IS AM ARE OCT59

Page 1

IS AM ARE

มุ ม มอง วิ ธี คิ ด และประสบการณ์ ข อง MN การบิ น ไทย

รณชัย วงศ์ชะอุ่ม สั ม ภาษณ์ พิ เ ศษ

พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง 1

issue 105 october 2016

ฉบับที่ 105 ตุลาคม 2559 www.fosef.org


เว็ปไซต์ของมู ลนิธิครอบครัวพอเพียง ท่านสามารถเข้ามาอ่านบทความ นิตยสาร IS AM ARE ครอบครัวพอเพียง หรือข่าวสารดี ๆ ได้แล้ววันนี้ โดยไม่เสียค่าใช่ จ่าย และท่านยังสามารถสมัครเป็นสมาชิ กของมู ลนิธิครอบครัวพอเพียง เพื่อรับข่าวสารจากทางมู ลนิธิครอบครัวพอเพียงได้ก่อนใคร โดยท่านสามารถสมัครเพื่อเป็นสมาชิ กได้ท่ี

www.fosef.org

2 IS AM ARE www.fosef.org


“ความเจริญของคนทั้งหลาย ย่อมเกิดมาจากประพฤติชอบและการหาเลี้ยงชีพชอบ เป็นหลักส�ำคัญ ผู้ที่จะสามารถประพฤติชอบและหาเลี้ยงชีพชอบได้ด้วยนั้น ย่อมจะมีทั้งวิชาความรู้ ทั้งหลักธรรมทางศาสนา เพราะสิ่งแรกเป็นปัจจัยส�ำหรับใช้กระท�ำการท�ำงาน สิ่งหลังเป็นปัจจัยส�ำหรับส่งเสริมความประพฤติ และการ ปฏิบัติงานให้ชอบคือให้ถูกต้องและเป็นธรรม” พระราชด�ำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่ครูโรงเรียนราษฎร์สอนศาสนาอิสลาม ๔ จังหวัดภาคใต้ จังหวัดปัตตานี ๒๔ สิงหาคม ๒๕๑๙

3 issue 105 october 2016


Editorial เริ่มต้นฉบับนี้ บก.ได้พบเห็นบุคคลหลายท่านไม่ได้มาปฏิบัติหน้าที่เหมือนทุกทีที่ผ่านมา และเมื่อยกโทรศัพท์เพื่อติดตามงาน ทางปลายสายแจ้งว่า ท่านไม่ได้มาท�ำงานแล้วค่ะ ท่านลาออกก่อนการเกษียณอายุค่ะ และบางท่านที่เราเห็นว่าท่านยังกระฉับ กระเฉง แต่วันนี้เจ้าหน้าที่บอกว่าท่านเกษียณแล้วค่ะ หลายคน หลายท่านหยุดการท�ำงานกันแล้ว หยุดการท�ำงานตามเวลาที่ราชการก�ำหนด เพื่อให้ได้พักผ่อน พักการท�ำงานที่ท�ำกันมากว่า ๓๐ ปี “อาจารย์ค่ะ ปี ๖๐ ครอบครัวพอเพียงจะครบ ทศวรรษแล้วค่ะ” บก.รายงาน ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ท่านตอบเสียงดังทันทีว่า “คุณไม่ต้องไปนับเวลาซิ อย่านับเวลา ท�ำไปเรื่อยๆ ท�ำไปแบบนี้หล่ะถูกต้องแล้ว ดีแล้ว ผมยังเริ่ม ต้นช้ากว่าพวกคุณ ดูซิยังอายุน้อยๆ กันทั้งนั้น ได้ท�ำบุญใหญ่ตั้งแต่อายุยังน้อย สิ่งที่ท�ำอยู่ทุกวันนี้ คือการสร้างบุญนะ ท�ำเพื่อผู้อื่น ท�ำให้ผู้อื่นได้รับความรู้ ได้รับความสุข อันนี้ส�ำคัญ” ดร.สุเมธ พูดให้ก�ำลังใจแก่พวกเรา งานในหน้าที่คนส่วนใหญ่ก็จะท�ำตามที่ได้รับมอบหมาย หลายคนเงินเดือนสูง เป็นระดับบริหารก็จะใช้สมองมากหน่อย แต่ไม่ เหนื่อยกาย แต่ความรับผิดชอบก็สูงตามไปด้วย แต่พวกนี้ส่วนใหญ่มักจะมีค�ำพูดที่คุ้นหูเสมอว่า “พอล่ะ เท่านี้ล่ะ อย่าไปท�ำมาก ท�ำ ตามที่สั่งนี้ล่ะ” บางคนเงินเดือน ชนเดือนพวกนี้ก็ ตามมี ตามเกิดนั่นล่ะ แต่มักไม่ค่อยคิดถึงใครหรืออะไรมากนัก นอกจากตัวเอง และครอบครัว บก.ยกตัวอย่างบุคคลแบบสั้นๆ มองแบบง่ายๆ เพราะถ้าลงลึกกว่านี้รับรองว่า พูดเรื่องหน้าที่กับเงินเดือนที่ได้รับของบุคคลใน แต่ละอาชีพล่ะก้อ คงจะหนาหลายหน้าทีเดียว ทีนี้มามองคนใกล้ตัวบ้าง ถ้าถามว่าค่าตอบแทนที่พวกเขาได้รับนั้นสูงไหม ตอบได้เลยว่า ไม่ แล้วที่ท�ำกันอยู่แบบเสี่ยงเป็น เสี่ยง ตาย ขับรถทีเป็น ๕๐๐ หรือ ๖๐๐ กิโล หรือบางครั้ง ซึ่งบ่อยมาก ไปกลับกรุงเทพมหานคร ปาไปกว่า ๒,๘๐๐ กิโล เรียกว่าไปถ่าย น�้ำมันเครื่องกันกลางทางกันทีเดียว จนศูนย์บริการถามว่า เพิ่งเปลี่ยนถ่ายน�้ำมันเครื่องไปเมื่อเดือนที่แล้ว ในประวัติการเดินทาง ท�ำไม เดินทางเยอะขนาดนี้ และถ้าบอกว่าการเดินทางนี้ไม่ได้เดินทางไปเพื่อประโยชน์ของตนเองเลย ใครจะเชื่อ และถ้าบอกว่าสิ่งที่ท�ำอยู่นี้ ท�ำ เพราะค่าตอบแทนที่ได้รับ ก็ตอบได้เลยว่า ไม่ใช่ เหมือนกันกับที่ “พ่อ” ท�ำ “พ่อ” เดินทางไปทั่วแผ่นดิน เดินทางไปเพื่อช่วยเหลือ แก้ไขปัญหา เยียวยาคนที่ก�ำลังตกทุกข์ ให้ ความรู้ เพื่อเขาจะได้ด�ำรงชีพได้ พัฒนาในทุกๆ ด้าน เพื่อคนที่ “พ่อ” รักและห่วงใย “พ่อ” บอกว่า รถของฉัน ฉันขับเอง ขับเองจะ ได้รู้ภูมิศาสตร์ที่แท้จริง “พ่อ” ท�ำงานเพื่อคนที่ “พ่อ” รัก และ “พ่อ” ไม่เคยบอกใคร ให้มารัก “พ่อ” “พ่อ” ท�ำงานเพื่อให้คนที่ “พ่อ” รักมีความสุข พึ่งพาตนเองได้ มีการศึกษาและได้รับโอกาส วันนี้พวกเรา ครอบครัวพอเพียง มาช่วย “พ่อ” สานต่อสิ่งที่ “พ่อ” หวัง เพื่อคนที่ “พ่อ” รัก คือประชาชนทั้งแผ่นดิน ตาม อุดมการณ์ที่เรายึดมั่น “ไม่มีส่วนไหนส�ำคัญ เท่าส่วนรวม เมื่อส่วนรวมพ้นทุกข์ เราจะ สุขร่วมกัน”

4 IS AM ARE www.fosef.org


Contributors

มู ลนิธิครอบครัวพอเพียง ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล พลเอก ดร.ศรุต นาควัชระ ดร.เทอดศักดิ์ เจียมกิจวัฒนา นางสุชานี แสงสุวรรณ นายธนพร เทียนชัยกุล นายณัฐเสกข์ น้อยสมบูรณ์ นายภูวนาถ เผ่าจินดา ดร.วรวุฒิ แสงเฟือง นางอริยสิริ พิพัฒน์นรา นายเอกรัตน์ คงรอด นางสาวเอื้อมพร นาวี ผศ.ดร.ปรีชาพร สุวัฒโนดม นายอภีม คู่พิทักษ์ นายกมลเศรษฐ์ เก่งการเรือ นางอรปภา ชาติน�้ำเพ็ชร นางรจนา สินที นายธงชัย วรไพจิตร นายภูริวิทย์ จงนิรักษ์ นางศิรินทร์ เผ่าจินดา

ประธานกิตติมศักดิ์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ กรรมการและเลขาธิการ กรรมการและเหรัญญิก กรรมการและผู้ช่วยเลขาธิการ กรรมการและผู้ช่วยเลขาธิการ กรรมการและผู้ช่วยเหรัญญิก กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ ผู้จัดการมูลนิธิ

ศิลปกรรม : ส�ำนักงาน :

โทรศัพท์ : โทรสาร : เว็ปไซต์ :

Let’s

Start

นิตยสารครอบครัวพอเพียง ประธานกิตติมศักดิ์ : คุณหญิงพวงรัตน วิเวกานนท์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ : พล.อ.จรัล กุลละวณิชย์ ประธานด�ำเนินการ : ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล บรรณาธิการ : กรวิก อุนะพ�ำนัก กองบรรณาธิการ : อภีม คู่พิทักษ์ พิชัยยุทธ ชัยไธสง เอกรัตน์ คงรอด นิตยสารครอบครัวพอเพียง 663 ซอยพหลโยธิน35 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 0-2939-5995 0-2939-5996 www.fosef.org

and Enjoy!

5 issue 105 october 2016


Hot Topic

40

เที่ยวถิ่นปราชญ์ ชุ มชนตรอกข้าวเม่า อนุชา เกื้อจรู ญ

50

มุ มมอง วิธีคิด และ ประสบการณ์ของ วิศวกรการบินไทย รณชั ย วงศ์ชะอุ ่ม

26

ติดปี กลัดฟ้า พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง

Don’t miss

10 16 46

74 6 IS AM ARE www.fosef.org

20


Table Of Contents

พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง “ในชี วิ ต ที่ ผ ่ า นมา แน่ น อนว่ า บางคนก็ มี ค วามพร้ อ มไปทุ ก สิ่ ง ทุ ก อ ย ่ า ง บ า ง ค น ต ้ อ ง ต ่ อ สู ้ อ ด ท น ฝ ่ า ฟ ั น ไ ป พ ร ้ อ ม กั บ คุ ณ พ่ อ คุ ณ แม่ แ ละพี่ น ้ อ งอี ก หลายคน ซึ่ ง ตั ว เองจะอยู ่ ใ นกลุ ่ ม หลั ง ”

7 issue 105 october 2016

ข่าวสารครอบครัวพอเพียง เด็กก่อนค่าย...เด็กหลังค่าย ตัวไกล...หัวใจอยู่ใกล้ มุมมองการศึกษาของเด็กเล็ก จากมุมของ วรรณกรรมเรื่อง “หลายชีวิต” กระจกส่องใจ ครูแนะแนวท�ำทุกอย่าง ยกเว้นแนะแนว Cover Story ติดปีกลัดฟ้า พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง ปฏิบัติการชุมชนรักษ์น�้ำตามแนวพระราชด�ำริ เรื่องราวดี ๆ เที่ยวถิ่นปราชญ์ ชุมชนตรอกข้าวเม่า อนุชา เกื้อจรูญ ภาพเล่าเรื่อง บทเรียนชีวิตจริง น�้ำ ลัง ตังค์ ร้อย Let’s Talk มุมมอง วิธีคิด และประสบการณ์ ของวิศวกรการบินไทย รณชัย วงศ์ชะอุ่ม Wheel Of Life มูลนิธิชัยพัฒนา หญ้าแฝกที่เป็นมากกว่าหญ้า บทความพิเศษ บริบทส�ำคัญต่อความส�ำเร็จในการพัฒนา พฤติกรรมเชิงบวกอย่างยั่งยืน Round About

8 10 16 20 26 38 40 46

50 60 64 74 80


ครอบครั ว พอเพี ย ง มอบความสุ ข สู ่ ชุ ม ชน มูลนิธิครอบครัวพอเพียง น�ำน้องๆแกนน�ำเยาวชนครอบครัวพอเพียง จัดกิจกรรมสอนหนังสือน้องในชุมชน ร่วมกับ กลุ่ม ซ.โซ่อาสา ณ ชุมชนหัวรถจักรตึกแดงบางซื่อ โดยพาน้องๆเยาวชนครอบครัวพอเพียงใช้เวลาว่างในวันเสาร์ของทุกเดือน ได้ไปร่วม จัดกิจกรรมกับน้องๆ ตั้งแต่ระดับอนุบาลไปจนถึงระดับมัธยมศึกษา 8 IS AM ARE www.fosef.org


ข่ า วสารครอบครั ว พอเพี ย ง

ครอบครั ว พอเพี ย งจั ด กิ จ กรรมเสริ ม สร้ า งทั ก ษะจิ ต อาสา มูลนิธิครอบครัวพอเพียงจัดการสร้างจิตอาสา ฉันคือ ฮีโร 3 ( I AM HERO 3 ) เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวเเละสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในโอกาสมหามงคลปี 2559 เพื่อเสริมสร้างทักษะในด้านการเป็นจิตอาสา ในโรงพยาบาล โดยได้รับความร่วมมือจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยและศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย มาให้ความรู้แก่น้องๆ ณ หอประชุมโรงเรียนวัดนวลนรดิศ 9 issue 105 october 2016


10 IS AM ARE www.fosef.org


เด็ ก ..ก่ อ นค่ า ย เด็ ก ..หลั ง ค่ า ย

เสียงจากลูกชาวนา : นักเรียนรางวัลพระราชทาน

นาย วิริยะ ค�ำภิระยศ

ผมชื่ อ นายวิ ริ ย ะ ค� ำ ภิ ร ะยศ ชื่ อ เล่ น ดาด้ า เกิ ด เมื่ อ วั น จั น ทร์ ที่ 5 เดื อ นมกราคม พ.ศ. 2541 อายุ 18 ปี นั บ ถื อ ศาสนาพุ ท ธ นิ ก ายมหายาน ปั จ จุ บั น อาศั ย อยู ่ บ ้ า นเลขที่ 96/1 หมู ที่ 3 บ้ า นผาปั ง กลาง ต� ำ บล ผาปั ง อ� ำ เภอแม่ พ ริ ก จั ง หวั ด ล� ำ ปาง ก� ำ ลั ง ศึ ก ษาชั้ น มั ธ ยมศึ ก ษาปี ที่ 6 แผนการเรี ย นภาษาอั ง กฤษ-คณิ ต ศาสาตร์ โรงเรี ย นล� ำ ปางกั ล ยาณี จั ง หวั ด ล� ำ ปาง เป็นบุตรของนาย วิมล ค�ำภิระยศ และนาง ประไพร ค�ำภิ ระยศ บิดาประกอบอาชีพรับจ้างก่อสร้าง มารดาประกอบอาชีพ เกษตรกร มีพี่สาว 1 คน คือ นางสาว ปรางค์วิไล ค�ำภิระยศ ปัจจุบันก�ำลังศึกษาที่มหาวิทยาเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี คณะ วิศวกรรมศาสาตร์ สาขาวิศวกรรมโยธา ชั้นปีที่ 1 โดยพื้นฐานครอบครัวผมเป็นชาวนา โดยผู้หลักผู้ใหญ่ ทุ ก คนในครอบครั ว จะสอนให้ ลู ก หลานได้ รู ้ จั ก หน้ า ที่ แ ละ บทบาทของตนเองเสมอ ว่าตัวเราต้องท�ำหน้าที่และบทบาทที่ มีต่อครอบครัวและสังคมอย่างไร อบรมสั่งสอนให้ลูกหลานมี ประสบการณ์ความรู้ ความสามารถ วัฒนธรรมประเพณี การ ด�ำรงชีวิตแบบชาวนาที่ได้กระท�ำมาตลอดชีวิต โดยการเรียนรู้ ชาติที่จะเป็นก�ำลังส�ำคัญที่จะพัฒนาแผ่นดินไทย จากการปฏิบัติจริง และคนในครอบครัวของผมจะย�้ำเตือนว่า โดยการส่งผลงานของตนเข้าประเมินนักเรียนเพื่อรับ จะกระท�ำอะไรต้องมีความระมัดระวังอย่าประมาทไม่ว่าจะท�ำ รางวัลพระราชทานนั้น กระผมจะต้องมีคุณสมบัติเบื้องต้นที่ดี สิ่งใด ต้องรู้คิดก่อนท�ำ มีสติก่อนตัดสินใจเสมอ เด่น คือ มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมทุกภาคเรียน (GPA) ไม่ต�่ำกว่า 2.75 มีคุณสมบัติพื้นฐาน 5 องค์ประกอบ คือการศึกษาเล่าเรียน รางวั ล นั ก เรี ย นพระราชทานได้ ม าอย่ า งไร การมีทักษะในการจัดการและการท�ำงาน การมีสุขภาพอนามัย นักเรียนรางวัลพระราชทาน คือ เกียรติยศอันสูงสุดของ ความประพฤติ คุณธรรม จริยธรรม ที่ส�ำคัญ การอนุรักษ์ศิลป ชีวิต “ผลงานและความดี สมศักดิ์ศรีรางวัลพระราชทาน” วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม มีกิจกรรมและผลงานดีเด่น มีผล การคัดเลือกนักเรียนเพื่อรับรางวัลพระราชทานนั้น เกิด งานที่เป็นประโยชน์ มีคุณภาพ แสดงออกถึงความมีคุณธรรม ขึ้นจากน�้ำพระทัยอันเปี่ยมด้วยพระเมตตาของพระบาทสมเด็จ ดีงามและสร้างสรรค์ เป็นที่ยอมรับ มีหลักฐานชัดเจน และเผย พระเจ้าอยู่หัว ในความคิดของผม รางวัลพระราชทาน ถือเป็น แพร่ในวงกว้าง สิ่งที่กระตุ้นให้เยาวชนไทยเกิดการพัฒนามาตรฐานคุณภาพ ความรู ้ สึ ก ที่ ผ มได้ รั บ เลื อ กเป็ น นั ก เรี ย นรางวั ล การศึ ก ษาของชาติ เป็ น ที่ ต ระหนั ก ชั ด ว่ า พระบาทสมเด็ จ พระราชทานคือ รางวัลนี้ถือเป็นเกียรติสูงสุดในชีวิตการเป็น พระเจ้าอยู่หัวทรงมีวิสัยทัศน์กว้างไกล ทรงเล็งเห็นความส�ำคัญ นักเรียน เป็นความภาคภูมิใจของคนในครอบครัว คุณครู และ ในการส่งเสริมการศึกษาของชาติ พระราชทานขวัญก�ำลังใจแก่ เพื่อนฝูง คนใกล้ชิด และเป็นสิ่งยึดมั่นจิตใจให้กระท�ำแต่ความ นักเรียนที่มีความประพฤติดี ผลการเรียนดีอันเป็นต้นกล้าของ ดี ประพฤติปฏิบัติตนในความสุจริต ไม่เอาเปรียบผู้อื่น เห็น 11 issue 105 october 2016


ไม่มากเกินไป ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น มีความตระหนัก ต่อการผลิตและการบริโภคอยู่ในระดับที่พอประมาณ มีเหตุผล ในการตัดสินใจและต้องเป็นไปด้วยเหตุผล โดยพิจารณาจาก เหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนค�ำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จากการกระท�ำนั้นๆ อย่างรอบคอบ และมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว เพื่อเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงใน ด้านเศรษฐกิจ สภาพทางสังคม และวัฒนธรรมจากประเทศอื่น ที่หลั่งไหลเข้ามาจากหลายประเทศที่เกิดขึ้นโดยค�ำนึงถึงความ เป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่ก�ำลังเกิดขึ้น และผลจากสิ่ง ที่เกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล โดยต้องมีความรอบรู้ในสิ่งที่ท�ำ รอบรู้เกี่ยวกับวิชาการ ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะน�ำความรู้ เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ มีคุณธรรมที่จะเสริมสร้าง พฤติ ก รรมของคนในครอบครั ว โดยต้ อ งมี ค วามตระหนั ก ใน คุณธรรม ยึดมั่นในหลักธรรมค�ำสอนของศาสนาพุทธ มีความ ผมมี ค วามคิ ด ว่ า ปรั ช ญาของเศรษฐกิ จ พอเพี ย ง เปรี ย บเสมื อ นหลั ก การที่ ช ่ ว ยควบคุ ม และดู แ ลการ ด� ำ เนิ น ชี วิ ต ของคนเราด้ ว ยความพอประมาณ ไม่ ให้ ใ ช้ จ ่ า ยจนเกิ น ตั ว แต่ ต ้ อ งรู ้ จั ก ว่ า “สิ่ ง ไหนส� ำ คั ญ สิ่ ง ไหนจ� ำ เป็ น ” มี ภู มิ คุ ้ ม กั น ในตั ว ที่ ดี

แก่ส่วนรวม จงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหา กษัตริย์ ยึดมั่นในหลักประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรง เป็นพระประมุข และด�ำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง

ซื่อสัตย์สุจริต มีความอดทน มีความเพียร และใช้สติปัญญาใน การด�ำเนินชีวิตเพื่อเป็นรากแก้วของแผ่นดินไทย ซึ่งเป็นก�ำลัง ส�ำคัญในการพัฒนาชาติให้เจริญก้าวหน้าต่อไป

ในครอบครั ว มี ก ารน� ำ ปรั ช ญาของเศรษฐกิ จ พอเพี ย ง มาใช้ อ ย่ า งไร ครอบครัวของผมประกอบอาชีพท�ำนาและเกษตรกรรม แต่ในปัจจุบันบริบทของชุมชน สภาพทางเศรษฐกิจ สังคม และ วั ฒ นธรรมในสั ง คมไทยได้ มี ก ารเปลี่ ย นแปลง สภาพในอดี ต คนทั่ ว ไปส่ ว นใหญ่ จ ากที่ ป ระกอบอาชี พ เกษตรกรรมก็ หั น มา ประกอบอาชีพรับจ้างทางอุตสาหกรรมและประกอบอาชีพเป็น ข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจมากขึ้น ซึ่งคุณพ่อของผม ปัจจุบันท่านประกอบอาชีพเป็นพนักงานก่อสร้างท�ำงานอยู่ต่าง ประเทศ และคุณแม่ก็ประกอบอาชีพท�ำนา แต่คนในครอบครัว ก็ยังยึดอาชีพเกษตรกรรมโดยยึดมั่นคุณลักษณะปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง ที่ท�ำให้คนในครอบครัวของผมทุกคนสามารถ น�ำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกสภาพทางสังคม โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง การพัฒนาอย่าง เป็นขั้นตอนและพึ่งพาตนเองด้วยความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและ

ใ น ฐ า น ะ ค น รุ ่ น ใ ห ม ่ คิ ด ยั ง ไ ง กั บ ป รั ช ญ า ข อ ง เศรษฐกิ จ พอเพี ย ง ผมมีความคิดว่า ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เปรียบ เสมือนหลักการที่ช่วยควบคุมและดูแลการด�ำเนินชีวิตของคน เราด้วยความพอประมาณ ไม่ให้ใช้จ่ายจนเกินตัว แต่ต้องรู้จัก ว่า “สิ่งไหนส�ำคัญ สิ่งไหนจ�ำเป็น” มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีที่ จะตระหนักในความคิดในจิตส�ำนึกของตัวเราเองว่า ฐานะและ ก� ำ ลั ง ทางการเงิ น ในระดั บ บุ ค คลและครอบครั ว ของเรานั้ น มี มากน้อยเพียงใด และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสอน ให้คนรุ่นใหม่รู้จักประหยัด อดออม รู้ว่าสิ่งใดจ�ำเป็น สิ่งใดไม่ จ�ำเป็นด้วยความมีเหตุผลที่เกิดจากประสบการณ์ความรู้และ ความเข้าใจด้วยคุณธรรมที่เกิดจากการประพฤติปฏิบัติตนเป็น คนดี 12

