Acc 52040

Page 1

รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ โครงการ พัฒนาระบบขอมูลอุบัติเหตุจราจร อําเภอปากชอง

โดย อัญชุลี ศรีวัฒนพงศ

กันยายน 2553


-ก-

กิตติกรรมประกาศ คณะผู้ศึกษา ขอขอบพระคุณ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุน

สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) ที่ สนับสนุนงบประมาณปี 2552 ในการจัดทาโครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปาก ช่อง จังหวัดนครราชสีมา ขอขอบพระคุณ นพ.ธีรพงษ์ อุดมเวช นพ.ธนพงษ์ จินวงศ์ พญ.รัตนา ยอดอานนท์ นพ.ธเนศ สันติโรจนกุล คุณอัญชุลี ศรีวัฒนพงศ์ คุณลาวัลย์ บุญชื่น คุณ กชกร เพียซ้าย คุณนพรัตน์ อารยพัฒนกุล คุณวีรชน เกลียวกลม คุณสุทธิลักษณ์ หนูรอด ที่ช่วยคิดวิเคราะห์ประเด็น ปัญหาและข้อสรุป ขอขอบพระคุณ สานักงานขนส่งจังหวัดนครราชสีมา (สาขาปากช่อง) ปลัดอาเภอปาก ช่องฝ่ายความมั่นคง สานักงานสาธารณสุขอาเภอปากช่อง เทศบาลตาบลสีมามงคง สถานี ตารวจภูธรอาเภอปากช่อง สถานีตารวจภูธรหนองสาหร่าย สถานีตารวจภูธรหมูสี สถานีตารวจภูธร กลางดง สถานีตารวจทางหลวงปากช่อง หมวดการทางปากช่องที่ 1 หมวดการทางปากช่องที่ 2 หมวดการทางปากช่องที่ 3 ชมรมผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์และวิทยุโทรทัศน์จังหวัดนครราชสีมา คณะ เจ้าหน้าที่ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉินโรงพยาบาลปากช่องนานา คลินิกโรงพยาบาลกรุงเทพ-ปากช่อง โรงเรียนปากช่อง วิทยาลัยการอาชีพปากช่อง อาสาสมัครมูลนิธิสว่างวิชชาธรรมสถานปากช่อง อาสาสมัครศูนย์สื่อสารฉุกเฉินโรงพยาบาลปากช่องนานา เครือข่ายเพื่อนเตือนภัย ศูนย์เตือนภัยพิบัติ แห่งชาติ บริษัทโตโยต้าไทยเย็นจากัด สาขาปากช่อง และ เพื่อนๆ ทุกคนที่ได้ให้ความช่วยเหลือ การดาเนินงานโครงการเสร็จสิ้นด้วยดี ท้ายที่สุด ขอกราบขอบพระคุณ คุณพ่อ คุณแม่ และครอบครัว ครู อาจารย์ ผู้เป็นที่รัก ที่ให้ความรู้ ให้กาลังใจ ให้โอกาสได้ดาเนินโครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปาก ช่อง สาเร็จด้วยดี คณะผู้จัดทา กันยายน 2553


-ข-

คานา โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ได้รับ การสนับสนุนงบประมาณจาก มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการ สร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) โดยศึกษาจากข้อมูล การเกิดอุบัติเหตุที่มีผู้เสียชีวิต บาดเจ็บหรือเสียชีวิตมากว่า 5 คนขึ้นไป จุดที่เกิดบ่อย และที่อยู่ใน ความสนใจของผู้บังคับบัญชาหรือสื่อมวลชน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2552 ถึง 30 มิถุนายน 2553 การ เก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามจากสานักระบาด กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และ แบบสอบถามอุบัติเหตุหมู่จากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุจราจรในเขตพื้นที่อาเภอปากช่อง และ อุบัติเหตุที่น่าสนใจในพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งเป็นข้อมูลที่ได้จากการสอบสวนหาสาเหตุของการเกิด อุบัติเหตุเชิงลึก ลักษณะต่างๆ ประชุมเพื่อหาแนวทางแก้ไขในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งแบ่งกลุ่มการเกิดอุบัติเหตุออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ อุบัติเหตุกลุ่มที่ 1 จั กรยานยนต์ ถูกชนขณะเปลี่ยนช่องจราจรกะทันหัน อุบัติเหตุกลุ่มที่ 2 รถตกถนนชนต้นไม้ อุบัติเหตุกลุ่มที่ 3 อุบัติเหตุทางสี่แยกและจุดกลับรถ อุบัติเหตุกลุ่มที่ 4 อุบัติเหตุชนท้าย อุบัติเหตุกลุ่ม ที่ 5 อุบัติเหตุอื่นๆ จานวน 27 เหตุการณ์ เพื่อเตือนสติให้กับผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงในการใช้รถใช้ถนน อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบางครั้ง เกิดจาก ยานพาหนะที่ไม่อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้ ระบบวิศวกรรมจราจร และสภาพแวดล้อม หรือผู้ขับขี่ไม่มีความรู้ขาดความชานาญและประสบการณ์ในการขับขี่ รวมถึงมี การดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ คณะผู้จัดทาขอแสดงความเสียใจต่อการจากไปของผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ทั้งหมดใน หนังสือเล่มนี้ ซึ่งได้รวบรวมผ่านคราบเลือด คราบน้าตาของผู้สูญเสีย ซึ่งบางคนเป็นเสาหลักของ ครอบครัว เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการเสียชีวิตของบุคลเหล่านี้ จะนาไปสู่การปรับปรุงแก้ไขจุดเสี่ยงที่ เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ในพื้นที่อาเภอปากช่อง เพื่อก้าวสู่ทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางท้องถนน ต่อไป

ทีมสอบสวนอุบัติเหตุจราจร รพ.ปากช่องนานา ผู้จัดทา


-ค-

บทคัดย่อ “โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง” นายเกษมศักดิ์ ชุมศรี1 และคณะ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ (1)เพื่อให้มี การบูรณาการด้านการจัดการข้อมูลอุบัติเหตุจราจรในภาพรวมของอาเภอ (2) เพื่อศึกษาปัญหา สาเหตุและปัจจัยของการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรในเชิงลึก (3)เพื่อนาข้อมูลที่ได้จากการศึกษา วิเคราะห์ไปนาเสนอ เพื่อนาไปใช้ในการแก้ปัญหาอุบัติเหตุจราจรของ อ.ปากช่อง อย่างเป็นระบบ วิธีการศึกษาแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนคือ ขั้นเตรียมการ ขั้นดาเนินการ และขั้น ประเมินผล ซึ่งรวบรวมข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุจากแบบสอบถามสานักระบาด กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และแบบรายงานอุบัติเหตุใหญ่ กลุ่มงานวิจัยและพัฒนา สานักวิจัยและความ ร่วมมือระหว่างประเทศ ทาการเก็บรวบรวมข้อมูลจากสถานที่เกิดอุบัติเหตุกรณีที่มีผู้เสียชีวิต จุดที่ เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง อุบัติเหตุที่มีผู้บาดเจ็บ/เสียชีวิตมากว่า 5 คน และอุบัติเหตุที่อยู่ในความสนใจ ของผู้บังคับบัญชา/สื่อมวลชน โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ต้องการทราบ จากผู้เห็นเหตุการณ์ ผู้บาดเจ็บ ญาติผู้บาดเจ็บ/เสียชีวิต พนักงานสอบสวน เจ้าหน้าที่กู้ชีพกู้ภัย และ เจ้าหน้าที่แพทย์ พยาบาลโรงพยาบาลปากช่องนานา เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือน ตุลาคม 2552 ถึงมิถุนายน 2553 วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีประมวลผลสรุปและจัดหมวดหมู่ข้อมูล ผลการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างอุบัติเหตุจานวน 27 ครั้งมีผู้เสียชีวิต 28 คน บาดเจ็บ 123 คน เป็นอุบัติเหตุกลุ่มชน 8 ครั้ง ปัจจัยที่ทาให้เกิดอุบัติเหตุพบว่า เกิดจากการเปลี่ยนช่องทางอย่าง รวดเร็ว อุบัติเหตุจากการชนท้าย ความไม่ปลอดภัยของถนนที่ตัดผ่านชุมชนโดยไม่มีมาตรการ รองรับ และที่สาคัญเกิดจากพฤติกรรมของผู้ขับขี่เร็ว ดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ส่วนการเสียชีวิตเกิดจากขี่จักรยานยนต์ไม่สวมหมวกนิรภัย และไม่คาดเข็มขัดนิรภัยในผู้ที่เดินทาง โดยรถยนต์ ผลที่ได้จากการสอบสวนนาไปสู่การแก้ไขปัญหาในระยะต้นได้แก่ การปรับปรุงภูมิ ทัศน์จุดเสี่ยงทางร่วมทางแยก เพิ่มแสงสว่าง และการปรับปรุงสัญญาณไฟจราจร รวมถึงการมี เครือข่ายแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจราจรระดับอาเภอ การบริหารจัดการที่เกิดเหตุแบบองค์รวม และ สามารถนากรณีศึกษานี้ไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจราจรที่มีบริบทคล้ายคลึงกัน

1

นักวิเคราะห์นโยบายและแผน โรงพยาบาลปากช่องนานา


-ง-

Abstract Development of Traffic Accident Information in Pak Chong. This case related to study in quantitative and qualitative that purpose for : (1)to deal of integration about accident traffic data of district. (2)to study about problem, cause and factor to pass away from accident traffic. (3)can take the data to present and solve the problem about accident traffic in Pak Chong. Method to study that classify 3 step are to prepare, to operate, and to evaluate which combine the accident traffic information from National Trustworthy and Competent Authority in Epidemiological Surveillance and Investigation questionnaire and accident report of research and development group, Research and international cooperation that collect the information from locate about accident and have to pass away, locate that often accident, accident situation that have to die more than five and accident that concentrate from director and reporter by deep interview to collect the data that want to know from people who see or stand in situation, survivor, cousin, interrogate office, rescue, and doctor of Pak Chong Nana hospital which collect the data between October,2009 to June,2010. Analysis the data by conclude and divide the data. Result from example group about 27 accident that have 28 dead person and to get hurt, relate to car bump 8 times that have factor is the driver change the way fatly, the road in community not safe and the most important is driver behavior and take soft drink or alcohol drink. Cause of to die from riding the motorcycle because no have safety helmet and no safety belt in car. Result from study to resolve the problem such as improve part of traffic diversions, crossroad, increase light, and improve the traffic signal. And then involve to have network about resolve the problem in traffic accident in district when have to deal cause and take case study to apply in resolve the problem accident traffic in similar case.


-จ-

สารบัญ กิตติกรรมประกาศ คานา บทคัดย่อภาษาไทย บทคัดย่อภาษาอังกฤษ สารบัญ สารบัญตาราง สารบัญภาพ บทที่ 1 บทนา - ความเป็นมาและความสาคัญของปัญหา - วัตถุประสงค์ - เป้าหมาย - กลุ่มเป้าหมาย - วิธีการศึกษา - ระยะเวลาดาเนินการ - การประเมินโครงการ - ผลที่คาดว่าจะได้รับ บทที่ 2 กรอบแนวคิดที่เกี่ยวข้อง (ทบทวนวรรณกรรม) - หลักระบาดวิทยาของการบาดเจ็บ - การตรวจสถานที่เกิดเหตุ - การสอบสวนหาสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ - การบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอะบัติเหตุจราจร - สุรากับอุบัติเหตุจราจร - ความเร็วและระยะเบรกที่ปลอดภัย - อุบัติเหตุจากการชนท้าย - การบาดเจ็บที่หน้าอก จากเข็มขัดนิรภัย บทที่ 3 การดาเนินงาน อุบัติเหตุกลุ่มที่ 1 จยย. ถูกชนขณะเปลี่ยนช่องจราจรกะทันหัน - อุบัติเหตุ จยย. ตัดหน้ารถกระบะ ถ.มิตรภาพ กม.75 หน้าศูนย์สุนัขทหาร

หน้า ก ข ค ง จ ซ ญ 1 4 4 4 4 5 5 5 7 7 8 9 16 17 19 19

21


-ฉ-

สารบัญ (ต่อ) - อุบัติเหตุ จยย.ตัดหน้ารถกระบะ ถ.มิตรภาพ กม.74 แยกหนองคู - อุบัติเหตุ จยย.ตัดหน้ารถเก๋ง3คัน ถ.มิตรภาพ กม.64 หน้าขนส่งปากช่อง - อุบัติเหตุ รถกระบะเฉี่ยว รถ จยย. ถ.มิตรภาพ กม.71 ก่อนถึงแยกเข้าบ้านบ่อทอง อุบัติเหตุกลุ่มที่ 2 รถตกถนนชนต้นไม้ - อุบัติเหตุ รถกระบะตกถนนพลิกคว่าชนต้นไม้ ถ.มิตรภาพ กม.68+500 - อุบัติเหตุ โตโยต้าฟอร์จูนเนอร์แหกโค้งชนต้นไม้ ถ.โครงการภูพิมาน - อุบัติเหตุ รถกระบะตกถนนชนต้นไม้ ถ.ลานารายณ์-ปากช่อง บ้านซับสนุ่น อุบัติเหตุกลุ่มที่ 3 อุบัติเหตุทางสี่แยกและจุดกลับรถ - อุบัติเหตุ รถตู้ชนรถกระบะแยก ถ.มิตรภาพ กม.67 แยกซับหวาย - อุบัติเหตุ รถโตโยต้าฟอร์จูนเนอร์ชนท้ายรถกระบะ หน้า รพ.ปากช่องนานา - อุบัติเหตุ จยย.ชนรถเก๋ง ถ.มิตรภาพ (สายเก่า) หน้า รพ.ปากช่องนานา - อุบัติเหตุ รถกระบะเฉี่ยวชน จยย. ถ.มิตรภาพ กม.53 หน้าด่านกักสัตว์บันไดม้า - อุบัติเหตุ รถเก๋งเลี้ยวตัดหน้า รถ จยย. ถ.มิตรภาพ (สายเก่า) หน้าศูนย์ฮอนด้า - อุบัติเหตุ รถกระบะนักเรียนตัดหน้ารถกระบะ ถ.มิตรภาพ กม.61 แยกวัด ตะเคียนทอง - อุบัติเหตุ รถพ่วงยี่สิบสองล้อกลับรถตัดหน้ารถเก๋งชนไฟลุกไหม้ ถ.มิตรภาพ กม.42 - อุบัติเหตุ รถบรรทุกสิบล้อชนรถ จยย. ถ.มิตรภาพ กม.62 หน้าปั้ม ปตท. - อุบัติเหตุ จยย. ตัดหน้ารถกระบะ ถ.มิตรภาพ กม.61 แยกวัดตะเคียนทอง อุบัติเหตุกลุ่มที่ 4 อุบัติเหตุชนท้าย - อุบัติเหตุ รถพ่วง 18 ล้อชนท้ายรถทัวร์ ถ.มิตรภาพ กม.36 มอทางหลวงกลางดง - อุบัติเหตุ รถเก๋งชนท้ายรถ 10 ล้อ ถ.มิตรภาพ กม.61 หน้าบริษัทวิริยะประกันภัย - อุบัติเหตุ รถทัวร์ชนท้ายรถเทรลเลอร์หน้า ปตท. กลางดง - อุบัติเหตุ รถทัวร์ชนท้ายรถพ่วง ถ.มิตรภาพ กม.85+800 มอคลองไผ่ (บ้า นกฤษณ์) อุบัติเหตุกลุ่มที่ 5 อุบัติเหตุอื่นๆ - อุบัติเหตุ รถ จยย.ไม่มีไฟชนประสานงาน จยย. ถ.นิคมฯ-หนองสาหร่าย - อุบัติเหตุ รถกระบะถอยทับเด็กบ้านพักหนองกะจะ

หน้า 27 32 34 35 40 41 47 56 57 58 59 62 64 67 69 72 76 78 80

88 93


-ช-

สารบัญ (ต่อ) -

อุบัติเหตุ อาสามูลนิธิเมาแล้วขับรถกระบะชนรถกระบะ ถ.มิตรภาพหน้าวัดปางแก อุบัติเหตุ จยย.ตัดหน้า รถกระบะ ถ.ธนะรัตน์ กม.7 หน้าปั้ม ปตท. อุบัติเหตุ รถพ่วงชนคนเดินเท้า ถ.มิตรภาพ กม.40 บริเวณสะพานลอย กลางดง อุบัติเหตุ รถกระบะชนรถ จยย. ถ.ปากช่อง-ซับสนุ่น หน้าฟาร์มหมูหนองกระจะ อุบัติเหตุ รถน้ามันเบรกติดไฟลุกไหม้ ถ.มิตรภาพ กม.85+500 ศูนย์ข้อมูลลาตะคอง บทที่ 4 ผลการดาเนินงาน - สรุปการดาเนินงานโครงการสอบสวนอุบัติเหตุจราจร - ความสาเร็จภายใต้โครงการสอบสวนอุบัติเหตุจราจร บทที่ 5 สรุปปัญหาและข้อเสนอแนะ - ด้านความปลอดภัย - ด้านการสอบสวนหาสาเหตุของอุบัติเหตุ - ด้านการบริหารจัดการให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลา - ด้านจุดเด่นและความสาเร็จ - บทเรียนจากโครงการ - ข้อเสนอแนะ บรรณานุกรม ภาคผนวก ก - คาสั่งอาเภอปากช่อง - รายนามเครือข่าย - บทเรียนการทางาน ทีมสอบสวนอุบัติเหตุจราจร โรงพยาบาลปากช่องนานา ภาคผนวก ข - เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลสอบสวนอุบัติเหตุจราจร - รางวัลแห่งความสาเร็จ

หน้า 93 94 95 96 99 101 118 123 123 124 125 125 125 127 130 133 135 142 171


-ซ-

สารบัญตาราง ตาราง 1.1 สถิติผู้บาดเจ็บ/เสียชีวิต จากอุบัติเหตุจราจรทั้งปี 2550-2551 ตาราง 1.2 สถิติผู้บาดเจ็บ/เสียชีวิตในช่วง เทศกาลขึ้นปีใหม่ 2548-2552 ตาราง 1.3 สถิติผู้บาดเจ็บ/เสียชีวิตในช่วง เทศกาลวันสงกรานต์ 2548-2552 ตาราง 2.1 ระดับแอลกอฮอล์ในเลือดกับอาการแสดงของผู้ดื่มสุรา ตาราง 2.1 ความสัมพันธ์ของระดับแอลกอฮอล์ในเลือดกับโอกาสเกิดอุบัติเหตุจราจร ตาราง 3.1 แสดงข้อมูลผู้ขับขี่ ตาราง 3.2 แสดงข้อมูลยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุ ตาราง 3.3 แสดงข้อมูลผู้ขับขี่ ตาราง 3.4 แสดงข้อมูลยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุ ตาราง 3.5 แสดงข้อมูลผู้ขับขี่ ตาราง 3.6 แสดงข้อมูลยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุ ตาราง 3.7 แสดงข้อมูลผู้ขับขี่ ตาราง 3.8 แสดงข้อมูลยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุ ตาราง 3.9 แสดงข้อมูลผู้ขับขี่ ตาราง 3.10 แสดงข้อมูลยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุ ตาราง 3.11 แสดงข้อมูลผู้ขับขี่ ตาราง 3.12 แสดงข้อมูลยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุ ตาราง 3.13 แสดงข้อมูลผู้ขับขี่ ตาราง 3.14 แสดงข้อมูลผู้ขับขี่ ตาราง 3.15 แสดงข้อมูลยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุ ตาราง 3.16 แสดงข้อมูลยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุ ตาราง 3.17 แสดงข้อมูลผู้ขับขี่ ตาราง 3.18 แสดงข้อมูลยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุ ตาราง 3.19 แสดงข้อมูลยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุ ตาราง 3.20 แสดงข้อมูลผู้ขับขี่ ตาราง 3.21 แสดงข้อมูลยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุ ตาราง 3.22 แสดงข้อมูลยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุ ตาราง 3.23 แสดงข้อมูลผู้ขับขี่

หน้า 2 2 2 17 17 23 23 28 29 37 38 42 43 49 50 60 60 63 65 65 68 70 70 74 77 77 79 80


-ฌ-

สารบัญตาราง (ต่อ) ตาราง 3.24 ข้อมูลผู้ขับขี่ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุคันที่ 1 ตาราง 3.25 ข้อมูลผู้ขับขี่ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุคันที่ 2 ตาราง 3.26 ข้อมูลผู้ขับขี่ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุคันที่ 3 ตาราง 3.27 ข้อมูลยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุคันที่ 1 ตาราง 3.28 ข้อมูลยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุคันที่ 2 ตาราง 3.29 ข้อมูลยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุคันที่ 3 ตาราง 3.30 แสดงข้อมูลผู้ขับขี่ ตาราง 3.31 แสดงข้อมูลยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุ ตาราง 3.32 แสดงข้อมูลผู้ขับขี่ ตาราง 3.33 แสดงข้อมูลยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุ ตาราง 4.1 แสดงผลการสรุปปัจจัยที่ทาให้เกิดอุบัติเหตุจราจร และแนวทางแก้ไข

หน้า 82 83 83 84 85 85 90 90 98 98 109 -117


-ญ-

สารบัญภาพ ภาพที่ 3.1 แสดงแผนที่เกิดอุบัติเหตุ ภาพที่ 3.2 การลงพื้นที่หาข้อมูลจากพนักงานสอบสวน สภ.หนองสาหร่าย ภาพที่ 3.3 ด้านท้ายและด้านข้างของ จยย.ได้รับความเสียหาย ภาพที่ 3.4 ด้านหน้าของรถกระบะได้รับความเสียหาย ภาพที่ 3.5 สภาพถนนที่เกิดอุบัติเหตุ และทางลัดผ่านที่ชาวบ้านทาขึ้นใช้สัญจรไปมา ภาพที่ 3.6 ทางลัดผ่านที่เกิดอันตรายได้ง่าย ภาพที่ 3.7 แสดงลายเส้นสีน้าเงินคือเส้นทางเป้าหมาย เส้นทางม่วงคือเส้นทางที่เสียชีวิต ภาพที่ 3.8 ช่วงสะพานลอยก่อนถึงจุดเกิดเหตุและเป็นทางแยกเข้า อ.ปากช่อง ภาพที่ 3.9 แผนที่การเกิดอุบัติเหตุ ภาพที่ 3.10 พฤติกรรมของชาวบ้านในพื้นที่เกิดเหตุ ภาพที่ 3.11 ความเสียหายของรถจักรยานยนต์ ภาพที่ 3.12 กันชนด้านหน้าขวาได้รับความเสียหาย ภาพที่ 3.13 ความเสียหายของรถกระบะที่ประสบเหตุ ภาพที่ 3.14 แสดงจุดกลับรถที่ไม่สะดวกต่อการสัญจรของชาวบ้านหนองคู ภาพที่ 3.15 แสดงถนนที่ตัดผ่านหมู่บ้านหนองคู ภาพที่ 3.16 แสดงแผนที่การเกิดอุบัติเหตุ ภาพที่ 3.17 แสดงเส้นทางการขับขี่ขณะเกิดอุบัติเหตุ (สีน้าเงินเส้นทาง จยย.) ภาพที่ 3.18 แผนที่แสดงการเกิดอุบัติเหตุ ภาพที่ 3.19 แสดงแผนที่การเกิดอุบัติเหตุ ภาพที่ 3.20 สภาพรถในที่เกิดเหตุ ภาพที่ 3.21 ความเสียหายที่เกิดจากอุบัติเหตุ ภาพที่ 3.22 ความเสียหายภายในห้องโดยสาร ภาพที่ 3.23 ต้นไม้ที่ถูกชนหักโค่น ภาพที่ 3.24 ความเสียหายด้านหน้ารถที่เกิดเหตุ ภาพที่ 3.25 ถนนและสิ่งแวดล้อมที่เกิดเหตุ ภาพที่ 3.26 ต้นไม้ต้นแรกที่ถูกเฉี่ยวชนห่างจากจุดเกิดเหตุประมาณ 30-40 เมตร ภาพที่ 3.27 ตาแหน่งเกียร์ขณะเกิดเหตุ และต้นไม้ที่ปลูกไว้ระหว่างถนน ภาพที่ 3.28 แผนที่เกิดเหตุ

หน้า 22 22 24 24 24 25 26 26 27 28 29 30 30 31 32 33 33 34 36 36 36 37 37 38 39 39 40 41


-ฎ-

สารบัญภาพ (ต่อ) ภาพที่ 3.29 แสดงอวัยวะที่ได้รับการบาดเจ็บ/เสียชีวิต ภาพที่ 3.30 ความเสียหายของรถที่ปะทะกับต้นไม้ ภาพที่ 3.31 เศษไม้ที่หักทิ่มเข้าไปที่ขอบยาง ภาพที่ 3.32 ความเสียหายของรถ ภาพที่ 3.33 ต้นไม้มะขามที่ถูกชนหักโค่น ภาพที่ 3.34 แนวล้อรถที่ตกถนนก่อนชนต้นไม้ และบริเวณจุดเกิดเหตุ กม.52+600 ภาพที่ 3.35 ถนนมุ่งหน้าเข้า อ.ปากช่อง และมุ่งหน้า ลานารายณ์ ภาพที่ 3.36 แสดงแผนที่เกิดอุบัติเหตุ ภาพที่ 3.37 ด้านหน้ารถตู้โดยสาร และรถกระบะคู่กรณี ตกลงไปในล่องกลางถนน ภาพที่ 3.38 กระบะที่หลุดจากตัวรถ อยู่บนผิวการจราจรช่องซ้ายสุดบริเวณที่เกิดเหตุ ภาพที่ 3.39 แสดงตาแหน่งที่นั่งของผู้บาดเจ็บขณะเดินทางมากับรถตู้โดยสาร ภาพที่ 3.40 ความเสียหายของรถตู้โดยสารด้านข้างและด้านหน้า ภาพที่ 3.41 แสดงอุปกรณ์อานวยความปลอดภัย ภาพที่ 3.42 แสดงรอยประทับของยางบนผิวถนน ภาพที่ 3.43 แสดงความเสียหายของรถยนต์กระบะต้นเหตุ ภาพที่ 3.44 แสดงความเสียหายของห้องเครื่อง และสภาพของยางรถยนต์กระบะต้นเหตุ ภาพที่ 3.45 แสดงสภาพถนนและสิ่งแวดล้อม ภาพที่ 3.46 ป้ายเตือนด้านหน้ามีอุบัติเหตุเกิดขึ้นบ่อยครั้ง (ชาวบ้านได้ยึดเป็นที่ค้าขาย) ภาพที่ 3.47 แสดงป้ายเตือนมีทางร่วมทางแยก ภาพที่ 3.48 แสดงมุมมองของผู้ขับขี่ขณะขับรถข้ามถนนบริเวณดังกล่าว ภาพที่ 3.49 เปรียบเทียบจุดกลับรถที่มีลักษณะคล้ายกันแต่มุมมองต่างกัน ภาพที่ 3.50 แสดงการเปรียบเทียบรถที่ติดแถบสะท้อนแสง ภาพที่ 3.51 แสดงแนวทางแก้ไขบริเวณทางแยกตัดกับถนนท้องถิ่น ภาพที่ 3.52 จังหวะสัญญาณไฟจราจรที่ทาให้เกิดอุบัติเหตุ การชนท้ายบนถนนสายหลัก ภาพที่ 3.53 การชนกันกลางสี่แยกขอรถที่ใช้ถนนสายรองเมื่อได้สัญญาณไฟเขียว ภาพที่ 3.54 ความเสียหายของรถทั้งสองคัน ภาพที่ 3.55 สภาพถนนด้านซ้ายเป็นถนนคู่ขนาน ด้านขวาเป็นเส้นทางหลัก

หน้า 43 44 44 45 45 46 46 48 48 49 50 51 51 52 52 52 53 54 54 54 55 55 56 57 58 59 61


-ฏ-

สารบัญภาพ (ต่อ) ภาพที่ 3.56 แสดงเส้นทางที่รถเก๋งวิ่งมาในเส้นทางคู่ขนานแล้วกลับรถทางด้านขวาก่อน เกิดเหตุ ภาพที่ 3.57 เส้นทางที่รถ จยย.วิ่งมาก่อนที่จะถูกรถเก๋งที่วิ่งมาในทางด้านซ้าย กลับรถตัดหน้า ภาพที่ 3.58 แสดงความเสียหายล้อหลังของหัวลากพ่วง และความเสียหายของรถเก๋ง ภาพที่ 3.59 แสดงสภาพถนนและสิ่งแวดล้อมที่เกิดเหตุ ภาพที่ 3.60 บริเวณที่เกิดเหตุจะมีรถบรรทุกหนัก/รถพ่วง กลับรถเป็นประจา ภาพที่ 3.61 แผนที่เกิดอุบัติเหตุ ภาพที่ 3.62 ผู้เสียชีวิต ในที่เกิดเหตุถูกล้อรถเหยียบที่ลาตัวและศีรษะ ภาพที่ 3.63 แยกวัดตะเคียนทอง จะมีประชาชนใช้เส้นทางดังกล่าวและมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น บ่อยครั้ง ภาพที่ 3.64 ทีมสอบสวนที่เกิดเหตุลงพื้นที่เก็บข้อมูล ภาพที่ 3.65 จุดเกิดเหตุ และภาพความเสียหายของรถกระบะ ภาพที่ 3.66 แสดงสภาพถนนและสิ่งแวดล้อม ภาพที่ 3.67 แสดงปกติจะมีรถขนาดใหญ่และชาวบ้านกลับรถและผ่านแยกนี้บ่อยครั้ง ภาพที่ 3.68 กระบะเฉี่ยวชนกันและตกถนนชนกับต้นไม้ จุดเดียวกัน (17 เม.ย.53) ภาพที่ 3.69 แสดงแผนที่การเกิดอุบัติเหตุ ภาพที่ 3.70 ข่าวจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ภาพที่ 3.71 ความเสียหายของรถทัวร์สายกรุงเทพ-ชัยภูมิ และด้านหน้าของรถพ่วง ภาพที่ 3.72 ความเสียหายของรถรถทัวร์กรุงเทพ-ชัยภูมิ ภาพที่ 3.73 ป้ายเตือนอุบัติเหตุ และป้ายจากัดความเร็วก่อนลงเนินเขา ภาพที่ 3.74 สภาพถนนและสิ่งแวดล้อมวันเกิดเหตุ ภาพที่ 3.75 จุดการลื่นไถลของรถทัวร์ และเบาะนั่งโดยสารหลุดจากตัวรถ ภาพที่ 3.76 รถเก๋งทีได้รับความเสียหายด้านหน้าถึงห้องโดยสาร และ ด้านท้ายรถบรรทุกสิบล้อ ภาพที่ 3.77 สถานที่เกิดเหตุ ถ.มิตรภาพเลี่ยงเมือง กม.60-61 ขาเข้า กทม. ภาพที่ 3.78 ถนนที่เกิดเหตุบริเวณไหล่ทางด้านซ้าย ภาพที่ 3.79 เจ้าหน้าที่เร่งช่วยเหลือคนขับที่ติดอยู่กับคอนโซลรถ

หน้า 61 62 66 66 66 67 68 69 69 70 71 71 72 73 73 74 75 75 75 76 77 78 78 79


-ฐ-

สารบัญภาพ (ต่อ) ภาพที่ 3.80 แสดงแผนที่การเกิดอุบัติเหตุ ภาพที่ 3.81 แสดงการชนระหว่างรถคันที่ 1 และคันที่ 2 ภาพที่ 3.82 รถคันที่ 3 (รถทัวร์) หลบไม่พ้นชนท้ายของรถบรรทุกคันที่ 2 ภาพที่ 3.83 ความเสียหายด้านหน้าของรถคันที่ 3 (รถทัวร์) ภาพที่ 3.84 แสดงตาแหน่งที่ได้รับบาดเจ็บ ภาพที่ 3.85 ความเสียหายของรถบรรทุกพ่วงคันที่ 2 และรถโดยสารปรับอากาศ คันที่ 3 ภาพที่ 3.86 แผนที่แสดงลักษณะทางลาดเนินเขา ภาพที่ 3.87 ถนนก่อนลงเนินคลองไผ่ กม.87 ภาพที่ 3.88 ถนนและสิ่งแวดล้อมก่อนถึงจุดเกิดเหตุ ภาพที่ 3.89 มุมมองก่อนขึ้นเนินประมาณ 20-30 เมตร และก่อนถึงจุดเกิดเหตุ ประมาณ 100 เมตร ภาพที่ 3.90 ยานพาหนะที่ต้องเร่งเพื่อขึ้นเนินโดยเฉพาะรถหนักต้องเร่งความเร็วเป็นพิเศษ ภาพที่ 3.91 แสดงแผนที่การเกิดอุบัติเหตุ ภาพที่ 3.92 จยย. ดัดแปลงสภาพ และผู้ขับขี่เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ ภาพที่ 3.93 ความเสียหายของรถจักรยานยนต์ผู้บาดเจ็บ ฝาครอบเครื่องและ ปั้มเบรกด้านขวา ภาพที่ 3.94 ความเสียหายของรถจักรยานยนต์ผู้เสียชีวิต ภาพที่ 3.95 ถนนและสิ่งแวดล้อมก่อนถึงที่เกิดเหตุ และภาพอาสาสมัครศูนย์สื่อสารฯ ชี้จุดผู้เสียชีวิต ภาพที่ 3.96 แสดงเส้นทางของ รถ จยย.ทั้งสองคัน โดยเส้นสีเขียวขับปาดเข้ามา ในช่องทางสีแดง ภาพที่ 3.97 สภาพถนนและสิ่งแวดล้อม ภาพที่ 3.98 แสดงแผนที่เกิดอุบัติเหตุ ภาพที่ 3.99 ความเสียหายรถกระบะ และรถจักรยานยนต์ ภาพที่ 3.100 เข็มไมล์วัดความเร็วอยู่ที่ 120 ขณะพุ่งชน ภาพแผนภูมิ 4.1 แสดงจานวนอุบัติเหตุที่สอบสวน ภาพแผนภูมิ 4.2 แสดงจุดที่เกิดอุบัติเหตุอาเภอปากช่อง 1 ต.ค.52 – 30 มิ.ย.53 ภาพแผนภูมิ 4.3 แสดงสัดส่วนของอุบัติเหตุ ตามเงื่อนไขในการสอบสวน

หน้า 81 81 82 82 84 85 86 86 87 87 87 89 89 91 91 92 92 95 97 97 97 100 102 102


-ฑ-

สารบัญภาพ (ต่อ) ภาพแผนภูมิ 4.4 แสดงสัดส่วน สภาพทางกายภาพที่เกิดอุบัติเหตุ ภาพแผนภูมิ 4.5 แสดงสัดส่วนของผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจร ภาพแผนภูมิ 4.6 แสดงแสงสว่างกับการเกิดอุบัติเหตุ ภาพแผนภูมิ 4.7 แสดงสภาพอากาศต่อการเกิดอุบัติเหตุ ภาพแผนภูมิ 4.8 แสดงสัดส่วนของถนนที่เกิดอุบัติเหตุ ภาพแผนภูมิ 4.9 แสดงสัดส่วนของช่องทางจราจรที่เกิดอุบัติเหตุ ภาพแผนภูมิ 4.10 แสดงสัดส่วนทางโค้งแนวราบต่อการเกิดอุบัติเหตุ ภาพแผนภูมิ 4.11 แสดงสัดส่วนทางโค้งแนวดิ่งต่อการเกิดอุบัติเหตุ ภาพแผนภูมิ 4.12 แสดงสัดส่วนลักษณะการเกิดอุบัติเหตุ ภาพแผนภูมิ 4.13 แสดงสัดส่วนของยานพาหนะที่เป็นต้นเหตุ และคู่กรณี ภาพแผนภูมิ 4.14 แสดงสัดส่วนของพฤติกรรมเสี่ยง ภาพที่ 4.15 การปรับปรุงจุดกลับรถและสี่แยกบ้านซับหวาย ภาพที่ 4.16 จังหวะสัญญาณไฟที่ปรับใหม่ขณะที่รถมุ่งหน้าเข้า อ.ปากช่อง ได้สัญญาณไฟเขียว ภาพที่ 4.17 จังหวะสัญญาณไฟที่ปรับใหม่ขณะที่รถมุ่งหน้าเข้าเขาใหญ่ ได้สัญญาณไฟเขียว ภาพที่ 4.18 จังหวะสัญญาณไฟที่ปรับใหม่ขณะที่รถมุ่งหน้าเข้าบ้านหนองมะค่า ได้สัญญาณไฟเขียว ภาพที่ 4.19 จังหวะสัญญาณไฟที่ปรับใหม่ขณะที่รถมุ่งหน้าเข้าบ้านโป่งประทุน ได้สัญญาณไฟเขียว

หน้า 103 103 104 104 105 105 106 106 107 107 108 118 119 119 120 120


บทที่ 1 บทนา ความเป็นมาและความสาคัญของปัญหา อุบัติเหตุทางจราจรนับเป็นปัญหาสาธารณสุข สังคม และเศรษฐกิจที่สาคัญของ ประเทศต่างๆ ทั่วโลก ความเจริญทางเทคโนโลยีในยุคปัจจุบัน ความสะดวกของถนนหนทาง ความ รวดเร็วของพาหนะทาให้อุบัติการณ์ในการเกิดอุบัติเหตุเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุบัติเหตุจาก การจราจรทางบกมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น สร้างความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สิน รวมทั้งสร้างความ เสียหายต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศชาติโดยรวม องค์การอนามัยโลกจึงประกาศให้ปี พ.ศ. 2547 เป็นปีเพื่อถนนปลอดอุบัติเหตุ เพื่อเป็นการกระตุ้นและเชิญชวนให้ทุกประเทศทั่วโลกให้ ความสาคัญต่อความปลอดภัยบนถนน องค์การอนามัยโลกได้จัดปัญหาอุบัติเหตุจราจรให้อยู่ในระดับของโรคระบาด ได้ พบว่าในปี พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) อุบัติเหตุจราจรบนถนนทาให้มีผู้คนได้รับบาดเจ็บเป็นอันดับ 9 และมีการคาดการณ์ว่าจะมีจานวนมากขึ้นจนกลายเป็นอันดับ 3 ในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) ความ รุนแรงของปัญหาอุบัติเหตุจราจรดังกล่าวมีค่าความสูญเสียที่ล้วนเป็นค่าใช้จ่ายของประเทศ และ เทียบเป็นมูลค่าระหว่างร้อยละ 1 ถึง 3 ของผลิตภัณฑ์รวมของประเทศ ( Gross Domestic Product: GDP) ประเทศไทยมีสถิติผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรเป็นอันดับ 2 ของสถิติโรคที่เป็น สาเหตุการตายที่สาคัญ จากรายงานสถิติอุบัติเหตุจราจรจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยอุบัติเหตุจราจรบนถนนทาให้ผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นจาก 5.7 ต่อแสนคนต่อปีในปี พ.ศ. 2527 เป็น 21.3 ต่อแสนคนต่อปีใน พ.ศ. 2545 คือเพิ่มขึ้นเป็น 4 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับปัญหาสุขภาพอื่น เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น รายงานสถิติการเฝ้าระวังการบาดเจ็บและรวมถึง รายงานผู้ป่วยในปี พ.ศ. 2545 ของโรงพยาบาลศูนย์ 11 แห่งทั่วประเทศของกระทรวงสาธารณสุข รวมถึงการวิจัยที่เกี่ยวกับอุบัติเหตุจราจรแสดงให้เห็นตรงกันว่าผู้ที่ได้รับบาดเจ็บส่วนใหญ่ คือ ผู้ใช้ รถจักรยานยนต์ ซึ่งตรงกับรายงานการบาดเจ็บรุนแรงและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุขนส่งช่วงวันหยุด เทศกาลปีใหม่และสงกรานต์ปี พ.ศ. 2547 พบว่า ผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุขนส่งส่วนใหญ่เป็นผู้ขับขี่ และโดยสารจักรยานยนต์ และจากข้อมูลมรณะบัตรและการเฝ้าระวังโรคการบาดเจ็บแห่งประเทศ ไทย ได้ประมาณการว่า ผู้ใช้รถจักรยานยนต์ตายจากอุบัติเหตุขนส่งปีละ 8,576 คน เฉลี่ยวันละ 23


