สารสถาบัน สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ ฉบับที่ 10

Page 1

สารสถาบันฯ

ฉบับที่ 10 วันที่ 7 ธันวาคม 2555

ธันวาคม 2555 - มกราคม 2556

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Research Institute for Health Sciences, Chiang Mai University

ผอ. อยากคุย ศ. นพ.สุวัฒน์ จริยาเลิศศักดิ์

สารสถาบันฯ 01-03 ผอ. อยากคุย (จริงๆ) 04-10 เล่าขานงานวิจัย 11-19 News & Event 20 ตารางกิจกรรม 21-23 ซุปซิบสร้างสรรค์ 24-25 บอกกล่าวรอบบ้าน 26-36 ย่ำ�เท้าทั่วไทย ไปทั่วโลก

ที่ปรึกษา

ศ. นพ. สุวัฒน์ จริยาเลิศศักดิ รศ. พญ. อัมพิกา มังคละพฤกษ์ ศ. นพ. ขวัญชัย ศุภรัตน์ภิญโญ ผศ. นพ. อภินันท์ อร่ามรัตน์ ผศ. นพ. เกรียงไกร ศรีธนวิบุญชัย

กองบรรณาธิการ นางบุปผา ประภาลักษณ์ นางสาวอริยา สิงหประเสริฐ นางปภาวดี ดำ�รงมณี นางสาวทัศนวรรณ บริบูรณ์ นางสาวอุวรรณา รัตนศรี นายวิโรจน์ แก้วตุ้ย นายพิพัฒน์พงศ์ ตุลาพงษ์พิพัฒน์

(จริงๆ)

ฉบับนี้ ถือเป็นฉบับส่งท้ายปีเก่า 2555 ต้อนรับปีใหม่ 2556 ผ่านพ้นจากปีมะโรง มาเป็นปีมะเส็ง ปีนี้ที่ก�ำลังจะผ่านไปถือว่าประเทศไทยสามารถผ่านพ้นภัยพิบัติไปได้ ด้วยดี ไม่เหมือนกับปี 2554 ที่ประเทศไทยโดนน�้ำท่วมแช่ขังกันอยู่นานหลายเดือน รวมถึงกรุงเทพฯ และสนามบินดอนเมือง ก็ไม่รอดเหมือนกัน อาจถือเป็นอานิสงส์ของ น�้ำท่วมภาคกลางหรือเปล่าก็ไม่รู้ เพราะปีนี้ ขับรถในเมืองเชียงใหม่และอ�ำเภอรอบ ๆ เห็นมีแต่ป้ายโฆษณาขายบ้าน รวมถึงมีการสร้างคอนโดในเมืองผุดขึ้นมาเหมือนกับ ดอกเห็ ด มี ห ลายคนบอกว่ า คอนโดหลายแห่ ง โดยเฉพาะที่ มี ท� ำ เลที่ ตั้ ง ในเมื อ ง แถวหลังมอ แถวถนนนิมานเหมินทร์ เปิดจองปั๊บ ขายใบจองได้หมดทุกห้องภายใน หนึ่งวัน บางคนบอกว่าต้องไปกางเต้นท์นอนรออยู่หน้าส�ำนักงานก่อนหนึ่งคืน กลัวจะ จองไม่ทัน ...งงงงงง ไม่รู้ข่าวอันหลังนี่มั่วนิ่มหรือเรื่องจริงก็ไม่รู้เหมือนกัน แต่ที่แน่ ๆ สงสัยจะเป็นคนจากถิ่นอื่นแห่กันมาจองซื้อมากกว่าโดยเฉพาะคน กทม. คงอยากจะหนี น�้ำท่วมคราวต่อไป เพราะถ้าเป็นคนอยู่เชียงใหม่อยู่แล้ว น่าจะไปหาซื้อบ้านหลังเดี่ยว พร้อมที่ดิน น่าจะมีความสุขและสะดวกสบายมากกว่าไปอุดอู้กันอยู่ในคอนโด ไม่รู้ เหมือนกันว่า ชาวสถาบันฯ มีท่านใดแห่ไปแย่งจองซื้อกับเขากันบ้างไหม ถ้ามี น่าจะเป็น ประเภทหัวแม่ค้า ซื้อไว้ขายเก็งก�ำไรมากกว่าครับ ขณะที่ก�ำลังมานั่งเขียนต้นฉบับเพราะต้องส่งให้กองบรรณาธิการคืนนี้ ก�ำลัง นัง่ พิมพ์คอมอยูท่ เี่ มืองพาโร ประเทศภูฏาน ไม่รสู้ ะกดถูกไหม เพราะบางคนก็เรียก ภูฐาน เอาเป็นว่า เรียกกันตามถนัดปากก็แล้วกัน อยู่มาได้เข้าวันที่แปดแล้ว น�้ ำหนักน่าจะ ลดลงไปหลายขีด เพราะหาร้านอาหารทีพ่ อกินได้นอ้ ยมาก ไม่กต็ อ้ งกินอาหารในโรงแรม ที่พักอย่างเดียว ส่วนที่ได้มาก็เพราะทางองค์การอนามัยโลกภูมิภาคนี้ ขอให้มาช่วย จัดหลักสูตรอบรมเรื่องการวิจัยทางระบาดวิทยาให้แก่หมอและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ของประเทศภูฏาน เขาให้มาได้ 2 คน เลยชวนอาจารย์หมอเกรียงไกรมาช่วยกันสอน เพราะปกติก็สอนนักศึกษาแพทย์เรื่องเดียวกันนี้อยู่แล้ว โดยจัดอบรมกันที่เมืองทิมพู ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศนี้ ส่วนสนามบินของประเทศนี้ อยู่ที่เมืองพาโร ขามาต้อง มาลงเครื่องบินที่เมืองนี้ แล้วนั่งรถต่อไปอีกชั่วโมงเศษประมาณ 60 กิโล ลัดเลาะไปตาม ช่ อ งเขาและล� ำ แม่ น�้ ำ ประเทศนี้ น ่ า จะเรี ย กว่ า ไปไหนก็ มี แ ต่ หุ บ เขาล้ อ มรอบ ส่ ว นตั ว เมื อ งหลวงทิ ม พู นั้ น ตั้ ง อยู ่ ใ นช่ อ งกลางหุ บ เขา แต่ ตั ว เมื อ งใหญ่ ก ว่ า

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


เมืองแม่ฮ่องสอนมาก ไม่สามารถหาที่ราบที่ ก ว ้ า ง พ อ จ ะ ท� ำ สนามบิน ให้เครื่องบิน ลงมาในเมืองหลวงได้ เลยต้ อ งมาสร้ า งที่ เมืองพาโร เพราะพอ จะมี ช ่ อ งว่ า งที่ เ ป็ น พื้ น ที่ ร าบกว้ า งพอ ในระหว่างช่องเขาทีจ่ ะ ท�ำรันเวย์ให้เครื่องบิน ขนาดเล็กหน่อยลงได้ แต่รันเวย์ก็สั้นมาก น่าจะพอ ๆ กับเมือง แม่ฮ่องสอนหรืออาจจะสั้นกว่า แต่ที่แน่มากคือ เครื่องบินต้อง ร่อนลงระหว่างช่องเขา พอพ้นช่องเขาแล้ว นักบินก็หกั พวงมาลัย แล้วเลีย้ วลงลดระดับ แล้วจอดในรันเวย์เลยทันที เรียกว่ากัปตัน ของสายการบินดรุคแอร์ ซึง่ เป็นสายการบินเดียวของประเทศนี้ เท่านั้นที่กล้าขับเครื่องบินขึ้นและลงที่นี่ ตอนเครื่องร่อนลง เร็วมาก เผลอแผล็บเดียวแตะพื้นรันเวย์แล้ว ผู้โดยสารปรบมือ กันเกรียว คงเพราะโล่งใจที่ตรูรอดมาได้ เขาคุยกันว่า มีนักบิน กัปตันของสายการบินนีเ้ พียงแปดคนเท่านัน้ ทีส่ อบได้ใบอนุญาต ขับขี่ให้น�ำเครื่องบินขึ้นลงที่สนามบินเมืองพาโรได้ เรียกว่า ถ้ามือไม่ถึง และใจไม่ถึง ก็อย่าเสี่ยงเอาเครื่องบินลงที่เมืองนี้ จะดีกว่า ส่วนจะจริงเท็จประการใด ก็ไปหาข้อเท็จจริงกันเอง นะครับ มีเรื่องอะเมสซิงหลายอย่างที่ได้เจอะเจอที่ประเทศนี้ เพราะปกติ ใครจะมาก็ยาก คิวจองตั๋วเพื่อจะเข้าประเทศนี้ ก็ยาวมาก แถมราคาเหมาทัวร์ก็แพงพอควร น่าจะประมาณ หกหมื่นกว่าบาท ส�ำหรับเที่ยวแค่ 4-5 วัน นี่ถ้าทาง WHO ไม่เชิญให้มาสอน ก็คงหาโอกาสมาเที่ยวเองได้ยาก ตอนนี้ขอ เอาเฉพาะบางเรื่องที่อยากเล่า มาเขียนให้ฟังสัก 2 เรื่องก่อน ก็แล้วกัน ส่วนเรื่องยาว ๆ ไว้รออ่านในสารสถาบันฯ ฉบับต่อไป ว่ า จะขอให้ อาจารย์ ห มอเกรี ย งไกรเขี ย นมาลงในคอลั ม น์ ตะลุ ย เดี่ ย ว เที่ ย วทั่ ว โลก (ไม่ รู ้ เ ขี ย นชื่ อ คอลั ม น์ ถู ก ไหม ?) พร้ อ มรู ป ถ่ า ยประกอบ เพราะเป็ น ประเทศที่ มี ภู มิ ป ระเทศ สวยงามมาก ๆ น่าจะเอาไปท�ำโปสการ์ดปีใหม่ขายได้เลย ส่วนจะให้มาอีก จะมาไหม ขอคิดดูก่อนก็แล้วกันครับ ประเทศภู ฏ านเป็ น ประเทศขนาดเล็ ก มี ป ระชากร ประมาณเจ็ดแสนกว่าคน เรียกว่า น้อยกว่าจังหวัดเชียงใหม่ ของเราเท่าตัว เมืองส่วนใหญ่กระจายอยู่กันตามร่องในหุบเขา อากาศจึงเย็นเกือบตลอดปี ขณะที่ก�ำลังพิมพ์ต้นฉบับอยู่นี้

