สาระจากเรือนธรรม

Page 1



เรือนธรรม สาระจาก


สาระจากเรือนธรรม

จัดพิมพ์โดย : ห้องหนังสือเรือนธรรม ๒๙๐/๑ ถนนพิชัย เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๒๔๔-๘๒๙๒ โทรสาร ๐-๒๖๖๙-๔๕๙๐ www.ruendham.com

พิมพ์ครั้งแรก : กรกฏาคม ๒๕๕๐


คำ�นำ� ห้องหนังสือเรือนธรรม เป็นห้องหนังสือธรรมะที่ผู้สนใจศึกษา ธรรมได้เข้ามาค้นคว้า หาความรู้จากหนังสือและ เทปธรรมะ รวมทั้งการอบรมสมาธิเบื้องต้น เพื่อรับเอา พุทธธรรมเข้านำ�ชีวิตไปสู่ความร่มเย็น สุขสบายใจ เรามีความเชื่อมั่นว่ายังมีผู้ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรมและ แผ่ความเย็นไปยังคนรอบข้างให้หันมารับเอาความเย็น แห่งพุทธธรรมเข้าไว้ในชีวิตเพิ่มขึ้นได้ ในวาระที่ห้องหนังสือเรือนธรรมดำ�เนินงานมาครบรอบ ๔ ปี ในวันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๕๐ เราจึงจัดทำ�หนังสือ “สาระจากเรือนธรรม” เล่มนี้ขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึก และเพื่อเผยแพร่คำ�สอนของครูบาอาจารย์ผู้เป็นที่เคารพ อันเป็นการส่งเสริมให้การศึกษาธรรม เป็นไปโดยกว้างขวางยิ่งขึ้น ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยเป็นที่พึ่งอันสูงสุด ขอให้ผู้ใฝ่ธรรมทั้งมวลจงมีความสุข

ด้วยความปรารถนาดีอย่างยิ่ง


จดหมายจากในหลวงถึงพระเทพ ลูกพ่อ ในพื้นแผ่นดินนี้ทุกสิ่งเป็นของคู่กันมาโดยตลอด มีความ มืดและความสว่าง ความดีและความชั่ว ถ้าให้เลือกในสิ่งที่ตน ชอบแล้ว ทุกคนปรารถนาความสว่าง ปรารถนาความดีด้วยกัน ทุกคน แต่ความปรารถนานัน้ จักส�ำเร็จลงได้ จักต้องมีวิธีที่จัก ด�ำเนินให้ไปถึงความสว่างหรือความดีนนั้ ทางที่จักต้องไปให้ถึง ความดีก็คือรักผู้อื่น เพราะความรักผู้อื่นสามารถแก้ปัญหาได้ ทุกปัญหา ถ้าให้โลกมีแต่ความสุขและเกิดสันติภาพ ความรักผู้ อื่นจักเกิดขึ้นได้ พ่อขอบอกลูกดังนี้... ๑. ขอให้ลูกมองผู้อื่นว่า เป็นเพื่อนเกิด เพื่อนแก่ เพื่อน เจ็ บ เพื่ อ นตายด้ ว ยกั นทั้ ง หมดทั้ ง สิ้ น ไม่ ว ่ า อดี ต .............. ปัจจุบัน..............อนาคต ๒. มองโลกในแง่ ดี และจะให้ ดี ยิ่ ง ขึ้ น ควรมองโลก จากความเป็นจริง อันจักเป็นทางแก้ปัญหาอย่างถูกต้องและ เหมาะสม


๓. มีความสันโดษ คือ มีความพอใจเป็นพื้นฐานของจิตใจ พอใจตามมีตามได้ คือได้อย่างไร ก็เอาอย่างนัน้ ไม่ยึดติด ขอ ให้คิดว่ามีก็ดีไม่มีก็ได้ พอใจตามก�ำลัง คือมีน้อยก็พอใจตามที่ ได้น้อย ไม่เป็นอึ่งอ่างพองลมจะเกิดความเดือดร้อนในภายหลัง พอใจตามสมควร คือท�ำงานให้มีความพอใจเหมาะสมแก่งาน ให้ด�ำรงชีพให้เหมาะสม แก่ฐานะของตน ๔. มีความมั่นคงแห่งจิต คือให้มองเห็นโทษของความ เกียจคร้าน และมองเห็นคุณประโยชน์ของความเพียร และ เมือ่ เกิดสิง่ ทีไ่ ม่พงึ ปรารถนาให้ภาวนาว่า..............มีลาภมียศ สุข ทุกข์ปรากฎ สรรเสริญนินทา เสือ่ มลาภเสือ่ มยศ เป็นกฎธรรมดา อย่ามัวโศกานึกว่า ‘ชั่งมัน’ พ่อ ๖/๑๐/๒๕๔๗ ** ฉัน หวั ง ว่ า ค�ำสอนพ่ อ ที่ ฉัน ได้ ป ระมวลมานี้จ ะเกิ ด ประโยชน์แก่ท่านผู้อ่านที่ได้พบเห็น และลูกอันเป็นที่รักของพ่อ ทุกคน ฉันรักพ่อฉันจัง สิรินธร


โอวาทครั้งสุดท้ายของหลวงปู่มั่น

“ผู้ถือไม่มีบาป ไม่มีบุญ ก็มากมายเข้าแล้ว แผ่นดินนับวันแคบ มนุษย์แม้จะถึงตาย ก็นับวันมากขึ้น นโยบายในทางโลกีย์ใดๆ ก็นับวันประชันขันแข่งกันขึ้น พวกเราจะปฏิบัติล�ำบากในอนาคต เพราะเนื่องด้วยที่อยู่ไม่เหมาะสม เป็นไร่เป็นนาจะไม่วิเวก วังเวง ศาสนาทางมิจฉาทิฐิ ก็นับวันจะแสดงปาฏิหาริย์ คนที่โง่เขลาก็จะถูกจูงไปอย่างโคและกระบือ ผู้ที่ฉลาดก็ เหลือน้อย ฉะนัน้ พวกเราทั้งหลายจงรีบเร่งปฏิบัติธรรมให้สมควรแก่ ธรรม ดังไฟที่ก�ำลังไหม้เรือน จงรีบดับเร็วพลันเถิด ให้จิตใจเบื่อหน่ายคลายเมาวัฏสงสาร ทั้งโลกภายในหนังหุ้มอยู่โดยรอบ ทั้งโลกภายนอกที่รวมเป็นสังขารโลก ให้ยกดาบเล่มคมเข้าสู้ คืออนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พิจารณาติดต่ออยู่ไม่มีกลางวันกลางคืนเถิด


ความเบื่อหน่ายคลายเมาไม่ต้องประสงค์ ก็จะต้องได้รับแบบเย็นๆและแยบคายด้วย จะเป็นสัมมาวิมุตติและสัมมาญาณะอันถ่องแท้ ไม่ต้องสงสัยดอก พระธรรมเหล่านี้ไม่ล่วงไปไหน มีอยู่ทรงอยู่ในปัจจุบัน จิตในปัจจุบัน ที่เธอทั้งหลายตั้งอยู่หน้าสติ หน้าปัญญา อยู่ด้วยกัน กลมกลืนในขณะเดียวนัน้ แหละ”

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต จากหนังสือ เพชรน�้ำหนึง่


กระจกไม่เลือกที่จะสะท้อนภาพทุกชนิด ฉันใด จิตใจจงเอาเยี่ยงอย่างกระจก กระจกรับรู้ แต่ไม่ยึดถือครอบครอง ดังนัน้ จึงไม่มีภาพใดๆ หลงเหลือติดอยู่ในกระจก สายฝนในกระจก หาได้เปียกกระจกไม่ เปลวไฟในกระจก ก็หาได้เผารนกระจกเช่นกัน ทั้งนี้เพราะกระจกไม่ได้ให้อ�ำนาจแก่สายฝน และเปลวไฟ ดังนัน้ จงท�ำจิตใจของท่าน ให้เป็นดุจการรับรู้ของกระจก เพราะถ้าหากจิตของท่าน หลงยึดถือหรือตกเป็นทาสของกิเลสเมื่อใด ความทุกข์ ความเศร้าหมองใจ ย่อมตามมาเมื่อนัน้


นีค่ ือมรรควิธีแห่งการเพ่งพิจารณาและรับรู้สรรพสิ่ง ด้วยใจที่สงบบริสุทธิ์ ว่างเปล่าจากการปรุงแต่ง เพื่อปลดปล่อยจิตใจให้ว่างเปล่า หลุดพ้นไปจากภาพมายาต่างๆ ที่คอยฉุดรั้งหลอกลวงจิต ไม่ให้เห็นถึงความจริง จะต้องพยายามท�ำจิตให้หลุดพ้น จากการยึดติดในสิ่งทั้งปวง เปรียบเสมือนกระจกฯ

ทัสสี ภิกขุ จากกระจกส่องใจ


เรื่องเวทนานี้ เราหนีพ้นไปไหนไม่ได้ เราต้องรู้มัน เวทนาก็ สักว่าเวทนา สุขก็สักว่าสุข ทุกข์ก็สักว่าทุกข์ มันเป็นของสักว่า เท่านัน้ แหละ แล้วจะไปยึดมั่นมันท�ำไม ถ้าจิตฉลาดแล้ว เพียง คิดเท่านี้ ก็แยกเวทนาออกจากจิตได้ ธรรมะจากต้นไม้ หน้า 25 ,2536

จิตนี้ไม่มีอะไร ไม่เกิดตามใคร ไม่ตายกับใคร จิตเป็นเสรี รุ่งโรจน์โชติการ ไม่มีเรื่องราวต่างๆ เข้าไปอยู่ในที่นนั้ ที่จะมีเรื่อง ราวก็เพราะมันหลงสังขารนี่เอง หลงอัตตานี่เอง กุญแจภาวนา หน้า 8, 2544

พระพุทธเจ้าจึงสอนว่า ไม่มอี ะไรยิง่ ไปกว่าการทีเ่ ราเข้าใจว่า อันนี้ไม่ใช่ตัวเรา แต่เป็นของสมมุติ อันนัน้ ไม่ใช่ของของเรา แต่ เป็นของสมมุติ น�้ำไหลนิง่ หน้า ๙๑, ๒๕๔๔ พระโพธิญาณเถร (หลวงปู่ชา สุภทฺโท)

๑๐


คนส่วนใหญ่พอใจเรียกร้องความสมบูรณ์แบบจากคนอื่น โดยหลงลืมการเรียกร้องจากตนเอง มีอยู่เสมอที่เราคาดหวังให้ คนนั้นเป็นอย่างนี้ คนนี้เป็นอย่างนั้น เข้มงวดกับใครต่อใคร เขาไปทั่ว แต่ส�ำหรับตัวเองแล้ว “ยืดหยุ่น” ได้ทุกเรื่อง เรามักลืมไปว่า โดยความจริงพื้นฐานมนุษย์เป็นผู้ที่ไม่มี ใครสมบูรณ์แบบไปเสียทั้งหมด ทุกคนย่อมมีข้อดี ข้อด้อยในตัว เองไม่มากก็น้อย คนฉลาดย่อมรู้จักที่จะเลือกที่จะมองข้ามข้อ ด้อยของคนอื่น นึกนิยมแต่ในข้อดีของเขา ส่วนคนเขลาพอใจ ยกข้อด้อยของคนอื่นมาโจมตี แล้วท�ำทีมองไม่เห็นข้อดีของคน อื่น หากเราตระหนักอย่างชัดเจนว่า “ความไม่สมบูรณ์แบบ” คื อ สั จ ธรรมพื้ นฐานของมนุ ษ ย์ เราจะเรี ย กร้ อ งจากคนอื่ น น้อยลง เข้าใจตนและคนอื่นมากขึ้น มองโลกและชีวิตอย่าง อ่ อ นโยนและผ่ อ นคลาย พร้ อ มเสมอที่ จ ะให้ อ ภั ย ความ “ไม่สมบูรณ์แบบ”ของคนอื่นอย่างรู้เท่าทัน

พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี จากหนังสือปรัชญาหน้ากุฏิ

๑๑


เจ้าของเรือ “พ่อจ๋า พ่อว่าพ่อเป็นเจ้าของเรือ แต่พ่อต้องล้างเรือเช็ดถู เรือต้องชโลมน�้ำมันให้มันบ่อย ๆ พ่อต้องเก็บรักษาแจวพาย และเครื่องใช้ในเรือทุกๆ อย่าง แล้วพ่อก็แจวเมื่อพาพวกเราไปนัง่ เรือเล่น พร้อมกับเพื่อนบ้าน ของเราทุกคน พ่อเหนื่อยเกือบตาย ทีพวกนัน้ ท�ำไมนัง่ สบายไม่ ช่วยพ่อแจว ไม่ช่วยพ่อเช็ดล้างเรือบ้างเล่าพ่อจ๋า?” หนูจ้อยถามพ่อท�ำตาแดง ๆ “ก็พ่อเป็นเจ้าของเรือนี่ลูกเอ๋ย” “ใครเป็นเจ้าของอะไร ก็ต้องเหนื่อยเกือบตาย ใครไม่ เป็นเจ้าของก็สบาย พ่อเห็นว่ามันจะยุติธรรมหรือ?” “ธรรมเนียมมันเป็นอย่างนัน้ เอง ใครเป็นเจ้าของก็ต้อง ทนเหนื่อยทนหนักใจ” “แล้วพ่อจะขืนเป็นเจ้าของเรือไปท�ำไม ให้เขาเสีย แล้ว ขอนัง่ กะเขาเป็นครั้งคราว เหมือนที่นงั่ เรือเราอย่างสนุกสนาน มิดีกว่าหรือ?” “ก็พ่ออยากจะเป็นเจ้าของเรือสักล�ำหนึง่ นี่ลูกเอ๋ย” “ขออย่าให้ฉันต้องเป็นเจ้าของเรือร่วมกับพ่อ ฉันจะไม่ ยอมเป็นเจ้าของอะไร ๆ เลย แม้แต่ตัวของฉันเอง!” “แล้วลูกจะอยู่ได้อย่างไร?”

๑๒


“อยู่อย่างไม่ต้องทนเหนื่อยเหมือนพ่อ และตรงกันข้าม จากพ่อทุกประการ!” ดังนัน้ หนูจ้อยจึงกลายเป็นเณรจ้อยไป เพราะเขาไม่อยาก เป็นเจ้าของสิ่งใด แต่อยากเป็นอยู่ชนิดที่เขาเห็นว่า ตรงกันข้าม จากพ่อทุกประการ นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ถ้าใครไม่เป็นเจ้าของสิ่งใด กลับจะได้กิน “ไข่แดง” ของ สิ่งนั้น (เหมือนคนที่มาพลอยนั่งเรือเล่นกับพ่อ) ส่วนใครที่ เป็นเจ้าของสิ่งใด เขาจะกินได้เพียง “ไข่ขาว” ของสิ่งนัน้ ซึ่งบางทีถึงกับอาจจะต้องกินเปลือกไข่ หรือมูลโสโครกที่ติด อยู่กับเปลือกไข่เข้าไปด้วยกัน ดังนี้แล้วใครจะอยู่ในสภาพที่ น่าสงสารกว่าใคร ในระหว่าง พ่อ- ลูก สองคนนี้เพื่อตอบ ปัญหาเกี่ยวกับตัวเราโดยตรงสืบไป

ท่านพุทธทาสภิกขุ จากหนังสือนิทานเซ็น

๑๓


กิเลสเท่ามหาสมุทร ความเพียรเท่าฝ่ามือ หลวงปู่มั่นพระอาจารย์ใหญ่ เทศน์สอนหลวงปู่ขาว ต่อไป ว่า “ผม แม้ในสมัยเป็นคนท�ำเล่นๆ ลวงๆ ตัวเองก็ไม่เห็น ด้วยกับค�ำพูดดูถูกศาสนา และดูถูกตัวเองดังที่ท่านว่ามานัน้ ถ้าท่านยังเห็นว่าตัวยังพอมีสารคุณอยู่บ้าง ท่านลองท�ำ ตามแบบที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้โดยถูกต้องดูซิ อย่าท�ำตาม แบบที่กิเ ลสพาฉุด ลากไปทุก วี่ทุก วันทุก เวลา แม้ ข ณะก�ำลัง เข้าใจว่าตนก�ำลังท�ำความเพียรอยู่ มรรค ผล นิพพาน ที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้เป็นสมบัติ กลางจะเป็นสมบัติอันพึงใจท่านในวันหนึง่ แน่นอน โดยไม่มีค�ำ ว่ายากล�ำบากและส�ำเร็จได้ช้ามาเป็นอุปสรรคได้เลย ขนาดที่พวกเราท�ำความเพียรแบบกระดูกจะหลุดออกจาก กันเพราะความขี้เกียจอ่อนแออยู่เวลานี้ ผมเข้าใจว่าเหมือนคน ที่แสนโง่และแสนขี้เกียจ เอาสิ่งอันเล็กๆ น้อยๆ เท่านิ้วมือไป เจาะภูเขาทั้งลูก แต่หวังให้ภูเขานั้นทะลุในวันเวลาเดียว ซึ่ง เป็นที่น่าหัวเราะของท่านผู้ฉลาดปราดเปรื่องด้วยปัญญา และ มีความเพียรกล้าเป็นไหนๆพวกเราลองคิดดู

๑๔


เทียบกับประโยคแห่งความเพียรของท่านผู้เป็นศากยบุตร พุทธสาวกในครั้งพุทธกาลท่านแล้ว น่าสมเพชเวทนาเหลือ ประมาณ เราหวังพระนิพพานด้วยความเพียรเท่าฝ่ามือ ลอง คิดดู กิเลสเท่ามหาสมุทร แต่ความเพียรเท่าฝ่ามือ มันห่างไกล กันขนาดไหน คนสมัยนี้ เพียงใช้ฝา่ มือแตะมหาสมุทร ท�ำความเพียรเพียง เล็ ก น้ อ ย แต่ ห มายมั่ น ปั ้ น มื อ ว่ า จะข้ า มโลกสงสาร เมื่ อ ไม่ ได้ตามใจหวังก็หาเรื่องต�ำหนิศาสนาและกาลสถานที่ ตลอดคน สมัยนัน้ สมัยนี้ไม่ละอาย...”