IS AM ARE www.fosef.org


ได้ รั บ ประโยชน์ อ ะไรบ้ า งในการร่ ว มค่ า ยผู ้ น� ำ กั บ ครอบครั ว พอเพี ย งที่ ผ ่ า นมา และจะน� ำ ไปปรั บ ใช้ อย่ า งไร ได้รับความรู้ ความเข้าใจในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง ว่าเราสามารถน�ำหลักปรัชาญานี้ไปใช้ในการด�ำเนิน ชีวิต การบริหารจัดการครัวเรือน การแบ่งสันปันส่วนที่ดินใน การท�ำเกษตร สอนให้เราตระหนักให้รู้จักประหยัด อดออม ใช้ จ่ายไม่ให้เกินตัว ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนเพื่อสร้างรากฐานทางความ รู้และประสบการณ์เพื่อน�ำไปประยุกต์ในอนาคต มีความเป็นผู้น�ำและผู้ตามที่ดี เพิ่มพูนประสบการณ์ ความสามารถการตัดสินใจ การใช้หลักประชาธิปไตยในการ ท�ำงานร่วมกับผู้อื่น มีความรับผิดชอบ ตั้งใจปฏิบัติตามบทบาท และหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด ควบคู่การช่วยเหลือผู้อื่น มี พฤติกรรมและการตัดสินใจที่ซื่อสัตย์สุจริตและยุติธรรม ได้ รั บ ประสบการณ์ ใ หม่ แ ละสร้ า งความสั ม พั น ธ์ ที่ ดี ระหว่าง คณะวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ คณะวิทยากรรุ่นพี่ เพื่อน ใหม่ เพื่อนรุ่นน้องใหม่ ได้รู้จักและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับ ทัศนะเรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของกลุ่มผู้น�ำที่เป็น ตัวแทนในการร่วมกิจกรรมค่ายผู้น�ำกับครอบครัวพอเพียง ได้ แนวทางและวิธีการที่เป็นประโยชน์จากการเรียนรู้การน�ำเสนอ ผลงานการด�ำเนินงานครอบครัวพอเพียงของแต่ละโรงเรียนจาก หลายจังหวัดที่เข้าร่วมในกิจกรรม เพื่อน�ำมาพัฒนาและปรับ ใช้กับการด�ำเนินงานครอบครัวพอเพียงของโรงเรียนของผมได้

เป็นอย่างดี และกิจกรรมค่ายผู้น�ำกับครอบครัวพอเพียง รุ่นที่ 1 ประจ�ำปี 2559 นี้ ท�ำให้ผมรู้ว่า “คุณค่าของคนเรา จะเกิด ขึ้นเป็นรูปธรรม จะต้องเริ่มต้นจากการกล้าที่จะคิดและการ ลงมือปฏิบัติ” มี เ ทคนิ ค อย่ า งไรในการเรี ย นให้ ไ ด้ เ กรดเฉลี่ ย ที่ ดี ใ น แบบของตน “ทุกอย่างต้องท�ำ 3 ครั้ง” วิธีนี้ คือ วิธีที่ผมได้มาจากการสังเกตการสวดมนต์ทาง ศาสนาพุทธ ซึ่งสังเกตการสวดนะโมฯ นั้น ต้องพูดถึง 3 ครั้ง โดย การปฏิบัติสิ่งใด หากปฏิบัติซ�้ำถึง 3 ครั้ง จะท�ำให้สมองเกิดการ จดจ�ำได้ดีและเป็นการทบทวนความถูกต้องต่อการกระท�ำของ เรา ดังนั้น เมื่อผมท�ำการบ้าน ผมจะทบทวนและตรวจสอบ ถึง 3 ครั้ง ตัวอย่าง อาทิ การอ่านหนังสือ จ�ำบทพูด บทละครหรือ บทนิทานที่จะแสดงหรือบทพิธีกร ผมจะท�ำถึง 3 ครั้งเสมอ เพื่อ สร้างความมั่นใจว่าสิ่งที่ผมท�ำนั้นถูกต้องและผมสามารถจดจ�ำได้ หลัก “PDCA” Planning การวางแผน ในการเรียนระดับมัธยมศึกษา ตอนปลาย การวางแผน แนวทาง การจัดระบบงาน ถือเป็น หลักส�ำคัญที่ท�ำให้ผมสามารถท�ำกิจกรรมควบคู่การศึกษาวิชา พื้นฐานและเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เพิ่มเติมได้ในการด�ำเนินชีวิตทุก 13

issue 105 october 2016


วั น นี้ รวมถึ ง การท� ำ กิ จ กรรมเพื่ อ สร้ า ง ประโยชน์ ต ่ อ สั ง คม ซึ่ ง ต้ อ งแบ่ ง เวลา ส�ำหรับการเรียน การทบทวนความรู้ และ การเข้าสังคมเพื่อพบปะกับเพื่อนหรือรุ่น พี่และรุ่นน้อง เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดี และประสบการณ์จากการท�ำงาน โดยผมมี ก ารวางแผน อยู ่ 3 เรื่ อ ง ดั ง นี้ 1.เรื่ อ งการเรี ย น ผมจะเตื อ น สติตัวเองว่าต้องตรงต่อเวลาเสมอ และ ต้องรอบคอบ ไม่ประมาทต่อการเรียน โดยเริ่ ม จากการก� ำ หนดเวลาเรี ย นให้ เหมาะสม การทบทวนความรู้ เวลาที่ต้อง ท�ำกิจกรรม หรือเวลาในการด�ำเนินชีวิต ตามความเหมาะสมและเหตุผลว่าเราต้อง ทุ่มเทเวลาให้กับสิ่งที่เราท�ำมากน้อยเพียง ใด โดยต้องประมาณเวลาและก�ำลังให้ถูก ต้องเหมาะสมตามสถานการณ์ 2.เรื่ อ งกิ จ กรรมและการด� ำ เนิ น ชีวิต ในการท�ำกิจกรรมหรือการด�ำเนิน ชีวิต ผมพยายามที่จะไม่ให้เวลาการท�ำ กิจกรรมนั้นมารบกวนเวลาเรียน แต่ใน กรณีที่กิจกรรมนั้นมีความจ�ำเป็นและมี ความส�ำคัญต่อตัวเราและเป็นกิจกรรม ที่ ส ร้ า งประโยชน์ ต ่ อ ตนเอง ครอบครั ว โรงเรียน ชุมชนและสังคมโดยรวม การ

ใช้เวลาเรียนส่วนหนึ่งมาปฏิบัติกิจกรรม ซึ่ ง ถื อ เป็ น เรื่ อ งดี และห้ า มลื ม ทบทวน บทเรียน ความรู้และสอบถามการบ้าน หรือให้เพื่อนจดบันทึกแทนว่าคาบเรียน ที่เราเสียไปกับการปฏิบัติกิจกรรมนั้นมี การบ้านหรือภาระงานหน้าที่ 3.เรื่ อ งการดู แ ลสุ ข ภาพของตน การเรียน การท�ำกิจกรรม สิ่งเหล่านี้ล้วน ขึ้นกับตัวเราเป็นผู้ปฏิบัติ แต่หากร่างกาย สุขภาพและก�ำลังของเราไม่พร้อมที่จะท�ำ

ก็ไร้ประโยชน์และสร้างผลเสียต่อความรู้ ประสบการณ์ของเรา อย่างไรก็ตามหาก ตั ว เรามี ก ารดู แ ลสุ ข ภาพ รั บ ประทาน อาหารที่มีประโยชน์ สะอาด ถูกหลักสุข อนามัย มีสารอาหารครบ 5 หมู่ และออก ก�ำลังกายอย่างสม�่ำเสมอ ควบคู่การท�ำ จิตใจให้สงบ ไม่วู่วาม มีสติ มีจิตที่สงบ สิ่ง ที่ผมกล่าวมาข้างต้นล้วนแล้วเป็นปัจจัย ส�ำคัญต่อการพัฒนาการเรียนรู้ของผมให้ มีผลการเรียนที่ดี และมีความสุข Doing การปฏิบัติ ผมยึดถือความเชื่อว่าการปฏิบัติ งานหรือสิ่งที่เราท�ำและเป็นหน้าที่ท่ีผม ท�ำด้วยความพอใจ ในฐานะเป็นสิ่งที่ตัว เราถื อ ว่ า ดี ที่ สุ ด และเป็ น ประโยชน์ ต ่ อ ส่วนรวมปฏิบัติด้วยความพากเพียร วิริยะ อุสาหะ อดทนและส�ำนึกอยู่เสมอว่า สิ่งที่ เราท�ำไปต้องมีประโยชน์ เกิดเป็นความ สุขต่อตนเอง ครอบครัว โรงเรียน ชุมชน และสังคมโดยต้องปฏิบัติให้สม�่ำเสมอ ไม่ ขาดตอน เป็นระยะยาว จนประสบความ ส� ำ เร็ จ ด้ ว ยความกล้ า และอดทนเป็ น ปัจจัยส�ำคัญสู่ความส�ำเร็จ พร้อมสร้าง

ความรู ้ สึ ก ที่ ผ มได้ รั บ เลื อ กเป็ น นั ก เรี ย นรางวั ล พระราชทานคื อ รางวั ล นี้ ถื อ เป็ น เกี ย รติ สู ง สุ ด ในชี วิ ต การเป็ น นั ก เรี ย น เป็ น ความภาคภู มิ ใ จของ คนในครอบครั ว คุ ณ ครู และเพื่ อ นฝู ง คนใกล้ ชิ ด และเป็ น สิ่ ง ยึ ด มั่ น จิ ต ใจให้ ก ระท� ำ แต่ ค วามดี ประพฤติ ป ฏิ บั ติ ต นในความสุ จ ริ ต

14 IS AM ARE www.fosef.org


ศักยภาพความสามารถ ความอดทน ความกล้าที่ได้รับจากการ ที่เราปฏิบัติตามสิ่งที่เราพอใจ ปฏิบัติด้วยจิตที่สงบมีสมาธิในการ ท�ำงานเสมอ ไม่ทอดทิ้งภาระงานที่ตนเองรับผิดชอบนั้นในขณะ ที่งานยังไม่เสร็จ เพื่อไม่ให้ตกเป็นภาระงานของผู้อื่น โดยสมาธิและสติที่มั่นคงอันเกิดจากความรู้สึกของตัว เอง ท�ำสิ่งซึ่งเป็นวัตถุประสงค์ที่ตัวเราและผู้ที่ท�ำงานร่วมกับ เราได้ตั้งความหวังที่จะท�ำงานนั้นให้เกิดความส�ำเร็จ เป็นสิ่งที่ เด่นชัดอยู่ในใจของผมเสมอ และปฏิบัติงานด้วยเหตุผล เมื่อ การท�ำงานหรือการเรียนรู้ สิ่งที่จะท�ำให้การเรียนนั้นเกิดผลดี ต่อตนเอง ผมจะใช้เหตุและผลมาประกอบการกระท�ำให้เกิด ความสอดคล้องกับความเป็นจริงที่น�ำไปสู่ความส�ำเร็จ ใช้ความ น่าเชื่อถือ ความไว้ใจเกี่ยวกับเรื่องที่ผมศึกษาให้ลึกซึ้งยิ่งๆ ขึ้น ไปตลอดเวลา ส่งผลท�ำให้เกิดปัญญา ท�ำให้ผลการเรียนดี มี คุณธรรม จริยธรรมที่ดี มีพฤติกรรมที่เหมาะสม และเป็นรากฐาน ของชีวิตที่ดี Check ตรวจสอบ การท�ำสิ่งใดผมจะใช้ความจ�ำและสติในการตรวจสอบ ว่าเมื่อเหตุหรือปัญหาเป็นเช่นนี้ ผลหรือค�ำตอบการแก้ไขจะต้อง เป็นอย่างไร โดยต้องยึดความรู้ หลักสูตร ประสบการณ์จากผู้รู้ หรือบุคคลที่เราสามารถปรึกษาและไว้ใจได้ ดังนั้นการตรวจสอบ นี้ ถือเป็นสิ่งที่ส�ำคัญที่สุดในการท�ำงาน เพื่อป้องกันและลดความ ผิดพลาดจากการท�ำงานให้เกิดเป็นผลดีต่อเราให้มากที่สุด ซึ่งมี ปัจจัยที่ส�ำคัญ คือ สมาธิ และ ปัญญา Action การน�ำเสนอ การน�ำเสนอในความคิดของผมในที่นี้หมายถึงหลายสิ่ง เช่น ผลคะแนนการสอบ การบ้าน การน�ำเสนองาน ผลจาก การปฏิบัติหน้าที่ และผลงานจากการแข่งขันหรือร่วมกิจกรรม เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วเป็นสิ่งที่ผ่านกระบวนการวางแผน คิด ปฏิบัติ และตรวจสอบ แต่การน�ำเสนอของผมมีปัจจัยควบคู่ คือ มีความรู้ที่ถูกต้อง มีความรอบคอบ และมีความระมัดระวัง ไม่ประมาท เพื่อท�ำให้การน�ำเสนอของเรานั้นมีเหตุผลที่ถูกต้อง น่าเชื่อถือ และสร้างความรู้และประโยชน์ต่อผู้อื่นได้

สิ่ ง ที่ เ ราท� ำ ไปต้ อ งมี ป ระโยชน์ เกิ ด เป็ น ความสุ ข ต่ อ ตนเอง ครอบครั ว โรงเรี ย น ชุ ม ชน และสั ง คมโดย ต้ อ งปฏิ บั ติ ใ ห้ ส ม�่ ำ เสมอ ไม่ ข าดตอน เป็ น ระยะยาว จนประสบความส� ำ เร็ จ 5.ห้ามประพฤติตนให้เป็นภาระผู้อื่น คุณแม่เน้นย�้ำสั่งสอนเสมอ 1.ขยัน 2.อดทน 3.มองโลกในแง่ดี คิดบวก 4.รู้ว่าสิ่งใดส�ำคัญ สิ่งไหนไม่ส�ำคัญ 5.รู้จักการพึ่งพาตัวเอง คิ ด อย่ า งไรเกี่ ย วกั บ จิ ต อาสา ผมคิ ด ว่ า จิ ต อาสา คื อ การกระท� ำ ที่ ส ามารถสร้ า ง ประโยชน์ทั้งที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาและแก้ไขปัญหาที่ เกิดขึ้นในสังคม กระท�ำไปโดยไม่หวังผลตอบแทน ไม่หวังสร้าง ภาพสร้างผลงาน แต่กระท�ำไปเพื่อต้องการให้สิ่งที่เป็นปัญหา หรือเป็นจุดด้อยของสังคมได้รับการฟื้นฟูหรือเยียวยาให้ดีขึ้น ด้วยก�ำลังของตัวเราอันเกิดจากจิตใจที่ต้องการให้ผู้ที่ได้รับผล จากการกระท�ำของเรานั้น มีความสุข

สิ่ ง ที่ คุ ณ พ่ อ คุ ณ แม่ เ น้ น ย�้ ำ สั่ ง สอนเสมอคื อ อะไร คุณพ่อเน้นย�้ำสั่งสอนเสมอ 1.รักครอบครัวและญาติพี่น้อง 2.รักษาเกียรติ ศักดิ์ศรีของตนเอง อย่าดูถูกเกียรติของ ตนเอง 3.ให้ความเคารพเกียรติและศักดิ์ศรีของผู้อื่นเสมอ 4.ประหยัดอดออม 15

issue 105 october 2016


มองการศึกษาของเด็กเล็ก

จากมุ มของวรรณกรรมเรื่อง“หลายชี วิต” ย้อนไปเป็นเวลากว่า 60 ปี ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมชได้ประพันธ์เรื่องสั้นหลายเรื่องลงพิมพ์ในนิตยสารชื่อดังในสมัยนั้น เมื่อ น�ำมารวมกันพิมพ์เป็นเล่ม หนังสือได้รับชื่อว่า “หลายชีวิต” ชื่อนี้สะท้อนเรื่องราวของบุคคลจากหลากหลายภูมิหลังซึ่งนั่งมาใน เรือยนต์ล�ำเดียวกัน เมื่อเรือนั้นล่มลงท่ามกลางพายุใหญ่ในคืนวันหนึ่ง ผู้โดยสารจึงเสียชีวิตพร้อมกัน การเสียชีวิตพร้อมกันนั้นสร้าง ปริศนาหลายอย่างรวมทั้งเกี่ยวกับกรรมที่พวกเขาท�ำแต่ปางหลัง ในค�ำน�ำของการรวมเล่มและจัดพิมพ์โดยส�ำนักพิมพ์ดอกหญ้า 2000 ผู้ประพันธ์ได้เล่าที่มาของการเขียนเรื่องสั้นเหล่านั้นและบอกว่าเรื่องที่ท่านพอใจมากที่สุดได้แก่ “เจ้าลอย” ฉะนั้น ในการ รวมเล่ม “เจ้าลอย” จึงเป็นเรื่องแรกของ “หลายชีวิต” 16 IS AM ARE www.fosef.org


ตั ว ไกล..หั ว ใจอยู ่ ใ กล้ เจ้าลอยจะถือก�ำเนิดในสภาวะอย่างไรไม่เป็นที่ประจักษ์ นอกจากเมื่อครั้งที่มัน (ใช้ค�ำว่า “มัน” ตามผู้ประพันธ์เรื่อง) ยังเป็นทารก มันถูกจับใส่ในหม้อทะนนและปล่อยให้ลอยมา ติดท่าน�้ำของยายพริ้มซึ่งเป็นแม่ค้าพายเรือขายของตามแม่น�้ำ ล�ำคลองต่าง ๆ ยายพริ้มเลี้ยงดูเจ้าลอยเหมือนลูกจนเติบใหญ่ โดยมิได้ปิดบังเบื้องหลังจากเจ้าลอยแต่อย่างใด เจ้าลอยโต เป็นหนุ่มใหญ่หน้าตาดีและมีความปราดเปรื่อง แต่มันมิได้ใช้ คุณสมบัติเหล่านั้นไปในทางสร้างสรรค์ ตรงข้าม มันใช้ไปใน ทางก่ออาชญากรรมจ�ำพวกกระท�ำช�ำเราและปล้นฆ่า แม้แต่ ย้ายพริ้มก็ถูกมันปล้นและฆ่าอย่างเลือดเย็น คืนที่เจ้าลอยตาย ในเหตุการณ์เรือล่มนั้น มันก�ำลังโดยสารเรือจากบ้านแพนมุ่ง หน้าสู่กรุงเทพฯเพื่อซื้ออาวุธร้ายมาใช้ในการปล้น เหตุที่เจ้าลอย ก่ออาชญากรรมโหดร้ายได้อย่างเลือดเย็นอาจมองได้ว่าเป็นผล จากการถูกลอยแพมาตั้งแต่ครั้งยังเป็นทารก

ลองพิจารณาคร่าว ๆ ดูว่าเด็กเล็กจากแรกเกิดไปจนถึงเรียน จบชั้นประถมศึกษาถูกปล่อยให้ลอยไปตามยถากรรมอย่างไร โดยเริ่มมองไปที่ “บวร” ซึ่งมักถูกอ้างถึงกันบ่อยเมื่อพูดเกี่ยว กับการให้การศึกษา “บ” ได้แก่บ้านซึ่งประกอบด้วยที่อยู่อาศัยพร้อมกับ พ่อแม่และคนรอบข้างที่มีบทบาทใกล้ชิดการเติบโตของเด็ก อาจมองได้ว่าเด็กจ�ำนวนมากถูกลอยแพมาตั้งแต่เกิดเพราะพ่อ แม่ไม่อยู่ในสภาวะที่จะเลี้ยงดูลูกได้อย่างดีเนื่องจากไม่มีความ รู้ความเข้าใจในการเลี้ยงทารกอย่างแท้จริง นอกจากนั้น พวก เขายังขาดฐานทางด้านเศรษฐกิจอันแข็งแกร่งอีกด้วย ความไม่ แข็งแกร่งนั้นน�ำไปสู่การออกไปท�ำมาหากินในถิ่นห่างไกลโดย ทิ้งลูกไว้ให้อยู่ในการดูแลของปู่ย่าตายาย หรือไม่ก็อาจอยู่แต่ ล�ำพังหลังโรงเรียนเลิก ปู่ย่าตายายมักไม่พร้อมที่จะดูแลเด็ก อย่างดีเนื่องจากไม่มีปัจจัยเพียงพอ ซ�้ำร้าย จ�ำนวนมากยังใช้ เวลาหมดไปกับความบันเทิงจ�ำพวกละครน�้ำเน่าอีกด้วย ยิ่งกว่า นั้น ยังมีบางส่วนที่เล่นการพนันและใช้เวลาหมดไปกับอบายมุข ต่าง ๆ ส่งผลให้ครอบครัวตกอยู่ในภาวะขัดแย้ง หรือถึงกับบ้าน แตกสาแหรกขาดซึ่งล้วนส่งผลให้เด็กถูกปล่อยให้ลอยไปตาม ยถากรรมทั้งสิ้น “ว” ได้ แก่ วัด ซึ่ ง ครั้ ง หนึ่ ง มี บทบาทสู ง ในการให้การ ศึกษาไม่ว่าจะเป็นตอนก่อนมีพระราชบัญญัติการประถมศึกษา หรือหลังจากนั้น โรงเรียนชั้นประถมศึกษาจ�ำนวนมากเริ่มจาก ในวัดเพราะมีศาลาวัดเป็นอาคารเรียนรวมทั้งเมื่อครั้งผมเรียน ชั้นประถมซึ่งอยู่ในช่วงที่ผู้ประพันธ์เขียนเรื่องต่าง ๆ ใน “หลาย ชีวิต” พระมีบทบาทในการช่วยสอนและอบรมด้านพฤติกรรม ในยุคนี้ พระและวัดไม่มีบทบาทในด้านการศึกษาของเด็กชั้น ประถมอีกต่อไปซึ่งเท่ากับวัดปล่อยให้เด็กลอยไปไม่ต่างกับ “เจ้าลอย” โดยสมบูรณ์ เท่านั้นยังไม่พอ พระและวัดจ�ำนวน

การอ่านเรื่อง “เจ้าลอย” ในช่วงนี้อีกครั้งท�ำให้ผมนึกถึง เด็กไทยเนื่องจากมีเรื่องใหญ่ ๆ จ�ำนวนมากในภาคการศึกษาใน ปัจจุบัน เรื่องเหล่านั้นมักน�ำไปสู่การโต้เถียงและโยนกลองกัน ว่าใครและอะไรท�ำให้การศึกษาไทยตกต�่ำ ในกระบวนการนี้มี วาทกรรมจ�ำพวกสร้างภาพอย่างแพร่หลาย แต่ไม่มีใครมองว่า เด็กจ�ำนวนมากถูกทอดทิ้ง หรือลอยแพไม่ต่างกับ “เจ้าลอย” 17 issue 105 october 2016


ในการโต้เถียงและโยนกลองกันเรื่องการศึกษาของเด็ก สิ่งที่หายไปได้แก่บทบาทของชุมชน จริงอยู่ตามทฤษฎีโรงเรียน มักมีกรรมการโรงเรียนและสมาคมครูผู้ปกครอง แต่นั่นเป็น เพียงการแสดงให้เห็นปัญหามาตั้งแต่เริ่มต้น ในเบื้องแรก การ แต่งตั้งกรรมการโรงเรียนและสมาคมครูผู้ปกครองส่วนใหญ่ท�ำ กันขึ้นมาเสมือนวางตุ๊กตาไว้ในตู้ ครูและผู้บริหารโรงเรียนจะว่า อย่างไรก็ว่าไปตามกัน ประเด็นส�ำคัญยิ่งกว่านั้นได้แก่การมอง ตัว “ชุมชน” และบทบาทของชุมชนแคบเกินไปโดยมิได้มองว่า เด็กใช้เวลาอยู่นอกโรงเรียนมากกว่าในโรงเรียนและการเรียนรู้ที่ ส�ำคัญที่สุดได้แก่การลอกเลียนแบบ

ไม่น้อยยังมีพฤติกรรมและตีความหมายค�ำสอนไปในทางชั่วร้าย หรือใช้หลอกลวงผู้ศรัทธาในศาสนาอีกด้วย “ร” ได้แก่โรงเรียนซึ่งหมายถึงระบบการให้การศึกษา ในกรอบสถาบั น เมื่ อ พู ด ถึ ง การศึ ก ษา สายตามั ก เพ่ ง ไปยั ง โรงเรียนซึ่งผิดถนัดเนื่องจากการศึกษาเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และในทุกสถานที่ การมองผิดเช่นนั้นตามด้วยการด�ำเนินงาน ในกรอบสถาบันที่มีปัญหาสารพัด เช่น ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมักท่อง จนคล่องปากว่าการจัดการศึกษาต้องให้ “เด็กเป็นศูนย์กลาง” แต่เด็กมักเป็นศูนย์กลางในแนวของลูกตะกร้อที่ผู้ใหญ่ล้อมวง กั น เตะโด่ ง ไปโด่ ง มาเพื่ อ แสวงหาประโยชน์ ข องตนเท่ า นั้ น กระทรวงศึกษาธิการจึงเป็นองค์กรที่อุ้ยอ้ายเพราะผู้ใหญ่ใช้ เป็นแหล่งท�ำมาหากิน การ “ปฏิรูป” แต่ละครั้งเป็นการเพิ่ม และยกต�ำแหน่งเพื่อผู้ใหญ่จะได้ประโยชน์มากขึ้นจากหัวโขน และจากงบประมาณที่ตนแทะเล็มได้ งบประมาณจ�ำนวนมาก หมดไปกับการจัดพิธีกรรมที่ไม่มีประโยชน์คุ้มค่าไม่ว่าจะเป็น ป้ายชื่อโรงเรียนขนาดยักษ์ หรือการจัดพิธีมอบประกาศนียบัตร อันเอิกเกริก การใช้งบประมาณเพื่องานจ�ำพวกผักชีโรยหน้า มิใช่เป็นการให้การศึกษา หากเป็นการสอนให้เด็กรู้ว่าจะโกง อย่างไรตั้งแต่วัยยังเยาว์ อนึ่ง ในช่วงนี้มีการพูดถึงการปิดโรงเรียนขนาดเล็กกัน อย่างกว้างขวางอีกครั้ง ข้อมูลบ่งว่าการปิดโรงเรียนจ�ำนวน มากส่งผลให้เด็กต้องนั่งรถไปเรียนไกล ๆ ในขณะที่ผู้ใหญ่ได้ เงินค่ารถ ส่วนเด็กจะเป็นอย่างไรผู้ใหญ่ดูจะไม่กังวลเท่าที่ควร เด็กจ�ำนวนมากต้องเสี่ยงตายโหนรถกระบะที่ดัดแปลงเป็นรถ โรงเรียนไปเรียนยังโรงเรียนในถิ่นห่างไกล ภาพจ�ำพวกที่แนบ มานี้ซึ่งถ่ายที่จังหวัดสระแก้วจึงมีให้ดูอยู่ทั่วประเทศ

