ทอสีสัมพันธ์ ๕๖/๑

Page 1

ฉบับประจำปีการศึกษา ๒๕๕๖ ภาคเรียนที่

สานสั ม พั น ธ์ ช าวทอสี ส่ ง ต่ อ ความดี สู่ สั ง คม

เพราะเด็ดดอกไม้นั้น สะเทือนถึงดวงดาว


บทบรรณาธิการ ‘เด็กกิจกรรม’ คำนี้ครูหยกคุ้นหูแต่ไม่คุ้นชินเลยเมื่อสมัยเรียน

อยู่ธรรมศาสตร์ ด้วยตัวเองเป็นคนในลักษณะที่หลายๆ คนเรียกว่า

‘เด็กเรียน’ วิถีชีวิตในช่วงวัยมหาวิทยาลัยจึงไม่ค่อยพ้นไปจากการ

เข้าเรียนในห้องเรียน จะทำกิจกรรมก็เฉพาะเมื่ออาจารย์ขอให้ช่วย

บ้างเป็นกรณีๆ... พูดง่ายๆ ว่า ทำกิจกรรมเพราะรักอาจารย์มากกว่า

รักกิจกรรมเสียอีก รูปแบบการเรียนรู้และการใช้ชีวิตสมัยโน้น (นานมาแล้ว) กับวิธี

คิดในการใช้เวลาและใช้ชีวิตหลังจากเรียนจบจนถึงทุกวันนี้ เปรียบ

เทียบกันแล้วต่างกันลิบลับ เดี๋ยวนี้วิถีชีวิตของครูหยกเกี่ยวพันกับ

กิจกรรมมากมาย ทั้งกิจกรรมในโรงเรียน นอกโรงเรียน ในเวลางาน

นอกเวลางาน แม้จะมีเวลาว่างน้อยเต็มที แต่เมื่อจัดสรรเวลาได้

ก็จะไปทำกิจกรรมที่โน่นที่นี่อยู่เสมอ สิ่งที่ทำให้เราทำแบบนี้ได้ไม่ใช่

คำขอร้องจากใครๆ แต่เป็นเพราะสิ่งที่เราให้และเห็นคุณค่ามัน

แตกต่างไปจากเมื่อก่อน จากความภูมิใจบนแผ่นกระดาษกลายเป็น

ความภูมิใจในตัวเอง จากผลของการสอบเปลี่ยนเป็นผลและคุณค่า

ของการเรียนรู้ กรอบการเรียนรู้ที่คับแคบถูกพิสูจน์และทลายลง

หลังจากเรียนจบ... ได้รู้ว่า เอ้า! จริงๆ แล้วเรายังเรียนไม่จบนี่ ยังมี

อะไรให้เราเรียนรู้ได้ทั้งชีวิต อีกสิ่งหนึ่งที่กิจกรรมให้คนเราได้คือ ‘มิตรภาพ’ ช่วงหลังๆ มานี้

คำว่า ‘จิตอาสา’ กลายเป็นคำคุ้นเคยของคนไทย กิจกรรมเชิงสังคม

ต่างๆ เกิดขึ้น เดินหน้า และลุล่วงได้ ก็ด้วยพลังจากอาสาสมัคร

ในสังคมเล็กๆ อย่างทอสีเอง ครูหยกได้เห็นจิตสาธารณะและพลัง

แห่งศรัทธาอยูบ่ อ่ ยครัง้ ... เห็นทีมทอสีรกั ษ์โลกจัดการขยะกันด้วยจิตใจ

ที่สะอาดกว่ามือไม้... เห็นทีมนักเขียนจุลสารใกล้ตัวทั้งสองเล่ม คือ

‘ทอสีสัมพันธ์’ และ ‘เพาะครู’ มีฉันทะ มีเรี่ยวแรง มีความมุ่งมั่น...

เห็นพลังจากชาวทอสีที่ทุ่มเทให้งาน ‘ช้อปกำลังสาม’ งานครบรอบ

๑ ปีของร้านกุศลกำลังสาม ได้เห็นกลุ่มผู้ปกครองมาช่วยเหลือใน

ทุกขั้นตอน ตั้งแต่บริจาคสิ่งของ ตั้งราคา จัดร้าน ช่วยเรียกลูกค้า

ขายสินค้า ช่วยเก็บงาน และช่วยจัดการแยกขยะในงาน! น้ำใจ มิตรภาพ ความเป็นกัลยาณมิตร มาพร้อมๆ กับ ‘การ

เรียนรู้’ เป็นการเรียนรู้ในชีวิตจริง-ของจริง ถ้าถามว่านี่เป็นสังคม

อย่างที่ฝันไว้หรือเปล่า? ตอบได้เลยว่าใช่แน่ๆ แต่ที่น่าตื่นเต้นกว่า

ที่ฝันไว้ก็คือ ที่เล่ามาทั้งหมดนี้เป็น ‘ความจริงตรงหน้า’ ไม่ได้ฝันไป

แม้แต่น้อย ด้ ว ยความขอบคุ ณ ทุ ก กิ จ กรรมที่ มี ค่ า กั บ ชี วิ ต และขอส่ ง คำ

ขอบคุณจากคนตัวเล็กๆ ถึงทุก ‘จิต’ ที่อาสามาร่วมทำสิ่งดีงาม

จนเกิดเป็น ‘มิตรภาพ’ เช่นนี้ ครูหยก - วรรณวนัช บูรพาเดชะ

สารบัญ สารจากครูใหญ่ ภาษาภาพ เด่นในรั้วทอสี คำถามนี้... ช่วยกันตอบ อยู่อย่างทอสี หน้านิทาน... อ่านด้วยกัน ชวนคุย โยคะฝึกกายสบายจิต อ่านแล้วชื่นใจ ห้องเรียนพ่อแม่ เด็กทุกคนคือศิลปิน เรื่องเล่าจาก ‘ปัญญาประทีป’ เปิดหูเปิดตา รอบรั้ว อ่ านย้อนหลังทอสีสัมพันธ์ฉบับ Flip Book ได้ ที่ issuu.com/tssp

๔ ๕ ๖ ๑๒ ๑๔ ๒๐ ๒๑ ๒๗ ๒๘ ๓๐ ๓๒ ๓๔ ๓๖ ๓๘

คณะทำงาน

ทีป่ รึกษา ครูออ้ น - บุบผาสวัสดิ์ รัชชตาตะนันท์, ครูแหม่ม อาภาภัทร ไชยประสิทธิ์ บรรณาธิการ ครูหยก - วรรณวนัช บูรพาเดชะ กองบรรณาธิการ ครูปู - ณัฐนันท์ เทียนทอง, ครูนีโม่ - อุษณีย์ ปุณโณปกรณ์, แม่สาว - วรวสี ก้องสมุทร, แม่รุ่ง - รุ่งนภา ธนะภูมิ, แม่นุ้ย - พสุนธรา เทพปัญญา, แม่จูน - จูน ไกรฤกษ์, แม่ก้อย - อภิวัน เดชากรณ์, แม่ก้อย - มนทิรา อู่อุดมยิ่ง พิสูจน์อักษร พี่ถุงเปิ้ล - เบญจวรรณ แก้วสว่าง ศิลปกรรม พี่ก๊อง - กีรติ เงินมี ภาพประกอบปก น้องอ็อตโต้ - ด.ช. ศิริน ศิลาอ่อน อ.๓ ดำเนินการพิมพ์ บริษัท คิว พริ้นท์ แมแนจเม้นท์ จำกัด โทรศัพท์: ๐ ๒๘๐๐ ๒๒๙๒ โทรสาร: ๐ ๒๘๐๐ ๓๖๔๙

จัดทำโดย

โรงเรียนทอสี

๑๐๒๓/๔ ๖ ซอยปรี ด ี พ นมยงค์ ๔๑ ถนนสุ ข ุ ม วิ ท ๗๑ คลองตันเหนือ วัฒนา กรุงเทพฯ ๑๐๑๑๐ โทรศัพท์: ๐ ๒๗๑๓ ๐๒๖๐-๑ โทรสาร: ๐ ๒๓๙๑ ๗๔๓๓ อีเมล: info@thawsischool.com เว็บไซต์: www.thawsischool.com


HIGHLIGHT

<๖

วิทย์-คณิต Kids กู้โลก

๑๔> เด็ดดอกไม้ สะเทือน ถึงดวงดาว

๓๐

<๒๑

จิตอาสาร่วมรักษ์โลก

๓๒

รู้จักลูกของเราดีพอหรือยัง?

<๓๖ ‘จากพ่อถึงลูก’

พุทธปัญญากับการเลี้ยงลูก


* ภาพประกอบถ่ายไว้เมื่อครั้งโรงเรียนทอสีจัดพิธีถวายพระพรสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต ิ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อวันศุกร์ที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๕๖ ครูอ้อนกราบเท้าคุณแม่ คือ

คุณยายทอสี สวัสดิ์-ชูโต และประคองท่านให้เดินลงจากระเบียงบุญด้วยความเคารพรัก

วั น แม่ ใ กล้ จ ะมาถึง แต่กว่าวารสารทอสี

สัมพันธ์จะถึงมือผู้ปกครองก็คงเลยวันแม่ไปแล้ว

แต่เราชาวทอสีถือว่า วันแม่และวันพ่อ คือทุกวัน

ไม่ ใ ช่ ร ะลึ ก ถึ ง พระคุ ณ พ่ อ แม่ เ ฉพาะวั น ที่ ๑๒

สิงหาคม หรือ ๕ ธันวาคม หรือวันเกิดพ่อแม่

เท่านั้น พระคุณท่านมีมากมายมหาศาล หาที่สุด

ไม่ได้ โรงเรียนจึงพยายามฝึกให้ลูกได้ระลึกถึง

พระคุณพ่อแม่ทุกวัน ไม่ใช่แค่รู้ในใจแต่ฝึกด้วย

การได้ แ สดงออก เช่ น การกราบเท้ า ได้ ใ ห้

บริ ก ารหลายอย่ า งแก่ พ่ อ แม่ แ ละผู้ มี พ ระคุ ณ

จนเป็นพฤติกรรมคุ้นเคยที่ดีงาม เป็นปกติของ

ชีวิต เพราะเราเชื่อว่า พ่อแม่ไม่ได้มีหน้าที่เป็น

ผู้ให้ ผู้บริการลูกฝ่ายเดียว พ่อแม่มีหน้าที่เป็น

ผู้รับบริการเช่นเดียวกัน ลูกไม่ได้มีหน้าที่เรียน

หนังสือให้ดีที่สุดแต่เพียงอย่างเดียว หรือแค่ดูแล

รับผิดชอบตัวเองพ่อแม่ก็พอใจแล้ว พ่อแม่ต้อง

เชื่อว่า ถึงแม้เขาจะตัวเล็ก แต่เขาก็สามารถเป็น

ผู้ให้และผู้บริการได้ สามารถสร้างประโยชน์และ

ความสุขแก่ครอบครัวได้ตามศักยภาพ เพียงแต่

พ่อแม่ต้องจัดสรรวิถีชีวิตให้เขาได้มีโอกาสเป็น

ผู้ให้ผู้บริการทุกวันจนเป็นปกติของชีวิต พ่อแม่หลายครอบครัวมักจะตกหลุมพราง

ความรัก ความสงสาร ความห่วงใย จนลูกไม่มี

โอกาสได้เผชิญปัญหาอุปสรรคในชีวิตเลย ทำให้

เขาอ่อนแอ เป็นคนที่ทุกข์ง่าย สุขยาก เป็นหน้าที่

ของเราทุกคนที่จะต้องช่วยกัน ฝึกลูกๆ ของเรา

ให้ได้เผชิญปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ด้วยตัวเอง

โดยพ่อแม่อยู่เคียงข้าง คอยพาคิดพาทำเพื่อให้

เขาได้เข้าใจโลกตามความเป็นจริงมากยิ่งขึ้น ครู อ้ อ นเชื่ อ ว่ า หากเราฝึ ก ลู ก ของเราให้

ระลึกคุณของพ่อแม่และสรรพสิ่งทั้งหลายอยู่เป็น

ประจำ ฝึกการเป็นผู้ให้ และฝึกเผชิญปัญหา

และอุปสรรคต่างๆ อย่างมีสติปัญญา เขาจะ

กลายเป็นผู้ที่เข้มแข็ง เป็นนักสู้ชีวิต พร้อมเผชิญ

โลกที่เต็มไปด้วยอุปสรรคต่างๆ ในภายภาคหน้า

อันใกล้และไกลต่อไปได้อย่างไม่ย่อท้อ ครูอ้อน - บุบผาสวัสดิ์ รัชชตาตะนันท์


ภาษาภาพ

ภาพ: ครู หยก-วรรณวนัช บูรพาเดชะ

Never get tired of doing little things for others. Sometimes, those little things occupy the biggest part of their hearts.

~ Anonymous

“อย่ า เบื่ อ หน่ า ยกั บ การทำสิ่ ง เล็ ก ๆ เพื่ อ คนอื่ น เพราะบางครั้ ง สิ่ ง เล็ ก ๆ นั้ น

อาจกลายเป็นสิ่งยิ่งใหญ่ในหัวใจของคนเหล่านั้น”

~ นิรนาม


เด่นในรั้วทอสี

สัปดาห์

วิทย์-คณิตเพื่อชีวิต เรื่อง: ครูหยก - วรรณวนัช บูรพาเดชะ


เพื่อให้สอดรับกับสัปดาห์ ‘วิทย์-คณิตเพื่อชีวิต’ ครูกลุ่มวิชาสาระ

วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ จึงได้จัดกิจกรรม ‘วิทย์-คณิต Kids กู้โลก’

ขึ้นในธีม ‘ขบวนการทอสีเรนเจอร์’ ในช่วงวันที่ ๑๕-๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๖ โดยในบ่ายวันพฤหัสบดีที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๖ ในคาบเรียนพึง่ ตัวพึง่ ตน

ได้มีการนำร่องโครงการนี้กับเด็กๆ ประถมฯ เริ่มต้นด้วยการเล่าประวัติ

ความเป็นมาของวันวิทยาศาสตร์ พูดคุยเกี่ยวกับพระบิดาวิทยาศาสตร์

ชมคลิปวิดีโอที่น่าสนใจ และเปิดโอกาสให้เด็กๆ ขึ้นมาทำการทดลองทาง

วิทยาศาสตร์บนเวที... มีทั้งการทดลองต่อวงจรกับน้ำเปล่าให้เกิดเป็น

พลังงานเสียง-แสง-ตัวเลขดิจิทัล และการทดสอบสบู่ที่มีส่วนผสมของ

ไขมันพืชและไขมันสัตว์ เพื่อหาคำตอบว่าสบู่ชนิดใดเหมาะจะใช้ในชีวิต

ประจำวันมากกว่ากัน จนกระทัง่ ถึงกิจกรรมทายวันเกิดจากสูตรคณิตศาสตร์

ที่พี่ๆ ป.๖ นำเสนอในรูปแบบ Math Show เล่นเอาน้องๆ ถูกใจกัน

ยกใหญ่ เพราะพี่ ป.๖ สามารถทายวันเกิดได้ถูกต้องด้วยการถามคำถาม

ไม่กี่คำถาม! ส่วนในวันศุกร์ที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๖ เด็กๆ ประถมฯ ได้เรียนรู้

ในฐานกิจกรรมวิทย์-คณิตเต็มวันกันที่โรงเรียน กิจกรรมถูกแบ่งออกเป็น

๑๗ ฐาน เด็กๆ ต่างแต่งตัวกันมาในธีม ‘กู้โลก’ พกถุงผ้าใส่ข้าวของ

ที่จำเป็น และถือสมุด Passport สำหรับบันทึกกิจกรรม เดินผลัดเปลี่ยน

หมุนเวียนเข้าฐานกันอย่างคึกคักสนุกสนาน การเรียนรู้วิทยาศาสตร์และ

คณิตศาสตร์แบบบูรณาการเต็มรูปแบบครั้งนี้ ทำให้เด็กๆ เกิดความใฝ่รู้

และสนอกสนใจที่จะเรียนรู้ต่อยอดเพิ่มขึ้นอีกโข ขอสาธุและปรบมือดังๆ

ให้คณะครูและผู้ปกครองทุกท่านที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการเตรียมงานนี้ค่ะ!