หลวงปู่ขาว อนาลโย โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม ๔ หน้า ๑๓๕-๑๓๖

๑๕


บารมี ๑๐ เป็นสิ่งที่ส�ำคัญมากในการที่จะดับกิเลสเป็น สมุจเฉท เพราะการเจริญกุศลนัน้ ต้องเจริญทุกประการ เพื่อที่ จะเป็นปัจจัยให้ปัญญาเกิดขึ้นดับกิเลสได้หมดสิ้นเป็นสมุจเฉท เป็นล�ำดับขึ้น จึงต้องเข้าใจให้ถูกต้องว่ากุศลใดเป็นบารมี และ กุศลใดไม่ใช่บารมี บารมีเป็นปัจจัยส�ำคัญส�ำหรับการดับกิเลส เป็นสมุจเฉท จึงควรที่จะได้ศึกษาและเห็นความส�ำคัญของ บารมีทั้ง ๑๐ เพื่อที่จะได้อบรมให้ยิ่งขึ้น บารมี ๑๐ คือ ทานบารมี ๑ ศีลบารมี ๑ เนกขัมมบารมี ๑ ปัญญาบารมี ๑ วิริยบารมี ๑ ขันติบารมี ๑ สัจจบารมี ๑ อธิษฐานบารมี ๑ เมตตาบารมี ๑ อุเบกขาบารมี ๑ ที่กล่าวถึงบารมี ๑๐ ก็เพื่อให้พิจารณาส�ำรวจตัวเองว่า ยัง ยิ่ ง หย่ อ นบารมี ใด จะได้ อ บรมบารมี เหล่ า นั้น ให้ ยิ่ ง ขึ้ น จน สามารถเป็นปัจจัยให้รู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้ เพราะเหตุว่า ถ้า มุ่งที่จะให้สติเกิดระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏปกติ ตามความเป็นจริงในชีวิตประจ�ำวัน โดยที่ไม่ค�ำนึงการอบรม เจริญบารมีก็จะเห็นได้ว่า วันหนึง่ ๆ นัน้ พ่ายแพ้ต่ออกุศลกรรม เพราะอกุศลกรรมมีปัจจัยเกิดขึ้นมากกว่ากุศลกรรม บารมีทั้ง ๑๐ นัน้ ไม่ทราบว่าแต่ละท่านจะอบรมสะสมไป อีกนานเท่าไหร่ แต่ในชาติที่สามารถจะสะสมอบรมได้ ก็ควร จะสะสมอบรมแต่ละบารมีไปตามก�ำลังความสามารถ บารมีทั้ง ๑๐ นี้มีโลภะเป็นปฏิปักษ์ เพราะฉะนัน้ ต้องไม่ ลืมเลยว่า การอบรมเจริญบารมีนนั้ ไม่ใช่ด้วยความต้องการผล ของกุศล แต่ต้องเป็นเพราะเห็นโทษของอกุศลแต่ละประเภท ๑๖


ไม่ใช่ต้องการเจริญบารมีเพื่อผลคือสังสารวัฏฏ์ แต่บ�ำเพ็ญ บารมีเพื่อขัดเกลากิเลสจนกว่าจะดับกิเลสจึงจะดับสังสารวัฏฏ์ ได้ เพราะการดับสังสารวัฏฏ์จะเป็นไปได้ก็ด้วยการดับกิเลส ทั้งหมด ตราบใดยังมีกิเลสอยู่ก็ไม่สิ้นสังสารวัฏฏ์ ฉะนัน้ การ อบรมเจริญบารมีจงึ ไม่ใช่ดว้ ยความหวังผลของกุศลในสังสารวัฏฏ์ ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่เห็นโทษของความตระหนี่จึงให้ทาน ผู้ที่ เห็นโทษของความเป็นผู้ทุศีลจึงรักษาศีล เห็นว่าการไม่ส�ำรวม กายวาจาและการประพฤติทุจริตทางกายวาจาย่อมน�ำโทษมา ให้ แม้แต่เพียงค�ำพูดซึ่งไม่ส�ำรวมระวังก็อาจจะไม่รู้เลยว่า น�ำ โทษมาให้แล้วกับผู้พูดและกับบุคคลอื่นด้วย เพราะฉะนั้นผู้ที่เห็นโทษของความเป็นผู้ทุศีลจึงรักษาศีล และส�ำรวมกายวาจายิ่งขึ้น ผู้ที่เห็นโทษในกาม และในการ ครองเรือน ก็มีอัธยาศัยในเนกขัมมะ ผู้ที่เห็นโทษในความไม่รู้ และความสงสัย จึงมีอัธยาศัยในการศึกษาให้รู้ให้เข้าใจธรรม ตามความเป็นจริง ซึ่งเป็นการอบรมเจริญปัญญา ผู้ที่เห็นโทษ ในความเกี ย จคร้ า นจึ ง มี ค วามเพี ย ร ผู ้ เห็ น โทษในความไม่ อดทนจึงมีความอดทน ผู้ที่เห็นโทษในการพูดและการกระท�ำที่ ไม่จริงจังมีอัธยาศัยในสัจจะ ผู้ที่เห็นโทษในการไม่ตั้งใจมั่นจึงมี อัธยาศัยในการตัง้ ใจมัน่ ผูท้ เี่ ห็นโทษในพยาบาทจึงมีอธั ยาศัยใน เมตตา ผู้ที่เห็นโทษในโลกธรรมจึงมีอัธยาศัยในการวางเฉย ทั้งหมดนี้เป็นบารมี ๑๐ ซึ่งจะต้องค่อยๆ สะสมอบรมไป อาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ จาก ‘บารมี ๑๐ ในชีวิตประจ�ำวัน’ ๑๗


ว่างอยู่...รู้อยู่ จิตของปุถุชนทั่วๆไป จะถูกปกคลุมด้วยเมฆหมอกของอวิชชา เพราะมีปกติชอบที่จะส่งออกไปข้างนอก แล้วก็ไปหาก่อหาเกิด หาปรุ ง หาแต่ ง ด้ ว ยเหตุ นี้ จิ ต จึ ง มื ด มั ว เพราะมี สั ง ขาร แทรกซ้อนเข้ามา เพราะญาณทัศนะของจิตถูกปิดกั้น และเมื่อสังขารถูกท�ำลายโดยสิ้นเชิงแล้ว จิตก็จะโปร่ง เบา ว่าง สงบ มีแต่ รู้ แจ่มจรัสเจิดจ้าอยู่ในภายใน จิตในสภาวะ ดังกล่าว จะว่างจากความผูกยึดเป็นตัวเป็นตน ไม่มีใครทุกข์ ใครสุข ไม่มีใครเจ็บ ใครตาย ไม่มีใครได้ ใครเสีย แม้แต่ ตัวสติ ปัญญา หรือสัมมาทิฐิใดๆ ไม่มีทั้งผู้กระท�ำ และผู้ถูก กระท�ำใดๆ ทั้งสิ้น มีแต่ ว่างอยู่ รู้อยู่ เจิดจรัสสว่างไสวอยู่ใน ภายใน ชั่วนิรันดร จะเข้าถึงสภาวะนี้ได้ จะต้องสร้างทัศนะแห่งความเคยชิน ในการที่จะย้อนมองข้างใน ให้เป็นปกตินิสัย แล้วเพียรเฝ้าดู เฝ้ารู้ เฝ้ารักษาจิต ให้ติดต่อสืบเนื่อง ปัดทุกสิ่งที่ผุดโผล่ขึ้นมา ทิ้งให้หมด ไม่ตามคอยวิเคราะห์ วิจัย วิจารณ์ ใดๆ ทั้งสิ้น ไม่ให้ความใส่ใจหรือสนใจกับพฤติกรรมใดๆ ที่อุบัติขึ้นมาในจิต ไม่ว่าจะเป็น แสง สี เสียง หรือ นิมิตวิเศษวิโสใดๆ ทั้งนัน้

๑๘


ก็ในเมื่อสภาวะที่แท้จริงของจิตเดิมแท้นนั้ ว่างและบริสุทธิ์ แล้วในความว่างบริสุทธิ์นั้นจะมีพฤติกรรมดังกล่าวเกิดขึ้นได้ อย่างไร?

ขอจงจ�ำไว้อย่างประทับใจว่า จงรู้ทุกอย่างที่จิตรู้ แต่อย่าติดในรู้นนั้

การมองย้อนดูข้างใน เป็นปัจจุบันธรรม เป็นวิถีทางที่ จะน�ำชี วิ ต อั น สั บ สน วุ ่ น วาย ทุ ก ข์ ร ะทมหม่ น หมอง เข้ า สู ่ กระแสอันสงบ เย็น และปลอดภัย นัน่ คือสภาวะ ว่างอยู่ รู้อยู่ !!!

อาภัสสโร ภิกขุ สวนพุทธธรรม : ป่าละอู หัวหิน

๑๙


คนที่เกิดมามีทุกข์ยากล�ำบากนานัปการก็เพราะว่ามีกรรม มีอกุศลกรรมตามมาเบียดเบียน ท�ำให้ต้องเจ็บ ต้องป่วย ผ่าตัด ตรงนัน้ ตรงนี้ ต้องประสบอุบัติเหตุบ้าง เสียทรัพย์บ้าง ถูกโกง ถูกแกล้ง ถูกใส่ร้ายป้ายสี อะไรเหล่านี้ คือเราต้องเสวยผลของ อกุศลกรรม ต้องเอาตัวไปชดเชย ต้องใช้หนีก้ รรม แต่ถ้าเรามีธรรมะ เมื่อใช้หนีก้ รรมแล้วก็กลับได้กุศล คนมี ธรรม คนเข้าใจในธรรมะนัน้ ใช้หนีก้ รรมด้วยดีได้ ใช้หนีก้ รรม ด้วยดีก็คือ เข้าใจและยอมรับว่า นี้เป็นวิบากกรรม คือเป็นผล ของบาป ก็ท�ำใจยอมรับได้ว่า เออ! เป็นเรื่องที่เราจะต้องชดใช้ จะไปตีโพยตีพาย จะไปน้อยใจในวาสนาตัวเอง หรือจะไป โกรธเขาได้อย่างไรในเมื่อเราก�ำลังใช้หนี้อยู่ ฉะนั้น เวลาที่ ประสบความทุกข์ ก็ให้มีกัมมสกตาปัญญา คือมีความเข้าใจว่า อ๋อ! นี่เป็นการใช้หนีก้ รรมนะ บาปกรรมเขาตามมาทวงหนี้ เราก็ใช้เขาซะดีๆ เหมือนเราเป็นหนี้สินใคร เมื่อเขามาทวง เรา ได้ใช้หนี้เขาเสีย เราจะควรโกรธ ควรจะน้อยใจเขาหรือควร จะเบาใจ เราก็ควรจะเบาใจใช่ไหม เบาใจว่า เออ! ได้ปลดหนี้ กันเสียทีหนึง่ ไม่ต้องไปเป็นหนี้ให้ล�ำบากล�ำบน หรือไม่ต้องไป ใช้ ห นี้ กั น ในนรกซึ่ ง ยากล�ำบากกว่ า นี้ ใช้ เ สี ย ตอนนี้ ใ ห้ หมดเรื่องไป ฉะนัน้ เวลาถูกโกง ถูกแกล้ง ถูกใส่ร้าย ถูกเสียดสีด้วยค�ำ พูดบ้าง ด้วยการกระท�ำบ้าง หรือต้องประสบอะไรต่างๆที่ไม่ดี ๒๐


ก็ ท�ำใจว่ า เออ! ใช้ ห นี้ พอท�ำใจว่ า ใช้ ห นี้ ไ ด้ ก็ ส บายใจ ปลดเปลื้องความทุกข์ใจออกไป จิตก็กลับเป็นกุศลขึ้นมาเรียก ว่า เสีย-ได้ เสียแล้วก็ได้คืน คือได้สติ ได้ปัญญา ได้ข้อคิด ได้ธรรมะขึ้นมา แต่ถ้าเราไม่มีธรรมะ เราก็จะโกรธแค้นอาฆาตพยาบาท แช่งเขาบ้าง ท�ำอะไรเขาไม่ได้ ก็แช่งเขาในใจ อย่างนี้เรียกว่า เสีย - หาย ไม่ยอมเสียดีๆ คือสร้างหนีต้ ่อ เสียหาย อย่างน้อยก็เสียใจ เสียทรัพย์เสียสิ่งของเสียอะไรไปแล้วก็ ยังมาเสียใจอีก เสียใจนี้เป็นเรื่องส�ำคัญ เสียอะไรก็เสียไปแต่ อย่าให้เสียใจก็แล้วกัน ฉะนัน้ ให้ตระหนักว่า เมื่อเรากระท�ำความชั่วแล้วความชั่ว ก็จะตามมา ท�ำให้ต้องชดใช้ แต่ถ้าเรามีธรรมะ ธรรมะจะ คุ้มครองเรา เราก็อยู่ร่มเย็นเป็นสุข ดังที่พระพุทธองค์ได้ตรัสว่า “ ธมฺมจารี สุขํ เสติ” ผู้ประพฤติธรรมย่อมอยู่เป็นสุข ใครที่ ประพฤติธรรมจะอยู่ร่มเย็นเป็นสุข ยิ่งมีธรรมะมากขึ้น ก็มี ความสุขมากขึ้น ธรรมะก็มีหลายระดับ คือระดับทาน ระดับศีล และระดับ การเจริญภาวนา โดยเฉพาะถ้าใครมีธรรมะในระดับของการ เจริญภาวนา และรู้จักที่จะน�ำมาประกอบในการด�ำเนินชีวิต ประจ�ำวันได้ก็จะมีความสุขมากขึ้นอีก เขมรํสี ภิกขุ ท�ำอย่างไรให้ชีวิตมีความสุข

๒๑


เพราะฉะนั้น จงน�ำการเจริ ญ วิ ป ั ส สนากรรมฐานนี้ ไป ปฏิบัติอยู่ในวิถีชีวิตประจ�ำวัน สะสมไปทุกวันๆ เดินอยู่ตรง ไหนก็เจริญสติ รู้เนื้อรู้ตัว รู้กายรู้ใจ นั่งอยู่ที่ไหน นั่งท�ำงาน นั่ง ในรถในเรื อ ในบ้ า นก็ เจริ ญ สติ รู ้ สึ ก ตั ว ได้ เวลาพู ด กั บ ใคร ที่ไหนเมื่อไรก็เจริญสติ เวลาฟังก็เจริญสติ เวลาคิดก็หัดเจริญ สติ เวลาเขียนเวลาอ่านก็ยังเจริญสติได้ มือตึงใจตรึกนึก ขณะ อ่านเขียนนี่มีการเคลื่อนไหว ใจตรึกนึกมันก็มีความตึง มีจิตใจ รู้สึก เจริญสติก�ำหนดรู้ได้ตลอดเวลา อ่านหนังสือก็เหมือน กั น ทั้ ง ใช้ ส ายตา ทั้ ง ใช้ ส มอง ทั้ ง สภาพจิ ต ใจเป็ น อย่ า งไร สติ ก็ รู ้ ไปด้ ว ย แล้ ว ก็ ยั ง อ่ า นรู ้ เรื่ อ ง เพราะมี ก ารรั บ รู ้ ส ภาว ปรมัตถธรรมสลับกันไปกับบัญญัติ อย่าคิดว่าที่ระลึกรู้อย่างนั้นๆ ไม่ได้อะไร การเอาเหล็ก แข็งๆ มาฝนถูไปเรื่อยๆ ดูเหมือนมันไม่สึกอะไรเลย แต่นาน วันเข้าเราจะเห็นว่ามันสึกกร่อน

๒๒


พระพุ ท ธเจ้ า จึ ง ตรั ส ว่ า ภิ ก ษุ เมื่ อ อบรมสติ ป ั ฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ เป็นต้น ถึงจะปรารถนาความสิ้นกิเลสก็ตาม หรือไม่ปรารถนาความสิ้นกิเลสก็ตาม แต่นนั่ จะเข้าถึงความสิ้น กิเลสได้ เพราะในขณะนั้นเป็นการช�ำระอาสวกิเลสอยู่ แต่ เธอย่อมไม่รู้หรอกว่า ในวันหนึ่งๆ มันช�ำระไปเท่าไร อุปมา เหมือนกับลูกพรวนเรือที่มันถูกลากลงไปในมหาสมุทร แล้วก็ ลากขึ้นฝั่ง มันก็จะสึกกร่อนไปทุกวันๆ บุคคลที่ฝึกเจริญสติอยู่เสมอๆ คือบุคคลที่ก�ำลังท�ำการ ช�ำระอาสวกิเลส แต่ว่าบุคคลนัน้ หาได้รู้ไม่ว่ากิเลสถูกช�ำระไป วั น ละเท่ า ไร เขาไม่ รู ้ ห รอก ผู ้ ที่ เจริ ญ สติ ป ั ฏฐาน ๔ นี่จ ะ ปรารถนาความพ้นทุกข์หรือไม่ปรารถนาก็ตาม เขาย่อมเข้าถึง ซึ่งความพ้นทุกข์ คือการสิ้นกิเลสได้ เหมือนคนป่วยเมื่อได้กิน ยาถูกต้อง จะปรารถนาให้หายหรือไม่หาย มันก็ต้องหาย แต่ ถ้าไม่กินยา ปรารถนามันก็ไม่หาย ไม่ปรารถนามันก็ไม่หาย โรคที่มันเป็นอันตรายจ�ำเป็นต้องใช้ยา ถ้าไม่ใช้ก็ไม่หาย เพราะฉะนัน้ การสะสมสติอยู่ทุกเมื่อเป็นการปฏิบัติธรรม เขมรํสี ภิกขุ จากหนังสือ รู้ตัวทั่วพร้อม หน้า ๙๐-๙๒

๒๓


ผีเสื้อมายา จับความคิดขณะที่จิตหวั่นไหวเหมือนคว้าผีเสื้อมายา คว้าให้แม่น ก�ำไว้แน่นในมือ พอแบออกจะดูสีสันมันให้ถึงใจ ไม่มีอะไร มือว่างเปล่า เผลอนิด เจ้าผีเสื้อมายาก็เต้นแว้บ ๆ อยู่กลางอากาศอีก ดูอารมณ์ในใจที่ก�ำลังพลิกไหว รัก โกรธ น้อยใจ ดีใจ มองเข้าไปทีไร มันก็หยุดนิง่ สงบ นิง่ ตราบที่ยังจ้องจับ เผลอนิด จิตก็วิบวับ ผกพลิกไปกับความนึกคิด ยิ่งดู ยิ่งเห็นว่าความคิดเป็นแค่มายา เดี๋ยวไป เดี๋ยวมา สับเปลี่ยน เวียนวน แปรผัน ต่างสีสัน ต่างจังหวะ ต่างลีลา จับปีกกางออกตอกให้นงิ่ ไม่มีได้ คุณหญิงจ�ำนงศรี รัตนิน หาญเจนลักษณ์ จากหนังสือ ฝนตกยังต้อง ฟ้าร้องยังถึง

๒๔


ไก่แจ้ ไก่แจ้ท่านอาจารย์* มันพากันอหังการ์แบบแจ้ ๆ ของมัน บนลานฝุ่น พองขน ยกขา ขยับปีก ท้าตีท้าเตะ แอ่นอกอ้าปากร้องก๊อกๆ ว่าข้านี้ใหญ่กว่าใครๆ กางปีกถลาไล่ขี่ตัวเมีย ในขณะที่ท่านอาจารย์เทศน์ธรรมขั้นโลกุตระ ท่ามกลางมนุษย์นับร้อยที่บากบั่นมาจากใกล้ไกล ฝรั่ง แขก ญี่ปุ่น ไทย ที่ด้นดั้นมาฟังธรรม ยามฟ้าสางที่ลานกรรณิการ์ ท่านอาจารย์เทศน์สัจธรรมในสรรพสิ่ง แต่เจ้าเตี้ยหงอนแดงไม่สนใจ อัตตามันแข่งกันเบ่งบานคับโลกแจ้ ๆ โลกข้าวเปลือกคลุกฝุ่นแกลบกับกลีบกรรณิการ์. คุณหญิงจ�ำนงศรี รัตนิน หาญเจนลักษณ์ จากหนังสือ ฝนตกยังต้อง ฟ้าร้องยังถึง * ท่านอาจารย์ คือท่านอาจารย์พุทธทาส

๒๕


การท�ำงานอยู่ร่วมกับคนหมู่มาก ย่อมจะมีการขัดแข้งกัน บ้าง เป็นเรื่องธรรมดา เราควรพยายามที่จะนึก วิจัยตัวเองอยู่ เสมอ ว่าเรานี่แหละเป็นผู้ผิด ในเมื่อเราเกิดมาเป็นคน เราจะ ต้องเป็นอย่างนี้ เพราะธรรมดาของโลกเป็นอย่างนี้ จะต้องมีการ ตีกัน ทะเลาะกัน ขัดแย้งกัน ขัดผลประโยชน์กัน สารพัดที่ จะพึงมี เมื่อเรามีสติสัมปชัญญะ รู้เท่าทันอารมณ์ที่เกิดขึ้น มันก็ กลายเป็นตัวปัญญา ซึ่งสามารถรู้ทันจิต และวาระจิตของตัว เอง รู้ทันภาวะจิต วาระอารมณ์ที่วิ่งเข้ามาสู่จิตสติสัมปชัญญะ ของเราจะดีขึ้น เมื่อเรามีสติสัมปชัญญะดีขึ้น จิตของเราจะไม่ เผลอ และก�ำหนดรู้สิ่งที่เกิดขึ้นภายในจิตตลอดไป ซึ่งเป็นการ ด�ำเนินไปสู่ภูมิแห่ง วิปัสสนากรรมฐาน ร่างกายอันนี้ มันถูกสร้างขึ้นมาด้วยบุญกรรม มาเป็นรูป ร่าง แล้วก็มีวิญญาณ คือดวงจิตเข้ามาสิงสถิตอยู่ ยึดถือโดย ความเป็นตัวของตัวเอง เพราะอาศัยกิเลส ตัณหาอุปาทาน จิต ดวงนีจ้ ึงรู้สึกว่า ร่างกายทั้งหมดนี้เป็นตัวของมัน และมันก็เกิด หวงแหน