-2-

คน หรือ 1 คน/ชั่วโมง โดยผู้ประสบอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ส่วนใหญ่จะมีอายุอยู่ระหว่าง 15-45 ปี ซึ่งจัดอยู่ในช่วงวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ที่เป็นวัยทางานและเป็นกาลังสาคัญในการพัฒนาประเทศ อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เป็นประตูที่จะมุ่งสู่ 19 จังหวัดภาคอีสาน และเป็น เมืองท่องเที่ยวซึ่งมีอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ที่ได้รับการรับรองจากยูเนสโก้ ให้เป็นมรดกโลก อ.ปาก ช่อง มีทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) เป็นเส้นทางหลักผ่านเส้นทางภูเขาสลับซับซ้อน และ ลาดชัน แต่ละปีมีผู้ใช้รถใช้ถนนได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรเป็นจานวนมาก โดยเฉพาะในช่วงวันหยุดที่ต่อเนื่อง เช่น ปีใหม่ และเทศกาลสงกรานต์ สถิติผู้ป่วยอุบัติเหตุบนท้องถนนที่ทาการรักษาที่โรงพยาบาลปากช่องนานา ปี 25482552 ซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลในช่วงเฝ้าระวัง และภาพรวมทั้งปีของผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตของปี 2550-2551 เป็นดังนี้ ตาราง 1.1 สถิติผู้บาดเจ็บ/เสียชีวิต จากอุบัติเหตุจราจรทั้งปี 2550-2551 เจ็บ ตาย ปี รวม เฉลี่ย/วัน รวม เฉลี่ย/วัน ชาย หญิง ชาย หญิง 2550 2551

2463 2254

1185 1036

3648 3290

9.99 9.01

61 41

11 12

72 53

0.20 0.15

ตาราง 1.2 สถิติผู้บาดเจ็บ/เสียชีวิตในช่วง เทศกาลขึ้นปีใหม่ 2548-2552 เพิ่ม/ลด เจ็บ ตาย ปี รวม รวม จากปีที่ผ่านมา ชาย หญิง ชาย หญิง 2548 2549 2550 2551 2552

77 82 63 48 77

28 21 25 21 35

105 103 88 69 112

-2 -15 -19 +43

4 2 5 0 2

3 1 2 1 2

เฉลี่ย/เดือน

7 3 7 1 4

6 4.42

เพิ่ม/ลด จากปีที่ผ่านมา -4 +4 -6 +3

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


-3-

ตาราง 1.3 สถิติผู้บาดเจ็บ/เสียชีวิตในช่วง เทศกาลวันสงกรานต์ 2548-2552 เจ็บ ตาย เพิ่ม/ลด เพิ่ม/ลด ปี ชาย หญิง รวม จากปีที่ผ่านมา ชาย หญิง รวม จากปีที่ผ่านมา 2548 71 16 87 3 0 3 2549 68 23 91 +4 2 5 7 +4 2550 46 28 74 -17 4 4 8 +1 2551 56 26 83 +9 0 0 0 -8 2552 56 28 84 +1 3 0 3 +3 จากสถิติของโรงพยาบาลปากช่องนานา ได้สะท้อนให้เห็นภาพรวมของอุบัติเหตุบน ท้องถนนของอาเภอปากช่องได้เป็นอย่างดี ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดจากรถจักรยานยนต์ และบัดนี้ ได้มี หลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมกันศึกษาแนวทาง มาตรการต่างๆ การรณรงค์ให้มีการใช้ รถใช้ถนนอย่างปลอดภัย เช่น สถานีวิทยุชุมชน งานจราจร สถานีตารวจภูธรอาเภอปากช่อง สถานี ตารวจทางหลวง สานักงานขนส่งอาเภอปากช่อง แขวงการทางปากช่อง โรงเรียนในอาเภอปากช่อง เทศบาลเมืองปากช่อง ดังนั้น ในฐานะที่เราเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ควรหันหน้ามาช่วยกันคิด ช่วยกันทา เพื่อให้เป็นต้นแบบแนวทางแห่งการปฏิบัติ และเสริมสร้างองค์ความรู้ และถ่ายทอด ความรู้สู่ชุมชนและสังคมเพื่อให้ส่งเสริมหรือพัฒนาให้คนในสังคมเมืองปากช่องเข้าใจและช่วยกัน รณรงค์การลดอุบัติเหตุจราจรบนท้องถนนอาเภอปากช่องของเราเกิดความปลอดภัยบนท้องถนน อย่างแท้จริง อาเภอปากช่อง โดยศูนย์อานวยการความปลอดภัยทางถนน ได้บูรณาการการทางาน ป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจราจรของจังหวัด ที่เน้นยุทธศาสตร์ 6 ด้าน ทั้งด้านบังคับใช้ กฎหมาย วิศวกรรมจราจร การให้ความรู้การประชาสัมพันธ์ การมีส่วนร่วม ด้านการแพทย์ฉุกเฉิน และยุทธศาสตร์ด้านการประเมินผล โดยมีการดาเนินงานมาตั้งแต่ปี 2549 และหน่วยงานส่วนใหญ่ที่ ดาเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจราจรของอ.ปากช่อง พบว่า มีการเก็บข้อมูลสถิติการ เกิดอุบัติเหตุจราจร จานวนผู้บาดเจ็บ ผู้เสียชีวิต หรือข้อมูลจุดเสี่ยงที่เกิดอุบัติเหตุ แต่ยังไม่มีการ รวบรวมข้อมูล/เชื่อมต่อ/วิเคราะห์ ข้อมูลในภาพของอาเภอเพื่อการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ ดังนั้น อาเภอปากช่อง โดยโรงพยาบาลปากช่องนานา จึงมีการพัฒนาระบบข้อมูล โดยการนาข้อมูล

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


-4-

ของแต่ละหน่วยงานมารวบรวม วิเคราะห์ หาสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุจราจร เพื่อนาผลการวิเคราะห์ ไปใช้ประโยชน์ต่อการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจราจรของอาเภอปากช่อง

วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้มีการบูรณาการด้านการจัดการข้อมูลอุบัติเหตุจราจรในภาพรวมของอาเภอ 2. เพื่อศึกษาปัญหา สาเหตุและปัจจัยของการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรในเชิงลึก 3. เพื่อนาข้อมูลที่ได้จากการศึกษาวิเคราะห์ไปนาเสนอ เพื่อนาไปใช้ในการแก้ปัญหา อุบัติเหตุจราจรของ อ.ปากช่อง อย่างเป็นระบบ

เป้าหมาย มีระบบฐานข้อมูลการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรในเชิงลึก และสาเหตุ ปัจจัยเสี่ยงของ การเกิดอุบัติเหตุ ที่มีคุณภาพและสามารถนามาใช้ในการแก้ปัญหาอุบัติเหตุจราจรของจังหวัดได้

กลุ่มเป้าหมาย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจร เช่น ตารวจ สาธารณสุข หมวด การทาง ทางหลวงชนบท สานักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

วิธีการศึกษา 1. ประชุมเพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์และดาเนินงานกับทีมสอบสวน 2. พบผู้อานวยการโรงพยาบาลปากช่องนานา เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์การสอบสวนการ บาดเจ็บและขออนุญาตสัมภาษณ์ผู้ป่วย 3. สัมภาษณ์เจ้าหน้าที่หน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลปากช่องนานาและ รวบรวมข้อมูลต่างๆจากแฟ้มประวัติของโรงพยาบาล 4. สัมภาษณ์ผู้ประสบเหตุ โดยใช้แบบสอบถามการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากสานักระบาด วิทยา ประกอบข้อมูลทั่วไป พฤติกรรมของผู้ขับขี่เป็นต้น 5. สัมภาษณ์เจ้าหน้าที่เจ้าของคดี 6. ศึกษาสภาพแวดล้อมของที่เกิดเหตุ

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


-5-

7. รายงานสรุปผลการสอบสวนเบื้องต้นให้กับผู้เกี่ยวข้องทราบเพื่อดาเนินการแก้ไข ปัญหา

ระยะเวลาดาเนินการ กันยายน 2552 –มิถุนายน 2553 ลาดับ กิจกรรม กย. ตค. พย. ธค. มค. กพ. มีค. เมย. พค. มิ.ย. 1. จัดการประชุมคณะทางานเพื่อ 2. ชีแ้ จงโครงการ 3. เก็บข้อมูลเชิงลึกจากการ เสียชีวิต และที่อยู่ในความ สนใจของประชาชน / สื่อมวลชน 4. ประชุมวิเคราะห์แบบมีส่วน ร่วม (Death case Conference) ประชุมนาเสนอเชิงนโยบายจัด ประชุมเวที 5. สรุปผลการดาเนินโครงการ

การประเมินโครงการ 1. มีการประสาน ติดตามงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และการจัดประชุมเพื่อหา แนวทางในการดาเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจราจรอย่างต่อเนื่อง 2. จากผลสรุปการวิเคราะห์อุบัติเหตุจราจรในแต่ละเดือน

ผลที่คาดว่าจะได้รับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดาเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจราจรของ อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา มีการประสานงานกันอย่างเป็นระบบ เกิดเครือข่ายการทางาน ข้อมูลอุบัติเหตุจราจรได้รับการวิเคราะห์ และนาผลไปปรับใช้ในการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจราจร

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


บทที่ 2 กรอบแนวคิดที่เกี่ยวข้อง (ทบทวนวรรณกรรม) ในบทนี้ เป็นการนาแนวคิดที่ได้จากการศึกษา ค้นคว้าบทความที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็น แนวทางในการทางานตามโครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัด นครราชสีมา ตั้งแต่ วันที่ 1 กันยายน 2552 จนถึงวันที่ 3 0 มิ ถุนายน 2553 โดยได้นา หลักการ แนวคิด ทฤษฎี และองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง มาประยุกต์ใช้ ในการสอบสวนหาสาเหตุของการเกิด อุบัติเหตุตามความเหมาะสม เพื่อเป็นประโยชน์การดาเนินงานโครงการดังนี้

หลักระบาดวิทยาของการบาดเจ็บ ณัฐกานต์ ไวยเนตร (2549 : 7) ระบาดวิทยา เป็นการศึกษาการเกิดโรคและภัย โดยมุ่ง พิจารณาการกระจายและการค้นหาสาเหตุของการเกิดโรคและภัย ในประชากร ทั้งนี้ มีเป้าหมายเพื่อ การควบคุมป้องกันโรคและภัย การอธิบายปัจจัยที่เกี่ยวข้อง หรือกระบวนการเกิดการบาดเจ็บนั้น เป็นมุมมองที่มีเพื่อ หาหนทางป้องกันหรือแก้ไขปัญหา มีการเสนอมุมมองต่างๆ เพื่อเป็นรูปแบบและแนวทางใน การศึกษาทางระบาดวิทยาของการบาดเจ็บ เพื่อนาไปสู่การป้องกันและแก้ไขปัญหา ซึ่งรูปแบบและ แนวทางอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย เนื่องจากการบาดเจ็บนั้น อาจเปลี่ยนแปลงไปตาม ความเจริญของเทคโนโลยีการขนส่ง และพฤติกรรมของผู้ใช้รถใช้ถนน อาจขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เป็นต้น

การตรวจสถานที่เกิดเหตุ วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี (ออนไลน์) การตรวจสถานที่เกิดเหตุ (อังกฤษ: Crime Scene Investigation) เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวน ใน ประเทศไทย กาหนดให้การตรวจสถานที่เกิด เหตุเป็นหน้าที่ของ เจ้าหน้าที่ตารวจ ซึ่งประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ตารวจที่ทาหน้าที่ พนักงานสอบสวน ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตารวจจาก กองพิสูจน์หลักฐาน ที่จะดาเนินการตรวจหาวัตถุพยานหรือพยานทาง กายภาพอื่นๆ เมื่อเกิด อาชญากรรม ขึ้นในทุกกรณีรวมทั้งการตายด้วย ซึ่งในอนาคตถ้าหากระบบ


-8-

นิติเวชศาสตร์ในประเทศไทยมีการปรับเปลี่ยนไปจากเดิม แพทย์ อาจจะต้องรับผิดชอบในการ ตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุในกรณีที่มีการตายก็ได้ พ.ต.ท.นพ.สุรสิทธิ์ โรจนกิจอานวย (2546 : 1) ขั้นตอนการตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุ 1. รีบเดินทางไปสถานที่เกิดเหตุอย่างรวดเร็วและปลอดภัย 2. ระงับเหตุมิให้ลุกลามไปได้ต่อไป เช่น ป้องกันความเสียหายของทรัพย์สินและ ร่างกาย ชีวิตของประชาชน 3. กระทาการจับกุมผู้กระทาผิด ณ ที่เกิดเหตุนั้น 4. หาพยานบุคคลที่รู้เห็นเหตุการณ์เพื่อที่จะได้ตามตัวมาพบเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ในภายหลังได้โดยง่าย 5. ระวังรักษาสถานที่เกิดเหตุและบริเวณที่เกี่ยวข้องให้อยู่ในสภาพเดิมเท่าที่จะทา ได้โดยไม่ขัดกับหลักการอื่นที่สาคัญกว่า 6. สังเกตจดจาและบันทึกสภาพของสิ่งแวดล้อมซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้โดยง่าย ตามธรรมชาติ 7. บันทึกสภาพของสถานที่เกิดเหตุ รวมทั้งการถ่ายภาพและทาแผนที่สังเขปโดย ละเอียด 8. รวบรวมเก็บรักษาร่องรอยวัตถุพยานและของกลางต่างๆ เพื่อดาเนินการต่อไป 9. ประมวลเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อจะได้เป็นแนวทางสืบหาตัวผู้กระทาความผิด และหาหลักฐานฟ้องผู้กระทาความผิดต่อไป

การสอบสวนหาสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ ปกรณ์ อนิวัตกูลชัย (2553 : 49) กระบวนการสื บค้นสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ (Accident investigation) คือ การวิเคราะห์ข้อมูลอุบัติเหตุในลักษณะย้อนกลับ ขยายความให้เข้าใจง่ายขึ้น ก็คือ การนาข้อมูลหลังจากเกิดอุบัติเหตุแล้ว ( Post-Crash) มาวิเคราะห์ดูว่าอุบัติเหตุนั้นเกิดได้อย่างไร (Crash) และมองย้อนกลับไปเพื่อหาสาเหตุว่า อะไรทาให้เกิดอุบัติเหตุนี้ (Pre-Crash) ในต่างประเทศนั้น กระบวนการสืบค้นหาสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่ อย่างใด กรณีอุบัติเหตุสาคัญที่ดึงดูดให้ผู้คนทั่วโลกสนใจ และมีการดาเนินการสืบค้นหาสาเหตุเชิง ลึก ทุกท่านคงยังจากันได้ดีสาหรับกรณีอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับเจ้าหญิงไดอาน่า เจ้าหญิงแห่งเวลส์ จาก อุบัติเหตุในครั้งนั้น ได้สร้างความตกตะลึงให้กับผู้คนทั่วโลก ในขณะที่สาเหตุของอุบัติเหตุจาก แหล่งข่าวต่างๆ ยังไม่มีความชัดเจนในเบื้องต้น บ้างก็อ้างว่าเกิดจากความบกพร่องของผู้ขับ หรือมี โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


-9-

การใช้ความเร็วเกินกาหนด จนเมื่อเวลาผ่านไปนานกว่า 2 ปี รายงานการสืบค้นสาเหตุการเกิด อุบัติเหตุซึ่งหนากว่า 800 หน้า ได้ถูกเปิดเผยต่อสาธารณชนถึงสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดอุบัติเหตุ ในครั้งนั้น ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงความสาคัญและประโยชน์ของการสืบค้นสาเหตุของการเกิด อุบัติเหตุได้อย่างชัดเจน

การบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจร Transportation injury คือ การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจรจากยานพาหนะหรือ Traffic accident ซึ่งอุบัติเหตุจากยานพาหนะที่พบบ่อยคือ อุบัติเหตุจราจรทางบกที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ รถจักรยานยนต์ ส่วนยานพาหนะอื่นๆ คือ รถไฟ เรือหรือเครื่องบิน จะพบได้ไม่บ่อยนัก การ บาดเจ็บจะไม่มีลักษณะเฉพาะ ส่วนใหญ่จะมีการบาดเจ็บในลักษณะของ Blunt force ผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจรนั้น จัดประเภทเป็น 3 กลุ่ม 1. ผู้ขับขี่และผู้โดยสารรถยนต์ - Driver และ Passenger 2. ผู้ขับขี่และผู้โดยสารมอเตอร์ไซค์ - Motorcyclist 3. คนเดินถนน – Pedestrian การชันสูตรศพในการตายลักษณะนี้จึงมีหลักการคร่าว ๆ ในการปฏิบัติดังนี้ คือ 1. การพิสูจน์บุคคล ในกรณีที่ศพถูกไฟไหม้หรือขาดเป็นชิ้นเป็นท่อน 2. ประเมินสาเหตุการตาย ที่แท้จริงว่าเกิดจากอุบัติเหตุหรือไม่บางครั้งพบว่าเกิดการ ยิงก่อน รถจึงเสียหลักหรือบางครั้งหัวใจวายจึงควบคุมรถไม่ได้ คดีตัวอย่างคือ คดีฆาตกรรมสองแม่ ลูก ศรีธนขันธ์ ที่เป็นฆาตกรรมอาพราง 3. ประเมินความรุนแรง ของการบาดเจ็บ ซึ่งลักษณะของการบาดเจ็บบางอย่างช่วยชี้ ประเด็นได้ เช่น หากคนขับมีข้อเท้าหัก รองเท้าจะสึกด้านหน้ารุนแรงย่อมแสดงว่าเขาพยายาม เหยียบเบรก หรือพบว่าการขาดของเส้นเลือดแดง Aorta บริเวณใกล้หัวใจ ซึ่งเป็นการบาดเจ็บ ลักษณะ Deceleration injury แสดงว่าผู้ตายมาด้วยความเร็วสูง เป็นต้น 4. ตรวจหาปัจจัยร่วม เช่น เมาเหล้า หัวใจวาย หลับใน เป็นต้น 5. ควรวิเคราะห์หาสาเหตุ ของการเกิดอุบัติเหตุที่แท้จริงว่าเกิดจากความบกพร่องของ ผู้ขับขี่ผู้บาดเจ็บ ความบกพร่องของยานพาหนะ หรือสิ่งแวดล้อมไม่ดี เช่น ถนนลื่น

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 10 -

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บ ในการบาดเจ็บที่เกี่ยวข้องกับยานพาหนะมีความหลากหลาย เนื่องจากมีปัจจัยที่ เกี่ยวข้องที่ควรคานึงถึงหลายอย่างดังนี้ คือ 1. ตาแหน่งที่นั่ง การนั่งหน้าหรือนั่งหลัง การเป็นคนขับขี่หรือคนโดยสารจะมี ภาวการณ์ระมัดระวังตัวไม่เหมือนกัน อีกทั้งอุปกรณ์ที่เสริม เช่น หมวกกันน็อค Safety belt และ Airbag จะช่วยทาให้การบาดเจ็บลดลงได้มาก 2. ทิศทางการชน ซึ่งมีหลายลักษณะ Front impact ชนประสานงา Rear impact ชนท้าย Sideswipe ชนด้านข้าง Roll-over พลิกคว่า ทั้งนี้การบาดเจ็บของเนื้อเยื่อต่าง ๆ มีความรุนแรงมากน้อยขึ้นกับทิศทางการชน เช่น การชนประสานงา จะเกิดการบาดเจ็บมากกว่าการชนท้าย 3. ลักษณะรูปทรงของยานพาหนะ รถยิ่งขนาดใหญ่มักจะมีโครงสร้างแข็งแรงกว่ารถ เล็ก รถบางชนิดมีห้อง ผู้โดยสารแข็งแรงประตูด้านข้างอาจเสริมคานการชนลักษณะเดียวกัน แต่รถ คนล่ะยี่ห้อการบาดเจ็บจึงแตกต่างกัน 4. แรงที่มากระทา ซึ่งมีความหมายในหลายลักษณะ เช่น ทิศของแรง จะมีผลต่างกัน คือ หากการชนมีลักษณะเป็นการเร่ง ( Acceleration) จะมีอันตรายต่ออวัยวะต่าง ๆ น้อย ซึ่งพบได้ จากการชนท้ายหรือการชนมีลักษณะเป็นการหน่วงให้ช้าลง ( Deceleration) เช่น การชนประสานงา จะพบว่าอันตรายต่ออวัยวะต่างๆ มากกว่า ปริมาณของแรง ที่กระทาเกี่ยวข้องกับความรุนแรงของ การบาดเจ็บในลักษณะของปริมาณแรงต่อเนื้อที่ เช่น การไม่คาดเข็มขัดนิรภัย เมื่อมีการชนศีรษะจะ รับแรงกระแทกโดยตรง เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งพื้นที่ตกกระทบของศีรษะมีเพียง 10 ตารางเซนติเมตร แต่ หากคาดเข็มขัดนิรภัย ซึ่งคิดเป็นพื้นที่ได้ถึง 500 ตารางเซนติเมตร การบาดเจ็บจะเกิดขึ้นน้อยกว่า มาก เนื่องจากพื้นที่กว้างแรงที่กระทากระจายได้มาก การบาดเจ็บต่ออวัยวะน้อยลง 5. เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังการชน เช่น รถพลิกคว่าหรือมีการกระเด็นของผู้โดยสาร ออกมาภายนอกรถหรือไม่ การมีไฟลุกไหม้หลังอุบัติเหตุ หากมีเหตุการณ์เหล่านี้จะทาให้มีการ บาดเจ็บรุนแรงขึ้น 6. อุปกรณ์นิรภัยของรถ เช่น เข็มขัดนิรภัย Airbag การเสริมคานด้านข้างหรือเบรก ABS เป็นต้น

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 11 -

7. เหตุการณ์อื่นที่เกิดร่วมด้วย เช่น มีไฟไหม้ หรือมีอะไรกดทับ เช่น แผ่นเหล็กตกใส่ หลังคา มีการเมาหรือเสพยาบ้า รถเกิดอุบัติเหตุแล้วตกน้า รูปแบบของการบาดเจ็บ โดยทั่วไปอุบัติเหตุจราจรจะทาให้มีการบาดเจ็บอวัยวะต่าง ๆ ดังนี้ - Head injury - Chest injury - Abdominal injury - Skeletal injury - Spine injury ซึ่งลักษณะของยานพาหนะ ตาแหน่งที่นั่งต่างมีผลต่อการบาดเจ็บ เช่น แต่เดิมคนที่นั่ง ด้านหน้ารถจะมีโอกาสบากเจ็บมากกว่าคนนั่งหลัง และมักเป็นการบาดเจ็บที่ศีรษะ แต่ปัจจุบันเมื่อมี กฎให้คาดเข็มขัดนิรภัย การบาดเจ็บจึงลดลงมาก ซึ่งจาการศึกษารูปแบบของการบาดเจ็บจะแยก ออกเป็นกลุ่ม ๆ ตามลักษณะดังนี้ คือ 1. ผู้ขับขี่รถยนต์ 2. ผู้โดยสารด้านหน้า 3. ผู้โดยสารด้านหลัง 4. ผู้ขับขี่และโดยสารมอเตอร์ไซค์ 5. คนเดินถนน 1. ผู้ขับขี่รถยนต์ ผู้ขับขี่และผู้โดยสารรถยนต์จะมีการบาดเจ็บสองลักษณะคือ First Collision เป็นการ บาดเจ็บจากการกระแทกตรง ๆ ที่บริเวณที่นั่ง เช่น นั่งด้านหน้าจะมีการบาดเจ็บบริเวณศีรษะจาก กระจกรถ คนขับอาจบาดเจ็บจากพวงมาลัยรถกระแทกหน้าอก หรืออวัยวะในช่องท้อง การบาดเจ็บ ลักษณะที่สองคือ Second Collision คือ การกระเด็นไปถูกวัตถุอื่น การบาดเจ็บยังมีลักษณะแตกต่าง กันไปตามลักษณะของการชน เช่น การประสานงามีความรุนแรงที่สุดการชนด้านข้างมักทาให้รถ พลิกคว่าหรืการชนท้ายมักทาให้ผู้บาดเจ็บมีพยาธิสภาพที่กระดูกต้นคอ ประเด็นของการประเมิน บาดแผลและลักษณะการเกิดของอุบัติเหตุรถยนต์ มีประเด็นสาคัญนอกเหนือจากสาเหตุการเสียชีวิต คือการชี้ว่าผู้ใดขับขี่ โดยสามารถใช้การตรวจทางวิทยาศาสตร์มาช่วยดังนี้ คือ ตรวจเลือดใน ตาแหน่งของรถเทียบกับเลือดของผู้บาดเจ็บ ตรวจดูบาดแผลจาก Safety belt ซึ่งจะบอกได้ว่าเป็น

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 12 -

ผู้โดยสารด้านไหน หรือตรวจดูร่องรอยการเหยียบเบรกที่จะพบรอยสึกของรองเท้าข้างที่เหยียบ เบรกซึ่งมักจะเป็นเท้าขวา หรือกระดูกขาหักใต้เข่า จากการกระแทกเบรกการวิเคราะห์ ในประเด็นนี้ พนักงานสอบสวนในประเทศไทยยังไม่ค่อยให้ความสาคัญ นาผลการชันสูตรมาประกอบ นอกจากนี้ควรตรวจหาระดับแอลกอฮอล์ในเลือด หรือยาบ้าในปัสสาวะเพราะมีผลต่อการพิจารณา คดีด้วย กลไกของการบาดเจ็บของผู้ขับขี่อาจแยกตามลักษณะการชนได้ ดังนี้ ก. การชนด้านหน้า เป็นลักษณะการชนที่พบบ่อยที่สุดคิดเป็น 80 เปอร์เซ็นต์ของ ลักษณะทั้งหมดมีได้ตั้งแต่รถชนประสานงา ชนสาไฟฟ้า ชนกาแพง เป็นการบาดเจ็บจะมีเหตุการณ์ เกิดตามลาดับดังนี้ 1. การเลื่อนไหลตัวไปข้างหน้า 2. หน้าอกและท้องกระแทกขอบล่างของพวงมาลัยรถยนต์ทาให้กระดูก ซี่โครงหักทิ่มปอดหรืออัดท้องทาให้ตับหรือม้ามแตกโดยเฉพาะผู้ขับขี่ 3. ลาตัวจะก้มลงด้านหน้า 4. ศีรษะจะก้มลง เกิดการงอของกระดูกสันหลังที่ต้นคอ และอกรุนแรง กระดูกสันหลังต้นคอมีการเคลื่อนไหวทั้งก้มและหงาย เกิดการบาดเจ็บที่ กระดูกสันหลังต้นคอ 5. ศีรษะกระแทกกระจกหน้า จึงทาให้มีบาดแผลที่ใบหน้า 6. ร่างกายอาจกระเด็นทะลุกระจกแตก ทาให้เกิดแผลที่ถูกเศษกระจกตาม ร่างกายเรียกว่า Dicing injury ซึ่งควรเป็นแผลขนาดเล็ก เนื่องจากกระจก หน้าต้องเป็นกระจกนิรภัย 7. อาจมีชิ้นส่วนของรถที่เสียหายยื่นเข้ามาในรถ ทาให้เกิดการบาดเจ็บซ้า สอง เช่น เครื่องยนต์ หลังคายุบ ประตูข้าง เกียร์ เป็นต้น ข. การชนท้าย มักทาให้เกิดการเร่ง Acceleration ซึ่งส่วนใหญ่มักทาให้เสียชีวิตได้น้อย ที่สุดในการชนทุกแบบ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีดังนี้ คือ 1. จะเกิด Hyperextension รุนแรงที่คอ 2. เกิดการหน่วงช้าลงของความเร็ว 3. เกิดการกระชากกระดูกสันหลังต้นคอรุนแรง ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของ การชนท้ายเรียกว่า Whiplash injury

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 13 -

ค. การชนด้านข้าง การชนจะดันให้ประตูยุบเข้าหาห้องโดยสารส่วนใหญ่พบบริเวณสี่ แยกไฟแดง ง. การชนพลิกคว่​่า หากผู้ขับขี่หรือผู้โดยสารไม่ใส่สายเข็มขัดนิรภัย ก็อาจทาให้หลุด กระเด็นจากรถก็เป็นได้ แต่ในบางครั้งรถอาจพลิกคว่าทับผู้โดยสารทาให้เสียชีวิตในลักษณะขาด อากาศชนิด Traumatic asphyxia โดยสรุปการบาดเจ็บต่อคนขับ จากการชนในลักษณะต่างๆ มีดังนี้คือ 1. บาดแผลที่ขาและกระดูกหัก โดยส่วนใหญ่จะอยู่ที่เข่าและหน้าแข้ง โดยทั่วไป เกิดจากด้านหน้ายุบเข้าหา แต่บางครั้งเราอาจพบการหักเกิดจากการเหยียบ เบรกรุนแรง นอกจากนี้อาจตรวจพบว่ารองเท้าสึกรุนแรงตาแหน่งของ กระดูกหักมี่ตั้งแต่ข้อเท้า หรือ กระดูกเชิงกราน 2. การบาดเจ็บของอวัยวะภายใน กระดูซี่โครงหัก ปอดฉีกขาด ลมรั่วและ เลือดออก ซึ่งอาจเกิดจากซี่โครงหักทิ่มโดยตรงหรือเกิดจากแรงอัด การตรวจ ศพในการบาดบาดเจ็บจากแรงอัดมักพบว่าปอดช้า หรือมี air bullae หรือ blood blister ที่ด้านหลังของปอด อาจเกิดตับแตก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นด้านขวา บน ม้ามแตก ส่วนใหญ่รอยฉีกขาดของม้ามจะอยู่บริเวณขั้ว มีเลือดออกใน ช่องท้องรุนแรง ลาไส้ฉีกขาดจะพบไม่บ่อยนัก 3. แขนหัก พบได้ไม่บ่อยนักเมื่อเทียบกับอุบัติเหตุมอเตอร์ไซค์ คนขับขี่บางคน ตกใจ กาพวงมาลัยแน่นแรงอัดจากการชนจึงผ่านมายังแขนทาให้แขนหักได้ 4. การบาดเจ็บที่ใบหน้าและศีรษะ จากเศษกระจกหน้ารถและกระแทกโดนขอบ กระจก แผลจากเศษกระจกเรียก Dicing injury ส่วนใหญ่บาดแผลที่ใบหน้ามัก ทาให้มีแผลเป็น อาจทาให้เสียโฉมหรือตาบอดซึ่งผู้เสียหายมักนาไปเรียก ค่าเสียหายเพิ่มขึ้น 5. การหักของกระดูกสันหลังบริเวณต้นคอ ซึ่งเกิดจากการก้มเงยรุนแรง เช่น การชนท้ายมักพบการหักของกระดูกสันหลังต้นคอซี่ที่ 5 และ 6 การชันสูตร ศพให้จับศีรษะของผู้ตายหมุนข้าง ๆ หากสามารถหมุนได้เกือบรอบ แสดงว่า กระดูกต้นคอหัก การผ่าศพต้องคว่าหน้าลงแล้วกรีดที่ต้นคอด้านหลังบางครั้ง จะพบรอยช้าบริเวณที่หัก หรือคลาพบกระดูกแตกหรือรอยแยกแต่หากการ บาดเจ็บอยู่ในระดับสูง บริเวณกระดูกต้นคอซี่ที่ 1 และ 2 อาจยากต่อการผ่า พิสูจน์

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 14 -

6. การบาดเจ็บที่ Aorta ซึ่งอาจพบการฉีกขาดของ Aorta ในช่องอกบริเวณปลาย ของส่วนโค้งตอนต้น ซึ่งการฉีกขาดเกิดจากกลไก Deceleration ที่รุนแรง เนื่องจากหัวใจยังแกว่งอยู่ หรือเรียกว่ามีการแกว่ง Pendulum effect รอยขาด มักเป็นทางขวางบริเวณส่วนปลายของ arch เพราะตาแหน่งนั้นเป็นจุดที่เส้น เลือดเริ่มยึดกับกระดูกสันหลัง ในบางครั้งอาจพบเพียงรอยปริด้านในของเส้น เลือด Aorta ในช่องอกมีลักษณะคล้ายบันไดซึ่งจะพบเลือดออกในช่องปอด ด้านขวา 7. การบาดเจ็บที่หัวใจ อาจเกิดจากแรงอัดโดยตรงซึ่งพยาธิสภาพส่วนใหญ่อยู่ที่ ห้องซ้ายล่าง ซึ่งอยู่ติดกับกระดูกสันหลัง หากพบ Subendocardial hemorrhage คือ เลือดออกใต้เยื่อบุชั้นในของหัวใจ ของ left ventricle ด้าน Septum อย่างเดียว ไม่ได้แปลว่าเกิดจากมีแรงมากระทาโดยตรง ส่วนใหญ่มัก พบในคนไข้ที่ภาวะ Shock หรือมี Head injury รุนแรง ทาให้หัวใจเต้นผิดปกติ เสียชีวิตได้ 8. อาจพบรอยช้า เป็นวงที่หน้าอกจากพวงมาลัยรถหรือแผลถลอกตื้นเป็นแนว พาดที่หน้าอก เกิดจาก Safety belt ซึ่งเรียกว่าเป็น Patterned wound สาหรับ รอยจาก Safety belt นั้นต้องดูแลอุปกรณ์ของรถประกอบด้วยว่าเป็นพวงมาลัย ซ้ายหรือขวา จึงจะบอกได้ว่าเป็นคนขับใช่หรือไม่ 2. ผู้โดยสารด้านหน้า การบาดเจ็บจะคล้ายคนขับแต่มักไม่มี Pattern เฉพาะ เช่น จากพวงมาลัย จากการ เหยียบเบรก 3. ผู้โดยสารด้านหลัง มักไม่พบการบาดเจ็บบริเวณใบหน้า นอกนั้นอาจเกิดการบาดเจ็บได้ในทุกลักษณะ 4. ผู้ขับขี่และโดยสารรถจักรยานยนต์ ในประเทศไทยอุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์เป็นอุบัติเหตุจราจรที่พบมากที่สุด ความ รุนแรงของการบาดเจ็บค่อนข้างสูง เนื่องจากเป็นยานพาหนะที่มีความปลอกภัยน้อยมาก อีกทั้งเป็น พาหนะที่ทาความเร็วได้สูงมากผู้ขับขี่มักมีความคึกคะนองขาดความระมัดระวังเป็นทุนเดิม ผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุมอเตอร์ไซค์ไม่สามารถแยกในการชันสูตรศพได้ชัดเจนว่าใครเป็นคนขับขี่ หรือเป็นผู้ซ้อน บางครั้งผู้ขับขี่ก็อาจได้รับบาดเจ็บหนักกว่าผู้ซ้อนบางครั้งก็กลับกัน แต่โดยทั่วไปผู้ ซ้อนจะเจ็บมากกว่าเพราะไม่ทันระวังตัวในขณะเกิดเหตุ ในบางตาราของฝรั่งใช้หลักที่นามาแยก

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 15 -

ผู้บาดเจ็บว่าใครขี่และใครโดยสารได้ โดยดูจากากรบาดเจ็บที่อัณฑะว่าผู้ขับขี่มักมีการบาดเจ็บ รุนแรงกว่าแต่จากประสบการณ์ในการชันสูตรศพพบว่าในบ้านเราไม่แตกต่างกัน การบาดเจ็บ ทั่วไปมีลักษณะดังนี้คือ 1. มักมีการบาดเจ็บที่แขน ขา มากกว่าอุบัติเหตุรถยนต์ โดยพบที่ขามากกว่า แขน ซึ่งอาจเกิดจากการชนโดยตรงหรือรถทับ 2. มักมีการบาดเจ็บที่ศีรษะเสมอแม้ว่าจะใส่หมวกกันน็อคแล้วก็ตาม การ บาดเจ็บค่อนข้างแรงและพบมากกว่ารถยนต์ ตาแน่งของกะโหลกศีรษะที่ แตกมักพบที่ด้านข้าง และที่ฐานสมอง ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นแนวขวาง จน ในตาราเรียกการแตกของฐานสมองนี้ว่าเป็น Motorcyclist Fracture 3. มักมีการฉีกขาดของ Aorta ดังที่กล่าวในเรื่องคนที่ขับรถ เนื่องจาก รถจักรยานยนต์เป็นพาหนะที่ทาความเร็วได้สูงมากและการหยุดทาได้ยาก เมื่อเกิดอุบัติเหตุจึงมักมีลักษณะของ Deceleration injury รุนแรง 4. อาจพบคนคอขาดจากลาตัวหรือที่เรียกว่า “Tail gait injury” เนื่องจากการ ขี่ด้วยความเร็วสูงอาจมองไม่เห็นรถบรรทุกที่เปิดท้ายอยู่ จึงเกิดการชนทา ให้คอขาดออกจากลาตัว 5. คนเดินถนน โดยทั่วไปผู้เดินถนนที่ถูกรถเฉี่ยวชนมักเกิดจากความประมาทของผู้ขับขี่ยานพาหนะ เป็นส่วนใหญ่แต่บางครั้งก็เป็นความบกพร่องของผู้เดินถนนเอง เช่น เด็ก คนแก่หรือคนเมา ลักษณะ การบาดเจ็บของคนเดินถนนมักเป็น Acceleration injury ซึ่งการบาดเจ็บจะมี 3 รูปแบบดังนี้ - Primary injury กระแทกตรง - Secondary injury กระเด็นขึ้นบนรถ - Tertiary injury กระเด็นไปตกกระแทกพื้น แต่โดยทั่วไป Secondary และ Tertiary มักรวมกัน การบาดเจ็บของ Primary injury มี ลักษณะเฉพาะที่ควรนามาสังเกตในการตรวจศพ นั่นคือรอยกระแทกที่ขา ซึ่งบางครั้งจะบอกได้ว่า รถที่ชนเป็นรถใหญ่หรือรถเล็ก โดยดูจากระดับความสูง ซึ่งอาจมีเพียงรอยช้าไปจนถึงกระดูกหัก ส่วน Secondary injury มีตั่งแต่โดนกระแทกไฟ ตรงรถเกิดเป็นรอย หรือถูกรถแล่นทับ ปรากฏเป็น รอยดอกยางรถยนต์ รวมไปถึงการบาดเจ็บของอวัยวะต่าง ๆ โดยทั่วไปเราไม่สามารถนาความ รุนแรงของการบาดเจ็บมาประเมินความเร็วของยานพาหนะที่มากระทาได้ เพราะมีปัจจัยเกี่ยวข้อง มากมาย นอกจากนี้คนเดินถนนที่ถูกรถชนกระเด็นมักมีบาดแผลถลอกตื้นตามตัวเป้นบริเว ณกว้าง

