือว่า พวกเขายังคงหลงเชือ่ เหมือนกับเศรษฐีในเรือ่ ง ว่าในบัน้ ปลาย ชัยชนะ จักต้องเป็นของพวกเขาอย่างแน่นอน ซึง่ ถ้าเป็นเช่นนัน้ จริง ผมก็อยาก จะบอกว่า พวกเขาไม่ควรจะลืมว่าเรื่องสั้นเรื่องนี้ลงเอยเช่นไร อํานาจของภาษา จากการวิ เ คราะห์ เ รื่ อ งสั้ น “เศรษฐศาสตร์ ก ลางทะเลลึ ก ” ข้างต้น เราได้ประจักษ์แล้วว่า ในท้ายที่สุด มูลค่าเชิงสัญญะเป็นปัจจัย ชี้ขาดในการกําหนดพฤติกรรมของตัวละครให้กระทําหรือไม่กระทํา การใดๆ ถึงขั้นที่สามารถยอมตายเพื่อยืนยันความหมายบางประการ ได้ ซึ่งศาสตร์ที่ศึกษากระบวนการทํางานของสัญญะและปฏิบัติการ เชิ ง สั ญ ญะอย่ า งเป็ น เรื่ อ งเป็ น ราวก็ คื อ สั ญ วิ ท ยาหรื อ สั ญ ศาสตร์ (semiology or semiotics) กล่าวโดยสังเขป สัญศาสตร์คือการศึกษากระบวนการสื่อ ความหมายทางวัฒนธรรม โดยเริ่มจากสมมติฐานเบื้องต้นว่ากิจกรรม ทั้งหลายทั้งปวงที่มนุษย์กระทํานั้นล้วนมีนัยยะของ “การสื่อความ หมาย” ทั้งสิ้น เราอาจจะทานอาหารเพื่อให้อิ่มท้อง เพื่อให้ร่างกาย แข็งแรง เพื่อให้ดํารงชีวิตอยู่ได้ แต่เหนืออื่นใด เราทานอาหารเพื่อสื่อ ความหมายบางอย่างควบคู่ไปด้วย ชนิดของอาหารที่เราทาน ร้าน อาหารที่เราเลือก ภาชนะที่ใช้ใส่อาหาร อุปกรณ์ที่เราใช้ทานอาหาร หรือกระทั่งเสื้อผ้าที่เราใส่ขณะทานอาหาร เหล่านี้ล้วนเป็นไปเพื่อสื่อ ความหมายมากกว่าจะเพื่อ “อิ่มท้อง” หรือเพื่อ “ยังชีพ” - 176 60

.indd 176

3/3/2554 16:02:32


รศ.ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ |

การศึกษากระบวนการสือ่ ความหมายนีเ่ องทีท่ าํ ให้นกั วิชาการ ด้านสัญศาสตร์ตอ้ งหันมามองภาษา ซึง่ เป็นเครือ่ งมือสําคัญของมนุษย์ ในการสื่อความหมาย ด้วยทัศนะที่ต่างไปจากเดิม และนี่เองที่ทําให้ องค์ความรู้ด้านวรรณกรรม ซึ่งศึกษาการทํางานของภาษาโดยเฉพาะ กลายเป็นความรู้ที่มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการทําความเข้าใจการสื่อ ความหมายและการทํางานของมูลค่าเชิงสัญญะทางวัฒนธรรม และนี่ คือประเด็นที่ผมใคร่จะนําเสนอในที่นี้ เพื่อจะชี้ให้เห็นนัยยะเชิงอํานาจ ของภาษาในการสร้างความหมายและการผลิตความจริง คุณูปการหนึ่งของการศึกษาภาษาศาสตร์ในศตวรรษที่ 20 ก็คือ ช่วยให้เราตระหนักรู้ถึงกระบวนการทํางานของภาษาที่ซับซ้อน และยอกย้อนกว่าทีม่ นุษย์เคยเข้าใจ แต่เดิม เราเข้าใจกันว่าภาษาเป็น เครื่องมือสื่อสารชนิดหนึ่ง มีหน้าที่หลักคือถ่ายทอดความจริง ภาษา เป็นเสมือนป้ายชื่อที่นํามาแปะติดกับสรรพสิ่งต่างๆ ในโลกทั้งที่เป็น รูปธรรมและนามธรรม เพื่อบอกให้เรารู้ว่าสิ่งนั้นๆ คืออะไร แต่ใน ปัจจุบนั นักภาษาศาสตร์ได้เสนอว่าภาษายังทาํ หน้าทีส่ ร้างความจริงอีก ด้วย เพราะระบบภาษามีบทบาทสําคัญในการเข้าไปจัดระบบระเบียบ ความจริงทางภววิสัย และการจัดระบบระเบียบดังกล่าวนี่เองที่ทําให้ ความจริงที่เรารับรู้ผ่านภาษาไม่จําเป็นต้องเหมือนกับความจริงทาง ภววิสัยเสมอไป โดยภาษาเข้าไปทําหน้าที่สร้างความจริงอีกชุดหนึ่ง แทนที่ความจริงทางภววิสัย ตั ว อย่ า งที่ เ ห็ น ได้ ชั ด ที่ สุ ด ว่ า ภาษามี บ ทบาทในการสร้ า ง ความจริง คือระบบเรียกเครือญาติ หากเราพิจารณาเปรียบเทียบการ เรียกเครือญาติในภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ เราจะพบว่า ในภาษา ไทย สมาชิกในครอบครัวที่มีพ่อแม่เดียวกันจะถูกจัดแบ่งเป็น “พี่” กับ “น้อง” ขณะที่ในภาษาอังกฤษจะจัดแบ่งเป็น “brother” กับ “sister” นั่นหมายความว่าภาษาไทยใช้ระบบอาวุโสเป็นเกณฑ์ในการจัดแบ่ง - 177 60

.indd 177

3/3/2554 16:02:32


| “เศรษฐศาสตร์กลางทะเลลึก” อํานาจของภาษา

เพือ่ สร้างความแตกต่างระหว่างสมาชิกในครอบครัวทีม่ พี อ่ แม่เดียวกัน ขณะที่ภาษาอังกฤษใช้เพศสภาวะ (sex) เป็นเกณฑ์ในการจัดแบ่ง ดังนั้น ตามความจริงทางภววิสัย ไม่ว่าสมาชิกในครอบครัวนี้ จะพํานักอยู่ในประเทศอังกฤษหรือในประเทศไทย ย่อมต้องมีสถานะ เดิมไม่เปลีย่ นแปลง แต่ภาษาต่างหากทีเ่ ข้ามาทําหน้าทีก่ าํ หนดให้มติ ิ บางด้านของสถานะพวกเขาเปลี่ยนไป ในภาษาไทย มิติด้านวัยวุฒิ ของสมาชิกในครอบครัวจะถูกขับเน้นให้เด่นชัด ขณะทีใ่ นภาษาอังกฤษ มิติด้านเพศสภาวะจะโดดเด่นกว่า คําเรียก “พี่” และ “น้อง” ในภาษา ไทยซึ่งให้ความสําคัญกับวัยวุฒินี่เองที่มีส่วนสร้างความจริงในการ กําหนดรูปแบบความสัมพันธ์ของคนในสังคมโดยเน้นระบบอาวุโส เป็นหลัก ผิดกับภาษาอังกฤษที่จะพบว่าวัยวุฒิมีความสําคัญน้อยกว่า เพศสภาวะ นั่นคือ ความเป็นชายหรือเป็นหญิง (“brother” “sister”) เป็นสิ่งสําคัญที่ใช้ในการกําหนดสถานะของคนในสังคม ความจริงทางภววิสัย ภาษาไทย “พี่” “น้อง” ภาษาอังกฤษ “brother” “sister”

ใช้วัยเป็นตัวแบ่ง ใช้เพศสภาวะเป็นตัวแบ่ง

นักวิชาการด้านสัญศาสตร์จงึ เสนอว่า “ภาษาเป็นกระบวนการ ‘นิติบัญญัติ’ ชนิดหนึ่งที่เรามักมองไม่เห็นมิติแห่งอํานาจในภาษา เป็นเพราะเราไม่ตระหนักว่าภาษาเป็นตัวบงการการจัดแบ่งประเภท สิ่งของต่างๆ ในโลก [...] หาใช่เพียงการสื่อสารอย่างที่ใครๆ มักพูด กัน หากยังเป็นการมุ่งบังคับให้จํายอม...ภาษามีความเป็นฟาสซิสต์ อยู่ในตัวมันเอง”8 ในแง่นี้ เราอาจจะตีความข้อความในพระคัมภีร์ โรลองด์ บาร์ตส์, “ปฐมบทบรรยายวันเข้ารับตำ�แหน่งศาสตราจารย์ด้านสัญวิทยา วรรณกรรมประจำ�วิทยาลัยแห่งฝรั่งเศส” แปลโดย นพพร ประชากุล อ้างใน นพพร ประชากุล, “วิพิธและอนิจจังแห่งภาษา,” ยอกอักษร ย้อนความคิด 2 (กรุงเทพฯ: อ่าน, 2552), หน้า 552. 8

- 178 60

.indd 178

3/3/2554 16:02:32


รศ.ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ |

ไบเบิล บทกําเนิดมนุษย์และโลก ที่ว่า “Let there be light and there was light.” ได้ว่า นี่คือพลังอํานาจของภาษาที่สามารถสร้างความจริง นัน่ คือ พลันทีพ่ ระเจ้าเปล่งคําพูดว่าจงมีแสงสว่าง แสงสว่างก็บงั เกิดขึน้ ในการพิจารณาอํานาจของภาษาตามกรอบคิดทีเ่ สนอข้างต้น ผมจะขอเลือกกล่าวถึงประเด็นหลัก 3 ประเด็น ไล่เรียงจากระดับเล็ก ไปสู่ระดับใหญ่ ได้แก่ 1. อํานาจของชื่อ 2. อํานาจของคําเปรียบเปรย และ 3. อํานาจของเรื่องเล่า นามนั้นสําคัญฉะนี้ จูเลียต Juliet:

นามนั้นสําคัญไฉน? ที่เราเรียกกุหลาบนั้น แม้เรียกว่าอย่างอื่นก็หอมรื่นอยู่เหมือนกัน “What’s in a name? That which we call a rose By any other name would smell as sweet.”

Romeo and Juliet (II, ii, 1-2) คําพูดโต้ตอบโรมีโอของจูเลียตดังที่คัดมานี้ พยายามจะเสนอ ว่าชื่อเรียกเป็นเพียงสิ่งที่สมมติขึ้น มิใช่สารัตถะอันแท้จริงของสิ่งที่ถูก เรียก อันเป็นทัศนะเกี่ยวกับภาษาในฐานะป้ายชื่อติดเรียกสรรพสิ่ง แต่ทั้งจูเลียตและโรมีโอต่างก็ต้องเรียนรู้ด้วยความเจ็บปวดว่าชื่อนั้น สาํ คัญฉะนี้ เมือ่ ความรักของเขาทัง้ สองต้องกลายเป็นความรักต้องห้าม ที่ลงเองด้วยความตายก็เพราะชื่อของพวกเขาทั้งสอง ชือ่ มิได้เป็นแค่ “ป้าย” ทีถ่ อดออกและเปลีย่ นใหม่ได้ตามใจนึก และที่สําคัญ ชื่อเป็นการนิยามอัตลักษณ์ของสรรพสิ่ง ชื่อบ่งบอกและ ถูกกํากับไว้ด้วยคติความเชื่อ ระบบคุณค่า และค่านิยมในสังคม - 179 60

.indd 179

3/3/2554 16:02:32


| “เศรษฐศาสตร์กลางทะเลลึก” อํานาจของภาษา

นวนิยายเรื่อง White Noise (1984) ของ ดอน เดอลิลโล (Don DeLillo) นักเขียนอเมริกันร่วมสมัย ได้สาธิตให้เห็นนัยยะและ อํานาจของชื่อที่มีผลต่อการสร้างความจริงได้อย่างชัดเจน ในตอน ที่เรื่องกล่าวถึงอุบัติเหตุรถชนกัน จนทําให้สารพิษแพร่กระจายไปใน อากาศ โดยแรกเริม่ รายงานข่าวอุบตั เิ หตุดงั กล่าวได้บรรยายการแพร่ กระจายของสารพิษนี้ว่าเป็น “กลุ่มเมฆขนนก” (a featherly plume) ซึ่งฟังดูสวยงามไร้พิษภัย จนคนจํานวนหนึ่งพากันออกจากบ้านเพื่อ มาดูกลุ่มเมฆดังกล่าว แต่จากนั้นไม่นานก็มีการเรียกชื่อ “กลุ่มเมฆ” นี้ ใหม่ว่า “ระลอกเมฆสีดํา” (a black billowing cloud) ซึ่งฟังดูน่ากลัว ขึ้น และเริ่มสร้างความตระหนกตกใจให้แก่ประชาชนในละแวกนั้น จนในท้ายที่สุด ทางการได้ออกมาประกาศว่าระลอกเมฆสีดําดังว่านี้ คือ “อุบตั กิ ารณ์สารพิษแพร่กระจายในอากาศ” (airborne toxic event) เหตุการณ์ที่น่าตื่นเต้นตอนหนึ่งในเรื่องคือฉากที่เจ้าหน้าที่ ของรัฐได้นํารถตระเวนไปตามที่ต่างๆ เพื่อป่าวประกาศให้ผู้คนอพยพ ออกจากพื้นที่ โดยแจ้งว่าบัดนี้ได้เกิด “อุบัติการณ์สารพิษแพร่กระจาย ในอากาศ” ขอให้ทกุ คนอพยพโดยด่วน แต่ปรากฏว่าไม่ใคร่ได้รบั ความ สนใจจากคนในพื้นที่เท่าที่ควร จนในท้ายที่สุด เจ้าหน้าที่ต้องเปลี่ยน คําเรียกเหตุการณ์นี้เสียใหม่ว่า “เมฆเคมีมรณะ” (cloud of deadly chemicals) ซึ่งก็ได้ผลเกิดคาด ทุกคนที่ได้ยินคําว่า “มรณะ” ต่างพา กันตื่นตระหนกและรีบอพยพออกจากพื้นที่กันวุ่นวาย จะเห็นว่าการเรียกชื่อกลุ่มสารเคมีในอากาศจะเปลี่ยนไป ในแต่ละขั้น ในแง่หนึ่ง เราอาจจะอธิบายได้ว่า ชื่อที่เปลี่ยนไปคือ ความพยายามของมนุษย์ที่จะนิยามปรากฏการณ์ดังกล่าวให้ตรงกับ ความเป็นจริง จากจุดเริ่มที่ยังไม่รู้แน่ชัดว่ามันคืออะไร จึงเลือกเรียก โดยเน้นที่รูปลักษณ์ภายนอก เช่น “กลุ่มเมฆขนนก” หรือ “ระลอกเมฆ สีดาํ ” ครัน้ เมือ่ รูแ้ น่ชดั ว่าสิง่ ทีเ่ กิดขึน้ คืออะไรแล้ว จึงเปลีย่ นชือ่ เสียใหม่ ให้สอดคล้องกับสภาวะที่แท้จริงของกลุ่มเมฆนี้ - 180 60

.indd 180

3/3/2554 16:02:32


รศ.ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ |

อย่างไรก็ตาม สิง่ ทีน่ า่ สนใจคือชือ่ เรียกสองชือ่ สุดท้าย อันได้แก่ “อุบัติการณ์สารพิษแพร่กระจายในอากาศ” และ “เมฆเคมีมรณะ” ซึ่ง เป็นมากกว่าการให้นยิ ามปรากฏการณ์ตามทีเ่ ป็นจริง โดยความหมาย แล้ว ทั้งสองชื่อนี้ไม่ต่างกันมากนัก แต่จะเห็นว่าปฏิกิริยาของชาวบ้าน ที่ได้ยินสองชื่อนี้กลับแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง “อุบัติการณ์สารพิษแพร่ กระจายในอากาศ” เป็นชุดคําที่อิงอยู่กับภาษาวิทยาศาสตร์ มุ่งเน้น บรรยายคุณลักษณะทางกายภาพของสิง่ นัน้ ผิดกับชือ่ “เมฆเคมีมรณะ” ที่มุ่งบรรยายผลอันอาจจะเกิดขึ้นจากสิ่งนั้น ไม่เพียงแต่เรื่องแต่งอย่าง White Noise เท่านั้นที่เราพบ ว่าการนิยามหรือการเรียกชื่อเป็นกระบวนการสร้างความจริง ในชีวิต จริง ปรากฏการณ์ดังกล่าวก็มีให้เห็นอยู่เนืองนิตย์หากเราเฉลียวคิด ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดก็คือกรณีไข้หวัดชนิดใหม่ที่แพร่ระบาด เมื่อไม่นานมานี้ การโต้เถียง ต่อรอง เพื่อเปลี่ยนแปลงคําเรียกชื่อโรค ระบาดนี้กลายเป็นการเมืองระดับโลกว่าด้วยการนิยาม เพราะทุกฝ่าย ต่างตระหนักรูถ้ งึ นัยยะทีม่ ากไปกว่าคําอธิบายพยาธิสภาพของโรค และ มุง่ หวังจะใช้คาํ นิยามเพือ่ ควบคุมและประกอบสร้างชุดความจริงชุดหนึง่ ในระยะแรกเริ่ม โรคนี้ได้แพร่ระบาดและคร่าชีวิตคนจํานวน มากอย่างรวดเร็วในประเทศเม็กซิโก ก่อนทีจ่ ะแพร่กระจายไปในหลาย ประเทศและหลายภูมภิ าค สร้างความตระหนกตกใจโกลาหลให้กบั คน ทั้งโลก สื่อและคนทั่วไปต่างเรียกไข้หวัดนี้ว่า “ไข้หวัดเม็กซิโก” ซึ่งก็ สร้างความเดือดเนื้อร้อนใจให้กับประเทศเม็กซิโกเป็นอย่างยิ่ง เพราะ ชือ่ ดังกล่าวเป็นเสมือนตราบาปทีส่ อื่ ยัดเยียดให้กบั ชาวเม็กซิกนั ต่อมา จึงได้มีการเรียกโรคนี้เสียใหม่ว่า “ไข้หวัดหมู” แต่ก็มิได้ช่วยทําให้ สถานการณ์ดีขึ้นมากนัก โดยเฉพาะเกษตรกรชาวอเมริกันที่เลี้ยงหมู ในท้ายที่สุดจึงมาลงเอยด้วยชื่อทางวิทยาศาสตร์ที่แลดูเป็น “กลางๆ” คือ “ไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ุใหม่ ชนิด A H1 N1” ซึ่งไม่ปรักปรําหรือ - 181 60

.indd 181

3/3/2554 16:02:32


| “เศรษฐศาสตร์กลางทะเลลึก” อํานาจของภาษา

ประทับตราบาปให้กับใครหรือประเทศใดประเทศหนึ่งหรือผู้ประกอบ อาชีพใดอาชีพหนึ่งเป็นการเฉพาะ ปรากฏการณ์ทาํ นองเดียวกันนีเ้ คยเกิดขึน้ มาแล้วเมือ่ หลายปี ก่อน ถ้าเราๆ ท่านๆ จะจํากันได้ นั่นคือกรณีไข้หวัดนกที่แพร่ระบาด ในปี พ.ศ. 2546 ในช่วงแรก สื่อไทยต่างพากันเรียกขานไข้หวัดนี้ด้วย ภาษาทีห่ วือหวาน่าสยดสยองว่า “ไข้หวัดนรก” สร้างความรูส้ กึ ขนพอง สยองเกล้าในหมู่ชาวไทยไม่น้อย จนกระทรวงสาธารณสุขต้องจัดการ กับไข้หวัดนี้โดยการเสนอให้เปลี่ยนมาเรียกว่า “ไข้หวัดนก H5 N1” ส่งผลให้โรคระบาดร้ายแรงนี้ดูเซื่องลงถนัดใจ ในทํานองเดียวกันกับ กรณีไข้หวัด SARS ซึ่งเดิมสื่อตั้งฉายาให้ว่า “ไข้หวัดมรณะ” ครั้นเมื่อ เปลีย่ นมาเรียกว่า “โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง” ก็ดเู หมือนจะ ได้ผลชะงัด เพราะช่วยยับยั้งการระบาดของโรคได้อย่างน่าอัศจรรย์ใจ จากตัวอย่างการนิยามและการเรียกชื่อทั้งที่ปรากฏในชีวิต จริงและในเรื่องแต่งดังที่กล่าวมาข้างต้น ข้อที่น่าสนใจประการหนึ่ง ก็คือ ภาษาวิทยาศาสตร์และการแพทย์ดูจะได้รับสิทธิพิเศษให้เป็น ทางเลือกที่ดีที่สุดในการใช้นิยามปรากฏการณ์ ส่วนหนึ่งอาจเป็น เพราะวิทยาศาสตร์ถูกห่อหุ้มไว้ด้วยมายาคติของความเป็นภววิสัย ปลอดจากคติความเชื่อ ค่านิยม และอารมณ์มนุษย์ ขณะเดียวกัน ก็พึงระลึกว่าในทัศนะของโลกสมัยใหม่ วิทยาศาสตร์ได้รับการยกย่อง ให้เป็นผลผลิตของมนุษย์ทจี่ ะเข้าใจและควบคุมธรรมชาติ การใช้ภาษา วิทยาศาสตร์มานิยามปรากฏการณ์ต่างๆ โดยนัยหนึ่งแล้วจึงเป็นการ สร้างความมัน่ ใจให้กบั เราว่าปรากฏการณ์เหล่านีอ้ ยูภ่ ายใต้การควบคุม ของมนุษย์ แม้คนทั่วไปจะไม่รู้ว่า “H5 N1” “A H1 N1” หรือ “SARS” คืออะไรกันแน่ แต่ความเป็นศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ก็ดูจะเพียงพอแล้ว ที่จะทําให้ผู้ฟังเกิดความอุ่นใจว่าสิ่งเหล่านี้มิได้น่ากลัวหรือลึกลับเกิน ความสามารถของมนุษย์ที่จะเข้าใจมัน ควบคุมมัน และจัดการกับมัน - 182 60

.indd 182

3/3/2554 16:02:32


รศ.ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ |

พลานุภาพของภาษาเปรียบเปรย หากการเรี ย กชื่ อ สามารถสร้ า งความจริ ง ชุ ด หนึ่ ง ที่ อ าจจะ ไม่สอดคล้องกับความจริงนอกภาษาแล้วไซร้ การเปรียบเปรยก็เป็น อีกกระบวนการหนึง่ ทางภาษาทีท่ าํ หน้าทีส่ ถาปนาความจริงและอํานาจ ชุดหนึง่ ขึน้ มา เรามักเข้าใจกันว่าการเปรียบเปรยเป็นเพียงโวหารทาง ภาษาทีใ่ ช้เพือ่ สือ่ ความหมายหรือแสดงความชาํ่ ชองทางภาษาของผูใ้ ช้ แต่หากพิจารณาอย่างลึกซึ้ง จะพบว่าการเปรียบเปรยมีนัยสําคัญ ในการกําหนดความสัมพันธ์เชิงอํานาจในสังคมด้วย เราคงจํากันได้ดีเมื่อครั้งเกิดวิกฤตเศรษฐกิจฟองสบู่แตกในปี พ.ศ. 2540 การเปรียบเปรยที่พูดถึงกันมากในขณะนั้นคือการเปรียบ วิกฤตดังกล่าวให้เป็นเสมือนโรคร้าย เช่น “โรคต้มยํากุ้ง” และเปรียบ มาตรการเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจให้เป็นเสมือนการรักษาโรคร้าย มีการ พูดถึง “การใช้ยาแรง” เพื่อเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจ การนําชุดคําทางการ แพทย์มาใช้เป็นตัวเปรียบเปรยปัญหาเศรษฐกิจ อาจจะอธิบายได้ว่า เป็นความพยายามทาํ เรือ่ งทีส่ ลับซับซ้อนเข้าใจยากอย่างเรือ่ งเศรษฐกิจ การเงิน ให้กลายเป็นเรื่องที่คนทั่วไปสามารถเข้าใจได้ง่าย แต่ผม คิดว่าความเปรียบเปรยเชิงการแพทย์น่าจะมีนัยยะมากกว่านั้น ดั ง ที่ รู้ กั น โดยทั่ ว ไปว่ า การแพทย์ ส มั ย ใหม่ นั้ น มอบอํ า นาจ สิทธิ์ขาดให้กับแพทย์ในการวินิจฉัยและเยียวยาคนไข้ ผิดกับในสังคม โบราณทีก่ ารรักษาอาการเจ็บป่วยเป็นกระบวนการทีท่ าํ ร่วมกันระหว่าง หมอพื้นบ้าน ครอบครัวผู้ป่วย และแม้แต่สังคมโดยรวม การเปรียบ เปรยกระบวนการแก้ไขปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจให้เป็นเสมือนการรักษา โรค จึงมีนยั ยะของการเรียกร้องอาํ นาจเด็ดขาดในการแก้ไขปัญหาของ รัฐบาลในฐานะผูเ้ ชีย่ วชาญ ดุจเดียวกับทีเ่ รามอบอํานาจการวินจิ ฉัยและ การรักษาให้กับแพทย์ - 183 60

.indd 183

3/3/2554 16:02:32


| “เศรษฐศาสตร์กลางทะเลลึก” อํานาจของภาษา

ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจนั้นมีความสลับซับซ้อนและเกี่ยวโยง กับมิติต่างๆ ทั้งในเชิงระบบเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรม มาตรการในการแก้ไขปัญหาก็มีได้หลากหลายทางเลือก ขึ้นอยู่กับ ว่าเราจะให้ความสําคัญกับมิติด้านใดเป็นสําคัญ แต่เมื่อรัฐบาลอาศัย โวหารการเปรียบเปรยมาลดทอนการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจให้เป็น เสมือนการรักษาอาการเจ็บป่วย และนําเสนอมาตรการที่รัฐบาลเสนอ เป็นเสมือน “ยา” รักษาโรคร้าย โดยนัยยะแล้วก็เท่ากับรัฐบาลบังคับให้ เราต้องยอมรับ “ยา” ที่รัฐบาลหยิบยื่นให้โดยดุษณีและด้วยความยินดี ปรีดา เหมือนกับการรับใบสั่งยาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ การใช้โวหาร เปรียบเปรยทางการแพทย์มาอธิบายวิกฤตเศรษฐกิจจึงเป็นการคว้า เสือ้ กาวน์ของแพทย์มาเสริมอาํ นาจเด็ดขาดในการสัง่ การให้กบั รัฐบาล การยอมรับอํานาจเด็ดขาดในการสั่งการของแพทย์ในสังคม สมัยใหม่ ส่วนหนึ่งอาจมาจากการตระหนักว่าภาวะเจ็บไข้ได้ป่วยนั้น เป็นเรื่องคอขาดบาดตายที่ต้องอาศัยอํานาจการตัดสินใจที่เฉียบขาด รวดเร็ว ทันที เพราะในบางกรณี ความล่าช้าแม้เพียงนาทีเดียวนั้น หมายถึงความเป็นความตายของคนไข้ ในแง่นี้ แพทย์จึงมีสถานะ ไม่ตา่ งจากทหารในสนามรบ ดังทีเ่ รารูก้ นั ดีวา่ ทหารเป็นอีกหนึง่ สถาบัน ในสังคมที่ใช้หลักอํานาจนิยมในการบังคับสั่งการ ด้วยข้ออ้างที่ว่า ในสนามรบนั้น ทุกวินาทีคือความเป็นความตาย มิใช่แต่เพียงของ บรรดาทหารในสนามรบเท่านั้น แต่ของประเทศชาติด้วยซํ้าไป อาจจะฟังดูเหนือความคาดหมาย แต่เราจะพบว่าระบบการ บังคับบัญชาของแพทย์ทมี่ หี น้าทีร่ กั ษาชีวติ และทหารทีม่ หี น้าทีส่ งั หาร ศัตรูลว้ นตัง้ อยูบ่ นหลักการเดียวกัน คือหลักอาํ นาจนิยม นัน่ คือ ผูบ้ งั คับ บัญชา ไม่ว่าจะเป็นอาจารย์ใหญ่หรือนายพล มีอํานาจเด็ดขาดในการ สั่งการ จึงไม่น่าประหลาดใจที่เราจะพบต่ออีกด้วยว่า ภาษาทางการ แพทย์นั้นเต็มไปด้วยโวหารทางการทหาร ในหนังสืออันโด่งดังชื่อ Illness as a Metaphor (ความเจ็บป่วยในฐานะโวหารเปรียบเปรย) - 184 60

.indd 184

3/3/2554 16:02:32


รศ.ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ |

ของ ซูซาน ซอนทาก (Susan Sontag) อดีตนักคิดชื่อดัง ได้ทําการ วิเคราะห์ชดุ คาํ เปรียบเปรยทีใ่ ช้ในการพูดถึงโรคมะเร็งในสังคมอเมริกนั และพบว่าล้วนเป็นชุดคาํ ศัพท์ทางการทหารเป็นส่วนใหญ่ เช่น บรรยาย ลักษณะการแพร่กระจายของมะเร็งว่า “บุกรุก” (invasive) พูดถึงการ รักษาว่าเป็น “การป้องกัน” (defense) และอธิบายกระบวนการทัง้ หมด ว่าเป็น “การรบหรือการทําสงครามกับมะเร็ง” ตัวอย่างพลานุภาพของความเปรียบเปรยทีท่ าํ หน้าทีส่ ถาปนา ความจริงและกําหนดความสัมพันธ์เชิงอํานาจที่น่าสนใจ คือความ เปรียบเปรยเรือ่ งความสามัคคีในสังคมไทย เมือ่ ไม่นานมานีม้ โี ฆษณา รณรงค์ให้คนไทยรู้รักสามัคคี โดยผูกเป็นเรื่องให้ตานั่งสอนหลานถึง พลังของความสามัคคี โดยเปรียบเปรยว่าก้านธูปก้านเดียวสามารถ หักได้ง่ายดาย แต่เมื่อนําก้านธูปมารวมกันเป็นธูปกําใหญ่ หักเท่าไร ก็หักไม่ได้ นิทานเรื่องพลังของความสามัคคีนี้น่าจะดัดแปลงมาจาก นิทานสัน้ ทีผ่ มเคยได้อา่ นจากหนังสือเรียนภาษาไทย ดรุณศึกษา ระดับ ประถมศึกษา เรื่องมีอยู่ว่า ลูกๆ ทะเลาะเบาะแว้งกันเป็นประจํา พ่อ จึงเรียกให้ลูกไปหาไม้มาคนละชิ้น เมื่อได้มาแล้วก็หยิบไม้หนึ่งชิ้นมา ให้ลูกหัก แต่ละคนก็หักไม้ได้ แต่เมื่อพ่อนําไม้แต่ละชิ้นมามัดรวมกัน เข้าเป็นไม้หนึ่งมัด ปรากฏว่าไม่มีใครสามารถหักได้ เสร็จแล้วพ่อก็ อบรมลูกๆ ถึงโทษของการทะเลาะเบาะแว้งและประโยชน์ของความ สามัคคี ปฏิเสธไม่ได้ว่าอุปมาอุปไมยดังกล่าวมีพลังในการชักจูงให้ เราเห็นคล้อยตามว่าความสามัคคีมีคุณประโยชน์มหาศาล เพราะเห็น เป็นรูปธรรมชัดเจนว่าหากไม้แต่ละชิ้นอยู่โดยโดดๆ ย่อมมีสถานะที่ อ่อนแอ ง่ายต่อการถูกหักทําลาย แต่หากมัดรวมกันเข้าเป็นกํา จะมี ความแข็งแกร่ง ยากต่อการหักทําลาย นี่เป็นอุปมาที่ไม่รู้จะเถียงด้วย ได้อย่างไร ผมเองก็ปักใจเชื่อมาโดยตลอดว่าสามัคคีคือพลังตามที่ อุปมานีพ้ ยายามจะตอกยํา้ โดยไม่เคยนึกฉุกใจหรือเฉลียวใจแต่อย่างใด - 185 60

.indd 185

3/3/2554 16:02:32


| “เศรษฐศาสตร์กลางทะเลลึก” อํานาจของภาษา

อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ ได้วิเคราะห์นัยยะของความเปรียบ ดังกล่าว โดยเน้นไปที่มิติเชิงสังคมของความสามัคคีที่ขาดหายไป ในนิทานเรื่องนี้ อาจารย์นิธิชี้ว่าการเปรียบให้คนแต่ละคนในสังคม เป็นเสมือนไม้หนึง่ ชิน้ หรือธูปหนึง่ ก้าน เป็นการมองคนในฐานะปัจเจก ที่แยกขาดออกจากสังคมโดยสิ้นเชิง ปราศจากครอบครัว เครือญาติ เพื่อนฝูง ฯลฯ ความเปรียบนี้จึงมุ่งมองความสามัคคีในแง่ของปัจเจก ต่อปัจเจกที่หันหน้าเข้าหากัน ซึ่งเป็นไปได้ยากในความเป็นจริงที่จะ ให้ทุกคนในสังคมมารวมตัวเป็นหนึ่งเดียวกันเหมือนไม้ที่มารวมกัน เป็นไม้กําใหญ่9 อาจารย์นิธิได้วิจารณ์ต่อว่า สิ่งที่ขาดหายไปในความ เปรียบนีก้ ค็ อื มิตเิ ชิงสังคมของความสามัคคี ตลอดจนการสร้างเงือ่ นไข ทางสังคมเพื่อให้เกิดความสามัคคี อาทิ ความเป็นธรรมในสังคม การ ประกันสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ฯลฯ (มติชนสุดสัปดาห์, 24 เมษายน 2552) ประเด็นที่ผมอยากเสริมเพิ่มเติมจากที่อาจารย์นิธิเสนอไว้ ก็คือ ผมเห็นว่าจริงๆ แล้วสาธกนิทานเรื่องนี้พูดถึงเงื่อนไขเชิงสังคมที่ สามารถก่อให้เกิดความสามัคคีไว้ด้วย แต่พูดไว้โดยนัยอย่างแยบคาย หากเราตั้งสติและสลัดตัวเราออกจากมนตราของอุปมาอุปไมย เราก็ จะพบประเด็นที่น่าสะดุดใจว่า ไม้แต่ละชิ้นมารวมกันเป็นไม้หนึ่งมัด ใหญ่ได้อย่างไร ใครเป็นคนนํามันมามัดรวมกัน คําตอบก็คือ “คุณพ่อ” และนี่คือความสามัคคีที่รัฐเรียกร้องกับคนในชาติ มันคือความสามัคคี ทีเ่ กิดจากการเรียกร้องให้คนในสังคมมอบอาํ นาจเด็ดขาดแก่ใครคนใด คนหนึ่ง ให้ลุกขึ้นมาทําหน้าที่จัดการทุกอย่างในนามของคนทุกคน ภายใต้ข้ออ้างเพื่อความสามัคคี ความเข้มแข็ง และความมั่นคงของ บรรดาโฆษณาและคำ�ขวัญประเภท “ขอให้คนไทยรักกัน” “ขอให้คนไทยหันหน้าเข้าหา กัน อย่าทะเลาะกัน” ล้วนเป็นการมองความสามัคคีในแง่มุมเดียวกันกับนิทานเรื่องนี้ ทั้งสิ้น 9

- 186 60

.indd 186

3/3/2554 16:02:32


รศ.ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ |

ครอบครัวทีเ่ รียกว่าชาติ อุปมาไม้หนึง่ มัดจึงเป็นอุปมาเพือ่ สร้างความ ชอบธรรมให้กับอํานาจเด็ดขาดของ “พ่อ” ที่จะเป็นคนจัดการทุกอย่าง แทนทุกคน หากจะพูดในกรอบความคิดที่อาจารย์นิธิเสนอ ก็สามารถ พูดได้ว่า นี่แหละคือเงื่อนไขทางสังคมที่จะก่อให้เกิดความสามัคคี ซึ่ง นําเสนอไว้อย่างแยบยลในนิทานสอนใจเรื่องนี้ จึงไม่น่าประหลาดใจ ว่าเมื่อมีการเรียกหาความสามัคคี คนไทยจํานวนมากจะเรียกหาพ่อ หรือไม่ก็ผู้นําที่เข้มแข็ง เด็ดขาด ที่จะเป็นพระเอกขี่ม้าขาวเข้ามาช่วย ยุติความแตกแยก ขัดแย้ง และรวมคนไทยให้เป็นหนึ่งเดียว มากกว่า ที่จะเรียกหาเงื่อนไขทางสังคมที่จะเสริมสร้างความสามัคคี เช่น ความ ยุติธรรม ความเป็นธรรม หรือสิทธิเสรีภาพที่จะแสดงความคิดเห็น อันแตกต่าง ตามที่อาจารย์นิธิเสนอ นี่คืออํานาจของการเปรียบเปรยที่สามารถปิดบังดวงตาของ คนในสังคมไม่ให้มองเห็นความเป็นไปได้อื่นๆ ของการสร้างความ สามัคคีในสังคม อํานาจของเรื่องเล่า นอกจากการเรี ย กชื่ อ และการเปรี ย บเปรยแล้ ว ภาษายั ง ทํางานเพื่อสถาปนาความจริงและกําหนดความสัมพันธ์เชิงอํานาจ ผ่านเรื่องเล่าอีกด้วย เรื่องเล่าคือการนําเรื่องราวมาจัดลําดับเพื่อสื่อความหมาย แม้แต่เรื่องเล่าที่สะเปะสะปะและสับสนที่สุด อย่างน้อยก็ทําหน้าที่ สื่อถึง “ความไร้ความหมาย” ของเรื่องเล่าเรื่องนั้น และนี่คือที่มาของ อํานาจของเรื่องเล่า เพราะทั้งผู้เล่าและผู้ฟังต่างยอมรับและคาดหวัง ร่วมกันว่าเรื่องเล่านั้นมีเพื่อสื่อความหมายใดความหมายหนึ่ง - 187 60

.indd 187

3/3/2554 16:02:32


| “เศรษฐศาสตร์กลางทะเลลึก” อํานาจของภาษา

ส่วนชีวิตจริงที่ดําเนินไปของมนุษย์เป็นไปอย่างที่มันเป็น เราผู้ดํารงอยู่ในกระแสของชีวิตตระหนักถึงมันได้เฉพาะในแต่ละนาที ของชีวิต ณ ขณะนั้น ไร้อดีต ไร้อนาคต จะมีก็แต่ปัจจุบัน และเมื่อเรา พยายามจะอธิบายชีวติ คิดถึงอดีต หรือคาดการณ์อนาคต เราได้ทาํ ให้ ชีวิตกลายเป็นเรื่องเล่าไป เราเปลี่ยนสถานภาพจากผู้ใช้ชีวิตไปเป็น นักเล่าเรื่อง แยกตัวเองออกจากกระแสของชีวิต และพยายามจัดแต่ง คัดสรร กลั่นกรองเหตุการณ์ต่างๆ เพื่อสร้างและสื่อความหมายให้กับ เรื่องราวในชีวิตของเรา ชีวิตคือความโกลาหล (chaos) ไร้ระเบียบ ไร้คําอธิบาย ขณะที่เรื่องเล่าคือการจัดระเบียบให้กับความโกลาหล นวนิยายเรื่อง คนนอก ของ อัลแบรต์ กามูส์ (Albert Camus) แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างนี้ได้เป็นอย่างดี ภาคหนึ่งของนวนิยาย คือชีวิตอย่างที่มันเป็นจริง ถ่ายทอดชีวิตในแต่ละนาทีที่ดําเนินไปของ เมอร์โซต์ ซึ่งดํารงอยู่อย่างอิสระโดยตัวของมันเอง ไร้ความต่อเนื่อง ไร้คําอธิบาย เมื่อเขาได้รับโทรเลขแจ้งว่า “มารดาถึงแก่กรรม ฝังศพ พรุ่งนี้” เป็นไปได้ที่เขาจะคิดว่า “วันนี้สินะที่แม่ตาย หรือเมื่อวานนี้ ก็ไม่รู้แน่” ส่วนภาคสองของเรื่องคือชีวิตในฐานะเรื่องเล่า มันคือการ เข้าไปจัดระเบียบ หาคําอธิบาย และให้ความหมายกับชีวิตที่เมอร์โซต์ เป็นในภาคหนึง่ ทุกความคิด ทุกคาํ พูด และทุกพฤติกรรมของเมอร์โซต์ ทีก่ ระจัดกระจาย ขาดความต่อเนือ่ ง ไร้คาํ อธิบาย จะถูกนาํ มาร้อยเรียง เชื่อมโยง เพื่อตีความและสถาปนาความหมายใดความหมายหนึ่ง ให้กับเรื่องราวเหล่านั้น กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ภาคสองของนวนิยาย เป็นการใส่พล็อตให้กบั ภาคหนึง่ การไม่รวู้ า่ แม่ตายวันไหนของเมอร์โซต์ จึงกลายเป็นเครือ่ งส่อ “จิตใจอันเย็นชา” ของเขา การไม่รอ้ งไห้ในวันฝัง ศพแม่ จึงถูกตีความว่าเป็นคนที่มี “จิตใจโหดเหี้ยมอํามหิต” เมอร์โซต์ ถูกตัดสินประหารชีวิตมิใช่เพราะเขาฆ่าคนอาหรับ มิใช่เพราะเป็นคน มีจิตใจโหดเหี้ยมผิดมนุษย์มนา และมิใช่เพราะเขาไม่ร้องไห้ในวันที่ แม่ตาย เช่นที่กามูส์เขียนประชดประชันไว้ใน “คําตาม” ของนวนิยาย - 188 60

.indd 188

3/3/2554 16:02:32


รศ.ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ |

เรือ่ งนี้ แต่เพราะเมอร์โซต์ไม่ยอมเล่าชีวติ ของเขา และปล่อยให้อยั การ เป็นผู้เล่าเรื่อง ทัศนะต่อ “เรื่องเล่า” ในฐานะกระบวนการคัดเลือก จัดสรร กลัน่ กรอง เพือ่ สร้างความจริง มิใช่เพือ่ ถ่ายสะท้อนความจริง ดังทีก่ ล่าว มานี้ สร้างผลสะเทือนอย่างใหญ่หลวงต่อวงวิชาการด้านมนุษยศาสตร์ และสั ง คมศาสตร์ ส่ ง ผลให้ ศ าสตร์ ห ลายศาสตร์ ต้ อ งหวนกลั บ มา พิจารณาสถานะขององค์ความรู้ที่เคยเชื่อถือกันมาโดยตลอดว่าตั้งอยู่ บนพืน้ ฐานของความจริง ทีเ่ ห็นได้ชดั เจนทีส่ ดุ คือประวัตศิ าสตร์ ซึง่ เคย เชือ่ มาโดยตลอดว่าคือการบันทึกเรือ่ งเล่าทีเ่ กิดขึน้ จริงในอดีต แต่หาก เรื่องเล่าคือการสร้างความจริงดังที่นักวรรณกรรมศึกษาเสนอแล้วไซร้ เราย่อมจะมองได้เช่นกันว่าประวัติศาสตร์คือเรื่องเล่าเพื่อสร้างความ จริงชุดหนึ่งเกี่ยวกับอดีต นักประวัตศิ าสตร์ในปัจจุบนั ให้ความสนใจกับประเด็นดังกล่าว มากเป็นพิเศษ โดยแทนที่จะมุ่งศึกษาทําความเข้าใจและอธิบายอดีต พวกเขาหันมาสนใจศึกษาเหตุปัจจัยที่ทําให้เรื่องเล่าในอดีตชุดหนึ่งมี ความสําคัญมากกว่าเรือ่ งเล่าชุดอืน่ ๆ บทความ “ผูร้ า้ ยในประวัตศิ าสตร์ ไทย: กรณีพระมหาธรรมราชา” ของ ธงชัย วินจิ จะกูล เป็นตัวอย่างทีน่ า่ สนใจในการศึกษาประวัติศาสตร์แนวนี้ ธงชัยใช้กรอบการสร้างพล็อต เรื่องให้กับเรื่องเล่ามาอธิบายว่าทําไมในประวัติศาสตร์การเสียกรุงศรีอยุธยาครัง้ ที่ 1 ของไทย จึงทาํ ให้สถานะของพระมหาธรรมราชาเป็น ทัง้ ผูร้ า้ ยและผูร้ า้ ยกลับใจ โดยชีว้ า่ เป็นผลมาจากการทีน่ กั ประวัตศิ าสตร์ รุ่ น หลั ง นํ า กรอบคิ ด เรื่ อ ง “ชาติ นิ ย ม” ไปใช้ อ ธิ บ ายประวั ติ ศ าสตร์ กรุงศรีอยุธยา ซึ่งไม่ได้มีสํานึกเรื่องชาติเหมือนคนในสมัยใหม่10 ดูรายละเอียดใน ธงชัย วินิจจะกูล, “ผู้ร้ายในประวัติศาสตร์ไทย: กรณีพระมหาธรรมราชา,” ใน สุนทรี อาสะไวย์ และ กาญจนี ละอองศรี (บรรณาธิการ), ไทยคดีศึกษา (กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2533), หน้า 173-196. 10

- 189 60

.indd 189

3/3/2554 16:02:33


| “เศรษฐศาสตร์กลางทะเลลึก” อํานาจของภาษา

นั ก วิ ช าการด้ า นมานุ ษ ยวิ ท ยาและวารสารศาสตร์ จํ า นวน ไม่น้อยได้นําแนวคิดว่าด้วยเรื่องเล่าในฐานะกระบวนการสร้างความ จริงมาใช้สํารวจตรวจสอบองค์ความรู้ของตนเองอย่างเข้มข้นเช่นกัน เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่ารายงานข่าวและงานชาติพันธ์ุวรรณาต่างก็มี สถานะเป็นเรื่องเล่าชุดหนึ่งทั้งสิ้น แม้ว่าผู้สื่อข่าวหรือนักวิจัยจะเขียน งานเหล่านี้โดยอิงอยู่กับข้อมูลและข้อเท็จจริงที่พวกเขาได้ประสบ พบเห็นหรือสํารวจค้นคว้ามา แต่ในกระบวนการเขียนรายงานข่าว หรือรายงานวิจยั ย่อมต้องมีการใส่พล็อตให้กบั ข้อเท็จจริงนัน้ ในทางใด ทางหนึ่ ง งานวิ จั ย ด้ า นมานุ ษ ยวิ ท ยาที่ น่ า สนใจชิ้ น หนึ่ ง คื อ อ่ า น “วัฒนธรรมชุมชน”: วาทศิลป์และการเมืองของชาติพันธ์ุนิพนธ์แนว วัฒนธรรมชุมชน ของ ยุกติ มุกดาวิจิตร ที่วิเคราะห์ให้เห็นว่า “ชาว บ้าน” “ชุมชน” และ “วัฒนธรรมชุมชน” ที่มีการพูดถึงกันมากในช่วงปี พ.ศ. 2530-2540 จนกลายเป็นองค์ความรู้ชุดหนึ่งในสังคมไทย และมี ตัวตน มีอัตลักษณ์ ที่ชัดเจนนั้น ผ่านการประกอบสร้างทางวัฒนธรรม โดยอิงอยู่กับชุดเรื่องเล่าอะไรบ้าง หากเราย้อนกลับไปดูรายงานข่าวในท้ายเรือ่ ง “เศรษฐศาสตร์ กลางทะเลลึก” เราก็จะพบว่าแม้ขา่ วทีน่ าํ เสนอจะถ่ายทอดเหตุการณ์ที่ เกิดขึน้ แต่การเลือกนาํ สถานะของผูต้ ายทัง้ สอง (พ่อค้าใหญ่/คนรับใช้) มาเป็นหัวข้อเด่นของข่าว คือกระบวนการสร้างพล็อตให้กบั เหตุการณ์ ซึ่งเราก็ได้เห็นแล้วจากบทวิเคราะห์เรื่องสั้นชิ้นนี้ว่าการตัดสินว่าใคร เป็น “คนรับใช้” ใครเป็น “พ่อค้าใหญ่” ในรายงานข่าวบนหน้าหนังสือพิมพ์ มิได้ตงั้ อยูบ่ นพืน้ ฐานของข้อมูลและความจริง แต่มาจากอคติทางสังคม ที่เชื่อกันว่าพ่อค้าคือผู้มีทรัพย์สินเงินทอง สวมใส่เสื้อผ้าหรูหรา ส่วน คนรับใช้คอื คนจน ทีแ่ ม้แต่เสือ้ ผ้าพันกายก็แทบจะไม่มี ด้วยเหตุนี้ การ รายงานข้อมูลเท็จจริงก็อาจจะกลายเป็นการนําเสนอความเท็จ แม้จะ โดยไม่ตั้งใจก็ตาม - 190 60

.indd 190

3/3/2554 16:02:33


รศ.ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ |

เราได้ยินได้ฟังกันเป็นประจําว่า “ความรู้คืออํานาจ” (Knowledge is power.) และ “ความจริงจะทําให้คุณเป็นอิสระ” (The truth will make you free.) จากบทวิเคราะห์เรื่องสั้น “เศรษฐศาสตร์กลาง ทะเลลึก” และความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอํานาจดังที่เสนอมานี้ เราได้เห็นแล้วว่าความจริงและความรู้มิได้เป็นสิ่งสัมบูรณ์สูงสุดและ เป็นสากล แต่เป็นสิ่งประกอบสร้างทางวัฒนธรรมเพื่อสถาปนาความ สัมพันธ์ทางอํานาจ ผ่านการนิยามว่าอะไรคือ “ความรู้” และอะไรคือ “ความจริง” เราจึงมิควรจะถือเอา “ความรู”้ และ “ความจริง” เป็นคําตอบ สุดท้ายเสมอไป แต่ควรจะถามต่อไปว่า “ความรู้” และ “ความจริง” นั้น ใครเป็นผูน้ ยิ าม และนิยามขึน้ มาจากสมมติฐานอะไรบ้าง เมือ่ นัน้ แหละ เราจึงอาจจะพอพูดได้ว่าเราเข้าใกล้ความเป็นอิสระอย่างแท้จริง

- 191 60

.indd 191

3/3/2554 16:02:33


| “เศรษฐศาสตร์กลางทะเลลึก” อํานาจของภาษา

ประวัติปาฐก รศ.ชู ศั กดิ์ ภัท รกุลวณิชย์ จบการศึกษาระดับ ปริญ ญาตรีจากภาค วิ ช าภาษาและวรรณคดี อั ง กฤษ (เกี ย รติ นิ ย มอั น ดั บ หนึ่ ง ) คณะศิ ล ปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปริญญาโทสาขาวรรณคดีอเมริกันสมัยใหม่ จาก มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา ปัจจุบัน รศ.ชูศักดิ์เป็นอาจารย์ประจำ�ภาควิชาภาษาและวรรณคดี อังกฤษ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมีความเชี่ยวชาญและ สนใจในด้านวรรณกรรมสมัยใหม่และวรรณกรรมร่วมสมัย ทฤษฎีวรรณกรรม ร่วมสมัย โดยเฉพาะทฤษฎีวรรณกรรมเกีย่ วกับตัวบทและการเล่าเรือ่ ง วรรณกรรม และสัญศาสตร์ และวรรณกรรมและวัฒนธรรมศึกษา นอกจากนี้ยังเป็นเจ้าของ ผลงานคุณภาพอีก 3 เล่ม คือ คนกับหนังสือ (2536) เชิงอรรถวัฒนธรรม (2539) และ อ่าน (ไม่) เอาเรื่อง (2545) รศ.ชูศกั ดิไ์ ด้รบั รางวัลงานวิจารณ์วรรณกรรมดีเด่นประจำ�ปี พ.ศ. 2535 ของกองทุนหม่อมหลวงบุญเหลือ เทพยสุวรรณ นอกจากนี้ อ่าน (ไม่) เอาเรื่อง หนังสือรวมบทความวิจารณ์วรรณกรรมไทยและต่างประเทศ ยังได้รบั การคัดเลือก เป็นหนังสือดีเด่นรางวัลชูเกียรติ อุทกะพันธุ์ ประจำ�ปี พ.ศ. 2547 ปัจจุบัน รศ.ชูศักดิ์ยังคงเขียนบทความวิจารณ์วรรณกรรมเป็นประจำ� ในวารสาร อ่าน

- 192 60

.indd 192

3/3/2554 16:02:33


60

.indd 193

3/3/2554 16:02:33


| การปรับโครงสร้างชนบทไทยกับปัญหาที่มองไม่เห็น

การปรับโครงสร้างชนบทไทย กับปัญหาที่มองไม่เห็น ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธ์ุ

วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2552

- 194 60

.indd 194

3/3/2554 16:02:33


ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธ์ุ |

ผมรู้สึกเป็นเกียรติและยินดีอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสมาแลกเปลี่ยนและ พูดคุยในประเด็นปัญหาทีผ่ มได้ใช้เวลาศึกษามาตลอดทัง้ ชีวติ นับตัง้ แต่ เริม่ ทาํ งานวิชาการมาก็ศกึ ษาแต่เรือ่ งนี้ คือเรือ่ งเกีย่ วกับเศรษฐกิจของ สังคมชนบท ในโอกาสนี้ผมจึงอยากจะทบทวนและมองไปข้างหน้าว่า มีปัญหาอะไรที่ผมยังมองไม่เห็นอีก ตอนที่ ไ ด้ รั บ การทาบทามให้ ม าพู ด ผมก็ ยั ง นึ ก เรื่ อ งอะไร ไม่ออก ผมจึงให้หัวข้อกว้างๆ ไปก่อนว่า “ปัญหาที่มองไม่เห็น” เพราะ ผมก็ยงั มองไม่เห็นอะไรอีกหลายอย่าง แต่วนั นีผ้ มจะพยายามชีใ้ ห้เห็น ว่าปัญหาทีม่ องไม่เห็นนัน้ เราจะเห็นได้บา้ งหรือเปล่า ก็ตอ้ งลองฟังดูวา่ จะมองเห็นหรือมองไม่เห็นอย่างไร

- 195 60

.indd 195

3/3/2554 16:02:33


| การปรับโครงสร้างชนบทไทยกับปัญหาที่มองไม่เห็น

1. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างชนบทในยุคการพัฒนา: ความขัดแย้งในมุมมองเชิงเดี่ยว ผมขอเริ่มด้วยการมองย้อนกลับไปตอนที่ผมทําวิทยานิพนธ์ ปริญญาเอก ผมได้ศึกษาสิ่งที่เรียกว่าเป็น “กระบวนการเปลี่ยนแปลง สังคมเกษตรกรรม” (Agrarian Transformation) ผมทําวิจัยในช่วง ปี พ.ศ. 2523-2524 ที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งในอําเภอสันป่าตอง จังหวัด เชียงใหม่ (Anan, 1984) ตอนนั้นสิ่งที่ผมสนใจศึกษาก็คือ “สังคม ชนบทเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร” นักวิชาการส่วนมากมักกล่าวกันว่า การเปลี่ยนแปลงเดินไปตามกระแสของการพัฒนาแบบทุนนิยม ผมได้ไปค้นพบภาพเก่าๆ ที่เคยถ่ายไว้ตอนทําวิจัย ซึ่งฉาย ให้เห็นภาพการทํานา แต่ผมก็พบว่าไม่ได้มีแต่การทํานาอย่างเดียว ในตอนนั้นยังมีการทํานาเช่าด้วย เมื่อเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ เจ้าของ นาเช่าก็มาตวงข้าวในนาเพือ่ แบ่งข้าวเป็นค่าเช่าไปจากทีน่ าโดยตรงเลย ถังหนึ่งเป็นของเจ้าของนา อีกถังหนึ่งเป็นของคนที่ทํานา เขาเรียกว่า การทํานา “ผ่ากึ่ง” หรือแบ่งครึ่ง (Sharecropping) ผมได้ตั้งคําถามกับเรื่องราวที่ผมศึกษาขณะนั้นว่า สังคม ชาวนากําลังถูกผนวกเข้าสู่ระบบการผลิตแบบทุนนิยมอย่างไร ผมจึง เน้นศึกษาในเรือ่ งของการผลิตเชิงพาณิชย์ หมูบ่ า้ นทีผ่ มไปทาํ วิจยั นัน้ ชาวบ้านเขาทําการผลิตบนที่นา 3 ครั้งต่อปี หลังจากทํานาข้าวแล้วก็ ปลูกถั่วเหลือง บ้างก็ปลูกหอมหัวใหญ่ ตอนนั้นปลูกกันอย่างเข้มข้น มาก และก็มกี ารนําเครือ่ งจักรมาใช้แล้ว เช่น เครือ่ งนวดถัว่ เหลือง การ ปลูกเชิงพาณิชย์เริ่มขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมาก แต่ในขณะนั้น ผมพบ ว่าระบบต่างๆ ในชนบทก็ยงั ไม่ได้เปลีย่ นเข้าไปสูก่ ารผลิตแบบทุนนิยม ไปเสียทัง้ หมด เพราะยังมีระบบอืน่ ๆ ควบคูก่ นั อยู่ ในด้านหนึง่ ยังมีการ - 196 60

.indd 196

3/3/2554 16:02:33


ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธ์ุ |

ทําชลประทานแบบเหมืองฝาย ที่ชาวบ้านยังคงร่วมมือกันอยู่ แต่อีก ด้านหนึ่งก็เริ่มเห็นว่ามีการเจาะ (ตอก) นํ้าบาดาลบ้างแล้ว เพราะนํ้า เริ่มไม่เพียงพอสําหรับการทํานาข้าวในการผลิตครั้งที่ 3 ในขณะนั้น เวลาที่คนส่วนใหญ่ศึกษาสังคมชนบท ก็มักจะ มองว่าสังคมชนบทอยู่โดดเดี่ยวห่างไกล แต่เมื่อผมไปศึกษา ผมมอง เห็นว่าสังคมชนบทไม่ได้อยู่โดดเดี่ยว แต่กลับเชื่อมโยงกับภายนอก อย่างมาก โดยเฉพาะระบบตลาด ชาวบ้านมีตลาดวัว ตลาดควาย และ มีการนําวัวควายไปขาย เพราะเขาไม่มีที่เลี้ยง เมื่อต้องใช้พื้นที่นา ทําการผลิต 3 ครั้งต่อปี จึงต้องเอาวัวควายไปขายในตลาด แล้วซื้อ กลับมาใช้เฉพาะไถนา ตอนนัน้ ชาวบ้านยังไถนาด้วยวัวควายอยู่ ควบคู่ กับการเริ่มเอารถไถเดินตามมาใช้บ้างแล้ว แต่ขณะเดียวกัน ชนบทก็เชือ่ มโยงกับอํานาจรัฐมากขึน้ ระบบ เหมืองฝายที่ชาวบ้านเคยร่วมมือกันทํา รัฐก็เริ่มเข้ามาสนับสนุนให้ ทําเป็นคอนกรีต เป็นซีเมนต์ หลังจากที่ผมเขียนวิทยานิพนธ์เสร็จ ผมก็พบว่าจากฝายที่เคยสร้างด้วยไม้ไผ่ ก็กลายเป็นฝายคอนกรีต ไป ตอนแรกๆ ที่ผมเข้าไปศึกษานั้น ผมรู้สึกตื่นเต้นมาก เมื่อเห็นว่า ชาวบ้านจํานวนมากมาทําฝายร่วมกันอย่างมีพลัง เพราะฝายนีส้ ามารถ ส่งนํ้าไปใช้ในพื้นที่นากว่า 30,000 ไร่ คนจากสามอําเภอจํานวนไม่รู้ เท่าไรต่อเท่าไรต้องมาช่วยกันดูแลรักษาเหมืองฝาย ผมก็ทึ่งมาก แต่ ตอนหลังก็ไม่มีใครทําอะไรเกี่ยวกับฝาย ปล่อยวางเฉย เพราะต่าง คิดว่าเป็นหน้าที่ของรัฐต้องดูแลแทน ตอนหลังฝายคอนกรีตก็พังไป ในตอนนั้น ปัญหาที่ผมสนใจและมุ่งเน้นศึกษาก็คือปัญหาที่ ก่อให้เกิดความแตกต่างและความเหลื่อมลํ้าทางเศรษฐกิจและสังคม ของชาวบ้าน (Social Differentiation) เพราะผมพบว่าครัวเรือน ชาวบ้านเริ่มมีการกระจายตัวและเกิดความเหลื่อมลํ้า มีคนจนที่ต้อง พึ่งพาการจ้างแรงงานในหมู่บ้าน ขณะเดียวกันก็มีชาวบ้านบางคน - 197 60

.indd 197

3/3/2554 16:02:33


| การปรับโครงสร้างชนบทไทยกับปัญหาที่มองไม่เห็น

สามารถซื้อรถแทรกเตอร์ได้ บางคนมียุ้งข้าวขนาดใหญ่และขายข้าว ได้ในปริมาณมาก แต่บางครัวเรือนกลับมีข้าวไม่พอกิน อีกทั้งยังไม่มี นาด้วยซํ้าไป พวกเขาต้องพึ่งพาการรับจ้างเพียงอย่างเดียว แสดงว่า ครั ว เรื อ นชาวบ้ า นเริ่ ม มี ค วามแตกต่ า งเหลื่ อ มลํ้า กั น มากขึ้ น อย่ า ง มหาศาล ตรงนี้เป็นภาพที่ผมมองเห็นในช่วงนั้น ขณะเดียวกัน ผมก็พยายามศึกษาความเชื่อมโยงระหว่าง อํานาจรัฐจากภายนอกกับตลาด ว่าเข้ามาเกี่ยวพันกับกระบวนการ ในท้องถิ่นอย่างไรบ้าง ผมพบว่ากระบวนการในท้องถิ่นกําลังตกอยู่ ภายใต้เงื่อนไขของตลาดสินค้าเกษตร และยังขาดทางเลือกอย่าง อื่น ตอนนั้นยังไม่มีการจ้างงานนอกภาคเกษตร ชาวบ้านยังออกมา ทํางานนอกหมู่บ้านไม่ได้ เขาต้องอยู่ตรงนั้น จึงเกิดความขัดแย้ง ในชุมชนอย่างรุนแรงมาก โดยเฉพาะความขัดแย้งในการเข้าถึงที่นา และการเข้าถึงแรงงาน เพราะคนจํานวนมากกว่า 30-40 เปอร์เซ็นต์ ไม่มที นี่ า ต้องขายแรงงานหรือรับจ้างในภาคเกษตรอย่างเดียว ส่วนคน ที่มีที่นา บางคนก็อยากจะทํานาเอง บางคนก็ต้องให้คนอื่นเช่า เพราะ ขาดแรงงาน เมื่อต้องเพาะปลูกกันถึง 3 ครั้งต่อปีในที่นาแปลงหนึ่งๆ จึงมีทั้งการแย่งนํ้าและการขาดแคลนแรงงานในบางช่วงของการผลิต (Anan, 1989) อาจจะมีการประชุมแก้ไขปัญหาอยูบ่ า้ ง แต่ความขัดแย้ง ต่างๆ ก็ยังคงดํารงอยู่ เมื่อผมไปเชียงใหม่ครั้งแรกๆ มีคนบอกว่าเชียงใหม่เป็นถิ่น ไทยงาม คนเชียงใหม่ใจดี มีภาพค่อนข้างเป็นอุดมคติอะไรทํานองนั้น แต่พอผมไปอยู่ในหมู่บ้านที่ศึกษาได้เพียง 3-4 วัน ก็พบว่ามีการยิงกัน ตายหน้าหมู่บ้านเลย มีการแย่งนํ้าจากเหมืองฝายด้วยการเอาขวาน ฟันสันฝาย เพื่อให้นํ้าผ่านลงไปปลายนํ้ามากขึ้น มีความขัดแย้งเต็ม ไปหมด ในวิทยานิพนธ์ ผมจึงต้องเขียนไปในทํานองนั้น เพราะเป็น ความจริงที่ผมพบเจอ จะให้เขียนเป็นอย่างอื่นก็คงไม่ได้ แต่ผมก็ได้ พยายามอธิบายว่าทําไมจึงขัดแย้งกันเช่นนั้น - 198 60

.indd 198

3/3/2554 16:02:33


ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธ์ุ |

ในส่วนทีก่ ล่าวมานี้ ผมพยายามระลึกภาพความหลังต่างๆ ให้ เป็นพื้นฐาน เพื่อจะได้เปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างกับการปรับ โครงสร้างสังคมชนบทในปัจจุบัน ซึ่งจะวิเคราะห์ให้เห็นต่อไป โดยสรุป ภาพของการเปลี่ยนแปลงในยุคที่เราเรียกว่ายุค พัฒนาหรือการพัฒนา­—ที่จริงการพัฒนาที่เราเรียกกันในสมัยก่อน ก็คือการเปลี่ยนแปลงการผลิตให้เป็นทุนนิยมนั่นแหละ แต่เรามักไป เรียกกันเองว่าการพัฒนา เพราะเป็นการมองทีเ่ น้นเฉพาะด้านการผลิต ที่ถูกดึงเข้าสู่ระบบทุนนิยม—ผมพบเห็นการเปลี่ยนแปลงผ่านความ ขัดแย้งและความรุนแรงในท้องถิ่นต่างๆ โดยเฉพาะความสัมพันธ์ ระหว่างชาวบ้านกับรัฐและทุน ส่วนมากผมก็มักจะดูเพียงเท่านี้ ซึ่ง แสดงถึงความพยายามจะทําความเข้าใจกระบวนการเปลี่ยนแปลง ดังกล่าวว่ามีทั้งการเอารัดเอาเปรียบและความไม่เป็นธรรมอย่างไร ระหว่างคนที่มีความสามารถในการเข้าถึงทุนที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ ผมยั ง พบว่ า ปั ญ หาเหล่ า นี้ นํา ไปสู่ ก ารทํ า ลาย ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วย จากภาพที่เผยให้เราเห็นใน ระยะต่อๆ มา ในช่วง 40 ปีของการพัฒนาที่ผ่านมา เราได้ทําลายป่า ไป 40 เปอร์เซ็นต์พอดี นั่นคือ ท่ามกลางการพัฒนาแบบทุนนิยม ถ้า มาดูในด้านทรัพยากรธรรมชาติ จะพบว่าป่าหายไปปีละ 1 เปอร์เซ็นต์ หรือ 3 ล้านไร่ จากทีเ่ ราเคยมีพนื้ ทีป่ า่ 60 เปอร์เซ็นต์ของพืน้ ทีป่ ระเทศ ก่อนจะมีแผนพัฒนาฯ เราก็เหลือพื้นที่ป่าเพียง 20 เปอร์เซ็นต์ นี่คือ ภาพของ 40-50 ปีที่ผ่านมา ซึ่งแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าเราพัฒนา ไปท่ามกลางการสูญเสียอย่างมาก หากมองย้อนกลับไป ผมคิดว่าเรามีข้อจํากัดอยู่บ้างในวิธี มองหรือวิธีศึกษาในขณะนั้น ตรงที่เราค่อนข้างจะมองกระบวนการ เปลี่ ย นแปลงของสั ง คมชนบทไปในทิ ศ ทางเดี ย ว โดยมองการ เปลี่ยนแปลงทุกอย่างไปในทิศทางที่จะต้องเป็นทุนนิยมเท่านั้น เรา - 199 60

.indd 199

3/3/2554 16:02:33


| การปรับโครงสร้างชนบทไทยกับปัญหาที่มองไม่เห็น

มองไม่เห็นหนทางเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นเลย จะถูลู่ถูกังอย่างไร ก็ต้อง ไปทางนี้ทางเดียว ในตอนนัน้ ตัวผมเองจะมุง่ มองเฉพาะในด้านของการวิเคราะห์ ว่ า ชาวนาจะดิ้ น รนต่ อ สู้ เ พื่ อ การดํ า รงอยู่ อ ย่ า งไร ในโลกที่ กํ า ลั ง เปลี่ยนแปลงเข้าสู่ระบบทุนนิยม แต่ขณะนั้นผมยังมองไม่เห็นความ เชื่อมโยงกับสิ่งที่เราพูดกันมากในปัจจุบัน นั่นก็คือความเชื่อมโยงกับ กระบวนการโลกาภิวัตน์ 2. การปรับโครงสร้างชนบทในพลังขับเคลื่อนเชิงซ้อน: โลกาภิวัตน์และเสรีนิยมใหม่ ในวั น นี้ ผ มจะหั น มาวิ เ คราะห์ ก ระบวนการเปลี่ ย นแปลง โครงสร้างสังคมชนบทที่กําลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน โดยผมพยายามจะชี้ ให้เห็นว่า การจะเข้าใจกระบวนการปรับเปลี่ยนโครงสร้างชนบท ซึ่ง ปัจจุบันเราไม่ได้ใช้คําว่ากระบวนการเปลี่ยนแปลงสังคมเกษตรกรรม (Agrarian Transformation) อย่างเดียว เดี๋ยวนี้เรื่องเดียวกันนี้มีภาษา ที่ใช้เรียกกันอยู่หลายคํา แต่ที่น่าสนใจคือ การปรับโครงสร้างชนบท (Rural Restructuring) ซึง่ เริม่ ใช้ศกึ ษาสังคมชนบทในประเทศทุนนิยม ก้าวหน้าในช่วงต้นทศวรรษ 1990 (Newby, 1989 และ Marsden, et. al, 1993) แนวการศึกษาการปรับโครงสร้างชนบทนี้ เมื่อเราปรับมาใช้ ศึกษาสังคมชนบทไทย เราต้องเริ่มต้นด้วยการตั้งคําถามว่า ยังมีพลัง อะไรอีกบ้างที่อยู่เบื้องหลังการปรับโครงสร้างชนบท ซึ่งเมื่อก่อนนั้น ผมยังมองไม่เห็น ในขณะนี้ทุกคนจะพูดถึงกระบวนการโลกาภิวัตน์ - 200 60

.indd 200

3/3/2554 16:02:33


ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธ์ุ |

พูดถึงความคิดเสรีนิยมใหม่ ถ้าเราไม่เอาพลังเหล่านี้เข้ามาพูดเลย ก็จะทําความเข้าใจการปรับโครงสร้างในปัจจุบันไม่ได้ ฉะนั้น ผมจึง พยายามจะตั้งคําถามเพิ่มเติมต่อไปอีกว่า กระบวนการโลกาภิวัตน์ และอุดมการณ์เสรีนยิ มใหม่ เป็นพลังในการขับเคลือ่ นเศรษฐกิจชนบท ได้อย่างไร ความคิ ด แบบเสรี นิ ย มใหม่ จ ะมี วิ ธี ม องกระบวนการทาง เศรษฐกิจด้วยการเน้นกลไกตลาดเสรี ซึ่งเดี๋ยวนี้ไร้พรมแดนมากขึ้น และทํางานอยู่ในยุคที่เราไม่เรียกว่ายุคการพัฒนาแล้ว แต่เราเรียกว่า ยุคหลังการพัฒนา (Post-Development)­—เดีย๋ วนีท้ กุ อย่างต้องใส่ Post กันทัง้ นัน้ Post อะไรต่างๆ ถ้าไม่ใส่กอ็ าจจะแลดูไม่นา่ สนใจ—ผูท้ ยี่ ดึ ถือ ความคิดแบบนีจ้ งึ พยายามจะสร้างภาพราวกับว่ากลไกตลาดเป็นกลไก ที่ทํางานได้ด้วยตัวเอง และสามารถขยายตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Harvey, 2005) แต่ในตอนนี้เราเริ่มจะรู้ซึ้งแล้ว ตั้งแต่พบว่าระบบ เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาพังด้วยวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ (Hamburger Crisis) เพราะการปล่อยให้เสรีกันอย่างไร้ขอบเขต จนกระทั่งระบบ เศรษฐกิจพัง จากการปล่อยให้ขายอะไรก็ขายได้ แม้กระทัง่ หนี้ มีของดี จะขายก็ไม่ว่า แต่ของเสียเอามาขายได้ ผมก็งงเหมือนกัน จนทําให้ ระบบเศรษฐกิจพังไปแล้ว ตอนนี้เราจึงเริ่มจะไม่ค่อยเชื่อการทํางาน ของตลาดเสรีกันอย่างเต็มที่นัก แม้ว่าความคิดทั่วๆ ไปยังคงยืนหยัด อยู่บนความเชื่อที่ว่าตลาดทํางานได้เอง ถ้าปล่อยให้ทุกอย่างเสรีแล้ว จะดีเอง คำ�อธิบายทํานองนีม้ กั จะถูกนํามาใช้ในการอธิบายการทํางาน ของระบบเศรษฐกิจทั้งหลาย ในเบื้องต้น ผมอยากจะฝากข้อคิดไว้ประการหนึ่ง ก่อนที่เรา จะลงไปเจาะลึกถึงกระบวนการปรับโครงสร้างชนบทในยุคหลังการ พั ฒ นา ทั้ ง นี้ เ พราะในอดี ต ผมมั ก จะมองเศรษฐกิ จ ชนบทเฉพาะ ในด้านการผลิต แต่โลกในยุคโลกาภิวัตน์และเสรีนิยมใหม่นี้ เราคงจะ - 201 60