๒๖


สมาธิที่เราท�ำ โดยการก�ำหนดรู้สภาวะ และเหตุการณ์ ตลอดเวลา เป็นอุบายที่ท�ำให้เราเกิดมีสมาธิได้ตลอดเวลา และ การท�ำสมาธิแบบนี้ จะไม่ขัดข้องต่องานการที่เราท�ำอยู่ และ งานการที่เราท�ำอยู่ทุกสิ่งทุกอย่าง ก็จะไม่เป็นอุปสรรคต่อการ ปฏิบัติ เพราะเราก�ำหนดเอางานที่เราท�ำอยู่นนั้ เป็นสภาวธรรม เครื่องรู้สึก พระสงฆ์ที่มีจิตบริสุทธิ์สะอาดนัน้ กระแสจิตของท่าน อาจ จะแรงกว่าคนธรรมดาสามัญ ในเมื่อเราท�ำบุญกุศลสิ่งใด ท่าน สามารถจะอธิฐานจิต ช่วยเหลือให้ผู้ท�ำบุญได้รับความสุขกาย สบายใจ หรือท่านอาจจะสามารถมีญาณเป็นสือ่ ส่งข่าวการกุศล ให้กับญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้วก็ได้

หลวงพ่อพุธ ฐานิโย จากหนังสือ ธรรมถึงใจ

๒๗


เรื่องของหลวงปู่ดูลย์

ถ้ามีสติมันเห็นแล้วมันปลง มันไม่ไปยึด ถามว่าความหงุดหงิด มีไหม มีแต่ไม่เอา เห็นแต่ไม่เอา มีคนถามหลวงปู่ดุลย์ ลูก ศิษย์หลวงปู่มั่นว่า หลวงปู่มีความโกรธไหม เพราะเขาลือว่า ท่านเป็นพระอรหันต์ หลวงปู่ดูลย์บอกว่า “ มี แต่ไม่เอา” ไม่เอาเพราะมีสติ เห็น และมีปัญญารู้ว่ามันไม่น่าเอา อันนี้ คือสติ เพราะฉะนั้น เวลาที่เรามีความเจ็บความปวดเกิดขึ้น มันเจ็บมันปวดก็จริง แต่ไม่จ�ำเป็นว่าฉันจะต้องเจ็บต้องปวด ด้วย หลวงปู่ดูลย์ จากหนังสือ ที่พึ่งอันเกษม

๒๘


มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับหลวงปู่บุดดามีคนมานิมนต์ท่านไปฉัน เพล พอฉัน เพลเสร็ จ โยมก็ บ อกว่ า ก่ อ นที่ ท ่ า นจะกลั บ วั ด ที่ สิงห์บุรี ให้ท่านเอนกายสักหน่อยที่บนบ้านชั้น ๒ หลวงปู่ท่าน ก็เอนกายในห้องที่จัดให้ โดยมีโยมมานัง่ อยู่รอบๆ ในห้องพูด กระซิบกระซาบ กลัวจะไปรบกวนท่าน บังเอิญว่าห้องข้าง ๆ เป็นห้องแถว คนสมัยก่อนเมื่อ ๓๐ – ๔๐ ปีเขาก็ใส่เกี๊ยะกัน เวลาเดินขึ้นลงมันก็เสียงดัง โยมของหลวงปู่บุดดาก็บ่นกระซิบ กระซาบกันว่าไม่เกรงใจกันเลยเดินเสียงดังจังเลย หลวงปู่บุดดาท่านหลับตาแต่ก็ได้ยิน ท่านพูดเบาๆ ว่า “เขาเดินของเขาอยู่ดีๆ เราเอาหูของเราไปรองเกี๊ยะของเขา เอง” อันนีค้ ือไม่มีสติ พอไม่มีสติ มีเสียงที่ไม่พอใจเราก็ไปยึดมา ทิ่มมาแทงใจเรา บางทีมันไม่ใช่เสียงเกี๊ยะ แต่เป็นเสียงด่า เสียงต�ำหนิ หรือการกระท�ำบางอย่างที่ท�ำให้เราไม่พอใจ น้อย อกน้อยใจ หงุดหงิด อันนี้เพราะไม่มีสติ เรื่องของหลวงปู่บุดดา จากหนังสือ ที่พึ่งอันเกษม

๒๙


เวลากินข้าว เราไม่เพียงตักอาหาร บ�ำรุงเลี้ยงร่างกาย เท่านัน้ หากยังเป็นโอกาสที่เราจะได้บ�ำรุงเลี้ยงจิตใจด้วย โดย เฉพาะเมื่อเรากินอย่างมีสติ รู้จักประมาณในการกิน กินอย่าง รู้คุณค่าที่แท้จริงของอาหาร และด้วยส�ำนึกในบุญคุณของทุก ชีวิตที่น�ำอาหารมาให้เรา สติและส�ำนึกดังกล่าว จะช่วยบ่ม เพาะจิตใจของเรา ให้งดงามและเป็นกุศล น�ำไปสู่ชีวิตที่สงบ เย็นและมีเมตตา เวลาหายใจ เราไม่เพียงดูดออกซิเจนไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายเท่านัน้ หากยังเป็นโอกาสที่เราจะน�ำเอาความสงบ เย็น ไปหล่อเลี้ยงจิตใจด้วย ในยามเครียดหรือเกิดโทสะ ลองหายใจเข้าลึกๆ หายใจ ออกยาว ๆ สัก ๕-๑๐ ครั้ง จิตจดจ่ออยู่ที่ลมหายใจ จะพบว่า ความเครียดบรรเทาลง และจิตใจหายรุ่มร้อน ยิ่งในยามปกติ ด้วยแล้ว การหายใจอย่างมีสติ จะช่วยให้จิตสงบนิ่ง มั่นคง แต่อ่อนโยน เต็มไปด้วย ความรู้ตัวทั่วพร้อม เวลาเดิน เราไม่เพียงพาตัวเองไปให้ถึงจุดหมายเท่านั้น หากยังเป็นโอกาสที่เราจะพาใจ ให้เข้าถึงความผ่อนคลาย เป็น สมาธิ เมื่อเดินอย่างมีสติ รู้ตัวในทุกย่างก้าว ไม่กังวลกับจุด หมาย ไม่สนใจว่าต้องเดินอีกไกลเท่าใด ไม่เร่งเร้าว่าเมื่อไหร่จะ ถึง เมื่อนัน้ เราจะเป็นอิสระจากระยะทางและเวลาการเดินจึง กลายเป็นการพักใจในทุกก้าว แม้กายเหนื่อย แต่ใจหาเหนื่อย ไม่ ๓๐


ทุกอิริยาบถ ทุกกิจกรรมในชีวิตประจ�ำวัน แม้ดูเหมือนจะ เป็นเรื่องของร่างกายล้วนๆ แต่แท้ที่จริงแล้ว มีมิติด้านจิตใจ มาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ เป็นมิติที่มากไปกว่าการใช้สมองหรือ ความคิด หากเป็นมิติที่สัมพันธ์กับความปกติสุข(หรือความ ทุกข์)ในระดับจิตวิญญาณ ทุกขณะและทุกการกระท�ำของเรา ล้วนแยกไม่ออกจากมิติทางจิตใจ กล่าวคือล้วนส่งผลต่อจิตใจ ไม่ว่าในทางบ่มเพาะหรือบั่นทอน หล่อเลี้ยงหรือตัดรอน ความ สงบเย็นของชีวิตด้านใน ชีวิตที่สนใจแต่มิติด้านกายภาพ มุ่งตักตวงความสุขทาง กาย หรือความพรั่งพร้อมทางวัตถุ โดยไม่ค�ำนึงถึงมิติด้าน จิตใจ เอาแต่ปรนเปรอร่างกาย โดยละเลยการบ�ำรุงเลี้ยงจิตใจ ชีวิตดังกล่าวย่อมเป็นชีวิตที่ยากจะพบกับความสงบสุข มีแต่จะ รุ่มร้อน เพราะความอยากที่ไม่รู้จักพอ ขณะเดียวกันจิตใจก็แส่ ส่ า ย ทุ ร นทุ ร ายเนื่ อ งจากขาดความสุ ข ที่ แท้ จึ ง ต้ อ งดิ้ น รน แสวงหา โดยนึกว่าทรัพย์สมบัติจะน�ำความสุขที่แท้มาให้ แต่ สุดท้ายก็ต้องผิดหวัง จึงต้องดิ้นรนแสวงหาต่อไปไม่รู้จบ ชีวิต เช่นนี้เป็นชีวิตที่ติดลบ แม้จะมีทรัพย์สมบัติท่วมหัวก็ตาม พระไพศาล วิสาโล จาก ‘เป็นสุขทุกขณะจิต เมื่อชีวิตไม่ติดลบ’

๓๑


หม้อดินร้าว ชายชาวอินเดียคนหนึง่ ห้วงสองปีที่ผ่านมา ผู้คนจะพบเห็นจน ชินตาว่า บนบ่าของเขามีหม้อดินใบใหญ่วางอยู่ข้างละใบ.. หม้อดินใบหนึ่งมีรอยร้าว ขณะอีกใบสมบูรณ์สวยงามไร้ที่ติ หม้อใบสวยสามารถบรรจุน�้ำไว้เต็มเปี่ยม นับจากล�ำธารจนถึง บ้านเจ้านาย..ขณะที่อีกใบหนึง่ นัน้ เมื่อมาถึงปลายทาง กลับ เหลือน�้ำแค่ครึ่งเดียว เท่ากับว่าชายผู้นี้ขนน�้ำได้เที่ยวละหม้อ ครึ่งอยู่ทุกครั้ง แน่ ล ่ ะ ..หม้ อ ดิ น ใบสวยย่ อ มภาคภู มิ ใจในตนเอง ที่ ท�ำ หน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ครบถ้วน ส่วนหม้อดินใบร้าว นอกจาก อดไม่ ได้ ที่จ ะรู ้ สึก น้ อ ยเนื้อ ต�่ำ ใจในความไม่ ส มประกอบของ ตนเอง แล้วมันยังรู้สึกผิดกับการท�ำหน้าที่ได้ไม่เต็มเม็ดเต็ม หน่วยอีกด้วย.. หลังจากสองปีเต็ม ที่แบกความทุกข์ระทมขมขื่นนัน้ เอาไว้ วันหนึง่ มันจึงตัดสินใจเอ่ยกับคนหาบน�้ำตรงล�ำธารว่า.. “ฉันรู้สึกละอายใจเหลือเกิน ฉันอยากขอโทษท่าน.. ตลอด สองปีมานีฉ้ นั ท�ำงานได้เพียงครึ่งเดียวเท่านัน้ เนื่องจากเจ้ารอย ร้าวบนตัวฉัน มันท�ำให้น�้ำรั่วไหลไปตลอดทาง” เมื่อฟังเช่นนั้นแล้ว คนขนน�้ำก็พลอยรู้สึกเสียใจไปด้วย และแล้วเขาก็พูดว่า “เอาล่ะ..ระหว่างทางที่เราจะเดินกลับไปบ้านเจ้านาย ฉัน ๓๒


อยากให้เธอสังเกตดอกไม้สวยข้างทางเดินสักหน่อย เธอไม่ได้ สังเกตหรอกหรือว่า ท�ำไมดอกไม้ป่าเหล่านั้น ถึงได้งอกงาม เฉพาะฝั่งที่ฉนั แบกเธอเท่านัน้ ท�ำไมมันไม่ขึ้นอีกฟากหนึง่ ด้วย ล่ะ นัน่ เป็นเพราะฉันได้ตระหนักในข้อจ�ำกัดของเธอ จึงอาศัย เงื่อนไขนี้เพาะเมล็ดพันธุ์ดอกไม้ป่าตรงทางเดินฝั่งที่ฉนั แบกเธอ เสมอมา และทุกๆวันขณะที่เราเดินกลับบ้าน เธอเองก็ได้ช่วย ฉันรดน�้ำต้นไม้ให้มันแล้วตลอดสองปีมานี้ ฉันก็ได้เด็ดดอกไม้ สวยๆพวกนี้ไปปักแจกันให้เจ้านายของเราด้วย.. นีถ่ ้าหากไม่มี เธอแล้วล่ะก็เจ้านายของเราคงไม่มีโอกาสได้ดอกไม้ป่าอันแสน สวยงามที่ ผ ลิ ส ะพรั่ ง อยู ่ ร ะหว่ า งทางมาประดั บ บ้ า นเป็ น แน่...” “เราเองมีคุณค่าดีพอ ถ้าไม่เปรียบเทียบคนอื่นมากเกินไป ถ้ า คิ ด ว่ า สิ่ ง ไหนมั น ไม่ ดี ก็ พ ยายามแก้ ไ ข ท�ำให้ มั น ดี ขึ้ น ผลลั พ ธ์ ข องการกระท�ำ ไม่ ใช่ ค�ำตอบแห่ ง ชั ย ชนะของชี วิ ต จุ ด มุ ่ ง หมายและความตั้ ง ใจจริ ง ของเราต่ า งหากคื อ ค�ำตอบ ที่แท้จริง” ‘As good as it gets’ http://www.wanjai.com/

๓๓


เวลาที่เราอยู ่ ในสมาธินั้น ทั้ง ร่ า งกายและจิต ใจของเรา สามารถที่จะอยู่ในสภาวะสงบและผ่อนคลายเต็มที่ แต่สภาวะ แบบนีต้ ่างกันโดยสิ้นเชิง จากสภาวะจิตที่อยู่ในอาการครึ่งหลับ ครึ่งตื่นขณะเราเคลิ้มๆ เพราะนัน่ เป็นเหมือนเรานัง่ อยู่ในถ�้ำมืด มากกว่า การนัง่ สมาธิซึ่งท�ำให้เรามีสติสมบูรณ์นนั้ เราไม่เพียงแต่ได้ พักผ่อนและมีความสุขเท่านั้น หากยังท�ำให้จิตของเราว่องไว และเบิกบาน ตื่นอยู่เสมอ การภาวนาไม่ใช่การหนีโลก หาก แต่เป็นเผชิญกับความเป็นจริงของโลกด้วยจิตที่แจ่มใสเยือก เย็นต่างหาก

๓๔


ผู ้ บ�ำเพ็ ญ สมาธิ เจริ ญ สติ ทั้ ง หลายควรจะตื่ น อยู ่ เ สมอ เพราะถ้าหากไม่ตื่นอยู่เสมอ จิตก็จะตกอยู่ในภาวะฟุ้งซ่านและ ขี้หลงขี้ลืมไป เหมือนคนขับรถ ซึ่งถ้าไม่ตื่นอยู่เสมอก็จะประสบ อุบัติเหตุถึงชีวิตได้ง่ายๆ เธอควรจะตื่นเหมือนคนที่ก�ำลังเดินอยู่ บนไม้คานในที่สูง หากก้าวพลาดเพียงก้าวเดียวก็หมายถึง ความตาย เธอควรจะเป็นเหมือนอัศวินในยุคศักดินาผู้เดินมือเปล่าฝ่า เข้าไปในดงดาบ เธอควรจะเป็นเหมือนราชสีห์ที่ก้าวไปข้างหน้า ช้าๆ ทีละก้าวๆ อย่างสุภาพ แต่มั่นคงองอาจ เธอต้องอยู่กับ ความไม่ประมาทชนิดนี้เท่านัน้ เธอจึงจะมีโอกาสเข้าถึงภาวะ ของการเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน อันสมบูรณ์

ติช นัท ฮันห์ จากหนังสือ ปาฏิหาริย์แห่งการตื่นอยู่เสมอ

๓๕


ในมหาสติปัฏฐานสูตรกล่าวไว้ว่า “เมื่อเดินอยู่ ย่อมรู้ชัดว่าเราเดินอยู่ เมื่อยืนอยู่ ย่อมรู้ชัดว่าเรายืนอยู่ เมื่อนัง่ อยู่ ย่อมรู้ชัดว่าเรานัง่ อยู่ เมื่อนอนอยู่ ย่อมรู้ชัดว่าเรานอนอยู่ เธอตั้งกายไว้ด้วยอาการใดๆ ย่อมรู้ถึงกายนัน้ ด้วยอาการอย่างนัน้ ๆ ด้วยอาการนีท้ ี่เธอเป็นผู้อยู่ด้วยสติมั่นคงเห็นกายในกาย” แต่การมีสติรู้เท่าทันอาการต่างๆของกายนัน้ ยังไม่พอ ในมหาสติปัฏฐานสูตรยังกล่าวว่า เราต้องมีสติพร้อมถึงลมหายใจแต่ละครั้ง การเคลื่อนไหวแต่ละหน ความคิดทุกความคิด และความรู้สึกทุกความรู้สึก พูดง่ายๆ ว่ามีสติรู้ทั่วพร้อมถึงทุกสิ่งที่เนื่องกับตัวเรา

ติช นัท ฮันห์ จากหนังสือ ปาฏิหาริย์แห่งการตื่นอยู่เสมอ

๓๖


ความไม่มีกบ

ผลขั้นต้นของการปฏิบัติ คือบรรลุถึงความไม่มีกบ เมื่อกบตัวหนึง่ ถูกจับวางไว้กลางจาน อยู่ได้สักประเดี๋ยว มันก็โดดออกมาแล้ว ถ้าเธอจับกบกลับไปวางไว้กลางจานอีก มันจะโดดออกมาอีก เธอมีแผนการมากมาย เธออยากเป็นบางอย่าง ดังนัน้ เธอจึงอยากโดดอยู่เสมอ โดดไปข้างหน้า มันยากที่จะให้กบอยู่นงิ่ ๆ ตรงกลางจาน เธอและฉัน ล้วนมีธรรมชาติแห่งพุทธะอยู่ภายใน ข้อนี้เป็นก�ำลังใจ ทว่าเธอและฉัน ต่างก็มีธรรมชาติกบอยู่ภายในด้วย เหตุนี้แหละ จึงเรียกผลขั้นแรกของการปฏิบัติว่า ความไม่มีกบ ติช นัท ฮันห์ จากหนังสือ เรียกฉันด้วยนามอันแท้จริง

๓๗


พุทธศาสนายอมรับมาตรฐานตัดสินต่อเมื่อไร้ทุกข์หรือไม่มี ทุกข์เหลือเลย จุดหมายของพุทธศาสนาคือไม่มีทุกข์เลย นิโรธที่แท้ไม่ได้แปลแค่ดับทุกข์ ขอให้สังเกตว่า “นิโรธ” นัน้ แปลว่า การไม่เกิดขึ้นแห่งทุกข์ เพราะดับทุกข์แสดงว่าเรามี ทุกข์ จึงต้องดับมัน พอเราปฏิ บั ติ ไปถึ ง จุ ด หมายของพระพุ ท ธศาสนา ก็ ถึ ง ภาวะไร้ทุกข์ ไม่มีทุกข์เหลือ ไม่มีการเกิดขึ้นแห่งทุกข์อีกต่อไป เลย ส่วนในระหว่างปฏิบัติ ระหว่างที่สัมพัทธ์ ทุกข์จะน้อยลง และจะมีสุขมากขึ้น ฉะนัน้ สุขจึงจัดอยู่ในฝ่ายนิโรธ ในฝ่ายจุด หมาย กิจหรือหน้าที่ต่อนิโรธ คือ สัจฉิกิริยา แปลว่า ท�ำให้ ประจักษ์แจ้ง คือท�ำให้ประจักษ์แก่ตัวหรือบรรลุถึง สุขจึงเป็น ภาวะที่เรามีเพิ่มขึ้นๆ หมายความว่า ทุกข์เป็นสิ่งที่เรารู้ทัน แล้วก็หาทางแก้ เรา จะก้าวไปสู่จุดหมาย คือสุขเพิ่มขึ้นเรื่อย ทุกข์น้อยลงเรื่อย จน กระทั่ ง หมดทุ ก ข์ เป็ น สุ ข ที่ แ ท้ คื อ “นิ พฺ พ านํ ปรมํ สุ ขํ ” นิพพานเป็นบรมสุข ระหว่างปฏิบัติเราก็ห่างทุกข์และมีสุขขึ้นเรื่อย ๓๘