ผู ้ มี ส ่ ว นเกี่ ย วข้ อ งมั ก ท่ อ งจนคล่ อ งปากว่ า การ จั ด การศึ ก ษาต้ อ งให้ “เด็ ก เป็ น ศู น ย์ ก ลาง” แต่ เ ด็ ก มั ก เป็ น ศู น ย์ ก ลางในแนวของลู ก ตะกร้ อ ที่ ผู ้ ใ หญ่ ล้ อ มวงกั น เตะโด่ ง ไปโด่ ง มาเพื่ อ แสวงหาประโยชน์ ของตนเท่ า นั้ น กระทรวงศึ ก ษาธิ ก ารจึ ง เป็ น องค์ ก ร ที่ อุ ้ ย อ้ า ยเพราะผู ้ ใ หญ่ ใ ช้ เ ป็ น แหล่ ง ท� ำ มาหากิ น เด็กมักเลียนแบบพฤติกรรมของผู้ใหญ่ ในสมัยที่การ สื่อสารและการคมนาคมยังไม่สะดวก เด็กมีโอกาสสัมผัสเพียง สิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัวเขาเท่านั้น “ชุมชน” จึงมีขนาดเล็กท�ำให้เด็ก ได้เห็นพฤติกรรมของผู้ใหญ่ไม่หลากหลายนัก ในสมัยปัจจุบัน เด็กสามารถรับข่าวสารข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างแทบไม่จ�ำกัดรวม ทั้งพฤติกรรมจ�ำพวกขัดศีลธรรมจรรยาและขนบประเพณีที่เป็น หลักยึดของสังคม นอกจากจะต้องไม่ท�ำพฤติกรรมจ�ำพวกมัก ง่าย หรือเลวทรามให้เด็กเลียนแบบแล้ว ผู้ใหญ่รอบตัวเด็กยังจะ ต้องกรองสิ่งที่มาจากท้องถิ่นห่างไกลเพื่อมิให้เด็กเลียนแบบสิ่ง ที่ขัดกับแนวปฏิบัติอันเป็นรากเหง้าของสังคมอีกด้วย แต่ผู้ใหญ่ โดยทั่วไปแทบไม่ท�ำ เมื่อบ้าน วัด โรงเรียนและชุมชนซึ่งบริหารจัดการโดย ผู ้ ใ หญ่ ต ่ า งมี พ ฤติ ก รรมจ� ำ พวกมั ก ง่ า ยเสมื อ นจั บ เด็ ก ใส่ ห ม้ อ ทะนนแล้วปล่อยให้ลอยไปตามน�้ำโดยคิดว่าผู้อื่นจะน�ำไปเลี้ยง แบบ “เจ้าลอย” การหวังว่าหลังจากพวกเขาเติบใหญ่แล้วจะให้ พวกเขามีพฤติกรรมจ�ำพวกสร้างสรรค์ย่อมเป็นความฝันลม ๆ แล้ง ๆ หากเด็กบางคนมีพฤติกรรมจ�ำพวกปล้นสะดมสังคม ของตน หรือฆ่าคนเมื่อเป็นผู้ใหญ่จะโทษพวกเขาไม่ได้ ต้องโทษ ผู้ใหญ่ในวันนี้ในฐานะที่สร้าง “เจ้าลอย” ขึ้นมา

18 IS AM ARE www.fosef.org


“๓๐ กันยา มาถึง”

นิยามค�ำว่า ‘เกษียณ’ ในความหมายสมัยใหม่ หาใช่แปล ว่า ‘จบลง สิ้นสุดลง หมดภาระหน้าที่ลง’ เหมือนกับในอดีตแต่ เพียงเท่านั้น แต่มีความหมายประการส�ำคัญว่า ได้ปฏิบัติงาน ในหน้าที่รับผิดชอบมาด้วยความวิริยะอุตสาหะ สนองพระเดช พระคุณประเทศชาติด้วยความบริสุทธิ์ใจ มีความตั้งใจจริง มี ความส�ำเร็จในการท�ำงาน แต่ภาระหน้าที่รับผิดชอบของท่านหา ใช่จบลงตรงนี้หรือเพียงเท่านี้ แต่ทุกท่านต้องมีหน้าที่เป็นครูคอย สอนแนะคนรุน่ ต่อๆ ไป ให้ปฏิบตั ดิ ปี ฏิบตั ชิ อบ มีความเทีย่ งธรรม สุจริตธรรม ให้เกิดความส�ำเร็จเฉกเช่นท่าน ในขณะเดียวกันที่ทุก ท่านจะต้องหันมาดูแลสุขภาพอนามัยของตนให้แข็งแรงเพื่อดูแล ครอบครัวที่เป็นหัวใจของชีวิตเรา และได้ท�ำหน้าที่ดุจเป็นครู เป็นที่ปรึกษาของหน่วยงานที่ท่านมีความรักและผูกพัน แต่ละ องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนสมควรจัดตั้ง ‘คลังสมอง’ ให้กับ หน่วย โดยเชิญทุกท่านที่เคยปฏิบัติงานในสังกัดเข้าเป็นสมาชิก กิตติมศักดิ์ และจัดการประชุมเพื่อพบปะหารือ สร้างความรู้รัก สามัคคีตามพระราชปณิธานของในหลวง ความรักสมัครสมาน ความภาคภูมิใจระหว่างอดีต-ปัจจุบัน-อนาคต และแลกเปลี่ยน ข้อมูลข่าวสาร สาระความรู้ และประสบการณ์ หลายท่านเคย

มองจากข้างใน แต่จากนี้ ท่านจะมีโอกาสมองมาจากข้างนอก มากขึ้นกว่าก่อนซึ่งกว้างใหญ่กว่า ที่ถือเป็นสิ่งที่คนข้างในอาจ มีประสบการณ์น้อยมากหรือไม่มีหรือท�ำไม่ได้ ท่านต้องไม่รู้สึก เปล่าเปลี่ยว เพราะท่านมีทั้งครอบครัวอันเป็นที่รักยิ่ง เพื่อนพ้อง และน้องๆ ที่หน่วยงานที่พร้อมจะรับใช้ดูแลท่านผ่านโครงการ คลั ง สมองและไม่ มีวั น ลื มท่ า น ต�ำ แหน่ ง หน้า ที่ เป็นเรื่องที่ถูก สมมุติขึ้นเพื่อความรับผิดชอบในหน้าที่หนึ่งๆ ณ กาลเวลาหนึ่งๆ ไม่ใช่เรื่องยั่งยืนเหมือนกับคุณงามความดี แต่บัดนี้ หน้าที่ของ ท่านกว้างใหญ่ยิ่งกว่า นั่นคือ ‘ประเทศไทยใต้ร่มพระบารมีที่ เราทุกคนรักและหวงแหนยิ่งชีวิต’ ขอให้ท่านผู้เกษียณอายุ ราชการในวันนี้ ได้โปรดมีสุขภาพที่แข็งแรง มีความสุขสดชื่น อายุยืนยาว เป็นหลักชัยให้กับครอบครัวและประเทศชาติบ้าน เมืองสืบไป ปนัดดา หอสมุดสมเด็จฯ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ กรุงเทพฯ ๓๐ ก.ย. ๕๙

19 issue 105 october 2016


ครูแนะแนวท�ำทุกอย่าง ยกเว้นแนะแนว!

“อาจารย์ ค ะหนู ข อปรึ ก ษาหน่ อ ย คื อ หนู มี ค วามรู ้ สึ ก ว่ า ตั ว เองเป็ น คนที่ ม องโลกในแง่ ร ้ า ยตลอดมา คื อ ไม่ ไว้ ใ จใคร เวลาคุ ย กั บ ใครก็ มั ก คอยจั บ ผิ ด คนอื่ น ตลอดเวลา และก็ ไ ม่ ค ่ อ ยเปิ ด เผยตนเองให้ ใ ครรู ้ จั ก จน บางครั้ ง รู ้ สึ ก ตั ว เองไม่ มี เ พื่ อ นสนิ ท เลย จึ ง ท� ำ ให้ รู ้ สึ ก เหงา พยายามไว้ ใ จใครแต่ ก็ ติ ด อยู ่ ที่ ค วามคิ ด เดิ ม ๆ แม้ แ ต่ ค นที่ ม าจี บ ก็ คิ ด ระแวงว่ า เขาจะมาหวั ง อะไรในตั ว เราหรื อ เปล่ า ก็ เ ลยไม่ มี แ ฟนจนมาถึ ง ทุ ก วั น นี้ ไม่ มี ความสุ ข เลยค่ ะ รู ้ สึ ก ว่ า ตั ว เองขวางโลกยั ง ไงก็ ไ ม่ รู ้ 20 IS AM ARE www.fosef.org


กระจกส่ อ งใจ แต่ถึงแม้โรงเรียนจะไม่มีครูแนะแนว ไม่ได้หมายความว่า เด็กไม่มีปัญหา นักเรียนส่วนใหญ่ก็จะมีปัญหาเรื่องอารมณ์ เรื่อง การคบหาเพศตรงข้ามหรือหลายคนก็มีแฟนตั้งแต่ยังเรียนมัธยม ต้น หลายคนลาออกไปแต่งงาน ไม่ได้เรียนต่อ เนื่องจากโรงเรียน ของเราเป็นหนึ่งในโรงเรียนสตรีมีชื่อ นักเรียนหญิงทุกชั้นเรียนอยู่ ในการควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิดของครูอาจารย์ นักเรียนหญิงไม่ ค่อยรู้จักพูดจากับผู้ชายหรือนักเรียนชาย นักเรียนจะได้พบปะ เพศตรงข้ามเฉพาะเทศกาลพิเศษเช่น ช่วงการแข่งกีฬา การจัด งานวิทยาศาสตร์ หรือช่วงเวลาแข่งขันการโต้วาที แต่งกาพย์ กลอน วันปิยมหาราช ฯลฯ ซึ่งจะเป็นโอกาสที่นักเรียนวัยรุ่น จะได้มีโอกาสสบตา พูดคุย และสื่อสารผ่านการประชันกันด้วย วาทศิลป์ เราจึงอยู่ในโลกของจินตนาการเป็นส่วนใหญ่ ที่จะ รู้จักพูดคุยกันจริง ๆ ก็ต้องรอเรียนให้จบมัธยมปลายแล้วเข้า มหาวิทยาลัยได้จึงจะเจอกัน นั่นหมายความว่า โรงเรียนสตรี ล้วน หรือชายล้วนส่วนใหญ่ ก็มุ่งเน้นให้นักเรียนเรียนเก่ง หากน�ำ คะแนนการสอบปลายปีมาเรียงกันทั่วประเทศแล้วอยู่ในจ�ำนวน รายชื่อ 50 คน ของทั้งหมด ก็จะได้รับการยกย่องว่าน�ำชื่อเสียง มาสู่โรงเรียนนั้น ๆ ยิ่งมีนักเรียนสอบเข้ามหาวิทยาลัยปิดได้มาก ยิ่งเป็นหน้าเป็นตาของครูอาจารย์ในโรงเรียนนั้น ๆ เพราะฉะนั้น ครูอาจารย์ทุกโรงเรียนส่วนใหญ่สมัยนั้นจึงดูเหมือนจะมุ่งสนใจ และให้ความส�ำคัญกับนักเรียนเรียนเก่ง เพื่อชื่อเสียงและหน้าตา ของโรงเรียนเป็นส�ำคัญ

ก็มีเรื่องฝังใจที่คิดอยู่ตลอดเวลา คือเมื่อก่อนนี้เป็นคน เรียนดี ก็เป็นคนที่ไม่เคยท�ำอะไรผิด ถือว่าเป็นเด็กดี ให้ความ เคารพครูอาจารย์ทุกคน พอจบมัธยมหกที่โรงเรียน จะมีการ พิจารณาทุน (ทุนนี้เรียนไปแล้ว 1 ปีจึงเรียกกลับมารับ)ซึ่งปกติ คนที่อยู่อันดับต้น ๆ มักจะได้ นอกเสียจากว่าจะมีฐานะร�่ำรวย ซึ่งไม่ใช่หนูแน่นอน แต่ปรากฏว่าหนูไม่ได้ มีอาจารย์ท่านหนึ่ง เสนอชื่ อ หนู อ อกจากการพิ จ ารณาทุ น เป็ น ผู ้ ห ญิ ง และเป็ น อาจารย์แนะแนว อาจเป็นเพราะหนูไม่ยอมเรียนในสิ่งที่อาจารย์ คนนั้นแนะน�ำ และเธอมักจะย�้ำว่าหนูไม่มีทางเรียนในสิ่งที่เลือก นี้ได้ แต่หนูก็สามารถเรียนได้ดี ด้วยความพยายามของหนูเอง แต่ เธอมาท�ำอย่างนี้ ท�ำไมอาจารย์ถึงรังแกนักศึกษาอย่างนี้ ทั้ง ๆ ที่ หนูก็ตั้งใจเรียนแล้ว หมดศรัทธาค่ะ เรื่องนี้มันติดอยู่ในใจมา 4 ปี แล้ว อยากลืมไม่อยากคิด โมโหค่ะ ไม่ชอบการใช้อ�ำนาจแบบนี้ เคยคิดถึงขั้นไม่อยากมีคนแบบนี้ร่วมโลก ไม่ได้คิดฆ่าตัวเอง แต่ จะท�ำคนอื่นแทนอาจารย์ กลัวตัวเอง กลัวนิสัยตัวเองค่ะ นึก ขึ้นมาทีไรก็โมโหทุกที หนูควรเปลี่ยนความคิดตัวเองยังไงดีค่ะ ถึงจะลืม หรือเข้าใจโลกมากขึ้นกว่านี้ - ขอบคุณค่ะ” “สมัยที่ผู้เขียนเรียนหนังสือตั้งแต่ประถม จนจบมัธยม ปลาย ในปีพ.ศ. 2508 นั้นเราไม่เคยรู้จักค�ำว่า “ครูแนะแนว” เพราะครู ป ระจ� ำ ชั้ น จะใกล้ ชิ ด กั บ นั ก เรี ย นมาก หรื อ หากครู สาว ๆ สวย ๆ คนไหนใจดี เด็ก ๆ ก็จะติด มีอะไรก็จะไปพูด คุยปรึกษา ทั้งเรื่องวิชาที่เรียน และปัญหาครอบครัว แต่วิธีให้ ค�ำปรึกษาแนะน�ำนั้นไม่ได้เป็นทางการ ปกติแล้วนักเรียนชอบ พูดคุยปรึกษาเพื่อน ๆ ด้วยกันมากกว่า เพราะปัญหาส่วนใหญ่ ก็มักจะเหมือน ๆ กัน คือพ่อที่บ้านมีเมียน้อย ติดสุรา หรือติด การพนันไม่ส่งเสียดูแลครอบครัวที่บ้าน แม่ท�ำงานหนักต้องคอย ดูแลลูก ๆ ปัญหาเหล่านี้ถือเป็นเรื่องธรรมดา นักเรียนคุยกัน อย่างเปิดเผยและไม่ถือสาจริงจัง พอฟังเพื่อนเสร็จก็ชวนกันไป วิ่งเล่นหรือท�ำกิจกรรมที่เราชอบ สถานภาพของนักเรียนไม่ว่า มาจากครอบครัวมีฐานะหรือยากจน ก็จะดูเหมือน ๆ กันไม่มีข้อ แตกต่างหรือช่องว่างมากนัก วันเสาร์อาทิตย์หากครูว่าง ก็จะนัด ให้ไปเที่ยวบ้านครู จ�ำได้ว่ามีครูสาวคนหนึ่งมาจากครอบครัวคน จีน ที่บ้านท�ำสวนฝรั่งแถวสีลม เด็ก ๆ ชอบไปเที่ยวบ้านครูคนนี้ มาก เพราะครูใจดีและยังโสดท�ำให้มีเวลาให้กับลูกศิษย์ หากใคร เรียนวิชาไหนไม่ทัน ครูอาจารย์ท่านจะนัดนักเรียนไปเรียนพิเศษ เป็นกลุ่มที่บ้านครู การติวหรือเรียนพิเศษนี้เราเรียนฟรี ไม่ว่าจะ ติวก่อนสอบหรือก่อนจะสมัครสอบเข้ามหาวิทยาลัย นักเรียน สมัยก่อนจึงไม่เคยเสียเงินค่าเรียนพิเศษ!

ฝ่ า ยบริ ห ารหรื อ ผู ้ อ� ำ นวยการต้ อ งเห็ น ความส� ำ คั ญ ของครู แ นะแนว และให้ ก ารส่ ง เสริ ม สนั บ สนุ น ให้ ค รู แนะแนวได้ ช ่ ว ยเหลื อ ดู แ ลสุ ข ภาพจิ ต ของเด็ ก ๆ แล้ ว ครู แ นะแนวที่ เ รี ย นจบมาทางด้ า นนี้ ต้ อ งพยายาม ฝึ ก ฝนให้ ต นเองมี ค วามรู ้ มี ทั ก ษะในการให้ ค� ำ ปรึ ก ษาแนะน� ำ กั บ วั ย รุ ่ น หลั ง จากนั้ น หลายปี ที่ ผู ้ เขี ย นไปศึ ก ษาต่ อ ประเทศ สหรัฐอเมริกา และท�ำงานด้านเยาวชนกับองค์กรต่างประเทศ ก็พบว่าสถาบันการศึกษาหรือองค์กรเยาวชนนั้น จะให้ความ ส� ำ คั ญ กั บ ปั ญ หาด้ า นอารมณ์ ข องวั ย รุ ่ น มากกว่ า จะสนใจมุ ่ ง เน้นด้านวิชาการ พร้อมกับประสบการณ์ที่ผ่านมาพบว่า หาก สุขภาพจิตของนักเรียนดี ไม่เครียด ไม่เกลียด ไม่กลัวแล้ว การ ศึกษาหรือวิชาการต่าง ๆ จะเรียนได้ง่ายมากกว่าที่เคยเรียน นั่น คือเหตุผลหนึ่งที่ท�ำให้เกิดความมุ่งมั่นที่จะประคับประคองปรับ 21

issue 105 october 2016


ดีเรียนเก่งหรือเรียนไม่เก่ง และมาจากฐานะทางครอบครัวรวย หรือยากจนล้วนมีปัญหาเหมือน ๆ กัน เรียกว่าปัญหาของวัยรุ่น อันประกอบไปด้วย ปัญหาการเรียน เพื่อน เพื่อนต่างเพศ ความ รัก ครอบครัว ความรุนแรงในครอบครัว โดยเฉพาะปัญหาการ ขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องเพศสัมพันธ์ อันอาจน�ำไปสู่ปัญหา การตั้งครรภ์ระหว่างการเรียน ตลอดจนอาจจะน�ำไปสู่ปัญหา สุขภาพทางกายเช่น ซิฟิลิส กามโรค โรคเอดส์ เป็นต้น ในกระบวนการหรื อ ขั้ น ตอนของโครงการฮอทไลน์ เคลื่อนที่สู่โรงเรียน เริ่มจากติดต่อกับแผนกแนะแนวหรือฝ่าย บริหารโรงเรียนนั้น ๆ ว่าจะยอมให้ทีมงานนักจิตวิทยาฮอทไลน์ เข้าไปจัดบอร์ดให้ความรู้ด้านสุขภาพจิตกับเด็ก ๆ โดยฮอทไลน์ จะใช้เวลา 5 วันในการท�ำงานให้บริการปรึกษาแนะน�ำกับเด็ก ๆ ในห้องเรียนในชั่วโมงแนะแนวของแต่ละวัน โดยเริ่มต้นที่การ แจกแบบฟอร์มตรวจสอบสุขภาพจิตและปัญหาที่เด็กต้องการ ความช่วยเหลือทุกชั้นเรียนที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย หลังจากนั้นดึง แบบฟอร์มที่เราพบว่า มีความเสี่ยงสูงสมควรได้พบนักจิตวิทยา ทันที เพื่อช่วยให้เด็กนักเรียนตระหนักว่า หากนักเรียนเครียด หรือมีปัญหาหาทางออกไม่ได้สามารถโทรศัพท์ไปปรึกษาพี่ ๆ ที่ฮอทไลน์ได้ ส�ำหรับนักเรียนที่มีปัญหาอื่น ๆ เราจะจัดแบ่ง เป็นกลุ่ม เช่น กลุ่มมีปัญหาครอบครัว เพื่อน ความรัก ความ รุนแรงในครอบครัว ตลอดจนปัญหาการถูกลวนลามทางเพศ เป็นต้น เด็ ก ๆ อาจไม่ ต ้ อ งการทางแก้ ไ ข ขอเพี ย งความ เข้ า ใจและให้ ก� ำ ลั ง ใจเท่ า นั้ น เด็ ก ๆที่ มี ป ั ญ หา ครอบครั ว พ่ อ แม่ ไ ม่ ไ ด้ ดู แ ลอบรมสั่ ง สอนหรื อ อาจ ดุ ว ่ า ด่ า ทอจนเด็ ก เบื่ อ นั ก เรี ย นเหล่ า นั้ น จึ ง หั น มา ขอความช่ ว ยเหลื อ ความเข้ า ใจ ก� ำ ลั ง ใจจากครู อาจารย์

เปลี่ยนสภาพจิตใจของวัยรุ่น หรือท�ำอย่างไรให้วัยรุ่นได้เรียนรู้ ที่จะควบคุมอารมณ์ของตนให้ได้ ไม่ตกเป็นเหยื่ออารมณ์โกรธ เกลียดหรืออารมณ์รักอารมณ์ใคร่ อย่างที่เราส่วนใหญ่เคยผ่าน และพบมาแล้ว เมื่ อ มาเริ่ ม ก่ อ ตั้ ง ศู น ย์ ฮ อทไลน์ หรื อ มู ล นิ ธิ ศู น ย์ ฮอทไลน์ บริการให้ค�ำปรึกษาแนะน�ำ หรือ Counseling ตาม หลักวิชาการที่เรียนมา แต่จากประสบการณ์อันยาวนานในการ ท�ำงานให้บริการปรึกษาแนะน�ำ จึงน�ำพื้นฐานและกระบวนการ มาปรับปรุงตกแต่งด้วยภาษาไทยและรักษาวัฒนธรรมประเพณี ให้เป็นไทยไทยให้มากที่สุด และใช้หลักสูตรนี้ในการฝึกอบรมนัก วิชาชีพที่สนใจท�ำงานด้านการให้ค�ำปรึกษาแนะน�ำทางโทรศัพท์ (Telephone Counseling) และ การให้ค�ำปรึกษาแนะน�ำ โดยตรง (Face to face counseling) ในภาษาไทยซึ่งมีความ ละเอียดอ่อนและตอบสนองต่อจริตของคนไทยให้เข้าใจได้เร็ว กว่าจะน�ำหลักสูตรตะวันตกมาใช้ทั้งหมด พร้อมกันก็ได้จัดโครงการฮอทไลน์เคลื่อนที่สู่โรงเรียนทั้ง ในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด ด้วยความเชื่อว่า ไม่ว่าเด็กที่เรียน