้ำหนัก

ทอสีก็อตทาเลนต์ คัดแยกทรัพยากร ชั่งหาน จบ ตอน อง จำล ง ้ ปปิ อ ้ ารช คำนวณหามูลค่า ทำก ยนะ! มีการประเมินกดไลค์โดยคณะกรรมการด้ว


พลังงานทดแทน รู้จักพลังงานสะอาดอย่างพลังงาน จากแสงอาทิตย์ จากลม

พิษจากควันบุหรี่ ทดลองให้รู้ถึง ควันบุหรี่อย่างคนฉลาด ไม่ต้องสูความน่ากลัวของ จำลองทดสอบสูบบุหรี่แทน บเอง แต่ใช้ปอด

แพสติ เรียนรู้เรื่องความหนาแน่นของวัตถุ การลอย- การจม พร้อมๆ กับเรียนรู้เรื่องการทรงตัวและการ เคลื่อนที่โดยใช้รอกเป็นอุปกรณ์ทุ่นแรง

ยากันยุงสมุนไพร เป็นประโยชน์กับชีวิต และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

น้ำหมักจุลินทรีย์ เรียนรู้ประโยชน์และทำน้ำหมัก

จุลินทรีย์กู้โลก

ลูกบอลเด้งดึ๋ง รู้จักสารบอแรกซ์ผ่านกิจกรรม ปั้นกาวน้ำ ปั้นเสร็จแล้วเด้งได้ด้วย!

ห้องสมุด หยิบหนังสือที่ชอบตาม หมวดหมู่ที่ใช่ แล้วตอบคำถาม บนที่คั่นหนังสือที่ตกแต่งเอง

ผักลอยฟ้า พัฒนาจิต เพาะเมล็ดต้นอ่อน ทานตะวันปลอดสารเคมีใส่ภาชนะแฮนด์เมด

ของเด็กๆ แต่ละคน


๑๐

น้ำอัญชัน เรียนรู้เรื่องกรด-เบสผ่านน้ำอัญชัน

และสารละลายต่างๆ ในชีวิตประจำวัน

๑๒

ลวดฝึกสติ เดินห่วงวงจรเล็กๆ ไปตามสายเส้นลวด บางๆ ใจนิ่งวิ่งฉิ่ว

๑๔

วุน้ หยก Jade Agar Ranger สาระภาษาอังกฤษมา ร่วมแจม ให้เด็กๆ ได้เรียนรูค้ ำศัพท์ Liquid-Solid-

การนับจำนวน และศึกษาวิทยาศาสตร์จากเรือ่ งวุน้ ๆ

๑๖

สารพัดจัด จัดข้าวของเครื่องใช้ ใส่ใจกับรายละเอียด

ฝึกคิดวิธีการหลายๆ แบบ

๑๑

พลังงานไฟฟ้า รู้จักการเดินทางของกระแสไฟ ชนิด

ของวงจร และการใช้ไฟฟ้าให้เกิดประโยชน์ ในฐานนี ้

มีวงจรไฟฟ้าของชิงช้าสวรรค์จำลองให้เรียนรู้ด้วย

๑๓

สบู่ผงถ่าน ทำสบู่ใช้เองพร้อมๆ กับเรียนรู ้

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ไปด้วย

๑๕

เหรียญหรรษา แบ่งทีมแข่งขันกันหยิบชุดของเหรียญ ตามโจทย์ อาทิ ต้องการเงิน ๕ บาท หยิบชุดเหรียญ อย่างไรให้ใช้เหรียญมากที่สุด

๑๗

ไอศกรีมแท่ง เกลือมาจากไหน ช่วยในการทำ ไอศกรีมได้อย่างไร ที่สำคัญเย็นชื่นใจด้วย!


สัปดาห์

อาสาฬหบูชา เรื่อง: ครูปู - ณัฐนันท์ เทียนทอง

ในช่วงวันที่ ๙-๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๖ โรงเรียนทอสีมกี ารจัดสัปดาห์อาสาฬหบูชา

เตรียมการถวายเทียนจำนำพรรษาเช่นเดียวกับทุกๆ ปี ครูยง้ -พีรพัฒน์ ตติยบุญสูง

จัดเตรียมแท่นหล่อเทียนพรรษาภายในโรงเรียน เพื่อให้ชาวชุมชนทอสีได้มีโอกาส

หล่อเทียนร่วมกัน เด็กๆ ได้เรียนรู้ถึงความสำคัญของประเพณีหล่อเทียนจำนำ

พรรษาที่มีมาช้านาน และจะได้ช่วยกันสืบสานประเพณีของชาวพุทธให้คงไว้สืบไป ในปีนี้นักเรียนชั้น ป.๔ รับเป็นแม่งานในการหล่อเทียน โดยเมื่อวันอังคารที่ ๙

และวันพุธที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๖ นักเรียนชั้น ป.๔ ได้วางแผนและเตรียมการ

จัดพิธีหล่อเทียน ให้ได้เรียนรู้เรื่องความเป็นมาของวันเข้าพรรษาและวันอาสาฬห-

บูชา ที่มาของเทียน และขั้นตอนในการหล่อเทียนจากครูย้ง มีการจัดตารางแบ่ง

ช่วงเวลาให้เด็กๆ แต่ละชั้นมาร่วมหล่อเทียนพรรษา ตั้งแต่นักเรียนชั้นเด็กเล็ก

จนถึงนักเรียนชั้น ป.๖


โดยเฉพาะนักเรียนชัน้ เด็กเล็กและอนุบาล เด็กๆ ได้เรียนรูแ้ ละได้สมั ผัสของจริง

เป็นพิเศษ ครูย้งอธิบายความเป็นมาของเทียนผ่านการเล่านิทานให้เข้าใจได้ง่าย

มีการตั้งคำถามเล็กๆ น้อยๆ ให้เด็กๆ ตอบและให้ได้สัมผัสเทียนของจริง

โดยการแจกเทียนสำเร็จรูปให้เห็นว่าเมื่อเทียนที่เด็กๆ ช่วยกันหล่อแห้ง และครูย้ง

แกะเทียนออกมาจากแท่นหล่อแล้วจะเป็นอย่างไร พอได้จบั ของจริงแล้ว ตามประสา

เด็กๆ มักจะเกิดความสงสัย บางคนดมกลิ่น บางคนสังเกตรูปทรง บางคนสังเกต

เรื่องสี จนเกิดคำถามมากมาย เล่นเอาทั้งครูประจำชั้นและครูย้งต้องช่วยตอบ

คำถามคลายความสงสัยของเด็กๆ กันแทบไม่หวาดไม่ไหว นอกจากจะได้ความรู้

แล้วเด็กๆ ยังดูสนุกสนานกันพอสมควรทีเดียว หลังจากเสร็จสิ้นขั้นตอนของการหล่อเทียนและนำเทียนออกมาจากแท่นพิมพ์

แล้ว นักเรียนชั้น ป.๖ ได้รับหน้าที่ตกแต่งแกะสลักเทียนก่อนนำถวายในพิธีถวาย

เทียนจำนำพรรษาในเช้าวันจันทร์ที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๖ โดยมี ครูเก่ง-นภดล

จิตร์เกิด เป็นผู้สอนและให้ความรู้ในการแกะสลักเทียนแก่พี่ ป.๖ ในช่วงสัปดาห์อาสาฬหบูชานี้ ชาวประถมฯ ทอสีได้จัดแบ่งหน้าที่และทำงาน

ร่วมกัน อาทิ ระดับชั้น ป.๑ ช่วยพับจัดดอกบัวและเตรียมของใส่บาตร ระดับชั้น

ป.๒ ช่วยจัดบอร์ดความรู้เกี่ยวกับวันอาสาฬหบูชาและเข้าพรรษา ระดับชั้น ป.๓

หยิ บ เอา ๑ ในคุ ณ ธรรม ๑๒ ประการ คื อ ‘สำรวมระวั ง อิ น ทรี ย์ ’ มาจั ด

บรรยากาศในโรงเรียน ให้เพื่อนๆ นักเรียนได้ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับความหมาย

ของการสำรวมระวังอินทรีย์ ในช่วงเข้าพรรษาปีนี้ เด็กๆ นักเรียนได้ฝกึ ปวารณาตน

ตั้งอกตั้งใจพัฒนาตนเอง โดยแต่ละชั้นเรียนก็มีวิธีการปวารณาที่อิสระหลากหลาย สำหรับคณะครูเองก็ได้มีการปวารณาตนด้วยเช่นกัน โดยมีครูอ้อนเป็นผู้นำ

การปวารณาในช่วงกิจกรรม ‘ทำไมธรรมะ’ ในวันพฤหัสบดีที่ ๑๘ กรกฎาคม

๒๕๕๖ ถือเป็นการประกาศตนให้ผู้อื่นตักเตือนได้ เป็นการเปิดโอกาสให้เพื่อนครู

ท่ า นอื่ น ๆ แสดงความเมตตาและความหวั ง ดี โ ดยการตั ก เตื อ นเมื่ อ ตนทำตั ว

ไม่เหมาะสม เป็นวิถีปฏิบัติที่ชาวทอสีรับมาจากวิถีปฏิบัติของคณะสงฆ์นั่นเอง


คำถามนี้...ช่วยกันตอบ

เรื่อง: แม่ก้อย - อภิวัน เดชากรณ์ (คุณแม่ของน้องซัน ป.๓ และน้องเซ้นส์ อ.๓), แม่ก้อย - มนทิรา อู่อุดมยิ่ง (คุณแม่ของน้องพุด ป.๓ และน้องเพียร อ.๓)

ความสุ ขที่เงินซื้อไม่ได้มีอะไรบ้าง?

ในยุคนี้ บางคนมีความเชื่อว่า ยิ่งมีเงินมากเท่าไร ก็ยิ่งมีความสุขมากเท่านั้น คนเป็นพ่อแม่จึงเลือกที่จะใช้

เวลาไปหาเงิน มากกว่าจะใช้เวลากับลูก แต่ความเชื่อนี้ เป็นความจริงหรือเปล่า เราลองมาฟังความคิดเห็นของ เด็กๆ ดูนะคะ ว่าพวกเขาคิดว่าความสุขที่เงินซื้อไม่ได้

มีอะไรบ้าง

“อยู่กับคนที่เรารัก ขี่จักรยานเล่น

อยู่ที่บ้านคุยกันที่โต๊ะอาหาร” น้องบัว - ด.ญ. ธาวินี หุ่นอารักษ์ ป.๕

“หนูมีความสุขเวลาได้อยู่ในครอบครัว เช่น

เล่นไพ่ เล่นซ่อนแอบ เกมเศรษฐี ส่วนใหญ่

จะเล่นกับญาติเพราะพ่อแม่ไม่อยู่”

น้องน่านน้ำ - ด.ญ. นับทอง หาญวรโยธิน ป.๕

“อยู่กับพ่อแม่ ทำอะไรด้วยกัน

เช่น ดูทีวี วาดรูป”

“อยู่กับคนที่เรารัก อยู่กับครอบครัว อยู่บ้าน”

น้องไอซ์ - ด.ญ. ชญานุตม์ เสาวรส ป.๕

น้องจูเนียร์ - ด.ญ. เพ็ญพิมพ์บุญ บุญทวีกิจ ป.๕

“เป็นคนดี ไม่ดอื้ เชือ่ ฟังคุณพ่อคุณแม่

เพราะว่าคุณพ่อคุณแม่ก็จะสบายใจ

เราก็จะมีความสุข” น้องซัทจัง - ด.ญ. สวิชญา ขจรรุ่งศิลป์ ป.๔

“อยู่อย่างพอเพียง อยู่กับสิ่งที่มีใน

ชีวิตประจำวัน มีความสุขกับสิ่งที่มี

ไม่ฟุ่มเฟือย” ข้าวเจ้า - ด.ญ. ปัณปารัช ฉันทดิลก ป.๔

๑๒


“มีความสุขได้โดยการพาครอบครัวไปบำเพ็ญ

ประโยชน์ที่สวนหลวง ช่วยเก็บขยะ ได้ความ

สุขจากใจ และคนอื่นก็จะมีความสุข” น้องพิม - ด.ญ. พิม มหัทธนกุล ป.๕

มุมมองเรื่องความสุขกับความ ต้องการในมิติของจิตวิทยา อับราฮัม มาสโลว์ (Abraham Maslow)

ศาสตราจารย์ทางด้านจิตวิทยาที่มหาวิทยาลัย

แบรนดิส ผู้คิดค้นทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ

ศึกษา และพบว่าคนเราต้องการความสุขเป็น

ลำดับขั้นจากขั้นพื้นฐานไปจนถึงขั้นสูง ได้แก่ • ความต้องการทางด้านร่างกาย มีปัจจัย

ในการดำรงชีวิต (Physiological needs) • ความต้องการความปลอดภัย (Safety

needs) • ความต้องการความรักและความเป็น

เจ้าของ (Belongingness and love needs) • ความต้องการได้รับความนับถือยกย่อง

และความนับถือตนเอง (Esteem needs) • ความต้องการทีจ่ ะเข้าใจประจักษ์ตนเอง

อย่างแท้จริง เป็นความต้องการเพื่อตระหนักรู้

ความสามารถของตน ประพฤติปฏิบัติตนตาม

ความสามารถ และสุดความสามารถ โดยเพ่ง

เล็งประโยชน์ของคนอื่นและของสังคมส่วนรวม

เป็นสำคัญ (Self-actualization needs) ที่มา: เรียบเรียงจากคำบอกเล่าของ แม่ปลา - พญ. เพียงทิพย์ พรหมพันธุ์ (แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชเด็กและวัยรุ่น)

มุมมองเรื่องความสุขการเสพวัตถุ ในมิติของพระพุทธศาสนา ความฟุ้งเฟ้อลุ่มหลงในวัตถุนั้น มีพื้นฐาน

มาจากความคิ ด ว่ า ความสุ ข อยู่ ที่ วั ต ถุ ดั ง นั้ น

ยิ่งเสพยิ่งมีวัตถุมากเท่าไร ก็ยิ่งมีความสุขมาก

เท่านั้น แต่เมื่อได้มาก็สุขเพียงชั่วคราว จึงต้อง

แสวงหามาอีก เพื่อจะได้มีความสุขต่อเนื่อง... ปั ญ หาที่ เ กิ ด ขึ้ น ในเวลานี้ ก็ คื อ พ่ อ แม่