ฉะนัน้ ในชีวิตจริง คือภาคปฏิบัติ ชาวพุทธจึงมีสุขมากขึ้น และทุกข์น้อยลงไปเรื่อยๆ นี่คือการที่เราดูพุทธศาสนาในเชิง ปฏิบัติ ซึ่งเป็นชีวิตจริง ฝรั่งจึงเห็นชาวพุทธมีความสุข ยิ้มแย้ม แจ่มใส แต่ถ้าไปอ่านหนังสือเชิงทฤษฎี ที่คนเขียนจับหลักไม่ชัด พอเริ่มด้วยทุกข์ก่อน ก็มองพุทธศาสนาเป็นทุกข์ไป ที่ จ ริ ง นั้น ทั้ ง หลั ก การและภาคปฏิ บั ติ ข องพุ ท ธศาสนา สอดคล้องเป็นอันหนึง่ อันเดียวกัน พุทธศาสนิกชนต้องจับหลักเรื่องกิจหรือหน้าที่ต่ออริยสัจนี้ ให้ได้ว่า... ๑. ทุกข์ เรามีหน้าที่ ปริญญา รู้ทัน ศึกษาให้เข้าใจว่า มันอยู่ที่ไหน มันเป็นอย่างไรจับตัวมันให้ชัด เพื่อให้พร้อมที่จะ แก้ไข ๒. สมุทัย ตัวสาเหตุของทุกข์นนั้ เราจึงมีหน้าที่ ปหานะ ก�ำจัดแก้ไข ๓. นิโรธ เรามีหน้าที่ สัจฉิกิริยา บรรลุจุดหมายที่บ�ำราศ ทุกข์ เป็นสุขมากขึ้นๆ ๔. มรรค ข้ อ นี้ เท่ า นั้ น ที่ เรามี ห น้ า ที่ ภาวนา ปฏิ บั ติ ลงมือท�ำ ๓๙


สรุปความว่า พระพุทธศาสนาสอนเรื่องทุกข์ไว้ส�ำหรับ ปัญญารู้ แต่สอนเรื่องสุขส�ำหรับให้เรามีชีวิตเป็นจริงอย่างนัน้ พูดอย่างสั้นว่า พุทธศาสนาสอนให้รู้ทันทุกข์ และให้อยู่ เป็นสุข หรือให้สั้นกว่านัน้ อีกว่า พุทธศาสนาสอนให้เห็นทุกข์แต่ให้ เป็นสุข คือ ทุกข์ส�ำหรับเห็น แต่สุขส�ำหรับเป็น เพราะฉะนั้น จะต้องมองพระพุทธศาสนาว่าเป็นศาสนา แห่งความสุข ไม่ใช่ศาสนาแห่งความทุกข์ ฝรั่งจับจุดไม่ถูกก็ เข้ า ใจผิ ด พลาดขอผ่ า นไป ทั้ ง หมดนี้ตั้ ง เป็ นข้ อ สั ง เกต เป็ น อารัมภบท พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) จากหนังสือ แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา

๔๐


ปรุงแต่งใจให้เป็นสุข ใช้ความสามารถปรุงแต่งสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ภายนอก แล้วอย่าลืมใช้ความสามารถนั้นปรุงแต่งสร้างสรรค์ความสุข ภายในด้วย พระพุทธศาสนาเปิดเผยความจริงว่าความสุขมีมากมาย ความสุขมีหลายแบบ ความสุขมีหลายชั้นหลายระดับ ทั้งความ สุขภายนอกภายใน ทัง้ ความสุขแบบแบ่งแยกและความสุขแบบ ประสาน ทั้งความสุขที่อาศัยวัตถุและไม่อาศัยวัตถุ ทั้งความสุข ทางร่างกายและความสุขทางจิตใจ ทั้งความสุขระดับจิตและ ความสุขระดับปัญญา ทั้งความสุขแบบมัวเมาติดจมและความ สุขแบบโปร่งโล่งผ่องใส ความสุขของมนุษย์อย่างหนึง่ คือ ความสามารถในการปรุง แต่งสร้างสรรค์คิดค้น ซึ่งสัตว์อื่นไม่มี การที่มนุษย์เจริญขึ้นมา มีเทคโนโลยีมีสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ มากมาย ก็เกิดจากความ สามารถของมนุษย์ในการปรุงแต่งสร้างสรรค์นี่แหละ แต่กว่า จะออกมาเป็นวัตถุปรุงแต่งสร้างสรรค์ได้ ต้นเดิมมันมาจาก ไหน มันก็มาจากในใจของเรา คือ ใจที่มีสติปัญญา เริ่มด้วย ใช้ปัญญาคิดปรุงแต่งข้างในแล้วจึงแสดงออกมาเป็นการปรุง แต่งประดิษฐ์วัตถุ สร้างสรรค์วัตถุข้างนอกได้จนกระทั่งเป็น คอมพิวเตอร์และดาวเทียม ก็เกิดจากความคิดในใจเป็นจุดเริ่ม

๔๑


ทีนคี้ วามคิดของเรานีน่ ่ะ นอกจากปรุงแต่งสร้างสรรค์วัตถุ ข้างนอกแล้ว อีกอย่างหนึง่ ก็คือปรุงแต่งสุขปรุงแต่งทุกข์ข้างใน เราไม่รตู้ วั หรอกว่าเราใช้ความสามารถนีต้ ลอดเวลาด้วยการปรุง แต่งความสุข และปรุงแต่งความทุกข์ จริงไหมว่าที่เราทุกข์เรา สุ ข กั นนี้ ส่ ว นมากเป็ น สุ ข และทุ ก ข์ ที่ เราปรุ ง แต่ ง ขึ้ น เองไม่ เหมือนกับสัตว์อื่น สัตว์อื่นนั้นไม่รู้จักความทุกข์ความสุขมากเหมือนมนุษย์ มันมีความสุขความทุกข์ที่เกิดจากทางกาย ได้กินอาหาร ได้ หลับนอนพักผ่อนหรือต่อสู้หนีภัยอะไร ๆ ก็ตามประสา แต่ ความสุขความทุกข์ทางใจที่เกิดจากการคิดปรุงแต่งมันไม่มี เรา จะเห็นว่าสัตว์กลุ้มใจไม่เป็น สัตว์มันเครียดไม่เป็น เครียดได้ แต่เรื่องที่สืบเนื่องจากทางกาย ไม่เหมือนมนุษย์ มนุษย์นี้ปรุงแต่งสุขทุกข์ในใจกันมากมายพิสดารปรุงแต่ง ทุกข์ให้กลุ้มให้กังวลให้เครียดจนกระทั่งเสียจิตไปเลย สัตว์อื่น ปรุงแต่งใจให้เป็นบ้าไม่ได้ แต่มนุษย์ปรุงแต่งจิตใจจนกระทั่ง กลายเป็นบ้าไปก็มี มนุษย์มีความสามารถนี้อยู่มากมายนัก แต่ น่าเสียดายที่มนุษย์ใช้ความสามารถนี้ไปในการปรุงแต่งทุกข์ มากกว่าปรุงแต่งสุข มีอะไรมากระทบตากระทบหู ไม่สบายใจนิดหน่อย ก็เก็บ เอามาปรุงแต่งต่อเสียยืดยาวใหญ่โต เวลาอยู่ว่าง ๆ แทนที่จะ ปรุงแต่งสุข ก็ปรุงแต่งทุกข์ เอาเรือ่ งทีไ่ ม่ดมี าวาดเป็นภาพ ท�ำให้ เกิ ด ความรู ้ สึ ก กลุ ้ ม ใจกั ง วล มี ค วามโกรธเคี ย ดแค้ นต่ า ง ๆ ท�ำให้มีความทุกข์มากมาย ๔๒


แสดงว่ามนุษย์ส่วนมากใช้ความสามารถไม่ถูกทางจึงเป็น โทษแก่ตนเอง ทีนถี้ ้ามนุษย์ฝึกตัวให้ใช้ความสามารถนัน้ ให้ถูก เขาก็จะปรุงแต่งความสุขได้มากมายมหาศาล ในทางพระพุทธศาสนาท่านแนะน�ำให้เราปรุงแต่งความสุข ท่ า นสอนวิ ธี ท�ำใจหรื อ ฝึ ก จิ ต ฝึ ก ใจ และบอกวิ ธี ใ ช้ ป ั ญ ญา มากมาย อย่างเช่น การบ�ำเพ็ญสมาธิต่าง ๆ ก็คือวิธีปรุงแต่ง จิตใจนั่นเอง แต่เป็นการปรุงแต่งให้เป็นสุข ในการมองโลก แม้แต่สิ่งเดียวกัน ถ้าเรามองไม่เป็น ก็เป็นเรื่องร้ายเกิดทุกข์ แต่ถ้ามองเป็น ก็กลายเป็นดีเกิดสุขได้ ขอเล่าเรื่องพระท่านหนึง่ ที่เป็นเพื่อนกันตอนเรียนหนังสือที่ มหาจุฬาฯ ในวัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์ เวลาชั่วโมงว่างไม่ได้ เรียนหนังสือ ท่านจะมองไปที่ท่าพระจันทร์ซึ่งมีผู้คนเดินผ่าน ไปผ่านมาขวักไขว่จ�ำนวนมาก ท่านมองไปมองมาแล้วก็นั่ง หัวเราะ อาตมาก็ถามว่าหัวเราะอะไร ไม่เห็นมีอะไร ท่านบอก ว่ามองไปเห็นผู้คนเดินไปเดินมา ท่าทาง รูปร่างเครื่องแต่งกาย เสื้อผ้าสีสันต่าง ๆ กัน คนนัน้ เดินอย่างนี้ คนนี้เดินอย่างนัน้ ดูแล้วข�ำ ท่านก็เลยหัวเราะ นีก่ ็เป็นวิธีมองโลกอย่างหนึง่ บางคนมองอะไรก็น่าข�ำไปทั้งนั้น บางคนมองเห็นอะไรก็ รู้สึกขัดหู ดูขัดตาไปทุกอย่าง บางคนไม่มีอะไรก็นั่งกังวลไม่ สบายใจ ทุกข์ไปหมด นี้เป็นตัวอย่างง่าย ๆ ของการปรุงแต่ง จิตใจ เราตั้งท่าทีของจิตใจอย่างไรก็สร้างจิตใจให้เป็นอย่างนัน้ สุข-ทุกข์ก็เกิดตามมาในชีวิตประจ�ำวัน เมื่อท�ำงานท�ำการ เราก็ ๔๓


มองโลก เราก็มองคนที่พบเห็นมาหาไปหา เช่นเป็นแพทย์เป็น พยาบาลก็มองคนไข้ไปด้วย เราต้องเกี่ยวข้องกับผู้คนทั่วไป กับ ผู้ร่วมงาน เราจะต้องหัดมองให้เป็น อย่ามองในแง่ที่กระทบหู กระทบตา วิธีมองให้ไม่เกิดโทษมีหลายอย่าง อย่างน้อยก็ควรมอง เห็นว่าเป็นประสบการณ์แปลก ๆ ในวันหนึง่ ๆ เราพบเห็นผู้มี กิริยาอาการต่างๆ มากมาย คนนั้นลักษณะอย่างนั้น คนนี้ ลักษณะอย่างนี้ เราก็มองในแง่ที่ว่า เป็นสิ่งที่ได้รู้ได้เห็น เป็น ประสบการณ์หลากหลาย เป็นข้อมูลความรู้ อย่าเก็บมาเป็น อารมณ์ เราอาจจะสบายใจหรือพอใจว่านี่เราได้รู้เห็นรู้จักโลกมาก ขึ้น โลกเป็ น อย่ า งนี้ เมื่อ เราท�ำใจอย่ า งนี้ สิ่ง ที่พ บเห็นก็ไม่ กระทบหู ไม่กระทบตา ไม่กระทบใจ เราก็สบายใจ แต่ไม่แค่ นัน้ ยังดีกว่านัน้ อีกคือเราได้ความรู้ด้วย พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต) จาก ท�ำอย่างไรจะให้งานประสานกับความสุข

๔๔


ในชีวิตจริงของคนเรานัน้ มีบ่อยไปที่คนซึ่งเราหวังว่า จะ พึ่งได้ กลับไม่ได้พึ่ง คนที่เราหวังว่าจะน�ำความชื่นชมโสมนัส มาให้ กลับน�ำแต่ความทุกข์โทมนัสมาให้ คนที่เราหวังมาก รัก มาก ทุ่มเทให้เขามาก ทั้งความรักและทรัพย์สิน เขากลับทุ่มเท ให้เราแต่ความผิดหวัง ช�้ำชอก แต่ในทางกลับกัน คนที่เราไม่ เคยหวังว่าจะได้พึ่ง กลับให้ที่พึง เราไม่เคยหวังว่าจะได้รับ ความชื่นใจจากเขา เขากลับน�ำแต่ความความชื่นใจมาให้ มีบ่อยไป ที่เราดูคนผิด แล้วเราต้องเสียใจไปนาน เราคบ คนผิด บางทีท�ำให้เราก้าวพลาด กว่าจะก้าวกลับคืนก็ต้องใช้ เวลานานแสนนาน ตรงกับสุภาษิตอังกฤษที่ว่า A stitch in time saves mines แปลว่าสิ่งที่ส่องแสงแวววาว มิใช่ทอง เสมอไป (All that glitters is not gold) สิ่ ง ที่ ป รากฏให้ เห็นมักหลอกลวงเราได้เสมอ (Appearances are often deceptive) ทางที่ดีก็คือ อย่าประมาท อย่ามั่นใจอะไรนัก จิตใจของ คนเปลี่ยนแปลงได้เสมอ แม้ใจของเราเองก็มิได้ต่างไปจากใจ ของคนอื่น คนที่เคยรักเคารพนับถือเรามากๆ เขาอาจโกรธ เกลียดเรา เลิกเคารพนับถือเราเมื่อไรก็ได้ วศิน อินทสระ จากหนังสือ เพื่อเยาวชน

๔๕


ค�ำว่าวิเวก บางคนกลัว เห็นว่ามันเดี่ยวโดดว้าเหว่แล้วก็ กลัว ไม่ชอบ ไม่เต็มใจ อย่างนีก้ ็มี มันเป็นเรื่องของคนเข้าใจ ผิด หรือเรื่องของความฉลาด ถ้าเป็นเรื่องปกติธรรมดาแล้วก็ ต้องพอใจในสิ่งที่เรียกว่า วิเวก นี่เป็นสิ่งจ�ำเป็นที่จะต้องมี ไม่มีวิเวกก็หมายความว่ามัน กลัดกลุ้ม มันฟุ้งซ่าน มันกลุ้ม ถ้ามองกันในแง่นี้ วิเวกก็เป็น ยาแก้กลุ้ม ถ้าสามารถท�ำให้ได้ตามที่ต้องการทันที มันก็ต้อง เป็นยอดของศิลปะ คนต้องเก่งมากถึงจะสามารถท�ำสิ่งที่เรียก ว่าวิเวกให้เกิดขึ้นในจิตได้ตามที่ต้องการทันอกทันใจ วิเวกได้ ยาแก้กลุ้มใจ แค่นี้มันก็มีค่ามาก เหมือนกับว่าคนต้องกิน ยาหอม หายาหอมกินแก้กระวนกระวายใจ แต่วิเวกมันเป็นยา วิ เศษ ไกลไปกว่ า นั้ น มั น แก้ ก ลุ ้ ม ใจชนิ ด ที่ รุ น แรงที่ ลึ ก ซึ้ ง มากมายกว่านั้นมาก ควรจะสนใจกันดูถึงขนาดให้รู้จักกัน อย่างชัดเจน เอามาใช้เมื่อไรก็ได้

๔๖


พระพุทธเจ้าก็ตรัสสรรเสริญว่ามันเป็นความสุขของผู้ทยี่ นิ ดี ในธรรม เห็นธรรมะแล้ว ท�ำใจให้ว่าง ให้ปลอดโปร่ง ให้ปราศ จากสิ่งรบกวน หมายความว่าจิตใจเกลี้ยง ไม่มีสิ่งรบกวน มัน พิเศษที่ตรงนี้ ถ้าว่าจิตใจมันกลุ้มอยู่ด้วยสิ่งรบกวนเหมือนควันไฟรบกวน กองไฟรบกวน ยุงรบกวน มันก็ไม่ไหว ถ้ามันเกลี้ยง ไม่มีอะไร รบกวน นัน่ ล่ะเป็นที่น่าพอใจ สบายดี ขอให้สนใจกันไว้ ในความหมายหนึ่ง เราเรี ย กกั น ว่ า เป็ น ที่ พั ก ผ่ อ นของ วิญญาณอันดิ้นรน วิญญาณมันดิ้นรนๆ ไปตลอดเวลา ไม่มี เวลาที่จะพักผ่อน เพราะมันไม่มีวิเวก พอมีวิเวก ความดิ้นรน นั้ น มั น ก็ ห ยุ ด วิ เวกจึ ง เป็ น ที่ พั ก ผ่ อ นของวิ ญ ญาณที่ ดิ้ น รน ของจิตที่ดิ้นรน ที่ดิ้นรนอย่างแรงกล้าก็คือดิ้นรนไปตามอ�ำนาจ ของกิเลส ทั้งหมดนี่เป็นเรื่องของคนธรรมดา ไม่ใช่เรื่องพิเศษ ที่ไหน ไกลไปจากเรื่องของคนธรรมดา ขอให้ท่านทั้งหลาย สนใจรู้จักตัวเอง รู้จักควบคุมให้ได้วิเวกทันตามที่ต้องการ พุทธทาสภิกขุ จากหนังสือ วิเวกที่ท่านยังไม่รู้จัก

๔๗


การมีชีวิตแบบบัวไม่ติดน�้ำ แท้จริงจิตของคนและสัตว์ทั้งหลาย จะส่งออกไปเกาะเกี่ยว กับอารมณ์อยู่ตลอดเวลาราวกับท่อนไม้แช่น้�ำ แล้วจิตจะเกิด การกระเพื่อมหวั่นไหว ยินดียินร้ายไปกับอารมณ์อย่างไม่มีทาง รู้เท่าทันได้เลย ต่อเมื่อเริ่มศึกษา หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา จนเกิด สติรู้เห็นสภาวธรรมได้แล้ว จะรู้สึกว่าอารมณ์ก็เป็นอันหนึง่ จิต ก็เป็นอีกอันหนึง่ คล้ายกับเห็นว่ากาย เวทนาและจิตสังขารก็ ท�ำงาน โลภ โกรธ หลงไป โดยมีธรรมชาติอีกอย่างหนึง่ เป็นผู้ รู้ผู้เห็นสภาวธรรมที่เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงเหล่านัน้ และเห็น ว่าบางคราวธรรมชาติรู้ก็แยกจากอารมณ์ บางคราวธรรมชาติ รู้ก็ไหลรวมเข้ากับอารมณ์ เมื่อศึกษามาถึงจุดนี้บางท่านก็เกิดความสงสัยว่า ควรจะรู้ อารมณ์ที่ปรากฏอยู่กลางอก เป็นก้อนเล็กบ้างใหญ่บ้าง หนัก บ้าง เบาบาง สุขบ้างทุกข์บ้าง ดีบ้างชั่วบ้าง หรือควรตามรู้ ธรรมชาติรู้ที่เหมือนจะอยู่ด้านบนแถวๆ ศีรษะดี เรื่องนีข้ อเรียน ว่า ถ้าสติจะระลึกรู้อะไรก็รู้อันนั้น อย่าจงใจรู้อันใดอันหนึ่ง เพราะเราไม่ได้เอาอะไรสักอย่างเดียว เมื่อเจริญปัญญา เรียนรู้จิตใจของตนเองมากเข้าๆ ก็จะ เห็นอีกว่า จิตใจจะถูกยึดถือและบีบเค้นอยู่ตลอดเวลา ก่อให้ เกิดความทุกข์ อย่างไม่รู้จักจบสิ้น