.indd 201

3/3/2554 16:02:33


| การปรับโครงสร้างชนบทไทยกับปัญหาที่มองไม่เห็น

มองเฉพาะด้านการผลิตด้านเดียวไม่ได้ ผมขอเสนอว่าเราคงจะต้อง หันมามองเศรษฐกิจทั้งด้านการผลิตและด้านการบริโภคควบคู่กันไป (Nevins and Peluso, eds., 2008) การบริ โ ภคในที่ นี้ ไ ม่ ไ ด้ ห มายถึ ง แค่ ก ารกิ น อาหารเท่ า นั้ น การบริ โ ภคในทางเศรษฐศาสตร์ นั้ น เราก็ ค งจะทราบกั น ดี แ ล้ ว ว่ า หมายถึงการบริโภคหลายอย่าง เช่น การบริโภคความพอใจ แต่ในทาง สังคมศาสตร์หรือทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาที่ผมสังกัดอยู่ การ บริโภคนั้น เรายังหมายถึงทั้งในเรื่องการบริโภคความหมาย ความรู้ และอุดมการณ์ โดยเฉพาะในยุคนี้ ทีเ่ รียกว่าเป็นยุคบริโภคนิยม เพราะ คนเราไม่ได้บริโภคเฉพาะวัตถุ แต่เรายังบริโภคความหมายด้วย เช่น การบริโภคยี่ห้อของสินค้า ดังนั้น ถ้าเราศึกษาโดยไม่ได้มองทั้งด้าน การผลิตและการบริโภคร่วมกัน เราอาจจะไม่สามารถเข้าใจการปรับ โครงสร้างดังกล่าวได้อย่างครอบคลุมเพียงพอ เมื่ อ เราหั น มามองดู ก ารทํ า งานของระบบเศรษฐกิ จ แบบ ทุนนิยม-เสรีนิยมใหม่ ผ่านการพัฒนาแบบไร้พรมแดน หรือในปัจจุบัน มีลักษณะเป็นการพัฒนาภูมิภาค (Regionalization of Development) เราก็จะพบว่าชนบทนั้นจะเรียกว่าอยู่โดดเดี่ยวไม่ได้อีกแล้ว เพราะ เดี๋ยวนี้มีการเชื่อมต่อกันระหว่างชนบทกับสิ่งต่างๆ มากมาย ถ้าเป็น เรื่องของสินค้า ชนบทก็ผูกติดอยู่ในห่วงโซ่ของสินค้า (Commodity Chain) ซึ่งต้องเชื่อมโยงกัน ทั้งการค้าชายแดน การค้าข้ามพรมแดน และยังเกี่ยวข้องกับโครงข่ายอื่นๆ อีกมากมาย ทั้งด้านพลังงานและ นํ้า (Power Grid และ Water Grid) เครือข่ายเหล่านี้ถือเป็นภาพ ปรากฏที่เรามองเห็นกันอยู่ทั่วไป นอกจากนั้นยังมีการท่องเที่ยวข้าม พรมแดน การแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรข้ามพรมแดน เช่น การไปสร้างเขื่อนในประเทศเพื่อนบ้าน แล้วซื้อพลังงานไฟฟ้ากลับมา สิ่งเหล่านี้แสดงถึงการเชื่อมโยงด้านต่างๆ มากมาย (Hirsch, 2001) - 202 60

.indd 202

3/3/2554 16:02:33


ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธ์ุ |

รวมทั้งการอพยพแรงงานข้ามชาติ ทั้งหลายทั้งปวงนี้เป็นภาพที่เรา คุ้นเคยในปัจจุบัน ก่อนทีจ่ ะวิเคราะห์และถกเถียงกันต่อไป ผมอยากจะขอออกตัว เสียก่อนในตอนนี้ว่า งานศึกษาต่างๆ ที่ผมนํามาใช้เป็นกรณีศึกษา ในการตั้งข้อสังเกตนั้น ผมไม่ได้ศึกษาวิจัยด้วยตนเอง ในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา สถาบันที่ผมสอนอยู่มีหลักสูตรบัณฑิตศึกษาทั้งปริญญา โทและปริญญาเอก ผมก็ได้อาศัยงานของนักศึกษาที่ผมดูแล และ บางกรณีผมก็ได้มีโอกาสลงไปดูพื้นที่ศึกษาด้วยตนเอง ในพื้นที่ที่ นักศึกษาลงไปทําวิจัยในประเทศต่างๆ ในภูมิภาคลุ่มนํ้าโขง ซึ่งช่วย เปิดหูเปิดตาให้กับผมอย่างมาก การพูดในวันนี้จึงอาจจะคล้ายๆ กับ เป็นการสังเคราะห์ประเด็นต่างๆ จากข้อมูลที่นักศึกษาพบในการทํา วิทยานิพนธ์ และผมนํามาต่อภาพและประมวลภาพ ผมเพียงแต่เอา ภาพต่างๆ มาปะติดปะต่อต่อกัน โดยนำ�ข้อมูลมาจากวิทยานิพนธ์ของ นักศึกษา จึงอาจจะไม่มีข้อมูลตัวเลขที่ชัดเจน แต่อยากจะนําเสนอ แนวทางและวิธคี ดิ ในการวิเคราะห์ความเปลีย่ นแปลงทีเ่ กิดขึน้ มากกว่า ผมขอเริม่ ด้วยภาพกว้างก่อน ในระดับภูมภิ าค เรามีการติดต่อ ค้าขายข้ามพรมแดนที่เชียงแสน โดยมีเรือสินค้าจากเมืองจีนมาจอด ที่ท่าเรือเชียงแสน (ดู Walker, 1999) ถ้าหากลงไปดูใกล้ๆ เราจะ พบว่าเดี๋ยวนี้คนจากหมู่บ้านก็เฮโลมารับจ้างเป็นคนยกสินค้าที่ท่าเรือ เชียงแสน ถ้าดูเผินๆ การค้าข้ามพรมแดนแบบนั้นก็อาจเห็นว่าเป็น เรื่องดี เพราะแสดงถึงการพัฒนาการค้าขายมากขึ้น เราก็คงจะมั่งคั่ง รํ่ารวยกันต่อไป แต่ภาพเช่นนี้เป็นเพียงภาพปรากฏ และก็ไม่มีหลัก ประกันใดๆ ที่จะชี้ว่าการค้าดังกล่าวจะเป็นทางเลือกใหม่ในการจ้าง แรงงานของคนท้องถิ่น หากเราต้องการทําความเข้าใจให้ลึกซึ้ง เรา คงจะหยุดอยู่แค่ภาพเหล่านี้ไม่ได้ ดังที่ผมได้เกริ่นไว้ตั้งแต่ต้นแล้วว่า ผมจะชอบมองหาภาพหรือปัญหาที่มองเห็นไม่ได้ง่ายๆ มากกว่า ผม - 203 60

.indd 203

3/3/2554 16:02:33


| การปรับโครงสร้างชนบทไทยกับปัญหาที่มองไม่เห็น

จึงพยายามจะมองหาภาพที่คนอื่นยังมองไม่เห็น และก็พยายามจะ มองให้ลกึ ซึง้ ลงไปอีกว่ายังมีอะไรแฝงอยูใ่ ต้ภาพปรากฏเหล่านัน้ อีกบ้าง ในพื้ น ที่ เ ชี ย งแสนนั้ น ก็ มี ง านวิ ท ยานิ พ นธ์ ข องนั ก ศึ ก ษาที่ ผมเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาเช่นกัน เขาทําเรื่อง “วาทกรรมการพัฒนา ในกรณีศึกษาวาทกรรมเกี่ยวกับปลาบึก” (พิพัฒน์, 2552) ตอนแรก ผมก็สงสัยว่าจะทําทําไม แต่พอเขาทําเสร็จก็พบว่ามีประเด็นน่าสนใจ เหมือนกัน การศึกษากรณีนี้พูดถึงว่า ขณะที่มีการขยายตัวของการ ค้าทางเรือที่เชียงแสนนั้น ในด้านหนึ่งก็มีการระเบิดเกาะแก่งในแม่นํ้า โขงเพื่อขยายช่องทางเดินเรือ ในอีกด้านหนึ่งก็มีพวกเอ็นจีโอระหว่าง ประเทศที่ดูแลด้านสิ่งแวดล้อมเข้ามาบอกชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ จากการระเบิดแก่งว่าพวกคุณควรจะหยุดจับปลาบึก เพื่อแสดงให้ เห็นว่าเป็นคนมีจิตใจรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งจะช่วยให้สามารถลุกขึ้นมา ปกป้องสิ่งแวดล้อมของพวกเขาได้ ภาพปรากฏที่แสดงออกมานี้ชี้ ให้เห็นถึงการต่อสู้กันของกระแสความคิดตรงข้ามกันสองกระแส คือ ระหว่างกระแสการพัฒนาเศรษฐกิจกับกระแสการอนุรักษ์ธรรมชาติ ทีจ่ ริงแล้วทัง้ สองความคิดก็เป็นกระแสโลกเช่นเดียวกัน คือกระแสการ พัฒนาระดับโลกมาเจอกับกระแสการอนุรักษ์ระดับโลก เมือ่ วาทกรรมทัง้ การอนุรกั ษ์และการพัฒนาต่างก็มากับกระแส โลก ในบริบทเช่นนี้ เราจึงไม่สามารถมองเฉพาะกระแสการผลิตด้าน เดียวได้ เพราะมีกระแสด้านการบริโภคแฝงมาด้วย คือการบริโภคความ คิดเรื่องการอนุรักษ์ แต่ทั้งคู่ก็ไม่ใช่กระแสท้องถิ่น หากเป็นกระแส ระดับโลกที่กระหนํ่าลงมาที่คนท้องถิ่น และส่งผลให้เกิดความขัดแย้ง ทางความคิดขึ้นในท้องถิ่น บางพวกก็อยากมารับจ้าง เพราะเห็นด้วย กับการพัฒนาเศรษฐกิจ ผ่านความคิดในการสร้างสะพานข้ามแม่นํ้า โขงและการสร้างอะไรต่างๆ ให้มากขึ้น แต่อีกพวกหนึ่งก็ตามกระแส อนุรกั ษ์ ผ่านความคิดในการหยุดจับปลาบึก แต่ขณะเดียวกัน ชาวบ้าน - 204 60

.indd 204

3/3/2554 16:02:33


ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธ์ุ |

บางส่วนก็รู้สึกว่า ไม่ว่าจะไปทําอะไรทั้งสองด้านที่มาจากกระแสโลก พวกเขาก็ต้องถูกกีดกันจากการเข้าถึงทรัพยากรอยู่ดี โดยเฉพาะ อย่างยิ่งอดีตพรานจับปลาบึก พวกเขาเห็นว่ากระแสอนุรักษ์จาก ภายนอก ด้านหนึ่งอาจจะดูเหมือนดี แต่จริงๆ แล้วผลก็เหมือนกัน นัน่ คือพวกเขาต้องถูกกีดกันจากทรัพยากร เพราะเขาถูกห้ามไม่ให้จบั ปลาบึก ทั้งๆ ที่พวกเขามีความรู้และภูมิปัญญาในการจับปลาบึก และ เป็นความรู้ที่สะสมกันมานานแล้ว ภายใต้การต่อสู้กันของวาทกรรมที่ขัดแย้งกันในระดับโลก พวกพรานจับปลาบึกจึงพยายามแสดงอัตลักษณ์ของพวกเขาด้วยการ เรียกร้องต่อรองเพือ่ จับปลาบึกต่อ ผมก็สงสัยว่าต่อรองทําไม การแสดง อัตลักษณ์ในการต่อรองเหล่านีถ้ อื เป็นการช่วงชิงสิทธิและอํานาจในการ จัดการทรัพยากร ในขณะที่การพัฒนาภูมิภาคและกระแสการอนุรักษ์ ทั้งหลายพยายามเข้ามาดึงอํานาจในการจัดการทรัพยากรออกไป จากคนในท้องถิ่น ชาวบ้านจึงต้องหยิบยกเอาวาทกรรมปลาบึกมาใช้ ต่อรอง เพือ่ ตอกยาํ้ ว่าทาํ ไมเขาจึงยังต้องจับปลาบึกอยู่ ทัง้ ๆ ทีค่ นทัว่ ไป อาจจะมองว่าพวกเขาควรอนุรกั ษ์ปลาบึกและอะไรต่างๆ อีกก็วา่ กันไป ทัง้ นี้ พรานจับปลาบึกกลับมองว่ากระแสอนุรกั ษ์จากภายนอก ไม่ตรงกับความคิดของพวกเขา เพราะพวกเขาไม่ได้ตะบีต้ ะบันจับปลา บึก กว่าจะจับได้ พวกเขาต้องจุดธูปบูชา ต้องทําพิธกี รรมหลายๆ อย่าง ปีหนึ่งก็จับได้ 3-4 ตัว ไม่ใช่จับแล้วหมดไป คนจับปลาก็ต้องมีความรู้ ในการจัดการทรัพยากร พูดง่ายๆ ก็คือ การหยิบยกวาทกรรมการจับ ปลาบึกมาตอบโต้ ถือเป็นเรื่องที่ชาวบ้านพยายามจะแสดงตัวตนว่า พวกเขาก็มีปัญญาที่จะดูแลทรัพยากรของพวกเขาเอง โดยไม่ต้องให้ วาทกรรมการอนุรกั ษ์จากภายนอกมาเทีย่ วสัง่ สอน หรือวาทกรรมการ พัฒนามาชี้ทางออก ความขัดแย้งของวาทกรรมดังกล่าวจึงชี้ให้เห็น ว่า กระแสวาทกรรมจากภายนอกไม่ได้หมายความว่าจะเอื้อหรือเกิด - 205 60

.indd 205

3/3/2554 16:02:33


| การปรับโครงสร้างชนบทไทยกับปัญหาที่มองไม่เห็น

ประโยชน์แก่ท้องถิ่นเสมอไป คนในท้องถิ่นบางส่วนอาจจะมองเห็น เป็นอย่างอื่น เพราะวาทกรรมเหล่านั้นอาจจะมากีดกันสิทธิของคน ในท้องถิ่น สรุ ป ก็ คื อ ภาพของตลาดเสรี ใ นด้ า นต่ า งๆ ที่ ป รากฏขึ้ น ในระดับท้องถิ่นมักจะสร้างผลกระทบเชิงลบอยู่เสมอ จนเราต้องตั้ง คําถามว่า ตลาดเสรีทํางานได้เองทั้งหมดจริงหรือ เราคงต้องมองทั้ง ด้านภาพปรากฏ คือสิ่งที่เรามองเห็นว่ากําลังเปลี่ยนแปลง ไปพร้อมๆ กับปัญหาที่มองไม่เห็น เมื่อมองทั้งสองด้านแล้ว เราจะพบว่าตลาด เสรีที่ทํางานได้จริงๆ นั้นต้องมีบทบาทของภาครัฐและมีเรื่องของ อุดมการณ์หรือวัฒนธรรมทางเศรษฐกิจเข้ามาสนับสนุนค่อนข้างมาก การเปลี่ยนแปลงต่างๆ จึงมักจะแฝงอยู่ในกระบวนการเชิงซ้อน ถ้า มองเฉพาะเชิงเดีย่ วดังเช่นทีผ่ มเคยมองในอดีต ก็จะมองไม่เห็นปัญหา บางอย่าง ดังนั้น เราคงต้องมองกระบวนการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันว่า มีพลังขับเคลื่อนหลายๆ อย่างซ้อนๆ กันอยู่ ทั้งการขายสินค้า การ บริโภคอุดมการณ์และความหมายต่างๆ ซึ่งกระบวนการที่ช่วยให้ ตลาดทํางานได้นั้นไม่ได้ทํางานเฉพาะในด้านของการผลิตหรือกลไก ตลาดอย่างเดียว แต่ยังทํางานผ่านวาทกรรม ทั้งวาทกรรมการพัฒนา และวาทกรรมการบริโภค ซึ่งผมหมายถึงการครอบงําทางความรู้หรือ อุดมการณ์ ตรงนี้ผมพยายามจะชี้ให้เห็นว่า ความเข้าใจในเรื่องการปรับ โครงสร้างชนบทต้องศึกษาอย่างเชื่อมโยงกับกระบวนการเคลื่อนไหว ของระบบโลกาภิวัตน์และเสรีนิยมใหม่ ซึ่งแสดงออกมาในภาพใหญ่ ของการพัฒนาในภูมิภาค

- 206 60

.indd 206

3/3/2554 16:02:33


ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธ์ุ |

3. การปฏิรูปที่ดินที่ขับเคลื่อนด้วยตลาด: ความยอกย้อนของอํานาจรัฐและวาทกรรมความรู้

คนส่วนมากจะมองว่านักมานุษยวิทยาศึกษาเฉพาะหมู่บ้าน ที่มักจะเรียกกันว่า “หมู่บ้านของฉัน” หรือมุ่งมองดูเฉพาะระดับย่อยๆ ซึ่งก็มีส่วนถูกอยู่บ้าง แต่ในฐานะที่ผมเป็นนักมานุษยวิทยา ผมอยาก จะถกเถียงว่าเราไม่ได้จํากัดตัวเองอยู่กับชุมชนเล็กๆ เท่านั้น จริงๆ แล้วสิง่ ทีเ่ ราสนใจมากกว่าก็คอื บริบทหรือเงือ่ นไขทีม่ ากระทาํ ต่อชุมชน หรือท้องถิน่ เหล่านัน้ เพือ่ จะได้เข้าใจภาพของชนบททีม่ จี ดุ เน้นคมชัด เราจึงต้องมองอย่างมีบริบท ถ้ามองดูภาพท้องถิ่นที่ไร้บริบท ก็จะไม่ เข้าใจภาพนั้นทั้งหมด บริบทสําคัญในปัจจุบันก็คือการเข้ามาของ ความคิดเสรีนยิ มใหม่และกระบวนการโลกาภิวตั น์ ซึง่ สามารถมองเห็น ได้หลายทาง หากมองผ่านระบบตลาดก็อาจจะเห็นได้งา่ ย แต่ในฐานะ ที่ผมศึกษาอยู่ในระดับชุมชนท้องถิ่น ผมจะมองบริบทของภาพใหญ่ เช่นนั้นผ่านการปรับโครงสร้างในการเข้าถึงทรัพยากรในระดับย่อยๆ เพือ่ ตัง้ คาํ ถามกับปัญหาความขัดแย้งในการเข้าถึงทรัพยากร เช่น ทีด่ นิ ป่า นํ้า หรือสภาพแวดล้อม ว่ามีความซับซ้อน ยอกย้อน และพลิกผัน อย่างไรบ้าง พร้อมทั้งถกเถียงเกี่ยวกับบทบาทของอํานาจรัฐและพลัง ของวาทกรรมความรู้ ว่าแอบแฝงสนับสนุนการทํางานของกลไกตลาด เสรีอย่างไร ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ ธนาคารโลก (World Bank) จะมี บทบาทสําคัญมากขึ้นในการกําหนดทิศทางของการปรับโครงสร้าง ในการเข้าถึงทรัพยากร ด้วยการวางแนวทางการปฏิรปู ทีด่ นิ ทีย่ ดึ ตลาด เป็นพลังขับเคลื่อนหลัก (Market-Based Land Reform หรือ MarketDriven Land Reform) รัฐไทยก็รับแนวคิดนี้มาปฏิบัติเช่นเดียวกัน - 207 60

.indd 207

3/3/2554 16:02:33


| การปรับโครงสร้างชนบทไทยกับปัญหาที่มองไม่เห็น

ด้วยการปฏิรูปที่ดินตามแนวทางนี้ในหลากหลายรูปแบบ (Rigg and Sakunee, 2001) ผ่านกระบวนการต่างๆ ที่รัฐล้วนให้การสนับสนุน นั บ ตั้ ง แต่ ก ระบวนการแรก คื อ “การเปลี่ ย นทรั พ ย์ สิ น ให้ เ ป็ น ของ ปัจเจกชน” โดยการเร่งรัดออกเอกสารสิทธิต์ า่ งๆ เช่น โฉนดและ สปก. ซึ่งเป็นภาพที่เราคุ้นเคยกันดี กระบวนการที่สองคือ “การเปลี่ยน ที่ดินให้เป็นสินค้า” ซึ่งในปัจจุบันกําลังขยายตัวอย่างมาก ผ่านการ ทําไร่ขนาดใหญ่หรือสวนป่าพืชพาณิชย์ (Plantation) ในรูปของสวน ยางพาราหรือสวนปาล์มนํ้ามัน หรือเปลี่ยนไร่พืชอาหารให้เป็นพืช พลังงาน ซึ่งถือเป็นการปฏิรูปที่ดินรูปแบบหนึ่ง ด้วยการเปลี่ยนที่ดิน ให้ เ ป็ น สิ น ค้ า มากขึ้ น แต่ ไ ม่ ไ ด้ ห มายความว่ า เปลี่ ย นที่ ดิ น โดยตรง หากทําให้ที่ดินนั้นมีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงขึ้น กระบวนการที่สาม คือ “การเปลี่ยนทรัพยากรให้เป็นทุน” ผ่านการสร้างเขื่อน เมื่อสร้าง เขือ่ นมาปิดกัน้ แม่นาํ้ ทําให้นาํ้ กลายเป็นพลังงาน โดยการผลิตไฟฟ้าที่ สามารถนํามาขายและเปลี่ยนสภาพกลายเป็นทุนด้วย กระบวนการ ต่างๆ ดังกล่าวจึงแสดงให้เห็นถึงพลังขับเคลือ่ นของกลไกตลาดภายใต้ การสนับสนุนของรัฐ ที่พยายามปรับเปลี่ยนทรัพยากรให้มีมูลค่า และ กลายเป็นทุนในที่สุด (Anan and Hirsch, 2010) ในกรณีของประเทศไทย ผมจะขอยกตัวอย่างการปฏิรูปที่ดิน ที่มีตลาดเป็นพลังขับเคลื่อน ผ่านการขยายตัวของสวนยางพาราที่ กําลังแพร่หลายมากขึ้น จากเดิมที่มีอยู่เฉพาะในภาคใต้ เดี๋ยวนี้ไม่ว่า จะไปทางไหน ไม่ว่าจะเป็นทางอีสานหรือทางเหนือ พื้นที่ตามสองข้าง ถนน จากน่าน พะเยา ลําปาง จนถึงเชียงใหม่ เราจะเห็นสวนยางพารา ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ดตลอดเส้นทาง การขยายตัวของสวนยางพารา จึงเป็นตัวอย่างของปรากฏการณ์อย่างหนึ่งของการเปลี่ยนทรัพยากร ส่วนรวม (ที่ดินในป่า) ให้กลายเป็นสินค้า เพราะสวนยางพาราเหล่านี้ ส่วนหนึง่ ก็ขยายตัวเข้าไปในพืน้ ทีป่ า่ ด้วย แต่การจะเข้าใจปรากฏการณ์ - 208 60

.indd 208

3/3/2554 16:02:33


ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธ์ุ |

ดั ง กล่ า วในฐานะที่ เ ป็ น กรณี ตั ว อย่ า งของการปฏิ รู ป ที่ ดิ น ที่ มี ต ลาด เป็นพลังขับเคลื่อนได้นั้น เราจะต้องมองย้อนกลับไปในกระบวนการ จัดการป่าของรัฐ เพราะการปฏิรปู เช่นนีไ้ ม่ได้ปรากฏเป็นนโยบายอย่าง เป็นทางการโจ่งแจ้ง แต่เป็นรูปแบบหนึ่งของรัฐในการสนับสนุนการ ขยายตัวของตลาดทางอ้อม ซึ่งแสดงถึงกระบวนการย้อนกลับไปมา ของการขยายอํานาจรัฐเหนือทรัพยากร ในระยะแรก รั ฐ ได้ พ ยายามขยายอํ า นาจเข้ า ไปในพื้ น ที่ ที่ ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ซึ่งเรียกว่า “กระบวนการขยายอํานาจรัฐเหนือ พืน้ ที”่ (Territorialization) ด้วยการประกาศให้พนื้ ทีว่ า่ งเปล่าเป็นป่าไม้ ประเภทต่างๆ เช่น ป่าสงวนและอุทยานแห่งชาติ เพื่อสงวนรักษา พื้นที่ป่าไว้ (Vandergeest and Peluso, 1995) โดยไม่ให้ใครเข้ามาใช้ ประโยชน์ทงั้ นัน้ แต่ในปัจจุบนั เรากลับพบว่าสวนป่าพืชพาณิชย์ขนาด ใหญ่ผุดขึ้นอย่างรวดเร็ว และบ้างก็ขยายตัวเข้าไปในพื้นที่ป่าเหล่านั้น โดยเฉพาะป่าในพื้นที่ชายขอบของชนบทในภาคเหนือและภาคอีสาน ในพืน้ ทีเ่ ดียวกันนี้ หากเป็นกลุม่ คนท้องถิน่ ทีต่ อ้ งการจะปลูกพืชสาํ หรับ ยังชีพ เช่น ปลูกข้าวไร่ ซึง่ ไม่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจใดๆ เพราะไม่ได้ นําไปขาย เจ้าหน้าที่ของรัฐจะจับกุมทันที ด้วยข้อหาว่าเป็นผู้บุกรุกป่า ทัง้ ๆ ทีก่ ารทาํ ไร่ขา้ วเป็นระบบการเกษตรทีด่ าํ รงอยูใ่ นพืน้ ทีป่ า่ มาแต่ดงั้ แต่เดิม ในเกือบทุกประเทศในภูมภิ าคลุม่ นํา้ โขง รัฐจะมีนโยบายกีดกัน และจํากัดการปลูกข้าวไร่บนที่ดอนและที่สูง ขณะเดียวกัน ประเทศ เหล่ า นี้ ต่ า งก็ ป ล่ อ ยให้ ก ารทํ า สวนป่ า พื ช พาณิ ช ย์ โดยเฉพาะสวน ยางพารา ขยายตัวเข้าไปในเขตป่าอย่างกว้างขวางทั้งสิ้น (Duncan, ed., 2004) ขณะที่รัฐกีดกันคนในพื้นที่ไม่ให้ปลูกข้าวไร่ เจ้าหน้าที่ของ รัฐกลับมีท่าทีวางเฉย และปล่อยให้ใครก็ได้เข้าไปใช้พื้นที่ป่าเพื่อปลูก ยางพารา แม้จะเป็นคนภายนอกพืน้ ทีก่ ต็ าม เพราะยางพารากําลังเป็น - 209 60

.indd 209

3/3/2554 16:02:33


| การปรับโครงสร้างชนบทไทยกับปัญหาที่มองไม่เห็น

พืชพาณิชย์ยอดนิยม ซึ่งมีมูลค่าทางเศรษฐกิจและมีราคาในตลาดสูง มาก จากความต้องการของตลาดโลกที่มีสูงขึ้น โดยเฉพาะตลาดของ ประเทศจีน (Barney, 2008) พูดง่ายๆ ก็คือ รัฐให้การสนับสนุนการ ใช้พื้นที่ป่าปลูกยางพาราอย่างไม่เป็นทางการ และในบางครั้งรัฐก็อาจ จะมีนโยบายส่งเสริมอย่างชัดเจนด้วยซํ้าไป ผ่านการให้เงินสนับสนุน แก่ผปู้ ลูก ซึง่ แสดงว่ารัฐให้การสนับสนุนการทาํ งานของตลาดทางอ้อม การที่รัฐยอมปล่อยให้กลไกตลาดเข้ามาใช้พื้นที่ป่าของรัฐ โดยไม่ได้บังคับใช้อํานาจใดๆ ทั้งๆ ที่เคยสถาปนาอํานาจเหนือพื้นที่ เหล่านัน้ เท่ากับรัฐปล่อยให้เกิดกระบวนการทีเ่ รียกว่า “การยกเลิกการ ใช้อํานาจรัฐที่มีอยู่เหนือพื้นที่” (De-Territorialization) กระบวนการ เช่นนี้จึงโต้แย้งความเข้าใจผิดๆ ที่ว่าตลาดทํางานได้ด้วยตัวเองอย่าง ชัดเจน เพราะเงื่อนไขที่อยู่เบื้องหลังบ่งบอกอย่างชัดเจนว่ารัฐได้เข้า มามีบทบาทอย่างมากในการสนับสนุนการทํางานของตลาดทางอ้อม ด้วยการงดการบังคับใช้กฎหมายในบางกรณี เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อ กลไกตลาดทีเ่ ชือ่ มโยงกับตลาดโลก (Nevins and Peluso, eds., 2008) รัฐไม่ได้ให้เหตุผลอย่างตรงไปตรงมาว่าทําไมรัฐจึงสนับสนุน การปลูกยางพาราและการทํางานของตลาดทางอ้อม แต่รฐั จะอ้างความ ชอบธรรมบนพื้นฐานของอุดมการณ์ความรู้บางอย่างที่นิยามการปลูก ข้าวไร่ว่าเป็นความรู้ที่ล้าหลัง เมื่อเปรียบเทียบกับการปลูกยางพารา ซึ่งถือว่าเป็นความรู้ที่ก้าวหน้า ตามนัยยะดังกล่าว การปลูกพืชจึง ไม่ได้เป็นเพียงเรื่องของเทคโนโลยีในการผลิตเท่านั้น แต่ยังแฝงไว้ ด้วยอุดมการณ์ของความรูบ้ างอย่าง ซึง่ ช่วยให้รฐั สามารถนํามาใช้อา้ ง ได้วา่ การปล่อยให้ปลูกยางพาราในป่าเท่ากับส่งเสริมการพัฒนา เพราะ เป็นการใช้ความรู้ที่ก้าวหน้ากว่าการทําไร่ข้าว แต่ที่จริงแล้ว เหตุผลที่ อยู่เบื้องหลังก็คือการสนับสนุนกลไกตลาด ส่วนข้ออ้างเรื่องความรู้ที่ อยู่เบื้องหน้านั้นเป็นเพียงความพยายามครอบงําหรือการสร้างมายา- 210 60

.indd 210

3/3/2554 16:02:33


ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธ์ุ |

คติอย่างหนึ่ง เพราะเป็นเพียงการประเมินความก้าวหน้าจากด้านการ สร้างมูลค่าในเชิงพาณิชย์เท่านั้น ในกรณีของการขยายตัวของการ ปลูกยางพาราในประเทศลาว รัฐจะสนับสนุนด้วยการสร้างวาทกรรม ว่าด้วยป่าเสื่อมโทรม เพื่อสนับสนุนให้นายทุนจีนได้สัมปทานเข้าไป ปลูกยางพาราในพื้นที่ป่าเหล่านั้น (Barney, 2008) ชาวบ้ า นที่ ตั้ ง ถิ่ น ฐานอยู่ ใ นพื้ น ที่ ป่ า คงจะเข้ า ใจเบื้ อ งหน้ า เบื้องหลังในการครอบงําความรู้ดังกล่าวของรัฐเป็นอย่างดี พวกเขา จึงนาํ มาใช้ตอ่ รองกับรัฐด้วยการเข้าร่วมทาํ สวนยางพาราตามแนวทาง การส่งเสริมของรัฐ เพื่อที่จะใช้เป็นข้ออ้างในการปลูกข้าวไร่ซ้อนลงไป หากดูเผินๆ สวนยางพาราของชาวบ้านก็เหมือนสวนยางพาราทั่วๆ ไป แต่ถ้าเข้าไปดูใกล้ๆ ก็จะพบพืชชนิดอื่นๆ ถูกปลูกซ้อนอยู่ในสวน นั้นด้วย เราอาจเห็นต้นยางพาราในสวนก็จริง แต่หากมองดูดีๆ ใต้ ต้นยางพาราก็จะมีกอข้าวไร่ผสมอยู่ด้วย ผมเคยถามชาวบ้านในที่ ต่างๆ ทั้งในเวียดนามและลาว ว่าทําไมถึงต้องปลูกพืชผสมผสาน เช่นนี้ ชาวบ้านมักบอกกับผมว่า ถ้าเขาปลูกข้าวไร่อย่างเดียว เขาก็จะ ถูกจับด้วยข้อหาทําไร่เลือ่ นลอย ทัง้ ๆ ทีเ่ ป็นไร่หมุนเวียน แต่ถา้ พวกเขา ปลูกยางพาราลงไปในพื้นที่เดียวกัน เขากลับไม่ถูกจับ แม้จะปลูกข้าว ไร่ผสมอยู่ด้วยก็ตาม ชาวบ้านจึงเริ่มปลูกยางพาราไว้ก่อน พอปลูก ยางพาราแล้วก็ช่วยให้เขาปลูกข้าวได้ด้วย (Anan and Hirsch, 2010) หากมองดูเผินๆ การทาํ สวนยางพาราในป่าทีก่ าํ ลังแพร่หลาย อยูใ่ นขณะนี้ อาจจะมองได้วา่ เป็นการเดินตามกระแสตลาดโลก แต่เมือ่ มองอย่างเฉพาะเจาะจงก็จะพบว่า การปลูกยางพาราในแต่ละพื้นที่ ยังอาจมีความซับซ้อนแฝงอยู่ด้วย เพราะรัฐบาลของประเทศต่างๆ มองว่าการปลูกยางพาราเป็นความทันสมัย และมองการปลูกข้าวไร่ ว่าล้าหลัง กรณีที่ชาวบ้านต้องหันไปปลูกยางพารา จึงเป็นความ พยายามต่อรองให้ได้พื้นที่ปลูกข้าวโดยไม่ถูกจับ เพราะหากปลูก - 211 60

.indd 211

3/3/2554 16:02:34


| การปรับโครงสร้างชนบทไทยกับปัญหาที่มองไม่เห็น

ข้าวไร่อย่างเดียวจะถูกจับหรือถูกข่มขู่ด้วยความรุนแรงหลายอย่าง บางครั้งชาวบ้านในภาคเหนือของไทยถึงกับบอกว่า เจ้าหน้าที่รัฐจะ นัง่ เฮลิคอปเตอร์และถือปืนมาขับไล่ กรณีเช่นนีแ้ สดงว่ารัฐจะบังคับใช้ อํานาจเหนือพื้นที่อย่างจริงจัง (Territorialization) ก็เฉพาะกับการ ใช้พื้นที่ป่าที่ไม่เอื้อกับตลาดเท่านั้น เช่น การห้ามไม่ให้ชาวบ้านปลูก ข้าวไร่ไว้กนิ เองในพืน้ ทีป่ า่ ของรัฐ แต่รฐั กลับยกเลิกการบังคับใช้อาํ นาจ เหนือพื้นที่ (De-Territorialization) เพื่อสนับสนุนตลาดทางอ้อม เช่น ยอมให้ปลูกยางพาราได้ในพื้นที่เดียวกันกับที่ห้ามปลูกข้าวไร่ เมื่ อ ก่ อ นเรามั ก จะมองการเปลี่ ย นแปลงในชนบทเป็ น เส้นตรง คือจากการผลิตแบบยังชีพก็กลายมาเป็นการผลิตเพื่อตลาด เราจะเห็นการพัฒนาเฉพาะที่เดินไปข้างหน้าอย่างเดียว สําหรับการ ปรับโครงสร้างชนบทในปัจจุบัน ถ้ามองเช่นนั้นจะไม่สามารถเข้าใจ กระบวนการเปลี่ยนแปลง เพราะการเปลี่ยนแปลงมีลักษณะย้อนไป ย้อนมา นอกจากกระบวนการขยายอํ า นาจรั ฐ เหนื อ พื้ น ที่ แ ละ กระบวนการยกเลิกการบังคับใช้อํานาจรัฐเหนือพื้นที่ เพื่อปล่อยให้ ตลาดทาํ งานได้ ในกรณีของการทาํ สวนยางพาราในป่า ในหลายๆ กรณี ยังมีกระบวนการที่รัฐหันมาสถาปนาอํานาจรัฐกลับเข้าไปในพื้นที่ใหม่ อีกครั้ง (Re-Territorialization) หลังจากยกเลิกไปแล้ว โดยไม่จําเป็น ต้องบังคับใช้อํานาจในลักษณะเดิมก็ได้ เช่น แทนที่รัฐจะสถาปนา อํานาจในรูปของการกาํ หนดให้เป็นพืน้ ทีป่ า่ สงวนเช่นแต่กอ่ น รัฐอาจจะ บังคับใช้อาํ นาจเหนือพืน้ ทีด่ ว้ ยการบังคับเชิงนโยบาย หมายความว่ารัฐ อาจมีนโยบายส่งเสริมให้ปลูกพืชชนิดอื่นแทนที่พืชชนิดเดิม ตัวอย่าง ทีเ่ ห็นได้ชดั เจนในขณะนีก้ ค็ อื การทีร่ ฐั หันมาส่งเสริมให้ใช้พนื้ ทีป่ า่ เพือ่ ปลูกพืชอุตสาหกรรม เช่น ยูคาลิปตัส เพื่อใช้เป็นเยื่อกระดาษ และพืช ทดแทนพลังงาน เช่น ปาล์มนํ้ามัน เป็นต้น - 212 60

.indd 212

3/3/2554 16:02:34


ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธ์ุ |

ผมหยิ บ ยกกรณี ข องการขยายตั ว ของพื ช พาณิ ช ย์ เ หล่ า นี้ ก็เพื่อเสนอข้อถกเถียงว่า ตลาดไม่ได้ทํางานด้วยตัวเองทั้งหมด แต่ นโยบายรัฐได้เข้าไปโอบอุม้ พร้อมทัง้ นําอุดมการณ์ครอบงําเรือ่ งความ รู้ที่ก้าวหน้ากว่ามาสนับสนุน โดยอ้างว่าเป็นการพัฒนาพื้นที่ล้าหลัง (Civilizing the Margins) แต่ทั้งหลายทั้งปวงก็เพื่อผลักดันการทํางาน ของตลาดโลกให้เข้าไปในพื้นที่ชายขอบ ซึ่งเป็นพื้นที่ชนบทห่างไกล (Duncan, ed., 2004) จึงแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า รัฐในอนุภมู ภิ าค ลุ่มนํ้าโขงต่างอ้าแขนรับอุดมการณ์เสรีนิยมใหม่อย่างเต็มที่ แต่ภาพ เช่นนี้เป็นปัญหาที่มองไม่เห็นอย่างชัดเจน เพราะเป็นกระบวนการที่ แอบแฝงบทบาทของรัฐอย่างซับซ้อน และยังประกอบด้วยอุดมการณ์ ครอบงําปิดทับไว้อีกชั้นหนึ่ง ภายใต้อิทธิพลครอบงําของอุดมการณ์เสรีนิยมใหม่ รัฐทุกรัฐ จะพยายามสถาปนามุมมองแบบของรัฐขึ้นมา (Scott, 1998) ซึ่งให้ ความสําคัญกับกลไกตลาดและวาทกรรมความรู้ในระบบตลาดมาก ขึ้นเรื่อยๆ ผ่านกระบวนการสถาปนาอํานาจเหนือพื้นที่และทรัพยากร ในระยะหลังๆ มานี้ รัฐต่างๆ จึงมักจะกลับหลังหันมาสถาปนาอํานาจ รัฐในพื้นที่หรือทรัพยากรใหม่อีกครั้ง (Re-Territorialization) ซึ่งเห็น ได้อย่างชัดเจนจากโครงการต่างๆ ในการเปลี่ยนทรัพยากร (นํ้า) ให้ เป็นทุน (Biggs, 2008) โดยเฉพาะการสร้างเขื่อนกั้นแม่นํ้าหลายสาย ในอนุภูมิภาคลุ่มนํ้าโขงเพื่อผลิตไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นเขื่อนนํ้าเทิน 2 ในลาว (Lawrence, 2009) หรือเขื่อนนํ้าเซซานในเวียดนาม (Hirsch and Wyatt, 2004) เป็นต้น ตัวอย่างที่มีขนาดใหญ่มากคือกรณีของรัฐจีนตอนใต้ ซึ่งมี โครงการสร้างเขื่อนกั้นแม่นํ้าโขงในมณฑลยูนนานถึง 11 เขื่อน เขื่อน แรกทีส่ ร้างเสร็จแล้วคือเขือ่ นมัน่ หวาน (Manwan) และขณะนีม้ ี 3 เขือ่ น ที่สร้างเสร็จแล้ว การที่รัฐไปลงทุนสร้างเขื่อนจํานวนมากปิดกั้นแม่นํ้า - 213 60

.indd 213

3/3/2554 16:02:34


| การปรับโครงสร้างชนบทไทยกับปัญหาที่มองไม่เห็น

ก็เพื่อเปลี่ยนนํ้าให้เป็นพลังงานไฟฟ้า และนําไปขายเป็นสินค้า พร้อม ทั้ ง สะสมเป็ น ทุ น ต่ อ ไป การสร้ า งเขื่ อ นจึ ง เท่ า กั บ เป็ น การเปลี่ ย น ทรัพยากรส่วนรวมให้เป็นทุน แต่กก็ ลับเป็นการกีดกันชาวบ้านจํานวน มากในการใช้ประโยชน์จากแม่นํ้า ในมุมมองแบบรัฐ รัฐจะไม่สนใจการใช้ประโยชน์ที่ไม่เอื้อต่อ ตลาด เพราะรัฐมีเป้าหมายชัดเจนในการเข้าไปช่วยเสริมการทํางาน ของตลาดทุนนิยมในการเปลี่ยนทรัพยากรต่างๆ ให้เป็นทุนมากขึ้น และใช้วาทกรรมของความรู้ที่ตั้งอยู่บนความคิดเรื่องระดับของการ พั ฒ นาและประสิ ทธิภ าพของเทคโนโลยีเชิงเดี่ยว เพื่อสร้างความ ชอบธรรมให้กับโครงการทั้งหลาย โดยไม่ให้ความสําคัญกับความ หลากหลายของระบบความรู้อื่นๆ รวมทั้งความรู้พื้นบ้าน เขื่อนปากมูลในประเทศไทยก็เป็นตัวอย่างของการกลับหลัง หันของรัฐอีกกรณีหนึ่ง เพื่อสถาปนาอํานาจรัฐเหนือทรัพยากรนํ้า อี ก ครั้ ง หลั ง จากที่ ก่ อ นหน้ า นี้ เ คยถอนตั ว ออกมา และปล่ อ ยให้ ตลาดเข้าไปใช้พื้นที่ป่าเพื่อปลูกพืชพาณิชย์อย่างเปิดกว้าง ในด้าน หนึ่ง การย้อนกลับมาสถาปนาอํานาจรัฐเหนือทรัพยากร ได้เปลี่ยน ทรัพยากรส่วนรวมให้กลายเป็นทุน ขณะที่ในอีกด้านหนึ่งก็เท่ากับ แย่งชิงทรัพยากร และกีดกันไม่ให้ชาวบ้าน โดยเฉพาะชาวประมง เข้า ถึงทรัพยากรของส่วนรวม ซึ่งกลายเป็นชนวนของความขัดแย้งอัน ยาวนานระหว่างรัฐกับชาวบ้าน โดยชาวบ้านต่อสู้เรียกร้องให้รัฐเปิด เขื่อน เพื่อให้ปลาจากแม่นํ้าโขงว่ายเข้ามาในแม่นํ้ามูลมากขึ้น และ เป็นทรัพยากรประมงสําหรับชาวบ้าน (Foran and Kanokwan, 2009) แต่รัฐต้องการเข้าไปเปลี่ยนทรัพยากรให้เป็นทุน เพื่อให้กลุ่มทุนและ ตลาดได้ประโยชน์ กรณีตัวอย่างของการสร้างเขื่อนในประเทศต่างๆ ล้วนแสดงว่ากระบวนการขยายอํานาจรัฐเหนือพื้นที่ในชนบทไม่ได้ เปลี่ยนแปลงไปในทางเดียว แต่มีการปรับเปลี่ยนแบบยอกย้อนไปมา - 214 60

.indd 214

3/3/2554 16:02:34


ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธ์ุ |

โดยสรุปแล้ว การปรับโครงสร้างชนบทในปัจจุบนั นัน้ เกีย่ วข้อง เชื่อมโยงอย่างเป็นเนื้อเดียวกันกับการปรับโครงสร้างในการเข้าถึง ทรัพยากรอย่างชัดเจน ผ่านการปฏิรปู ทีด่ นิ ทีข่ บั เคลือ่ นด้วยตลาด ซึง่ แสดงถึงอิทธิพลของกระบวนการโลกาภิวัตน์และอุดมการณ์เสรีนิยม ใหม่ ที่เข้ามาเคลื่อนไหวและทํางานอยู่ในระดับท้องถิ่นหรือในพื้นที่ ชนบท จนสร้างปัญหาให้กบั การเข้าถึงทรัพยากรต่างๆ ในฐานะทีเ่ ป็น รากฐานสาํ คัญของชีวติ ชนบท ภาพตรงนีเ้ องทีผ่ มเรียกว่าเป็นปัญหาที่ มองไม่เห็น เพราะที่ผ่านๆ มาเรามักจะพูดถึงกระบวนการโลกาภิวัตน์ และอุดมการณ์เสรีนิยมใหม่อย่างกว้างๆ เท่านั้น แต่เรามองไม่เห็น หรือยังมองไม่ค่อยออกว่า กระบวนการโลกาภิวัตน์และอุดมการณ์ เสรีนิยมใหม่ทํางานในพื้นที่ชนบทได้อย่างไร และเกี่ยวข้องกับอํานาจ และบทบาทของรัฐอย่างไร เพราะถูกปิดบังไว้ด้วยการครอบงําความรู้ ในรูปของวาทกรรมการพัฒนาต่างๆ ซึง่ มีลกั ษณะซับซ้อนและยอกย้อน กลับไปกลับมาอย่างมาก ปัญหาทีม่ องไม่เห็นนีส้ ว่ นหนึง่ เกิดจากความเข้าใจผิดว่าตลาด ทํางานได้ด้วยตัวเอง ทั้งที่จริงๆ แล้วรัฐมีบทบาทอยู่เบื้องหลังในการ สถาปนาอํานาจเข้าไปปรับโครงสร้างในการจัดการทรัพยากรอย่างมาก ตามแนวทางของกระบวนการโลกาภิวัตน์และอุดมการณ์เสรีนิยมใหม่ จนกลายเป็นพลังขับเคลื่อนให้กลไกตลาดทํางานได้ในระดับท้องถิ่น แต่ รั ฐ ไม่ ไ ด้ ส ถาปนาอํ า นาจในด้ า นที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การผลิ ต เท่ า นั้ น หากยังสนับสนุนในด้านการบริโภคอุดมการณ์ครอบงําและวาทกรรม ความรู้ ต่ า งๆ ด้ ว ย ซึ่ ง มี ผ ลในการกี ด กั น กลุ่ ม ชนต่ า งๆ ที่ เ คยใช้ ทรัพยากรอยู่เดิม ไม่ให้สามารถเข้าถึงทรัพยากรเหล่านั้น พร้อมๆ กัน นั้นก็ส่งผลให้เกิดการช่วงชิงทรัพยากรอย่างเข้มข้นรุนแรง จนทําให้ ชาวบ้านในท้องถิน่ สูญเสียอาํ นาจในการจัดการทรัพยากร (Nevins and Peluso, eds., 2008) เช่น กรณีของวาทกรรมปลาบึก การทําไร่ข้าว - 215 60

.indd 215

3/3/2554 16:02:34


| การปรับโครงสร้างชนบทไทยกับปัญหาที่มองไม่เห็น

สวนยางพารา และการสร้างเขื่อน ดังที่ได้กล่าวถึงไปแล้ว ซึ่งสร้างทั้ง ความไม่มั่นคงและความเสี่ยงในการดํารงชีวิตให้กับคนชายขอบและ กลุ่มชาติพันธ์ุต่างๆ มากมาย 4. จากชาวนามาเป็นแรงงานและย้อนกลับมาเป็นชาวนา: ปัญหาของมนุษย์ล่องหน ในปั จ จุ บั น การปรั บ โครงสร้ า งชนบทยั ง เกี่ ย วพั น กั บ การ ปรับเปลี่ยนบทบาทของชาวนาด้วย ตามแนวความคิดที่เคยยึดถือ กันมา ทฤษฎีมาร์กซิสต์มักจะวิเคราะห์ไปในทิศทางที่ว่า ถ้าชนบท เปลีย่ นแปลงเข้าสูร่ ะบบทุนนิยมมากขึน้ ชาวนาก็จะถูกเบียดขับออกไป จากภาคการเกษตรเพิม่ ขึน้ เรือ่ ยๆ จนหมดบทบาทไปในทีส่ ดุ ประเด็น คําถามสาํ หรับชาวนาไทยในขณะนีก้ ค็ อื ชาวนาจะถูกผลักออกจากภาค เกษตรกรรมทั้งหมดจริงหรือ แต่คําถามที่น่าสนใจกว่านั้นก็คือ ชาวนา ทีย่ งั คงอยูใ่ นชนบทเหล่านัน้ จะเป็นเกษตรกรรายย่อยอยูเ่ ช่นเดิมได้อกี หรือไม่ หากเรามองดูอย่างผิวเผิน ภาพชนบทที่เราเห็นในปี พ.ศ. 2552 ก็อาจจะไม่ต่างจากภาพในช่วงปี พ.ศ. 2523-2524 เท่าใดนัก เพราะเราจะพบว่าชาวบ้านในชนบทจํานวนมากก็ยงั คงมีบทบาทอย่าง แข็งขันอยูใ่ นภาคเกษตรกรรมเช่นเดิม แม้จะมีชาวบ้านบางส่วนหันมา รับจ้างทํางานนอกภาคการเกษตรมากขึ้นก็ตาม แต่หากเราลองมอง เจาะลึกลงไปดูในชนบทอย่างจริงๆ จังๆ เราอาจพบว่าชนบทในปัจจุบนั ไม่เหมือนเดิมเสียทีเดียว เมือ่ ก่อนตอนทีผ่ มลงไปศึกษาหมูบ่ า้ นในภาค เหนือ ชาวบ้านที่มาทํานาหรือมาเกี่ยวข้าวนั้น เรารู้ทันทีว่าพวกเขา - 216 60

.indd 216

3/3/2554 16:02:34


ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธ์ุ |

มาทํางานด้วยเงือ่ นไขอะไรบ้าง ทัง้ มาช่วยแบบเอามือ้ เอาวัน (ลงแขก) และมารับจ้าง ในปัจจุบันก็อาจมีความสัมพันธ์หลายๆ อย่างผสม ผสานกันอยู่ ทั้งลงแขกผสมรับจ้างผสมคนเช่านา แต่ไม่ใช่เจ้าของนา ทาํ เองทัง้ หมด ซึง่ แสดงว่ามีลกั ษณะของความสัมพันธ์ทางด้านแรงงาน หลายแบบ ขณะเดียวกัน เราจะเห็นว่าในพื้นที่เพาะปลูกใกล้เคียงกัน ก็มีการปลูกพืชหลายๆ ชนิดผสมกัน พื้นที่ในชุมชนชนบทบางส่วนก็ ถูกเปลี่ยนไปเป็นโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร โรงเลี้ยงไก่ และโรงเลี้ยง หมูขนาดใหญ่ พูดง่ายๆ ก็คือ พื้นที่ชนบทมีความซับซ้อนมากขึ้น ทั้งในด้านรูปแบบของการผลิตและความสัมพันธ์ทางด้านแรงงาน ซึ่ง นักวิชาการบางท่านมองการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ในแง่ที่แสดงถึงพลวัต และความยืดหยุ่นของสังคมชาวนา เพราะเห็นชาวนามีทางเลือกที่ หลากหลายมากขึ้น (ยศ, 2546) แต่ภาพความซับซ้อนในการดํารงอยู่ของชาวนาในลักษณะ ต่างๆ ดังกล่าว ไม่ได้มีนัยยะว่าแรงเบียดขับชาวนาออกจากภาค การเกษตรได้หดหายไปหมดแล้ว ผมอยากจะชี้ให้เห็นว่า ถ้าเรา ขับรถไปแถบภาคเหนือ เราจะพบป้ายโฆษณาขายที่นาปรากฏให้เห็น อยู่มากมาย ทั้งๆ ที่ที่นาเหล่านั้นมีต้นข้าวขึ้นอยู่เต็มท้องทุ่ง ซึ่งแสดง ว่ายังคงใช้เป็นพืน้ ทีเ่ กษตรกรรมอยูอ่ ย่างเต็มที่ ภาพพวกนีไ้ ม่ใช่วา่ อยู่ ดีๆ ผมจะไปจ้องหานะครับ ภาพแบบนี้มีให้เห็นอยู่อย่างดาษดื่น ไม่ใช่ ว่านักวิชาการพยายามหาเรื่อง ซึ่งภาพเช่นนี้ก็อาจถือเป็นสัญญาณ ตอกยํ้าว่ากระบวนการเบียดขับชาวนาออกจากภาคการเกษตร (DePeasantization) และกลายเป็นคนงานรับจ้างนอกภาคการเกษตร ยังคงดํารงอยู่ ไม่ได้หดหายไปไหน (Rigg, et. al., 2008) เดี๋ยวนี้เราค่อนข้างจะแตกตื่นกับการซื้อขายที่ดินในชนบท กันมาก และกําลังกลายเป็นกระแสที่ขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวาง ภาพปรากฏของการขายทีน่ าก็มใี ห้เห็นมากมาย จนเกิดความตระหนก - 217 60

.indd 217

3/3/2554 16:02:34


| การปรับโครงสร้างชนบทไทยกับปัญหาที่มองไม่เห็น

ตกใจกับการเปลี่ยนมือในการถือครองที่ดิน ส่วนหนึ่งก็กลัวจะเกิดการ สูญเสียพื้นที่เกษตรกรรม บางส่วนก็รู้สึกวิตกกังวลว่าที่นาจะตกไปอยู่ ในมือของนายทุนต่างชาติ เพราะเกิดความรูส้ กึ แบบชาตินยิ มจ๋าขึน้ มา จึงต้องการปกป้องให้ที่นาคงอยู่ในมือของคนไทย ในความเป็นจริง สถานการณ์เช่นนีบ้ ง่ บอกเราว่า การใช้พนื้ ที่ เกษตรกรรมกาํ ลังเปลีย่ นแปลงไปในทิศทางทีซ่ บั ซ้อนมากขึน้ อีกทัง้ ยัง เกิดการช่วงชิงและการกีดกันการเข้าถึงที่ดินในภาคการเกษตร และที่ สําคัญก็คือ กําลังเกิดการขยายตัวของความสัมพันธ์ทางการผลิตแบบ ใหม่ๆ และรูปแบบการใช้ทดี่ นิ ทีห่ ลากหลายมากขึน้ ในภาคเกษตรกรรม ซึง่ ตกอยูภ่ ายใต้อทิ ธิพลของตลาดค้าขายอาหารของโลก โดยเรามักจะ เรียกรวมๆ ว่าอุตสาหกรรมการเกษตรหรืออุตสาหกรรมอาหาร (AgroFood Industry) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจการเกษตร (Agribusiness) อะไรทาํ นองนี้ ซึง่ ได้ขยายตัวเข้ามาเต็มพืน้ ทีช่ นบทแล้ว และกําลังเกิด ขึ้นในพื้นที่ชนบทต่างๆ ทั่วโลก (Raynolds, 1997) เราจึงไม่สามารถ สรุปอย่างง่ายๆ แบบเหมารวมว่าชาวต่างชาติเข้ามาเขมือบที่ดินของ เราหมดแล้ว เหตุทเี่ กิดการเปลีย่ นแปลงการใช้ทดี่ นิ ในภาคการเกษตรอย่าง สับสนวุ่นวายดังกล่าว ก็เพราะที่ผ่านมา รัฐปล่อยให้การใช้ประโยชน์ และการซื้อขายที่ดินอยู่ในการกํากับของกลไกตลาดเท่านั้น โดยไม่ เคยคิดทีจ่ ะเพิม่ กลไกเชิงสถาบันอืน่ ใดเข้าไปตรวจสอบหรือถ่วงดุลกับ ตลาดเพื่อควบคุมและจัดการกับปัญหาดังกล่าวเลย แล้วเราจะมาบ่น อะไรกันแบบนี้ คงจะไม่ได้ประโยชน์อันใดมากนัก อันที่จริง ประเด็น สําคัญที่เราจะต้องพิจารณาอยู่ตรงคําถามที่ว่า อํานาจการตัดสินใจ ในการจัดการทีด่ นิ อยูท่ ผี่ ผู้ ลิตทีแ่ ท้จริงหรือไม่ หรือควรจะอยูใ่ นลักษณะ อย่างไร ความวิตกกังวลต่างๆ ข้างต้นชี้ว่า เราอาจจะตั้งคําถามไม่ถูก ต้อง ไม่วา่ จะเป็นคําถามว่าควรปล่อยให้ตา่ งชาติมาซือ้ ทีด่ นิ หรือทีน่ าได้ - 218 60

.indd 218

3/3/2554 16:02:34


ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธ์ุ |

หรือไม่ อย่างไร เพราะเราได้ปล่อยให้กลไกตลาดบงการการใช้และการ ซื้อขายที่ดินอย่างอิสระสบายใจอยู่แล้ว ภาพความสับสนวุ่นวายที่เรา กําลังประสบอยู่ในปัจจุบัน จึงเป็นผลพวงของการไร้กลไกเชิงสถาบัน ที่จะต้องทํางานควบคู่ไปกับกลไกตลาดมากกว่า ภาพตัวอย่างของความสับสนวุ่นวายที่กําลังเกิดขึ้นในพื้นที่ เกษตรกรรมนัน้ ปรากฏให้เห็นอยูม่ ากมาย เดีย๋ วนีเ้ ราจะพบการเกิดขึน้ ของเกษตรอุ ต สาหกรรมหลายรู ป แบบ เช่ น สวนส้ ม ขนาดใหญ่ ที่ เชียงใหม่ ใกล้ๆ อําเภอฝาง ได้ขยายตัวออกไปสุดลูกหูลูกตา บางครั้ง ก็รกุ ลํา้ พืน้ ทีป่ า่ ซึง่ เพิม่ มลพิษของสารเคมีจนกระทบต่อสภาพแวดล้อม อย่างมาก ชาวบ้านทีท่ าํ งานในสวนส้มก็ลว้ นแต่เป็นคนงานรับจ้างจาก หมูบ่ า้ นใกล้เคียงหรือคนงานพลัดถิน่ จากประเทศเพือ่ นบ้าน แม้แต่การ ทําไร่ข้าวโพดก็อาจจะไม่ได้อยู่ในการควบคุมของเกษตรกรรายย่อย เสมอไป เพราะบางส่วนต้องตกอยู่ในระบบการผลิตแบบพันธสัญญา ทีเ่ ชือ่ มโยงกับบริษทั ธุรกิจการเกษตรขนาดใหญ่ ซึง่ เปลีย่ นให้ชาวบ้าน กลายเป็นเพียงคนงานรับจ้างบนที่ดินของตนเอง หากมองขึ้นไปบนดอย ก็ยังไม่สามารถรอดพ้นจากอิทธิพล ของอุตสาหกรรมการเกษตร ในพื้นที่ไร่เดิมของชาวเขาที่เคยทําไร่ หมุนเวียนแถบดอยแม่สลอง จังหวัดเชียงราย เดี๋ยวนี้ก็ถูกเปลี่ยนไป เป็นไร่ชาขนาดใหญ่ ซึ่งมีคนไต้หวันมาลงทุนแทบทั้งนั้น แต่ก็ไม่เห็น เราโวยวายอะไรกัน ทั้งๆ ที่ได้ช่วงชิงทรัพยากรไปจากกลุ่มชาติพันธ์ุ ซึง่ ในปัจจุบนั ก็เปลีย่ นบทบาทเป็นคนงานรับจ้างในไร่ชากันเกือบหมด แล้ว (Sturgeon, 2005) ชาวบ้านในชนบทนัน้ ถูกผนวกเข้าเป็นแรงงานรับจ้างในระบบ ตลาดทุนนิยมซึ่งเชื่อมโยงกับกระบวนการโลกาภิวัตน์มาระยะหนึ่ง แล้ว (Ritchie, 1996) ผ่านการไปทํางานต่างประเทศ (พรรณภัทร, 2551) การขยายตัวของอุตสาหกรรมเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร - 219 60

.indd 219

3/3/2554 16:02:34


| การปรับโครงสร้างชนบทไทยกับปัญหาที่มองไม่เห็น

รูปแบบต่างๆ รวมทั้งวิสาหกิจขนาดเล็กในชนบท (ธัญลักษณ์, 2550) นอกจากนั้น ชาวนาบางส่วนก็ยังเข้าไปเกี่ยวข้องกับการจ้างงานแบบ ยืดหยุ่นอีกด้วย เพราะว่าชาวนาไม่ได้ถูกผลักให้หลุดออกไปจากภาค การเกษตรอย่างเต็มตัว ชาวนาจํานวนมากยังคงอาศัยอยู่ในหมู่บ้าน ชนบท ถ้าไม่ได้ไปทํางานนอกภาคการเกษตร ก็ยังสามารถรับงาน มาทําที่บ้านในระบบรับเหมาช่วงได้ (กนกพร, 2542) ซึ่งเป็นตัวอย่าง ของแรงงานนอกระบบที่กําลังเพิ่มจํานวนมากขึ้น แต่เรากลับมอง ไม่เห็นตัวตนของพวกเขา ซึ่งทําให้พวกเขาต้องตกอยู่ในสภาพที่เป็น เสมือนมนุษย์ล่องหน ภาพต่างๆ เหล่านี้ชี้ชวนให้มองว่าชาวบ้านในชนบทไทย ปัจจุบนั ต้องเกีย่ วข้องอยูก่ บั การจ้างงานทีม่ รี ปู แบบหลากหลาย เดีย๋ วนี้ หากเข้าไปดูในหมู่บ้าน พอเช้าขึ้นมาก็จะมีแรงงานรับจ้างทยอยขึ้นรถ ออกไปทาํ งานในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ บ้างก็ตงั้ อยูใ่ กล้ๆ หมูบ่ า้ น บ้างก็ตั้งอยู่ไกลออกไป พอตกเย็น คนงานเหล่านี้ก็กลับมาซุกหัวนอน ในหมู่บ้าน ด้วยเหตุนี้เอง วิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของลูกศิษย์ผม คนหนึ่งจึงเรียกหมู่บ้านเช่นนี้ว่าเป็น “หมู่บ้านหอพัก” (Dormitory Village) (Gray, 1990) งานวิจัยของนักศึกษาปริญญาโทของผมอีก 2 คน ซึ่งกําลัง ลงไปศึกษาภาคสนามอยู่ในพื้นที่อําเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เขาพบว่าชาวบ้านจํานวนมากได้หลั่งไหลเข้าไปสู่การรับจ้างในภาค การผลิตแบบใหม่ ซึ่งเป็นโรงงานอุตสาหกรรมการเกษตรของนายทุน ชาวไต้หวันที่เข้ามาตั้งอยู่ในหมู่บ้าน โรงงานเหล่านี้เป็นตัวอย่างที่ดี ของการปรับโครงสร้างการผลิตในชนบท ซึ่งมีอุตสาหกรรมอยู่ควบคู่ กับการเกษตร ในหมู่บ้านที่มีการปลูกข้าวโพดฝักอ่อนหรือถั่วเหลือง เดี๋ยวนี้ก็มีโรงงานมาตั้งอยู่ข้างหมู่บ้าน พอเก็บเกี่ยวเสร็จก็ส่งเข้า โรงงานเพื่อนําไปแช่แข็งทันที สําหรับส่งออกไปขายที่ประเทศญี่ปุ่น - 220 60

.indd 220

3/3/2554 16:02:34


ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธ์ุ |

และที่ข้างๆ โรงงานแห่งนี้ก็ยังมีการปลูกข้าวอยู่ ชาวบ้านจึงมีชีวิตอยู่ ในทัง้ โรงงานและท้องทุง่ แต่กเ็ ป็นชีวติ ทีม่ สี ภาพเป็นเพียงสินค้า แม้วา่ เดี๋ยวนี้ชาวบ้านจะไม่ต้องออกไปทํางานในโรงงานที่กรุงเทพฯ แล้ว เพราะโรงงานมาตั้งอยู่ข้างๆ หมู่บ้าน ทํานองเดียวกันกับที่เคยเกิดขึ้น มาก่อนหน้านี้ในภาคกลางแถบจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ยศ, 2539) นอกจากนั้น โรงงานเหล่านี้ยังเข้ามารับซื้อผลผลิตทางการ เกษตรจากชาวบ้าน ด้วยการควบคุมผ่านการผลิตแบบพันธสัญญา ซึง่ โรงงานจะมากาํ หนดให้ชาวบ้านปลูกพืชทีเ่ ขาต้องการ ในพืน้ ทีแ่ ถบนี้ จะปลูกทั้งข้าวโพดและมันฝรั่ง โดยโรงงานจะออกทุนบางส่วนให้ก่อน เมื่อเก็บเกี่ยวแล้ว ชาวบ้านก็จะต้องส่งไปขายให้โรงงาน ซึ่งราคา รับซือ้ จะเป็นราคาทีห่ กั ทุนของโรงงานออกไปแล้ว โดยราคารับซือ้ อาจ มีมลู ค่าใกล้เคียงกับค่าจ้างแรงงานเท่านัน้ จนทําให้ชาวบ้านกลายเป็น เสมือนแรงงานรับจ้างบนที่ดินของตนเอง ขณะที่โรงงานก็เป็นเสมือน เจ้าของที่นาในหมู่บ้านทางอ้อม โดยไม่จําเป็นต้องซื้อที่นาโดยตรง อย่างทีค่ นไทยหลายคนวิตกกังวล พูดง่ายๆ ก็คอื อํานาจการตัดสินใจ ในการผลิตอยู่ที่เจ้าของโรงงานซึ่งเป็นคนต่างชาติมาตั้งนานแล้ว โดยสรุ ป ภาพของการปรั บ โครงสร้ า งในชนบทที่ ป รากฏ ในภาคเหนือ เริม่ แสดงให้เห็นว่าระบบการผลิตมีความซับซ้อนมากขึน้ โดยจะมองการเกษตรและการทํางานรับจ้างนอกภาคการเกษตรแบบ คู่ตรงข้ามกันไม่ได้ เพราะในความเป็นจริงมีความซับซ้อนมากกว่านั้น ผมจึงเสนอให้ต้องมองกระบวนการเชิงซ้อน เพราะจะมองในทางใด ทางหนึง่ ไม่ได้ กระบวนการปรับโครงสร้างนัน้ ไม่ได้เปลีย่ นไปในทิศทาง เดียว แต่อาจย้อนกลับไปกลับมาก็ได้ ผมจึงพยายามจะชี้ให้เห็นภาพ ที่คนไม่ค่อยสังเกต หรือปัญหาที่มองไม่เห็น ด้านหนึ่ง เราอาจมองว่าเกิดการเบียดขับชาวนาออกจาก ภาคการเกษตร และชาวนาเปลี่ยนไปเป็นสินค้าหรือแรงงานรับจ้าง - 221 60

.indd 221

3/3/2554 16:02:34


| การปรับโครงสร้างชนบทไทยกับปัญหาที่มองไม่เห็น

(Proletarianization) ตามแนวคิดแบบมาร์กซิสต์ แต่จริงๆ แล้วก็ไม่ได้ ตรงไปตรงมาอย่างนั้นเสียทีเดียว เราจึงไม่สามารถใช้แนวคิดแบบ มาร์กซิสต์อย่างเดียวได้ พวกมาร์กซิสต์มักจะมองจากแง่มุมของ ทฤษฎีกํากับควบคุม (Regulation Theory) ด้วยการอธิบายให้เห็นว่า ระบบตลาดแบบทุนนิยมเสรีในกระบวนการโลกาภิวตั น์มพี ลังอย่างมาก ในการกาํ กับและควบคุมระบบการผลิตและการจัดการแรงงานในระดับ ท้องถิ่น เช่น การเข้ามาซื้อขายที่ดินในภาคการเกษตร จนเบียดขับ ชาวนาออกไปจากที่นา และเปลี่ยนชาวนาไปเป็นคนงาน ภาพเช่นนี้ แสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในชนบทล้วนตกอยู่ภายใต้ บงการของตลาดมาโดยตลอด (Peck, 1996 และ Harvey, 2005) จนมักจะสรุปกันว่าชาวบ้านในชนบทไทยปัจจุบันมีรายได้ส่วนใหญ่ จากนอกภาคการเกษตร (Rigg, 2004) การอธิบายแบบมาร์กซิสต์ ดังกล่าวมักจะเน้นด้านการผลิต แต่มองข้ามเงื่อนไขเชิงบริบทอื่นๆ ในการพิจารณา จึงมองไม่เห็นว่าการที่ตลาดมีอํานาจกํากับควบคุมได้ ก็เพราะในชนบทยังไร้กลไกเชิงสถาบันอืน่ ๆ อย่างเพียงพอในการกํากับ ดูแลและถ่วงดุลกับกลไกตลาด เราจึงต้องหันมาใช้หลายๆ มุมมองผสมผสานกันไป เพื่อ อธิบายปรากฏการณ์ของการปรับเปลี่ยนโครงสร้างที่เกิดขึ้นในชนบท ยุคนี้ ภาพเบื้องต้นอาจจะมองได้ว่า ตลาดได้เข้ามากํากับและควบคุม การซื้อขายทรัพยากรต่างๆ จนเบียดขับให้ชาวบ้านบางส่วนต้องหัน หน้าเข้าสู่โรงงานและกลายเป็นคนงานรับจ้าง ซึ่งเกิดขึ้นในภาคกลาง ก่อน (ยศ, 2539) แต่ยังมีปัญหาที่มองไม่เห็นอีกหลายอย่าง หากเรา หันมามองในอีกด้านหนึ่ง คือด้านการบริโภค เราอาจต้องยืมความคิด ของ มิเชล ฟูโกต์ (Michel Foucault) เรื่อง “การปกครองชีวญาณ” (Governmentality) มาช่วยอธิบายเพิ่มเติม (อานันท์, 2552) เพราะ คนงานในโรงงานอุตสาหกรรมอาหารทีต่ งั้ อยูใ่ นชนบทเวลานี้ พวกเขา - 222 60