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 16 -

ในลักษณะ Brush burn เหมือนการเอาแปรงทาสีมาปาดที่ตัว ส่วนการบาดเจ็บของอวัยวะต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับว่ากระเด็นไปกระแทกโดนอะไร ปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจรมีความหลากหลายดังได้กล่าว แล้วในตอนต้น ซึ่งอธิบายในเชิงกลศาสตร์เป็นส่วนใหญ่ แต่ปัจจัยนอกเหนือจากที่กล่าวแล้วที่อาจมี ผลต่อความรุนแรงของการบาดเจ็บเกิดจากจากตัวผู้ป่วยเอง เช่น 1. ความเมา คนไทยชอบดื่มเหล้าทุกเทศกาล จึงอาจทาให้ระดับสัมปชัญญะที่จะขับขี่ ไม่สมบูรณ์ในปัจจุบันมีการออกกฎหมายบังคับ ห้ามผู้ขับขี่ยานพาหนะเมาในขณะขับขี่ หากตรวจ พบแอลกอฮอล์ในเลือดสูงกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ จะต้องถูกดาเนินคดีทันที ระดับแอลกอฮอล์ ที่หลักสากลประเมินเอาไว้ การตรวจเลือดควรระบุเวลาที่เจาะ หากมีการเสียชีวิตควรเจาะจากเส้น เลือดดาที่ขาหนีบหรือเส้นเลือดที่คอ ไม่ควรเจาะจากหัวใจโดยตรง เนื่องจากคนที่ดื่มแอลกอฮอล์มา ใหม่ ยังมีแอลกอฮอล์อยู่ในกระเพาะอาหารเมื่อเสียชีวิต แอลกอฮอล์อาจซึมโดยตรงไปยังหัวใจทา ให้ระดับแอลกอฮอล์ในเลือดสูงเกินความเป็นจริง 2. ยาบ้า Amphetamine ปัจจุบันคนไทยนิยมเสพยาบ้าเพื่อให้ตื่นตัวในการทางานมาก ขึ้น ซึ่งเสพยาบ้ามักทาให้เกิดความคึกคะนองสูง หรือเกิดภาพหลอน การตรวจหายาบ้าในคนขับเป็น สิ่งที่ควรตรวจเสมอโดยต้องเก็บปัสสาวะส่งตรวจ 3. ความเพลีย จากการอดหลับอดนอน ทาให้เกิดการหลับใน การชันสูตรศพไม่ สามารถบอกได้ จากพยาธิสภาพของศพ แต่อาจประเมินจากสภาพรถในที่เกิดเหตุ เช่นไม่พบ ร่องรอยการห้ามล้อ 4. ความพิการ โดยเฉพาะคือ ตาบอดหรือหูหนวก ซึ่งทั้งข้อ 3 และข้อ 4 ไม่สามารถ พิสูจน์ได้จากการชันสูตรศพเช่นกัน 5. โรคประจ่าตัว ผู้ตายอาจมีโรคความดันสูงตกใจเส้นเลือดแตกตาย หรือมีโรคหัวใจ ทาให้หัวใจวายซึ่งการชันสูตรศพโดยสมบูรณ์จะสามารถพิสูจน์ได้ ส่วนอุบัติเหตุที่เกิดในลักษณะ ของการฆ่าตัวตายนั้นไม่สามารถพิสูจน์ได้จากการชันสูตรศพ ที่มา : คู่มือการดาเนินงานชันสูตรพลิกศพ

สุรากับอุบัติเหตุจราจร อุบัติเหตุจราจรที่มีความรุนแรงและพบบ่อยในปัจจุบัน มักเกี่ยวข้องกับการดื่มสุรา จาก การศึกษาพบว่า ผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจรทั้งที่เสียชีวิตและไม่เสียชีวิตร้อยละ 60 เมื่อตรวจ พิสูจน์แล้วจะพบแอลกอฮอล์ในเลือดสูงกว่าที่กฎหมายกาหนด (มากกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์) โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 17 -

ตาราง 2.1 ระดับแอลกอฮอล์ในเลือดกับอาการแสดงของผู้ดื่มสุรา ระดับแอลกอฮอล์ในเลือด (ม.ก.%) อาการและผลต่อร่างกาย 30 สนุกสนาน ร่าเริง 50 ขาดการควบคุมการเคลื่อนไหว 100 เดินไม่ตรงทาง 200 สับสน 300 ง่วง งง ซึม 400 สลบ อาจถึงตาย ตาราง 2.1 ความสัมพันธ์ของระดับแอลกอฮอล์ในเลือดกับโอกาสเกิดอุบัติเหตุจราจร ระดับแอลกอฮอล์ สมรรถภาพในการขับรถ โอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุ ในเลือด (ม.ก.%) เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ดื่มสุรา 20 มีผลเพียงเล็กน้อยเฉพาะบางคน ใกล้เคียงกับคนไม่ดื่มสุรา 50 ลดลงโดยเฉลี่ยร้อยละ 8 โอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุเป็น 2 เท่า 80 ลดลงโดยเฉลี่ยร้อยละ 12 โอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุเป็น 3 เท่า 100 ลดลงโดยเฉลี่ยร้อยละ 15 โอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุเป็น 6 เท่า 150 ลดลงโดยเฉลี่ยร้อยละ 33 โอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุเป็น 40 เท่า มากกว่า 200 ลดลงเป็นสัดส่วนกับระดับ ไม่สามารถวัดได้เนื่องจากควบคุมการ แอลกอฮอล์ในเลือด ทดลองไม่ได้ ที่มา: มูลนิธิเมาไม่ขับ

ความเร็วและระยะเบรกที่ปลอดภัย การเร่งและการเบรกนั้นถือเป็นของคู่กันอยู่แล้ว ยิ่งเร่งได้เร็วมากแค่ไหน ก็ต้องหยุดให้ เร็วและใช้ระยะทางสั้นที่สุดเท่าที่จะทาได้ แต่ในความเป็นจริงยังต้องอาศัยปัจจัยหลากหลายในการ ทาให้รถหยุดนิ่งเร็วและไถลน้อยที่สุด หลักๆ เลยก็ได้แก่ สภาพพื้นผิว, ประสิทธิภาพของยาง-เบรก , ทักษะของผู้ขับ , ความเร็วและน้าหนัก ของตัวรถครับ บาง ครั้งที่มีรถคันอื่นปาดหน้าในระยะ กระชั้นชิดนั้น , พุ่งตรงออกมาจากแยกโดยไม่ดูตาม้าตาเรือหรือกระทั่งจอดนิ่งในขณะที่เรามองไม่ เห็น (อย่างในโค้งหรือตอนลงสะพาน) เราย่อมต้องการเบรกที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ที่เบรกได้เร็ว และใช้ระยะทางสั้นที่สุด องค์ประกอบในการชะลอความเร็วนั้นมีอะไรบ้าง? โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 18 -

ระยะ ทางที่ใช้ในการเบรก คือ ระยะทางที่คุณเริ่มเหยียบแป้นเบรกจน รถหยุดนิ่งสนิท ซึ่งถ้าเอาตามมาตรฐาน ของผู้ผลิตรถยนต์ หากรถเคลื่อนที่ด้วย ความเร็ว 70 ไมล์/ชม. หรือ 112.63 กม./ ชม. กว่ารถจะหยุดนิ่งสนิทจะต้องใช้ ระยะทางถึง 315 ฟุต หรือราวๆ 96 เมตร แต่ไม่ได้หมายความว่าระยะทางนี้จะ ตายตัวเป็นเพียงค่าเฉลี่ย รถแต่ละรุ่นอาจจะใช้ระยะทางสั้นหรือยาวก็นี้ ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของ ยาง-เบรก , สภาพถนน , ทักษะของผู้ขับ ฯลฯ ระยะทางในการหยุด เป็นระยะทางรวมระหว่าง ระยะทางที่เคลื่อนผ่านก่อนที่จะแตะเบรก กับระยะทางที่ใช้ในการเบรก กับความเร็วที่ 112.63 กม./ ชม. จะเคลื่อนเร็วถึง 100 ฟุต/วินาที หรือ 30.48 เมตร/วินาที ระยะทางที่ใช้ในการตัดสินใจ ต้องยอมรับว่า เราไม่ได้ตัดสินใจเหยียบเบรกทันทีที่เจอ สิ่งกีดขวางเบื้องหน้า เพราะกว่าที่สายตาจะส่งคาสั่งไปยังสมอง แล้วสมองสั่งการไปที่เท้านั้นมันกิน เวลาเพียงเล็กน้อย (แต่ละคนไม่เท่ากัน) แต่ทุกเศษเสี้ยววินาทีในขณะนั้นรถมัน ยังเคลื่อนที่อยู่ตลอด ยกตัวอย่างเช่น ร่างกาย เรา ใช้เวลา 1.5 วินาที ก่อน เหยียบเบรก ก็เท่ากับว่ารถและ เรา เคลื่อนที่ไปเป็นระยะทางถึง 150 ฟุต หรือ 45.72 เมตร ที่มา : EtoyotaClub สุทัศน์ ยกส้าน (ออนไลน์) การศึกษากลศาสตร์ของการชนกัน ทาให้ Evans พบว่า สาหรับรถที่มีขนาดใหญ่และหนัก คนขับจะไม่เป็นอันตรายมาก เช่น เวลารถคันหนึ่งพุ่งชนรถอีก คันหนึ่งที่หนักกว่าประมาณ 2 เท่า คนขับรถคันที่น้าหนักเบาจะมีโอกาสเสียชีวิตมากเป็น 12 เท่า ของคนขับรถคันที่มีน้าหนักมากกว่า และจากกฎความถาวรของโมเมนตัม ถ้ารถคันหนึ่งหนักกว่า รถอีกคันหนึ่งร้อยละ 5 และรถทั้งสองพุ่งเข้าหากันด้วยความเร็ว 50 กิโลเมตร/ชั่วโมง ถ้าให้รถทั้ง สองเมื่อชนกันหลอมรวมกัน รถคันที่หนักกว่าจะมีความเร็ว 1.2 กิโลเมตร/ชั่วโมง ในทิศทางเดิม แต่ รถคันที่เบากว่าจะกลับทิศและพุ่งไปในทิศเดียวกับรถคันที่หนักคือ ด้วยความเร็ว 1.2 กิโลเมตร/

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 19 -

ชั่วโมง ดังนั้น รถคันหนักจะเปลี่ยนความเร็วไป 1.2-50=48.8 กิโลเมตร/ชั่วโมง ในขณะที่รถคันเบา จะเปลี่ยนความเร็วไป 1.2-(50) = 51.2 กิโลเมตร/ชั่วโมง เพราะโมเมนตัมขึ้นกับความเร็ว ดังนั้น ถ้า ความเร็วเปลี่ยนมาก แรงกระทาที่คนขับก็จะมากด้วย และนั่นหมายความว่า โอกาสตายก็มากด้วย ดังนั้น คนขับรถที่หนักกว่ามีโอกาสตายน้อยกว่าคนขับรถที่เบากว่า ถ้ารถทั้งสองชนสวนกัน เมื่อ หลักการของวิทยาศาสตร์เป็นเช่นนี้ นั่นก็แสดงว่า ถ้าคุณมีรถที่น้าหนักเบา หนทางหนึ่งที่จะลด อุบัติเหตุการเสียชีวิตเวลาชนกับรถที่หนักกว่าคือ นาผู้โดยสารมานั่งเพิ่มในรถที่ขับ เพราะน้าหนัก ของผู้โดยสาร 1 คน เป็นประมาณร้อยละ 5 ของน้าหนักรถ Evans พบว่า การมีน้าใจเยี่ยงนี้จะทาให้ คนขับมีโอกาสเสียชีวิตน้อยลงร้อยละ 14 และถ้าจานวนผู้โดยสารยิ่งมาก โอกาสเสียชีวิต

อุบัติเหตุจากการชนท้าย ภาวินี เอี่ยมตระกูล (2552 : 67) ปัจจัยที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุชนท้าย ได้แก่ 1. การมุดหรือลอด กรณีการชนกับยานพาหนะขนาดใหญ่ เป็นอุบัติเหตุที่สร้าง ความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินมากที่สุด 2. การบรรทุกสินค้าในลักษณะยื่นล้าออกมาจากท้ายรถมากเกินไป โดยไม่มี เครื่องหมายหรือสัญญาณเตือนให้เห็น (ตามกฎหมายกาหนดให้ยื่นล้าออกมา จากท้ายรถได้ไม่เกิน 2.5 เมตร) 3. รถชารุดบกพร่อง ไม่ได้เคลื่อนย้ายออกจากผิวจราจร หรือวางเครื่องหมาย เตือนให้เห็นได้ชัดเจน 4. รถที่มีความเร็วต่า มีความบกพร่องของสัญญาณไฟท้าย หรือสัญญาณไฟห้าม ล้อ หากเกิดกรณีเช่นนี้กับรถคันหน้า จะทาให้รถที่แล่นตามมาไม่สามารถ สังเกตเห็นได้ในทันที

การบาดเจ็บที่หน้าอก จากเข็มขัดนิรภัย การบาดเจ็บต่อร่างกายมีโอกาสเกิดขึ้นได้กับอวัยวะทุกส่วน ถ้าหากว่าอวัยวะชิ้นนั้นๆ ได้รับแรงกระแทกที่มาก เกินกว่าโครงสร้างบริเวณนั้นของร่างกายจะสามารถรับได้ เนื่องจาก รถยนต์เป็นวัตถุที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง เมื่อเกิดการชนจนทาให้หยุดกะทันหัน โมเมนตัมที่ เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงความเร็วอย่างทันทีทันใด จะทาให้อุปกรณ์ชิ้นเล็กๆน้อยๆที่มองดูไม่ น่าจะมีพิษภัย ก็สามารถก่อแรงกระแทกขนาดมโหฬารต่อร่างกายได้

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 20 -

เข็มขัดนิรภัยในยุคเริ่มแรก เป็นเพียงสายรั้งตัวธรรมดาที่ไม่มีกลไกซับซ้อนใดๆเข้ามา ยุ่งเกี่ยว ผลที่เกิดขึ้นคือไม่สามารถทาการยึดรั้งร่างกายได้ดีพอ เนื่องจากยังมีความหย่อนตัว เกิดขึ้น ทาให้ร่างกายผู้ขับขี่หรือผู้โดยสารยังพุ่งไปด้านหน้าได้ การพัฒนาต่อมาจึงเพิ่มกลไกการดึง กลับ เพื่อให้สายเข็มขัดกระชับตัวมากขึ้นในจังหวะที่เข็มขัดนิรภัยทางานระบบการดึงกลับที่ พัฒนาขึ้นมามีอยู่ 3-4 แบบ แต่ที่คุ้นกันดีคงจะเป็นระบบ PRETENSION ไม่ว่าจะระบบไหนก็ตาม เป้าหมายคือ ต้องการให้สายเข็มขัดมีการกระชากกลับ เพื่อยึดตัวผู้ที่อยู่ในที่นั่งให้มั่นคง ลดโอกาส เกิดการเสียชีวิตลงไปได้มาก แต่ผลที่อาจจะตามมาคือการบาดเจ็บของบริเวณหน้าอกเอง ถ้า แรงกระชากกลับมีมากจนเกินไป ในรายงานการวิเคราะห์ข้อมูลผู้บาดเจ็บจากรถยนต์ในประเทศอังกฤษชิ้นหนึ่ง ชี้ให้เห็นว่าในอุบัติเหตุรุนแรงจานวน 3,276 รายนั้น มีผู้ได้รับบาดเจ็บบริเวณหน้าอกเล็กน้อย (MILD INJURY) จากเข็มขัดนิรภัย (SEATBELT LOADING) เกิดขึ้น 29.6 เปอร์เซ็นต์ ระดับปาน กลาง 19.4 เปอร์เซ็นต์ และระดับรุนแรง 4.5 เปอร์เซ็นต์ การบาดเจ็บที่พบบ่อยคือกระดูกหน้าอก หัก (STERNAL FRACTURE) ซึ่งโดยทั่วไปจะไม่ทาให้เกิดอันตรายถึงชีวิตต่อผู้ป่วยได้ ยังมีรายงานผู้ป่วย (CASE REPORT) จากอเมริกาอีกชิ้นหนึ่ง ซึ่งพบว่าผู้ป่วยจากรถชน กันที่ความเร็วสูงมาก 1 ราย ได้รับบาดเจ็บโดยมีเส้นเลือดแดงใหญ่ ซึ่งออกมาจากหัวใจ ( AORTA) ฉีกขาด ซึ่งแพทย์ลงความเห็นว่าน่าจะเกิดจาก แรงกระชากที่เกิดจากการดึงกลับของเข็มขัด นิรภัย ทาให้เกิดความดันขนาดสูงขึ้นในช่องทรวงอกและเกิดการแกว่งตัวของหัวใจ จนทาให้ บริเวณขั้วของหลอดเลือดดังกล่าวฉีกขาด ถ้านึกไม่ออกว่าแรงกระชากที่ว่ารุนแรงขนาดไหน การทดสอบการชนรถยนต์รุ่นหนึ่ง พบว่า แรงกระชากที่กระทาต่อหน้าอกหุ่นทดสอบซึ่งเกิดจากเข็มขัดนิรภัย ขณะที่รถพุ่งเข้าชนสิ่ง กีดขวาง วัดได้ถึง 8,000 นิวตัน หรือประมาณ 800 กิโลกรัม!! ที่มา: http://anuraklekha.tripod.com/medical/belt.htm

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


บทที่ 3 การดาเนินงาน ในบทนี้เป็นบทที่มีความสาคัญมากอีกบทหนึ่ง ซึ่งเป็นการลงพื้นที่สอบสวนอุบัติเหตุที่ เกิดขึ้น ตามที่โรงพยาบาลปากช่องนานา ได้รับการสนับสนุนให้ดาเนินโครงการ พัฒนาระบบ ฐานข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จากมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ ระหว่างเดือน ตุลาคม 2552 - มิถุนายน 2553 นั้นในช่วงเวลาดาเนินโครงการ ได้ทาการสอบสวนการเกิดอุบัติเหตุจราจร ที่ เข้าเงื่อนไขการสอบสวน ได้แก่ กรณีมีผู้เสียชีวิต, มีผู้บาดเจ็บ/เสียชีวิตมากกว่า 5 คน, จุดที่เกิดบ่อย และอุบัติเหตุที่อยู่ในความสนใจของผู้บังคับบัญชา/สื่อมวลชน จานวน 27 ครั้ง โดยแบ่งออกเป็น กลุ่มอุบัติเหตุจราจรจานวน 6 กลุ่มดังนี้

อุบัติเหตุจราจรกลุ่มที่ 1 (จักรยานยนต์ถูกชนขณะเปลี่ยนช่องจราจรกะทันหัน) อุบัติเหตุ จยย. ตัดหน้ารถกระบะ ถ.มิตรภาพ กม.75 หน้าศูนย์สุนัขทหาร เมื่อเวลาประมาณ 17.00 น. ของวันที่ 21 ตุลาคม 2552 ได้รับรายงานจากศูนย์สื่อสาร การแพทย์ฉุกเฉิน รพ.ปากช่อง ว่าเกิด อุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ถูกรถกระบะ เฉี่ยวชนบริเวณทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) กม.ที่74-75 ขาเข้า กรุงเทพมหานคร ก่อนถึงสะพานต่าง ระดับหน้าศูนย์การสุนัขทหาร บ้าน หนองคู หมู่ 4 ต.หนองสาหร่าย อ. ปากช่อง จ.นครราชสีมา มีผู้เสียชีวิต 1 ราย จึงได้ทาการสอบสวนหาสาเหตุของ อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ ร่วมกับทีมงานสืบสวนสอบสวนอุบัติเหตุการจราจร

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 22 -

จากการสอบสวนเบื้องต้นพบว่า รถจักรยานยนต์ Honda Wave สีบอร์นเทา ผู้ขับขี่ ชายไทย อายุ 16 ปี นักเรียนชั้น ม.5 โรงเรียนปากช่อง อาศัยอยู่ หมู่4 ต.หนองสาหร่าย อ.ปากช่อง จ. นครราชสีมา ก่อนเกิดเหตุเวลาประมาณ 16.45 น. ได้เดินทางเข้าไปส่งเพื่อนภายในศูนย์การสุนัข ทหาร หลังจากส่งเพื่อนถึงบ้านแล้วได้เดินทางเพื่อจะกลับบ้าน บริเวณบ้านหนองคู หลังวัดไตรรัตน์ ต.หนองสาหร่าย อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ระหว่างทางได้ขับขี่มาในช่องจราจรด้านซ้ายและได้ เปลี่ยนช่องจราจรมาด้านขวาสุดเพื่อที่จะข้ามสะพาน (จุดข้ามที่ทาขึ้นโดยชาวบ้านบริเวณนั้น) ขณะเดียวกันได้มีรถกระบะ ยี่ห้อวีโก้ สีบอร์นทอง ผู้ขับขี่ชายไทย อายุ 51 ปี อาศัยอยู่ หมู่ 2 ต. หนองน้าแดง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ได้เฉี่ยวชนด้านท้ายของรถจักรยานยนต์ บริเวณก่อนถึง สะพานต่างระดับหน้าศูนย์การสุนัขทหาร ทาให้รถจักรยานยนต์เสียหลักล้มคว่าเข้าไปอยู่ใต้ท้อง ด้านซ้ายของรถกระบะ และลากรถไปกว่า 500 เมตร ผู้ขับขี่จักรยานยนต์กระเด็นไปตกในช่อง จราจรด้านซ้ายห่างจากจุดเฉี่ยวชนประมาณ 20-30 เมตร เสียชีวิตทันที โดยสภาพถนนก่อนที่จะเกิด อุบัติเหตุได้มีฝนตกลงมาทาให้ถนนลื่นพร้อมกับมีการสัญจรไปมาของรถเป็นจานวนมาก เนื่องจาก เป็นเวลาเลิกงาน อุบัติเหตุครั้งนี้มีผู้เสียชีวิตจานวน 1 ราย ซึ่งเป็นผู้ที่ขับขี่รถจักรยานยนต์ ซึ่งทางระบบ บริการการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดนครราชสีมา ได้จัดอาสาสมัครหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉิน มูลนิธิสว่างวิชชาธรรมสถาน ออกตรวจสอบ พร้อมนาผู้เสียชีวิตส่งโรงพยาบาลปากช่องนานา ส่วน ผู้ที่ขับรถกระบะได้หลบหนีไป แต่ต่อมาได้เข้ามอบตัวกับเจ้าหน้าที่ตารวจ สภาพการจราจรขณะเกิด เหตุติดขัด 1-2 ช่องทาง เป็นเวลาประมาณ 30 นาที

ภาพที่ 3.1 แสดงแผนที่เกิดอุบัติเหตุ

ภาพที่ 3.2 การลงพื้นที่หาข้อมูลจากพนักงานสอบสวน สภ.หนองสาหร่าย โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 23 -

ตาราง 3.1 แสดงข้อมูลผู้ขับขี่ คนขับรถจักรยานยนต์ ข้อมูลทั่วไป เพศชายอายุ 16 ปี สถานภาพ โสด เป็นนักเรียน ชั้นม.5 ข้อมูลด้านการขับขี่ ขับรถมา >4 ปี มีใบอนุญาต ข้อมูลด้านสุขภาพ ปฏิเสธโรคประจาตัว ข้อมูลผู้ขับขี่ก่อนเกิดอุบัติเหตุ • ไม่สวมหมวกกันน๊อก • สภาพอารมณ์ปกติ • ปฏิเสธการใช้ยาที่มีผล ต่อการขับขี่ ข้อมูลด้านการบาดเจ็บ เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ

คนขับรถกระบะ เพศชายอายุ 41 ปี สถานภาพ สมรส อาชีพรับจ้างทั่วไป ขับรถมา >10 ปี มีใบอนุญาต ปฏิเสธโรคประจาตัว • คาดเข็มขัดนิรภัย • สภาพอารมณ์ปกติ • ปฏิเสธการใช้ยาที่มีผล ต่อการขับขี่ ไม่มีการบาดเจ็บ

ผลการสอบสวนลักษณะการบาดเจ็บ มีผู้เสียชีวิต 1 รายได้รับการเคลื่อนย้ายไปโรงพยาบาลโดย อาสาสมัครมูลนิธิสว่าง วิชชาธรรมสถาน โดยลักษณะการเสียชีวิต ศีรษะได้รับการกระแทกอย่างรุนแรงและเป็นแผลฉีก ขาด อวัยวะส่วนของขามีการหักผิดรูป กระดูกช่วงคอหัก และมีการถลอกตามร่างกาย ส่งผลทาให้ ผู้ขับขี่เสียชีวิตทันทีในที่เกิดเหตุ ตาราง 3.2 แสดงข้อมูลยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุ รายละเอียด ยานพาหนะคู่กรณี ยี่ห้อ Toyota Vigo รุ่นปี ปี พ.ค.2551 ลักษณะการใช้งาน ทั่วไป/ปกติ สภาพยาง ปกติ การครอบครองรถ บริษัท ความเสียหายจากอุบัติเหตุ 15 % ตามสภาพ อุปกรณ์เพื่อความ เข็มขัดนิรภัย ปลอดภัย

ยานพาหนะต้นเหตุ Honda Wave ม.ค.2546 (ขาดต่อทะเบียน/ไม่มี พรบ. ) ทั่วไป/ปกติ ปกติ ยืมเพื่อนมา 80% ตามสภาพ ไม่มี

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 24 -

ภาพที่ 3.3 ด้านท้ายและด้านข้างของ จยย.ได้รับความเสียหาย

ภาพที่ 3.4 ด้านหน้าของรถกระบะได้รับความเสียหาย

ภาพที่ 3.5 สภาพถนนที่เกิดอุบัติเหตุ และทางลัดผ่านที่ชาวบ้านทาขึ้นใช้สัญจรไปมา โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 25 -

ภาพที่ 3.6 ทางลัดผ่านที่เกิดอันตรายได้ง่าย ผลการศึกษาด้านถนน และสิ่งแวดล้อมที่เกิดเหตุ • เป็นช่วงถนนมิตรภาพ • ลักษณะผิวทาง แอสฟัลติก คอนกรีต เรียบ เปียก เดินรถทางเดียว เส้นทางตรง • ความกว้างพื้นผิวถนนทั้งสิ้นประมาณ 41.5 เมตร แบ่งออกเป็น – พื้นที่เกาะกลางถนนความกว้างขนาด 9 เมตร (ปลูกต้นไม้เป็นช่วงๆตลอดเส้นทาง) – ช่องทางจราจรไป-กลับ 6 ช่องทาง แต่ละช่องทางกว้าง 3.5 เมตร รวม 21 เมตร – ช่องทางเบี่ยงขึ้นสะพานเข้า อ.ปากช่อง 1 ช่องจราจร 3.5 รวม – ไหล่ทางด้านนอกกว้าง 2.5 เมตร รวมทั้ง 2 ด้าน 5 เมตร – ไหล่ทางด้านในกว้าง 1.5 เมตร รวมทั้ง 2 ด้าน 3 เมตร

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 26 -

ภาพที่ 3.7 แสดงลายเส้นสีน้าเงินคือเส้นทางเป้าหมาย เส้นทางม่วงคือเส้นทางที่เสียชีวิต

ภาพที่ 3.8 ช่วงสะพานลอยก่อนถึงจุดเกิดเหตุและเป็นทางแยกเข้า อ.ปากช่อง จากการสันนิษฐาน คาดว่าอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ เชื่อว่าน่าจะเกิดจากความ ประมาทของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ไม่ระมัดระวังให้ดีในการเปลี่ยนช่องทางการจราจรมาอีก ช่องทางหนึ่งและประกอบกับถนนบริเวณเป็นถนนเส้นหลักที่มีรถสัญจรค่อนข้างมากและขับขี่ อย่างรวดเร็วจนไม่อาจระวังรถที่กาลังจะข้ามทางได้

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 27 -

อุบัติเหตุ จยย.ตัดหน้ารถกระบะ ถ.มิตรภาพ กม.74 แยกหนองคู เมื่อเวลาประมาณ 01.30 น. ของวันที่ 1 พฤศจิกายน 2552 ได้รับรายงานจากศูนย์ สื่อสารการแพทย์ฉุกเฉิน รพ.ปากช่อง ว่าเกิดอุบัติเหตุรถกระบะชนกับรถจักรยานยนตร์ มีผู้เสียชีวิต ในจุดเกิดเหตุจานวน1รายบาดเจ็บเล็กน้อยอีก 1ราย ซึ่งที่เกิดเหตุอยู่บริเวณทางหลวงหมายเลข 2( ถนนมิตรภาพเลี่ยงเมือง )กม.ที่ 74 ขาเข้านครราชสีมา จุดกลับรถและเป็นทางแยกก่อนถึงสะพาน ต่างระดับ บ้านหนองคู ต.หนองสาหร่ายอ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา จึงได้ทาการสอบสวนหาสาเหตุ ของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ ร่วมกับทีมงานสืบสวนสอบสวนอุบัติเหตุการจราจร จากการสอบสวนเบื้องต้นพบว่า เมื่อเวลาประมาณ 01.30น.ของวันที่ 1 พฤศจิกายน 2552 มีนายกู้เกียรติ หฤทัย อายุ34 ปี ได้ไปดื่มสุราสังสรรค์งานวันเกิดเพื่อนข้างวัดไตยรัตน์ ขากลับ ขับขี่รถจักรยานยนต์วิ่งย้อนศรมาทางช่องจาจรที่ทาไว้สาหรับรถที่จะวิ่งเข้าอาเภอปากช่องเพื่อลัด ผ่าน ถนนมิตรภาพไปยังบ้านหนองคู ขณะข้ามช่องทางขาเข้านครราชสีมา และเป็นจุดกลับรถบ้าน หนองคูหลักกิโลเมตรที่ 74 ถนนมิตรภาพ ไม่ทันระวังรถยนต์ที่วิ่งมาทางด้านขวามือจึงถูกรถไม่ ทราบชนิดเฉี่ยวชน ก่อนที่จะมีรถกระบะโตโยต้าวีโก้ สีบอร์นเทา ทะเบียน บห-7191 ขอนแก่น ซึ่งมี นายวรันธร เปรมใจ อายุ 30 ปี เป็นคนขับ เดินทางจากจังหวัดปทุมธานี มุ่งหน้าสู่จังหวัดขอนแก่น พร้อมผู้โดยสารจานวน 4 คน ไม่สามารถหยุดรถได้ทัน จึงทาให้พุ่งชนซ้า ทาให้รถจักรยานยนต์ กระเด็นไปตกที่ไหล่ทางด้านขวา ส่วนนายกู้เกียรติฯ ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์เสียชีวิต และมีรถอีก หลายคันวิ่งมาเหยียบซ้า แต่รถของนายธวันธรฯ ถูกเศษชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ทิ่มแทงเข้าที่ยาง หน้าด้านขวา ทาให้ยางระเบิดไม่สามารถเดินทางต่อได้ ต้องจอดอยู่ห่างจากที่เกิดเหตุประมาณ3040 เมตร ทาให้การจราจรขณะเกิดเหตุติดขัด 1-2 ช่องทาง

ภาพที่ 3.9 แผนที่การเกิดอุบัติเหตุ

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 28 -

ตาราง 3.3 แสดงข้อมูลผู้ขับขี่ ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลด้านการขับขี่ ข้อมูลด้านสุขภาพ ข้อมูลผู้ขับขี่ก่อนเกิดอุบัติเหตุ

ข้อมูลด้านการบาดเจ็บ

ผู้ขับขี่จักรยานยนต์ เพศชายอายุ 30 ปี สถานภาพ โสด อาชีพรับจ้างทั่วไป ขับขี่ จยย.มา >10 ปี ปฏิเสธโรคประจาตัว  สภาพอารมณ์ปกติ  ไม่สวมหมวกนิรภัย  ปฏิเสธการใช้ยาที่มีผลต่อ การขับขี่ เสียชีวิต

คนขับรถกระบะ เพศชายอายุ 30 ปี สถานภาพ โสด อาชีพรับจ้างทั่วไป ขับรถมา >10 ปี มีใบอนุญาต ปฏิเสธโรคประจาตัว  คาดเข็มขัดนิรภัย  สภาพอารมณ์ปกติ  ปฏิเสธการใช้ยาที่มีผลต่อ การขับขี่ เล็กน้อย

ภาพที่ 3.10 พฤติกรรมของชาวบ้านในพื้นที่เกิดเหตุ ผลการสอบสวนลักษณะการบาดเจ็บ มีผู้เสียชีวิตจานวน 1รายและบาดเจ็บเล็กน้อย1 ราย ส่วนศพผู้เสียชีวิตได้รับการ เคลื่อนย้ายไปโรงพยาบาลปากช่องนานาโดย อาสาสมัครมูลนิธิสว่างวิชชาธรรมสถาน ลักษณะการ เสียชีวิต ศีรษะได้รับการกระแทกอย่างรุนแรง และอวัยวะส่วนอื่นๆตามร่างกายได้ถูกแรงกระแทก และรถคันอื่นๆเหยียบจนแข็งขาเป็นแผลฉีกขาดขนาดใหญ่ เป็นต้น

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 29 -

ตาราง 3.4 แสดงข้อมูลยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุ จักรยานยนต์ ยี่ห้อ/รุ่นปี Honda Wave สีแดง/ดา จดทะเบียนเมื่อ ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน ลักษณะการใช้งาน ทั่วไป สภาพยาง เก่า ดอกยางตื้น การครอบครองรถ ซื้อมาจากตัวแทนจาหน่าย ความเสียหายจากอุบัติเหตุ ประมาณ 90 % ตามสภาพ อุปกรณ์เพื่อความ ไม่สวมหมวกนิรภัย ปลอดภัย

กระบะ Toyota Vigo ปี พ.ค.2550 รถยนต์ส่วนบุคคล ปกติ ซื้อจากศูนย์ตัวแทนจาหน่ายประมาณ 3 ปี ประมาณ 30 % ตามสภาพ เข็มขัดนิรภัยด้านหน้า

ภาพที่ 3.11 ความเสียหายของรถจักรยานยนต์

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 30 -

ภาพที่ 3.12 กันชนด้านหน้าขวาได้รับความเสียหาย

ภาพที่ 3.13 ความเสียหายของรถกระบะที่ประสบเหตุ

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 31 -

ผลการศึกษาด้านถนน และสิ่งแวดล้อมที่เกิดเหตุ ถนนที่เกิดเหตุเป็นถนนทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพเลี่ยงเมือง) กม.ที่ 74 ขา เข้านครราชสีมา จุดกลับรถและเป็นทางแยกร่วมก่อนถึงสะพานต่างระดับ บ้านหนองคู และมีจุด กลับรถอีก 2 แห่ง ได้แก่ กม.72 ห่างจาก แยกหนองคู 2 กม. และ กม. 77 ห่างจาก แยกหนองคู 3 กม.  เป็นถนนเส้นทางหลักตัดผ่านถนนเข้าหมู่บ้าน ไม่มีแสงไฟ  ลักษณะผิวทาง แอสฟัลติก คอนกรีต เรียบ แห้ง เดินรถทางเดียว เส้นทางตรง มีจุก จุดกลับรถ และทางแยกเข้า อ.ปากช่อง ความกว้างพื้นผิวถนนทั้งสิ้น44 เมตร แบ่ง ออกเป็น -พื้นที่เกาะกลางถนนความกว้างขนาด 15 เมตร (ปลูกต้นไม้ตลอดเส้นทาง) -ช่องทางจราจร ไป-กลับ 6 ช่องทาง แต่ละช่องทางกว้าง 3.5 เมตร รวม 21 เมตร -ไหล่ทางด้านนอกกว้าง2.5 เมตรรวมทั้ง 2 ด้าน 5 เมตร -ไหล่ทางด้านทาง1.5 เมตร รวมทั้ง2 ด้าน 3 เมตร

ภาพที่ 3.14 แสดงจุดกลับรถที่ไม่สะดวกต่อการสัญจรของชาวบ้านหนองคู

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 32 -

ภาพที่ 3.15 แสดงถนนที่ตัดผ่านหมู่บ้านหนองคู จากการสันนิษฐาน คาดว่าอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ เชื่อว่าน่าจะเกิดจากความ ประมาทของผู้ขับขี่รถจักยายนต์ ซึ่งได้มีการดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ในขณะขับขี่ ทาให้สมรรถภาพในการควบคุมตนเองและควบคุมรถของตนเองในการขับขี่ลดลง รวมถึง สภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัยและการขับรถโดยประมาทไม่ระมัดระวังให้ดีในการข้ามทางที่จะเข้า อีกช่องทางหนึ่ง จึงทาให้รถที่วิ่งมาในทางตรงไม่สามารถหลบได้ทันจึงพุ่งชนอย่างกะทันหันจน ส่งผลให้ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์เสียชีวิตทันทีในที่เกิดเหตุ อุบัติเหตุ จยย.ตัดหน้ารถเก๋ง3คัน ถ.มิตรภาพ กม.64 หน้าขนส่งปากช่อง เมื่อเวลาประมาณ 09.50น. ของวันที่ 2 พฤศจิกายน 2552 เกิดอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ ชนกับรถเก๋ง 3 คัน บริเวณทางหลวง หมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพเลี่ยงเมือง) กม.ที่ 64 ขาเข้านครราชสีมาบริเวณ จุดกลับรถทาง หน้า สานักงานขนส่งปากช่อง ต.หนอง สาหร่าย อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมามี ผู้เสียชีวิต 1 ราย