ไม่สามารถเป็นแบบอย่างให้แก่ลูกได้ในเรื่องนี้

อี ก ทั้ ง ไม่ มี เ วลาที่ จ ะให้ แ ก่ ลู ก จึ ง มั ก ลงเอย

ด้วยการให้วัตถุแก่ลูกเป็นการชดเชย รวมทั้งการเลี้ยงดูลูกให้สุขสบาย เพราะไม่

อยากเห็นลูกลำบาก ดังนั้น หากไม่อยากให้ลูก

เป็นคนฟุ้งเฟ้อ พ่อแม่ควรปรนเปรอลูกด้วยวัตถุ

ให้ น้ อ ยลง ขณะเดี ย วกั น ควรมี เ วลาชวนลู ก

ทำกิ จ กรรมต่ า งๆ เพื่ อ ให้ เ รี ย นรู้ ว่ า ความสุ ข

ก็ ส ามารถเกิ ด ขึ้ น ได้ จ ากการทำงานที่ ช อบ

จากการชื่ น ชมธรรมชาติ จากการทำความดี

ช่วยเหลือผู้อื่น จากการศึกษาหาความรู้ รวมทั้ง

จากสมาธิ ภ าวนา (แทนที่ จ ะพาลู ก เที่ ย วห้ า ง

หรือเสพวัตถุอย่างเดียว) กิจกรรมเหล่านี้จะช่วย

ให้เด็กเป็น ‘ผู้ใฝ่ทำ’ มิใช่เป็น ‘ผู้ใฝ่เสพ’ ที่มา: คัดจากบางส่วนของบทความ ‘เยาวชนไทยใฝ่เสพวัตถุ -

พระ ฆราวาส ช่วยอย่างไรให้เป็นรูปธรรม’ โดย พระไพศาล วิสาโล

คำถามนี้...ช่วยกันตอบ คือพื้นที่ที่เปิดให้ชาวทอสีได้มีโอกาส ‘ถาม’ และ ‘ตอบ’ ปัญหาต่างๆ

ร่วมกัน ท่านสามารถเสนอคำถามหรือปัญหาที่ต้องการให้ชาวทอสีร่วมกันตอบหรือแสดงความเห็น

เข้ามาได้ที่ info@thawsischool.com (อาทิ ปัญหาที่ประสบร่วมกันในชุมชน ปัญหาหรือคำถาม

เกี่ยวกับการเลี้ยงลูก-จิตวิทยาเด็กและครอบครัว) ๑๓


อยู่อย่างทอสี

‘เด็ ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว’ เรื่อง: ครูประไพ ประดิษฐ์สุขถาวร ฝ่ายวิชาชีวิตนักเรียนประถมศึกษา

เป็นที่ทราบกันดีว่า โรงเรียนทอสีจัดการเรียนการสอนตามแนวทางคำสอนของ พระพุทธศาสนา และจัดร้อยเรียงเนื้อหาหลักสูตรตั้งแต่ระดับอนุบาล ไปประถมศึกษา

ต่อเนื่องจนถึงระดับมัธยมศึกษา ด้วยการเอาชีวิตเป็นตัวตั้ง ในการศึกษาทั่วไป สิ่งที่ขาดหายไปในการเรียนการสอน คือ ‘ความเข้าใจชีวิต’ แต่การศึกษา

ตามแนวทางพุทธศาสนา กลับทำให้เราเกิดความเข้าใจทั้งตัวเราเองและเข้าใจผู้อื่น ว่าชีวิตของเรา

มีการเปลีย่ นแปลง เราไม่ใช่เจ้าของสิง่ ใด แม้กระทัง่ ร่างกายของเราเอง ทุกอย่างมีการเกิดขึน้ ตัง้ อยู่

และดับไป ตามหลักของ ไตรลักษณ์ ที่ทุกคนต้องพบ ต้องเจอ และต้องทำความเข้าใจให้ถูกต้อง

การศึกษาพุทธปัญญา จึงเป็นการศึกษาเรียนรูช้ วี ติ เพือ่ ทีจ่ ะอยูร่ ว่ มกับผูอ้ นื่ ในสังคมได้อย่างมีความสุข

ที่สำคัญที่สุดคือ การศึกษาให้รู้จักตัวเอง ๑๔


หลักสูตร ‘เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว’

จึ ง เกิ ด ขึ้ น จากการนำ วิ ช าชี วิ ต มาร้ อ ยเรี ย ง

เนื้ อ หา จั ด ลำดั บ ความสำคั ญ เป็ น หลั ก สู ต ร

บู ร ณาการที่ เ กิ ด เป็ น คุ ณ ค่ า ต่ อ การดำรงชี วิ ต

ผ่ า นหน่ ว ยการเรี ย นรู้ ต่ า งๆ ตั้ ง แต่ อ นุ บ าล

ไปประถมฯ และเป็นการเรียนรู้ด้วยการลงมือ

ปฏิบัติ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจ สามารถ

นำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน ‘การเรียนรู้แบบเชื่อมโยง’ เป็น ‘หลักการ’

และ ‘คำตอบ’ ที่สำคัญในการจัดการศึกษาของ

โรงเรียนทอสี การร้อยเรียงให้นักเรียนได้เห็น

ภาพของความเชื่อมโยงและความเป็นไปทั้งหมด

ของสรรพสิ่ง ให้การเรียนรู้สิ่งนอกตัวแต่ละอย่าง

นั้ น เป็ น การเรี ย นรู้ เ พื่ อ เกิ ด ปั ญ ญา สามารถ

เชื่อมโยงกลับมาสู่ตัวเอง และพัฒนาชีวิตของ

ตนเองได้ในที่สุด ฝ่ายวิชาชีวิต ได้นำเอาวิชาชีวิตที่สำคัญ

และศึกษาสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สังคม

ศาสนา และวั ฒ นธรรม การงานอาชี พ และ

เทคโนโลยี และศิลปะ ตามหลักสูตรการศึกษา

ขั้นพื้นฐานของกระทรวงศึกษาธิการ มาร้อยเรียง

ให้สอดคล้องเชื่อมโยงกัน กำหนดเป็นสาระของ

หลักสูตรบูรณาการ เริม่ จากเด็กเล็กๆ เมือ่ ก้าวเข้าสูช่ วี ติ นักเรียน

อนุบาล เด็กๆ จะเริม่ เรียนรูจ้ ากหน่วย ‘ก้าวแรก’

และ ‘เริ่ ม ต้ น ตั้ ง ตั ว ’ เพื่ อ ให้ เ ข้ า ใจถึ ง การมา

โรงเรี ย น เมื่ อ ขึ้ น อนุ บ าล ๑ เด็ ก เริ่ ม ปรั บ ตั ว

ฝึ ก ฝนวิ ถี ชี วิ ต ที่ ดี ง ามต่ า งๆ เริ่ ม ทำกิ จ กรรม

กับเพื่อนๆ จึงได้เรียนรู้หน่วย ‘ตั้งตัว’ และ

‘เพื่อนผู้ให้’ สำหรับอนุบาล ๒ เด็กๆ จะได้

ศึก ษาถึ ง คุ ณ ค่ า แท้ของสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัว

จึงมีการ ‘ถอดรหัสสายใยชีวิต’ และสร้างเสริม

‘อาณาจั ก รแห่ ง ปั ญ ญา’ ให้ เ ด็ ก ๆ เหล่ า นี้

สามารถคิ ด เป็ น พอก้ า วเข้ า สู่ ชั้ น อนุ บ าล ๓

เด็ ก ๆ จะเริ่ ม ศึ ก ษาถึ ง ความสุ ข ที่ แ ท้ จ ริ ง ว่ า

‘สุ ข เป็ น ก็ เ ป็ น สุ ข ’ และสร้ า ง ‘ที่ พึ่ ง แห่ ง ตน’

เพื่อจบชั้นอนุบาลอย่างสวยงาม

บทเรียนจากหลักสูตร ‘เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว’

{ ระดับอนุบาล ๖ บทเรียน } • เด็กเล็ก ภาคเรียนที่ ๑ : ก้าวแรก ภาคเรียนที่ ๒ : เริ่มต้นตั้งตัว • อนุบาล ๑ ภาคเรียนที่ ๑ : ตั้งตัว (๑) ภาคเรียนที่ ๒ : ธรรมชาติเพื่อนผู้ให้ (๒) • อนุบาล ๒ ภาคเรียนที่ ๑ : ถอดรหัสสายใยชีวิต (๓) ภาคเรียนที่ ๒ : อาณาจักรแห่งปัญญา (๔) • อนุบาล ๓ ภาคเรียนที่ ๑ : สุขเป็นก็เป็นสุข (๕) ภาคเรียนที่ ๒ : ที่พึ่งแห่งตน (๖) { ระดับประถมศึกษา ๑๒ บทเรียน } • ประถมศึกษาปีที่ ๑ ภาคเรียนที่ ๑ : ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน (๑) ภาคเรียนที่ ๒ : หนี้ศักดิ์สิทธิ์ (๒) • ประถมศึกษาปีที่ ๒ ภาคเรียนที่ ๑ : กัลยาณมิตร (๓) ภาคเรียนที่ ๒ : ระลึกคุณบ้านเกิด (๔) • ประถมศึกษาปีที่ ๓ ภาคเรียนที่ ๑ : เมล็ดพันธุ์แห่งความดี (๕) ภาคเรียนที่ ๒ : คืนสู่แผ่นดิน (๖) • ประถมศึกษาปีที่ ๔ ภาคเรียนที่ ๑ : พลังน้ำใจ (๗) ภาคเรียนที่ ๒ : ตามรอยกรรมย้ำดูตน (๘) • ประถมศึกษาปีที่ ๕ ภาคเรียนที่ ๑ : ต้นเหตุแห่งตน (๙) ภาคเรียนที่ ๒ : ตนเป็นต้นเหตุ (๑๐) • ประถมศึกษาปีที่ ๖ ภาคเรียนที่ ๑ : โลกรอดได้เพราะกตัญญู (๑๑) ภาคเรียนที่ ๒ : แกะสลักชีวิต (๑๒) ๑๕


ครูแหวว

> คุณกานต์สินี ศรีเชาวน์นนท์ หัวหน้าช่วงชั้นที่ ๑ ระดับอนุบาล (เด็กเล็ก-อนุบาล ๑)

“วัยเด็กเล็กถึงอนุบาล ๑ เป็นช่วงแรกช่วงเริ่มต้นของการที่ได้เข้าสู่

ระบบโรงเรียน บทเรียน เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว จึงเน้นการปรับตัวเอง

ทั้งร่างกายและจิตใจให้พร้อมเข้าสู่การเรียนรู้ ด้านร่างกาย เป็นการพัฒนา

กล้ามเนื้อมัดใหญ่-เล็ก การรับประสาทสัมผัสให้ฉับไว โดยใช้วิถีชีวิตหรือ

งานชีวิตของเด็กๆ เป็นบทเรียน เช่น การดูแลรักษาความสะอาดร่างกาย

การรับประทานอาหาร การดูแลของใช้ตนเองอย่างเป็นระบบ รวมถึง

มารยาทตามโอกาสต่างๆ ด้านจิตใจ เป็นการปรับพื้นฐานอารมณ์ให้มั่นคง

มีความสุขง่าย สุขเป็น สร้างศรัทธาในการฝึกฝนตนเอง และปลูกฝังความ

กตัญญูต่อผู้มีพระคุณ การอยู่ร่วมกันในสังคมและธรรมชาติอย่างเกื้อกูล

กัน... ในช่วงวัยนี้จึงเป็นช่วงสำคัญที่จะปูพื้นฐานและสร้างทัศนคติสู่ความ

เป็นผู้ใฝ่รู้ ใฝ่เรียนให้พร้อมทั้งกายและใจนั่นเอง” ทัศน์เนตรดาว โสรัต <

หัวหน้าช่วงชั้นที่ ๒ ระดับอนุบาล (อนุบาล ๒-๓) และหัวหน้าฝ่ายวิชาชีวิตอนุบาล

“ในบทเรียน ‘สุขเป็นก็เป็นสุข’ ของระดับชั้นอนุบาล ๓ ถ้ายก

ตัวอย่างการเรียนการสอนอย่างเป็นรูปธรรม ก็ขอยกเรื่อง ‘สำรวจเครื่อง

แต่งกาย’ ค่ะ ครูจะพาเด็กๆ ออกสำรวจการแต่งกายของบุคคลต่างๆ ใน

โรงเรียน เช่น คุณครู พีร่ ปภ. พีแ่ ม่บา้ น แม่ครัว พร้อมขอสัมภาษณ์เกีย่ วกับ

ชุดที่แต่งว่า ทำไมถึงเลือกชุดนี้ - ทำงานคล่องตัวหรือไม่ - ที่บ้านมีเสื้อผ้า

เยอะไหม ฯลฯ เมื่อได้คำตอบก็กลับมาคุยสรุปกันต่อเพื่อให้เข้าใจคุณค่า

ที่แท้จริงของเครื่องแต่งกาย และรู้ว่าควรเลือกแต่งอย่างไรให้เหมาะสม

กับกิจกรรม สถานที่ และสภาพอากาศ กิจกรรมต่อเนื่องคือพาให้วิเคราะห์

จากการแต่ ง กายในชี วิ ต ประจำวั น ของเด็ ก ๆ เช่ น วั น พระ วั น พละ

โดยเฉพาะทุกวันศุกร์ที่ใส่ชุดไปรเวท และยังได้กลับไปสำรวจตู้เสื้อผ้า

ของตนเอง โดยแยกประเภทว่าตัวที่ใส่ประจำหรือไม่ค่อยได้ใส่มีมากน้อย

แค่ไหน และถ้ามากเกินไปควรทำอย่างไร โดยมีใบงานให้เด็กๆ ได้บันทึก

และนำมาเรียนรู้ในเรื่องของคณิตศาสตร์ต่อไป” ๑๖

ครูต้น


สำหรับนักเรียนประถมศึกษา เริ่มจากชั้น

ประถมศึกษาปีที่ ๑ ด้วยวัยที่มีการเปลี่ยนแปลง

จากวัยเด็กเล็กเข้าสู่วัยเด็กตอนกลาง มีหลายสิ่ง

หลายอย่ า งเปลี่ ย นแปลงไป ทั้ ง ด้ า นร่ า งกาย

จิ ต ใจ และสติ ปั ญ ญา เด็ ก ๆ จึ ง เริ่ ม ต้ น วั ย

ประถมฯ ด้วยการศึกษาเรื่องของตัวเองอีกครั้ง

เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องต่อตนเอง

สามารถสร้างให้ ‘ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน’ และรู้

บุญคุณของบ้านเกิดหลังแรก รู้จักปฏิบัติหน้าที่

ของลูกที่ดี เพื่อตอบแทน ‘หนี้ศักดิ์สิทธิ์’ ของ

ชีวิตนี้ พอขึ้นชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ เด็กๆ จะ ศึ ก ษาให้ เ ข้ า ใจถึ ง การอยู่ ร่ ว มกั น อย่ า งเป็ น

‘กั ล ยาณมิ ต ร’ ของทั้ ง สิ่ ง มี ชี วิ ต และไม่ มี ชี วิ ต

รวมถึงสังคมชุมชนที่ตนอาศัยอยู่ จึงเกิดเป็น

หน่วย ‘ระลึกคุณบ้านเกิด’ โดยมีหลักของศีล ๕

ศีลธรรมขั้นพื้นฐาน เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างมี

ความสุข

ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ มี ‘ข้าว’ ‘เมล็ด

พั น ธุ์ แ ห่ ง ความดี ’ เป็ น ตั ว เดิ น เรื่ อ ง ข้ า วเป็ น

อาหารหลักประจำชาติของเรา เรากินข้าวกัน

ทุกวัน ดังนั้นกว่าจะมาเป็นข้าวให้เรากิน ต้อง

ผ่านกระบวนการใดบ้าง และการที่เด็กๆ จะ

เติบโตไปเป็นเมล็ดพันธุ์ที่ดี จึงควรประกอบด้วย

สิ่งใด ซึ่งเป็นสิ่งที่เด็กสามารถเริ่มต้นได้จากวันนี้

และเราจะทำหน้ า ที่ เ ป็ น พลเมื อ งที่ ดี ‘คื น สู่

แผ่นดิน’ (ไทย) ได้อย่างไร ในวั ย ประถมศึ ก ษาตอนปลาย เด็ ก ๆ

เติบโตขึ้น มีเพื่อนมากขึ้น เริ่มมีความชอบ-

ไม่ ช อบ อยาก-ไม่ อ ยากมากขึ้ น ชั้ น ประถม

ศึกษาปีที่ ๔ จึงศึกษาสิ่งที่อยู่นอกกาย และย้อน

กลับเข้ามาดูสิ่งที่อยู่ภายใน พัฒนา ‘พลังน้ำใจ’