.indd 222

3/3/2554 16:02:34


ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธ์ุ |

ไม่ได้เป็นเพียงแรงงานในภาคการผลิตเท่านัน้ พวกเขายังเป็นผูบ้ ริโภค ด้วย หมายถึงการบริโภคอุดมการณ์และความหมายต่างๆ ในระบบ ทุนนิยม จนถูกครอบงําในเชิงความคิด ทัง้ นีก้ เ็ พราะโรงงานต่างๆ จะมีกลยุทธ์ให้คนงานมีวนิ ยั ในการ ทํางาน เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพจากการทํางานสูงสุด ด้วยการสร้าง แรงจูงใจต่างๆ นานา เช่น ให้เงินเดือนเพิ่ม ให้เบี้ยขยัน และให้ทํางาน นอกเวลา จนทําให้คนงานหลงเข้าใจไปว่าอาชีพรับจ้างใช้แรงงานเป็น ช่องทางที่จะทําให้ชีวิตดีขึ้น เพราะมีช่องทางที่จะได้รับค่าจ้างสูงขึ้น หากขยันทํางาน คนงานจึงยอมรับความคิดเรื่องวินัย (Discipline) ในการทํางานมากำ�กับควบคุมตนเอง จนคนงานต้องตกอยู่ในสภาพที่ เป็นเสมือนทาสของค่าจ้างไปในที่สุด ตามแนวคิดของ คาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) เรื่องการเป็นทาสของความคิด (Fetishism) ซึ่งมาร์กซ์ จะใช้ในแง่ของการเป็นทาสของสินค้า (Commodity Fetishism) (Marx, 1976: 163-177) ในสภาพเช่นนี้ คนงานจึงไม่เป็นตัวของตัวเอง เพราะ ถูกลดทอนความเป็นมนุษย์ให้เป็นเพียงทาสของค่าจ้าง ซึ่งเปรียบ เสมือนเป็นมนุษย์ล่องหนนั่นเอง 5. ปัญหาที่มองไม่เห็นในความยอกย้อน ของการปรับโครงสร้างชนบท การทีเ่ รามองไม่เห็นทัง้ ผูค้ นทีห่ ลากหลายในชนบทและปัญหา ต่างๆ ที่ตามมา ก็เพราะในกระบวนการปรับโครงสร้างชนบทมีความ ซับซ้อนแฝงอยู่มากมาย ในกรณีของการเป็นคนงานรับจ้างในชนบท เราจะพบว่ า คนงานต้ อ งพึ่ ง พาความสั ม พั น ธ์ ต่ า งๆ อย่ า งซั บ ซ้ อ น - 223 60

.indd 223

3/3/2554 16:02:34


| การปรับโครงสร้างชนบทไทยกับปัญหาที่มองไม่เห็น

นอกจากความสัมพันธ์ตามตรรกะของระบบตลาดแล้ว หากคนงาน เข้าไปทํางานในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร ก็ต้องตกอยู่ภายใต้ระบบ อุปถัมภ์ แม้แต่การรับเหมาช่วงเอางานไปทําที่บ้านก็มีความสัมพันธ์ เชิงอุปถัมภ์หลายอย่างซ้อนอยู่ แต่ในความซับซ้อนด้านความสัมพันธ์ ทางการผลิตและการใช้แรงงานเหล่านี้ ยังไร้กลไกเชิงสถาบันอื่นๆ ที่จะมากํากับดูแลและถ่วงดุลให้เกิดความสัมพันธ์ที่เป็นธรรมระหว่าง ผู้เกี่ยวข้องกลุ่มต่างๆ ในระบบการผลิต โดยเฉพาะกลุ่มผู้ใช้แรงงาน ทั้งคนงานและชาวนา จนกระทั่งทําให้เกิดปัญหาที่มองไม่เห็นอย่าง หนึ่ ง ซึ่ ง ภาษาทางเศรษฐศาสตร์ เ รี ย กว่ า เกิ ด ค่ า เช่ า รู ป แบบต่ า งๆ สูงมาก (High rent) ในลักษณะที่เป็นส่วนเกิน (Surplus) ซึ่งถูกดูด ออกมาจากการใช้แรงงาน ผ่านกลไกของความสัมพันธ์ทั้งในระบบ ตลาดและระบบอุปถัมภ์ นอกจากความซับซ้อนแล้ว กระบวนการปรับโครงสร้างชนบท ยังมีลกั ษณะยอกย้อนกลับไปกลับมาอย่างยุง่ เหยิง แม้แต่กระบวนการ เป็นชาวนา (Peasantization) ก็ยอกย้อนไปมา จากเดิมเราเคยเข้าใจ กันว่าชาวนาถูกเบียดขับให้กลายเป็นคนงาน (De-Peasantization) แต่ปรากฏว่าตอนนี้กลับเกิดกระบวนการที่ชาวบ้านหันกลับมาเป็น ชาวนาอีก (Re-Peasantization) ซึ่งทําให้กระบวนการสองอย่างที่ สวนทางกันกําลังเกิดขึ้นซ้อนกันในชนบทพื้นที่เดียวกัน กระบวนการย้อนกลับไปมาเช่นนี้ชี้ให้เห็นว่า ภายใต้การ เชื่อมโยงของท้องถิ่นกับกระบวนการโลกาภิวัตน์ มีเหตุการณ์ที่กลับ ตาลปัตรไปมาจนกระทั่งวุ่นวาย ซึ่งเราไม่เข้าใจและมองไม่เห็น เพราะ เราชอบอธิบายแบบเหมารวมทั่วไป (Generalization) ให้เป็นแบบนั้น แบบนี้ แต่ความเป็นจริงกลับพลิกไปพลิกมา ขึ้นอยู่กับว่าเรามอง ตอนไหน และมองในบริบทไหน จากการทีผ่ มได้ฟงั รายงานการศึกษา ภาคสนามของนักศึกษา ผมพบว่าบางกรณีเป็นแบบนีใ้ นทีห่ นึง่ แต่อกี - 224 60

.indd 224

3/3/2554 16:02:34


ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธ์ุ |

กรณีหนึง่ กลับตาลปัตร ผมก็สงสัยว่าทาํ ไมในชนบทจึงเกิดกระบวนการ สองอย่างย้อนกลับและสวนทางกันเอง ซึ่งผมพบว่ามันเกิดขึ้นคนละ บริบท คนละเงื่อนไข ทําให้ไม่สามารถอธิบายอย่างเหมารวมได้ เราจึง ต้องศึกษากรณีเฉพาะเจาะจงให้มากขึ้น ในหมู่บ้านกรณีศึกษาของนักศึกษาคนหนึ่งที่กําลังทำ�วิจัย ภาคสนามอยู่ ที่ อํา เภอสั น ทราย จั ง หวั ด เชี ย งใหม่ ชาวบ้ า นที่ เ ป็ น คนงานในโรงงานอุตสาหกรรมอาหารจะถูกตีตราให้เป็นคนมีสังกัด เวลามีการจัดงานประเพณีต่างๆ ในหมู่บ้าน คนงานเหล่านี้จะต้อง ใส่ชุดเพื่อแสดงว่าตนเองสังกัดโรงงานไหนเวลาที่อยู่ในขบวนแห่ ชีวิต ของคนขายแรงงานจึงเป็นชีวิตที่เหมือนกับไร้ตัวตน เพราะพวกเขา มีฐานะเป็นเพียงคนของบริษัทใดบริษัทหนึ่งเท่านั้น ตัวตนที่แท้จริง ของพวกเขาหายไป ความเป็นชาวนาหายไป ส่วนการเป็นคนงาน ก็เป็นเพียงสินค้าชนิดหนึ่งที่สามารถซื้อขายกันได้ สภาวะเช่นนี้ถือ เป็นปัญหาหนึ่งที่มองไม่เห็น เพราะเรามองไม่เห็นตัวตนของคนงาน พวกเขาจึงมีสภาพไม่ต่างจากมนุษย์ล่องหน อีกทั้งคนงานเหล่านี้มัก จะเปลี่ยนงานบ่อยมาก แม้พวกเขาจะควบคุมวินัยในการทํางานของ ตนเองผ่านการปกครองชีวญาณได้ดีสักปานใดก็ตาม แต่เมื่อเขาต้อง มาทํางานในห้องเย็นที่เย็นมากๆ เพื่อแช่แข็งอาหารส่งออก แต่ละคน ต้องทํางานอยู่ในห้องเย็นนานมากระหว่าง 8-10 ชั่วโมง คนงานที่เกิด ในเมืองร้อนคงทนได้ไม่นาน พวกเขาจึงต้องเปลี่ยนงานบ่อยเสียจน ไร้ตัวตนที่ชัดเจน การย้ายงานไปมาทําให้ไร้สังกัดชัดเจน และมีสภาพ ไม่ต่างจากการเป็นคนงานนอกระบบนั่นเอง ในหมู่ บ้ า นกรณี ศึ ก ษาของนั ก ศึ ก ษาอี ก คนหนึ่ ง ในอํ า เภอ เดี ย วกั น และอยู่ ไ ม่ ห่ า งจากหมู่ บ้ า นแรกมากนั ก เรากลั บ พบ กระบวนการปรับโครงสร้างชนบทในลักษณะตรงกันข้าม คือแทนที่ ชาวบ้านจะถูกผลักให้กลายเป็นคนงานรับจ้างในโรงงานอุตสาหกรรม - 225 60

.indd 225

3/3/2554 16:02:34


| การปรับโครงสร้างชนบทไทยกับปัญหาที่มองไม่เห็น

ในชนบท ชาวบ้านทีน่ กี่ ลับหันกลับมาเป็นชาวนากันอีกครัง้ แต่การหัน กลับมาเป็นชาวนาครั้งนี้ไม่ได้เป็นชาวนาแบบเดิม ซึ่งหมายความว่า ไม่ได้เป็นชาวนารายย่อยที่มีอํานาจในการตัดสินใจในการผลิตอย่าง อิสระอีกต่อไป ชาวนาในหมู่บ้านนี้จะปลูกมันฝรั่งส่งให้กับบริษัทเลย์ เพือ่ แปรรูปเป็นมันฝรัง่ อบกรอบ ในอดีต หมูบ่ า้ นนีเ้ คยมีโรงบ่มใบยาสูบ แต่ตอนนี้โรงงานอบกรอบมันฝรั่งได้เข้ามาตั้งแทนที่ และเข้ามารับซื้อ มันฝรัง่ จากชาวบ้านโดยตรง ด้วยการจัดความสัมพันธ์ระหว่างโรงงาน กับชาวนาแบบพันธสัญญา ซึ่งทําให้ชาวนามีความมั่นคงในการขาย ผลผลิต แต่ชาวนาก็กลายเป็นผู้ผลิตที่อยู่ในกํากับของนายทุนมากขึ้น และตกอยู่ในสภาพที่ไม่ต่างจากการเป็นคนงานรับจ้าง เมื่อประเมิน จากมูลค่าที่ได้รับจากการขายผลผลิต ทั้งๆ ที่ชาวนาเหล่านั้นจะยัง คงเป็นเจ้าของที่นาอยู่ก็ตาม สถานภาพและบทบาทที่กํ้ากึ่งระหว่าง การเป็นชาวนากับคนงานรับจ้างเช่นนี้ ทาํ ให้พวกเขาเป็นอีกกรณีหนึง่ ของปัญหาทีม่ องไม่เห็นหรือไม่มตี วั ตนทีช่ ดั เจน ซึง่ อาจเรียกได้วา่ เป็น มนุษย์ล่องหนได้เช่นเดียวกัน แม้ชาวบ้านส่วนหนึ่งจะเลือกกลับไปเป็นชาวนาอีกครั้ง แต่ พวกเขาจะไม่มีอิสระอีกต่อไป เพราะต้องกลายเป็นชาวนาที่ปลูกพืช ภายใต้บงการของตลาดโลกมากขึ้น เดี๋ยวนี้ชาวนาในเชียงใหม่และ เชียงรายจํานวนหนึ่งไม่ได้ปลูกข้าวไทยกันแล้ว แต่หันมาปลูกข้าว ญี่ปุ่น ซึ่งส่วนหนึ่งนํามาใช้ทําเหล้าสาเกส่งไปขายที่ประเทศญี่ปุ่น เรา จึงไม่สามารถมองชาวนาแบบโรแมนติกหรือเพ้อฝันได้อกี ต่อไป เพราะ ชาวบ้านไม่ได้เป็นชาวนาแบบเดิมอีกแล้ว พวกเขาจะหันมาปลูกพืช ตามบงการของตลาดที่ให้ราคาสูง เพื่อแสวงหาประโยชน์จากตลาด ให้ได้มากที่สุด แต่ก็อาจจะต้องเปลี่ยนพืชที่ปลูกบ่อยมาก และอาจจะ ไม่ได้ผลตอบแทนเต็มที่หากคาดการณ์ราคาตลาดผิดพลาด ซึ่งเกิด ขึน้ ได้บอ่ ยครัง้ จนชาวนาบางส่วนต้องเลิกเพาะปลูก และหันไปหาทาง - 226 60

.indd 226

3/3/2554 16:02:34


ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธ์ุ |

เลือกอื่นๆ เช่น เข้าร่วมผลิตอุตสาหกรรมอาหาร โดยประกอบกิจการ โรงเลี้ยงไก่ไข่ขนาดใหญ่ เป็นต้น แต่ก็อาจจะต้องทนอยู่กับความเสี่ยง ในตลาดที่มีมากขึ้นไม่แตกต่างกันมากนัก การปรับโครงสร้างชนบทในปัจจุบันจึงแตกดอกออกผลไปใน หลากหลายทิศทาง ทั้งนี้เพราะกระบวนการโลกาภิวัตน์ยังไม่สามารถ กําหนดและควบคุมการผลิตทั้งหมดได้ ขณะเดียวกันก็ไม่ได้ยึดโยง หรือผูกติดกับสถาบันในท้องถิ่นอย่างตายตัว ซึ่งเท่ากับเปิดพื้นที่ให้มี การต่อรองได้ (Hart, 1998) ชาวบ้านบางส่วนจึงสามารถหวนกลับ มาเป็นชาวนาเกษตรอินทรีย์ เพื่อตอบสนองความต้องการของชนชั้น กลางด้วยการผลิตข้าวปลอดสารเคมี เมื่อผมไปเยี่ยมพื้นที่วิจัยภาคสนามของนักศึกษาอีกคนหนึ่ง ที่จังหวัดยโสธร ผมพบว่าชาวบ้านที่ตําบลกุดชุมพยายามหันกลับไป ทํานาข้าวเกษตรอินทรีย์กันอย่างเป็นลํ่าเป็นสัน และรวมตัวกันเป็น เครือข่าย จนสามารถต่อรองกับรัฐ และได้เงินทุนมาสร้างโรงสีขนาด ใหญ่ของชาวนาเอง ในด้านหนึง่ ชาวนากลุม่ นีถ้ อื ว่าเดินไปตามบงการ ของวาทกรรมสิ่งแวดล้อมโลก แต่ในอีกด้านหนึ่ง พวกเขาก็พยายาม ดิ้นรนต่อรองกับตลาดโลกด้วย แม้จะผลิตข้าวอินทรีย์ แต่การผลิต แบบนีก้ ย็ งั ต้องพึง่ พาตลาด ขณะทีช่ าวนายังมีอาํ นาจต่อรองไม่มากนัก เพราะต้องถูกกํากับควบคุมด้วยการต้องมีใบรับรอง (Certify) ซึ่งออก ให้โดยองค์กรนานาชาติ เพื่อรับประกันว่าเป็นข้าวอินทรีย์จริง กว่าจะ ได้รบั ใบรับรอง ชาวนาต้องปลูกภายใต้การควบคุมอย่างเข้มงวดถึง 5-6 ปี เพื่อให้เชื่อแน่ว่าปลอดสารเคมี ชาวนาจึงต้องเผชิญกับความเสี่ยง อย่างมาก เพราะไม่แน่ว่าจะได้ใบรับรอง ขณะเดียวกันก็อาจจะขาย ข้าวได้ราคาไม่ต่างจากข้าวทั่วไป ทั้งๆ ที่ต้องแบกรับต้นทุนมากขึ้น ชาวนาในระบบการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์จึงยังต้องตกอยู่ในสภาวะ ลูกผีลูกคนเช่นเดียวกัน - 227 60

.indd 227

3/3/2554 16:02:34


| การปรับโครงสร้างชนบทไทยกับปัญหาที่มองไม่เห็น

ในชุมชนเดียวกันนัน้ จึงมีชาวนาบางส่วนเลือกหันหลังให้ตลาด และหันกลับมาเป็นชาวนาพึง่ ตนเอง ในกรณีทมี่ เี งือ่ นไขเพียงพอ เพราะ การจะเลือกแนวทางนี้ ชาวนาต้องมีนาอย่างน้อย 20 ไร่ เพือ่ แบ่งไว้ขดุ บ่อและทํากิจกรรมผสมผสานอื่นๆ แต่ชาวบ้านส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 50 ไม่มีที่ดินทํากิน ผู้ที่จะเลือกทางเดินแบบนี้ได้จึงมีอยู่เพียงไม่กี่ราย การเป็นชาวนาพึ่งตนเองก็ลุ่มๆ ดอนๆ เช่นเดียวกัน เพราะชาวนาถูก เบียดขับออกจากที่ดินหรือทรัพยากรไปเกือบหมดแล้ว ส่วนที่เหลือ ก็มีนาน้อยเต็มที มีน้อยเกินกว่าที่จะกลับไปเป็นชาวนาพึ่งตนเองได้ ทั้งหมด พวกเขาจึงยังหนีไม่พ้นความเสี่ยงในระบบตลาดอยู่นั่นเอง ความพยายามของชาวบ้านในชนบทที่จะต่อรองกับตลาด ทําให้พวกเขาต้องเลือกปรับแนวทางในการอยู่ร่วมกับระบบตลาด อย่างหลากหลายและต่อเนื่อง ในกรณีของหมู่บ้านแม่คําปอง อําเภอ สั น กํ า แพง จั ง หวั ด เชี ย งใหม่ ชาวบ้ า นเคยเลื อ กที่ จ ะเป็ น หมู่ บ้ า น ท่องเทีย่ วเชิงนิเวศแบบเปิดให้นกั ท่องเทีย่ วมาพักในบ้านของชาวบ้าน (Home Stay) กรณีนี้อาจจะเป็นทางเลือกใหม่ของชนบท ส่วนหนึ่ง ของการให้บริการ ชาวบ้านต้องขายสินค้าวัฒนธรรมต่างๆ ตั้งแต่การ ทําพิธีสู่ขวัญให้นักท่องเที่ยวชม ตอนเย็นก็จัดให้นักท่องเที่ยวกิน ขันโตก และให้บริการขี่จักรยาน แต่ปัจจุบันก็ปรากฏว่าชาวบ้านที่นี่ ได้เลิกประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวไปแล้ว เพราะนักท่องเที่ยวเริ่ม ไม่ตื่นเต้นกับสินค้าวัฒนธรรม การให้บริการด้านการท่องเที่ยวก็ต้อง ปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ เพราะนักท่องเที่ยวเริ่มเบื่อ และนักท่องเที่ยว ก็มีทางเลือกมาก แม้ชาวบ้านจะมีกลยุทธ์ในการปรับตัวเข้ากับตลาด อย่างหลากหลาย แต่ว่าแต่ละอย่างก็เสี่ยงพอๆ กัน โดยไม่รู้ว่าจะไป รอดหรือไม่ สรุ ป ได้ ว่ า ปั ญ หาต่ า งๆ ที่ ม องไม่ เ ห็ น นั้ น มี ลั ก ษณะหลั ก 3 ประการคือ ประการแรก โครงสร้างการผลิตในชนบทแฝงค่าเช่า - 228 60

.indd 228

3/3/2554 16:02:34


ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธ์ุ |

หรือส่วนเกินไว้สูงมาก (High Rent) จากการที่ชาวนาถูกกีดกันไม่ให้ เข้าถึงทรัพยากร ขณะที่ไร้กลไกเชิงสถาบันอื่นๆ คอยควบคุมและ ถ่วงดุลตลาด ตลอดจนมีการครอบงําอุดมการณ์และความสัมพันธ์ที่ ซับซ้อน จนทําให้มองไม่เห็นการทํางานของกลไกตลาดอย่างชัดเจน ซึ่งส่งผลให้เกิดค่าเช่าแอบแฝงเต็มไปหมด ประการที่สอง ปัญหา ที่ตามมายังทําให้เกิดความเสี่ยงสูงในการดําเนินชีวิต (High Risk) ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงในแง่ของราคาผลผลิต ค่าจ้างแรงงาน รวมทั้ง การที่ อุ ต สาหกรรมเข้ า มาก็ ป ล่ อ ยสารพิ ษ และสร้ า งมลภาวะต่ า งๆ มากมายที่มีอันตรายต่อการดํารงชีวิต ประการสุดท้าย ชาวบ้านเริ่ม สูญเสียตัวตน (High Loss) หรืออยูใ่ นสภาพทีไ่ ร้ตวั ตน ซึง่ หมายถึงการ ไร้อาํ นาจในการควบคุมชีวติ ตนเอง และไร้ศกั ดิศ์ รีของความเป็นมนุษย์ เพราะมีชีวิตแบบลูกผีลูกคน ปรับเปลี่ยนไปมาระหว่างการเป็นชาวนา แบบพันธสัญญากับการเป็นแรงงานนอกระบบที่อยู่ภายใต้การกํากับ ของกระบวนการโลกาภิวัตน์และตลาดแบบเสรีนิยมใหม่ พูดง่ายๆ ก็คือ กระบวนการปรับเปลี่ยนโครงสร้างชนบท ที่กําลังดําเนินอยู่ในชนบทไทยขณะนี้มองไม่เห็นคน ด้วยเหตุนี้เอง คนที่เป็นแรงงานจึงเป็นเพียงแรงงานนอกระบบ ซึ่งเปรียบเสมือน มนุษย์ล่องหนที่ไร้ตัวตน ถึงแม้ร่างกายจะเป็นคน แต่ก็เหมือนเป็น มนุษย์ล่องหน เพราะไม่มีใครเห็นตัวตนของเขา ชาวบ้านจึงไม่รู้จัก ตัวตนของเขาว่าเป็นอย่างไร เมือ่ เขาไร้อาํ นาจต่อรอง เพราะขาดกลไก เชิงสถาบันอื่นๆ ที่จะมาช่วยสร้างความเข้มแข็งในการต่อรองกับพลัง ทางเศรษฐกิจไร้พรมแดนต่างๆ ซึง่ ถาโถมเข้ามาในชนบทอย่างเข้มข้น แรงงานรับจ้างจึงไร้ความมั่นคงในการดํารงชีวิต รวมถึงการไร้ความ มั่นคงทางด้านสภาพแวดล้อม ซึ่งเกิดจากมลภาวะของอุตสาหกรรม ในขณะที่อุตสาหกรรมได้เข้ามาตั้งอยู่ในชนบทและในหมู่บ้าน ซึ่ง ไม่ ไ ด้ เ ป็ น เพี ย งวิ สาหกิ จ ชุ ม ชนเท่ า นั้ น โดยเราอาจจะเรี ยกว่ า เป็น - 229 60

.indd 229

3/3/2554 16:02:34


| การปรับโครงสร้างชนบทไทยกับปัญหาที่มองไม่เห็น

อุตสาหกรรมในชนบท (Rural Industry) ก็ได้ เพราะไม่ได้มีลักษณะ เป็นเพียงหัตถกรรมอีกแล้ว แต่เป็นอุตสาหกรรมทั้งในเชิงเทคโนโลยี และการจัดการเต็มรูปแบบเลยก็ว่าได้ 6. การเมืองของการปรับโครงสร้างชนบท ในจุดตัดของพื้นที่ต่อรอง ปัญหาที่มองไม่เห็นทั้ง 3 ประการข้างต้นนั้นมีความซับซ้อน อย่างมาก และไม่อาจมองเห็นได้อย่างชัดเจนภายใต้ความเข้าใจระบบ ตลาดอย่างที่เรามักจะคิดว่าทํางานได้อย่างเสรี แต่ถ้าเราอยากจะ เรียนรู้ว่าจะมองเห็นปัญหาเหล่านี้ได้อย่างไร วิธีการของผมก็คือ ก่อน อืน่ เราจะต้องมองว่าเป็นปัญหาการเมืองของความสัมพันธ์เชิงอํานาจ ผมจึงขอเสนอให้มองการปรับโครงสร้างชนบทว่าเป็นการเมืองของการ ปรับโครงสร้างที่เกิดขึ้นตรงจุดตัด จุดขัดแย้ง หรือจุดปะทะ ในพื้นที่ ของการต่อรองระหว่างกลุ่มคนต่างๆ ซึ่งมีนัยยะว่าเราจะมองเฉพาะ การปรับโครงสร้างในเชิงเศรษฐกิจอย่างเดียวไม่ได้ แต่ตอ้ งมองทัง้ ด้าน เศรษฐกิจ การเมือง และอุดมการณ์ ซ้อนกันทั้ง 3 ด้านพร้อมๆ กันไป ในปัจจุบัน การปรับโครงสร้างชนบทไทยกําลังดําเนินไปตาม ยถากรรม ในด้านหนึ่งมีพื้นฐานมาจากความเข้าใจของคนส่วนใหญ่ ที่มักจะมองการปรับโครงสร้างด้วยความคิดแบบตลาดเสรี จึงยอมรับ สภาพที่เกิดขึ้น และยังเสริมด้วยทฤษฎีการกํากับควบคุม (Regulation Theory) ที่มักจะมองจากบนลงล่าง (Top-Down) ในแง่ที่ว่าตลาด ระดับโลกมีอิทธิพลอย่างมากในการกํากับการปรับเปลี่ยนโครงสร้าง ระดับท้องถิ่น จนนําไปสู่การครอบงําระบบเศรษฐกิจในชนบทมากขึ้น (Harvey, 2005) - 230 60

.indd 230

3/3/2554 16:02:34


ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธ์ุ |

ขณะที่ในอีกด้านหนึ่งก็จะโต้แย้งกับมุมมองแบบแรก โดยหัน มาให้ความสาํ คัญกับพลังของสถาบันในท้องถิน่ ตามแนวคิดของ คาร์ล โพลันยี (Karl Polanyi) ในหนังสือชื่อ The Great Transformation (1957) ซึง่ โจเซฟ สติกลิตซ์ (Joseph Stiglitz) นักเศรษฐศาสตร์รางวัล โนเบล เป็นคนเขียนคํานําให้กบั ฉบับทีพ่ มิ พ์ใหม่ในปี ค.ศ. 2001 เพราะ ตัวเขาเองก็มีความคิดเห็นคล้อยตามโพลันยี และคัดค้านการเดินตาม กระแสโลกาภิวตั น์แบบหลับหูหลับตา (Stiglitz, 2002) ในหนังสือเล่มนี้ โพลันยีใช้แนวความคิดเรือ่ งการยึดโยง (Embeddedness) โดยถกเถียง ว่าระบบเศรษฐกิจต้องยึดโยงอยู่กับสถาบันในท้องถิ่น ในแง่ที่ตลาด ไม่สามารถทํางานได้อย่างเสรี เพราะต้องโยงอยู่กับโครงสร้างและ สถาบันในท้องถิ่นนั้นๆ โพลันยีศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ในอังกฤษ แล้วพบว่าการที่อังกฤษสามารถเปลี่ยนผ่านได้อย่างดี จาก การเกษตรไปสู่อุตสาหกรรม เพราะมีโครงสร้างเชิงสถาบันที่เอื้อต่อ การทํางานของตลาด ตลาดจึงทํางานได้ดี แต่ประเทศอื่นๆ อาจจะ มีปัญหาในการปรับโครงสร้าง เพราะยังไม่มีโครงสร้างหรือสถาบัน ในท้องถิ่นที่จะมากํากับการทํางานของตลาดได้ดีเหมือนในประเทศ อั ง กฤษ แนวการศึ ก ษาในแบบของโพลั น ยี เ ช่ น นี้ ต่ อ มาเรี ย กว่ า “เศรษฐศาสตร์สถาบัน” แต่ทั้งสองมุมมองข้างต้นนั้นน่าจะเป็นแนวคิดแบบคู่ตรงข้าม ซึ่ ง ผมคิ ด ว่ า มุ ม มองทั้ ง สองอธิ บ ายง่ า ยเกิ น ไป และมองข้ า มความ ซั บ ซ้ อ นที่ เ กิ ด ขึ้ น จริ ง ในการปรั บ โครงสร้ า งชนบท ในที่ นี้ ผ มจึ ง พยายามวิเคราะห์ด้วยแนวคิดที่สนใจความซับซ้อนที่อยู่ตรงกลาง ระหว่างกระแสโลกกับกระบวนการท้องถิ่น โดยมุ่งวิเคราะห์การเมือง ของการต่ อ รองหรื อ จุ ด ตั ด ของการต่ อ รอง ซึ่ ง ใช้ กั น มากในสาขา มานุษยวิทยาขณะนี้ ตัวอย่างเช่น หนังสือของ แอนนา ซิง (Anna Tsing) ทีช่ อื่ Friction: An Ethnography of Global Connection (2004) - 231 60

.indd 231

3/3/2554 16:02:34


| การปรับโครงสร้างชนบทไทยกับปัญหาที่มองไม่เห็น

ซึง่ พยายามจะอธิบายจุดเสียดทานระหว่างกระแสโลกกับกระบวนการ ท้องถิ่น เพื่อทําความเข้าใจปัญหาในการต่อรอง ซึ่งจะมีผลต่อการ ปรับเปลี่ยนทิศทางในการปรับโครงสร้างชนบท แนวทางทํานอง เดียวกันนี้ยังนําเสนอโดยนักภูมิศาสตร์มนุษย์อีกหลายคน เช่น Hart (1998) และ Woods (2007) เป็นต้น จุดปะทะหรือจุดตัดต่างๆ นั้นจะปรากฏตัวขึ้นเมื่อชาวบ้าน ออกมาต่อสู้เรียกร้อง ซึ่งช่วยชี้ให้เห็นว่าจุดตรงนั้นคือประเด็นปัญหา สําคัญที่เราจะต้องปรับเปลี่ยนทิศทาง ถ้าเรามองจากจุดยืนของ ทฤษฎีการเมืองของการต่อรอง เราจะเข้าใจความซับซ้อนของการปรับ โครงสร้างชนบทในปัจจุบนั ซึง่ มีประเด็นปัญหาในพืน้ ทีข่ องการต่อรอง หรือพื้นที่จุดตัดอย่างหลากหลาย ผมได้พยายามวิเคราะห์ให้เห็นแล้ว ว่า วิธีการปรับทิศทางการปรับโครงสร้างชนบทไม่ให้ลุ่มๆ ดอนๆ และ ถูลถู่ กู งั กันไปอย่างทีผ่ า่ นมา น่าจะเกีย่ วข้องกับกลไกเชิงสถาบันหลาย อย่าง โดยเฉพาะเรือ่ งระบบกรรมสิทธิ์ ระบบภาษี และระบบการจัดการ การใช้ทรัพยากร ซึ่งล้วนเป็นประเด็นปัญหาในเชิงโครงสร้างทั้งสิ้น แต่สถาบันเหล่านี้ไม่มีอยู่แล้ว (ตามความคิดของโพลันยี หากต้องการ การเคลือ่ นไหวผลักดัน ให้สร้างขึน้ มาตามสถานการณ์ของแต่ละสังคม) เท่าทีผ่ า่ นมา สังคมไทยเราไม่คอ่ ยได้ปรับเปลีย่ นเพิม่ เติมอะไร ในเชิงโครงสร้างเหล่านี้มากนัก เพราะเราชอบทะเลาะกันในประเด็น ย่อยๆ ที่อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ เรียกว่าประเด็นขี้ปะติ๋ว เช่น ความ ขัดแย้งระหว่างกลุ่มเสื้อแดง-เสื้อเหลือง หรือไม่เช่นนั้นก็ขัดแย้งเรื่อง อุดมการณ์ ขณะนี้มีข่าวว่ากรมป่าไม้จับชาวบ้านด้วยข้อหาตัดต้นไม้ ในป่า ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทําให้โลกร้อน และเรียกร้องให้เสียค่าปรับนับ ล้านบาท กรณีเช่นนี้แสดงถึงความบ้าอุดมการณ์สิ่งแวดล้อมนิยมจน เกินขอบเขต และนํามาปรับใช้อย่างผิดฝาผิดตัว หากจะปรับกันจริงๆ ต้องปรับบริษัทที่เป็นผู้ปล่อยมลพิษรายใหญ่ ไม่ใช่มาปรับคนเล็ก - 232 60

.indd 232

3/3/2554 16:02:34


ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธ์ุ |

คนน้อยทีไ่ ร้อาํ นาจ ทัง้ นีเ้ พราะเราไม่สนใจกลไกเชิงโครงสร้าง จึงทําให้ เราพูดกันแต่ปัญหาขี้ปะติ๋ว และใช้วิธีจัดการกับปัญหาแบบมักง่าย ผมคิดว่าประเด็นนี้สําคัญมาก ถ้าเราต้องการจะปรับเปลี่ยน ทิศทางในการปรับโครงสร้างชนบท เพือ่ ให้เกิดความมัน่ คงในชีวติ และ เกิดความเป็นธรรม พร้อมทัง้ ให้คนในชนบทสามารถตัดสินชะตากรรม ของตัวเองได้จริง เราคงต้องหันมาใส่ใจกับการปรับเปลี่ยนนโยบาย เชิงโครงสร้างกันให้มากขึ้นอย่างเร่งด่วน โดยทั่วไป เรามักจะนึกว่ารัฐไปแทรกแซงตลาด แต่ที่จริงแล้ว รัฐกลับปล่อยให้ตลาดทํางานอย่างค่อนข้างเสรี กระทั่งสนับสนุนด้วย ซํ้าไป แต่รัฐกลับไม่เสริมสร้างกลไกเชิงสถาบันที่จะช่วยเพิ่มอํานาจ ในการต่อรองให้กับคนในชนบท เราจึงเห็นชาวบ้านออกมาเดินขบวน เคลื่อนไหวในลักษณะต่างๆ มากมาย เช่น ที่เชียงใหม่ เราจะพบการ เคลือ่ นไหวทางสังคมมากมาย ทัง้ เรียกร้องเรือ่ งป่าชุมชนและเรียกร้อง เรือ่ งราคาพืชผล เป็นต้น ในด้านหนึง่ การเคลือ่ นไหวทางสังคมเหล่านี้ ถือเป็นความพยายามของคนในชนบท รวมทัง้ คนชายขอบทีอ่ ยูบ่ นดอย สูง ที่จะสร้างความเข้มแข็งในการต่อรองกับรัฐ ขณะที่ในอีกด้านหนึ่ง เราก็สามารถมองได้ว่าเป็นความพยายามที่จะสร้างแรงกดดัน เพื่อให้ มีการสร้างกลไกเชิงสถาบันขึน้ มากํากับและถ่วงดุลกับตลาด ซึง่ ในทีน่ ี้ ไม่ได้หมายถึงการไปควบคุมระบบตลาด แต่ไปกํากับดูแลให้ตลาด ทาํ งานได้ดขี นึ้ หรือทํางานในลักษณะทีจ่ ะไม่กอ่ ให้เกิดค่าเช่าสูงมากนัก หรือช่วยลดค่าเช่าลงไปบ้าง ชาวบ้านจําเป็นต้องดิ้นรนต่อสู้เพื่อเรียกร้องให้สร้างกลไก เชิงสถาบันใหม่ๆ ก็เพราะในการปรับโครงสร้างชนบทนั้นเกิดความ พิกลพิการหลายประการตามมา โดยเฉพาะช่องว่างของรายได้ที่ห่าง กันมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดจากการขาดกลไกเชิงสถาบันในการ ควบคุมการจัดการทรัพยากร ซึ่งหมายความว่าเราปล่อยให้ตลาด - 233 60

.indd 233

3/3/2554 16:02:34


| การปรับโครงสร้างชนบทไทยกับปัญหาที่มองไม่เห็น

ทํางานอย่างเสรีเพียงฝ่ายเดียว แต่ไม่ได้สนใจที่จะสร้างกลไกเชิง สถาบันมากาํ กับควบคุมการทาํ งานเหล่านัน้ รัฐบาลในยุคปัจจุบนั อาจ จะเริม่ พูดถึงประเด็นนีบ้ า้ ง ส่วนนักเศรษฐศาสตร์ได้พดู กันมานานแล้ว เช่น ภาษีที่ดินอัตราก้าวหน้า แต่ในปัจจุบัน เมื่อเราพูดถึงสถาบันที่จะ มาช่วยแก้ปัญหาในชนบท เรามักจะนึกถึงแต่สถาบันเก่าๆ เช่น บ้าน วัด และโรงเรียน ผมคิดว่าบ้านก็ตีกันจะตายอยู่แล้ว วัดก็มีปัญหา ผิดศีลผิดธรรมจนชาวบ้านไม่ศรัทธา ผมเองก็รู้สึกว่าจะหาวัดเพื่อ ทําบุญได้ยากเต็มที หรือโรงเรียนก็ปฏิรูปไม่รู้กี่รอบแล้ว ก็ยังไม่รู้ว่าจะ เป็นที่พึ่งที่พาได้ขนาดไหน ถ้าเราเจอปัญหาในชนบท แล้วเรานึกได้ แค่การพึ่งพาสถาบันเดิมๆ คือบ้าน วัด และโรงเรียน ผมคิดว่าสังคม ไทยคงต้องตกอยู่ในความมืดบอดทางปัญญาอย่างแน่นอน แต่ ช าวบ้ า นคงจะไม่ ย อมมื ด บอดตามไปด้ ว ย พวกเขาจึ ง พยายามเคลื่อนไหวผลักดันให้เกิดการสร้างกลไกเชิงสถาบันใหม่ๆ ขึ้นมา ตรงนี้ถือเป็นจุดตัดที่สําคัญ เพราะถ้ามีกลไกใหม่ๆ เกิดขึ้นมา ก็จะทําให้คนที่อยู่ในชนบทมีอำ�นาจต่อรองมากขึ้น ในแง่ที่ไม่ได้ปล่อย ให้ตลาดทํางานแต่เพียงฝ่ายเดียว ชาวบ้านจึงต้องรณรงค์ให้รัฐออก กฎหมายป่าชุมชน เพือ่ ไม่ให้ทดี่ นิ ตกเป็นของปัจเจกชนทัง้ หมด (Anan, 2008) ในทางเศรษฐศาสตร์ เรามักจะนึกว่าถ้าปล่อยให้ที่ดินทั้งหมด อยู่ในตลาดเดียวกันแล้วทุกคนจะได้ประโยชน์ แต่ในความเป็นจริง ความไม่เท่าเทียมกันในสังคมไทยทําให้ผู้มีอํานาจทางการเมืองและ ทุนมักจะได้ประโยชน์มากกว่าคนไร้อํานาจ และไปกีดกันคนชายขอบ จาํ นวนมาก ดังนัน้ การเปิดตลาดเดียวไม่ได้แปลว่าทุกคนได้ประโยชน์ เสมอไป ถ้าหากมีการปิดไม่ให้ตลาดทํางานได้ในบางพื้นที่ เช่น พื้นที่ ป่าชุมชน ก็จะทาํ ให้ชมุ ชนท้องถิน่ มีอาํ นาจมากขึน้ และต่อรองกับตลาด และรัฐได้ดีขึ้น นอกจากการเรียกร้องให้มีกฎหมายป่าชุมชนแล้ว ชาวบ้าน - 234 60

.indd 234

3/3/2554 16:02:34


ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธ์ุ |

ในหลายพื้นที่กําลังพูดถึงการออกเอกสารสิทธิ์ที่เรียกว่าโฉนดชุมชน อีกด้วย เช่น ที่ตําบลแม่แฝก อําเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ สมัย เศรษฐกิจฟองสบู่ นายทุนเคยไปกว้านซื้อที่ดินจํานวนมากมากักตุน ไว้มากมายเพื่อเก็งกําไร โดยไม่ได้ใช้ผลิตอะไรจริงจัง เมื่อกลไกตลาด ล้มเหลวจนฟองสบูแ่ ตก ทีด่ นิ เหล่านัน้ ก็กลายเป็นทีร่ กร้างว่างเปล่า และ เป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ในปัจจุบัน ชาวบ้านที่ไร้ที่ดินจึง เข้าไปยึดพืน้ ทีว่ า่ งเปล่าเหล่านัน้ เพือ่ นํามาใช้เพาะปลูก ซึง่ ชาวบ้านก็รู้ ว่าผิดกฎหมาย แต่ตอ้ งการต่อรองและกดดันให้รฐั นาํ เอาพืน้ ทีเ่ หล่านัน้ มาออกเป็นโฉนดชุมชน ขณะนีพ้ นื้ ทีด่ งั กล่าวได้ถกู เปลีย่ นให้กลายเป็น ไร่ชะอมขนาดใหญ่ของเชียงใหม่ จากการที่คนเชียงใหม่ชอบกินชะอม มาก คนภาคเหนือกินอะไรไม่ใส่ชะอมแล้วจะรู้สึกว่าไม่อร่อยเต็มอิ่ม แม้ ช าวบ้ า นจะรู้ ดี ว่ า การยึ ด พื้ น ที่ ที่ มี เ อกสารสิ ท ธิ์ นั้ น ผิ ด กฎหมาย แต่พวกเขาก็ไม่ได้พยายามจะผลักดันให้การกระทําของ พวกเขาถูกกฎหมายหรือมีความชอบธรรม พวกเขาเพียงแต่ต้องการ สร้างแรงกดดันต่อรัฐ เพื่อให้สังคมเห็นว่าการสร้างกลไกเชิงสถาบัน ใหม่ๆ เช่น โฉนดชุมชน เพิ่มเติมจากการออกโฉนดให้กับปัจเจกชน เท่านั้น จะช่วยป้องกันไม่ให้ตลาดเข้าไปทํางานในพื้นที่บางส่วน ทั้งนี้ เพื่อปกป้องคนที่อาจจะยังมีความสามารถในการเข้าถึงทุนตํ่า เพื่อให้ เขามีพลังในการต่อรองมากขึ้น และรักษาพื้นที่เกษตรเอาไว้ได้ เพราะ ไม่ตอ้ งพึง่ พาระบบตลาดทัง้ หมด ซึง่ ก็ยงั จะต้องมีอกี หลายกลไกเพือ่ ให้ เสริมซึ่งกันและกัน รวมทั้งการเก็บภาษีที่ดินอัตราก้าวหน้า กฎหมาย ป่าชุมชน และการออกเอกสารสิทธิ์โฉนดชุมชน กลไกเชิงสถาบัน เหล่านี้จะได้มาก็ด้วยการเคลื่อนไหวของชาวบ้านทั้งสิ้น ผ่านการ ร่วมมือพูดคุยกับเอ็นจีโอและนักวิชาการ ซึ่งชี้ให้เห็นว่า ถ้าปล่อยให้ ตลาดทํางานฝ่ายเดียวอย่างที่เป็นมา และรัฐยังสนับสนุนด้วยซํ้าไป การปรับเปลี่ยนโครงสร้างในชนบทจะไม่สามารถควบคุมให้เกิดความ - 235 60

.indd 235

3/3/2554 16:02:35


| การปรับโครงสร้างชนบทไทยกับปัญหาที่มองไม่เห็น

เป็นธรรมและยั่งยืนได้ แต่กลับจะเปลี่ยนไปตามยถากรรมอย่างลุ่มๆ ดอนๆ ในลักษณะลูกผีลูกคน ซึ่งจะส่งผลกระทบเชิงลบต่างๆ อย่าง มากมายกับชาวบ้านที่มีทุนน้อย อันที่จริง ความคิดเรื่องการออกโฉนดชุมชนก็คือการปฏิรูป ทีด่ นิ อีกรูปแบบหนึง่ ซึง่ หันมาให้ความสําคัญกับพลังของชุมชน แทนที่ จะเน้นแต่การปฏิรปู ทีด่ นิ ทีใ่ ห้ตลาดเป็นพลังขับเคลือ่ น (Market-Driven Land Reform) ซึ่ ง มั ก จะเป็ น แนวทางการปฏิ รู ป หลั ก ในการปรั บ โครงสร้างชนบทที่กําลังดําเนินอยู่ในปัจจุบัน เพราะการปฏิรูปที่ดิน ที่เอื้อกับตลาดด้านเดียวจะสร้างความขัดแย้งในการเข้าถึงที่ดินอย่าง มาก การปรับโครงสร้างชนบทในสังคมทีผ่ คู้ นยังมีอาํ นาจในการเข้าถึง ทุนและทรัพยากรแตกต่างกันมากเช่นกรณีของสังคมไทยนัน้ ต้องการ การปฏิ รู ป ที่ ดิ น หลายๆ รู ป แบบไปพร้ อ มๆ กั น เพื่ อ ให้ เ กิ ด ความ เป็นธรรมและความยั่งยืนในการใช้และการจัดการทรัพยากร เพราะ จะเพิ่มกลไกการตรวจสอบและการถ่วงดุลในสังคม ตามหลักของการ จัดการทรัพยากรเชิงซ้อน ซึ่งยังต้องการการปฏิรูปที่ดินรูปแบบอื่นๆ เพิ่มเติม เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งต่างๆ ที่นับวันจะมีมากขึ้น การปฏิรูปที่ดินที่สําคัญอีกลักษณะหนึ่ง ในฐานะที่เป็นกลไก เชิงสถาบันตามหลักการจัดการเชิงซ้อน ก็คือการปฏิรูปการใช้ที่ดิน (Land-Use Reform) ซึ่งจะช่วยเพิ่มอํานาจต่อรองให้กับชาวบ้าน ในการควบคุมและจัดการการใช้ทรัพยากรให้สอดคล้องกับบริบท ของแต่ละท้องถิ่นมากขึ้น แต่ก็ยังไม่มีการออกกฎหมายมารองรับ การปฏิรูปการใช้ที่ดินตั้งอยู่บนหลักการที่ให้อํานาจแก่ท้องถิ่นในการ กํากับการใช้ ซ้อนลงไปบนหลักการของความเป็นเจ้าของที่ดิน เพราะ ในปัจจุบัน ปัญหาที่ชาวบ้านประสบมากขึ้นคือปัญหามลภาวะ เช่น ปัญหาผลกระทบจากการขุดถ่านหินในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ จน ชาวบ้านต้องลุกขึ้นมาต่อต้านการเข้ามาขุดแร่และถ่านหินในพื้นที่ ซึ่งที่ผ่านมามักจะแก้ปัญหาด้วยการทําประชาพิจารณ์ (Public Hear- 236 60

.indd 236

3/3/2554 16:02:35


ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธ์ุ |

ing) แต่กไ็ ม่ได้ผล เพราะชาวบ้านไม่มอี าํ นาจตามกฎหมาย โดยอาํ นาจ การตัดสินใจสุดท้ายยังอยู่ที่หน่วยงานของรัฐ หากนําการปฏิรูปการใช้ที่ดินมาใช้แก้ปัญหา จะช่วยให้เกิด ความเข้าใจว่าการใช้ทรัพยากรใดๆ ในท้องถิน่ ต้องผ่านความเห็นชอบ ของท้องถิน่ เสียก่อน แม้ทรัพยากรนัน้ จะอยูใ่ นพืน้ ทีถ่ อื ครองของเอกชน ก็ตาม ซึ่งนั่นก็คือการให้อํานาจตามกฎหมายแก่ท้องถิ่นในการจัดการ การใช้ทรัพยากรซ้อนทับไปบนอํานาจความเป็นเจ้าของของเอกชน เพื่อปกป้องไม่ให้เกิดผลกระทบกับส่วนรวม กลไกเชิงสถาบันเช่นนี้ แสดงถึงรูปแบบของการจัดการเชิงซ้อน ซึ่งเปิดให้สิทธิของชุมชน ท้องถิน่ ซ้อนอยูก่ บั สิทธิในความเป็นเจ้าของของปัจเจกชน เพือ่ ถ่วงดุล กับอิทธิพลของกลไกตลาดที่อาจจะสร้างผลกระทบด้านลบหรือความ เสี่ยงเกี่ยวกับความเป็นความตายและความสามารถในการดํารงชีวิต ของคนในท้องถิ่นต่างๆ นอกจากเรื่องของการต่อรองเพื่อผลักดันกลไกเชิงสถาบัน ใหม่ๆ แล้ว ความเคลื่อนไหวของชาวบ้านยังเป็นการเมืองเรื่องของ การเปิดพื้นที่ความรู้ ซึ่งในปัจจุบันกําลังมีการช่วงชิงความรู้กันอย่าง เข้มข้น พื้นที่ความรู้จึงไม่ได้จํากัดอยู่เฉพาะในห้องเรียนหรือความรู้ ที่เป็นทางการในสถาบันการศึกษาเท่านั้น แต่หมายถึงกระบวนการ เคลื่อนไหวเรื่องความรู้ เพื่อไม่ให้เกิดการผูกขาดและครอบงําความรู้ (Anan and Hirsch, 2010) เพราะรัฐมักจะสร้างอุดมการณ์ความรู้แบบ ครอบงําต่างๆ เพื่อสนับสนุนตลาด เช่น การนิยามไร่หมุนเวียนว่าเป็น การทําลายป่า ขณะทีป่ ล่อยให้ปลูกยางพาราในพืน้ ทีป่ า่ เดียวกันนัน้ ได้ เพราะถือว่าเป็นการพัฒนา ซึง่ มักเกิดขึน้ ในพืน้ ทีช่ ายขอบของรัฐต่างๆ ในลุ่มนํ้าโขง (Duncan, ed., 2004) ชาวบ้านจึงออกมาเคลื่อนไหวเพื่อจะเปิดพื้นที่ความรู้ของ ตนเองบ้าง เช่น ความรูด้ า้ นการอนุรกั ษ์ปา่ ชาวบ้านก็พยายามออกมา โต้ แ ย้ ง ว่ า พวกเขาก็ อ นุ รั ก ษ์ เ ป็ น เหมื อ นกั น โดยการตอบโต้ ผ่ า น - 237 60

.indd 237

3/3/2554 16:02:35


| การปรับโครงสร้างชนบทไทยกับปัญหาที่มองไม่เห็น

อุดมการณ์ในวัฒนธรรมของพวกเขา ซึ่งแสดงออกในพิธีบวชต้นไม้ หรือบวชป่าที่มีเครือข่ายชาวบ้านเข้าร่วมอย่างกว้างขวาง ทั้งนี้ก็เพื่อ โต้แย้งว่าการอนุรกั ษ์ปา่ ไม่จาํ เป็นต้องผูกขาดอยูก่ บั รัฐหรือการอนุรกั ษ์ ด้วยมาตรการของรัฐเท่านั้น ชาวบ้านก็สามารถมีส่วนร่วมในการ อนุรักษ์ได้เช่นกัน (Isager and Ivarsson, 2002) ตัวอย่างที่สําคัญ ก็คือ กรณีที่ชาวบ้านในชนบทได้จัดตั้งป่าชุมชนขึ้นมามากมาย แม้จะ ยังไม่มีกฎหมายรับรองก็ตาม เพื่อแสดงให้เห็นถึงความพยายามที่จะ ช่วงชิงพื้นที่ความรู้ (Anan, 2008) ถ้ า เราเปิ ด พื้ น ที่ ค วามรู้ เ หล่ า นี้ ใ ห้ ม ากขึ้ น ก็ จ ะช่ ว ยให้ เ รา สามารถพัฒนาความรู้ที่จะเป็นพื้นฐานในการเปลี่ยนแปลงได้ดีขึ้น เพราะเราคงไม่สามารถนาํ เข้าความรูจ้ ากภายนอกได้ตลอดชีวติ เราจะ ต้องให้กลุ่มชนต่างๆ ผลิตความรู้ของตนเองได้ด้วย เพื่อให้สอดคล้อง กับบริบทและเงื่อนไขเฉพาะเจาะจงของแต่ละพื้นที่และสถานการณ์ ประเด็นเรือ่ งพืน้ ทีค่ วามรูน้ สี้ าํ คัญมาก (Anan and Hirsch, 2010) เพราะ จะช่วยให้เรารู้ว่าควรจะพัฒนาบนพื้นฐานของความรู้ (KnowledgeBased Development) อย่างไร เราพูดกันอยู่เสมอในเรื่องนี้ แต่เรา ไม่รู้ว่าความรู้นั้นเป็นของใคร เรามักจะนึกถึงเฉพาะความรู้ของนัก วิชาการตลอดเวลา แต่เรามักจะไม่นกึ ถึงว่าทุกคนก็มคี วามรูเ้ หมือนกัน ที่สําคัญ ความรู้นั้นไม่ได้เกิดขึ้นเอง แต่ต้องอาศัยกระบวนการเรียนรู้ ด้วยการแลกเปลี่ยนและถกเถียง โดยไม่ยึดติดกับความรู้เพียงด้านใด ด้านหนึ่ง จึงจะเกิดความรู้ใหม่ขึ้นได้ ในอีกด้านหนึ่ง ความเคลื่อนไหวของชาวบ้านอาจมองได้ว่า เป็นการเมืองเรื่องของการต่อรอง เพื่อแสดงอัตลักษณ์และตัวตน โดยเฉพาะคนงานที่พยายามสร้างอัตลักษณ์และตัวตนหลายๆ อย่าง เพื่อที่จะทําให้เขาไม่ได้เป็นแค่คนงานที่ไร้ตัวตนอย่างที่เคยเป็นมา ผมเคยเขียนเรื่องนี้ไว้บ้างแล้วในข้อเขียนเรื่อง “ตัวตนของแรงงาน สําคัญอย่างไรในกระแสเสรีนิยมใหม่” (อานันท์, 2549: 47-60) - 238 60

.indd 238

3/3/2554 16:02:35


ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธ์ุ |

ภายใต้การปรับโครงสร้างชนบทที่เป็นอยู่นี้ เรามองไม่เห็น คนหรือตัว ตนของคนที่เป็น พลังขับ เคลื่อนสําคัญ เพราะเราทําให้ พวกเขากลายเป็นมนุษย์ล่องหน ผมคิดว่าสังคมไทยเอาเปรียบคน จํานวนมากที่เป็นผู้สร้างสังคมให้เราอยู่ในปัจจุบัน แต่เรากลับมอง ไม่เห็นผูส้ ร้าง-ผูผ้ ลิตเหล่านัน้ นอกจากแรงงานในชนบทก็ยงั มีแรงงาน ที่มาจากต่างประเทศ ซึ่งเราเรียกว่าแรงงานต่างด้าว แต่จริงๆ แล้ว พวกเขาเป็นเพียงแรงงานพลัดถิน่ เท่านัน้ ถ้าเราไม่มพี รมแดน พวกเขา ก็คงจะไม่ถกู มองว่าเป็นต่างด้าว ทัง้ ๆ ทีเ่ รากาํ ลังอยูใ่ นโลกไร้พรมแดน แต่เรากลับหลงมัวเมาอยู่กับความคิดชาตินิยมในเรื่องพรมแดน เช่น เรื่องปราสาทพระวิหาร เรายุ่งกันอยู่ได้ทั้งวัน แล้วจะมาบอกว่าเราอยู่ ในโลกไร้พรมแดนได้อย่างไร ผมคิดว่าพวกเราในสังคมไทยมีความ ขัดแย้งกันในตัวเองมาก แล้วก็คิดแต่เรื่องขี้ปะติ๋ว เรื่องใหญ่ๆ เรื่อง สาํ คัญไม่คอ่ ยคิด ก็เลยทําให้เราไม่คอ่ ยได้ให้ความสําคัญกับอัตลักษณ์ และตัวตนของผูค้ น ซึง่ เป็นผูผ้ ลิตหรือผูแ้ บกรับภาระในการปรับเปลีย่ น ที่แท้จริง เพราะเรามองไม่เห็นตัวตนของพวกเขา ดังนั้น การเปิดให้มีการแสดงอัตลักษณ์มากขึ้นจึงเป็นสิ่งที่ จําเป็นอย่างยิ่ง ในอันที่จะช่วยให้เราเข้าใจคนอื่นมากขึ้น เพราะไม่ เช่นนั้นแล้ว เราก็จะมองคนอื่นเป็นเพียงทรัพยากรเท่านั้น เดี๋ยวนี้เรา ใช้คําว่าทรัพยากรบุคคลบ้าง ทรัพยากรมนุษย์บ้าง คนงานทั้งหลาย ก็เลยไม่เหลือความเป็นคน คงเหลือแต่ความเป็นทรัพยากร ตรงนี้ ถือเป็นปัญหาอย่างมาก ผมเองก็งงมากในเรือ่ งการใช้คาํ ว่า “ทรัพยากร มนุษย์” เพราะผมคิดว่ามนุษย์ก็ต้องเป็นมนุษย์ จะเป็นทรัพยากร ไปไม่ได้ ถ้าเรามองมนุษย์เป็นเพียงทรัพยากร ก็หมายความว่าเรา มองไม่เห็นคน วิชามานุษยวิทยาทีผ่ มราํ่ เรียนมาจะสัง่ สอนอยูเ่ สมอว่า ถ้าหากเรามองไม่เห็นคน ก็ไม่มีวิชานี้ เพราะวิชานี้มุ่งเน้นให้เราต้อง มองคนให้เป็นคน ถ้าเมือ่ ใดก็ตามทีเ่ รามองคนไม่เป็นคนเสียแล้ว เราก็ - 239 60

.indd 239

3/3/2554 16:02:35


| การปรับโครงสร้างชนบทไทยกับปัญหาที่มองไม่เห็น

จะไม่มที างเข้าใจปัญหาทีเ่ รามอง เพราะปัญหาเหล่านัน้ ล้วนเป็นปัญหา ของคนทัง้ สิน้ ประเด็นนีผ้ มขอตัง้ ข้อสังเกตไว้เป็นเรือ่ งสุดท้าย ซึง่ เป็น ประเด็นที่ท้าทาย และผมคิดว่าเราจะต้องพยายามทําให้เป็นจริงและ ทำ�ให้เกิดขึ้นให้ได้ เพราะเป็นประเด็นที่สําคัญที่สุด เท่าที่ได้อภิปรายมา ผมคิดว่าผมคงพอจะตั้งเป็นประเด็น คาํ ถามให้ชว่ ยกันขบคิดกันต่อไปได้บา้ งแล้ว จึงขอยุตปิ าฐกถาแต่เพียง เท่านี้ ขอบคุณมากครับ

- 240 60

.indd 240

3/3/2554 16:02:35


ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธ์ุ |

เอกสารอ้างอิง กนกพร ดีบุรี, “เครือข่ายทางสังคมของผู้หญิงในระบบรับเหมาช่วง: กรณีศึกษา การผลิตเสือ้ ผ้าสาํ เร็จรูปในอาํ เภอสันกาํ แพง” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2542. ธัญลักษณ์ ศรีสง่า, “ความซับซ้อนในอัตลักษณ์ของแรงงานนอกระบบ: กรณีศกึ ษา คนงานหญิ ง ผลิ ต ผ้ า ฝ้ า ยทอมื อ ในจั ง หวั ด ลํ า พู น ” วิ ท ยานิ พ นธ์ มหาบัณฑิตสาขาวิชาการพัฒนาสังคม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย เชียงใหม่, 2550. พรรณภัทร ปลัง่ ศรีเจริญสุข, “อัตลักษณ์ของแรงงานข้ามชาติคนื ถิน่ กับการต่อรอง การพัฒนาของชาวบ้านในจังหวัดลาํ ปาง” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตสาขา วิชาการพัฒนาสังคม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2551. พิพฒ ั น์ ธนากิจ, “วาทกรรมว่าด้วยปลาบึกในเชียงของ: การต่อรองการพัฒนาของ ชาวบ้านในลุ่มนํ้าโขง” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตสาขาวิชาการพัฒนา สังคม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2552. ยศ สันตสมบัติ, ท่าเกวียน: บทวิเคราะห์เบื้องต้นว่าด้วยการปรับตัวของชุมชน ชาวนาไทยท่ า มกลางการปิ ด ล้ อ มของวั ฒ นธรรมอุ ต สาหกรรม, กรุงเทพฯ: คบไฟ, 2539. ยศ สันตสมบัติ, พลวัตและความยืดหยุ่นของสังคมชาวนา: เศรษฐกิจชุมชนภาค เหนือและการปรับกระบวนทัศน์ชุมชน, เชียงใหม่: ศูนย์ศึกษาความ หลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาอย่าง ยั่งยืน คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2546. อานั น ท์ กาญจนพั น ธ์ุ , วั ฒ นธรรมทางเศรษฐกิ จ ในเศรษฐกิ จ ไร้ วั ฒ นธรรม กรุงเทพฯ: คบไฟ, 2549. อานันท์ กาญจนพันธ์ุ, คิดอย่างมิเชล ฟูโกต์ คิดอย่างวิพากษ์: จากวาทกรรมของ อัตบุคคลถึงจุดเปลี่ยนของอัตตา, เชียงใหม่: สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัย เชียงใหม่, 2552.

- 241 60

.indd 241

3/3/2554 16:02:35


| การปรับโครงสร้างชนบทไทยกับปัญหาที่มองไม่เห็น

Anan Ganjanapan, “The Partial Commercialization of Rice Production in Northern Thailand (1900-1981)” Ph.D. Dissertation, Cornell University, USA, 1984. Anan Ganjanapan, “Conflicts over the deployment and control of labor in a northern Thai village,” in Gillian Hart, Andrew Turton and Benjamin White (eds.), Agrarian Transformations: Local Processes and the State in Southeast Asia, Berkeley: University of California Press, 1989: 98-124. Anan Ganjanapan, “Multiplicity of community forestry as knowledge space in the northern Thai highlands” Working Paper Series No. 35, Afrasian Center for Peace and Development Studies, Ryukoku University, Kyoto, Japan, 2008. Anan Ganjanapan and Philip Hirsch, “Transforming agrarian transforma tions in a globalizing Thailand,” in Nicholas Tapp and Philip Hirsch (eds.), Culture, Power and Ritual Practice: Reflections on the Anthropology of Thailand through the Work of Andrew Turton, Amsterdam: University of Amsterdam Press, 2010. Barney, Keith, “China and the production of forestlands in Lao PDR: a political ecology of transnational enclosure,” in Joseph Nevins and Nancy Lee Peluso (eds.), Taking Southeast Asia to Market: Com modities, Nature and People in the Neoliberal Age, Ithaca, NY: Cornell University Press, 2008: 91.107. Biggs, David, “Water power: machines, modernizers, and meta-commoditi zation on the Mekong river,” in Joseph Nevins and Nancy Lee Peluso (eds.), Taking Southeast Asia to Market: Commodities, Nature and People in the Neoliberal Age, Ithaca, NY: Cornell University Press, 2008: 108-123. Duncan, Christopher R. (ed.), Civilizing the Margins: Southeast Asian Government Policies for Development of Minorities, Ithaca, NY: Cornell University Press, 2004. - 242 60

.indd 242

3/3/2554 16:02:35


ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธ์ุ |

Foran, Tira and Kanokwan Manorom, “Pak Mun Dam: perpetually con tested,” in Francois Molle, Tira Foran and Mira Kakonen (eds.), Contested Waterscapes in the Mekong Region, London: Earths can, 2009: 55-80. Gray, Jennifer, “The Road to the City: Young Women and Transition in Northern Thailand” Ph.D. Dissertation, Macquarie University, Sydney, Australia, 1990. Hart, Gillian, “Multiple trajectories: a critique of industrial restructuring and the new institutionalism,” Antipode 30(4) (1998): 333-356. Hart, Gillian, Andrew Turton and Benjamin White (eds.), Agrarian Trans formations: Local Processes and the State in Southeast Asia, Berkeley: University of California Press, 1989. Harvey, David, A Brief History of Neoliberalism. Oxford: Oxford University Press, 2005. Hirsch, Philip, “Globalization, regionalization and local voices: the Asian Development Bank and rescales politics of environment in the Mekong region,” Singapore Journal of Tropical Geography 22(3) (2001): 237-251. Hirsch, Philip and Andrew Wyatt, “Negotiating local livelihoods: scales of conflict in the Se San river basin,” Asia Pacific View Point 45(1) (2004): 51-68. Isager, Lotte and Soren Ivarsson, “Contesting landscapes in Thailand: tree ordination as counter-territorialization,” Critical Asian Studies 34(3) (2002): 395-417. Lawrence, Shannon, “The Nam Theun 2 controversy and its lesson for Laos,” in Francois Molle, Tira Foran and Mira Kakonen (eds.), Contested Waterscapes in the Mekong Region, London: Earths can, 2009: 81-114. Li, Tania Murray, The Will to Improve: Governmentality, Development, and the Practice of Politics, Durham: Duke University Press, 2007. - 243 60

.indd 243

3/3/2554 16:02:35


| การปรับโครงสร้างชนบทไทยกับปัญหาที่มองไม่เห็น

Marx, Karl, Capital Vol. 1 (tr. Ben Fowkes), London: Penguin Books, 1976. Marsden, Terry, Jonathan Murdoch, Philip Lowe, Richard Munton and Andrea Flynn, Constructing the Countryside, London: UCL Press, 1993. Nevins, Joseph and Nancy Lee Peluso (eds.), Taking Southeast Asia to Market: Commodities, Nature and People in the Neoliberal Age, Ithaca, NY: Cornell University Press, 2008. Newby, Howard, “Locality and rurality: the restructuring of rural social rela tions,” Regional Studies 20(3) (1989): 209-215. Peck, Jamie, Work-Place: The Social Regulation of Labor Markets, New York: The Guilford Press, 1996. Polanyi, Karl, The Great Transformation: The Political and Economic Origins of Our Time. Boston: Beacon Press, 1957. Raynolds, Laura, “Restructuring national agriculture, agro-food trade and agrarian livelihoods in the Caribbean,” in David Goodman and Michael Watts (eds.), Globalizing Food: Agrarian Questions and Global Restructuring, London: Routledge, 1997: 119-132. Rigg, Jonathan and Sakunee Nattapoolwat, “Embracing the global in Thailand: activism and pragmatism in an era of deagrarianization,” World Development 29(6) (2001): 945-960. Rigg, Jonathan, Suriya Veeravongs, Lalida Veeravongs and Piyawadee Rohitarachoon, “Reconfiguring rural spaces and remaking rural lives in central Thailand,” Journal of Southeast Asian Studies 39(3) (2008): 355-381. Ritchie, Mark, “From Peasant Framers to Construction Workers: The Break ing Down of Boundaries between Agrarian and Urban Life in Northern Thailand” Ph.D. Dissertation, University of California, Berkeley, USA, 1996. Scott, James C., Seeing Like a State: How Certain Schemes to Improve the Human Condition Have Failed, New Haven: Yale University Press, 1998. - 244 60

.indd 244

3/3/2554 16:02:35


ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธ์ุ |

Stiglitz, Joseph, Globalization and Its Discontents, London: Penguin Books, 2002. Sturgeon, Janet C., Border Landscapes: The Politics of Akha Land Use in China and Thailand, Seattle: University of Washington Press, 2005. Tsing, Anna, Friction: An Ethnography of Global Connection, Princeton: Princeton University Press, 2004. Vandergeest, Peter and Nancy Lee Peluso, “Territorialization and state power in Thailand,” Theory and Society 24(3), 1995: 385-426. Walker, Andrew, The Legend of the Golden Boat: Regulation, Trade and Traders in the Borderlands of Laos, Thailand, China and Burma, Richmond, Surrey: Curzon Press, 1999. Woods, Michael, “Engaging the global countryside: globalization, hybrid ity and the reconstruction of rural place,” Progress in Human Geography 6(6) (2007): 903-921.