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 33 -

จากการสอบสวนเบื้องต้นพบว่า เวลาประมาณ 09.30 น. ผู้ขับขี่ชายไทย อายุ 26 ปี ขับขี่ รถจักรยานยนต์ ยี่ห้อ Honda wave 110 สีเทา-ดา ออกจากบ้านขนงพระใต้มุ่งหน้าขนส่งปากช่อง เพื่อโอนรถจักรยานยนต์ ขณะเปลี่ยนช่องทางจราจรจากด้านซ้ายมาทางขวาเพื่อจะข้ามไปยัง สนง. ขนส่งปากช่องในช่องจราจรที่ 3 ได้ถูกรถเก๋ง ยี่ห้อ TOYOTA Vios สีบร์อน-ทอง มีชายไทย อายุ 30 ปี เป็นผู้ขับขี่ วิ่งมาในช่องทางขวาสุด พุ่งชนเข้าทางด้านซ้ายของรถจักรยานยนต์ ซึ่งจะพยายามหลบ แล้วแต่ไม่สามารถหลบได้ทัน ส่งผลให้ผู้ขับขี่ จยย.กระเด็นตกลงไปกลางถนนในช่องจราจรที่ 2 ทา ให้ศีรษะกระแทกพื้น เสียชีวิตทันที และในขณะเดียวกันได้มีรถเก๋ง TOYOTA Lexus สีดา มี ชายไทยเป็นผู้ขับขี่ ขับตามกันมาหักหลบไม่พ้นเฉี่ยวชนด้านท่อไอเสียของรถ จยย. จากนั้น รถเก๋ง ยี่ห้อ Protron สีดา ขับขี่โดยหญิงไทย เสียหลักชนท้ายรถเก๋ง TOYOTA Lexus อย่างจัง จึงทาให้รถ เก๋ง TOYOTA Lexus หมุนกลับ อุบัติเหตุครั้งนี้มีผู้เสียชีวิตจานวน 1 ราย ซึ่งเป็นผู้ที่ขับขี่รถ จยย. สภาพการจราจรขณะเกิดเหตุติดขัด 2 ช่องทาง เป็นเวลาประมาณ 30 นาที

ภาพที่ 3.16 แสดงแผนที่การเกิดอุบัติเหตุ

ภาพที่ 3.17 แสดงเส้นทางการขับขี่ขณะเกิดอุบัติเหตุ (สีน้าเงินเส้นทาง จยย.) โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 34 -

อุบัติเหตุ รถกระบะเฉี่ยว รถ จยย. ถ.มิตรภาพ กม.71 ก่อนถึงแยกเข้าบ้านบ่อทอง เมื่อเวลาประมาณ 10.35 น. ของวันที่ 3 ธันวาคม 2552 เกิดอุบัติเหตุรถกระบะเฉี่ยวชน รถจักรยานยนต์ บริเวณทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพเลี่ยงเมือง) กม. 71 ขาเข้านครราชสีมา จุดกลับรถทางแยกบ่อทอง ต.หนองสาหร่าย อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา มีผู้เสียชีวิต 1 ราย จึงได้ทา การสอบสวนหาสาเหตุของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ จากการสอบสวนเบื้องต้นพบว่า รถยนต์จักรยานยนต์ยี่ห้อ HONDA รุ่น Wave 100 สี เทา ผู้ขับขี่ชายไทย อายุ 68 ปี อาศัยอยู่ หมู่ 2 ต.วังไทร อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ได้ขับขี่ รถจักรยานยนต์เพื่อเดินทางกลับจากตลาด ปากช่อง เมื่อเวลาประมาณ 10.32 น. โดยได้ ขับขี่รถจักรยานยนต์มาตามเลนส์ ถ.มิตรภาพ โดยใช้ความเร็วประมาณ 40-60 กม./ชม. เมื่อ มาถึงที่เกิดเหตุได้เปิดไฟเลี้ยวด้านขวาเพื่อ เปลี่ยนช่องทางจราจรเพื่อจะข้าม ไปยัง หมู่บ้านบ่อทอง โดยไม่ทันเห็นรถที่วิ่งมาตาม เลนส์กลางถนนมิตรภาพ เป็นเหตุทาให้เฉี่ยว เข้ากับรถกระบะยี่ห้อ ISUZU รุ่น D-MAX สีเทา ผู้ขับขี่ชายไทย อายุ 27 ปี อาศัยอยู่ ม.10 ตาบลศาลา ลอย อาเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สภาพการจราจรขณะเกิดเหตุติดขัด 1-2 ช่องทาง

ภาพที่ 3.18 แผนที่แสดงการเกิดอุบัติเหตุ

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 35 -

อุบัติเหตุจราจรกลุ่มที่ 2 (รถตกถนนชนต้นไม้) อุบัติเหตุ รถกระบะตกถนนพลิกคว่าชนต้นไม้ ถ.มิตรภาพ กม.68+500 เมื่อเวลาประมาณ 02.00 น. ของวันที่ 12 เมษายน 2553 ได้รับรายงานจากศูนย์สื่อสาร การแพทย์ฉุกเฉิน รพ.ปากช่อง ว่าเกิดอุบัติเหตุรถกระบะพลิกคว่าด้วยตนเองบริเวณ กม.ที่68 กรุงเทพมหานคร ก่อนถึง แยกบ้านซับหวาย ตาบลหนองสาหร่าย อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา มี ผู้บาดเจ็บจานวน 4 ราย เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ 2 ราย จึงได้ดาเนินการสอบสวนหาสาเหตุที่เกิดขึ้นใน ครั้งนี้ต่อไป ผลการสอบสวนการเกิดอุบัติเหตุ จากการสอบสวนเบื้องต้นพบว่า รถยนต์กระบะ Mitsubishi Strada สีเขียว ผู้ขับขี่ ชายไทย อายุ 47 ปี ออกเดินทางจากจังหวัดนครพนม มุ่งหน้าเข้าสู่กรุงเทพมหานคร (ไปทางาน) เมื่อ มาถึงที่เกิดเหตุบริเวณถนนมิตรภาพเลี่ยงเมืองขาเข้ากรุงเทพมหานคร หลักกิโลเมตรที่ 68 รถคัน ดังกล่าวได้ใช้เส้นทางการจราจรช่องที่2 (เลนส์กลาง) และในขณะเดียวกันก็มีรถวิ่งอยู่ด้านหน้าและ ด้านหลังรถของตนเองด้วย ซึ่งรถที่วิ่งอยู่ด้านหลังได้แซงทางด้านซ้ายขึ้นมาอย่างกะทันหันและตัด หน้ารถของตนเองเพื่อไปยังเลนส์ขวาทาให้รถของตนเองหักหลบแล้วลงร่องกลางถนนเสียหลักไป ชนต้นไม้ที่อยู่บริเวณนั้น อุบัติเหตุครั้งนี้มีผู้เสียชีวิต 2 ราย เป็นชายไทย อายุ 18 ปี และหญิงไทย อายุ 44 ปี ส่วน ผู้บาดเจ็บ 4 ราย ทางระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดนครราชสีมา ได้จัดอาสาสมัครหน่วย บริการการแพทย์ฉุกเฉิน มูลนิธิสว่างวิชชาธรรมสถาน และเจ้าหน้าที่จากรพ.กรุงเทพ-ปากช่อง ออก ให้การช่วยเหลือนาผู้บาดเจ็บและศพผู้เสียชีวิตส่งรพ.ปากช่องนานา

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 36 -

ภาพที่ 3.19 แสดงแผนที่การเกิดอุบัติเหตุ

ภาพที่ 3.20 สภาพรถในที่เกิดเหตุ

ภาพที่ 3.21 ความเสียหายที่เกิดจากอุบัติเหตุ โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 37 -

ภาพที่ 3.22 ความเสียหายภายในห้องโดยสาร

ภาพที่ 3.23 ต้นไม้ที่ถูกชนหักโค่น ตาราง 3.5 แสดงข้อมูลผู้ขับขี่ ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลด้านการขับขี่ ข้อมูลด้านสุขภาพ ข้อมูลผู้ขับขี่ก่อนเกิดอุบัติเหตุ ข้อมูลด้านการบาดเจ็บ

คนขับรถกระบะ เพศชาย อายุ 47 ปี สมรส อาชีพรับจ้างทั่วไป มีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ ปกติ ปฏิเสธการใช้ยาที่มีผลต่อการขับขี่ ปฏิเสธดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ คาดเข็มขัดนิรภัย

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 38 -

ผลการสอบสวนลักษณะการบาดเจ็บและเสียชีวิต รายที่1 หญิงไทย อายุ 44 ปี นั่งโดยสารในรถกระบะ บริเวณเบาะหลังข้างคนขับ สภาพ ศพ บริเวณหน้าอกยุบ ทั้ง 2 ข้าง ต้นแขนขาบวมผิดรูปและบริเวณกะโหลกศีรษะข้างหลังแตก ผู้ตาย หลับระหว่างเดินทาง ทาให้ศีรษะและหน้าอกได้รับผลกระทบอย่างแรง ทาให้ผู้ตายเสียชีวิตทันที รายที่2 ชายไทย อายุ 18 ปี นั่งโดยสารมาข้างหลังแคบ ผู้ตายหลับระหว่างเดินทาง ขณะที่รถพุ่งชนต้นไม้ ทาให้แรงกระแทกของรถที่มาด้วยความเร็วสูง ทาให้ผู้ตายเสียชีวิตในที่เกิด เหตุ สภาพศพของผู้ตาย บริเวณกะโหลกศีรษะด้านหน้าแตกและยุบ มีสมองไหล ตาราง 3.6 แสดงข้อมูลยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุ จดทะเบียนเมื่อ/หมดอายุ ลักษณะการใช้งาน สภาพยาง การครอบครองรถ ความเสียหายจากอุบัติเหตุ อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย

MITSUBISHI STADA -พ.ร.บ.หมดอายุ ปี 2558 ทั่วไป ปกติ รถของบริษัท ประมาณ 90 % ตามสภาพ มีอุปกรณ์ครบ

ภาพที่ 3.24 ความเสียหายด้านหน้ารถที่เกิดเหตุ

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 39 -

ภาพที่ 3.25 ถนนและสิ่งแวดล้อมที่เกิดเหตุ

ภาพที่ 3.26 ต้นไม้ต้นแรกที่ถูกเฉี่ยวชนห่างจากจุดเกิดเหตุประมาณ 30-40 เมตร ผลการศึกษาถนนและสิ่งแวดล้อมที่เกิดเหตุ • เป็นถนนเส้นทางหลักเลี่ยงเมือง ไม่มีแสงไฟ • ลักษณะผิวทาง แอสฟัลติก คอนกรีต เรียบ แห้ง เดินรถทางเดียว เส้นทางตรง • ความกว้างพื้นผิวถนนทั้งสิ้น 44 เมตร แบ่งออกเป็น – พื้นที่เกาะกลางถนนความกว้างขนาด 15 เมตร (ปลูกต้นไม้ตลอดเส้นทาง) – ช่องทางจราจรไป-กลับ 6 ช่องทาง แต่ละช่องทางกว้าง 3.5 เมตร รวม 21 เมตร – ไหล่ทางด้านนอกกว้าง 2.5 เมตร รวมทั้ง 2 ด้าน 5 เมตร – ไหล่ทางด้านในกว้าง 1.5 เมตร รวมทั้ง 2 ด้าน 3 เมตร จากการสันนิษฐาน คาดว่าอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ เชื่อว่าน่าจะเกิดจากความ ประมาทของผู้ที่ใช้รถใช้ถนนร่วมกัน โดยไม่คานึงถึงกฎจราจร จนส่งผลให้เกิดความเสียหายที่ เกิดขึ้นรวมทั้งทัศนียภาพบริเวณโดยรอบ เช่น กรณีต้นไม้ที่อยู่บริเวณร่องกลางของถนน โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 40 -

อุบัติเหตุ โตโยต้าฟอร์จูนเนอร์แหกโค้งชนต้นไม้ ถ.โครงการภูพิมาน เมื่อเวลาประมาณ 13.45 น. ของวันที่ 5 พฤษภาคม 2553 ได้รับรายงานจากศูนย์ สื่อสารการแพทย์ฉุกเฉิน รพ.ปากช่องนานา ว่าเกิดอุบัติเหตุรถ โตโยต้าฟอร์จูนเนอร์ พลิกคว่าด้วย ตนเองบริเวณ ถนนโครงการภูพิมานรีสอร์ท ต.ปากช่อง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา มีผู้บาดเจ็บ จานวน 3 ราย เสียชีวิต 1 ราย จากการสอบสวนพบว่าที่เกิดเหตุเป็นทางโค้ง ถนนในโครงการภูพิมานรีรอร์ท ต.ปาก ช่อง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา พบรถยนต์โตโยต้า ฟอร์จูเนอร์ สีดา อยู่ในสภาพตะแคง ด้านหน้า และส่วนอื่นๆพังเสียหาย และถัดออกมายังพบต้นไม้ที่ถูกชนหักโค่นอีกจานวน 5 ต้น มีผู้บาดเจ็บ ชาย จานวน 2 ราย และเสียชีวิตในที่เกิดเหตุอีก 1 ราย เป็นชายไทย อายุ 17 ปี อาศัยอยู่ แขวงบาง ชัน เขตคลองสามวา จ.กรุงเทพมหานคร ก่อนเกิด เหตุรถยนต์คันดังกล่าววิ่งมาจากกรุงเทพมหานคร เพื่อเดินทางมาพักผ่อนที่ ภูพิมานรีสอรท จากนั้นได้ ขออนุญาตผู้ปกครองนารถไปขับขี่เล่นพร้อมเพื่อน อีก 3 คน พอมาถึงที่เกิดเหตุซึ่งเป็นทางโค้งผู้ขับขี่ไม่สามารถควบคุมรถได้ และเปลี่ยนเกียร์รถจาก ตาแหน่ง D.3 มายังตาแหน่ง L (เกียร์ Auto) ทาให้รถที่วิ่งมาด้วยความเร็วเสียหลักขึ้นเกาะกลางถนน พุ่งชนต้นไม้ที่ปลูกอยู่บริเวณเกาะกลางหักโค่น 5 ต้น และตัวรถได้พลิกคว่าหลายรอบ อุบัติเหตุครั้ง นี้เกิดจากผู้ขับขี่ไม่มีความชานาญในการใช้ระ และไม่คุ้นเคยกับเส้นทาง

ภาพที่ 3.27 ตาแหน่งเกียร์ขณะเกิดเหตุ และต้นไม้ที่ปลูกไว้ระหว่างถนน

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 41 -

อุบัติเหตุ รถกระบะตกถนนชนต้นไม้ ถ.ลานารายณ์-ปากช่อง กม.52+600 บ้านซับสนุ่น เมื่อเวลาประมาณ 03.50 น. ของวันที่ 22 มิถุนายน 2553 ได้รับรายงานจากศูนย์สื่อสาร การแพทย์ฉุกเฉิน รพ.ปากช่อง ว่าเกิดอุบัติเหตุรถกระบะ ตกถนนเสียหลักชนกับต้นไม้บริเวณทางหลวงหมายเลข 2243 (ลานารายณ์-ปากช่อง) กม.52+600 ม.9 ต.ซับสนุ่น อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี มีผู้ได้รับบาดเจ็บทั้งหมด 8 ราย (อาการสาหัส 4 ราย) และเสียชีวิตในที่เกิดเหตุจานวน 8 ราย จึงได้ทาการสอบสวนหาสาเหตุของอุบัติเหตุที่ เกิดขึ้นในครั้งนี้ ร่วมกับทีมงานสืบสวนสอบสวนอุบัติเหตุการจราจร ผลการสอบสวนการเกิดอุบัติเหตุ เมื่อเวลาประมาณ 03.50 น. ของวันที่ 22 มิถุนายน 2553 ร้อยเวร สภ.มวกเหล็ก รับแจ้ง มีอุบัติเหตุจราจร บริเวณทางหลวงหมายเลข 2243 (ลานารายณ์-ปากช่อง) กม.ที่ 52+600 ม.9 ต.ซับ สนุ่น อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี พบรถกระบะยี่ห้อ Toyota Vigo สีเทา จอดอยู่ในลักษณะชนกับต้นไม้ บริเวณข้างทาง จากการสอบสวนทราบว่า รถกระบะได้ขับออกมาจาก บ.ปากแซง อ.นาตาล จ.อุบลฯ มุ่งหน้าไป จ.ปทุมธานี โดยมีผู้โดยสารมา 15 คน (ชาวลาว) เมื่อมาถึงที่เกิดเหตุเวลาประมาณ 03.50 น. ได้เสียหลักตกถนนชนกับต้นไม้ เหตุการณ์ครั้งนี้ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บ 8 ราย และเสียชีวิต 8 ราย และหน่วยกู้ชีพนาผู้บาดเจ็บทั้งหมด ส่งโรงพยาบาลปากช่องนานา เพื่อรักษาตัว และส่งผู้บาดเจ็บที่ มีอาการสาหัสรักษาตัวต่อที่โรงพยาบาลมหาราช จังหวัดนคราชสีมา 4 ราย ส่วนผู้เสียชีวิตทั้ง 8 ราย นาส่งโรงพยาบาลมวกเหล็ก

ภาพที่ 3.28 แผนที่เกิดเหตุ

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 42 -

ตาราง 3.7 แสดงข้อมูลผู้ขับขี่ ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลด้านการขับขี่ ข้อมูลผู้ขับขี่ก่อนเกิดอุบัติเหตุ ข้อมูลด้านสุขภาพ การบริโภค ข้อมูลการเดินทาง

ความปลอดภัยของผู้ขับขี่ ข้อมูลด้านการบาดเจ็บ ขณะขับขี่ ก่อนออกเดินทาง ข้อมูลการเดินทาง

เส้นทางที่เกิดเหตุ

ผู้ขับขี่ เพศชาย อายุ 22 ปี สมรส อาชีพนักศึกษา มีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลประเภท 5 ปี ขับรถมา < 1 ปี ใช้รถ 2 ครั้ง/สัปดาห์ 1 เดือนที่ผ่านมาเกิดอุบัติเหตุรถเก๋งชนท้าย ปกติ ปฏิเสธการใช้ยาที่มีผลต่อการขับขี่ ดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์บางครั้ง และ เครื่องดื่มชูกาลัง (ไม่ดื่มกาแฟ) จาก อ.นาตาล จ.อุบลฯ ไป จ.ประทุมธานี เพื่อไปหาภรรยา และมีผู้ว่าจ้างให้นาคนงานไปส่งด้วย ได้รับค่าจ้างคนละ 900 บาท/คน คาดเข็มขัดนิรภัย เล็กน้อย เปิดเพลงฟัง พักผ่อนเพียงพอ 5-6 ชั่วโมง (ปฏิเสธการชมฟุตบอลโลก) • จาก อ.นาตาล จ.อุบลฯ ไป จ.ประทุมธานี เพื่อไปหา ภรรยา และมีผู้ว่าจ้างให้นาคนงานไปส่งด้วย • ได้รับค่าจ้างคนละ 900 บาท/คน • ระหว่างทางพัก 2 ครั้ง ครั้งสุดท้ายพักที่ จ. นครราชสีมา เวลา 02.00 น. • ไม่เคยใช้ (วิ่งตามรถที่มาส่งคนงาน 2-3 คัน)

ผลการสอบสวนลักษณะการบาดเจ็บ ผู้ได้รับบาดเจ็บจานวน 8 คนได้รับการเคลื่อนย้ายไปโรงพยาบาลปากช่องนานาโดย อาสาสมัครกู้ชีพ / กู้ภัย หน่วยกู้ชีพโรงพยาบาลปากช่องนานาและหน่วยกู้ชีพโรงพยาบาลกรุงเทพปากช่อง โดยลักษณะการบาดเจ็บและเสียชีวิตดังนี้

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 43 -

ภาพที่ 3.29 แสดงอวัยวะที่ได้รับการบาดเจ็บ/เสียชีวิต

ตาราง 3.8 แสดงข้อมูลยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุ จดทะเบียนเมื่อ/หมดอายุ ลักษณะการใช้งาน สภาพยาง การครอบครองรถ กระจกหน้า เกียร์ อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย ความเสียหายจากอุบัติเหตุ

TOYOTA VIGO 17 พ.ย.51 / 17 พ.ย.53 ทั่วไป ปกติ ยืมมาจากบิดา มัว/สกปรก (จากแมลงในตอนกลางคืน) ธรรมดา ระบบเบรก ABS / Seat belt ประมาณ 80-90 % ตามสภาพ

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 44 -

ภาพที่ 3.30 ความเสียหายของรถที่ปะทะกับต้นไม้

ภาพที่ 3.31 เศษไม้ที่หักทิ่มเข้าไปที่ขอบยาง

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 45 -

ภาพที่ 3.32 ความเสียหายของรถ ผลการสอบสวนถนนและสิ่งแวดล้อมที่เกิดเหตุ  ถนนที่เกิดเหตุเป็นถนนบริเวณทางหลวงหมายเลข 2243 (ลานารายณ์-ปากช่อง) กม.ที่ 52+600 ม.9 ต.ซับสนุ่น อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี ไม่มีแสงไฟ  ลักษณะผิวทาง ลาดยาง เรียบ แห้ง เดินรถสองทาง เส้นทางตรง และเป็นเนินเขา  เส้นสีแบ่งช่องจราจรอยู่ในสภาพปกติชัดเจนดี (เส้นทึบ)  ความกว้างพื้นผิวถนนทั้งสิ้น 9 เมตร แบ่งออกเป็น -ช่องทางจราจรไป-กลับ 2 ช่องทาง แต่ละช่องทางกว้าง 3.5 เมตร รวม 7 เมตร -ไหล่ทางด้านซ้าย-ขวา กว้าง 2 เมตร รวมทั้ง 2 ด้าน 4 เมตร

ภาพที่ 3.33 ต้นไม้มะขามที่ถูกชนหักโค่น โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 46 -

ภาพที่ 3.34 แนวล้อรถที่ตกถนนก่อนชนต้นไม้ และบริเวณจุดเกิดเหตุ กม.52+600

ภาพที่ 3.35 ถนนมุ่งหน้าเข้า อ.ปากช่อง และมุ่งหน้า ลานารายณ์ จากการสันนิษฐาน คาดว่าอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ เกิดจากผู้ขับขี่ไม่ชานาญเส้นทาง และขาดประสบการณ์ในการขับขี่ และเชื่อว่าผู้ขับขี่น่าจะหลับในขณะเกิดเหตุ รวมถึงรถที่ขับขี่ กระจกหน้ารถมัวและสกปรกจากแมลงกลางคืนจึงทาให้การมองเส้นทางไม่ชัดเจนเป็นเหตุให้เกิด อุบัติเหตุขึ้นในครั้งนี้

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 47 -

อุบัติเหตุจราจรกลุ่มที่ 3 (อุบัติเหตุทางร่วมทางแยก และจุดกลับรถ) อุบัติเหตุ รถตู้ชนรถกระบะแยก ถ.มิตรภาพ กม.67 แยกซับหวาย เมื่อเวลาประมาณ 22.05 น. ของวันที่ 7 ตุลาคม 2552 ได้รับรายงานจากศูนย์สื่อสาร การแพทย์ฉุกเฉิน รพ.ปากช่อง ว่าเกิดอุบัติเหตุรถตู้โดยสารชนประสานงานกับรถกระบะบริเวณทาง หลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพเลี่ยงเมือง) กม.ที่67 ขาเข้านครราชสีมา จุดกลับรถทางแยกบ้านซับ หวาย ตาบลหนองสาหร่าย อ .ปากช่อง จ . นครราชสีมา มีผู้ได้รับบาดเจ็บทั้งหมด 8 ราย ที่ เกิดเหตุดังกล่าวเป็นจุดที่เกิดบ่อย และมีผู้บาดเจ็บ มากกว่า 5 คน จึงได้ทาการสอบสวนหาสาเหตุ ของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ ร่วมกับทีมงาน สืบสวนสอบสวนอุบัติเหตุการจราจร

ผลการสอบสวนการเกิดอุบัติเหตุ จากการสอบสวนเบื้องต้นพบว่า รถยนต์ TOYOTA Commuter ชนิดตู้โดยสารไม่ ประจาทาง จานวน9-14 ที่นั่ง สีบรอนซ์เทา ผู้ขับรถเป็นเพศชาย อายุ 41 ปี อาศัยอยู่ ต.ดงลิง อ.กมลา ไสย จ.กาฬสินธุ์ ออกเดินทางจากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เวลาประมาณ 16.00 น. ระหว่างทางได้รับ ผู้โดยสารจานวน 9 คน ที่หมายปลายทางจังหวัดกาฬสินธุ์ ระหว่างทางประมาณ 21.00 น. ได้พักรถ ที่ตลาดผลไม้ ต.กลางดง เพื่อให้ผู้โดยสารได้ซื้อของฝาก จากนั้นได้ออกเดินทางต่อระหว่างทางใช้ ความเร็วประมาณ 100-120 กม./ชม. เมื่อมาถึงที่เกิดเหตุ ซึ่งเป็นทางร่วมทางแยกและเป็นจุดกลับรถ กม.67 แยกซับหวาย ได้มีรถกระบะบรรทุกยี่ห้อ NISSAN Big M สีดา ซึ่งชายไทย อายุ 51 ปี อยู่ ต. หนองสาหร่าย อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา วิ่งข้ามเส้นทางที่ตนใช้อยู่ในระยะกระชั้นชิดประกอบกับ เป็นทางลาดลงเนินทาให้ไม่สามารถหยุดรถได้ทันจึงเป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุ ก่อนเกิดเหตุเมื่อเวลาประมาณ 18.00 น. ผู้ขับรถ NISSAN Big Mได้ดื่มเบียร์ไปจานวน 1-2 ขวด (เป็นประจาก่อนรับประทานอาหาร ) ต่อมาเพื่อนบ้านมีความเดือนร้อนไม่มีรถกลับไปยัง อีกหมู่บ้านซับหวาย ขอยืมรถจึงปฏิเสธ แต่ขอขับไปส่ง ระหว่างทางขากลับได้ข้ามช่องทางจราจร ด้านขาเข้า กทม. แต่ขณะข้ามช่องทางถนนมิตรภาพขาเข้านครราชสีมา ไม่เห็นรถตู้ที่วิ่งมาทางด้าน ซ้ายจึงถูกชนเข้าบริเวณด้านหน้ารถอย่างจังทาให้รถตนเองหมุนกลับตกลงไปในล่องกลางถนน โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 48 -

ส่วนคนขับรถกระบะกระเด็นตกบนไหล่ทางด้านในได้รับบาดเจ็บสาหัส ส่วนรถตู้เสียหลักตัวรถ ลื่นไถลขวางไปกับถนนในช่องซ้ายสุดของช่องจราจร อุบัติเหตุครั้งนี้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 8 ราย ซึ่งเป็นผู้บาดเจ็บที่เดินทางมากับรถตู้ 7 คน และ เป็นคนขับรถกระบะ 1 คน ซึ่งทางระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดนครราชสีมา ได้จัด อาสาสมัครหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉิน มูลนิธิสว่างวิชชาธรรมสถาน ออกให้การช่วยเหลือนา ผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาลปากช่องนานา ส่วนคนขับรถกระบะอาการสาหัสแพทย์ได้ส่งตัวไปรักษา ต่อที่ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ส่วนคนขับรถตู้พร้อมผู้โดยสารได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย สภาพการจราจรขณะเกิดเหตุติดขัด 1-2 ช่องทาง เป็นเวลาประมาณ 30 นาที

ภาพที่ 3.36 แสดงแผนที่เกิดอุบัติเหตุ

ภาพที่ 3.37 ด้านหน้ารถตู้โดยสาร และรถกระบะคู่กรณี ตกลงไปในล่องกลางถนน

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 49 -

ภาพที่ 3.38 กระบะที่หลุดจากตัวรถ อยู่บนผิวการจราจรช่องซ้ายสุดบริเวณที่เกิดเหตุ ตาราง 3.9 แสดงข้อมูลผู้ขับขี่ คนขับรถกระบะ ข้อมูลทั่วไป เพศชายอายุ 51 ปี สถานภาพสมรส อาชีพเลี้ยงวัว ข้อมูลด้านการขับขี่ ขับรถมา >10 ปี มีใบอนุญาต ข้อมูลด้านสุขภาพ โรคประจาตัว คือ โรคเก๊า ระยะหลังมีปัญหาด้านสายตา ข้อมูลผู้ขับขี่ก่อนเกิด • ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย อุบัติเหตุ • เวลาประมาณ 18.00 น. ก่อนขับ รถดื่มเบียร์ 1 ½ ขวด • สภาพอารมณ์ปกติ ข้อมูลด้านการบาดเจ็บ รุนแรง (กระเด็นออกจากรถ)

คนขับรถตู้ เพศชายอายุ 41 ปี สถานภาพ สมรส อาชีพขับรถตู้โดยสาร ขับรถมา >10 ปี มีใบอนุญาต ปฏิเสธโรคประจาตัว • คาดเข็มขัดนิรภัย • สภาพอารมณ์ปกติ • ปฏิเสธการใช้ยาที่มีผลต่อ การขับขี่ เล็กน้อย

ผลการสอบสวนลักษณะการบาดเจ็บ ผู้ได้รับบาดเจ็บจานวน 8 คนได้รับการเคลื่อนย้ายไปโรงพยาบาลโดย อาสาสมัคร มูลนิธิสว่างวิชชาธรรมสถาน โดยลักษณะการบาดเจ็บมีบาดแผลบริเวณใบหน้า เนื่องจากถูกเศษ กระจกบาด และบาดเจ็บที่ทรวงอกเนื่องจากถูกการกระแทก เนื่องจากไม่ได้คาดเข็มขัดนิรภัย ซึ่ง ผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัสในครั้งนี้เป็นคนขับรถกระบะซึ่งมีอาการทางสุราทาให้มีบาดแผลบริเวณ ใบหน้า เจ็บแน่นหน้าอกหายใจไม่สะดวกเนื่องจากถูกแรงกระแทกจากการกระเด็นออกมาจากตัว รถ และมีแผลถลอกตามร่างกาย ซึ่งจากการสอบสวนผู้บาดเจ็บทั้งหมดในครั้งนี้ไม่ได้คาดเข็มขัด นิรภัย โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 50 -

ภาพที่ 3.39 แสดงตาแหน่งที่นั่งของผู้บาดเจ็บขณะเดินทางมากับรถตู้โดยสาร ตาราง 3.10 แสดงข้อมูลยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุ รายละเอียด ยานพาหนะต้นเหตุ ยี่ห้อ NISSAN รุ่นปี Big M จดทะเบียนเมื่อ ปี ต.ค.2536 (ทะเบียน/พรบ. หมดอายุปี 2551) ลักษณะการใช้งาน ด้านปศุสัตว์ สภาพยาง เก่า ดอกยางตื้น การครอบครองรถ ซื้อมาจากเต้นท์รถประมาณ 1 ปี ความเสียหายจากอุบัติเหตุ อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย

ประมาณ 90 % ตามสภาพ เข็มขัดนิรภัย

ยานพาหนะคู่กรณี TOYOTA Commuter ปี พ.ค.2551 รับจ้างไม่ประจาทาง ปกติ ซื้อจากศูนย์ตัวแทนจาหน่าย ประมาณ 1 ปี ประมาณ 30 % ตามสภาพ เข็มขัดนิรภัย ด้านหน้า+เก้าอีโดยสาร

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 51 -

ภาพที่ 3.40 ความเสียหายของรถตู้โดยสารด้านข้างและด้านหน้า

ภาพที่ 3.41 แสดงอุปกรณ์อานวยความปลอดภัย

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 52 -

ภาพที่ 3.42 แสดงรอยประทับของยางบนผิวถนน

ภาพที่ 3.43 แสดงความเสียหายของรถยนต์กระบะต้นเหตุ

ภาพที่ 3.44 แสดงความเสียหายของห้องเครื่อง และสภาพของยางรถยนต์กระบะต้นเหตุ โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 53 -

ผลการศึกษาด้านถนน และสิ่งแวดล้อมที่เกิดเหตุ ถนนที่เกิดเหตุเป็นถนนทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพเลี่ยงเมือง) กม.ที่ 67 ขา เข้านครราชสีมา จุดกลับรถทางแยกบ้านซับหวายหมู่ที่ 14 ตาบลหนองสาหร่าย อาเภอปากช่อง จ. นครราชสีมา ตัดผ่านถนนเข้าหมู่บ้าน ลักษณะผิวทาง แอสฟัลติก , คอนกรีต เรียบ แห้ง เดินรถทาง เดียว เส้นทางตรง เป็นทางลาดชันประมาณ 1 องศา ความยาวจุดลาดชันประมาณ 1.4 กม. ความ กว้างของถนนทั้งสิ้น 44 เมตร แบ่งออกเป็น  พื้นที่เกาะกลางถนนความกว้างขนาด 15 เมตร (ลักษณะเป็นร่องน้า ปลูกต้นไม้ตลอด เส้นทาง)  ช่องทางจราจรไป 3 ช่องจราจร-กลับ 3 ช่องจราจร รวม 6 ช่องจราจร แต่ละช่องทาง กว้างขนาด 3.5 เมตร รวม 21 เมตร  ไหล่ทางด้านนอกกว้าง 2.5 เมตร รวมทั้ง 2 ด้าน 5 เมตร  ไหล่ทางด้านในกว้าง1.5 เมตร รวมทั้ง 2 ด้าน 3 เมตร  ความลาดเอียงของผิวจราจร ลักษณะลาดลงประมาณ 2-3 เปอร์เซ็นต์

ภาพที่ 3.45 แสดงสภาพถนนและสิ่งแวดล้อม

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 54 -

ภาพที่ 3.46 ป้ายเตือนด้านหน้ามีอุบัติเหตุเกิดขึ้นบ่อยครั้ง (ชาวบ้านได้ยึดเป็นที่ค้าขาย)

ภาพที่ 3.47 แสดงป้ายเตือนมีทางร่วมทางแยก

ภาพที่ 3.48 แสดงมุมมองของผู้ขับขี่ขณะขับรถข้ามถนนบริเวณดังกล่าว โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 55 -

ภาพที่ 3.49 เปรียบเทียบจุดกลับรถที่มีลักษณะคล้ายกันแต่มุมมองต่างกัน จากการสันนิษฐาน คาดว่าอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ เชื่อว่าน่าจะเกิดจากความ ประมาทของผู้ขับขี่รถกระบะ ซึ่งมีดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ในขณะขับรถ รวมถึง สภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย จึงทาให้รถที่วิ่งมาในทางตรงไม่สามารถหลบได้ทันจึงพุ่งชนอย่าง กะทันหัน ส่วนยานพาหนะไม่มีความปลอดภัยจากสภาพของรถและสีที่ไม่เด่นชัดในเวลากลางคืน

ภาพที่ 3.50 แสดงการเปรียบเทียบรถที่ติดแถบสะท้อนแสง

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 56 -

ภาพที่ 3.51 แสดงแนวทางแก้ไขบริเวณทางแยกตัดกับถนนท้องถิ่น อุบัติเหตุ รถโตโยต้าฟอร์จูนเนอร์ชนท้ายรถกระบะ ถ.มิตรภาพ หน้า รพ.ปากช่องนานา เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2553 เกิดอุบัติเหตุรถยนต์นั่งส่วนบุคคลโตโยต้าฟอจูนเนอร์ชน ท้ายกับรถกระบะ บริเวณหน้าโรงพยาบาลปากช่องนานาซึ่งจุดดังกล่าวเป็นจุดที่เกิดบ่อย จึงได้ทา การสอบสวนหาสาเหตุของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ จากการสอบสวนเบื้องต้นพบว่า รถยนต์ โตโยต้า ฟอจูนเนอร์ สีบอร์ทอง จอดอยู่ช่วง เลนส์ซ้ายสภาพด้านหน้าช่วงกันชนได้รับความเสียหายและถัดออกมาอีกไม่ไกลพบรถกระบะ MITSUBISHI ตอนเดียว สีเทาดา (รถคู่กรณี) ช่วงท้ายของรถได้รับความเสียหาย จากการ สอบสวนผู้ที่เห็นเหตุการณ์ ทราบว่า รถกระบะ ได้ขับขี่มาแล้วจอดรอสัญญาณไฟอยู่บริเวณช่อง จราจรที่ 2 แล้วได้มีรถยนต์นั่งส่วนบุคคลโตโยต้า ฟอจูเนอร์ มาชนเข้าด้านท้ายของรถกระบะ ซึ่งใน ที่เกิดเหตุไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ รถทั้ง 2 คัน เสียหายเล็กน้อย ส่งผลให้การจราจรติดขัดอยู่ ประมาณ 30 นาที จึงจะสามารถดาเนินการได้ตามปกติ สาเหตุเบื้องต้นเกิดจากระบบสัญญาณไฟ จราจรที่เปิดไม่เป็นระบบ

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 57 -

อุบัติเหตุ จยย.ชนรถเก๋ง ถ.มิตรภาพ (สายเก่า) หน้า รพ.ปากช่องนานา เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2552 มีอุบัติเหตุ รถเก๋งชนประสานงานกับรถจักรยานยนต์ 2 คัน หน้าโรงพยาบาลปากช่องนานาถนนมิตรภาพสายเก่า มีผู้บาดเจ็บในที่เกิดเหตุ 2 ราย จากการสอบสวนเบื้องต้นพบว่ามีรถเก๋งยี่ห้อ Honda CITY สีบร์อนทอง กาลังจะข้ามทาง แยกหน้าโรงพยาบาล เพื่อเลี้ยวขวาขึ้นถนน มิตรภาพ ขณะเดียวกันมีรถจักรยานยนต์ Honda Wave สีน้าเงิน และรถจักรยานยนต์ คันที่ 2 Honda Wave X สีดา วิ่งคู่กันมาด้วย ความเร็ว และเป็นชั่วโมงเร่งด่วนทาให้เฉี่ยว ชนบริเวณด้านหน้า ส่วนอีกคันชนเข้าที่ ประตูหลังคนขับ จากเหตุการณ์ครั้งนี้ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บจานวน 2 คน เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลให้ การช่วยเหลือนาผู้บาดเจ็บทั้ง 2 ราย ส่งโรงพยาบาลเพื่อดาเนินการรักษาต่อไป

ภาพที่ 3.52 จังหวะสัญญาณไฟจราจรที่ทาให้เกิดอุบัติเหตุ การชนท้ายบนถนนสายหลัก

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 58 -

ภาพที่ 3.53 การชนกันกลางสี่แยกขอรถที่ใช้ถนนสายรองเมื่อได้สัญญาณไฟเขียว ภาพแสดงจังหวะการให้สัญญาณไฟเขียว/แดง บริเวณสี่แยกวัดเขาไทรสายัณห์ของ ถนนสายหลัก (ถนนมิตรภาพ) ที่ทาให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้งในลักษณะคล้ายๆกัน ได้แก่การเฉี่ยวชน ด้านท้าย ส่วนถนนสายรองทั้งสองด้านได้สัญญาณไฟเขียวก็ทาให้เกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชนกันตรงกลาง สี่แยกเช่นกัน หมายเหตุ : สัญลักษณ์รถสีส้มเป็นรถที่ติดไฟแดง ส่วนสัญลักษณ์รถสีขาวเป็นรถที่ได้สัญญาณไฟเขียว อุบัติเหตุ รถกระบะเฉี่ยวชน จยย. ถ.มิตรภาพ กม.53 หน้าด่านกักสัตว์บันไดม้า เมื่อเวลาประมาณ 18.20 น. ของวันที่ 6 พฤศจิกายน 2552 เกิดอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์เฉี่ยวชนกับ รถชนกับรถกระบะ บริเวณทางหลวงหมายเลข 2 หน้าด่าน กักสัตว์บันไดม้า กม.ที่ 53 ขาเข้านครราชสีมาบริเวณ จุด กลับรถ มีผู้เสียชีวิต 1 ราย จากการสอบสวนเบื้องต้นพบรถจักรยานยนต์ ยามาฮ่า อาร์เอ็กแซดสีเปลือกมังคุด ถูกรถกระบะโตโยต้าสี บอร์นไม่ทราบหมายเลขทะเบียนเฉี่ยวชน แล้วหลบหนี ส่วนผู้ขับขี่ จยย.ไม่สวมหมวกนิรภัยศีรษะ โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 59 -