สารสถาบันฯ 2

อุณหภูมิที่หน้าต่างอยู่ที่ศูนย์องศาพอดี ในห้องเลยต้องเปิด ฮีทเตอร์กันเต็มที่ ส่วนกลางวันก็ประมาณสิบองศา หนาวสะใจ คนเฒ่าจริง ๆ เรื่องแรกที่น่าทึ่งมาก คือ ตอนจัดอบรมที่เมืองทิมพู เขาจัดให้ อาจารย์ไปพักบนเชิงดอย คล้าย ๆ กับพักที่กาแล เชียงใหม่ มองลงมาจะเห็นตัวเมืองตัง้ อยู่ในหุบเขา สวยงามมาก ส่วนโรงแรมที่จัดอบรม ไปอยู่อีกด้านหนึ่งของตัวเมือง ตอนเช้า เขาจะส่งรถมารับไปที่โรงแรมที่จัดอบรม แต่พอถึงวันอังคาร เขาบอกว่า ทางรัฐบาลก�ำหนดให้ทุกวันอังคาร เป็นวันปลอดรถ ห้ า มรถส่ ว นตั ว วิ่ ง เข้ า มาในตั ว เมื อ ง ตั้ ง แต่ แ ปดโมงเช้ า ถึ ง หกโมงเย็ น ยกเว้ น รถแท็ ก ซี่ อนุ ญ าตให้ วิ่ ง เข้ า ตั ว เมื อ งได้ โดยสลับเลขทะเบียนท้าย เลขคี่ กับ เลขคู่ ให้สลับสัปดาห์กัน วิ่งได้ ทางกระทรวงสาธารณสุขซึ่งเป็นผู้จัดอบรม เลยส่งแท็กซี่ ให้มารับวิทยากรที่โรงแรม ตอนรถขับเข้ามาในตัวเมือง เลยเห็นแต่คนเดินกัน ไปมาขวักไขว่ รวมทัง้ นักเรียน และคนไปท�ำงาน ขนาดหมอภูฏาน ที่ม าเข้ า รั บ การอบรมยั ง เดิน มาจากในตั ว เมือ งมาที่โ รงแรม ซึ่งตั้งอยู่ชานเมือง บอกว่าเดินมาประมาณครึ่งชั่วโมง เรียกว่า ท�ำได้ยงั ไง ถ้าเป็นเรา คงจะประมาณชัว่ โมงหนึง่ เพราะไกลมาก พอควร รถที่ วิ่ ง ในเมื อ งนี้ ส่ ว นใหญ่ เ ป็ น รถเล็ ก ๆ ทั้ ง นั้ น กั บ พวกรถเอสยู วี ก็ มี บ ้ า ง รถเล็ ก น่ า จะเครื่ อ ง 800 ซี ซี เป็นส่วนใหญ่ ตอนแรกก็นึกชมเชยอยู่ในใจ ว่ารัฐบาลใจถึง กล้าก�ำหนดกฎเกณฑ์อย่างนี้ได้ เขาบอกว่าท�ำมาได้หลายเดือน แล้วด้วย แต่พอวันที่นั่งรถกลับจากเมืองทิมพูมาที่เมืองพาโร เพื่อจะขึ้นเครื่องบินกลับไทย ถามคนขับรถ เขาบอกว่า เมื่อคืน ทางรัฐบาลเพิ่งประกาศทางโทรทัศน์ ขอยกเลิกวันปลอดรถ ที่ท�ำในทุกวันอังคารแล้ว เพราะประชาชนบ่นกันมาก รวมถึง นักท่องเที่ยวด้วย ตอนนี้เลยขยับวันปลอดรถ มาเป็นเดือนละ 1 วัน และให้เป็นวันอาทิตย์แทน ... สรุป ประเทศเขาก็ยงั พยายาม ท� ำ สิ่ ง ดี ๆ เพื่ อ ช่ ว ยลดโลกร้ อ นและลดการใช้ พ ลั ง งาน ส่วนบ้านเราก็ตะลุยใช้รถใช้นำ�้ มันกันต่อไปก็แล้วกัน แถมไปเจอ รถคันแรก ลดภาษีเข้าอีก รถใหม่ป้ายแดงเลยออกมาวิ่งพล่าน กันทัว่ เมืองตอนนี้ ขนาดเชียงใหม่ของเรา ตอนนีร้ ถราก็ตดิ ไม่แพ้ กรุงเทพฯ กันแล้ว

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


ส่ ว นเรื่ อ งน่ า ทึ่ ง เรื่ อ งที่ ส อง เป็ น ไปในทางไม่ ดี นั ก เพราะอยู่ที่นี่แค่อาทิตย์เดียว เจอไฟฟ้าดับไปสองคืน คืนแรก โดนไปสองชั่วโมงเศษ แถมตอนไฟฟ้ามา ยังอุตส่าห์มาเป็นเฟส (Phase) คือมาเฉพาะห้องชั้นล่างและชั้นหนึ่ง ส่วนห้องอาจารย์ อยู ่ ชั้ น สอง เลยไม่ มี ไ ฟต่ อ ไปอี ก เป็ น ชั่ ว โมง เกื อ บจะแข็ ง (หมายถึงตัวแข็ง เพราะหนาวมาก) พอดี ส่วนอีกคืน ไฟฟ้าดับ ตั้ ง แต่ ส ามทุ ่ ม กว่ า พอดี เ ข้ า นอนไวหน่ อ ย เพราะนอนดึ ก เตรียมสอนมาหลายคืนแล้ว ปรากฎว่าไฟฟ้ามาเอาตอนเช้า หกโมงกว่ า ลงไปถามข้ า งล่ า ง บอกว่ า ไฟช็ อ ตไหม้ ห้องชั้นเดียวกับที่อาจารย์อยู่ เขาก� ำลังโทรไปตามช่างไฟฟ้า จากบ้านให้มาช่วยซ่อมให้ เลยได้ความหนาวประทับใจจริง ๆ มารอบนี้ เขียนมาเล่าแค่นี้พอเป็นน�้ำจิ้มก็แล้วกัน ส่วนฉบับ ยาว ๆ รอไปอ่านฉบับหน้า ในคอลัมน์ ตะลุยเมืองภูฏาน นะครับ นี่ก็เข้าสู่เดือนส่งท้ายปีเก่า และจะเข้าสู่ปีใหม่ 2556 อีกแล้ว ทางคณะกรรมการบริ ห ารสถาบั น ฯ เห็ น สมควรให้ มี ก าร จัดงานวันสัมมนาสถาบันฯ เหมือนเช่นที่ผ่านมาทุกปี ส�ำหรับ ปีนี้ก�ำหนดจะจัดในวันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม 2555 ครับ คงได้ร่วม รับฟังสิ่งดี ๆ ที่เป็นประโยชน์แก่ชีวิตในช่วงบ่าย ก�ำลังติดต่อ เรียนเชิญวิทยากรอยู่ ต่อด้วยการรับฟังรายงานความก้าวหน้า

ของสถาบันฯ จากทีมผู้บริหาร และการมอบรางวัลบุคลากร ดีเด่นของสถาบันฯ ส่วนปิดท้ายช่วงบ่ายแก่ ๆ ก็จะเป็นกิจกรรม สังสรรค์ เล่นเกมส์คลายเครียด (บางคนเท่าที่สังเกตดูจาก ปีทแี่ ล้ว หนักไปทางเพิม่ ความเครียด เพราะท่านดูเอาจริงเอาจัง ในการเล่นเกมส์เสียเหลือเกิน) สุดท้ายก็เป็นช่วง รับประทาน อาหารเย็น ชมการแสดงจากหน่วยงานต่าง ๆ ด้วยชุดสุดเลิศหรู อลั ง การงานสร้ า ง (เวอร์ ไ ปหน่ อ ย) ส� ำ หรั บ นั ก กี ฬ า ของสถาบันฯ ที่ต้องเตรียมตัวแข่งกีฬามหาวิทยาลัยต่อเลย ในเช้าวันเสาร์ที่ 22 ธันวาคม 2555 ก็ขอความกรุณาออมแรง เก็ บ เอาไว้ แ ข่ ง กี ฬ าด้ ว ย เดี๋ ย วจะพลาดเหรี ย ญรางวั ล หมด ยั ง ไงถ้ า รู ้ สึ ก เสี ย ดายที่ จ ะกิ น มากหรื อ ดื่ ม มากไม่ ไ ด้ ใ นช่ ว ง งานเลี้ ย งตอนกลางคื น อนุ ญ าตให้ ห ่ อ ใส่ ถุ ง เก็ บ ใส่ ตู ้ เ ย็ น ค่ อ ยเอาไปกิ น ต่ อ หลั ง แข่ ง กี ฬ ามหามหาวิ ท ยาลั ย เสร็ จ แล้ ว แต่มีเงื่อนไขว่า ถ้าแพ้ ต้องเอาอาหารและเครื่องดื่มที่กักตุนไว้ มาคืนที่เลขาอ้อยนะครับ เจ้ใหญ่เขาสั่งให้มาบอกต่อครับ ท้ายนี้ ก็ขออนุญาตอวยพรล่วงหน้า ให้ชาวสถาบันฯ ที่รักทุกท่าน จงประสบแต่ความสุข ความเจริญ คิดและท�ำ ในสิ่ ง ที่ ดี ช่ ว ยกั น พั ฒ นาให้ ส ถาบั น ฯ ของเราได้ ก ้ า วหน้ า สามารถสร้างสรรค์สิ่งดี ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนไทย และประชาชนทั่ ว โลก ด้ ว ยความตั้ง ใจและความทุ ่ ม เทของ พวกเราทุกคนครับ.....สวัสดีปีใหม่ 2556

#####

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 3


“เล่าขานงานวิจัย” ศูนย์วิจัยด้านโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ผศ. นพ. เกรียงไกร ศรีธนวิบุญชัย

ศู

นย์วิจัยด้านโรคเอดส์ ได้เป็นผู้ประสานการจัด การอบรมหลักสูตรการจัดการงานวิจัยทางคลินิก (Clinical Research Management Training Course) เมื่อวันที่ 10 – 12 ตุลาคม 2555 ให้แก่นักวิจัยจากคณะแพทยศาสตร์ตลอดจน หน่วยวิจัยต่าง ๆ 13 แห่ง ภายในประเทศ จ�ำนวน 43 คน ซึ่ง การจั ด การอบรมผ่ า นพ้ น ไปด้ ว ยดี ผู ้ เ ข้ า รั บ การอบรม ส่วนใหญ่มคี วามพึงพอใจอย่างมากต่อเนือ้ หาและรูปแบบของ การจัดการอบรม ในตอนท้ายของการอบรมได้มกี ารอภิปราย ทั่ ว ไป โดยที่ ป ระชุ ม เห็ น ตรงกั น ว่ า การอบรมครั้ ง นี้ เ ป็ น จุดเริ่มต้นในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนา คลินิกวิจัยในโรงเรียนแพทย์ต่าง ๆ ของประเทศ และน่าจะมี การอบรมในหลักสูตรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องตามมาในอนาคต นอกจากนั้นยังมีความเป็นไปได้ที่สถาบันต่าง ๆ จะร่วมกัน ด� ำ เนิ น งานวิ จั ย ทางคลิ นิ ก ขนาดใหญ่ แ บบ Multi-center ในอนาคตอีกด้วย

ศ.นพ.สุวัฒน์ จริยาเลิศศักดิ์ ผู้อ�ำนวยงานสถาบันฯ พร้อมด้วย ผศ.นพ.เกรียงไกร ศรีธนวิบุญชัย หัวหน้าศูนย์วิจัย ด้านโรคเอดส์ฯ และคุณชลลิสา จริยาเลิศศักดิ์ หัวหน้าฝ่าย ควบคุมโรค ส�ำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ ได้รบั เชิญ จากส�ำนักงานองค์การอนามัยโลกภาคพื้นเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ ให้ไปเป็นวิทยากรในการจัดการอบรมเกีย่ วกับระเบียบ วิธวี จิ ยั และการเขียนโครงร่างวิจยั ให้แก่แพทย์และนักวิจยั ชาว ภูฏาน ณ กรุงทิมพู ประเทศภูฏาน ระหว่างวันที่ 12 ถึง 17 พฤศจิกายน 2555 ที่ผ่านมา

สารสถาบันฯ 4

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


ศูนย์วิจัยชีวโมเลกุล และเซลล์วิทยาของโรคติดเชื้อ ศ.นพ.ขวัญชัย ศุภรัตน์ภิญโญ

ศู

น ย์ ชี ว โมเลกุ ล และเซลล์ วิ ท ยาของโรคติ ด เชื้ อ ได้ ด� ำ เนิ น โครงการวิ จั ย ในหลายสาขาได้ แ ก่ ไวรั ส วิ ท ยา ชีวโมเลกุล ภูมิคุ้มกันวิทยา ฯลฯ วันนี้จะขอแนะน�ำโครงการ วิจยั เรือ่ งประชากรย่อยเม็ดเลือดขาวชนิดทีเซลล์และการผลิต ทีเซลล์จากไธมัสในผู้ทตี่ ดิ เชือ้ เอชไอวีภายหลังได้รบั การรักษา ด้วยยาต้านไวรัส ซึ่งเป็นโครงการหนึ่งภายใต้โครงการวิจัย บู ร ณาการเพื่ อ พั ฒ นาศั ก ยภาพในการวิ นิ จ ฉั ย การรั ก ษา และการป้องกัน โรคเอดส์/โรคติดเชื้อ เอชไอวี และโรคติดเชื้อ ฉวยโอกาสในผู้ป่วยโรคเอดส์ เพือ่ เป็นต้นแบบส�ำหรับประเทศ ที่ มี ท รั พ ยากรจ� ำ กั ด ที่ ไ ด้ รั บ ทุ น สนั บ สนุ น จากโครงการ มหาวิทยาลัยแห่งชาติ โครงการนี้เกิดขึ้นเนื่องจากการพบว่า ภายหลังจากการรักษาด้วยยาต้านไวรัส ผู้ติดเชื้อแต่ละคน มี ก ารกลั บ คื น มาของระบบภู มิ คุ ้ ม กั น ที่ แ ตกต่ า งกั น และมี ผู ้ ติ ด เชื้ อ ที่ ไ ด้ รั บ ยาบางส่ ว นมี ก ารกลั บ คื น มาของระบบ ภูมิคุ้มกันแบบไม่สมบูรณ์หรือช้ากว่าปกติ (Slow immune recovery) ท� ำ ให้ ผู ้ ติ ด เชื้ อ เหล่ า นี้ มี ค วามเสี่ ย งสู ง ต่ อ การ ด�ำเนินของโรคไปสู่อาการเอดส์ การเจ็บป่วยจากการติดเชื้อ ฉวยโอกาสอื่นๆ และการเสียชีวิตมากกว่าผู้ติดเชื้อที่มีการ กลับคืนมาระบบภูมิคุ้มกันปกติ (Normal immune recovery) ซึ่งปัจจัยที่ท�ำให้ผู้ติดเชื้อที่ได้รับยากลุ่มนี้มีการกลับคืนมา ของระบบภู มิ คุ ้ ม กั น แบบไม่ ส มบู ร ณ์ ห รื อ ช้ า กว่ า ปกติ นั้ น ยังไม่เป็นที่เข้าใจมากนัก