การจัดกลุ่มตามหัวข้อมีนักจิตวิทยาหนึ่งหรือสองคนนั่ง ประจ�ำกลุ่มเพื่อด�ำเนินการท�ำ กลุ่มบ�ำบัด เพื่อกระตุ้นให้เกิด การแบ่งปันและนักจิตวิทยาจะเป็นผู้สรุปทางออกให้เด็ก ๆ บ่อย ครั้งน�ำประเด็นที่เด็ก ๆ สนใจเหมือน ๆ กันเช่น ปัญหาความ รักหรือการคบเพื่อนต่างเพศ ก็จะน�ำมาพูดให้นักเรียนได้มีส่วน ร่วมแสดงความคิดเห็นและแบ่งปันประสบการณ์ พร้อมกัน ๆ ในห้องเรียน วิธีนี้ช่วยให้นักเรียนคลายเครียด และรู้สึกว่าหาก พูดคุยกับพ่อแม่ครูอาจารย์ไม่ได้ก็สามารถใช้บริการของศูนย์ ฮอทไลน์ได้ พร้อมกันทีมงานศูนย์ฮอทไลน์ได้พยายามดึงครู แนะแนวในโรงเรียนนั้น ๆ มาศึกษาวิธีการและมีส่วนร่วมในการ 22

IS AM ARE www.fosef.org


ให้บริการด้านสุขภาพจิตกับนักเรียน ไม่ มุ่งเน้นหรือท�ำเพียงแค่แนะแนวทางการ ศึ ก ษาเท่ า นั้ น เอง อยากให้ ค รู แ นะแนว ให้ เวลาในการฟั ง และพู ด คุ ย กั บ เด็ ก ๆ มากกว่านี้ แต่ครูแนะแนวส่วนใหญ่ ส่าย ศีรษะปฏิเสธ โดยบอกว่า ครูแนะแนวไม่มี เวลามาท�ำอย่างนักจิตวิทยาศูนย์ฮอทไลน์ หรอก และบางโรงเรียนชี้ให้ศูนย์ฮอทไลน์ ดูป้ายที่ครูแนะแนวเขียนป้ายติดไว้หน้า ห้องแนะแนว “ครูแนะแนวท�ำทุกอย่าง ยกเว้นแนะแนว” นั่ น คื อ ...ถึ ง วั น เวลาจะผ่ า นมา นานขนาดไหน แต่ทัศนคติของครูใหญ่/ ผู ้ อ� ำ นวยการ หรื อ ฝ่ า ยบริ ห ารก็ ยั ง ไม่ เปลี่ ย นแปลงคื อ พิ จ ารณาว่ า การเรี ย น ให้ ดี ใ ห้ เ ก่ ง เพื่ อ สอบเข้ า มหาวิ ท ยาลั ย ได้ ส�ำคัญกว่าปัญหาอื่น ๆ หรือปัญหา อารมณ์ ข องเด็ ก ๆ เพราะฉะนั้ น ครู แนะแนว จึ ง ถู ก น� ำ มาใช้ ใ นกิ จ กรรมที่

ครู อื่ น ๆ หรื อ ฝ่ า ยบริ ห ารไม่ มี เวลาจะ ท�ำเช่น การออกไปขอทุนการศึกษาให้ เด็ก ๆ ที่ ส ถาบั น ทางการเงิ น ไปเยี่ ย ม บ้านนักเรียนที่ขอทุนว่ายากจนจริงหรือ ไม่ หรือจัดท�ำบอร์ดนิทัศการณ์ จัดงาน รื่ น เริ ง ประจ� ำ ปี เป็ น ต้ น สรุ ป แล้ ว ครู ทุกคนรับรู้ว่านักเรียนมีปัญหาการปรับ ตัวกับเพื่อน ๆ การคบหากับเพื่อนต่าง เพศ แต่ครูแนะแนวไม่มีเวลาที่จะให้ใน การให้บริการปรึกษาแนะน�ำกับนักเรียน หรืออาจจะมองข้ามว่าไม่เป็นไร เดี๋ยว เด็กก็ลืม! การที่ พ ่ อ แม่ ไ ม่ มี เวลาอบรมสั่ ง สอน หรืออยู่กับลูก ๆ ในวันที่เด็กต้องการ ความเข้ า ใจใกล้ ชิ ด ค� ำ อธิ บ ายในราย ละเอียด ดังเช่นทุกวันนี้ที่เราปล่อยลูก ๆ ให้อยู่กับสื่อโทรทัศน์ท�ำให้เด็ก ๆ ลอก เลียนพฤติกรรมดังกล่าวจากสื่อต่าง ๆ ก็ เช่นเดียวกับที่ครูอาจารย์ไม่มีเวลาจะให้

23 issue 105 october 2016

กับนักเรียน วัยรุ่นที่ถูกกระตุ้นด้วยความ เปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมน ส่งผลให้จิตใจ สับสนขัดแย้ง ท้อแท้คับข้องใจ อัดอั้นตัน ใจ ปนด้วยอารมณ์โกรธ โกรธพ่อแม่ โกรธ เพื่อน ๆ โกรธครูอาจารย์ โกรธอะไรบ้าง บางทีก็ไม่รู้ แต่อารมณ์ฮึดฮัดกลัดกลุ้ม ขุ่นมัวมันคุกคามลุกลามเข้าไปในความ คิดจิตใจ จนต้องพยายามหาทางยุติความ ขุ่นมัวนั้นทั้งปวง สภาพปัญหาเด็กแว้น ปัญหาการทุบตีฆ่าฟัน การทะเลาะเบาะ แว้งอย่างรุนแรง เกิดขึ้นก็เพราะนักเรียน วั ย รุ ่ น ต้ อ งการคนเข้ า ใจ ต้ อ งการให้ มี ผู้ใหญ่ฟังเขาบ้าง แต่ไม่มีใครฟัง สุดท้าย เขาก็ต้องการท�ำบางอย่างให้ปรากฏให้ ผู้ใหญ่ได้เห็นถึงความเจ็บปวดและความ ทุกข์ในหัวใจของเขา! แน่นอน......ทุกครั้งทุกที่ ที่ทีมนัก จิตวิทยาเข้าไปในโรงเรียนทุกโรงเรียนที่ ร้องขอให้ศูนย์ฮอทไลน์ไปเยี่ยมและให้


บริการนักเรียน เมื่องานบริการให้ค�ำปรึกษาแนะน�ำยุติลง นัก จิตวิทยาจะท�ำรายงานสรุปกิจกรรมทั้งหมด ระบุปัญหาที่ครู แนะแนวต้องติดตาม และควรจะต้องท�ำต่อ เพื่อสุขภาพจิต ของนักเรียนจะได้รับการบ�ำบัดเยียวยาและพัฒนาต่อไป เนื่อง จากศูนย์ฮอทไลน์เป็นองค์กรเอกชนหรือเอนจีโอ ไม่สามารถจะ เข้าไปช่วยให้บริการนักเรียนในแต่ละโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง ทั่ว ถึงทั้งหมดได้ เราเป็นทีมเฉพาะกิจน�ำบริการมาถึงโรงเรียน เมื่อ ว่างจากงานประจ�ำ ด้วยความหวังว่าเราจะเป็น “น�้ำผึ้งหยด เดียว” ที่จะช่วยให้เด็ก ๆ ได้ลิ้มรสความสดชื่นเป็นครั้งคราว แต่ความหวานทั้งหลาย ครูอาจารย์ในแต่ละโรงเรียนสามารถ ป้อนให้เด็ก ๆ ได้ และช่วยให้เขาได้มีก�ำลังใจ มีพลังใจ ที่จะก้าว เดินและเจริญเติบโตเป็นอนาคตของประเทศชาติต่อไป ที่ส�ำคัญ การจะช่วยให้นักเรียนสามารถเข้าถึงความช่วย เหลือของครูแนะแนวได้ ครูอาจารย์ทุกระดับต้องก�ำจัดปัญหา และอุ ป สรรคที่ ข วางกั้ น ไม่ ใ ห้ นั ก เรี ย นเข้ า ถึ ง ความช่ ว ยเหลื อ ได้ เริ่มจากครูใหญ่หรือผู้อ�ำนวยการ ฝ่ายบริหาร ต้องส่งเสริม สนับสนุนให้ครูแนะแนว ได้ท�ำงานทั้งการแนะแนววิชาอาชีพ และสามารถให้ค�ำปรึกษาแนะน�ำกับนักเรียนด้านอารมณ์ ปัญหา การปรับตัวกับสิ่งแวดล้อม ปัญหาครอบครัวพ่อแม่ ปัญหาความ ขัดแย้งกับเพื่อน ๆ หรือเพื่อนต่างเพศ ตลอดจนปัญหาการเรียน ครูอาจารย์ต้องเข้าใจด้วยว่า ช่วงวัยรุ่นมีการเปลี่ยนแปลงทาง ฮอร์โมนท�ำให้วัยรุ่นอ่อนไหว อารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ บ่อยครั้งพร้อม นักเรียน เด็ก ๆ อาจไม่ต้องการทางแก้ไข ขอเพียงความเข้าใจ จะแสดงพฤติกรรมที่ต่อต้านรุนแรง การให้เวลารับฟังปัญหาของ และให้ก�ำลังใจเท่านั้น เด็ก ๆที่มีปัญหาครอบครัว พ่อแม่ไม่ได้ ดูแลอบรมสั่งสอนหรืออาจดุว่าด่าทอจนเด็กเบื่อ นักเรียนเหล่า นั้นจึงหันมาขอความช่วยเหลือ ความเข้าใจ ก�ำลังใจจากครู อาจารย์ หากทางโรงเรียนไม่ใส่ใจ ไม่มีให้ เด็ก ๆ ก็จะจับกลุ่ม หาทางปกป้องช่วยเหลือกันเองด้วยการ ออกไปท�ำกิจกรรมบน ท้องถนน อันน�ำไปสู่อันตรายหรือปัญหาที่รุนแรงซับซ้อนมากขึ้น ดังที่เราได้พบเห็นกันทุกวันนี้ นอกจากนั้นฝ่ายบริหารหรือผู้อ�ำนวยการต้องเห็นความ ส� ำ คั ญ ของครู แ นะแนว และให้ ก ารส่ ง เสริ ม สนั บ สนุ น ให้ ค รู แนะแนวได้ช่วยเหลือดูแลสุขภาพจิตของเด็ก ๆ แล้ว ครูแนะแนว ที่เรียนจบมาทางด้านนี้ ต้องพยายามฝึกฝนให้ตนเองมีความรู้ มี ทักษะในการให้ค�ำปรึกษาแนะน�ำกับวัยรุ่น สะสมประสบการณ์ และเข้าใจปัญหาของวัยรุ่นที่เปลี่ยนแปลงไปตามสิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมของผู้คนผู้น�ำทางสังคมโดยเฉพาะการชี้น�ำโดยสื่อ และเทคโนโลยี่ ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมาจะพบว่า ครูแนะแนว หมกมุ่นอยู่กับการพยายามให้นักเรียนเรียนเก่ง หรือวิ่งตามสมัย นิยมมากกว่าจะพยายามเข้าใจถึงความบาดเจ็บในหัวใจของวัย รุ่นที่รอการบ�ำบัดเยียวยาด้วยความเมตตาดังในกรณีนี้ 24 IS AM ARE www.fosef.org


กรณีเด็กสาวที่ปรึกษาและระบายความทุกข์ ความเสียใจ อันสืบเนื่องจากงานบริการของครูแนะแนว เริ่มจากความรู้สึก ต�่ำต้อยด้อยค่าที่มาจากครอบครัวยากจน เกรงเพื่อน ๆ ครู อาจารย์จะดูถูก แต่เธอก็ได้พยายามประพฤติปฏิบัติตนอย่างดี การเปิดเผยเรื่องราวให้ครูแนะแนวรับรู้ก็หวังว่าครูแนะแนวจะ เข้าใจ แต่เพราะครูแนะแนวมุ่งแต่จะแนะน�ำเรื่องวิชาที่เธอควร เรียน และอาจต้องการให้นักเรียนเชื่อฟัง หรือท�ำตามความคิด เห็นของเธอ เมื่อนักเรียนไม่ท�ำตาม ท�ำให้ครูแนะแนวไม่พอใจ อาจคิดว่านักเรียนหัวแข็งไม่เชื่อฟัง ครูควบคุมไม่ได้ หรือจริง ๆ อาจจะไม่ได้คิดอะไร แต่ครูไม่มีเวลาลงนั่งสื่อสารอธิบายให้เด็ก เข้าใจอย่างชัดเจนว่าเธอคิดอย่างไร ที่ส�ำคัญเมื่อนักเรียนตัดสิน ใจเรียนวิชาอื่น ครูแนะแนวก็ต้องยอมรับให้ก�ำลังใจเธอให้ท�ำให้ ดีที่สุด ที่ส�ำคัญหากจะเสนอชื่อนักเรียนออกจากเงินทุน ก็ต้องให้ เวลาพูดคุยให้ค�ำอธิบายเหตุผลว่ายังมีนักเรียนคนอื่นที่ยากจน กว่าและต้องการความช่วยเหลือมากกว่าหรือเพราะอะไร ครู ต้ อ งชั ด เจนในการตั ด สิ น ใจและการแยกแยะเรื่ อ งราว โดย เฉพาะในเรื่อง “เงินทุนการศึกษา” ซึ่งนักศึกษาก�ำลังมีปัญหา และต้องการความช่วยเหลือ แต่การปฏิเสธนักเรียนโดยไม่พูด อธิบาย กลายเป็นความบาดเจ็บที่เรื้อรังส�ำหรับหัวใจที่เปราะ บางของวัยรุ่นมากมาย แน่นอน....เงินทุนอาจไม่มาก ไม่ส�ำคัญส�ำหรับผู้ใหญ่ ทั่ ว ไป แต่ ส� ำ หรั บ เด็ ก ที่ ข าดแคลนเป็ น เรื่ อ งใหญ่ เป็ น ความ

หวัง แต่หากครูอาจารย์กระท�ำการใด ๆ โดยไม่ได้คิดพิจารณา ให้รอบคอบ แม้ไม่ได้เจตนาจะท�ำร้ายเด็ก ๆ แต่ส�ำหรับเด็ก มากมายในช่วงความเยาว์วัย เราไม่รู้ว่าเขาผ่านมรสุมชีวิตที่บ้าน มารุนแรงแค่ไหน เมื่อมาอยู่ที่โรงเรียน เหมือนอยู่ในมือครู หาก ประคับประคองไม่ดี หัวใจดวงนี้อาจแหลกสลายหรือกลายเป็น บาดแผลใหญ่ที่ยากแก่การเยียวยา! ส�ำหรับเด็กสาวคนนี้ แม้เหตุการณ์จะผ่านมา 4 ปีแล้ว แต่ความบอบช�้ำของเธอไม่เคยลดลง เธอทุรนทุรายรุ่มร้อนอยู่ ในความทรงจ�ำของความ โกรธ เกลียด ผิดหวัง ความเศร้าโศก เสียใจ ความหวาดระแวง ความสับสนวุ่นวายใจ เธอ อยากจะ ก้าวออกมาจากความทุกข์นั้นแต่ยังท�ำไม่ได้ การจะช่วยเธอ คือพาเธอไปรับการบ�ำบัดเยียวยาสภาพจิตใจ จากนักจิตวิทยา หรือนักสังคมสงเคราะห์ที่สามารถให้เวลาเธอบ่มเพาะความดี งามด้วยค�ำว่า “อภัย” ยาขนานส�ำคัญที่จะช่วยเธอได้คือการ รู้จักให้อภัยอดีต ให้อภัยคนที่เคยท�ำให้เราเสียใจช�้ำใจ ไม่ลากจูง ความทุกข์ไว้กับตัว ปล่อยตัวเองให้เป็นอิสระจากปัญหาทั้งปวง เหตุการณ์นั้นผ่านมาแล้ว เราต้องก้าวข้ามความไม่ดีงามทั้งหลาย ไป และสร้างโลกใหม่ที่เราคิดว่าควรจะเป็นด้วยศรัทธาที่เราจะ ต้องมีให้กับตัวเอง มีให้กับคนอื่น ๆ และมีให้กับโลกใบนี้นั่นเอง! อรอนงค์ อินทรจิตร มูลนิธิศูนย์ฮอทไลน์www.hotline.or.th 2 สิงหาคม 2559 25

issue 105 october 2016


cover story

ติดปี กลัดฟ้า

่ พลอากาศเอก ประจิน จันตอง “ในชี วิ ต ที่ ผ ่ า นมา แน่ น อนว่ า บางคนก็ มี ค วามพร้ อ มไปทุ ก สิ่ ง ทุ ก อย่ า ง บางคนต้ อ ง ต่ อ สู ้ อ ดทนฝ่ า ฟั น ไปพร้ อ มกั บ คุ ณ พ่ อ คุ ณ แม่ แ ละพี่ น ้ อ งอี ก หลายคน ซึ่ ง ตั ว เองจะอยู ่ ในกลุ ่ ม หลั ง ” พลอากาศเอก ประจิ น จั่ น ตอง รองนายกรั ฐ มนตรี เริ่ ม ต้ น ประโยคด้ ว ย น�้ ำ เสี ย งราบเรี ย บ ย้ อ นนึ ก ถึ ง ช่ ว งชี วิ ต ที่ ผ ่ า นมา ชี วิ ต ที่ เ ป็ น ภาพทรงจ� ำ ฝั ง แน่ น มี ก ลิ่ น ไอของหยาดเหงื่ อ และความล� ำ บากในการขายแรง “อยากให้ ลู ก ได้ เ ห็ น ความล� ำ บาก ของพ่ อ ในอดี ต ” เขากล่ า วไว้ อ ย่ า งนั้ น เพราะปั จ จุ บั น ลู ก ชายทั้ ง สองคงนึ ก ภาพพ่ อ กระโดดขึ้ น โบกี้ ร ถไฟแบบไอน�้ ำ เพื่ อ ขนฟื น เชื้ อ เพลิ ง ลงมาเรี ย งข้ า งล่ า งไม่ อ อก

26 IS AM ARE www.fosef.org


27 issue 105 october 2016


ผอมบางของเด็กชายประจินนับว่าไม่เหมาะกับงานหนักเช่นนี้ แต่เมื่อเหลียวมองผู้อื่นกระโจนใส่งานหนักเป็นว่าเล่น เด็กชาย ประจินบอกตัวเองว่า “เขาท�ำกันได้เราก็ท�ำได้” “สมั ย ก่ อ นรถไฟเป็ น รถจั ก รไอน�้ ำ ที่ ต ้ อ งใช้ ฟ ื น โยน เข้าไปท�ำให้ไอน�้ำเกิดพลังที่จะโยกคันเฟืองให้ล้อมันเคลื่อน ไปข้างหน้า เดี๋ยวนี้ไม่มี เป็นเครื่องยนต์ดีเซลหมด ยิ่งอนาคต จะไม่เจอแล้ว” “เคยเกริ่นให้ลูกชายฟังเมื่อ 10 ปีก่อน อยากจะยก ตัวอย่างว่าความล�ำบากในอดีตกับความล�ำบากในปัจจุบันไม่ เหมือนกัน ของพ่อล�ำบากในอดีตก็คือการขายแรงงาน เพื่อ จะได้เงินมาใช้ตามความจ�ำเป็นในชีวิตประจ�ำวัน ส่วนหนึ่ง ก็สะสมไว้เรียนหนังสือ ผ่อนภาระของแม่” “แต่ส�ำหรับลูกเขาเห็นแต่ความเจริญรุ่งเรือง พ่อก็อยู่ ในฐานะที่มียศต�ำแหน่งเป็นนายทหาร เป็นผู้ช่วยทูตทหาร อากาศประจ�ำกรุงเบอร์ลินในสมัยนั้น เพราะฉะนั้นเขาไม่รู้จัก นึกภาพไม่ออก เขามีทุนทางด้านสังคมสูง จะไม่ค่อยเข้าใจถึง บริบทที่เกิดขึ้นในสมัยพ่อ” พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง เป็นลูกคนที่ 3 ในจ�ำนวน พี่น้อง 5 คน เติบโตมาในครอบครัวคนงานรถไฟ หรือเรียกขาน กันว่า “ลูกรถไฟ” บิดาเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงเริ่มท�ำงานตั้งแต่เป็น คนงานซ่อมรางรถไฟในจังหวัดพิษณุโลก จนพัฒนามาเป็นช่าง ซ่อมตู้โบกี้ตามล�ำดับ ส่วนมารดายึดอาชีพค้าขายช่วยเหลือ จุนเจือครอบครัว

จาก “ลู ก รถไฟ” ส่ ง ต่ อ ถึ ง “ลู ก นายพล” ภาพของพ่ อ ในสายตาลู ก ๆ ก็ คื อ นายทหารระดั บ พล อากาศเอก มีบทบาทในการพัฒนาประเทศไทยให้เจริญก้าวหน้า ในฐานะรองนายกรัฐมนตรีและอีกหลายบทบาท คงไม่ใช่ภาพ ของนายประจินลูกคนงานรถไฟ แม่มีอาชีพรับของจากตลาดสด มาใส่ชะลอมเร่ขาย “ปี พ.ศ.2510-2512 เราต้ อ งตื่ น ตั้ ง แต่ ตี สี่ ค รึ่ ง ไป ตลาดสดกับคุณแม่เพื่อซื้อของแล้วเอามาใส่เข่ง เอามาจัด บรรจุใส่ลังบ้าง ใส่ชะลอมบ้าง เอาไปขาย หรือบางทีขายไม่ หมดก็ต้องนั่งวางแผงขายเอง พอตกเย็นเลิกเรียนก็ต้องไปแข่ง กับเพื่อนจองตู้รถไฟที่เป็นตู้ฟืนเพื่อที่จะกระโดดเกาะขณะที่รถ ยังไม่จอด แล้วก็จองเอาเครื่องหมายติดไว้ว่าตู้นี้ฉันจองแล้ว ฉันจะเป็นคนโยนฟืนออกจากตู้ใหญ่ๆ นี้ ได้เงิน 4 บาท แต่ถ้า เราโยนเสร็จแล้วมาเรียงใหม่ให้สวยงามได้ 5 บาท” เมื่อขบวนรถไฟค่อยๆ ใกล้เข้าสถานี เด็กชายประจินรีบ กระโดดเกาะ เอากิ่งไม้ เอาป้าย หรือสัญลักษณ์ต่างๆ ไปแขวน จอง บางวันมีเวลามากก็ได้ 2 ตู้ ไม่มีเวลาก็ได้ตู้เดียว บางวัน คนเยอะก็ไม่ได้เลย ในการโยนฟืน 1 ตู้ต้องใช้เวลา 2-3 ชั่วโมง ถึงจะได้เงิน ที่จริงแล้ว งานโยนฟืนเป็นอาชีพของผู้ใหญ่วัยก�ำย�ำ ร่าง 28

IS AM ARE www.fosef.org


มีความตั้งใจอยากจะรู้เรื่อง อยากจะ มีความรู้ อยากจะอ่านหนังสือ เขียน หนังสือ เป็นความรู้สึกในตอนนั้นว่า เราขาดไม่ได้ ต้องอ่านหนังสือ พ่อแม่ ไม่ได้บังคับเท่าที่ควร เขาจะดูว่าถ้าเรา ชอบก็จะสนับสนุน เราเรียนก็สนับสนุน แต่ ว ่ า เนื่ องจากความยากจนเราต้ อง ช่วยพ่อแม่ท�ำงาน เราต้องหาเวลาใน การอ่านหนังสือ หาเวลาในการเขียน โชคดีที่เราถนัดทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ประวัติศาสตร์ เราก็สะสม เรื่องนี้มา สิ่งที่ด้อยที่สุดยอมรับเลยคือ ภาษาอังกฤษ”

ข้างในมีกระสอบมีลังเต็มเลย แล้วเรา ก็นอนตรงระเบียงชั้นครึ่ง ช่วยกันออก เงินกันคนละ 50 บาท เป็นค่าที่พัก 4 คนก็ 200 บาทต่อเดือน” “มาอยู่ก็ไม่ได้ไปไหน ทานมื้อ เช้า 5 บาท กลางวัน 5 บาท กลางคืน 5 บาท ต้องวางแผนให้ดีว่า เช้าจะกิน อะไร กลางวันจะกินอะไร ตอนเย็นจะ กินอะไร เราก็เอาหนังสือที่เพื่อนไปติว มาอ่าน ตอนนั้นเราไม่มีทุน เขาติววัน นี้เขาก็ทิ้งไว้ให้เราอ่าน โชคดีที่เราอ่าน วน 2-3 รอบ แล้วเราอ่านทั้งวัน กลาง คืนด้วย จนสอบได้”

“อายุได้สัก 9 ขวบ ย้ายจาก พิษณุโลกมาอยู่อุตรดิตถ์ ในปี 2506 ก็เรียนไปด้วย เริ่มท�ำงานช่วยแม่ขาย ของจนกระทั่ ง ถึ ง มศ.3 ประมาณปี 2512 - 2513 บางทีเสาร์อาทิตย์ต้อง นั่งรถคุมสินค้าที่เราซื้อไปส่งตลาดปาก คลองที่กรุงเทพฯ ขากลับก็ซื้อของจาก ปากคลองมาขายปลี ก ส่ ว นพ่ อ ก็ ยั ง ท�ำงานเป็นพนักงานซ่อมตู้รถไฟ” ในช่วงฤดูฝนยามค�่ำ เด็กวัยรุ่น หลายคนต่างออกมาจับแมงดากันที่ริม ทางรถไฟกันอย่างสนุกสนาน ผ่อนคลาย แต่ส�ำหรับประจินถือเป็นงานพิเศษนอก เหนือจากโยนฟืนและช่วยแม่ขายของ เป็นรายได้พิเศษส่วนตัวจนท�ำให้เขาเก็บ เงิ น ซื้ อ มอเตอร์ ไซค์ มื อ สองของตนเอง ได้ในที่สุด เป็นความภูมิใจชิ้นแรกๆ ที่ ได้มาจากการท�ำงานและการเก็บออม ของตัวเอง