- 245 60

.indd 245

3/3/2554 16:02:35


| การปรับโครงสร้างชนบทไทยกับปัญหาที่มองไม่เห็น

ประวัติปาฐก ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธุ์ จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะ รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระดับปริญญาโท สาขาประวัติศาสตร์เอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ จากมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ และระดับปริญญาเอก สาขา มานุษยวิทยา จากมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ ศ.ดร.อานันท์รับราชการเป็นอาจารย์ประจำ�ภาควิชาสังคมวิทยาและ มานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2519 โดย สนใจศึกษาด้านมานุษยวิทยาเศรษฐกิจ โดยเฉพาะประเด็นด้านวัฒนธรรมทาง เศรษฐกิจของเศรษฐกิจชนบท พลวัตของเศรษฐกิจชนบทภายใต้กระแสทุนนิยม โลกและนโยบายของรัฐ การจัดการทรัพยากร เช่น ที่ดิน ป่า ในภาคชนบท และ สิทธิชุมชน และการพัฒนา ความยากจน และชีวิตของคนชายขอบ เป็นต้น ศ.ดร.อานันท์มผี ลงานทางวิชาการมากมาย และได้รบั รางวัลผูม้ ผี ลงาน วิจัยดีเยี่ยมจากสภาวิจัยแห่งชาติ (พ.ศ. 2539) เมธีวิจัยอาวุโส (พ.ศ. 2540) และ อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ สาขาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปศาสตร์ จาก สภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2545) เป็นต้น นอกจากนี้ ศ.ดร.อานันท์ยังดำ�รงตำ�แหน่งประธานคณะอนุกรรมการ วิจัยวัฒนธรรมภาคเหนือ สำ�นักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (พ.ศ. 2538-ปัจจุบัน) กรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาปรัชญา (พ.ศ. 2539-2542) กรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาสังคมวิทยา (พ.ศ. 2542-ปัจจุบัน) และได้รับ พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ด�ำ รงตำ�แหน่งศาสตราจารย์เมือ่ ปี พ.ศ. 2546

- 246 60

.indd 246

3/3/2554 16:02:35


60

.indd 247

3/3/2554 16:02:35


| เศรษฐธรรมแห่งความรุนแรง (Moral Economy(ies) of Violence)

เศรษฐธรรมแห่งความรุนแรง [Moral Economy(ies) of Violence] ศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ วันจันทร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2552

- 248 60

.indd 248

3/3/2554 16:02:35


ศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ |

กล่าวนํา ปาฐกถาครั้งนี้ ข้าพเจ้าสนใจใคร่คิดเรื่อง “เศรษฐธรรมแห่ง ความรุนแรง” [Moral Economy(ies) of Violence] ให้ละเอียดมากกว่า ทีเ่ คยคิดมา โดยมีคาํ ถาม 3 ข้อคือ คาํ ถามทีห่ นึง่ ปาฐกถานีม้ งุ่ ประสงค์ จะทาํ สิง่ ใด คาํ ถามทีส่ อง ข้อเสนอหลัก (Thesis) ในปาฐกถานีค้ อื อะไร และคําถามที่สาม ทําไมจึงต้องคิดถึงปัญหาเศรษฐธรรมแห่งความ รุนแรงในเวลานี้

- 249 60

.indd 249

3/3/2554 16:02:35


| เศรษฐธรรมแห่งความรุนแรง (Moral Economy(ies) of Violence)

คําถามที่หนึ่ง: ความมุ่งประสงค์ของปาฐกถา ข้าพเจ้าสนใจค้นหาหนทางพูดถึงความรุนแรงแบบใหม่ ถึงจะ ได้เขียนและให้ความเห็นต่อความรุนแรงไว้ตามที่ต่างๆ มาบ้างแล้ว1 แต่ขณะเดียวกันก็มุ่งประสงค์จะหาวิธีพูดถึงความรุนแรงในทางอื่นๆ ซึ่งอาจจะไม่ใช่การจับประเด็นใหม่ แต่เป็นการคิดถึงประเด็นเดิมด้วย วิธีใหม่ เพื่อหวังว่าจะได้เห็นได้พบอะไรบางอย่างมากกว่าที่เคย ว่าที่จริง การแสดงปาฐกถาในเวลานี้ถือเป็นโอกาสอันดีที่จะ คิดถึงเรื่องความรุนแรง เพราะว่าเพิ่งครบรอบ 3 ปี รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 และเพิ่งเกิดเหตุไม่สงบที่เขาพระวิหาร ข้าพเจ้าปรารถนาจะทําให้ตนเองเข้าใจว่าเกิดอะไรขึน้ ในสังคม ไทยและในโลกปัจจุบนั โดยเฉพาะในเรือ่ ง “ความขัดแย้งชนิดทีถ่ งึ ตาย” (Deadly Conflict) กล่าวคือ ความขัดแย้งมีหลายแบบ ทัง้ ความขัดแย้ง ในชีวิตประจําวันหรือความขัดแย้งทั่วไปซึ่งมักไม่ถึงตาย แต่ความ ขัดแย้งที่ตนเองสนใจตลอดมา เป็นความขัดแย้งอีกประเภทหนึ่ง คือ ความขัดแย้งชนิดที่ถึงตาย และเป็นปัญหาซึ่งดํารงอยู่ในสังคมไทย เช่นกัน

ชัยวัฒน์ สถาอานันท์, อาวุธมีชีวิต: แนวคิดเชิงวิพากษ์ว่าด้วยความรุนแรง (กรุงเทพฯ: ฟ้าเดียวกัน, 2549). 1

- 250 60

.indd 250

3/3/2554 16:02:35


ศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ |

ข้อเสนอหลัก (Thesis)

ข้อเสนอหลัก (Thesis) ของปาฐกถานี้คือ “เศรษฐธรรมแห่งความรุนแรงเป็นความพยายามที่จะเข้าใจ ความรุนแรง(ในสังคมไทยและในโลก) ในฐานะความโกรธทางศีลธรรม (Moral Rage) อันเป็นผลมาจากการที่สํานึกแห่งความเป็นธรรมถูก โยกคลอน กระทบ สกัด อย่างหนัก และความรุนแรงเหล่านี้วางอยู่บน ฐานของชุดเศรษฐธรรม [Moral Economy(ies)] ที่ต่างกัน” เวลานี้ ผู้คนจำ�นวนไม่น้อยมักเห็นว่าความขัดแย้งในสังคม ไทยเป็นความขัดแย้งทางการเมืองธรรมดา เป็นความขัดแย้งที่เกี่ยว เนื่องกับตัวบุคคล เป็น “ปัญหา(เอา)ทักษิณ” หรือ “ไม่(เอา)ทักษิณ” ข้าพเจ้าเห็นว่านี่เป็นความเข้าใจที่ไม่ช่วยให้แก้ปัญหาความขัดแย้ง ที่กําลังประสบอยู่ได้ในระยะยาว เพราะสิ่งที่ถูกกระทบกระเทือนอย่าง ยิ่งใหญ่ในสังคมไทยช่วงหลายปีที่ผ่านมา คือ “สํานึกแห่งความเป็น ธรรม” (Sense of Justice) และสังคมไทยกําลังเผชิญกับความโกรธ ทางศีลธรรมด้วยเหตุผลแตกต่างกันจากทุกๆ ฝ่าย ในที่นี้ สํานึกแห่ง ความเป็นธรรมหมายถึงความรูส้ กึ ว่าได้รบั หรือไม่ได้รบั ความเป็นธรรม แต่ไม่ได้หมายถึงว่าใน “ความเป็นจริง” เกิดหรือไม่เกิดความเป็น ธรรม2 ที่ควรให้ความสนใจด้วยก็คือ สภาพความขัดแย้งซึ่งบางครั้ง กลายเป็นความรุนแรงในขณะนี้ วางอยูบ่ นฐานของเศรษฐธรรม [Moral Economy(ies)] ซึ่งดํารงอยู่หลากหลายชุดแตกต่างกัน ปัญหาว่าใน “ความเป็นจริง” มีความเป็นธรรมหรือไม่ เป็นปัญหาเกีย่ วกับความเข้าใจว่า “ความเป็นธรรม” คืออะไร ดำ�รงอยู่หรือไม่ อย่างไร และที่สำ�คัญ “ความเป็นจริง” ก็เป็น ปัญหาทีต่ อ้ งใคร่ครวญ โปรดพิจารณาประเด็นเกีย่ วกับ “ความจริง” และ “ความเป็นจริง” ใน ชัยวัฒน์ สถาอานันท์, ความรุนแรงกับการจัดการ “ความจริง”: กึ่งศตวรรษปัตตานี (กรุงเทพฯ: สำ�นักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2551), หน้า 23-40. 2

- 251 60

.indd 251

3/3/2554 16:02:35


| เศรษฐธรรมแห่งความรุนแรง (Moral Economy(ies) of Violence)

คําถามที่สอง: จะแสดงข้อเสนอหลัก (Thesis) อย่างไร ในการพิสูจน์ให้เหตุผลสนับสนุนข้อเสนอหลัก (Thesis) นี้ จะเริ่มต้นจากการชี้ให้เห็นแต่แรกว่า เศรษฐธรรมในที่นี้ไม่ใช่อะไร? คําว่า “เศรษฐธรรม” ในปาฐกถานี้ไม่เหมือนกับที่ สมเกียรติ ตัง้ กิจวานิชย์ ได้แสดงปาฐกถาไว้เมือ่ วันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง “เศรษฐธรรมในยุคโลกาภิวัตน์” ซึ่ง ต่อมาเปลีย่ นชือ่ เป็น “ระบบเศรษฐกิจทีม่ ศี ลี ธรรม ฝันเกินไปหรือเปล่า?” วิธีคิดที่สมเกียรติใช้พิจารณาเศรษฐธรรม คือการกลับไปทบทวน (Rethink) ความคิดของนักเศรษฐศาสตร์คนสําคัญของโลก คือ อดัม สมิธ (Adam Smith) เพราะก่อนทีส่ มิธจะเขียน The Wealth of Nations (1776) เขาเขียน The Theory of Moral Sentiments (1759) ซึง่ เป็นการ พูดถึงเรื่องศีลธรรมโดยตรง แต่ปาฐกถานี้ต่างจากที่สมเกียรติได้ทํา เพราะไม่ได้สนใจจะตัง้ คาํ ถามว่าเศรษฐกิจทีด่ ี ทีเ่ ป็นธรรม เป็นอย่างไร นอกจากนั้น “เศรษฐธรรม” ในที่นี้ก็ไม่เหมือนกับที่ใช้โดย ชมรมเศรษฐธรรม เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2548 ที่วังเทเวศร์ บางขุนพรหม ซึ่งมีนักเศรษฐศาสตร์ชั้นนําจํานวนมากเป็นสมาชิก ของชมรม เข้าใจว่าชมรมเศรษฐธรรมเคยมีมาก่อน ตั้งแต่ครั้งที่ อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ก่อตั้งขึ้นในสมัยดํารงตําแหน่งคณบดีคณะ เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพือ่ ให้นกั เรียนเศรษฐศาสตร์ มาขบคิดเรื่องสังคมร่วมกัน แต่เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ชมรมเศรษฐธรรมก็จําต้องกลายเป็นอย่างอื่น ชมรมเศรษฐธรรมที่ตั้งขึ้นใหม่ครั้งนี้ ระบุภารกิจของชมรม (Mission Statement) ไว้ว่ามุ่งเน้น “สํานึกแห่งความรับผิดชอบต่อ เศรษฐกิจและสังคม และเพือ่ เป็นแหล่งพบปะแลกเปลีย่ นความคิดเห็น - 252 60

.indd 252

3/3/2554 16:02:35


ศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ |

ในหมู่นักเศรษฐศาสตร์ที่รักความถูกต้องชอบธรรมในสังคม ทั้งจาก ภาครัฐและเอกชน เพื่อให้เกิดความงอกงามทางสติปัญญาหรือความ เข้าใจประเด็นต่างๆ อย่างแท้จริง อันจะเป็นประโยชน์ตอ่ เศรษฐกิจและ สังคมของประเทศ” ความคิดเรือ่ งเศรษฐธรรมในปาฐกถานีต้ า่ งออกไปจากทีก่ ล่าว ข้างต้น เพราะได้รับอิทธิพลจากแนวคิดของ อี. พี. ธอมป์สัน (E. P. Thompson) และ เจมส์ ซี. สกอตต์ (James C. Scott) เมือ่ เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1971 ธอมป์สนั เขียนงานชิน้ สาํ คัญ ชื่อ “The Moral Economy of the English Crowd in the Eighteenth Century” [Past and Present, Vol. 50, (Feb. 1971), pp. 76-136] ธอมป์สันได้พูดถึงเศรษฐธรรมของฝูงชนชาวอังกฤษในศตวรรษที่ 18 โดยพยายามจะศึกษาว่า เมื่อราคาขนมปังและข้าวโพดสูงขึ้น ผู้คน ชาวอังกฤษ โดยเฉพาะชาวนา ต้องการจะทําอะไร และพวกเขาจะ มีปฏิกิริยาโต้ตอบราคาสินค้าที่สูงขึ้นอย่างไร ซึ่งในที่สุดชาวอังกฤษ เหล่านัน้ ก็กอ่ จลาจล ธอมป์สนั อธิบายว่า การก่อจลาจลจากปัญหาเรือ่ ง อาหารครั้งนี้เหมือนกับการประท้วงเพื่อเรียกร้องอะไรบางอย่างของ คนชัน้ ล่าง เวลาทีป่ ระชาชนกาํ ลังจะอดตายหรือกําลังถูกรังแก พวกเขา จะรูส้ ึกว่าถึงเวลาต้องทําอะไรบางอย่างแล้ว ธอมป์สนั อธิบายต่อไปว่า การจลาจลในครัง้ นัน้ มีเป้าหมายชัดเจน เป็นการจลาจลทีม่ วี นิ ยั และมุง่ ไปสู่การเปลี่ยนแปลงบางอย่าง คนเหล่านั้นก่อจลาจลทําไม ธอมป์สันอธิบายว่า ชาวอังกฤษ เหล่านั้นก่อจลาจลเพราะเขามองว่าสิ่งที่เกิดขึ้น (ราคาขนมปังและ ข้าวโพดทีส่ งู ขึน้ ) ได้กระทาํ ผิดต่อพวกเขา ไม่มคี วามชอบธรรม ในแง่นี้ กล่าวได้วา่ สํานึกของความเป็นธรรมถูกกระทบกระเทือน และทีส่ ําคัญ พวกเขาคิดว่าพวกเขากําลังปกป้องชีวิตที่ดีในอดีต คุ้มครองวิถีชีวิต ที่เคยมีมาแต่เก่าก่อน พิทักษ์ชุมชนที่ดํารงอยู่ และรักษาเศรษฐธรรม ของพวกเขา ซึ่งถูกกระแทกจากปัญหาดังกล่าว - 253 60

.indd 253

3/3/2554 16:02:35


| เศรษฐธรรมแห่งความรุนแรง (Moral Economy(ies) of Violence)

แต่อันที่จริง คําว่า ”เศรษฐธรรม” น่าจะเป็นที่รู้จักกันทั่วไป จากงานของ เจมส์ ซี. สกอตต์ นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยเยล (Yale University) ในหนังสือชื่อ The Moral Economy of the Peasant: Rebellion and Subsistence in Southeast Asia (New Haven: Yale University Press, 1976) ในงานชิ้นนี้ สกอตต์เห็นว่า ความพยายามที่จะอยู่ให้รอดของ ชาวนาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในพม่าและเวียดนามนัน้ ไม่ได้เป็นผลจากเหตุผลในทางเศรษฐศาสตร์อย่างเดียว แต่เป็นเหตุผล ในทางการเมืองและศีลธรรมด้วย สกอตต์พเิ คราะห์วา่ การทีช่ าวนาลุกขึน้ มาโต้ตอบสถานการณ์ ที่เกิดขึ้น เป็น “Rational Emphasis” หรือเป็นการตัดสินใจโดยมีเหตุ มีผล โดยเลือกทางรอดทีม่ นั่ คงมากกว่าจะเลือกทางรอดทีเ่ สีย่ ง ในแง่นี้ จึงสร้างสิง่ ทีส่ กอตต์เรียกว่า “บัญชาแห่งศีลธรรม” (Moral Imperative) เพื่อให้ชาวนาดําเนินชีวิตต่อไปได้ และตระหนักในสิทธิที่จะมีชีวิตของ ตนเอง เมื่อไรก็ตามที่สิทธิในการมีชีวิตถูกกระทบกระเทือน การขบถ ก็เป็นสิ่งที่มีเหตุมีผล พูดอีกภาษาหนึ่งคือ เวลาชาวนาถูกรังแกแล้ว ตัดสินใจลุกขึ้นมาขบถ ต่อต้านรัฐ แปลว่าสํานึกเรื่องความเป็นธรรม ของชาวนาถูกกระทบกระเทือน คําถามต่อมาคือ สํานึกแห่งความเป็นธรรมของชาวนาแห่ง อุษาคเนย์ถูกกระทบกระเทือนในลักษณะไหนและอย่างไร ความน่า สนใจในงานของสกอตต์คือ ขณะที่ธอมป์สันศึกษาอังกฤษในศตวรรษ ที่ 18 สกอตต์ก็ศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงที่ได้รับอิทธิพล จากลัทธิอาณานิคมอย่างเต็มที่ สกอตต์อธิบายว่า ลัทธิอาณานิคม ได้เข้ามาเปลี่ยนความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นนํา (Elite) เดิมกับผู้คน ชาวไร่ชาวนาในพื้นที่ กล่าวคือ ถึงแม้ชนชั้นนําในอดีตจะขูดรีดชาวนา อยู่บ้าง แต่ก็ยังมีหมอนหนุนหรือข่ายความปลอดภัย (Safety Net) - 254 60

.indd 254

3/3/2554 16:02:35


ศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ |

คอยประคับประคองให้ความสัมพันธ์ดาํ รงอยูต่ อ่ ไป เช่น หากฝนไม่ตก ต้องตามฤดูกาล ชนชัน้ นาํ ก็ไม่ได้เก็บภาษีมากนัก เมือ่ ชาวนาเดือดร้อน จริงๆ เจ้าพื้นเมืองหรือเจ้าในพื้นที่ก็เข้าใจความเป็นจริงที่เกิดขึ้น คือ ชนชั้นนําขูดรีดชาวนาก็จริง แต่ไม่ได้ขูดรีดเกินไป กดขี่ แต่ก็ไม่กดขี่ จนถึงที่สุด อาจกล่าวได้ว่าเป็นการกดขี่บนฐานของความพอเพียง ด้ ว ยเหตุ นี้ ความสั ม พั น ธ์ ข องชนชั้ น นํ า เดิ ม กั บ ชาวนาจึ ง สามารถ ดําเนินต่อไปได้ แต่เมื่อพลังของรัฐอาณานิคมซึ่งเป็นรัฐสมัยใหม่ได้เข้ามา แทรกแซง รัฐอาณานิคมก็เปลี่ยนความสัมพันธ์นี้ไปอยู่บนฐานของ กฎเกณฑ์ (Regulation) เช่ น มี ก ารตั้ ง กฎเกณฑ์ ภ าษี ที่ แ น่ น อน ครอบคลุมประเภทภาษีต่างๆ มากมาย จนทําให้ผู้คนสามัญแทบจะ กระดิกตัวไม่ได้ (p. 95) ซึ่งทําให้มองไม่เห็นความสัมพันธ์อย่างอื่น ถ้าเก็บภาษีเท่านี้ก็ต้องเก็บเท่านี้ และทําให้ไม่สนใจความเป็นจริงที่ เกิดขึน้ ต่อหน้า เช่น มองไม่เห็นว่ายามนีฝ้ นไม่ตกต้องตามฤดูกาล และ ชาวนาไม่มีผลผลิตพอให้รัฐอาณานิคมขูดรีดได้ เมื่อชาวนาให้ไม่ได้ก็ เดือดร้อน เพราะฉะนัน้ อาจกล่าวได้วา่ ความสัมพันธ์เดิมทีเ่ คยปกครอง กดขีอ่ ย่างเนียนละมุน (Soft Oppression) ก็แปรเปลีย่ นเป็นการกดขีท่ ี่ หยาบกระด้าง (Hard Oppression) สกอตต์เริ่มต้นงานของเขาจากชีวิตชาวนาจีนซึ่งไม่มีอะไร จะกิน และอธิบายว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในปี ค.ศ. 1930 เป็นยุคสมัยที่อิทธิพลของอาณานิคมยังครอบคลุมอยู่ ซํ้าอุบัติภัยจากธรรมชาติก็รุนแรงมาก บางครั้งถึงขั้นไม่มีอะไรจะกิน ดังนั้น พอชาวนาโดนกระทบจากธรรมชาติ และโดนกระทําจากแรง กดขี่ของชนชั้นนําซึ่งถูกทดแทนหรือเข้ามาเกี่ยวข้องกับอํานาจของ ฝ่ายอาณานิคม (ในยุคปัจจุบันก็อาจจะเป็นอํานาจของโลกาภิวัตน์) ทําให้ชาวนาต้องลุกขึ้นมาก่อจลาจล ในแง่นี้ การลุกขึ้นสู้ของชาวนา - 255 60

.indd 255

3/3/2554 16:02:35


| เศรษฐธรรมแห่งความรุนแรง (Moral Economy(ies) of Violence)

จึงมาจากความโกรธในทางศีลธรรม (Moral Rage) ผู้คนเหล่านั้น ไม่สามารถจะอดรนทนต่อไปได้ ขบถชาวนาจึงปรากฏขึ้น สกอตต์ศกึ ษากลุม่ ก่อจลาจลซายาแซน (Saya San Rebellion) ในพม่าตอนล่าง และเนตินในอันนัม เมื่อปี ค.ศ. 1930 สิ่งที่น่าสังเกต คือ กรณีศึกษาที่สกอตต์เลือกไม่ใช่กรณีศึกษาที่ก่อขบถสําเร็จ แต่เขา เลือกกรณีทแี่ พ้ สกอตต์สนใจตัง้ คาํ ถามว่า ในทีส่ ดุ แล้ว กลุม่ ขบถลุกขึน้ มาได้อย่างไร ทีน่ า่ สนใจอีกข้อหนึง่ ก็คอื ถึงแม้จะแพ้ แต่ตอนทีห่ วั หน้า ของฝ่ายซายาแซนจะถูกประหาร เขาได้กล่าวบนลานประหารว่า “เกิด กี่ชาติกี่ชาติก็ขอให้ข้าเอาชนะอังกฤษให้ได้”3 กล่าวคือ ความโกรธต่อ เจ้าอาณานิคมไม่ได้จํากัดเฉพาะห้วงเวลาในขณะเวลานั้นที่กําลังเกิด เหตุขึ้น แต่ถึงตายก็ไม่จบ น่าสนใจจะตั้งคําถามว่า ในจักรวาลทัศน์ ที่กาลเวลาต่อเนื่องจากภพนี้ไปสู่ภพอื่น สภาพความขัดแย้งจะยืนยง ยาวนานเพียงไร ความแตกต่างระหว่าง “เศรษฐธรรม” ของงานศึกษานี้ กับแนวความคิดของสกอตต์และธอมป์สัน ถ้าเช่นนั้น คําถามสําคัญคือ “เศรษฐธรรม” ในปาฐกถานี้ เหมือนและต่างจากงานของธอมป์สันและสกอตต์อย่างไร กล่าวในแง่ความเหมือน ข้าพเจ้าคิดว่าเหมือนตรงที่คิดถึง “เศรษฐธรรม” ในฐานะการตัดสินใจทีม่ เี หตุผลของผูค้ นบนพืน้ ฐานของ “In all my future existences, may I always conquer the British.” อ้างถึงใน Benedict Anderson’s review of James C. Scott, The Moral Economy of the Peasant in The Journal of Asian Studies Vol. 37 No. 1 (November 1977), p. 174. ข้าพเจ้า ไม่พบข้อความนี้ในงานของสกอตต์ แต่สกอตต์ระบุว่าเมื่อผู้นำ�ซายาแซนก้าวขึ้นสู่ลาน ประหาร เขาปฏิเสธที่จะกล่าวปกป้องตนเองใดๆ แต่ “เดินขึ้นลานประหารด้วยศีรษะ ตั้งตรง” (p. 156) 3

- 256 60

.indd 256

3/3/2554 16:02:36


ศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ |

จริยธรรม เช่น ถ้ามุ่งจะเข้าใจฝ่ายเสื้อเหลือง ก็ควรจะพยายามเข้าใจ ว่าการตัดสินใจของฝ่ายเสื้อเหลืองไม่ได้เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ แต่ มีเหตุมีผลอยู่บนฐานของความโกรธทางศีลธรรม ซึ่งได้แสดงออกต่อ ระบบการเมืองที่พวกเขาคิดว่าดําเนินต่อไปไม่ได้แล้ว และกลับกัน เมื่อคนเสื้อแดงลุกขึ้นมาคัดค้านฝ่ายเสื้อเหลือง ก็อยู่บนฐานะเหตุผล แห่งความโกรธทางศีลธรรมเช่นกัน โดยที่เขาอาจจะรู้สึกว่าระบบของ ความเป็นธรรมที่เขาเคยได้ บัดนี้เปลี่ยนแปลงไปและเกิดปัญหา กล่าวคือ ข้าพเจ้ามุ่งจะเสนอข้อถกเถียงว่า ถ้าสังคมไทย ไม่ยอมเผชิญหน้ากับปัญหาสํานึกแห่งความเป็นธรรมที่ถูกกระทบ กระเทือนอย่างหนัก คงแก้ปัญหาความขัดแย้งได้ยาก การมองเศรษฐธรรมในฐานะการตั ด สิ น ใจที่ มี เ หตุ ผ ลบน พื้นฐานทางจริยธรรม แปลว่าฝ่ายที่ขัดแย้งกันมีฐานทางจริยธรรม จริงๆ ทั้งคู่ ข้าพเจ้าไม่มุ่งให้ความสําคัญนักในเรื่องที่ว่าคนพวกนี้ถูก ยุยงส่งเสริมหรือถูกผลักดันโดยฝ่ายต่างๆ แต่กลับเห็นว่าคนสามารถ ตัดสินใจบนฐานของเหตุผลของตัวเอง และมนุษย์เป็นผูก้ ระทําการทีม่ ี เหตุมผี ล (Rational Agent) แต่ระบบเหตุผลทีด่ าํ รงอยูอ่ าจจะไม่เหมือน กันได้ ด้วยเหตุนี้จึงพอจะถือได้ว่ามนุษย์เป็นผู้กระทําการที่มีศีลธรรม (Moral Agent) ดังนั้น ไม่ว่าจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับรัฐประหาร เข้าข้างการสนับสนุนหรือการประท้วงรัฐ ก็สามารถคิดถึงคนเหล่านั้น ในฐานะผู้กระทําการที่มีศีลธรรมได้ทั้งสิ้น ที่กล่าวไปคือส่วนที่เหมือนกับธอมป์สันและสกอตต์ แต่ใน ส่วนที่ไม่เหมือนก็คือ เวลาคิดถึงเศรษฐธรรม ทั้งธอมป์สันและสกอตต์ จะเน้นที่ตัวผู้คน คือสามารถคิดถึงผู้คนในฐานะที่เป็นผู้กระทําการที่มี ศี ล ธรรมได้ สามารถคิ ด ถึ ง ผู้ ค นในฐานะที่ เ ป็ น ตั ว ละครที่ ส ามารถ ตัดสินใจและใช้เหตุใช้ผลได้ แต่ปาฐกถานี้ต่างออกไป เพราะข้าพเจ้า ไม่ได้กล่าวถึงเศรษฐธรรมของ “ผู้กระทําการ” หากแต่เป็นเศรษฐธรรม - 257 60

.indd 257

3/3/2554 16:02:36


| เศรษฐธรรมแห่งความรุนแรง (Moral Economy(ies) of Violence)

ของ “ความรุนแรง” ไม่ใช่ของบุคคล ถ้าใช้วิธีคิดแบบสกอตต์และ ธอมป์สันตรงๆ ก็อาจต้องศึกษาพิเคราะห์ปัญหาอย่าง “เศรษฐธรรม ของขบวนการประชาชน” “เศรษฐธรรมของพรรคคอมมิวนิสต์แห่ง ประเทศไทย” “เศรษฐธรรมของชาวปาเลสไตน์” “เศรษฐธรรมของ BRN Coordinate” “เศรษฐธรรมของทหารพรานในภาคใต้” หรือ “เศรษฐธรรมของขบวนการเสื้อสี” ได้ทั้งนั้น แต่ปาฐกถานี้สนใจเศรษฐธรรม ของความรุนแรง ซึ่งย่อมนําไปสู่คําถามทางทฤษฎีสองข้อ คือ ข้อหนึ่ง ทําอย่างนีไ้ ด้อย่างไร4 และข้อสอง ความรุนแรงทีว่ า่ หมายความถึงอะไร กล่าวอย่างชัดเจน ความรุนแรงทีว่ า่ นีม้ ลี กั ษณะเป็นเครือ่ งมือ อุปกรณ์ (Instrument) ดังนั้น มันจึงเกี่ยวพันกับตรรกะซึ่งควบคุม ความรุนแรงทุกชนิด หรือที่เรียกว่า “ตรรกะในเชิงเครื่องมืออุปกรณ์” (Instrumental Logic) แต่ก่อนที่จะเข้าใจถึงตรรกะในเชิงเครื่องมือ อุปกรณ์ ต้องย้อนกลับไปคิดถึงความหมายของการเป็นอุปกรณ์ก่อน ถ้าย้อนไปดูงานของ เรอเน เดส์การ์ตส์ (René Descartes) เรื่อง Discourse on Method (1637) เดส์การ์ตส์ ผู้กล่าวประโยคที่ว่า “ฉันคิด ฉันจึงมีอยู่” ซึ่งเป็นฐานของความรู้ทางวิชาการสมัยใหม่แทบ ทัง้ หมด ได้พดู ถึงความรูว้ า่ “ความรูท้ ขี่ า้ พเจ้าพอใจ คือความรูท้ สี่ ามารถ เป็นประโยชน์ในชีวิตนี้ ... และเป็นปรัชญาที่จะมาทดแทนปรัชญา อันที่จริง เอ็ดมันด์ เบิร์ก (Edmund Burke) ก็เคยเขียนอะไรทำ�นองนี้เมื่อกล่าวถึงสิ่งที่ เขาเรียกว่า “economy of truth” ใน Letter on a Regicide Peace (1796) ในการศึกษา ตำ�แหน่งแห่งทีข่ องการฆ่าล้างเผ่าพันธุช์ าวยิวเมือ่ กลางคริสต์ศตวรรษทีแ่ ล้ว แมนเฟรด เฮนนิงเซน (Manfred Henningsen) ก็เคยตัง้ คำ�ถามว่า ทำ�ไมชาวอเมริกนั จึงคิดว่าจำ�เป็น ที่คนเยอรมันต้องตระหนักถึงความทรงจำ�เกี่ยวกับความชั่วของพวกตนในอดีต ทั้งที่ ชาวอเมริกันเองไม่อาจเผชิญหน้ากับ “เศรษฐกิจแห่งความชั่วร้าย” ของตนเองในเรื่อง การกดคนลงเป็นทาสได้ โปรดพิจารณา Manfred Henningsen, “The Place of the Holocaust in the American Economy of Evil,” in Frank Trommler and Elliott Shore (eds.), The German-American Encounter: Conflict and Cooperation between Two Cultures, 1800-2000 (New York and Oxford: Berghahn Books, 2001), pp. 198-211. 4

- 258 60

.indd 258

3/3/2554 16:02:36


ศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ |

ฝันเฟื่องที่สอนกันอยู่ทุกวันนี้ในสํานักต่างๆ เราต้องการความรู้ที่เป็น ความรู้เชิงปฏิบัติ ที่เราจะเข้าใจธรรมชาติและพฤติกรรมของไฟ นํ้า อากาศ ดวงดาว และสวรรค์ทั้งปวง (คงหมายถึงท้องฟ้า) และโลก กายภาพทัง้ หลายทีล่ อ้ มรอบเราอยู่ เราต้องการเข้าใจทักษะของคนงาน ของเรา (คือเทคโนโลยี ซึ่งท่านไม่ได้ใช้คํานี้) เราสามารถใช้สิ่งเหล่านี้ เพือ่ จุดหมาย (purpose) ซึง่ เหมาะสมกับมัน และจุดหมายซึง่ เหมาะสม กับมันทําให้เราในฐานะมนุษย์ กลายเป็น master and possessor of nature คือเราเองจะเป็นเจ้าและเจ้าของธรรมชาติ”5 สํ า หรั บ เดส์ ก าร์ ต ส์ โลกกลายเป็ น ของที่ จ ะถู ก นํ า ไปใช้ ธรรมชาติกลายเป็นของที่จะถูกนําไปใช้ ทุกอย่างเป็นเครื่องมือเพื่อ นําไปสู่สิ่งอื่นๆ ของมนุษย์ได้ทั้งสิ้น “เรา” ในฐานะผู้รับมรดกในทาง วิชาการทั้งหมดมา ก็อยู่ในกรอบความคิดของวิธีคิดแบบคาร์ทีเซียน (Cartesian Thinking) ตั้งแต่ต้น เพราะฉะนั้นจึงไม่แปลกอะไรที่เห็น กันทัว่ ไปว่าทรัพยากรเป็นของทีต่ อ้ งนำ�มาใช้ และก็ไม่แปลกทีจ่ ะนำ�ของ มาซื้อ มาขาย มาใช้ มากิน ในความหมายนี้ ใช่หรือไม่ว่าความเชื่อ เช่นนี้เป็นรากฐานของวิชาการต่างๆ รวมทั้งของคณะเศรษฐศาสตร์ ด้วย? และทั้งหมดนี้วางอยู่บนฐานคิดหลักว่ามนุษย์จะจัดการกับ ธรรมชาติซึ่งตนเป็นทั้ง “เจ้า” และ “เจ้าของ” อย่างไร นักทฤษฎีคนสาํ คัญทีค่ ดิ เรือ่ งเครือ่ งมืออุปกรณ์อกี คนหนึง่ คือ จอร์จ ซิมเมล (Georg Simmel) ซิมเมลเขียนไว้ใน Philosophy of Money (1907) ว่า การรู้จักสร้างเครื่องมือคือเครื่องบ่งบอกถึงความ เป็นมนุษย์6 ขณะที่ในทัศนะของอริสโตเติล (Aristotle) นอกจาก อ้างถึงใน สุวรรณา สถาอานันท์, เงินกับศาสนา: เทพยุทธแห่งยุคสมัย (กรุงเทพฯ: สำ�นัก พิมพ์มูลนิธิโกมล คีมทอง, 2541), หน้า 14-15. และโปรดพิจารณา René Descartes, Discourse on Method (Indianapolis: Hackett Publishing, 1998), p. 35. 6 Georg Simmel, The Philosophy of Money, edited by David Frisby (London and New York: Routledge, 1991), p. 209. 5

- 259 60

.indd 259

3/3/2554 16:02:36


| เศรษฐธรรมแห่งความรุนแรง (Moral Economy(ies) of Violence)

มนุษย์จะต่างจากสัตว์เพราะมนุษย์มี “ภาษา” แล้ว ยังเป็นเพราะมนุษย์ สามารถใช้เครื่องมือได้ ซิมเมลเห็นว่า การที่มนุษย์สร้างเครื่องมือได้ ทําให้มนุษย์ เป็นมนุษย์ ถามว่าทําไม นั่นก็เพราะมนุษย์ต่างจากพระเจ้า ในคติ ของศาสนายิว คริสต์ และอิสลาม พระเจ้าสร้างโลกโดยไม่ต้องอาศัย เครื่องมือ พระคัมภีร์ไบเบิลบอกว่า แสงสว่างจงปรากฏ และแสงสว่าง ก็ปรากฏขึน้ 7 (ภาษาโบราณคือ Fiat หมายถึงพระบัญชา) เมือ่ พระองค์ มีพระบัญชาด้วย “คํา” (Word) โลกจึงเกิด เพราะฉะนัน้ สําหรับไบเบิล ฐานสําคัญคือการย้อนไปคิดถึง Logos ซึ่งเป็นคําสําคัญ “คํา” จึง เป็นการเริ่มต้นของสรรพสิ่งทั้งหมด ด้วยเหตุนี้ เมื่อมนุษย์สร้างสิ่งต่างๆ ผ่านเครื่องมือ (Tools) มนุษย์จึงไม่ใช่พระเจ้า ที่จริงเพราะมนุษย์อยู่ในฐานะผู้ใช้เครื่องมือ มนุษย์จึงต่างจากพระเจ้าอย่างมหัศจรรย์ การที่มนุษย์ใช้เครื่องมือได้ จึงมีนยั ยะทางทฤษฎีและปรัชญาอย่างมหาศาล การรูจ้ กั สร้างเครือ่ งมือ คือเครือ่ งบ่งบอกความเป็นมนุษย์ พระเจ้าไม่ตอ้ งสร้างเครือ่ งมือ เพราะ พระประสงค์ของพระองค์คือความจริง เพียงเอ่ยพระวาจา ทุกสิ่งก็ ปรากฏ การสร้างเครื่องมือเป็นเครื่องหมายแสดงความเป็นมนุษย์ มนุษย์ต้องอาศัยเครื่องมือเพื่อให้บรรลุผลในสิ่งที่ตนปรารถนา เครือ่ งมือได้แสดงให้เห็นความซับซ้อนทางปัญญาของมนุษย์ ซึง่ สามารถมองเห็นสายโซ่ของเหตุและผลทีท่ อดยาวออกไป เช่น ถ้าจะ พิจารณาตัวอย่างของเครื่องมือที่สร้างความรุนแรงต่อมนุษย์โดยตรง จะพบว่าเครือ่ งทรมานนักโทษบางประเภทเป็นเครือ่ งมืออันน่าอัศจรรย์ เพราะต้องรู้หลายอย่าง เช่น ต้องรู้ว่าถ้าจะทรมานคนด้วยการหยดนํ้า จะหยดอย่างไร ตรงไหนบนใบหน้าของนักโทษ และนานเท่าใดจึงจะ เกิดผลมากที่สุด หรือการหยิบหนูใส่กรง แล้วเอากรงมาวางแนบหน้า 7

สุวรรณา สถาอานันท์, เงินกับศาสนา, หน้า 20.

- 260 60

.indd 260

3/3/2554 16:02:36


ศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ |

นักโทษ เพื่อให้หนูตะกุยออกมา ผู้ใช้ต้องรู้ว่าต้องใช้กรงชนิดไหน การตะกุยหน้าของหนูต้องใช้เวลานานเท่าไร หมายความว่าต้องรู้จัก ร่างกายของมนุษย์และเข้าใจธรรมชาติของสัตว์ จึงจะสามารถทํา เครื่องมือเช่นนี้มาใช้งานได้8 ความรุนแรงในฐานะที่เป็นเครื่องมือ ความรุนแรงในลักษณะทีเ่ ป็นเครือ่ งมือมีความหมายว่าอย่างไร ฐานะทางทฤษฎีของความรุนแรงอยูท่ วี่ า่ ความรุนแรงมีลกั ษณะเป็นดัง เครื่องมืออุปกรณ์ ซึ่งก็เหมือนกับเครื่องมือทั้งหลายที่ดํารงอยู่ในโลก เพื่อทําหน้าที่บางอย่าง เช่น ปากกาเป็นเครื่องมือในการเขียนหนังสือ รถยนต์ เ ป็ น เครื่ อ งมื อ พามนุ ษ ย์ เ ดิ น ทางจากจุ ด หนึ่ ง ไปอี ก จุ ด หนึ่ ง ในแง่นี้ การดํารงอยู่ของเครื่องมือจึงต้องการ “เหตุผลรองรับ” (Justification) หมายความว่า ถ้าปากกาหรือดินสอเขียนไม่ได้ ก็หมด ความหมายในฐานะของเครือ่ งเขียน ถ้ารถยนต์เก่าและเสียจนซ่อมไม่ได้ ก็ ต้ อ งทิ้ ง หรื อ ขายเป็ น เศษเหล็ ก ความรุ น แรงก็ เ ช่ น เดี ย วกั น ถ้ า ปราศจากเหตุผลรองรับก็อยู่ไม่ได้ ด้วยเหตุนี้ ปัญหาของความรุนแรง จึงอยู่ที่การมีเหตุผลรองรับ (Justifications) ว่าจะใช้ความรุนแรงไป เพื่ออะไร เท็ด ฮอนเดริช (Ted Honderich) เขียนงานศึกษาเกี่ยวกับ การก่ อ การร้ า ยชิ้ น สํ า คั ญ ซึ่ ง พยายามอธิ บ ายให้ เ ห็ น ประเด็ น ทาง ศีลธรรมเกี่ยวกับการก่อการร้าย ฮอนเดริชท้าทายอคติและการคิดที่ ไม่อยู่กับร่องกับรอยของนักคิดฝ่ายเสรีนิยมประชาธิปไตยด้วยการ ดูประวัตศิ าสตร์การทรมานและการใช้เครือ่ งมือทรมานมนุษย์ได้ใน Daniel P. Mannix, The History of Torture (London: New English Library, 1970). 8

- 261 60

.indd 261

3/3/2554 16:02:36


| เศรษฐธรรมแห่งความรุนแรง (Moral Economy(ies) of Violence)

เสนอว่าเป็นไปได้ที่จะคิดถึงแง่มุมทางศีลธรรมของการก่อการร้าย เขาจึงตั้งชื่อหนังสือของตนว่า Terrorism For Humanity: Inquiries in Political Philosophy9 หนังสือเล่มนี้ชื่อเดิมคือ Violence for Equality: Inquiries in Political Philosophy10 อาจกล่าวได้ว่า ถ้าเชื่อว่าการ ก่อการร้ายเป็นอาวุธของคนที่ไร้อาวุธ และใช้ต่อสู้กับอํานาจที่ยิ่งใหญ่ กว่า ข้อเสนอของฮอนเดริชก็อาจถือเป็นความพยายามทีจ่ ะเปิดมุมมอง อีกมุมมองหนึ่งบนฐานคิดว่าด้วย “การใช้งาน” ความรุนแรงในฐานะ เครื่องมืออย่างหนึ่ง ถ้ า ความรุ น แรงเป็ น เครื่ อ งมื อ อุ ป กรณ์ โ ดยธรรมชาติ ก็ หมายความว่าความรุนแรงอยู่ด้วยตัวเองไม่ได้ จําเป็นต้องอาศัยทาง นําและการให้เหตุผลรองรับจากเป้าหมายที่ตั้งไว้ เช่น หากตั้งคําถาม ว่า ก่อความรุนแรง ก่อสงคราม หรือก่อการร้าย เพื่ออะไร คําตอบอาจ เป็นว่า ทําสงครามเพื่อให้ได้ชัยชนะและเพื่อให้เกิดสันติภาพ ก่อการ ร้ายเพือ่ ให้อกี ฝ่ายรับรูถ้ งึ ปัญหาทีอ่ าจถูกซุกซ่อนอยู่ หรือเพือ่ ให้อกี ฝ่าย ประสบชะตากรรมชนิดที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อน มีตัวอย่างหนึ่ง เป็น บทสัมภาษณ์ อับเดล อาซิซ อัล-แรนทิสสิ (Abdel Aziz al-Rantissi) แกนนํากลุ่มฮามาสในปาเลสไตน์ ผู้สัมภาษณ์ถามว่า “คุณทําอย่างนี้ ได้อย่างไร คุณไปวางระเบิดศูนย์การค้าได้อย่างไร” คําตอบของ แรนทิสสิก็คือ เพราะอยากให้ชาวอิสราเอลรู้ว่าชาวปาเลสไตน์มีชีวิต อย่างไร เพราะอยากให้ชาวอิสราเอลรู้ว่าชีวิตที่อยู่กับความกลัวตลอด เวลา ไม่สามารถตัดสินอะไรได้เลย ในที่สุดแล้วเป็นอย่างไร11 (London: Pluto Press, 2003). (London and New York: Routledge, 1989). 11 โปรดพิจารณา Chaiwat Satha-Anand, “Transforming Terrorism with Muslims’ Nonviolent Alternatives,” in Abdel Aziz Said, Mohammed Abu-Nimer and Meena Sharify-Funk (eds.), Contemporary Islam: Dynamic, not Static (London and New York: Routledge, 2006), p. 199. 9

10

- 262 60

.indd 262

3/3/2554 16:02:36


ศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ |

กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ ความรุนแรงทุกชนิดต้องอาศัยเป้า หมายมายืนยันว่าทําไปเพื่ออะไร กล่าวคือ ทําสงครามก็เพื่อให้ได้ ชัยชนะ เพื่อให้เกิดเสรีภาพ ก่อการร้ายเพื่อให้อีกฝ่ายรับรู้ปัญหาที่ อาจถูกซุกซ่อนอยู่ หรือประสบชะตากรรมชนิดทีไ่ ม่เคยคาดคิดมาก่อน ในแง่นี้ ความรุนแรงจากสงครามหรือการก่อการร้ายจึงเป็นเครื่องมือ ที่ดํารงอยู่ได้ด้วยการอาศัยเป้าหมายสุดท้ายมาเป็นเหตุผลรองรับ อะไรก็ตามที่ต้องอาศัยสิ่งอื่นมาเป็นเหตุผลรองรับการดํารงอยู่ของ ตน จะไม่สามารถเป็นแก่นสารของอะไรได้เลย ความรุนแรงจึงเป็น เครื่องมืออุปกรณ์ซึ่งถูกกํากับด้วย “ตรรกะของเครื่องมืออุปกรณ์” (Instrumental Logic) ซึ่งหมายความว่าเมื่อไม่ได้ใช้งานก็เลิกใช้ เพราะหมดความหมายที่จะใช้ต่อไป ทําความเข้าใจเศรษฐธรรมแห่งความรุนแรง จากศาสตร์และศิลป์แห่งการยิงธนู แนวทางการวิเคราะห์เศรษฐธรรมแห่งความรุนแรงบนฐาน การคิดว่าความรุนแรงเป็นเครื่องมืออุปกรณ์ในที่นี้ จะทดลองทําความ เข้ า ใจเศรษฐธรรมแห่ ง ความรุ น แรงจากศาสตร์ แ ละศิ ล ป์ แ ห่ ง การ ยิงธนู โดยใช้หนังสือ 3 เล่มคือ มหาภารตะ ของฤษีวยาส12, เจ้า ของ นิกโคโล มาคิอาเวลลี (Niccolò Machiavelli)13 และ หลุนอี่ว์: ขงจื่อ สนทนา ของขงจื่อ14

จักรกฤษณ์ ดวงพัตรา (แปล), (กรุงเทพฯ: คบไฟ, 2544). สมบัติ จันทรวงศ์ (แปล), (กรุงเทพฯ: สำ�นักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538). 14 สุวรรณา สถาอานันท์ (แปล), (กรุงเทพฯ: สำ�นักพิมพ์จฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551). 12 13

- 263 60

.indd 263

3/3/2554 16:02:36


| เศรษฐธรรมแห่งความรุนแรง (Moral Economy(ies) of Violence)

มหาภารตะ ซึ่งนํามาใช้ในที่นี้ คือฉบับที่มาจากบทละครของ ฌอง-คล็อด การ์ริแยร์ (Jean-Claude Carrière) แปลโดยอาจารย์ จักรกฤษณ์ ดวงพัตรา ซึ่งใช้ภาษาไทยได้งดงามและกระชับ เรื่อง โดยสรุปก็คือ พวกปาณฑพกับพวกเการพซึ่งเป็นพี่น้องกัน ต่อสู้กัน มาตั้งแต่เล็กแต่น้อย ที่สุดก็ทํามหาสงครามกันจนญาติพี่น้องของ ทั้งสองฝ่ายตายตกตามกันไป โดยปาณฑพเป็นฝ่าย “พระเอก” ส่วน เการพเป็นฝ่าย “ผู้ร้าย” ที่จะยกมาพิเคราะห์นี้เป็นตอนที่ท้าวธฤตราษฎร์ขอให้โทรณาจารย์ นักธนูฝีมือดีที่สุด มาสอนทั้งฝ่ายปาณฑพ และเการพ เรื่องเริ่มต้นจาก: อรชุนพูดว่า “ทุรโยธน์และทุหศาสัน (ทุหศาสันเป็นตัวร้าย เพราะไปกระชากผ้าของพระนางเทราปที ชายาของพี่น้องปาณฑพ ทั้งห้า ซึ่งเป็นเหตุสําคัญที่ทำ�ให้ทั้งสองฝ่ายสู้กันจนล้มประดาตาย) ต้องการจะสังหารพวกเรา” “ไม่ใช่ ภีมะทาํ ร้ายพวกเราก่อน มันบีบคอเราสองคน” ทุรโยธน์ แย้ง “ทุรโยธน์ต้องการสังหารพวกเรา เพราะเขาปรารถนาจะ ครอบครองราชอาณาจักร” ภีมะไม่ยอม ภีษมะ ซึง่ คือปู่ จึงเอ่ยว่า “หยุดเถอะ” และถามโทรณาจารย์วา่ “ท่านจะเริ่มสอนได้เมื่อไหร่” โทรณาจารย์ อาจารย์ขมังธนูผยู้ งิ่ ใหญ่แห่งยุค บอกว่า “หม่อม ฉันได้เริ่มแล้ว” โทรณาจารย์ตอบอย่างรวบรัด ปาณฑพและเการพ เตรียมธนูและลูกศรของตน โทรณาจารย์ชี้ไปที่ยอดไม้ และบอกยุวกษัตริย์ทั้งหลายว่า “มีนกฟางอยู่ที่ยอดไม้นั้น องค์ยุธิษเฐียร (พี่คน โตของตระกูลปาณฑพ) ยกธนูของพระองค์ขึ้น และเล็งไปที่นกนั้น” ยุธิษเฐียรทําตามคําสั่ง จากนั้นโทรณาจารย์จึงถามยุธิษเฐียร ซึ่งเป็น คําถามสําคัญ คือ “พระองค์ทอดพระเนตรเห็นอะไรพระเจ้าค่ะ” - 264 60

.indd 264

3/3/2554 16:02:36


ศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ |

“เราเห็นนก” ยุธิษเฐียรตอบ โทรณาจารย์ ถ ามต่ อ “พระองค์ ท อดพระเนตรเห็ น ต้ น ไม้ หรือไม่” “เห็น เราเห็นต้นไม้ เราเห็นคันธนู เราเห็นลูกธนู เราเห็น ลําแขนของเรา เรามองเห็นน้องๆ และมองเห็นพระอาจารย์ด้วย” ยุธิษเฐียรเห็นแบบองค์รวม โทรณาจารย์จึงเอ่ยว่า “เสด็จกลับยังที่เดิมได้ ขอเชิญเสด็จ องค์นกุล องค์ภมี ะ และองค์ทรุ โยธน์ดว้ ย จงเล็งธนูไปทีน่ กนัน่ และตอบ หม่อมฉันว่าทอดพระเนตรเห็นอะไร” ทุกคนเล็งธนูไปที่เป้า นกุลบอก “เราเห็นนก เห็นท้องฟ้า...” ภีมะบอก “เราเห็นกิ่งไม้ เห็นแขนของเรา...” โทรณาจารย์ถาม “ทอดพระเนตรเห็นภราดาของพระองค์ หรือไม่” ภีมะตอบว่า “เห็น เราเห็นทุกๆ คน” ทุรโยธน์ก็ตอบว่า “ข้าเห็นนก เห็นคันธนู และเห็นยอดไม้” ส่วนภีมะตอบว่า “เราเห็นเมฆบนท้องฟ้า” โทรณาจารย์จงึ บอกว่า “เชิญเสด็จกลับไปทีเ่ ดิมพระเจ้าค่ะ ไม่มี ประโยชน์อะไรที่จะทรงยิง” ผู้คนมากหลายมักระบุว่าปรัชญา “ตะวันออก” ชอบองค์รวม อ่าน มหาภารตะ ถึงตรงนีก้ ค็ วรให้เป็นทีป่ ระหลาดใจ เพราะ มหาภารตะ ถือกําเนิดในอินเดีย ฤษีวยาสเป็นคนเขียนขึ้น มาถึงตอนสุดท้าย โทรณาจารย์พูดกับอรชุนว่า “ขอเชิญองค์ อรชุนเล็งธนูพระเจ้าค่ะ” อรชุ น ทํ า ตามคํ า สั่ ง เขาเล็ ง ไปที่ เ ป้ า อย่ า งมั่ น ใจ จากนั้ น อาจารย์จึงถามว่า “ทอดพระเนตรเห็นอะไรพระเจ้าค่ะ” อรชุนตอบว่า “เราเห็นนก” - 265 60

.indd 265

3/3/2554 16:02:36


| เศรษฐธรรมแห่งความรุนแรง (Moral Economy(ies) of Violence)

โทรณาจารย์บอกว่า “ทรงพรรณนารายละเอียดของนกให้ หม่อมฉันฟังด้วยพระเจ้าค่ะ” “เราไม่อาจทําได้” อรชุนบอก โทรณาจารย์ถามว่า “เพราะอะไรพระเจ้าค่ะ” “เพราะเราเห็นแต่หัวนกเท่านั้น” อรชุนตอบ โทรณาจารย์จึงบอกว่า “ลั่นธนูได้พระเจ้าค่ะ” (หน้า 36-37) อาจารย์บอกให้พี่น้องปาณฑพและเการพทั้งปวงเล็งธนู และ ถามว่าเห็นอะไร ทุกคนบอกว่าเห็นนก เห็นต้นไม้ เห็นฟ้า โทรณาจารย์ เห็นว่าคนพวกนี้สอนไม่ได้ มีแต่อรชุนคนเดียวที่สอนได้ เพราะเมื่อ โทรณาจารย์ถามว่าเห็นอะไร อรชุนตอบว่าไม่เห็นอะไรเลย ถามว่านก หน้าตาเป็นอย่างไรก็ตอบไม่ได้ อรชุนเห็นแต่หัวนกเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ อรชุนจึงกลายเป็นนักรบที่น่ากลัวที่สุดของฝ่ายปาณฑพ อีกเล่มหนึ่งคือ เจ้าผู้ปกครอง ของมาคิอาเวลลี ซึ่ง สมบัติ จันทรวงศ์ เป็นผู้แปล โดยรักษาความเดิมไว้มากที่สุด หนังสือเล่มนี้มี ทั้งหมด 26 บท แต่บทที่จะนํามากล่าวถึงคือบทที่ 6 ซึ่งมาคิอาเวลลี เขียนไว้ว่า “ควรทําเหมือนอย่างที่นักธนูผู้สุขุมรอบคอบกระทํา นักธนู ผู้ซึ่งเมื่อเป้าที่พวกเขาประสงค์จะยิง ปรากฏอยู่ไกลไปมาก และโดยที่ รูด้ ถี งึ (คุณธรรม)ความสามารถของคันธนูของตนว่าสามารถจะทาํ อะไร ได้ พวกเขาก็จะเล็งให้ไกลกว่าเป้าที่ตั้งใจไว้มาก มิใช่เพื่อให้ลูกธนู ขึ้นไปสูงอย่างนั้น แต่เพื่อว่า โดยอาศัยการเล็งสูงอย่างนั้น พวกเขาจะ สามารถบรรลุถึงวัตถุประสงค์ได้” (หน้า 129) คําสอนของมาคิอาเวลลีต่อเจ้าหรือผู้ปกครองก็คือ เวลาจะ ยิงธนู เวลามอง ต้องตั้งเป้าให้ไกลกว่านั้น เช่น เมื่อนักศึกษาเข้ามา เรียนหนังสือ อาจารย์อาจถามว่า เข้ามาเรียนวิชานี้ คุณตัง้ เป้าแบบไหน ถ้านักศึกษาตอบว่า ขอแค่ได้ C ก็พอ ข้าพเจ้าก็จะให้เขาอ่านคําสอน ของมาคิอาเวลลีจาก เจ้า ในบทที่ 6 นี้ ถ้าผู้ใดปรารถนา C ก็อาจจะได้ - 266 60

.indd 266

3/3/2554 16:02:36


ศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ |

ตาํ่ กว่านัน้ เพราะฉะนัน้ เมือ่ เข้ามาแล้วก็ควรตัง้ เป้าให้สงู กว่านัน้ แต่ก็ ควรเป็นเป้าสูงทีเ่ ป็นจริง (Realistic) คือสอดคล้องกับสิง่ ทีม่ าคิอาเวลลี เรียกว่า “(คุณธรรม)ความสามารถของคันธนู” ในหนั ง สื อ เจ้ า ผู้ ป กครอง ฉบั บ แปลของอาจารย์ ส มบั ติ จันทรวงศ์ อาจารย์สมบัติแปลว่า “คุณธรรมของคันธนู” ซึ่งแปลมาจาก คําว่า Virtue ในฉบับภาษาอังกฤษ แต่ภาษาอิตาเลียนใช้คําว่า Virtù ซึ่งไม่ตรงกับคําว่า Virtue เท่าไรนัก ข้าพเจ้าแปลคํานี้ว่า “(คุณธรรม) ความสามารถ” โดยใช้วงเล็บครอบคําว่า ”คุณธรรม” หรือ “ความ สามารถ” ไว้ คล้ายๆ กับวิธีจัดการกับคําบางคําของ ฌากส์ แดร์ริดา (Jacques Derrida) กล่าวง่ายๆ คือ คํานี้เป็นได้ทั้งคุณธรรมและความ สามารถ ในบางบริบทในหนังสือควรแปลว่า “คุณธรรม” แต่ในบาง บริบทเช่นในกรณีนี้ควรแปลว่า “ความสามารถ” ของคันธนู (จึงได้ใส่ วงเล็บคําว่าคุณธรรมไว้) คือดูว่าคันธนูของตนมีนํ้าหนัก มีความใหญ่ และโค้งของคันธนู มีความตึงของสายธนู ความตรงของลูกธนู ตลอด จนความแหลมของคมธนู ทัง้ หมดนีร้ วมตลอดถึงสภาพแวดล้อมในขณะ ยิงธนู ซึ่งจะเป็นองค์ประกอบในการคิดใคร่ครวญว่า “ความสามารถ” ของคันธนูเป็นอย่างไร ทําอะไรได้บ้าง ในตํานานกรีก เขาจะไม่ให้เจ้าชายเรียนศิลปศาสตร์แห่งการ ปกครองในเมือง แต่เขาส่งไปเรียนในป่า ซึ่งคนที่สอนวิชารัฐศาสตร์ ได้ดี ไม่ใช่มนุษย์ แต่เป็นครึ่งมนุษย์ครึ่งสัตว์ อาคิลลีส (Achilles) หรือ ใครต่อใครก็ไปเรียนกับชีรอน (Chiron) ซึง่ เป็นเซนทอร์ (Centaur) ครึง่ ม้าครึ่งมนุษย์ ผู้มีความสามารถสูงในศิลปศาสตร์ทุกชนิด โดยเฉพาะ ความสามารถในการยิงธนู มาคิอาเวลลีเองก็พูดถึงเซนทอร์ไว้ใน เจ้า ผู้ปกครอง บทที่ 18 ถ้าคิดอย่างมาคิอาเวลลี เกณฑ์หรือเศรษฐธรรมของการยิงธนู หรือการใช้ความรุนแรงจะต่างไปจากสิ่งที่อรชุนคิด เมื่ออรชุนเล็งธนู เขาไม่เห็นอย่างอื่น เห็นแต่หัวนกซึ่งเป็นเป้าหมายที่จะยิง จะทําอะไร - 267 60

.indd 267

3/3/2554 16:02:36


| เศรษฐธรรมแห่งความรุนแรง (Moral Economy(ies) of Violence)

ก็อยู่ตรงนั้น แต่สําหรับมาคิอาเวลลี เขากําลังสอนว่าต้องคิดก่อนว่า เป้าคืออะไร และต้องไปไกลกว่านั้น รวมทั้งต้องรู้ถึงความสามารถ ของคันธนู คนยิงต้องรูว้ า่ กําลังหรืออุปกรณ์ของตัวเองมีความสามารถ แบบไหน ธนูแบบใดยิงได้แค่ไหน ใช้ได้เพียงไร และการเล็งเป้าสูงก็ ไม่ใช่เพื่อให้ยิงสูงเลยเป้า แต่เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ นี่แสดงให้เห็น ว่าแม้จะเป็นอาวุธชนิดเดียวกันเช่นธนูในกรณีนี้ แต่เศรษฐธรรมของ อาวุธก็ไม่เหมือนกัน แตกต่างกันระหว่างยุโรปกับอินเดีย เมื่อหันมาพิจารณาแนวคิดของจีน ในคัมภีร์ หลุนอี่ว์ เล่มที่ 9 บทที่ 2 เขียนไว้ว่า “มี ช าวต๋ า เซี่ ย งกล่ า วว่ า ‘อาจารย์ ข งจื่ อ ยิ่ ง ใหญ่ จ ริ ง หนอ! ความรู้ท่านกว้างขวาง แต่ท่านก็ไม่มีชื่อเสียงในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง’ อาจารย์ได้ยินความดังกล่าว จึงกล่าวแก่ลูกศิษย์ว่า ‘จะให้เราทําอะไร ขับรถม้าหรือ ยิงธนูหรือ เห็นทีเราจะเลือกขับรถม้า’” (หน้า 213) และเล่มที่ 14 บทที่ 6 หนานกงคั่วถามขงจื่อว่า “‘อี้ขมังธนู อ้าวเขย่าเรือได้ แต่ทั้งสองคนไม่ได้ตายดี อี่ว์กับจี้ ยังต้องลงมือทําการเกษตรด้วยตนเอง กลับได้ครอบครองแผ่นดิน’ ขงจื่อไม่ตอบ ต่อเมื่อหนานกงคั่วออกไปแล้ว อาจารย์ก็กล่าวว่า ‘คนนี้ เป็นวิญญูชนแน่แท้ เป็นผู้มีคุณธรรมชั้นสูง’” (หน้า 260) จากข้อความในคัมภีร์ หลุนอีว่ ์ จะเห็นได้วา่ สําหรับขงจือ่ เมือ่ เปรียบเทียบการยิงธนูกับเรื่องอื่น เรื่องอื่นสําคัญกว่า การยิงธนูหรือ การใช้อาวุธไม่ค่อยสําคัญเท่าไรนัก อาจเป็นเพราะขงจื่อจะเน้นเรื่อง การสร้างอารยะในสังคมมนุษย์ ดังนั้น ความรุนแรงจึงไม่ใช่สิ่งที่ขงจื่อ ให้ค่ามากนัก ในเล่มที่ 3 บทที่ 16 อาจารย์กล่าวว่า “ในการประลองธนู ไม่เน้นว่าลูกธนูเข้าเป้าลึกเพียงใด ทั้งนี้ เพราะกําลังของคนไม่เท่ากัน นี่คือวิถีแห่งอดีต” (หน้า 170) - 268 60

.indd 268

3/3/2554 16:02:36


ศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ |

จะเห็ น ได้ ว่ า คํ า สอนของขงจื่ อ ตรงกั น ข้ า มกั บ คํ า สอนของ โทรณาจารย์ และไม่เหมือนกับที่มาคิอาเวลลีพูด เพราะกําลังของคน ไม่เท่ากัน ความหมายของ หลุนอีว่ ์ คือยิงให้ถกู เป้า ไม่ตอ้ งทําลายเป้า ให้พนิ าศเสียหาย หรืออาจลองคิดว่าทําอย่างไรจึงจะใช้ความรุนแรงให้ พอประมาณ ตรงเป้า แล้วไม่ต้องทําให้ฝ่ายตรงข้ามเจ็บปวดมากนัก การแก้ปัญหาให้ได้ ไม่จําต้องยิงลูกธนูจนลึกทะลุเป้า มีอีกตอนหนึ่ง ในคัมภีร์ หลุนอี่ว์ เล่มที่ 3 บทที่ 7 ขงจื่อบอก ว่า “วิญญูชนไม่มีอะไรต้องแก่งแย่ง แม้จําเป็นต้องยิงธนูก็คํานับแล้ว เดิ น ขึ้ น ไป พอเสร็ จ แล้ ว ก็ ดื่ ม แม้ ใ นการแข่ ง ขั น ก็ ยั ง เป็ น วิ ญ ญู ช น” (หน้า 168) คําสอนเช่นนี้หมายความได้ว่า ถ้าเปรียบการต่อสู้เหมือนกับ การแข่งขัน ทัง้ ก่อนและหลังการต่อสู้ มิตรภาพก็ยงั คงอยู่ สิง่ ทีข่ งจือ่ ทาํ ก็คือใช้พิธีกรรมมาแทน โดยมองการยิงธนูเป็นพิธีกรรม เพราะฉะนั้น จึงไม่ได้หมายความว่าอีกฝ่ายหนึ่งเป็นศัตรู ต้องทําลายล้างให้สิ้นซาก แต่มองว่าเป็นความสัมพันธ์ทยี่ งั มีมติ รภาพ ก่อนยิงธนูกค็ าํ นับ และหลัง จากนั้นก็กินดื่มกัน กล่าวให้ถึงที่สุดก็คือ แม้ต้องมีคนแพ้ คนชนะ แต่ ก็เริ่มและจบเรื่องอย่างมีอารยะได้ อีกบทหนึ่งที่สําคัญคือในเล่มที่ 7 บทที่ 16 คัมภีร์ หลุนอี่ว์ บอกว่า “อาจารย์ตกปลา แต่ไม่ใช้แห ยิงนก แต่ไม่ยิงนกที่เกาะนิ่งอยู่ บนกิ่งไม้” แปลว่าไม่ทํานกที่ไม่มีทางป้องกันตนเอง นกที่เกาะอยู่บน กิ่งไม้เป็นนกที่เสียเปรียบ วิญญูชนจะใช้อุปกรณ์เล่นงานก็ต่อเมื่อนก กำ�ลังบินเท่านั้น เพราะเป็นการใช้เครื่องมือที่พอสมควรกับเป้าหมาย มนุษย์ผู้ใช้ความรุนแรงกระทําต่ออีกฝ่ายในขณะที่ฝ่ายนั้นไม่รู้ตัวหรือ นิ่งอยู่กับที่ ถือว่าไม่เป็นธรรม ไร้อารยะ

- 269 60

.indd 269

3/3/2554 16:02:36


| เศรษฐธรรมแห่งความรุนแรง (Moral Economy(ies) of Violence)

ประเด็นสําคัญในทีน่ กี้ ค็ อื แม้จะเป็นการใช้เครือ่ งมือแห่งความ รุนแรงคือธนูเหมือนกัน แต่คาํ สอนจากทัง้ สามตัวอย่างในงานคลาสสิก ของโลกเหล่านี้ไม่เหมือนกันเลย สําหรับอินเดีย เศรษฐธรรมในเรื่องความรุนแรงเป็นเศรษฐธรรมที่เน้นอยู่บนเป้า หน้าที่ และการจัดการ สําหรับมาคิอาเวลลีก็จะ เพ่งไปที่การทํางาน ว่าอาวุธหรืออุปกรณ์มีศักยภาพแค่ไหนในการไป ให้ถึงวัตถุประสงค์ และในการกําหนดเป้าหมายก็กําหนดไว้มากกว่า สิ่งที่เห็นอยู่ ถ้าจะเอาชนะศัตรูก็เอาชนะโดยตั้งเป้าหมายให้สูงกว่า เท่าที่เห็น เพื่อไม่ให้หย่อนไปจากเป้าหมายที่จะเป็นไปได้และเป็นจริง ในขณะที่สําหรับขงจื่อ สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ข้อแรก ยิงธนูสําคัญน้อยกว่า เรือ่ งอืน่ ในการดาํ รงชีวติ ของมนุษย์ ข้อสอง เป้าทีจ่ ะถูกยิงต้องมีโอกาส ข้อสาม วิธียิงไม่ใช่การใช้กําลัง และข้อสุดท้าย หลังจากยิงแล้วต้อง คํานับ โดยเข้าใจว่าการยิงธนูคือพิธีกรรม (Ritual) ซึ่งในที่สุดอาจช่วย ลดความรุนแรงลงไปได้ คําถามที่สาม: ทําไมต้องคิดถึงเศรษฐธรรมแห่งความรุนแรงในเวลานี้ ที่ต้องคิดถึงเรื่องนี้ในเวลานี้เพราะสังคมไทยกําลังเผชิญกับ ความท้าทายใหญ่ 2 เรื่อง เรื่องแรก เราอยู่ในสังคมที่หลายคนบอกว่าแตกแยก ทะเลาะ กัน แต่สิ่งที่สําคัญกว่าความแตกแยกคือ ณ วันนี้ ความสัมพันธ์ทาง อํานาจระหว่างกลุ่มต่างๆ ในสังคมไทยได้เปลี่ยนไปแล้ว ถ้ายืมคําของ อาจารย์เกษียร เตชะพีระ ก็ต้องบอกว่า “เราไม่เคยอยู่ในสภาวะนี้เลย” สภาวะนี้คอื อะไร สภาวะนีค้ ือสภาวะทีม่ กี ารเคลื่อนไหวมวลชน (Mass - 270 60

.indd 270

3/3/2554 16:02:36


ศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ |

Movement) ขนาดใหญ่ 2 กลุ่ม ซึ่งไม่เกี่ยวข้องหรือไม่ขึ้นต่อรัฐ หรือ พูดอีกภาษาหนึ่งคือ รัฐอยู่ตรงกลางระหว่างกระแสพลังของมวลชน ขนาดใหญ่ 2 สาย ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นในเมืองไทยมาก่อน อย่างน้อยก็ ในประวัติศาสตร์ระยะใกล้ ในสมั ย ก่ อ น เมื่ อ เกิ ด การเคลื่ อ นไหวของมวลชนก็ จ ะมี ขบวนการ แต่คล้ายเป็นขบวนการที่รัฐเอามาใช้ หรือไม่ก็สู้กับรัฐ แต่ ขณะนี้ดูจะมีการเคลื่อนไหวมวลชนที่มีตัวตนของมันเอง มีคนจํานวน มหาศาลซึ่งเข้าข้างแต่ละขบวน มีเหตุผลของตนเอง มีความโกรธทาง ศีลธรรมของตนเอง โดยไม่ได้อยู่ใต้รัฐ รัฐจะไปบังคับหรือสั่งการใดๆ ก็ไม่ค่อยจะได้ ในทางกลับกัน รัฐต่างหากที่อ่อนลงเรื่อยๆ สังคมไทย ไม่เคยเผชิญสถานการณ์ทมี่ ขี บวนการใหญ่ขนาดนีเ้ ผชิญหน้ากันเช่นนี้ เพราะฉะนั้น ความลักลั่น การปะทะกัน หรือปัญหาที่เป็นอยู่ จึงเป็น อย่างที่เห็น นี่คือความสัมพันธ์ทางอํานาจที่เปลี่ยนไปในสมการการเมือง ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ โดยยังไม่ต้องพูดถึงเรื่องพรรคการเมืองเลย ซึ่ง พรรคการเมืองต่างก็สัมพันธ์กับทั้งสองขบวนการในบางลักษณะ แต่ ที่สําคัญก็คือ การเผชิญกันของพลังทางการเมืองขนาดใหญ่เช่นนี้ มีผลต่อชะตากรรมของสังคมไทย คนในสังคมไทยจะจัดการกับสภาวะ นี้อย่างไร ที่สําคัญคือต้องอ่านให้ออก วินิจฉัยโรคให้ได้ ว่าตอนนี้เกิด อะไรขึ้น เรือ่ งทีส่ องคือ “โครงสร้างแห่งความคาดหวังของคนในสังคม” (Structure of Expectations) ได้เปลี่ยนไป มนุษย์เชื่อมกันด้วยความ คาดหวัง ถ้าลําพังเกิดเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง โอกาสที่สังคมจะปะทะ กันหนักกว่านี้คงมีน้อย แต่เวลาเกิดเหตุต่างๆ พร้อมๆ กัน เพียงแค่มี ปัจจัยซึ่งไม่ต้องใหญ่มาก ก็สามารถทําให้พลังต่างๆ ในสังคมกระแทก กันหนักได้ หรืออาจจะนําไปสู่ความรุนแรงก็ได้ - 271 60

.indd 271

3/3/2554 16:02:36


| เศรษฐธรรมแห่งความรุนแรง (Moral Economy(ies) of Violence)

สมมติว่าความคาดหวังเปลี่ยนแปลงไป แต่โครงสร้างอํานาจ ยังเหมือนเดิมนั้นเป็นไปได้ ไม่แปลกอะไร เช่น นักศึกษารู้สึกว่าตนมี สิทธิเสรีภาพมากขึ้น สังคมเปิดขึ้น แต่ในโรงเรียนยังเป็นอีกอย่าง เช่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต สมัยนี้มีประกาศใหม่ๆ หลายข้อ เช่น ห้ามนักศึกษาแต่งชุดนอนมาเรียน ผู้บริหารมหาวิทยาลัยบางคน คงคิดว่าการแต่งชุดนอนมาเรียนจะทําให้ความสามารถในการเรียน ลดลง คงเป็นเศรษฐธรรมอีกแบบหนึ่ง ถ้าเป็นเช่นนี้ ขณะนี้ปัญหาคืออะไร ปัญหาก็คือ มนุษย์กําลัง เผชิญกับความขัดแย้งภายในสังคมของตนเช่นที่เกิดขึ้นในสังคมไทย และสังคมโลก ขณะนี้ได้เกิดความโกรธทางศีลธรรมขึ้นแล้ว ข้าพเจ้า คิดว่าชาวพุทธที่อยู่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีความโกรธสะสมไว้ มาก พวกเขาโกรธทั้งต่อรัฐซึ่งไม่สามารถปกป้องพวกเขาได้ และโกรธ ต่อชาวมลายูมุสลิมซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ พวกเขาอาจจะรู้สึกว่า “นี่มัน ประเทศไทย ทําไมตอนนี้ชีวิตเป็นอย่างนี้ พิธีกรรมทางพุทธศาสนา ตอนเย็นก็ทําไม่ได้ เพราะกลัวอันตราย” จึงเกิดความโกรธ แต่ในด้าน ชาวมลายูมุสลิมก็ไม่ต่างกัน พวกเขาโกรธเพราะ “แผ่นดินนี้อยู่มา ตัง้ นาน ร้อยปีทแี่ ล้วถูกยึดไปโดยกรุงเทพฯ พอมาถึงวันนี้ ไปทีไ่ หนก็มี แต่ด่านตรวจ” ถ้าทหารเจอชาวบ้านก็ถามว่า “ปืนอยู่ไหน” แต่ถ้าเจอ อาจารย์มหาวิทยาลัยก็จะถามอีกอย่างว่า “วันนี้เอาปืนมาหรือเปล่า ครับ” ข้อแตกต่างอาจอยู่ที่ระดับความสุภาพ เป็นไปได้หรือไม่ว่าสิ่งที่ กาํ ลังเกิดขึน้ คือการปะทะกันของความโกรธเชิงศีลธรรมเหล่านี้ และวิธี ที่ความโกรธดังกล่าวถูกแสดงออกมาก็คงต่างกัน เหตุการณ์ทชี่ ายแดนเขมรก็เป็นแบบเดียวกัน ถามว่าคนทีย่ งิ กระสุนใส่พันธมิตรฯ ที่ไปประท้วงคือใคร ในที่สุด คําตอบอาจจะเป็น ชาวบ้านที่ค้าขายอยู่แถวนั้น จัดตั้งหรือเปล่าก็ไม่ทราบ แต่ข้าพเจ้า คิดว่าถ้าเป็นชาวบ้านที่ค้าขายอยู่แถวนั้นก็คงโกรธพอสมควร เพราะ - 272 60