อุบัติเหตุ รถเก๋งเลี้ยวตัดหน้า รถ จยย. ถ.มิตรภาพ (สายเก่า) หน้าศูนย์ฮอนด้า เมื่อเวลาประมาณ 00.05 น. ของวันที่ 1 มกราคม 2553 เกิดอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ชน กับรถเก๋งบริเวณหน้าศูนย์ฮอนด้า ถนนมิตรภาพสายเก่า เลยสะพานลอยราชประชามาเล็กน้อย ก่อนถึงสี่แยกไฟแดงวัดเขาไทรสายันต์ ต.ปากช่อง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา มีผู้เสียชีวิต 1 จากการสอบสวนเบื้องต้นพบว่า รถจักรยานยนต์ Honda sonic สีแดง-ขาว ผู้ขับขี่ ชายไทย อายุ 18 ปี อาศัยอยู่ หมู่ 1 บ้านคลองตา ลอง ต.ปากช่อง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ก่อน เกิดเหตุเวลาประมาณ 23.00น. ได้เดินทางไป เที่ยวงาน Count down ปีใหม่ที่สวนสาธารณะ เขาแคน เทศบาลเมืองปากช่อง หลังเลิกงานได้ เดินทางกลับบ้าน ระหว่างทางได้ขับขี่มุ่งหน้ามา ในช่องจราจรด้านซ้ายด้วยความเร็ว ขณะเดียวกันได้มีรถเก๋ง Mitsubishi สีบอร์น มีชายไทย อายุ 24 ปี อาศัยอยู่ ม.6 ต.ลาดสวาย อ.ลาลูกกา จ.ปทุมธานี เป็นคนขับได้ขับเลี้ยวขวาเพื่อจะกลับรถบริเวณ เส้นทางจุดกลับรถคู่ขนานหน้าศูนย์ฮอนด้า ไม่ทันระวังจึงถูกรถจักรยานยนต์ชนบริเวณกระโปรง หน้ารถเก๋งเข้าอย่างจัง ทาให้รถจักรยานยนต์ล้มคว่า ส่วนผู้ขับขี่ จยย. กระเด็นข้ามรถเก๋งมาอยู่ตรง กลางถนนเสียชีวิตทันที สภาพการจราจรขณะเกิดเหตุติดขัด 1 ช่องทางเป็นเวลาประมาณ 30 นาที

ภาพที่ 3.54 ความเสียหายของรถทั้งสองคัน

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 60 -

ตาราง 3.11 แสดงข้อมูลผู้ขับขี่ คนขับรถจักรยานยนต์ ข้อมูลทั่วไป เพศชายอายุ 18 ปี สถานภาพ โสด ว่างงาน ข้อมูลด้านการขับขี่ ขับรถมา >7 ปี มีใบอนุญาต ข้อมูลด้านสุขภาพ ไม่มีโรคประจาตัว ข้อมูลผู้ขับขี่ก่อนเกิดอุบัติเหตุ • ไม่สวมหมวกกันน๊อก • สภาพอารมณ์ปกติ • ปฏิเสธการใช้ยาที่มีผล ต่อการขับขี่ ข้อมูลด้านการบาดเจ็บ รุนแรง (กระเด็นออกจากรถ)

คนขับรถเก๋ง เพศชายอายุ 24 ปี สถานภาพ โสด อาชีพธุรกิจส่วนตัว ขับรถมา >15 ปี มีใบอนุญาต ปฏิเสธโรคประจาตัว • คาดเข็มขัดนิรภัย • สภาพอารมณ์ปกติ • ปฏิเสธการใช้ยาที่มีผล ต่อการขับขี่ ไม่มีการบาดเจ็บ

ผลการสอบสวนลักษณะการเสียชีวิต มีผู้เสียชีวิต 1 รายได้รับการเคลื่อนย้ายไปโรงพยาบาลโดย อาสาสมัครมูลนิธิสว่าง วิชชาธรรมสถาน โดยลักษณะการบาดเจ็บมีบาดแผลบริเวณแขนด้านขวา และหัวเข่าทั้ง 2 ข้าง เนื่องจากแรงกระแทกจากการกระเด็นออกจากตัวรถสู่พื้นกลางถนน คอหมุนได้รอบ ซึ่งคาดการณ์ ได้ว่าผู้เสียชีวิตน่าจะขับรถมาด้วยความเร็ว และศีรษะไปกระแทกกับพื้นถนน ทาให้กระดูกต้นคอ หัก ซึ่งจากการสอบสวนการเสียชีวิตในครั้งนี้ไม่ได้สวมหมวกนิรภัย ตาราง 3.12 แสดงข้อมูลยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุ รายละเอียด จักรยานยนต์ ยี่ห้อ HONDA รุ่นปี SONIC ลักษณะการใช้งาน ทั่วไป สภาพยาง เก่า ดอกยางตื้น ความเสียหายจากอุบัติเหตุ ประมาณ 90 % ตามสภาพ อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย ไม่สวมหมวกนิรภัย+ดื่มสุรา

รถนั่งส่วนบุคคลเก๋ง MITSUBISHI LANCER เป็นรถของบริษัท ปกติ ประมาณ 30 % ตามสภาพ เข็มขัดนิรภัย ด้านหน้า+เก้าอีโดยสาร

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 61 -

ผลการสอบสวนถนนและสิ่งแวดล้อมที่เกิดเหตุ ถนนที่เกิดเหตุเป็นถนนทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพสายเก่า) จุดกลับรถก่อน ถึงไฟแดงแยกวัดเขาไทรสายัณห์ ตาบลปากช่อง อาเภอปากช่อง จ.นครราชสีมา พร้อมทั้งก่อนจุด กลับรถเป็นทางคู่ขนาน กลางคืนมีแสงไฟสว่าง ลักษณะผิวทาง แอสฟัลติก, คอนกรีต เรียบ แห้ง เดินรถสองช่องทาง เส้นทางตรง ด้านข้างมีทางคู่ขนานมีเกาะกลางถนนทั้งสองด้าน

ภาพที่ 3.55 สภาพถนนด้านซ้ายเป็นถนนคู่ขนาน ด้านขวาเป็นเส้นทางหลัก

ภาพที่ 3.56 แสดงเส้นทางที่รถเก๋งวิ่งมาในเส้นทางคู่ขนานแล้วกลับรถทางด้านขวาก่อนเกิดเหตุ

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 62 -

ภาพที่ 3.57 เส้นทางที่รถ จยย.วิ่งมาก่อนที่จะถูกรถเก๋งที่วิ่งมาในทางด้านซ้าย กลับรถตัดหน้า จากการสันนิษฐาน คาดว่าอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ เชื่อว่าน่าจะเกิดจากความ ประมาทของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ ซึ่งมีอาการทางสุราในขณะขับรถ และใช้ความเร็วเกินกว่า กาหนด จึงทาให้รถที่วิ่งมาในทางตรงไม่สามารถหลบได้ทันจึงพุ่งชนอย่างกะทันหัน อุบัติเหตุ รถกระบะนักเรียนตัดหน้ารถกระบะ ถ.มิตรภาพ กม.61 แยกวัดตะเคียนทอง เมื่อเวลาประมาณ 16.12 น. ของวันที่ 19 มกราคม 2553 ได้รับ รายงานจากศูนย์สื่อสารการแพทย์ ฉุกเฉิน รพ.ปากช่องนานา ว่าเกิด อุบัติเหตุรถกระบะชนประสานงาน กันรถรับ-ส่งนักเรียนบริเวณแยกวัด ตะเคียนทอง ต.ขนงพระ อ.ปากช่อง หลักกิโลเมตรที่ 61 ขาเข้า นครราชสีมา มีผู้บาดเจ็บจานวน หลายราย จึงได้ทาการสอบสวนหาสาเหตุของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ ร่วมกับทีมงานสืบสวน สอบสวนอุบัติเหตุการจราจร โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 63 -

ผลการสอบสวนการเกิดอุบัติเหตุ จากการสอบสวนเบื้องต้นพบว่า รถกระบะยี่ห้อ ISUZU สีน้าเงิน หมวดทะเบียน จังหวัดนครราชสีมา มีชายไทย อายุประมาณ 43 ปี พักอาศัยอยู่ ม.1 ต.บ้านลาด อ.เสิงสาง จ. นครราชสีมาเป็นคนผู้ขับขี่ ก่อนเกิดเหตุเวลา ประมาณ 16.12 น. ได้เดินทางจากจังหวัดสระบุรี เพื่อที่จะกลับบ้านที่ จ.นครราชสีมา ระหว่าง เดินทางได้ขับขี่มาในช่องการจราจรเลนส์ขวาสุด (ทางตรง) และทางเลนซ้ายมีรถบรรทุกสิบล้อ ขับเคลื่อนอยู่ และรถกระบะรับ-ส่งนักเรียน ยี่ห้อ MAZDA สีบอร์น ได้ขับขี่ออกมาจากทางแยกวัด ตะเคียนทอง โดยมองไม่เห็นรถกระบะคันดังกล่าวที่วิ่งมาในทางตรงเพราะมีรถบรรทุกสิบล้อบังอยู่ เลยชนประสานงานกัน อุบัติเหตุครั้งนี้มีบาดเจ็บจานวน 18 ราย ซึ่งทางระบบบริการการแพทย์ ฉุกเฉินจังหวัดนครราชสีมา ได้จัดอาสาสมัครหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉิน มูลนิธิสว่างวิชชาธรรม สถาน และโรงพยาบาลปากช่องนานา ออกปฏิบัติหน้าที่ พร้อมนาผู้บาดเจ็บทั้งหมดส่งโงพยาบาล ปากช่องนานา ส่งผลให้การจราจรติดขัดเป็นเวลาประมาณ 30 นาที โดยมีเจ้าหน้าที่ตารวจและ อาสาสมัครร่วมการจัดการด้านการจราจร ตาราง 3.13 แสดงข้อมูลผู้ขับขี่ คนขับรถกระบะISUZU ข้อมูลทั่วไป เพศชายอายุ 43 ปี สถานภาพ สมรส อาชีพรับจ้างทั่วไป ข้อมูลด้านการขับขี่ ขับรถมา >3-4 ปี มีใบอนุญาต ข้อมูลด้านสุขภาพ ไม่มีโรคประจาตัว ข้อมูลผู้ขับขี่ก่อนเกิดอุบัติเหตุ • คาดเข็มขัดนิรภัย • สภาพอารมณ์ปกติ • ปฏิเสธการใช้ยาที่มีผล ต่อการขับขี่ ข้อมูลด้านการบาดเจ็บ จุกแน่นบริเวณหน้าอก บาดเจ็บ เล็กน้อย

คนขับรถรับ-ส่งนักเรียน เพศชายอายุ 24 ปี สถานภาพ โสด อาชีพธุรกิจส่วนตัว ขับรถมา >15 ปี มีใบอนุญาต ปฏิเสธโรคประจาตัว • คาดเข็มขัดนิรภัย • สภาพอารมณ์ปกติ • ปฏิเสธการใช้ยาที่มีผล ต่อการขับขี่ ไม่มีการบาดเจ็บ

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 64 -

อุบัติเหตุ รถพ่วงยี่สิบสองล้อกลับรถตัดหน้ารถเก๋งชนไฟลุกไหม้ ถ.มิตรภาพ กม.42 เมื่อเวลาประมาณ 19.40 น. ของวันที่ 9 มีนาคม 2553 ได้รับรายงานจากศูนย์สื่อสาร การแพทย์ฉุกเฉิน รพ.ปากช่อง ว่าเกิดอุบัติเหตุรถพ่วง 22 ล้อชนประสานงานกับรถเก๋งบริเวณยูเทริน ก่อนถึงด่านไม่เก็บค่าธรรมเนียมกลางดง ขาเข้ากรุงเทพมหานคร มีผู้บาดเจ็บสาหัสจานวน 1 ราย ถลอกตามร่างกายอีก 1ราย จึงได้ทาการสอบสวนหาสาเหตุของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ ร่วมกับ ทีมงานสืบสวนสอบสวนอุบัติเหตุการจราจร ผลการสอบสวนการเกิดอุบัติเหตุ เมื่อเวลา 19.40 น. วันที่ 9 มีนาคม 25 53 สภ. กลางดง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา รับ แจ้งมีอุบัติเหตุรถบรรทุกพ่วง 22 ล้อ ชนประสานงานกับรถเก๋งเกิดเปลวไฟลุกไหม้ตัวรถเก๋ง บริเวณ ยูเทริน ก่อนถึงด่านไม่เก็บค่าธรรมเนียมกลางดงขาเข้า กทม. ถ.มิตรภาพ ต.กลางดง ที่เกิดเหตุพบรถ เก๋งยี่ห้อ TOYOTA YALIS กาลังถูกเพลิงลุกไหม้เกือบทั้งคัน และพบรถบรรทุก 22 ล้อ จอดอยู่ บริเวณดังกล่าว ส่วนผู้ได้รับบาดเจ็บพลเมืองดีและหน่วยกู้ชีพได้นาออกจากรถก่อนที่เพลิงจะไหม้ ส่ง รพ.ปากช่องนานา จานวน หญิง 2 ราย อาการสาหัส 1 ราย และรถบรรทุกพ่วง 18 ล้อ จอด ขวางทาง ทาให้การจราจรติดขัด โดยมีผู้ขับขี่ชายไทย อาศัยอยู่ ต.สุขเกษม อ.ปักธงชัย จ. นครราชสีมา ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่าคนขับรถบรรทุกมีปริมาณแอลกอฮอล์ มากเกินกว่า กฎหมายกาหนด และจากการสอบสวนทราบ ว่ารถบรรทุกคันดังกล่าวกาลังจะกลับรถ บริเวณจุดกลับโดยไม่ทันระวังทาให้รถเก๋งที่ วิ่งมาเพื่อมุ่งหน้าเข้ากทม. ชนประสานกัน อย่างจังส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บสาหัส เป็น หญิงไทย อายุ 61 ปี อาศัยอยู่แขวงสีกัน เขต ดอนเมือง มีอาการหมดสติ และศีรษะเป็น แผลฉีกขาด เสียเลือดมาก และเสียชีวิตที่ รพ. จากการสอบสวนหญิงไทย อายุ 29 ปี ผู้ขับขี่รถเก๋ง TOYOTA YALIS เป็นลูกสาวของผู้เสียชีวิตให้การว่า ตนเองต้องการขับรถเพื่อมุ่งหน้าเข้าจังหวัด กรุงเทพฯ พอมาถึงที่เกิดเหตุได้มีรถพ่วง 22 ล้อคันดังกล่าวต้องการกลับรถอย่างกะทันหัน ทาให้รถ ของตนเองไม่สามารถหยุดรถได้ทัน จึงพุ่งชนบริเวณรอยต่อของรถพ่วงและทาให้เกิดไฟลุกไหม้ เกือบทั้งคันแต่งยังโชคดี ที่มีพลเมืองดีและหน่วยงานดังกล่าวเข้ามาช่วยเหลือ

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 65 -

ตาราง 3.14 แสดงข้อมูลผู้ขับขี่ รถพ่วง22 ล้อ ข้อมูลทั่วไป เพศชายอายุ 31 ปี สถานภาพ สมรส รับจ้างทั่วไป ข้อมูลด้านการขับขี่ ขับรถมา >10 ปี มีใบอนุญาต ข้อมูลด้านสุขภาพ ไม่มีโรคประจาตัว ข้อมูลผู้ขับขี่ก่อนเกิดอุบัติเหตุ • ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย • สภาพอารมณ์ปกติ • ปฏิเสธการใช้ยาที่มีผล ต่อการขับขี่ • ดื่มสุราก่อนขับขี่รถ ข้อมูลด้านการบาดเจ็บ ไม่มีการบาดเจ็บ

รถเก๋ง เพศหญิงอายุ 29 ปี สถานภาพ โสด ข้าราชการ ขับรถมา >4 ปี มีใบอนุญาต ไม่มีโรคประจาตัว • คาดเข็มขัดนิรภัย • สภาพอารมณ์ปกติ • ปฏิเสธการใช้ยาที่มีผล ต่อการขับขี่ • ไม่ดื่มสุรา บาดเจ็บเล็กน้อย

ผลการสอบสวนลักษณะการบาดเจ็บ/เสียชีวิต จากเหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต จานวน 1ราย มีอาการหมดสติ และศีรษะ เป็นแผลฉีกขาดหน้าอกยุบเนื่องจากแรงกระแทกและบาดแผลต่างๆตามร่างกาย อีกราย บาดแผล ถลอกบริเวณหัวเข่า และตามร่างกาย รู้สึกตัวดี ตาราง 3.15 แสดงข้อมูลยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุ รถพ่วง 22 ล้อ รุ่นปี MEGA FM TRACTOR ลักษณะการใช้งาน รับจ้างบรรทุกปูนขาว สภาพยาง ปกติ การครอบครองรถ รถของบริษัท

เก๋ง TOYOTA YALIS รถยนต์ส่วนบุคคล ปกติ รถนั่งส่วนบุคคล

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 66 -

ภาพที่ 3.58 แสดงความเสียหายล้อหลังของหัวลากพ่วง และความเสียหายของรถเก๋ง ผลการศึกษาด้านถนน และสิ่งแวดล้อมที่เกิดเหตุ ถนนบริเวณที่เกิดเหตุเป็นถนนทางหลวงหมายเลข 2 กม. 42-43 ขาเข้ากทม. • ช่องทางจราจรไป 3 ช่องจราจร แต่ละช่องทางกว้างขนาด 3.5 เมตร • ไหล่ทางด้านนอกกว้าง 2.5 เมตร • ไหล่ทางด้านในกว้าง 1.5 เมตร

ภาพที่ 3.59 แสดงสภาพถนนและสิ่งแวดล้อมที่เกิดเหตุ

ภาพที่ 3.60 บริเวณที่เกิดเหตุจะมีรถบรรทุกหนัก/รถพ่วง กลับรถเป็นประจา โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 67 -

จากการสันนิษฐาน คาดว่าอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ เชื่อว่าน่าจะเกิดจากความ ประมาทของผู้ขับขี่รถพ่วงที่ขับรถประมาทกลับรถในระยะกระชั้นชิด และประกอบกับมีอาการมึน เมาเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ในปริมาณที่มากจึงไม่สามารถควบคุมตนเองให้อยู่ใน ภาวะที่พร้อมจะขับขี่รถได้อย่างปลอดภัย จึงทาให้รถเก๋งที่วิ่งมาในทางตรงไม่สามารถหยุดรถได้ทัน ชนเข้าที่ช่วงท้ายหัวลากเกิดไฟลุกไหม้ทั้งคัน อุบัติเหตุ รถบรรทุกสิบล้อชนรถ จยย. ถ.มิตรภาพ กม.62 หน้าปั้ม ปตท. เมื่อเวลาประมาณ 15.46 น. ของวันที่ 13 เมษายน 2553 เกิดอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ชน ท้ายรถบรรทุก 10 ล้อ บริเวณปั้มน้ามัน ปตท. ขาเข้ากรุงเทพมหานคร มีผู้เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ จานวน 2 ราย บาดเจ็บสาหัสอีก 2 ราย จากการสอบสวนเบื้องต้น ที่เกิดเหตุ ถ. มิตรภาพ เลี่ยงเมือง กม. 62+200 ม.10 บ้าน ตะเคียนทอง ต.ขนงพระ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา พบรถยนต์จักรยานยนต์ยี่ห้อ HONDA รุ่น Wave Z สีแดง ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน ผู้ขับขี่ชาย ชาวพม่า อายุ 19 ปี อาศัยอยู่หมู่ 9 ต.กลางดง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา พร้อมเพื่อนชายชาวพม่าอีก 3 คน ได้ตะเวนขี่รถเที่ยวเล่นน้าในวันสงกรานต์ ขณะ เดินทางกลับเมื่อพอมาถึงที่เกิดเหตุ ได้เร่งความเร็วแซงซ้ายรถบรรทุกนมบีทาเก้น ซึ่งระหว่างจะ เลี้ยวซ้ายเข้าปั้มน้ามันพอดี ทาให้รถ จยย. พุ่งเข้าไปใต้ท้องรถและถูกรถทับเสียชีวิตทันที 2 ราย และ บาดเจ็บสาหัสอีกจานวน 2 ราย เจ้าหน้าที่ต่างๆเร่งให้การช่วยเหลือผู้บาดเจ็บส่ง รพ.ปากช่องนานา

ภาพที่ 3.61 แผนที่เกิดอุบัติเหตุ โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 68 -

ภาพที่ 3.62 ผู้เสียชีวิต ในที่เกิดเหตุถูกล้อรถเหยียบที่ลาตัวและศีรษะ ตาราง 3.16 แสดงข้อมูลยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุ WAVE Z ลักษณะการใช้งาน ทั่วไป สภาพยาง ปกติ การครอบครองรถ ความเสียหายจากอุบัติเหตุ ประมาณ 80% ตามสภาพ อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย ไม่สวมหมวกนิรภัย

รถบรรทุก ส่งของให้กับบริษัท ปกติ บริษัท ประมาณ10% ตามสภาพ มีอุปกรณ์ครบ

จากการสันนิษฐาน คาดว่าอุบัติเหตุ ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ เชื่อว่าน่าจะเกิดจากความ ประมาทของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ ที่ขับรถมา ด้วยความเร็วสูงและไม่เคารพกฎจราจรโดยการ แซงซ้ายจนทาให้เกิดอุบัติเหตุเสียหลักจนโดน รถบรรทุกคันดังกล่าวทับจนเสียชีวิตทั้ง 2 ราย

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 69 -

อุบัติเหตุ จยย. ตัดหน้ารถกระบะ ถ.มิตรภาพ กม.61 แยกวัดตะเคียนทอง เมื่อเวลาประมาณ 16.45 น. ของวันที่ 7 มิถุนายน 2553 เกิดอุบัติเหตุรถกระบะชน รถจักรยานยนต์บริเวณแยกวัดตะเคียน ต.ขนงพระ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา มีผู้ได้รับบาดเจ็บ ทั้งหมด 4 ราย อาการสาหัสจานวน 2 ราย ที่เกิดเหตุดังกล่าวเป็นจุดที่เกิดบ่อย ที่เกิดเหตุ พบรถ ISUZU D-MAX สีบอร์น จอดอยู่ในบริเวณดังกล่าวและถัดออกมาพบรถจักรยานยนต์ HONDA WAVE สีบอร์น จากการสอบสวนทราบว่า รถกระบะได้วิ่งมาเพื่อมุ่งหน้าที่จะเข้ากรุงเทพมหานคร เมื่อ มาถึงที่เกิดเหตุ มีรถจักรยานยนต์ ต้องการข้ามแยกเพื่อข้ามมาอีกฝั่งหนึ่ง แต่ไม่ทันระวังรถที่วิ่งสวน มา จึงทาให้เกิดตัดหน้าและชนประสานงานกันอย่างแรง เหตุการณ์ครั้งนี้ส่งผลให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ จานวน 4 ราย อาการสาหัส 2 ราย เจ้าหน้าที่มูลนิธิสว่างวิชชาและเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลปากช่อง นานา เร่งให้การช่วยเหลือนาตัวผู้บาดเจ็บทั้งหมด ส่งโรงพยาบาลปากช่องนานา เพื่อรักษาตัวต่อไป ก่อนที่จะส่งผู้บาดเจ็บรักษาตัวต่อที่โรงพยาบาลมหาราช จังหวัดนคราชสีมา

ภาพที่ 3.63 แยกวัดตะเคียนทอง จะมีประชาชนใช้เส้นทางดังกล่าวและมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นบ่อยครั้ง

ภาพที่ 3.64 ทีมสอบสวนที่เกิดเหตุลงพื้นที่เก็บข้อมูล

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 70 -

ตาราง 3.17 แสดงข้อมูลผู้ขับขี่ ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลด้านการขับขี่ ข้อมูลด้านสุขภาพ ข้อมูลผู้ขับขี่ก่อนเกิดอุบัติเหตุ ข้อมูลด้านการบาดเจ็บ

คนขับรถจักรยานยนต์ เพศชายอายุ 15 ปี อาชีพ นักเรียน ขับขี่มาประมาณ 4 ปี ไม่มีใบอนุญาตขับขี่ ปฏิเสธโรคประจาตัว -สภาพร่างกายปกติ -ปฏิเสธการดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ บาดแผลฉีกขาดบริเวณศีรษะ

ผลการสอบสวนลักษณะการบาดเจ็บ ผู้ได้รับบาดเจ็บจานวน 1 คนได้รับการเคลื่อนย้ายไปโรงพยาบาลโดยหน่วยกู้ชีพขั้นสูง ของ รพ.ปากช่องนานา จานวนหนึ่ง และผู้บาดเจ็บเล็กน้อย อาสาสมัครมูลนิธิสว่างวิชชาธรรม สถานได้นาส่ง รพ. ตาราง 3.18 แสดงข้อมูลยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุ จักรยานยนต์ ลักษณะการใช้งาน ทั่วไป สภาพยาง ปกติ การครอบครองรถ ส่วนตัว ความเสียหายจากอุบัติเหตุ ประมาณ70 % ตามสภาพ อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย ไม่สวมหมวกนิรภัย

กระบะ ทั่วไป ปกติ ส่วนตัว ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ตามสภาพ เข็มขัดนิรภัย

ภาพที่ 3.65 จุดเกิดเหตุ และภาพความเสียหายของรถกระบะ โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 71 -

ผลการศึกษาด้านถนน และสิ่งแวดล้อมที่เกิดเหตุ ถนนที่เกิดเหตุทางหลวงหมายเลข 2 (ถนน มิตรภาพเลี่ยงเมือง) กม.ที่ 6 1 ขาเข้ากรุงเทพมหานครฯ เป็น ทางแยกเข้าหมู่บ้านตะเคียนทอง ต.ขนงพระ อ.ปากช่อง จ. นครราชสีมา และเป็นจุดกลับรถ ลักษณะผิวทาง แอสฟัลติก , คอนกรีต เรียบ แห้ง เดินรถทางเดียว เส้นทางตรง ความ กว้างของผิวถนนทั้งสิ้น 44 เมตร แบ่งออกเป็น  พื้นที่เกาะกลางถนนความกว้างขนาด 15 เมตร (ลักษณะเป็นร่องน้า ปลูกต้นไม้ ตลอดเส้นทาง)  ช่องทางจราจรไป 3 ช่องจราจร-กลับ 3 ช่องจราจร รวม 6 ช่องจราจร แต่ละ ช่องทางกว้างขนาด 3.5 เมตร  ไหล่ทางด้านนอกกว้าง 2.5 เมตร  ไหล่ทางด้านในกว้าง1.5 เมตร

ภาพที่ 3.66 แสดงสภาพถนนและสิ่งแวดล้อม

ภาพที่ 3.67 แสดงปกติจะมีรถขนาดใหญ่และชาวบ้านกลับรถและผ่านแยกนี้บ่อยครั้ง โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 72 -

ภาพที่ 3.68 กระบะเฉี่ยวชนกันและตกถนนชนกับต้นไม้ จุดเดียวกัน (17 เม.ย.53) จากการสันนิษฐาน คาดว่าอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ น่าจะเกิดจากความประมาทของ ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ข้ามทางอย่างไม่ทันระวังเลยทาให้ตัดหน้ารถกระบะที่วิ่งมาเพื่อมุ่งหน้าที่จะ เข้ากรุงเทพมหานคร จนทาให้เกิดการชนประสานงานเข้าอย่างจัง

อุบัติเหตุจราจรกลุ่มที่ 4 (อุบัติเหตุชนท้าย) อุบัติเหตุ รถพ่วง 18 ล้อชนท้ายรถทัวร์ ถ.มิตรภาพ กม.36 มอทางหลวงกลางดง เมื่อเวลาประมาณ 16.30 น. ของวันที่ 6 มกราคม 2553 ได้รับรายงานจากศูนย์สื่อสาร การแพทย์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลปากช่อง ว่าเกิดอุบัติเหตุรถพ่วง 18 ล้อชนท้ายรถทัวร์ปรับอากาศชั้น 1 บาดเจ็บจานวน 20 ราย ผู้ขับขี่รถพ่วงได้ทาการหลบหนี จึงได้ทาการสอบสวนหาสาเหตุของ อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ ร่วมกับทีมงานสืบสวนสอบสวนอุบัติเหตุการจราจร ผลการสอบสวนการเกิดอุบัติเหตุ จากการสอบสวนเบื้องต้นพบว่า ในที่เกิดเหตุพบรถทัวร์ปรับอากาศชั้น 1 ตกอยู่บริเวณ ร่องกลางถนนหลักกิโลเมตรที่ 36-37 ทางลาดลงเนินทางหลวงกลางดง ต.พญาเย็น อ.ปากช่อง จ. นครราชสีมา ผู้ขับขี่ชายไทย อายุ 33 ปี บ้านเลขที่56 ม.4 ต.บ้านเดื่อ อ.เกษตรสมบูรณ์จ.ชัยภูมิ เป็นผู้ ขับขี่รถทัวร์คันดังกล่าว และจากการสอบสวนทราบว่าผู้ขับขี่รถทัวร์ได้มองเห็นว่ามีรถพ่วงได้ขี่ ตามมาข้างหลังและมีอาการส่ายไปส่ายมาเต็มถนนจนพุ่งชนท้ายรถทัวร์ทาให้ผู้ขับขี่รถทัวร์ไม่ สามารถบังคับทิศทางของรถได้จนทาให้รถไปตกอยู่บริเวณร่องกลางถนน และผู้ขับขี่รถพ่วงได้ หลบหนีจากที่เกิดเหตุ โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 73 -

อุบัติเหตุครั้งนี้มีผู้บาดเจ็บจานวน20 ราย เป็นชายจานวน 7 ราย หญิง 13 ราย นาส่งรพ. ปากช่องนานา 1 ราย และอีก 1 รายรักษาตัวอยู่ที่รพ.มวกเหล็ก นอกนั้นอาการไม่สาหัสตรวจรักษา เสร็จแล้วกลับบ้าน โดยทางระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดนครราชสีมา ได้จัดอาสาสมัครหน่วย บริการการแพทย์ฉุกเฉิน มูลนิธิสว่างวิชชาธรรมสถาน หน่วยกู้ชีพเทศบาลตาบลกลางดง หน่วยกู้ ชีพเทศบาลตาบลสีมามงคล หน่วยกู้ชีพสว่างวิชชาสระบุรี รพ.ปากช่องนานา รพ.มวกเหล็ก ออก ตรวจสอบ พร้อมนาผู้บาดเจ็บทั้งหมดส่งรพ.มวกเหล็ก จ.สระบุรีและรพ.ปากช่องนานา สาเหตุที่ เกิดขึ้นในครั้งนี้เนื่องจากมีฝนตกลงมาทาให้ถนนลื่นและจุดดังกล่าวเป็นจุดทางลงเขามอทางหลวง กลางดงซึ่งเป็นจุดที่อุบัติเหตุบ่อยครั้งและเป็นจุดเดียวกับการเกิดอุบัติเหตุ 17 ศพ เมื่อต้นปีที่ผ่านมา (27 มี.ค.52)

ภาพที่ 3.69 แสดงแผนที่การเกิดอุบัติเหตุ

ภาพที่ 3.70 ข่าวจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 74 -

ภาพที่ 3.71 ความเสียหายของรถทัวร์สายกรุงเทพ-ชัยภูมิ และด้านหน้าของรถพ่วง จากการสอบสวนอุบัติเหตุครั้งนี้มีผู้บาดเจ็บประมาณ 20 ราย รักษาตัวที่รพ.มวกเหล็ก จานวน 19 ราย รักษาตัวที่รพ.ปากช่องนานา 1 ราย ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนี้มีหน่วยงานที่ร่วมปฏิบัติงาน ให้การช่วย เหลือผู้บาดเจ็บเทศบาลตาบลสีมามงคล เทศบาลตาบลกลางดง รพ.มวกเหล็ก รพ. ปาก ช่องนานา กู้ภัยสว่างวิชชา ผู้ได้รับบาดเจ็บส่วนใหญ่มีแผลถลอกตามร่างกาย ตาราง 3.19 แสดงข้อมูลยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุ รถพ่วง18 ล้อ เลขทะเบียน ISUZU EXZ 320 สีขาว จดทะเบียนเมื่อ 17 มิ.ย.52 ลักษณะการใช้งาน บรรทุกปูนโรงปูนตราช้าง สภาพยาง ปกติ การครอบครองรถ ซื้อต่อมา ความเสียหายจาก กระจกด้านหน้าและตัวเครื่องส่วนหน้า อุบัติเหตุ

รถทัวร์ ISUZU 6 ล้อ 25 ส.ค.39 รับส่งผู้โดยสาร ปกติ บ.แอร์ชัยภูมิ ท้ายรถและด้านข้างของรถ

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 75 -

ภาพที่ 3.72 ความเสียหายของรถรถทัวร์กรุงเทพ-ชัยภูมิ ผลการสอบสวนถนนและสิ่งแวดล้อมที่เกิดเหตุ เป็นทางหลวงแผ่นดิน มอทางหลวงกลางดง บริเวณหลักกิโลเมตรที่36-37 เดินรถทาง เดียว 3 ช่องทางจราจร แต่ละช่องทางกว้างขนาด 3.5 เมตร รวม 21 เมตร ไหล่ทางด้านนอกกว้าง 2.5 เมตร รวมทั้ง 2 ด้าน 5 เมตร ความลาดเอียง 6% ที่ความยาวประมาณ 3 กม. มีป้ายเตือนอุบัติเหตุ ป้าย จากัดความเร็ว ก่อนถึงทางลาดลงเนินเขา

ภาพที่ 3.73 ป้ายเตือนอุบัติเหตุ และป้ายจากัดความเร็วก่อนลงเนินเขา

ภาพที่ 3.74 สภาพถนนและสิ่งแวดล้อมวันเกิดเหตุ โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 76 -

ภาพที่ 3.75 จุดการลื่นไถลของรถทัวร์ และเบาะนั่งโดยสารหลุดจากตัวรถ จากการสันนิษฐาน ผู้ขับรถพ่วงลงเนินมาด้วยความเร็วคนขับไม่สามารถควบคุมรถได้ เนื่องจากมีฝนตก ทาให้ผิวถนนลื่นรถส่ายไปส่ายมาบนถนน ก่อจะชนเข้าที่ท้ายรถทัวร์ส่งผลให้มี ผู้บาดเจ็บดังกล่าว อุบัติเหตุ รถเก๋งชนท้ายรถ 10 ล้อ ถ.มิตรภาพ กม.61 หน้าบริษัทวิริยะประกันภัย เมื่อเวลาประมาณ 16 .00 น. ของวันที่ 16 มีนาคม 2553 รับแจ้งจาก สภ.ปากช่อง ว่ามี อุบัติเหตุ รถเก๋งชนท้ายรถสิบล้อ บริเวณหน้าบริษัทวิริยะประกันภัย ขาเข้านครราชสีมา จึงรีบเข้าไป ตรวจสอบที่เกิดเหตุ พบรถเก๋ง ยี่ห้อ เชพโรเลต สีเลือดหมู ชนท้ายสิบล้อ ยี่ห้อ MITSUBISHI สภาพ รถเก๋งในที่เกิดเหตุด้านหน้าของรถพังยับ และจากการตรวจสอบในที่เกิดเหตุ พบศพผู้เสียชีวิตเป็น ชาย 1 ราย เป็นชายไทย อายุ 50 ปี อาศัยอยู่ ต. เมืองเก่า อ.เมืองขอนแก่น จ. ขอนแก่น ส่วนผู้บาดเจ็บ 3 รายอากาสาหัส เป็นหญิงไทย 1 ราย และชายไทย 2 ราย เจ้าหน้าที่ได้ให้การช่วยเหลือนาส่ง โรงพยาบาลปากช่องนานา และส่งโรงพยาบาลมหาราชจังหวัดนครราชสีมา เพื่อรักษาตัวต่อไป จากการสอบสวนเบื้องต้น ทราบว่า รถเก๋งคันดังกล่าว ได้วิ่งมาจากจังหวัดขอนแก่น ด้วยความเร็วเพื่อมุ่งหน้าเข้าจังหวัดกรุงเทพมหานคร เมื่อมาถึงในที่เกิดเหตุ ไม่เห็นรถบรรทุกหกล้อ ที่จอดอยู่บริเวณไหล่ทางด้านซ้าย จึงทาให้เกิดการชนท้ายประสานงานส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตทันทีใน ที่เกิดเหตุ 1 ราย และบาดเจ็บสาหัสอีก 3 ราย

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 77 -

ตาราง 3.20 แสดงข้อมูลผู้ขับขี่ หมายเลขทะเบียน จดทะเบียนเมื่อ/หมดอายุ ลักษณะการใช้งาน สภาพยาง ความเสียหายจากอุบัติเหตุ อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย

รถเก๋ง เชพโรเลต สีเลือดหมู จ.ขอนแก่น ใช้งานปกติ ปกติ ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ เข็มขัดนิรภัย

รถบรรทุก 10 ล้อ รถพ่วง 10 ล้อ Mitsubishi จ.ชลบุรี หมดอายุ 31 มีนาคม 2553 ส่งของ ปกติ ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ เข็มขัดนิรภัย

ภาพที่ 3.76 รถเก๋งทีได้รับความเสียหายด้านหน้าถึงห้องโดยสาร และด้านท้ายรถบรรทุกสิบล้อ ตาราง 3.21 แสดงข้อมูลยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุ รถเก๋ง ข้อมูลด้านสุขภาพ ไม่มีโรคประจาตัว ข้อมูลผู้ขับขี่ก่อนเกิดอุบัติเหตุ -สภาพอารมณ์ปกติ -ปฏิเสธการใช้ยาที่มีผลต่อการ ขับขี่ -ไม่มีการดื่มเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ ข้อมูลด้านการบาดเจ็บ บาดเจ็บสาหัส

รถบรรทุก 10 ล้อ ไม่มีโรคประจาตัว -สภาพอารมณ์ปกติ -ปฏิเสธการใช้ยาที่มีผลต่อการ ขับขี่ -ไม่มีการดื่มเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ ไม่มีบาดแผล

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 78 -

ภาพที่ 3.77 สถานที่เกิดเหตุ ถ.มิตรภาพเลี่ยงเมือง กม.60-61 ขาเข้า กทม.