ถึ ง แม้ เ ราจะท� ำ งานเช้ า จรดค�่ ำ แต่ เ ราก็ มี ค วามตั้ ง ใจอยากจะรู ้ เ รื่ อ ง อยากจะมี ค วามรู ้ อยากจะอ่ า นหนั ง สื อ เขี ย นหนั ง สื อ เป็ น ความรู ้ สึ ก ในตอนนั้ น ว่ า เราขาดไม่ ไ ด้ ต้ อ งอ่ า นหนั ง สื อ พ่ อ แม่ ไ ม่ ไ ด้ บั ง คั บ เท่ า ที่ ควร เขาจะดู ว ่ า ถ้ า เราชอบก็ จ ะสนั บ สนุ น เราเรี ย นก็ ส นั บ สนุ น แต่ ว ่ า เนื่ อ งจากความยากจนเราต้ อ งช่ ว ยพ่ อ แม่ ท� ำ งาน

จากโกดั ง เก็ บ ของร้ า นนางเลิ้ ง โฟโต้ สู ่ วิ ถี ท หาร คงมีคนไม่มากที่มีความฝันหรือ เป้าหมายชีวิตตั้งแต่เด็ก แล้วเดินตาม หาสิ่งที่หวังไว้อย่างเด็ดเดี่ยวโดยไม่มัว ปริ ป ากก่ น ด่ า โชคชะตาหรื อ ความจน เช่นเดียวกับพลอากาศเอก ประจิน จั่น ตอง เขาใช้ ค วามสามารถในการเรี ย น หนังสือซึ่งมีเหนือกว่าพี่น้องคนอื่นๆ เป็น ประทีปส่องน�ำชีวิตเรื่อยมา “คิ ด อยากเป็ น ทหารตั้ ง แต่ เด็กๆ เพราะว่าเป็นอาชีพเดียวที่เรา จะมีความมั่นคงในชีวิต เพราะว่าพ่อ ท�ำงานรถไฟพี่ชายคนโตท�ำงานรถไฟ พี่คนรองไปท�ำงานก่อสร้าง ตัวเองก็ไป เป็นทหาร น้องประสบอุบัติเหตุรถยนต์ เสียชีวิตตั้งแต่เด็ก คนเล็กก็เป็นคนงาน ขับรถประจ�ำมหาวิทยาลัยในพิษณุโลก ฉะนั้นจะเห็นว่ามันเป็นจังหวะชีวิต ถึง แม้เราจะท�ำงานเช้าจรดค�่ำ แต่เราก็

แม้ จ ะเกิ ด ในจั ง หวั ด พิ ษ ณุ โ ลก แต่พลอากาศเอก ประจิน ย้ายมาเติบโต ที่ จั ง หวั ด อุ ต รดิ ต ถ์ ต ามหน้ า ที่ ก ารงาน ของพ่อ เขาเรียนในโรงเรียนมัธยมเล็กๆ จนจบ มศ.3 ก่อนจะเบนหน้าสู่กรุงเทพฯ ด้วยเงิน 220 บาท เพื่อเรียนหนังสือและ ตามเก็บฝันในการเป็นทหารต่อไป “หลังจากสอบมัธยม มศ.3 จบ เราก็มากรุงเทพฯ จ�ำได้ว่ามีเงินติดตัว มา 220 บาท นั่นคือปี 2513 แม่ให้ มา ซื้ อ ตั๋ ว รถไฟครึ่ ง ราคาเพราะเรา เป็นลูก ร.ฟ.ท. มากับเพื่อนรวมตัวเรา ทั้งหมด 4 คน เพื่อนไปไหนก็ไปด้วย บังเอิญเพื่อนสามคนที่เหลือ คนหนึ่ง เขามาสอบเตรียมทหารด้วยกัน อีกสอง คนสอบเข้าเตรียมอุดม ก็สอบไม่ได้ มี เราสอบได้คนเดียว โชคดีเขาพาเรามา นอนอยู ่ ใ นโกดั ง เก็ บ ของร้ า นนางเลิ้ ง โฟโต้ ปัจจุบันยังอยู่ เขามีโกดังเก็บของ อยู่ถนนนางเลิ้งที่เป็นเรือนไม้ชั้นครึ่ง 29 issue 105 october 2016

“พอสอบได้ ก็ โ ทรเลขไปบอก พ่อแม่แล้วนัดเจอกันที่กรุงเทพฯ ไป รายงานตัว นั่นคือชีวิตที่กว่าจะมาเป็น นักเรียนเตรียมทหาร การเป็นนักเรียน เตรี ย มทหารมี เ บี้ ย เลี้ ย ง มี ค ่ า อาหาร ดูแล แต่เราก็ยังรบกวนเงินพ่อแม่บ้าง เช่น ค่าเสื้อผ้า ค่ากิจกรรมที่เราต้อง ใช้นอกเหนือจากเครื่องแบบนักเรียน ถือว่าเราใช้เงินน้อยมาก จนกระทั่งไป เป็นนักเรียนเรืออากาศก็มีเงินเดือน มี ค่าจ้างเข้าเวรแทนเพื่อน ก็อยู่ได้จน กระทั่งจบปี 5” “ที นี้ ชี วิ ต ก็ เ ปลี่ ย นเพราะเรา ไปเป็นนักบิน มีเงินเดือนพอที่จะดูแล ตัวเอง” ฝั น ยิ่ ง ใหญ่ เ ริ่ ม จากจุ ด เล็ ก ๆ : ล� ำ บากกว่ า นี้ ก็ เ จอมาแล้ ว “เมื่ อ ตอนเราเป็ น นั ก เรี ย นอยู ่ ที่ จั ง หวั ด อุ ต รดิ ต ถ์ ครู ป ระจ� ำ ชั้ น ซึ่ ง


จุ ด ที่ เ หมื อ นกั บ ภู มิ คุ ้ ม กั น ที่ ท� ำ ให้ เ ราไม่ เ คยย่ อ ท้ อ ต่ อ ความท้ า ทายหรื อ อุ ป สรรคที่ เ กิ ด ขึ้ น ข้ า งหน้ า ถ้ า เรา จะท� ำ อะไรหรื อ ได้ รั บ มอบหมายอะไรแล้ ว ต้ อ งท� ำ ให้ ส� ำ เร็ จ เพราะว่ า ไม่ มี อ ะไรที่ ย ากกว่ า ชี วิ ต ที่ ผ ่ า นมาแล้ ว นั่ น คื อ ตอนแรกที่ ก ว่ า จะมาเป็ น นั ก เรี ย นทหาร

30 IS AM ARE www.fosef.org


ปัจจุบันก็ยังอยู่ คืออาจารย์ ปรีชา สนแจ้ง เป็นครูประจ�ำ ชั้ น ซึ่ ง สอนทุ ก อย่ า ง และน้ อ งชายท่ า นก็ น ่ า จะเป็ น นั ก บิ น เฮลิคอปเตอร์ เขาบินไปท�ำภาระกิจที่นั่นแล้วมาลงจอดหน้า โรงเรียน เมื่อก่อนมีสนามฟุตบอลใหญ่ เรามีความประทับ ใจอยากเป็นนักบิน อยากเป็นทหารอากาศตั้งแต่อยู่ มศ.3” “ดั ง นั้ น พอถึ ง ปลายปี ก ารสอบ เราคิ ด อยู ่ อ ย่ า ง เดียวจะเป็นทหารอากาศได้ต้องเข้าโรงเรียนเตรียมทหาร ซึ่งไม่ค่อยมีคนรถไฟในช่วงนั้นที่เข้าเตรียมทหารได้ แล้ว ก็ ห ่ า งไปหลายรุ ่ น ที่ ไ ม่ เ คยเข้ า เตรี ย มทหารได้ ใ นจั ง หวั ด อุตรดิตถ์” “ยังจ�ำได้ว่าไปสอบที่ตึกบัญชีจุฬาฯ ต้องไปดูพื้นที่ เพราะเราไปไม่ถูก เตรียมทหารไปไม่ถูกก็ต้องไปดูพื้นที่ก่อน

ยังมีอยู่ ในกรุงเทพฯ แม้จะมีเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกันให้ พึ่งพาอาศัย แต่ก็เหมือนตัวคนเดียวเพราะไม่มีญาติพี่น้อง เป็น นักเรียนกินนอนที่ไม่มีโอกาสกลับบ้านตามใจคิด สิ่งที่ท�ำได้คือ การรับจ้างเข้าเวรแทนเพื่อน และระบายความเครียดต่างๆ ออก มากับการเล่นกีฬา “เราจะระบายความเครียดไปกับการเล่นกีฬา เรา จะเล่นกีฬามากกว่าเรียน ในช่วงนักเรียนเตรียมทหารนะ เพราะว่า 1.ฝึกเหนื่อย 2.ห่างบ้าน ไม่มีพี่น้องในกรุงเทพฯ ต้องอยู่ในสังคมของเราเอง เราก็แสดงออกโดยการเล่นกีฬา เล่ น บอล เล่ น รั ก บี้ เล่ น บาส สุ ด ท้ า ยก็ ส มั ค รเป็ น นั ก รั ก บี้ ของโรงเรียนเตรียมทหารในต�ำแหน่งฟูลแบ็ก ประสบความ ส�ำเร็จระดับกลางๆ นะ ไม่เด่นมาก ไม่ด้อยมาก ก็อยู่ติดทีม มาตลอด” “พอจบเตรี ย มทหารรุ ่ น 13 ก็ ม าเข้ า โรงเรี ย น เตรียมทหารอากาศ จากเตรียมทหารตอนนัน้ อยูท่ ขี่ า้ งสวนลุม แล้วมาอยู่ที่ดอนเมืองทหารอากาศ ก็ยังคงเป็นลักษณะเดิม ก็ คือเรายังอยู่ไกลจากพ่อแม่ พ่อแม่ก็ยังอยู่ที่อุตรดิตถ์ ถึงแม้จะ มีบ้านย่าอยู่ที่พิษณุโลก พ่อแม่ก็ยังไป-มา อุตรดิตถ์-พิษณุโลก ปีหนึ่งเรากลับบ้าน 2 ครั้ง ฉะนั้นเราก็ฝักใฝ่ไปทางเล่นกีฬา เหมือนเดิม เล่นมาเรื่อยจนกระทั่งเกิดอุบัติเหตุส�ำคัญตอน

สมมุ ติ ว ่ า เราไม่ เ ก็ บ เงิ น สะสม ไม่ เ รี ย นรู ้ ไม่ ส ร้ า ง ภู มิ คุ ้ ม กั น เกิ ด ปั ญ หาอะไรเราก็ แ ก้ ไ ม่ ไ ด้ ฉะนั้ น เรา ก็ ใ ช้ ไ ด้ ห มดไม่ ว ่ า จะเป็ น เรื่ อ งอะไร ไม่ ว ่ า จะเป็ น เรื่ อ ง ชี วิ ต ในครอบครั ว เรื่ อ งของการท� ำ งานในภาคสั ง คม ในภาคเศรษฐกิ จ ไปมอบตัว โทรเลขนัดพ่อเจอที่หัวล�ำโพง เป็นเรื่องที่เราไม่ ได้น้อยเนื้อต�่ำใจนะ แต่เราถือว่าผ่านตรงนั้นมาได้ท�ำให้เรา มีก�ำลังใจ เมื่อเกิดปัญหาอุปสรรคเรานึกถึงสมัยอดีต มันไม่มี อะไรหนักกว่าที่ผ่านมาแล้ว การที่เราจะต้องกระโดดเกาะ ขณะรถไฟวิ่งแล้วจอง บางวันก็หนึ่งตู้ บางวันก็สองตู้แล้วก็ โยนฟืน บางวันก็สองชั่วโมงครึ่ง สามชั่วโมง ห้าชั่วโมง ได้ เงิน 4-8 บาท ใช้จริงๆ ประมาณ 2-4 บาทเท่านั้นเอง จนมี เงินเก็บซื้อมอเตอร์ไซค์ได้” “การเรียนการสอนของเราพ่อแม่เป็นคนส่งทั้งหมด ถึงแม้จะมีเงินน้อยก็ส่งจนจบ นี่คือสิ่งที่เล่าให้ลูกชายฟัง ซึ่ง เขาบอกเหมือนนิยาย ไม่เหมือนชีวิตจริง เพราะเขานึกภาพ ไม่ออก คือจุดที่เหมือนกับภูมิคุ้มกันที่ท�ำให้เราไม่เคยย่อท้อ ต่อความท้าทายหรืออุปสรรคที่เกิดขึ้นข้างหน้า ถ้าเราจะท�ำ อะไรหรือได้รับมอบหมายอะไรแล้วต้องท�ำให้ส�ำเร็จ เพราะ ว่าไม่มีอะไรที่ยากกว่าชีวิตที่ผ่านมาแล้ว นั่นคือตอนแรกที่ กว่าจะมาเป็นนักเรียนทหาร”

ที่เล่นรักบี้ปี 2 เข้าโรงพยาบาล จึงเริ่มหันมาเรียนมากขึ้น เพราะว่าหมอให้พักการเล่นกีฬา (หัวเราะ)” “ ก า ร เรี ย น ก็ ดี ขึ้ น ต า ม ล� ำ ดั บ จ น ก ร ะ ทั่ ง ก ลั บ มาปกติ กว่าจะกลับมาเรียนดีได้ตามปกติก็ปี 3 แล้ว ถ้า เป็นเปอร์เซ็นต์เมื่อก่อนได้ 83-85 มันตกต�่ำกว่า 80 ก็เริ่ม แย่เรื่อยๆ เข้าเรืออากาศปี 1 ปี 2 ก็ยังแย่ เริ่มมาดีขึ้นหลัง จากประสบอุบัติเหตุ ปี 3-4 ก็เริ่มดีขึ้น ปี 5 ก็ดีขึ้น ก็ท�ำให้ได้ สัจธรรม คือร่างกายแข็งแรงอย่างเดียวไม่พอต้องมีสมองที่มี ความรู้ เรายังติดนิสัยเรื่องใฝ่รู้มาตั้งแต่เด็กๆ พอเราหลุดไป จากการออกก�ำลังกายเล่นกีฬาเป็นหลัก เราก็แบ่งเวลา กีฬา

กี ฬ าเผยสั จ ธรรม กางปี ก บิ น ที่ อ เมริ ก า “พอมาเป็นนักเรียนเตรียมทหารก็มุ่งหวังที่จะเป็น นักบิน จึงสมัครเข้ามาเป็นทหารอากาศ” เมื่อพลอากาศเอก ประจิน ได้เป็นทหารอากาศสมใจแล้ว แต่ความคิดถึงบ้านก็ 31

issue 105 october 2016


ในเขตเพื่อนบ้านยังไม่ยุติ ตั้งแต่กัมพูชา ลาว เราก็ไปท�ำภาระ กิจบ้างตั้งแต่ A-37 พอบิน F-5 ก็ไปท�ำภาระกิจบ้างในบริเวณ ชายแดนแถวกัมพูชา ก็มีความรู้มีประสบการณ์บ้างจนกระทั่ง ได้เป็นครูการบิน F-5 พอต้นปี 2530 ก็มีการคัดเลือกนักบิน รุ่นแรกไปบิน F-16 ที่อเมริกา เราก็ติดโผมาตลอด แต่เราสอบ ภาษาอังกฤษไม่ผ่าน (หัวเราะ) คือการเป็นนักบินความรู้ความ สามารถเราผ่าน เราติดภาษาอังกฤษในการคอมมูนิเคชั่น การ สื่อสารไม่ผ่าน จะต้องได้ 80% บวก ถึงจะไปเรียนได้ เราได้ 7778 ไม่ผ่าน จึงขอสละสิทธิ์ แต่ผู้บังคับบัญชาบอกไม่ได้ เพราะว่า เขาคงเชื่อมั่นว่าเราอาจจะเครียดตั้งใจมากเกินไป ให้ไปพักเสาร์ อาทิตย์นี้ แล้วไปดูหนังสือ วันจันทร์ไปสอบใหม่ (หัวเราะ) เรา ก็ปล่อยวาง ถ้าครั้งนี้ไม่ได้ก็ไม่เอาละ ก็นึกถึงตอนเป็นนักเรียนเตรียมทหาร เราดูข้อสอบเก่า ทั้งหมด โน๊ตต่างๆ ที่เราจด 3 วัน (ศุกร์-อาทิตย์) วันจันทร์ไป สอบ ได้ 81% ทีนี้หลักสูตรของนักบิน F-16 ต้องไปเรียนภาษา อังกฤษที่ลุค ซานโตนิโอ 9 สัปดาห์ จากนั้นไปเรียนด้านการบิน ต่อที่แอริโซนา เมืองฟีนิกซ์อีก 7 เดือน” “ชุดแรกที่ไปด้วยกันมี 6 คน ซึ่งหัวหน้าชุดก็คืออดีต ผู้ฝูง F-16 ท่านแรกและอดีต ผบ.ทอ.ที่มาจาก F-16 ท่าน แรกเหมือนกันคือพลอากาศเอก อิทธิพร สุภวงค์ ท่านต่อ มาคือพลเอก ศรีเชาว์ จันทร์เรือง (F-16 คนที่สอง) ซึ่งท่าน เกษียณในต�ำแหน่งรองผู้จัดการทหารอากาศ ท่านที่สามคือ พลอากาศเอก วินัย เปล่งวิทยา ท่านเกษียณในต�ำแหน่งเจร ทหาร ท่านที่สี่คือพลเอก ธนะ อยู่สถาพร ท่านเกษียณใน ต�ำแหน่งที่ปรึกษาพิเศษกองทัพอากาศ คนที่ห้าก็เรา ประจิน

3 ห่ ว ง 2 ฐาน (เงื่ อ นไข) คื อ ในเรื่ อ งของหลั ก พอ เพี ย ง หลั ก เหตุ ผ ล หลั ก ภู มิ คุ ้ ม กั น หรื อ พึ่ ง พาตนเอง มี ค วามส� ำ คั ญ เกี่ ย วข้ อ งกั น หมดเลย อยู ่ บ นฐาน ส� ำ คั ญ ไม่ ว ่ า จะท� ำ อะไรขาด 2 อั น นี้ ไ ม่ ไ ด้ คื อ ความ รู ้ คู ่ คุ ณ ธรรม ตั ว อย่ า ง สมมุ ติ ว ่ า อยู ่ ใ นบ้ า นถ้ า หาก เราไม่ พ อเพี ย งใช้ จ ่ า ยฟุ ่ ม เฟื อ ย ซื้ อ ของมาใช้ เ กิ น ของเสี ย ทิ้ ง เอามาเป็ น หนี้ เ ป็ น สิ น นี่ ก็ คื อ จะกระทบ ไปซื้ อ อะไรไม่ ไ ด้ ใ ช้ ไม่ มี เ หตุ ผ ล หรื อ ว่ า มี เ งิ น น้ อ ย ใช้ เ งิ น มาก นอกจากจะไม่ ต รงหลั ก ประหยั ด ก็ ต รง หลั ก ขาดตรรกะ ก็เล่น ถึงเวลาเรียนก็เรียน มันก็กลับมาบาลานซ์ จนกระทั่ง จบแล้วก็เป็นนักบิน ตอนนั้นจบปี 2520 แล้วก็ไปเป็นนักบิน ปลายปี 2520” พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง เริ่มเป็นนักบินโรงเรียน การบินก�ำแพงแสนชั้นประถมด้วยเครื่องบิน CG-4 Chicken ประมาณ 6 เดือน ด้วยมาตรฐานการบินอยู่ในระดับดี ทั้งภาค อากาศและภาควิชาการ ท�ำให้ถูกคัดเลือกไปบินด้วยเครื่อง T-37 หรือ Twinny ซึ่งเป็นเครื่องบินเจ็ท และด้วยผลงานการ บินที่ดีเยี่ยมอีก ท�ำให้มีโอกาสเลือกลงฝูงบินที่ต้องการได้ “เราเลือกไปบิน A-37 ที่กองบิน 4 ตาคลี จ�ำได้ว่า จบกลางปี 2521 ย้ายไปใกล้ๆ บ้านแฟน แฟนเป็นคนตาคลี เขาไปสอนหนังสืออยู่ที่อ�ำเภอตาคลี เราก็เลยเลือกไปลงที่นั่น ท�ำการบินกับเครื่อง A-37 อยู่ประมาณ 2 ปีครึ่ง แล้วก็เปลี่ยน มาบินเครื่องบิน F-5 จนกระทั่งถึงปี 2530 ก็ได้รับเลือกให้ไป บิน F-16 ที่อเมริกา เป็นอีกช่วงชีวิตหนึ่งที่เปลี่ยน” ฝู ง บิ น F-16 รุ ่ น แรก “เนื่องจากว่าตอนบิน A-37 ช่วงนั้นสงครามที่เกี่ยวข้อง 32

IS AM ARE www.fosef.org


ในเรื่ อ งของรายได้ ก ารบิ น พาณิ ช ย์ หรื อ อาจจะเป็ น เหยื่ อ ล่ อ ที่ เ ราจะมี โ อกาสได้ ท ่ อ งเที่ ย วไปต่ า งถิ่ น ทั่ ว โลกแล้ ว แต่ ค นชอบ ที่ นี่ ค วามคิ ด เรามั น ล็ อ คไว้ แ ล้ ว เป็ น ทหารมี ค วามมั่ น คง กั บ ทหารได้ รั บ ใช้ ช าติ แล้ ว ช่ ว งนั้ น เราคนเดี ย วจริ ง ๆ ในครอบครั ว นะ ที่ เ ป็ น ทหารเราก็ รั ก ษาสภาพนี้ ไ ว้

จั่นตอง เป็นผู้ฝูงคนที่สาม (F-16 คนที่สาม) แล้วเราก็เป็น ผบ.ทอ.เครื่องบิน F-16 คนที่ 2 ต่อจากท่าน อิทธิพร ส่วน คนที่ 6 คือท่านพลอากาศตรี ทัศพล ณ ล�ำปาง ท่านเสียชีวิต ตอนที่ท่านเป็นพลอากาศตรี” “เรารู้แล้วว่าภาษาอังกฤษส�ำคัญมากในการบินตอน ไปเรียนที่ซานโตนิโอ เราก็พัฒนามาจนกระทั่งภาษาอังกฤษ เราขึ้นมาเป็น 85% แล้ว พอไปอยู่ที่แอริโซนาก็เป็นฤดูหนาว พอดี เราไปประมาณ 30 ตุลาคม 2530 ไปเรียน 9 สัปดาห์ พอเรียนเสร็จประมาณปลายปี เข้าสู่หน้าหนาว ออกจากห้อง พัก 6 โมงเช้า เพื่อเตรียมตัวเรียนหนังสือ 7 โมงเช้า กลับ 5 โมงเย็น หน้าหนาวต้องเดินไปเรียนประมาณ 20-25 นาที ขี่ จัก รยานก็ไ ม่ไ ด้ เดินก็หนาว สุด ท้ายท่านพลอากาศเอก อิทธิพร สุภวงค์ (F-16 คนที่แรกของไทย) ก็รายงานไปถึง ผบ.ทอ.เล่าความเป็นอยู่ให้ฟัง ผบ.ทอ.ก็ให้คนมาเยี่ยมแล้ว ก็เห็นความล�ำบาก ก็ให้ซื้อรถตู้ให้หนึ่งคัน มันก็ฝ่าหนาวมา ได้ ทุกคนเช้าก็มาพร้อมกัน แอริโซนาเวลาหนาวก็หนาวจัด เวลาร้อนก็ร้อน ไปเรียนกลับมาพี่ๆ เขาก็ติว การเรียนการ สอนภาษาอังกฤษเรารับได้ 60-70 เปอร์เซ็นต์ พี่ๆ เขารับได้ 80-90 เขาก็เอามาแชร์กัน ฉะนั้นวันๆ หนึ่งก็ยุ่งกันแต่เรื่อง การเรียนการติว” “จนกระทั่งฝึกบิน ก็เริ่มดีขึ้นเรื่อยๆ เพราะว่ามันจะ