น้ำในใจของตัวเองให้ชุ่มฉ่ำเย็นต่อไป เด็กๆ

จะได้ ศึ ก ษาถึ ง เหตุ ปั จ จั ย ของการกระทำ

ต่างๆ และนำมาคิดเชื่อมโยงกำกับดูแล กาย

วาจา และใจของตนเอง ด้วยการศึกษาหน่วย

‘ตามรอยกรรมย้ำดูตน’ ชั้ น ประถมศึ ก ษาปี ที่ ๕ เข้ า สู่ วั ย พรี ที น

เพื่อให้เข้าใจถึงธรรมชาติของสรรพสิ่ง เด็กๆ

ชั้นนี้จึงได้ศึกษาหน่วย ‘ต้นเหตุแห่งตน’ ต้นเหตุ

ของการเกิดสิง่ ต่างๆ ขึน้ มีการตัง้ อยู่ และดับไป

ในที่ สุ ด และให้ รู้ ว่ า สิ่ ง ทั้ ง มวลที่ เ กิ ด ขึ้ น นั้ น มี

‘ตนเป็นต้นเหตุ’ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ เป็นการ

ศึกษาเรียนรู้ว่า มนุษย์เราเป็นเพียงส่วนน้อยนิด

เมื่ อ เที ย บกั บ จั ก รวาลอั น กว้ า งใหญ่ ไ พศาล

เป็นการศึกษาเรียนรู้ให้หลุดจากความคับแคบ

เนื่องจาก ‘โลกรอดได้เพราะกตัญญู’ ดังนั้น

เมื่ อ เราดั บ สิ้ น ไป จึ ง มี เ พี ย งคุ ณ ความดี แ ละ

ประโยชน์ ที่ เ ราสร้ า งไว้ เ ท่ า นั้ น ที่ จ ะเหลื อ อยู่

และสุ ด ท้ า ย เพื่ อ ให้ เ ด็ ก ๆ ตั้ ง สติ ทบทวน

วางแผนชี วิ ต ของตนเอง เตรี ย มพร้ อ มที่ จ ะ

‘แกะสลักชีวิต’ เพื่อก้าวสู่รั้วมัธยมฯ ต่อไป ๑๗


> ฤทัย บุญทวีกิจ

หัวหน้าช่วงชั้นที่ ๑ ระดับประถมศึกษา (ประถมศึกษาปีที่ ๑-๓)

ครูเชอรี่

“อย่างพูดถึงบทเรียนเรื่อง ‘กัลยาณมิตร’ ของชั้น ป.๒ ในช่วงแรก

ของการเปิดเทอมมีหลายอย่างรอบตัวเด็กที่เปลี่ยนแปลงไป การสังเกต

และยอมรับการเปลี่ยนแปลงจะช่วยเสริมเรื่องการปรับตัวของเด็ก เด็ก ป.๒

จะเรียนเรื่องการเปลี่ยนแปลงสามเรื่อง คือ หนึ่ง... เรื่องการเปลี่ยนแปลง

ร่างกายตนเอง โดยวัดส่วนสูง ชั่งน้ำหนัก และวัดส่วนต่างๆ ของร่างกาย

ที่เติบโตขึ้น สอง... เรื่องการเปลี่ยนแปลงภายใน คือการพัฒนาเรื่อง

พฤติกรรม จิตใจ และปัญญาของเด็กๆ เอง โดยการสำรวจและบันทึกเป็น

เพียร ๔ และ สาม... คือการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนที่เด็ก

สังเกตเห็น โดยให้เด็กๆ ไปสำรวจและบันทึก อย่างการได้สังเกตตึกเรียน

เก่าที่หายไปและตึกเรียนใหม่ที่กำลังสร้างขึ้น ทำให้เด็ก ป.๒ ได้เข้าใจว่า

สรรพสิง่ ย่อมเกิดขึน้ ตัง้ อยู่ และดับไป เป็นเรือ่ งธรรมดา ไม่เทีย่ ง จึงไม่ควร

ไปยึดติดกับมันมาก ปล่อยวางได้ง่ายขึ้น โดยเห็นเป็นรูปธรรม” ชื่นจิตต์ แสงทองสาย <

หัวหน้าช่วงชั้นที่ ๒ ระดับประถมศึกษา (ประถมศึกษาปีที่ ๔-๖)

“ครูน้องแนน ครูประจำชั้น ป.๔ เล่าให้ฟังว่า ในบทเรียน ‘พลังน้ำใจ...

ตามรอยกรรมย้ำดูตน’ ชั้นเรียนของห้อง ป.๔ ได้มีกิจกรรมบูรณาการในเรื่อง

เกี่ยวกับการอยู่ร่วมกัน โดยในส่วนของสาระวิชาวิทยาศาสตร์จะสอนเกี่ยวกับ

การอยู่ร่วมกันของคนและพืช ต้นไม้ ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมบนโลกที่ต้องมีการ

พึ่งพิงอาศัยกัน เน้นบทเรียนเกี่ยวกับปัจจัย ๔ สิ่งที่ทำให้พืชเจริญเติบโตได้

คือ น้ำ อากาศ แสงแดด แร่ธาตุ ซึ่งก็เช่นเดียวกับคนที่ต้องอาศัยปัจจัย ๔

นั่นก็คือ ยา อาหาร ที่อยู่อาศัย และเครื่องนุ่งห่ม โดยทั้งหมดจะมีวงจรการ

เชื่อมโยงกันอยู่ เช่น คนต้องการยารักษาโรค พืชบางชนิดสามารถนำมาทำ

ยารักษาโรคได้ และคนจะต้องรดน้ำพรวนดิน ต้นไม้จึงจะอยู่และเจริญเติบโต

ได้ ดี ในส่ ว นสั ง คมศึ ก ษา เด็ ก ๆ เรี ย นรู้ เ รื่ อ งการอยู่ ร่ ว มกั น อย่ า งสั น ติ สุ ข

ตามหลักประชาธิปไตยเพื่อให้เห็นถึงความเข้าใจในบทเรียนของนักเรียน ครูจึง

ให้เด็กๆ ลองแต่งนิทานที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกันลงในหน้าปฏิทิน

เด็กๆ จะนำสิ่งที่เรียนไปทั้งในส่วนของวิทยาศาสตร์ สังคม และอื่นๆ มาผสม

ผสานเป็นชิ้นงาน งานชิ้นนี้เป็นพลังน้ำใจร่วมกันของเด็กทั้งชั้น โดยเด็กๆ ป.๔

จะนำไปเล่าให้น้องๆ ในระดับเล็กกว่าฟังด้วย” ๑๘

ครูกุ้ง


วิ ช า ‘เด็ ด ดอกไม้ ส ะเทื อ นถึ ง ดวงดาว’ โลกภายในทีท่ างโรงเรียนให้ความสำคัญมากกว่า

เป็นวิชาที่ต้องการให้เด็กมีความเข้าใจในชีวิต ความรู้ด้านอื่นๆ ที่ถูกต้องว่า เรามี ‘หน้าที่’ ต่อตนเอง ต่อเพื่อน

ทุกบทเรียนชีวิตในโรงเรียนนี้ ล้วนเป็นไป

ต่อครู ต่อพ่อแม่ ต่อสังคม และต่อสรรพสิ่ง เพื่อสร้างคนดีที่ได้ทั้งประโยชน์และมีความสุข

ในโลกนี้อย่างไร เด็กจึงควรต้องศึกษาและทำ ตามแนวทางพุทธศาสนา ทุกคนล้วนต้องการ

ความเข้ า ใจให้ ถ่ อ งแท้ และจะต้ อ งรู้ ว่ า ทำไป ความสุข การรู้เท่าทันอารมณ์ การรู้จักปล่อย

เพื่ออะไร และไม่ทำเพื่ออะไร วางอารมณ์ ที่ เ ศร้ า หมอง การฝึ ก ให้ มี ส ติ

เด็กทอสีจะเข้าสูก่ ระบวนการ ฝึก และ ฝืน การบริหารจัดการอารมณ์ต่างๆ การพยายาม

เพื่อให้รู้จักความคิดและความรู้สึกของตัวเอง ละสิ่ ง ที่ ไ ม่ ดี รั ก ษาสิ่ ง ที่ ดี ง ามที่ เ กิ ด ขึ้ น แล้ ว

มีสติ รู้เท่าทันอารมณ์ของตนเอง สามารถยั้งคิด ให้ ง อกงามยิ่ ง ขึ้ น สามารถป้ อ งกั น สิ่ ง ที่ ไ ม่ ดี

กำกับดูแลคำพูดและการกระทำของตนให้เป็น ไม่งามที่ยังไม่เกิดขึ้น ไม่ให้เกิดขึ้น และสามารถ

ไปในทิศทางที่ถูกต้องและเหมาะสม เกิดเป็น สร้างสิ่งที่ดีงามที่ยังไม่มีให้เกิดขึ้นได้ นี่จึงเป็น

ทักษะในการดำรงชีวิต ที่ได้ทั้งประโยชน์และมี ส่วนที่สำคัญที่สุดของการศึกษา ความสุ ข สิ่ ง เหล่ า นี้ ล้ ว นเป็ น ความรู้ เ กี่ ย วกั บ

๑๙


หน้านิทาน...อ่านด้วยกัน

เรื่อง: ทีมทอสีรักษ์โลก ภาพ: แม่น้อย - คีตะวรรณ วิบูลย์สันติพงศ์ (คุณแม่น้องเพลง ป.๔ และน้องฟ้า ป.๒)

๒๐


ชวนคุย เรื่อง: ครูนีโม่ - อุษณีย์ ปุณโณปกรณ์

ผนึกกำลังฉันกัลยาณมิตร

จติ อาสา

รว่ มรักษ์โลก

> โปสเตอร์ฝีมือแม่น้อย หนึ่งในสมาชิกทีมทอสี รักษ์โลก ใช้ประชาสัมพันธ์และรณรงค์โครงการ ทั้งในโรงเรียนและในวัดหลายๆ แห่ง

งานม่วนชื่นฯ เมื่อต้นปีที่ผ่านมาใครหิ้วตะกร้าเดียวมาเที่ยวทั่วงานบ้างยกมือ ขึ้ น ? จากความร่ ว มมื อ ร่ ว มใจกั น ของทุ ก คนในการรณรงค์ ล ดขยะให้ เ หลื อ ศู น ย์

หรือนโยบาย ‘Zero Waste’ ในงานม่วนชื่นฯ ทำให้ขยะที่ส่งทิ้งกับ กทม. ลดลง

เหลือเพียง ๑ ใน ๓ เมื่อเทียบกับงานในครั้งแรก ผลงานอันน่าชื่นใจและชื่นชมนี้

มีผู้ปกครองอาสาอยู่เบื้องหลังหลายท่าน ฉบับนี้ครูนีโม่ขอขันอาสามา ‘ชวนคุย’ กับ

สองอาสาสมัครคนสำคัญจากทีมงานทอสีรักษ์โลก แม่เชง - ขวัญพัฒน์ วิวัฒน์วิชา

(คุณแม่นอ้ งน้ำหอม ป.๔) อดีตพนักงานบริษัทโฆษณาทีเ่ ปลีย่ นมาตอกบัตรเป็นคุณแม่

เต็ ม เวลา และกั ล ยาณมิ ต รสนิ ท กั น ตั้ ง แต่ ส มั ย มหาวิ ท ยาลั ย น้ า นก - ธนาวดี ตันติกาญจน์ (หรือ อี๊นก ตามที่พวกเราเรียกกัน) พนักงานประจำบริษั ทเอกชน

ที่ทำงานเกินเวลาทำงานเป็นประจำ แต่มีจิตอาสาทำ ‘ประโยชน์ท่าน’ มาโดยตลอด

แถมยังใช้ชีวิตในวิถีรักษ์โลกตัวจริงจนเป็นตัวตนของเธอไปแล้ว ๒๑


๒๒

จากกิ จ กรรม Zero Waste ในชุ ม ชนทอสี

ทราบมาว่าต่อยอดขยายผลไปสู่ชุมชนวัดที่วัด

ป่าเชิงเลน มีที่มาที่ไปเป็นอย่างไรคะ แม่เชง: ผลจากงานม่วนชื่นทุกคนมีความ

สุขชื่นใจ ซึ่งผลลัพธ์ออกมาก็เห็นภาพชัดเจน

แม่ เ ชง และคิดว่าเป็นโมเดลที่น่าจะถูกต่อยอดออกไป

ขวัญพัฒน์ วิวัฒน์วิชา

ได้อีก ยิ่งเราเป็นโรงเรียนพุทธปัญญา ใกล้ชิดกับ

วั ด กั บ พุ ท ธศาสนา มี บ ริ บ ทของบ้ า น วั ด โรงเรี ย น เป้ า หมายลึ ก ๆ ของแม่ เ ชงคื อ

อยากไปทำเรื่องนี้ที่วัดหนองป่าพง แต่จากที่เรา

ทำอยู่ วั น นี้ จ ะขยายไปสู่ วั ด หนองป่ า พงเลย

อาจดู ข้ า มขั้ น เกิ น ไป น่ า จะค่ อ ยๆ ไต่ ร ะดั บ

เพื่อที่จะหาประสบการณ์ไปก่อน แล้วก็บังเอิญที่

แม่ ตุ้ ม (สุ ช าดา วิ วั ฒ น์ วิ ช า คุ ณ แม่ ข องน้ อ ง

อี๊นก ธนาวดี ตั น ติ ก าญจน์ แตมแตม ป.๓) ไปวัดป่าเชิงเลนบ่อย และมี

ความผูกพันกับทางวัด เลยมีโอกาสเข้าไปพูดคุย

งานอาสาของโรงเรียนมีหลายส่วน ทำไมแม่เชง กับกรรมการวัด ทางวัดก็ยินดีมาก เพราะวัด

ถึงได้เข้ามาทำ ‘ทอสีรักษ์โลก’ และชวนอี๊นก เล็งเห็นอยู่แล้วว่าปัญหาโฟมและขยะเป็นเรื่อง

เข้ามาร่วมได้อย่างไร ใหญ่ที่จับต้องง่ายของวัดอยู่แล้ว แม่เชง: ก่อนหน้านัน้ มีชว่ ยงานของโรงเรียน

เล็กๆ น้อยๆ เมือ่ ปีทแี่ ล้วพอจะมีงานม่วนชืน่ ๒ แล้วทำไมถึงมาเป็นโครงการ ‘ทำบุญให้ได้บุญ’ คณะกรรมการเห็ น ความสำคั ญ ของเรื่ อ งขยะ

อี๊ น ก: เราต้ อ งการเชิ ญ ชวนให้ ค นที่ ม า

จากงานในครั้งแรก เลยต้องการตั้งทีมทำงาน ทำบุญที่วัดเห็นว่า ที่เขามาทำบุญที่วัด นอกจาก

ตรงนี้ขึ้นมา แม่เชงเลยได้เป็นส่วนหนึ่งของงานนี้ ได้บุญแล้วมันมีอะไรที่เกิดมาโดยที่เขาไม่ตั้งใจ