.indd 272

3/3/2554 16:02:36


ศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ |

วิถีชีวิตของเขาถูกกระทบ และแม้ข้าพเจ้าจะไม่เห็นด้วยกับการใช้ ความรุนแรง แต่ก็เป็นความโกรธที่เข้าใจได้ จึงปรากฏออกมาเป็นการ ใช้ความรุนแรงในลักษณะดังกล่าว ฝ่ายเสือ้ เหลืองก็แบบเดียวกัน เป็น ความโกรธเพราะเข้าใจว่าตนเสียอธิปไตย แต่เสียจริงหรือเปล่าไม่รู้ ดูเหมือนว่าในเวลานีส้ งั คมไทยกาํ ลังโลดแล่นอยูใ่ นสํานึกของความโกรธ แต่สังคมมนุษย์อยู่กับความโกรธได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับว่าอยู่ ในสังคมหรือวัฒนธรรมแบบไหน ในบางสังคม บางวัฒนธรรม เช่น พวกเอสกิโม (Eskimo) ถือว่าคนที่โกรธหรือแสดงความโกรธเป็น คนมารยาทไม่ดี แต่ถ้าเป็นวัฒนธรรมโรมัน คนที่เป็นผู้ชายจริงๆ ต้อง โกรธ เวลาที่เกียรติยศเกียรติศักดิ์ถูกรบกวน ถ้าไม่โกรธถือว่าแย่มาก ทั้งกรีกและโรมันถือว่าความโกรธเป็นอารมณ์ที่ดี เป็นอารมณ์ปัจจุบัน ขณะ (Present Emotion) ซึ่งตั้งเป้าไปที่อนาคต เพราะในที่สุด ความ สุขของความโกรธคือจะได้คิดว่าต้องแก้แค้นอย่างไร เวลาที่ชาวโรมัน นัง่ คุยกัน ใครมาสะกิดเท้าก็ตอ้ งแสดงความโกรธให้เห็น15 เพราะฉะนัน้ การที่บุตรของนักการเมืองบางคนโกรธเพราะมีใครบางคนมาเหยียบ เท้า อาจจะเป็นเพราะศักดิศ์ รีของเขาถูกวางไว้ทบี่ างตาํ แหน่งในร่างกาย เวลาถูกกระทบกระเทือน ความโกรธจึงสูงมาก อย่างนี้แสดงว่าการ ศึกษาที่ได้รับมาคงเป็นแบบโรมัน ทั้ ง หมดนี้ น่ า จะแสดงว่ า สั ง คมไทยกํ า ลั ง เผชิ ญ กั บ ความ เปลี่ยนแปลงอีกลักษณะหนึ่ง ถ้าย้อนกลับไปคิดถึงสกอตต์ สกอตต์ พูดถึงอิทธิพลของอํานาจอาณานิคม (Colonial Power) ข้าพเจ้าคิดว่า ก็อาจจะพูดถึงสังคมไทยในแง่ของอิทธิพลของโลกาภิวัตน์ ซึ่งกําลัง ทําให้คนในสังคมเปลี่ยนในหลายๆ อย่าง ความคาดหวังก็เปลี่ยน อํานาจในสังคมไทยก็เปลี่ยน 5-6 ปีที่ผ่านมา สิ่งที่คุณทักษิณทํา สิ่งที่ Martha C. Nussbaum, Upheavals of Thought: The Intelligence of Emotions (Cambridge: Cambridge University Press, 2003), pp. 159-163. 15

- 273 60

.indd 273

3/3/2554 16:02:37


| เศรษฐธรรมแห่งความรุนแรง (Moral Economy(ies) of Violence)

รัฐบาลทักษิณทาํ ได้ไปกระทบสายสัมพันธ์ทางอาํ นาจซึง่ เปลีย่ นแปลง ไปหมด รวมทั้งสังคมไทยเองที่เปลี่ยนมานานแล้ว การเปลี่ยนแปลงนี้ จะดีหรือไม่ดีเป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่สังคมไทยเปลี่ยนไปแล้ว เวลาพูด ถึงเรื่องรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ 2540 และ 2550 โจทย์คือการพยายาม ตระหนักว่ารัฐธรรมนูญก็คือการจัดความสัมพันธ์ทางอํานาจ คําถาม ทีค่ วรจะถามก็คอื 15 ปีมานี้ ความสัมพันธ์ทางอาํ นาจเปลีย่ นไปอย่างไร และการใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่จัดการกับความสัมพันธ์ทางอํานาจ ที่เปลี่ยนไปแล้ว จะทําได้หรือไม่ อย่างไร การทํ าความเข้า ใจความโกรธและเศรษฐธรรมแห่งความ รุนแรง เป็นประเด็นสําคัญสําหรับการพาประเทศไปข้างหน้าอย่าง รอบคอบ และถ้าผูค้ นในสังคมไทยระมัดระวังพอสมควร โดยพยายาม เข้าใจฝ่ายต่างๆ ที่กําลังปะทะเผชิญหน้ากันอยู่ ก็อาจจะพอมีทาง แต่ ไม่ใช่ทางออกจากความขัดแย้ง หากเป็นการนําทาง (Navigation) นํา วิถีความขัดแย้งไปในลักษณะที่สร้างสรรค์กว่านี้ และเป็นอันตรายต่อ ชีวิตทางสังคม ชีวิตทางจิตวิญญาณ และชีวิตทางกายภาพของผู้คน ในสังคมน้อยกว่านี้ และข้าพเจ้าคิดว่า ถ้าไม่สนใจเศรษฐธรรมของ ความรุนแรง สังคมไทยจะอยูใ่ นภาวะทีเ่ สีย่ งสําหรับสิง่ ทีก่ าํ ลังจะเกิดขึน้ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต

- 274 60

.indd 274

3/3/2554 16:02:37


ศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ |

ช่วงแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ปกป้อง จันวิทย์: ในองก์แรก อาจารย์ชยั วัฒน์ได้ชใี้ ห้เห็นความรุนแรง ชนิดที่ถึงตาย และบางครั้งถึงตายก็ยังไม่จบ ในรูปของความโกรธทาง ศีลธรรม ซึ่งมีรากอยู่ที่สํานึกแห่งความเป็นธรรมถูกกระแทกจนอดทน ต่อไปไม่ได้ นอกจากนี้ อาจารย์ยังพูดถึงเศรษฐธรรมหลายๆ ชุดที่ แตกต่างกัน โดยเศรษฐธรรมของอาจารย์ไม่เหมือนกับงานของสกอตต์ และธอมป์สันซึ่งเน้นไปที่ฐานของผู้คน แต่เศรษฐธรรมของอาจารย์ อยู่บนฐานของความรุนแรง ในองก์ที่สอง อาจารย์ได้พูดถึงความรุนแรงในฐานะที่เป็น เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ไม่สามารถดํารงอยู่ได้ด้วยตัวเอง ต้องอาศัย บางอย่างมาคํ้ายันสร้างความชอบธรรม ต้องอาศัยเป้าหมายสุดท้าย เป็นเหตุผลรองรับ และอาจารย์กไ็ ด้ยกตัวอย่างถึงงานเขียนของอินเดีย อิตาลี และจีน ซึ่งแสดงให้เห็นความรุนแรงในฐานะเครื่องมืออุปกรณ์ รวมทั้งยังให้แง่คิดต่างๆ ทั้งเรื่องการเน้นไปที่เป้า การมองไม่เห็น องค์รวมจะนํามาซึ่งความรุนแรงได้อย่างไร ความเข้าใจในศักยภาพ ของอาวุธ และโยงไปถึงเรื่องวัตถุประสงค์ โดยการบรรลุวัตถุประสงค์ จําเป็นจะต้องตั้งเป้าให้สูงกว่าที่ตั้งใจไว้ นอกจากนั้น อาจารย์ยังชี้ ให้เห็นกรอบคิดแบบขงจื่อ ซึ่งมีแง่คิดเรื่องความสําคัญของการใช้ ความรุนแรงที่น้อยกว่า ไม่ทําร้ายคนที่ด้อยกว่า ไม่อาศัยการใช้กําลัง และเคารพในมิตรภาพของการแข่งขัน ในตอนจบ อาจารย์ได้ทิ้งท้ายถึงโครงสร้างทางอํานาจและ โครงสร้างความคาดหวังของสังคมไทยที่เปลี่ยนไป เรื่องเศรษฐธรรม จึงเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสําคัญ ต้องคุยกันต่อไป ผมขอเปิดเวทีเพื่อ ชวนสนทนากันต่อครับ

- 275 60

.indd 275

3/3/2554 16:02:37


| เศรษฐธรรมแห่งความรุนแรง (Moral Economy(ies) of Violence)

สมชาย ปรีชาศิลปกุล: ดูเหมือนอาจารย์ชัยวัฒน์จะพยายามพูดว่า เราควรทําความเข้าใจเศรษฐธรรมแห่งความรุนแรง คําถามของผม ก็คือ ถ้าเศรษฐธรรมแห่งความรุนแรงของแต่ละกลุ่มหรือแต่ละคน เป็นเศรษฐธรรมที่ไปด้วยกันไม่ได้ ถึงเราจะเข้าใจเศรษฐธรรมแห่ง ความรุนแรงของเขาก็ตาม เพราะแต่ละฝั่งต่างก็ยืนอยู่บนหลักการ พื้นฐานที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ถ้าอย่างนั้นเราควรจะทําอย่างไร ชัยวัฒน์ สถาอานันท์: ผมถึงได้ชี้ว่าศาสตร์และศิลป์ของการยิงธนู ทั้งสามแบบแตกต่างกัน ซึ่งความน่าสนใจของความแตกต่างนี้ก็คือ พอเราเริ่มมองว่าความรุนแรงเป็นเครื่องมืออุปกรณ์เฉยๆ ไม่ใช่เป้า เราจึงต่างกันแค่วิธี ซึ่งถ้าต่างกันแค่วิธี ฐานะของวิธีไม่ควรสําคัญถึง ขั้นต้องตายกันไปข้างหนึ่ง สมมติว่าเราจะไปเชียงใหม่ เราคงมีวิธี ไปได้หลายวิธี แต่ทําไมเรากลับยอมให้ข้อไม่ตกลงในเรื่องวิธีมาเป็น เจ้าเรือน จนไม่สามารถตกลงถึงเป้าที่จะไปด้วยกันได้ ผมคิดว่าเศรษฐธรรมแห่งความรุนแรงแตกต่างกันในระดับ ของตัวมันเอง ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้ก็ยังพอเป็นไปได้ที่จะพูดถึง แต่คงต้อง ตระหนักก่อนว่านี่เป็นแค่วิธี กระนั้น สังคมไทยก็ยังจําเป็นต้องคุยกัน ในเรื่องของเป้า คนที่อยู่ร่วมกันในสังคมนี้ต้องการสังคมไทยแบบไหน ต้องการประชาธิปไตยแบบใด อยากจะอยู่ด้วยกันในลักษณะไหน ถึงเวลาต้องคุยกันในเรื่องที่สําคัญยิ่งเหล่านี้แล้ว สุขุม อัตวาวุฒิชัย: หากเรามองความรุนแรงเป็นเครื่องมืออุปกรณ์ ถ้าอย่างนัน้ ระหว่างการจะบรรลุเป้าหมายด้วยวิธกี ารทีใ่ ช้ความรุนแรง (Violent Means) กับวิธีการที่ไม่ใช้ความรุนแรง (Nonviolent Means) คนมักจะบอกว่าเราไม่มีทางบรรลุเป้าหมายด้วยวิธีการที่ไม่ใช้ความ รุนแรง แต่เราอาจจะเอาชนะความรุนแรงด้วยวิธกี ารทีร่ นุ แรงได้ ทําไม ถึงเป็นอย่างนั้น อาจเพราะเขารู้สึกว่าใช้อย่างอื่นแล้วไม่ได้ผล ซึ่งเขา - 276 60

.indd 276

3/3/2554 16:02:37


ศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ |

ก็ไม่รู้เหมือนกันว่ามันจะสําเร็จหรือไม่ แต่เขาคงเชื่อว่ามันต้องสําเร็จ ไม่อย่างนั้นเขาคงไม่ใช้ ผมอยากให้อาจารย์ช่วยขยายความในเรื่องนี้ ชัยวัฒน์ สถาอานันท์: ผมคิดว่ามีมายาคติเกี่ยวกับการไม่ใช้ความ รุนแรงอยู่หลายข้อ มายาคติข้อหนึ่งคือ การไม่ใช้ความรุนแรงและ “สันติวิธี” มันช้า สู้ความรุนแรงไม่ได้ แต่ถ้าเราคิดอีกทาง เราอาจเห็น ว่าเป็นไปได้ไหมว่าปัญหาภาคใต้ยงั คงอยูเ่ พราะคนหลายพวกในพืน้ ที่ นั้นได้รับผลประโยชน์จากความรุนแรง ความรุนแรงที่เกิดขึ้น ใช่ว่า ฝ่ายผู้ก่อการเป็นคนทําฝ่ายเดียว เจ้าหน้าที่รัฐก็มีส่วนเหมือนกัน และเป็นไปได้ไหมว่าคนในพื้นที่ โดยเฉพาะผู้ก่อการ ถูก หล่อเลี้ยงด้วยมายาคติบางอย่างที่ทําให้รู้สึกว่าความรุนแรงเท่านั้น ถึงจะเป็นคําตอบ เราจะเห็นได้ว่ามีการใช้อาวุธหรือการใช้ระเบิด มากขึ้น มีทหารเข้าไปคุ้มกันวัดวาอารามมากขึ้น วัดบางแห่งในพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้มีพระเหลือเพียงรูปเดียว ถามว่าเมื่อเป็น อย่างนี้ ควรจะธาํ รงวัดไว้ไหม คาํ ตอบจากฝ่ายรัฐคือต้องธาํ รงไว้ เพราะ ตอนนี้วัดบางแห่งไม่ได้มีฐานะเป็นสถานที่ทําบุญสําหรับศาสนิก แต่ เป็นสัญลักษณ์ทางการเมือง สิ่งเหล่านี้ทําให้ผมรู้สึกว่า สําหรับผู้คนจำ�นวนไม่น้อย ความ รุนแรงกลายเป็นสิง่ ที่ “ใช้การได้” ในสังคมนี้ และเมือ่ เราผลักสังคมไปสู่ การคิดว่าความรุนแรงมัน “ใช้การได้” จนความรุนแรงกลายเป็นสภาพ ปกติ กระทั่งรู้สึกว่าชีวิตไม่มีทางออก ปัญหาที่ตามมาคือ พอความ รุนแรงมีพลังมากขึ้นหรือถูกใช้บ่อยขึ้นเรื่อยๆ ก็จะไปบดบังหลายสิ่ง หลายอย่าง ที่สําคัญคือ หนึ่ง ความรุนแรงจะไปบดบังเหตุของปัญหา สอง จะไปบังไม่ให้ได้เห็นเหยือ่ ทีไ่ ด้รบั ความรุนแรง สาม บังไม่ให้สงั คม หันไปมองเห็นทางเลือกอื่นๆ ถามว่าเป็นไปได้ไหมที่จะคิดถึงความ สัมพันธ์ระหว่างกรุงเทพฯ กับจังหวัดชายแดนภาคใต้ในรูปของความ สัมพันธ์ทางอํานาจแบบใหม่ ในเวลานี้เป็นไปไม่ได้ เพราะถูกบดบัง ด้วยเรื่องอื่นๆ อีกหลายเรื่อง แทนที่จะคิดถึงเรื่องอื่นๆ กลับคิดไม่ออก - 277 60

.indd 277

3/3/2554 16:02:37


| เศรษฐธรรมแห่งความรุนแรง (Moral Economy(ies) of Violence)

สุขมุ อัตวาวุฒชิ ยั : ศาสนาอิสลามก็เหมือนกับศาสนาอืน่ ๆ สอนให้คน ไม่ใช้ความรุนแรง แต่ทําไมในความเป็นจริง เหตุการณ์ความรุนแรงจึง เกิดขึ้นจนกระทั่งไปอิงกับคําว่าเป็นคนอิสลาม มายาคตินี้ถูกสร้างขึ้น ได้อย่างไร ชัยวัฒน์ สถาอานันท์: ผมเริ่มจากพุทธศาสนาก่อน พุทธศาสนาเป็น ศาสนาที่แจ่มชัดมากในเรื่องคําสอนของพระพุทธองค์ โดยเฉพาะเรือ่ ง สันติ ศีลข้อแรกคือการไม่เอาชีวิตสรรพสิ่ง แต่ถ้าเราดูประวัติศาสตร์ ของประเทศทีใ่ ช้พทุ ธศาสนาเป็นกรอบวัฒนธรรม เราจะเห็นว่าสงคราม สยามกับพม่าก็คอื การรบระหว่างสังคมพุทธสองสังคม รบกันมาตลอด แต่กลับไม่มีการตั้งคําถามว่าศาสนาอยู่ตรงไหน ทั้งๆ ที่พุทธศาสนา ก็ถูกเอามาใช้ในเรื่องนี้ได้ หรือศรีลังกากับทมิฬ รัฐบาลของนาย ราชปักษีที่เล่นงานกลุ่มปลดปล่อยพยัคฆ์ทมิฬอีแลม (Liberation Tigers of Tamil Elam: LTTE) ด้วยความรุนแรง ก็เป็นรัฐบาลสิงหล ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพุทธ อีกทั้งพระส่วนใหญ่ในศรีลังกาก็สนับสนุนการ ปราบปรามอย่างค่อนข้างรุนแรง เหตุเหล่านี้บ่งบอกอะไร ผมคิดว่า ปรากฏการณ์เหล่านี้ชี้ให้เห็นว่า ศาสนาสามารถนํามาใช้ยืนยันรองรับ ความรุนแรงได้ทงั้ นัน้ ไม่วา่ จะเป็นศาสนาไหน ไม่เว้นแม้แต่ศาสนาพุทธ ในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อครั้งเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 พระ อุบาลีคณ ุ ปู มาจารย์ (จันทร์ สิรจิ นั โท) พระสงฆ์ผใู้ หญ่รปู หนึง่ ได้คดั ค้าน การเข้าร่วมสงครามโลกของรัชกาลที่ 6 แต่สงิ่ ทีเ่ กิดขึน้ คือท่านถูกถอด ยศและห้ามออกไปที่อื่น ให้อยู่แต่ในวัด แปลกมาก เพราะการเป็นพระ สงฆ์ก็ไม่ควรสนับสนุนสงคราม แต่ท่านกลับทําไม่ได้ พอทําแล้วก็ขัด กับนโยบายรัฐ16 โปรดพิจารณา Chaiwat Satha-Anand, “The Leaders, the Lotus and the Shadow of the Dove: The case of Thai society,” in Noboru Yamamoto (ed.), Buddhism and Leadership for Peace (Tokyo: Soka University Peace Research Institute, 1986), pp. 60-69. 16

- 278 60

.indd 278

3/3/2554 16:02:37


ศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ |

ผมพูดทั้งหมดนี้เพื่อจะบอกว่า ถ้าเราเริ่มต้นจากพุทธศาสนา ซึ่งเป็นกรณีที่ยากที่สุดในการคิดถึงการใช้ศาสนามาสนับสนุนความ รุนแรง เราจะเข้าใจอิสลามได้ง่ายขึ้น อิสลามไม่เหมือนพุทธ เวลาเรา บอกว่าศาสนาทั้งหลายสอนให้คนเป็นคนดี อันนี้เป็นถ้อยคําที่น่าเบื่อ มาก เพราะคํากล่าวนี้ไม่ได้บอกอะไร ก็พูดกันทั่วไปอย่างนั้น ที่น่าสนใจคือ ศาสนาทั้งหลายต่างกัน ถามว่าอิสลามต่างกับ ศาสนาอื่นๆ ตรงไหน ในความเห็นของผม ผมคิดว่าต่างในสองเรื่อง สําคัญ คืออิสลามบอกว่าความไม่เป็นธรรมเป็นเรื่องใหญ่มาก และ การต่อสู้กับความไม่เป็นธรรมเป็นหน้าที่ของคนมุสลิม ถ้าสามารถ ทาํ ให้คนมุสลิมรูส้ กึ ได้วา่ โลกในขณะนี้ หรือสังคมในขณะนี้ หรือทีท่ เี่ ขา อยู่ มีความไม่เป็นธรรม ก็ไม่ใช่เรื่องยากที่จะทําให้คนมุสลิมรวมตัวกัน ทําอะไรบางอย่างเพื่อแก้ปัญหา ผมขออธิบายให้ฟงั ง่ายๆ ว่า ตัง้ แต่ผมเป็นเด็ก ทีบ่ า้ นจะอาศัย คํากล่าวของศาสดามูฮัมหมัด (หะดิษ) ซึ่งสอนว่า “ถ้าเราไปนอนโดย รูว้ า่ เพือ่ นบ้านยังหิวอยู่ เราจะเรียกตัวเองว่ามุสลิมได้อย่างไร” ตอนนัน้ ผมยังไม่ค่อยเข้าใจ ผมเข้าใจแค่ว่าให้เผื่อแผ่ แต่ที่จริงไม่ใช่ เพราะ มีความหมายมากกว่านั้น คําสอนนี้กําลังบอกคนมุสลิมว่า ข้อแรก ความอดอยากเป็นปัญหา ข้อสอง ความอดอยากของคนอื่นเป็นปัญหาของเรา ข้อสาม ความอดอยากของคนอืน่ เป็นปัญหาของเราในทางจิต วิญญาณ และข้อสี่ ดังนั้น คุณต้องทําอะไรบางอย่างเพื่อแก้ปัญหา ดังกล่าว เมื่ออิสลามสอนแบบนี้ จึงไม่ยากที่จะลุกขึ้นมาทําอะไรบาง อย่าง พระคัมภีร์อัลกุรอานถามว่า ทําไมสูเจ้าไม่ต่อสู้ในหนทางของพระเป็นเจ้า และเพื่อคนทั้งหลายผู้ซึ่งอ่อนแอ - 279 60

.indd 279

3/3/2554 16:02:37


| เศรษฐธรรมแห่งความรุนแรง (Moral Economy(ies) of Violence)

และถูกกระทําอย่างเลวร้าย (และถูกกดขี่) ทั้งชาย ทั้งหญิง และทั้งบรรดาเด็กๆ ผู้ซึ่งรํ่าร้องว่า “พระเป็นเจ้าของข้าฯ โปรดปลดปล่อยเราจากเมืองนี้ ที่ซึ่งพวกเขาเป็นผู้กดขี่” [บทที่ (ซูเราะห์) 4 วรรคที่ (อายะห์) 75] เมื่อพระคัมภีร์อัลกุรอานถามแบบนี้ จะเกิดอะไรขึ้นกับชาว มุ ส ลิ ม ถ้ า สมมติ ว่ า ตอนนี้ มี รั ฐ ใดรั ฐ หนึ่ ง รั ง แกคนมุ ส ลิ ม อย่ า งหนั ก หน่วง คงไม่ยากนักที่จะพบคนมุสลิมลุกขึ้นมาทําอะไรกับสถานการณ์ นั้น ด้วยเหตุนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับศาสนาอื่น ผมคิดว่าอิสลามเป็น ศาสนาที่ให้ความสําคัญกับการกระทํา (Action Oriented) เป็นศาสนา ที่มนุษย์ทุกคนต้องทําอะไรบางอย่าง และกิจการในโลกนี้เป็นกิจการ ที่มีความสําคัญพอๆ กับกิจการของโลกหน้า เพราะศาสนาอิสลาม ไม่ได้แยกกิจการทางโลกและทางศาสนา หรือระหว่าง “โลกนี”้ กับ “โลก หน้า” ออกจากกัน ปัทมาวดี ซูซูกิ: ก่อนอื่น รู้สึกชอบคําว่า “การตัดสินใจอย่างมีเหตุผล บนฐานจริยธรรม” ของอาจารย์มาก เพราะเศรษฐศาสตร์มักจะพูดถึง ความมีเหตุมีผล (Rational) และการตัดสินใจอย่างมีเหตุผล แต่พอ เพิ่มคําว่า “บนฐานจริยธรรม” เข้ามา ดิฉันในฐานะนักเศรษฐศาสตร์ ฟังแล้วรู้สึกว่าน่าสนใจมาก ประเด็นที่สองที่อยากแลกเปลี่ยนคือ กรณีเขาพระวิหารก็ดี กรณีภาคใต้ก็ดี หรือกรณีเสื้อเหลือง-เสื้อแดงก็ดี ดิฉันคิดว่าทั้งสาม โจทย์มลี กั ษณะต่างกันอย่างมาก แต่ละฝ่ายต่างตัดสินใจอย่างมีเหตุผล บนฐานจริยธรรมของตนเอง แต่สิ่งที่กําลังเกิดขึ้นจริงก็คือ เป้าหมาย หรือสิง่ ทีต่ า่ งคนต่างมองมันแยกส่วน ตอนนีค้ วามดีในสังคมไทยถูกมอง - 280 60

.indd 280

3/3/2554 16:02:37


ศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ |

แบบแยกส่วน อันที่จริง คําว่าความดีเป็นคําที่หลวมที่สุด เพราะมีได้ หลายองค์ประกอบ เสื้อเหลืองก็มองความดีแบบหนึ่ง เสื้อแดงก็มอง ความดีอกี แบบหนึง่ ในเมือ่ ความดีหรือความถูกต้องถูกแยกส่วนจึงมอง ไม่ครบ พอมองไม่ครบ มันก็ไม่มีวิธีสื่อสารที่จะนําไปสู่การสมานฉันท์ ดิฉันนึกถึงคําว่าความยุติธรรม ถ้าแปลตรงตัวน่าจะหมายถึง ธรรมะทีย่ ตุ คิ วามขัดแย้ง อาจารย์อภิชยั พันธเสน บอกว่า ความหมาย ของความยุติธรรมนั้นต่างกันอย่างสิ้นเชิงกับความหมายของคำ�ว่า Justice ในความเข้าใจแบบตะวันตก ซึ่งเป็นสิ่งที่เรารับเข้ามา เพราะ ฉะนัน้ ในสถานการณ์ปจั จุบนั ทีค่ วามดีถกู แยกส่วนและความรุนแรงถูก ใช้เป็นเครือ่ งมือ จึงเลยไปสูเ่ ครือ่ งมือทีม่ องเป้าคนละตัว แต่ดเู หมือนว่า กลับไม่สามารถหาธรรมะทีย่ ตุ คิ วามขัดแย้งได้ ดิฉนั ไม่แน่ใจว่าอาจารย์ มองเรือ่ งธรรมะทีย่ ตุ คิ วามขัดแย้งกับคาํ ว่า Justice อย่างไร ดิฉนั คิดว่า เครือ่ งมือทีต่ า่ งกัน เป็นเพราะเป้าหมายและนิยามของ Justice ต่างกัน ชัยวัฒน์ สถาอานันท์: ผมไม่ คิ ด ว่ า จะมี ธ รรมะอะไรมายุ ติ ค วาม ขัดแย้งได้ คือผมมาจากสาํ นักทีเ่ ชือ่ ว่าความขัดแย้งเป็นเรือ่ งธรรมชาติ ผมคิดว่าในโลกนี้เราต่างกัน และเราก็ขัดกันด้วยเหตุผลนานาชนิด เพียงเพราะเราต่างกัน เราก็พร้อมที่จะขัดแย้ง แต่ความขัดแย้งอาจจะ ไม่ใช่ไม่ดี ความขัดแย้งก็มีประโยชน์ของมัน ปัญหาของผมก็คือ ทําอย่างไรถึงจะไม่ทําให้ความขัดแย้ง ที่มีอยู่เปลี่ยนไปเป็นความขัดแย้งชนิดที่ถึงตาย ทําอย่างไรถึงจะทําให้ ความขัดแย้งทีม่ อี ยูใ่ นเรา โตไปด้วยกัน งอกงามไปด้วยกัน เบิกบานไป ด้วยกัน พุทธศาสนามีสงิ่ ทีเ่ รียกว่า “พุทธวิธแี ห่งความขัดแย้ง” ไหม คือ ขัดแย้งอย่างรู้ อย่างตืน่ อย่างเบิกบาน ถ้ามีกอ็ าจจะเป็นอะไรทีน่ า่ สนใจ ปัญหาอยู่ที่ว่า ถ้าผมเชื่อว่าอย่างไรเราก็ขัดกัน ซึ่งไม่เป็นไร แต่สิ่งที่เป็นไรคือ เมื่อเราตัดสินใจว่าความขัดแย้งต้องใช้ความรุนแรง เข้าจัดการ เมื่อเราหมดความสามารถที่จะมองเห็นคู่ขัดแย้งในฐานะ - 281 60

.indd 281

3/3/2554 16:02:37


| เศรษฐธรรมแห่งความรุนแรง (Moral Economy(ies) of Violence)

ที่เป็นเพื่อนร่วมทุกข์ อะไรที่ทําให้ความสามารถนี้หายไป เกิดอะไรขึ้น กับเรา อะไรทําให้เราเป็นไปได้ถึงขนาดนี้ ถ้าเราสามารถตระหนักถึง ภูมิปัญญาแบบนี้ได้บ้าง เราอาจจะขัดแย้งกันอย่างรู้ อย่างตื่น อย่าง เบิกบานต่อไปได้ โดยไม่เลื่อนไปสู่การใช้ความรุนแรง แต่ถ้าวันใด เราขัดแย้งกันจนไม่เห็นคนเหล่านี้เป็นเพื่อน กระทั่งไม่เห็นคนเหล่านี้ เป็นมนุษย์ แต่เห็นเป็นศัตรูคู่อาฆาตที่ต้องทําลายล้าง ความรุนแรง ก็จะปรากฏ โจทย์ของผมจึงไม่ได้อยู่ที่ว่าเป้าของสังคมจะเป็นอย่างไร ผมสนใจอย่างเดียว คือวิธที จี่ ะไปถึงเป้า ทาํ อย่างไรเราถึงจะอยูร่ ว่ มกัน ด้วยความแตกต่างได้ คุณจะไปคาดหวังให้คนในสังคมเห็นด้วยกับคุณ ทัง้ หมดหรือเห็นด้วยกันหมดไม่ได้ เมือ่ คุณไปในทีท่ หี่ นึง่ แล้ว จะมีทขี่ อง คนอืน่ ไหม ความคิดของคุณสามารถจะเปิดพืน้ ทีใ่ ห้กบั คนทีไ่ ม่เห็นด้วย กับคุณได้ไหม เป็นไปได้ไหมทีจ่ ะมีสงั คมการเมืองแบบนัน้ มีอดุ มการณ์ ทางการเมืองแบบนัน้ มีสถาบันการเมืองแบบนัน้ เป็นสถาบันการเมือง ทีไ่ ม่ตอ้ งชอบคนทีอ่ ยูข่ า้ งในสังคมการเมืองนัน้ ก็ได้ แต่เป็นสถาบันของ ทุกคน ไม่อย่างนั้นสังคมการเมืองนั้นคงอยู่กันลําบากขึ้น ปกป้อง จันวิทย์: อาจารย์ชัยวัฒน์มองคําว่าเศรษฐธรรมเหมือนเป็น ชุดความคิดทีห่ ลากหลาย เป็นชุดความคิดทีใ่ ช้เป็นสาํ นึกในเรือ่ งความ เป็นธรรมที่มีต่อเศรษฐกิจ อาจารย์บอกว่าเศรษฐธรรมที่แตกต่างกัน อาจจะนําไปสู่ความขัดแย้งในบั้นปลาย อาจารย์บอกว่าความขัดแย้ง เป็นสิ่งธรรมชาติ จัดการมันไม่ได้ แต่ทําอย่างไรถึงจะบรรเทาไม่ให้นํา ไปสู่ความแตกแยกหรือกระทบกระเทือนมาก เมื่อเราเข้าใจเศรษฐธรรมในฐานะที่เป็นตัวอธิบายภาพความ ขัดแย้งในปัจจุบัน แต่ภายใต้กรอบความคิดที่ความขัดแย้งเป็นเรื่อง ธรรมชาติ คนมีชุดของเศรษฐธรรมที่แตกต่างหลากหลาย เรามีทางที่ - 282 60

.indd 282

3/3/2554 16:02:37


ศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ |

จะมีสถาบันทีจ่ ะจัดวางความหลากหลายของเศรษฐธรรม ไม่ให้นาํ ไปสู่ ความรุนแรงถึงขัน้ แตกหักหรือความขัดแย้งถึงขัน้ ฆ่ากันตายได้อย่างไร ชัยวัฒน์ สถาอานันท์: ผมตอบไม่ได้ เพราะยังไม่ได้คิดไปถึงขนาด นั้น แต่ผมรู้อยู่อย่างหนึ่งว่า ไม่ว่าจะอย่างไร สิ่งที่เป็นพิษต่อสังคมไทย มีสองเรื่อง หนึ่ง คือทําอย่างไรถึงจะทําให้เราไม่อยู่ร่วมกันด้วยความ เกลียดชัง เราไม่ต้องรักกันก็ได้ ไม่เป็นไร แต่สิ่งสําคัญคือ ทําอย่างไร ถึงจะอยู่ด้วยกันโดยไม่เกลียดกัน สอง คืออย่าเห็นความรุนแรงเป็น เครื่องมือปกติ ผมไม่รวู้ า่ มีสถาบันอะไรทีท่ าํ เรือ่ งเหล่านีห้ รือเปล่า แต่ในฐานะ นักวิชาการ ในฐานะคนที่ทํางานประเภทนี้ ในฐานะคนที่รู้สึกห่วงหา อาทรสังคมอยู่บ้าง สิ่งที่เราต้องทําคือ ควรต้องมีบทวิพากษ์เมื่อความ รุนแรงถูกทําให้เป็นเรื่องปกติหรือพร้อมที่จะใช้ เพราะความรุนแรง บดบังหลายอย่างดังที่ได้กล่าวไปแล้ว พอใช้มันแล้ว เราก็จะไม่เห็น อะไรอีกหลายอย่าง หรือเวลาความเกลียดชังในสังคมถูกผลิตมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม ผมคิดว่าเป็นหน้าที่ที่เราจะต้องลุกขึ้นมา วิพากษ์วิจารณ์ แต่การวิพากษ์วิจารณ์นั้นจะนําไปสู่อะไร ผมไม่แน่ใจ ปกป้อง จันวิทย์: คําถามที่สามของอาจารย์คือ ทําไมถึงต้องคิดถึง เศรษฐธรรมแห่งความรุนแรงในขณะนี้ ถ้าผมอยากจะถามคําถามที่สี่ ให้อาจารย์ชว่ ยขยายความ ว่าปัญหาความรุนแรงในขณะนี้ เช่น ปัญหา ภาคใต้ ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง ปัญหาเรื่องเขาพระวิหาร เราจะใช้กรอบความคิดเรือ่ งเศรษฐธรรมแห่งความรุนแรงไปอธิบายมัน อย่างไร เพื่อจะได้เห็นภาพรูปธรรมในเชิงวิธีวิทยา ชัยวัฒน์ สถาอานันท์: เมื่อวานนี้เป็นวันตรุษของคนมุสลิม (อีดิล อัฎฮา คือตรุษหลังพิธีฮัจญ์) มีพิธีกรรมหลายอย่าง ตอนเช้าก็ไป ละหมาด ไปสุสาน ไปสวดมนต์ เสร็จแล้วก็ไปเยี่ยมญาติ ผู้ใหญ่ก็แจก - 283 60

.indd 283

3/3/2554 16:02:37


| เศรษฐธรรมแห่งความรุนแรง (Moral Economy(ies) of Violence)

สตางค์เด็ก ตอนเย็นก็ไปบ้านญาติ และทานอาหารกัน ญาติของผม ส่วนใหญ่เป็นฝ่ายพันธมิตรฯ มีญาติคนหนึ่งเขาเข้ามาจูงมือผม ถาม ว่า “รูไ้ หม ทาํ ไมถึงเกิดเรือ่ งทีเ่ ขาพระวิหาร” ผมตอบว่า “ไม่รหู้ รอกครับ” เขาจึงเล่าว่า “มันไม่มอี ะไรเลย ไอ้พวกทีอ่ อกมาไล่ยงิ (พันธมิตรฯ) ก็คอื พวกทีเ่ สียประโยชน์ทางเศรษฐกิจ” คือเขารูส้ กึ ว่าการเสียประโยชน์ทาง เศรษฐกิจเปรียบเทียบไม่ได้กับการเสียอธิปไตยของประเทศ ผมรูส้ กึ ว่าคนทีล่ กุ ขึน้ มาในเวลานี้ เขาอาจรูส้ กึ ว่าในฐานะทีเ่ ขา เป็นคนค้าคนขาย เขาเดือดร้อน เขาจึงแสดงออก แต่วธิ ที เี่ ขาแสดงออก เพือ่ หยุดไม่ให้ไปประท้วงก็คอื แบบนี้ ในขณะทีอ่ กี ฝ่ายหนึง่ ก็มองว่าคน เหล่านี้ไม่เห็นว่าอธิปไตยของชาติสูงส่งศักดิ์สิทธิ์กว่า แต่คําถามก็คือ ทําไมความศักดิ์สิทธิ์ของเป้าหมายชีวิตไปอยู่กับคนฝ่ายเดียว ไม่อยู่ กับฝ่ายอื่นบ้าง ในกรณีภาคใต้ก็คล้ายกัน มีนักมานุษยวิทยาไปศึกษาคนที่ ใช้ความรุนแรงที่ถูกจับกุม (Perpetrator) ซึ่งประเด็นสําคัญคือ คนที่ ถูกจับเขารู้สึกว่าศักดิ์ศรีความเป็นมลายูมุสลิมของเขาถูกทําลาย และ นักมานุษยวิทยาคนนี้ก็บอกว่า คนที่ถูกจับมีสองประเภท ประเภท หนึ่งคือ เป็นพวกที่ทําไปโดยไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็จะสู้กับรัฐไทย อีก ประเภทหนึ่งคือ เพราะรัฐไทยไปทําอะไรบางอย่าง เขาเลยตัดสินใจ เข้ากับอีกฝ่าย แล้วนักมานุษยวิทยาคนนี้ก็ได้ยกกรณีตากใบที่มีคน ตายระหว่างถูกเจ้าหน้าทีน่ าํ ตัวขึน้ รถบรรทุกไปยังค่ายทหารถึง 78 คน ขึ้นมาชี้ว่า พอเกิดเหตุตากใบ คนพวกนี้ก็ไปเข้ากับอีกฝ่าย เพราะรัฐ ไม่ได้ให้ความเป็นธรรมกับเขาอีกต่อไป เมื่อเป็นอย่างนี้ เขาก็มีเหตุผล 100 เปอร์เซ็นต์ที่จะไปอยู่อีกข้างหนึ่ง17 ส่วนกรณีเหลือง-แดง ทั้งสองฝ่ายอาจมีความรู้สึกว่ากําลัง พิทักษ์สิ่งที่ถูกต้อง ทั้งสองฝ่ายกําลังต่อสู้บนฐานเศรษฐธรรมแบบนี้ Marc Askew, “A Tale of two insurgents,” Bangkok Post (Sunday, July 19, 2009), p. 6. 17

- 284 60

.indd 284

3/3/2554 16:02:37


ศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ |

ผมคิดว่าปัญหาเกิดขึน้ เมือ่ เรารูส้ กึ ว่าเราเท่านัน้ ทีอ่ ยูบ่ นฐานของความ เป็นธรรม และอีกฝ่ายหนึ่งมันชุ่ย มันถูกซื้อ ไม่ว่าจะเป็นใคร พอสวม หมวกแบบนี้ ก็เข้าใจกันลําบาก ผู้เข้าฟัง: หลังจากอรชุนยิงหัวนก เขาได้เรียนรู้เกี่ยวกับความรุนแรง บ้างหรือเปล่า ชัยวัฒน์ สถาอานันท์: ใน มหาภารตะ ครูของอรชุนมีหลายคน และ คนสําคัญอีกคนหนึ่งคือกฤษณะ เพราะกฤษณะคือสารถีของอรชุน ในสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตร และสิ่งที่กฤษณะทําคือทําให้อรชุนลังเล ตอนที่อรชุนซ้อมยิงธนู อรชุนบอกว่าไม่เห็นอะไรเลยนอกจากหัวนก ที่อาจารย์สั่งให้ยิง แต่ตอนที่สู้ในสงคราม อรชุนก็เห็นเหมือนกับที่คน อื่นเห็น คือเห็นญาติพี่น้อง เห็นใครต่อใคร ดังนั้นจึงยิงไม่ลง กฤษณะ ได้บอกกับอรชุนว่า ต้องมองข้ามสิ่งเหล่านี้ไป และมองหน้าที่ของตัว มองเป้าของตัว ดังนั้น ย้อนกลับไปเรื่องเดิมที่ผมพูดไว้แล้ว ตรรกะของความ รุนแรงก็คือ เวลาคุณจัดการกับคนอื่น คุณไม่ได้จัดการในฐานะที่เขา เป็นญาติ แต่จัดการในฐานะที่เขาเป็นเป้า นี่คือตรรกะของเครื่องมือ ของความรุนแรง เวลาที่เราจะใช้ความรุนแรงกับอีกฝ่ายหนึ่ง เราต้อง ลดฝ่ายหนึง่ ให้เป็นสิง่ ของหรือวัตถุบางอย่างทีใ่ ช้ความรุนแรงกับมันได้ นี่เป็นตรรกะปกติของความรุนแรงแทบทุกแห่งหนบนโลกนี้ ผู้เข้าฟัง: ความรุนแรงมีระดับขั้นของมัน สังคมไทยควรยกระดับไปสู่ ความรุนแรงแบบขงจื่อใช่ไหม ชัยวัฒน์ สถาอานันท์: ผมไม่ได้แบ่งเป็นขั้น ผมเพียงแต่บอกว่ามัน ต่างกัน แล้วถ้าอยากจะเข้าใจพลวัตของมัน ก็ต้องเข้าใจความต่าง เหล่านี้ เพราะคนที่เราคุยด้วย เขาอาจจะใช้วิธีคิดที่ต่างจากเรา เรา จะรับความต่างเหล่านั้นได้อย่างไร สมมติว่าเราอยากจะคุยกับคนที่ - 285 60

.indd 285

3/3/2554 16:02:37


| เศรษฐธรรมแห่งความรุนแรง (Moral Economy(ies) of Violence)

ต้องการแบ่งแยกดินแดน เราคงต้องนัง่ คุยกับเขาว่าจะเอาอย่างไร และ จะคุยด้วยกันอย่างไร ไม่อย่างนัน้ เราก็นงั่ สานเสวนากับคนทีค่ ยุ กับเรา รู้เรื่องเท่านั้น แต่กับอีกฝ่ายไม่เคยคุยด้วยเลย การแก้ปัญหาเช่นนี้ก็ดู จะไม่ไปไหนไกลนัก ปกป้อง จันวิทย์: ความรุนแรงทีเ่ กิดจากชุดความคิดเรือ่ งเศรษฐธรรม ต่างกัน มันต้องการการจัดการทีแ่ ตกต่างจากความรุนแรงทีเ่ กิดจากเหตุ อืน่ ๆ หรือเปล่า มันมีลกั ษณะเฉพาะทีเ่ ราคิดไม่ถงึ ไหม หรือว่าเราก็ปฏิบตั ิ กับมันดังเช่นความรุนแรงทั่วไป ชัยวัฒน์ สถาอานันท์: เรือ่ งนีย้ งุ่ ยากนิดหน่อย เป็นปัญหาในทางทฤษฎี เพราะเราไม่ได้พดู ถึงเหตุ ซึง่ เหตุมนั เป็นของจริง แต่เรากําลังพูดถึงวิธี ทีเ่ ราอธิบายมัน ซึง่ จริงก็ได้ ไม่จริงก็ได้ กล่าวคือ เวลาทีเ่ ราพูดถึงความ ขัดแย้ง สิ่งที่ก่อรูปให้เกิดความขัดแย้ง นั่นคือสาเหตุ (Causes) เช่น เราแย่งงานกันทาํ มันเป็นสาเหตุ ชอบผูห้ ญิงคนเดียวกัน ก็เป็นสาเหตุ สํานึกเหล่านี้คอื สาเหตุทนี่ ําไปสูค่ วามขัดแย้ง แต่เมือ่ ใดทีค่ วามขัดแย้ง กําลังจะเปลี่ยนเป็นความรุนแรง มันต้องการคําอธิบายอื่น เพื่อให้เรา สามารถใช้ความรุนแรงกับอีกฝ่ายได้ (Justifications) เพราะฉะนั้น ก็เลยจําต้องมีกลไกที่ทําให้อีกฝ่ายกลายเป็นอะไรบางอย่างที่ไม่ใช่ มนุษย์ กระบวนการตรงนั้นทําให้การทํางานของความรุนแรงทั้งสอง อย่างทีอ่ าจารย์ปกป้องถามถึงไม่เหมือนกัน ดังนัน้ พอคิดถึงเศรษฐธรรม ของความรุนแรง จึงต่างออกไปจากอย่างอื่น สุขุม อัตวาวุฒิชัย: สามารถแก้ปัญหาความรุนแรงด้วยวิธีการอดทน และอดกลั้นได้ไหมครับ อาจารย์คิดว่าการอดกลั้นจะเป็นทางออก ได้ไหม ชัยวัฒน์ สถาอานันท์: ไม่หรอกครับ อดไปนานๆ แล้วมันก็จะระเบิด วิธหี นึง่ ทีค่ วามโกรธทาํ งานคือ การทีส่ ะสมความโกรธมากขึน้ ๆ แล้วไม่มี - 286 60

.indd 286

3/3/2554 16:02:37


ศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ |

ทางออก กลับไปที่เวียดนามหรือพม่าตอนใต้ในบทศึกษาของสกอตต์ ก็แบบเดียวกัน คือระบบไม่อนุญาตให้ทําอะไรเลย ทั้งที่ก่อนหน้านั้น ไม่เกิดการจลาจล เหตุที่ไม่เกิดเพราะมีช่องให้ มีพื้นที่ให้ เพราะความ สัมพันธ์ทางสังคมอนุญาตให้ทําเช่นนั้นได้ แต่พอปิดทุกช่อง ก็ต้อง เกิดระเบิดออกมา ในแง่นี้ ความรุนแรงไม่ใช่ทางออกในความหมาย ทัว่ ๆ ไป แต่เป็นอาการหมดปัญญาของมนุษย์ เป็นสัญญาณของความ สิ้นหวัง ไม่ว่าจะเป็นในความสัมพันธ์ส่วนตัวหรือในรัฐก็ตาม ปัทมาวดี ซูซูกิ: ในหลายๆ กรณี ดูเหมือนว่าระบบได้ผลักคนไปสู่ ความโกรธ ทําให้เกิดเป็นความขัดแย้ง ความรุนแรง แต่พอจะย้อน กลับมาทําให้ระบบมันดีขึ้นก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ดิฉันไม่รู้ว่าการจะทําให้ ระบบมันดีขึ้น ถึงที่สุดแล้วจะถูกออกแบบโดยใคร และแบบไหน ส่ ว นอี ก ประเด็ น หนึ่ ง อาจารย์ พู ด ถึ ง ความอ่ อ นแอของรั ฐ ในฐานะนักรัฐศาสตร์ ถ้ารัฐไม่ได้เป็นฝ่ายแก้ระบบ แล้วระบบจะดีขึ้น ได้อย่างไร แต่ในประเด็นตัวบุคคล อาจารย์ได้พูดไว้อย่างน่าสนใจมาก คือเรื่องความสามารถที่จะทําให้เรามองเห็นคนอื่นเป็นเพื่อนร่วมทุกข์ พอจัดการกับระบบไม่ได้ เราก็กลับมาจัดการกับตัวเราเอง หรือว่าเรา ต้องพยายามทําหลายๆ อย่างพร้อมๆ กัน ชัยวัฒน์ สถาอานันท์: ผมคิดว่าความโกรธเป็นเรื่องจําเป็น เพียง แต่ต้องโกรธให้ถูกที่ ถ้าตอบอย่างคนที่ทํางานประเภทวิจัยสันติภาพ ศึกษาสันติวิธี ก็ต้องตอบว่า ต้องแยกโกรธ คือโกรธ “ความชั่ว” ไม่ใช่ โกรธ “คนชั่ว” ประเด็นที่สอง เรื่องความอ่อนแอของรัฐ ผมอยากจะเล่าเรื่อง หนึง่ ให้ฟงั 18 มีเด็กหนุม่ ส่งพิซซา อยูใ่ นซานดีเอโก สหรัฐอเมริกา วันหนึง่ Azim Khamisa with Carl Goldman, From Murder to Forgiveness: A Father’s Journey (La Jolla: Ank Publishing, 2002). 18

- 287 60

.indd 287

3/3/2554 16:02:37


| เศรษฐธรรมแห่งความรุนแรง (Moral Economy(ies) of Violence)

มีคนโทร.มาให้เด็กหนุม่ ไปส่งพิซซา ปรากฏว่าคนโทร.คือแก๊งทีจ่ ะปล้น พิซซาและเงินจากชายหนุ่ม ชายหนุ่มไม่ยอม เขาเลยถูกยิงเสียชีวิต คนตายอายุ 21 ปี เรียนหนังสือที่มหาวิทยาลัยซานดีเอโก ส่วนคนยิง อายุ 14 ปี และนีเ่ ป็นกรณีสาํ คัญทีศ่ าลซานดีเอโกตัดสินคดีกบั เด็กผูย้ งิ ในฐานะผู้ใหญ่ โดนลงโทษจําคุก 25 ปี ขณะที่พ่อของชายหนุ่มนําศพลูกไปฝัง มีคนถามว่า “โกรธ ไหม” เขาตอบว่า “โกรธมาก” พอถามว่าโกรธอะไร พ่อบอกว่า “ไอ้ ประเทศบ้านี้ ปืนเต็มไปหมด” และอธิบายว่า “คิดให้ดีนะ ปืนมีเหยื่อ อยู่สองทาง เหยื่อทางที่หนึ่งอยู่ที่ปลายกระบอกปืน เหยื่ออีกทางหนึ่ง อยูท่ ไี่ กปืน คนเหนีย่ วไกปืนก็เป็นเหยือ่ เหมือนกัน” พ่อจึงเปลีย่ นโจทย์ ใหม่ และสิ่งที่แกทําก็เป็นสิ่งที่มหัศจรรย์มาก คือพ่อตัดสินใจไปหาผู้ ปกครองของเด็กคนที่ยิง ซึ่งปรากฏว่าอยู่กับปู่ เพราะพ่อแม่แยกทาง กัน ติดยา แกไปยื่นมือให้ บอกว่า “เราสองคนเสียทั้งคู่ ผมเสียลูก ลูก ผมตาย คุณเสียหลานคนเดียวให้กับชีวิตติดคุก 25 ปี ผมไม่อยากพบ อะไรแบบนี้ คุณเองก็ไม่อยากเจอเช่นนี้ เราไม่อยากให้คนอื่นประสบ แบบนี้ เพราะฉะนั้น เราต้องมาร่วมมือกันเพื่อโกรธอะไรบางอย่างและ ทําอะไรบางอย่าง” โกรธอะไร? โกรธสังคมอเมริกันซึ่งเต็มไปด้วยปืน อเมริกามี ประชากรประมาณ 260 ล้านคน มีปืนเป็น 100 ล้านกระบอก คุณควร จะโกรธมันไหม ควรโกรธไหมเมื่อปืนไปอยู่ในมือเด็ก ผมคิดว่าความ โกรธมีที่มีทางของมัน แต่ต้องเข้าใจให้ได้ว่าควรจะโกรธอะไร ถ้าเรา โกรธคนฆ่า เราก็ไปประชาทัณฑ์เขา ประหารชีวิตเขา ก็ไม่ได้แก้อะไร จบอยู่แค่นั้น แต่ทีนี้ทําอย่างไรสังคมไทยถึงจะคิดเรื่องแบบนี้ได้บ้าง รัฐที่อ่อนแอ น่าสนใจทําเป็นหัวข้อสัมมนาระหว่างเศรษฐศาสตร์กับรัฐศาสตร์ ในทางเศรษฐกิจ บางทีรัฐที่อ่อนแอก็มีดี เพราะ ไม่สู้จะรุกลํ้าสิทธิของประชาชน แต่ผมไม่แน่ใจว่าในทางการเมืองมัน - 288 60

.indd 288

3/3/2554 16:02:37


ศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ |

จะดีตลอดเวลาหรือเปล่า สมมติว่าเราคิดแบบ Continuum จากรัฐ ที่อ่อนแอ (Weak State) มาสู่รัฐที่เปราะบาง (Fragile State) หรือ กระทั่งรัฐที่แตกกระจัดกระจาย (Disintegration) ถ้าเชื่อว่ารัฐมีความ จําเป็นกับมนุษย์ แต่ถ้ารัฐหมดปัญญาที่จะจัดการกับความขัดแย้ง อย่างสร้างสรรค์ หมดปัญญาทีจ่ ะจัดการกับความรุนแรงทีอ่ ยูใ่ นมือของ คนฝ่ายต่างๆ ได้ ผมคิดว่ามันก็ยุ่งพอสมควร ภาคใต้ตอนนี้ก็มีปัญหา แบบนี้ ปืนอยู่ในมือของกองกําลังอาสาสมัคร (Militia) เต็มไปหมด และรัฐก็ไม่มีปัญญาจัดการกับมัน เพราะกองกําลังอาสาสมัครเหล่านี้ มาจากไหนก็ไม่รู้ มีอํานาจบางอย่างที่ใหญ่กว่า และรัฐจัดการไม่ได้ เพราะฉะนั้น ไม่แน่ว่ารัฐที่อ่อนแอจะดีเสมอไป สิรลิ กั ษณา คอมันตร์: อาจารย์บอกว่าการต่อสูก้ บั ความไม่เป็นธรรม เป็นสิ่งที่ควรทํา ทีนี้อาจารย์ชัยวัฒน์คิดอย่างไรกับสถานการณ์พม่า เพราะ ออง ซาน ซูจี ถูกกระทํา และคนทั่วไปคงมองว่ามันเป็นความ ไม่เป็นธรรม แต่ถ้าจะไปพยายามทําความเข้าใจฝ่ายผู้กระทําว่าเขา มีเหตุมีผล เขามีความโกรธเชิงศีลธรรมของเขา หรือถ้าหากในสังคม ไทยมีกลุ่มที่ขัดแย้งกันไม่ใช่แค่ 2 ฝ่าย แต่มีความขัดแย้งถึง 3-4 ฝ่าย และ 3-4 ฝ่ายนี้อาจจะเห็นประโยชน์ของการใช้ความรุนแรงหรือความ ไม่รนุ แรงแตกต่างกัน ฝ่ายทีเ่ ข้าใจว่าความรุนแรงไม่ได้เป็นตัวแก้ปญ ั หา ก็จะพยายามไม่ใช้ความรุนแรง ส่วนฝ่ายที่ใช้ความรุนแรงก็ใช้ความ รุนแรงต่อไปเรื่อยๆ อาจารย์คิดว่าภายใต้สถานการณ์แบบนี้ ทางออก มันคืออะไร ชัยวัฒน์ สถาอานันท์: น่าสนใจ คําถามของอาจารย์สิริลักษณาทําให้ ต้องเอาแนวคิดนี้มาพิจารณาให้ดีอีกครั้ง เวลาเราบอกว่าความโกรธ หรือความคิดเรื่องความรุนแรงเป็นผลของเศรษฐธรรม และมีเศรษฐธรรมหลายชุด แต่การมีเศรษฐธรรมหลายชุด หมายความว่าเศรษฐธรรมแต่ละชุดมีนํ้าหนักเท่ากันหรือเปล่า ผมคิดว่าอาจไม่ใช่เช่นนั้น - 289 60

.indd 289

3/3/2554 16:02:37


| เศรษฐธรรมแห่งความรุนแรง (Moral Economy(ies) of Violence)

สมมติว่าสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ (State Peace and Development Council: SPDC) และ ตาน ฉ่วย อาจจะกล่าวว่า นี่เป็นสิทธิตามธรรมชาติของตนที่จะต้องกดขี่คนอื่น และรักษาอํานาจ ต่อไปเรื่อยๆ ถ้าคิดในฐานเดิมก็ถือว่าเป็นเศรษฐธรรม แต่ในขณะ เดียวกัน สิ่งที่เกิดขึ้นกับพรรคของ ออง ซาน ซูจี ก็คือ ชัยชนะในการ เลือกตั้งถูกขโมยไปในสิบกว่าปีที่ผ่านมา อย่างนี้ “เศรษฐธรรม” สอง อย่างไม่นา่ จะมีนาํ้ หนักเท่ากัน ถึงแม้จะเข้าใจได้วา่ อีกฝ่ายหนึง่ อาจรูส้ กึ ว่าเขาก็มีอํานาจโดยชอบ สมมติวา่ เราย้อนกลับไปเหตุการณ์ปฏิวตั ิ 2475 ผมเชือ่ ว่าฝ่าย ของสถาบันที่สูญเสียอํานาจอาจจะรู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ไม่ชอบ ในขณะที่ ฝ่ายที่ลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงการปกครองอาจจะรู้สึกว่ามันเป็นสิ่งที่ถูก อยู่แล้ว แต่ทั้งสองอย่างนี้มันเท่ากันหรือเปล่า ผมคิดว่าน่าสนใจที่จะ ตั้งคําถาม ผมไม่ได้หมายความว่าให้ยอมรับสิ่งที่รัฐบาลทหารพม่าทํา กับ ออง ซาน ซูจี สิ่งที่เกิดขึ้นในพม่าตอนนี้คือ มีขบวนการประชาชน อยู่เป็นจํานวนมากที่จะเล่นงานหรือต่อต้านรัฐบาลทหารพม่า เพียง แต่ยังทําไม่สําเร็จ ถามว่าทําไมไม่สําเร็จ เหตุผลส่วนหนึ่งคือ พม่าซึ่ง สูญเสียความชอบธรรมภายใน กลับได้รบั ความชอบธรรมจากภายนอก อันนีก้ ม็ าจากบทบาทของประเทศต่างๆ รวมทัง้ ประเทศไทยด้วย ทีไ่ ป ให้ความชอบธรรมกับรัฐบาลทหารพม่า ขณะเดียวกัน บทลงโทษ (Sanction) ที่รัฐบาลสหรัฐฯ หรือ ฝรัง่ ทาํ ก็ไม่ได้ไปกระทบบรรดานายพลพม่าเท่าไร แต่ไปกระเทือนชีวติ ชาวบ้านสามัญมากกว่า คนที่เดือดร้อนกลับเป็นคนอีกพวก ถามว่า แล้วมีวิธีอื่นไหม มีคนจํานวนมากเสนอว่าให้ต่อสู้กับรัฐบาลเผด็จการ โดยใช้สันติวิธี ซึ่งก็มีคนทํา เพียงแต่ยังทําไม่สําเร็จ มีความพยายาม เหล่านัน้ อยู่ แต่ผมคิดว่าคําถามของอาจารย์สริ ลิ กั ษณาตอนแรกสาํ คัญ กว่า คือหากจับเศรษฐธรรมชุดต่างๆ มาวางไว้ด้วยกัน นํ้าหนักมัน - 290 60

.indd 290

3/3/2554 16:02:37


ศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ |

เท่ากันไหม ผมคิดว่าไม่เท่ากัน ถ้าเช่นนัน้ จะเผชิญกับปัญหานีอ้ ย่างไร อันนี้เรื่องใหญ่ ควรช่วยกันครุ่นคิดให้ลึกซึ้งกว่านี้ ผู้เข้าฟัง: มีตัวอย่างกรณีศึกษาของประเทศใดบ้าง ที่ความรุนแรง หรือความขัดแย้งมันหยุดไปเอง ยิง่ ไปแก้ มันยิง่ ยุง่ ปัญหายิง่ บานปลาย แต่เป็นไปได้ไหมว่า เมื่อถึงเวลา ความรุนแรงมันจะจบไปเอง ชัยวัฒน์ สถาอานันท์: มีกรณีที่สู้ๆ กันไปแล้วเหนื่อย เป็นผลจาก ความอ่อนล้าทางกายภาพ (Physical Exhaustion) แต่ถา้ ความเหนือ่ ย อยูใ่ นกรอบความโกรธเชิงศีลธรรมอีกแบบหนึง่ ก็จะเหนือ่ ยยาก กว่าจะ เหนื่อย มันยาวมาก อาจจะหลายภพข้ามชาติ ด้วยเหตุผลนี้ เวลาทีค่ วามขัดแย้งจํากัดตัวอยูบ่ นโลกซึง่ ไม่ใช่ โลกที่เป็นแบบศักดิ์สิทธิ์ ความเหนื่อยเกิดขึ้นได้ไม่ยาก พอทรัพยากร หมดก็ไม่อยากจะรบกันแล้ว แต่กม็ กี รณีของชนเผ่าหลายแห่งทีร่ บกัน แล้วเหนื่อย แต่เวลาความขัดแย้งไปสัมผัสกับเรื่องซึ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น เป็นความขัดแย้งเกี่ยวกับแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์อย่างในกรณีปาเลสไตน์อิสราเอล ความเหนื่อยเกิดได้ช้ากว่า ความขัดแย้งเช่นนี้ยืนยงและ ก้าวข้ามไปได้ยากกว่า ผู้เข้าฟัง: ผมเคยทําวิจัยชุมชนชาวนา มีทหารพัฒนากลุ่มหนึ่งมา สนั บ สนุ น ให้ ช าวนาปลู ก นั่ น ปลู ก นี่ แต่ ช าวนาเขาก็ รู้ ว่ า เดี๋ ย วหมด โครงการ ทหารก็กลับไปเอง ความรุนแรงเงียบๆ ความขัดแย้งเย็นๆ แบบนี้ มันเป็นเรื่องของประสบการณ์ ที่ผ่านร้อนผ่านหนาว รู้ว่า ข้างหน้าจะเป็นอย่างไรด้วยหรือเปล่า ชัยวัฒน์ สถาอานันท์: ถ้าตอบจากความคิดของสกอตต์คงเป็นว่า มันขึ้นอยู่กับเงื่อนไข เพราะสิ่งที่ชาวเวียดนามกับชาวพม่าตอนใต้ ประสบมาจากสองอย่ า ง คื อ มาจากสภาพธรรมชาติ ที่ ทํ า ให้ ค วาม - 291 60

.indd 291

3/3/2554 16:02:37


| เศรษฐธรรมแห่งความรุนแรง (Moral Economy(ies) of Violence)

อดอยากมหาศาลเกิดขึน้ และมาจากอิทธิพลของเจ้าทีด่ นิ ทีไ่ ปเล่นงาน เขา คืออย่างใดอย่างหนึ่งอาจจะพอทนได้ แต่พอผสมกันหลายอย่าง อาจจะทนไม่ได้ สิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมไทยคล้ายๆ กับมีเงื่อนไขปัจจัยหลายๆ อย่างมาประชุมกัน และดูจะมาเล่นงานสังคมพร้อมๆ กัน จึงจัดการ ได้ลําบาก คล้ายกับว่าเรามีทรัพยากรที่จะอดทนกับมัน แต่ทรัพยากร ที่มีไม่ใช่ว่ามีไม่จํากัด มันมีจํากัด ผมอยากจะเล่าตัวอย่างให้ฟงั อีกเรือ่ งหนึง่ ผมทํางานกับมูลนิธิ เพื่อการพัฒนาเด็ก เรามีศูนย์ช่วยเหลือแรงงานเด็กอยู่ที่วัดดวงแข เป็นบ้านหลังเล็กๆ เนือ้ ทีร่ าว 50 ตารางวา มีอยูว่ นั หนึง่ เจ้าหน้าทีโ่ ทร. มาที่บ้าน บอกว่ามีคนเอาผู้ป่วยมาทิ้งไว้ที่หน้ามูลนิธิ ซึ่งเจ้าหน้าที่พบ ในภายหลังว่าผู้ป่วยเป็นโรคเอดส์ระยะที่สาม คําถามที่เราคิดต่อคือ นี่แปลว่าอะไร คําอธิบายแบบหนึ่งคือ ชาวบ้านใจร้าย คําอธิบายอีกแบบคือ ความใจดีมีเมตตาของชาวบ้าน มีขีดจํากัด เพราะความเมตตาดํารงอยู่ได้ด้วยทรัพยากรที่อนุญาตให้ เขามีเมตตาได้ แปลว่าถ้าคุณอยู่ในชุมชนที่มีฐานะยากจน คุณมีความ ใจดีได้เท่ากับทรัพยากรทีค่ ณ ุ มี ถ้าคุณป่วย คุณไม่ควรป่วยนาน เพราะ ชุมชนอาจจัดการช่วยเหลือคุณไม่ได้ ถ้าจัดการไม่ได้กต็ อ้ งทําอย่างอืน่ เช่น นําไปทิ้งไว้ที่หน้าประตูมูลนิธิ นี่คือวิธีจัดการของเขา เป็นวิธีที่ดี ทีส่ ดุ สาํ หรับเขา ในแง่นขี้ นึ้ อยูก่ บั ว่าชุมชนจะสามารถรับเรือ่ งแบบนีไ้ ด้ ไหม ผมไม่ประหลาดใจที่เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น เพราะทุกๆ ที่ ทุกๆ ชุมชน ก็มีขีดจํากัดของตน ผู้เข้าฟัง: สมมติว่าความรุนแรงมีมูลค่าเพิ่ม เช่น มีข่าวว่าทหารพราน คนหนึ่งจากรือเสาะไปมอบตัว เขาสารภาพว่าเขาถูกว่าจ้างให้ไปเผา โรงเรียน คนว่าจ้างเป็น อบต. หลังจากนัน้ ทางจังหวัดก็ให้มกี ารตรวจสอบ - 292 60

.indd 292

3/3/2554 16:02:37


ศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ |

กรณีการเผาโรงเรียนในจังหวัดนราธิวาสทัง้ หมด ว่ามีสว่ นเกีย่ วข้องกับ อบต. หรือเป็นกรณีทคี่ ล้ายๆ กับกรณีนหี้ รือไม่ ถ้าความรุนแรงมีมลู ค่า เพิ่ม เวลาที่เราคิดถึงเรื่องเศรษฐธรรม มูลค่าเพิ่มแบบนี้จะอยู่ตรงไหน ชั ย วั ฒ น์ สถาอานั น ท์ : กรณี นี้ คื อ เศรษฐกิ จ ของความรุ น แรง (Economy of Violence) ซึ่งไม่จําเป็นต้องเป็นเศรษฐธรรม (Moral Economy) ความรุนแรงส่วนใหญ่อาจวางอยูบ่ นฐานของถ้อยคาํ รูปศัพท์ เศรษฐศาสตร์ (Economic Terms) ของตนเอง คือมีมูลค่าแลกเปลี่ยน (Exchange Value) คือถ้าเราใช้ความรุนแรงแล้วคุ้มค่า (แต่คุ้มค่า อย่างไรและสําหรับใครก็ต้องตั้งคําถาม) ก็จะมีคนใช้ สําหรับผม มันไม่ได้เป็นปัญหาใหญ่ เพราะถ้าเป็นอย่างนั้น แค่ลดมูลค่าแลกเปลี่ยนลงไป สามารถทําให้อย่างอื่นมีมูลค่ามากกว่า ก็จัดการได้ แต่ถ้าเป็นเรื่องเศรษฐธรรมก็จะยาก พูดง่ายๆ คือ ถ้าคน เดินประท้วงถูกจ้างมา ก็น่าจะจ้างให้เขากลับได้ด้วยค่าจ้างที่มากกว่า ถ้ามีคนจะก่อวินาศกรรมเพราะค่าจ้าง ก็อาจจูงใจให้เลิกก่อวินาศกรรม ได้ด้วยค่าตอบแทนที่สูงกว่า แต่ถ้าไม่กลับหรือไม่เลิกด้วยเหตุผล บางอย่างทั้งที่ได้รับข้อเสนอเหล่านั้นแล้ว ก็แสดงว่าไม่ใช่เรื่องค่า ตอบแทนทางเศรษฐกิจอย่างเดียว แต่เป็นเรื่องอื่น นี่คือปัญหาของ เศรษฐธรรม ถ้าเป็นปัจจัยทางเศรษฐกิจอย่างเดียว ผมคิดว่าพอจะ จัดการได้ แต่พอไม่ใช่ขึ้นมา อันนี้แหละเรื่องยุ่ง ผมกําลังเสนอข้อโต้แย้งว่า สังคมกําลังขัดแย้งกันบนฐานของ สิ่งที่มีความสําคัญยิ่งกว่ามูลค่าทางเศรษฐกิจ จึงยุ่งยากกว่าเดิม

- 293 60

.indd 293

3/3/2554 16:02:37


| เศรษฐธรรมแห่งความรุนแรง (Moral Economy(ies) of Violence)

ประวัติปาฐก ศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะ รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จากนั้นไปศึกษาต่อระดับปริญญาเอกที่ มหาวิทยาลัยฮาวายอิ สหรัฐอเมริกา โดยทำ�วิทยานิพนธ์ทางทฤษฎีและปรัชญา สันติวธิ ี เมือ่ สำ�เร็จการศึกษา จึงกลับมารับราชการทีค่ ณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ และได้ รั บ พระบรมราชโองการโปรดเกล้ า ฯ ให้ ดำ � รงตำ � แหน่ ง ศาสตราจารย์เมื่อปี พ.ศ. 2552 ศ.ดร.ชัยวัฒน์ได้รับการยกย่องให้เป็นกีรตยาจารย์แห่งมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2546 ได้รับคัดเลือกจากสำ�นักงาน กองทุนสนับสนุนงานวิจัยให้เป็นเมธีวิจัยอาวุโสในปี พ.ศ. 2548 และได้รับรางวัล นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ จากสำ�นักงาน คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2549 นอกจากผลงานวิจัยที่โดดเด่นแล้ว ศ.ดร.ชัยวัฒน์ยังมีงานเขียนและ งานแปลอีกหลายเล่ม อาทิ อภัยวิถี: มิตร/ศัตรู และการเมืองแห่งการให้อภัย (2543) อาวุธมีชวี ติ ? แนวคิดเชิงวิพากษ์วา่ ด้วยความรุนแรง (2546) อารยะขัดขืน (2549) และ ความรุนแรงกับการจัดการ “ความจริง”: ปัตตานีในรอบกึ่งศตวรรษ (2551) เป็นต้น นอกจากนี้ ศ.ดร.ชัยวัฒน์ยังเป็นกรรมการและคณะทำ�งานฝ่ายจัดการ/ บรรณาธิการของโครงการจัดพิมพ์คบไฟ ซึ่งผลิตหนังสือดีมีคุณภาพมาอย่าง ต่อเนื่อง

- 294 60

.indd 294

3/3/2554 16:02:37


60

.indd 295

3/3/2554 16:02:37


| เศรษฐศาสน์กับการผลิตอวิชชาเชิงโครงสร้าง

เศรษฐศาสน์กับการผลิต อวิชชาเชิงโครงสร้าง

ดร.เสกสรรค์ ประเสริฐกุล วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2552