๔๘


เมื่ อ เจริ ญ ปั ญ ญามากขึ้ น ไปอี ก จนถึ ง ขั้ น ที่ ส ติ ต ามรู ้ สภาวธรรมได้เป็นอัตโนมัติแล้ว จะเห็นว่าทันทีที่ตื่นนอน งาน แรกที่ท�ำก็คือการหยิบฉวยจิตขึ้นมาศึกษาพิจารณา และเกิด การบีบคั้นจิตอยู่ตลอดเวลาด้วย ทั้งจะพบว่าจิตพร้อมจะหยิบ ฉวยจิตได้โดยง่าย แต่ปล่อยวางไม่เป็น เมื่อเจริญปัญญาจนถึงขีดสุดคือ รู้แจ้งในความเป็นไตร ลักษณ์ของจิตแล้ว ก็เท่ากับการรู้ทุกข์อย่างแจ่มแจ้ง เพราะจิต เป็นทุกข์ตัวสุดท้ายที่จะปล่อยวางได้ จากนัน้ จะเห็นว่าจิตเกิด การปล่อยวาง ก้อนทุกข์ที่กลางอก พร้อมทั้งสลัดทิ้งธรรมชาติรู้ ที่ตั้งอยู่เบื้องบนทิ้งไปพร้อมๆ กัน ถึงจุดนี้จิตใจจะเป็นอิสระ เพราะไม่ได้ยึดถืออะไรเลย จิตจะได้สัมผัสกับความสุขของ นิพพานที่ยิ่งใหญ่ เป็นอันจบการศึกษา พระพุทธศาสนาแต่ เพียงเท่านี้ นีค้ ือการรู้แจ้งอริยสัจจ์ที่ชัดเจนหมดจดถึงขีดสุด ภายหลังที่จบการศึกษาทางพระพุทธศาสนา เพราะเกิด ปั ญ ญารู ้ แจ้ ง อริ ย สั จ จ์ แ ล้ ว ชี วิ ต ที่ เหลื อ อยู ่ จ ะอยู ่ กั บ โลกใน ลั ก ษณะของบั ว ที่ ไม่ ติ ด น�้ ำ คื อ ตาหู จ มู ก ลิ้ นกายและใจก็ ท�ำ หน้าที่ไปอย่างเดียวกับมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายในการรู้อารมณ์ ทางทวารทั้ง ๖ แต่อารมณ์ทั้งหลายจะมีลักษณะเหมือนสิ่งที่ เคลื่อนไหวไปในอวกาศที่ว่างเปล่าไม่มีสิ่งใดไปกระทบกระทั่ง กับอารมณ์ทั้งหลายนัน้ ที่จะก่อให้เกิดความทุกข์ในจิตใจขึ้นมา ได้อีก เพราะปล่อยวางจิตที่จะรองรับความทุกข์ทิ้งไปได้แล้ว พระปราโมทย์ ปาโมชฺโช จากหนังสือ วิมุตติมรรค ๔๙


วิธีการตามรู้รูปเพื่อให้เกิดสติ

ผู ้ ที่ จ ะเจริ ญ วิ ป ั ส สนากรรมฐานด้ ว ยการเจริ ญ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ควรท�ำสมถกรรมฐานเสียก่อน เพื่อท�ำจิต ให้เป็นหนึง่ และมีอารมณ์เป็นหนึง่ หากท�ำสมถกรรมฐานไม่ได้ ก็อาจจะเริ่มต้นด้วยการท�ำใจ ให้สบายๆ เช่น ท�ำใจโล่งๆ เหมือนเวลาที่เราเดินเล่นอย่าง สบายใจไปตามชายหาดกว้างๆ เห็นขอบฟ้าอยู่ไกลๆ อย่าคิดว่า เราจะปฏิบัติธรรม แค่ท�ำใจให้สบายๆ เท่านัน้ แหละ จิตใจที่สุข สบายนัน้ เป็นจิตใจที่จะสงบตั้งมั่นได้ง่าย เมื่อจิตใจปลอดโปร่ง โล่งเบาแล้วจึงพร้อมที่จะรู้กายต่อไป วิธีนี้เป็นวิธีที่พอแก้ขัด ไปได้ส�ำหรับท่านที่ท�ำสมถกรรมฐานไม่ได้ แต่จิตจะตั้งมั่นอยู่ได้ ไม่นานเท่าท่านที่เจริญสมถกรรมฐานมาแล้ว เมื่อจิตถอดถอนตนเองออกจากความสงบเพราะการท�ำ สมถกรรมฐานแล้ว ก็ให้มีสติระลึกรู้ลงในร่างกาย จะรู้สึกทันที ว่ า กายเป็ นธรรมชาติ อั น หนึ่ง ที่ จิ ต ไปรู ้ เข้ า ธรรมชาติ อั นนั้น แหละคือรูป ไม่ใช่ตัวเรา รูปมีลักษณะเป็นก้อนธาตุ มีธาตุไหล เข้าไหลออกเป็นนิจ ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา และรูปมี ความทุกข์ตามบีบคั้นอยู่เป็นนิจ จึงต้องเกิดการเปลี่ยนอิริยาบถ เกิดการหายใจ เกิดการกินดื่มและขับถ่ายเพื่อแก้ทุกข์ ส่วนจิต เป็นธรรมชาติอีกอันหนึง่ ที่แยกต่างหากจากรูป เป็นธรรมชาติที่ รู้รูปโดยไม่หลงเพ่งรูป และไม่หลงคิดนึกเรื่องรูป ๕๐


เมื่อเราตามรู้รูปเนืองๆ จนจิตจดจ�ำสภาวะของรูปหรือก้อน ธาตุนี้ได้แล้ว ต่อมาเมื่อรูปมีความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงใดๆ สติจะเกิดขึ้น ระลึกรู้รูปได้เองโดยไม่ต้องจงใจรู้ นี้คือวิธีการ ตามรู ้ รู ป จนเกิ ด สติ ตั ว อย่ า งเช่ น ผู ้ ที่ ห มั่ น ตามรู ้ อ าการ เปลี่ยนแปลงทางกายได้เองโดยอัตโนมัติแล้ว ต่อมาเมื่อเกิด ความลืมตัว เช่น คุยกับเพื่อนจนเพลินลืมกายลืมใจตนเอง ต่อ มาพอร่างกายเคลื่อนไหวแม้แต่เพียงเล็กน้อย เช่น เกิดอาการ พยักหน้าเพราะเห็นด้วยกับสิ่งที่เพื่อนกล่าว สติก็จะเกิดขึ้น มาระลึกรู้รูปที่ไหวนัน้ โดยไม่ต้องจงใจรู้ เมื่อสติเกิดขึ้นแล้วจิตจะเกิดความรู้สึกตัว เกิดความเบา ความอ่ อ น ความควรแก่ ก ารงาน ไม่ ถู ก กิ เ ลสหรื อ นิ ว รณ์ ครอบง�ำ มีความคล่องแคล่วในการระลึกรู้อารมณ์อย่างซื่อๆ ตรงๆ ไม่หลงเข้าไปแทรกแซงอารมณ์ จิตชนิดนี้แหละเป็นจิตที่ สมควรแก่การเจริญปัญญาด้วยการตามรู้รูปนามต่อไป จนเห็น ความจริงว่ารูปนามทั้งหลายไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา ส่วนสติที่แกล้งท�ำขึ้นหรือบังคับให้พยายามรู้อารมณ์นนั้ เป็นสติ จอมปลอม เมื่อพยายามท�ำสติจอมปลอมให้เกิดขึ้นจิตจะเกิด อาการหนัก แข็ง แน่น ซึมทื่อ อันเป็นอาการของจิตในฝ่าย อกุศลทั้งสิ้น ส่วนการรู้รูปในขั้นการเจริญปัญญานัน้ ผู้ปฏิบัติจะต้องรู้ รู ป ลงในปั จ จุ บั นด้ ว ยจิ ต ที่ ตั้ ง มั่ น เป็ น ผู ้ รู ้ ผู ้ ดู รู ป ไม่ เ ผลอไปสู ่ อารมณ์อื่น และไม่เพ่งรูปจนจิตนิ่งๆ ด้วยวิธีนี้ รูปจะแสดง ไตรลักษณ์โดยเฉพาะแสดงทุกข์และอนัตตาอยู่ต่อหน้าต่อตา ทันทีทีเดียว ๕๑


วิธีการตามรู้นามเพื่อให้เกิดสติ นามที่ ผู ้ ป ฏิ บั ติ ค วรใช้ ต ามรู ้ เพื่ อ ให้ เ กิ ด สติ ป ระกอบด้ ว ย เวทนาและจิต เวทนาเป็นอารมณ์ของวิปัสสนากรรมฐานที่ เหมาะกับผู้มีตัณหาจริตที่มีปัญญากล้า ส่วนจิตเป็นอารมณ์ ของวิปัสสนากรรมฐานที่เหมาะกับบุคคลทั่วไปที่มีทิฏฐิจริต การตามรูเ้ วทนาจะท�ำได้ดหี ากผูป้ ฏิบตั เิ จริญสมถกรรมฐาน เสียก่อน เพราะเวทนาเป็นนามธรรมที่มีอิทธิพลรบกวนจิตใจ รุนแรงมาก ไม่ว่าความสุขหรือความทุกข์ทางกาย และโสมนัส หรือโทมนัสทางใจ ก็ล้วนแต่เป็นเครื่องล่อลวงให้จิตหลงได้โดย ง่ายทั้งสิ้น ผู้ปฏิบัติจึงควรเจริญสมถกรรมฐานให้จิตมีก�ำลัง ความตั้งมั่นเสียก่อน จึงค่อยตามรู้เวทนาเนืองๆ จนจิตจดจ�ำ สภาวะของเวทนาได้ ต่อมาเมื่อเวทนาใดปรากฏ สติก็จะเกิด ระลึกรู้เวทนานัน้ ขึ้นได้เอง เมื่อสติเกิดระลึกรู้เวทนาแล้ว จิตจะ ตื่นตัวตั้งมั่นและเห็นเวทนาตรงตามความเป็นจริงว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา อันเป็นการเจริญปัญญาต่อไป การตามรู้เวทนาทางกายมีวิธีการดังนีค้ ือ เมื่อจิตมีสมาธิตั้ง มั่นดีแล้ว ให้ระลึกรู้ลงไปในกายเลยว่าในขณะนัน้ มีความรู้สึก สุขหรือทุกข์ทางกายอย่างใด หมั่นตามรู้เนืองๆ จนจิตคุ้นเคยที่ จะรู้เวทนาทางกาย ต่อมาเมื่อเผลอตัวขาดสติแล้วกายเกิดมี เวทนาที่แรงๆ อย่างหนึง่ อย่างใดขึ้น สติจะเกิดระลึกรู้เวทนา นั้นได้เองโดยไม่ต้องจงใจรู้ ยิ่งปฏิบัตินานไป แม้เวทนาทาง ๕๒


กายที่เบาๆ สติก็จะสามารถระลึกรู้ได้เองถี่ขึ้นเรื่อยๆ จนใน ที่สุดก็จะรู้เวทนาได้ถี่ยิบ เพราะเวทนาทางกายเป็นสิ่งที่เกิดขึ้น ตลอดเวลาอยู่แล้ว และเมื่อสติระลึกรู้เวทนาโดยไม่จงใจใน คราวใด จิตก็เกิดความรู้สึกตัว ตื่น และตั้งมั่นขึ้นในคราวนัน้ เอง การตามรู้เวทนาทางใจมีวิธีการดังนีค้ ือ เมื่อจิตมีสมาธิตั้ง มั่ น ดี แ ล้ ว ให้ ร ะลึ ก รู ้ ค วามรู ้ สึ ก โสมนั ส หรื อ โทมนั ส หรื อ อุเบกขาเวทนาที่ก�ำลังปรากฏในจิตไว้เนืองๆ จนจิตคุ้นเคยที่จะ รู้เวทนาทางใจ ต่อมาเมื่อเผลอตัวขาดสติแล้วจิตเกิดมีเวทนา ทางใจที่แรงๆ อย่างหนึง่ อย่างใดขึ้น สติจะเกิดระลึกรู้เวทนา นัน้ ได้เองโดยไม่ต้องจงใจรู้ ยิ่งปฏิบัตินานไปแม้เวทนาทางใจที่ เบาๆ สติก็สามารถเกิดขึ้นระลึกรู้ได้โดยไม่ต้องจงใจ แล้วจิตก็ จะเกิดความรู้สึกตัว ตื่น และตั้งมั่นขึ้นเช่นเดียวกับที่รู้เวทนา ทางกายนัน่ เอง การตามรู้จิตซึ่งเป็นกุศลและอกุศลนั้น ผู้ปฏิบัติสามารถ ตามรู้จิตไปได้เลยโดยไม่ต้องท�ำสมถกรรมฐานก่อน เพราะ ความรู้สึกทางใจเป็นสิ่งที่พวกเรารู้จักกันอยู่แล้วทุกคน เพียงแต่ ที่ผ่านมาเราละเลยที่จะตามรู้เท่านั้นเอง หากสนใจที่จะรู้ก็ สามารถรู้ได้โดยง่าย ผู้เขียนเคยถามเพื่อนนักปฏิบัติที่คิดว่าการตามดูจิตเป็น ของยาก ว่ารู้จักความรู้สึกโลภ รัก หวงแหน ตระหนี่ พอใจ ดีใจ โกรธ หดหู่ เสียใจ กลัว เกลียด กังวล อิจฉา พยาบาท ๕๓


ท้อแท้ เสียดาย หลง เผลอ เหม่อ ใจลอย สงสัย ฟุ้งซ่าน หดหู่ ความรู้สึกเลื่อมใส ศรัทธา ความรู้สึกให้อภัย ความ ปรารถนาดีต่อผู้อื่น ความปรารถนาจะให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ ความ รู ้ สึ ก ยิ นดี ที่ ผู ้ อื่ น ได้ ดี และความรู ้ สึ ก วางเฉย ฯลฯ หรื อ ไม่ ทุกคนตอบว่ารู้จักทั้งนั้น ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องยากเลยที่เราจะ ตามรู้จิต เพียงแค่ให้ความสนใจกับความรู้สึกของตนเองบ่อยๆ ก็สามารถรูไ้ ด้อยูแ่ ล้วว่าจิตใจของตนมีความรูส้ กึ อย่างใดปรากฏ ขึ้นมาบ้าง เมือ่ หัดสังเกตความรูส้ กึ ของตนเองเนืองๆ จนจิตจดจ�ำความ รู ้ สึก ได้ แม่ น ย�ำ หรือ คุ้ น เคยที่จ ะรู ้ ค วามรู ้ สึก ของตนเองแล้ ว พอความรู้สึกอย่างใดปรากฏขึ้น สติก็จะเกิดระลึกรู้ความรู้สึก นัน้ ได้เองโดยไม่ต้องจงใจรู้ นอกเหนือจากการตามรู้ความรู้สึกเนืองๆ แล้ว ยังมีสิ่งที่ใช้ หัดสังเกตจิตใจของตนเองได้อีกอย่างหนึง่ คือการสังเกตอาการ ของจิตที่ไปหลงอารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ หลวงปู่ ดุลย์ท่านเรียกว่า การส่งจิตออกนอก ตามธรรมดาแล้วจิตของทุกคนและจิตของสัตว์​ทงั้ หลาย จะ หลงไปรู ้ อ ารมณ์ อื่ น ๆ ที่ ไม่ ใช่ รู ป นาม/กายใจของตนเองอยู ่ เกือบตลอดเวลา โลกจึงเต็มไปด้วยคนหลง จะหาคนที่รู้สึก ตัวอย่างแท้จริงแทบไม่ได้เลย คือเวลาดูก็หลงดู ไม่รู้ว่าก�ำลังดู รู้แต่ว่าดูอะไร เช่น ดูนก ดูดอกไม้ ซึ่งล้วนเป็นอารมณ์บัญญัติ ทั้งสิ้น และไม่รู้ทันความรู้สึกที่เกิดขึ้นเพราะการเห็นนัน้ เวลา ๕๔


ฟังก็หลงฟัง ไม่รู้ว่าก�ำลังฟังและไม่รู้ทันความรู้สึกที่เกิดขึ้น เพราะการฟังนัน้ และเวลาคิดก็หลงคิด ไม่รู้ว่าก�ำลังคิด และ ไม่รู้ทันความรู้สึกที่เกิดขึ้นเพราะการคิดนัน้ เรามาหัดสังเกตและท�ำความรู้จักอาการของจิตกันด้วยวิธี การง่ า ยๆ ก็ ได้ โดยในเวลาที่ เราคุ ย กั บ ใครสั ก คนหนึ่ง ให้ สังเกตให้ดีจะพบว่า เดี๋ยวเราก็มองหน้าคนที่เราคุยด้วย เดี๋ยว เราก็ฟังเสียงพูดของเขา แล้วเราก็แอบไปคิดในสิ่งที่พูดกันนัน้ หรือบางทีจิตหลงไปคิดเรื่องอื่นๆ ก็ยังมี เราจะพบว่าเดี๋ยวจิตก็ ไปดู เดี๋ยวจิตก็ไปฟัง เดี๋ยวจิตก็ไปคิด สลับไปสลับมาโดยไม่ได้ ตั้งใจ แต่จิตเขาท�ำงานของเขาเอง หมั่นสังเกตบ่อยๆ จนจิตจ�ำ สภาวะที่หลงดู หลงฟัง หลงคิดได้ หรือจิตคุ้นเคยที่จะรู้อาการ ของจิตที่ส่งส่ายไปทางทวารทั้ง ๖ แล้ว พอจิตเกิดหลงหรือส่ง ส่าย สติจะเกิดระลึกรู้อาการของจิตนัน้ ได้เองโดยไม่ต้องจงใจรู้ ทั นที ที่ ส ติ ตั ว จริ ง หรื อ สั ม มาสติ เ กิ ด ขึ้ น เพราะการตามรู ้ รู ป ธรรมหรื อ นามธรรมใดๆ ก็ ต าม จิ ต จะเกิ ด สภาวะอย่ า ง เดียวกันทั้งสิ้น คือ จิตจะมีความรู้สึกตัว ตั้งมั่น เบา อ่อน ควร แก่การงาน และคล่องแคล่ว ว่องไว จิตจะมีความรู้ ตื่น และ เบิกบาน จิตจะมีความสงบ สะอาดและสว่างโพลงขึ้น จิตจะ รู้สึกเหมือนคนที่ตื่นจากความฝันและได้อยู่ในโลกของความ เป็นจริง และจิตจะมีความสุขสงบโชยแผ่วขึ้นมาโดยไม่ต้องท�ำ อะไร เป็นต้น แต่สภาวะอันนีก้ ็เกิดขึ้นมาเพียงชั่วขณะ ถัดจาก นัน้ จิตที่รู้สึกตัวจะดับไปและเกิดจิตที่หลงครั้งใหม่ เมื่อหลงไป ๕๕


แล้ ว ก็ ให้ รู ้ ใหม่ ท�ำอยู ่ อ ย่ า งนี้จ นสติ แ ละสั ม มาสมาธิ เ กิ ด ขึ้ น เนืองๆ ก็จะยิ่งรู้รูปนามได้บ่อยยิ่งขึ้นๆ จนจิตเกิดปัญญาเข้าใจ ความเป็ นจริ ง ของรู ป นาม ว่ า ไม่ เที่ ย ง เป็ นทุ ก ข์ หรื อ เป็ น อนัตตาได้ในที่สุด การเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้เพียงอันใดอันหนึง่ ก็ท�ำให้เกิด สติได้เหมือนกัน ท�ำให้รู้ได้ทั้งรูปทั้งนามเหมือนกัน และท�ำให้ เกิดปัญญารู้แจ้งรูปนามตามความเป็นจริงจนบรรลุมรรคผล นิพพานได้เหมือนกัน ดังนัน้ อย่ากังวลเลยว่าอารมณ์ในฐานใด ดีกว่าฐานใด เพราะความจริงแล้วดีทุกฐาน อยู่ที่เราจะรู้จัก เลือกอารมณ์ให้ตรงกับจริตนิสัย แล้วรู้อารมณ์นนั้ ได้ถูกวิธีหรือ ไม่ เท่ า นั้น เอง ถ้ า เลื อ กอารมณ์ ได้ เหมาะกั บ จริ ต และรู ้ วิ ธี รู้อารมณ์ได้อย่างถูกต้อง ก็จะเกิดได้ทั้งสติ สัมมาสมาธิปัญญา และวิมุตติในที่สุด พระปราโมทย์ ปาโมชฺโช จากหนังสือ ทางเอก หน้า ๒๐๔-๒๐๙