เป็นศัพท์เฉพาะ ซึ่งศัพท์เฉพาะเราเรียนมาตั้งแต่โรงเรียนการ บินก็ท�ำให้เราง่ายขึ้นในการสื่อสาร พอจบกลับมา เราก็มาอยู่ ที่โคราช เป็นนักบิน F-16 ที่ฝูง 103 ฝูงแรก” “เราย้ายจากกองบิน 1 เข้ามาอยู่ส่วนกลางที่กรม ยุทธการทหารอากาศในปี 2536 ช่วง F-16 เข้ามาใหม่ๆ เรา ถือว่าเป็นตัวหลักของกองบิน 1 เพราะทั้ง 6 คนก็ช่วยกัน หมด แต่เราอยู่อ�ำนวยการ เราก็เป็นทั้งต�ำแหน่งด้วยและเป็นผู้ ปฏิบัติด้วย ท�ำให้เราได้รับการสั่งสมในเรื่องงานแผนการนอก เหนือจากด้านการบินมากขึ้น” “พอมาอยู่กรมยุทธการก็ได้อยู่ในต�ำแหน่งที่ท้าทาย ใน ช่วงปี 2536-2539 จะมีกองนโยบายรับแผนอยู่กองเดียวใน กองทัพอากาศ เรามาเป็นรองผู้อ�ำนวยการ 2 ปี แล้วก็เป็นผู้ อ�ำนวยการ 2 ปี อันนี้ก็คือฐานความรู้ที่ได้จากฝ่ายอ�ำนวยการ ก็เอามาใช้ประโยชน์ตรงนี้” 33

issue 105 october 2016


ฝู ง บิ น F-16 รุ ่ น แรก ไม่ คิ ด บิ น พาณิ ช ย์ “เราไม่คิดเรื่องนั้น ไม่เคยคิด เราคิดตั้งแต่เด็กๆ แล้ว ว่า ชีวิตครอบครัวเราไม่เคยมีใครเป็นทหาร เราก็ต้องการเป็น ทหารเพื่อที่จะมีความมั่นคงในชีวิต ไม่เคยคิดที่จะออกจากทหาร คือเรื่องเงิน จะเล่าให้ฟังว่าเราใช้เงินเป็นพูดง่ายๆ เพราะ กว่าจะได้เงินมา 1-4 บาท มันแลกมาด้วยหยาดเหงื่อ ความ เหนื่อยยาก ความเจ็บปวดสารพัด ความเสี่ยงของชีวิต แล้วจะ ใช้เงินฟุ่มเฟือยเราใช้ไม่เป็น เสื้อผ้าเก่าๆ เราก็ใช้อยู่ ชุดต่างๆ ก็ ใช้ของเก่า แล้วใช้ทน เที่ยวเตร่เราก็ไม่ได้เที่ยว เผอิญมีเพื่อนดี เพื่อนก็เทคแคร์ไม่ให้เราเหงา อยู่เป็น เพื่อนเราบ้าง พาเราไปนอนบ้านเสาร์อาทิตย์บ้าง เราก็อยู่มา ได้จนกระทั่งจบ เมื่อเป็นนักบิน ทีนี้ทุกอย่างเราก็มีพร้อมแล้ว จากการที่เราไม่ได้มีความต้องการมาก ก็เข้าหลักพอดี เราก็มี ความพอเพียงในชีวิต รู้จักประมาณตนในฐานะ เราก็อยู่ได้แล้ว มีเงินเก็บด้วย มันก็มีเขาเรียกว่า “เหยื่อล่อ” ในเรื่องของรายได้การ บินพาณิชย์ หรืออาจจะเป็นเหยื่อล่อที่เราจะมีโอกาสได้ท่อง เที่ยวไปต่างถิ่นทั่วโลกแล้วแต่คนชอบ ทีนี้ความคิดเรามันล็อค ไว้แล้ว เป็นทหารมีความมั่นคง กับทหารได้รับใช้ชาติ แล้วช่วง นั้นเราคนเดียวจริงๆ ในครอบครัวนะ ที่เป็นทหารเราก็รักษา สภาพนี้ไว้ มันเป็นลักษณะที่มันมีความภาคภูมิใจในความเป็นมา

ของเรา เราไม่ทิ้ง ยอมรับว่าตอนแรกไม่ได้คิดถึงการรับใช้ชาติ เท่าไหร่ ตอนเป็นนักเรียนเตรียมทหาร คิดถึงแต่ว่าใฝ่ฝันอยาก เป็นนักบิน แต่พอสอบได้รักษาสถานภาพเพราะว่าทหารเป็น อาชีพมั่นคง พอเราจบจากเรืออากาศเราเห็นแล้วว่าเรามีโอกาส จะรับใช้ประเทศชาติเป็นนักบิน” “พอเราอยู ่ ก องนโยบายและแผนได้ 4 ปี เป็ น รอง ผู้อ�ำนวยการ 2 ปี เป็นผู้อ�ำนวยการ 2 ปี ก็กลับไปเป็นผู้การ กองบิน 1 ที่โคราช 1 ปี (2541-2542) แล้วก็ได้รับเลือกไปเป็น ผู้ช่วยทูตทหารที่เบอร์ลิน แล้วก็รับผิดชอบอีก 2 ประเทศคือ ฝรั่งเศษกับอิตาลี ฉะนั้นเราก็ต้องดูแล 3 ประเทศ เราก็ไปอบรม เพื่อเตรียมตัวเป็นผู้ช่วยทูต 1 ปี (2542-2543) และเดินทางไป เมื่อ 30 กันยายน 2543 ไปท�ำหน้าที่ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2543 ออฟฟิศอยู่ที่ปารีสและโรม อยู่ 3 ปี ใช้ชีวิตกับครอบครัว ภรรยา และลูกชาย 2 คนไปด้วย ถึงได้เกิดเหตุการณ์ที่เล่าให้ลูกชายฟัง เมื่อตอนเป็นผู้ช่วยทูตปี 2544-2545 เพราะเขาก�ำลังอยู่ในช่วง หัวเลี้ยวหัวต่อ เราก็เล่าให้เขาฟังว่าความยากล�ำบากของพ่อเป็น อย่างนี้ เขาก็นึกไม่ออก ฉะนั้นความยากล�ำบากของลูกคือเรื่องการเรียน เอาชนะ ให้ผ่านพ้นอุปสรรค ปัจจุบันลูกก็ไม่ถึงกับประสบความส�ำเร็จ ทั้งหมดหรอกนะ คนหนึ่งก็ไปท�ำธุรกิจ (คนโต) อีกคนก็ไปเป็น นักบินทหาร(คนเล็ก) เนื่องจากว่าเราไม่ห้าม ให้เขาเลือกสิ่งที่ เขาชอบ ชอบท�ำธุรกิจชอบเป็นนายตัวเองก็ไปท�ำ อีกคนก็เทคนิค 34

IS AM ARE www.fosef.org


นิ ด หน่ อ ย ให้ ล องไปสอบเตรี ย มทหาร เขาบอกลองก็ ไ ด้ ก็ ส อบติ ด แต่ จ ะออก (ยิ้ม) บอกต่ออีก 3 สัปดาห์ได้ไหมให้รอ ดูก่อน ถ้าช่วงฝึกไม่ได้ค่อยออก พอครบ 3 สัปดาห์เขาบอกเขาสู้เพราะว่าเพื่อนเขา สู้เขาก็ต้องสู้ จนกระทั่งจบเป็นนักบิน จบ ก�ำแพงแสนแล้วไปต่อที่อเมริกา ตอนนี้ บินอยู่ที่อเมริกาจะจบสิ้นเดือนสิงหาคม ติ ด ยศเรื อ อากาศตรี ปวั น ต์ จั่ น ตอง หมวดตาล”

เรืออากาศตรี ปวันต์ จั่นตอง (หมวดตาล) จาก ผบ.ทอ.สู ่ ร องนายกรั ฐ มนตรี “พอเรากลั บ จากผู ้ ช ่ ว ยทู ต เรา มาเป็นรองเจ้ากรมยุทธการ แล้วไปติด พลอากาศตรี ที่ ก รมควบคุ ม การปฏิ บั ติ ทางอากาศ 6 เดือน ดูแลรับผิดชอบใน สายการบินทั้งหมดในภาคปฏิบัติ ดูแล งานยุทธการ ทั้งภาคอากาศ ภาคพื้น ใน สายฝั่งอเมริกา เสร็จแล้วย้ายมาอยู่กรม ข่าว พออยู่กรมข่าวก็ปฏิวัติพอดี เดือน กันยายน ปี 2549 ตอนนั้นเป็นเจ้ากรม ข่าว (พลอากาศตรี) พอค�ำสั่งออกก็เป็น เจ้ากรมยุทธการ ฉะนั้นรอยต่อ กันยายน - ตุลาคม 2549 เราเป็นเจ้ากรมข่าว แล้วเป็นเจ้า กรมยุทธการ ก็พัฒนาเรื่อยมา จนขึ้นมา เป็นผู้ช่วยเสธยุทธการ รองเสธยุทธการ แล้วก็เสนายุทธการทหารอากาศ ตอน นั้ น จ� ำ ได้ ว ่ า ช่ ว งที่ เ ป็ น เสนาธิ ก ารแล้ ว ก็

ขึ้นมาเป็นผู้ช่วยผู้จัดการทางอากาศ เกิด มหาอุทกภัย ปี 2554 เราย้ายมาเป็นผู้ ช่ ว ยพอดี ดู แ ลเรื่ อ งการฟื ้ น ฟู เ ป็ น หลั ก วางแผนการฟื้นฟู เรื่องโลจิสติกส์ เรื่อง การปรั บ ปรุ ง โครงสร้ า งพื้ น ฐาน ระบบ รั้ ว ป้ อ งกั น น�้ ำ เราเป็ น คนดู แ ลทั้ ง หมด จนกระทั่งเสร็จงานก็เป็นผู้จัดการทหาร อากาศต่อจากท่านอิทธิพร สุภวงศ์ เดือน ตุลาคม 2555 ช่วงก่อนหน้านี้มีวิกฤตการเมือง ปี 2552-2553 และวิกฤตน�้ำท่วม 2554 เราก็ได้ประสบการณ์ตรงนั้น ถึงแม้เราจะ ไม่ได้ตั้งใจนะ แต่ว่ามันเป็นสิ่งที่เราหลีก เลี่ยงไม่ได้ เราก็ต้องเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง ปฏิวัติวิกฤตการเมือง 2552-2553 วิกฤต น�้ำ 2554 แล้วก็เริ่มเข้ามาฟื้นฟูปรับปรุง สภาพ ปี 2555 เป็น ผบ.ทอ.แล้ว ก็เริ่มมี ปัญหาการเมืองปี 2556-2557 จนกระทั่ง พฤษภาคม เราเป็น ผบ.ทอ.ปีสุดท้าย จน กระทั่ง คสช.มา 4 เดือนครึ่ง ก็ตั้งรัฐบาล ประมาณ 11-12 กันยายน 2557 ก็เป็น รัฐมนตรีคมนาคม ซึ่งก�ำลังจะเกษียณอยู่ แล้ว ตอนเป็นรัฐมนตรีคมนาคมยังเป็นปี 35 issue 105 october 2016

สุดท้ายของ ผบ.ทอ. เพราะเราเกษียณ 30 กันยายน เราเป็นประมาณ 3 อาทิตย์ เรา ก็เกษียณ แล้วก็เป็นรัฐมนตรีจนกระทั่ง 17-18 สิงหาคม ปี 2558 ก็เปลี่ยนมาเป็น รองนายกรัฐมนตรี รับผิดชอบ 4 กลุ่มงาน หลัก คือกระทรวงศึกษา พลังงาน ไอซีที แล้วก็วิจัย” ไทยแลนด์ 4.0 “สมมุติว่าเราเป็นประเทศไทย 4.0 ก็ จ ะต้ อ งมี ค วามรู ้ ประกอบด้ ว ย ความรู ้ ที่ จ ะพั ฒ นาประเทศ ในด้ า น เศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านความมั่นคง พั ฒ นาประเทศด้ า นการอนุ รั ก ษ์ สิ่ ง แวดล้ อ ม แล้ ว ก็ ม าดู แ ลว่ า ทุ น มนุ ษ ย์ ต้ อ งการที่ จ ะเสริ ม ยั ง ไงเพื่ อ ให้ เ กิ ด ศั ก ยภาพ ทุ น มนุ ษ ย์ ท� ำ ยั ง ไงถึ ง จะให้ ใช้ได้อย่างคุ้มค่าตามความพอใจของ เขา ไม่ใช่ไปบีบบังคับเขา ท�ำยังไงถึง จะให้ ป ระเทศมี ค วามสามารถในการ แข่งขันกับเขาได้ ให้ชาติมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน”


ปัจจุบันเพื่อจะพัฒนา เรียกว่าเอาครูกลับมาสู่ห้องเรียน เพิ่ม ความสามารถทักษะในการสอน คือให้ครูอยู่กับนักเรียนมากขึ้น ให้ครูมีทักษะในการสอนมากขึ้น ครูไม่ได้มีหน้าที่สอนอย่างเดียว ครูอาจจะต้องมีหน้าที่บริหารก็ต้องแบ่งน�้ำหนักให้ดี ครูมีหน้าที่ ในเรื่องการวิจัยก็ต้องแบ่งน�้ำหนักให้ดี ครูมีหน้าที่ในการบริการ ความรู้แก่ชุมชนก็ท�ำหน้าที่ให้ดี เป็นครูแนะแนว (ชี้แนว) ก็คือเป็นเชิงรุก ต้องรู้ข้อมูลของ เด็ก ต้องรู้อนาคตของประเทศไทย ต้องรู้บริบทว่าอะไรจะเกิดขึ้น รู้ว่าควรจะเสริมอย่างไร จะพูดคุยอย่างไร ตรงกับความต้องการ ของตัวเด็กและผู้ปกครอง แล้วก็จบไปมีงานท�ำ ตอนนี้ก�ำลังท�ำ อยู่ อยู่ในส่วนหนึ่งของแผนการขับเคลื่อนและแผนปฏิรูป” แผนการพั ฒ นาสอดคล้ อ งกั บ หลั ก การทรงงานของ พระองค์ ท ่ า น “แผนพัฒนาจะสอดคล้องกับหลักทรงงานเป็นส่วน ใหญ่ เพราะเวลาที่เราอยู่ในกองทัพ เราน�ำหลักส�ำคัญของ ท่านทั้ง 2 ประเด็นมาใช้ คือยุทธศาสตร์พัฒนา เข้าใจ เข้า ถึง พัฒนา อันนี้คือทหารไม่ว่าเหล่าไหนล้วนน�ำมาใช้ เพราะ ถ้าเราไม่เข้าใจก็ยากที่จะพัฒนา ถ้าเข้าใจแต่ไม่เข้าไปถึง ไม่ ไปลงพื้นที่ ไม่ไปเห็นกับตา ไม่ลงไปร่วมมือปฏิบัติ มันก็ตีบท ไม่แตก ตัวที่ 2 คือ หลักของเศรษฐกิจพอเพียง พอเราจับ ประเด็น 3 ห่วง 2 ฐาน (เงื่อนไข) คือในเรื่องของหลักพอเพียง หลักเหตุผล หลักภูมิคุ้มกัน หรือพึ่งพาตนเอง มีความส�ำคัญ แผนปฏิ รู ป การศึ ก ษา และ ครู แ นะแนว เกี่ยวข้องกันหมดเลย อยู่บนฐานส�ำคัญไม่ว่าจะท�ำอะไรขาด 2 “บุคลากรการศึกษามีประมาณ 5 แสนคน ในจ�ำนวนนี้มี อันนี้ไม่ได้ คือความรู้คู่คุณธรรม ตัวอย่าง สมมุติว่าอยู่ในบ้าน ครูแนะแนวอยู่ ปัจจุบันเป็นครูแนะแนวที่ให้ค�ำปรึกษาเป็นหลัก ถ้าหากเราไม่พอเพียงใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ซื้อของมาใช้เกิน ของ ไม่ได้ให้ทางสว่างว่าอันนี้สิเป็นทางที่เหมาะกับตัวหนู เพราะหนู เสียทิ้ง เอามาเป็นหนี้เป็นสิน นี่ก็คือจะกระทบ ไปซื้ออะไรไม่ มีความถนัด ค่อยๆ สะสมผลการเรียน ผลการทดสอบ หนูน่า ได้ใช้ ไม่มีเหตุผล หรือว่ามีเงินน้อยใช้เงินมาก นอกจากจะไม่ จะไปทางนี้สิมันจะมีอนาคตอันรุ่งโรจน์ นี่คือเราก�ำลังจะสร้าง ตรงหลักประหยัดก็ตรงหลักขาดตรรกะ” ครูแนะแนวแบบนี้ ให้รู้ว่าความต้องการของประเทศไทยคือ “สมมุ ติ ว ่ า เราไม่ เ ก็ บ เงิ น สะสม ไม่ เรี ย นรู ้ ไม่ ส ร้ า ง อะไร แล้วจะมีแรงจูงใจอย่างไร จะมีผลตอบรับอย่างไร จะสร้าง ภูมิคุ้มกัน เกิดปัญหาอะไรเราก็แก้ไม่ได้ ฉะนั้นเราก็ใช้ได้หมด คุณค่าชีวิตอย่างไรทั้งในเชิงกายภาพและในเชิงคุณภาพ ครูต้อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องชีวิตในครอบครัว เรื่อง แนะน�ำได้ ต้องศึกษาประวัติส่วนตัวของเด็กทุกคนนอกเหนือเด็ก ของการท�ำงานในภาคสังคม ในภาคเศรษฐกิจ นักเรียนที่รับผิดชอบ สมมุติรับผิดชอบหนึ่งห้องก็ต้องมาดูว่าคน หรือแม้แต่ตอนเป็นรัฐมนตรีคมนาคม เราก็เห็นง่ายๆ นี้เก่งทางด้านพละ ความรู้อาจจะดรอปไปนิดหนึ่ง ฉะนั้นอาจจะ เลยว่า สมมุติเราดูแลในเรื่องของการให้บริการทางด้านการบิน มีความเป็นเลิศในเรื่องของการกีฬา ก็ชี้แนะว่ามีโรงเรียนกีฬาอยู่ การบินไทย ก็ต้องดูเรื่องความพอเพียงก่อน ปริมาณเครื่องจะ หนูเก่งฟุตบอลหนูน่าจะไปเล่นฟุตบอลดีไหม หรือหนูเก่งทาง มีสักเท่าไหร่ เครื่องหนึ่งจะมีกี่ที่นั่ง จะมีการบริการอย่างไร ด้านยิมนาสติกหนูเล่นดีไหม จะอ�ำนวยความสะดวกอย่างไร จะมีความมั่นใจในเรื่องความ ท่านนายกรัฐมนตรีท่านท�ำนโยบายนี้แล้ว เพียงแต่ว่า ปลอดภัยอย่างไร พวกนี้จะต้องพอเพียง ถ้าไม่พอเพียงจะแข่งกับ ตรงนี้ มั น ท� ำ เร็ ว ไม่ ไ ด้ เพราะว่าเราต้องดูแ ลครูที่อยู่ในระบบ เขาไม่ได้ คนอื่นเขาก็จะ โอ้ย การบินไทยเครื่องน้อย การบินไทย 36 IS AM ARE www.fosef.org


เครื่องไม่พอ แออัด ไม่มีของอร่อยให้ทาน การบริการไม่ดี อัน นี้คือหลักพอเพียง” “เหตุผลก็คือว่า เครื่องบินแน่นอนมันจ�ำเป็นจะต้องมี ครบองค์ประกอบก็คือตัวเครื่องบิน ตัวนักบิน ตัวแอร์โฮสเตส หรือตัวพนักงานบริการ ต้องมีผู้บริการมีความสามารถในการ ตรวจซ่อมอากาศยาน เพราะฉะนั้นเครื่องบินจะเคลื่อนตัวได้ก็ ต้องมีเครื่องยนต์ มันจะยกตัวได้ก็ต้องมีปีก ฉะนั้นมันเป็นหลัก เหตุผลหมดเลยว่า ถ้าเราดูแลไม่ดีอะไรช�ำรุดก็เสียหาย ท�ำนอง เดียวกันถ้าเราไม่ดูแลนักบิน นักบินเครียด ก็มีความเสี่ยงต่อ การบิน อันตราย ข้ อ นี้ จ ะไปลิ ง ค์ กั บ ภู มิ คุ ้ ม กั น หมายความว่ า นั ก บิ น ก็ ต้องมี 2 คน ถ้ามีเครื่องเดียวก็ต้องมีระบบรองรับที่จะคอยให้ เครื่องยนต์ไม่ดับ ถ้ามีสองเครื่องยนต์ได้ก็ดี ก็จะเป็นลักษณะ เหมือนกับว่ามีภูมิคุ้มกัน กับว่าถ้าเราพึ่งพาเทคโนโลยีจากเขา อย่างเดียวเราซ่อมไม่ได้ พึ่งพาตัวเองไม่ได้ ขาดภูมิคุ้มกัน มันก็ มีความเสี่ยง ตรงนี้มันจะลิงค์กัน ใช้ได้หมด หลักเศรษฐกิจพอ เพียงเกี่ยวข้องกับทุกเรื่อง”

อะไรไม่สู้รู้วิชา รู้รักษาเอาตัวรอดเป็นยอดดี แม้จะเหมือนกับ ศรีธนนชัย แต่ไม่ใช่ รู้รักษาเอาตัวรอดหมายความว่าน�ำความรู้ ไปสู่เชิงปฏิบัติ เพื่อให้การปฏิบัตินั้นบรรลุถึงเป้าหมาย นี่คือข้อ ที่หนึ่งเรื่องความรู้ ข้อที่ 2 คือ รู้คุณคน กตัญญูกตเวทีต่อบิดามารดา ต่อ ครูอาจารย์ ต่อผู้มีพระคุณ อันนี้ลืมไม่ได้ เรามีความรู้แล้ว เรา สามารถเอาความรู้ไปท�ำงานได้ นั่นเป็นภาคที่ 1 ภาคที่ 2 เรา ต้องรู้จักผู้มีบุญคุณต่อเรา พ่อแม่ ครูอาจารย์หรือใครก็ตามที่มี พระคุณต่อเรา รู้จักตอบแทนคุณ ถ้ า เราท� ำ ได้ 2 อย่ า ง รู ้ ป ระเด็ น แรกกั บ รู ้ ป ระเด็ น ที่ สอง ชีวิตจะตกน�้ำไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้แล้วก็จะมีแต่ความเจริญ ก้าวหน้า” พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง กล่าวทิ้งท้าย

ฝากถึ ง เยาวชน : รู ้ จั ก หาความรู ้ รู ้ คุ ณ คน “มีอยู่ 2 ประเด็นนะ ประเด็นแรกก็คือ อย่าให้ความ รู้เดินมาหาเราอย่างเดียว เราต้องเดินไปหาความรู้ด้วย ความ รู้ก็เหมือนกัน คือ รู้อะไรไม่สู้รู้วิชา ฉะนั้นเราอาจจะรู้ในเชิง ทฤษฎี แต่เราต้องรู้ในเชิงปฏิบัติด้วย ฉะนั้น จึงตามมาด้วยรู้ 37 issue 105 october 2016


ปฏิบัติการชุมชนรักษ์น�้ำตามแนวพระราชด�ำริ

38 IS AM ARE www.fosef.org


Cartoon

39 issue 105 october 2016


เรื่องราวดี ๆ

เที่ยวถิ่นปราชญ์ ชุมชนตรอกข้าวเม่า

อนุชา เกื้อจรู ญ

ปราชญ์ ท ่ า นนี้ ไ ด้ เ ล็ ง เห็ น ถึ ง ความส� ำ คั ญ ของการด� ำ เนิ น ชี วิ ต ตามวิ ถี ดั้ ง เดิ ม ของชุ ม ชนตรอกข้ า วเม่ า ที่ นั บ วั น จะสู ญ หายไปตามกาลเวลา จึ ง ได้ คิ ด อนุ รั ก ษ์ เ ก็ บ รวบรวมข้ อ มู ล ข้ า วของเครื่ อ งใช้ แ ละอุ ป กรณ์ โบราณต่ า งๆ มาจั ด ตั้ ง เป็ น พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ เ พื่ อ ให้ ค นรุ ่ น หลั ง ได้ ศึ ก ษาและเรี ย นรู ้ เ รื่ อ งราวความเป็ น มา ของชาวชุ ม ชนตรอกข้ า วเม่ า เขตบางกอกน้ อ ย จั ง หวั ด กรุ ง เทพมหานคร