- 296 60

.indd 296

3/3/2554 16:02:38


ดร.เสกสรรค์ ประเสริฐกุล |

ท่านผู้มีเกียรติทั้งหลาย ก่อนอื่นผมคงต้องขอชี้แจงสักนิดว่า เรื่องที่เราจะคุยกันใน วันนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด ผมเพียงแต่พยายามรวบรวมแง่คิด มุมมองต่างๆ ที่มีอยู่แล้วมาเรียบเรียงให้เห็นภาพชัดขึ้น หรืออย่าง น้อยก็เพื่อแสดงจุดยืนและทัศนะที่ตนเองเห็นด้วย ส่วนหัวข้อที่ตั้งไว้ ค่อนข้างหวือหวานั้น ก็เพียงเพื่อดึงดูดความสนใจ อย่างไรก็ดี กล่าวอย่างถึงที่สุดแล้ว เรื่องที่ผมตั้งใจจะพูด ก็ไม่ได้ผดิ เพีย้ นไปจากหัวข้อทีต่ งั้ ไว้เท่าใดนัก เพียงแต่ตอ้ งขอชีแ้ จงไว้ ล่วงหน้าว่าผมไม่มีความรู้พอที่จะมาวิจารณ์วิชาเศรษฐศาสตร์ อีกทั้ง ขอจําแนกความแตกต่างระหว่างเศรษฐศาสตร์ในฐานะสาขาวิชาการ กับเศรษฐศาสน์ที่ผมใช้เป็นชื่อหัวข้อ คําหลังนี้ พูดอีกแบบหนึ่ง อาจ ใช้คําว่าลัทธิบูชาเศรษฐกิจหรือลัทธิบูชาจีดีพีก็น่าจะช่วยให้เข้าใจ ง่ายขึ้น ความแตกต่ า งระหว่ า งวิ ช าเศรษฐศาสตร์ กั บ ลั ท ธิ บู ช า เศรษฐกิจอยู่ที่ฝ่ายหลังมักจะขอยืมทฤษฎีหรือจินตภาพของฝ่ายแรก ไปใช้ อ ย่ า งสามานย์ (Vulgarization) ทํ า ให้ เ กิ ด ชุ ด ความคิ ด ที่ คล้ายคลึงแต่ไม่เหมือนกันขึ้นมาอีกชุดหนึ่ง ซึ่งหลุดพ้นจากความเป็น - 297 60

.indd 297

3/3/2554 16:02:38


| เศรษฐศาสน์กับการผลิตอวิชชาเชิงโครงสร้าง

วิชาการ กลายเป็นวาทกรรมทางการเมืองบ้าง เป็นข้ออ้างทางสังคม บ้าง สุดแท้แต่ว่าจะถูกนําไปใช้ในบริบทใด พูดให้ชัดเจนขึ้นก็คือ ลัทธิบูชาเศรษฐกิจหรือลัทธิเศรษฐศาสน์หมายถึงการยึดถือการเติบโตทางเศรษฐกิจและผลประโยชน์ ทางเศรษฐกิจเป็นจุดหมายสูงสุดของการขับเคลือ่ นสังคมและกิจกรรม ชีวิต โดยกําหนดให้ด้านอื่นๆ เป็นเพียงด้านรองที่ต้องขึ้นต่อจุดหมาย นี้ กระทั่งอาจถูกหักล้างลงอย่างสิ้นเชิงเพื่อสนองจุดหมายนี้เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น ในระดับนโยบายของรัฐ การเข้ามาลงทุนของ นักธุรกิจต่างชาติมกั จะมีลาํ ดับความสําคัญสูงกว่าการรักษาสิง่ แวดล้อม หรือการขยายตัวของโรงงานอุตสาหกรรมมักถูกกําหนดคุณค่าไว้สูง กว่าการรักษาสภาพเดิมของชุมชนท้องถิ่น เช่นนี้เป็นต้น ขณะเดียวกัน ในระดับของปัจเจกบุคคล การยึดถือเศรษฐกิจ เป็นศาสนาก็มักนําไปสู่การหมกมุ่นอยู่กับผลประโยชน์ทางวัตถุหรือ รายได้ทเี่ ป็นเงินตรา ในระดับทีล่ ดทอนหรือยกเลิกคุณค่าอืน่ ๆ ของชีวติ เช่น มิตรภาพ นํ้าใจ ความเมตตากรุณา ตลอดจนความสงบสันติทาง ด้านจิตวิญญาณ พู ด โดยรวมก็ คื อ แท้ จ ริ ง แล้ ว ลั ท ธิ บู ช าเศรษฐกิ จ ไม่ ไ ด้ มี พื้นฐานมาจากการพินิจโลกโดยภววิสัย (Objective Thinking) หรือ มาจากกระบวนการคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์ (Scientific Thinking) หาก เป็นแค่ความเชื่อทางอัตวิสัย (Subjective Thinking) ที่งอกมาจาก ปรารถนาของคนบางกลุ่มเท่านั้นเอง แต่เมื่อถูกยึดถือกันเป็นจํานวน มาก จึงกลายเป็นลัทธิความเชื่อที่ไม่ต่างอะไรกับศาสนาบางนิกาย อีกทั้งเป็นศาสนาที่ก้าวร้าวรุนแรงยิ่ง มีการจัดตั้งองค์กรเพื่อตอกยํ้า แนวคิดของตน มีการผลิตวาทกรรมเชิดชูจุดหมายของตน อีกทั้งมี กระบวนการขับเคลือ่ นให้บรรลุเป้าหมายของตน ตลอดจนมีบทลงโทษ ลงทัณฑ์ผู้ที่ไม่เห็นด้วยหรือขัดขวางแนวคิดของตน - 298 60

.indd 298

3/3/2554 16:02:38


ดร.เสกสรรค์ ประเสริฐกุล |

เช่นนีแ้ ล้ว ลัทธิบชู าเศรษฐกิจจึงส่งผลต่อโลกทัศน์และชีวทัศน์ ของคนในสังคมอย่างหนักหน่วง ทําให้มีการมองโลกเพียงด้านเดียว คือด้านที่เป็นผลประโยชน์ทางวัตถุเท่านั้น อันนี้ต่างจากการมองโลก แบบวัตถุวิสัย (Materialism) ในเชิงปรัชญา ซึ่งไม่จําเป็นต้องมีผล ประโยชน์ส่วนตัวเข้ามาเกี่ยวข้อง หากเป็นประโยชน์ในการทําความ เข้าใจบางมิติของชีวิตและจักรวาล ผมคงไม่ต้องเอ่ยก็ได้ว่าการหมกมุ่นอยู่กับผลประโยชน์ทาง วัตถุนั้น ได้ลดทอนความสงบทางจิตใจลงไปขนาดไหน ความอยากมี อยากเป็นอย่างไร้ขอบเขต ทําให้บุคคลต้องทะเลาะกับตนเอง ทะเลาะ กับผู้อื่น และทะเลาะกับธรรมชาติ ซึ่งล้วนแล้วแต่ไม่สอดคล้องกับ จุดหมายในการสร้างชีวิตและสังคมที่สงบเย็น เราอาจกล่าวได้วา่ โลกทัศน์ดงั กล่าวเป็นการมองโลกและชีวติ ผิดไปจากความจริง ซึ่งเป็นความมืดทึบทางปัญญา หากพูดภาษา ธรรมก็คือ เป็นชีวิตที่ถูกชี้นําด้วยอวิชชา (Ignorance) ตามหลักธรรมของพุทธศาสนา อวิชชาหรือความไม่รู้นั้นมี สาเหตุสําคัญมาจากความหลง (โมหะ) ในอะไรสักอย่าง หรือบางทีก็ หลงใหลในทุกสิง่ ทุกอย่าง จนมองไม่เห็นความจริงของชีวติ ตามทีพ่ ระ ท่านสอนไว้มีอวิชชา 4 กับอวิชชา 8 ข้อแรกหมายถึงว่าไม่รู้อริยสัจ 4 ประการ อันได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค ส่วนข้อหลังนั้น เพิ่มไปอีก 4 ประการ คือไม่รู้อดีต ไม่รู้อนาคต ไม่รู้ทั้งอดีตและอนาคต ตลอดจนไม่รู้เรื่องปฏิจจสมุปบาท อันเป็นวงจรที่ก่อให้เกิดทุกข์ แน่นอน ผมตระหนักดีว่านี่อาจจะไม่ใช่เวลาที่เราจะลงลึก ในระดับโลกุตรธรรม แต่ก็อดตั้งข้อสังเกตไม่ได้ว่า ในระบบเศรษฐกิจ แบบบริโภคนิยมซึ่งเน้นแต่ด้านของการเติบโต ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค ต่างก็หลุดไปจากรากเหง้าทางวัฒนธรรม อีกทั้งปรุงแต่งสินค้าซึ่งถูก นํามาปรุงแต่งชีวิตกันตามอารมณ์ โดยไม่สนใจว่าผลกระทบระยะ - 299 60

.indd 299

3/3/2554 16:02:38


| เศรษฐศาสน์กับการผลิตอวิชชาเชิงโครงสร้าง

ยาวจะออกมาเช่นใด นี่เรียกได้ว่าเป็นอวิชชาประเภทไม่รู้ทั้งอดีตและ อนาคต ซึ่งเป็นการหมุนวนอยู่ในวงจรทุกข์อย่างหาทางออกมิได้ พู ด ก็ พู ด เถอะ วรรคแรกของปฏิ จ จสมุ ป บาทนั้ น กล่ า วว่ า “เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี” อันนีแ้ ปลว่าเพราะมีความโง่เขลา เป็นเครื่องเกื้อหนุน ผู้คนจึงก่อกรรมขึ้นมา ดังนั้น เราจะเห็นได้ว่าการ หลุดพ้นจากวงวัฏของกรรมเวรหรือการพ้นทุกข์ย่อมเป็นเรื่องที่ทํา ไม่ได้ หากไม่มีการดับอวิชชาเสียก่อน... อย่างไรก็ดี ในวันนี้ผมอยากจะจํากัดการสนทนาไว้ที่ความ ทุกข์ร้อนทางสังคมเท่านั้น ไม่ได้คิดไปไกลถึงขั้นการหลุดพ้นทาง จิตวิญญาณ เพราะฉะนั้น คําว่าอวิชชาที่นํามาใช้ แม้จะมีรากฐานจาก พุทธธรรมในเรื่องการหลงผิด แต่ก็คงต้องใช้ในความหมายกว้างๆ คือเป็นการมองชีวิตแค่ด้านเดียว หรือมองโลกผิดพลาดจากความจริง ในความเห็ น ของผม อวิ ช ชาดั ง กล่ า วไม่ ไ ด้ เ กิ ด จากความโง่ เ ขลา เบาปัญญาของปัจเจกบุคคลมากเท่ากับการถูกผลิตขึ้นอย่างจงใจโดย โครงสร้างหลักๆ ของสังคม ที่สําคัญคือ มันถูกผลิตขึ้นโดยนโยบาย หลักของรัฐ โดยระบบการศึกษาแบบแยกส่วนตัดตอน ตลอดจนโดย ระบบข่าวสารของสังคม ซึง่ ถูกท่วมทับโดยกระบวนการโฆษณาสินค้า และบริการ จนเหลือพื้นที่ให้สิ่งอื่นน้อยเต็มที กล่าวอีกแบบหนึ่งก็คือว่า อวิชชาหรือ ‘ความโง่เขลา’ ใน ประเทศนี้เป็นผลผลิตเชิงโครงสร้าง เป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นและผลิตซํ้า โดยกระบวนการทางสังคม มิใช่ปัญหาพันธุกรรมหรือเกิดจากโรคภัย ไข้เจ็บอันใด ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับนโยบายของรัฐ ผมคงไม่ต้องพูดอะไร มาก เพราะมีการวิพากษ์วิจารณ์กันมามากแล้ว ผลจากการพัฒนา ประเทศที่ ไ ม่ ส มดุ ล ทํ า ให้ ป ระเทศของเราตกอยู่ ใ นสภาวะหนึ่ ง รั ฐ สองสังคม รวยสุดขั้วจนสุดขีด จนกระทั่งกลายเป็นปัญหาการเมือง - 300 60

.indd 300

3/3/2554 16:02:38


ดร.เสกสรรค์ ประเสริฐกุล |

ที่แก้ไม่ตก เมื่อมวลชนแยกกันฝากความหวังไว้กับชนชั้นนําต่างกลุ่ม ซึ่งขัดแย้งกันเรื่องพื้นที่อํานาจ ผมไม่คิดว่าใครจะแก้ปัญหาวิกฤต การเมืองแบบนี้ได้ ถ้าหากไม่นําปัญหาความเหลื่อมลํ้าทางเศรษฐกิจ มาพิจารณาควบคู่ไปด้วย อย่างไรก็ตาม ประเด็นทีส่ ะท้อนลักษณะอวิชชาในนโยบายรัฐ ก็คือ แทบไม่มีการสรุปบทเรียนอะไรอย่างมีสาระสําคัญเกี่ยวกับความ ผิดพลาดในนโยบายพัฒนาประเทศ มิหนาํ ซาํ้ ยังย้ายอุปาทานเรือ่ งการ พัฒนามาเป็นอุปาทานเรื่องตลาดเสรี กระทั่งผสมผสานมันเข้าหากัน โดยยืนยันไว้ในรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ 2540 และฉบับ 2550 ในเมื่อรัฐ เป็นฝ่ายยืนยันมายาคติในเรือ่ งเหล่านีเ้ สียแล้ว ผูถ้ อื ลัทธิบชู าเศรษฐกิจ หรือบูชาจีดีพีก็นับว่ามีทั้งมหาวิหารและคัมภีร์อ้างอิงอย่างพร้อมมูล เลยทีเดียว เรียนตรงๆ ผมเองไม่เคยเข้าใจเลยว่า ในเมื่อผลของการ พัฒนาเศรษฐกิจ ไม่วา่ จะเป็นแบบแห่งชาติหรือแบบไร้พรมแดน ทําให้ ช่องว่างระหว่างคนรวยสุด 20 เปอร์เซ็นต์กับคนจนสุด 20 เปอร์เซ็นต์ ห่างกันถึง 13.2 เท่า (มติชน, 6 พฤษภาคม 2552) และคนรวยสุด 10 เปอร์เซ็นต์เป็นเจ้าของทรัพย์สินมากกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศ เทียบกับคนจนสุด 10 เปอร์เซ็นต์ได้ส่วนแบ่งไปแค่ 3.9 เปอร์เซ็นต์ (มติชน, 5 ตุลาคม 2552) แล้วเรายังยืนยันที่จะเดินหนทางนี้ต่อไปได้ อย่างไร บางทีเรื่องมันอาจจะเป็นดังที่ท่านอาจารย์ผาสุก พงษ์ไพจิตร เคยชี้ไว้ว่า “ความเหลื่อมลํ้าไม่ใช่กระบวนการปกติ แต่เป็นสิ่งที่สังคม เลือก” (มติชน, 6 พฤษภาคม 2552) แล้วก็คงมีแต่สังคมอวิชชาเท่านั้นที่เห็นว่าความเหลื่อมลํ้า เป็นของดี เพราะฉะนั้น มันคงจะไม่ใช่เรื่องที่ปราศจากเหตุผลที่ท่าน อาจารย์ประเวศ วะสี เคยสรุปไว้ว่า ระบบเศรษฐกิจแบบที่เป็นอยู่ - 301 60

.indd 301

3/3/2554 16:02:38


| เศรษฐศาสน์กับการผลิตอวิชชาเชิงโครงสร้าง

นับเป็นกําแพงด้านหนึ่งที่กั้นขวางการเติบโตทางปัญญา หรือที่ท่าน ใช้คาํ ว่า ‘หลุมดาํ ทางปัญญา’ นอกเหนือไปจากสังคมแนวดิง่ อํานาจรัฐ ที่รวมศูนย์ และระบบการศึกษา (มติชน, 12 กันยายน 2552) พูดถึงระบบการศึกษา อันทีจ่ ริง ถ้าเรามีระบบการศึกษาทีส่ ร้าง พลังทางปัญญาได้สาํ เร็จ ก็อาจจะช่วยถ่วงดุลอวิชชาของลัทธิบชู าจีดพี ี ได้บ้าง แต่ก็ดังที่ผมเคยกล่าวไว้แล้วในบางที่บางแห่งว่าโครงสร้าง และเนื้อหาการศึกษาของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาระดับ สู ง เป็ น การศึ ก ษาแบบแยกส่ ว น ทั้ ง นี้ คื อ เน้ น ไปในทางแยกสาขา แตกโครงการมากกว่าบูรณาการองค์ความรู้ให้เข้าใจโลกและชีวิตโดย รวม กล่าวอีกแบบหนึ่งก็คือ เราแยกมิติต่างๆ ของความจริงออกจาก กัน แยกห้องเรียนออกจากโลกภายนอก แยกผลการเรียนออกจาก เจตจาํ นงในการเรียน กระทัง่ ตัวสถาบันการศึกษาเองก็อาจกล่าวได้วา่ แยกห่างจากสังคม สภาพเช่นนี้ทําให้การตื่นรู้ทางปัญญาเป็นเรื่องที่ เกิดขึ้นได้ยาก อย่างไรก็ดี แม้ว่าการศึกษาแบบแยกส่วนจะวิวัฒน์มาจาก ปัจจัยหลายอย่าง แต่ท้ายที่สุด ตัวแปรที่กําหนดสภาพดังกล่าวมาก ที่สุดก็คือตลาด พูดให้ชัดขึ้นก็คือ การศึกษาในปัจจุบันถูกย่อความให้ มีฐานะเป็นแค่กระบวนการผลิตตนเองของผูศ้ กึ ษา เพือ่ จะได้กลายเป็น สินค้าราคาแพงในตลาดแรงงาน ทั้งนี้โดยไม่ต้องสนใจไยดีว่าในภาพ ที่ใหญ่กว่าทางสังคม แรงงานของตนจะถูกนําไปสนองวัตถุประสงค์ใด แม้แต่อาจารย์ที่สอนวิชาต่างๆ ก็อาจจะไม่ทันได้ไต่ถามว่าศาสตร์ที่ ตัวเองมอบให้ลูกศิษย์นั้น เป็นศาสตร์แห่งการครอบงําและครอบครอง หรือเป็นศาสตร์แห่งการเข้าถึงและเข้าใจ แน่นอน การผลิตตัวเองให้เป็นสินค้าที่มีราคาในท้องตลาด โดยผ่านทางการศึกษา กล่าวอย่างถึงที่สุดแล้วก็เป็นกระบวนการ ผลิตตัวตนของปัจเจกบุคคลไปด้วย แต่ก็เป็นตัวตนในมุมแคบเต็มที อยู่ในระดับอหังการ มมังการ หรือตัวกูของกูเท่านั้น - 302 60

.indd 302

3/3/2554 16:02:38


ดร.เสกสรรค์ ประเสริฐกุล |

ด้วยเหตุนี้ สังคมไทยจึงเป็นสังคมที่บ้าปริญญา และเต็มไป ด้วยผู้มีการศึกษาสูงที่ ‘โง่เขลา’ หลายคนอาจจะมีรายได้มาก หาเงิน เก่ง แต่มีชีวิตที่เหลือเหมือนอนารยชน เพราะฉะนั้น แทนที่จะให้ แสงสว่างทางปัญญากับสังคม ระบบการศึกษาที่ตกเป็นอาณานิคม ของลัทธิบูชาเศรษฐกิจ กลับกลายเป็นโครงสร้างที่ผลิตอวิชชาเสียเอง กล่ า วสํ า หรั บ ระบบการนํ า เสนอข่ า วสารในสั ง คมซึ่ ง มี ผ ล หล่อหลอมโลกทัศน์ไม่นอ้ ยไปกว่าระบบการศึกษา กระทัง่ อาจจะมีพลัง หนักหน่วงมากกว่า เราก็คงเห็นอยู่แล้วว่าสถานการณ์เป็นอย่างไร อาจพู ด ได้ ว่ า กระแสหลั ก ของการนํ า เสนอข่ า วสารข้ อ มู ล ในสั ง คม ได้ถูกครอบงําโดยแรงจูงใจทางด้านธุรกิจไปแล้วอย่างสิ้นเชิง ไม่ว่า จะเป็นเรื่องของการโฆษณาสินค้าและวิถีชีวิตแบบบริโภคนิยม หรือ การเสนอข่าวเร้าใจให้เสพ (ทั้งๆ ที่หลายเรื่องไม่ควรจะเป็นข่าว) หรือ แม้กระทั่งวิธีการนําเสนอข่าวความเป็นไปในบ้านเมืองธรรมดาๆ ก็ยัง ต้องมีการปรุงรสเพื่อเพิ่มยอดขาย สภาพดังกล่าวนับว่าสวนทางกับ การสร้างสังคมอุดมปัญญาในระดับประสานงา และต้องถือว่าเป็นการ ผลิตอวิชชาในระดับโครงสร้างอีกชนิดหนึ่ง ผู้ผลิตสื่อ ไม่ว่าจะหวังดี เพียงใด ล้วนแล้วแต่ดนิ้ ไม่พน้ อิทธิพลของเงือ่ นไขทางธุรกิจ และจาํ เป็น ต้องปรุงแต่งข่าวสารให้นํามาซึ่งกําไรสูงสุดของผู้ว่าจ้าง ซึ่งตนเองมี ส่วนแบ่งอยู่ด้วย ลัทธิบูชาเศรษฐกิจจะไม่ปรานีผู้คนที่ไม่ร่วมมือ ในสภาวะที่ระบบข่าวสารของสังคมเป็นเช่นนี้ ก็ชวนให้น่า สงสั ย เหมื อ นกั น ว่ า กลไกการทํ า งานของสิ่ ง ที่ เ รี ย กว่ า ตลาดเสรี จ ะ เป็นเช่นไร สมมติฐานของวิชาเศรษฐศาสตร์ที่เห็นว่าในระบบตลาด มนุษย์เราจะตัดสินใจอย่างสมเหตุสมผล หรือ make rational choice แท้จริงแล้วเป็นไปได้หรือไม่... การถูกพูดกรอกหูอยู่ทุกวันว่าผิวคลํ้า เป็นปมด้อย หรือรักแร้ดาํ เป็นปัญหาใหญ่ของชีวติ จนต้องซือ้ ครีมยีห่ อ้ นั้นยี่ห้อนี้มาถูทา เป็นการตัดสินใจที่เต็มไปด้วยเหตุผลหรือไม่ - 303 60

.indd 303

3/3/2554 16:02:38


| เศรษฐศาสน์กับการผลิตอวิชชาเชิงโครงสร้าง

แน่นอน วิถชี วี ติ แบบบริโภคนิยมทีก่ ระพือพัดอยูใ่ นสือ่ โฆษณา ต่างๆ ย่อมทําให้ผู้คนจํานวนมากไม่พอใจชีวิตที่เป็นอยู่ เพราะสิ่งที่ยัง ไม่ได้บริโภคยังมีอกี มากเหลือเกิน กระนัน้ ก็ตาม ไม่ใช่ทกุ คนจะมีรายได้ พอสําหรับการบริโภคทุกอย่างได้ตามแรงโฆษณา ด้วยเหตุนี้ ความคิดที่ก่อรูปขึ้นตามหลังก็คือตัวเองยังรวย ไม่พอ ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงอาจจะพออยู่พอกินมากแล้วก็ตาม ในความเห็นของผม แม้ว่าเราจะมีคนจนจริงๆ อยู่ในประเทศ หลายล้านคน ซึ่งจําเป็นต้องดิ้นรนหาเลี้ยงปากเลี้ยงท้องทุกรูปแบบ แต่คนเหล่านั้นกลับไม่ได้สานต่อก่อกระแสอวิชชาเท่ากับสภาพจิต แบบ ‘กลัวไม่รวย’ ของคนชั้นกลาง ซึ่งตกเป็นเหยื่อโฆษณาของสื่อ ต่างๆ มากกว่า ดังเราจะเห็นได้จากการหันเข้าหาไสยศาสตร์อย่างบ้าคลั่ง ของคนกลุ่มหลัง ซึ่งนําไปสู่การบิดเบือนศาสนธรรมอย่างไม่เคอะเขิน วั ด วาอารามหรื อ สถานที่ ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ห ลายแห่ ง ล้ ว นถู ก ดั ด แปลงให้ เป็นแหล่งประกอบพิธีกรรมขอลาภ ยศ สรรเสริญ บางพวกตระเวน ไหว้พระไหว้เจ้าทุกหนแห่งเพื่อจุดหมายที่ตรงกันข้ามกับพระธรรม คาํ สอน หลายคนไหว้กระทัง่ หมูหมากาไก่ทอ่ นไม้สากกะเบือ หรือสัตว์ ชนิดไหนก็ได้ที่เกิดมาผิดปกติจากเพื่อนร่วมสายพันธ์ุ ทั้งนี้ด้วยความ ปรารถนาเพียงหนึ่งเดียว คือขอให้รวย... ขอให้รวย อันที่จริง จะบอกว่าทั้งหมดนี้เป็นผลจากลัทธิบริโภคนิยม อย่างเดียวก็อาจจะไม่ถูกนัก เพราะในบางกรณี ความมั่งคั่งอาจจะถูก มองเป็นจุดหมายสูงสุดโดยตัวของมันเองดื้อๆ ลอยๆ เหมือนกับที่ นโยบายของรัฐเน้นเรื่องการเติบโตของจีดีพี เมื่อไม่นานมานี้ ผมได้อ่านบทสัมภาษณ์ของสุภาพบุรุษท่าน หนึ่ง ซึ่งน่าสนใจมาก ท่านบอกว่าตัวเองได้เลี้ยงปี่เซียะไว้ทั้งหมด สามคู่ โดยตั้งชื่อให้ครบทุกตัว เช่น ชื่ออํานาจ บารมี พันล้าน และ - 304 60

.indd 304

3/3/2554 16:02:38


ดร.เสกสรรค์ ประเสริฐกุล |

หมื่นล้าน เป็นต้น ปี่เซียะดังกล่าวมีคุณสมบัติหลายอย่าง แต่ที่สําคัญ คือ ส่งเสริมความมั่งคั่งรํ่ารวย นําโชคลาภให้ไหลมาเทมา “ปี่เซียะพวกนี้ต้องทําจากหยกหรือหิน เพราะจะมีพลังใน ตัวเอง โดยจะต้องผ่านพิธีปลุกเสกก่อน พอได้มาเราต้องเอาอาบนํ้า ตั้งชื่อ และขอให้เขาช่วยดูเงินดูทองให้เรา เลี้ยงเหมือนทามาก็อด เอานํ้าตั้งให้เขากิน เวลากลางคืนนั่งดูทีวี ก็เอาเขามาวางข้างๆ เรียก ชื่อเขา...ลูบเค้า ขอให้เขาให้ลาภเรา” ท่านเจ้าของบทสัมภาษณ์ยงั ยืนยันด้วยว่า ข้อห้ามสาํ หรับการ เลี้ยงปี่เซียะนั้น คนที่เป็นเจ้าของสามารถจับได้คนเดียว เพราะหาก ให้คนอื่นจับจะเปรียบเสมือนการแบ่งโชคแบ่งลาภให้คนอื่น (มติชน, 4 ตุลาคม 2552) คิดว่าผมคงไม่ต้องออกความเห็นเพิ่มเติมอะไรเกี่ยวกับเรื่อง นี้ เพียงแต่ขอทําหมายเหตุไว้เล็กน้อยว่า ปี่เซียะนั้นเป็นรูปแกะสลัก ขนาดเล็กที่มีส่วนผสมของสัตว์หลายชนิด ทั้งสัตว์ที่มีจริงและสัตว์ ในจินตนาการ ทามาก็อดเป็นของเล่นเด็กญี่ปุ่นที่เลียนแบบรูปสัตว์ เช่นกัน แต่ออกไปในทางการ์ตูน ส่วนผู้ให้สัมภาษณ์เรื่องทั้งหมดนี้ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ถึงวันนี้เราอาจพูดได้ว่า การผลิตสื่อโฆษณาในแนวทางของ ลัทธิบูชาเศรษฐกิจกับโลกทัศน์และชีวทัศน์ของผู้เสพสื่อ ได้ถักทอ เป็นปฏิสัมพันธ์จนไม่รู้ว่าใครเป็นผู้กําหนดใครอีกแล้ว และในระบบ ตลาดเสรี เมื่อมีความเรียกร้องต้องการในเรื่องความมั่งคั่งส่วนบุคคล หนังสือประเภทนําเสนอวิธีการบรรลุเป้าหมายดังกล่าวจึงถูกผลิต ออกมาสนองความต้องการของผู้บริโภคอย่างท่วมท้น จนเหลือพื้นที่ ไว้สําหรับหนังสือประเภทอื่นๆ น้อยเต็มที แน่ละ สําหรับสํานักพิมพ์ และร้านหนังสือ มีแต่หนังสือที่ขายได้เท่านั้นที่ถูกนับว่าเป็นหนังสือดี ส่วนเนื้อหาสาระที่บรรจุไว้ในหน้ากระดาษอาจจะไม่สําคัญ ทั้งๆ ที่มัน อาจจะถอนรากถอนโคนคุณค่าที่เหลือทั้งหมดของชีวิตเลยทีเดียว - 305 60

.indd 305

3/3/2554 16:02:38


| เศรษฐศาสน์กับการผลิตอวิชชาเชิงโครงสร้าง

ยกตัวอย่างเช่น หนังสือแปลเล่มหนึ่งซึ่งน่าจะกําลังขายดีอยู่ ในประเทศไทย หลังจากขายดีมาแล้วในโลกตะวันตก หนังสือเล่มนี้ มีชื่อภาษาไทยว่า รวยได้ไม่ต้องเอาถ่าน (สํานักพิมพ์วีเลิร์น, 2552) โดยมีคําโปรยหน้าปกสําทับไว้ด้วยว่านี่คือ “วิธีคิดทางการเงินแบบ นอกกรอบ ที่ช่วยให้คนไม่เอาถ่านพลิกกลับมารวยลํ้าหน้าคนที่ฉลาด และทํางานหนักกว่า” เอาละ บางทีชื่อหนังสือและคําโปรยอาจจะเป็นแค่กลยุทธ์ ทางการค้าที่ใช้เรียกร้องความสนใจ แต่พอพลิกอ่านข้างใน เรากลับ พบว่ า ผู้ เ ขี ย นหนั ง สื อ เล่ ม นี้ เ อาจริ ง กั บ เรื่ อ งที่ เ ขาเขี ย นมาก และ หมายความตามชื่อเรื่องและคําโปรยจริงๆ ดังมีขอ้ ความตอนหนึง่ เขียนไว้วา่ “คนไม่เอาถ่านผูม้ งั่ คัง่ ล้วนมี เป้าหมายหลักในการครอบครองทรัพย์สนิ ให้มากทีส่ ดุ เท่าทีจ่ ะทําได้... เป้าหมายแรกของคุณในฐานะคนไม่เอาถ่านผู้มั่งคั่งมือใหม่ก็คือซื้อหา ทรัพย์สนิ ชิน้ แรกมาซะ คุณไม่จาํ เป็นต้องมีเงินมากหรอกครับ อันทีจ่ ริง แล้ว คุณไม่ต้องใช้เงินตัวเองเลยก็ได้” (หน้า 207) นอกจากนี้ยังมีข้อความบางตอนเขียนไว้เกี่ยวกับชีวิตที่ดี “การมีชีวิตที่ดีเสียตั้งแต่ตอนนี้หมายถึงอะไร มันหมายถึงการสนุก กับสิ่งของทุกอย่างของคนที่มีฐานะมั่งคั่ง ไม่ว่าเสื้อผ้า รถยนต์ การ ท่องเที่ยว สิ่งของหรูหรา สิ่งของดีๆ ทั้งหลาย...แต่ก็อย่างที่คุณรู้อยู่ แล้ว ผมยังเชื่อว่าการจะเป็นคนไม่เอาถ่านผู้มั่งคั่งนั้น คุณต้องมีเวลา อีกด้วย ซึ่งเป็นของขวัญอันลํ้าค่าที่คุณใช้ร่วมกับคนอื่น คนไม่เอาถ่าน ผู้มั่งคั่งใช้เวลากับครอบครัวอย่างจริงจัง พวกเขาอุทิศตัวให้กับชุมชน ให้ เ งิ น บริ จ าคแก่ อ งค์ ก รการกุ ศ ล รวมทั้ ง สนั บ สนุ น การศึ ก ษาและ สถาบันศาสนา พวกเขาคือผูอ้ ปุ ถัมภ์ของวงการวิทยาศาสตร์และศิลปะ พวกเขาช่วยให้คนอื่นตะเกียกตะกายออกจากความยากจน...ผมจึง อยากเป็นคนไม่เอาถ่านผู้มั่งคั่งทางจิตวิญญาณด้วย” (หน้า 109) - 306 60

.indd 306

3/3/2554 16:02:38


ดร.เสกสรรค์ ประเสริฐกุล |

ครั บ เช่ น เดี ย วกั บ เรื่ อ งปี่ เ ซี ย ะให้ ล าภ ผมคงไม่ ต้ อ งออก ความเห็นเพิ่มเติมอะไร จะว่าไป นับถึงวันนี้ แนวคิดข้างต้นก็ไม่ใช่ ของใหม่อีกต่อไปแล้ว แต่การที่มันถูกผลิตซํ้าแล้วซํ้าอีกอย่างเข้มข้น ในรูปแบบต่างๆ ก็ทําให้ชวนคิดอยู่ไม่น้อยว่าสังคมที่ถูกอบรํ่าด้วย บรรยากาศเช่นนี้อย่างต่อเนื่อง จะพาวิกฤตแบบไหนมาให้เราอีก สิ่งที่น่าสังเกตเกี่ยวกับหนังสือที่ผมยกมาก็คือ มันมีข่าวสาร ที่ยืนยันว่าต้องรวมศูนย์ความมั่งคั่งไว้ในมือคนส่วนน้อยก่อน จากนั้น การกระจายรายได้และความเจริญจึงจะเกิดขึ้นตามหลัง ผมไม่ทราบ ว่าในระดับของปัจเจกบุคคลมันได้เกิดขึ้นจริงหรือไม่ มันเป็นไปได้ แค่ไหนที่จะบวกรวมจิตวิญญาณที่โลภเร่งถึงขีดสุดเข้ากับจิตวิญญาณ ที่อุทิศตัวเพื่อผู้อื่น แต่อย่างน้อย ผมทราบว่าแนวคิดคล้ายๆ กันนี้ เคยถูกโฆษณาโดยรัฐและนักวิชาการในประเทศไทยมาตั้งแต่แผน พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับแรกๆ และมันเป็นคํามั่นสัญญาที่ ไม่เคยปรากฏเป็นจริง เพราะฉะนั้น การเอามายาคติดังกล่าวมาผลิตซํ้าอีก จึงไม่ใช่ อะไรอื่น นอกจากเป็นอวิชชา จริงอยู่ ลําพังความคิดอยากได้อยากมีเหล่านี้ หากไม่ไป ละเมิดล่วงเกินใคร ก็อาจอนุโลมได้ว่าเป็นความเชื่อส่วนตัว เป็นสิทธิ เสรีภาพแบบหนึ่ง แม้จะไม่ค่อยสร้างสรรค์นัก แต่ความเป็นจริงมีอยู่ ว่า สถานการณ์ทางสังคมไม่ได้หยุดอยู่ที่ความคิดอันฟุ้งซ่านเท่านั้น หากยังนําไปสู่ความเดือดร้อนที่เป็นรูปธรรมด้วย ทั้งคนที่ถูกทิ้งให้ ยากจนสุดขีด และคนทีก่ ลัวไม่รวย ล้วนแล้วแต่มโี อกาสลืน่ ไถลไปสูก่ าร สนองความต้องการของตนโดยไม่เลือกวิธกี าร ดังจะเห็นได้จากตัวเลข สถิติอาชญากรรมต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่มีพื้นฐานมาจากความอยากได้ ผลประโยชน์ทางวัตถุทั้งสิ้น นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีปญ ั หาคอร์รปั ชันอย่างหนักหน่วง จากรายงานล่าสุดของธนาคารโลก ประเทศไทยถูกจัดไว้ที่อันดับที่ 80 - 307 60

.indd 307

3/3/2554 16:02:38


| เศรษฐศาสน์กับการผลิตอวิชชาเชิงโครงสร้าง

จาก 160 ประเทศ ทั้งนี้โดยมีการเรียงลําดับจากคอร์รัปชันน้อยสุด ไปสูค่ อร์รปั ชันมากสุด (มติชน, 30 กันยายน 2552) ซึง่ เมือ่ เปรียบเทียบ เป็นคะแนนกับประเทศในเอเชียด้วยกันแล้ว ประเทศไทยได้คะแนน เพียง 3.5 จากคะแนนเต็ม 10 ขณะที่มาเลเซียได้ 5.1 ญี่ปุ่นได้ 7.3 และสิงคโปร์ได้ถึง 9.2 (มติชน, 13 กันยายน 2552) ทุกท่านคงทราบดีอยูแ่ ล้วว่าปัญหาทุจริตคอร์รปั ชันเป็นปัญหา ใหญ่ที่เกาะกินประเทศมาช้านาน กลายเป็นทั้งปัญหาการเมืองและ ปัญหาประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดิน แน่นอน เราคงพูด ไม่ได้ว่าปัญหาเหล่านี้ไม่เกี่ยวกับโลกทัศน์ทางด้านผลประโยชน์ แต่ มันได้กลายเป็นผลประโยชน์ที่ออกนอกบรรทัดฐานไปไกล ซึ่งสุดท้าย ได้กลับมาส่งผลร้ายต่อระบบเศรษฐกิจเสียเอง ดังเราจะเห็นได้จากคําปรารภของประธานสภาอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทยที่ปรากฏในหน้าหนังสือพิมพ์เมื่อเร็วๆ นี้ว่า “ได้รับ ทราบจากบรรดาผู้รับเหมาก่อสร้างว่ามีการกินค่าหัวคิวในโครงการ ต่างๆ ภายใต้งบประมาณไทยเข้มแข็งสูงถึง 20-25 เปอร์เซ็นต์ ถือว่า มากเกินไป...ถ้ากินแค่ 5 เปอร์เซ็นต์ก็คงไม่เป็นไร ถือว่าธรรมดา” (มติชน, 13 ตุลาคม 2552) ตามที่หนังสือพิมพ์ฉบับดังกล่าวได้คํานวณไว้ หากมีการคิด ค่าหัวคิวในอัตรา 25 เปอร์เซ็นต์ เงินภาษีอากรของประชาชนที่รั่วไหล ไปสู่กระเป๋าคนโกงจะมีปริมาณมากกว่า 3.5 แสนล้านบาทเลยทีเดียว (เล่มเดียวกัน) แน่นอน เราคงไม่สามารถโยนความผิดปกติเหล่านี้ไปให้วิชา เศรษฐศาสตร์ช่วยรับผิดชอบได้ แต่ก็คงต้องยอมรับว่ามันเป็นสภาพ ทีต่ อ่ เนือ่ งมาจากอวิชชาเชิงโครงสร้าง ซึง่ เกิดจากลัทธิบชู าผลประโยชน์ ทางเศรษฐกิจ อันก่อให้เกิดความเข้าใจผิดของคนจํานวนหนึ่งซึ่ง คิดว่าที่ผ่านมากินหัวคิวแค่ 5 เปอร์เซ็นต์ไม่มีใครว่าอะไร เพราะฉะนั้น หากเพิ่มเป็น 20-25 เปอร์เซ็นต์ก็ไม่น่าจะเป็นไรด้วยเช่นกัน - 308 60

.indd 308

3/3/2554 16:02:38


ดร.เสกสรรค์ ประเสริฐกุล |

กล่าวอย่างถึงที่สุด เงินทองทั้งที่ได้มาจากอาชญากรรมและ การฉ้อราษฎร์บังหลวง เมื่อถูกนํามาจับจ่ายใช้สอยในตลาดผู้บริโภค ก็ล้วนถูกนับเป็นส่วนหนึ่งของจีดีพีโดยไม่เคอะเขินกันอยู่แล้ว เพราะฉะนั้น ในความเห็นของผม ปัจจัยมูลฐานที่สุดที่ก่อ ให้เกิดอวิชชาเชิงโครงสร้าง ก่อให้เกิดการมองโลกเพียงด้านเดียว ซึ่ง ผิดจากความจริง ยังคงอยู่ที่นโยบายของรัฐ ซึ่งเน้นการเติบโตทาง เศรษฐกิจอย่างไม่หยุดยั้ง ที่ผ่านมาในระยะเวลาเกือบครึ่งศตวรรษ รัฐไทยได้ใช้อํานาจที่รวมศูนย์กําหนดความสําคัญของการเติบโตทาง เศรษฐกิจไว้เป็นอันดับหนึง่ มิไยว่าบาดแผลทางสังคมทีเ่ กิดขึน้ จะสัง่ สม ไว้มากมายแค่ไหน มิไยว่าความเหลื่อมลํ้าทางด้านรายได้จะถ่างกว้าง ออกไปเพียงใด การเสื่อมทรุดของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมจะหนัก หน่วงปานใด ฯลฯ รัฐก็ยังคงยืนยันที่จะให้การเติบโตทางเศรษฐกิจ เป็นเป้าหมายอันดับหนึ่งอยู่ตลอดเวลา สภาพเช่นนี้ทําให้สังคมไทย ถึงอย่างไรก็หนีไม่พ้นความขัดแย้งในระดับโครงสร้างไปได้ ล่าสุด ตัวอย่างที่เห็นชัดเจนที่สุดคือกรณีมาบตาพุด ซึ่งเป็น ความขัดแย้งระหว่างการสร้างความมัง่ คัง่ ทางวัตถุโดยผ่านการพัฒนา อุตสาหกรรม กับคุณภาพชีวิตของผู้คนในท้องถิ่น การที่ชุมชนชาว มาบตาพุดและเครือข่ายภาคประชาชนที่เห็นอกเห็นใจ ไม่อาจฝืนทน กับสภาพทุกข์ทรมานเช่นนีต้ อ่ ไป นับเป็นการตืน่ รูค้ รัง้ สําคัญของสังคม ไทย ที่เรียกร้องต้องการให้รัฐไทยออกจากลัทธิบูชาเศรษฐกิจ และ นําพาประชาชนไปสู่ชีวิตที่สมดุลมากขึ้น อย่างไรก็ดี สิง่ ทีน่ า่ สนใจมากเกีย่ วกับกรณีนกี้ ค็ อื นับตัง้ แต่ศาล ปกครองกลางมีคาํ สัง่ ให้ระงับโครงการขยายอุตสาหกรรม 76 โครงการ ทั้งในพื้นที่มาบตาพุดและพื้นที่ใกล้เคียง ปรากฏว่าทั้งฝ่ายรัฐและภาค ธุรกิจเอกชนต่างก็ออกมาแสดงความวิตกกังวลว่าคําสั่งศาลดังกล่าว จะทําให้เกิดผลเสียทางด้านเศรษฐกิจ ทั้งนี้โดยมีชุดเหตุผลที่เราได้ยิน ได้ ฟั ง กั น มาจนคุ้ น เคย คื อ หนึ่ ง เดี๋ ย วต่ า งชาติ จ ะไม่ ย อมมาลงทุ น - 309 60

.indd 309

3/3/2554 16:02:38


| เศรษฐศาสน์กับการผลิตอวิชชาเชิงโครงสร้าง

ในประเทศไทย สอง จีดีพีจะลดลง เพราะเงินลงทุนหายไป 3-4 แสน ล้านบาท และสาม ผูค้ นจะตกงานถึงประมาณ 1 แสนคน เพราะฉะนัน้ โดยรวมแล้วประเทศไทยเสียหายมาก ที่ผมบอกว่าน่าสนใจก็คือ ชุดเหตุผลเช่นนี้ได้ถูกนํ ามาใช้ ทุกครั้งที่มีความขัดแย้งคล้ายๆ กันเกิดขึ้น เพราะฉะนั้น มันจึงมี ลักษณะเป็นอุดมการณ์หรือวาทกรรมทางการเมืองมากกว่าคําอธิบาย สถานการณ์ทเี่ ป็นจริง และลักษณะของอุดมการณ์ ไม่วา่ ของฝ่ายไหน ก็ตาม กระบวนการใช้ตรรกะเหตุผลทัง้ หมดมักตัง้ อยูบ่ นฐานความเชือ่ บางอย่างที่ยกขึ้นหิ้งไว้แล้วว่าห้ามเถียง เช่นในกรณีนี้ การขยายตัว ของอุตสาหกรรมคือผลประโยชน์สว่ นรวม จีดพี คี อื ดัชนีชวี้ ดั ความเจริญ รุ่งเรือง การมีงานทําเป็นสิ่งที่ดี ฯลฯ อะไรทํานองนั้น ในจุดนี้ ผมอยากจะขอหมายเหตุไว้สกั นิดว่า ถ้าพิจารณาโดย หลักธรรมแล้ว อุดมการณ์ทุกประเภทล้วนเป็นมิจฉาทิฐิ เพราะมันเกิด จากการจับความจริงบางส่วนมาขังไว้ในกรอบคิดทางอัตวิสัย จากนั้น ก็ปรุงแต่งถือมั่นจนมองข้ามความจริงรูปธรรมที่คลี่คลายอยู่เบื้องหน้า ในปัจจุบันขณะ ท้ายที่สุด มุมมองแบบนี้ก็จะนําไปสู่การเข้าใจโลกอย่างผิดๆ กระทั่งหลุดไปจากความจริงอย่างสิ้นเชิง หรือทะเลาะกับความจริง อย่างเอาเป็นเอาตาย เพราะมีความคิดว่าตัวเองเป็นเจ้าของความจริง เสียเอง พวก Fundamentalists ทั้งหลาย ไม่ว่าซ้ายหรือขวา ไม่ว่า ฝ่ายศาสนาหรือฝ่ายการเมือง ล้วนแล้วแต่มีมิจฉาทิฐิเช่นนี้ ในกรณีของมาบตาพุด สิ่งที่ทําให้ผมรู้สึกใจหายก็คือ ขณะที่ ชาวบ้ า นผู้ เ ดื อ ดร้ อ นมี ห น้ า ตาและตั ว ตนให้ เ ห็ น อย่ า งเป็ น รู ป ธรรม มีคนเจ็บคนป่วยและเสียชีวิตด้วยโรคร้ายนานาชนิดให้เห็นอย่างเป็น รูปธรรม ฝ่ายรัฐและภาคธุรกิจเอกชนกลับพูดถึงคุณค่าและปริมาณ ของเงินลงทุนแบบลอยๆ โดยไม่มีข้อมูลชัดเจนว่าใครได้อะไรแค่ไหน - 310 60

.indd 310

3/3/2554 16:02:38


ดร.เสกสรรค์ ประเสริฐกุล |

อย่างไรจากเงินดังกล่าว จํานวนคนทํางานหนึ่งแสนคนก็เป็นมนุษย์ นิรนาม ไม่รู้ว่าเป็นใครและทํางานในเงื่อนไขอะไร งานเหล่านั้นสร้าง ชีวิตที่ดีให้พวกเขาหรือไม่ หรือว่ายิ่งทําให้ชีวิตของพวกเขาเลวลง กลายเป็นแค่วัตถุดิบป้อนโรงงานอีกชนิดหนึ่ง เพราะฉะนัน้ ในแง่หนึง่ เราจะเห็นได้วา่ ข้อขัดแย้งทีม่ าบตาพุด เป็นข้อขัดแย้งระหว่าง Myth กับ Reality และผมคงไม่ต้องยํ้าก็ได้ว่า การมองข้ามความทุกข์รอ้ นทีเ่ ป็นรูปธรรมของผูค้ น ในนามของความดี หรือความถูกต้องที่เป็นแค่ตัวเลขนามธรรม จริงๆ แล้วก็คืออวิชชา นัน่ เอง นีค่ อื โมหะทีค่ รอบงาํ ประเทศไทยมาตัง้ แต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจ ฉบับที่ 1 แล้ว ชาวมาบตาพุดไม่ใช่เหยื่อรายแรกของอวิชชาชุดนี้ ก่อนหน้านี้ยังมีชาวบ้านปากมูล ชาวอําเภอจะนะ บ่อนอก บ้านกรูด และคนยากคนจนในอีกหลายที่หลายแห่ง ซึ่งถูกกดดันให้สูญเสียวิถี ชีวิตดั้งเดิม เพื่อหลีกทางให้กับสิ่งที่เรียกว่าการพัฒนา แน่ ล ะ กล่ า วเช่ น นี้ มิ ไ ด้ ห มายความว่ า เศรษฐกิ จ ไม่ สํ า คั ญ เพียงแต่วา่ ความสําคัญนัน้ ไม่ควรถูกสร้างขึน้ มาโดดๆ โดยไม่เกาะเกีย่ ว ยึดโยงกับคุณค่าอื่นใดของความเป็นคน พูดอีกแบบหนึ่งก็คือ เรา ไม่ควรต้องเลือกอย่างสุดขั้วระหว่างเอาเศรษฐกิจแล้วทิ้งทุกอย่าง กับ ได้ทุกอย่างยกเว้นเศรษฐกิจ แท้จริงแล้ว ประเด็นหลักมันอยู่ที่องศา แห่งความเหมาะสม อยู่ที่ความสมดุลระหว่างปัจจัยอันเป็นคุณต่างๆ ซึ่งมีทั้งด้านที่เป็นวัตถุและด้านที่เป็นเรื่องของจิตใจ ในความเห็นของผม กรณีมาบตาพุดนั้นควรจะต้องถูกมอง ในเชิงบวก และถือว่าเราโชคดีที่มีเรื่องแบบนี้เกิดขึ้น ผมหมายถึงว่า ในเมื่อกลไกตลาดเสรีไม่สามารถปรับสมดุลของตัวเองได้ ไม่สามารถ แก้ไขจุดอ่อนข้อบกพร่องของตนได้ กลไกอื่นๆ ของสังคมก็ต้องเข้ามา ช่วยกันทํางาน ซึ่งในกรณีนี้หมายถึงการจัดตั้งรวมตัวกันเอาธุระของ ชาวบ้านและบทบาทของศาลปกครอง ตลอดจนการมีส่วนร่วมแสดง - 311 60

.indd 311

3/3/2554 16:02:38


| เศรษฐศาสน์กับการผลิตอวิชชาเชิงโครงสร้าง

ความคิดเห็นของภาคส่วนต่างๆ ในสังคม ถ้าหากเราสามารถทําให้ สภาพเหล่านี้กลายเป็นกระบวนการปกติธรรมดา ในระยะยาวแล้ว การผลิตอวิชชาเชิงโครงสร้างก็จะทําได้นอ้ ยลง กระทัง่ ทําไม่ได้อกี ต่อไป ที่ผ่านมา วาทกรรมของลัทธิบูชาจีดีพีหรือพวก Fundamentalists ทางด้านเศรษฐกิจ มักจะกล่าวอ้างว่าหากเศรษฐกิจดี คนก็มี งานทํา ซึ่งตั้งอยู่บนสมมติฐานว่าการมีงานทําและมีรายได้คือการมี ความสุข แต่คําถามมีอยู่ว่า ความจริงเป็นเช่นนั้นเสมอไปหรือไม่ งาน และรายได้แบบทีเ่ ป็นอยูค่ อื ความสุขเสมอไปหรือไม่ หรือว่าแท้จริงแล้ว สําหรับคนจํานวนมหาศาล มันเป็นแค่ทางเลือกระหว่างอดตายกับ มีชีวิตอยู่อย่างลําบากยากแค้นเท่านั้นเอง จากตัวเลขที่มีอยู่ ทุกวันนี้เรามีคนงานที่อยู่ในระบบการจ้าง งานอย่างเป็นทางการไม่ถึง 10 ล้านคน แต่มีแรงงานรับจ้างนอกระบบ ราว 23-24 ล้านคน ดังนั้น คนกลุ่มใหญ่ที่ออกแรงสร้างจีดีพี แท้จริง แล้วกลับไม่ได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายแรงงาน นายจ้างไม่ต้อง จ่ายค่าจ้างตามค่าแรงขั้นตํ่า ไม่ต้องจ่ายเงินชดเชยในเรื่องไหน การ รวมตัวเพื่อเพิ่มอํานาจต่อรองก็ทําไม่ได้ ถึงเวลาถูกเลิกจ้างก็ไม่มีใคร รู้ว่าชะตากรรมของพวกเขาจะเป็นเช่นใด (เนชั่นสุดสัปดาห์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 906, 9 ตุลาคม 2552) ยิ่งไปกว่านั้น เรายังต้องถามต่อไปอีกว่า นอกเหนือไปจาก การกระจายรายได้ที่ไม่เป็นธรรมแล้ว การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ เทีย่ วไปหักล้างคุณค่าอืน่ ๆ ทางสังคมนัน้ เป็นเรือ่ งคุม้ กันหรือไม่ แม้วา่ คุณค่าทางสังคมดังกล่าวจะวัดเป็นตัวเลขหรือถูกตีราคาเป็นเงินไม่ได้ ก็ตาม ยกตัวอย่างเช่น เมื่อต้นปี 2552 ที่ผ่านมา เมื่อประเทศไทย ได้รบั ผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกาและยุโรป รัฐได้นาํ - 312 60

.indd 312

3/3/2554 16:02:38


ดร.เสกสรรค์ ประเสริฐกุล |

เงินมาแจกผู้ประกันตนคนละ 2,000 บาท เพื่อจับจ่ายใช้สอยในเรื่อง ใดก็ได้ เจตนารมณ์ของรัฐคือให้ใช้สอย ไม่ใช่เก็บออม เพราะฉะนั้น รัฐบาลจึงไปทําข้อตกลงกับห้างร้านและองค์กรธุรกิจต่างๆ ซึ่งมีตั้งแต่ ร้านขายฟาสต์ฟูดไปจนถึงห้างใหญ่ห้างหรูและโรงภาพยนตร์ โดย ตกลงให้ประชาชนสามารถนําสิ่งที่เรียกว่า ‘เช็คช่วยชาติ’ ไปใช้แทน เงินสดได้ และให้บริษทั เหล่านัน้ ช่วยเพิม่ มูลค่าเช็ค (ซึง่ เป็นจินตนาการ เกี่ยวกับความได้เปรียบของลูกค้า) อีกทั้งใช้เงินสดเป็นเงินทอนด้วย ผลที่ออกมาก็คือ บรรดาห้างร้านต่างๆ พากันโหมโฆษณา สินค้าของตนเป็นการใหญ่ พร้อมทั้งแข่งกันเสนอเพิ่มมูลค่าของเช็ค 2,000 บาท ยังไม่ต้องเอ่ยถึงว่าสินค้าที่โฆษณากันใหญ่โตไม่ใช่น้อย คือเครื่องสําอางยี่ห้อต่างประเทศ อาหารต่างประเทศ สถานบันเทิง ตลอดจนสินค้าฟุม่ เฟือยระดับแบรนด์เนมอีกหลายอย่าง พูดสัน้ ๆ ก็คอื กระตุ้นกระแสบริโภคนิยมให้เร้าใจถึงขีดสุด เพื่อจะได้เกิด Economic Intercourse และไปถึง Economic Orgasm พร้อมๆ กัน อย่างไรก็ดี สภาพดังกล่าวย่อมก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในนิยามคําว่าชาติอยู่ไม่ใช่น้อย ชาติคืออะไร แค่ซื้อเครื่องสําอางฝรั่ง มาใช้ก็เป็นการรักชาติแล้วหรือ ใช่หรือไม่ว่าความสับสนในเรื่องนี้ ย่อมทําให้คําว่าชาติเลอะเทอะมากขึ้น มีอย่างเดียวที่ชัดเจน คือชาติ ดังกล่าวไม่ได้รวมชาวไร่ชาวนาและแรงงานนอกระบบซึ่งไม่ได้มีฐานะ เป็นผู้ประกันตน และเป็นประชากรมากกว่าครึ่งประเทศ แน่นอน ข้อโต้แย้งทีเ่ ดาได้กค็ อื การค้าและการจับจ่ายใช้สอย เป็นเรื่องดี เพราะถึงที่สุดแล้วก็จะก่อให้เกิดการจ้างงาน เม็ดเงินจะ ลงไปถึงรากหญ้า ทุกคนจะได้รับประโยชน์ แม้จะไม่ได้รับแจกเงิน โดยตรงก็ตาม แต่เรียนตรงๆ ผมยังนึกไม่ออกเลยว่าคนยากคนจนทีก่ ระจาย กันอยู่ทั่วประเทศหลายล้านคนจะได้ส่วนแบ่งจากปรากฏการณ์แบบนี้ - 313 60

.indd 313

3/3/2554 16:02:38


| เศรษฐศาสน์กับการผลิตอวิชชาเชิงโครงสร้าง

สักกี่บาทกี่สตางค์ ยกเว้นพวกสามล้อแดง ซึ่งอาจจะได้เก็บขยะที่เป็น กระดาษและพลาสติกเพิ่มขึ้น อันที่จริง ประเด็นสําคัญที่สุดมันก็อยู่ตรงนี้แหละ เป้าหมาย หลักของการผลิตอวิชชาเชิงโครงสร้างโดยลัทธิบูชาเศรษฐกิจ คือก่อ ให้เกิดภาพลวงตาเรื่องผลประโยชน์ส่วนรวม หรือพูดอีกแบบหนึ่งคือ ประโยชน์สขุ ของคนส่วนใหญ่ มายาคติดงั กล่าวทาํ ให้ผคู้ นในสังคมต้อง รีบวางอาวุธทางปัญญา ทําให้เราแทบไม่มกี รอบคิดทางสังคมการเมือง และวัฒนธรรมใดๆ ที่จะไปถ่วงดุลการเติบโตทางเศรษฐกิจได้แม้แต่ น้อย รัฐบาลและภาคธุรกิจเพียงพูดลอยๆ ว่าส่วนรวมได้ประโยชน์ เรื่องก็จบลงตรงนั้น อย่างไรก็ตาม ลึกๆ แล้วเราทุกคนทราบดีว่าหลักการที่ใช้ ในการบริหารธุรกิจก็ดี หรือแผนการที่นํามาใช้กระตุ้นการขยายตัว ทางเศรษฐกิจก็ดี กลับมีจุดเน้นอยู่ที่กําไรสูงสุดและต้นทุนตํ่าสุดของ ผู้ ป ระกอบการ ซึ่ ง บ่ อ ยครั้ ง กลั บ สวนทางกั บ ประโยชน์ สุ ข ของคน ส่วนใหญ่ แทนที่จะบรรจบกันโดยอัตโนมัติ ถามว่าเรือ่ งทัง้ หมดเป็นความผิดพลาดของวิชาเศรษฐศาสตร์ ด้วยหรือไม่ ต่อประเด็นนี้ ผมได้เรียนไว้ตงั้ แต่แรกแล้วว่าผมไม่มคี วามรู้ พอทีจ่ ะวิจารณ์วชิ าเศรษฐศาสตร์ และผมจําแนกความแตกต่างระหว่าง การยึดถือเศรษฐกิจเป็นศาสนาประจําชาติ กับวิชาเศรษฐศาสตร์ ในฐานะสาขาหนึ่งขององค์ความรู้ทางวิชาการ แต่ก็อีกนั่นแหละ พูดอย่างเกรงอกเกรงใจแล้ว ผมก็ยังต้อง ยืนยันว่านักเศรษฐศาสตร์มีส่วนทําให้การผลิตอวิชชาเชิงโครงสร้าง เกิดขึ้นด้วย เพียงแต่ว่ามันอาจจะไม่ได้เกิดจากอกุศลเจตนา หากเกิด จากท่านถูกเชือ่ ถือและถูกนําไปอ้างมากเกินไป โดยผูค้ นทีท่ า่ นควบคุม ไม่ได้ เช่น นักธุรกิจและผู้บริหารบ้านเมือง ความน่าเชือ่ ถือของวิชาเศรษฐศาสตร์นนั้ เกิดจากหลายปัจจัย แต่ที่สําคัญอย่างหนึ่งคือ มันเป็นวิชาที่ค่อนข้างยืนยันลักษณะ Value - 314 60

.indd 314

3/3/2554 16:02:38


ดร.เสกสรรค์ ประเสริฐกุล |

Free หรือไม่มีอคติฉันทาคติในเรื่องคุณค่าและรสนิยม ไม่ตีเส้นแบ่ง ผิดถูกด้วยหลักการทางด้านศาสนาและวัฒนธรรม เพราะฉะนั้นจึงมี ฐานะเป็นกลาง ไม่เข้าใครออกใคร พูดอีกแบบหนึ่งคือ เศรษฐศาสตร์ ทั้งที่เป็น Self Image และ Public Image นับเป็นการมองโลกแบบ ภววิสัย (Objective) โดยผ่านการคิดคํานวณเป็นสําคัญ กระทั่งเป็น สาขาสังคมศาสตร์ที่ใกล้เคียงกับวิทยาศาสตร์มากที่สุด อย่างไรก็ดี ปัญหาใหญ่ที่สุดมันก็อยู่ตรงนี้แหละ ในเมื่อวิชา เศรษฐศาสตร์เปิดพื้นที่โล่งในทางคุณค่า ผู้ที่ขอยืมชุดความคิดของ วิชานี้ไปใช้จึงสามารถใส่อะไรลงไปก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น คําว่าผูบ้ ริโภค ซึง่ ฟังดูเป็นคํากลางๆ และมัก จะถูกนํามาใช้มากในระยะหลัง เพื่อกระตุ้นการซื้อขายภายในประเทศ หรือเพื่อชดเชยการถดถอยทางเศรษฐกิจ อะไรทํานองนั้น ตามความ เข้าใจของผม หลักเศรษฐศาสตร์อาจจะไม่ได้บอกว่าคุณควรบริโภค อะไร ด้วยวิธีไหน ที่สําคัญคือบริโภคมากๆ แล้วจะกระตุ้นการผลิต ซึ่งจะก่อให้เกิดการจ้างงาน จากนั้นทุกคนก็จะได้ประโยชน์ แต่สําหรับเราท่านซึ่งเป็นคนธรรมดาไม่รู้วิชาเศรษฐศาสตร์ หรือเป็นนักวิชาการในสาขาอื่น การที่ซาเล้งครอบครัวหนึ่งซื้อไข่ไก่ 3 ฟองมาแบ่งกันกินในบ้านซึ่งมีสมาชิก 6 คน ย่อมแตกต่างอย่าง มีนัยสําคัญกับการที่เศรษฐีนีวัยสาวปลายๆ ซื้อไข่ไก่หนึ่งโหลมาพอก หน้าทาสะโพกหรือส่วนอื่นๆ ของร่างกาย ทั้งนี้เนื่องจากมันมีเรื่อง ความไม่ธรรมทางสังคมเข้ามาเกี่ยวข้อง และเราก็อดเสียดายไข่ไก่ แทนคนจนๆ ไม่ได้ แน่ละ เราสามารถยกตัวอย่างแบบนี้ได้อีกมากมายหลาย กรณี เพื่ อ ยื น ยั น ว่ า การเติ บ โตของยอดขายหรื อ การขยายตั ว ทาง เศรษฐกิจไม่ได้หมายถึงความเจริญทางสังคมเสมอไป

- 315 60

.indd 315

3/3/2554 16:02:38


| เศรษฐศาสน์กับการผลิตอวิชชาเชิงโครงสร้าง

ผมไม่ทราบว่าเป็นเพราะเศรษฐศาสตร์อาศัยคณิตศาสตร์มากไปหรือไม่ จึงทําให้กระบวนการใช้ตรรกะเหตุผลส่วนใหญ่หนักไปในทาง Deduction แต่ก็อย่างที่เราทราบกันดีว่าวิธีการให้เหตุผลแบบ Deduction นั้นขึ้นต่อสมมติฐานเป็นสําคัญ จากนั้นข้อสรุปที่ได้มาก็จะกลายเป็น สมมติฐานของข้อสรุปต่อๆ ไป อันทีจ่ ริง วิธคี ดิ แบบนีม้ ปี ระโยชน์ถา้ ใช้ พิจารณาสถานการณ์ที่เราควบคุมตัวแปรได้ทั้งหมด... แต่ถ้านํามาใช้ พิจารณาสิง่ ทีม่ มี ติ หิ ลากหลายและแปรเปลีย่ นอยูต่ ลอดเวลาอย่างสังคม มนุษย์ โอกาสที่สมมติฐานจะคลาดเคลื่อนจากความจริงก็เป็นไปได้สูง เมือ่ ผิดพลาดตัง้ แต่สมมติฐาน ข้อสรุปทีเ่ หลือซึง่ ได้มาจากกระบวนการ Deduction ก็อาจจะใช้ไม่ได้เลย พูดให้ชดั ขึน้ ก็คอื ในความรูส้ กึ ของผม เศรษฐศาสตร์องิ อยูก่ บั นิยามของสังคมและมนุษย์ทตี่ ายตัวมากเกินไป ทัง้ ในการตัง้ สมมติฐาน และในกระบวนการสร้างชุดเหตุผล ดังนั้นจึงเป็นเรื่องง่ายที่จะถูกนํา ไปแปรรูปเป็นศาสนาทางเศรษฐกิจ แทนที่จะถูกใช้ประโยชน์ในฐานะ องค์ความรู้ทางวิชาการ ตามความเห็นของผม การสร้างสมมติฐานเบื้องต้นนั้นอาศัย วิธีการแบบ Induction น่าจะถูกต้องกว่า คือหากฎเกณฑ์ทั่วไปจาก ความจริงที่เป็นรูปธรรม... แต่ก็ดังที่ศาสตราจารย์เดียร์ดรี แม็กคลอสคีย์ (Deirdre McCloskey) ซึง่ เป็นนักเศรษฐศาสตร์ ได้เขียนไว้ในหนังสือชือ่ The Secret Sins of Economics ท่านกล่าวว่าจุดอ่อนอย่างหนึ่งของเศรษฐศาสตร์ อยู่ที่ไม่ค่อยได้ศึกษาเรื่องราวของมนุษย์ตัวเป็นๆ ที่มีชีวิตจิตใจจริงๆ ไม่ค่อยอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับโลกที่ตัวเองพยายามอธิบายเท่าใด อันนี้ท่านใช้คําว่าเป็น Institutional Ignorance เลยทีเดียว (หน้า 28) แต่ก็อย่างที่เรารู้ๆ กัน เศรษฐศาสตร์กลับชอบตั้งสมมติฐาน เกี่ยวกับความต้องการและความพอใจของมนุษย์ ตลอดจนความ - 316 60

.indd 316

3/3/2554 16:02:38


ดร.เสกสรรค์ ประเสริฐกุล |

มีเหตุมผี ลของมนุษย์ในตลาดเสรี ราวกับว่าไม่ตอ้ งเถียงกันในประเด็น เหล่านี้อีกแล้ว สําหรับในกรณีของประเทศไทย ตัวอย่างทีส่ ะท้อนภาพความ ไม่เพียงพอ (Inadequate) ของวิชาเศรษฐศาสตร์ได้ชัดที่สุดคือวิกฤต เศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในปี 2540 ดังที่ทุกท่านคงจํากันได้ การเปิดเสรีทางการเงินในประเทศ ที่พัฒนามาอย่างไม่สมดุล และขาดทั้งธรรมาภิบาลกับความโปร่งใส อย่างประเทศไทย ท้ายที่สุดก็นําไปสู่การพังพินาศทางเศรษฐกิจใน ชั่วเวลาข้ามคืน สาเหตุสําคัญอย่างหนึ่งคือเงินกู้ต่างประเทศถูกนํามา แบ่งปันกันระหว่างนักการเมืองกับนักธุรกิจที่ฉ้อฉล เม็ดเงินจํานวน มากไม่ได้ถูกนําไปกระตุ้นการผลิตหรือการค้าการลงทุนอย่างแท้จริง หากถูกดูดซับไปเข้ากระเป๋าปัจเจกบุคคลด้วยการปัน่ หุน้ ปัน่ ราคาทีด่ นิ ตลอดจนการปล่อยกูอ้ ย่างไร้หลักการ จากนัน้ ก็มกี ารนําเงินไปใช้ในการ บริโภคที่ล้นเกินอย่างเหลือเชื่อ สุดท้า ย เมื่อรัฐบาลถูกกดดันให้ปล่อยค่าเงินบาทลอยตัว ต่างประเทศทวงหนี้คืน ทั้งประเทศก็ตกอยู่ในสภาวะล้มละลาย เมื่อ เกิดปัญหาขึ้นแล้ว การแทรกแซงของรัฐบาลไม่เพียงแต่จําเป็น หาก ยังกลายเป็นข้อเรียกร้องของสาธารณชน ความคิดเรือ่ งปล่อยให้กลไก ตลาดเสรีแก้ปัญหาเองกลับหายไปโดยสิ้นเชิง ถามว่านี่เป็นความผิดของนักเศรษฐศาสตร์หรือเปล่า หลาย ท่านอาจจะคิดว่าไม่ใช่ เพราะผู้คนไม่ได้ทําตามหลักเศรษฐศาสตร์ ที่ถูกต้อง แต่ผมคิดว่าอย่างน้อยนักเศรษฐศาสตร์ก็พลาดในเรื่องนี้ เพราะท่านไม่ได้วางสมมติฐานเรื่องตลาดเสรีไว้บนพฤติกรรมที่เป็น จริงของมนุษย์ ผมหมายถึงมนุษย์บางจําพวกในประเทศไทย ซึ่งถือหลัก Rationalism เฉพาะในกรอบของผลประโยชน์เฉพาะหน้าและผล - 317 60

.indd 317

3/3/2554 16:02:39


| เศรษฐศาสน์กับการผลิตอวิชชาเชิงโครงสร้าง

ประโยชน์เฉพาะตัวเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ การเปิดตลาดเสรีทางการเงิน จึงไม่ได้นําไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองหรือความมั่งคั่งที่แท้จริง หากเป็น การเปิดโอกาสให้กบั การแสดงออกซึง่ พฤติกรรมฉ้อฉลและฟุง้ เฟ้อทีส่ ดุ ในประวัติศาสตร์ของประเทศไทย ผมเห็นด้วยกับอาจารย์เกษียร เตชะพีระ ซึง่ เขียนไว้เมือ่ เร็วๆ นี้ว่า วิชาเศรษฐศาสตร์มีส่วนสร้างมายาคติขึ้นมาหลายเรื่อง จนทําให้ สังคมหลงใหลได้ปลื้มไปกับภาพลวงตาหลายอย่าง เพราะฉะนั้นจะ บอกว่าไม่เกี่ยวข้องกับวิกฤตไทยปี 2540 และวิกฤตโลกในปัจจุบันคง ไม่ได้ (มติชน, 16 ตุลาคม 2552) แน่ละ ที่กล่าวมาทั้งหมดไม่ใช่เรื่องมาซํ้าเติมกัน และยิ่งไม่ใช่เรื่อง ยกตนข่มท่าน ในฐานะที่ผมเป็นนักวิชาการทางด้านรัฐศาสตร์ ก็คง ต้องขอสารภาพว่าพวกเราเองก็ไม่ได้ทาํ ได้ดกี ว่าพวกท่านเท่าใด ดูจาก สภาพการเมืองที่ผ่านมาและเป็นอยู่ ก็จะเห็นสภาพความอับจนทาง ปัญญาของพวกเราอยู่ไม่น้อย นั ก รั ฐ ศาสตร์ ห ลายคนก็ เ หมื อ นกั บ นั ก เศรษฐศาสตร์ คื อ ออกแบบระบอบประชาธิปไตยได้งดงามมาก โดยมีขอ้ แม้อย่างเดียวว่า คนที่จะเข้าสู่เวทีอํานาจต้องเป็นคนดี แต่ตรรกะแห่งอํานาจเป็นความ จริงอีกชุดหนึ่ง ทําให้คนดีไม่ค่อยได้เข้าใกล้อํานาจสักเท่าใด... กลับมาที่เรื่องเศรษฐศาสน์หรือลัทธิบูชาเศรษฐกิจ ถึงตอนนี้ ท่านทั้งหลายคงเห็นแล้วว่า การผลิตอวิชชาเชิงโครงสร้างเพื่อคํ้าจุน ลั ท ธิ นี้ จะมากหรื อ น้ อ ย ก็ ล้ ว นขอยื ม หลั ก คิ ด พื้ น ฐานไปจากวิ ช า เศรษฐศาสตร์ทเี่ ป็นองค์ความรูท้ างวิชาการ จากนัน้ จึงปรุงแต่งเพิม่ เติม ในพื้นที่ที่เศรษฐศาสตร์เปิดโล่งไว้ เช่น ส่งเสริมการบริโภคสรรพสิ่ง โดยไม่ต้องคํานึงถึงรสนิยมและคุณค่าทางวัฒนธรรม ขอเพียงให้เพิ่ม ยอดขายและเพิ่ ม อั ต ราการเติ บ โตของจี ดี พี ถลุง ต้น ทุน ทางสังคม - 318 60