ภาพที่ 3.78 ถนนที่เกิดเหตุบริเวณไหล่ทางด้านซ้าย อุบัติเหตุ รถทัวร์ชนท้ายรถเทรลเลอร์หน้า ปตท. กลางดง เมื่อเวลาประมาณ 15.15 น. ของวันที่ 20 มีนาคม 2553 เกิดอุบัติเหตุรถทัวร์ชนท้ายประสานงานกับ รถพ่วง 22 ล้อ บริเวณปั้ม ปตท. ต.กลางดง อ.ปากช่อง จ. นครราชสีมา ขาเข้า กรุงเทพมหานคร มีผู้บาดเจ็บจานวน หลายราย ติดภายใน 1 ราย จากการสอบสวนเบื้องต้นพบว่า ที่เกิดเหตุ บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 40-41 ถ.มิตรภาพหน้าปั้มน้ามัน ปตท. ขาเข้า กทม. รถทัวร์ปรับอากาศชั้น 2 ยี่ห้อ ISUZU นาผู้โดยสารจากจังหวัดชัยภูมิ เพื่อไปส่ง ยังที่หมายกรุงเทพมหานคร พอมาถึงที่เกิดเหตุประกอบกับ มีฝนตกถนนลื่นและมีรถชะลอตัวใน

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 79 -

ช่องทางที่ 2-3 จึงเบรคเพื่อชะลอรถแต่ระยะหยุดไม่เพียงพอจึงต้องหักเข้าช่องทางด้านซ้าย แต่โชค ร้ายเจอรถบรรทุกพ่วงเทรลเลอร์ ยี่ห้อ HINO สีขาว จอดเสียอยู่จึงชนท้ายเข้าอย่างแรง ทาให้ผู้ขับขี่ รถทัวร์ชายไทย อายุ 31 ปี ถูกอัดติดอยู่ที่คอนโซลด้านหน้ารถ หน่วยกู้ชีพ รพ.ปากช่องนานา เร่งให้ การปฐมพยาบาลเบื้องต้นโดยการให้น้าเกลือและออกซิเจนขณะนาตัวออกเพราะผู้บาดเจ็บเสียเลือด มาก และต้องใช้เวลานานกว่า 1ชั่วโมงจึงจะสามารถนาตัวออกมาได้และส่งโรงพยาบาลเพื่อรักษา ตัวต่อไป ซึ่ง อุบัติเหตุครั้งนี้มีส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บจานวน 16 ราย ชาย 4 ราย หญิง 12 ราย รักษาตัว ที่รพ.มวกเหล็ก

ภาพที่ 3.79 เจ้าหน้าที่เร่งช่วยเหลือคนขับที่ติดอยู่กับคอนโซลรถ ตาราง 3.22 แสดงข้อมูลยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุ รถทัวร์ หมายเลขทะเบียน รถทัวร์ปรับอากาศชั้น 2 กรุงเทพฯ-ชัยภูมิ ลักษณะการใช้งาน รับ-ส่งผู้โดยสาร สภาพยาง ปกติ การครอบครองรถ บริษัท ความเสียหายจากอุบัติเหตุ ด้านหน้าพังประมาณ 40 % อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย เข็มขัดนิรภัย

รถบรรทุกเทรลเลอร์ รถพ่วง 22 ล้อ HINO สีขาว ส่งสินค้า ปกติ บริษัท ส่วนท้ายเล็กน้อยประมาณ 20 % เข็มขัดนิรภัย

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 80 -

ผลการสอบสวนลักษณะการบาดเจ็บ จากเหตุการณ์ในครั้งนี้มีผู้บาดเจ็บจานวน 16 ราย ส่วนใหญ่บาดเจ็บเล็กน้อย ถลอก ตามร่างกาย ส่วนผู้บาดเจ็บสาหัส มีจานวน 4 ราย ส่งรักษาตัวต่อที่รพ.สระบุรี จานวน 3 ราย และ รพ.มหาราชนครราชสีมา 1 ราย ตาราง 3.23 แสดงข้อมูลผู้ขับขี่ รถทัวร์ รถบรรทุกเทรลเลอร์ ข้อมูลทั่วไป เพศชาย อายุ 31 ปี อาชีพ เพศชายอายุ 53 ปี สถานภาพ ทางานบริษัท สมรส รับจ้างทั่วไป ข้อมูลด้านการขับขี่ ขับรถมา >15 ปี มีใบอนุญาต ขับรถมา >10 ปี มีใบอนุญาต ข้อมูลด้านสุขภาพ ปฏิเสธโรคประจาตัว ปฏิเสธโรคประจาตัว ข้อมูลผู้ขับขี่ก่อนเกิดอุบัติเหตุ  ปฏิเสธเครื่องดื่มที่มีผลต่อ  ปฏิเสธเครื่องดื่นที่มีผลต่อ การขับขี่ การขับขี่  สภาพอารมณ์ปกติ  สภาพอารมณ์ปกติ ข้อมูลด้านการบาดเจ็บ บาดเจ็บสาหัส ไม่มีการบาดเจ็บ จากการสันนิษฐาน คาดว่าอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ เชื่อว่าน่าจะเกิดจากความ ประมาทของผู้ขับขี่รถทัวร์และสภาพอากาศที่มีฝนตกลงมาส่งผลทาให้ถนนลื่นและประกอบกับ ช่วงเบรกแล้วเสียหลักไม่สามารถควบคุมทิศทางของรถได้จึงทาให้ชนท้ายเข้ากับรถบรรทุก อุบัติเหตุ รถทัวร์ชนท้ายรถพ่วง ถ.มิตรภาพ กม.85+800 มอคลองไผ่ เมื่อเวลาประมาณ 03.00 น. ของวันที่ 4 มิถุนายน 2553 ได้รับรายงานจากศูนย์สื่อสาร การแพทย์ฉุกเฉิน รพ.ปากช่อง ว่าเกิดอุบัติเหตุรถรถพ่วง 18 ล้อชนท้ายกับรถพ่วงและมีเหตุซ้าซ้อน รถทัวร์มาชนท้ายประสานงานอีกจานวน 1 คัน รวมเป็น3 คัน ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจานวน 2 ราย และบาดเจ็บอีกจานวน มาก จึงรีบรุดไปในที่เกิดเหตุเพื่อสอบสวนหาสาเหตุที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ต่อไป ผลการสอบสวนการเกิดอุบัติเหตุ เมื่อวันที่ 3 มิ.ย.53 เวลาประมาณ 23.00 น. ผู้ขับขี่รถยนต์บรรทุกพ่วง (Car No.01) ไว้ ในช่องทางเดินรถที่ 1 เนื่องจากระบบครัชขัดข้องทาให้ไม่สามารถขับต่อได้ ต่อมาเวลาประมาณ 03.00 น. ของวันที่ 4 มิ.ย.2553 ผู้ขับขี่รถยนต์พ่วง (Car No.02) ขับรถมาตามถนนในช่องทางที่ 1 โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 81 -

และได้เกิดชนท้ายรถยนต์คัน (Car No.01) ได้รับความเสียหายหน่วยกู้ภัยฯ ได้มาให้การช่วยเหลือ ในที่เกิดเหตุแต่ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ ต่อมาเวลาประมาณ 03.40 น. ของวันเดียวกัน รถยนต์โดยสาร ปรับอากาศชั้น 1 สาย กทม-นครพนม (Car No.03) นาผู้โดยสาร เข้า กทม พุ่งชนท้ายรถคันที่ (Car No.02) เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตในที่เกิดเหตุจานวน 2 ราย และได้รับบาดเจ็บอีกจานวน 25 ราย ทรัพย์สินเสียหาย เจ้าหน้าที่จากหน่วยต่างๆ กู้ชีพ / กู้ภัย ในพื้นที่ อ.ปากช่อง และ อ.สีคิ้ว เร่งให้การ ช่วยเหลือและเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บ / ผู้เสียชีวิตส่ง รพ.ปากช่องนานา

ภาพที่ 3.80 แสดงแผนที่การเกิดอุบัติเหตุ

ภาพที่ 3.81 แสดงการชนระหว่างรถคันที่ 1 และคันที่ 2

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 82 -

ภาพที่ 3.82 รถคันที่ 3 (รถทัวร์) หลบไม่พ้นชนท้ายของรถบรรทุกคันที่ 2

ภาพที่ 3.83 ความเสียหายด้านหน้าของรถคันที่ 3 (รถทัวร์) ตาราง 3.24 ข้อมูลผู้ขับขี่ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุคันที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลด้านการขับขี่ วันอนุญาต/หมดอายุ ข้อมูลผู้ขับขี่ก่อนเกิดอุบัติเหตุ ข้อมูลด้านสุขภาพ

คนขับรถพ่วง เพศชาย อายุ 37 ปี สมรส อาชีพรับจ้างทั่วไป มีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ ชนิดที่ 3 (ทุกประเภท) 25 ม.ค.53 / 24 ม.ค.56 ปฏิเสธดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ปกติ ปฏิเสธการใช้ยาที่มีผลต่อการขับขี่

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 83 -

ตาราง 3.25 ข้อมูลผู้ขับขี่ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุคันที่ 2 ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลด้านการขับขี่ ข้อมูลผู้ขับขี่ก่อนเกิดอุบัติเหตุ ข้อมูลด้านสุขภาพ การบริโภค ข้อมูลการเดินทาง

คนขับรถพ่วง เพศชาย อายุ 53 ปี สมรส อาชีพรับจ้างทั่วไป มีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ ปฏิเสธดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ปกติ ปฏิเสธการใช้ยาที่มีผลต่อการขับขี่ กลับจากส่งสินค้าที่ นครเวียงจันทน์ – กทม.

ตาราง 3.26 ข้อมูลผู้ขับขี่ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุคันที่ 3 ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลด้านการขับขี่ วันอนุญาต/หมดอายุ ข้อมูลผู้ขับขี่ก่อนเกิดอุบัติเหตุ ข้อมูลด้านสุขภาพ การบริโภค ข้อมูลการเดินทาง

คนขับรถพ่วง เพศชาย อายุ 26 ปี สมรส อาชีพรับจ้างทั่วไป มีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ ชนิดที่ 2 (ทุกประเภท) 29 ม.ค.51 / 28 ม.ค.54 ปฏิเสธดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ปกติ ปฏิเสธการใช้ยาที่มีผลต่อการขับขี่ ออกจาก จ.นครพนม-มุ่งหน้า กทม. เพื่อส่งผู้โดยสาร

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 84 -

ภาพที่ 3.84 แสดงตาแหน่งที่ได้รับบาดเจ็บ รายที่1 หญิงไทย อายุ 37 ปี นั่งมากับรถยนต์โดยสารปรับอากาศ กรุงเทพฯ-นครพนม เบาะหลังแถวที่ 2 ได้รับแรงกระแทกอย่างแรงทาให้ศีรษะและหน้าอกได้รับผลกระทบอย่างแรง ทา ให้ผู้ตายเสียชีวิตคาที่ รายที่ 2 หญิงไทย อายุ 3 ปี นั่งมากับรถยนต์โดยสารปรับอากาศ กรุงเทพฯ-นครพนม ในเบาะหลังแถวที่ 2 คู่กับผู้เสียชีวิตรายที่ 1 สาเหตุเสียชีวิตเกิดจากแรงกระแทกของรถที่มาด้วย ความเร็วสูงเสียชีวิตในที่เกิดเหตุ ตาราง 3.27 ข้อมูลยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุคันที่ 1 จดทะเบียนเมื่อ/หมดอายุ ลักษณะการใช้งาน สภาพยาง การครอบครองรถ อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย ความเสียหายจากอุบัติเหตุ

Hino 2 ส.ค.46 / 30 มิ.ย.54 (7ปี ณ วันเกิดเหตุ) บรรทุกสินค้า ปกติ บริษัท ประมาณ 40 % ตามสภาพ

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 85 -

ตาราง 3.28 ข้อมูลยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุคันที่ 2 จดทะเบียนเมื่อ/หมดอายุ ลักษณะการใช้งาน สภาพยาง การครอบครองรถ อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย ความเสียหายจากอุบัติเหตุ

Hino 25 มิ.ย.49 / 31 ธ.ค.53 (4ปี ณ วันเกิดเหตุ) บรรทุกสินค้า ปกติ บริษัท ประมาณ 70 % ตามสภาพ

ภาพที่ 3.85 ความเสียหายของรถบรรทุกพ่วงคันที่ 2 และรถโดยสารปรับอากาศ คันที่ 3 ตาราง 3.29 ข้อมูลยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุคันที่ 3 จดทะเบียนเมื่อ/หมดอายุ ลักษณะการใช้งาน สภาพยาง การครอบครองรถ อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย ความเสียหายจากอุบัติเหตุ

รถโดยสารปรับอากาศ 7 เม.ย.49 / 31 มี.ค.54 (4 ปี ณ วันเกิดเหตุ) โดยสารประจาทาง ปกติ บริษัทขนส่ง ประมาณ 90 % ตามสภาพ

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 86 -

ผลการศึกษาถนน และสิ่งแวดล้อมที่เกิดเหตุ • เป็นถนนมิตรภาพสายหลักกลางคืนไม่มีแสงไฟ • ลักษณะผิวทาง แอสฟัลติก คอนกรีต เรียบ แห้ง เดินรถทางเดียว เส้นทางตรง เป็นทางลาด ชัน – ช่องทางจราจรขนาด 3 ช่องทาง แต่ละช่องทางกว้าง 3.5 เมตร – ไหล่ทางด้านซ้ายกว้าง 3 เมตร – ไหล่ทางด้านขวากว้าง 2.5 เมตร 025772600 025772601 025772602

ภาพที่ 3.86 แผนที่แสดงลักษณะทางลาดเนินเขา

ภาพที่ 3.87 ถนนก่อนลงเนินคลองไผ่ กม.87

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 87 -

ภาพที่ 3.88 ถนนและสิ่งแวดล้อมก่อนถึงจุดเกิดเหตุ

ภาพที่ 3.89 มุมมองก่อนขึ้นเนินประมาณ 20-30 เมตร และก่อนถึงจุดเกิดเหตุประมาณ 100 เมตร

ภาพที่ 3.90 ยานพาหนะที่ต้องเร่งเพื่อขึ้นเนินโดยเฉพาะรถหนักต้องเร่งความเร็วเป็นพิเศษ โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 88 -

จากการสันนิษฐาน คาดว่าอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ เชื่อว่าน่าจะเกิดจากความ ประมาทของผู้ที่ขับขี่ทั้ง 3 คัน และจากจุดเกิดเหตุบริเวณดังกล่าวค่อยข้างมืดไม่มีแสงสว่างทาให้ เป็นจุดล่อแหลมที่เกิดอันตรายได้ง่าย เพราะไม่มีสัญญาณอะไรบ่งบอกไว้ว่ามีรถจอดเสียในระยะที่ ปลอดภัย ทาให้รถที่ขับขี่มาด้านหลังชนท้ายเข้าอย่างจังและบวกกับความเร็วของรถที่ขับขี่โดยสาร มาด้วย ประกอบกับเส้นทางดังกล่าวมีความลาดชันขึ้นและเป็นระยะที่ใช้เร่งเครื่องส่งของรถบรรทุก หนักเพื่อขึ้นทางลาดชันช่วงที่สอง

อุบัติเหตุจราจรกลุ่มที่ 5 (อุบัติเหตุอื่นๆ) อุบัติเหตุ รถ จยย.ไม่มีไฟชนประสานงาน จยย. ถ.นิคมฯ-หนองสาหร่าย เมื่อเวลาประมาณ 21.00 น. ของวันที่ 12 ธันวาคม 2552 ได้รับรายงานจากศูนย์สื่อสาร การแพทย์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลปากช่องนานา ว่าเกิดอุบัติเกตุ รถจักรยานยนต์ชนประสานงานกับ รถจักรยานยนต์ บริเวณถนนนิคม-ลาตะคอง หน้าปลั๊กไฟ ต. หนองสาหร่าย อ.ปากช่อง จ. นครราชสีมา มีผู้เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ จานวน 1 รายและ ผู้บาดเจ็บจึงทาการลงสอบสวนหาสาเหตุ ของการเกิดอุบัติเหตุในครั้งนี้ต่อไป ผลการสอบสวนการเกิดอุบัติเหตุ จากการสอบสวนเบื้องต้นพบว่า เมื่อเวลา ประมาณ 21.00 น. จักรยานยนต์ยี่ห้อ SUZUKI รุ่น Smash 110 สีแดงเทา ผู้ขับขี่ชายไทย อายุ 27 ปี อาศัยอยู่ หมู่ 25 ต.หนองสาหร่าย อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา เป็นคนขับรถ ได้ขับขี่ออกจากร้านอาหารน้องใหม่ เพื่อ เดินทางไปรับน้องชาย โดยได้ขับขี่รถจักรยานยนต์ ขึ้นมาตาม ถ.นิคมลาตะคอง-หนองสาหร่าย โดยกาลัง เร่งความเร็วเพิ่มขึ้น เมื่อมาถึงที่เกิดเหตุได้เปลี่ยนช่องทางจราจรเพื่อจะข้ามไปยังหมู่บ้านโนนอุดม แต่ไม่เห็นรถจักรยานยนต์ยี่ห้อ HONDA ไม่ทราบรุ่น สีฟ้าเข้ม ไม่ติดป้ายทะเบียน มีชายไทย อายุ 16 ปี อยู่บ้านเช่า ต.หนองสาหร่าย อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ขับขี่วิ่งสวนทางมาและไม่มีไฟส่องสว่าง ด้านหน้า จึงชนประสานงาน ทาให้เสียชีวิตทันที โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 89 -

อุบัติเหตุครั้งนี้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 1 ราย และผู้เสียชีวิต 1 ราย ซึ่งทางระบบบริการ การแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดนครราชสีมา ได้จัด อาสาสมัครหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉิน มูลนิธิสว่างวิชชาธรรมสถาน ออกให้ การ ช่วยเหลือนา ผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาลปากช่อง นานา ได้พักรักษาตัวที่โรงพยาบาลปากช่องนานา เป็นระยะเวลา 3 วัน และได้มีอาการแทรกซ้อน แพทย์จึงได้ส่งตัวไปรักษาต่อที่ โรงพยาบาล มหาราชนครราชสีมา เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2552 สภาพการจราจรขณะเกิดเหตุติดขัด 1-2 ช่องทาง

ภาพที่ 3.91 แสดงแผนที่การเกิดอุบัติเหตุ

ภาพที่ 3.92 จยย. ดัดแปลงสภาพ และผู้ขับขี่เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 90 -

ตาราง 3.30 แสดงข้อมูลผู้ขับขี่ คนขับรถจักรยานยนต์ คู่กรณี ข้อมูลทั่วไป เพศชาย อายุ 27 ปี สมรส อาชีพ รับจ้างทั่วไป ข้อมูลด้านการขับขี่ ไม่มีใบอนุญาตขับขี่ จักรยานยนต์ ข้อมูลด้านสุขภาพ ปกติ ปฏิเสธการใช้ยาที่มีผลต่อการขับขี่ ข้อมูลผู้ขับขี่ก่อนเกิด • ดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของ อุบัติเหตุ แอลกอฮอล์ ข้อมูลด้านการบาดเจ็บ บาดเจ็บ (ไม่สวมหมวกนิรภัย)

คนขับรถจักรยานยนต์ต้นเหตุ เพศชาย อายุ 16 ปี สมรส อาชีพ รับจ้างทั่วไป ไม่มีใบอนุญาตขับขี่ จักรยานยนต์ อารมณ์ฉุนเฉียว ปฏิเสธการใช้ยาที่มีผลต่อการขับขี่ • ดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของ แอลกอฮอล์ เสียชีวิต (ไม่สวมหมวกนิรภัย)

ผลการสอบสวนลักษณะการบาดเจ็บ / เสียชีวิต ผู้ได้รับบาดเจ็บจานวน 1 คนได้รับการเคลื่อนย้ายไปโรงพยาบาลโดย อาสาสมัคร มูลนิธิสว่างวิชชาธรรมสถาน ผลจาการสอบสวนผู้บาดเจ็บไม่สวมหมวกนิรภัยในการขับขี่และมี การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ขณะขับรถซึ่งส่งผลให้สมรรถภาพในการขับรถน้อยลง ผู้เสียชีวิตจานวน 1 คนได้รับการเคลื่อนย้ายไปโรงพยาบาลโดย อาสาสมัครมูลนิธิ สว่างวิชชาธรรมสถาน โดยลักษณะการเสียชีวิตมีบาดแผลบริเวณโหนกแก้มข้างขวากดยุบ มีแผล ถลอกและขากรรไกรบวม คอหมุนได้รอบ แพทย์ได้ส่งเอ็กซเรย์แล้วพบว่า กระดูกบริเวณโหนก แก้มและขากรรไกรหัก เอ็กซเรย์ต้นคอ มีกระดูกคอชิ้นที่ 2 หัก และศีรษะไปกระแทกกับพื้นถนน ทาให้กะโหลกศีรษะแตก เพราะไม่ได้สวมหมวกนิรภัย ตาราง 3.31 แสดงข้อมูลยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุ Suzuki Smash จดทะเบียนเมื่อ/หมดอายุ 11 ต.ค.49 / 11 ต.ค.53 การครอบครองรถ ยืมมาจากญาติ ความเสียหายจากอุบัติเหตุ ประมาณ 20% ตามสภาพ อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย ไม่มีกระจกมองหลังขวา

Honda 30 ก.ย.40 / 30 ก.ย.52 ซื้อต่อมาในราคา 1,000 บาท ประมาณ 90% ตามสภาพ ไม่มีไฟส่องสว่าง หน้า/หลัง ไม่มีไฟเลี้ยว ซ้าย/ขวา ไม่มีกระจกมองหลัง

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 91 -

ภาพที่ 3.93 ความเสียหายของรถจักรยานยนต์ผู้บาดเจ็บ ฝาครอบเครื่องและปั้มเบรกด้านขวา

ภาพที่ 3.94 ความเสียหายของรถจักรยานยนต์ผู้เสียชีวิต ผลการศึกษาด้านถนน และสิ่งแวดล้อมที่เกิดเหตุ • ลักษณะผิวทาง ลาดยาง เรียบ แห้ง เดินรถสองทาง เส้นทางตรง • เส้นสีแบ่งช่องจราจรอยู่ในสภาพปกติชัดเจนดี • ความกว้างพื้นผิวถนนทั้งสิ้น 12 เมตร แบ่งออกเป็น – ช่องทางจราจรไป-กลับ 2 ช่องทาง แต่ละช่องทางกว้าง 3.5 เมตร รวม 7 เมตร – ไหล่ทางด้านซ้าย-ขวา กว้าง 2.5 เมตร รวมทั้ง 2 ด้าน 5 เมตร • เป็นถนนเส้นทางหลวงหมายเลข 2235 (นิคมลาตะคอง-หนองสาหร่าย) กม. 2+500 เชื่อมต่อกับ ต.หนองสาหร่าย ต.วังกระทะ ต.วังไทร ไม่มีแสงไฟ โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 92 -

ภาพที่ 3.95 ถนนและสิ่งแวดล้อมก่อนถึงที่เกิดเหตุ และภาพอาสาสมัครศูนย์สื่อสารฯ ชี้จุดผู้เสียชีวิต

ภาพที่ 3.96 แสดงเส้นทางของ รถ จยย.ทั้งสองคัน โดยเส้นสีเขียวขับปาดเข้ามาในช่องทางสีแดง จากการสันนิษฐาน คาดว่าอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ เชื่อว่าน่าจะเกิดจากความ ประมาทของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ ซึ่งมีการดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ในขณะขับขี่ รวมถึงสภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย จึงทาให้รถที่วิ่งมาในทางตรงไม่สามารถหลบได้ทันจึงพุ่งชน อย่างกะทันหัน ส่วนยานพาหนะผู้เสียชีวิตไม่มีความปลอดภัยจากการดันแปลงสภาพ

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 93 -

อุบัติเหตุ รถกระบะ ถอยทับเด็กเสียชีวิต บ้านหนองกระจะ ต.ปากช่อง เมื่อเวลาประมาณ 16.48 น. ของวันที่ 2 ธันวาคม 2552ได้รับรายงานว่า เกิดอุบัติเหตุรถ กระบะถอยทับเหยียบเด็กเสียชีวิต ที่บ้านหนองกระจะ ต.ปากช่อง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา มี ผู้เสียชีวิตเป็นเด็กจานวน 1 ราย จากการสอบสวน เบื้องต้นกับมารดาและญาติของผู้เสียชีวิตที่เห็น เหตุการณ์เล่าให้ฟังว่า ลูกชายของตนเองได้วิ่งเล่น อยู่ในบริเวณพื้นที่บ้านซึ่งในขณะเดียวกันมีรถ กระบะยี่ห้อ Toyota Vigo สีบร์อน ทะเบียนจังหวัด นครราชสีมา ผู้ขับขี่ชายไทยอายุประมาณ 45 ปี (ลุงของผู้เสียชีวิต) ก่อนเกิดเหตุ ได้นารถมาจอด ล้างทาความสะอาด อยู่ในบริเวณนั้น หลังจากทา ความสะอาดเสร็จเรียบร้อย ได้รับโทรศัพท์ให้รีบไปรับคนงานเนื่องจากรถอีกคันเสียขณะที่กาลังจะ ถอยรถออกไป ไม่ได้ทันระวังเด็กชายที่วิ่งเล่นอยู่ด้านหลังของรถ จึงทาให้ล้อรถด้านหลังเหยียบทับ ร่างกายของเด็กชายจนเสียชีวิต จากการสอบสวนการบาดเจ็บ มีบาดแผลฉีกขาดบริเวณศีรษะ ด้านหลังใบหู ยาว 5 ซม. กว้าง 2 ซม.และมีแผลกดทับตามร่างกาย เป็นต้น อุบัติเหตุ อาสามูลนิธิเมาแล้วขับรถกระบะชนรถกระบะ ถ.มิตรภาพ (สายเก่า) หน้าวัดปางแก เมื่อเวลาประมาณ 11.23 น. ของวันที่ 5 ธันวาคม 2552 เกิดอุบัติเหตุรถกระบะชนกับ รถกระบะ หน้าวัดปางแกบาดเจ็บ 6 ราย หญิง 5 ราย ชาย 1 ราย อาการผู้บาดเจ็บ หญิงรายที่ 1 ปวด เอวถลอกตามร่างกาย และอีก 3 รายปวดเอวและปวดหลัง รายที่ 5 ชายแน่นหน้าอก รายที่ 6 เด็กหญิงถลอกตามร่ายกาย รู้สึกตัวดีทั้ง 6 ราย ที่เกิดเหตุพบรถกระบะอีซูซุ สีบอร์น ด้านหน้าพัก เสียหาย ส่วนรถคู่กรณีเป็นรถกระบะมิตซูบิชิไตตั้น สีดา จากการสอบสวนเบื้องต้นผู้ที่เห็น เหตุการณ์เล่าว่ารถกระบะมิตซูบิชิวิ่งมาจากปาก ช่องด้วยความเร็วขับแซงซ้ายขวา ซึ่งผู้ขับขี่เป็น อาสาสมัครของ มูลนิธิแห่งหนึ่งในจังหวัด สระบุรี ขณะยืนรอให้ปากคากับพนักงาน สอบสวนพบว่ามีกลิ่นสุรา ส่วนผู้โดยสารคน หนึ่งได้กล่าวว่าเตือนแล้วว่าอย่าขับเร็ว

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 94 -

อุบัติเหตุ จยย.ตัดหน้า รถกระบะ ถ.ธนะรัตน์ กม.7 หน้าปั้ม ปตท. เมื่อเวลาประมาณ 21.21น. ของวันที่ 19 ธันวาคม 2552 เกิดอุบัติเหตุรถกระบะชน ประสานงานกับรถจักรยานยนต์บริเวณปั้ม ปตท. กม.7 ถ.ธนะรัตน์ ตาบลหนองน้าแดง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา มีผู้ได้รับบาดเจ็บทั้งหมด 1 ราย และเสียชีวิตในที่เกิดเหตุ 1 ราย จากการสอบสวนเบื้องต้นพบว่า รถจักรยานยนต์ Honda click สีแดง-ดา ผู้ขับขี่ชายไทย อายุ 32 ปี อาศัยอยู่ บ้านขนงพระเหนือ หมู่ 1 ต.ขนงพระ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา และมีชายไทย อายุ 45 ปี อาศัยอยู่ บ้านไทยเดิม หมู่ 7 ต.หนองน้าแดง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา เป็นผู้โดยสาร ทั้ง 2 คนได้ขับขี่ออกจาก บริเวณ กม.ที่ 9 ถ.ธนะรัตน์ หลังเสร็จจากธุระเพื่อจะกลับบ้าน (บ้านไทยเดิม หมู่7 ต.หนองน้าแดง) เมื่อเวลาประมาณ 21.00 น.โดยได้ ขับขี่รถจักรยานยนต์มาตาม ถ.ธนะรัตน์ เมื่อขับขี่ มาถึงบริเวณที่เกิดเหตุได้เปลี่ยนช่องทางการจราจร เพื่อจะข้ามไปยังปั้ม ปตท. บริเวณกม.ที่ 7 เพื่อที่จะ แวะเติมน้ามัน แต่ไม่ทันเห็นรถกระบะที่วิ่งสวนทาง มาจึงเป็นเหตุทาให้ชนเข้ากับรถกระบะ ISUSU D-MAX สีน้าเงิน ซึ่งผู้ขับรถกระบะเมื่อชนเข้ากับ รถจักรยานยนต์แล้วหลบหนี อุบัติเหตุครั้งนี้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 1 ราย และผู้เสียชีวิต 1 ราย ผลการสอบสวนลักษณะการบาดเจ็บ ผู้ได้รับบาดเจ็บจานวน 1 คนได้รับ การเคลื่อนย้ายไปโรงพยาบาลโดย อาสาสมัคร มูลนิธิสว่างวิชชาธรรมสถาน โดยลักษณะการ บาดเจ็บมีบาดแผลฉีกขาดลึกบริเวณหัวเข่า ด้านซ้าย ถลอกตามร่างกายและปวดบริเวณคอ เนื่องจากการกระแทก ซึ่งผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัส ในครั้งนี้เป็นคนโดยสารรถจักรยานยนต์ ซึ่งมี อาการเมาสุรา จากการสอบสวนผู้บาดเจ็บทราบว่าไม่ได้สวมหมวกกันน็อคทั้งผู้ขับขี่และผู้โดยสาร

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 95 -

ผลการสอบสวนลักษณะการเสียชีวิต ผู้เสียชีวิตจานวน 1 คนได้รับการเคลื่อนย้ายไปโรงพยาบาลโดย อาสาสมัครมูลนิธิ สว่างวิชชาธรรมสถาน โดยลักษณะการเสียชีวิตมีบาดแผลฉีกขาดบริเวณศีรษะและคาง มีแผลถลอก ตามใบหน้า ขาซ้ายมีลักษณะหักผิดรูป คอหมุนได้รอบ ซึ่งคาดการณ์ได้ว่าผู้เสียชีวิตน่าจะขับรถมา ด้วยความเร็ว และศีรษะไปกระแทกกับของแข็ง ทาให้กระดูกบริเวณศีรษะมีบางส่วนที่แตก และ กระดูกต้นคอหัก ซึ่งจากการสอบสวนเสียชีวิตในครั้งนี้ไม่ได้สวมหมวกนิรภัย ผลการสอบสวนถนนและสิ่งแวดล้อมที่เกิดเหตุ • ลักษณะผิวทาง ลาดยาง เรียบ แห้ง เดินรถสองทาง เส้นทางตรง • เส้นสีแบ่งช่องจราจรอยู่ในสภาพปกติชัดเจนดี • ความกว้างพื้นผิวถนนทั้งสิ้น 12 เมตร แบ่งออกเป็น – ช่องทางจราจรไป-กลับ 2 ช่องทาง แต่ละช่องทางกว้าง 3.5 เมตร รวม 7 เมตร – ไหล่ทางด้านซ้าย-ขวา กว้าง 2.5 เมตร รวมทั้ง 2 ด้าน 5 เมตร • เป็นถนนเส้นทางหลวงถนนธนะรัตช์ กม.ที่ 7 ต.หนองน้าแดง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา

ภาพที่ 3.97 สภาพถนนและสิ่งแวดล้อม จากการสันนิษฐาน คาดว่าอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ เชื่อว่าน่าจะเกิดจากความ ประมาทของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ ซึ่งมีการดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของงแอลกอฮอล์ในขณะขับ รถ รวมถึงสภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย จึงทาให้รถที่วิ่งมาในทางตรงไม่สามารถหลบได้ทันจึงพุ่ง ชนอย่างกะทันหัน ส่วนยานพาหนะผู้เสียชีวิตไม่มีความปลอดภัยจากสภาพของรถและสีที่ไม่ เด่นชัดในเวลากลางคืน

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 96 -

อุบัติเหตุ รถบรรทุกพ่วงชนคนเดินเท้า ถ.มิตรภาพ กม.40 บริเวณสะพานลอย กลางดง เมื่อเวลา 09.50 น. ของวันที่ 16 เมษายน 2553 รถบรรทุกชนคนเดินเท้า บริเวณสะพานลอย กลางดง ขาเข้ากรุงเทพ มหานคร ในที่เกิดเหตุยังพบรถบรรทุกยี่ห้อ HINO สีฟ้า บริเวณล้อรถด้านหลังพบศพ ผู้เสียชีวิตเป็นชาย ไทย อายุ 46 ปี อาศัยอยู่ ม.7 ต. กลางดง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา จากการ สอบสวนผู้เห็นเหตุการณ์ให้การว่าก่อนเกิด เหตุเห็นผู้เสียชีวิตนั่งอยู่ใต้บริเวณสะพานลอยพอรถบรรทุกคันดังกล่าววิ่งผ่านมาก็กระโดนเข้าหา รถทาให้รถทับร่างเสียชีวิต และจากการสอบสวนจากญาติและตารวจรับแจ้งเพิ่มเติมว่าชายดังกล่าว มีอาการทางประสาท จากการตรวจสอบประวัติการเข้ารับการรักษาตัวที่ รพ.ปากช่องนานา พบว่า ผู้เสียชีวิตเป็นผู้ป่วยจิตเวชของทางโรงพยาบาล และรับยาไปทานเป็นประจา อุบัติเหตุ รถกระบะชนรถ จยย. ถ.ปากช่อง-ซับสนุ่น หน้าฟาร์มหมูหนองกระจะ เมื่อเวลาประมาณ 21.35 น. ของวันที่ 16 เมษายน 2553 ได้รับรายงานจากศูนย์สื่อสาร การแพทย์ฉุกเฉิน รพ.ปากช่องนานา ว่าเกิดอุบัติเหตุรถกระบะชนกับรถจักรยานยนต์ หน้าฟาร์มหมู หนองกระจะ ถ.ปากช่อง-ซับสนุ่น จึงได้ทาการสอบสวนหาสาเหตุของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ ร่วมกับทีมงานสืบสวนสอบสวนอุบัติเหตุการจราจร จากการสอบสวนเบื้องต้นพบว่า รถยนต์จักรยานยนต์ยี่ห้อ Yamaha Mio สีขาว ทะเบียน กทม. ผู้ขับขี่มีชายไทย อายุ 27 ปี อาศัยอยู่บ้านหนองกะโตวา ต.ปากช่อง อ.ปากช่อง จ. นครราชสีมา ได้ขับขี่บนถนนทางหลวงหมายเลข 2247 พอมาถึงบริเวณหน้าฟาร์มหมู หนองกระจะ ขับขี่เร่งเครื่อง ด้วยความเร็วกว่า 120 กม./ชม. เพื่อแซงรถกระบะขึ้นมา ขณะเดียวกันมีรถกระบะ Toyota Mighty-X สีแดง ทะเบียน จังหวัดนคราชสีมา วิ่งสวนทางมาจึงทาให้เกิดการชน ประสานงานเข้าอย่างจัง ส่งผลทาให้ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ เสียชีวิตทันที

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 97 -

ภาพที่ 3.98 แสดงแผนที่เกิดอุบัติเหตุ

ภาพที่ 3.99 ความเสียหายรถกระบะ และรถจักรยานยนต์

ภาพที่ 3.100 เข็มไมล์วัดความเร็วอยู่ที่ 120 ขณะพุ่งชน โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 98 -

ตาราง 3.32 แสดงข้อมูลผู้ขับขี่ ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลด้านการขับขี่ ข้อมูลด้านสุขภาพ ข้อมูลผู้ขับขี่ก่อนเกิดอุบัติเหตุ อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย ข้อมูลด้านการบาดเจ็บ

คนขับรถจักรยานยนต์ เพศชาย อายุ 27 ปี สมรส อาชีพ รับจ้างทั่วไป ไม่ทราบข้อมูล ปฏิเสธการใช้ยาที่มีผลต่อการ ขับขี่ ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสม ของแอลกอฮอล์ ไม่สวมหมวกนิรภัย เสียชีวิต

ตาราง 3.33 แสดงข้อมูลยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุ จักรยานยนต์ ลักษณะการใช้งาน ทั่วไป สภาพยาง ปกติ การครอบครองรถ ส่วนตัว ความเสียหายจากอุบัติเหตุ ประมาณ 70 % ตามสภาพ

คนขับรถกระบะ มีใบอนุญาตขับขี่ ปฏิเสธการใช้ยาที่มีผลต่อการ ขับขี่ ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสม ของแอลกอฮอล์ ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ไม่ได้รับบาดเจ็บ

กระบะ ทั่วไป ปกติ ส่วนตัว ประมาณ 30% ตามสภาพ

ผลการสอบสวนถนนและสิ่งแวดล้อมที่เกิดเหตุ • ลักษณะผิวทางแอลฟัสติก เรียบ แห้ง เดินรถสองทาง เส้นทางตรง • เส้นสีแบ่งช่องจราจรอยู่ในสภาพปกติชัดเจนดี • ความกว้างพื้นผิวถนนทั้งสิ้น 11 เมตร แบ่งออกเป็น – ช่องทางจราจรไป-กลับ 2 ช่องทาง แต่ละช่องทางกว้าง 3.5 เมตร รวม 7 เมตร – ไหล่ทางด้านซ้าย-ขวา กว้าง 2 เมตร รวม 4 เมตร จากการสันนิษฐาน คาดว่าอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ เชื่อว่าน่าจะเกิดจากความ ประมาทของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ ที่ต้องการแซงขึ้นโดยไม่ได้ทันระวังรถกระบะที่วิ่งสวนทางมา จนทาให้เกิดการชนประสานงาน