๕๖


แท้จริงแล้ว การปฏิบัติธรรมเป็นเรื่องง่าย แต่ง่ายจนยาก เพราะเราคิ ด ไม่ ถึ ง ว่ า จะง่ า ยขนาดนี้ ดั ง นั้ น แทนที่ เ ราจะ พยายามปรุงแต่งการปฏิบัติต่างๆ นานา ขึ้นมาตั้งมากมายด้วย ความยากล�ำบาก (ซึ่งเกือบทั้งหมดก็คือ ปุญญาภิสังขาร ซึ่ง เราสร้างขึ้นเองด้วยอ�ำนาจบงการของอวิชชา โดยหวังว่าเมื่อเรา ปรุงแต่งการปฏิบัติได้ดีถาวรแล้ว เราจะบรรลุมรรคผลได้เป็น พระอรหันต์องค์หนึง่ ) เราก็ควรหันมารู้เท่าทันจิตที่แอบปรุงแต่งสิ่งต่างๆ ขึ้นมา เมื่อรู้ทันว่าจิตแอบปรุงแต่งแล้ว ความปรุงแต่งทั้งหลายนัน้ ก็จะ ดับไปเอง เมื่อความปรุงแต่งทั้งหลายดับลงแล้ว ความรู้สึกเป็นตัวตน จะมี ไม่ ได้ เ ลย ขั นธ์ ห รื อ รู ป นามจะแสดงความเป็ นของสู ญ ต่อหน้าต่อตา เพราะความเป็นตัวตนเกิดจากความคิดนึกปรุง แต่งล้วนๆ เมื่อปราศจากความเป็นตัวตนของขันธ์ ก็ปราศจาก เครื่องรองรับความทุกข์ทางใจ ความทุกข์ทางใจก็ตั้งอยู่ไม่ได้ นี้เองเป็นที่สุดแห่งทุกข์ทางใจในปัจจุบัน จนตราบถึงวัน สิ้นขันธ์ ก็เป็นอันสิ้นทุกข์อย่างสิ้นเชิงแต่เพียงเท่านัน้ จากข้อความข้างต้น เป็นธรรมะของครูบาอาจารย์ ที่ท่าน แนะแนวทางการปฏิบัติที่เรียกว่า “ทางเอก” พระปราโมทย์ ปาโมชฺโช จากหนังสือ ทางเอก

๕๗


ถามเองตอบเอง ถาม : ท�ำอย่างไรจึงได้ชื่อว่าดูจิต ตอบ : เมื่อรู้ตัวอยู่ก็ได้ชื่อว่าดูจิตอยู่ ถาม : ดูจิตแล้วเห็นอะไร ตอบ : ดูจิตแล้วเห็น ๑.เห็นสิ่งต่างๆไม่เที่ยง มีความเกิด-ดับเป็นธรรมดา ๒.เห็นความยินดี-ยินร้ายต่อสิ่งต่างๆ ๓.เห็นจิตที่ส่งออกไปตามความยินดี-ยินร้าย ๔.เห็ น ผลที่ จิ ต ส่ ง ออกไปตามความยิ น ดี - ยิ น ร้ า ย เป็นทุกข์ ๕.เห็นความที่ไม่ควรยึดมั่นในสิ่งต่างๆ ถาม : จิตที่ส่งออกเป็นอย่างไร ตอบ : จิตที่ส่งออกก็คือจิตที่ไม่เป็นกลาง ถาม : จิตที่ไม่เป็นกลางเป็นอย่างไร ตอบ : จิตที่ไม่เป็นกลางก็คือจิตที่เอนเอียงไปตามความ ยินดียินร้าย ถาม : ดูจิตอย่างไรเมื่อเกิดความโกรธ ฯลฯ ตอบ : เมื่ อ มี ค วามโกรธฯลฯ ก็ ใ ห้ รู ้ ตั ว อยู ่ (เมื่ อ รู ้ ตั ว อยู่ก็ได้ชื่อว่าดูจิตอยู่)

๕๘


ถาม : การรู้ตัวอยู่เมื่อเกิดความโกรธจะเห็นอะไร ตอบ : การรู้ตัวอยู่เมื่อเกิดความโกรธจะท�ำให้ ๑.เห็นความโกรธไม่เที่ยง มีความเกิด-ดับเป็นธรรมดา ๒.เห็นความยินร้ายต่อความโกรธ ๓.เห็นจิตที่ส่งออกไปตามความยินร้าย ๔.เห็นผลที่จิตส่งออกไปตามความยินร้าย เป็นทุกข์ ๕.เห็นความที่ไม่ควรยึดมั่นในสิ่งต่างๆ ถาม : จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นอย่างไร ตอบ : จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งก็คือการเห็นอย่างตลอด สายของ ๑.เห็นสิ่งต่างๆไม่เที่ยง มีความเกิด-ดับเป็นธรรมดา ๒.เห็นความยินดี-ยินร้ายที่มีต่อสิ่งต่างๆ ๓.เห็นจิตที่ส่งออกไปตามความยินดี-ยินร้าย ๔.เห็นผลที่จิตส่งออกไปตามความยินดี-ยินร้าย เป็น ทุกข์ ๕.เห็นความที่ไม่ควรยึดมั่นในสิ่งต่างๆ ถาม : ท�ำอย่างไรจึงจะเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง ตอบ : ให้มีความรู้ตัวอยู่เสมอๆ

๕๙


ถาม : การท�ำสมาธิจนจิตสงบเป็นการดูจิตหรือไม่ ตอบ : เป็น ถ้าท�ำด้วยความรู้ตัวแล้วเห็นดังนีค้ ือ ๑.เห็นความสงบไม่เที่ยงมีความเกิด-ดับเป็นธรรมดา ๒.เห็นความยินดีที่มีต่อความสงบ ๓.เห็นจิตที่ส่งออกไปยึดความสงบด้วยความยินดีใน ความสงบ ๔.เห็นผลที่จิตส่งออกยึดความสงบด้วยความยินดีใน ความสงบเป็นทุกข์ ๕.เห็นความที่ไม่ควรยึดมั่นในความสงบ ถาม : การดูจิตต้องรักษาความรู้ตัวให้ได้ใช่หรือไม่ ตอบ : ไม่ใช่ เพราะความรู้ตัวก็ไม่เที่ยง มีความเกิดดับ เป็นธรรมดาจะรักษาเอาไว้ก็ไม่ได้ ถาม : เมื่อการรักษาความรู้ตัวท�ำไม่ได้แล้วต้องท�ำอย่างไร ตอบ : ให้เพียรรู้ตัวให้ได้บ่อยๆ

๖๐


การดูจิต ก็ คื อ การรู ้ สึ ก ว่ า จิ ต เป็ น อย่ า งไร เพื่ อ ให้ จิ ต เกิ ด สติ สั ม ปชั ญ ญะ เมื่ อ รู ้ สึ ก ว่ า จิ ต มี กิ เ ลส สติ จ ะเกิ ด และถ้ า มี สัมปชัญญะ จิตที่มีกิเลสก็จะดับไป เหลือแต่ความรู้ ตื่น เบิก บาน ไม่รู้สึกว่าพอใจ-ไม่พอใจต่อจิตที่มีกิเลส (ที่เพิ่งดับไป) เมื่อไม่รู้สึกว่าพอใจ ก็ไม่พยายามสร้างจิตที่มีกิเลสขึ้นใหม่ เมื่อไม่รู้สึกว่าไม่พอใจก็ไม่พยายามท�ำให้จิตที่มีกิเลสไม่ สามารถเกิดขึ้นอีก สติสัมปชัญญะที่เกิดขึ้นมีผลให้จิตเหลือแต่ รู้ เท่านัน้ จิตที่มีสติสัมปชัญญะ เรียกอีกอย่างว่า รู้สึกตัว หรือ รู้ตัว เมื่อเกิดสติสัมปชัญญะ (รู้สึกตัว) ได้บ่อยๆ จิตเองจะค่อยๆ เกิดความเข้าใจต่อกายต่อจิตเอง จนกระทั่งเกิดความเข้าใจ ได้ว่า กายไม่ใช่ตัวเรา จิตเองก็ไม่ใช่ตัวเรา กายนี้เกิดขึ้นแล้วก็ เสื่อมสลายดับไป จิตนี้เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เมื่อเข้าใจถึงระดับหนึง่ ความเข้าใจผิด ความเห็นผิดไปว่า กายนี้จิ ต นี้ เป็ นตั ว เราก็ จ ะถู ก ละออกไปอย่ า งชนิด ไม่ ก ลั บ ไป เข้าใจผิด ไม่กลับไปเห็นผิดอีกเลย เมื่อละความเข้าใจผิด ความเห็นผิดไปแล้วสติสัมปชัญญะ ที่เกิดจากการรู้สึกว่าจิตเป็นอย่างไร ก็จะพัฒนาไปตามล�ำดับ จนในที่สุด การปล่อยวางกายปล่อยวางจิตก็จะเกิดขึ้น สภาวะที่เรียกกันว่า นิพพาน ก็จะปรากฏขึ้น อาจารย์สุรวัฒน์ เสรีวิวัฒนา มอบธรรมให้ชาวเรือนธรรม ๖๑


ก่อนจะหัดรู้หัดดูกัน ก็ควรต้องทำ�ความเข้าใจว่าลักษณะ อาการของจิตที่เป็นไปเพื่อการเจริญปัญญานั้น เป็นอย่างไร ลักษณะอาการของจิตที่เป็นไปเพื่อการเจริญปัญญานั้น จะมี ลักษณะสำ�คัญอยู่ที่ จิตจะทำ�หน้าที่รู้สิ่งต่าง ๆ แบบเป็นผู้รู้ผู้ดู หรือแค่รู้แค่ดูอยู่ เท่านั้น จิตจะเพียงรู้สึกว่ามีบางอย่างเกิดขึ้นแล้วก็รับรู้ถึงการมีอยู่ดับไปของสิ่งนั้นๆ เท่านั้น ซึ่ ง ลั ก ษณะอาการของจิ ต แบบนี้ ก็ ไม่ ใช่ อ าการที่ แปลก ประหลาดอะไรเลย จริงๆ แล้วนี่คืออาการของจิตที่เป็นปรกติ ธรรมดาที่สุด แต่ด้วยเพราะเราไม่เคยรู้มาก่อนว่า อาการรับรู้สิ่ง ต่าง ๆ แบบนี้นั้น มันคือลักษณะของจิตที่ต้องใช้เป็นเครื่องมือ หัดปฏิบัติภาวนา พอเราคิดที่จะลงมือหัดปฏิบัติภาวนากันจริงๆ ความคิด ต่างๆ ก็จะเกิดขึ้นมาบดบังอาการของจิตแบบนี้ไปซะจนเรา เองมองไม่เห็น แล้วเราก็เที่ยวดิ้นรนแสวงหาอุบายต่างๆ นานา ด้วยหลงไปว่าการทำ�แบบนั้นแบบโน้นจะทำ�ให้จิตเกิดปัญญา กว่าที่ครูบาอาจารย์ซึ่งท่านพ้นทุกข์ไปก่อนแล้วจะช่วยชี้แนะ จนเรากลับมาสู่การรับรู้สิ่งต่างๆ ด้วยจิตที่เป็นปรกติที่สุดได้ ก็เล่นเอาเราเองต้องเหน็ดเหนื่อยอ่อนล้ากันจนแทบจะเฉาตาย กันไปเลย อาจารย์สุรวัฒน์ เสรีวิวัฒนา จากหนังสือ หัดดู...หัดรู้

๖๒


รู้แจ้งอะไร เมื่อแค่ดูกาย แค่ดูจิตได้ ก็จะเห็นกายนี้ เห็นจิตนี้ เป็นเพียงแค่สิ่งที่ถูกดู ถูกรู้อยู่ เมื่อแค่ดูไปเรื่อยๆ บ่อยๆ และต่อเนื่องสม�่ำเสมอ ก็จะเกิดความรู้แจ้งขึ้นได้ว่า กายนี้ จิตนี้ย่อมมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา กายนี้ จิตนี้ย่อมมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา กายนี้ จิตนี้ย่อมเป็นทุกข์ กายนี้ จิตนี้ไม่อาจจะบังคับให้เป็นไปตามใจปรารถนาได้ และไม่ควรที่จะไปยึดมั่นถือมั่นว่ากายนี้ จิตนี้เป็นตัวเราของเรา การเกิดขึ้นของความรู้แจ้งที่ว่านี้ ต้องเป็นการเกิดขึ้นจากการที่ เราแค่ดูกายแค่ดูจิตอยู่เรื่อยๆ ไม่ใช่เกิดจากการที่เราบังคับ ควบคุมหรือพยายามท�ำกาย ท�ำใจ ท�ำจิต ให้เป็นอย่างนัน้ อย่าง นี้ หรื อ ไม่ ใ ช่ เ กิ ด จากการอ่ า น การฟั ง ความคิ ด ๆ เอา หรอกนะ และถึงแม้ใครจะอ่านมากแค่ไหน ฟังมากแค่ไหน คิดๆ เอามากแค่ไหน หรือใครจะเข้าใจ จดจ�ำ ข้อธรรมต่างๆ ได้มากแค่ไหนก็ตามเถอะ ถ้าไม่ได้ผ่านการฝึกดูกาย ฝึกดูจิต แบบแค่ดูมาก่อนละก็ สิ่งที่เข้าใจจดจ�ำได้นั้น จะเป็นเพียง ความรู้เท่านัน้ ไม่ใช่การรู้แจ้งแต่อย่างใด ๖๓


เมื่อแค่ดูจนรู้แจ้งได้แล้ว ความยึดมั่นถือมั่นต่อสิ่งทั้งหลายทั้ง ปวงก็จะลดน้อยลงจนหมดสิ้นไปตามล�ำดับ ความหมดสิ้ น ไปของความยึ ด มั่ นถื อ มั่ นต่ อ สิ่ ง ทั้ ง หลาย จน กระทั่งไม่ยึดมั่นถือมั่นแม้แต่กายและจิตตัวเองนี่แหละ ที่เป็น ที่สุดของพุทธศาสนา การที่เราพากเพียรปฎิบัติเจริญภาวนากันมา ก็เพื่อที่สุดของ พระพุทธศาสนากันไม่ใช่เหรอ เพราะฉะนัน้ อย่าได้ท�ำอะไรให้เป็นการเนิน่ นานเสียเวลาอยู่เลย ตั้งใจเพียรฝึกดูกาย ดูจิต กันเถิด

ไม่แน่นะ...เมื่อฝึกดูกาย ดูจิต แบบแค่ดูแล้ว อาจจะท�ำให้เรารู้แจ้งขึ้นได้ง่ายๆ จนถึงกับยิ้มออกมาว่า มรรค ผล พระนิพพานมีอยู่จริง... อาจารย์สุรวัฒน์ เสรีวิวัฒนา จากหนังสือ แค่ดูก็รู้แจ้ง

๖๔


การฝึกดูกาย–ดูจิต ต้องระวังอะไรบ้าง ต้องระวังอะไรบ้างเหรอ...ก็คงมีไม่กี่อย่างที่ต้องระวังกัน ที่ ส�ำคัญคือให้ระวังในเรื่องของการบังคับกาย บังคับจิตคือ อย่า บังคับกาย อย่าบังคับจิต อย่าท�ำให้กายหรือจิตมีอาการเป็นไป ตามที่เราต้องการเช่น เมื่อฝึกดูกายด้วยการดูลมหายใจ ก็ไม่ ต้องคอยบังคับลมหายใจหรือคอยปรับลมหายใจให้สั้น ให้ยาว แต่อย่างใด ปล่อยให้ร่างกายหายใจสั้นหรือยาวไปตามที่ควรจะ เป็นตามธรรมชาติแล้วเราแค่ดูลมหายใจนัน้ ไปเรื่อยๆ คราใดที่ลมหายใจสั้น ก็แค่ดูลมหายใจที่สั้นนัน้ คราใดที่ลมหายใจยาว ก็แค่ดูลมหายใจที่ยาวนัน้ คราวใดที่ลมหายใจหยาบ ก็แค่ดูลมหายใจที่หยาบนัน้ คราใดที่ลมหายใจละเอียด ก็แค่ดูลมหายใจที่ละเอียดนัน้ เพียงแค่นกี้ ็จะรู้แจ้งได้ โดยไม่ต้องท�ำลมหายใจให้เป็นแบบนัน้ ในท�ำนองเดียวกัน ถ้าจะฝึกดูกายด้วยอิริยาบถใดก็ตาม หรื อ ฝึ ก ดู ก ายด้ ว ยการเคลื่ อ นไหวใด ๆ ก็ ต าม ก็ ไ ม่ ต ้ อ ง บังคับการเคลื่อนไหวของร่างกาย ปล่อยให้ร่างกายเคลื่อนไหว ไปตามปกติธรรมดาเช่น การเดิน ก็เดินไปตามปกติธรรมดา จะเดินช้า เดินเร็วก็ปล่อยไปตามปกติแล้วก็แค่ดูกายที่ก�ำลังเดิน ไปเท่านัน้ ๖๕


และถ้าในระหว่างเดิน เกิดไปรู้สึกชัดอยู่ที่ความปวดเมื่อย ก็แค่ดูความปวดเมื่อยนัน้ ต่อไป หรือถ้านัง่ ๆ อยู่แล้วปวดเมื่อย แต่เกิดไปรู้สึกชัดที่ร่างกายซึ่งก�ำลังขยับ เพื่อบรรเทาความปวด เมื่อย ก็แค่ดูกายที่ขยับต่อไป อย่าใช้วิธีการบังคับ กดข่ม ความปวดเมื่อยด้วยการกระท�ำใดๆ ส�ำหรับการฝึกดูจิตก็เหมือนกัน อย่าบังคับจิตให้เกิดอาการ ตามที่ต้องการ ปล่อยให้จิตมีสิ่งต่างๆ ปรากฏขึ้นตามเหตุปัจจัย เช่น ถ้ามีเหตุให้จิตเกิดความโกรธก็ปล่อยไป เมื่อเรารู้ชัดว่าจิต มีความโกรธแล้วรู้สึกตัวขึ้น ก็แค่ดูไป หรือถ้าจิตมีเหตุให้ความ คิดฟุ้งซ่านก็ปล่อยไป เมื่อเรารู้ชัดว่าจิตมีความยินดีในกามแล้ว รู ้ สึก ตัว ขึ้น ก็แค่ ดู ไป หรือ ถ้ า จิต มีเหตุให้ ค วามคิด ฟุ้ ง ซ่ า นก็ ปล่อยไป เมื่อเรารู้ชัดว่าจิตคิดฟุ้งซ่านแล้วรู้สึกตัวขึ้น ก็แค่ดูไป อ้อ...แล้วอย่าบังคับตัวเองให้เอาแต่ดูกาย หรือเอาแต่ดูจิต อย่างเดียวนะ ให้ดูแบบที่เคยบอกไว้ในตอนที่แล้วคือ หากมี การรับรูท้ างกายได้ชดั แล้วรูส้ กึ ตัวขึน้ ก็ให้ดกู ายไป หากมีการรับ รู้ทางใจได้ชัดแล้วรู้สึกตัวขึ้น ก็ให้ดูจิตไป ไม่ต้องคอยดึงการ รับรู้เอาไว้ที่ใดที่หนึง่ หรือทางใดทางหนึง่ ปล่อยให้การรับรู้เป็น ไปตามแต่ที่จะรู้ได้ชัด ขอย�้ำอีกครั้งนะว่า การฝึกดูกาย ฝึกดูจิตที่ดีที่สุดนัน้ ต้อง ไม่บังคับกาย ไม่บังคับจิตเพื่อให้เป็นอย่างนัน้ อย่างนี้ ปล่อยให้ กาย ปล่อยให้จิตเป็นไปตามเหตุหรือตามที่ควรจะเป็น