รศ. ดร.สาคร พรประเสริฐ

ดร.ดวงนภา กิ่งแก้ว ดร.จุฑารัตน์ ประภารัตนะพันธุ์

ครงการวิจัยนี้จึงเกิดขึ้นจากความร่วมมือกันของคณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซื่งประกอบด้วย ดร.ดวงนภา กิ่งแก้ว จากศูนย์ชีวโมเลกุลและเซลล์วิทยาของโรคติดเชื้อ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ ดร.จุฑารัตน์ ประภารัตนะพันธุ์ ภาควิ ช าอายุ ร กรรมศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ และ รศ. ดร.สาคร พรประเสริ ฐ จากคณะเทคนิ ค การแพทย์ โดยมี รศ. นพ. ขวัญชัย ศุภรัตน์ภิญโญ จากภาควิชาอายุรกรรมศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์และศูนย์ชีวโมเลกุลและเซลล์วิทยา ของโรคติดเชื้อ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นที่ปรึกษาโครงการวิจัย โครงการวิจัยได้ดำ�เนินการเป็นระยะเวลา 2 ปีกว่าแล้ว ขณะนี้เข้าสู่ปีที่ 3 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของการดำ�เนินงาน ซึ่งคาดว่าผลสำ�เร็จของโครงการนี้จะมีประโยชน์ในด้านวิชาการที่ช่วยให้ นักวิจัยได้เข้าใจบทบาทของประชากรย่อย CD4+ T cell ต่อการกลับคืนมาของระบบภูมิคุ้มกันที่แตกต่างกัน ซึ่งจะเป็นองค์ความรู้ ที่จะนำ�ไปสู่การประยุกต์ใช้ในหน่วยงานทางการแพทย์เช่น โรงพยาบาลต่างๆ โดยช่วยให้แพทย์สามารถวางแผนการรักษาผู้ป่วย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยชะลอหรือป้องกันมิให้ผู้ติดเชื้อที่ได้รับยาต้านไวรัสมีการดำ�เนินของโรคไปสู่กลุ่มอาการโรคเอดส์ และเสียชีวิต วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 5


ศูนย์วิจัยด้านสารเสพติด ผศ.นพ.อภินันท์ อร่ามรัตน์

สวัสดีครับ/ค่ะ มาขอเก็บข้อมูล ครับ/ค่ะ

ส่ ว นอี ก กิ จ กรรมของศู น ย์ วิ จั ย ด้ า นสารเสพติ ด เค้าเรียกตัวเองว่า แก๊งค์ซ่า แก๊งค์ซ่าในที่นี้ไม่ได้ไประรานใคร นะครับ แต่แก๊งค์นี้รักเด็ก โดยเฉพาะเด็กนักเรียน นักศึกษา (ชาย)((((( ล้อเล่น)))) และแก๊งค์ซา่ นีท้ ำ� ตัวมีประโยชน์ชว่ ยเหลือ สังคม จนเป็นทีร่ กั ของเด็กๆ และผูท้ อี่ ยูใ่ กล้ชดิ ทุกคน จะสังเกต ได้ จ ากเมื่ อ วั น ที่ 8 พฤศจิ ก ายน 2555 ที ม วิ จั ย แกงค์ ซ ่ า ร่วมกับแผนการพัฒนาระบบการดูแลผู้มีปัญหาการดื่มสุรา (ผรส.) จั ด กิ จ กรรม ทดสอบและพั ฒ นาเกมส์ ใ ห้ ค วามรู ้ เกีย่ วกับสารเสพติด กับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จ�ำนวน 80 คน โดยได้ท�ำการทดสอบ และประเมินเกมส์ ให้ความรู้เกี่ยวกับสารเสพติดที่ได้พัฒนาขึ้น เพื่อให้ตรงกับ ความต้องการของผู้เล่น

สารสถาบันฯ 6

ารสถาบันฯ ฉบับนี้ก็มาถึงฉบับที่ 10 แล้ว ก็เป็น ฉบับที่ 10 ส�ำหรับศูนย์วิจัยด้านสารเสพติดเช่นกัน เดือนนี้ก็ เป็นเดือนสุดท้ายของปีทเี่ ราหัวเราะ ห้าห้า ทัง้ ปี คิดว่าทุกท่าน คงมีความสุข และส�ำหรับศูนย์วิจัยสารเสพติดนั้นกิจกรรม ของทางศูนย์ก็มีอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการให้ความรู้ ด้านสารเสพติด หรือการเข้าพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูล โครงการวิจัย MA ขณะนี้ก็เกือบด�ำเนินการมาถึง โค้งสุดท้ายแล้ว ก่อนจะจบโครงการในเดือนกุมภาพันธ์ 2556 ระหว่างเดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนธันวาคม 2555 นักวิจัย และที ม งานได้ ล งพื้ น ที่ เ พื่ อ เก็ บ ข้ อ มู ล ด้ า นสุ ข ภาพส� ำ หรั บ เยาวชนอายุ 14-24 ปี ในพื้นที่อ�ำเภอ สันก�ำแพง สันทราย สารภี และดอยสะเก็ด ทั้งหมดจ�ำนวน 1,200 ราย โดยใช้ กลยุทธ์เคาะประตูบ้านเลยทีเดียว และคาดว่าจะทันตาม ก�ำหนดระยะเวลาแน่นอน

แก๊ ง ค์ ซ ่ า ภาคนั ก วิ ช าการ ก็ ท� ำ ได้ น ะครั บ นี่ ไ ง เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2555 ทีมวิจัยแก๊งค์ซ่า น�ำเสนอ ผลงานวิจัยที่ได้รับทุนจากศูนย์วิชาการสารเสพติดภาคเหนือ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในการประชุมเวที แลกเปลี่ยนประสบการณ์การพัฒนาระบบบริการผู้มีปัญหา สุราและยาเสพติด ในกระบวนการยุติธรรมและท้องถิ่นชุมชน พื้นที่น�ำร่องจังหวัดเชียงใหม่และล�ำพูน ณ โรงแรมเซ็นทารา ดวงตะวัน อ.เมือง จ.เชียงใหม่ โดยได้จัดแสดงผลงานทาง วิชาการที่พัฒนาขึ้นจากโครงการต่างๆ ที่ได้รับทุน ทั้งชุดเกม ให้ ค วามรู ้ ส ารเสพติ ด ชุ ด สาธิ ต เครื่ อ งดื่ ม แอลกอฮอล์ และสื่อให้ความรู้ต่างๆ ภายในงานด้วย

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


ศูนย์วิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพประยุกต์ รศ. พญ.อัมพิกา มังคละพฤกษ์

ารสถาบันฯ ฉบับนี้ย่างเข้าฉบับที่ 10 แล้ว เดือนนี้ก็มีเทศกาลที่ส�ำคัญคือวันลอยกระทง ซึ่งตรงกับวันที่ ๒๘ เดือน พฤศจิกายน ชาวสถาบันฯ คงมีโอกาสไปร่วมงานลอยกระทงปีนี้กันบ้างนะคะ ตอนนี้ก็จะเหลืออีกเดือนเดียว คือเดือนธันวาคม ก็จะขึ้นปีใหม่แล้ว เผลอเดี๋ยวเดียวเอง วันหยุดก็จะมีอย่างน้อยก็ 3 วัน ส�ำหรับเดือนนี้ คือวันที่ 5 ธันวามคม ซึ่งเป็นวัน เฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วันที่ 10 ธันวามคม เป็นวันพระราชทานรัฐธรรมนูญ และ วันที่ ๓๑ ธันวาคม เป็นวันสิ้นปี ชาวเราสถาบันฯ จะติดต่อประสานงาน ด�ำเนินกิจกรรมต่างๆ คิดจะจัดประชุม หรือ วางแผนเที่ยวพักผ่อนก็คงต้อง วางแผนดีๆ นะคะ อย่างไรก็ตามการท�ำงานในด้านต่างๆ ของศูนย์วิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพประยุกต์ยังคงเดินหน้าต่อไป ส�ำหรับใน ช่วงนี้พอสรุปเล่าสู่กันฟังได้ดังนี้ค่ะ

หน่วยวิจัยระบบสุขภาพ ค

ณะท� ำ งานโครงการพั ฒ นาระบบและกลไกเพื่ อ เด็กไทยมีโภชนาการสมวัย ร่วมประชุม เพื่อร่วมจัดท�ำรายงาน นโยบายสาธารณะของโครงการฯ และรายงานโครงการ ปี 2553 – 2555 ในวันพุธที่ 26 กันยายน 2555

ร.ศักดา พรึงล�ำภู และ คณะท�ำงานโครงการพัฒนา ระบบและกลไกเพือ่ เด็กไทยมีโภชนาการสมวัยจากทีมส่วนกลาง พร้อมทั้งทีมภาคเหนือ และ ทีมจังหวัด (เชียงใหม่และล�ำปาง) ลงพื้นที่ดูการท�ำงาน และ การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ เพื่ อ เด็ ก ไทยมี โ ภชนาการสมวั ย ในพื้ น ที่ จั ง หวั ด ล� ำ ปาง ในวันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม 2555

ร.ศักดา พรึงล�ำภู และ คณะท�ำงานโครงการพัฒนา ระบบและกลไกเพือ่ เด็กไทยมีโภชนาการสมวัยจากทีมส่วนกลาง พร้อมทั้งทีมภาคเหนือ และ ทีมจังหวัด (เชียงใหม่และล�ำปาง) ได้ น� ำ คณะนั ก สื่ อ สารสุ ข ภาพจากภาคกลาง ลงชุ ม ชนเพื่ อ ดู การท�ำงานและ การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ เพื่อเด็กไทย มี โ ภชนาการสมวั ย ในพื้ น ที่ อ� ำ เภอเสริ ม งาน จั ง หวั ด ล� ำ ปาง ในวันที่ 18 – 19 ตุลาคม 2555

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 7


หน่วยวิจัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ

โ ครงการ วิจัยเรื่อง “การขยายผลการวิจัยมลพิษ

ทางอากาศและผลกระทบสุ ข ภาพ สู่ ชุ ม ชนเพื่ อ การเรี ย นรู้ และลดแหล่ ง กำ�เนิ ด ฝุ่ น ในอากาศในชุ ม ชนภาคเหนื อ ตอนบน ของประเทศไทย” (GW3) หน่ ว ยวิ จั ย สิ่ ง แวดล้ อ มและสุ ข ภาพ ได้เข้าร่วมกิจกรรม การประกาศวาระของจังหวัดเชียงใหม่ ในการ ป้องกัน แก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่า และดอกไม้ไฟ ประจำ�ปี 2556 โดยสำ�นักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2555 ณ บริเวณสนามภายในอาคาร อำ�นวยการ ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ โดยได้รับเกียรติจาก นายธานินทร์ สุภาแสน ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่เป็นประธาน กล่าวเปิดงาน และนายบุญเลิศ บูรณุปกรณ์ นายกองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวรายงาน พร้อมทั้งร่วมกันลั่นฆ้องชัย เป็นการเริ่มประกาศวาระแห่งจังหวัดเชียงใหม่ ในการแก้ปัญหา หมอกควันไฟป่าและดอกไม้ไฟ ซึ่งมีนายอำ�เภอจากทุกอำ�เภอ เข้ า ร่ ว มรั บ ธงตราสั ญ ลั ก ษณ์ รณรงค์ ป้ อ งกั น และแก้ ไ ขปั ญ หา หมอกควัน ในครั้งนี้ หน่วยวิจัยฯ ได้นำ�เครื่องวัดปริมาณฝุ่นละออง ขนาดเล็ ก ที่ ไ ด้ รั บ การสนั บ สนุ น จากสำ�นั ก งานคณะกรรมการ วิจัยแห่งชาติ (วช.) มานำ�เสนอโดยคุณแสวง กาวิชัย ผู้ช่วยนักวิจัย คอยให้ข้อมูล ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้มาร่วมงานเป็นอย่างมาก