.indd 318

3/3/2554 16:02:39


ดร.เสกสรรค์ ประเสริฐกุล |

และทรัพยากรธรรมชาติตลอดจนสิ่งแวดล้อมอันเอื้อชีวิตอย่างไม่ยั้ง เพราะเป็นต้นทุนที่เจ้าของกิจการไม่ต้องแบกค่าใช้จ่าย ฯลฯ เป็นต้น ทั้งนี้โดยอธิบายทุกอย่างว่าเป็นผลประโยชน์ส่วนรวม ง่ายๆ และดื้อๆ ถามว่าแล้ววิชาเศรษฐศาสตร์ของเราจะพ้นจากบาปกรรม เหล่านี้ได้อย่างไร ผมคิดว่าจริงๆ แล้วนักเศรษฐศาสตร์นั่นแหละที่จะ มีบทบาทมากกว่าใครในการถอนอุปาทานเรื่องลัทธิบูชาเศรษฐกิจ ศาสตร์แขนงนี้ได้รับการเคารพนบนอบทั้งจากภาครัฐและภาคสังคม มากอยู่แล้ว ท่านควรจะใช้บารมีที่มีอยู่ช่วยผู้คนแก้ปัญหาทางปัญญา ประการแรก แม้ท่านอาจจะยังต้องอยู่กับคณิตศาสตร์ต่อไป แต่ก็ควรเพิ่มคุณค่าจริงของชีวิตเข้าไปในการหาข้อสรุปทางเศรษฐกิจ มากขึ้น อย่าลืมว่าแม้วิชาโหราศาสตร์ซึ่งใช้คณิตศาสตร์อยู่ไม่น้อย ท้ายที่สุดยังต้องนําปัญหารูปธรรมของเจ้าของดวงมาพิจารณา ประการที่ ส อง ผมคิ ด ว่ า นั ก เศรษฐศาสตร์ ค วรตรวจสอบ สมมติฐานที่ใช้มากขึ้น เช่น ผลประโยชน์แห่งชาติตอนนี้มีจริงหรือไม่ ส่วนรวมหมายถึงอะไรหนึ่งก้อน หรือประกอบด้วยกลุ่มผลประโยชน์ แสนล้านกลุ่มที่ขัดแย้งกันอยู่ตลอดเวลา การลงทุนของต่างชาติที่ว่า ดีนั้นดีตรงไหน ฯลฯ อะไรทํานองนั้น และประการสุดท้าย ผมคิดว่านักเศรษฐศาสตร์ควรจะถือ เป็นหน้าที่ของตนที่จะออกมาท้วงติงหรือตอบโต้พวก Economic Fundamentalists ซึง่ เอาหลักวิชาของท่านไปใช้อย่างสามานย์ กระทัง่ บิดเบือน อันที่จริง สิ่งที่ผมพูดมาทั้งหมดนี้อาจจะเป็นการเหมารวม มากไปหน่อย และอาจจะไม่ยุติธรรมกับนักเศรษฐศาสตร์หลายท่าน ที่เห็นอกเห็นใจผู้เสียเปรียบอยู่แล้ว หากเป็นเช่นนั้นก็คงต้องขออภัย ผมทราบดีว่าทุกอย่างมีข้อยกเว้น และในวงวิชาการทุกสาขา ผู้คน - 319 60

.indd 319

3/3/2554 16:02:39


| เศรษฐศาสน์กับการผลิตอวิชชาเชิงโครงสร้าง

ต่างก็มีความเห็นแตกต่างกันไป หากท่านเป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่ คิดอ่านอยู่ในแนวนี้อยู่แล้ว ผมก็ขออนุโมทนาด้วย ส่วนท่านที่ยังเห็น ต่างหรือเห็นว่าความเห็นของผมไม่ถูกต้อง ก็ต้องขออภัยด้วยเช่นกัน ที่ทําให้ท่านรู้สึกหงุดหงิด ถูกล่วงเกิน รบกวนเวลาท่ า นทั้ ง หลายมาพอสมควรแล้ ว ขอขอบคุ ณ ทุกท่านที่กรุณารับฟัง

- 320 60

.indd 320

3/3/2554 16:02:39


ดร.เสกสรรค์ ประเสริฐกุล |

ประวัติปาฐก ดร.เสกสรรค์ ประเสริฐกุล จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะ รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปริญญาโทและปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัย คอร์เนลล์ สหรัฐอเมริกา หลังจากนั้นจึงทำ�หน้าที่เป็นอาจารย์ประจำ�ที่คณะ รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จนกระทั่งเกษียณอายุราชการ ดร.เสกสรรค์เป็นเลขาธิการคนแรกของมูลนิธิสืบนาคะเสถียร เคย ทำ�หน้าที่เป็นประธานกลุ่มประชาธิปไตยเพื่อประชาชน (ปXป) และในปัจจุบัน ดร.เสกสรรค์คือหนึ่งในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ ดร.เสกสรรค์มงี านเขียนมากมายทีม่ คี ณ ุ ค่าทัง้ ทางด้านเนือ้ หาสาระและ ความงดงามทางวรรณศิลป์ โดยเริ่มเขียนหนังสือตั้งแต่ยังเป็นนักศึกษา กระทั่ง ต่อเนื่องยาวนานจวบจนปัจจุบัน ผลงานของ ดร.เสกสรรค์นั้นครอบคลุมทั้งงาน วิชาการ ความเรียง บทบันทึก เรื่องสั้น งานแปล รวมทั้งผลงานภาพถ่าย ซึ่ง ทั้งหมดล้วนเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกับการพินิจพิเคราะห์ความเป็นไปของโลกและ ชีวิตอย่างเข้มข้นจริงจัง โดยมีความปรารถนาดีต่อส่วนรวมเป็นที่ตั้ง ดร.เสกสรรค์ได้รบั รางวัลศรีบรู พา ประจำ�ปี พ.ศ. 2546 ร่วมกับ ธีรยุทธ บุญมี และได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำ�ปี พ.ศ. 2552

- 321 60

.indd 321

3/3/2554 16:02:39


| นิติรัฐกับความยุติธรรมทางสังคม

นิติรัฐกับความยุติธรรม ทางสังคม รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

- 322 60

.indd 322

3/3/2554 16:02:39


รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ |

1. ข้อความเบื้องต้น ปัญหาเกี่ยวกับการจัดรูปการปกครองในสังคมมนุษย์และ ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดรูปการปกครองกับความยุติธรรม เป็น ปัญหาทีอ่ ภิปรายถกเถียงกันมายาวนานในประว้ตศิ าสตร์ความคิดของ มนุษย์ และคงจะอภิปรายถกเถียงกันต่อไปอีกยาวนานเช่นกัน อย่างไร ก็ตาม โดยเหตุที่ในสมัยปัจจุบัน แนวความคิดเกี่ยวกับการจัดรูปการ ปกครองโดยถือกฎหมายเป็นใหญ่ หรือทีเ่ รียกกันโดยทัว่ ไปว่า “นิตริ ฐั ” เป็นแนวความคิดทีแ่ พร่หลายมากทีส่ ดุ บทความนีจ้ งึ จะพยายามสาํ รวจ ความหมายโดยสังเขปของนิติรัฐ ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่าง นิติรัฐกับความยุติธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งความยุติธรรมทางสังคม และสุดท้ายจะอภิปรายถึงปัญหาของนิตริ ฐั และความยุตธิ รรมในสังคม ไทย ถ้าเราเริ่มต้นจากความคิดเรื่องการเมืองการปกครอง เรา จะพบว่ า ในทุ ก วั ฒ นธรรมย่ อ มมี ค วามคิ ด ที่ ว่ า ความยุ ติ ธ รรมเป็ น คุณลักษณะสาํ คัญของอาํ นาจปกครอง นัน่ หมายความว่า การปกครอง - 323 60

.indd 323

3/3/2554 16:02:39


| นิติรัฐกับความยุติธรรมทางสังคม

นั้ น จะดํ า เนิ น ไปไม่ ไ ด้ ถ้ า หากเป็ น การปกครองที่ ป ราศจากความ ยุติธรรม คนทั่วไปก็คาดหวังว่าผู้ปกครองหรือกฎหมายจะรับใช้ความ ยุติธรรม แต่ว่าโดยเหตุที่ในปัจจุบัน กฎหมายโดยส่วนใหญ่ก็ตราขึ้น โดยรัฐ หรือรัฐเป็นผู้กําหนดขึ้น อีกส่วนหนึ่งแม้ว่ารัฐจะไม่ได้กําหนด ขึ้นก็ตาม เช่น กฎหมายประเพณี1 แต่กฎหมายประเพณีจะมีผลบังคับ ใช้ได้ก็ต่อเมื่อรัฐให้การยอมรับ ฉะนั้นจึงมีปัญหาเสมอเกี่ยวกับความ สัมพันธ์ระหว่างกฎหมายซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการปกครอง กับ ความยุติธรรม ในสังคมตะวันออก แต่เดิมเมื่อกล่าวถึงเรื่องการปกครอง มัก เน้นไปที่ความยุติธรรมหรือความเป็นธรรมของผู้ปกครองเป็นสําคัญ คนในโลกตะวันออกเชื่อกันว่ากฎหมายกับความยุติธรรมเป็นอันหนึ่ง อันเดียวกัน และดํารงอยู่แล้วในธรรมชาติ แต่ว่าปัญหาสําคัญประการ หนึ่งที่ปรากฏขึ้นในสังคมตะวันออกก็คือ การจัดระบบและโครงสร้าง ของการปกครองที่จะทําให้ความยุติธรรมเกิดขึ้นได้จริง กฎหมายประเพณีหรือกฎหมายจารีตประเพณี (Customary Law; Gewohnheitsrecht) เป็นกฎหมายที่ไม่ได้เกิดจากการตราขึ้นโดยองค์กรนิติบัญญัติของรัฐ แต่เกิดขึ้นจาก บุคคลที่ตกอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายนั้นเอง ทฤษฎีในทางนิติศาสตร์ได้กำ�หนด องค์ประกอบแห่งการเกิดขึน้ ของกฎหมายประเพณีไว้อย่างน้อย 2 ประการ ประการแรก จะต้องมีการประพฤติปฏิบัติตามกฎเกณฑ์อันใดอันหนึ่งอย่างสมํ่าเสมอนมนาน (longa consuetudo) และประการทีส่ อง ผูท้ ปี่ ระพฤติปฏิบตั ติ ามกฎเกณฑ์อนั ใดอันหนึง่ นัน้ รูส้ กึ สำ�นึกว่าสิง่ ทีป่ ระพฤติปฏิบตั เิ ป็นสิง่ ทีถ่ กู ต้อง และตนผูกพันทีจ่ ะต้องประพฤติปฏิบตั ติ าม (opinio iuris) โดยทั่วไปแล้ว กฎหมายประเพณีจะถูกนำ�มาใช้อุดช่องว่างของกฎหมาย ลายลักษณ์อักษร (เว้นแต่ในทางกฎหมายอาญา จะใช้กฎหมายประเพณีในทางที่เป็น ผลร้ายกับบุคคลไม่ได้ ซึ่งหมายความว่าการจะลงโทษบุคคลในทางอาญานั้นจะต้องมี กฎหมายลายลักษณ์อักษรบัญญัติองค์ประกอบความผิดและกำ�หนดโทษไว้ ตามหลัก ที่ว่า ไม่มีความผิด ไม่มีโทษ โดยปราศจากกฎหมายลายลักษณ์อักษร – nulla poena sine lege scripta) และโดยหลักแล้ว กฎหมายประเพณีจะเกิดขึ้นขัดหรือแย้งกฎหมาย ลายลักษณ์อักษรไม่ได้ แต่เกิดขึ้นได้ในฐานะที่เป็นส่วนเสริมกฎหมายลายลักษณ์อักษร 1

- 324 60

.indd 324

3/3/2554 16:02:39


รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ |

ในโลกตะวันตก แรกเริม่ เดิมทีนนั้ ก็มคี ติความเชือ่ ว่ากฎหมาย กับความยุติธรรมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่ว่าสังคมตะวันตกผ่าน การต่อสู้ทางการเมืองและผ่านการครุ่นคิดในทางหลักการ มีการนํา หลักการทีไ่ ด้มาใช้ในทางปฏิบตั จิ นตกผลึกในระดับหนึง่ ในยุคปัจจุบนั เป็นทีย่ อมรับกันเกือบจะยุตวิ า่ รัฐทีพ่ งึ ปรารถนาในแง่ของการทีม่ นุษย์ จะอยูร่ ว่ มกัน คือรัฐทีป่ กครองโดยกฎหมาย และกฎหมายนัน้ ตัง้ อยูบ่ น พื้นฐานของความยุติธรรม ปัญหาก็คือ ก่อนที่จะมาถึงจุดนี้ มนุษย์ผ่านอะไรกันมาบ้าง รัฐทีป่ กครองโดยกฎหมาย และกฎหมายนัน้ ตัง้ อยูบ่ นพืน้ ฐานของความ ยุติธรรม คืออะไร มีลักษณะอย่างไร 2. นิติรัฐ ความหมายของ “นิติรัฐ” แม้คําว่า “นิติรัฐ” (Rechtsstaat; State under Law, State of Law, State of Justice, State of Rights) จะเป็นคำ�ที่กล่าวถึงกันมาก ในสังคมไทยในช่วงหลายปีมานี้ แต่ปัญหาว่านิติรัฐคืออะไรกันแน่ ก็ดู จะยังเป็นที่เข้าใจไม่ตรงกัน ถ้าให้ความหมายอย่างกระชับที่สุด การ ปกครองแบบนิติรัฐก็คือการปกครองโดยกฎหมาย ไม่ใช่การปกครอง โดยมนุษย์ แต่ความหมายนี้ก็ยังไม่เพียงพอ เพราะเหตุว่าเวลาที่เรา พูดถึงกฎหมายนัน้ กฎหมายเกิดขึน้ จากอาํ นาจของผูต้ รา จึงยังมีปญ ั หา ต่อไปอีกว่า กฎหมายทีจ่ ะถูกใช้เป็นเครือ่ งมือในการปกครอง ตลอดจน เป็นเครื่องผูกมัดอํานาจของรัฐด้วยนั้น จะต้องคุณลักษณะพื้นฐาน - 325 60

.indd 325

3/3/2554 16:02:39


| นิติรัฐกับความยุติธรรมทางสังคม

อย่างไรหรือไม่ อันจะทําให้ผู้ที่ตกอยู่ภายใต้การปกครองสามารถ ยอมรับได้ว่ากฎเกณฑ์นั้นมีค่าเป็นกฎหมาย เมื่อพิจารณาจากพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เราจะพบว่า ทวีปยุโรปเป็นแหล่งที่แนวคิดเรื่องนิติรัฐถือกําเนิด ก่อนที่จะเริ่มมีคํา อธิบายเกี่ยวกับนิติรัฐในทางตํารานั้น เริ่มปรากฏหลักเกณฑ์ในทาง กฎหมายทีพ่ ยายามจาํ กัดอาํ นาจตามอาํ เภอใจของกษัตริยต์ งั้ แต่ในยุค กลาง คนในยุคสมัยนั้นเชื่อว่าสังคมจะมีสันติสุขได้ก็โดยการปกครอง ที่อาศัยกฎหมายเป็นเครื่องมือเท่านั้น ในช่วงแรกที่ยุโรปยังอยู่ใน ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ก็เริ่มมีความพยายามจํากัดอํานาจของ พระมหากษัตริย์ โดยพยายามทําให้นิติรัฐเกิดขึ้น ทว่าในช่วงแรกก็ยัง ไม่เกิดขึ้นเป็นรูปเป็นร่างในแบบปัจจุบัน แต่รัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ นั้นถูกเรียกร้องในแง่ของเหตุผล แม้พระมหากษัตริย์จะยังมีอํานาจ เบ็ดเสร็จเด็ดขาดในการปกครอง แต่ก็ถูกเรียกร้องในการใช้อํานาจว่า ต้องคํานึงถึงเหตุผลด้วย จุดเปลีย่ นสําคัญของนิตริ ฐั อยูท่ กี่ ารฟืน้ ตัวของสํานักกฎหมาย ธรรมชาติเมื่อประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 18 โดยสำ�นักนี้เห็นว่ามนุษย์ ทุกคนเกิดมามีศักดิ์ศรีเหมือนกัน ไม่มีใครที่เกิดมาเป็นทาส ทุกคนมี ความสามารถทีจ่ ะรูผ้ ดิ ชอบด้วยตัวเอง และเข้าถึงกฎหมายแห่งเหตุผล ได้โดยที่ไม่ต้องมีใครช่วยตีความ ความคิดดังกล่าวเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ และเจริญ งอกงามในสมัยโรมัน แม้ในยุคกลาง ความคิดดังกล่าวจะถูกแทนทีด่ ว้ ย คาํ อธิบายของนักปราชญ์ในทางคริสต์ศาสนา ซึง่ ใช้เจตจํานงตลอดจน เหตุผลของพระเจ้าเข้าแทนที่เหตุผลตามธรรมชาติ แต่เมื่อผ่านพ้น ยุคกลางมาแล้ว ความคิดทีน่ ยิ มยกย่องเหตุผลของมนุษย์กก็ ลับฟืน้ ตัว ขึ้นอีก เกิดการอภิปรายเชื่อมโยงกับสิทธิตามธรรมชาติของมนุษย์ ทํ า ให้ ม นุ ษ ย์ เ ริ่ ม ตระหนั ก รู้ ถึ ง สิ ท ธิ ข องตั ว เอง มี ก ารเรี ย กร้ อ งให้ ผู้ - 326 60

.indd 326

3/3/2554 16:02:39


รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ |

ปกครองปกป้องคุม้ ครองสิทธิของตัว ในทีส่ ดุ การปกครองโดยกฎหมาย ก็เริ่มกําเนิดขึ้น อย่างไรก็ตาม การปกครองโดยกฎหมายเป็นใหญ่ก็มีความ หักเหอยู่บ้าง เนื่องจากในช่วงแรกๆ ยังไม่มีการเชื่อมโยงกฎหมายกับ ความยุติธรรมเข้าด้วยกัน หมายความว่า การปกครองโดยกฎหมาย เป็นไปโดยรูปแบบ องค์กรของรัฐก็ปฏิบตั ติ ามกฎหมายทีไ่ ด้รบั การตรา ขึ้น ส่วนคําถามว่ากฎหมายนั้นเป็นธรรมหรือไม่ เพียงใด เป็นคําถาม ที่ยังถามกันน้อย เราอาจกล่าวได้ว่าในช่วงเวลาหนึ่ง ความคิดว่าด้วย นิตริ ฐั มุง่ เน้นไปทีค่ วามสงบเรียบร้อยของสังคมและความมัน่ คงแน่นอน แห่งนิติฐานะ แต่ขาดการอภิปรายในประเด็นที่เกี่ยวกับความยุติธรรม ในปัจจุบันมาถึงยุคที่ยอมรับกันว่านิติรัฐไม่ได้เป็นเพียงการ ปกครองโดยกฎหมายในทางรูปแบบเท่านั้น หมายความว่า ไม่ใช่มี เพียงกฎหมายที่ตราขึ้นโดยมีเนื้อหาอย่างไรก็ได้เป็นเครื่องมือในการ ปกครอง แล้วรัฐนัน้ จะเป็นนิตริ ฐั แต่นติ ริ ฐั คือรัฐทีป่ กครองโดยกฎหมาย และในทางเนื้อหา กฎหมายนั้นต้องอยู่บนพื้นฐานของความยุติธรรม หากจะต้องสรุปในเบื้องต้นก่อนว่าองค์ประกอบของนิติรัฐ คืออะไรบ้าง แล้วเชื่อมโยงกับความยุติธรรมอย่างไร เราจะเห็นว่า ในปัจจุบัน รัฐรัฐหนึ่งจะเป็นนิติรัฐได้ ต้องมีองค์ประกอบพื้นฐานที่ ยอมรับนับถือร่วมกัน แม้ว่าในรายละเอียดจะมีความแตกต่างกันอยู่ บ้าง นั่นก็คือ รัฐนั้นต้องผูกพันตนเองอยู่กับกฎหมายที่ตราขึ้นตาม กระบวนการที่รัฐธรรมนูญกําหนดไว้เพื่อจํากัดอํานาจของรัฐ ในแง่นี้ นิติรัฐเรียกร้องให้มีการแบ่งแยกอํานาจภายใต้ความเป็นกฎหมาย สูงสุดของรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกติกาพื้นฐานในการจัดระบบระเบียบ โครงสร้างของรัฐและการกําหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับราษฎร ซึ่งหมายความว่า ในการตรากฎหมายขึ้นใช้บังคับในรัฐนั้น องค์กร นิติบัญญัติซึ่งเป็นองค์กรผู้ตรากฎหมาย ย่อมต้องผูกพันตนเองกับ - 327 60

.indd 327

3/3/2554 16:02:39


| นิติรัฐกับความยุติธรรมทางสังคม

รัฐธรรมนูญ ในขณะที่องค์กรบริหารและองค์กรตุลาการนั้น นอกจาก จะต้องผูกพันตนเองกับรัฐธรรมนูญแล้ว ยังต้องผูกพันกับกฎหมาย ทีอ่ งค์กรนิตบิ ญ ั ญัตติ ราขึน้ ใช้บงั คับด้วย รัฐจะต้องจัดให้มกี ารคุม้ ครอง สิทธิและเสรีภาพของราษฎรจากการล่วงละเมิดโดยอํานาจมหาชน ของรัฐ กล่าวคือ กําหนดให้ราษฎรสามารถที่จะฟ้องร้องคดีต่อศาลได้ ในกรณีที่ถูกอํานาจมหาชนของรัฐล่วงละเมิด และต้องยอมให้ตนเอง รับผิด หากการใช้อํานาจมหาชนของตนนั้นก่อให้เกิดความเสียหาย แก่ราษฎร ในแง่นี้ นิตริ ฐั จะมุง่ ประกันความมัน่ คงแน่นอนแห่งนิตฐิ านะ ของบุคคลและความมัน่ คงของระบบกฎหมาย ทีก่ ล่าวมาทัง้ หมดนีค้ อื ลักษณะในทางรูปแบบของนิติรัฐ ในทางเนื้อหา นิติรัฐคือรัฐที่ประกันสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ของราษฎร และที่สําคัญ สิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของราษฎรนี้มีค่า บังคับระดับรัฐธรรมนูญ คือมีค่าบังคับในระดับสูงสุด ผูกพันอํานาจ มหาชนของรัฐทุกอํานาจให้ต้องเคารพ การใช้อํานาจของรัฐจะต้อง เป็นไปตามหลักแห่งความพอสมควรแก่เหตุ การตรากฎหมายขึ้น ใช้บังคับแก่ราษฎรจึงไม่ใช่จะตราอย่างไรก็ได้ แต่ต้องประกันความ ไว้เนื้อเชื่อใจที่บุคคลมีต่อการใช้อํานาจของรัฐด้วย ดังนั้น นอกจาก กฎหมายจะต้องสอดคล้องกับความพอสมควรแก่เหตุแล้ว ยังต้อง ไม่ขัดกับหลักแห่งความเสมอภาคซึ่งเป็นหัวใจของความยุติธรรม จะต้องมีความชัดเจนแน่นอนเพียงพอที่ราษฎรสามารถเข้าใจและ ปฏิบัติตามได้ และโดยหลักแล้ว จะใช้บังคับย้อนหลังไปเป็นผลร้ายต่อ บุคคลไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิง่ การย้อนหลังไปใช้บงั คับกับข้อเท็จจริง ที่เกิดขึ้นและยุติลงแล้วก่อนการตรากฎหมายฉบับนั้น พิจารณาในแง่ นี้ นิติรัฐเรียกร้องให้รัฐกระทําการโดยยุติธรรมและโดยถูกต้อง เมื่อ พิเคราะห์ในทางเนื้อหา นิติรัฐจึงมุ่งตรงไปยังการรักษาความยุติธรรม ในรัฐเอาไว้ ในแง่นี้ เราจึงอาจกล่าวได้วา่ นิตริ ฐั มีลกั ษณะเป็น “ยุตธิ รรม รัฐ” (Gerechtigkeitsstaat) - 328 60

.indd 328

3/3/2554 16:02:39


รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ |

นิติรัฐกับนิติธรรม รั ฐ ธรรมนู ญ ของไทยมี ก ารพู ด ถึ ง การปกครองโดยหลั ก “นิติธรรม” (Rule of Law) คําคำ�นี้ปรากฏในรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 แต่ก็มีคําถามเกิดขึ้นอยู่เสมอว่านิติธรรมคืออะไร และแตกต่างจากนิติ รัฐอย่างไร2 นิติธรรมพัฒนามาในยุโรปเหมือนกัน แต่พัฒนามาในเกาะ อังกฤษ ไม่ได้พัฒนามาในภาคพื้นทวีป ความสําคัญของนิติธรรม ในอั ง กฤษอยู่ ต รงที่ ก ารปฏิ บั ติ ต ามกฎหมายขององค์ ก รของรั ฐ ที่ เป็นฝ่ายบริหาร กับฝ่ายตุลาการที่ผูกพันตนเองกับกฎหมายที่ฝ่าย นิติบัญญัติตราขึ้น โดยที่อังกฤษไม่มีรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร เวลาที่ พู ด ถึ ง หลั ก นิ ติ ธ รรม จึ ง หมายถึ ง การที่ ฝ่ า ยบริ ห ารกั บ ฝ่ า ย ตุลาการผูกพันกับกฎหมายที่องค์กรนิติบัญญัติตราขึ้นเท่านั้น ไม่ได้ หมายความเลยต่อไปถึงการผูกมัดอาํ นาจนิตบิ ญ ั ญัตไิ ว้กบั รัฐธรรมนูญ ถ้าถามต่อไปว่า แล้วองค์กรนิติบัญญัติผูกพันอยู่กับอะไร คําตอบ ก็คือไม่มี เนื่องจากอังกฤษประสบความสําเร็จเร็วกว่าที่อื่นในการ จํากัดอํานาจพระมหากษัตริย์ เราอาจกล่าวได้ว่าผลจากการต่อสู่กัน อย่างยาวนานระหว่างพระมหากษัตริย์ ศาล และรัฐสภา ทําให้ในที่สุด ศูนย์กลางแห่งอํานาจของรัฐได้เคลื่อนย้ายจากพระมหากษัตริย์ไปอยู่ ที่รัฐสภา ด้วยเหตุนี้ ในอังกฤษจึงถือหลักความมีอํานาจสูงสุดของ หนังสือทีใ่ ห้รายละเอียดในเรือ่ งนีไ้ ด้ดี ดู Thomas Fleiner and Lidija R. Basta Fleiner, Allgemeine Staatslehre (Berlin, Heidelberg: Springer, 2004) ฉบับแปลจากภาษา เยอรมันเป็นภาษาอังกฤษ ดู Thomas Fleiner and Lidija R. Basta Fleiner, Constitutional Democracy in a Multicultural and Globalised World ( Berlin, Heidelberg: Springer, 2009), pp. 221-266. สำ�หรับรายละเอียดของหลักนิติธรรมในยุคปัจจุบัน หรือลักษณะของกฎหมายที่จะทำ�ให้หลักนิติธรรมปรากฏเป็นจริง ดู Lon L. Fuller, The Morality of Law (New Haven: Yale University Press, 1969), pp. 46-91. 2

- 329 60

.indd 329

3/3/2554 16:02:39


| นิติรัฐกับความยุติธรรมทางสังคม

รัฐสภา (The Supremacy of Parliament) เป็นหลักใหญ่ในการจัด รูปการปกครอง รัฐสภาอังกฤษจึงสามารถตรากฎหมายอย่างไรก็ได้ ไม่มขี อ้ จาํ กัดเหมือนกับรัฐทีย่ อมรับนับถือความเป็นกฎหมายสูงสุดของ รัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตาม เราจะพบว่าในอังกฤษแทบจะไม่ปรากฏว่า ฝ่ายนิติบัญญัติตรากฎหมายล่วงละเมิดสิทธิเสรีภาพของราษฎรอย่าง ไร้ความยุติธรรม อาจจะเป็นด้วยเหตุผลที่ว่าคนอังกฤษมีจิตสํานึก ในแง่ของการคุม้ ครองสิทธิเสรีภาพอยูม่ าก เป็นจิตวิญญาณประชาชาติ ที่แนบแน่นอยู่ในชาติ ดังนั้น ในทางระบบจึงไม่เกิดปัญหาอะไร และ แม้ว่ารัฐสภาอังกฤษจะกระทําการเช่นนั้นได้ แต่เมื่อเกิดการเลือกตั้ง ใหม่ รั ฐ สภาที่ เ กิ ด ขึ้ น ใหม่ ย่ อ มยกเลิ ก กฎหมายที่ ไ ม่ เ ป็ น ธรรมนั้ น เสีย สภาพการณ์เรื่องนี้ในภาคพื้นยุโรปมีลักษณะที่แตกต่างออก ไป เพราะในภาคพื้นยุโรป ระบบกฎหมายไม่ได้เรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ ฝ่ายบริหารหรือฝ่ายปกครองของรัฐ ตลอดจนผู้พิพากษาและตุลาการ ปฏิบัติตามกฎหมายที่ตราขึ้นโดยรัฐสภาเท่านั้น แต่การตรากฎหมาย ของรัฐสภานั้นต้องผูกพันอยู่กับคุณค่าพื้นฐานในทางรัฐธรรมนูญอีก ด้วย หมายความว่า การทีร่ ฐั สภาจะตรากฎหมายขึน้ มา ต้องผูกพันกับ สิทธิขั้นพื้นฐานในรัฐธรรมนูญ นี่ เ ป็ น ความแตกต่ า งที่ สํ า คั ญ ระหว่ า งหลั ก นิ ติ รั ฐ ที่ ป รากฏ ในภาคพื้นยุโรปกับหลักนิติธรรมที่พัฒนามาในอังกฤษ ซึ่งเมื่อนํา มาวิ เ คราะห์ กั บ ระบบที่ ใ ช้ กั น อยู่ ใ นประเทศไทย อาจกล่ า วได้ ว่ า ในรัฐธรรมนูญที่ใช้คําว่านิติธรรม ถ้ามุ่งหมายกับแบบที่ใช้ในอังกฤษ ก็อาจไม่สอดรับกับระบบเท่าใดนัก เนือ่ งจากในอังกฤษไม่มรี ฐั ธรรมนูญ ลายลักษณ์อักษร และไม่มีการประกันความเป็นกฎหมายสูงสุดของ รัฐธรรมนูญเหมือนกับที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญไทย (ทั้งนี้โดยยังไม่ พิเคราะห์ในทางปฏิบัติว่าถึงที่สุดแล้ว รัฐธรรมนูญถือเป็นกฎหมาย สูงสุดในทางความเป็นจริงในระบบกฎหมายไทยจริงหรือ) - 330 60

.indd 330

3/3/2554 16:02:39


รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ |

เมื่อทราบแล้วว่านิติรัฐมีลักษณะในทางรูปแบบคือเรียกร้อง เรือ่ งของความชอบด้วยกฎหมาย ความผูกพันทางกฎหมายขององค์กร ของรัฐ ตลอดจนหลักการแบ่งแยกอํานาจ ในทางเนื้อหาคือเรียกร้อง การประกันสิทธิเสรีภาพของราษฎร ประเด็นที่จะพิจารณาต่อไปคือ ความสัมพันธ์ระหว่างนิติรัฐกับความยุติธรรม 3. ความยุติธรรม ปัญหาพื้นฐานว่าด้วยความยุติธรรม ปัญหาว่าอะไรคือความยุติธรรม เป็นปัญหาชั่วนิรันดร์ของ มนุษยชาติ3 คงไม่มีใครสามารถให้ความหมายของความยุติธรรมได้ ว่าคืออะไรกันแน่ ในรายละเอียดมีข้อถกเถียงอยู่มากมาย แต่ประเด็น หนึ่งที่เราอาจจะยอมรับกันเป็นยุติก็คือ ความยุติธรรมนั้นเป็นข้อ เรียกร้องทางศีลธรรมที่เชื่อมโยงกับความประพฤติในความสัมพันธ์ ระหว่ า งมนุ ษ ย์ ด้ ว ยกั น กล่ า วอี ก นั ย หนึ่ ง ความยุ ติ ธ รรมเป็ น ข้ อ เรียกร้องทางศีลธรรมทีเ่ กีย่ วข้องกับการกระทําในทางสังคมของมนุษย์ ในความหมายอย่างกว้าง ความยุติธรรมหมายถึงสิทธิและหน้าที่ ในทางศีลธรรมทีม่ นุษย์มตี อ่ กัน พิจารณาในแง่นี้ ความยุตธิ รรมจึงเป็น ส่วนหนึ่งของศีลธรรม กล่าวคือ เป็นหน้าที่ทางศีลธรรมในทางสังคม ในความหมายอย่างแคบ ความยุติธรรมย่อมเป็นส่วนหนึ่งของสิทธิ หน้าที่ในทางศีลธรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดสรรแบ่งปันประโยชน์และ ภาระต่างๆ ของชีวิตในสังคม ซึ่งแน่นอนว่าการแบ่งปันประโยชน์ 3

Hans Kelsen, Was ist Gerechtigkeit? (Wien: Manzsche, 1975), S. 1.

- 331 60

.indd 331

3/3/2554 16:02:39


| นิติรัฐกับความยุติธรรมทางสังคม

ตลอดจนการกําหนดภาระต่างๆ ย่อมจะเกิดความขัดแย้งกันระหว่าง กลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ อยู่เสมอ ข้อเรียกร้องขั้นพื้นฐานที่สุดสําหรับ ความยุติธรรมในแง่มุมนี้ก็คือ การแบ่งปันประโยชน์ทั้งหลายทั้งปวง ให้แก่บุคคลในส่วนที่เขาควรจะได้ (ius suum cuique tribuere)4 เมื่อถึงจุดนี้ สิ่งที่เป็นปัญหาให้ต้องขบคิดต่อไปก็คือ อะไรเป็นเกณฑ์ ที่จะใช้ตัดสินว่าบุคคลควรจะได้อะไร และได้เท่าใด เมือ่ เราพูดถึงคาํ ว่าถูกต้องเทีย่ งธรรม ไม่ถกู ต้องไม่เทีย่ งธรรม หรือยุติธรรมไม่ยุติธรรม จะพบว่าเราสามารถใช้ถ้อยคําที่มีลักษณะ เป็นคุณค่าดังกล่าวกับสิ่งที่แตกต่างหลากหลายกันได้มาก เช่น ใช้กับ บุคคล ใช้กับการกระทํา ใช้กับคําพิพากษา ใช้กับการแบ่งปันหรือการ กระจายรายได้ ตลอดจนใช้กับความสัมพันธ์ในสังคม5 เราสามารถ กล่ า วได้ ว่ า การกระทํ า ใดยุ ติ ธ รรม หากการกระทํ า นั้ น เป็ น ไปตาม กฎเกณฑ์ที่สอดคล้องกับความยุติธรรม กฎเกณฑ์ที่กําหนดการ กระทาํ ต่างๆ ในสังคมย่อมถือว่าเป็นกฎเกณฑ์ทยี่ ตุ ธิ รรม หากพิจารณา จากจุดยืนของผู้ที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียในเรื่องนั้นแล้ว การกําหนด กฎเกณฑ์เช่นนั้นมีเหตุมีผลเป็นที่ยอมรับได้ หรือระบบระเบียบของ สังคมใดสังคมหนึง่ ย่อมถือว่าเป็นระบบระเบียบทีย่ ตุ ธิ รรม หากปรากฏ ว่าสังคมนัน้ มีกฎกติกา สถาบัน หรือความสัมพันธ์ในสังคมทีส่ อดคล้อง กับมาตรฐานขั้นตํ่าในความเป็นธรรม โดยกฎกติกา สถาบัน ตลอดจน ความสัมพันธ์ดังกล่าว มีผลบังคับใช้อยู่จริงในสังคม เป็นต้น ในการพิจารณาประเด็นว่าด้วยความยุติธรรมนั้น การกระทํา ของมนุษย์และกฎเกณฑ์ที่กําหนดการกระทําของมนุษย์เป็นสิ่งสําคัญ ถึงแม้ว่าในทางนิติปรัชญา เรารู้จักหลักการดังกล่าวจากงานเขียนของซิเซโร (Cicero) เป็นสำ�คัญ แต่เราสามารถสืบสาวแนวความคิดดังกล่าวไปได้ถึงเพลโต (Plato) ในงาน เขียนเรื่อง อุตมรัฐ (Politeia) ของเขา 5 Matthias Kaufmann, Rechtsphilosophie (München: Alber, 1996), S. 296. 4

- 332 60

.indd 332

3/3/2554 16:02:39


รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ |

ที่สุดที่จะต้องนํามาวิเคราะห์ ในส่วนที่เกี่ยวกับการกระทําของมนุษย์ ข้อกาํ หนดว่าด้วยความยุตธิ รรมไม่ได้ใช้บงั คับกับความสัมพันธ์ระหว่าง มนุษย์ด้วยกันในทุกเรื่อง แต่ใช้บังคับเฉพาะกับความสัมพันธ์ระหว่าง มนุษย์ที่อยู่ร่วมกันในสังคมในส่วนที่เกี่ยวกับการแบ่งปันประโยชน์ และการกําหนดภาระหน้าที่เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ เฉพาะในส่วนที่กล่าวมานี้ก็มีความหลากหลายอย่างยิ่ง ตัวอย่างเช่น ความสัมพันธ์ในกรณีของการแลกเปลีย่ นสินค้าและบริการ การจัดสรร ผลประโยชน์ทเี่ ป็นของส่วนรวม การให้รางวัล การแสดงออกซึง่ อาํ นาจ ในการปกครอง หรือการกําหนดโทษสําหรับการกระทําที่ไม่ถูกต้อง ฯลฯ ปัญหามีอยู่ว่า มีข้อเรียกร้องว่าด้วยความยุติธรรมประเด็นใด ที่ต้องใช้บังคับกับการกระทําในทางสังคมต่างๆ ที่กล่าวมาทั้งหมด เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า อย่างน้อยที่สุดมีข้อเรียกร้องแห่ง ความยุติธรรมอยู่เรื่องหนึ่งที่ใช้บังคับกับการกระทําในทางสังคมที่ได้ กล่าวมาทัง้ หมด นัน่ คือข้อเรียกร้องทีว่ า่ ภายใต้สภาวการณ์ในลักษณะ เดียวกัน จะต้องปฏิบัติต่อคนอื่นๆ เหมือนกัน กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ จะต้องปฏิบัติต่อสิ่งที่เหมือนกันให้เหมือนกัน ข้อเรียกร้องนี้ ซึ่งถือ ได้วา่ เป็นหลักความยุตธิ รรมในทางรูปแบบ มีความหมายว่า ในสถานการณ์ใดๆ ก็ตามอันเป็นสถานการณ์ที่เรียกร้องความยุติธรรม บุคคล จะต้องกระทําการหรือตัดสินใจตาม “กฎเกณฑ์ที่ได้รับการกําหนดขึ้น ใช้บงั คับเป็นการทัว่ ไป” หลักการดังกล่าวเป็นหลักการทีเ่ ข้าใจได้ไม่ยาก เพราะการกระทําอันใดอันหนึ่งจะได้ชื่อว่าเป็นการกระทําที่ยุติธรรม ก็ต่อเมื่อผู้กระทําไม่ได้กระทําครั้งนี้อย่างหนึ่ง ครั้งหน้าอีกอย่างหนึ่ง เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาตามอําเภอใจ ทั้งๆ ที่การกระทําเหล่านั้นเป็นการ กระทําภายใต้สภาวการณ์ในลักษณะเดียวกัน แต่บุคคลนั้นได้ปฏิบัติ ไปตามกฎเกณฑ์ทั่วไป โดยนําหลักเกณฑ์นั้นมาปรับใช้เหมือนกันกับ สภาวการณ์ในลักษณะเดียวกัน - 333 60

.indd 333

3/3/2554 16:02:39


| นิติรัฐกับความยุติธรรมทางสังคม

ทีเ่ รียกหลักความยุตธิ รรมดังกล่าวว่าเป็นความยุตธิ รรมในทาง รูปแบบ เนื่องจากหลักดังกล่าวเรียกร้องแต่เพียงว่าจะต้องปฏิบัติไป ตามกฎเกณฑ์ทั่วไปเดียวกันในสภาวการณ์ลักษณะเดียวกัน แต่ไม่ได้ บอกว่ากฎเกณฑ์ดังกล่าวคือกฎเกณฑ์อันใด มีลักษณะอย่างไร หาก พิเคราะห์เชื่อมโยงความยุติธรรมในทางรูปแบบที่ได้กล่าวถึงกับนิติรัฐ จะเห็นได้ว่า ในทางรูปแบบ นิติรัฐก็เรียกร้องให้องค์กรเจ้าหน้าที่ของ รัฐเคารพและปฏิบัติตามกฎหมาย ซึ่งกฎหมายก็คือกฎเกณฑ์ที่ได้รับ การกําหนดขึ้นในลักษณะที่เป็นนามธรรม และใช้บังคับเป็นการทั่วไป แต่ปญ ั หาทีม่ ากไปกว่านัน้ สําหรับนิตริ ฐั ก็คอื ปัญหาทีว่ า่ กฎหมายซึง่ ใช้ บังคับเป็นการทั่วไปนั้นจะต้องมีลักษณะอย่างไร นี่คือด้านที่เป็นเรื่อง เนื้อหาของหลักนิติรัฐเช่นกัน ถึ ง แม้ ว่ า หลั ก ความยุ ติ ธ รรมในทางรู ป แบบที่ ไ ด้ ก ล่ า วมา ข้ า งต้ น นั้ น จะเป็ น ข้ อ เรี ย กร้ อ งของความยุ ติ ธ รรมที่ ดู จ ะค่ อ นข้ า ง เลื่อนลอย แต่ก็ไม่ถึงกับว่างเปล่าหาสาระอะไรไม่ได้เลยเสียทีเดียว การที่ความยุติธรรมทางรูปแบบเรียกร้องให้เราต้องกระทําการตาม กฎเกณฑ์ทวั่ ไป ซึง่ เท่ากับกระทาํ การตามข้อกาํ หนดแห่งความยุตธิ รรม นั้น ย่อมมีผลให้การบังคับใช้กฎเกณฑ์เป็นไปในมาตรฐานเดียวกัน คือบังคับใช้กฎเกณฑ์ให้เหมือนกันกับการกระทําทุกๆ การกระทํา ซึ่งเท่ากับว่าการบังคับใช้กฎเกณฑ์จะกระทําไปโดยอําเภอใจไม่ได้ ในทางกฎหมาย หลักความยุติธรรมทางรูปแบบก่อให้เกิดข้อบังคับ ว่ า ด้ ว ยความชอบด้ ว ยกฎหมายของการกระทํ า ของรั ฐ ข้ อ บั ง คั บ ดังกล่าวเรียกร้องต่อไปให้การใช้กฎหมายจะต้องกระทําโดยผู้ที่ไม่มี ส่วนได้ส่วนเสีย และจะต้องบังคับใช้กฎหมายให้เสมอหน้ากันกับ พลเมืองทุกคน โดยจะต้องไม่นําประเด็นหรือสภาวการณ์ใดๆ ที่ไม่มี ความหมายในทางกฎหมายมาพิจารณาประกอบการปรับใช้กฎหมาย6 ที่ ก ล่ า วมาทั้ ง หมดนี้ เ ป็ น สาระสํ า คั ญ ของหลั ก ความเสมอภาคของ พลเมืองทุกคนต่อหน้ากฎหมาย - 334 60

.indd 334

3/3/2554 16:02:39


รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ |

ถึงแม้ว่าความยุติธรรมในทางรูปแบบจะเป็นข้อเรียกร้องที่ เป็นสาระสําคัญของความยุตธิ รรม และเป็นข้อเรียกร้องทีไ่ ม่อาจขาดได้ แต่ความยุติธรรมทางรูปแบบเพียงอย่างเดียวนั้นยังไม่สามารถทําให้ เรามีเครือ่ งมือทีเ่ หมาะสมในการกระทําการอย่างยุตธิ รรมได้ เนือ่ งจาก ความยุตธิ รรมในทางรูปแบบอนุญาตให้บคุ คลกระทาํ การใดๆ ทีส่ มั พันธ์ กับบุคคลอื่นได้ ตราบเท่าที่การกระทําของบุคคลนั้นสอดคล้องกับ กฎเกณฑ์ทั่วไปที่ได้รับการกําหนดไว้แล้ว ทว่าความยุติธรรมในทาง รูปแบบไม่กล่าวถึงลักษณะของกฎเกณฑ์ดงั กล่าวเลย นัน่ หมายความ ว่า แม้กฎเกณฑ์ทกี่ าํ หนดไว้ให้บคุ คลปฏิบตั นิ นั้ เป็นกฎเกณฑ์ทยี่ อมให้ เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบกันได้โดยอาศัยเหตุแห่งความแตกต่างทาง ชาติพันธ์ุ เพศ สีผิว ภาษา แหล่งกําเนิด หรือเหตุอื่น หากกฎเกณฑ์ นั้นได้รับการกําหนดไว้เป็นการทั่วไปแล้ว กฎเกณฑ์ดังกล่าวย่อม สอดคล้องกับความยุติธรรมในทางรูปแบบ เมื่อถึงจุดนี้ เราจะพบว่า ความยุติธรรมในทางรูปแบบนั้นไม่เพียงพอเสียแล้ว เราต้องก้าวข้าม ประเด็นเรื่องความยุติธรรมทางรูปแบบไปสู่ความยุติธรรมทางเนื้อหา ซึ่ ง หมายความว่ า ต้ อ งมี ข้ อ เรี ย กร้ อ งที่ ม ากไปกว่ า การปฏิ บั ติ ต าม กฎเกณฑ์ที่ได้รับการกําหนดขึ้นเป็นการทั่วไป นั่นคือ ข้อเรียกร้องที่มี ต่อลักษณะของกฎเกณฑ์นั้น ในบริบทของการเมืองการปกครองไทย สิ่งที่มักจะถูกนำ�มากล่าวอ้างในการปรับใช้ กฎหมายก็คือ สถานะของผู้ที่จะต้องถูกบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย หรือคำ�ร้อง ขอหรือการแทรกแซงจากบุคคลซึ่งมีอิทธิพลทางการเมืองในทางความเป็นจริง ในทาง หลักการ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ต้องถือว่าเป็นประเด็นหรือสภาวการณ์ที่ไม่มีความหมายใดๆ ในทางกฎหมาย มีข้อสังเกตว่าในหลายคราว การนำ�เอาประเด็นหรือสภาวการณ์ที่ไม่มี ความหมายในทางกฎหมายมาพิจารณาประกอบการปรับใช้กฎหมายหรือการตัดสินคดี นั้นแฝงมาในรูปของข้ออภิปรายที่ว่า เรื่องนี้จะต้องตัดสินโดยอาศัยหลักรัฐศาสตร์หรือ หลักนิติศาสตร์ ข้ออภิปรายทำ�นองนี้ ในที่สุดแล้วไม่ได้นำ�ไปสู่สิ่งอื่นใดนอกจากการ ทำ�ให้การปรับใช้กฎหมายหรือการวินจิ ฉัยชีข้ าดคดีเป็นไปตามอำ�เภอใจหรือตามอารมณ์ ความรู้สึก และหามาตรฐานใดๆ ไม่ได้ 6

- 335 60

.indd 335

3/3/2554 16:02:39


| นิติรัฐกับความยุติธรรมทางสังคม

ข้อเรียกร้องหรือเงือ่ นไขขัน้ พืน้ ฐานของการกาํ หนดกฎเกณฑ์ ให้สอดคล้องกับความยุตธิ รรมดูจะเป็นปัญหาทีแ่ ท้จริง เพราะถึงแม้วา่ ผู้คนจํานวนไม่น้อยจะยอมรับเงื่อนไขจํานวนหนึ่งเป็นเงื่อนไขพื้นฐาน ของการกําหนดกฎเกณฑ์ แต่ความเห็นเกี่ยวกับเงื่อนไขพื้นฐานของ การกําหนดกฎเกณฑ์นี้ดูเหมือนจะยังมีความแตกต่างกันอยู่มาก ความแตกต่างในทางความเห็นที่เกิดขึ้นทําให้เกิดคําถาม ขึน้ ว่า เงือ่ นไขพืน้ ฐานของความยุตธิ รรมในทางเนือ้ หา ซึง่ เป็นเงือ่ นไข ที่ ไ ด้ รั บ การยอมรั บ กั น ทั่ ว ไปว่ า เป็ น องค์ ป ระกอบอั น ขาดเสี ย ไม่ ไ ด้ ของความยุติธรรมนั้น มีอยู่จริงหรือไม่ หากเราค้นหาคําตอบจาก ประวัติศาสตร์ความคิดอันยาวนานของสํานักกฎหมายธรรมชาติ เรา จะพบว่าแนวทางการให้เหตุผลของนักคิดในสํานักคิดนี้ก็ยังไม่ลงรอย เป็นเนือ้ เดียวกัน และในหลายกรณีอาจจะได้คาํ ตอบทีแ่ ตกต่างกันอย่าง สิ้นเชิง7 เช่น เราอาจกล่าวว่าความยุติธรรมเรียกร้องให้ต้องออกแบบ ระบบกฎหมายที่จะกําหนดให้บุคคลได้ในส่วนที่เขาควรจะได้ บุคคล ควรจะได้อะไรเท่าใดนั้น จะต้องเปรียบเทียบกับบุคคลอื่นในสังคม ตามธรรมชาติแล้ว บุคคลที่เกิดมาในชนชั้นเจ้าหรือชนชั้นขุนนางย่อม มีสิทธิและอํานาจมากกว่าคนอื่นๆ เพราะฉะนั้นจึงยุติธรรมแล้วที่จะ แบ่งปันประโยชน์ให้แก่บุคคลในชนชั้นดังกล่าวมากกว่าผู้อื่น หรือเรา อาจจะกล่าวว่าความยุตธิ รรมเรียกร้องให้ตอ้ งออกแบบระบบกฎหมาย ที่จะกําหนดให้บุคคลได้ในส่วนที่เขาควรจะได้ บุคคลควรจะได้อะไร เท่าใดนั้น จะต้องเปรียบเทียบกับบุคคลอื่นในสังคม บุคคลที่เกิดมา ในชนชัน้ เจ้าหรือชนชัน้ ขุนนางก็ใช้จมูกหายใจเหมือนคนอืน่ ใช้มอื ช่วย ในการรับประทานอาหารเหมือนคนอื่น เพราะฉะนั้นจึงยุติธรรมแล้ว ที่จะแบ่งปันประโยชน์ให้แก่บุคคล ไม่ว่าจะเป็นชนชั้นเจ้าหรือขุนนาง หรือชนชั้นทั่วไป ให้เท่าๆ กัน Thomas Hoeren and Christian Stallberg, Gründzüge der Rechtsphilosophie (Münster: LIT, 2001), S. 85. 7

- 336 60

.indd 336

3/3/2554 16:02:39


รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ |

โดยเหตุทกี่ ารกาํ หนดข้อเรียกร้องทีม่ ตี อ่ ความยุตธิ รรมในทาง เนื้ อ หามี ค วามแตกต่ า งกั น ในลั ก ษณะที่ ก ล่ า วมานี้ นั ก นิ ติ ป รั ช ญา บางท่าน เช่น อัลฟ์ รอสส์ (Alf Ross) จึงเห็นว่า ใครก็ตามที่ยืนยัน ว่ากฎเกณฑ์ใดกฎเกณฑ์หนึ่งหรือระบบแห่งกฎเกณฑ์ระบบใดระบบ หนึ่งเป็นกฎเกณฑ์หรือระบบแห่งกฎเกณฑ์ที่ไม่ยุติธรรม บุคคลผู้นั้น ไม่ได้กล่าวถึงหรือชี้ให้เห็นถึงลักษณะของกฎเกณฑ์หรือระบบแห่ง กฎเกณฑ์นั้นเลย คําพูดดังกล่าวไม่ได้แสดงให้เห็นถึงเหตุผลใดๆ ทั้งสิ้น แต่เป็นการแสดงออกซึ่งอารมณ์ความรู้สึกเท่านั้น ถ้ามีใครคน หนึ่งกล่าวว่า “ผมต่อต้านกฎเกณฑ์นี้ เพราะกฎเกณฑ์นี้ไม่ยุติธรรม” สําหรับรอสส์แล้ว เขาควรจะต้องกล่าวว่า “กฎเกณฑ์นี้ไม่ยุติธรรม เพราะผมต่อต้านมัน”8 พิจารณาในแง่นี้ เราย่อมไม่อาจค้นพบความ ยุติธรรมในทางเนื้อหาได้เลย อย่างไรก็ตาม ความเห็นดังกล่าวเป็นความเห็นที่สามารถ โต้แย้งได้ ข้อเท็จจริงที่ว่ามนุษย์แต่ละคนมีจินตนาการเกี่ยวกับความ ยุติธรรมที่แตกต่างกัน ยังไม่เพียงพอที่จะสรุปได้ว่าข้อเรียกร้องว่า ด้วยความยุติธรรมทางเนื้อหาเป็นข้อเรียกร้องที่ว่างเปล่า หรือการ ค้นหาเงื่อนไขพื้นฐานของการกําหนดกฎเกณฑ์ให้สอดคล้องกับความ ยุติธรรมเป็นสิ่งที่ไม่อาจเป็นไปได้ เพียงเพราะผู้คนถกเถียงกันอยู่ ตลอดเวลาว่าสิ่งนั้นคืออะไรกันแน่ ความเห็นที่แตกต่างหลากหลาย เกี่ยวกับเงื่อนไขพื้นฐานของความยุติธรรมทางเนื้อหา ไม่ขัดขวาง ข้อสรุปที่ว่า เงื่อนไขพื้นฐานของความยุติธรรมทางเนื้อหามีอยู่จริง และเงื่อนไขดังกล่าวเป็นเงื่อนไขร่วมกัน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วยากที่จะ ปฏิเสธได้ อย่ า งไรก็ ต าม ประเด็ น ที่ จ ะต้ อ งระลึ ก อยู่ เ สมอก็ คื อ เรา ไม่สามารถหาจุดร่วมเกี่ยวกับความยุติธรรมโดยพิจารณาจากการ 8

Alf Ross, On Law and Justice (London: Stevens & Sons, 1958), p. 274.

- 337 60

.indd 337

3/3/2554 16:02:39


| นิติรัฐกับความยุติธรรมทางสังคม

กระทาํ ทางสังคมในทุกลักษณะพร้อมกันได้ วิธกี ารในการค้นหาจุดร่วม เกี่ยวกับความยุติธรรมนั้นจะต้องกระทําโดยแยกแยะรูปแบบความ สั ม พั น ธ์ ที่ เ กิ ด ขึ้ น จากการกระทํ า ในทางสั ง คมก่ อ น จากนั้ น จึ ง มา พิจารณาดูว่าในรูปแบบแต่ละรูปแบบนั้น มีอะไรเป็นจุดร่วมกันหรือไม่ รูปแบบของความยุติธรรม ในอดีต นักปรัชญาบางท่านพยายามที่จะอธิบายเรื่องความ ยุติธรรมและแยกรูปแบบของความยุติธรรมเอาไว้ ที่มีชื่อเสียงที่สุด เห็นจะเป็นอริสโตเติล (Aristotle) อริสโตเติลได้แยกความยุติธรรม ตามลักษณะความสัมพันธ์ของบุคคลในสังคมออกเป็น 2 รูปแบบ9 คือ ความยุติธรรมแบบแลกเปลี่ยนตอบแทน (dikaion diorthotikon; iustitia commutativa) และความยุตธิ รรมแบบแบ่งสันปันส่วน (dianemetikon dikaion; iustitia distributiva) การกระทําอันใดยุติธรรมหรือ ไม่ยุติธรรม จะต้องพิจารณาว่าการกระทํานั้นเป็นการกระทําที่เกิดขึ้น ในความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนต่อเอกชนด้วยกัน ในฐานะที่เท่าเทียม กันและแลกเปลีย่ นตอบแทนกัน หรือเป็นความสัมพันธ์ทบี่ คุ คลคนหนึง่ มีอาํ นาจเหนือกว่า และแบ่งปันกระจายประโยชน์ให้บคุ คลอืน่ ซึง่ ตกอยู่ ภายใต้อํานาจที่เหนือกว่านั้น ความยุติธรรมรูปแบบแรกนั้นปรากฏ เป็นความยุติธรรมในทางสัญญา เช่น การซื้อขายแลกเปลี่ยน ความ ยุติธรรมในลักษณะนี้ถือว่าเป็นความยุติธรรมพื้นฐานในทางเศรษฐกิจ Norbert Horn, Einführung in die Rechtswissenschaft und Rechtsphilosophie (Heidelberg: C.F. Müller, 1996), S. 141.; Ernst-Wolfgang Böckenförde, Geschichte der Rechts- und Staatsphilosophie: Antike und Mittelalter (Tübingen: Mohr Siebeck, 2002), S. 113 f. 9

- 338 60

.indd 338

3/3/2554 16:02:40


รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ |

นอกจากนี้ ความยุติธรรมในลักษณะนี้ยังปรากฏเป็นความยุติธรรม ในการแก้แค้นทดแทนการกระทําความผิดอาญาอีกด้วย ส่วนความ ยุ ติ ธ รรมรูป แบบหลังปรากฏเป็น ความยุติธรรมในความสัมพันธ์ที่ เกิดขึน้ ในลักษณะทีฝ่ า่ ยหนึง่ มีอาํ นาจเหนือกว่าอีกฝ่ายหนึง่ เช่น ความ สัมพันธ์ในครอบครัวระหว่างพ่อแม่ฝ่ายหนึ่งกับลูกอีกฝ่ายหนึ่ง หรือ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐฝ่ายหนึ่งกับราษฎรอีกฝ่ายหนึ่ง ปัญหาของ ความยุติธรรมในกรณีนี้อยู่ที่ว่าจะแบ่งปันประโยชน์ (ตลอดจนภาระ หน้าที)่ อย่างไรจึงจะได้ชอื่ ว่ายุตธิ รรม การแบ่งปันประโยชน์นนั้ รัฐควร จะแบ่งปันประโยชน์ให้แก่ราษฎรทุกคนเท่ากันหรือไม่เท่ากันอย่างไร และจะใช้อะไรเป็นเกณฑ์ในการแบ่งปันประโยชน์อันนั้น ถ้าแบ่งปัน ประโยชน์ให้แก่ทุกคนเท่าๆ กันจะถือได้ไหมว่ายุติธรรม ซึ่งอริสโตเติล ก็ไม่ได้เห็นไปในลักษณะนัน้ แต่เห็นว่าการแบ่งปันในกรณีนตี้ อ้ งว่ากัน ไปตามสัดส่วน แต่ประเด็นว่าอะไรคือเกณฑ์ทจี่ ะใช้ก�ำ หนดการแบ่งปัน ตามสัดส่วนก็เป็นเรื่องที่ยังมีปัญหาอยู่ แม้ความคิดของอริสโตเติลจะเป็นความคิดที่ถูกต้อง ที่ว่า รูปแบบความสัมพันธ์ของบุคคลในสังคมที่แตกต่างกันย่อมจะกําหนด ข้อเรียกร้องความยุติธรรมที่แตกต่างกัน แต่ตําราทฤษฎีกฎหมายและ นิติปรัชญาในยุคหลังๆ เห็นว่าข้อเสนอของอริสโตเติลยังไม่ครบถ้วน เนื่องจากอริสโตเติลได้ตัดประเด็นบางประเด็นทิ้งไป และนําเอาสิ่งที่ แตกต่างกัน (เช่น สัญญากับอาชญากรรม) มารวมเป็นกลุ่มเดียวกัน ในปัจจุบนั เราอาจแยกรูปแบบของความยุตธิ รรมตามลักษณะ ของการกระทําในทางสังคมได้เป็น 4 รูปแบบ10 คือ 1) ความยุติธรรมในความสัมพันธ์ของการแลกเปลี่ยนกัน เช่น การแลกเปลีย่ นเงินกับการบริการ ความสัมพันธ์ในลักษณะนีเ้ ป็น Peter Koller, Theorie des Rechts. Eine Einführung (Wien; Köln; Weimar: Böhlau, 1997), S. 300-303. 10

- 339 60

.indd 339

3/3/2554 16:02:40


| นิติรัฐกับความยุติธรรมทางสังคม

ความสัมพันธ์ที่บุคคลหลายคนเข้ามามีปฏิสัมพันธ์กันเพื่อแลกเปลี่ยน สินค้า บริการ ตลอดจนสิทธิต่างๆ ทั้งนี้โดยผู้ที่เข้ามามีปฏิสัมพันธ์นั้น มุ่งหมายให้ตนได้ประโยชน์มากที่สุด รูปแบบการกระทําในทางสังคม ดังกล่าวเกิดขึ้นตั้งแต่การแลกเปลี่ยนสินค้าในชุมชนบุพกาล จนถึง การตกลงทําสัญญาบนพื้นฐานของความสมัครใจในรูปแบบต่างๆ ในสังคมสมัยใหม่ บุคคลแต่ละคนที่เข้าร่วมในความสัมพันธ์ของการ แลกเปลี่ยนที่กล่าวมานี้ เข้ามาร่วมในฐานะที่เป็นปัจเจกบุคคลที่ทรง สิทธิในทรัพย์สินที่จะใช้แลกเปลี่ยนตอบแทนกัน การแลกเปลี่ยน ทรัพย์สิน ตลอดจนบริการต่างๆ ตั้งอยู่บนเงื่อนไขของการยอมรับ อํานาจของผู้ที่เข้าร่วมในการแลกเปลี่ยน ความยุติธรรมในความ สั ม พั น ธ์ ข องการแลกเปลี่ ย นตอบแทนกั น จึ ง เรี ย กร้ อ งหรื อ กํา หนด เงื่อนไขว่า บุคคลที่เข้ามามีปฏิสัมพันธ์ดังกล่าวจะต้องกระทําการโดย ใจสมัคร และจะต้องไม่มใี ครได้เปรียบมากจนเกินไปจากการแลกเปลีย่ น ดังกล่าว กฎเกณฑ์ทางกฎหมายจะต้องเป็นไปเพื่อตอบสนองข้อ เรียกร้องดังกล่าว เช่น ระบบกฎหมายย่อมจะต้องไม่ยอมรับสัญญา ที่ เ กิ ด ขึ้ น จากการข่ ม ขู่ ห รื อ การทํ า กลฉ้ อ ฉล ตลอดจนต้ อ งปฏิ เ สธ ข้อสัญญาทีเ่ อารัดเอาเปรียบกันอย่างรุนแรง โดยการกําหนดกฎหมาย ว่าด้วยข้อสัญญาทีไ่ ม่เป็นธรรมเข้าควบคุมการตกลงทาํ สัญญา เป็นต้น ความยุติธรรมในความสัมพันธ์ดังกล่าวอาจเรียกว่า “ความยุติธรรม ในการแลกเปลี่ยนตอบแทน” 2) ความยุติธรรมในความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลต่างๆ ซึ่ง รวมตัวทํางานร่วมกันหรือใช้ชีวิตร่วมกัน ความสัมพันธ์ในลักษณะนี้ มักเกิดขึน้ กับกลุม่ ในทางสังคมทีม่ ลี กั ษณะเป็นครอบครัว โคตรตระกูล หรือเครือญาติ และบริษัทต่างๆ ปัญหาของความยุติธรรมในความ สัมพันธ์ดังกล่าวเป็นปัญหาการแบ่งปันประโยชน์ (เช่น ทรัพย์สิน) และภาระอย่างเป็นธรรมให้แก่บุคคลต่างๆ ภายในกลุ่ม หากกล่าว ให้เฉพาะเจาะจง ปัญหาในเรื่องนี้มี 2 ประการ ปัญหาแรกคือปัญหา - 340 60

.indd 340

3/3/2554 16:02:40


รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ |

ทีว่ า่ ควรจะกําหนดภาระหน้าทีอ่ ย่างไรให้แก่บคุ คลต่างๆ ในงานทีต่ อ้ ง ปฏิบัติ ปัญหาที่สองคือปัญหาที่ว่า เมื่อกลุ่มได้ประโยชน์จากผลงาน ทีท่ าํ ขึน้ แล้ว ควรจะแบ่งปันประโยชน์ทเี่ กิดจากผลงานทีบ่ คุ คลทัง้ หลาย ได้กระทําร่วมกันอย่างไร มีข้อสังเกตว่า อาจมีกลุ่มในทางสังคมบาง กลุ่มที่สมาชิกของกลุ่มไม่ได้ทํางานเพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์ของกลุ่ม แต่สมาชิกของกลุ่มมีสิทธิเรียกร้องในบรรดาทรัพย์สินหรือประโยชน์ ต่างๆ ทีม่ อี ยูแ่ ล้ว เช่น บรรดาทายาททีม่ สี ทิ ธิในกองมรดก ในกรณีเช่นนี้ ปัญหาย่อมมีอยู่เฉพาะการแบ่งปันประโยชน์และภาระให้เที่ยงธรรม เท่านั้น กฎเกณฑ์ที่กําหนดการแบ่งปันประโยชน์ตลอดจนภาระที่ได้ กล่าวมานี้ ย่อมถือเป็นวัตถุแห่ง “ความยุตธิ รรมในการแบ่งสันปันส่วน” 3) ความยุตธิ รรมในความสัมพันธ์ทางการปกครอง เป็นกรณี ที่บุคคลคนหนึ่งหรือกลุ่มหนึ่งที่เป็นผู้ปกครอง ทรงไว้ซึ่งอํานาจหรือ สิทธิที่จะกําหนดให้บุคคลอื่นที่อยู่ภายใต้การปกครองกระทําการหรือ งดเว้นกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่ง อํานาจในการจัดการปกครอง ดังกล่าวอาจจะเป็นอํานาจที่เกิดขึ้นโดยตรงจากการยอมรับของบุคคล ทั้งปวงที่ร่วมอยู่ในความสัมพันธ์ดังกล่าว หรืออาจจะเป็นอํานาจที่ตั้ง อยู่บนกฎเกณฑ์ทางสังคมที่จะต้องได้รับการยอมรับจากบุคคลที่ร่วม อยู่ในความสัมพันธ์ดังกล่าวอย่างน้อยจํานวนหนึ่ง ความสัมพันธ์ ในลักษณะนี้คือความสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดากับบุตร ระหว่าง ผูบ้ งั คับบัญชากับผูใ้ ต้บงั คับบัญชา หรือระหว่างรัฐกับราษฎร ประเด็น ที่ว่ากลุ่มคนที่มาอยู่รวมกันจะต้องมีการจัดการปกครองโดยอาศัย อาํ นาจปกครองแผ่นดิน เพือ่ รักษาไว้ซงึ่ ความสงบเรียบร้อยและเพือ่ ให้ การดาํ เนินงานต่างๆ ร่วมกันเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นประเด็น ที่แทบจะไม่จําเป็นต้องอภิปรายกันอีก แม้กระนั้น เราก็พบว่าอํานาจ ในการจัดการปกครองไม่ได้เป็นไปเพือ่ ระงับข้อพิพาทหรือความขัดแย้ง เท่านั้น แต่อํานาจในการจัดการปกครองเองอาจสร้างความขัดแย้ง ขึ้นมาใหม่ และก่อให้เกิดอันตรายต่อการอยู่ร่วมกันในสังคมได้ด้วย - 341 60

.indd 341

3/3/2554 16:02:40


| นิติรัฐกับความยุติธรรมทางสังคม

เช่น อํานาจในการประกาศกฎอัยการศึก อํานาจในการเข้าตรวจค้น เคหสถาน ฯลฯ ในการจัดการปกครองจึงจําเป็นที่จะต้องมีการจํากัด อํานาจของผู้ปกครอง ปัญหาที่เกิดขึ้นในกรณีนี้คือปัญหาที่ว่า อํานาจ ในการจัดการปกครองควรจะมีขอบเขตเพียงใด และต้องตกอยู่ภายใต้ เงือ่ นไขใดจึงจะทําให้อาํ นาจดังกล่าวเป็นอาํ นาจทีช่ อบธรรม ข้อเรียกร้อง ที่ มี ต่ อ การกํ า หนดความสั ม พั น ธ์ ใ นการปกครองที่ ก ล่ า วมานี้ เป็ น ประเด็นของ “ความยุติธรรมทางการเมือง” 4) ความยุ ติ ธ รรมในกรณี ที่ บุ ค คลฝ่ า ฝื น กฎเกณฑ์ ก ารอยู่ ร่วมกันของคนในสังคม ละเมิดสิทธิของบุคคลอื่น หรือละเมิดหน้าที่ ของตน ไม่ว่าจะโดยเจตนาหรือประมาทเลินเล่อ ซึ่งจะต้องมีการแก้ไข เยี ย วยา ตลอดจนทดแทนการกระทํ า ที่ ไ ม่ ถู ก ต้ อ งของบุ ค คลผู้ นั้ น การดําเนินการดังกล่าวอาจทําได้ใน 2 ลักษณะ ลักษณะแรก เป็น กรณีที่ทําให้สิทธิของบุคคลที่ได้รับผลกระทบหรือถูกล่วงละเมิดนั้น กลับฟื้นคืนดี เช่น การคืนทรัพย์สินหรือการชดใช้ค่าทดแทนความ เสียหาย ลักษณะที่สอง เป็นกรณีของการตอบแทนผู้กระทําความผิด ด้วยการลงโทษทางอาญา ปัญหาเกี่ยวกับความยุติธรรมในเรื่องนี้มี หลายประการ เช่น ปัญหาทีว่ า่ จํานวนค่าสินไหมทดแทนความเสียหาย ควรจะเป็นเท่าใด การกระทําความผิดหรือการล่วงละเมิดสิทธิของ บุคคลอื่นโดยไม่มีอํานาจกระทําได้ลักษณะใดที่ควรกําหนดเพียงแค่ การชดใช้คา่ สินไหมทดแทนเท่านัน้ ไม่สมควรกาํ หนดเป็นโทษอาญา11 กรณีใดทีค่ วรกาํ หนดทัง้ สองประการ โทษทีก่ าํ หนดขึน้ นัน้ ควรจะมีระดับ ความรุนแรงมากหรือน้อยเพียงใด12 เป็นต้น ความยุติธรรมเกี่ยวกับ เช่น ปัญหาว่าด้วยการกำ�หนดให้ความผิดฐานหมิ่นประมาทหรือดูหมิ่นซึ่งหน้าเป็น ความผิดอาญา 12 เช่น ปัญหาเรือ่ งความพอสมควรแก่เหตุของการกำ�หนดโทษในบทบัญญัตขิ องกฎหมาย อาญาเกี่ยวกับความผิดฐานดูหมิ่น หมิ่นประมาท หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย พระมหากษัตริย์ พระราชินี หรือรัชทายาท ในระบบกฎหมายไทย 11

- 342 60

.indd 342

3/3/2554 16:02:40


รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ |

ประเด็นปัญหาต่างๆ เหล่านี้เป็น “ความยุติธรรมในการแก้ไขเยียวยา และทดแทน” การแบ่งแยกรูปแบบของความยุติธรรมออกเป็น 4 รูปแบบ ข้างต้น เป็นเพียงความพยายามในการทําให้การอภิปรายในประเด็น ที่ เ กี่ ย วกั บ ความยุ ติ ธ รรมในทางเนื้ อ หามี ค วามชั ด เจนขึ้ น เท่ า นั้ น หาใช่เป็นการแบ่งแยกที่เด็ดขาดไม่ อย่างไรก็ตาม ในการพิเคราะห์ ถึงความสัมพันธ์ระหว่างนิติรัฐกับความยุติธรรมนั้น เราคงไม่อาจตัด ประเด็นเรื่องเสรีภาพ ประเด็นเรื่องความเสมอภาค ประเด็นเกี่ยวกับ ความชอบธรรมในการปกครอง ตลอดจนประเด็นเกีย่ วกับสภาพบังคับ ทางกฎหมาย (โทษ) ออกไปจากการพิจารณาได้ ดังนั้น ไม่ว่าจะแบ่ง แยกรูปแบบของความยุตธิ รรมทีเ่ กิดขึน้ ในความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล อย่างไร ก็ต้องอภิปรายในประเด็นเหล่านี้ไม่โดยตรงก็โดยอ้อมเสมอ เงื่อนไขพื้นฐานของความยุติธรรมทางเนื้อหา ในกรณีของความยุติธรรมแบบแลกเปลี่ยนตอบแทน เรา ย่ อ มถื อ ว่ า การแลกเปลี่ ย นตอบแทนที่ เ กิ ด ขึ้ น สอดคล้ อ งกั บ ความ ยุติธรรม ถ้าหากว่าการแลกเปลี่ยนตอบแทนนั้นเป็นการแลกเปลี่ยน ตอบแทน “ค่าที่เท่ากัน” แนวความคิดในเรื่องนี้ไม่ได้มีแต่ในชุมชน บุพกาลเท่านั้น แม้สังคมสมัยใหม่ก็ยอมรับด้วยเช่นกัน แนวความคิด ดังกล่าวดํารงอยู่ภายใต้หลักต่างตอบแทน อย่างไรก็ตาม โดยเหตุที่ การกํ า หนดค่ า ที่ เ ท่ า กั น ก็ ใ ช่ ว่ า จะไม่ มี ปั ญ หา ดั ง นั้ น ในปั จ จุ บั น แนวความคิดในเรื่องดังกล่าวจึงเปลี่ยนไป โดยความยุติธรรมแบบ แลกเปลี่ยนในเชิงกระบวนการได้เข้ามาแทนที่ นั่นคือ แนวความคิด ว่าด้วยความสัมพันธ์ในตลาดเสรี ตามแนวความคิดดังกล่าว การ แลกเปลี่ยนสินค้าและบริการย่อมถือว่าสอดคล้องกับความยุติธรรม - 343 60

.indd 343

3/3/2554 16:02:40


| นิติรัฐกับความยุติธรรมทางสังคม

หากว่ า การแลกเปลี่ ย นสิ น ค้ า และบริ ก ารเกิ ด ขึ้ น โดยเสรี โดยผู้ ที่ แลกเปลี่ยนกันนั้นมีความเท่าเทียมกัน แนวความคิดดังกล่าวเรียกร้องว่า ในตลาดซึ่งเป็นตลาดที่ แข่งขันกันอย่างเสรีโดยสมบูรณ์ (อันเป็นอุดมคติของตลาด) จะต้องมี จาํ นวนผูเ้ สนอสินค้าและบริการ ตลอดจนผูท้ ตี่ อ้ งการสินค้าและบริการ มากพอที่จะไม่มีผู้ใดครอบงําและกําหนดราคาสินค้าและบริการได้ โดยลําพัง โดยผู้ที่ร่วมอยู่ในตลาดทุกคนจะต้องมีข้อมูลข่าวสารที่ ถูกต้องมากเพียงพอที่จะตัดสินใจเลือกสินค้าและบริการ ทั้งนี้โดย จะต้องมีการกําหนดกฎเกณฑ์ทางกฎหมายห้ามการใช้กําลังอํานาจ ข่มขู่ ตลอดจนห้ามการฉ้อฉลหลอกลวง ในตลาดเช่นนี้ บุคคลทุกคน ที่มีเหตุผลตามธรรมดาสามัญทั่วไป ย่อมสามารถที่จะได้ประโยชน์ สูงสุดจากการแลกเปลีย่ นสินค้าและบริการ ดังนัน้ ใครก็ตามทีส่ มัครใจ เข้าแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการในตลาดที่มีการแข่งขันอย่างสมบูรณ์ ผู้นั้นย่อมไม่มีเหตุที่จะครํ่าครวญหวนไห้ถึงผลของการแลกเปลี่ยน สินค้าและบริการ และต้องถือว่าการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ เป็นไปโดยยุติธรรมแล้ว13 อย่างไรก็ตาม โดยเหตุที่ในความเป็นจริง ตลาดในอุดมคติเกิดขึ้นยากมาก ดังนั้น กฎหมายในหลายลักษณะจึง ไม่เปิดโอกาสให้บคุ คลแลกเปลีย่ นสินค้าและบริการกันได้อย่างเสรี เช่น กฎหมายแรงงาน กฎหมายว่าด้วยการซือ้ ขายหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น ในกรณี ข องความยุ ติ ธ รรมแบบแบ่ ง สั น ปั น ส่ ว น ในอดี ต เห็นกันว่าสมาชิกของกลุ่มซึ่งทํางานร่วมกันนั้นควรจะได้รับประโยชน์ หรือภาระตามสัดส่วนที่อาจแตกต่างกันได้ ซึ่งเกณฑ์ที่จะใช้กําหนด สั ด ส่ ว นแห่ ง ประโยชน์ ห รื อ ภาระที่ บุ ค คลจะได้ รั บ นั้ น อาจแตกต่ า ง หลากหลาย เช่น เกณฑ์เกี่ยวกับชาติกําเนิดหรือสถานะทางสังคมของ 13

Peter Koller, S. 304.