เลยเป็ น จุ ด เริ่ ม ต้ น โครงการ Zero Waste อีกมากมาย เป็นสิ่งที่เขาไม่รู้ เช่น พอญาติโยม

จากงานนั้น และไม่คิดว่าจะมาถึงวันนี้ (ยิ้ม) กลับไปแล้วแทนที่พระสงฆ์จะทำกิจของสงฆ์ต่อ

และได้ชวนอี๊นกมาช่วย แม้อี๊นกไม่ได้มา จะต้องมาเก็บและจัดการขยะที่เกิดขึ้นจากการ

ร่วมระดมความคิด ร่วมประชุม เพราะทำงาน มาทำบุญของญาติโยม แล้วสถานที่ตั้งของวัดนี้

ประจำ แต่มีการคุยกันผ่านอีเมลที่เป็นจดหมาย ทำให้การจัดการขยะลำบากมาก โดยเฉพาะ

เวี ย นอยู่ ต ลอด และในวั น จริ ง อี๊ น กมาตั้ ง แต่ ขยะที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ คนที่มาทำบุญ

เช้าจนจบงาน อยู่เป็นหนึ่งในจิตอาสาตัวหลัก ได้ความอิ่มใจกลับบ้านไป แต่ไม่รู้เลยว่าได้ทิ้ง

เป็นเหมือนหนึ่งในผู้ปกครองทอสีเลย ขยะและปัญหาไว้ เราเลยชี้ให้เห็นว่าสิ่งที่เกิดขึ้น

อี๊นก: จากที่เป็นเพื่อนกัน รู้วิถีชีวิตแบบนี้ หลังจากนั้นและผลกระทบคืออะไร แล้วถ้าเรา

กั น อยู่ แ ล้ ว พอมี กิ จ กรรมเกี่ ย วกั บ เรื่ อ ง Zero จะทำให้มันดีกว่านี้ ได้บุญจริงๆ กว่านี้ เราทำ

Waste แม่ เ ชงชวน อี๊ น กก็ รั บ อาสาเลยว่ า ได้นะ มีอะไรให้ช่วยก็บอกเลยนะ เลยคุยกันบ่อยขึ้น

แม่ เ ชง: ภาพมั น ชั ด มากเลย ทางเดิ น

เกี่ยวกับเรื่องพวกนี้ พอมีข้อมูลอะไรก็จะแบ่งปัน เข้าวัดเป็นทางเดินไม้ ดูธรรมชาติร่มรื่นสวยงาม

ให้ เพราะรู้ว่าจะได้ประโยชน์ ได้ใช้จริง แต่เกือบทุกคนที่เดินเข้ามาถือถุงพลาสติกจาก


ซูเปอร์มาร์เก็ตหลากหลายมาก ขยะเศษอาหารตรงนั้นหมด ต้องลงมือแยกขยะ

อี๊ น ก: เราได้ ยิ น มาเป็ น สิ บ ๆ ปี แ ล้ ว ว่ า กันเองจริงๆ ไม่มีบริกรทำให้ เพราะโจทย์ของ

ช่วยโลกนะ ลดภาวะโลกร้อนนะ แต่ไม่ค่อยมี พวกเราคือต้องการให้เข้าสู่วิถีชีวิตจริงๆ งานนั้น

การพูดลงไปในแง่ของการกระทำอย่างเป็นชิ้น ก็ประสบความสำเร็จ มีความสุข เป็นงานที่จุด

เป็นอัน อย่าง ‘แล้วควรทำอย่างไรล่ะ’ แต่ทมี งาน ประกายให้พวกเราเห็นความสำคัญที่อยากจะ

ตีโจทย์แตกว่า จะช่วยได้อย่างไร และมาทำบุญ ต่อยอดออกสู่สังคม... ถัดมาก็เป็นงาน ๘๐ ปี

ให้ได้บุญอย่างไร คือ ๑. คุณต้องไม่เอาโฟม ส.ศิวรักษ์ ชายชราผูป้ ลูกปัญญาสังคมไทย จัดขึน้

และถุงพลาสติกเข้าวัด ๒. เอาตะกร้า หรือถุง ที่สยามสมาคม เมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๖

ใส่ของมาเอง ๓. เอาภาชนะมาเอง และช่วย ซึ่ง SVN รับเป็นเจ้าภาพในการจัดอาหารเลี้ยง

ทางวัดเก็บกวาดล้างให้เรียบร้อย สิ่งที่เราทำ วันนั้นอี๊นกไปกันสองคนกับแม่เชง เป็ น การบอกตรงๆ เลยว่ า ปั ญ หาที่ เ กิ ด ขึ้ น

อี๊นก: งานนั้นก็ไม่ยาก พอเราบอกทุกคน

คืออะไร แล้วก็เสนอทางแก้ปัญหาที่เขาทำได้ ว่ามันมีกฎ กติกาตรงนี้อยู่ ทุกคนก็ให้ความ

จริงด้วย ไปจัดตั้งระบบให้เขาเลย จริงๆ ก็คือ ร่วมมือกันดีมาก เราตั้งถังแยกชัดเจนว่าอะไร

อริ ย สั จ ๔ ชี้ ไ ปที่ จุ ด ที่ เ กิ ด เหตุ เหตุ คื อ อะไร ต้องทิ้งตรงไหน อย่างไร ปัญหาคืออะไร และวิธีการแก้คืออะไร วิธีทำ

คืออะไร รออย่างเดียวให้เขาร่วมมือ คือลงมือ

ทำเท่านั้นเอง คนที่มาทำบุญได้ความอิ่มใจ

แม่ เ ชง: เราไม่ ใ ช่ เ ป็ น คนชุ ม ชนแถวนั้ น

จริงๆ เลยมองต่อในเรื่องของการทำงานที่ให้ กลับบ้านไป แต่ ไม่รู้เลยว่าได้ทิ้งขยะ

ผลอย่างยั่งยืน เริ่มมองเรื่องการสร้างจิตอาสา และปัญหาไว้ เราเลยชี้ ให้เห็นว่า

ของคนในชุ ม ชน วั น นั้ น เราโชคดี ที่ เ จอคณะ สิง่ ทีเ่ กิดขึน้ หลังจากนัน้ และผลกระทบ

จากโรงเรี ย นดุ ริ ย างค์ กองดุริยางค์ทหารเรือ

ฐานทัพเรือกรุงเทพ พวกเขาเองสนใจ และบอก คืออะไร แล้วถ้าเราจะทำให้มนั ดีกว่านี ้ ว่าถ้าจะอยากต่อยอด ทีมพวกเขายินดีจะเข้ามา ได้บุญจริงๆ กว่านี้ เราทำได้นะ ...ก็ดีใจที่จะได้คนในชุมชนมาช่วยรับไม้ต่อตรงนี้ แม่เชง: จุดรับขยะชัดเจนเป็นจุดประชา-

จากนั้ น มี ก ารขยายผลไปร่ ว มด้ ว ยช่ ว ยงาน

สั ม พั น ธ์ ใ นตั ว เองเลย พิ ธี ก รในงานแค่ ช่ ว ย

ภาคสังคมอื่นๆ มีงานอะไรบ้างคะ แม่เชง: SVN (Social Venture Network บอกว่า หลังจากรับประทานเสร็จแล้ว ขอให้

เครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม) เป็น ทุกคนช่วยนำไปทิ้งที่จุดรับขยะ พูดแค่นั้นเองนะ

งานแรกที่ต่อเนื่องจากงานม่วนชื่นฯ แม่วรรณ แต่พอมาถึงจุด จุดเราพร้อมมาก โดยมีพริตตี้

(ระวิ ว รรณ โฮริ โ นอุ ชิ คุ ณ แม่ ข องน้ อ งไบร์ ท ป้าๆ อย่างพวกเรารออยู่ (หัวเราะ) อี๊นก: จุดรับขยะเป็นโต๊ะยาว ถังขยะก็ตั้ง

ป.๕) เป็นหนึ่งในสมาชิกของ SVN ทำให้ได้

เข้าไปร่วมงานนี้ ซึ่งเป็นงานประชุมธุรกิจ มีการ เรียงยาว แล้วมีโต๊ะที่ตั้งโชว์ขยะไว้อีก ให้เห็นชัด

จั ด เลี้ ย ง วั น งาน ๑๒ กุ ม ภาพั น ธ์ ๒๕๕๖ กันเลยว่า นี่คือจานชามที่พวกคุณใช้กัน ให้ผู้

แม่วรรณลุยเดี่ยวไปคนเดียว ไปตั้งถังขยะแยก ประกอบการเห็ น เลยว่ า ภาชนะที่ คุ ณ เลื อ กใช้

ประเภทรอไว้ ผู้บริหารระดับสูงของแต่ละองค์กร มันก่อให้เกิดขยะมากมายถึงเพียงนี้ ปกติเวลา

ผู้ประกอบการ เจ้าของกิจการ ทุกคนต้องมาทิ้ง ของพวกนี้ลงไปในถังขยะ คนทิ้งเขาจะคิดว่า

๒๓


ต่อมาก็มี งาน สสส. ครบรอบ ๑๐ ปี

หมดหน้าที่ของเขาแล้ว จะมีคนอื่นมาจัดการให้

มันหายไป แต่เรากำลังจะบอกเขาว่า มันไม่หาย ‘สานงาน เสริมพลัง ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่า

อยู่’ จัดขึ้นเมื่อวันที่ ๒๘-๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๖

ไปไหนหรอก แม่เชง: ทีง่ านนีท้ มี สวนเงินมีมา มาเห็นเรา ที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค เรา

เข้ามาคุย และขอองค์ความรู้ ชวนให้ไปช่วย ทำงานร่วมกับ พ่อกุ๊ก (ชุมพล พิพัฒน์เมฆินทร์

ต่ อ ยอดกั บ งานกรี น แฟร์ ครั้ ง ที่ 6 จั ด ที่ ศู น ย์ คุณพ่อของปันปัน ป.๑ และน้องแป๋มแป๋ม อ.๒)

ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ระหว่างวันที่ ๑๐-๑๒ ที่ทำสวนผักเบิกบานอยู่ สวนผักกับการแยกขยะ

พฤษภาคม ๒๕๕๖ งานนั้นมีแม่ตุ้มไปแบ่งปัน ไปด้วยกันได้ดี ตัดกันไม่ขาด ผักเองก็ต้องการ

และฝึกอบรมนักเรียนจิตอาสาที่จะมาช่วยงาน ปุ๋ยจากเศษอาหาร แล้วก็มี ‘งานเสวนาเกษตรในเมือง : ทาง

ส่วนแม่เชงก็ไปช่วยแบ่งปันให้ผู้ประกอบการ ๒๔


เลือกทางรอดของอาหารคนเมือง’ ที่สวนโมกข์ เลยตั้งเป้าหมายไว้ว่า ๖๐ เปอร์เซ็นต์ของการทำ

กรุงเทพฯ จัดกันเมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๖ กลยุทธ์และแผนงานทั้งหมดของทีมเราต้องกลับ

ซึ่ ง ผู้ จั ด เป็ น ภาคี ข อง สสส. งานนี้ เ น้ น เรื่ อ ง มาที่โรงเรียน เกษตร แต่ละกลุ่มมาตั้งบูทแบ่งปันผลงานกัน

อี๊นก: ใช่ค่ะ เราต้องกลับมามองตัวเอง

ผลตอบรั บ ดี ม าก ตำแหน่ ง ที่ เ ราไปตั้ ง บู ท มันเลยเป็นสิ่งที่ตอกย้ำความคิดที่พระอาจารย์

สามารถเห็ น เด่ น ชั ด โปสเตอร์ ฝี มื อ แม่ น้ อ ย หลายท่านพูดว่า เราอยากจะให้เกิดอะไรขึ้น

(คีตะวรรณ วิบูลย์สันติพงศ์ คุณแม่น้องเพลง ในสังคม เราต้องทำอย่างนัน้ เริม่ จากทีต่ วั เราเอง

ป.๔ และน้องฟ้า ป.๒) โดดเด่นเรียกคนได้มาก นกเลยมั่นใจว่า เราไม่ต้องพูด แต่สิ่งที่เราทำ

ใช้การ์ตูน ‘เด็กหญิงใบตอง’ เป็นเหมือนทูต มันจะสะท้อน บอกคนให้เขาเห็นเอง ช่วยสื่อสาร อี๊นก: บางคนเดินผ่านบูทเราก็สงสัยว่า

เอ๊ะ ทำไมเราถึงมาอยู่ในงานนี้ เพราะบูทอื่น

• ถุงผ้าฝีมือการเย็บ (แบบไม่เหลือเศษผ้า) จะเป็ น ผั ก ต้ น ไม้ แมลง แต่ อั น นี้ เ ป็ น ขยะ

ของอี๊นก แยกขนาดถุงตามขนาดลายผ้า (หัวเราะ) เราก็บอกว่าเกื้อกูลกัน เพราะว่าก่อนที่

ทำแจกให้เพื่อนฝูงและคนที่เธอมีโอกาส คุณจะทำปุ๋ย คุณต้องแยกเศษอาหารก่อน เขาก็

ได้คุยเรื่องสิ่งแวดล้อมด้วย ถามต่อว่า แยกแล้วไปทำอย่างไรต่อ เราก็บอก

อย่างนั้นไปบูททางนู้นต่อ ทางนู้นจะอบรมต่อ

เรื่องการเอาขยะ เศษอาหารไปทำปุ๋ยอินทรีย์

เลี้ยงไส้เดือน ใส่น้ำอีเอ็ม มันเชื่อมโยงถึงกัน

ได้จริงๆ หลังจากออกไปอาสารณรงค์เรื่องนี้กับภาคสังคม

แล้ว ได้ประสบการณ์อะไรกลับมาปรับใช้กับ

ทอสีบ้าง แม่เชง: จริงๆ เป้าหมายที่ทำให้เราเริ่มทำ

ตรงนี้กันมา คือวัดหนองป่าพง แต่พอทำแล้ว

ปากต่อปากพูดต่อกันไปเรื่อยๆ พอถึงวาระหนึ่ง

เราก็มานั่งคุยกันว่า แล้วถ้าสิ่งเหล่านี้ออกสู่ภาค

สั ง คม แล้ ว คนข้ า งนอกขอเข้ า มาดู ง านใน

โรงเรียนล่ะ แล้วโรงเรียนเราเข้มแข็งพอให้เขา

เข้ามาดูกันหรือยัง ซึ่งอี๊นกเองก็เปรยๆ ว่าพวก

เรายังหลวมกันอยู่เลย การปฏิบัติจริงเรายังไม่

เข้าเลือดเข้าเนื้อ ก็เลยเห็นพ้องกันว่าควรชะลอ

การทำกิจกรรมข้างนอก กลับมาทำชุมชนเรา

ให้เข้มแข็ง ถ้าเรามองย้อนกลับมาก็จะเห็นว่า

โจทย์ข้างในเรายังมีอยู่เยอะ เช่นว่าบริบทของครู

ผู้ปกครอง นักเรียน เป็น ๓ กลุ่มเป้าหมาย

เราต้องทำให้เกิดขึ้นอย่างเข้มแข็งให้ได้ ตอนนี้

๒๕


ที ม ทอสี รั ก ษ์ โ ลกต้ อ งการที ม งานอาสาสมั ค ร

เพิ่มไหมคะ แม่เชง: อยากจะเชิญชวนผู้ปกครองมา ร่ว มกั น เป็ น จิ ต อาสาที่มาช่วยกันสร้างและต่อ โลกนี้มันเชื่อมโยงถึงกัน