ห น่วยวิจัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ร่วมกับมูลนิธิ

โรงพยาบาลสวนดอก คณะแพทยศาสตร์ และ BIOTEC NSTDA และ TRUE ปลูกปัญญา พร้อมด้วย กลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม จังหวัดเชียงราย จัดค่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ ณ ไร่ เ ชิ ญ ตะวั น อ.เมื อ ง จ.เชี ย งราย ระหว่ า งวั น ที่ 9-11 พฤศจิ ก ายน 2555 การจั ด ค่ า ยวิ ท ยาศาสตร์ แ ละเทคโนโลยี เพื่อสุขภาพ เพื่อเป็นการให้ความรู้แก่สามเณร ในกลุ่มโรงเรียน พระปริยตั ธิ รรมในกลุม่ จังหวัดภาคเหนือตอนบน ซึง่ ได้เริม่ ที่ จังหวัด เชียงรายเป็นแห่งแรก ซึ่งมีการให้ความรู้แก่สามเณรที่มาร่วม กิจกรรมในหลากหลายประเด็นที่เกี่ยวกับเรื่องของสุขภาพ โดยมี วิทยากรจากหน่วยวิจยั ฯ และ คณาจารย์จาก คณะ แพทยศาสตร์ มาร่วมให้ความรูเ้ กือบ 30 คน โดยมีสามเณรเข้าร่วม กิจกรรมประมาณ 150 รูป ในโอกาสนี้ ไดรับเกียรติจาก ท่านพระมหาวุฒชิ ยั วชิรเมธี หรือ ท่าน ว.วชิรเมธี ผู้ก่อตั้งสถาบันวิมุตตยาลัย ไร่เชิญตะวัน เป็ น ประธานกล่ า วเปิ ด งาน และต้ อ นรั บ คณะสามเณร และผู้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ด้วย ซึ่งหน่วยวิจัยฯ ได้จัดกิจกรรมฐานความรู้จำ�นวน 5 ฐาน ซึ่งได้รับความสนใจ ร่วมกิจกรรมของสามเณร รวมทั้งครูประจำ�โรงเรียนเป็นอย่างดียิง่

สารสถาบันฯ 8

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


หน่วยวิจัยโภชนาการ โครงการ “การศึกษาถึงผลการ บริโภคอาหารทีม ่ ป ี ริมาณคาร์โบไฮเดรต ต�่ำปานกลาง ต่อผลของการเกิดความ ผิ ด ปกติ ข องรู ป ร่ า งและความผิ ด ปกติ ของระดับน�้ำตาลและไขมันในเลือด” - อยู ่ ร ะหว่ า งยื่ น เอกสารเพื่ อ ขอรับการพิจารณาเชิงจริยธรรมจากคณะ กรรมการพิ ทั ก ษ์ สิ ท ธิ์ ส วั ส ดิ ภ าพและ ป้องกันภยันตราย ในการวิจัยกับมนุษย์ ส ถ า บั น วิ จั ย วิ ท ย า ศ า ส ต ร ์ สุ ข ภ า พ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

โครงการการประเมินสถานการณ์ ภ า ว ะ ไ อ โ อ ดี น ใ น ห ญิ ง วั ย เ จ ริ ญ พั น ธุ์ และเด็กวัยเรียนในประเทศไทย - จั ด ตั ว อย่ า งปั ส สาวะที่ เ ก็ บ จาก ภาคสนามของอาสาสมัครนักเรียนและหญิง วัยเจริญพันธุ์ จำ�นวน 454 ราย และส่งตัวอย่าง ใ ห้ โ ค ร ง ก า ร ฯ ณ ส ถ า บั น โ ภ ช น า ก า ร มหาวิ ท ยาลั ย มหิ ด ล เพื่ อ วิ เ คราะห์ ป ริ ม าณ ไอโอดีน

กิจกรรม คุณค่าทางโภชนาการ สถานการณ์การปนเปื้อน วัตถุเจือปน ของไส้อั่วในอำ�เภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ ในโครงการหลัก การเพิ่มมูลค่าผลผลิต ทางการเกษตรอาหารภาคเหนือ: ไส้อั่ว - ได้จัดทำ�รายงานฉบับสมบูรณ์ในความรับผิดชอบของหน่วยวิจัยโภชนาการ ส่งให้แก่หัวหน้าโครงการเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2555 -นางโพธิ์ศรี ลีลาภัทร์ เข้าร่วมเป็นวิทยากรในการถ่ายทอดเทคโนโลยีของ โครงการฯ ให้ แ ก่ ผู้ ป ระกอบการจำ � หน่ า ยไส้ อั่ ว ในอำ � เภอเมื อ ง จั ง หวั ด เชี ย งใหม่ วันที่ 14 พฤศจิกายน 2555 ณ คณะอุตสาหกรรมเกษตร

โครงการ การผลิตไอโซฟลาโวน ชนิดอะไกลโคนจากถั่วชีวภาพ ระยะที่ 3: การออกแบบระบบถั ง หมั ก ชี ว ภาพเพื่ อ ผ ลิ ต ไ อ โ ซ ฟ ล า โ ว น โ ด ย เ ท ค โ น โ ล ยี เชื้อบริสุทธิ์เริ่มต้น - วิเคราะห์ตวั อย่างไอโซฟลาโวนจาก การทดลองการหมักจมูกถั่วเหลืองโดยการ แปรผั น อุ ณ หภู มิ ข องการหมั ก จำ � นวน 21 ตัวอย่าง

โครงการ การศึกษาความเป็นไป ได้ของโครงการ “การศึกษาผลของอัตรา การเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในขวบปีแรก กับการเกิดอาการอ้วนลงพุง” - ขยายกลุ่ ม อาสาสมั ค รเพิ่ ม ใน Lactation project ที่ เ คยทำ � การศึ ก ษาใน อำ�เภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ - อยู่ระหว่างการพิจารณาขอทุน จากมูลนิธิส่งเสริมโภชนาการ

กิจกรรม การจัดตั้งเครือข่ายพัฒนาศักยภาพอาหารพื้นเมืองและตรวจสอบปริมาณ สารตกค้างปนเปื้อนในอาหารพื้นเมืองภาคเหนือ ในโครงการบริการวิชาการเชิงบูรณาการ “การเพิ่มศักยภาพผู้ผลิตอาหารพื้นเมืองในเขตจังหวัดภาคเหนือ” ปีที่ 2 กิจกรรมจัดตั้งเครือข่ายเตือนความปลอดภัยด้านอาหารและเฝ้าระวังความเสี่ยง ปนเปื้อนในอาหาร ในโครงการหลัก การฝึกอบรมบูรณาการแบบครบวงจรแก่สถานประกอบการ ทางด้านอุตสาหกรรมอาหารและอุตสาหกรรมเกษตรในเขตจังหวัดภาคเหนือ ปีที่ 2 กิจกรรมทั้งสองเป็นโครงการที่คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับ งบประมาณเงินแผ่นดิน ประจำ�ปี 2556 ให้ดำ�เนินการระหว่าง ตุลาคม 2555 - 30 กันยายน 2556 โดยมีสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นหนึ่งในหน่วยงานสนับสนุน ซึ่งได้มีการประชุมแนวทาง การดำ�เนินการของโครงการฯ ทั้ง 2 ในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2555 ทั้งนี้ทางคณะอุตสาหกรรมเกษตร ขอให้ผู้รับผิดชอบของแต่ละกิจกรรมจัดทำ�ข้อเสนอโครงการย่อยกิจกรรมละ 1 ชุด เพื่อนำ�เสนอต่อ หัวหน้าโครงการหลัก อนุมัติในหลักการ

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 9


โครงการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง RBC omega 3 index และ peripheral artery disease - ทำ�การเก็บข้อมูลอาสาสมัคร ได้แล้วจำ�นวน 130 คน และเก็บตัวอย่างเลือดของอาสาสมัคร จำ�นวน 130 คน

โครงการ การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างน้�ำ หนัก เด็กแรกคลอดและกลุ่มอาการอ้วนลงพุงด้านพันธุกรรม - เป็นการศึกษาร่วมกับมหาวิทยาลัย Cambridge ประเทศ อังกฤษ ขณะนี้ทางกลุ่มวิจัยทำ� mapping specimen ร่วมกับ จะทำ� DNA extraction เพื่อสะดวกในการจัดส่งไปประเทศ อังกฤษ โดยความร่วมมือของหน่วย Specimen Processing Unit และกำ�ลังจัดการข้อมูลเอกสารให้เป็นระบบ - ได้ขอขยายเวลาการศึกษาจากคณะกรรมการจริยธรรม จากเดิมสิ้นสุด 3 กันยายน 2555 เป็น 2 กันยายน 2556

นอกจากนี้ ดร. ศักดา พรึงลำ�ภู และคณะ บันทึกภาพและ เสี ย งเกี่ ย วกั บ กระบวนการผลิ ต แคบหมู อ นามั ย และ ผลิตภัณฑ์เลียนแบบแคบหมู รวมทั้งกระบวนการผลิตแป้ง ข้าวเจ้าเสริมธาตุไอโอดีน ในรูปแบบ DVD เพื่อการเผยแพร่ ความรู้

สารสถาบันฯ 10

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


“News & Event” ข่าวกิจกรรม @ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ

ส ถ า บั น ฯ จั ด อ บ ร ม ห ลั ก สู ต ร ก า ร จั ด ก า ร ง า น วิ จั ย ท า ง ค ลิ นิ ก สถาบันวิจยั วิทยาศาสตร์สขุ ภาพ มหาวิทยาลัย เชี ย งใหม่ จั ด อบรมหลั ก สู ต รการจั ด การงานวิ จั ย ทางคลินิก (Clinical Research Management) ระหว่าง วันที่ 10 – 12 ตุลาคม 2555 ณ ห้องประชุม DONALD JEFFREY GIBSON อาคาร 1 เพื่อถ่ายทอดความรู้และ ประสบการณ์ ใ นการดำ�เนิ น งานวิ จั ย ทางคลิ นิ ก ของสถาบันฯ และสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการ ดำ�เนินงานวิจัยกับคณะแพทย์ต่าง ๆ โดยมีนักวิจัย ผู้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ จ ากสถาบั น ฯ คอยถ่ า ยทอดความรู้ แก่อาจารย์ และนักวิจัยจากคณะแพทย์และหน่วยวิจัย ทั้ง 43 คน 13 หน่วยงานทั่วประเทศ ตลอดการอบรม 3 วัน

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 11


"Doing & Training"

แลกเปลี่ยนความรู้จากการประชุม ด้านโรคเอดส์ บุ ค ลากรของสถาบั น วิ จั ย วิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพ เข้ า ร่ ว มรั บ ฟั ง และแลกเปลี่ ย นความรู ้ จ ากการประชุ ม ด้านโรคเอดส์ ศูนย์วิจัยด้านโรคเอดส์ และโรคติดเชื้อ ทางเพศสัมพันธ์ โดยมีนักวิจัยของสถาบันฯ จ�ำนวน 11 คน เป็นวิทยากร ณ ห้องประชุมชัน้ 4 เมือ่ วันที่ 19 ตุลาคม 2555 หัวข้อในการบรรยายมีดังต่อไปนี้ 1. Strategies in antiretroviral therapy โดยคุณศรวรุณ ธนันไชย 2. Principles of HIV drug resistance & HIV/HBV and HIV/TB co-infection โดย พญ.ดริน เรือนเป็ง 3. HIV infection and pregnancy โดย ภญ.ณัฐพร โฆษชุณหนันท์ 4. Management of children and adolescents living with HIV โดยคุณรัตติกา ธรรมลังกา 5. New antiretroviral agents in Thailand โดย ภญ.ปิยะธิดา สร้อยสุวรรณ 6. From treatment to prevention: Current situation of HIV care in Thailand & Getting to Zero โดยคุณชนัญญา ค�ำไชยเทพ 7. Consultation with the specialists: Heart, liver, kidney, brain and HIV โดยคุณอัมพวา ทิมแป้น 8. STDs in HIV/AIDS โดยคุณวันวิสาข์ ทวีหอม 9. Post-exposure prophylaxis: Occupational and non-occupational โดยคุณศหัทยา กองสถาน 10. Online resources for HIV/AIDS teaching and learning โดยคุณอังคณา ศรีตา 11. Update from CROI, IAC, and hot papers in 2012 HIV prevention:& Antiretroviral therapy โดยคุณบุญเหลือ พรึงล�ำภู