40 IS AM ARE www.fosef.org


41 issue 105 october 2016


สงสัยและอยากรู้ว่ารากเหง้าของบรรพบุรุษตัวเองท�ำไมถึงท�ำ ข้าวเม่า ทั้งที่สภาพแวดล้อมของชุมชนมีแต่สวน และมีคนมา ถามเสมอถึงความเป็นมาภายในชุมชน เป็นแรงผลักดันให้อนุชา มีความคิดว่าน่าจะท�ำเป็นพิพิธภัณฑ์ขึ้นมา เพราะการอธิบาย ด้วยปากเปล่าไม่สามารถนึกภาพออก “เดี๋ ย วนี้ เ ด็ ก รุ ่ น ใหม่ ที่ เ กิ ด ขึ้ น มา คนที่ อ พยพมาอยู ่ ตรอกข้าวเม่าไม่รู้ที่มาที่ไปว่าท�ำไมถึงเป็นชุมชนตรอกข้าวเม่า เพราะไม่เห็น นักศึกษา นักเรียนทุกระดับชั้น มาศึกษาดูงาน ที่นี่ เขาก็ไม่รู้ว่าท�ำไมถึงชื่อนี้ พอเราอธิบายเขาก็นึกภาพไม่ ออก ทีนี้หลักฐานทางอาชีพต่างๆ ยังถูกปล่อยทิ้งอยู่ตามบ้าน มากมายน่าจะเอามาจัดแสดง เพื่อเวลาเราบรรยายเขาจะได้ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช เห็นของจริงและนึกภาพได้ เกิดความเข้าใจ จึงเกิดความคิด ปัจจุบันตั้งแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเรือพระราช ว่าน่าจะเก็บของมาท�ำพิพิธภัณฑ์” พิธี ใช้ร่วมในกระบวนพยุหยาตราชลมารค เพื่อเชิญผ้ากฐินตั้งแต่ รัชกาลที่ 4 เรือพระที่นั่งองค์นี้ก็ได้ใช้ร่วมพระราชพิธีแล้ว ตาม ความเป็ น มาของชุ ม ชน หลักฐานรูปถ่ายนี้หน้าวัดสุวรรณาราม อนุชาเริ่มสืบค้นหาหลักฐานและเก็บรวบรวมข้อมูล ข้าว ของเครื่องใช้อุปกรณ์ในการท�ำข้าวเม่าที่พอหลงเหลืออยู่ภายใน ชุมชนมาจัดแสดงให้ผู้สนใจได้ศึกษาและเรียนรู้ที่มาที่ไปของ ชุมชน โดยใช้พื้นที่ชั้นล่างของศาลาการเปรียญวัดสุทธาวาสมา จัดท�ำเป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นชุมชนตรอกข้าวเม่า ป ั จ จุ บั น ค น รุ ่ น ใ ห ม ่ ไ ม ่ ค ่ อ ย ใ ห ้ ค ว า ม ส น ใ จ ใ น ภู มิ ป ั ญ ญาท้ อ งถิ่ น ที่ เ ป็ น รากเหง้ า ของบรรพบุ รุ ษ ท� ำ ให้ วั ฒ นธรรมประเพณี ที่ ดี ง ามของชุ ม ชนค่ อ ยๆ เลื อ นหายเพราะถู ก ละเลย ดั ง นั้ น การที่ เ ราจั ด ท� ำ พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ แ ห่ ง นี้ ขึ้ น มาก็ เ พื่ อ บอกเล่ า เรื่ อ งราวต่ า งๆ ที่ แ ฝงอยู ่ โ ดยรอบชุ ม ชนว่ า มี ค วามเป็ น มาอย่ า งไร เพื่ อ ให้ เ กิ ด การซึ ม ซั บ และช่ ว ยกั น สื บ สานต่ อ ไป “ชุมชนตรอกข้าวเม่าเป็นชุมชนดั้งเดิมที่มีมาตั้งแต่ สมั ย กรุ ง ธนบุ รี ต ามหลั ก ฐานทางประวั ติ ศ าสตร์ ก ารกอบ กู ้ เ อกราชหลั ง เสี ย กรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยาครั้ ง ที่ 2 สมเด็ จ พระเจ้ า กรุงธนบุรี (เจ้าตาก) ทรงใช้เส้นทางผ่านบ้านข้าวเม่าในเขต จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้น�ำข้าวเม่ามาเป็นเสบียงเพราะ แค่พรมน�้ำก็ท�ำให้นิ่มเป็นอาหารได้ สันนิฐานกันว่าชาวบ้าน ข้าวเม่าคงจะตามกองทัพมาในคราวนั้นด้วย แม้จะอพยพ มาอยู ่ ที่ ใ หม่ แ ล้ ว ก็ ไ ม่ ทิ้ ง ภู มิ ป ั ญ ญาท้ อ งถิ่ น เดิ ม ก็ คื อ การท� ำ ข้าวเม่า ยังคงน�ำมาประกอบเป็นอาชีพ โดยสั่งข้าวเปลือกมา จากจังหวัดพระนครศรีอยุธยา แต่ปัจจุบันชาวบ้านในชุมชน ได้เลิกท�ำข้าวเม่าแล้ว เพราะขั้นตอนยุ่งยากและค่านิยมการ

วิ ถี แ ห่ ง ปราชญ์ อนุชา เกื้อจรูญ เป็นชาวชุมชนตรอกข้าวเม่าโดยก�ำเนิด ในอดีตชุมชนนี้เรียกกันว่า “บ้านสวน” เพราะในระแวกบ้านมี สวนผลไม้หลายชนิด แต่คนต่างถิ่นมักเรียกว่า “บ้านข้าวเม่า” เพราะชาวบ้านแทบทุกหลังคาเรือนท�ำข้าวเม่าเป็นอาชีพ เช่น ข้าวเม่าดิบ ข้าวเม่าราง ส่งขายตลาดท่าเตียน แต่ชาวบ้านใน ชุมชนนี้หยุดท�ำข้าวเม่ามากว่า 50 ปีแล้ว เปลี่ยนมาท�ำกระยา สารท กะละแม ข้าวเหนียวแดงและผลไม้กวนแทน ด้วยความ 42

IS AM ARE www.fosef.org


ความเจริ ญ ของชนชาติ เ รานั้ น ของโบราณที่ เ ป็ น โ บ ร า ณ วั ต ถุ ต ่ า ง ๆ มั น เ ป ็ น เ รื่ อ ง บ อ ก ถึ ง จิ ต ใ จ ของบรรพบุ รุ ษ เรา เรื่ อ งนี้ ก็ ส� ำ คั ญ เพราะฉะนั้ น วั ฒ นธรรมมั น บอกถึ ง ความเป็ น ชาติ

กินขนมของเด็กเปลี่ยนไป ด้วยเหตุนี้ผมจึงอยากจะอนุรักษ์วิถี ท้องถิ่นเหล่านี้ไว้เพื่อให้คนรุ่นหลังได้รู้จักที่มาที่ไปของชุมชน ที่ตัวเองอาศัยอยู่ โดยท�ำเป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน ภายในจัด แสดงนิทรรศการเชื่อมโยงกับข้อมูลประวัติศาสตร์และมรดก ทางวัฒนธรรม รวมทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นในการท�ำอาหารและ งานช่างฝีมือ จ�ำลองวิถีการด�ำเนินชีวิตของชุมชนพร้อมบอก เล่าถึงประวัติความเป็นมา”

ตอนหลั ง ในเมื่ อ บ้ า นมั น หนาแน่ น ขึ้ น ระเบี ย บ กรุ ง เทพมหานครว่ า ด้ ว ยสิ่ ง แวดล้ อ ม การที่ จ ะท� ำ ขนมอะไร ต่างๆ ถ้าควันไฟไปรบกวนข้างบ้าน อย่างบ้านที่รางข้าวเม่าบ้าน สุดท้ายก็เป็นพื้นที่ที่เป็นญาติพี่น้องกันนะ พอพ่อแม่แบ่งไปแล้ว สาเหตุ ที่ ข ้ า วเม่ า หายไป “หนึ่งเลย สภาพแวดล้อมน�้ำท่าไม่ค่อยดี ใช้คนเยอะ ฝ่ายอีกบ้านซึ่งเป็นพี่น้องกันเขาไม่ท�ำข้าวเม่า เขาก็ปลูกบ้านขึ้น แล้วก็ค่านิยมการกินขนมไทยของคนรุ่นใหม่ช่วงที่ผ่านมาลด มาใหม่ ควันไฟก็จะไปจับบ้านเขา ก็เกิดการร้องเรียน ซึ่งขัดกับ ความนิยมลง อีกอย่างคือ บ้านและชุมชนหนาแน่นขึ้น มีการ ระเบียบกรุงเทพมหานคร มันก็ต้องเลิกไปโดยปริยาย” ขายที่ขยับขยายเปลี่ยนมือ พื้นที่ของชุมชนนี้อยู่ติดท�ำเลใกล้ สถานีรถไฟบางกอกน้อย ชุมชนเรามีการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่มี พิ พิ ธ พภั ณ ฑ์ ที่ ค นในชุ ม ชนร่ ว มกั น สร้ า ง “วัดเราเป็นวัดราษฎ์ (วัดสุทธาวาส) การจดบันทึกเรื่อง สถานีรถไฟบางกอกน้อยสมัยรัชกาลที่ 5 คนภาคใต้ก็เข้ามา ตอน หลังมีถนนหนทาง มีสถานีขนส่งสายใต้อยู่ตรงสามแยกไฟฉาย ราวของวัดก็ไปคนละทางสองทาง ก็เป็นจุดหนึ่งที่คิดว่าเราต้อง ยังมีคนสุพรรณเข้ามาอยู่ในบางกอกน้อย แล้วเราอยู่ตรงจุดนี้ ท�ำเรื่องของวัดด้วยนะเพราะมันเป็นชุมชน ก็พยายามเก็บข้าว ก็เห็นคนต่างถิ่นอพยพมาอาศัย จะเห็นในบางกอกน้อยมีร้าน ของต่างๆ ที่พอจะหลงเหลือ ต้องคุยกับเจ้าอาวาสว่าของบาง อาหารใต้ที่ส�ำคัญแถวถนนพรานนก ชุมชนก็เริ่มขยาย แค่หนึ่ง อย่างต้องขอเก็บไว้ บางอย่างท่านอาจจะยังไม่ไว้ใจให้ลงมาก็ กิโลเมตรเราก็ข้ามน�้ำไปฝั่งพระนครได้แล้ว เรายังอยู่ใกล้ศิริราช มี อันไหนน่าเก็บเราก็เก็บ พร้อมกับค้นหาประวัติศาสตร์ความ โรงพยาบาล ซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ พื้นที่ เป็นมาของวัดเราเอามาจัดพิพิธภัณฑ์ พอมาใช้ห้องนี้ (ชั้นล่างของศาลาการเปรียญวัด) มัน ของเราจึงขยาย 43 issue 105 october 2016


กว้างมาก พอเรามาจัดก็ดูโหลงเหลง เลย บอกชาวบ้ า นว่ า จะท� ำ พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ถ้ า มี อะไรเอามาบริจาคให้พิพิธภัณฑ์นะ เป็น ส่วนกลาง เพื่อให้ลูกหลานหรือคนทั่วไป ได้ ศึ ก ษาเรี ย นรู ้ ชาวบ้ า นก็ เ ห็ น ดี เ ห็ น งามด้วย แต่ชาวบ้านก็ยังไม่รู้นะว่าอะไร คือพิพิธภัณฑ์ อะไรคือของที่จะมอบให้ พิพิธภัณฑ์ เราก็ เ ลยหาทุ น ออกเงิ น ตั ว เอง แล้วก็มีบางท่านที่เห็นดีเห็นงามกับเราพา ชาวบ้านไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์หลายที่ เอา พระไปด้วย เพราะเราจะสร้างที่วัด เรา จะท�ำพิพิธภัณฑ์บ้านกับวัด เราก็พาไปดู พิพิธภัณฑ์ที่อยู่ในวัด ที่เป็นเรื่องของบ้าน กับวัด ที่แรกวัดบางอ้อยช้าง นนทบุรี เป็น พิพิธภัณฑ์ที่เป็นบ้านอยู่ในวัด พระเป็น คนท�ำนะ แล้วก็มีชาวบ้านร่วมด้วย ไปวัด เขายี่สารอันนั้นเป็นวิชาการหน่อยเพราะ ว่าอาจารย์เป็นคนท�ำ พาไปบ้านอาจารย์ เอนก นาวิกมูล บ้านพิพิธภัณฑ์ ชาวบ้านไปเห็นของต่างๆ อันนี้ ฉันก็มี อันนั้นฉันก็มี เดี๋ยวกลับไปฉันจะ ให้ เ ธอ เราก็ พู ด อธิ บ ายให้ เขาเข้ า ใจว่ า ของเหล่านี้ลูกหลานอาจจะได้เห็นความ ส� ำ คั ญ ในอนาคตมากกว่ า เอาไว้ ที่ บ ้ า น พอได้ของมาเราก็มาคิดว่าเราจะจัดแสดง การเรียนรู้เรื่องอะไร ฉะนั้นของในที่นี้ไม่ ได้ซื้อเลย”

ประโยชน์ ต ่ อ ส่ ว นรวม แรงบั น ดาลใจเกิ ด จากความ ต้ อ งการสะท้ อ นวิ ถี ชี วิ ต ดั้ ง เดิ ม ที่ อ นุ ช า ผู ก พั น มาตั้ ง แต่ เ ด็ ก เพื่ อ น� ำ มาเผยแพร่ ให้คนในชุมชนได้เข้าใจความเป็นตัวตน และอัตลักษณ์ของชุมชนตรอกข้าวเม่า อย่างถูกต้อง “ปั จ จุ บั น คนรุ ่ น ใหม่ ไ ม่ ค ่ อ ย ให้ ค วามสนใจในภู มิ ป ั ญ ญาท้ อ งถิ่ น ที่ เ ป็ น รากเหง้ า ของบรรพบุ รุ ษ ท� ำ ให้ วัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามของชุมชน ค่อยๆ เลือนหายเพราะถูกละเลย ดัง นั้นการที่เราจัดท�ำพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ขึ้น มาก็เพื่อบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ที่แฝง อยู ่ โ ดยรอบชุ ม ชนว่ า มี ค วามเป็ น มา อย่างไรเพื่อให้เกิดการซึมซับและช่วย กันสืบสานต่อไป”

44 IS AM ARE www.fosef.org

อนุ ช ามี ค วามมุ ่ ง มั่ น และตั้ ง ใจ ถ่ า ยทอดองค์ ค วามรู ้ ใ ห้ กั บคนในชุ ม ชน และผู ้ ที่ ส นใจทั้ ง นั ก เรี ย น นั ก ศึ ก ษา รวมไปถึ ง นั ก ท่ อ งเที่ ย วที่ ม าเยี่ ย มเยื อ น ชุ ม ชนตรอกข้ า วเม่ า เป็ น วิ ท ยากรน� ำ ชมพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ แ ละจั ด กิ จ กรรมสาธิ ต การท� ำ ขนมไทยแบบโบราณตามต� ำ รั บ ดั้งเดิม เช่น กะละแม ข้าวเม่าหมี่ เป็นต้น ชุ ม ชนตรอกข้ า วเม่ า ได้ รั บ การคั ด เลื อ ก ให้เป็น 30 ชุมชนตัวอย่างตามโครงการ ชุมชนเข้มแข็งสร้างกรุงเทพฯ ยั่งยืน ปี 2557 “ความเจริญของชนชาติเรานั้น ของโบราณที่เป็นโบราณวัตถุต่างๆ มัน เป็นเรื่องบอกถึงจิตใจของบรรพบุรุษเรา เรื่องนี้ก็ส�ำคัญ เพราะฉะนั้นวัฒนธรรม มันบอกถึงความเป็นชาติ อยากจะให้ เด็กๆ คิดดีๆ ให้นึกถึงค�ำพูดอยู่ในเรื่อง ขุนเดชนะที่เขียนมีอยู่ค�ำหนึ่งว่า ‘ไม่มี ราก ไม่มีเหง้า ไม่มีเรา’ ตรงนี้ส�ำคัญ อีก อันหนึ่งก็คือ อนาคตจะพัฒนาได้ไง ถ้า ไม่เอาอดีตมาใคร่ครวญ” ปราชญ์ ชุมชน ตรอกข้าวเม่า กล่าวทิ้งท้าย ติ ด ต่ อ 637 ซอยอิ ส รภาพ 47 ถนนอิสรภาพ แขวงบ้านช่างหล่อ เขต บางกอกน้อย จังหวัดกรุงเทพมหานคร โทร.08-5561-3910 เฟสบุ๊ค : ข้าวเม่ามิวเซียม


45 issue 105 october 2016


บทเรียนชีวิตจริง : น�้ำ ลัง ตังค์ ร้อย ตอนที่ 1 แรงบันดาลใจ

ความสุ ข ที่ ไ ด้ รู ้ ความสุ ข ที่ ไ ด้ ม า มาที่ นี่ . .. เริ่มที่พี่ชายคนนี้ พี่ณัฐเสกข์ น้อยสมบูรณ์ พี่ไปชวนกัลฯ (กัลฯ : กัลยาณีศรีธรรมราช) ชาวกัลฯ นักเรียน 10 ครู 2 พี่ขับ รถ 1 คน ชวนครูเพ็ญ สาธิต มรภ.นศ.พี่สาวชาวกัลฯ 30 มีนาคม 2559 ร่วมเดินทางสู่กิจกรรมค่าย Friend’ s Camp @ Bangkok โรงเรียนสตรีวิทยา กรุงเทพฯ ปั ่ น ชมเมื อ งหลวง 31 มีนาคม 2559 น้องกัลฯ ชวนกันปั่นจักรยานจาก โรงเรียนสตรีวิทยาไปพระราชวังสวนจิตรลดา..สุขไม่รู้ลืม เล่า ไม่รู้จบ พี่พิม สาวใต้เมืองลิกอร์ คอนเฟิร์ม..

ครูใต้ เจอครู 4 ภูมิภาค ร่วม 3ช คอเดียวกัน ชม ชิม ช๊อป สินค้า พ่อหลวงวังสวนจิตรลดา ชวนกัน ซื้อฝากกลับ กัลฯ

46 IS AM ARE www.fosef.org


ภาพเล่ า เรื่ อ ง

คบปราชญ์ ผู ้ ร อบรู ้ . . 1 – 2 เมษายน 2559 โชคดี เจอครูดี ผู้ใหญ่ ใจดีรอบรู้เรื่อง “พอเพียงอย่างพอดี” ชวนกันให้ ท�ำดี กัลฯ จะร่วมท�ำดี “มีส่วนร่วมเพื่อส่วนรวม” เพราะเราต่างเป็นก�ำลังส�ำคัญของบ้านเมือง

พอดีและมีพอ เพื่อพ่อ เพื่อทุกคน ชวนกัลฯ ท�ำดีเพื่อกัลฯ และกัน ครูใต้เมืองลิกอร์.. สควค. สอน IS IS3 การน�ำองค์ความรู้ไปใช้บริการสังคม ศูนย์ครอบครัวพอเพียงโรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช ก้ า วสู ่ ป ี ที่ 2 พี่ อ ริ ย สิ ริ พิ พั ฒ น์ น รา พี่ มุ ก พี่ ส าวใจดี มาเยี่ ย มชาวกั ล ฯ ให้ โอกาสครอบครั ว กั ล ฯ ได้ ฟ ั ง สิ่ ง ดี “ปลุ ก จิ ต ส� ำ นึ ก ต่ อ ต้ า นการทุ จ ริ ต คอร์รัปชัน” NEW GEN SO GOOD 5 ครอบครัว พอเพียง คมความคิ ด 10 ปราชญ์ ช าวกั ล ฯ สอนกัลฯ ร่มจันกัลยาณีเรียนรู้ร่วมกัน ให้รักกัน อยู่กันด้วยความรัก 47 issue 105 october 2016


ไม่ มี สิ่ ง ใดส� ำ คั ญ เท่ า กั บ งานสอน : พอเพี ย งใน งานสอน IS3 : 4 พยางค์ น�้ ำ ลั ง ตั ง ค์ ร้ อ ย ส่ ง เสริ ม ทั ก ษะการคิ ด ภารกิจใหญ่ยิ่ง การจัดการเรียนรู้ให้พี่กัลฯ พี่คน โตเรียนรู้ด้วยตนเอง น�ำองค์ความรู้สู่สังคม อย่างพอดี มี ความปลอดภัย มีความสุข รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง มีคุณธรรม มีเหตุผล เป็นแบบอย่างให้น้อง พร้อมๆ กับ การพั ฒ นาตนให้ มี คุ ณ ลั ก ษณะอั น พึ ง ประสงค์ ครบ 8 ประการ คือ 1) รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2) ซื่อสัตย์สุจริต 3) มีวินัย 4) ใฝ่เรียนรู้ 5) อยู่อย่างพอเพียง 6) มุ่งมั่นใน การท�ำงาน 7) รักความเป็นไทย และ 8) มีจิตสาธารณะ ก่อเกิดกิจกรรม น�้ำ ลัง ตังค์ ร้อย ครอบครัวพอเพียง อยู่ ด้วยความรัก 100%

4 พยางค์ : ส่ ง เสริ ม ทั ก ษะการคิ ด การคิดที่ใช้ในการสื่อสาร ฟังพูดอ่านเขียน การคิดที่เป็นแกน 18 ทักษะ การคิดขั้นสูง : การคิดที่ซับซ้อน 18 ทักษะ ลักษณะการคิด 9 ลักษณะ ทักษะกระบวนการคิด 6 ทักษะ จากพยางค์เป็นค�ำ จากค�ำเป็นประโยค จากประโยค เป็น Content สู่ concept ร้อยเรียงเป็นกาพย์กลอน สอนกวี ยุวกวีศรีปราชญ์ …น้องกัลฯ ชวนกันเรียนรู้ด้วยตนเอง Constructionism พอเพี ย ง แนวทางกั ล ฯ สร้ า งกั ล ฯ สู ่ NEW GEN KANLAYANEE บูรณาการกับ 5 กิจกรรมถูกต้องถูกใจในโรงเรียน อันประกอบด้วย คือ 1) ส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการ 2) ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ 3) กิจกรรม เพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ 4) หน้าที่พลเมือง และ 5) รายวิชา IS3 กลุ่ม วิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง Independent Studyตามหลักสูตรโรงเรีย นมาตรฐานสากล

48 IS AM ARE www.fosef.org


ภารกิ จ /เป้ า หมาย ครอบครั ว พอเพี ย ง ร้ อ ยรั ก สามั ค คี ร่ ว มเรี ย นรู ้ อยู ่ ด ้ ว ยความรั ก 100% เพื่ อ กั ล ฯ และกั น น�้ำ >>> น�้ำค�ำ น�้ำใจ ท�ำอะไรเอาใจท�ำ มีอีกหลายค�ำ น�้ำ ท�ำให้ พัฒนา 9 ลักษณะการคิด : คิดคล่อง คิดหลากหลาย คิด ละเอียด คิดชัดเจน คิดอย่างมีเหตุผล คิดถูกทาง คิดกว้าง คิด ไกล และคิดลึกซึ้ง ลัง >>> ใจใส่ลงั ของขวัญสูน่ อ้ ง ใช้ 6 ทักษะกระบวนการ คิด เช่นคิดอย่างมีวิจารณญาณ คุณค่าที่แท้จริงของสิ่งที่ให้ ให้ ด้วยความรัก ให้ด้วยใจ ผู้ให้มีความรัก ผู้รับมีความสุข เราจึง สุขร่วมกัน ตังค์ >>> ตังค์ คือ เงิน เงินได้จากท�ำงาน งานเท่ากับ ระยะทางคูณด้วยเวลา การใช้เวลาที่คุ้มค่า โลกให้เวลาเท่ากัน ยุติธรรมทุกคน อยู่ที่ตนจะใช้เวลาอย่างไร ท�ำให้เกิดเงิน ตังค์ จึงต้องใช้ 18 ทักษะการคิดที่เป็นแกน 18 ทักษะ การคิดที่ซับซ้อน 6 ทักษะกระบวนการคิด เช่น กระบวนการวิจัย ท�ำอย่างไร พอเพียงอย่างไทย คนไทยอยู่ได้อย่างพอดี มีพอ มีสุข

นายกิตติพงศ์ สุคนธปฏิภาค เพราะตนเป็นที่พึ่งแห่งตน เรียนรู้ด้วยตน พัฒนาตน สู่ ความเป็นเลิศ หาตังค์เพื่อตน เพื่อครอบครัวที่เรารัก เพื่อสาน ฝัน..อุดมการณ์ของครอบครัวพอเพียง...# ไม่มีส่วนไหนส�ำคัญ เท่าส่วนร่วม เมื่อส่วนรวมพ้นทุกข์ เราจะสุขร่วมกัน #สอดคล้อง กับอุดมการณ์ของโรงเรียน เรียนดี ฝีมือเยี่ยม เปี่ยมคุณธรรม น�ำสังคม ร้อย : ตัวเลข 100 ตัวเลขต้องมีหน่วย ก�ำกับ เช่น 1: 100 ; 1 คน 100 บาท 1 ครอบครัว อยู่ด้วยความรัก 100 % ร้อย ที่เป็นภาษาไทย ร้อยรัก ร้อยสามัคคี ร้อยดวงใจ ร้อยอะไร ได้อีกหลายร้อยค�ำ น�ำค�ำว่า “ร้อย” มาเรียงร้อย ใช้ 4 ทักษะ การคิดที่ใช้ในการสื่อสาร ฟัง พูด อ่าน เขียน ชาว ขาว – น�้ำเงิน สะท้อนคมความคิดเพื่อสร้างสรรค์สังคม ยุวกวีศรีปราชญ์ กัลยาณีศรีธรรมราช คุณค่าแห่งลูกนางฟ้า >>> ความเจริญรุ่งเรืองของโรงเรียน “ผมไม่ มี สิ่ ง ใดที่ เ หนื อ กว่ า ผู ้ อื่ น ...แต่ ทุ ก วั น คื น ผมไม่ ล ะทิ้ ง ความพยายามในการท� ำ ความดี ” นายกิตติพงศ์ สุคนธปฏิภาค พี่กีตาร์ นักเรียนรางวัลพระราชทานคนที่ 7 ปีการ ศึกษา 2558 โดย ครูสอน IS ศูนย์ครอบครัวพอเพียงโรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช นางสาวรุ่งทิพ จันทร์มุณี ข้าราชการครูทุน สควค. รุ่นที่ 5