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 99 -

รถน้ามันเบรกติดไฟลุกไหม้ ถ.มิตรภาพ กม.85+500 ศูนย์ข้อมูลลาตะคอง เมื่อเวลาประมาณ 13.00 น. ของวันที่ 18 พฤษภาคม 2553 เกิดอุบัติเหตุรถบรรทุก น้ามันเบร กติดไฟลุกไหม้ทั้งคั นเจ้าหน้าที่ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจาก องค์การ บริหารส่วนตาบลหนองสาหร่าย อ. ปากช่อง จ. นครราชสีมา และ องค์การบริหารส่วน ตาบลคลองไผ่ อ. สีคิ้ว และ เทศบาลปากช่อง ช่วยกันใช้น้าฉีดดับไฟที่กาลังลุกไหม้ รถบรรทุกน้ามันบนถนนมิตรภาพ หน้าสวน น้าชาติ กม. 85 - 86 ต. หนองสาหร่าย อ. ปาก ช่อง จง นครราชสีมา ฝั่งมุ่งหน้าไป จ. นครราชสีมา แต่ดับไม่ได้เพราะไฟลุกติดขึ้นมาใหม่ ตลอดเวลา ต้องใช้น้าฉีดน้าเลี้ยงอย่างเดียว และขอกาลังรถดับเพลิงจาก เทศบาลเมืองปากช่อง มาใช้ โดยใช้ น้ายาโฟมและสารเคมีฉีด ไฟจึงดับลง ทาให้ การจราจรติดขัดยาวประมาณ 5 - 6 กม. ต้องใช้ เวลาในการดับไฟ และ ล้างถนนร่วม 2 ชั่วโมง จึงให้รถผ่านได้ เจ้าหน้าที่ตารวจต้องเปิดช่องทาง พิเศษ 1 ช่องทางให้รถวิ่งย้อนศร จากการ สอบสวนทราบว่า รถบรรทุกน้ามัน อีซูซุ 10 ล้อ ทะเบียน จังหวัด ลพบุรี บรรทุกน้ามันดีเซล บี 5 จานวน 15,000 ลิตร จาก คลัง จ. สระบุรี จะไปส่งที่โรงงานน้าตาล อ.ครบุรี จ. นครราชสีมา เมื่อมาถึงจุดเกิดเหตุเป็นทางขึ้นเขาลงเขา เบรกล้อหลังได้ติดทาให้เกิดไฟลุกไหม้ล้อ ยางหลัง เพื่อน ๆ ที่ขับรถบริษัทเดียวกันที่ตามหลังมาได้แจ้งให้ทราบ หยุดรถแล้วช่วยกันใช้ถัง ดับเพลิง 3 ถัง แต่ไฟลุกเร็วมากไม่สามารถดับได้ จึงแจ้งตารวจขอรถดับเพลิง ประชาชนที่ขับรถ ตามหลังรวมทั้งรถน้ามันต้องจอดรถห่างประมาณ 300 เมตร เกรงรถน้ามันที่ลุกไหม้จะระเบิด ทาให้ รถติดยาวกว่า 5 กิโลเมตร หมายเหตุ

รายงานฉบับนี้จัดทาขึ้นเพื่อใช้ในทางวิชาการเพื่อสนับสนุนการป้องกันและแก้ไข ปัญหาอุบัติเหตุจราจรเท่านั้น ไม่สามารถอ้างอิงใดๆเชิงกฎหมายและเชิงพานิชได้ กรณีที่มีการนาไปเผยแพร่ด้วยจุดประสงค์อื่นต้องได้รับการยินยอมจากคณะ สอบสวนเท่านั้น

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


บทที่ 4 ผลการดาเนินงาน สรุปการดาเนินงานโครงการสอบสวนอุบัติเหตุจราจร ในบทนี้เป็นการสรุปผลการดาเนินงานโครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา จากการเก็บข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุจราจรที่เข้าเกณฑ์การ สอบสวน กรณีมีผู้เสียชีวิต , มีผู้บาดเจ็บ/เสียชีวิตมากกว่า 5 คน, จุดที่เกิดบ่อย และอุบัติเหตุที่อยู่ใน ความสนใจของผู้บังคับบัญชา/สื่อมวลชน ตั้งแต่เดือนต.ค. 52 - มิ.ย.53 จานวน 27 ครั้ง พบว่าปัจจัย ร่วมที่เกี่ยวข้อง และเป็นสาเหตุในการเกิดอุบัติเหตุสรุปได้ดังนี้

ภาพแผนภูมิ 4.1 แสดงจานวนอุบัติเหตุที่สอบสวน จานวนการเกิดอุบัติเหตุจราจรตั้งแต่เดือนตุลาคม 2552 ถึง เดือนมิถุนายน 2553 จานวน 27 ครั้ง เดือนที่มีอุบัติเหตุจราจรสูงสุด 4 ครั้งได้แก่เดือน ต.ค.-ธ.ค.52 และเดือน เม.ย.53 สาหรับเดือนที่ไม่มีอุบัติเหตุที่ต้องสอบสวนได้แก่เดือน ก.พ.52


- 102 -

ภาพแผนภูมิ 4.2 แสดงจุดที่เกิดอุบัติเหตุอาเภอปากช่อง 1 ต.ค.52 – 30 มิ.ย.53 จากภาพจะเห็นว่าอุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดขึ้นบนถนนมิตรภาพสายหลัก ทั้งในเมืองและ เส้นทางเลี่ยงเมือง และเป็นจุดเสี่ยงที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง

ภาพแผนภูมิ 4.3 แสดงสัดส่วนของอุบัติเหตุ ตามเงื่อนไขในการสอบสวน สาหรับการแยกตามเงื่อนไขการสอบสวนพบว่าส่วนใหญ่เป็นการเกิดอุบัติเหตุจราจรที่ ทาให้มีผู้เสียชีวิต 18 ครั้งคิดเป็น 39% และน้อยที่สุดเป็นอุบัติเหตุจราจรที่มีผู้บาดเจ็บ/เสียชีวิต >5 คนขึ้นไป 8 ครั้ง คิดเป็น 17%

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 103 -

ภาพแผนภูมิ 4.4 แสดงสัดส่วน สภาพทางกายภาพที่เกิดอุบัติเหตุ สภาพทางกายภาพของบริเวณที่เกิดอุบัติเหตุจราจรส่วนใหญ่เป็นช่วงถนนจานวน 15 ครั้งคิดเป็น 55% และน้อยที่สุดเป็นประเภทอื่นๆ (เกิดอุบัติเหตุจราจรภายในที่พักอาศัย)จานวน 1 ครั้ง คิดเป็น 4 %

ภาพแผนภูมิ 4.5 แสดงสัดส่วนของผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจร ข้อมูลผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรจานวน 27 ครั้งมีผู้ได้รับบาดเจ็บและ เสียชีวิตจานวน 151 คน แยกเป็นผู้บาดเจ็บจานวน 123 คน คิดเป็น 81% และมีผู้เสียชีวิตจานวน 28 คน คิดเป็น 19 % เฉลี่ยมีผู้เสียชีวิต 1.04 คนต่อการเกิดอุบัติเหตุจราจร 1 ครั้ง และมีผู้บาดเจ็บเฉลี่ย 4.56 คน ต่อการเกิดอุบัติเหตุจราจร 1 ครั้ง โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 104 -

ภาพแผนภูมิ 4.6 แสดงแสงสว่างกับการเกิดอุบัติเหตุ แสงสว่างที่มีส่วนในการเกิดอุบัติเหตุจราจรพบว่า อุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดขึ้นในเวลา กลางวัน 17 ครั้ง คิดเป็น 63 % และน้อยที่สุดเกิดในเวลากลางคืนมีแสงไฟ 3 ครั้ง คิดเป็น 11 % โดยเฉพาะในเวลากลางคืนที่ไม่มีแสงไฟจะมีอัตราการเกิดอุบัติเหตุสูงกว่าบริเวณที่มีแสงไฟ

ภาพแผนภูมิ 4.7 แสดงสภาพอากาศต่อการเกิดอุบัติเหตุ สภาพอากาศที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุจราจรพบว่าส่วนใหญ่เกิดจากสภาพอากาศ แจ่มใส 24 ครั้ง คิดเป็น 89 % และน้อยที่สุดเกิดจากสภาพอากา ศที่มีฝนตก 1 ครั้งคิดเป็น 4 % (ส่วน สภาพอากาศที่มีฝนตกหนักเป็นอุบัติเหตุจราจรที่มีผู้บาดเจ็บ/เสียชีวิตมากกว่า 5 คน)

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 105 -

ภาพแผนภูมิ 4.8 แสดงสัดส่วนของถนนที่เกิดอุบัติเหตุ ลักษณะผิวทางที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุจราจรพบว่าส่วนใหญ่เกิดบนถนนแอสฟัลติ กคอนกรีตจานวน 22 ครั้ง คิดเป็น 81 % และน้อยที่สุดเกิดบนถนนอื่นๆ จานวน 1 ครั้งคิดเป็น 4 % (เกิดอุบัติเหตุภายในเขตบ้านพักอาศัย)

ภาพแผนภูมิ 4.9 แสดงสัดส่วนของช่องทางจราจรที่เกิดอุบัติเหตุ ช่องทางเดินรถที่เกิดอุบัติเหตุจราจรพบว่า ส่วนใหญ่เกิดในช่องทางเดินรถทางเดียว 18 ครั้ง คิดเป็น 66 % และน้อยที่สุดเกิดจากช่องทางเดินรถอื่นๆ จานวน 1 ครั้งคิดเป็น 4 % (เกิด อุบัติเหตุภายในเขตบ้านพักอาศัย)

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 106 -

ภาพแผนภูมิ 4.10 แสดงสัดส่วนทางโค้งแนวราบต่อการเกิดอุบัติเหตุ ลักษณะทางเลขาคณิตโค้งแนวราบ การเกิดอุบัติเหตุจราจรส่วนใหญ่เกิดในทางตรง จานวน 25 ครั้ง คิดเป็น 92 % และน้อยที่สุดเกิดบริเวณทางโค้ง / อื่นๆ จานวน 1 ครั้งคิดเป็น 4 % (เกิดอุบัติเหตุภายในเขตบ้านพักอาศัย)

ภาพแผนภูมิ 4.11 แสดงสัดส่วนทางโค้งแนวดิ่งต่อการเกิดอุบัติเหตุ ลักษณะทางเลขาคณิตโค้งแนวดิ่ง การเกิดอุบัติเหตุจราจรส่วนใหญ่เกิดในพื้นราบ จานวน 21 ครั้ง คิดเป็น 77 % และน้อยที่สุดเกิดบริเวณอื่นๆ จานวน 1 ครั้งคิดเป็น 4 % (เกิดอุบัติเหตุ ภายในเขตบ้านพักอาศัย)

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 107 -

ภาพแผนภูมิ 4.12 แสดงสัดส่วนลักษณะการเกิดอุบัติเหตุ ลักษณะของการเกิดอุบัติเหตุจราจร พบว่าส่วนใหญ่เกิดจากการเฉี่ยวชนจานวน 7 ครั้ง รองลงมาเกิดจากลักษณะ ชนกันและชนท้าย จานวน 5 ครั้ง

ภาพแผนภูมิ 4.13 แสดงสัดส่วนของยานพาหนะที่เป็นต้นเหตุ และคู่กรณี ประเภทยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุจราจร พบว่ายานพาหนะต้นเหตุ ส่วนใหญ่เป็น รถจักรยานยนต์เกิดอุบัติเหตุจราจรจานวน 11 ครั้ง รองลงมาเป็นรถกระบะเกิดอุบัติเหตุจราจร จานวน 6 ครั้ง ส่วนและยานพาหนะคู่กรณี พบว่า ส่วนใหญ่เป็นรถกระบะเกิดอุบัติเหตุจานวน 9 ครั้ง รองลงมาเป็นรถบรรทุกเกิดอุบัติเหตุจานวน 5 ครั้ง

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 108 -

ภาพแผนภูมิ 4.14 แสดงสัดส่วนของพฤติกรรมเสี่ยง ด้านพฤติกรรมเสี่ยงที่เป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุจราจร และทาให้ได้รับบาดเจ็บ/ เสียชีวิตพบว่าอันดับ 1. มาจากสาเหตุอื่นๆ 2. มาจากสาเหตุที่ไม่สวมหมวกนิรภัยจานวน 10 ราย คิดเป็น 21 % 3. มาจากการขับขี่ด้วยความเร็ว 4. มาจากการดื่มสุรา 5. ไม่มีใบขับขี่/ไม่ขาดเข็มขัดนิรภัย 6. บรรทุกเกิน/ไม่ตรวจสภาพรถ

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 109 ตาราง 4.1 แสดงผลการสรุปปัจจัยที่ทาให้เกิดอุบัติเหตุจราจร และแนวทางแก้ไข ลา อุบัติเหตุ วัน/เดือน/ปี ดับ สถานที่เกิดเหตุ ยานพาหนะ 01

7 ต.ค.52

รถตูช้ นรถกระบะแยก ถ. มิตรภาพ กม.67 แยกซับ หวาย

-

ยานพาหนะไม่อยู่ใน สภาพที่ปลอดภัย

สาเหตุที่ทาให้เกิดอุบัติเหตุ คน -

ผู้ขับขี่รถกระบะมีปัญหา ทางสายตาและดื่มเครื่องดื่ม ที่มีส่วนผสมของ แอลกอฮอล์

แนวทางแก้ไข

ถนนและสิ่งแวดล้อม -

-

จุดเกิดเหตุเป็นสี่แยกและจุด กลับรถที่มีการปลูกต้นไม้บด บังทัศนะวิสัยผู้ขับขี่ทั้งทาง หลังและทางรอง การวางจาหน่ายสินค้าทางการ เกษตรกรรม การแกะสลักหินริมถนน

-

-

02

21 ต.ค.52

รถ จยย.ตัดหน้ารถกระบะ ถ.มิตรภาพ กม.75 หน้า ศูนย์สุนัขทหาร

-

จยย.ขาดการตรวจสภาพ

-

-

ความประมาทของผู้ขับขี่ จยย. ทีไม่ดูให้รอบครอบ ก่อนเปลี่ยนช่องจราจร ประชาชนในพื้นที่ไม่ สะดวกในการสัญจรตาม เส้นทางที่รัฐจัดไว้ให้ยังคง ใช้ชีวิตแบบเสี่ยงต่อการเกิด อุบัติเหตุ

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)

-

ถนนที่ตัดผ่านหมู่บ้านโดยไม่ มีมาตรการรองรับโดยเฉพาะ เส้นทางที่มีความเร็วของรถ ต่างกัน

-

ตัดต้นไม้บริเวณจุดกลับรถให้ สามารถมองเห็นรถทางตรงที่วิ่งด้วย ความเร็วให้อยู่ในระยะปลอดภัย รณรงค์ติดแทบสะท้อนแสงด้านข้าง ยานพาหนะที่วิ่งผ่านสี่แยกเพื่อเพิ่ม การมองเห็นในระยะไกลในเวลา กลางคืน กวดขันทาความเข้าใจการยืดไหล่ ทางเป็นที่ทากิน ควรทาประชาคมหมู่บ้านว่าจะใช้จุด ไหนเป็นทางข้าม ปิดจุดเสี่ยงที่มีอยู่ทั้งหมด เพิ่มอุปกรณ์ หรือเครื่องหมาย สาหรับความปลอดภัยของผู้ใช้ถนน ทางหลังและจุดข้าม


- 110 ลา วัน/เดือน/ปี ดับ 03

22 ต.ค.52

04

26 ต.ค.52

05

1 พ.ย.52

06

2 พ.ย.52

อุบัติเหตุ สถานที่เกิดเหตุ

สาเหตุที่ทาให้เกิดอุบัติเหตุ คน

ยานพาหนะ

แนวทางแก้ไข

ถนนและสิ่งแวดล้อม

รถโตโยต้าฟอร์จูนเนอร์ ชนท้ายรถกระบะ ถ. มิตรภาพ (สายเก่า) หน้า รพ.ปากช่องนานา รถ จยย.ชนรถเก๋ง ถ. มิตรภาพ (สายเก่า) หน้า รพ.ปากช่องนานา

-

-

-

สัญญาณไฟจราจรที่ไม่ เหมาะสม

-

ปรับแก้จังหวะสัญญาณไฟจราจร

-

-

-

สัญญาณไฟจราจรที่ไม่ เหมาะสม

-

ปรับแก้จังหวะสัญญาณไฟจราจร

จยย.ตัดหน้ารถกระบะ ถ. มิตรภาพ กม.74 แยก หนองคู

-

-

ผู้ขับขี่ จยย. ดื่มเครื่องดื่มที่มี ส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ขับขี่รถย้อนศรทางร่วมทาง แยก

-

ถนนสายหลักที่ตัดผ่าน หมู่บ้านโดยไม่มีมาตรการ รอบรับโดยเฉพาะทางข้ามที่มี จุดกลับรถทั้งสองด้านห่างจาก หมู่บ้าน 2-3 กม.

-

รถ จยย.ตัดหน้ารถเก๋ง3คัน ถ.มิตรภาพ กม.64 หน้า ขนส่งปากช่อง

-

ผู้ขับขี่ จยย. ทีไม่ดูให้รอบ ครอบก่อนเปลี่ยนช่อง จราจร และจาเป็นที่จะต้อง ไปเนื่องจากใกล้ถึงที่หมาย

-

ควรทาประชาคมหมู่บ้านว่าจะใช้จุด ไหนเป็นทางข้าม ปิดจุดเสี่ยงที่มีอยู่ทั้งหมด เพิ่มอุปกรณ์ หรือเครื่องหมาย สาหรับความปลอดภัยของผู้ใช้ถนน ทางหลังและจุดข้าม ปลูกจิตสานึก และวินัยจราจรส่วน บุคคล

-

-

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)

-

-


- 111 ลา วัน/เดือน/ปี ดับ

อุบัติเหตุ สถานที่เกิดเหตุ

สาเหตุที่ทาให้เกิดอุบัติเหตุ คน

ยานพาหนะ

07

6 พ.ย.52

รถกระบะเฉี่ยวชน จยย. ถ. มิตรภาพ กม.53 หน้าด่าน กักสัตว์บันไดม้า

-

08

22 พ.ย.52

รถ จยย.ไม่มีไฟชน ประสานงาน จยย. ถ.นิคม ฯ-หนองสาหร่าย หน้าพัก ไฟ

-

-

รถไม่อยู่ในสภาพที่ ปลอดภัย

-

แนวทางแก้ไข

ถนนและสิ่งแวดล้อม -

ผู้ขับขี่ดื่มเครื่องดื่มที่มี ส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ขับขี่ด้วยความครึกคะนอง

-

ที่เกิดเหตุเป็นทางลงเนินเขาและ มีจุดกลับรถทาให้รถที่วิ่งมาด้วย ความเร็วขณะลงเนินเขาต้อง เบรกและหักหลบทาให้รถที่อยู่ ทางด้านซ้ายได้รับอุบัติเหตุ มีร้านอาหารและร้านคาราโอเกะ

-

ปิดจุกลับรถ และจัดหาจุดกลับ รถชดเชยให้เหมาะสม

-

กวดขันรถที่ไม่อยู่ในสภาพ พร้อมใช้งาน มีบทลงโทษเมาแล้วขับให้ มากกว่าการทาประโยชน์แก่ สังคม ผลิตสื่อออกทางทีวีให้ ประชาชนตระหนักโดยเฉพาะ บ้านที่มีเด็กเล็ก

-

09

2 ธ.ค.52

รถกระบะถอยทับเด็ก บ้านพักหนองกะจะ

-

-

ผู้ขับขี่ไม่ได้ระวังขณะถอยรถ โดยเฉพาะบ้านที่มีเด็กเล็ก

-

-

10

5 ธ.ค.52

รถกระบะชนรถกระบะ ถ. มิตรภาพ (สายเก่า) หน้าวัด ปางแก

-

-

ผู้ขับขี่ดื่มเครื่องดื่มที่มี ส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ขับขี่ด้วยความครึกคะนอง

-

-

-

-

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)

มีบทลงโทษเมาแล้วขับให้ มากกว่าการทาประโยชน์แก่ สังคม เพิ่มจุดตรวจแอลกอฮอล์


- 112 ลา วัน/เดือน/ปี ดับ

อุบัติเหตุ สถานที่เกิดเหตุ

สาเหตุที่ทาให้เกิดอุบัติเหตุ คน

ยานพาหนะ

11

3 ธ.ค.52

รถกระบะเฉี่ยว รถ จยย. ถ. มิตรภาพ กม.71 ก่อนถึง แยกเข้าบ้านบ่อทอง

-

-

12

20 ธ.ค.52

รถ จยย.ตัดหน้า รถกระบะ ถ.ธนะรัตน์ กม.7 หน้าปั้ม ปตท.

-

-

รถเก๋งเลี้ยวตัดหน้า รถ จยย. ถ.มิตรภาพ (สายเก่า) หน้าศูนย์ฮอนด้า

-

13

1 ม.ค.53

-

-

แนวทางแก้ไข

ถนนและสิ่งแวดล้อม

ผู้ขับขี่ จยย. ทีไม่ดูให้รอบ ครอบก่อนเปลี่ยนช่อง จราจร และจาเป็นที่จะต้อง ไปเนื่องจากใกล้ถึงที่หมาย (ทางเข้าบ้าน) ผู้ขับขี่ดื่มเครื่องดื่มที่มี ส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ขับขี่ด้วยความครึก คะนอง

-

-

-

-

ผู้ขับขี่ จยย. ขับขี่ด้วย ความเร็ว ดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสม ของแอลกอฮอล์ ผู้ขับขี่รถเก๋งไม่ชานาญ เส้นทาง

-

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)

-

ไม่มีป้ายให้กลับ หรือห้าม กลับรถ

-

มีบทลงโทษเมาแล้วขับให้มากกว่า การทาประโยชน์แก่สังคม เพิ่มจุดตรวจแอลกอฮอล์

ผู้เกี่ยวข้องศึกษาแนวทางป้องกันใน ระยะยาวต่อไป


- 113 ลา วัน/เดือน/ปี ดับ 14

6 ม.ค.53

อุบัติเหตุ สถานที่เกิดเหตุ รถ18 ล้อชนท้ายรถทัวร์ ถ. มิตรภาพ กม.36 มอทาง หลวงกลางดง

สาเหตุที่ทาให้เกิดอุบัติเหตุ คน

ยานพาหนะ -

-

ผู้ขับขี่รถบรรทุกลงเนินเขา ด้วยความเร็วไม่คานึงถึง ป้ายเตือนอุบัติเหตุและป้าย ควบคุมความเร็ว

-

-

15

19 ม.ค.53

รถกระบะนักเรียนตัดหน้า รถกระบะ ถ.มิตรภาพ กม. 61 แยกวัดตะเคียนทอง

-

รถกระบะดัดแปลงเป็น รถโดยสารรับ-ส่ง นักเรียน

-

-

ผู้ขับขี่รถกระบะไม่ดูให้แน่ ชัดโดยเฉพาะรถที่วิ่งมา ทางด้านขวาซึ่งจะถูก รถบรรทุกหนักที่วิ่งช่อง ซ้ายบดบังทัศนะวิสัย รถที่วิ่งมาในทางตรงขณะ ใกล้ทางแยกไม่ได้เพิ่มความ ระวังเป็นพิเศษ

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)

แนวทางแก้ไข

ถนนและสิ่งแวดล้อม

-

เป็นทางลงเนินเขาที่ลาดเอียง 6% และเป็นทางตรงความยาว กว่า 3 กม.ทาให้ไม่สามารถ ควบคุมรถได้โดยเฉพาะใน เวลาที่มีฝนตก มีจุดกลับรถ 2 จุด ทาให้รถที่ วิ่งลงเนินเขาต้องเปลี่ยนช่อง จราจรกะทันหัน ป้ายเตือนไม่ชัดเจน จุดเกิดเหตุเป็นสี่แยกและจุด กลับรถที่มีการปลูกต้นไม้บด บังทัศนะวิสัยผู้ขับขี่ทั้งทาง หลังและทางรอง

-

-

เปลี่ยนป้ายเตือนให้สะดุดตาผู้ใช้รถ ใช้ถนน ตั้งกล้องตรวจจับความเร็ว ปิดจุดกลับรถบริเวณทางลงเนินเขา

ควรทาประชาคมหมู่บ้านว่าจะใช้จุด ไหนเป็นทางข้าม ปิดจุดเสี่ยงที่มีอยู่ทั้งหมด เพิ่มอุปกรณ์ หรือเครื่องหมาย สาหรับความปลอดภัยของผู้ใช้ถนน ทางหลังและจุดข้าม


- 114 ลา วัน/เดือน/ปี ดับ 16

9 มี.ค.53

17

16 มี.ค.53

18

19

20 มี.ค.53

12 เม.ย.53

อุบัติเหตุ สถานที่เกิดเหตุ

ยานพาหนะ

รถพ่วง18ล้อเมาสุรากลับ รถตัดหน้ารถเก๋งชนไฟลุก ไหม้ ถ.มิตรภาพ กม.42 จุด กลับรถด่านไม่เก็บสตางค์ รถเก๋งชนท้ายรถ 10 ล้อ ถ. มิตรภาพ กม.61 หน้า บริษัทวิริยะประกันภัย

-

รถทัวร์ชนท้ายรถเทนเลอร์ หน้า ปตท. กลางดง

-

รถกระบะตกถนนพลิกคว่า ชนต้นไม้ ถ.มิตรภาพ กม. 68+500

สาเหตุที่ทาให้เกิดอุบัติเหตุ คน

-

-

-

คนขับรถพ่วงดื่มเครื่องดื่มที่ มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์

-

รถที่จดเสียหรือจอดไหล่ ทางควรแสดง เครื่องหมายให้ชัด

-

รถที่จดเสียหรือจอดไหล่ ทางควรแสดง เครื่องหมายให้ชัด

-

ผู้ขับขี่รถแซงซ้ายและมา ด้วยความเร็ว ผู้ขับขี่รถขาดความ รับผิดชอบขณะที่นารถจอด ไหล่ทาง ผู้ขับขี่รถแซงซ้ายและมา ด้วยความเร็ว ผู้ขับขี่รถขาดความ รับผิดชอบขณะที่นารถจอด ไหล่ทาง ผู้ใช้รถใช้ถนนร่วมกันไม่มี น้าใจขับขี่ด้วยความครึ กคะนอง

-

-

-

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)

แนวทางแก้ไข

ถนนและสิ่งแวดล้อม เป็นจุดกลับรถที่มีรถบรรทุก หนักกลับรถเป็นจานวนมาก

-

เพิ่มป้ายเตือนและทา Rumble Strip ก่อนถึงจุดกลับรถ

-

-

รณรงค์สร้างความเข้าใจแก่ผู้ใช้รถใช้ ถนนผ่านสื่อสาธารณะ สาเหตุของ การชนท้าย

-

-

รณรงค์สร้างความเข้าใจแก่ผู้ใช้รถใช้ ถนนผ่านสื่อสาธารณะ สาเหตุของ การชนท้าย

-

เปลี่ยนการปลูกไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มาเป็นไม้ประดับ เช่น ต้นเฟื้องฟ้า เพื่อช่วยผ่อนแรกประทะจากการ เฉี่ยวชน

-

มีต้นไม้ปลูกอยู่ไหล่ทางทาให้ อุบัติเหตุครับนี้มีความสูญเสีย มาก


- 115 ลา วัน/เดือน/ปี ดับ 20

13 เม.ย.53

อุบัติเหตุ สถานที่เกิดเหตุ รถ 10 ล้อ ชนรถ จยย. ถ. มิตรภาพ กม.62 หน้าปั้ม ปตท.

สาเหตุที่ทาให้เกิดอุบัติเหตุ คน

ยานพาหนะ -

จยย.ไม่ตรวจสภาพ บรรทุกเกินอัตรา

-

21

16 เม.ย.53

รถบรรทุกพ่วงชนคน ถ. มิตรภาพ กม.40 บริเวณ สะพานลอย กลางดง

-

-

22

16 เม.ย.53

รถกระบะชนรถ จยย. ถ. ปากช่อง-ซับสนุ่น หน้า ฟาร์มหมูหนองกระจะ

-

-

แนวทางแก้ไข

ถนนและสิ่งแวดล้อม

ไม่มีใบอนุญาตขับขี่ เป็นชาวต่างชาติไม่ชานาญ เส้นทาง ดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสม ของแอลกอฮอล์ คนเดินเท้ามีอาการทางโรค ประสาท

-

-

-

-

ผู้ขับขี่ จยย. ขับขี่ด้วย ความเร็ว ดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสม ของแอลกอฮอล์ แซงขณะที่มีรถวิ่งสวนทาง

-

-

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)

ใช้มาตรการทางกฎหมาย ตั้งจุด ตรวจกวดขันรถที่ผิดกฎหมาย และผู้ ที่ไม่มีใบอนุญาตขับขี่

รณรงค์โครงการเมาไม่ขับ และเพิ่มจุ ตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์


- 116 ลา วัน/เดือน/ปี ดับ

อุบัติเหตุ สถานที่เกิดเหตุ

สาเหตุที่ทาให้เกิดอุบัติเหตุ คน

ยานพาหนะ

23

5 พ.ค.53

โตโยต้าฟอร์จูนเนอร์แหกโค้ง ชนต้นไม้ ถ.โครงการภูพิมาน

-

24

18 พ.ค.53

-

ระบบเบรกชารุด

25

4 มิ.ย.53

รถบรรทุกน้ามันเบรกติด เพลิงไหม้ ถ.มิตรภาพ กม. 85+500 ศูนย์ข้อมูลลาตะคอง รถทัวร์ชนท้ายรถพ่วง ถ. มิตรภาพ กม.85+800 มอบ้า นกฤษ

-

รถพ่วงระบบครัช ชารุด

-

ไม่มีใบขับขี่ ไม่ชานาญเส้นทาง ไม่มีประสบการณ์ในการขับขี่ ขับขี่ด้วยความครึกคะนอง

-

ความรับผิดชอบของผู้ขับขี่รถ เมื่อเกิดรถเสียในไหล่ทาง จะต้องมีการจัดการเรื่องความ ปลอดภัยมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะ จุดเสี่ยง คนขับรถโดยสารสาธารณะ ควรคานึงถึงความปลอดภัยเมื่อ ใช้เส้นทางผ่านจุดเสี่ยงเป็น อย่างมาก การกู้ชีพ/กู้ภัย/ตารวจ/การทาง ควรอานวยความปลอดภัยให้ พ้นผิวจราจรเมื่อมีรถเสียหรือ เกิดอุบัติเหตุก่อนจากไป

-

-

-

เป็นทางโค้งและปลูกต้นไม้ ประดับภายในโครงการ

-

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)

แนวทางแก้ไข

ถนนและสิ่งแวดล้อม

-

-

-

ถนนเป็นทางขึ้นเนินและ เป็นแอ่งผ่อนแรงรถมีระยะ 100 เมตร ทาให้ระยะหยุด ไม่เพียงพอ รวมถึงระยะ มองเห็นในระยะปลอดภัย แสงสว่างไม่พอเพียง เนื่องจากเป็นจุดเสี่ยงเกิด อุบัติเหตุบ่อยครั้ง ป้ายเตือนอุบัติเหตุ/ป้าย ระวังรถเสียหรือรถที่ขึ้น เนินเขาไม่ไหว

-

จัดทาป้ายเตือนทางโค้งอันตราย เพราะส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวซึ่ง ไม่ชานาญเส้นทาง

-

เพิ่มมาตรการในการควบคุมการ ตรวจสภาพรถ ของผู้ประกอบการ อย่างต่อเนื่อง จุดที่เป็นทางขึ้นเนินเขาควรมี เส้นทางสาหรับรถบรรทุกหนักที่ ต้องใช้แรงส่งและไม่กระทบต่อผู้ใช้ ถนนที่มีความคล่องตัวสูง

-


- 117 ลา วัน/เดือน/ปี ดับ 26

27

7 มิ.ย.53

22 มิ.ย.53

อุบัติเหตุ สถานที่เกิดเหตุ

สาเหตุที่ทาให้เกิดอุบัติเหตุ คน

ยานพาหนะ

รถ จยย.ตัดหน้ารถกระบะ ถ.มิตรภาพ กม.61 แยกวัด ตะเคียนทอง

-

รถกระบะตกถนนชน ต้นไม้ ถ.ลานารายณ์-ปาก ช่อง กม.52+600 บ้านซับ สนุ่น

-

-

บรรทุกผู้โดยสารมาก เกินไป ผู้โดยสารกระบะท้ายไม่ มีจุดยึดเมื่อเกิดเหตุ ฉุกเฉิน

-

ผู้ขับขี่ จยย.ไม่มีใบขับขี่ ข้ามถนนในระยะไม่ ปลอดภัย

-

ผู้ขับขี่ไม่ชานาญเส้นทาง ผู้ขับขี่ขาด ประสบการณ์ในการ ขับขี่ พักผ่อนไม่เพียงพอต่อการ เดินทาง ขับขี่ด้วยความเร็ว

-

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)

แนวทางแก้ไข

ถนนและสิ่งแวดล้อม

-

เป็นจุดเกิดอุบัติเหตุบ่อย ไม่มีป้ายเตือนระวังทางแยกมี เพียงป้ายกลับรถ

-

เป็นถนนสายรองผู้ที่ไม่ ชานาญเส้นทางต้องระวังเป็น พิเศษ กลางคืนจะมีแมลงบินมาประ ทะกับกระจกทาให้การ มองเห็นเส้นทางไม่ชัดเจน

-

-

ควรทาประชาคมหมู่บ้านว่าจะใช้จุด ไหนเป็นทางข้าม ปิดจุดเสี่ยงที่มีอยู่ทั้งหมด เพิ่มอุปกรณ์ หรือเครื่องหมาย สาหรับความปลอดภัยของผู้ใช้ถนน ทางหลังและจุดข้าม

การสร้างทางไม่ควรมีต้นไม้ที่มีลา ต้นใหญ่โตอยู่ในเขตแนวทาง


ความสาเร็จภายใต้โครงการฯ การปรับปรุงภูมิทัศน์จุดสี่แยก จุดกลับรถ และจุดเสี่ยง (สี่แยกบ้านซับหวาย) จากกรณีอุบัติเหตุลาดับที่ 01 ทาให้เกิดการปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบเพื่อให้การ มองเห็นได้ดียิ่งขึ้น โดยเจ้าหน้าที่จากหมวดการทางได้ตัดแต่งกิ่งไม้บริเวณสี่แยกบ้านซับหวายให้มี ทัศนะวิสัยในการมองเห็นยานพาหนะที่วิ่งในเส้นทางหลังและเส้นทางรองมากยิ่งขึ้น และติดตั้งไฟ ส่องสว่างเพื่อเพิ่มความปลอดภัยในเวลากลางคืน

ภาพที่ 4.15 การปรับปรุงจุดกลับรถและสี่แยกบ้านซับหวาย การปรับจังหวะสัญญาณไฟจราจรให้เหมาะสม (สี่แยกวัดเขาไทรสายัญห์) จากอุบัติเหตุลาดับที่ 03 และ04 เมื่อทาการวิเคราะห์หาสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุแล้ว พบว่าปัญหาเกิดจากสัญญาณไฟไม่เหมาะสม จึงได้เสนอให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบเพื่อทาการแก้ไข ต่อไป โดยคณะกรรมการความปลอดภัยทางถนน อ.ปากช่อง เชื่อว่าการปรับสัญญาณไฟใหม่จะทา ให้ลดอุบัติเหตุบริเวณสี่แยกวัดเขาไทรสายัณห์ได้ดังนี้


- 119 -

ภาพที่ 4.16 จังหวะสัญญาณไฟที่ปรับใหม่ขณะที่รถมุ่งหน้าเข้า อ.ปากช่อง ได้สัญญาณไฟเขียว

ภาพที่ 4.17 จังหวะสัญญาณไฟที่ปรับใหม่ขณะที่รถมุ่งหน้าเข้าเขาใหญ่ ได้สัญญาณไฟเขียว

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 120 -

ภาพที่ 4.18 จังหวะสัญญาณไฟที่ปรับใหม่ขณะที่รถมุ่งหน้าเข้าบ้านหนองมะค่า ได้สัญญาณไฟเขียว

ภาพที่ 4.19 จังหวะสัญญาณไฟที่ปรับใหม่ขณะที่รถมุ่งหน้าเข้าบ้านโป่งประทุน ได้สัญญาณไฟเขียว หมายเหตุ :

สัญลักษณ์รถสีส้มเป็นรถที่ติดไฟแดง ส่วนสัญลักษณ์รถสีขาวเป็นรถที่ได้ สัญญาณไฟเขียว

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 121 -

การถ่ายทอดกรณีศึกษาให้กับส่วนราชการ ความสาเร็จที่ได้จากการดาเนินงานโครงการ ฯ ทาให้ส่วนราชการภายในอาเภอปาก ช่อง เห็นความสาคัญต่อการสูญเสีย ได้แก่ โรงเรียน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สานักงานขนส่ง ได้จัดเวทีให้ผู้ศึกษา นาข้อมูลที่ได้จากการศึกษาไปบรรยายพิเศษ ให้กับนักเรียนโรงเรียนปากช่อง และการจัดกิจกรรม สานักงานขนส่งเคลื่อนที่ในการอบรมและสอบใบขับขี่ ให้แก่เทศบาลตาบล สีมามงคล

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


บทที่ 5 สรุปปัญหาและข้อเสนอแนะ ในบทนี้เป็นการสรุปปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นในช่วงที่ดาเนินงานโครงการพัฒนา ระบบฐานข้อมูลอุบัติเหตุ ตลอดระยะเวลาที่เราได้ดาเนินโครงการมามีปัญหา และข้อเสนอแนะจาก การทางาน ไม่ว่าจะเป็นด้านการสอบสวน ด้านการบริหารจัดการ รวมถึงด้านการเงิน แต่สิ่งที่สาคัญ อันดับแรกเราเห็นว่าความปลอดภัยของทีมงานเป็นเรื่องสาคัญที่สุดในการดาเนินงานสอบสวนหา สาเหตุของอุบัติเหตุจราจร สรุปได้ดังนี้

ด้านความปลอดภัย คณะทางานพบว่าการสอบสวน ณ ที่เกิดเหตุ ทุกคนทุกหน่วยงานต่างคนต่างทาหน้าที่ ตาตรวจก็ทาหน้าที่สอบสวน กู้ชีพ/กู้ภัย ก็ทาหน้าที่ของตนเอง เมื่อกิจกรรมของแต่ละคนเสร็จสิ้นก็ ต่างคนต่างไป โดยเฉพาะขณะเกิดเหตุ ทีมสอบสวนที่ไม่มีอุปกรณ์ในการอานวยความสะดวกและ การป้องกันอุบัติเหตุ เช่น เสื้อสะท้อนแสง สัญญาณไฟฉุกเฉิน ความสะดวกด้านการจราจร ฯลฯ ทา ให้ทีมสอบสวนเข้าถึงที่เกิดเหตุได้ด้วยความลาบาก บางครั้งต้องไปติดอยู่บนถนน เพราะผู้ใช้รถใช้ ถนนไม่รู้ว่าเรามีหน้าที่จะต้องไปสอบสวนหาสาเหตุ การเข้าสอบสวนที่เกิดเหตุหลังจากเกิดเหตุแล้ว ยิ่งมีความอันตรายมากกว่า เพราะเรา ไม่สามารถนาทีมที่เกี่ยวข้องไปร่วมสอบสวนได้ในคราวเดียวกัน เพราะภารกิจงานที่ต่างกันและมี ความพร้อมไม่ตรงกัน สิ่งสาคัญที่ต้องระลึกเสมอของทีมสอบสวนคือ “สอบสวนหาสาเหตุการเกิด อุบัติเหตุ ต้องไม่ตายหรือบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ”