สารสถาบันฯ 12

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


ศูนย์วจิ ยั ด้านสารเสพติด นำ�เสนอผลงานวิจยั ผศ. นพ.อภิ นั น ท์ อร่ า มรั ต น์ หั ว หน้ า ศู น ย์ วิ จั ย ด้ า น สารเสพติด สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ น� ำคณะนักวิจัย เสนอผลงาน ที่ได้รับทุนจากศูนย์วิชาการสารเสพติดภาคเหนือ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในการประชุ ม เวที แลกเปลี่ยนประสบการณ์การพัฒนาระบบบริการผู้มีปัญหาสุรา และยาเสพติ ด ในกระบวนการยุ ติ ธ รรมและท้ อ งถิ่ น ชุ ม ชน พื้นที่น�ำร่องจังหวัดเชียงใหม่และล�ำพูน วันที่ 9 พฤศจิกายน 2555 ณ ห้องเชียงดาว โรงแรมเซ็นทาราดวงตะวัน อ.เมือง จ.เชียงใหม่ โดยมี นพ. ม.ล.สมชาย จั ก รพั น ธุ ์ ที่ ป รึ ก ษากรมสุ ข ภาพจิ ต เป็นประธานการประชุม ซึ่งนอกจากศูนย์วิจัยด้านสารเสพติด จะน�ำเสนอผลงานวิจัยแล้ว ยังมีการจัดนิทรรศการแสดงสื่อที่ใช้ ประกอบกิ จ กรรมร่ ว มกั บ กลุ ่ ม ผู ้ ใ ช้ ส ารเสพติ ด โดยมี ทั้ ง ป้ า ย ให้ความรู้ ตัวอย่างเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเกมต่าง ๆ ซึ่งก็ได้รับ ความสนใจจากผู้เข้าร่วมประชุมอย่างมาก

... ให้ความรูเ้ รือ่ งสารเสพติดแก่นกั ศึกษา มช. ทีมวิจัยสารเสพติด (แก๊งค์ซ่า) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ สุขภาพ จัดนิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับอันตรายของสารเสพติด รวมถึง กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และการบ�ำบัดรักษาผู้ที่ติดยาเสพติด ณ องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (อ.มช.) นอกจากนี้ ยังได้มกี ารน�ำชุดเกมส์ให้ความรู้ SAP (Substance Abues & Alcohol Prevention) ซึ่ ง เป็ น นวั ต กรรมใหม่ ข องการให้ ค วามรู ้ ด ้ า น สารเสพติด มาให้นักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ทดลองเล่น และแสดงความคิ ด เห็ น เพื่ อ น� ำ ไปปรั บ ปรุ ง แก้ ไ ขให้ ชุ ด เกมส์ ให้ความรู้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ซึ่งก่อนหน้านี้ ทีมแก๊งค์ซ่า ก็ได้น�ำ เกมส์ดงั กล่าวไปให้นกั ศึกษาทัง้ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพเชียงใหม่ และ วิทยาลัยอาชีวศึกษา บริหารธุรกิจวิทยาสงขลา ทดลองเล่นและ เก็บข้อมูลมาแล้ว

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 13


หน่วยวิจัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ร่วมจัดกิจกรรม ค่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ หน่วยวิจัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับ มูลนิธิโรงพยาบาล สวนดอก คณะแพทยศาสตร์, BIOTEC NSTDA, TRUE ปลูกปัญญา พร้อมด้วย กลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรมจังหวัดเชียงราย จัดค่าย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ ณ ไร่เชิญตะวัน อ.เมือง จ.เชียงราย ระหว่างวันที่ 9-11 พฤศจิกายน 2555 เพื่อเป็นการให้ ความรู้แก่สามเณรกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม ในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน ซึ่งได้เริ่มที่จังหวัดเชียงรายเป็นแห่งแรก ในโอกาส นี้ ได้รับเกียรติจาก ท่านพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี หรือ ท่าน ว.วชิรเมธี ผู้ก่อตั้งสถาบันวิมุตตยาลัย ไร่เชิญตะวัน จังหวัดเชียงราย เป็น ประธานกล่าวเปิดงาน และต้อนรับคณะสามเณร และผู้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ด้วย

ทั้งนี้ได้มีกิจกรรมการให้ความรู้ในหลากหลายประเด็นที่เกี่ยวกับเรื่องของสุขภาพ เช่น เรื่องพยาธิ การตรวจกลุ่มเลือด และ ระดับสารเคมีก�ำจัดศัตรูพืชในเลือด การให้ความรู้เรื่องผลกระทบทางสุขภาพ สิ่งแวดล้อม ของสารเคมีก�ำจัดศัตรูพืช สาธิตการล้าง ผักและผลไม้ให้ปลอดภัย รวมถึงเรือ่ งผลกระทบของฝุน่ ละอองขนาดเล็กในอากาศ นอกจากนีย้ งั ได้ให้ความรูเ้ รือ่ งในการรับมือภัยพิบตั ิ ภัยธรรมชาติ โดยมีวิทยากรจากหน่วยวิจัยฯ และ คณาจารย์จากคณะแพทยศาสตร์ มาร่วมกิจกรรมกว่า 30 คน ซึ่งมีสามเณรเข้าร่วม โครงการกว่า 150 รูป และให้การตอบรับเป็นอย่างดี

สารสถาบันฯ 14

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


วันวิชาการมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ครั้งที่ 8 วิถีวิจัย: วิถีสู่อนาคต สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ร่วมจัดบูธนิทรรศการวันวิชาการมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ครั้งที่ 8 วิถีวิจัย: วิถีสู่อนาคต วันที่ 22-23 พฤศจิกายน 2555 ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีการน�ำกิจกรรมชุดความรู้ “เท่าทันสารเสพติด” จากศูนย์วิจัยด้านสารเสพติด ซึ่งเน้นการเล่นเกมต่าง ๆ ควบคู่ไปกับการให้ความรู้เรื่องอันตรายของสารเสพติด รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และการบ�ำบัดรักษาผู้ที่ติดยาเสพติดด้วย นอกจากนี้ยังมีส่วนของการให้ความรู้เรื่องไส้อั่ว จากหน่วยวิจัยโภชนาการ ความรู้เรื่องมลพิษทางอากาศ จากหน่วยวิจัย สิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ศูนย์วิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพประยุกต์ และความรู้เกี่ยวกับการกินยาต้านไวรัสเอชไอวีอีกด้วย

นพ.ณั ฐ พล โฆษชุ ณ หนั น ท์ นั ก วิ จั ย ของศู น ย์ วิ จั ย ด้านโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ร่วมเป็นวิทยากร ในการเสวนาเรื่อง “นวัตกรรมสุขภาพเพื่ออนาคต” ในหัวข้อ “นวัตกรรมการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี โดยการกินยาต้าน”

ขอแสดงความยินดีกบั ดร.ศุภชัย ศักดิข์ จรภพ นักวิจยั จากศูนย์ชีวโมเลกุลและเซลล์วิทยาของโรคติดเชื้อ ที่ได้รับทุน พัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่ พ.ศ. 2556 ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จากโครงการ การปรับปรุงระบบการนำ�ส่งยีนด้วยเลนติไวรัส เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรบกวนกระบวนการอินทิเกรชั่น ของเชื้ อ เอชไอวี - 1 ด้ ว ยซิ ง ค์ ฟิ ง เกอร์ โ ปรตี น ที่ อ อกแบบใน เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์ วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 15


กิจกรรมเนื่องในวันเอดส์โลก ประจำ�ปี 2555

ศ. นพ.สุวฒ ั น์ จริยาเลิศศักดิ์ ผูอ้ ำ�นวยการสถาบันวิจยั วิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพ ได้ รั บ เชิ ญ ให้ เ ป็ น วิ ท ยากรในรายการ มองเมื อ งเหนื อ ทางสถานี วิ ท ยุ โ ทรทั ศ น์ แ ห่ ง ประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์ หรือ ช่อง NBT วันที่ 28 พฤศจิกายน 2555 โดยพู ด คุ ย เกี่ ย วกั บ สถานการณ์ โ รคเอดส์ ใ นปั จ จุ บั น ทั้ ง ใน ระดับโลก และระดับประเทศ นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึงการวิจัย ในอนาคตที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อ เอชไอวีเอดส์ โดยเฉพาะในเรื่องของการใช้วัคซีนป้องกันการ ติดเชื้อ

... ศูนย์วิจัยด้านโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สถาบั น วิ จั ย วิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพ จั ด กิ จ กรรมรณรงค์ เนื่องในวันเอดส์โลก ณ อาคารเฉลิมพระบารมี โรงพยาบาล มหาราชนครเชียงใหม่ วันที่ 29 พฤศจิกายน 2555 โดยมี คุณบุปผา ประภาลักษณ์ เลขานุการสถาบันฯ และ รศ. พญ.ยุพา สุมิตรสวรรค์ ที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิคณะแพทยศาสตร์ มช. ร่วมกันเปิดกิจกรรม ซึ่งกิจกรรมในงานดังกล่าว มีทั้งการจัดนิทรรศการ ให้ ค วามรู้ เ กี่ ย วกั บ โรคเอดส์ การออกบู ท ต่ า ง ๆ เช่ น บูทการประเมินพฤติกรรมเสี่ยงโรคเอดส์ และโรคติดต่อทาง เพศสั ม พั น ธ์ บู ท การประเมิ น ความเสี่ ย งการติ ด เชื้ อ วั ณ โรค บูทประเมินพัฒนาการเด็ก บริการตรวจวัดความดัน บริการตรวจ ประเมินปริมาณไขมันในร่างกาย เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการ ร่วมสนุกแจกของรางวัลอีกมากมาย ซึ่งก็ได้รับความสนใจจาก ผู้ ที่ เ ข้ า มาใช้ บ ริ ก ารของโรงพยาบาลมหาราชนครเชี ย งใหม่ เป็นอย่างดี

สารสถาบันฯ 16

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


"Activities"

ถาบันวิจยั วิทยาศาสตร์สขุ ภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ท�ำบุญวันคล้ายวันสถาปนาสถาบันฯ ครบรอบ 34 ปี โดย มี ศ. นพ.สุวฒ ั น์ จริยาเลิศศักดิ์ ผูอ้ ำ� นวยการสถาบันฯ เป็นประธานในพิธสี งฆ์ และคณะผูบ้ ริหารของสถาบันฯ ให้การต้อนรับ แขกที่เข้าร่วมแสดงความยินดี วันที่ 11 ตุลาคม 2555 สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2510 ภายใต้ชื่อ ศูนย์วิจัยโลหิต วิทยาและทุโภชนาการ สังกัดคณะแพทยศาสตร์ ได้ท�ำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับโภชนาการในผู้ป่วยเด็กโรคขาดสารอาหาร โรคโลหิตจางในเด็ก และหญิงมีครรภ์ และความสัมพันธ์ระหว่างภาวะทุโภชนาการและโลหิตจางกับการเกิดโรคติดเชื้อ ต่อมาได้เสนอโครงการขยายและปรับปรุงยกฐานะโดยได้รับความเห็นชอบในปี พ.ศ. 2521 ให้สถาปนาขึ้นเป็นสถาบันวิจัย วิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นหน่วยงานอิสระที่มีฐานะเทียบเท่าคณะในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีภารกิจในการด�ำเนินงานวิจัย และเป็นศูนย์กลางให้ความร่วมมือประสานงาน และส่งเสริมการด�ำเนินการค้นคว้าวิจยั ในสาขาวิทยาศาสตร์สขุ ภาพ เพือ่ ให้ ได้รับทราบข้อมูลพื้นฐาน อันเป็นประโยชน์ต่อการค้นหาสาเหตุประกอบการวินิจฉัยของการเกิดโรคได้อย่างถูกต้อง ซึ่งจะ ยังผลให้สามารถก�ำหนดมาตรการทีถ่ กู ต้องเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ เพือ่ การป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพและอนามัย ของประชาชน โดยเฉพาะในเขตภาคเหนือของประเทศต่อไป

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 17


จั

ด กิ จ กรรม 5 ส. เนื่ อ งในวั น คล้ายวันสถาปนาสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ สุขภาพ ครบรอบ 34 ปี วันที่ 11 ตุลาคม 2555

ท� ำ

บุ ญ ถ ว า ย ผ ้ า พ ร ะ ก ฐิ น พระราชทานของมหาวิ ท ยาลั ย เชี ย งใหม่ ณ วัดฝายหิน วันที่ 2 พฤศจิกายน 2555

สารสถาบันฯ 18

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


"สถาบันวิจยั วิทยาศาสตร์สขุ ภาพ ขอแสดง ความยินดีกับคณะแพทยศาสตร์ เนื่องใน โ อ ก า ส วั น ค ล้ า ย วั น ส ถ า ป น า ค ณ ะ แพทยศาสตร์ ครบรอบ 53 ปี วันที่ 28 ตุลาคม 2555"

...