ยอดงานเหล่ า นี้ ช่ ว ยกั น สร้ า งความดี ยิ่ ง ใน หมดทุกอย่าง ไม่ว่าคุณจะอยู ่ บทบาทพ่อแม่ที่เราเป็นพ่อแม่ผู้แสดงโลกด้วย

แล้ว ลูกเราจะได้เห็น เป็นโอกาสที่จะปลูกฝัง จุดไหนของโลก มันเป็นโลก

หรื อ บ่ ม เพาะจิ ต อาสาให้ กั บ ลู ก ๆ ของเรา เดียวกัน เพราะฉะนั้นถ้า

ผู้ ป กครองทำเป็ น ตั ว อย่ า งให้ ลู ก เห็ น แล้ ว ลู ก ไม่ดูแลตั้งแต่วันนี้ กรรมใด

ก็อยู่ในบริบทที่พ่อแม่ช่วยเหลือในเรื่องเหล่านี้

ครูเองก็ทำ ครูก็เป็นส่วนหนึ่งของผู้แสดงโลกให้ ใครก่อ ผู้นั้นก็ต้องรับกรรม เด็กเหมือนกัน มันเป็นชุมชนที่ทุกคนเอื้อต่อกัน

เราก็จะได้เด็กที่เป็นต้นกล้า ที่เราบ่มเพาะเขามา

ในทิศทางที่มันดีงาม เรามาช่วยกันคนละนิด

คนละหน่อย เท่าที่แต่ละคนจะสามารถสละเวลา ผู้นั้นก็ต้องรับกรรม ถ้าไม่ตระหนักรู้ความจริง

ในตารางชีวิตของตัวเองได้ สลับเวลากันมาก็ได้ ที่กำลังเกิดขึ้น เขาก็ไม่ลุกขึ้นมาทำอะไร มันก็

ก็เปิดรับสมัครเลยค่ะ เห็นแม่เชงที่โรงเรียนก็เข้า เป็นหน้าที่ของเราที่จะช่วยบอกเขาว่า มันถึง

เวลาแล้วก่อนที่จะสายเกินไป และถ้าเขาไม่ได้

มาพูดคุย แสดงตัว แสดงจิตอาสาได้เลย อี๊นก: ถ้าคิดว่าตัวเองไม่สามารถจัดสรร คิดถึงตัวเขาเอง ก็ขอให้คิดถึงลูกหลาน แม่เชง: อย่างที่โรงเรียนก็พยายามบอก

เวลามาอาสาตรงนี้ ไ ด้ ขอให้ เ ริ่ ม ทำที่ บ้ า น

เพราะเมื่ อ ทำที่ บ้ า น เราจะได้ ป ระสบการณ์ ‘เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว’ มันหนีไม่พ้น

และสามารถแบ่ ง ปั น สิ่ ง ที่ เ ป็ น ประโยชน์ กั บ อย่างไรก็กระทบมาถึงแน่ๆ พวกเราเป็นกลุ่มคน

ที่เชื่อในพลังของคนตัวเล็ก หลายคนจะพูดว่า

ผู้ปกครองคนอื่น มันเป็นเรือ่ งใหญ่เกินไปทีค่ นหนึง่ คนจะทำอะไรได้

มี ค วามคิ ด เห็ น หรื อ มี มุ ม มองอย่ า งไรกั บ แต่ เ รามี ค วามเชื่ อ อย่ า งเต็ ม เปี่ ย มว่ า ไม่ ว่ า จะ

ทั ศ นคติ ใ นเรื่ อ งลด-ละ-เลิ ก การสร้ า งขยะ อย่ า งไร มั น ก็ มี ผ ล ถึ ง วั น นี้ อ าจยั ง ไม่ เ ห็ น ผล

รวมไปถึ ง เรื่ อ งสิ่ ง แวดล้ อ มของผู้ ค นในสั ง คม เป็นรูปธรรมที่จับต้องได้ แต่จากจุดที่เราก้าว

ออกไปหนึ่ ง ก้ า ว สองก้ า ว สามก้ า ว เราได้

ตอนนี้ กับโลกที่กำลังเป็นไปและเปลี่ยนไป อี๊นก: เรื่องสิ่งแวดล้อมจะกลายเป็นปัญหา กระทำการบางอย่ า งแล้ ว เราได้ เ ริ่ ม ขุ ด ดิ น

ใหญ่ ขึ้ น มา ไม่ ช้ า ก็ เ ร็ ว เขาก็ ต้ อ งกลั บ มาเจอ เริ่มลงเมล็ดพันธุ์ เริ่มรดน้ำแล้ว มันต้องเห็น

ปัญหานี้แน่นอน แม้ว่าตอนนี้เขายังไม่ตื่นจาก การเจริญเติบโตในวันหนึ่ง ความฝั น ของเขา อย่างไรเดี๋ยวมันก็จะมาถึง

เหตุการณ์น้ำท่วมที่จีน อินเดีย และเหตุการณ์

อื่ น ๆ มั น ใกล้ ตั ว มากขึ้ น ทุ ก ที จริ ง ๆ โลกนี้

มันเชื่อมโยงถึงกันหมดทุกอย่าง ไม่ว่าคุณจะอยู่

จุดไหนของโลก มันเป็นโลกเดียวกัน เพราะ

ฉะนั้ น ถ้ า ไม่ ดู แ ลตั้ ง แต่ วั น นี้ กรรมใดใครก่ อ

๒๖


โยคะฝึกกายสบายจิต Yoga for Children

ท่ายิงธนู

Shooting Bow Posture เรียบเรียงเรื่อง: ครูน้ำอ้อย - น้ำอ้อย สืบดี ผู้แสดงท่าประกอบ: พลาย - ด.ช.อริญชย์ มุสิกานนท์ ป.๒

การฝึ ก โยคะสำหรั บ เด็ ก นั้ น เหมื อ นเด็ ก ได้ เ ล่ น สนุ ก เป็นการฝึกสมาธิ ช่วยให้มีความจำดีขึ้น คุณพ่อคุณแม่ควรเล่น ไปพร้อมกับลูก เป็นโอกาสดี ได้มีกิจกรรมร่วมกัน ร่างกาย สดชื่นและแข็งแรงกันทั้งครอบครัว ประโยชน์: เล่นประจำเป็นการบริหารกระดูกสันหลังให้ แข็งแรง ช่วยบำรุงไขสันหลัง แขนขาและหัวไหล่มีความยืดหยุ่น ในการฝึกต้องรักษาสมดุล ช่วยให้มีสมาธิมากขึ้น

ผ่อนคลายในท่าฟองน้ำ (ท่าศพ) หายใจเข้าลึก หายใจออกยาว

ท่าเตรียม นั่งหลัง ไหล่ และศีรษะตรง

ขาชิดเหยียดตรงไปข้างหน้า เตรียมมือ สองข้าง โดยพับนิ้วนางและก้อยลง

หายใจเข้าให้ลึก พร้อมดึงเท้าข้างซ้ายให้นิ้ว

หัวแม่เท้าอยู่ใกล้หู ทำหลังให้ตรงที่สุด ขาและแขนขวาตึง คงท่านี้นิ่งไว้ (ขณะทำท่านี้

ให้จินตนาการว่าตนเองเป็นนักยิงธนูที่กำลัง

เล็งไปที่เป้าหมาย แล้วง้างคันธนูขึ้นเตรียมยิง)

สลับทำข้างขวา ตามขั้นตอนที่ ๒-๕ ทำซ้ำต่อเนื่อง สลับ ซ้าย-ขวา ๓-๕ รอบ

หนังสืออ้างอิง : • โยคะเพื่อสุขภาพ โดย ชื่นชม สิทธิเวช • คุยตัวตัวกับครูโยคะ โดย ถือศีล ดิฐวัฒน์โยธิน • Yoga for Children ผู้เขียน Mary Stewart / Kathy Phillips

ก้มลงเอื้อมมือทั้งสองข้าง

ออกไป ใช้นิ้วโป้ง นิ้วชี้ และ

นิ้วกลาง กำนิ้วโป้งเท้าให้แน่น

หายใจออกยาว ค่อยๆ

วางเท้าซ้ายลงที่พื้นช้าๆ

ผ่อนคลายในท่าเตรียม

แล้วพักในท่าเอนหลัง หรือท่าฟองน้ำ

๒๗


อ่านแล้วชื่นใจ

เรื่อง: ครูหยก - วรรณวนัช บูรพาเดชะ

หยิบเอางานเขียนของเด็กๆ มาให้อ่านกันสองชิ้นค่ะ ชิ้นแรกเป็นผลงานการเขียนเรียงความ เนื่องในวันครูแห่งชาติของ น้องเซร่า - ด.ญ. ศุภิสรา ทองเลิศ ป.๔/๒ และชิ้นที่สองเป็นบันทึกที่ พีก่ นั - ด.ญ. ญาณิศา เกิดพรพุทธมนต์ ป.๖ ได้เขียนไว้ในสมุดบันทึกรายวัน อ่านแล้วชืน่ ใจมาก!

๒๘


๒๙


ห้องเรียนพ่อเเม่

รู้จักลูกของเราดีพอหรือยัง? เรื่อง: แม่นุ้ย - พสุนธรา เทพปัญญา (คุณแม่ของน้องพีม ป.๖)

วันก่อน คุณแม่ของลูกศิษ ย์มัธยมฯ ปลายคนหนึ่งที่แม่นุ้ยสอนเมื่อปีที่แล้ว โทรมาหาเพื่ อ พู ด คุ ย ให้ ค รู แ ก้ เ กรดให้ ลู ก เพราะจะต้ อ งไปเรี ย นแลกเปลี่ ย น (Exchange) ที่อเมริกาเดือนหน้า... คุ้นๆ ไหมคะ? ดูเป็นเรื่องที่เราเคยได้ยิน บ่อยๆ ในวงการศึกษาไทยใช่ไหมคะ? น้ อ งคนนี้ ไ ด้ เ กรด ๑.๕ ตอนแรกนึ ก ว่ า ตอบเป็นชื่อวิชา บางคนอาจจะชอบเลี้ยงน้อง

จะสอบตก เพราะน้องไม่ค่อยตั้งใจเรียนเลย บางคนอาจจะอยากเป็นนักมายากล หรืออาจ

ช่ ว งสอบซ่ อ มคุ ณ แม่ ก็ โ ทรมาขอเลื่ อ นสอบ จะอยากฝึกหมาแบบซีซ่าร์ มิลาน ประมาณ

เพราะต้องไปเทีย่ วฮ่องกง เทอมแรกน้องเกรดดี ๘๐ เปอร์เซ็นต์จะตอบว่า “อะไรก็ได้ ขอให้

ได้เกรด ๓ พอไปถามครูที่สอน ครูบอกว่า จบจุฬาฯ หรือธรรมศาสตร์” ส่วนเด็กที่เรียน

มีงานกลุ่มเยอะ เป็นคะแนนกลุ่ม เก่งก็จะอยากเป็นหมอหรือทันตแพทย์ สาเหตุ

ในขณะที่ในกรณีของเด็กอีกคน ตอน ป.๕ เพราะเรียนได้ดี พ่อแม่บอกให้เป็น... ไม่เคย

สอบออกมา วิชาที่ถนัดกลับไม่ได้เกรด ๔ คิดว่าตัวเองชอบและถนัดอะไร เหมือนทุกปี ถามเด็กว่าทำไม เพราะคุณรู้ เด็กๆ ส่วนใหญ่ไม่ได้รู้ตัวเองก่อนเลือก

เยอะจนเป็นที่ยอมรับของเพื่อนๆ ในด้านนี้ แผนการเรียนขนาดนั้นหรอกค่ะ โถ! อายุ

คำตอบของเด็กคนนี้เป็นไปตามความเป็นจริง แค่สิบสี่สิบห้าต้องเลือกแผนฯ เอง แล้วถ้า

ก็คือ “สิ่งที่รู้ ครูไม่ได้ออกสอบ” อยากเป็นแม่บ้านที่ดี หรืออยากบวช พ่อแม่

ขอถามตรงนี้สักนิดว่า... เกรดบอกอะไร จะให้ โ อกาสลู ก ไหมคะ... แม่ นุ้ ย เข้ า ใจค่ ะ

ได้แค่ไหน? จะต้องยึดถือเกรดเป็นตัวตัดสิน ว่าหลายคนจะคิดว่าก็ลูกฉันเปลี่ยนใจตลอด

ชี วิ ต นั ก เรี ย นหรื อ เปล่ า ? ขอถามต่ อ อี ก ว่ า เรียนอะไรไปก็ได้ไม่นาน ไม่เห็นชอบอะไรเลย

ครอบครัวไหนพ่อแม่ตั้งเป้าหมายเรื่องความรู้ แต่ เ ด็ ก ก็ ค ล้ า ยเรานะคะ เหมื อ นเรื่ อ งการ

ให้กับลูก (ไม่เน้นเรื่องคะแนน) และครอบครัว ทดลองไปร้านอาหาร... ลองไปกินร้านนั้น

ไหนที่คอยตามแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ... และ ดูไหมเขาว่าอร่อย ไปแล้วปรากฏว่าไม่ถูกปาก

คำถามสุดท้าย... สำหรับครอบครัวของเรา หรือบริการไม่ดี ก็ขอไม่ไปแล้วดีกว่า... เขายัง

เราเป็นครอบครัวแบบไหน? เด็ ก ก็ ต้ อ งทดลองค่ ะ แต่ ไ ม่ ใ ช่ ต้ อ งทดลอง

ทุกปี แม่นยุ้ จะถามเด็กๆ มัธยมฯ ปลายว่า เรียนหมดทุกอย่างเพื่อเผื่อเลือกนะคะ ตรงนี้

รูไ้ หมว่าตัวเองชอบอะไร และถนัดอะไร ไม่ตอ้ ง ต้องถามตัวคุณพ่อคุณแม่เองแล้วล่ะค่ะ ว่าเรา

๓๐


/ วอลต์ ดิสนีย์ / / ชาลส์ ดาร์วิน /

/ แม่ชเี ทเรซา /

มองลูกได้ขาดและยอมรับในความเป็นตัวเขา เป็นแรงบันดาลใจให้ลูกได้ แล้วช่วยเหลือลูก

ได้แค่ไหน ด้วยการสังเกตและเตรียมลูกให้พร้อมเลยค่ะ! แบบนี้ ลู ก เราจะได้ ไ ม่ ต้ อ งมานั่ ง เครี ย ด

เด็ ก บางคนต้ อ งการเวลาอยู่ ตอนมั ธ ยมฯ และเครี ย ดกั บ งานที่ ไ ม่ ไ ด้ รั ก

ยวมองแมลงต่างๆ บางคนวาด ไปอีกตลอดชีวิต คุณพ่อคุณแม่ก็จะได้ไม่ต้อง

คนเดี การ์ ตู น ทั้ ง วั น บางคนมี จิ ต อาสา วิ่งขอเกรดจากครูเมื่อลูกทำได้ไม่ดี เพราะเด็ก

อคนอื่นตลอดเวลา ...ลูกเรา ส่วนใหญ่ไม่ได้เก่งทุกวิชา เราเสริมลูกในสิ่ง

ช่วยเหลื ที่ เ ขาชอบและถนั ด ดี ก ว่ า มาตามซ่ อ มแซม

อาจจะเป็ น ได้ แ บบ ชาลส์ ดาร์ ว น ิ

ในสิ่งที่เขาไม่ถนัดเลยอยู่เรื่อยไป วอลต์ ดิ ส นี ย ์ หรื อ แม่ ช เ ี ทเรซา ก็ ไ ด้ แต่...เรากลับเห็นว่าลูกไม่เก่ง ตอนเล็กๆ