๖๖


ถ้าไปพยายามบังคับกาย พยายามบังคับจิตเมื่อใด จะ ท�ำให้เกิดความรู้สึกตัวที่แท้จริงไม่ได้ เมื่อรู้สึกตัวไม่ได้ ก็แค่ดู ไม่ได้ ฝึกไปก็เสียเวลาเปล่า ๆ เดินจงกรม เราเดินเอาความรู้สึกตัว เราไม่เดินเอาระยะ ทาง ไม่เดินเอาเวลา บางคนเดินเอาระยะทางรีบจ�้ำๆ ใหญ่ คนโบราณเรียกเหมือนตามควาย จ�้ำๆๆๆ ไปนะ กะว่าเดินครบ หนึง่ พันรอบ แล้วจะเลิก รีบจ�้ำให้มันครบ แล้วสบายใจ ส่วน พวกหนึ่งเอาเวลา จะเดินสามชั่วโมง แล้วเดินเมื่อไหร่จะถึง สามชั่วโมงซะที วันไหนถึงแล้วก็สบายใจ เราไม่ได้เอาอย่างนัน้ เราเดินเอาสติ ให้เราเดินไปสบายๆ อาจจะช้าลงหน่อยหนึ่งก็ได้ หรือถูกจริตที่จะเคลื่อนไหวเร็วๆ ก็ได้ ช้าก็ได้เร็วก็ได้ เอายังไงก็ได้ เคลือ่ นไหวไป แต่พอใจลอยปุบ๊ ไป “รู ้ สึ ก ตั ว ” แล้ ว เดิ นต่ อ ไปอี ก ถ้ า มั น ลอยรุ น แรง “รู ้ สึ ก ตัว” ยืนเลยได้นะ หยุดเลย รู้สึกตัวขึ้นมาแล้วก็เดินเอาใหม่ เดินไปสุดทางจงกรม อย่าเพิ่งหันกลับมา ตอนนี้เป็นจุด อ่อนที่กิเลสจะโจมตี พอสุดทางนี่ หยุดรู้สึกตัวขึ้นก่อน ค่อยๆ หันกลับมา หันกลับมาอย่าเพิ่งเดิน ถ้าหันกลับมาแล้วจะเดินทันที จิต มันจะเดินไปก่อนขา มันจะไม่สัมพันธ์กัน กายไปทางหนึง่ จิต ไปทางหนึง่ ใช้ไม่ได้ ให้รู้สึกตัวสบายๆ แล้วค่อยก้าวเดินไป เดินไปพอใจลอยก็ หยุดก็ได้ รู้สึกตัวใหม่แล้วก็เดินใหม่ เดินไปเรื่อย ในที่สุดความ รู้สึกตัวมันจะตั้งขึ้น ตั้งขึ้น ๖๗


ถึ ง จุ ด หนึ่ ง เราก็ จ ะเห็ น โดยที่ ไ ม่ ไ ด้ เ จตนาที่ จ ะเห็ น ร่างกายที่ก�ำลังเดินอยู่นี้ เป็นรูปมันเดิน ไม่ใช่เราเดิน ร่างกาย มันเป็นรูปเดิน ใจมันเป็นคนดู เฝ้ารู้เฝ้าดูไปเห็นมันเดิน ถึงจุดนี้มีสิ่งที่ต้องระวังก็คือ เรารู้กายมันเดินไปนานๆ จิต ชอบถล�ำเข้าไปเพ่งกาย เพราะฉะนั้นเราก็รู้ทันว่าจิตมันถล�ำเข้าไปแช่ที่กายแล้ว เอ้า รู้สึกตัวเอาใหม่ หยุดเดินรู้สึกตัว แล้วค่อยเดินไปเห็น ร่างกายมันค่อยเดินไปอีก หรือว่าเดินๆอยู่ กุศล อกุศล มัน เกิดขึ้นในจิตในใจเราก็คอยแต่รู้ทัน เพราะฉะนัน้ การปฏิบัติรู้กายไปรู้ใจไป เอากายเป็นเครื่อง สนับสนุนความรู้สึกตัว จะท�ำง่าย ถ้าดูจิตล้วนๆเลย มันท�ำได้ กับบางคนนะ บางคนดูจิตล้วนๆ ก็ได้ นีถ่ ้าก�ำลังเรายังไม่พอ ใจเราไม่ตั้งมั่น เราก็เอาการเคลื่อนไหว เอาการปฏิบัติในรูป แบบ เป็นตัวช่วย นีค่ นอื่นไม่เกี่ยวนะ ธรรมะเป็นเรื่องเฉพาะ ตัวนะ เดี๋ยวเลียนแบบกัน อาจารย์สุรวัฒน์ เสรีวิวัฒนา จากหนังสือ แค่ดูก็รู้แจ้ง

๖๘


เพราะฉะนั้ น การปฏิ บั ติ ใ นศาสนาพุ ท ธต้ อ งปฏิ บั ติ ใ ห้ ถู ก ทางท�ำตามที่ พ ระพุ ท ธองค์ ส อน มี ท างสายเดี ย ว ทาง สายเอก คือมหาสติปัฏฐาน ๔ พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงใช้ วิธีนตี้ ั้งแต่อดีตจนถึงอนาคต ใช้วิธีนี้แบบเดียวเหมือนกันหมด วิป ั ส สนาท�ำตอนไหน ท�ำตอนปั จ จุบัน ดู ต รงปั จ จุบัน อย่ า ง ซื่อๆ เพราะตรงนี้มีธรรมะอยู่ครบ รูปธรรม นามธรรม แยก ส่วนไปเป็นขันธ์ ๕ เพราะฉะนัน้ เราสามารถปฏิบัติธรรมได้ตลอดเวลา ในทุก สถานที่ กายคือสถานปฏิบัติธรรมเคลื่อนที่ จิตคือที่ปฏิบัติธรรม เคลือ่ นที่ ทุกเวลา หลวงพ่อเคยเปรียบเทียบบ่อยว่าความรูส้ กึ ตัว เปรียบเหมือนหยดน�้ำ เห็นหยดน�้ำที่กระทบผิวน�้ำ ลองดูสิว่า ถ้าหยดน�้ำกระทบผิวน�้ำแล้วมันจะเกิดอะไรขึ้น มันจะหายรวม ไปกับผิวน�้ำใช่มั้ย หยดน�้ำมันจะหายไปแล้วนะ พอมันแตกมัน หายไปทันที อย่าไปแช่ อย่าไปก�ำหนด ถ้าไปก�ำหนดมันจะค้าง เติ่งอยู่อย่างนี้ พระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้ท่านสอนไว้ 2 อย่าง อย่างแรกคือ ที่สุดโต่งอย่าท�ำ บังคับเอาไว้อย่าไปท�ำ และอย่างที่สองอย่า ไหลไปตามความคิดปรุงแต่ง ต้องท�ำยังไงก็แค่ตามรู้เฉยๆ ด้วย ใจเป็นกลาง ผลลัพธ์ที่ได้จะประจักษ์ด้วยใจเอง พระอาจารย์อ�ำนาจ โอภาโส ๖๙


การทีเ่ จริญวิปสั สนากรรมฐานแบบทีพ่ วกเราก�ำลังท�ำกันอยู่ ทุกวันนี้ มันเป็นปัญหาบางอย่างจึงจะเล่าให้ฟัง คือแนะน�ำวิธีที่ จะไปแก้ ป ั ญ หาที่ มั น เกิ ด ขึ้ น กั บ ผู ้ ป ฏิ บั ติ ธ รรม ถ้ า หากเรา ปฏิบัติเบื้องแรกเรามักจะจ้อง บางคนต้องการความรู้ อยากรู้ อยากเห็น อยากเป็น อยากมี อันนี้เป็นการเข้าใจที่ยังไม่ตรง ครับ เมื่อเราจ้อง อยากรู้ อยากเห็น อยากเป็น อยากมี มันมี ความตึงเครียดขึ้น บางคนก็มึนหัว มึนศีรษะ แน่นหน้าอก แสดงว่าการกระท�ำนัน้ ไม่ตรงแล้วครับ เราต้องท�ำให้มันสบายๆ วิธีแก้มันก็ต้องท�ำให้มันสบาย มองไปไกลๆ แล้วก็ท�ำความรู้สึก เบาๆ น้อยๆ อย่าไปเพ่งมาก เราเดินให้มันสบาย ท�ำจังหวะก็ ท�ำให้มันสบาย ท�ำเป็นจังหวะ เพียงให้รู้สึกตัว สายตาต้องมอง ไกลๆ ครับ แล้วความตึงเครียด แน่นหน้าอก หรือมึนหัว มัน จะค่อยคลายไป คลายไปครับ

๗๐


ดังนัน้ จึงแนะน�ำให้ บัดนี้เมื่ออาการดังกล่าวคลายไปแล้ว เราก็ท�ำอย่างสบายๆ เมื่อความสบายเกิดขึ้นอย่างไรต้องท�ำไป อย่างนัน้ เดินจงกรมก็ไม่ต้องเพ่ง ไม่ต้องจ้อง ท�ำจังหวะก็ไม่ ต้องเพ่ง ไม่ต้องจ้อง ท�ำความรู้สึกตัวเพียงเบาๆ ครับ ความรู้ เมื่อเราท�ำไปมากขึ้นๆ มันจะรู้ขึ้นมา รู้จักเรื่องรูป นาม เมื่อรู้จักรูปนามดีแล้ว คือ รู้รูปธรรม นามธรรม รูปโรค นามโรค รู้ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา รู้สมมุติ รู้ศาสนา รู้พุทธ ศาสนา รู้บาป รู้บุญ รู้ เห็น เข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง สัมผัสแนบ แน่นกับสิ่งเหล่านี้แหละครับ อันนี้เป็นการรู้เบื้องต้น หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ จากหนังสือ ปกติ

๗๑


เราควรอยู่อย่างนายช่างผู้ร้อยดอกไม้ ทุกขณะของเราคือ ดอกไม้ที่งดงาม ในแต่ละนาทีแต่ละวินาที เราสามารถที่จะ ปรับเปลี่ยน แต่ต้องมีปฏิภาณไหวพริบนะ หลายคนพอพูด เรื่องนี้ แล้วไม่ค่อยมีไหวพริบว่า จะใช้ชีวิตให้งดงามได้อย่างไร จะอยู่ดูแลคนอื่นให้งดงามได้อย่างไร การที่อยู่ในปัจจุบันมัน ต้ อ งมี ป ฏิ ภ าณไหวพริ บ ที่ ไวมากและเมื่ อ เราตั้ ง เป้ า หมายจะ ท�ำให้เราอยู่ในปัจจุบันได้อย่างมีจุดเริ่มต้น พอปัจจุบันเรามีจุด เริ่มต้น เราก็จะสามารถใช้แต่ละนาทีของเราให้มันเกิดความ งอกงามเหมื อ นนายช่ า งผู ้ ร ้ อ ยดอกไม้ ที่ ใ ช้ แ ต่ ล ะนาที ข อง ปัจจุบันให้เป็นความงาม พระอาจารย์อ�ำนาจ โอภาโส จากหนังสือ ดุจวิถี...นายช่างร้อยดอกไม้

๗๒


การฝึกจิตไม่เหมือนฝึกสัตว์ จิตนี่เป็นของฝึกยากแท้ๆ แต่ อย่าไปท้อถอยง่ายๆ ถ้ามันคิดไปทั่วทิศก็กลั้นใจมันไว้ พอใจ มันจะขาด มันก็คิดอะไรไม่ออก มันก็วิ่งกลับมาเองให้ท�ำไป เถอะ

โพธิญาณ หน้า ๑๑๒ ,๒๕๓๖

ธรรมมีอันเดียวเท่านี้ไม่มีมาก คือจิตของเราที่เห็นชัดแล้ว มันก็วาง ปล่อย หมดแค่นั้น ผู้ใดตามดูจิต ผู้นั้นจักพ้นบ่วง ของมาร ตามดูจิต หน้า ๓๖, ๒๕๓๘

เราอยู่ด้วยอนิจจัง อยู่ด้วยความเปลี่ยนแปลงอย่างนี้ รู้ว่า มันเป็นอย่างนัน้ แล้วก็ปล่อย เรียกว่าการปฏิบัติธรรม น�้ำไหลนิง่ หน้า ๙๑, ๒๕๔๔ พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภทฺโท)

๗๓


ในการฝึกใจนี้ เราต้องไม่ยึดมั่นทั้งสรรเสริญ ทั้งนินทา ความต้องการแต่สรรเสริญและไม่ต้องการนินทานั้น เป็นวิถี ทางของโลก แต่แนวทางของพระพุทธเจ้านัน้ ให้รับสรรเสริญ ตามเหตุต ามปั จ จัย ของมัน และก็ให้ รับ นินทาตามเหตุต าม ปัจจัยของมันเหมือนกัน เหมือนอย่างกับการเลี้ยงเด็ก บางทีถ้าเราไม่ดุเด็กตลอด เวลา มันก็ดีเหมือนกัน ผู้ใหญ่บางคนดุมากเกินไป ผู้ใหญ่ที่ ฉลาดย่อมรู้จักว่าเมื่อใดควรดุเมื่อใดควรชม ใจของเราก็เหมือนกัน ใช้ปัญญาเรียนรู้จักใจ ใช้ความ ฉลาดรักษาใจไว้แล้วเราก็จะเป็นคนฉลาดที่รู้จักฝึกใจ เมื่อฝึก บ่อยๆ มันก็จะสามารถก�ำจัดทุกข์ได้ ความทุกข์เกิดขึ้นที่ใจ นี่เอง มันท�ำให้ใจสับสน มืดมัว มันเกิดขึ้นที่นี่ มันก็ตายที่นี่ เรื่องของใจมันเป็นอย่างนี้ บางทีก็คิดดี บางทีก็คิดชั่ว ใจ มันหลอกลวงเป็นมายา จงอย่าไว้ใจมัน แต่จงมองเข้าไปที่ใจ มองให้เห็นความเป็นอยู่อย่างนัน้ ของมัน ยอมรับมันทั้งนัน้ ทั้ง ใจดีใจชั่ว เพราะมันเป็นของมันอย่างนัน้ ถ้าเราไม่ไปยึดถือมัน มันก็เป็นของมันอยู่แค่นั้น แต่ถ้าเราไปยึดมันเข้า เราก็จะถูก มันกัดเอาแล้วเราก็เป็นทุกข์

๗๔


ถ้าใจเป็นสัมมาทิฐิแล้ว ก็จะมีแต่ความสงบ จะเป็นสมาธิ จะมีความฉลาดไม่ว่าจะนัง่ หรือจะนอน ก็จะมีแต่ความสงบ ไม่ ว่าจะไปไหน ท�ำอะไร ก็จะมีแต่ความสงบ ท่านผู้สงบแล้วคือสงบจากอะไร สงบจากความดีใจ สงบ จากความเสียใจ สงบจากความสุข สงบจากความทุกข์ สุขทุกข์ นั้นไม่มีหรือมีอยู่แต่ไม่มีในใจ ก่อนจะมีในใจนั้น ใจก็เป็นผู้รู้ เสียแล้ว เป็นผู้รู้จักชอบเสียแล้ว รู้ดีเสียแล้ว อาการสุขก็เกิดขึ้น ได้ แต่ก็ไม่ได้หมายถึงสุข อาการทุกข์ก็เกิดขึ้นที่นนั่ แต่ก็ไม่ได้ หมายถึงทุกข์ นัน่ ถ้ารู้อย่างนี้เรียกว่ามีความเห็นชอบ นีถ่ ้าท่านไม่ยึดไม่หมาย ท่านก็ปล่อย ความสุขความทุกข์ เป็นธรรมชาติ ธรรมชาติหรือธรรมดามันเป็นเช่นนัน้ ถ้าเรารู้เท่า แล้ ว สุ ข หรื อ ทุ ก ข์ มั น เป็ น โมฆะ ไม่ มี ค วามหมายกั บ ใคร ไม่มีความหมายกับจิตของพระอริยเจ้าทั้งหลายผู้เข้าไปถึงแล้ว มันมีอยู่แต่ไม่มีความหมาย ท่านรับทราบไว้เฉยๆ รับทราบไว้ ว่าสุขหรือทุกข์ ร้อนหรือเย็น ท่านรับทราบอยู่ ไม่ใช่ว่าท่านไม่ รับทราบ พระโพธิญาณเถร (หลวงปู่ชา สุภทฺโท) จากหนังสือ พระธรรมเทศนา หน้า ๑๑๗

๗๕


พระพุทธเจ้าจึงสอนให้มีตนเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง ให้มีธรรมเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง พึ่งตนกับพึ่งธรรม มี ความหมายอย่างเดียวกัน ท�ำตนให้มีธรรม น้อมธรรมเข้ามาไว้ ในตน พูดง่ายๆ เช่นแก้วน�้ำ ก็หมายความว่าแก้วกับน�้ำอยู่ด้วย กัน เมื่อใดแก้วกับน�้ำอยู่ด้วยกัน เราก็พึ่งแก้วนัน้ ดื่มน�้ำแก้ความ กระหายได้ แต่ถ้ามันไม่อยู่ด้วยกันเราก็พึ่งไม่ได้ ดื่มแก้วเปล่าๆ มันไม่มีน้ำ� เราก็แก้ความกระหายไม่ได้ เราต้องดื่มน�้ำซึ่งอาศัย แก้วอยู่ เพราะท่านสอนให้พึ่งตนกับพึ่งธรรม ก็ต้องเป็นตนที่มี ธรรม หรือมีธรรมอยู่ในตนนัน่ เอง อาจารย์วศิน อินทสระ จากหนังสือ ธรรมดาของชีวิต หน้า ๑๗

๗๖


ต้นเหตุที่แท้จริง ดูไม้ท่อนนี้สิ...สั้นหรือยาว สมมุติว่า คุณอยากได้ไม้ที่ยาวกว่านี้ ไม้ท่อนนี้มันก็สั้น แต่ถ้าคุณอยากได้ไม้สั้นกว่านี้ ไม้ท่อนนี้มันก็ยาว หมายความว่า “ตัณหา” ของคุณต่างหากที่ท�ำให้มีสั้นมียาว มีดี มีชั่ว มีทุกข์ ขึ้นมา ดังค�ำที่ว่า “ผู้รู้จักพอจะเป็นผู้มีความสบายใจ ส่วนผู้ไม่รู้ จักพอจะเป็นผู้เร่าร้อน แสวงหาไม่รู้จักหยุด” ถ้าไม่มีตัณหา ความพอดีจะบังเกิด อะไรก็ได้ถือว่าดีหมด ได้น้อยก็บอกว่าดี ได้มากก็บอกว่าดี เพราะเหตุที่รู้จักค�ำว่าพอนัน่ เอง ความรู้จักพอจึงเป็นสัจธรรมความพอดีแห่งชีวิต เมื่อคิดว่า ตัวเองดี คนอื่นก็เลว เมื่อคิดว่าตัวเองฉลาด คนอื่นก็โง่ เมื่อคิด ว่าตัวเองส�ำคัญ คนอื่นก็ไร้ความหมาย ถ้ามัวแต่คิดกันอย่างนี้ ชีวิตก็จะอยู่กับเรื่องหนักและเครียด ด้วยการแบกภาระ ความ เป็นตัวตนเอาไว้ ชีวิตจึงเอนเอียง อันที่จริงตัวตนไม่มี ถ้าละทิ้ง ได้ก็เบาสบายและไม่หนักและไม่เครียด ความพอดีก็จะเกิดขึ้น เอง เพราะไปเอาตัวตนมาใส่ชีวิตจึงหนักและเอียง อันเป็นที่มา แห่งค�ำ“ไม่รู้จักพอ” พระโพธิญาณเถร (หลวงปู่ชา สุภทฺโท) ๗๗