เชิญติดตามรับฟัง รายการวิทยุ : เชียงใหม่โฟกัส ตอน เล่าขานงานวิจัย ทุกวันศุกร์แรกของเดือน เวลาใหม่ 9.00 - 9.30 น. FM100 ที่เดิม แม้เวลาจะเปลี่ยนไป แต่ความรู้ที่ได้ยังจัดเต็มเหมือนเดิม

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 19


ตารางกิจกรรม ธันวาคม 2555 7

ธันวาคม 2555

11 21

ธันวาคม 2555 ธันวาคม 2555

การประชุมการจัดท�ำแผนกลยุทธ์สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ ณ ห้องประชุม DONALD JEFFREY GIBSON อาคาร 1 สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ เวลา 13.30 น. การประชุมคณะกรรมการบริหารสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ เวลา 11.00 น. - การประชุมคณะกรรมการอ�ำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ เวลา 9.00 น. - กิจกรรมสัมมนา เพื่อพัฒนาองค์กรสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ ณ เมาเท่นคลีก เวลล์เนส รีสอร์ท เวลา 13.00 น.

มกราคม 2556 7-9 มกราคม 2556 21-22 มกราคม 2556 24 30

มกราคม 2556 มกราคม 2556

Dr. Craig Hebdrix เยี่ยมชมสถาบันฯ และโครงการ MTN Mr. Kenneth Mayer.MD., Mr. Matine,J, Rose Closson และ Matthew J. Mimiaga จาก Harvard ให้ความรู้ในเรื่องของ Comprehensive and Clinical Care for MSN พิธีพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ การประชุมร่วม 3 สถาบันวิจยั ครัง้ ที่ 1 ประกอบด้วย สถาบันวิจยั วิทยาศาสตร์สขุ ภาพ สถาบันวิจยั วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสถาบันวิจยั สังคม ณ อาคาร 1 สถาบันวิจยั วิทยาศาสตร์สขุ ภาพ

สถาบันฯ จัดทำ�ระบบ LED TV เพื่อการประชาสัมพันธ์ข่าวสารสถาบันฯ ในระยะเริ่มแรก ทดลองติดตั้งไว้ที่ ชั้น 1 อาคาร 1 และคาดว่าจะขยายไปยัง อาคาร 2 และอาคาร 3 ต่อไป ในภายหลัง หน่วยงาน โครงการวิจัยใด ที่ต้องการประชาสัมพันธ์ตนเอง สามารถส่ง presentation มาได้ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบ VDO, Powerpoint ที่หน่วยประชาสัมพันธ์ และบริการวิชาการ อีเมล์ uwanna@rihes.org หรือโทร 5055-8 ต่อ 118

สารสถาบันฯ 20

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


ซุ

ป ซิ บ สร้างสรรค์ By...พี่แนนซี่กับน้องซาร่า ช่วงนี้ ออกพรรษากัน งานบุญงานมงคลก็มีมากันอย่างต่อเนื่องตลอดๆ โอ้โห..!ภาษีสังคมก็ทยอยกันมา

ไม่ขาดสาย ยิ่งใกล้เข้าหน้าหนาวทุกทีละก็ ต่างพากันสละโสดกันตรึมเลยอ่ะนะ...

มาคู่แรกแซงตัดหน้าคู่สองไปก่อน....น้องกลอย iPrEx ธิดาวรรณ... ก็เพิ่งเข้าสู่ประตูวิวาห์กะแฟนหนุ่ม มาดเท่ห์ เอ็ดดี้... (แว้ก! มะช่ายผีน่ารัก...น๊า ..อิ๊อิ๊ ) พิธีมงคลสมรส จัดไปเมื่อวันเสาร์ที่ 17 พ.ย.2555 ที่ผ่านมา ท่ามกลางแขกผู้มีเกียรติมากมายมาร่วมงาน เพื่อเป็นสักขีพยานให้กะคู่บ่าวสาว ช่วงเช้ามีพิธีแห่ขันหมาก พิธีผูกข้อมือตามประเพณีล้านนา และงานเลี้ยงฉลองมงคลสมรสใน เย็นวันดังกล่าว ณ บ้านเจ้าบ่าวที่อ�ำเภอดอยสะเก็ด...ปู้น..น ขอบอกว่า น้องกลอยมาในชุดเจ้าสาว วันนั้นเธอสวยเป็นพิเศษ...งามมากๆค่ะ ผ่านไป 1 สัปดาห์ ครานี้ถึงคิว น้องจูดี้ (กนกอร สายต�ำ สาวการเงิน... อารมณ์ดี) ของเรา... “และแล้ววันนี้ที่รอคอยก็มาถึง” น้องจูกล่าวให้สัมภาษณ์ “น�ำ้ ตา หนูจะไหลแล้ว มันรู้สึกแบบบอกมะถูกว่าจะมีวันนี้” อืม..นะ คงเป็นอานิสงส์จาก การที่เธอรับช่อดอกไม้ของเจ้าสาวในวันแต่งงานของเอสโซ่ IT ได้ล่ะกระมัง หรือเป็น เพราะโชคชะตา จึงท�ำให้เธอได้สละโสดเสียที...555.. งานมงคลสมรสระหว่างน้องจูและคุณศรันยู หรือคุณปอ หนุ่มใต้เมือง ระนอง..นิ จัดขึ้น ในวันเสาร์ที่ 24 พ.ย.2555 ช่วงเช้ามีพิธีทางศาสนา พิธีรับขันหมาก และพิธีผูกข้อมือคู่บ่าวสาว ตามพิธีล้านนาที่บ้านเจ้าสาว ณ อ�ำเภอสันทราย และจัด งานเลี้ยงฉลองมงคลสมรส ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติ โรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิว วันนั้น...งานเลี้ยงงานแต่งที่โรงแรมมีถึง 3 งาน เชียว ดีนะ..ไม่เข้าผิดงาน ห้องจัดเลี้ยง ต่อๆ กันยังกะงาน WEDDING FAIR ไงงั้น...สงสัยจะเป็นวันฤกษ์ดี...จริงๆ เชียว ขากลับ จากงานก็เจอพายุฝน ฟ้าคะนองกระหน�่ำเหมือนจะส่งท้ายฤดูฝน เพื่อต้อนรับเข้าสู่ ฤดูเหมันต์....บ่งบอกถึงเทศกาลคริสต์มาส JINGLE BELL และปีใหม่ที่ก�ำลังจะมาเยือน อีกในไม่ช้า ว้ายๆ บรรยากาศโรแมนติก สวีทอีกแระ แอบอิจฉา คู่ข้าวใหม่ปลามัน ซะจิงเชียว... พี่ๆน้องๆทีมงานขอแสดงความยินดีกับคู่บ่าวสาว ทั้งสองคู่ด้วยจร้า... ขอให้มีความสุขกับการสร้างครอบครัวใหม่....ค๊า

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 21


น้องแอน...สาวเภสัชฯประจำ� RIHES ผู้ที่รับช่อดอกไม้ของเจ้าสาวได้ ในงานแต่งน้องจูดี้...และเธอจะได้เป็น เจ้าสาวคนต่อไป...ในไม่ช้า Coming soon…อิ อิ

!!!

เอสโซ่กะน้องตุ๊กตา ภรรยาสาวสุดสวย คู่นี้หวานออกสื่อ... กันเชียว แอบสวีทกว่า…เจ้าบ่าวเจ้าสาวซะ..อีกแน่ะ

แต่..เพราะแรงเงา..แซงมาแรงกว่า ความจริงทีป่ กปิดมานาน จึงได้ถูกเปิดเผยแล้ว.... ในวันนั้น นั่นเอง คริ๊..คริ๊..

ไม่ได้พิศวาส..มะต้องมาอิงแอบแนบชิดช้าน...น ขนลุก..ก

สารสถาบันฯ 22

เหตุ เ กิ ด ณ พิ ธี ม งคลสมรสระหว่ า ง คุณจูดี้ สาวการเงิน กับคุณปอ หนุ่มเมือง ระนอง วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


มี ง านแต่ ง แล้ ว ...ก็ ต้ อ งมี ท ายาท ตามมาอะนะ สาวการเงินทยอยสละโสด กั น ไ ป เ กื อ บ ห ม ด แ ล้ ว ม า ว่ า กั น ต่ อ สาวการเงินอีก 2 เช่นกัน ได้ลกู สาวลูกชาย... แล้ววุย้ .....น่ารักน่าชัง คลอดตามกันมาติดๆ คนแรกหลานชาย RIHES.. น้ อ งออโต้ ลูกชายของคุณแม่กงุ้ คลอด ณ โรงพยาบาล แม่และเด็ก เชียงใหม่ แม่กุ้ง รับบทคุงแม่ มือใหม่..หัดเลีย้ ง ชูสองนิว้ ..สูเ้ พือ่ ลูกคร้า .... อิ อิ

หลานสาว RIHES คนที่สอง น้ องอิงฟ้า ลูก สาวคุณแม่เจี๊ยบ กะคุณพ่อแม็กซ์...คลอด เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2555 ณ ศูนย์ศรีพัฒน์ พร้อมกันนี้ถือฤกษ์ดีรับขวัญลูกสาวคนใหม่ขึ้นบ้านหลังใหม่สไตล์โมเดิร์น ทีเ่ พิง่ สร้างเสร็จหมาดๆ แหม..อิจฉาคุงแม่เจีย๊ บจิงๆ เรยยน๊า อะไรๆ ก็ใหม่ ไปหมด แต่มายดาร์ลิ่ง เค้าขอคนเดิม...น๊า ขอให้คุณแม่มือใหม่ทั้งสอง พร้อม หลานชายหลานสาว มีสุขภาพแข็งแรง เลี้ยงง่ายๆ โตไวๆ นะ...คร้า วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 23


บ อ ก ก ล่ า ว รอบบ้าน By...พี่แมงเมาท์แห่งไร่เห็ด

"หนาวเนื้อห่มเนื้อ จึงหายหนาว หนาวรักห่มรัก อุ่นรักสบาย หนาวคลายเพราะห่ม ที่สมกัน"

วันนี้พี่แมงเม้าท์แห่งไร่เห็ดยกเพลงนี้ขึ้นมาก็เพราะว่า

อากาศเริ่มหนาวเย็นแล้วนะคะ หลายๆ คู่ถือเป็น ฤกษ์ดีที่จะแต่งงานกันในช่วงนี้ เพราะว่าหนาวเนื้อห่มเนื้อจึง หายหนาว

สำ�หรับใครยังไม่มีให้ห่มอย่าไปน้อยใจนะคะ

เพราะว่าเรายังมีผา้ ห่ม ห่มตัวเราไม่แตกต่างมากนักนะคะ สำ�หรับคนที่ยังไม่มีผ้าห่มอุ่นในปีนี้ งานนี้พลาดไม่ได้ ต้องไป ผ้าห่ม อย่างดี ดังภาพ ด้านล่างนะค๊ะ

งานสัมมนาสถาบันฯ เพราะว่าเห็นพี่แอ๋ว เจ้าแม่พัสดุ กระซิบกะพี่แมงเมาท์แห่งไร่เห็ดมาว่าปีนี้มีผ้าห่มอุ่นมาแจกด้วย ว้ายยยยยยยยยย ต๊ายยยยยยยยยยยยย พี่แมงเมาท์ ไม่จับฉลากแต่ขอจองเอาผ้าห่มอุ่นเลยได้มั้ยหล่ะค๊า

สารสถาบันฯ 24

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


พู

ด ถึ ง งานสั ม มนาสถาบั น ฯ ในปี นี้ เค้ า ว่ า ไม่ ห นั ก เหมื อ น ปี ที่ แ ล้ ว นะ พอไปถึ ง ก็ มี พิ ธี ม อบรางวั ล บุ ค ลากรดี เ ด่ น จากนั้ น มาฟั ง พระนักพูด รับรองสนุกสนานไม่มีง่วงค่ะ ในหัวข้อเรื่อง “สุขเขา สุขเรา สุของค์กร” เป็นอย่างไรนั้น ต้องไม่พลาดนะคะ หลังจากนั้นเรามา ฟังทิศทางและนโยบายของสถาบันฯ ในอนาคตข้างหน้ากับ ผอ. เจนภพ เอ้ยไม่ใช่ คนละ ผอ. ค่ะ ผอ.สุวัฒน์ต่างหาก งานนี้ ใครจะถามเรือ่ งปากท้องหรือเงินเดือนเชิญได้เน้อเจ้า รับรอง ผอ. บอกหมด 5555

และหลังจากนั้นเราก็มีกิจกรรมเมื่อปีที่แล้วเป็นงานวัด

ปีนกี้ เ็ ช่นกันเป็นงานวัด และสนุกกว่าปีทแี่ ล้วแน่นอน พีแ่ มงเม้าท์ รับประกันจร้า งานนี้ไม่สนุกห้ามรับของที่ระลึกที่พี่แอ๋วนะจ๊ะ ... เอ.. ว่าแต่ มันเกีย่ วกันมัย้ เนีย่

และก็มกี ารแสดงแต่ละศูนย์แต่ละหน่วยงาน

ด้วยนะ ไม่รู้ว่าปีนี้ อ.เกรียง (พี่เบิร์ด) จะแสดงเป็นอะไร พี่แมงเมาท์ อยากให้ อ.เกรียงเต้น gangnam style อ.เกรียงคะ รับทราบ ปฏิบัติด่วนนะคะ ขอเป็นของขวัญปีใหม่ได้ไหมคะ อิ อิ แต่มีคน แอบกระซิบพี่แมงเมาท์แห่งไร่เห็ดว่า อยากให้ปีนี้ผู้บริหารได้มีการแสดง สั ก ชุ ด เป็ น ของขวั ญ ปี ใ หม่ ใ ห้ ก ะพวกเราชาวไร่ เ ห็ ด ไม่ รู ้ ท ่ า น ผอ. และทีมผู้บริหารจะว่าไงคะ...