ให้เรียนพิเศษ พอโตก็ไปกวดวิชา อันนี้แม่นุ้ย

เกี่ยวกับแม่นุ้ย: เห็นว่าพ่อแม่ก็หวังน้อยไปนิดนะคะ หวังสูง

สำเร็จการศึกษาด้านภาพประกอบ ไปเลยค่ะ ถ้าลูกอยากเป็นเชฟ เราก็ต้องดูว่า

หนังสือเด็ก เป็นอดีตกราฟิกดีไซเนอร์ ลูกมีความถนัดไหม ในเรื่องรสชาติและกลิ่น

และครูสอนภาษาอังกฤษชัน้ มัธยมฯ ปลาย ที่โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยและโรงเรียน ของอาหาร ถ้ามี ก็ตอ้ งดูตอ่ ว่าอาหารแบบไหน

มาแตร์เดอีวทิ ยาลัย ประสบการณ์สอนรวม ชาติอะไร คาวหรือหวาน ลูกบริหารเก่งไหม

๑๓ ปี ปัจจุบันช่วยงานสอนเด็กๆ ชั้น ชอบอยู่กับคนเยอะๆ หรือเปล่า น่าจะเปิด

ประถมฯ ปลายที่โรงเรียนทอสี ร้านหรือรับจ้าง ต้องไปเรียนที่ไหน ใครจะ


เด็กทุกคนคือศิลปิน

A

คนละภาพเดียวกัน เรื่อง: แม่สาว - วรวสี ก้องสมุทร (คุณแม่ของน้องข้าวหอม อ.๓) ครูหยก - วรรณวนัช บูรพาเดชะ

หากตั้ ง คำถามว่ า สิ่ ง ต่ า งๆ รอบตั ว เด็ ก ๆ

แต่ละคนนั้นมีรูปร่างหน้าตาเหมือนกันไหม บางคน อาจจะตอบว่ า เหมือนกัน บางคนอาจจะตอบว่า ไม่เหมือน แต่ถ้าลองให้เด็กๆ ได้ถ่ายทอดภาพของ สิ่ ง เหล่ า นั้ น ออกมาเป็ น รู ป วาด แน่ น อนเลยว่ า ภาพที่เด็กๆ แต่ละคนวาดนั้นจะไม่เหมือนกันเลย... จริงอยู่ที่ว่าช้างนั้นมีสี่ขา และมีตัวโต แต่สำหรับเด็กๆ

ประถมศึกษาปีที่ ๑ หลังจากฟังนิทาน ‘ช้างมาโรงเรียน’

จบแล้ว ภาพวาดรูปเจ้าช้างตัวโตนั้นถูกถ่ายทอดออกมาอย่าง

หลากหลาย เป็นช้างเหมือนกันแต่ หน้าตา ลักษณะ สีสัน

แตกต่างกันไป จากการฟังนิทานครั้งนี้ นอกจากบันทึกภาพ

แล้ว เด็กๆ ป.๑ ยังได้เรียนรู้ที่จะเทียบเคียงช้างกับตัวเขา

เองด้วย อวัยวะต่างๆ ของตนเองมีหน้าที่เหมือนหรือต่างกัน

อย่างไรกับอวัยวะต่างๆ ของช้าง ได้มชี า้ งเป็น ‘เพือ่ น’ ทีค่ อย

ทำหน้าที่สะท้อนภาพให้เด็กๆ เรียนรู้เรื่องร่างกาย การดูแล

รักษาร่างกาย รวมถึงเชื่อมโยงไปถึงเรื่องของคนและสัตว์

ที่ต่างก็เป็นสิ่งมีชีวิตและเป็นเพื่อนร่วมโลก อี ก หนึ่ ง กิ จ กรรมวาดเขียนเรียนรู้ที่จะขอเล่าถึง คือ

กิจกรรม ‘ต้นไม้ที่รัก’ ของระดับชั้นอนุบาล ๒ ศิลปินตัวน้อย

ทั้งหลายต่างมีความสุขกับการระบายสีน้ำ ได้ตื่นเต้นกับ

การไหลรวมกันของสีต่างๆ จนได้ค้นพบสีใหม่ที่สวยงาม

เติ ม แต่ ง ด้ ว ยสี ช อล์ ก อี ก สั ก หน่ อ ย ต้ น ไม้ ข องศิ ล ปิ น น้ อ ย

ก็เติบโตขึ้นอย่างงดงาม สิ่งที่สังเกตได้คือต้นไม้ของเด็กๆ

ต่างก็เป็นต้นไม้ แต่กลับไม่มีต้นไหนเหมือนกันเลย เช่นเดียวกันกับตัวเด็กๆ เอง เขาทั้งหลายต่างก็เหมือน

กัน แต่ก็มีความแตกต่างกัน เป็นความแตกต่างที่นำมาซึ่ง

ความสวยงามหลากหลาย สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ผู้ใหญ่ไม่ควรหลงลืม

เด็กแต่ละคนมีความเป็นปัจเจก มีพื้นฐานข้อเด่นและด้อย

ที่แตกต่างกัน หากบุคคลแวดล้อมเข้าใจในข้อนี้ ความสุข

ของทั้งเด็ก ของผู้ใหญ่ และของโลกใบนี้คงจะเพิ่มขึ้นอีกมาก

ว่าอย่างนั้นไหม?

E


B

C

D

a. น้องเออาร์ b. น้องโอม c. น้องเปรม d. น้องปิงปิง e. น้องหนูนัน f. น้องแค็ท g. น้องภู h. น้องปันนา F

G

H

๓๓


เรื่องเล่าจาก ‘ปัญญาประทีป’

เดก็ แนว...ปัญญาประทีป วิชาแนะแนวแบบพุทธปัญญา เรื่อง: ครูแจ๊ด - พัชนา มหพันธ์ รองผู้อำนวยการโรงเรียนปัญญาประทีป

ทำไมต้องเด็กแนว

ยอมรั บ ว่ า โดยส่ ว นตั ว เวลาได้ ยิ น ชื่ อ วิ ช า

‘แนะแนว’ แล้ ว จะหาว ติ ด กั บ สั ญ ญาที่ ม าจาก

ประสบการณ์ เ ดิ ม สมั ย เป็ น นั ก เรี ย นรุ่ น กระโน้ น

และคิดว่าเด็กรุ่นใหม่ได้รับการเลี้ยงดูมาด้วยวิธีการ

ที่แตกต่างจากรุ่นเรามาก พ่อแม่มีความเป็นเพื่อน

พูดคุยกันเอง วิธีการสื่อสารกับเด็กรุ่นนี้จึงเป็นสิ่งที่

ครูอย่างเราควรเรียนรู้และปรับอย่างสร้างสรรค์

ลูกศิษย์เรา ยกตัวอย่างเช่น นักเรียน ม.๑ เพิง่ เข้ามา

มาจากต่ า งที่ กั น การอยู่ ร่ ว มกั น ทั้ ง วั น -คื น ย่ อ ม

กระทบกระทั่งง่ายกว่าโรงเรียนไป-กลับ เราต้องไว

ต้ อ งทั น ทั้ ง ปั ญ หาที่ เ กิ ด ขึ้ น ในกลุ่ ม เพศเดี ย วกั น

หรือข้ามเพศ ปั ญ หาเด็ ก ที่ ทุ ก ข์ จ ากการพู ด คุ ย กั บ พ่ อ แม่

ไม่ เ ข้ า ใจ ปั ญ หาเด็ ก รายบุ ค คลที่ ป รั บ ตั ว เข้ า กั บ

เพื่อนไม่ได้ เหล่านี้คือโจทย์ที่ครูทุกคนต้องแบ่งปัน

การสอนวิ ช าแนะแนวของปั ญ ญาประที ป ข้อมูล นำมายกเป็นบทเรียนที่ต้องช่วยกันศึกษา

จึงพยายามปรับวิธีการเรียนรู้ การสื่อสารให้เหมาะ หาทางช่วยเหลือดูแลเด็ก กับนักเรียน พาคิด ตั้งคำถาม ใฝ่รู้ หาคำตอบด้วย อยากให้ยกตัวอย่างวิธีการเอาชีวิตจริงเป็น

ตนเอง หรื อ แลกเปลี่ยนกันในกลุ่มเพื่อนและครู โจทย์ในการคิดกิจกรรม โดยที่ยังคงสามารถใช้พุทธปัญญาเป็นหลักในการ

เด็ ก แนวสั ง กั ด อยู่ ใ นระบบดู แ ลช่ ว ยเหลื อ

เรียนรู้อย่างเรียบเนียน ให้เด็กเติบโตเป็นผู้ที่มีความ นักเรียนของโรงเรียน เราจึงช่วยออกแบบกิจกรรม

ฉลาดในการลิขิตชีวิตตนด้วยความรู้ คิด เข้าใจ บทเรียนที่จะช่วยพาเด็กคลี่คลายปัญหา ปมต่างๆ

ถูกต้องตามธรรมชาติ ตื่นรู้ไม่ไหลลงตามกระแส ทัง้ ห้องเรียนเด็กแนวคาบเรียนปกติ เด็กแนวภาคค่ำ

ของกิเลสตัณหาจากทั้งภายในและภายนอก นี่คือ ‘สมหญิง’ ‘สมชาย’ หรือนอกรอบ ไม่เป็นทางการ

ที่มาของ ‘เด็กแนว... พุทธปัญญา’ เช่น เราเห็นเด็กหญิง ม.๑ เพิ่งเข้าใหม่ ยังไม่ไว้ใจ

ใช้ ห ลั ก สู ต รหรื อ หนั ง สื อ เล่ ม ใดเป็ น หลั ก กั น แบบผู้ ห ญิ ง กลั ว ถู ก นิ น ทา เราพาเด็ ก ทำ

ในการกำหนดเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนรู ้ กิจกรรมทลายกำแพงหาจุดร่วมของเด็ก พบว่า

เราใช้ ชี วิ ต จริ ง เป็ น โจทย์ เป็ น เนื้ อ หาหลั ก เด็กหญิงห้องนี้ทุกคนชอบเพลง ชอบดนตรีมาก

เพราะโลกเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกขณะ หนังสือสำคัญ เราออกอุบายให้เขาตั้งวงเป็น PPS’s Girl Band

ที่สุดที่ต้องอ่านก่อนเตรียมสอน คือ พฤติกรรม วงแรกของโรงเรียน กำหนดการงานให้ เตรียมออก

ความคิด ความเชื่อ สภาวการณ์ทางจิตใจของ มินิคอนเสิร์ต โดยให้เก็บเป็นความลับ ซุ่มซ้อม

๓๔


ปรากฏว่ า เด็ ก ๆ ชอบมาก เอาจริงเอาจัง จาก เด็กแนวภาคค่ำ ‘สมหญิง’ ‘สมชาย’ คืออะไร ต้น ไม้ ที่ เ หี่ ย วเฉา กลับเปล่งบานขึ้น มีพลังจาก

ตอนที่เราจะเปิดโรงเรียนมีหลายคนทักว่า

แสงแดดที่ครูส่องให้ ได้รับความชุ่มชื้นจากการ กล้ า มากที่ จ ะทำโรงเรี ย นประจำที่ เ ป็ น สหศึ ก ษา

ทำงานร่วมกับเพื่อน มีเป้าหมายร่วม แม้จะขัดแย้ง ระดับมัธยมฯ คิดไปก็จริงอย่างที่เขาเตือน เราจึง

กั น บ้ า ง แต่ ด้ ว ยเป้ า หมายที่ ชั ด เจนร่ ว มกั น คื อ ต้องวางแผนป้องกัน และปลูกปัญญาให้เด็กๆ ใน

ต้องการเป็นดอกไม้ที่สดใส ร้อง-เล่น-เต้น-ระบำ เรื่ อ งเพศ และสั ม พั น ธภาพระหว่ า งเพศให้ เ ป็ น

ให้ พี่ ๆ และครู ทั้ ง โรงเรี ย นชื่ น ชม เริ่ ม เรี ย นรู้ จั ก กิจวัตร โดยเราคิดว่าการสอนความเป็น ‘สุภาพ-

ปรับกายและใจเข้าหากันมากขึ้น ก่อร่างตั้งวงใช้ชื่อ บุรุษ’ ‘สุภาพสตรี’ เป็นหนึ่งในหลายวิธีที่จะช่วย

ว่ า ‘Octagon’ ออกแบบโลโก้ วาดลงผ้ า ป้องกันได้ เพราะหากเราไม่สอนสิ่งที่ควรเหล่านี้

เตรียมเปิดคอนเสิร์ตเล็กๆ ให้ทุกคนชมร่วมกัน สื่อก็จะเป็นครูหลักในการสอนสิ่งตรงข้าม เด็กแนวสาวห้าวที่เข้ากับเพื่อนผู้ชายได้ดีกว่า

เราจึ ง ตั้ ง ใจเลื อ กชั่ ว โมงเรี ย นที่ เ หมาะสม

ผู้ ห ญิ ง ด้ ว ยกั น หรื อ เป็ น สาวน้ อ ยที่ เ ป็ น มิ ต รกั บ ดูสบายๆ แยกหญิง-ชาย เป็นยามวิกาลเล็กน้อย

ทุกคน จนมีหนุ่มน้อยใหญ่แอบชอบอยู่บ้าง แต่เริ่ม เพื่อความแปลกใหม่ สรุปเลือกเป็นภาคค่ำ ปีที่

กังวลว่าจะถูกมองในทางลบ กลัวเพื่อนผู้หญิงจะยิ่ง ผ่ า นมา เราทำเฉลี่ ย ๑ ครั้ ง ต่ อ สั ป ดาห์ ส ำหรั บ

ถอยห่าง กลัวถูกมองว่า ‘บริหารเสน่ห์’ ปัญหา แต่ ล ะบ้ า น ระยะเวลาประมาณ ๔๕-๙๐ นาที

แบบนี้มีให้เห็นทั่วไปในโรงเรียนทั่วโลก สำคัญที่ว่า ขึ้นอยู่กับเนื้อหา แต่ปีนี้การงานเราพันพัว จึงขอ

เรามองว่ า ควรนำมาเป็ น บทเรี ย นให้ กั บ นั ก เรี ย น ลดเวลาเหลือ ๑ ครั้ง ใน ๒ สัปดาห์ หรือไม่ ครูแจ๊ดปรึกษากับทีม สรุปว่าเราเชิญครูพ่อ

เรื่องชื่อกิจกรรมก็สำคัญ ต้องน่าสนใจ กวน

‘ครู เ บิ ร์ ด ’ ซึ่ ง เป็ น ครู ห นุ่ ม อายุ ๒๖ ปี ม าเล่ า ถึ ง นิดๆ แบบวัยรุ่น จึงเลือก ‘สมหญิง’ ‘สมชาย’

ประสบการณ์ ก ารมี ป ฏิ สั ม พั น ธ์ กั บ ผู้ ห ญิ ง ให้ เ ด็ ก และทำเนื้ อ หาให้ ทั น กั บ ใจวั ย รุ่ น ดึ ง สื่ อ ที่ เ ด็ ก ๆ

ผู้หญิงฟัง แล้วครูแจ๊ดคอยตั้งคำถามให้ครูเบิร์ด กำลังนิยม ที่เขาดูกันอยู่ แอบดูกันอยู่นี่ล่ะ มาชวน

ตอบและชวนเด็กคิดไปด้วย ให้เห็นเส้นกั้นระหว่าง คิดชวนคุยกัน ตั้งชื่อตอนต่างๆ ให้น่าสนใจ เช่น