- 344 60

.indd 344

3/3/2554 16:02:40


รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ |

บุคคลนั้น เกณฑ์เกี่ยวกับประสิทธิภาพของผลงาน เกณฑ์เกี่ยวกับ ความจําเป็นของแต่ละบุคคล เป็นต้น ในปัจจุบัน โดยเหตุที่ว่าความคิดที่ถือว่ามนุษย์ทุกคนเกิดมา เสมอภาคเท่าเทียมกัน ไม่ควรมีใครอ้างชาติกําเนิดของตนเพื่อทําให้ ตนได้สิทธิดีกว่าผู้อื่น เป็นความคิดที่ได้รับการยอมรับนับถือทั่วไป ซึ่ง ความคิดดังกล่าวคือความคิดว่าด้วยความเสมอภาคกันตามธรรมชาติ ของมนุษย์ ทาํ ให้ขอ้ เรียกร้องให้แบ่งปันสิทธิและหน้าทีโ่ ดยไม่เท่าเทียม กันนั้นย่อมจะเป็นไปได้แต่ในกรณีที่มีเหตุผลอันอาจยอมรับกันโดย ทั่วไปว่ามีความชอบธรรมเท่านั้น เหตุผลอันอาจยอมรับได้ดังกล่าว เช่น การยอมรับให้เด็กหรือผู้ป่วยทางจิตได้รับการแบ่งปันประโยชน์ หรือการปฏิบัติที่แตกต่างไปจากบุคคลธรรมดา แต่การจะปฏิบัติต่อ บุคคลให้แตกต่างกันด้วยเหตุแห่งความแตกต่างทางเพศ เชื้อชาติ หรือชนชัน้ ย่อมเป็นสิง่ ทีพ่ น้ สมัยเสียแล้ว14 โดยพืน้ ฐานความคิดเช่นนี้ แนวความคิดในอดีตที่ว่าบุคคลอาจได้รับประโยชน์และภาระตาม สัดส่วน จึงถูกปรุงแต่งให้มลี กั ษณะพิเศษขึน้ กว่าเดิม และนําไปสูค่ วาม ยุติธรรมแบบแบ่งสรรปันส่วนในทางกระบวนการและความเท่าเทียม กันมากขึน้ กว่าเดิม กล่าวคือ สมาชิกของกลุม่ บุคคลทีม่ าทํางานร่วมกัน หรือใช้ชีวิตร่วมกันนั้นจะต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน และ จะต้องได้รบั ประโยชน์หรือภาระของส่วนรวมเท่าๆ กัน หากไม่ปรากฏ ว่ามีเหตุผลทีย่ อมรับนับถือเป็นการทัว่ ไปกําหนดให้ตอ้ งปฏิบตั แิ ตกต่าง กันหรือแบ่งปันประโยชน์และภาระไม่เท่ากัน มี ข้ อ สั ง เกตว่ า หลั ก แห่ ง ความเสมอภาคในการแบ่ ง ปั น ประโยชน์และภาระที่ได้กล่าวมานี้ ไม่ได้เรียกร้องให้ต้องปฏิบัติต่อ ด้วยเหตุนี้ รัฐธรรมนูญของประเทศที่เป็นนิติรัฐทั้งหลายจึงยอมรับหลักแห่งความ เสมอภาค ซึ่งกล่าวในทางกฎหมายก็คือสิทธิเรียกร้องในความเสมอภาค ให้เป็นหลัก กฎหมายและเป็นสิทธิในระดับรัฐธรรมนูญ 14

- 345 60

.indd 345

3/3/2554 16:02:40


| นิติรัฐกับความยุติธรรมทางสังคม

สมาชิกทุกคนเหมือนกัน การแบ่งปันประโยชน์และภาระให้แก่สมาชิก แต่ละคนไม่เท่ากันย่อมเป็นไปได้ หากการกระทําดังกล่าวมีเหตุผล ยอมรับได้ ตัวอย่างของเหตุผลดังกล่าว เช่น การทีส่ มาชิกผูน้ นั้ ปฏิบตั ิ ภารกิจได้ดีเป็นพิเศษกว่าสมาชิกผู้อื่น เป็นต้น ในกรณีของความยุติธรรมทางการเมืองนั้น ปัจจุบันยอมรับ กันเป็นยุติแล้วว่า การจัดการปกครองในชุมชนมนุษย์ต้องเป็นไปเพื่อ ตอบสนองวัตถุประสงค์ทั่วไปที่เป็นที่ยอมรับร่วมกัน ไม่ใช่เป็นไปเพื่อ ประโยชน์ของผู้ปกครอง วัตถุประสงค์ทั่วไปของการจัดการปกครอง คือการปกป้องคุ้มครองสิทธิอันชอบธรรมของมนุษย์ และการประกัน การอยู่ร่วมกันในสังคมมนุษย์ในรูปแบบต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ให้เป็น ไปอย่างมั่นคง การใช้อํานาจในการปกครองจึงต้องใช้เท่าที่จําเป็น เพื่อให้เกิดการบังคับตามสิทธิและหน้าที่ของสมาชิกทั้งหลายอย่าง เป็นธรรม และใช้อาํ นาจไปในลักษณะทีจ่ ะยังประโยชน์ในความสัมพันธ์ ระหว่างกันของทุกฝ่าย โดยพื้นฐานแนวความคิดเช่นนี้ หลักนิติรัฐ ในทางเนื้อหาจึงเรียกร้องให้การใช้อํานาจของรัฐต้องเป็นไปตามหลัก แห่งความพอสมควรแก่เหตุ หรือบางครั้งก็เรียกกันว่าหลักสัดส่วน ซึ่ ง หมายความว่ า การใช้ อํา นาจของรั ฐ จะต้ อ งเป็ น ไปเพื่ อ ให้ บ รรลุ วัตถุประสงค์ทชี่ อบธรรม ทัง้ นีโ้ ดยจะต้องใช้มาตรการทีร่ นุ แรงน้อยทีส่ ดุ ทีจ่ ะบรรลุวตั ถุประสงค์ดงั กล่าวได้ และมาตรการทีร่ นุ แรงน้อยทีส่ ดุ แล้ว นั้น ในที่สุดจะต้องได้สัดส่วนกันระหว่างประโยชน์ของปัจเจกบุคคล ที่เสียไปกับประโยชน์ที่มหาชนจะได้รับ15 ส่วนความยุติธรรมในการแก้ไขเยียวยาและทดแทนนั้น การ แก้ไขเยียวยาตลอดจนการทดแทนตัง้ อยูบ่ นเงือ่ นไขของสิทธิและหน้าที่ หลักการนี้เป็นหลักกฎหมายที่สำ�คัญหลักหนึ่งในทางกฎหมายมหาชน ดู วรเจตน์ ภาคีรัตน์, ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายปกครอง: หลักการพื้นฐานของกฎหมาย ปกครองและการกระทำ�ทางปกครอง (กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2549), หน้า 29-35. 15

- 346 60

.indd 346

3/3/2554 16:02:40


รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ |

ของบุคคล การกระทําทีล่ ะเมิดสิทธิของบุคคล สมควรทีจ่ ะกําหนดให้มี การแก้ไขเยียวยาโดยการทําให้กลับฟื้นคืนดี หรือการชดใช้ค่าสินไหม ทดแทน หรือสมควรทีจ่ ะลงโทษผูก้ ระทํา การกาํ หนดในลักษณะต่างๆ นั้นย่อมขึ้นอยู่กับลักษณะของความไม่ถูกต้องแห่งการกระทํานั้นเป็น สําคัญ โดยทั่วไปแล้ว เราอาจกล่าวได้ว่า หลักความยุติธรรมกําหนด ให้ต้องมีการแก้ไขเยียวยา หากผู้กระทําได้ล่วงละเมิดหน้าที่ที่ตนต้อง เคารพ และในขณะเดียวกันนั้นได้ละเมิดสิทธิของบุคคลอื่น ในขณะที่ โทษทางอาญานั้นถูกกําหนดขึ้นเพราะการกระทํานั้นไม่เพียงแต่เพื่อ ปกป้องคุ้มครองประโยชน์ของบุคคลเท่านั้น แต่เพื่อปกป้องคุ้มครอง ประโยชน์สาธารณะหรือประโยชน์ส่วนรวม ในกรณีที่การกระทําใด เป็นการละเมิดสิทธิของบุคคลและกระทบต่อการอยู่ร่วมกันของสังคม ไปพร้อมๆ กัน ก็อาจกําหนดให้มีทั้งการแก้ไขทดแทนโดยการกระทํา ให้กลับฟืน้ คืนดีหรือการชดใช้คา่ ทดแทนความเสียหายและการลงโทษ ทางอาญาพร้อมกัน ทั้งนี้โดยต้องคํานึงถึงนํ้าหนักของการกระทําที่ ละเมิดสิทธิหน้าทีแ่ ละระดับความรุนแรงของการละเมิดหน้าทีป่ ระกอบ กัน ข้อเรียกร้องแห่งความยุติธรรมในการแลกเปลี่ยนตอบแทน ความยุติธรรมในการแบ่งสันปันส่วน ความยุติธรรมในทางการเมือง และความยุติธรรมในการแก้ไขเยียวยาและทดแทนนั้น ไม่ได้ดํารงอยู่ อย่างเป็นอิสระต่อกัน แต่เป็นเงื่อนไขของกันและกัน และเสริมแต่ง ซึ่งกันและกัน ทั้งนี้เพราะความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์นั้นเชื่อมโยง กับโครงข่ายแห่งความสัมพันธ์ในสังคมที่สลับซับซ้อน และเพราะ รูปแบบการกระทําทางสังคมแต่ละรูปแบบนั้นทับซ้อนผสมผสานกัน ในครอบครัวหนึ่ง ความสัมพันธ์ของบุคคลในครอบครัวย่อมไม่ได้ ตกอยู่ภายใต้ความยุติธรรมแบบแบ่งสันปันส่วนเท่านั้น แต่อาจตกอยู่ ภายใต้ความยุติธรรมแบบแลกเปลี่ยนตอบแทน ความยุติธรรมในการ - 347 60

.indd 347

3/3/2554 16:02:40


| นิติรัฐกับความยุติธรรมทางสังคม

ใช้อํานาจปกครอง ตลอดจนความยุติธรรมในการแก้ไขเยียวยาและ ทดแทนได้ด้วยเช่นกัน ดังนั้น สมาชิกของครอบครัวจึงตกอยู่ภายใต้ ข้อเรียกร้องแห่งความยุติธรรมในหลายลักษณะพร้อมๆ กันได้ ความยุติธรรมทางสังคม16 ความยุติธรรมทางสังคม หมายถึง ข้อเรียกร้องแห่งความ ยุติธรรมทั้งปวงที่เชื่อมโยงกับระเบียบทางสถาบันและความสัมพันธ์ ทางสังคมทั้งหมด เป็นข้อเรียกร้องแห่งความยุติธรรมที่เกี่ยวพันกับ การแบ่งปันประโยชน์และภาระต่างๆ ในสังคม ความเข้าใจเกี่ยวกับ ความยุ ติ ธ รรมทางสั ง คมอาจแตกต่ า งกั น ออกไปตามแนวคิ ด หรื อ อุดมการณ์พื้นฐานทางการเมือง ในที่นี้จะพิเคราะห์ความยุติธรรมทาง สังคมในส่วนทีเ่ ชือ่ มโยงกับการปกครองตามหลักนิตริ ฐั และตามรูปแบบ ความยุติธรรมที่ได้กล่าวมาข้างต้น โดยเหตุที่สังคมมนุษย์เกิดขึ้นจากการอยู่ร่วมกันและการ ดําเนินกิจกรรมร่วมกันเพื่อให้มนุษยชาติสามารถดํารงเผ่าพันธ์ุอยู่ได้ ประเด็นเรื่องความยุติธรรมทางสังคมเป็นประเด็นที่มีการกล่าวถึงในหลายแง่มุม ดู John Rawls, A Theory of Justice (Cambridge, Mass: Harvard University Press, 1971).; Joel Feinberg, Social Philosophy (Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall, 1973).; David Miller, Social Justice (Oxford: Clarendon Press, 1976).; Arthur Kaufmann, Grundprobleme der Rechtsphilosophie (München: Beck, 1994) 10 Kapitel. ในส่วนทีเ่ กีย่ วกับทฤษฎีวา่ ด้วยสิทธิ ดู Robert Alexy, A Theory of Constitutinal Rights (New York: Oxford University Press, 2002) หรือ Robert Alexy, Theorie der Grundrechte (Frankfurt am Main: Suhrkamp, 1986). ในตำ�ราทางนิติศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิง่ ตำ�ราทางกฎหมายรัฐธรรมนูญ ประเด็นเรือ่ งความยุตธิ รรมทางสังคม มักจะได้รับการอธิบายเชื่อมโยงกับหลักสังคมรัฐ (Sozialstaatsprinzip) 16

- 348 60

.indd 348

3/3/2554 16:02:40


รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ |

การกําหนดระบบระเบียบกฎเกณฑ์จึงต้องตกอยู่ภายใต้หลักความ ยุติธรรมในการแบ่งสันปันส่วน หลักดังกล่าวใช้เฉพาะกับกรณีการ แบ่ ง ปั น ประโยชน์ แ ละภาระอั น เป็ น ประโยชน์ แ ละภาระที่ ส มาชิ ก ทุกคนของสังคมมีอยู่ร่วมกันให้แก่สมาชิกทุกคน ไม่ว่าจะเป็นเพราะ ประโยชน์และภาระเหล่านัน้ เป็นสิง่ ทีม่ อี ยูแ่ ล้วหรือเป็นสิง่ ทีเ่ ป็นผลจาก การกระทําร่วมกันของสังคม เราอาจเรียกประโยชน์และภาระเหล่านี้ ว่าประโยชน์และภาระทางสังคม โดยเหตุทปี่ ระโยชน์และภาระดังกล่าว เป็ น ประโยชน์แ ละภาระที่เกิดขึ้นแก่สมาชิกทุกคนของสังคม การ แบ่งปันประโยชน์และภาระจึงต้องเป็นไปตามหลักแห่งความเสมอภาค ดังนัน้ จึงมีขอ้ เรียกร้องเบือ้ งต้นว่า ในการกาํ หนดระบบระเบียบในสังคม นัน้ จะต้องกําหนดให้สมาชิกทุกคนของสังคมมีสว่ นอย่างเท่าเทียมกัน ในประโยชน์และภาระทั้งหลาย เว้นแต่จะมีเหตุผลที่ยอมรับนับถือกัน ทั่วไปว่ากรณีหนึ่งกรณีใดเป็นกรณีที่อาจแบ่งปันประโยชน์และภาระ ไม่เท่าเทียมกันได้ หลักดังกล่าวคือหลักความเสมอภาคทางสังคม ประเด็นที่จะต้องพิจารณาก็คือ ประโยชน์และภาระในกรณี ใดที่ถือว่าเป็นประโยชน์หรือภาระทางสังคม และด้วยเหตุดังกล่าว จึงต้องแบ่งปันประโยชน์และภาระเหล่านั้นตามหลักความเสมอภาค ทางสังคม เรื่องนี้เป็นเรื่องที่มีปัญหาถกเถียงกัน เนื่องจากคําตอบ ในกรณีนี้อยู่ที่ว่าผู้ตอบคําถามมีแนวความคิดเกี่ยวกับสังคมอย่างไร พวกเสรีนิยมคลาสสิกเห็นว่า เฉพาะแต่สิทธิและเสรีภาพทั่วไปของ พลเมืองและทรัพยากรธรรมชาติเท่านัน้ ทีถ่ อื ว่าเป็นประโยชน์และภาระ ทางสังคม พวกสังคมนิยมกลับเห็นว่า นอกจากสิทธิ เสรีภาพ และ ทรัพยากรธรรมชาติแล้ว ประโยชน์หรือผลที่เกิดขึ้นในทางเศรษฐกิจ ยังถือว่าเป็นประโยชน์หรือสมบัตขิ องสังคมด้วย17 ถึงแม้วา่ ทัง้ สองพวก นีจ้ ะมีความเห็นทีแ่ ตกต่างกัน แต่ในสังคมประชาธิปไตย เราย่อมถือว่า 17

Peter Koller, S. 310.

- 349 60

.indd 349

3/3/2554 16:02:40


| นิติรัฐกับความยุติธรรมทางสังคม

สิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้เป็นประโยชน์และภาระทางสังคม กล่าวคือ สิทธิ ทั่วไปของพลเมือง เสรีภาพของพลเมือง สิทธิในทางการเมือง สถานะ และโอกาสทางสังคม โอกาสในทางเศรษฐกิจ ตลอดจนภาระในทาง สังคม เช่น ภาระในทางภาษี เป็นต้น ในแง่ ข องโอกาส แนวความคิ ด เสรี นิ ย มประชาธิ ป ไตย เรียกร้องให้บุคคลทุกคนมีโอกาสที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในชีวิตทาง เศรษฐกิจและสังคม อย่างไรก็ตาม เราต้องเข้าใจว่าในสังคมทั้งหลาย สถานะทางสังคมของบุคคลย่อมมีผลเป็นตัวกําหนดการมีส่วนร่วม ในอํานาจ อิทธิพล และทรัพยากรต่างๆ ดังนั้น โดยหลักแล้ว ระบบ กฎหมายจะต้ อ งออกแบบระเบี ย บกฎเกณฑ์ ท างสั ง คมให้ เ กิ ด การ แบ่งปันสถานะและโอกาสทางสังคมอย่างเท่าเทียมกัน การแบ่งปัน สถานะและโอกาสทางสังคมอย่างไม่เท่าเทียมกันจะเป็นไปได้กต็ อ่ เมือ่ มีเหตุผลที่ยอมรับนับถือกันโดยทั่วไปเป็นเครื่องรองรับ ถึงแม้ว่า เหตุผลทีส่ ร้างความชอบธรรมให้กบั การแบ่งปันสถานะและโอกาสทาง สังคมอย่างไม่เท่าเทียมกันจะหาได้ยากยิง่ ก็ตาม แต่การแบ่งปันสถานะ และโอกาสทางสังคมอย่างไม่เท่าเทียมกันก็อาจเป็นไปได้ในระดับ หนึ่ง เนื่องจากในสังคมที่ประกอบไปด้วยสมาชิกเป็นจํานวนมาก ย่อมต้องมีการจัดระเบียบสังคม และการจัดระเบียบดังกล่าวต้อง เกิดขึ้นในลักษณะที่มีการกําหนดอํานาจในการปกครองลดหลั่นกัน เป็นลําดับชั้น นอกจากนี้ ในสังคมที่มีความสลับซับซ้อนและมีรูปแบบการ ร่วมมือกระทํากิจกรรมที่หลากหลาย ย่อมมีความจําเป็นที่จะต้อง แบ่งแยกบทบาทและกําหนดสถานะให้บุคคลในลักษณะที่แตกต่าง กัน เพื่อให้การทํางานเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ความไม่เท่าเทียมกัน ที่เกิดขึ้นย่อมถือได้ว่าถูกต้องชอบธรรม ถ้าหากว่าไม่เฉพาะแต่บุคคล ที่ครองสถานะดังกล่าวนั้นได้ประโยชน์ แต่บุคคลอื่นๆ ที่ไม่ได้ครอง - 350 60

.indd 350

3/3/2554 16:02:40


รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ |

สถานะนั้นก็สามารถใช้หรือได้รับประโยชน์จากการมีสถานะดังกล่าว ด้วย อย่างไรก็ตาม มีเงื่อนไขสําคัญอยู่ว่า สถานะที่เป็นที่ต้องการของ บุคคลทั้งหลายต้องเป็นสถานะที่โดยหลักแล้วเปิดโอกาสให้บุคคล ทุกคนเข้าถึงได้ เพือ่ ให้บคุ คลทีม่ คี วามสามารถเหมาะสมกับสถานะนัน้ มีโอกาสที่จะเข้าไปดํารงสถานะดังกล่าว ในแง่นี้ ความยุติธรรมทาง สังคมเรียกร้องความเท่าเทียมกันทางสังคม ปัญหาสําคัญประการหนึ่งเมื่อกล่าวถึงความยุติธรรมทาง สังคมก็คือ การแบ่งปันสิทธิในความเสมอภาคและสิทธิในเสรีภาพ ซึ่ง ทัง้ สิทธิในความเสมอภาคและสิทธิในเสรีภาพล้วนแล้วแต่เป็นประโยชน์ ทางสังคมทั้งสิ้น การแบ่งปันสิทธิอาจจะเป็นไปอย่างเท่าเทียมกัน หรือไม่เท่าเทียมกันได้โดยกฎเกณฑ์ที่กําหนดขึ้น แต่การแบ่งปัน ดังกล่าวต้องสอดคล้องกับความยุติธรรม หากสิทธินั้นเป็นสิทธิทั่วไป ของพลเมือง คือเป็นสิทธิที่บุคคลซึ่งเป็นสมาชิกของสังคมมีอยู่โดย ไม่ขึ้นอยู่กับสภาวการณ์พิเศษใดๆ เช่น สิทธิที่จะตกลงเข้าทําสัญญา ระบบกฎหมายต้องแบ่งปันสิทธิดังกล่าวอย่างเท่าเทียมกัน แต่ถ้าสิทธิ นั้นเป็นสิทธิที่เกิดขึ้นในสภาวการณ์พิเศษบางประการ หรือบุคคลนั้น กระทาํ การบางประการเพือ่ ให้ได้มาซึง่ สิทธินนั้ ระบบกฎหมายสามารถ แบ่งปันสิทธิเหล่านี้ไม่เท่าเทียมกันได้ เช่น สิทธิของบุคคลที่จะได้รับ ค่าจ้าง การที่หลักความเสมอภาคทางสังคมเรียกร้องให้ต้องเคารพ สมาชิ ก ทุ ก คนของสั ง คม ย่ อ มก่ อ ให้ เ กิ ด เงื่ อ นไขของความมี สิ ท ธิ เท่าเทียมกัน การมีสิทธิเท่าเทียมกันนี้ปฏิเสธการเลือกปฏิบัติในทุก ลักษณะ การปฏิบัติต่อบุคคลอย่างไม่เทียมกันจะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อ การปฏิบัติดังกล่าวตั้งอยู่บนฐานของกฎเกณฑ์ทั่วไปและไม่ขึ้นกับตัว บุคคล พิจารณาในแง่นี้ ความยุติธรรมทางสังคมย่อมเรียกร้องให้มี ความเสมอภาคทางกฎหมาย การแบ่งปันสิทธิในเสรีภาพก็มีลักษณะ - 351 60

.indd 351

3/3/2554 16:02:40


| นิติรัฐกับความยุติธรรมทางสังคม

อย่างเดียวกัน เนือ่ งจากเสรีภาพของบุคคลแต่ละคนคือความเป็นไปได้ ในอันทีจ่ ะกาํ หนดวิถชี วี ติ ของตนตามทีต่ นเห็นว่าถูกต้อง โดยปราศจาก ข้อจํากัดทางสังคม การกําหนดให้บุคคลมีสิทธิในเสรีภาพมากหรือ น้อยเพียงใด ย่อมเป็นไปตามหลักความยุติธรรมแบบแบ่งสรรปันส่วน ด้วยเหตุดังกล่าว การกําหนดให้บุคคลมีเสรีภาพไม่เท่ากัน ย่อมจะ เป็นไปได้กต็ ่อเมื่อมีเหตุผลที่ยอมรับนับถือได้เป็นการทั่วไปรองรับ ซึ่ง ดูเหมือนเหตุผลดังกล่าวไม่น่าจะมีได้18 เมื่อเหตุผลในการแบ่งปัน เสรีภาพให้แก่บุคคลไม่เท่าเทียมกันโดยทั่วไปไม่อาจมีได้แล้ว จึงต้อง แบ่งปันเสรีภาพให้แก่บคุ คลทุกคนอย่างเท่าเทียมกันให้มากทีส่ ดุ เท่าที่ ยังสามารถทาํ ให้การอยูร่ ว่ มกันอย่างมีระเบียบในสังคมและความเจริญ รุ่งเรืองของสังคมเป็นไปได้ พิจารณาในแง่นี้ ความยุติธรรมทางสังคม เรียกร้องให้เกิดความเสมอภาคของพลเมือง โดยเหตุ ที่ ก ารอยู่ ร่ ว มกั น ในสั ง คมจํ า เป็ น ต้ อ งมี ร ะบบการ ปกครอง ระบบกฎหมายที่ต้องการสร้างความชอบธรรมให้แก่การ ปกครองจึงต้องยอมให้พลเมืองสามารถมีส่วนร่วมในการแสดงความ คิดเห็นและการก่อตั้งเจตจํานงในทางมหาชนเกี่ยวกับเรื่องราวทั่วไป ของสังคมได้ ในแง่นี้ บุคคลต้องมีสทิ ธิทางการเมือง สิทธิทางการเมือง เป็นประโยชน์ทางสังคมที่โดยหลักทั่วไปแล้วไม่มีเหตุใดที่จะใช้เป็น ข้ออ้างในการแบ่งปันสิทธิดังกล่าวให้แก่บุคคลอย่างไม่เท่าเทียมกัน และต้องถือว่าสมาชิกของสังคมทุกคนเป็นผู้ทรงสิทธิทางการเมือง เท่ากัน ในอันทีจ่ ะดําเนินกิจกรรมทางการเมืองและการตัดสินใจร่วมกัน เกี่ยวกับเรื่องราวสาธารณะ ในแง่นี้ ความยุติธรรมทางสังคมเรียกร้อง ให้เกิดการมีสว่ นร่วมในทางประชาธิปไตย จะเห็นได้วา่ แม้การเกิดขึน้ เว้นแต่กรณีนนั้ เป็นกรณีทเี่ ห็นได้โดยสภาพว่าการแบ่งปันเสรีภาพให้อย่างเท่าเทียมกัน เป็นไปไม่ได้ เช่น การแบ่งปันเสรีภาพให้กับบุคคลทั่วไปเปรียบเทียบกับบุคคลที่กระทำ� ความผิดอาญาและศาลพิพากษาลงโทษแล้ว เป็นต้น 18

- 352 60

.indd 352

3/3/2554 16:02:40


รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ |

ของแนวความคิดว่าด้วยนิติรัฐจะไม่ได้เกิดขึ้นโดยมีส่วนประกอบของ หลักประชาธิปไตยก็ตาม แต่หากพิจารณาหลักนิติรัฐเชื่อมโยงกับ ความยุตธิ รรมทางการเมือง ย่อมเป็นการยากอย่างยิง่ ทีจ่ ะปฏิเสธความ สัมพันธ์ระหว่างนิติรัฐกับประชาธิปไตยได้ ปัญหาที่ดูจะยุ่งยากที่สุดในส่วนที่เกี่ยวกับความยุติธรรมทาง สังคม ดูเหมือนว่าจะเป็นปัญหาเกี่ยวกับโอกาสในทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ เนื่องจากมีความเห็นที่แตกต่างกันว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ตลอดจน รายได้ต่างๆ ของบุคคล จะถือได้หรือไม่ว่าเป็นสมบัติของสังคม อันจะ สามารถเป็นวัตถุแห่งการแบ่งปันได้ ฝ่ายที่นิยมเศรษฐกิจเสรีเห็นว่า สภาพในทางเศรษฐกิจของแต่ละบุคคลเป็นผลมาจากความขยันขันแข็ง และโชคของบุคคลนั้น ในขณะที่ฝ่ายสังคมนิยมเน้นยํ้าว่าประโยชน์ ในทางเศรษฐกิจ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน และรายได้ต่างๆ นั้น เป็น ผลผลิตร่วมกันของสังคม ความยุ่งยากของเรื่องนี้อยู่ตรงที่ว่า ประโยชน์หรือทรัพย์สิน ทางเศรษฐกิจนั้นเป็นสิ่งที่มีลักษณะเป็นคุณค่าในทางเนื้อหา คุณค่า ในทางเนือ้ หาดังกล่าวเกิดขึน้ จากการทาํ งานและความสําเร็จส่วนบุคคล ดังนั้นจึงมีเหตุผลสนับสนุนในแง่ที่ว่า ใครก็ตามที่ทํางานและได้รับ ผลดีอันเนื่องจากการทํางานของตน เขาก็ควรมีสิทธิเรียกร้องในอัน ที่จะได้รับประโยชน์จากการทํางานของตน เราจะเห็นได้ว่าประโยชน์ทางเศรษฐกิจนั้นขึ้นอยู่กับเงื่อนไข ทางสั ง คมน้ อ ยกว่ า กรณี อื่ น เช่ น สิ ท ธิ ใ นความเสมอภาค สิ ท ธิ ใ น เสรีภาพ หรือสิทธิทางการเมือง อย่างเห็นได้ชัด ด้วยเหตุนี้ จึงไม่เป็น ที่น่าประหลาดใจว่าทําไมเราจึงสามารถยอมรับความไม่เท่าเทียมกัน ในทางเศรษฐกิจได้ในระดับที่มากกว่าความไม่เท่าเทียมกันในด้าน อื่น แม้กระนั้น ในอีกด้านหนึ่งก็ไม่อาจปฏิเสธได้เช่นกันว่าฐานะทาง เศรษฐกิจของแต่ละบุคคลนัน้ มีสว่ นเชือ่ มโยงกับการแบ่งงานกันทําและ ความสลับซับซ้อนของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึง่ โดยผลดังกล่าวทําให้ - 353 60

.indd 353

3/3/2554 16:02:40


| นิติรัฐกับความยุติธรรมทางสังคม

เรากล่าวได้ว่า ความสําเร็จทางเศรษฐกิจของคนคนหนึ่งย่อมเป็นผล มาจากการทํางานของสมาชิกคนอื่นๆ ในสังคมด้วย และจําเป็นอย่าง ยิง่ ทีจ่ ะต้องมีการแบ่งปันประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้เป็นธรรม ดังนัน้ จึง ไม่อาจจะแบ่งปันประโยชน์ทางเศรษฐกิจไปตามความขยันขันแข็งและ โชคของคนคนนั้นเท่านั้น แต่อาจจะมีประเด็นอื่นๆ ที่เข้ามาเกี่ยวพัน กัน เพราะถ้าเรามองว่าประโยชน์หรือผลสําเร็จทางเศรษฐกิจ แม้ว่า โดยหลักอาจจะถือได้ว่าเป็นความสําเร็จของคนคนนั้นถ้ายังยอมรับ ระบบเศรษฐกิจแบบเสรี แต่เราต้องยอมรับว่าไม่มีใครในโลกนี้เกิดมา แล้วประสบความสําเร็จได้โดยลําพัง ความสําเร็จหรือความรํ่ารวยของ คนคนหนึ่งนั้นล้วนแล้วแต่เป็นผลมาจากการทํางานของคนอื่นๆ ใน สังคมเช่นเดียวกัน ซึ่งถ้ามองอย่างนี้ แนวความคิดและวิธีการแบ่งปัน ประโยชน์ทางเศรษฐกิจก็อาจจะเป็นไปในอีกลักษณะหนึง่ นีจ่ งึ นาํ มาสู่ ข้อเรียกร้องว่าด้วยความยุติธรรมในการแบ่งปันทางเศรษฐกิจ เท่าที่ได้กล่าวมาแล้วทั้งหมด เราอาจเชื่อมโยงแนวความคิด ว่าด้วยความยุติธรรมทางสังคมเข้ากับนิติรัฐได้ในแง่ที่ว่า นิติรัฐนั้น ย่อมจะต้องยอมรับความเสมอภาคในทางกฎหมาย ยอมรับให้พลเมือง มีเสรีภาพ ยอมรับการมีสว่ นร่วมทางการเมืองของพลเมือง สร้างระบบ กฎหมายที่ตอบสนองความเท่าเทียมกันในโอกาสทางสังคม และ พยายามสร้างความยุติธรรมในการแบ่งปันประโยชน์ทางเศรษฐกิจ การยอมรับความเสมอภาคในทางกฎหมาย ย่อมไม่ใช่แต่เพียง การกําหนดกฎหมายขึ้นใช้บังคับเป็นการทั่วไปเท่านั้น ในแง่ของการ บังคับใช้กฎหมายก็จะต้องกระทําโดยไม่คํานึงถึงหน้าของบุคคลด้วย การปฏิบัติต่อบุคคลโดยไม่เท่าเทียมกันในทางกฎหมาย โดยหลักแล้ว ย่อมเป็นไปไม่ได้ และหากจะมีข้อยกเว้นในเรื่องนี้ นอกจากจะต้อง อธิบายให้เหตุผลเป็นพิเศษแล้ว ก็จะต้องกําหนดข้อยกเว้นไว้เป็นการ ทั่วไปล่วงหน้าเช่นกัน - 354 60

.indd 354

3/3/2554 16:02:40


รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ |

การยอมให้พลเมืองมีเสรีภาพนัน้ นําไปสูข่ อ้ เรียกร้องเกีย่ วกับ การตรากฎหมายจํากัดเสรีภาพ ว่าการจํากัดเสรีภาพของพลเมืองย่อม ต้องถือว่าเป็นข้อยกเว้น แนวความคิดนี้นําไปสู่หลักการสําคัญในทาง กฎหมายมหาชนของนิติรัฐประการหนึ่ง คือองค์กรนิติบัญญัติจะตรา กฎหมายจํากัดสิทธิและเสรีภาพของพลเมืองได้ก็ต่อเมื่อรัฐธรรมนูญ เปิดโอกาสให้ทําเช่นนั้น และการทําเช่นนั้นก็จะต้องเป็นไปพอสมควร แก่เหตุ และหากองค์กรที่บังคับใช้กฎหมายจะกระทําการก้าวล่วง สิทธิเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้แล้ว ก็จะต้องมีฐานของกฎหมาย ลายลักษณ์อักษรที่ชอบธรรมรองรับด้วย มิฉะนั้น องค์กรที่บังคับใช้ กฎหมายจะใช้อํานาจก้าวล่วงสิทธิเสรีภาพของบุคคลไม่ได้ การยอมรับการมีสว่ นร่วมทางการเมืองของพลเมืองก็คอื การ ยอมรับความเท่าเทียมกันของบุคคลในการก่อตัง้ เจตจาํ นงทางมหาชน เกีย่ วกับเรือ่ งราวสาธารณะทีก่ ระทบต่อตน นิตริ ฐั จึงต้องออกแบบระบบ กฎหมายที่เกี่ยวพันกับสิทธิทางการเมืองให้สอดรับกับความยุติธรรม ทางการเมือง เช่น การกําหนดเรื่องความเท่าเทียมกันของจํานวน คะแนน ตลอดจนนํา้ หนักของคะแนน ในการออกเสียงเลือกตัง้ เป็นต้น การตัดสินใจทางการเมืองที่สําคัญย่อมต้องเป็นไปตามเสียงข้างมาก แต่จะไปทําลายแก่นของสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลไม่ได้ ความเท่ า เที ย มกั น ในโอกาสทางสั ง คม ย่ อ มเรี ย กร้ อ งให้ นิตริ ฐั ต้องเปิดโอกาสให้สมาชิกทุกคนของสังคมสามารถเข้าถึงตําแหน่ง หรือสถานะทางสังคมที่เป็นที่ต้องการของคนทั่วไปได้ ตามความรู้ ความสามารถของคนนัน้ ๆ การกําหนดสถานะของบุคคลในทางสังคม ซึ่ ง เชื่ อ มโยงกั บ การแบ่ ง ปั น อํ า นาจ อิ ท ธิ พ ล ตลอดจนรายได้ ที่ ไ ม่ เท่าเทียมกันนั้น ย่อมเป็นไปได้เฉพาะในกรณีที่จําเป็นต้องคุ้มครอง สิทธิของบุคคลหรือเพือ่ ให้การดําเนินงานร่วมกันในสังคมเป็นไปอย่าง มีประสิทธิภาพ อันจะยังประโยชน์ในระยะยาวให้แก่สมาชิกทั้งหมด ของสังคมเท่านั้น และกรณีนี้ต้องถือว่าเป็นข้อยกเว้น - 355 60

.indd 355

3/3/2554 16:02:40


| นิติรัฐกับความยุติธรรมทางสังคม

สําหรับการแบ่งปันประโยชน์และภาระในทางเศรษฐกิจนั้น แม้จะมีปัญหามากกว่ากรณีอื่นๆ แต่ก็อาจกล่าวได้ว่า อย่างน้อยที่สุด การแบ่งปันประโยชน์หรือโอกาสทางเศรษฐกิจอย่างไม่เท่าเทียมกัน (งาน รายได้ ทรัพย์สิน) ย่อมจะเป็นไปได้เฉพาะในกรณีที่สนับสนุน ให้เกิดการจัดโครงสร้างของการอยู่ร่วมกันในทางเศรษฐกิจอย่างมี ประสิทธิภาพ โดยในระยะยาว การกระทําการเช่นนั้นจะทําให้สมาชิก ของสังคมทุกคนได้รับประโยชน์ร่วมกัน ในแง่นี้ การแบ่งปันภาระ ทางสังคม เช่น การจัดเก็บภาษีเงินได้ในอัตราก้าวหน้า โดยหลักแล้ว ย่อมต้องถือว่าไม่ขัดกับหลักนิติรัฐ ทั้งนี้ภายใต้เงื่อนไขที่ว่ารัฐสามารถ จัดเก็บภาษีได้โดยต้องไม่ทําลายความสามารถในการดํารงชีวิตของ บุคคลนั้นในสังคม คือจะไปเก็บภาษีจนถึงขนาดที่กระทบกับปัจจัย ขั้นพื้นฐานในการดํารงชีวิตของบุคคลไม่ได้ และการจัดเก็บภาษีจาก ผู้ที่มีรายได้สูงนั้น ถึงที่สุดแล้วก็ย่อมต้องเป็นไปตามหลักแห่งความ พอสมควรแก่เหตุด้วย ซึ่งจะเป็นเท่าไรนั้น สามารถอภิปรายโต้แย้ง กันได้ 4. นิติรัฐกับปัญหาในสังคมไทย เท่าทีไ่ ด้กล่าวมาทัง้ หมด จะเห็นได้วา่ นิตริ ฐั ไม่ใช่รฐั ทีป่ กครอง ด้วยกฎหมายในทางรูปแบบเท่านัน้ แต่กฎหมายนัน้ ต้องอยูบ่ นพืน้ ฐาน ของความยุติธรรมด้วย หากนําเอาแนวความคิดดังกล่าวมาสํารวจ ตรวจสอบสังคมไทย จะพบว่าปัญหาของนิติรัฐและความยุติธรรมทาง สังคมในสังคมไทยมีอยู่ในหลายระดับ บางเรื่องก็เป็นปัญหาระดับ ของการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นปัญหาเรื่องความ - 356 60

.indd 356

3/3/2554 16:02:40


รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ |

เสมอภาคต่อหน้ากฎหมาย บางเรื่องเป็นปัญหาในระดับกฎเกณฑ์ ในทางกฎหมาย ซึ่งเป็นเรื่องของการออกแบบและกําหนดเนื้อหาของ กฎเกณฑ์ อาจจะเป็นกฎเกณฑ์ในทางรัฐธรรมนูญหรือในกฎหมาย ธรรมดา ส่วนบางเรื่องอาจเป็นปัญหาความเข้าใจพื้นฐานเรื่องความ ยุติธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งความยุติธรรมทางการเมือง ซึ่งในที่นี้จะ กล่าวถึงปัญหาบางเรื่องพอให้เห็นภาพเท่านั้น เรือ่ งการบังคับใช้กฎหมายในสังคมไทย เราคงเห็นปัญหาเรือ่ ง ความเสมอภาคในการบังคับใช้กฎหมายอยู่แล้ว ในสังคมที่มีอิทธิพล นอกกฎหมายหรืออํานาจนอกระบบดํารงอยู่ การบังคับใช้กฎหมาย อย่างเสมอภาคจะเป็นปัญหาอย่างยิง่ แต่ปญ ั หาทีน่ า่ สนใจยิง่ ไปกว่านัน้ โดยเฉพาะในประเทศไทยที่กฎเกณฑ์จํานวนหนึ่งเกิดขึ้นจากการทํา รัฐประหารหรือเป็นผลพวงของรัฐประหาร คือปัญหาทีว่ า่ ถ้ากฎเกณฑ์ นัน้ มีปญ ั หาในแง่ของความยุตธิ รรม คือกฎเกณฑ์ทเี่ ป็นกฎหมายในทาง รูปแบบขาดเสียซึ่งความยุติธรรมในทางเนื้อหา ระบบกฎหมายและ คนที่ใช้กฎหมายจะทําอย่างไร คําตอบก็คอื ในชัน้ ของการบังคับใช้กฎหมายนี้ ผูท้ ใี่ ช้กฎหมาย ต้องรู้ด้วยว่า โดยเหตุที่กฎหมายทั่วไปนั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานคุณค่า ว่าด้วยความยุตธิ รรมซึง่ เป็นคุณค่าในทางรัฐธรรมนูญ การใช้กฎหมาย ก็ต้องใช้ให้สอดคล้องกับคุณค่าดังกล่าว ถ้ากฎหมายไม่สอดคล้องกับ คุณค่าดังกล่าว การบังคับใช้กฎหมายนั้นก็จะกลายเป็นปัญหาในทาง รัฐธรรมนูญ ซึ่งในที่สุดแล้ว ตัวระบบก็จะต้องออกแบบให้มีองค์กร หนึ่งมาจัดการกับปัญหาในลักษณะเช่นนี้ เช่น ปัญหาเรื่องกฎเกณฑ์ ดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญ ในหลายประเทศก็ให้องค์กรตุลาการอย่าง ศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรวินิจฉัยชี้ขาด ในแง่นี้จะเห็นได้ว่าในสังคม ที่เป็นนิติรัฐ ศาลรัฐธรรมนูญจะเป็นศาลที่มีความสําคัญอย่างมาก มีอํานาจอย่างมหาศาล เพราะเป็นศาลที่รักษาไว้ซึ่งคุณค่าพื้นฐาน - 357 60

.indd 357

3/3/2554 16:02:40


| นิติรัฐกับความยุติธรรมทางสังคม

ในทางรัฐธรรมนูญ อันเป็นคุณค่าพื้นฐานของการอยู่ร่วมกันของคน ในสังคม ถ้าศาลรัฐธรรมนูญสามารถวินิจฉัยกฎหมายให้สอดคล้อง กับคุณค่าพื้นฐานในทางรัฐธรรมนูญได้ ก็จะขจัดความไม่ยุติธรรม ออกไปได้ในระดับหนึ่ง รัฐใดที่มีองค์กรชนิดนี้ที่ประสบความสําเร็จ ในการตีความรัฐธรรมนูญเชือ่ มโยงกับคุณค่าว่าด้วยความยุตธิ รรม และ ชัง่ นาํ้ หนักประโยชน์ของทุกฝ่ายอย่างเท่าเทียมกัน ก็จะไม่คอ่ ยมีปญ ั หา ความขัดแย้งในสังคมมากนัก หรือความขัดแย้งนั้นสามารถทําให้ยุติ ลงได้ในทางกฎหมาย แต่ถา้ สังคมใดก็ตามทีอ่ งค์กรทีบ่ งั คับใช้กฎหมาย ไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรสุดท้าย คือศาลรัฐธรรมนูญ ไม่สามารถใช้รัฐธรรมนูญให้สอดคล้องกับคุณค่า พื้นฐานว่าด้วยความยุติธรรมได้ สังคมก็จะมีปัญหาทันที ความรู้สึกว่า ไม่ยุติธรรมจะเกิดขึ้นกับคนที่ได้รับผลร้ายจากการใช้อํานาจดังกล่าว เช่น ปัญหาการยุบพรรคการเมือง ตลอดจนการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ของบุคคล นี่เป็นประเด็นข้อสังเกตเบื้องต้นประการแรก ปัญหาอีกประการหนึ่งที่เพิ่งเกิดขึ้น และเป็นประเด็นที่จะ ตั้งไว้เป็นข้อสังเกตประการที่สอง ก็คือเรื่องของการกําหนดความ ยุติธรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งดูเหมือนจะขัดแย้งกันอยู่ และเมื่อไม่นาน มานี้ก็มีประเด็นที่ศาลหยิบยกมาใช้เป็นเหตุในการออกคําสั่งคุ้มครอง ชัว่ คราวระหว่างพิจารณา คือกรณีทศี่ าลปกครองมีคาํ สัง่ ระงับโครงการ อุตสาหกรรมทีอ่ าจจะส่งผลกระทบต่อชุมชนในมาบตาพุดไว้ชวั่ คราว19 เมื่อพิจารณาจากรัฐธรรมนูญ จะเห็นได้ว่ารัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 84 กําหนดให้รัฐดําเนินนโยบายด้านเศรษฐกิจโดย “สนับสนุนระบบ คำ�สั่งกำ�หนดมาตรการหรื อวิ ธี ก ารคุ้ ม ครองเพื่ อบรรเทาทุ กข์ ชั่ว คราวหรื อ คำ � สั่ ง กำ�หนดมาตรการหรือวิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนการพิพากษาของศาลปกครองกลาง คดีหมายเลขดำ�ที่ 908/2552 ลงวันที่ 29 กันยายน 2552 19

- 358 60

.indd 358

3/3/2554 16:02:40


รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ |

เศรษฐกิจแบบเสรีและเป็นธรรมโดยอาศัยกลไกตลาด” บทบัญญัติ ดังกล่าวเป็นตัวบทที่คัดลอกมาจากรัฐธรรมนูญ 2540 แต่ปัญหาก็คือ รัฐธรรมนูญ 2550 ได้บัญญัติกฎเกณฑ์เกี่ยวกับแนวนโยบายทาง เศรษฐกิจขึ้นมาใหม่อีกมาตราหนึ่ง กฎเกณฑ์ดังกล่าวปรากฏอยู่ใน มาตรา 83 รัฐธรรมนูญมาตราดังกล่าวกําหนดให้ “รัฐต้องส่งเสริม และสนับสนุนให้มีการดําเนินการตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ปัญหาทีเ่ กิดขึน้ ตามมาคือ ความสอดคล้องในทางคุณค่าของบทบัญญัติ ในรัฐธรรมนูญทั้งสองมาตรานี้ เรื่องนี้ทําให้เกิดคําถามว่า ในที่สุดแล้ว คุณค่าพื้นฐานในทางรัฐธรรมนูญในเรื่องนี้คืออะไร ในคราวที่ศาลปกครองมีคํา สั่งคุ้มครองชั่วคราวระงับ การ ก่อสร้างโครงการที่มาบตาพุดเมื่อปลายเดือนกันยายน 2552 ประเด็น หนึ่ ง ที่ ศ าลปกครองนํ า มาพิ จ ารณาคื อ มาตรา 83 เรื่ อ งเศรษฐกิ จ พอเพียง โดยเมือ่ หน่วยงานของรัฐต่อสูว้ า่ การระงับการดําเนินกิจการ โครงการก่อสร้างและขยายโรงงานอุตสาหกรรมจะทาํ ให้เกิดผลกระทบ ทางเศรษฐกิจอย่างมากสําหรับผู้ที่ได้รับใบอนุญาตและลงทุนไปแล้ว ศาลปกครองได้นําเอาบทบัญญัติเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงขึ้นกล่าว อ้างว่า “ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับด้านเศรษฐกิจที่อาจจะเกิดขึ้น และอาจ เป็นอุปสรรคต่อการบริหารงานของรัฐ...นั้น สามารถป้องกันแก้ไข และบรรเทาให้ลดน้อยลงได้ด้วยการบริหารราชการแผ่นดินตามหลัก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และคํานึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติ ในภาพรวมเป็นสาํ คัญ ตามแนวนโยบายพืน้ ฐานแห่งรัฐและการบริหาร จัดการร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพระหว่างภาครัฐและเอกชน...” การ กล่าวอ้างดังกล่าวทําให้เกิดเป็นประเด็นขึ้นมา เพราะเป็นการนําเอา มาตรา 83 เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ขึ้นมาใช้ในการมีคําสั่งในกระบวน พิจารณาทางตุลาการเป็นครั้งแรก คําถามในเรื่องนี้คือ คุณค่าพื้นฐานเรื่องความยุติธรรมในทาง เศรษฐกิ จ อยู่ ที่ ไ หน อย่ า งไร อะไรคื อ ความหมายอั น แท้ จ ริ ง ของ - 359 60

.indd 359

3/3/2554 16:02:41


| นิติรัฐกับความยุติธรรมทางสังคม

เศรษฐกิจพอเพียง แล้วแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงดังกล่าวไปเชือ่ มโยง หรือสัมพันธ์กับเศรษฐกิจแบบเสรีและเป็นธรรมโดยอาศัยกลไกตลาด หรือไม่ แค่ไหน เพียงใด เพราะตามแนวทางเศรษฐกิจแบบเสรีนั้น ถ้ากลไกตลาดเป็นกลไกตลาดสมบูรณ์ การแข่งขันเป็นไปอย่างเสรี มีจํานวนผู้ที่เสนอสินค้าและบริการและจํานวนผู้ที่ต้องการสินค้าและ บริการมากพอ ก็จะเกิดการแข่งขันกัน และเกิดดุลยภาพในระบบ เศรษฐกิจโดยอัตโนมัติ หน้าที่ในทางกฎหมายก็มีแต่เพียงว่าทําให้ สิ่งนี้เกิดขึ้น ส่วนใดที่จะขัดขวางการแข่งขันอย่างเสรี รัฐจะต้องเข้ามา กําหนดกฎเกณฑ์ อย่างเช่นการกําหนดเรื่องของการครอบงําตลาด ซึง่ จะทาํ ให้กลุม่ ทุนกลุม่ หนึง่ ครอบงํากิจการบางอย่างได้ และอาจทําให้ เกิดความไม่ยุติธรรมทางเศรษฐกิจ หรือทําให้โอกาสในทางเศรษฐกิจ ไม่เท่าเทียมกัน แต่กรณีที่เกิดขึ้นตามแนวคําสั่งของศาลปกครอง ชั้นต้นในเรื่องนี้เป็นประเด็นที่ยังไม่สามารถหาคําอธิบายให้สอดรับ กันได้ จึงหยิบยกมาตั้งเป็นปัญหาไว้ ซึ่งวงวิชาการทางเศรษฐศาสตร์ อาจจะต้องตอบคําถามถึงความสัมพันธ์ของบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 83 และมาตรา 84 เรื่องนี้ถ้าไปดูเจตนารมณ์ในการร่าง รัฐธรรมนูญอาจจะไม่พบอะไรเป็นพิเศษ เพราะผู้ร่างรัฐธรรมนูญไม่ได้ มีคําอธิบายอะไรมากนัก อีกเรื่องหนึ่งที่เป็นปัญหาสําคัญมาก คือปัญหาว่าด้วยความ ยุตธิ รรมทางการเมือง ซึง่ อาจจะเป็นปัญหาพืน้ ฐานทีส่ ดุ ของสังคมไทย ในเวลานี้ และถ้าแก้ปัญหานี้ไม่ได้ก็จะไม่สามารถแก้ปัญหาอื่นได้เลย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสวัสดิการสังคมหรือเรื่องการแบ่งปันทรัพยากรอย่าง ไม่เท่าเทียมกันที่มีการพูดถึงกันมากในช่วงหลังนี้ ได้กล่าวมาแล้วในตอนต้นว่า ความยุติธรรมทางการเมือง คื อ การยอมให้ บุ ค คลเข้ า มามี ส่ ว นร่ ว มในการปกครองตามหลั ก ประชาธิปไตย ซึ่งเป็นการตัดสินใจโดยเสียงข้างมาก การปกครอง - 360 60

.indd 360

3/3/2554 16:02:41


รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ |

ตามหลั ก ประชาธิ ป ไตยซึ่ ง เป็ น การตั ด สิ น ใจโดยเสี ย งข้ า งมากนี้ เรียกร้องการแสดงความคิดเห็น การแสดงความคิดเห็น ตลอดจน การแสดงออกซึ่งความต้องการทางการเมือง เป็นคุณค่าพื้นฐานที่สุด หากขาดเสรีภาพตรงนี้เสียแล้ว กระบวนการทางประชาธิปไตยย่อม เป็นไปไม่ได้ ระบบกฎหมายจึงต้องส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการแสดง ความคิดเห็นให้มากที่สุด และมีข้อจํากัดให้น้อยที่สุด ถ้าย้อนไปในอดีต ประเด็นเหล่านี้เป็นประเด็นที่ไม่เคยได้รับ การตัง้ คาํ ถาม ในสังคมการเมืองทีโ่ ครงสร้างของสังคมตัง้ อยูบ่ นพืน้ ฐาน ของการใช้ความเชื่อบางอย่างเป็นตัวกําหนดรูปแบบการปกครอง ประเด็นเหล่านี้ย่อมไม่ได้รับอนุญาตให้มีได้ ยกตัวอย่างเช่น ในรัฐ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ซงึ่ พระมหากษัตริยม์ อี าํ นาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดใน การปกครอง คาํ อธิบายก็คอื พระมหากษัตริยเ์ ป็นแหล่งทีม่ าของความ ยุตธิ รรม ดังนัน้ ประเด็นความยุตธิ รรมทางการเมืองจึงเป็นประเด็นทีไ่ ม่ ต้องพูดถึง เพราะพระมหากษัตริย์เป็นที่มาของความยุติธรรมเสียเอง อยู่แล้ว การยกย่องพระมหากษัตริย์ในระบอบนั้นเชื่อมโยงกับความ เชื่อซึ่งปรากฏในหลายชนชาติของโลกว่าพระมหากษัตริย์มีฐานะเป็น เทพ หรือได้รับอาณัติในการปกครองจากสรวงสวรรค์ การตั้งคําถาม ถึงความชอบธรรมของการปกครองในแง่ของการเข้าไปมีส่วนร่วม ทางการเมืองเป็นสิง่ ทีเ่ ป็นไปไม่ได้ แต่ในสังคมสมัยใหม่ทยี่ อมรับเรือ่ ง ประชาธิปไตย ไม่สามารถใช้ความเชื่อดังกล่าวเป็นตัวกําหนด แล้ว ปิดกัน้ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นได้ เพราะถ้าปิดได้กเ็ ท่ากับว่า กระบวนการทางประชาธิปไตยเกิดขึ้นไม่ได้ ในที่ สุ ด เรื่ อ งความยุ ติ ธ รรมทางการเมื อ งก็ ย้ อ นกลั บ ไปสู่ หลักพื้นฐานที่ว่า การก่อตั้งเจตจํานงในเรื่องราวที่เกี่ยวกับประโยชน์ สาธารณะที่สําคัญๆ นั้นจะต้องยอมรับหลักเสียงข้างมาก โดยที่ฝ่าย เสียงข้างมากต้องเปิดโอกาสให้ฝา่ ยเสียงข้างน้อยได้แสดงความคิดเห็น - 361 60

.indd 361

3/3/2554 16:02:41


| นิติรัฐกับความยุติธรรมทางสังคม

คัดค้าน เพื่อที่จะเปลี่ยนเสียงข้างน้อยให้เป็นเสียงข้างมากได้ด้วย นอกจากนี้ ฝ่ า ยเสี ย งข้ า งมากก็ จ ะต้ อ งไม่ ไ ปทํ า ร้ า ยแก่ น แห่ ง สิ ท ธิ และเสรีภาพของฝ่ายเสียงข้างน้อย อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจทาง นโยบายต่างๆ ต้องมีจดุ ยุติ โดยอนุวตั หรืออนุโลมไปตามเสียงข้างมาก ฉะนัน้ การออกแบบระบบหรือกติกาต่างๆ ถ้าไม่คาํ นึงถึงตรงนี้ จะเป็น ปัญหาทั้งสิ้น เมื่อพิจารณาจากสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมไทยเวลานี้ จะเห็นว่าปัญหาสําคัญประการหนึ่งในระบอบประชาธิปไตยของเรา คือปัญหาเรื่องการยอมรับการตัดสินใจอันเป็นที่ยุติของฝ่ายเสียงข้าง มาก แน่นอนว่าฝ่ายเสียงข้างมากอาจจะไม่ถูกต้องก็ได้ ความถูกต้อง หรื อ ไม่ ถู ก ต้ อ งในทางเนื้ อ หาที่ เ ป็ น เรื่ อ งทางการเมื อ งนั้ น ยากที่ จ ะ วินจิ ฉัยให้แน่นอนลงไปได้ แต่ในสังคมประชาธิปไตย เมือ่ มีการตัดสินใจ แล้ว ทุกคนต้องเคารพการตัดสินใจนัน้ ประเด็นนัน้ ต้องยุตลิ ง แล้วค่อย ใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นเปิดประเด็นขึ้นมาอภิปรายกัน เพื่อเปลี่ยนฝ่ายเสียงข้างน้อยให้เป็นฝ่ายเสียงข้างมากในระบบ ถ้า ไม่เปลี่ยนฝ่ายเสียงข้างน้อยให้เป็นฝ่ายเสียงข้างมากในระบบ แต่ฝ่าย เสียงข้างน้อยกลับพยายามจะให้การตัดสินใจเป็นไปตามความต้องการ ของตน โดยให้มีอํานาจจากนอกระบบเข้ามาสนับสนุน ความยุติธรรม ทางการเมืองก็ไม่เกิด แล้วก็จะลามไปถึงเรือ่ งอืน่ ๆ ทัง้ หมด โดยเฉพาะ ปัญหาความชอบธรรมของการปกครอง เพราะในที่สุดแล้ว ประโยชน์ ต่างๆ ทีจ่ ะแบ่งปันกันก็ไม่เป็นประโยชน์ทไี่ ด้รบั การยอมรับหรือมีความ ชอบธรรมตามความเห็นของฝ่ายเสียงข้างมากนัน่ เอง นีค่ อื ปัญหาใหญ่ ของเรื่องนิติรัฐกับความยุติธรรมทางสังคมในสังคมไทย ถึงที่สุดแล้ว ปัญหาเรื่องความยุติธรรมทางการเมืองถือเป็น ปัญหาพื้นฐานของปัญหาทั้งปวงที่ดํารงอยู่ในสังคมไทยเวลานี้ เป็นที่ แน่นอนว่าหากความยุติธรรมทางการเมืองเกิดขึ้น ซึ่งหมายความว่า - 362 60

.indd 362

3/3/2554 16:02:41


รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ |

ประชาธิ ป ไตยในประเทศไทยเป็ น ประชาธิ ป ไตยโดยแท้ (ไม่ ใ ช่ ประชาธิปไตยแบบไทยๆ) ปัญหาต่างๆ คงจะไม่หมดไปโดยฉับพลัน ทันที แต่อย่างน้อยที่สุด สังคมจะมีพื้นฐานที่ดีในการแก้ปัญหาอื่นๆ ข้อที่จะต้องคํานึงก็คือ กระบวนการในการนํารัฐไปสู่ความยุติธรรมนั้น เป็นกระบวนการที่ไม่มีวันจบสิ้น รัฐที่ยุติธรรมจึงไม่ใช่รัฐสําเร็จรูป เรา อาจจะบอกได้ว่ารัฐนี้ไม่ยุติธรรม รัฐนี้เป็นรัฐที่ยุติธรรมมากกว่า และ รัฐนี้เป็นรัฐที่ยุติธรรมมากกว่าขึ้นไปอีก จากการพิเคราะห์กฎเกณฑ์ และการบังคับใช้กฎเกณฑ์ รัฐใดรัฐหนึ่งจะเป็นรัฐที่ยุติธรรมแค่ไหน เพียงใด คงต้องย้อน กลับไปพิจารณาประเด็นทีไ่ ด้กล่าวมาทัง้ หมด และพิเคราะห์วา่ ได้มกี าร ปฏิบัติตามหลักการที่ควรจะเป็นหรือไม่นั่นเอง

- 363 60

.indd 363

3/3/2554 16:02:41


| นิติรัฐกับความยุติธรรมทางสังคม

ประวัติปาฐก รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ จบการศึกษาระดับปริญญาตรี (เกียรตินิยม อันดับสอง) จากคณะนิตศิ าสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยได้รบั รางวัลเรียนดี ทุนภูมิพล ในฐานะบัณฑิตที่ได้คะแนนสูงสุดของคณะนิติศาสตร์ ประจำ�ปีการ ศึกษา 2533 และปริญญาโทและปริญญาเอกจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกิตทิงเงน เยอรมนี ด้วยคะแนนสูงสุดของทั้งสองระดับอีกเช่นกัน ปัจจุบัน รศ.ดร.วรเจตน์เป็นอาจารย์ประจำ�ภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นอกจากนี้ยังเป็นกรรมการในคณะ กรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร สาขาสังคม การบริหารราชการ แผ่นดิน และการบังคับใช้กฎหมาย นอกจากผลงานวิชาการอันโดดเด่น เช่น หลักการพืน้ ฐานของกฎหมาย ปกครองและการกระทำ�ทางปกครอง (2546) และ วิธพี จิ ารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ศึกษาเปรียบเทียบกรณีของศาลรัฐธรรมนูญต่างประเทศกับศาลรัฐธรรมนูญ ไทย (2546) รศ.ดร.วรเจตน์ยังมีบทบาทในการให้ความรู้ด้านกฎหมายมหาชน ต่อสาธารณะอย่างสม่ำ�เสมอ ผ่านการอภิปราย สัมมนา แถลงการณ์ รวมถึงบท สัมภาษณ์ ดังเช่นบทสัมภาษณ์ทไี่ ด้รวบรวมไว้ในหนังสือ จุดไฟในสายลม (2552) รศ.ดร.วรเจตน์เป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่ม “นิติราษฎร์” ซึ่งเป็นการ รวมตั ว กั น ของผู้ ป ระกอบอาชี พ สอนวิ ช ากฎหมาย โดยมี วั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อ “สถาปนาอุดมการณ์กฎหมาย-การเมืองนิติรัฐ-ประชาธิปไตย เพื่อให้ ‘อำ�นาจ สูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย’ และ ‘มนุษย์ทั้งปวงเกิดมามีอิสระ และเสมอภาคกันในศักดิ์ศรีและสิทธิ’”

- 364 60

.indd 364

3/3/2554 16:02:41


60

.indd 365

3/3/2554 16:02:41


ปาฐกถา 60 ปี เศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์

รายชื่อหนังสือในโครงการ “เศรษฐ’ธรรมศาสตร์ ตลาดวิชา” คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ สํานักพิมพ์ openbooks

1. ชุดเศรษฐ’ธรรมศาสตร์ คลาสสิก (ECON TU Classics Series) (1) 20 ปี ปาฐกถาพิเศษ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ (2550) หนังสือรวบรวม บทปาฐกถาพิเศษ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ครั้งที่ 1-10 (พ.ศ. 2530-2550) (2) 60 ปี เศรษฐกิจไทย 60 ปี เศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ (2551) หนังสือรวบรวมบทความวิชาการชิ้นสําคัญเรื่องเศรษฐกิจไทย โดย 14 อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เนื่องในวาระครบ รอบ 60 ปีของคณะ (3) “...เศรษฐศาสตร์จึงต้องเป็นเศรษฐศาสตร์การเมือง” (2552) หนังสือรวบรวมบทความเศรษฐศาสตร์การเมืองของ ทวี หมื่นนิกร (4) เศรษฐธรรม (2553) รวมบทปาฐกถากี ร ตยาจารย์ แ ห่ ง เศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ (5) ปาฐกถา 60 ปี เศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ (2554) 2. ชุดเศรษฐ’ธรรมศาสตร์ สัมมนา (ECON TU Seminar Series) (1) Crisis: วิกฤตเศรษฐกิจโลก วิกฤตเศรษฐกิจไทย (2552) (2) U.S. Crisis: วิกฤตเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา (2552) (3) วิพากษ์โลกเศรษฐศาสตร์ (2552) (4) Microfinance และการเงินชุมชน (2552) (5) บทเรียนจากวิกฤตซับไพรม์ (2553) - 366 60

.indd 366

3/3/2554 16:02:41


คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

3. ชุดเศรษฐ’ธรรมศาสตร์ วิชาการ (ECON TU Academics Series) (1) เศรษฐศาสตร์การเมืองและสถาบัน สํานักท่าพระจันทร์ (2552) (2) Macrotrends: ภูมิทัศน์เศรษฐกิจโลกใหม่และการปรับตัวของ ไทย (2552) (3) มองเศรษฐกิจ มุมเศรษฐศาสตร์ (2553)

- 367 60

.indd 367

3/3/2554 16:02:41


60

.indd 368

3/3/2554 16:02:41



Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.