พี่เบิร์ดยังเคยเต้น มาแล้ว แค่กังนัม สบายครับ

เจอกันฉบับหน้านะคะ bye วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 25


ย�่ำเท้าทั่วไทย ไปทั่วโลก

Bird eye view to Mae Hong Son

ม่ฮอ่ งสอนอยูท่ างทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเชียงใหม่ ระยะทางรถเส้ น ทางเชี ย งใหม่ - ปาย-ปางมะผ้ า -แม่ ฮ ่ อ งสอน ประมาณ 250 กม. ที่ใช้เวลาการเดินทางด้วยรถยนต์ 5-6 ชั่วโมง กั บ โค้ ง นั บ พั น โค้ ง หรื อ เส้ น ทางเชี ย งใหม่ - ฮอด-แม่ ส ะเรี ย งแม่ฮ่องสอน ประมาณ 350 กม. ใช้เวลาประมาณ 7-8 ชั่วโมง ก็ นั บ พั น โค้ ง เหมื อ นกั น หากเดิ น ทางโดยเครื่ อ งบิ น จะใช้ เ วลา ประมาณ 35 นาที ก็บินตรงนี่นาไม่ต้องเลี้ยวโค้งตามสันเขา ท่านสามารถไปแม่ฮ่องสอนได้ทางรถ หรือทางเครื่องบิน แล้วแต่จะเลือก รถก็จะมีทั้ง ขับเอง รถตู้ประจ�ำทาง รถทัวร์ ปรับอากาศ รถทัวร์จะวิ่งเฉพาะเส้นทางแม่สะเรียง และรถตู้จะวิ่ง เส้ น ทางปาย เครื่ อ งบิ น จะมี 2 สายการบิ น คื อ กานต์ แ อร์ และนกมินิ เครื่องบินของสายการบินกานต์แอร์ (ไม่ได้โฆษณา นะคะ) HS - KAB Cessna Grand Caravan 208B เป็นเครื่องบิน ใบพั ด ขนาดเล็ ก สามารถบรรทุ ก ผู ้ โ ดยสารได้ จ� ำ นวน 12 คน และมีเพดานบิน 8500 ฟุต ไม่สูงมาก ท�ำให้สามารถชมวิวทิวทัศน์ ระหว่างการเดินทาง ส่วนนกมินิจะเป็นเครื่องเล็ก 34 ที่นั่ง (ไม่มี ห้องน�้ำ มีแอร์โฮสเตส 1 คน) บินสูงเป็นหมื่นฟุตค่ะ ฉายสุ รี ย ์ ไ ปท� ำ งานของโครงการ RO1 มาลาเรี ย ของ ดร.จิรประภา (ต่าย) กับทีมงานประจ�ำคือ คุณมนต์จันทร์ (แหม่ม)

สารสถาบันฯ 26

ฉายสุรีย์ ศุภวิไล

เลยได้ มี โ อกาสบิ น กั บ กานต์ แ อร์ และนกมิ นิ หลั ง จากนั่ ง รถ ไปแม่ ฮ ่ อ งสอนผ่ า นหลายหมื่ น โค้ ง มาแล้ ว เที่ ย วละมากกว่ า 1,800 โค้ ง หากรวมโค้ ง ที่ เ ราเข้ า พื้ น ที่ ใ นดอยด้ ว ย ก็ น ่ า จะ ตกประมาณ 2,000 โค้งได้ค่ะ ก็ไปหลายเที่ยว (เกิน 10 เที่ยว) เราก็มาถึงจุดทีต่ อ้ งซือ้ เวลาในการท�ำงานด้วยการบินไปแม่ฮอ่ งสอน เป็ น โครงการที่ ท� ำ ประวั ติ ศ าสตร์ ใ ห้ กั บ สถาบั น ฯ คนขั บ รถได้ ขึน้ เครือ่ งบิน ต้องขอบคุณ ดร.ต่ายนะคะ ฉายสุรยี ช์ อบนัง่ กานต์แอร์ มากกว่ า นกมิ นิ เพราะเห็ น วิ ว สวย 12 ที่ นั่ ง ส� ำ หรั บ ผู ้ โ ดยสาร พอๆ กับรถตูเ้ ลยค่ะ เส้นทางบิน ก็บนิ ขึน้ ทางเหนือ ผ่านศูนย์ประชุม แห่งใหม่ของเชียงใหม่ สนามกีฬา 700 ปี ห้วยตึงเฒ่า ตัดเข้า แนวภูเขา เห็นม่อนแจ่มอยู่ไกลๆ ทางด้านซ้าย แล้วก็ภูเขาสวยๆ เมฆสวยๆ แป๊บเดียวก็ถึงแม่ฮ่องสอน วน 1 รอบ แล้วก็ลงทางด้าน ทิศตะวันตก วัดพระธาตุดอยกองมูจะอยู่ทางขวามือ เครื่องบินจะ ขึน้ ลงได้ทศิ เดียวเท่านัน้ เพราะอีกด้านเป็นภูเขาค่ะ เวลาบินจะเลือก นั่งติดหน้าต่าง ที่นั่งจะเป็น แถวละ 3 เก้าอี้ จะเป็น A และ B กับ C ติดกัน มีช่องทางเดินที่ต้องเอียงตัวเดินระหว่างที่นั่ง A กับ B มีทั้งหมด 4 แถวค่ะ เราจะสามารถเห็นนักบินท�ำงานแบบเรานั่งดู คนขับรถค่ะ เลยมีภาพสวย ๆ มาฝากค่ะ

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


ับ รื่องบินเห็นคนข บรรยากาศในเค C ะ วันนี้นั่งเลขที่4 อยู่ข้างหน้าไหมค

2 คน คนขับเครื่องบินมี นค่ะ ใกล้ชิดมาก เป็นกัปปิตันทั้ง 2 ค

อ่างน�้ำ สนามกีฬา 700 ปี ่านะคะ ด้านหลังไม่ใช่ห้วยตงึ เฒ

วยแบบนี้ อากาศสดใสกส็ ลงค่ะ เครื่องกำ�ลังจะ

มช. ของเรา เห็นอ่างแก้วด้วย

ต้นอะไรเอ่ย ลองทายดู

ศู น ย์ แ สด งสิ น ค้ า แห่งใหม่ของเชียงใหม่

เป็นแบบนี้ เกือบเเก็บได้แล้วค่ะ

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

พร้อมเก็บแล้วค่ะ

สารสถาบันฯ 27


ย�่ำเท้าทั่วไทย ไปทั่วโลก

สารสถาบันฯ 28

HOKKAIDO, Sapparo

วีนัส แก้วอยู่

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


อกไกโด เป็นสถานที่แห่งนึ่งที่ฝันไว้ว่าในชีวิตนี้จะต้อง ไปให้ได้สักครั้งหนึ่ง แล้ววันนั้นก็มาถึงจนได้ ปลายเดือนกันยายน 2555 ได้มีโอกาสไปผจญภัยที่เกาะฮอกไกโดถึง 9 วัน การเดินทาง ไปญี่ ปุ ่ น ครั้ ง นี้ ไ ปแบบไม่ ง ้ อ ทั ว ร์ ค ่ ะ เลยต้ อ งมี ก ารท� ำ การบ้ า น เตรียมตัวไปอย่างดี เคยได้ยนิ ว่าประเทศญีป่ ่นุ ขึน้ ชือ่ ในเรือ่ งชาตินยิ ม มานานแล้ว คราวนี้ได้ไปพิสูจน์กับตนเอง พระเจ้าช่วย กล้วยทอด ทุกสิง่ ทุกอย่าง เป็นภาษาญีป่ นุ่ เกือบ 100 เปอร์เซ็น ท�ำยังไงกันล่ะทีนี้ อ่านก็ไม่ออก พูดก็ไม่ได้ ยังไงก็ต้องรอดล่ะน่า.... ก่อนอื่นมาท�ำความรู้จัก ฮอกไกโด กันก่อน ฮอกไกโด คือ เกาะที่อยู่เหนือสุดของประเทศญี่ปุ่น เป็นจังหวัดที่ใหญ่ที่สุดของ ประเทศ มีซัปโปโรเป็นเมืองหลวงและเป็นเมืองใหญ่ที่สุดของเกาะ การที่เกาะฮอกไกโดตั้งอยู่ทางเหนือสุด ท�ำให้ภูมิอากาศมีลักษณะ เฉพาะ และมีความต่างของฤดูกาลอย่างชัดเจน โดยเฉพาะฤดูหนาว อากาศจะเย็ น ยาวนาน จะมี ก ารจั ด งานเทศกาลหิ ม ะในเดื อ น กุมภาพันธ์ของทุกปี ภูมปิ ระเทศทีเ่ ต็มไปด้วยทุง่ หญ้า ทุง่ นา ป่า ภูเขา แม่ น�้ ำ และทะเลสาบ ปล่ อ งภู เ ขาไฟ ทั้ ง ยั ง ถู ก โอบล้ อ มไปด้ ว ย ท้องทะเลทุกด้าน จึงเป็นดินแดนที่มีทัศนียภาพอันสวยสดงดงาม เหมาะกับการพักผ่อนใกล้ชิดธรรมชาติ ไม่ต้องพูดพร�่ำท�ำเพลง ให้ยาวล่ะค่ะ มาชมภาพสวยๆ กันดีกว่า ให้เหมือนกับที่เค้าว่ากันว่า บรรยายร้อยค�ำไม่เท่ากับหนึ่งภาพ... (ความจริงแล้วเล่าไม่ค่อยเก่ง)

เดินผ่านปากทางเข้า Mount Vernon เข้าไปด้านในก็เห็น แถวยาวเพื่อซื้อบัตรผ่านประตู ราคา 15 เหรียญ หากต้องการ ได้เครื่องมืออธิบายแต่ละจุดก็จ่ายเพิ่มอีก 6 เหรียญ ซึ่งกลุ่มเรา ก็ เ ช่ า มาหนึ่ ง เครื่ อ ง เครื่ อ งนี้ จ ะมี ข นาดประมาณสองเท่ า ของ รีโมทใหญ่ๆ มีล�ำโพงเล็กๆ แบบโทรศัพท์มือถือ เมื่อไปที่จุดใดก็ กดปุ่มตามหมายเลขที่ระบุก็จะมีเสียงอธิบายออกมา แต่ไม่เช่ามา ก็ไม่ได้เสียอรรถรสในการเดินชมแต่อย่างไรเพราะมีป้ายต่างๆ อธิบายไว้พอสมควร การเดิ น ชมในส่ ว นแรกจะเป็ น การเดิ น ชมบริ เ วณ อาคารบริวาร แต่ก่อนจะเดินไปตามแนวอาคารที่ว่าจะต้องเดินไป ที่บ ริเวณด้า นหน้า ของคฤหาสถ์ ที่มีส นามหญ้ า ขนาดใหญ่ม าก เป็นจุดที่ผู้คนต้องถ่ายรูปเพราะเป็นภาพที่มีองค์ประกอบสวยงาม คือสองด้านซ้ายขวาของภาพจะเป็นแนวต้นไม้ใหญ่โดยมีสนามหญ้า ขนาดใหญ่ อ ยู ่ ต รงกลางภาพและเป็ น เส้ น น� ำ สายตาตรงไปสู ่ ภาพคฤหาสน์ที่อยู่ไกลสุด