มนุษยสัมพันธ์ดี กับการบริหารเสน่ห์ให้คนชอบ ‘สุภาพบุรุษจุฑาเทพ VS สมบุรุษปัญญาประทีป’

ให้ เ ด็ ก ๆ ได้ ก ลั บ มาตรวจสอบพฤติ ก รรมทั้ ง ที่ เป็นต้น กิจกรรมต้องสนุก ไม่ง่วง เป็นช่วงที่เด็ก

เจตนาหรือไม่เจตนาก็ตาม ว่าเสี่ยงต่อการจุดไฟ รอคอยและทวงถาม ครู จึ ง เตื อ นตั ว เองเสมอว่ า

ให้ ผู้ อื่ น คิ ด ลบ หรื อ วิ พ ากษ์ วิ จ ารณ์ ไ ด้ ห รื อ ไม่ จะไม่สอน ไม่บอกให้ทำ ไม่ทำ แต่จะใช้ Open

หากเราสำรวมทั้งกาย วาจา ใจที่สุดแล้ว ยังมีคน Approach ตั้งคำถามเท่านั้น ให้เขาสอนกันเอง

นินทา ก็ให้มองให้เข้าใจถึง ‘โลกธรรม’ การที่เรา ด้วยค่านิยมกลุ่ม ซึ่งเราต้องคอยสำรวจ คอยพาไป

นำเรื่องแบบนี้ ที่เด็กๆ บางคนรู้สึกอึดอัดขึ้นมา ให้ เ ห็ น ทางเลื อ ก ให้ เ ห็ น ผลของทางที่ จ ะเลื อ ก

พูดคุย เรียนรู้ ทำความเข้าใจกันทั้งกลุ่ม ไม่เพียง กระตุ้นถามให้เตรียมรับผลของการคิด การกระทำ

แต่ ใ ห้ เ ด็ ก ๆ ทุ ก คนได้ คิ ด ได้ รู้ ถึ ง วิ ธี ก ารวางตั ว ที่จะเกิดขึ้นด้วยตนเอง เน้นการเป็นที่พึ่งของตน

ที่เหมาะสมต่อเพศตรงข้ามแบบ ‘สมหญิง’ แต่จะ ไม่พยายามชี้นำ ยัดเยียดความคิดของเรา ให้เขา

ทำให้เราได้เรียนรู้ความรู้สึก ความคิดของผู้อื่น ถามใจตนเอง ใช้จิตคิดพิจารณาด้วยตนเอง ให้สม

ไม่คิดแต่มุมของตัวเอง และเลือกวิธีนินทาให้ร้าย กับเป็นเด็กแนว... พุทธปัญญา กันเป็นทางออก ห้องเรียนเด็กแนวเปิดทำ การอ กับการทำงาน แม้จะหาว ย่างจริงจังต่อเนื่องมาปีนี้เป็นปีที่ ๒ มีเด็กหาวบ ้าง บ้าง จามบ้างเช่นกัน คณ ะครูผู้สอนยินดีเปิดรับฟัง จามบ้าง แต่ครูก็ยังคงสนุก คำแนะนำจากกัลยาณมิต รทุกท่านเสมอ ทีมงานเด็กแนว ประกอบ ด้วย ครูต่อ - พิทักษ์ บว ดขุนทด, ครูเหมียว - รุ และเราได้รับการสนับสน จิเ ุนที่ดีเยี่ยมจากคณะผู้บริห าร ครู และผู้ปกครองเส รข เจริญชัยไพบูลย์, ครูแจ๊ด - พัชนา มหพันธ์ มอมา

๓๕


เปิดหูเปิดตา

‘จากพ่อถึงลูก’ พุท ธปัญญากับการเลี้ยงลูก เรื่อง: แม่รุ่ง - รุ่งนภา ธนะภูมิ คุณแม่ของน้องลูกบัว ป.๓ และเจ้าของอัลบั้มเพลง ‘เมล็ดน้อยนักเดินทาง’

สวัสดีค่ะ คุณพ่อ คุณแม่ และผู้อ่านทุกๆ ท่าน วันนี้แม่รุ่งอยากจะ ชวนมาอ่านหนังสือเล่มเล็กที่น่าสนใจอีกเล่มหนึ่ง เปิดหูเปิดตากับเนื้อหา ข้างในที่อ่านสนุก มีสาระดีๆ อ่านเพลิดเพลิน เป็นเรื่องราวในการ เลี้ยงลูกของคุณพ่อที่เล่าผ่านตัวหนังสือโดยการเขียนจดหมายถึงลูกสาว ทั้งสอง อ่านแล้วรู้สึกถึงความรักความอบอุ่นของครอบครัว มีข้อคิด

ให้นำมาใช้ในการดำเนินชีวิต และใช้สอนลูกของเราได้อย่างน่าสนใจ

หนังสือ ‘จากพ่อถึงลูก’ โดย พ่อเช็ค - สุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ... แค่เห็น

หน้าปกก็ยังยิ้มตามไปด้วยเลยนะคะ ๓๖


ในฐานะแม่ ค นหนึ่ ง แม่ รุ่ ง มองเห็ น ความสุ ข ความทุ ก ข์ ใ นการเลี้ ย งลู ก ที่ ผ่ า นมาว่ า เป็ น

สิ่งที่ฝึกฝนตัวเราเอง ให้เราได้เรียนรู้ไปพร้อมกับลูก ให้เกิดความเติบโตทั้งร่างกาย ความคิด และสติ

ปัญญา ทุกวันนี้การที่คุณพ่อได้เข้ามามีบทบาทในการเลี้ยงลูกเคียงคู่ไปกับคุณแม่เป็นเรื่องที่น่า

สุขใจ ทำให้แม่อย่างเราชื่นใจและหายเหนื่อยได้ หลังจากที่อ่านหนังสือเล่มนี้จบ สิ่งแรกคือ ยิ้ม อิ่มเอมใจไปกับเรื่องราวที่คุณพ่อได้ถ่ายทอด

ประสบการณ์ในชีวิต ทั้งความสุข ความทุกข์ในวัยเด็ก และสิ่งที่ประสบพบเจอในทุกๆ วัน เป็นการ

ส่งต่อเรื่องราวให้แก่ลูกๆ ให้เขาได้เรียนรู้ โดยใช้ธรรมะแก้ปัญหาต่างๆ ตามหลักเหตุผลทาง

พุทธศาสนา ให้ลูกเห็นความเป็นจริงต่างๆ อย่างชัดเจน บางช่วงบางตอนในหนังสือเป็นเนื้อหาที่สอนให้ลูกมีความเมตตา กรุณา รู้จักชื่นชมยินดี

กับผู้อื่น ซึ่งก็ตรงกับหลักพรหมวิหาร ๔ (เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา) เป็นเรื่องความมีสติ

การเสียสละ ที่เราและลูกก็ต้องฝึกฝน เพื่อความสุขของตนเองและสังคมส่วนรวม เวลาทำสิ่งใด

ให้นึกถึงผู้อื่น และผลกระทบที่ตามมาด้วยเสมอ แม่รุ่งประทับใจคำสอนอีกหนึ่งเรื่องที่เกิดขึ้น

ในชีวิตของทั้งเราและลูกได้เสมอ นั่นคือ เรื่อง ‘การทำผิด’ และ ‘การขอโทษ’ ในหน้า ๕๔

“รู้ จั ก การเอ่ ย คำขอโทษก็ จ ะยิ่ ง วิ เ ศษ ขอโทษแล้ ว มี ก ารให้ อ ภั ย ไม่ โ กรธเกลี ย ดยิ่ ง วิ เ ศษใหญ่

เพราะนั่นหมายถึงอัตตาเราต่างเล็กลง แต่เมตตาและกรุณาเราใหญ่ขึ้น” ประสบการณ์ที่พ่อเช็คถ่ายทอดเรื่องราวคำสอนถึงลูกๆ ในหนังสือเล่มนี้ เป็นความประทับใจ

ของแม่รุ่งในฐานะแม่คนหนึ่ง เมื่อได้รับความสุขที่ได้จากการอ่านหนังสือเล่มนี้ แม่รุ่งจึงอยากแบ่งปัน

ผ่านข้อเขียนในครั้งนี้ การที่ได้อ่านหนังสือดีๆ ที่ร้อยเรียงมาจากประสบการณ์ของคนเป็นพ่อแม่

การสอนลูกๆ โดยมีความรักเป็นต้นทุนนั้นงดงามอย่างที่สุด แม่รุ่งขอขอบคุณโรงเรียนทอสี ที่แนะนำหนังสือดีเล่มน้อยนี้ให้อ่าน ทำให้ได้ข้อคิดมากมาย

และขอบคุณพ่อเช็คที่นำเรื่องราวดีๆ มาบอกเล่าผ่านตัวหนังสือ ให้พ่อแม่อย่างเราได้ซึมซับข้อคิด

ที่ดีงาม และซาบซึ้งกับความรักของครอบครัว มีพลังความรักนำทางในการเลี้ยงลูกตามแนว

พุทธปัญญา และเชื่อค่ะว่าความรักของพ่อแม่ที่มีต่อลูกๆ นั้น มีพลังส่งต่อถึงกันได้จริงๆ

ขอชวนร่วมอนุโมทนา...

ทางโรงเรียนขอเล่าเรื่องราวที่น่าอนุโมทนายิ่งให้ทุกท่านได้รับรู้และอนุโมทนาร่วมกัน เกี่ยวกับสิ่งของ

และอาหารแห้งที่ชาวทอสีทุกๆ คน ทั้งเด็ก ครู และผู้ปกครอง ได้นำมาร่วมทำบุญตักบาตรที่โรงเรียนในทุกเช้า

วันพระ ในภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๖ นี้ ด้วยทางวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก เห็นว่ามีสิ่งของและอาหารมากมายเกินความจำเป็นที่ทางวัดจะนำ

กลับไปบริโภคหรือใช้สอย ครูบาอาจารย์จึงมีดำริให้ทางโรงเรียนนำไปบริจาคหรือมอบให้ผู้ที่ขาดแคลนได้ใช้

ประโยชน์ ครูปริม - ปริมภร กฤษณายุธ เจ้าหน้าที่ประจำฝ่ายวิชาชีวิตนักเรียนเล่าว่า โดยปกติจะเป็นผู้เป็นธุระ

จัดการนำอาหารแห้งที่ได้รับจากการตักบาตรไปบริจาคให้ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ ที่ผ่านมาได้นำไปบริจาค

ให้เด็กๆ ทีส่ หทัยมูลนิธิ และมูลนิธบิ า้ นนกขมิน้ โดยจะมีการแจ้งให้ทางวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก ทราบข้อมูล

ด้วยว่านำไปบริจาคช่วยเหลือที่ใดบ้าง ครูปริมเล่าว่าที่ผ่านมามีน้อยครั้งมากที่ทางวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก

จะนำอาหารแห้งหรือของในบาตรกลับไปที่วัด ท่านยินดีอย่างยิ่งที่จะให้นำไปช่วยเหลือผู้ยากไร้และมีน้อยกว่า ทางโรงเรียนทอสีขออนุโมทนาครูบาอาจารย์ไว้ ณ ที่นี้อีกครั้งหนึ่ง รวมทั้งขออนุโมทนาแก่ทุกๆ ท่านที่มี

ส่วนร่วมในการแบ่งปันครั้งนี้ด้วย สาธุ

๓๗


ว ้ ั ร บ อ ร

ชะ

ัช บูรพาเด

วน ก - วรรณ ืเร่อง: ครูหย

พระอาจารย์ชยสาโรแสดงธรรมแก่ครูและนักเรียนทอสี ในวาระเปิดภาคเรียน / ๖ มิ.ย. ๕๖

พิธีถวายพระพรสมเด็จพระนางเจ้าฯ / ๙ ส.ค. ๕๖

พระบรมราชินีนาถ

ป.๕-๖ เรียนรู้การเขียนและพูดสร้างสรรค์กับ อ.อรยา สูตะบุตร และ พี่ภู - ขุนเขา เขจรบุตร / ๑๐, ๑๘ และ ๓๑ ก.ค. ๕๖

การปฏิบัติธรรมผู้ปกครอง โดยพระอาจ ์ชยสา โร / ๒๒ มิ.ย. ๕๖ ณ ทอสี และ ๒๕ ส.ค. ารย ๕๖ ณ ปัญญาประทีป

การอบรมภาษาชีวิตของผู้ปกครองระดับอนุบาล / ๑๘ มิ.ย. ๕๖

คุณโก๋ - จิตร์ ตัณฑเสถียร และคุณแม่ปุ๊กปิ๊ก ถ่ายทอดวิชา โฆษณาศาสตร์ (Aducation) ให้กับ ป.๕-๖ และคณะครู ทอสี / ๔ ก.ค. ๕๖

กิจกรรมมนต์รักอักษร / ๒๖ มิ.ย. - ๒๙ ก.ค. ๕๖

ูงาน ฝ่ายบริหารและเจ้าหน้าที่โรงเรียนทอสี ศึกษาด ๕๖ ก.ค. ๑๙ / ย สารสนเทศที่โรงเรียนวัฒนาวิทยาลั

กลุ่มผู้ปกครองปลูกผัก ิกบา น กับพ่อกุ๊ก ออกอาก ‘คุยโขมงบ่ายสามโมง’ ทาเบงช ่องโมเดิร์นไนน์ / ๓๑ ก.คาศ. ใน๕๖รายการ


คณะครูทอสีเป็นเจ้าภาพงานปาฐกถาธรรม ๑๐๒ ปีชาตกาล หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ ณ วัดปัญญานันทาราม / ๑๔ ก.ค. ๕๖

พระมหาพงศ์นรินทร์แสดงธรรมแก่คณะครูทอสีในช่วง ‘ทำไมธรรมะ’ / ๒๒ ส.ค. ๕๖

พงศ์นรินทร์

พิธีไหว้ครู / ๒๐ มิ.ย. ๕๖

การปฏิบัติธรรมผู้ปกครอง โดยพระมหา ฐิตวํโส / ๑๗ ก.ค. ๕๖

รายการ Happy SMEs มาสังเกตความสุข และถ่ายทำรายการที่โรงเรียน / ๑๔ ก.ค. ๕๖

ุ่มนักศึกษาปริญญาโท โรงเรียนอนุบาลภาสินีและดูงกลานที่ทอสี / ๒ ก.ค. ๕๖ ครุศาสตร์ จุฬาฯ ศึกษา

บ ๑ ปี เนื่องในวาระครบรอ๒ ก.ย. ๕๖ ม สา ง ลั กำ ป อ ช้ น งา ม / ๓๑ ส.ค. ของร้านกุศลกำลังสา

ทอสีรักษ์โลกรณรงค์ลดขยะที่วัดป่าเชิงเลน / ๒๒ ก.ค. ๕๖

โรงเรียนไผทอุดมศึกษา และสมาคมโรงเร จ.สระบุรี ศึกษาดูงานที่ทอสี / ๑๙ ส.ค. ๕๖ียนเอกชน


ถ้ามีการศึกษาที่ถูกต้องแล้ว เด็กจะหลุดพ้นจากการใฝ่เสพขึ้นมาสู่การใฝ่ศึกษา แล้วจะมีความสุขจากการได้เรียนรู้ ถ้าเด็กพัฒนาขึ้นมาสู่การศึกษาอย่างนี้ ชีวิตในครอบครัวก็จะมีปัญหาน้อยลง เด็กจะไม่เรียกร้องมาก เพราะพ่อแม่จะคอยหนุนให้เด็กคิด แล้วถามว่า ‘อยากทำอะไร’ มากกว่าถามว่า ‘อยากได้อะไร’ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.