นึกมโนภาพ เราก�ำลังนัง่ อยู่ในป่า มีต้นไม้ใหญ่ต้นหนึง่ มี ลิงป่าหลายตัว กระโดดไปมาระหว่างกิ่งไม้ถึงกิ่งไม้ สนุกสนาน ตามประสาสัตว์ป่า เราก็นงั่ พิงโคนไม้นงิ่ อยู่ ดูลิงป่าเล่นด้วย ความสบายอารมณ์ ระวัง อย่าเป็นลิงเสียเองนะ ลิง คือ ความคิดฟุ้งซ่าน เราคือสติ ต้นไม้ ลมหายใจคือ อารมณ์กรรมฐาน เมื่อจิตใจไม่สงบมากๆ ก็ให้ปฏิบัติถูกต้อง กับความไม่สงบ บางครั้งจิตใจของเราไม่ต้องการสงบ ฟุ้งซ่าน มาก ๆ ยิ่งพยายามหยุดคิด ท�ำใจให้สงบ ก็ยิ่งร�ำคาญมากขึ้น เมื่อ เป็ น เช่ นนั้น ตั้ง หลัก ใหม่ ไม่ ต ้ อ งตั้ง ใจจะหยุด คิด ให้ ส งบ ศึกษาความไม่สงบ เสียใจเพราะจิตไม่สงบก็ผิด ดีใจเพราะจิต สงบก็ผิด เหมือ นกัน เราต้ อ งไม่ ยินดี ยิน ร้ า ยด้ ว ยจิต ใจเป็ น กลางๆ สงบๆ สบายๆ เรา ความรู้สึกตัวก็มีอยู่รู้อยู่ว่าไม่สงบ หายใจเข้าลึกๆ หายใจออกยาวๆ สบายๆ รู้ลมหายใจออก ลม หายใจเข้า พร้อมกับรู้อยู่ว่าใจไม่สงบ แต่พยายามรู้เฉยๆ รู้อยู่ เฉยๆ ไม่สงบ ไม่เป็นไร รู้เฉยๆ รู้เฉยๆอย่ายินดี อย่ายินร้าย อย่ายึดมั่นถือมั่น สิ่งที่เราพยายาม คือ ระลึกรู้ลมหายใจรู้เฉยๆ ด้วยใจดี ใจ เมตตา เอาระบบดูเล่นๆ ดูลิงป่า หายใจเข้าลึกๆ หายใจออก ยาวๆ หน้าที่คือการเจริญสติ ไม่ต้องท�ำอะไรกับจิตไม่สงบ วาง เฉยกับความไม่สงบ สติเกิดเมื่อไร ความไม่สงบก็หายไปเอง พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก วัดป่าสุนนั ทวราราม จาก ดูลิงป่าเล่นกัน (เมื่อใจฟุ้งซ่านก็ให้ปฏิบัติถูกต้อง) ๗๘


เวลาเลี้ ย งควาย เราปล่ อ ยควายให้ เ ดิ น ไปตามถนน เจ้าของก็เดินตามหลังควาย สบายๆ…สองข้างทางเป็นไร่นา บางครั้งควายเดินออกนอกถนน ไปกินข้าวในนาของเพื่อนบ้าน เจ้าของก็ต้องตีบ้าง กระตุกเชือกบ้าง ให้ควายกลับขึ้นมาบน ถนนใหม่ เมื่อควายเรียบร้อย เดินบนถนนก็เดินตามหลังควาย สบายๆ เมื่อควายเข้าไปในนากินต้นข้าว รีบดึงควายให้กลับ ออกมาบนถนน ท�ำอยู่อย่างนัน้ เรื่อยๆ ไป เจ้าของควายคือสติ ควายคือจิต ถนนคือลมหายใจ ถนน ยาวๆ คือลมหายใจยาวๆ ต้นข้าวคือนิวรณ์ 5 เอาสติผูกจิตไว้ กับลมหายใจ พยายามก�ำหนดรู้ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า ติดต่อกันสม�่ำเสมอ เหมือนเอาสติผูกจิตไว้กับลมหายใจ ความ รู้สึกอยู่ที่ไหนจิตก็อยู่ที่นนั่ เมื่อสติรู้ลมหายใจออก ลมหายใจ เข้า จิตก็อยู่ที่นนั่ ขาดสติเมื่อไร จิตก็คิดไปต่างๆ นานา ตาม กิเลส ตัณหา ตามนิวรณ์ ก็รีบต่อสติ ก�ำหนดรู้ลมหายใจออก ลมหายใจเข้ า อานาปานสติ ขั้ นที่ ๑-๒ เมื่ อ จิ ต คิ ด ออกไป รีบเรียกมาอยูท่ ลี่ มหายใจออกยาว ลมหายใจเข้ายาว หายใจเข้า ลึกๆ หายใจออกยาวๆ สบายๆ การเจริญอานาปานสติเหมือน กับคนเลี้ยงควาย คอยควบคุมควายให้เดินบนถนน หายใจเข้า ลึกๆ หายใจออกยาวๆ สบายๆ มีสติรู้อยู่กับลมหายใจ ให้ ติดต่อกันตลอดสาย พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก วัดป่าสุนนั ทวราราม จาก “คนเลี้ยงควาย” (การรักษาจิตคล้ายดูแลควาย) ๗๙


ลองคิดดู คุณลงทุนแค่กราบ เอาแค่ก่อนออกจากบ้าน กราบสามครั้งก็พอ เพียงเท่านั้นเท่ากับคุณเอามงคลอันมอง เห็นง่ายติดตัวออกจากบ้านไปด้วย ยิ่งไปกว่านัน้ ถ้าบุคคลที่คุณ กราบ คือครูที่รู้จริงที่สุดในโลก ก็แปลว่าใจคุณยอมรับ บุคคล เช่นนี้ไว้เป็นครู จึงเป็นประกันว่า แม้ต้องเล่นเกมกรรมอีกกี่ ครั้ง คุณก็จะได้พบครูที่ดีที่สุด เช่นนี้อีกจนได้ ส่วนใหญ่ที่กราบแล้วไม่ค่อยได้แต้ม ไม่ค่อยโกยโบนัสกัน ก็เพราะกราบด้วยใจที่แห้งแล้ง กราบแบบกระโดกกระเดก ไม่ นุ่มนวลสละสลวย เพราะกราบตามๆกันโดยไม่ทราบความ หมายของการกราบอย่างแท้จริง ใจคุณจ�ำเป็ นต้ อ งรู ้ อ ยู ่ ก ่ อ นว่ า บุค คลที่คุณกราบนั้นท�ำ ประโยชน์กับโลกไว้เพียงใด ถ้ายิ่งคุณได้ประโยชน์จากค�ำสอน ของท่าน ชีวิตเจริญรุ่งเรืองขึ้น นัน่ แหละการกราบจะเป็นการ กราบออกมาจากใจที่นอบน้อมเคารพ แล้วกิริยาก็จะประณีต เงยขึ้นสุด ก้มลงกราบสุดอย่างเนิบช้า หน้าผาก ฝ่ามือ และ ศอกแตะพื้นสนิท ไม่ห่างกัน ขอให้จ�ำค�ำส�ำคัญนี้ไว้ดีๆ คือ ใจต้องนอบน้อมเคารพ ตัว วัดง่ายๆคือกราบแล้วเกิดความรู้สึกว่าตัวคุณเล็กลง จิตใจอ่อน โยนเยือกเย็น หรือกระทั่งเกิดความซาบซึ้งโสมนัสแบบไม่แกล้ง นัน่ แหละผลของการกราบด้วยความนอบน้อมเคารพ ดังตฤณ จากหนังสือ มีชีวิตที่คิดไม่ถึง หน้า ๑๖๙ - ๑๗๐ ๘๐


เพื่อน กรรมเก่าที่ท�ำให้มีเพื่อนสนิทแน่นแฟ้นคือการร่วมคิด ร่วม ความเชื่ อ และร่ ว มกระท�ำกิ จ น้ อ ยใหญ่ ด ้ ว ยกั น ช่ ว ยเหลื อ เกื้ อ กู ล ให้ ซึ้ ง ใจกั น เมื่ อ สนิท กั น มากๆอาจไม่ ได้ มี แต่ ค วาม สัมพันธ์ด้านดีต่อกัน แต่อาจท�ำร้ายจิตใจหรือกระทั่งท�ำร้าย ร่างกายกันให้เกิดความเจ็บปวด ที่ส�ำคัญคือแม้ทะเลาะเบาะ แว้งหรือขัดใจกันก็กลับมาคืนดีกันได้ หรืออย่างน้อยก็ยังคิดถึง กันในทางดี ไม่ผูกใจเจ็บอาฆาตอยากล้างแค้นกันไปล้างแค้น กันมา เพราะนัน่ หมายถึงการเป็นศัตรูคู่อาฆาตรายใหญ่อาจ จะระดับข้ามภพข้ามชาติได้ กรรมเก่าทีท่ �ำให้มเี พือ่ นแท้คอื การร่วมกันท�ำบุญใหญ่ส�ำเร็จ และมีความปลาบปลื้มยินดี ยิ้มให้กัน มองกันเต็มตาด้วยความ รู้สึกเป็นน�้ำหนึ่งใจเดียว บุญใหญ่อาจหมายถึงการช่วยเหลือ พระที่เจ็บไข้ อาพาธหนัก หรืออาจหมายถึงการร่วมกันสร้าง ชุมชนยากไร้ให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้น หรืออาจหมายถึงการร่วม งานบุญกันเป็นประจ�ำ กระทั่งสะสมบุญสัมพันธ์ไว้พัฒนาจาก กองเล็กเป็นกองใหญ่ บังเกิดความผูกพันเหนียวแน่นจนรู้สึก ไม่เป็นอื่นต่อกัน น�้ำพักน�้ำแรงที่ช่วยกันจนงานบุญใหญ่ส�ำเร็จ นัน้ จะย้อนกลับมาเป็นก�ำลังให้ท�ำกิจน้อยใหญ่ร่วมกันส�ำเร็จ เสมอ เมื่อฝ่ายใดพลั้งพลาด อีกฝ่ายก็สามารถยื้อยุดฉุดดึงให้

๘๑


กลับทรงตัวขึ้นได้ใหม่ อีกทั้งอ�ำนาจบุญในอดีตชาติจะเป็น ก�ำลังให้ซึ้งใจกันตั้งแต่แรกพบโดยยังไม่ทันต้องร่วมบุญกันอีก และในที่สุดแล้วชาตินชี้ ีวิตนี้ คุณมีสิทธิ์ท�ำกรรมใหม่ คือ เลือกสร้างเพื่อน หรือเลือกคบเพื่อนในแบบที่จะท�ำให้คุณได้คิด ได้ตั้งจิตเป็นบุญ แม้ว่าต้องตกอยู่ในอ�ำนาจกรรมเก่า ส่งให้คุณ อยู่ในท่ามกลางคนที่ไม่เป็นมิตร ขอเพียงคุณมีน้�ำใจและคิดดี กับทุกคน ไม่สนว่าเขาจะดีตอบหรือว่าร้ายมา วันหนึง่ อาจเป็น ชาตินี้หรือชาติหน้า เมื่อกรรมใหม่ถึงเวลาให้ผล คุณจะมีเพื่อน มาก เพื่อนที่ดี เพื่อนสนิท และเพื่อนแท้เข้าจนได้. ดังตฤณ จากหนังสือ มีชีวิตที่คิดไม่ถึง หน้า ๑๑๙-๑๒๐

๘๒


ถาม : ต้องท�ำงานใกล้ชิดกับคนไม่มีมารยาท ชอบท�ำอะไร ให้เรารู้สึกหงุดหงิด บางครั้งยิ่งรู้ว่าเราไม่ชอบก็ยิ่งแกล้ง เห็น เป็นเรื่องสนุก ท�ำให้เกิดความเกลียดขี้หน้ามากขึ้นทุกวัน เลย อยากทราบว่าเขาจะได้รับผลกรรมอย่างไรจากความเป็นคนขี้ แกล้งและไม่มีมารยาท เผื่อจะลดความเกลียดลงได้บ้าง ตอบ : คุณได้อยู่กับคนไม่มีมารยาทอย่างเขาเดี๋ยวเดียว อย่างมากก็วันละ ๘ ชั่วโมงในเวลาท�ำงาน แต่เขาต้องอยู่กับ คนไม่มีมารยาทตลอดเวลา วันละ ๒๔ ชั่วโมงทั้งปี ผมว่าเขา เจอหนักกว่าคุณเยอะนะครับ แค่คิดอย่างนีก้ ็น่าจะเป็นเหตุให้ นึกเมตตา และลดความเกลียดเขาลงได้บ้างแล้ว การจงใจแกล้งชาวบ้านเล่นเพื่อความบันเทิงส่วนตัว หรือ พู ด ง่ า ยๆว่ า พอใจจะมี ค วามสุ ข บนความทุ ก ข์ ข องผู ้ อื่ น นั้น ดูเผินๆจะสนุกตอนได้ท�ำ หรือสะใจตอนแกล้งส�ำเร็จ อย่างมาก คนถูกแกล้งก็โมโหนิดหน่อย และส่วนใหญ่จะไม่อยากถือสา หาความ เลยดูเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น แต่แท้จริงหากสามารถสัมผัสจิตของคนขี้แกล้งได้ คุณจะ รู้สึกว่าความระริกระรี้ตอนแกล้ง ที่แปรเป็นความอลหม่านฟุ้ง ซ่านหลังแกล้งส�ำเร็จ ช่างไม่น่าพิสมัยเอาเลยส�ำหรับเจ้าตัวเอง คล้ายจิตของเขามีความคันแบบลิง อยู่นงิ่ เป็นสุขไม่ค่อยได้ จิต ตั้งมั่นเป็นสมาธิยาก

๘๓


และหากสั่งสมบาปเล็กบาปน้อยมากถึงจุดที่กลายเป็นเงา บาปใหญ่ เขาจะเป็ น พวกชอบหาความเดือ ดร้ อ นให้ ตัว เอง อยู่ดีไม่ว่าดี คิดผิด เลือกผิด ตัดสินใจผิด แม้รู้ทั้งรู้ว่าผิดก็ อุตส่าห์ดันทุรังท�ำ เหมือนใจเป็นศัตรูตัวเอง อยากกลั่นแกล้งตัว เองให้ได้รับความเดือดร้อน นี่แหละครับผลกรรมของคนขี้แกล้ง ในระยะยาวไม่มีนกั แกล้งมนุษย์รายไหนอยู่เป็นสุขเลยสักคน ส่วนผลของการเป็นคนไม่มีมารยาท เขาก็ย่อมได้รับการ สนองตอบจากสภาพแวดล้อมอย่างไม่มีมารยาทเช่นกัน นับแต่ เป็นผู้ไม่ได้รับการต้อนรับอย่างให้เกียรติ ไปจนกระทั่งได้รับ ความจุกจิกกวนใจจากมดแมลงบนที่นอน ย้ายบ้านไปที่ไหนก็ เจออยู่เรื่อย ในขณะที่คนบ้านเดียวกันไม่ค่อยจะเจอกัน ฉายภาพวิบ ากกรรมของคนขี้แ กล้ ง ไร้ ม ารยาทให้ ดู แ ล้ ว คราวนีข้ ออนุญาตฉายภาพใกล้ตัวคุณสักนิดนะครับ การเพ่ง เล็งอยู่ว่าใครท�ำอะไรย่อมได้รับผลอย่างนัน้ เฉียดกันนิดเดียว ระหว่างผู้มีอุเบกขามหากุศล กับผู้มีจิตคิดสาปแช่งให้ศัตรูมีอัน เป็นไป ที่คุณขอทราบผลกรรมของคนที่คุณเกลียด เพื่อจะได้ลด ความเกลียดลงนัน้ ขอให้ส�ำรวจใจตัวเองดีๆว่ายังเจืออยู่ด้วย โทสะขณะถามหรือไม่ ได้รับค�ำตอบแล้วมีความสะใจหรือไม่ หากมีอยู่ก็แปลว่าคุณมีมูลรากของความเป็นนักเพ่งโทษ นัก สาปแช่งแล้ว เพราะคุณไม่มีทางลดความเกลียดลงได้ด้วย ๘๔


ความสะใจกับการรู้ว่าศัตรูต้องเจอชะตากรรมเลวร้าย จิตที่ สะใจแบบนัน้ ชี้ชัดว่าคุณต้องมีความคิดอันเป็นอกุศล เมื่อคิด เป็นอกุศลย่อมปรุงแต่งจิตให้อยู่ในสภาพที่มืด โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งเมื่อประกอบด้วยโสมนัส (กรณีนคี้ ือสะใจ) ก็ยิ่งขยายผลให้ แรงเข้าไปใหญ่ เมื่อคิดเป็นอกุศล ย่อมได้รับผลในทางไม่ดีเช่นกัน ไม่เว้น แม้กระทั่งคิดไม่ดีกับคนไม่ดี ขอแนะน�ำว่าเพื่อฝึกตนให้เป็นผู้มีจิตอุเบกขาจริงๆ คุณควร ใส่ใจกับผลกรรมดีของผู้ที่คุณผูกพยาบาทหรือโกรธเกลียดก่อน เป็นอันดับแรก เห็นว่าแม้คุณเกลียดก็ไม่อาจท�ำลายความสุขที่ เขาควรได้รับจากความดีที่เขาสร้างท�ำมากับมือ จากนัน้ จึงค่อย หัดดูผลกรรมชั่วของผู้ที่คุณผูกสมัครรักใคร่เป็นอันดับต่อมา เห็นว่าแม้คณ ุ รักใครเพียงใดก็ไม่อาจท�ำลายความทุกข์ร้อนทีเ่ ขา ควรได้รับจากไฟที่เขาก่อขึ้นมากับมือเช่นกัน ดังตฤณ จากหนังสือ เตรียมเสบียงไว้เลี้ยงตัว

๘๕


แข่งคนเดียว เหมือนไม่ชื่อว่าแข่ง เหมือนไม่ชื่อว่าแพ้ เหมือนไม่ชื่อว่าชนะ เมื่อใจตัวเองคือคู่แข่ง และสนามแข่งคือใจตัวเอง เส้นชัยอยู่ที่ใจ เพียงถึงเส้นชัยครั้งเดียว ก็คว้าชัยที่เด็ดขาด พรั่งพร้อมอ�ำนาจที่เกรียงไกร เพราะไม่ต้องแพ้ใครอีกทั้งโลก

ความว่างยังคงเป็นความว่าง ไม่ต้องสร้างก็ว่างอยู่ ความฟุ้งต่างหากไม่เคยด�ำรงตน ต้องสร้างเหตุจึงอึงอลไม่ขาดสาย หมดเหตุเมื่อใดก็หายสูญ ราวกับไม่เคยมีรอยฟุ้ง ณ แห่งใดในความว่าง ดังตฤณ จากหนังสือ คิดจากความว่าง

๘๖


เมื่อเรามีสติตลอดเวลา ทุกวันทุกนาที มันจะรู้จักอารมณ์ เมื่อเราท�ำผู้รู้ให้ตื่นอยู่เสมอแล้ว มันจะเห็นสุขหรือทุกข์ ชอบ ไม่ชอบ จะเห็นอยู่ตลอดเวลา มันจะทวนลงไปทีเดียวว่ามัน ไม่ แ น่ สุ ข เกิ ด ขึ้ น มา อั นนี้ก็ ไม่ แ น่ น อนเหมื อ นกั น อย่ า ไป หมายมั่นมันเลย ทุกข์เกิดขึ้นมาเราก็ว่าเลย อันนี้มันก็ไม่แน่ เหมือนกันนะ มันแน่อยู่ตรงไหนเล่า มันแน่อยู่ตรงที่มันไม่แน่ มันเป็น เป็นอยู่อย่างนั้นเอง อันนี้เป็นเหตุให้สุขทุกข์ และ อารมณ์ทั้งหลายเหล่านี้ไม่มีก�ำลัง เสื่อม เมื่อสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ มันเสื่อมไป อุปาทาน (ความยึดมั่น) ของเราก็น้อย ก็ปล่อย วาง พระโพธิญาณเถร (หลวงปู่ชา สุภทฺโท) จากหนังสือ ตามดูจิต หน้า ๑๖, ๒๕๓๘

๘๗


เรื่องของศาสนานีก้ ็คือเรื่อง ให้ปล่อยตัวออกจากกรงนัน่ เอง

พระโพธิญาณเถร (หลวงปู่ชา สุภทฺโท) จากหนังสือ ธรรมะที่หยั่งรู้ยาก หน้า ๒๑

๘๘




Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.