ด้านการสอบสวนหาสาเหตุของอุบัติเหตุ ครั้งแรกเราก็สรุปไม่ได้ว่าจะใช้เครื่องมืออะไรในการสัมภาษณ์ ผู้ขับขี่ ผู้บาดเจ็บ ยานพาหนะ และสิ่งแวดล้อมที่เกิดเหตุ สุดท้ายก็ใช้แบบผสม เช่น อุบัติเหตุที่มีผู้เสียชีวิต หรือจุดเกิด บ่อยก็ใช้แบบสอบสวนของสานักระบาด กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเราก็นามาใช้ เพียงบางส่วนเพราะการเก็บข้อมูลค่อนข้างละเอียด


- 124 -

ส่วนอุบัติเหตุที่มีความเฉพาะ เช่น อุบัติเหตุหมู่ ต้องใช้แบบสอบสวนเพิ่มเติมของ กรม ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย ในการรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์ และจัดทา ข้อมูลในการนาเสนอเครื่องมือคณะทางาน การสอบสวนผู้ที่เกี่ยวข้องไม่ได้รับความสะดวกเท่าที่ควร โดยเฉพาะบางกรณีที่ พนักงานสอบสวนไม่สามารถให้ข้อมูลเราได้เพราะคดียังไม่สิ้นสุด อาจทาให้เสียรูปคดีได้ ส่วนการ หาข้อมูลจากผู้บาดเจ็บ/คู่กรณี บางครั้งถูกบิดเบือนข้อมูลโดยเฉพาะกรณีที่เป็นผู้มีฐานะในสังคม การสอบสวนหาข้อมูลสภาพถนนและสิ่งแวดล้อมที่เกิดเหตุ ได้จากการสอบถามหมวด การทางปากช่อง ทั้ง 3 แห่ง การนาภาพถ่ายมาวิเคราะห์ข้อมูล และจากการประมาณระยะด้วย สายตา เพระจุดเกิดเหตุที่เป็นจุดเสี่ยงสูงจะมีรถที่วิ่งเร็วมากและระยะมองเห็นของผู้ขับขี่ต่อวัตถุ ด้านหน้า สาหรับข้อมูลด้านยานพาหนะก็ได้รับความอนุเคราะห์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็น ความสัมพันธ์ส่วนตัว ได้แก่ สภ.ปากช่อง สภ.เมืองยะลา และสานักงานขนส่งนครราชสีมา (สาขา ปากช่อง)

ด้านการบริหารจัดการให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลา โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อ.ปากช่อง ได้เริ่มตั้งแต่เดือน ก.ย.52 และ สิ้นสุด มิ.ย.53 ทีมงานได้เริ่มทางานเดือนตุลาคม 52 คณะทางานมีโปรแกรมที่จะเปิดตัวโครงการฯ ในช่วงเดือน ธันวาคม 52 แต่เกิดความผิดพลาดในการประสานงานด้านการเงินเจ้าของทุน จึงไม่ สามารถดาเนินการได้ การจัดเวทีถอดบทเรียนระดับพื้นที่จึงได้รับผลกระทบ คณะทางานจึงขอเข้า แทรกในการประชุมหัวหน้าส่วนราชการระดับอาเภอ เพื่อที่จะให้ผู้เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการ แก้ไขปัญหาหรือแลกเปลี่ยน แต่เนื่องจากเวลาที่ใช้ในการแสดงความคิดเห็นไม่เพียงพอ ทาให้การ นาเสนอเป็นการเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นเท่านั้น ปัญหาที่ได้รับผลกรทบต่อกิจกรรมของโครงการที่เป็นปัญหาภายนอก ส่วนหนึ่งมา จากปัญหาทางการเมือง ซึ่งตลอดปี 2552 ต่อเนื่องปี 2553 ประเทศไทยมีปัญหาระบบการเมืองที่ไม่ นิ่งทาให้กิจกรรมต่างๆ ที่กาหนดไว้ต้องเลื่อนไปอย่างไม่มีกาหนด โดยเฉพาะคณะกรรมการแก้ไข ปัญหาอุบัติเหตุจราจรส่วนใหญ่ก็ต้องทางานด้านความมั่นคงควบคู่กันไป เช่น ฝ่ายตารวจ ฝ่าย ปกครอง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หมวดการทาง โรงพยาบาล ฯลฯ ต้องร่วมกันแก้ไขปัญหา การเมืองตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งเป็นปัญหาเร่งด่วน และสาคัญมากกว่าการแก้ไขปัญหา อุบัติเหตุจราจร โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 125 -

ด้านจุดเด่นและความสาเร็จ ความสาเร็จของโครงการที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือของหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและ เอกชน ที่เป็นเครือข่ายในการให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการสอบสวนหาสาเหตุของการเกิด อุบัติเหตุ รวมถึงการนาผลที่ได้จากกรณีศึกษามาคิดวิเคราะห์ร่วมกัน และถ่ายทอดทางกิจกรรม ตารวจชุมชน สภ.ปากช่อง ที่สาคัญเรามีความตั้งใจที่จะแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจราจรของอาเภอปาก ช่องอย่างมีระบบ

บทเรียนจากโครงการ 1. ความรู้และทักษะในการสอบสวนหาสาเหตุอุบัติเหตุจราจร ซึ่งเป็นความรู้ที่มีได้จาก ความสูญเสีย คราบน้าตาของผู้ประสพเหตุ แต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการแก้ไขปัญหา 2. การสร้างเครือข่ายแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจราจรระดับอาเภอ ซึ่งปกติแล้วเมื่อเกิด อุบัติเหตุก็ต่างคนต่างทาหน้าที่ของตนเอง ปัจจุบันเราได้กระบวนการบริหารจัดการที่เกิดเหตุให้ ปลอดภัยและมีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะกรณีที่เป็นสาธารณะภัยขนาดใหญ่ เช่น อุบัติเหตุ รถบรรทุกน้ามันไฟไหม้ที่ ศูนย์ข้อมูลลาตะคอง ถ.มิตรภาพ กม.85 3. ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาหลังเกิดเหตุแล้วไม่กล่าวโทษ ว่าหน่วยงานใดผิด แต่เป็นความร่วมมือกันว่าเราจะแก้ไขต่อไปอย่างไร 4. ทุกครั้งที่ต้องเดินทางโดยรถโดยสารสาธารณะ หรือรถยนต์ส่วนบุคคลมักจะสังเกต จุดเสี่ยงต่างๆ เช่น พฤติกรรมของผู้ที่ใช้รถใช้ถนน ผู้โดยสาร หากพบมีพฤติกรรมเสี่ยงก็จะแจ้ง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ

ข้อเสนอแนะ 1. รัฐจะต้องมีนโยบายให้สอบสวนหาสาเหตุอุบัติเหตุจราจรร่วมกันระหว่าง ตารวจ หมวดการทาง แพทย์หรือผู้แทนแพทย์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีที่เกิดอุบัติเหตุที่มี ผู้เสียชีวิต หรืออุบัติเหตุที่เป็นจุดเกิดบ่อย ผู้บาดเจ็บเสียชีวิตจานวนมาก (5 คนขึ้นไป) 2. ให้มีการตรวจสอบปริมาณแอลกอฮอล์ทุกราย

โครงการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สนับสนุนโดย : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)


- 127 -

บรรณานุกรม การตรวจสถานที่เกิดเหตุ โดยวิกิพีเดียสารานุกรมเสรี, การตรวจสถานที่เกิดเหตุ. (ออนไลน์). ม.ป.ป. แหล่งที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/ (15 กรกฎาคม 2553). ณัฐกานต์ ไวยเนตร, คู่มือสอบสวนสาเหตุการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการจราจรทางถนน. นนทบุรี : กลุ่มงานระบาดวิทยาโรคไม่ติดต่อ สานักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. 2549 : 7. สุทัศน์ ยกส้าน, อุบัติเหตุจราจร. (ออนไลน์). ม.ป.ป. แหล่งที่มา : http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=1124. (15 พฤษภาคม 2553). มูลนิธิเมาไม่ขับ, สุรากับอุบัติเหตุจราจร. (ออนไลน์). ม.ป.ป. แหล่งที่มา : http://www.thaihealth.or.th/node/4986. (15 พฤษภาคม 2553). ภาวินี เอี่ยมตระกูล, “อุบัติเหตุ...ชนท้าย” สิบสี่แยกความคิด:อุบัติเหตุทางถนน. หน้า 67 กรุงเทพฯ : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ, 2552. ปกรณ์ อนิวัตกูลชัย, “ย้อนร้อยอุบัติเหตุด้วยการสืบค้นสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ ” สิบสี่แยก ความคิด:อุบัติเหตุทางถนน. หน้า 49 กรุงเทพฯ : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ, 2552. สุรสิทธิ์ โรจนกิจอานวย (พ.ต.ท.), “การตรวจสถานที่เกิดเหตุและการชันสูตรพลิกศพ ณ สถานที่ที่พบศพ” การชันสูตรพลิกศพและการตรวจสถานที่เกิดเหตุสาหรับ ผู้ช่วยชันสูตรพลิกศพ. หน้า 1 พ.ท.นพ.เอนก ยมจินดา และคณะ, บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา, 2546. พรเพชร ปัญจปิยะกุล และคณะ, “การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจร” คู่มือการดาเนินงาน ชันสูตรพลิกศพ ฉบับปรับปรุงใหม่ พ.ศ.2549. หน้า 133-139 พรเพชร ปัญจปิยะ กุล และคณะ, บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่ง ประเทศไทย, 2546.


ภาคผนวก ก


- 130 -

คําสั่งอําเภอปากช่อง ที่ 346 / 2552 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจร อําเภอปากช่อง .............................................................................................. ด้วยข้อมูลอุบัติเหตุของอําเภอปากช่อง ยังขาดการจัดระบบที่ดี จําเป็นต้องมีการพัฒนา ระบบข้อมูล ให้มีการนําข้อมูลของแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาวิเคราะห์ เพื่อใช้ประโยชน์ ร่วมกัน จึงขอแต่งตั้งคณะทํางานพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุจราจรอําเภอปากช่อง ดังนี้ 1. คณะกรรมการอานวยการ 1. นายอําเภอปากช่อง ประธานกรรมการ 2. ผู้อํานวยการโรงพยาบาลปากช่องนานา รองประธาน กรรมการ 3. สาธารณสุขอําเภอปากช่อง กรรมการ 4. ผู้กํากับการสถานีตํารวจภูธรปากช่อง กรรมการ 5. สารวัตรใหญ่สถานีตํารวจภูธรตําบลกลางดง กรรมการ 6. สารวัตรใหญ่สถานีตํารวจภูธรตําบลหนองสาหร่าย กรรมการ 7. สารวัตรใหญ่สถานีตํารวจภูธรตําบลหมูสี กรรมการ 8. นายกเทศมนตรีเมืองปากช่อง กรรมการ 9. นายกเทศมนตรีตําบลกลางดง กรรมการ 10. นายกเทศมนตรีตําบลหนองสาหร่าย กรรมการ 11. นายกเทศมนตรีตําบลหมูสี กรรมการ 12. นายกเทศมาตรีตําบลสีมามงคล กรรมการ 13. นายกเทศมนตรีตําบลวังไทร กรรมการ 14. สารวัตรสถานีตํารวจทางหลวงที่1 ฝ่ายปฏิบัติการ 3 นครราชสีมา กรรมการ 15. หัวหน้าสํานักงานขนส่งจังหวัดนครราชสีมา กรรมการ 16. ผู้บังคับกองพันสุนัขทหาร กรรมการ


- 131 -

17. 18. 19. 20. 21. 22. 23. 24.

นายกองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นทุกแห่ง กรรมการ รองผู้อํานวยการเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดนครราชสีมาเขต 4 กรรมการ หัวหน้าหมวดการทางที่ 1 กรรมการ หัวหน้าหมวดการทางที่ 2 กรรมการ หัวหน้าหมวดการทางที่ 3 กรรมการ และเลขานุการ นางอัญชุลี ศรีวัฒนพงศ์ กรรมการและเลขานุการ นางลาวัลย์ บุญชื่น กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ นางสาวจินตนา สอนสุข กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

ให้คณะทางานชุดนี้มีหน้าที่ 1. พิจารณาการจัดข้อมูลเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจร 2. ร่วมวิเคราะห์สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุและทําให้เสียชีวิตในแต่ละรายในการประชุม Dead case conference 3. สนับสนุนการดําเนินงานของคณะทํางาน 4. นําเสนอข้อมูลการเสีย ชีวิตต่อผู้เกี่ยวข้องเพื่อดําเนินการแก้ไข 2. คณะกรรมการด้านข้อมูล 1. นายแพทย์ธเนศ สันติโรจนกุล ประธาน 2. แพทย์หญิงสคราญ อโ ณทัยไพบูลย์ รองประธาน 3. แพทย์หญิงรัตนา ยอดอานนท์ ที่ปรึกษา 4. นางอัญชุลี ศรีวัฒนพงศ์ ที่ปรึกษา 5. พนักงานสอบสวนเจ้าของคดี สถานีตํารวจทุกแห่ง กรรมการ 6. หัวหน้าสํานักงานขนส่งจังหวัดนครราชสีมา กรรมการ 7. หัวหน้าหมวดการทางที่ 1 กรรมการ 8. หัวหน้าหมวดการทางที่ 2 กรรมการ 9. หัวหน้าหมวดการทางที่ 3 กรรมการ กรรมการ 10. สารวัตรจราจร สภ.ปากช่อง 11. ปลัดอําเภองานป้องกัน กรรมการ 12. นางลาวัลย์ บุญชื่น กรรมการ 13. นางสาวกชกร เพียซ้าย กรรมการ


- 132 -

14. 15. 16. 17. 18. 19.

นางสาวนพรัตน์ อารยพัฒนกุล นายเกษมศักดิ์ ชุมศรี นายณรงค์ ชุมศรี อาสาสมัคร และพนักงานศูนย์สื่อสารการแพทย์ฉุกเฉินฯ นางสาวรุ่งทิวา วรรณปะโค นางสาวโกสุม คล่องดี

กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการและเลขนุการ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

ให้คณะทางานชุดนี้ มีหน้าที่ 1. รวบรวมข้อมูลสาเหตุการตายในแต่ละรายอย่างละเอียด ทั้งสังเกต สัมภาษณ์ ถ่ายภาพ 2. นําข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาสาเหตุ ปัจจัยในการแก้ไขเบื้องต้น 3. สรุปผลการวิเคราะห์และรายงานผลในที่ประชุม Dead case conference ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

สั่ง ณ วันที่ 3 เดือน ธันวาคม พ.ศ.2552

ลงชื่อ...................................... (นายคณีธิป บุณยเกตุ) นายอําเภอปากช่อง


- 133 -

รายนามครือข่ายป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจราจร อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ชื่อ-สกุล นายไพฑูรย์ มหาชื่นใจ พ.ต.ท.สรวิศ เพ็ชรคํา พ.ต.ท.ศิณรุจ สืบสนิท ด.ต.สุกรี ซึ่งรัมย์ ร.ต.อ.มนูญ มังคละพลัง ร.ต.อ.โยธิน วรรณทวี ด.ต.กฤช เสมพงศ์ นายเรืองฤทธิ์ รวิยะวงศ์ นายนพพร ไอยรารัตน์ นายวิโรจน์ ศรีสังข์ นายระพิน วันเปรียงเทา นายณัฐพล ชื่นจันทร์ นายยุทธ จรีรัตน์ นายพลกฤษณ์ กราวนอก นายสุจินต์ จิ๋วรี นายปราโมทย์ กิ่งโพธิ์ นางลาวัลย์ บุญชื่น นายแพทย์ธเนศ สันติโรจนกุล นายเกษมศักดิ์ ชุมศรี นางอัญชุลี ศรีวัฒนวงศ์ นายกฤชณัท ฉัตรปัญญาวุฒิ นางจิฤพร ศรีสุวรรณ นายโกศล พงษ์พานิช นายสฤษดิ์ ศรีสังข์ นายมรุต บุญนฤมิตร นายปัญญา ลีฬกาญจนากุล นายวรพงษ์ นามสีฐาน

ตาแหน่ง ปลัดอําเภอ รอง ผกก.ปป.ฯ สว.สป. ผบ.หมู่(ป.) พนง.(สบ.1) รองปลัด รองนายกฯ นายกเทศมนตรี

หัวหน้าหมวดฯ หัวหน้าหมวดฯ หัวหน้าหมวดฯ หัวหน้าห้องฉุกเฉิน นักวิเคราะห์นโยบายฯ หัวหน้าฝ่ายการพยาบาล

ผอ.รร. ประธานชมรมฯผู้สื่อข่าว ผู้สื่อข่าว ผู้สื่อข่าว ผู้สื่อข่าว

สถานที่ทางาน ที่ว่าการอําเภอปากช่อง สภ.ปากช่อง สภ.ปากช่อง สภ.ปากช่อง สภ.หมูสี สภ.กลางดง สภ.กลางดง เทศบาลเมืองปากช่อง เทศบาลตําบลกลางดง เทศบาลตําบลสีมามงคล เทศบาลตําบลวังไทร อบต.หนองสาหร่าย อบต.จันทึก หมวดการทางปากช่องที่1 หมวดการทางปากช่องที่2 หมวดการทางปากช่องที่3 โรงพยาบาลปากช่องนานา โรงพยาบาลปากช่องนานา รพ.ปากช่องนานา / NBT โรงพยาบาลปากช่องนานา บ.โตโยต้าไทยเย็นปากช่อง รร.บ้านท่าเลื่อนสามัคคี รร.มัธยมวชิราลงกรณ์ TV 9 / TPBS TV 7 / คมชัดลึก TV 3 หนังสือพิมพ์เดลินิวส์


- 134 -

นายณรงค์ ชุมศรี น.ส.อาภัสรา ยิ่งยศ นายเสรีย์ ชุมศรี น.ส.เรวดี ปานเกรียว นายประเสริฐ ปรุงคณานนท์

ผู้สื่อข่าว จนท.สํานักงาน(ผู้ ประสานงาน) ผู้ประสานเครือข่าย จ.นม.

น.ส.จันทร์ภัสสร เดชกุล ด.ต.วินัย วงศ์เนียด

รอง ผอ.

นายวิริยะ ศาสตรา พ.ต.ต.พชร รีพี น.ส.วิภา ภูสากล ด.ต.ศุภศักดิ์ จ้อยสูงเนิน นางฉวีวรรณ รัตนสมัย นายอุธร กุดหินนอก

หน.รักษาความปลอดภัยฯ สว.สป.

หนง.ปกครอง

NBT วิทยาลัยการอาชีพปากช่อง มูลนิธิสว่างวิชชาธรรมสถาน สถานีวิทยุชุมชนเมืองปากช่อง เครือข่ายเพื่อนเตือนภัย ศูนย์ เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ สํานักงานขนส่ง อ.ปากช่อง สถานีตํารวจทางหลวง ปาก ช่อง โรงเรียนปากช่อง สภ.หนองสาหร่าย หมวดการทางที่3 สภ.ปากช่อง วิทยาลัยการอาชีพปากช่อง วิทยาลัยการอาชีพปากช่อง


- 135 -

บทเรียนการทางาน ทีมสอบสวนอุบัติเหตุจราจร โรงพยาบาลปากช่องนานา โดย วีระชน เกลียวกลม (สอจร.อีสาน)


- 136 -

เกริ่นนา

กระบวนการทางาน ป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจราจรเป็นการทางานที่ซับซ้อน เกี่ยวข้องกับภาคีหลายภาคส่วน หากเข้ามาสัมผัสกับคนทางานจะพบว่าการทางานไม่มีสูตร สาเร็จที่ตายตัว หัวใจของการทางานนอกจากต้องมีทีมงานที่เข้มแข็งแล้ว ประสบการณ์ในการ ทางานก็เป็นสิ่งสาคัญ แต่ทาอย่างไร ? จะทาให้คนทางานมีประสบการณ์เพิ่มขึ้นโดยไม่ต้องทา เองทุกอย่างล่ะ หลายคาตอบอยู่ในการทางานป้องกันอุบัติเหตุของคณะทางานสนับสนุนการ ดาเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหา อุบัติเหตุจราจรระดับจังหวัด (สอจร.) คาตอบก็คือ การถ่ายทอด ประสบการณ์ในการทางาน ป้องกันและ แก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจราจรของภาคี คนทางานด้านอุบัติเหตุจราจร การเปิด โอกาสให้มีการพบปะแลกเปลี่ยน เรียนรู้ระหว่างคนทางานป้องกันและ แก้ไขปัญหาอุบัติเหจราจร วันนี้ ผู้เขียนได้มีโอกาสตั้งวงสนทนากับทีมสอบสวนอุบัติเหตุจราจรโรงพยาบาลปากช่องนานา จึงขอ เป็นตัวกลางถ่ายทอดประสบการณ์บางส่วนเพื่อนแลกเปลี่ยนมุมมองในการทางาน 1 ปีกับการ สอบสวนอุบัติเหตุจราจรงานที่ทาด้วยจิตอาสาของ ทีมสอบสวนอุบัติเหตุจราจรโรงพยาบาลปาก ช่องนานา ร้อยเรียงเพื่อสะท้อนภาพการทางานของคนกลุ่มเล็กที่ผลการทางานไม่เล็กเลยครับ

แนวคิดและประสบการณ์ในการทํางานอุบัติเหตุจราจร ของทีมสอบสวนอุบัติเหตุจราจรโรงพยาบาลปากช่องนานา ทาไมโรงพยาบาลต้องลงมาทางานสอบสวนอุบัติเหตุ...???

“ประตูสู่อีสาน” คุ้นๆ หู นะวลีนี้ อาเภอปากช่องเป็นประตูสู่อีสาน ก้าวแรกที่จะเข้าสู่ภาคตะวันอกเฉียงเหนือคงปฏิเสธ ไม่ได้ที่จะผ่านอาเภอปากช่อง จากการคมนาคมและการสัญจรในปัจจุบันซึ่งมีการใช้รถยนต์กัน จานวนมากส่งผลให้ประตูสู่อีสานบานนี้เป็นพื้นที่ที่หลายคนบอกว่าเป็นพื้นที่ที่เกิดอุบัติเหตุ บ่อยครั้งเนื่องจากกายภาพของถนนหนทางซึ่งเป็นเนินเล็กๆ สูงๆ ต่าๆ สลับกับทางขึ้นลงภูเขา โรงพยาบาลปากช่องนานาเป็นด่านสุดท้ายที่ต้องรับผู้ป่วยอุบัติเหตุไว้ดูแล แต่เนื่องจากพื้นที่


- 137 -

อาเภอปากช่องมีทีมงานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน หรือรู้จักกันในนาม “ EMS” ที่ต้องรับ ผู้ป่วยจากจุดเกิดเหตุส่งโรงพยาบาล และโรงพยาบาลปากช่องนานาก็เป็นศูนย์ประสานงาน EMS ของอาเภอปากช่อง ไหนๆ ทีม EMS ก็ต้องให้การช่วยเหลือที่จุดเกิดเหตุอยู่แล้ว และการ สอบสวนสาเหตุที่แท้จริงสามารถนาไปแก้ปัญหาได้ตรงจุด ทางทีมงานจึงไม่ลังเลเลยที่จะรับทุน มาดาเนินการจากศูนย์วิชาการเพื่อถนนปลอดภัย(ศวปถ.)มาดาเนินการในเรื่องนี้ และที่สาคัญ ทีมงานได้มีโอกาสที่จะเรียนรู้แบบไม่มีสอนในหลักสูตรทั่วไปด้วย

1 ที่ผ่านมามีประสบการณ์ดี อะไรบ้างที่ได้จากการสอบสวนอุบัติเหตุ ...??? (1) ได้พัฒนาตัวเองเป็นคาตอบ แรก การที่จะสอบสวนสาเหตุที่แท้จริงของ การเกิดอุบัติเหตุจราจรนั้นผู้ที่เข้ามาในทีม ต้องมีการเตรียมตัว หรือทบทวนความรู้ เสมอ หรือแม้กระทั่งหากสงสัยจุดไหนก็ ต้องไปเสาะแสวงหาความรู้เพิ่มเติม เช่น ถามผู้รู้ หรือผู้เชี่ยวชาญ เป็นต้น ตัวอย่าง คือ “ในด้านเทคนิคหรือข้อมูลเกี่ยวกับรถทางทีมสอบสวนอุบัติเหตุจราจรโรงพยาบาลปากช่อง นานาก็จะมีช่างเทคนิคของ บ.โต้โยต้าปากช่องเป็นที่ปรึกษา” และคาตอบสุดท้าย คือ (2) ได้ พัฒนาทีมงาน การทางานเป็นอีกประสบการณ์การทางานที่ได้จาการดาเนินโครงการนี้ การ สอบสวนสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดอุบัติเหตุจราจรนั้น คนเดียวไม่สามารถทาได้อย่างแน่นนอน เพราะรายละเอียดปลีกย่อยลึกๆ ของการสอบสวนต้องอาศัยการประสานงาน ข้อมูล และเทคนิค ต่างๆ เยอะแยะมากมาย นอกจากทีมงานแล้วภาคีต่างๆ ที่เข้าไปเกี่ยวข้องต้องอาศัยเรื่องของ มนุษยสัมพันธ์เข้าไปขอข้อมูลรายละเอียด เพื่อเป็นข้อมูลในการสอบสวนอย่างมากมาย “หลาย

คนบางครั้งแรกๆ ก็ยังไม่เป็นพวกเรา ณ เวลานี้เขาเป็นพวกเราอย่างสนิทใจ”


- 138 -

ภาคีสอบสวนอุบัติเหตุจราจรโรงพยาบาลปากช่องนานา จุดเริ่มต้น...การทางานสอบสวนอุบัติเหตุจราจรโรงพยาบาลปากช่องนานา เริ่มจากทาง ศูนย์ประสานงานกู้ชีพปากช่อง โรงพยาบาลปากช่องนานเห็นว่าเหตุที่ขอความช่วยเหลือผ่าน ทางศูนย์ประสานงานและสั่งการในระบบบริการการแพทย์ฉุกฉินจังหวัดนครราชสีมา 1669 หรือ เรียกสั้นๆ ว่าศูนย์ 1669 (ตั้งอยู่ ณ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา) และศูนย์ 1669 ประสาน ศูนย์ประสานงานกู้ชีพปากช่อง ประสานให้หน่วยกู้ชีพในพื้นที่ออกปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือ โดยส่วนใหญ่เป็นอุบัติเหตุจราจรมากเกินกว่าครึ่ง และเนื่องจากทีมกู้ชีพ และทีมกู้ภัยเป็นทีม แรกที่ถึงจุดเกิดเหตุก่อนทีมอื่นๆ ที่เข้าไป ให้การช่วยเหลือ ทางศูนย์กู้ชีพปากช่องจึง มีแนวคิดที่จะหาสาเหตุของการเกิด อุบัติเหตุเพื่อนาไปสู่การป้องกันโดยมีทาง แพทย์ประจาศูนย์กู้ชีพปากช่อง ทีมงาน ห้องฉุกเฉิน และทางผู้อานวยการ โรงพยาบาลเห็นชอบด้วย เมื่อมี งบประมาณที่สามารถดาเนินการเรื่องนี้ได้ จริงจึงรีบที่จะรับงบประมาณมาเพื่อ ดาเนินการ โดยเริ่มแรกก็มีการตั้งวง นั่งคุยกัน ว่าจะทาอย่างไรก่อนซึ่งทางทีมกู้ชีพปากช่องถือ ว่าโชคดี เพราะช่วงที่มหาวิทยาลัยโทคโนโลยีสุรนารี(มทส.) ดาเนินงานการสอบสวนสาเหตุการ เกิดอุบัติเหตุเชิงลึก ทางทีมกู้ชีพปากช่องได้มีโอกาสเข้าร่วมด้วยหลายกรณี และเมื่อทาง ปภ. จังหวัดจัดอบรมเรื่องนี้ก็ได้ส่งทีมเข้าไปเรียนรู้ด้วย และเมื่อกลับมาจาการอบรมก็ลุยกันเลย ไม่น่าเชื่อ ว่าทีมเราสามารถสอบสวนได้ถึง 27 case ใน ระยะเวลา 10 เดือน “ เริ่มแรกก็มีแต่ทีมโรงพยาบาล

ทากันเอง แต่พอเราได้มีเวทีนาเสนอข้อมูล ถึงตอนนี้ทุก ส่วนเข้ามาเป็นภาคีเครือข่ายของเราหมด” บางท่าน เป็นที่ปรึกษาทางเทคนิค บางท่านต้องขอเอ่ยนาม “หมวดการทางปากช่อง” เป็นผู้ที่นาข้อมูลไป ปรับปรุงจุดเกิดเหตุเพื่อที่จะไม่ให้เป็นจุดอันตรายอีกต่อไป ในบางหน่วยงานเริ่มแรกที่ดาเนิน โครงการขอความร่วมมือก็ยังค่อนข้างจะเป็นทางการ แต่ตอนนี้เป็นกันเองทั้งหมดเลย จึงบอกได้ ว่าได้ผลเกินคาดและเกินกว่าที่โครงการกาหนดเสียอีก และบางอย่างไม่สามารถได้มาหรือ เกิดขึ้นได้ในระบบประสานงานระหว่างหน่วยงานด้วยซ้า และที่สาคัญ ทางทีมงานยังได้มี เครือข่ายไปจนถึงคนขับรถโดยสารสาธารณะขนาดใหญ่อีกด้วย ซึ่งเป็นเครือข่ายที่สามารถให้


- 139 -

คาปรึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมการขับขี่และเทคนิคต่างๆ ในการขับรถขนาดใหญ่ การตัดสินใจ และเทคนิคอีกหลายอย่าง ซึ่งต้องยอมรับว่าประสบการณ์การขับขี่รถยนต์อยู่บนถนนเป็นสิบๆ ปี ของผู้ที่เข้ามาเป็นเครือข่ายกับเรา สามารถทาให้เราตอบโจทย์การสอบสวนสาเหตุของการเกิด อุบัติเหตุจราจรในเรื่องของพฤติกรรมการขับขี่ได้ดีขึ้นในระดับหนึ่งซึ่งบางทีหาคาตอบจากตารา หรือการเทียบเคียงกับเหตุอื่นๆไม่ได้ การมีเครือข่ายนี้จึงเหมือนกับมีผู้เชี่ยวชาญให้คาปรึกษา เฉพาะด้านเลยทีเดียว

งบน้อยนิด..แต่คุ้มค่า “คุ้มค่ายิ่งกว่าเพราะทีมได้เรียนรู้” แทบไม่น่าเชื่อว่าใน 1 ปี ที่ผ่านมาทางทีม ทีม สอบสวนอุบัติเหตุจราจรโรงพยาบาลปากช่องนานา สามารถลงสอบสวนสาเหตุของการเกิด อุบัติเหตุได้ถึง 27 เหตุ ซึ่งถือว่าคุ้มมากๆ หากเทียบกับงบประมาณที่ได้รับมา แต่จริงๆ แล้วคุ้ม ยิ่งกว่าเพราะทีมเราได้เรียนรู้ งบประมาณที่ได้รับมาได้เปิดโอกาสให้ทีมงานของโรงพยาบาลได้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งไม่ใช้แต่ทีมของโรงพยาบาลอย่างเดียวที่ ดังนั้นงบ สสส. ที่ผ่าน ศวปถ. มาแม้จะน้อยนิดแต่ก็ “เปิดโอกาสที่เราได้ทางาน และที่สาคัญได้เครือข่ายเพิ่มขึ้นด้วย”

อุปสรรคในการทํางานก็มีบ้าง “งบประมาณกว่าจะได้มาก็ทางานไปแล้วตั้ง 3 เดือน” เริ่มต้นก็มีปัญหาอุปสรรคในการ ดาเนินงานโครงการเลย เพราะทางานไปแล้วตั้ง 3 เดือนแต่ยังไม่ได้รับงบประมาณเลย จริงๆ แล้วความผิดพลาดอยู่ที่การประสานงานเอง แต่ทีงานก็แก้ไขปัญหาได้อย่างเยี่ยมยอด เมื่อมี ข้อมูลที่ได้จาการดาเนินการแล้วบางส่วนในเมื่อยังได้ได้งบก็พยายามแทรกการนาเสนอเข้าไปใน วาระประชุมของอาเภอ และเมื่องบประมาณมาจึงมีโอกาสได้จัดเวทีซึ่งสามารถเผยแพร่ข้อมูลที่ สอบสวนมาได้มากกว่า และที่สาคัญอาเภอปากช่องเป็นอาเภอที่ค่อนข้างใหญ่มีสื่อสารมวลชน ต่างๆ หลายแขนงมาตั้งสานักงานในพื้นที่จึงมีโอกาสได้ประชาสัมพันธ์การดาเนินเงินเป็นระยะๆ อุปสรรคอีกอย่างหนึ่งที่สาคัญ คือ การดาเนินงานโครงการอาศัยทีมกู้ชีพ หรือทีม EMS ของ โรงพยาบาลเป็นหลักทาให้เก็บข้อมูลในที่เกิดเหตุได้บางส่วนและต้องตามลงไปเก็บข้อมูลเพิ่มอีก ในภายหลัง ตรงนี้เองเวลาไปเก็บข้อมูลซ้าก็จะเป็นปัญหากับทีมพอสมควรเพราะต้องลงพื้นที่กัน อีกรอบ แต่การแก้ไขปัญหาในปัญหานี้ก็แก้ไขปัญหาได้ไปในระดับหนึ่งโดยสานักงานระบบ บริการการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดนครราชสีมา สานักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา มอบ เสื้อสะท้อนแสงให้จานวน 5 ตัวเพื่อใช้ในการนี้โดยเฉพาะ อีกปัญหาสาคัญก็คือ ในเมื่อทีมที่ออก อยู่ในศูนย์กู้ชีพปากช่องปัญหาสาคัญอีกปัญหาก็คือการจัดเวรในการออกสอบสวน เพราะการ สอบสวนแต่ละcase ไม่ได้เสร็จในวันเดียว บาง case ใช้เวลาเป็นเดือน ต้องหาข้อมูลเพิ่มหลาย


- 140 -

รอบการแก้ปัญหาจึ่งต้องอาศัยจิตอาสากันเป็นส่วนใหญ่ แต่ปัญหาที่สาคัญที่สุดคือ ความ ร่วมมือจากแต่ละหน่วยงานน้อยมากเมื่อทีมไปขอความร่วมมือ แต่เป็นเฉพาะช่วงแรกเท่านั้น เมื่อทีมได้ให้ข้อมูลในการสอบสวนกับแต่ละหน่วยงาน ในช่วงระหว่างการดาเนินงานจนถึงใกล้ ปิดโครงการความร่วมมือไม่รู้มาจากไหน ทุกหน่วยงานตอบรับหมด จนถึง ณ ปัจจุบัน ยังโยงไป ถึงโครงการแต่ละหน่วยงานทาเองเครือข่ายก็เข้าไปช่วยเหลือกัน

พอใจแค่ไหน ? พอใจมากในการดาเนินการงานที่ผ่านมา แต่ยังไม่ถึง 100% หากมีงบประมาณ ดาเนินการต่อจะดีมาก ขอแค่เป็นงบตั้งวงก็พอ เพราะทีมงานและครือข่ายสามารถประสานงาน กันได้แบบไม่เป็นทางการแล้ว “สามารถโทรประสานงานได้ ทุกหน่วยงาน ทุกภาคี” ซึ่งบอกได้เลยในวัฒนธรรมหรือในบริบทของปากช่องแต่เดิม หรือแต่ไหนแต่ไรไม่เคยมี ปัจจุบัน หลังจากได้ดาเนินงานโครงการนี้ ทาให้ทีมงานและเครือข่ายของปากช่องสามารถประสานกันได้ ถือว่าได้มากกว่าที่ตั้งไว้แล้ว จึงสามารถบอกได้เลยว่ามากกว่าผลงานที่ได้ ประทับใจในผล พลอยได้ของโครงการ คือ ประทับใจที่หลังจากการดาเนินงานโครงการแล้วเกิดเครือข่ายการ ดาเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจราจรของปากช่องแบบเป็นกันเอง ความเป็น ทางการเริ่มหายไป

...ต่อยอด จ ากผลการดาเนินงานที่ผ่านมาจะเห็นว่าทางทีมงานสอบสวนอุบัติเหตุของโรงพยาบาล ปากช่องนานา ทางานมา 1 ปี ได้ผลการสอบสวนถึง 27 case และหลาย case หรือหลายกรณี ที่สอบสวนสามารถมีหน่วยงานหรือผู้รับผิดชอบนาผลการสอบสวนไปใช้ในการปรับปรุงแก้ไข ปัญหาในระดับหนึ่งแล้ว ทางทีมงานจึงเห็นว่า “ถึงแม้จะไม่มีงบประมาณในการดาเนินงานอีกต่อไป” ทางทีมงานและเครือข่ายก็จะยังคงสอบสวนอุบัติเหตุต่อไป แต่จะเลือกเฉพาะกรณีที่เห็นว่า สาคัญจริง และสามารถนาไปสู่การแก้ไขได้ ทั้งนี้เพื่อให้การดาเนินงานที่ดาเนินงานมาแล้วยังคง อยู่ เครือข่ายยังคงอยู่ และที่สาคัญทางทีมคิดว่าการสอบสวนสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ เป็นข้อมูล เชิงคุณภาพที่สามารถนามาประกอบการตัดสินใจในการแก้ไขปัญหาที่ทาให้เห็นปัญหาหรือ สาเหตุของปัญหาที่แท้จริง ซึ่งแต่เดิมคุยกันแต่เรื่องสถิติ เรื่องตัวเลข แต่มีข้อมูลพวกนี้เพิ่มเติม เข้าไปทาให้มองเห็นอะไรๆ เยอะมาก และที่สาคัญทาให้ทางผู้บริหารสามารถตัดสินใจในการ แก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง และตรงกับปัญหา *************************


ภาคผนวก ข


- 142 -

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลสอบสวนอุบัติเหตุจราจร


- 143 -


- 144 -


- 145 -


- 146 -


- 147 -


- 148 -


- 149 -


- 150 -


- 151 -


- 152 -


- 153 -


- 154 -


- 155 -


- 156 -


- 157 -


- 158 -


- 159 -


- 160 -


- 161 -


- 162 -


- 163 -


- 164 -


- 165 -


- 166 -


- 167 -


- 168 -


- 169 -


- 170 -


- 171 -

รางวัลแห่งความสาเร็จ


- 172 -


- 173 -


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.