จากนั้นก็เป็นการเดินชมอาคารบริวารซึ่งเป็นที่พักและ ที่ ท� ำ งานของเหล่ า ข้ า ทาสบริ ว ารรวมทั้ ง คนงาน จะเห็ น ที่ พั ก ของทาสหญิงและเด็กซึ่งแยกออกจากที่พักของทาสชาย ครัวก็อยู่ ที่มุมหนึ่งของอาคารนั้นเลย ถ้าไม่นับความเป็นทาสการเป็นอยู่ เท่าที่เห็นก็ดูพอใช้ได้ เมื่ อ ล่ า สั ต ว์ ม าได้ ก็ จ ะมี ที่ เ ก็ บ รั ก ษาไว้ ก ่ อ นน� ำ ไป ประกอบอาหารที่ ค รั ว ซึ่ ง มี อุ ป กรณ์ จ� ำ พวกหม้ อ ต้ ม และอื่ น ๆ ที่ น ่ า สนใจคื อ Smoke House ที่ เ ป็ น อาคารส� ำ หรั บ ถนอม เนื้อสัตว์ใหญ่เพื่อเก็บไว้บริโภคในช่วงฤดูหนาว Smoke House เป็นสิ่งปลูกสร้างเหมือนโรงนาแล้วแขวนเนื้อสัตว์ใหญ่ไว้ด้านบน ก่อกองฟืนขนาดเล็กไว้ด้านล่าง ใช้ไฟอ่อนค่อยๆ ท�ำให้ระเหยน�้ำ ซึ่งแน่นอนว่ากลิ่นของไม้ฟืนนั้นก็จะเกาะติดกับเนื้อสัตว์นั้นด้วย เป็นการรมควัน เห็นแล้วนึกถึงโรงบ่มใบยาสูบทางเชียงใหม่ที่ มาแนวเดียวกัน นอกจากนี้ก็มีโรงตีเหล็กเพื่อสร้างและซ่อมแซม อุปกรณ์ต่างๆ

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 29


พาไปชมสถานทีส่ ำ� คัญของเมืองซัปโปโรกันบ้าง ถ้าใครได้ ไปเยือนเมืองนี้จะต้องไม่พลาดที่จะไปปัก หมุดกันค่ะ

รถบัสฟรี หน้าตาน่ารักน่านัง่ จึงต้องขอขึ้นไว้ก่อน แม้จะไม่รู้ เหนือรู้ใต้ก็ตาม พบว่ารถขับพามาส่งแค่ทางขึ้นใกล้ๆ นี่เอง

ภาพด้านบนคือท�ำเนียบรัฐบาลเก่าฮอกไกโด หรือ Akarenga ซึ่งแปลว่า อิฐสีแดง สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2416 โดยใช้อิฐไปกว่า 5 ล้านก้อน ออกแบบในสไตล์นโี อบาร็อคอเมริกา โดยลอกแบบมาจากท�ำเนียบรัฐบาล ของเมืองแมตซาซูเซตส์ โดยตึกหลังนี้ใช้เป็นที่ท�ำการรัฐบาลฮอกไกโด มาตัง้ แต่ปี พ.ศ. 2429 เป็นเวลากว่า 80 ปีก่อนทีจ่ ะย้ายไปยังอาคารท�ำการ หลังใหม่ ปัจจุบัน อาคารหลังนี้ได้ขึ้นทะเบียนเป็นสมบัติทางวัฒนธรรม แห่งชาติ โดยบางห้องยังจัดแสดงเรื่องราวความเป็นมาของเมือง ข้าวของ โบราณ และสัตว์ที่พบบนเกาะฮอกไกโด

เหลือบไปเห็นรถราง อุย้ .. หน้าตาน่ารักอีกแล้ว ไหนๆ ก็ไหนๆ ศน์สถาบั ขอใช้บริการนั่งรถรางชมเมืองกันซะเลยวิสชิัยลทัมากค่ ะ นฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 30


สวนสาธารณะโอโดริ สวนสาธารณะกลางใจเมืองซัปโปโรใช้เป็นที่จัดเทศกาลหิมะของทุกปี

หอโทรทัศน์ (TV Tower) หอคอยที่ยืนโดดเด่น อยูท่ สี่ วนสาธารณะโอโดริ คือจุดทีส่ ามารถขึน้ ไป ชมทิวทัศน์รอบเมืองซัปโปโรมุมสูงนั่นเอง หอนาฬิกาแห่งเมืองซัปโปโร (Sapporo Clock Tower) ถือเป็นอีกหนึ่งแลนด์มาร์กของเมืองที่ใครๆ จะต้องแวะมาถ่ายรูป และเทียบเวลากันที่นี่ ลือกันว่าเป็นนาฬิกาที่เที่ยงตรงที่สุดในโลก แม้จะเก่าแก่แต่กบ็ อกเวลาได้แม่นย�ำ แถมยังได้ขนึ้ ทะเบียนเป็นมรดก ทางวัฒนธรรมที่ส�ำคัญแห่งหนึ่งของชาติไปเรียบร้อยแล้ว กว่าจะ ตามหากั น จนเจอ เดินวนไปเวียนมาเล่ นเอาหอบกันเลยทีเ ดีย ว ในที่สุดก็ได้ถึงจนได้ วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 31


ได้ เ ห็ น เมื อ งซั ป โปโรกั น ไป บ้ า ง แ ล้ ว พ า ไ ป เ ที่ ย วต ล า ด ป ล า (fish market) กันบ้างดีกว่า วันนี้ตื่นเช้า ไปเที่ ย วตลาดปลายามเช้ า ของเมื อ ง ซั ป โปโร มี ป ลาและอาหารทะลสดๆ มากมาย ละลานตาไปหมด มีอาหาร ทะเลสดๆ พร้ อ มรั บ ประทานกั น หน้าร้านเลย ของขึ้นชื่อของเมืองนี้คือ ปูยักษ์ฮอกไกโดนั่นเอง

เดิ น เดิ น เดิ น เห็ น เมล่ อ น จำ�นวนมาก มี แ บ่ ง ขายเป็ น ชิ้ น ๆ ด้ ว ย เลยต้องขอลองชิมกันสักหน่อย ชิ้นละ 100 เยน (ประมาณ 40 บาท) หวานอร่อย ชื่นใจมาก อยากจะซื้อกลับมาสักลัง

สารสถาบันฯ 32

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


หลั ง จากเดิ น ชมอาหารทะเล ตัวโตๆ แล้ว คราวนี้ขอแวะชิมกันหน่อย หันซ้ายหันขวา มีให้เลือกหลายร้าน สุดท้าย ตกลงใจเลือกร้านนี้แหละ

ข้าวหน้าปลา + ไข่กุ้ง ซุปขาปู น�้ำซุปหวานอร่อยสุดสุด สั่งปลาย่างขนาดเล็กมานะคะ (ลายเซ็นต์ ด้านหลัง เป็นของดารา คนดัง ทีม่ าชิมร้านนีค้ ะ่ )

ว่ากันว่า มาถึงซัปโปโรต้องไปชิมราเมงทีต่ รอกราเมงโยโกโชะ ซึ่ ง เป็ น ศู น ย์ ร วมร้ า นราเมนที่ ขึ้ น ชื่ อ ที่ สุ ด ในซั ป โปโร ไม่ ต้ อ งบอกก็ พอจะเดากันได้วา่ จะมีแต่รา้ นราเมงทัง้ ซอย แต่ละร้านจะเป็นร้านเล็กๆ มี ที่ นั่ ง ประมาณ 10 ที่ นั่ ง เค้ า บอกว่ า ให้ สั ง เกตว่ า ร้ า นไหนอร่ อ ย จากจำ�นวนคิวของลูกค้าที่รออยู่ ดูแล้วยังไงก็เลือกไม่ถูกอยู่ดี ในที่สุด ก็ตกลงใจได้ร้านนี้ค่ะ

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 33


ออกจากซั ป โปโรกั น บ้ า ง พาไปเที่ ย ว เมืองโอตารุ เป็นเมืองเก่าเล็กๆ น่ารัก อยู่ห่างจาก ซัปโปโรออกมาทางตะวันตกเฉียงเหนือราว 40 กิ โ ลเมตร นั่ ง รถไฟไปประมาณครึ่ ง ชั่ ว โมง สั ญ ลั ก ษณ์ ข องเมื อ งโอตารุ คื อ คลองโอตารุ เป็นคลองเก่าทอดเป็นแนวยาวอยูค่ กู่ บั โกดังท่าเรือ เป็ น สั ญ ลั ก ษณ์ อั น แสนคลาสสิ ค ของเมื อ งที่ นักท่องเที่ยวไปชมกันมากที่สุด

สารสถาบันฯ 34

หลังจากชมคลองโอตารุแล้ว ก็เดินชมเมือง โอตารุกันต่อ เมืองโอตารุนี้คล้ายกับถนนคนเดินเล็กๆ จุดเด่นของเมืองนี้คือ มีพิพิธภัณฑ์กล่องดนตรี และร้าน ขายกล่ อ งดนตรี น่ า รั ก ๆ เราสามารถเลื อ กอุ ป กรณ์ ทำ�เป็นกล่องดนตรีและเลือกใส่เสียงเพลงตามต้องการ สำ�หรับเป็นที่ระลึกของเมืองนี้ได้อีกด้วย และยังขึ้นชื่อ ในเรื่ อ งเครื่ อ งแก้ ว ที่ ทำ�ออกมาได้ ส วยงาม น่ า รั ก (เสียดายไม่ได้เก็บภาพเครือ่ งแก้วมาฝาก) วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่หลากหลายแบบ งความเป็นเลิศในการวิ จัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


ถ้าใครทนอ่านมาได้ถึงตอนนี้ก็คงแอบสงสัยกันในใจว่าไหนธรรมชาติสวยๆ ไม่เห็นมีสักรูป นั่นไง มีแน่ๆ ค่ะ ย้ายไปอีกเมือง กันดีกว่า เมืองฮาโกดาเตะ เป็นเมืองท่าริมทะเลและเมืองใหญ่อันดับสามทางตอนใต้ของเกาะฮอกไกโด เป็นเมืองเล็กๆ สวย น่ารัก อีกเมืองหนึ่ง ส่วนรูปสุดท้าย จุดชมวิวบนภูเขาฮาโกดาเตะ เป็นจุดชมวิวที่สวยของญี่ปุ่นที่ถูกยกให้ติดอันดับหนึ่งในสามของประเทศกันเลย ทีวิเสดีัยยทัวศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 35


เมื อ งโนโบริ เ บทสึ เป็ น เมื อ งที่ เ ต็ ม ไปด้ ว ย บ่อน�้ำแร่ ออนเซ็น เค้าว่ากันว่าเมืองนี้ร�่ำรวยไปด้วย ทิวทัศน์อันสวยงามของป่าเขา ทะเลสาบ เลยต้องไป พิสูจน์กันหน่อย ทะเลสาบโทยะจากมุ ม สู ง ต้ อ งนั่ ง รถขึ้ น ไป บนภูเขา และขึน้ กระเช้าถึงจะเก็บภาพสวยๆ แบบนีม้ าได้ ทะเลสาบโทยะนี้เป็นทะเลสาบที่เกิดจากการระเบิดและ ยุบตัวของภูเขาไฟนับแสนปีมาแล้ว ตัวทะเลสาบเป็น รูปกลม มีเกาะอยู่ตรงกลาง และรอบๆ ทะเลสาบมี รีสอร์ทออนเซ็นและโรงแรมหรูที่ชาวญี่ปุ่นนิยมมาพัก กั น มาก เป็ น ทะเลสาบที่ใ สเป็ น อั น ดั บ สองของญี่ปุ ่ น และเคยเป็นที่จัดประชุม G8 อีกด้วย

ได้ ชมภาพสวยๆ ของเกาะฮอกไกโดกันไปพอสมควรแล้ว

จริงๆ นี่เป็นเพียงภาพส่วนน้อยมาก ถ้าใครสนใจอยากชมภาพ และฟังประสบการณ์สนุกๆ เชิญหลังไมค์ดีกว่าค่ะ ไม่อย่างนั้น สารสถาบันฯ จะกลายเป็นหนังสือเที่ยวฮอกไกโดแทน บ่อน�ำ้ แร่ธรรมชาติสาธารณะส�ำหรับแช่มือ

สารสถาบัน ฯ องโนโบริ 36 เบทสึวิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ของเมื


วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 37


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.