49 issue 105 october 2016


Let’s Talk

มุมมอง วิธีคิด และประสบการณ์ของวิศวกรการบินไทย ผู้อ�ำนวยการ ฝ่ายซ่อมใหญ่เครื่องยนต์อากาศยาน รณชัย วงศ์ชะอุ่ม (MN) ฝ่ายช่าง บริษัท การบินไทย จ�ำกัด (มหาชน) ผมเป็ น คน ธนบุ รี เกิ ด โรงพยาบาลศิ ริ ร าช พ่ อ ผมพั น เอก เสน่ ห ์ วงศ์ ช ะอุ ่ ม เป็ น อาจารย์ อ ยู ่ โรงเรี ย นนายร้ อ ย บ้ า นอยู ่ แ ถวสะพานมั ฆ วาน คุ ณ แม่ เ ป็ น ทหารอยู ่ โ รงเรี ย นแผนที่ มี พี่ น ้ อ งห้ า คน ผมเป็ น คนที่ สี่ คนที่ ส ามคื อ พี่ ช าย นอกนั้ น พี่ น ้ อ งผู ้ ห ญิ ง หมด พี่ น ้ อ งผู ้ ห ญิ ง ของผมสามคนท� ำ งาน สายสื่ อ สิ่ ง พิ ม พ์ โรงพิ ม พ์ สายหนั ง สื อ แปลหนั ง สื อ หมดเลย ผมกั บ พี่ ช ายเข้ า เตรี ย มทหาร พี่ ช ายผมปี นี้ ไ ด้ รั บ แต่ ง ตั้ ง เเป็ น ผบ.กองพลทหารราบที่ 6 เขาเตรี ย มทหารรุ ่ น 21 ผมรุ ่ น 23 ห่ า งกั น 2 ปี ตามเกณฑ์

50 IS AM ARE www.fosef.org


51 issue 105 october 2016


แต่ลายมือไม่สวยมันก็แค่เสียคะแนนวิชาคัดลายมือ แต่ถ้าพูดถึง ไวยากรณ์ พูดถึงการใช้ภาษาผมท�ำได้ แล้วผมชอบวิชาย่อความ และเรียงความมาก จะท�ำได้ดี คือเขาให้ท�ำการบ้านไปส่ง ตอน เด็กๆ เวลาเขียนเรียงความ เวลาไปส่งวางบนโต๊ะเราวางกันยังไง เราวางไว้ข้างล่างเพราะเรากลัวถูกวิจารณ์ใช่ไหม แต่ผมไม่เป็น อย่างนั้น ใครมาวางทับผม ผมจะหยิบออกแล้วเอาของผมวาง ไว้ข้างบน (หัวเราะ) แล้วผมบอกครูอย่าอ่านขอผมอ่านให้ฟัง เพราะว่าถ้าครูอ่านครูจะเสียอารมณ์เพราะลายมือไม่สวย กลัว ครูไม่ดูเนื้อหาไง แต่อยากให้มาเถียงกันเรื่องเนื้อหามากกว่า คือ ผมไม่ได้ชอบวิชาภาษาไทยแต่ผมท�ำงานภาษาไทยได้ดี ยกเว้น ลายมือ เวลามีโอกาสไปงานศิษย์เก่าโรงเรียนราชวินิตผมยังแอบ โชว์ประกาศนียบัตรเลย คือโรงเรียนราชวินิตจะมีทุนใหญ่ คือ ต้องได้ที่หนึ่งของรุ่น จะได้รับพระราชทานจากในหลวง แต่ก็ รางวัลมีย่อยๆ ว่าแต่ละเทอมที่สอบกัน ใครได้วิชาใดสูงสุดใน รุ่นในชั้น ซึ่งเขาจะไปแจกรางวัลตอนวันประชุมผู้ปกครอง ผมก็ เก็บหมดทุกวิชาทุกปี ภาษาไทยผมก็ได้ ใครๆ ก็ยังถามเลยว่า เห็นไม่ชอบแต่ท�ำไมได้ ผมบอกผมไม่ได้ชอบภาษาไทย เพราะ ผมร�ำคาญการเขียน แต่ผมท�ำได้ดี วิชาร้องเพลง นาฏศิลป์ ครูไม่เห็นสอนให้ร้องเพลงเท่าไร เป็ น เด็ ก ชอบเรี ย นหนั ง สื อ และคิ ด นอกกรอบ แต่ครูให้จดเนื้ออยู่นั่นแหละ แล้วให้คะแนนด้วยการให้เอาสมุด ในวัยเด็กผมไม่เคยโดนพ่อตี จะให้เถียงได้ ใช้เหตุผล ไปส่งว่าเนื้อเพลงครบรึเปล่า มันถูกตัดสินด้วยสิ่งที่ไม่ใช่ความ แล้วผมเป็นคนลายมือไม่สวย ครูยังบ่นจนปัจุบัน อาจเพราะใน ถูกต้อง แต่สุดท้ายแล้วเนื้อหาและเป้าหมายของการเรียนใน กรอบความคิดของคนส่วนใหญ่คนลายมือสวยถึงจะเรียนเก่ง แต่ แต่ละวิชาที่มันส�ำคัญเราต้องตีโจทย์ให้ออกแล้วตั้งใจเรียนใน พ่อผมบอกแล้วมันเกี่ยวอะไรกับสมอง พ่อบอกว่าลายมือไม่สวย ห้องให้เต็มที่ นอกห้องเรียนก็เล่นมากๆ ไม่มาตั้งใจอ่านหนังสือ เพราะมีความคิดเร็วกว่ามือ ก็เหมือนอวยกัน พอผมโตมาอะไร นอกเวลาเรียนเท่าไร แล้วผมก็มีอารมณ์ชอบ หรือหลงใหลใน ที่เป็นคอมพิวเตอร์ผมจะเร็วกว่าคนอื่น เพราะเหมือนมีปมด้อย บริบทของการเรียนของการอยากรู้อยากเห็นอยากถามอยาก อะไรที่ไม่ต้องเขียนผมก็จะโดดเข้าใช้มัน ฟัง เหมือนคนกินเหล้า ที่บอกว่า “ไม่ได้ชอบรสชาติของเหล้า ที่จริงแล้วเรื่องลายมือมันก็ต้องสวย แต่ผมไม่สวยไป แต่ชอบบรรยากาศของการกินเหล้า” (โกวเล้ง) แล้ว จะฝากเตือนคุณครูสมัยนี้ว่า สมมุติเราสอนเลข แล้วเรา ไปให้ความส�ำคัญกับการลอกโจทย์แต่เราไม่ให้ความส�ำคัญกับ วิธีคิดของเด็ก แล้วโจทย์เด็กเขียนไม่สวย โดนดุมากๆ เด็กอาจ เกลียดวิชาเลขและเสียโอกาสไป เผื่อเด็กคิดได้ดี ได้เร็ว กว่าครู ล่ะ ตัวอย่างผมชอบท�ำโจทย์เลขมาก แต่ความรู้สึกผมจะร�ำคาญ ที่ให้ผมลอกโจทย์ท�ำไม ให้ผมท�ำเลขเยอะๆ ดีกว่า ให้ผมได้เห็น ได้อ่านเห็นโจทย์ยากๆ เยอะ แล้วช่วยกันคิด น่าจะดีกว่า แบบนี้ ตอนเด็กๆ ผมชอบวิชาเลขคณิตคิดในใจมาก เวลาสอบ จะท�ำได้ ดีมากเพราะไม่มีเรื่องลายมือมาตัดสินเลย ผมมีวิชาที่ชอบกับวิชาที่ท�ำได้ดีเสมอ ผมลายมือไม่ดี แต่ได้ประกาศนียบัตรเป็นเด็กที่วิชาภาษาไทยดี สอบผมก็ท�ำได้ 52 IS AM ARE www.fosef.org


เรียนก็เหมือนกัน ถ้าเราจะเรียนเก่ง ความร�ำคาญที่ครู ชอบว่าเรื่องลายมือเราก็ตัดออกไป แต่เราชอบความสนุก ความ ท้าทาย การที่คิดแย้งกับครู สนุกจะตาย ราชวินิตสอนให้ผมรัก การเรียน คุณครูจะน่ารักท�ำให้บรรยากาศในห้องสนุก ไม่ได้รัก ในการขยันทบทวนนอกเวลา เพราะมันจะเรียนได้ดีตอนเด็กๆ สังเกตไหม แต่พอขึ้น ป.5 เราก็จะรู้สึกช็อคว่า บรรยากาศมัน เปลี่ยนไป มันไม่สนุกเหมือนเดิม เพราะผมเรียนโรงเรียนราชวินิต ตั้งแต่อนุบาล แล้วพอผมไปเข้ามัธยมที่โรงเรียนปานะพันธ์วิทยา ใน พระบรมราชูปถัมป์ ผมรู้สึกสนุกกับการเรียนมากเลย จิตพื้น ฐานมันต้องอยากรู้อยากเห็นก่อน ไม่ใช่เรียนแบบแข่งขัน แข่งขัน มากไป มันเหมือนสกรีนเด็กไปเรื่อยๆ ว่าคุณไม่ดีนะ หรือคุณไม่ ประสบความส�ำเร็จ การเรียนในชีวิตผมจึงไม่มีการแข่งขันอะไร เลย ผมจบ ป.7 แล้วไปเข้าโรงเรียนปานะพันธ์ฯ ไม่ต้องสอบเข้า ด้วย แล้วมีสระว่ายน�้ำ มีสนามบอล 3 สนาม แล้วมันก็เป็นความ สุขมากเลยที่ผมเรียน พอจบ มศ.3 ผมก็เข้าเตรียมทหาร การสอบแข่งขันที่หนักที่สุดครั้งเดียวคือ เข้าเตรียมทหาร ในชีวิตผม ซึ่งไม่ได้เตรียมตัวลักษณะอ่านหนังสือไปสอบ ไม่ใช่ มันเตรียมตัวให้พร้อมตั้งแต่ มัธยม 2 นะ

ผมเลื อ กเครื่ อ งกลเพราะว่ า ถ้ า จบอากาศยานแสดง ว่ า ประตู คุ ณ อาจแคบ คุ ณ จะต้ อ งท� ำ งานเกี่ ย วกั บ เครื่ อ งบิ น อย่ า งเดี ย ว แต่ ถ ้ า คุ ณ จบเครื่ อ งกลคุ ณ ก็ ท� ำ เครื่ อ งบิ น ได้ แ ล้ ว ก็ ท� ำ งานอุ ต สาหกรรมอื่ น ๆ ได้ ด้ ว ย เป็ น ทางเลื อ กที่ เ ปิ ด กว้ า งที่ สุ ด

แค่วิชา เลข กับวิทยาศาสตร์ แล้วก็สอบภาษาอังกฤษ เท่านั้น แต่ โรงเรียนปานะพันธ์ฯ ผมว่าภาษาอังกฤษค่อนข้างดีกว่าโรงเรียน รั ฐ บาล แล้ ว ภาษาอั ง กฤษพื้ น ฐานผมไม่ ค ่ อ ยดี จ ากโรงเรี ย น ระบบการศึ ก ษาต้ อ งสอนให้ เ ด็ ก อยากเรี ย นรู ้ พอผมอยู่มัธยม 2 พี่ชายก็สอบเข้าเตรียมทหารได้ พี่ชาย รัฐบาล ที่ไม่สอนตั้งแต่เด็ก มาเริ่มสอนตอน ป.5 พอมาปานะ เรียนโรงเรียนมัธยมวัดมกุฏกษัตริย์ ก็เห็นเขาเรียนกวดวิชาเสาร์ พันธ์ฯ ก็ดีขึ้นมาก สอบโรงเรียนเตรียมทหารเขาจะมีคะแนน 500 ผมจ�ำ อาทิตย์แต่ไม่ได้เคร่งเครียดเหมือนสมัยนี้นะ ก็ท�ำแบบฝึกหัดแล้ว เขาก็เข้าได้ พอเข้าได้เขาก็ตื่นแต่เช้า หายไป...ตัวผอมเกร็ง เงียบ แม่นเลยว่าตั้งเป้าท�ำให้ได้ 400 คะแนน สถิติบอกว่าติดแน่ๆ ขรึม แต่ทุกคนในครอบครัวดีใจปลาบปลื้ม แล้วผมก็เลยต้องสอบ คะแนนเต็ม คือ เลข 200 วิทยาศาสตร์ 200 ภาษาอังกฤษ 100 เขาเรียกต้องมีวิสัยทัศน์ ตอนนั้นผมไม่รู้ศัพท์นี้หรอก คือเรามโน เข้าให้ได้บ้าง ผมวางแผนเริ่มตั้งแต่มัธยม 2 แล้ว พี่ ช ายผมเขาสอนดี ว่ า ที่ เรี ย นมามั น ไม่ ไ ด้ ส อบตรงๆ ว่าเราอยากเป็นอะไร เราก็มีวิสัยทัศน์ว่าเราต้องได้คะแนนเท่า หรอก ข้อสอบมันจะยากเหนือกว่านั้น ก็คือเอาข้อสอบไปท�ำ มี ไหร่ เหมือนเราแข่งกีฬา เหมือนตีกอล์ฟ ก่อนเราพัทเราต้อง จินตนาการว่าลูกมันลง ก่อนยิงปืนผมต้องจินตนาการว่ายิงโดน ก่อนสอบผมก็จินตนาการว่าผมสอบได้คะแนนเต็มในวิชาเลข และวิทย์ และภาษาอังกฤษ เอาไว้เสริมกรณีไม่ได้เต็ม แต่ไม่ใช่ ว่ามโนฝันไปแต่ไม่ท�ำอะไร คือ ผมศึกษาเอง ไปเรียนกวดวิชา ได้ ข้อสอบเก่าๆ มา ก็มานั่งท�ำซ�้ำๆ ไม่ใช่แค่ท�ำได้แต่ต้องท�ำไว ทุก โจทย์ต้องรู้ว่าท�ำกี่นาทีเสร็จ ผมท�ำตั้งแต่อยู่ มัธยม 2 ผมท�ำทุก วัน สรุปแล้วมันท�ำด้วย Passion (ความคลั่งไคล้) มันไม่ได้ท�ำ ด้วย Job (หน้าที่) มันก็จะได้ดีกว่า แบบมีความสุข ระบบการศึกษาต้องสอนให้เด็กอยากเรียนรู้ อยากแสดง ความคิด ไม่ใช่สร้างแต่เกณฑ์การวัดอย่างเดียว เกณฑ์การวัดให้ ความส�ำคัญได้ แต่คุณจะสร้างยังไงให้คนมีทัศนคติอยากจะถาม 53 issue 105 october 2016


ผมอาจเป็ น คนที่ ช อบความท้ า ทาย ไม่ ช อบระบบราชการซ�้ ำ ซากจ� ำ เจ ไม่ ชอบอะไรที่ จื ด ๆ งานไม่ แ ข่ ง ขั น และ รู ้ สึ ก ว่ า งานราชการไม่ รั บ แนวความ คิ ด ใหม่ ๆ เท่ า ไร

54 IS AM ARE www.fosef.org


อยากหาค�ำตอบ จนวันนี้ผมยังอยากอ่าน อยากรู้นั่นรู้นี่ อยาก พูดอยากบรรยาย เพราะในโรงเรียนราชวินิตตอนเด็กๆ เขาก็ ชอบให้ไปพูดหน้าชั้น แต่คนส่วนใหญ่เห็นว่าการพูดหน้าชั้นเป็น เรื่องยาก แต่ผมชอบ พอตอนมาอยู่โรงเรียนนายเรืออากาศ เขา ก็สอนให้พูด ปีท้ายๆ ต้องพูดให้น้องฟังหน้าแถว เช้า กลางวัน เย็น เพื่อนผมส่วนใหญ่ก็รู้สึกเป็นยาขมเป็นเรื่องล�ำบาก ผมรู้สึก สบายๆ ถ้าพูดแทนได้ผมก็พูด มันอยาก พอคนเรามันมี Passion (ความคลั่งไคล้) ก็เหมือนเข้าเตรียมทหาร พอมันอยากเราก็ไป ดูวิชาที่เขาสอบดันเป็นวิชาที่เราชอบเรารัก ได้ครูดีในวิชานั้น พอดี วิชาที่เรามีปัญหาไม่รัก มันไม่มีการตัดสินอะไรที่ชัดเจน เขาก็ไม่สอบ ซึ่งผมว่าถ้าเขาสอบผมก็คงเข้าไม่ได้ พวกสังคม ประวัติศาสตร์ฯ ระบบการศึ ก ษาต้ อ งสอนให้ เ ด็ ก อยากเรี ย นรู ้ อยาก แสดงความคิ ด ไม่ ใ ช่ ส ร้ า งแต่ เ กณฑ์ ก ารวั ด อย่ า ง เดี ย ว เกณฑ์ ก ารวั ด ให้ ค วามส� ำ คั ญ ได้ แต่ คุ ณ จะ สร้ า งยั ง ไงให้ ค นมี ทั ศ นคติ อ ยากจะถามอยากหาค� ำ ตอบ ผมก็เลยไม่เลือกต�ำรวจ แล้วรู้สึกว่าครอบครัวทหารจะไม่ค่อย ชอบต�ำรวจ แต่ผมไม่ใช่ไม่ชอบต�ำรวจนะแค่ขี้เกียจ เพราะเหตุ นั้น ก็เหมือนกับได้ตามใจเขาไปด้วย ส่วนทหารเรือ คือผมไม่ค่อยแน่ใจว่าอยู่ที่ไหน ผมไม่รู้จัก และผมเคยเมาเรือตอนฝึกภาคทะเลที่เตรียมทหาร แต่สมัยก่อน การเลือกเหล่าไม่ต้องแย่งชิงอะไรกันมากมาย มันก็กรอกไปมั่วๆ ชอบของที่ บิ น ได้ เลื อ กทหารอากาศ ผมยอมรับความจริง ณ ความคิดตอนนั้น มันยังเด็ก เพราะฉะนั้นมันไม่มีเวลาคิดเยอะ ตอนที่ไปสมัครเตรียมทหาร วัยรุ่น ก็คือคิดแค่เอาตัวรอด ให้ชีวิตมันอยู่ได้ไปวันๆ คือพอ มันก็เหลือแค่ว่าเหล่าที่เราไม่รู้ แต่เหล่าทหารอากาศมันน่าคิด เข้าเตรียมทหารได้แล้ว การที่ผมเติบโตในบ้านพักข้าราชการ กว่าทหารเรือ เพราะทหารอากาศมันมีเครื่องบิน แล้วตอนที่ผม โรงเรียนนายร้อย จปร. ผมพอรู้ระบบทหาร รู้ระบบอาวุโส เรียนประถมผมก็ชอบอะไรที่มันบินได้ ผมต่อเครื่องบินอยู่ตั้งแต่ รู้ว่าการรู้จักกันหรือการฝากฝังกันมันไม่ได้ท�ำให้การใช้ชีวิตใน เด็กนะ ผมเล่นบูมเมอแรง ไปเล่นที่สโมสรกองทัพบกตั้งแต่สมัย โรงเรียนสบายขึ้น กลับจะท�ำให้ล�ำบากกว่าด้วยซ�้ำ ตอนเด็กๆ ผมอยู่ราชวินิต จนไปท�ำกระจกเขาแตก ผมก็โดนตีโดนครูว่า คือ ผมก็วิ่งเล่นอยู่ในนั้น ผมก็เคยซื้อบุหรี่ให้นักเรียนนายร้อย เอา ผมสนใจเรื่องของที่บินได้มาตั้งนานแล้ว มันก็เลยเลือก โดยที่ผม กะหรี่ปั๊บไปขาย แล้วถ้าผมเป็นเข้ามาเป็นนักเรียนนายร้อยปี 1 ยังไม่รู้เลยนะว่าโรงเรียนนายเรืออากาศอยู่ที่ไหน แล้วชื่อมันก็ จะต้องมีรุ่นพี่รู้จักผมเกินครึ่งหนึ่งของโรงเรียน แล้วรู้จักมากๆ ยาวๆ สมัยเด็กๆ เรารู้จักแต่โรงเรียนนายร้อย จปร. ตอนปี 3-4 สมัยนั้นก็เป็นรุ่นแรกๆ ที่กองทัพอากาศ ไม่ใช่ว่าดี มันจะโดนหนัก อาจโดนทักทายตลอดคืน (โดนแดก) แล้วพี่ชายผมก็ยังอยู่ ถ้าผมเข้าปี 1 เขาก็อยู่ปี 3 ก็ไม่คิดอะไร ซื้ อ เครื่ อ งบิ น ร่ อ นมาประจ� ำ ฝู ง บิ น โรงเรี ย นนายเรื อ อากาศ ก็ มากเอาสบายไว้ก่อน เพราะฉะนั้นเหล่าแรกที่ผมจะไม่เลือกเลย รู้สึกว่าบินได้นะ สนุกดีก็ไปเรื่อยๆ วัยรุ่น แต่ภาพก็คือว่าต้อง คือ จปร. ส่วนต�ำรวจผมมองว่างานสัมผัสกับประชาชน แล้วผม เป็นนักบินรบให้ได้ พูดตรงๆ นะพวกนักบินโดยสาร พูดถึงเงิน ก็ไม่ใช่คนขยัน ผมเป็นคนชอบรักสนุกสนาน แล้วไม่อยากเครียด ต้องรวยอะไรมันไม่ได้อยู่ในความคิดเลยนะ ตอนนั้น แล้วพอ อย่างประวัติศาสตร์ให้ท่อง ให้จ�ำ แล้วชื่อก็จ�ำยาก คือ ผมคงเจอแต่ครูสอนแบบไม่วิเคราะห์ เลยไม่ชอบ แล้ว พ.ศ.มัน ก็สับสน แล้วก็มาถามสอบ อย่างนี้มันไม่ใช่ ถ้าสอนในเชิงวิพากษ์ วิจารณ์คุยกันผมชอบเรียนแบบนี้ วิชานั้นผมก็จะสนุก

55 issue 105 october 2016


จบปี 5 ก็ไม่ผ่านตรวจร่างกาย หลักๆ ก็ สายตาสั้น พอจบ 5 ปี คนที่จะเป็นนักบิน กองทัพอากาศต้องเรียนที่โรงเรียนนาย เรืออากาศ 5 ปี แล้วก็ต่อที่โรงเรียนการ บินก�ำแพงแสน อีก 1 ปี คล้ายๆ ผมไป ตกปีสุดท้ายปีที่ 6

ไฟฟ้า เครื่องกล อากาศยาน, โยธากับ ไฟฟ้าผมตัดทิ้งเพราะไม่เกี่ยวกับการบิน ถ้าคุณไม่ได้บินก็ต้องไปอยู่กรมโยธา กรม สื่อสาร ผมก็ไม่เอา ก็เหลืออากาศยาน กับเครื่องกล ผมเลือกเครื่องกลเพราะว่า ถ้าจบอากาศยานแสดงว่าประตูคุณอาจ

จุ ด เปลี่ ย น สู ่ บ ริ ษั ท การบิ น ไทย จ� ำ กั ด มหาชน พอจบปี 1 โรงเรี ย นนายเรื อ อากาศเขาจะแบ่ ง เป็ น สองสาขาใหญ่ ๆ เขาเรี ย ก วป.วิ ท ยาศาสตร์ ทั่ ว ไป กั บ วิ ศ วกรรม ซึ่ ง การเลื อ กเรี ย นวิ ศ วกรรม อาจจะยากกว่า เสี่ยงสายตาสั้นมากกว่า แต่ มี เ พื่ อ นที่ ส นิ ท กั บ ผมมั น บ้ า วิ ช าการ มันบอก ทางเลือกเราอาจไม่เห็นต้องเป็น นักบินก็ได้นี่หว่า ก็เลือกเรียนสิ่งที่ตัวเอง ชอบและถนัดไป ผมก็เลือกเรียนวิศวะพอ จบปี 2 ก็มีวิศวะให้เลือกอีก 4 สาขา โยธา

การสื่ อ สารมั น มี “ความเสี่ ย ง” ที่ เ ราจะประมาทไม่ ไ ด้ จะคิ ด ว่ า ไม่ มี อะไรไม่ ไ ด้ อย่ า งเช่ น พฤติ ก รรมของหั ว หน้ า ที่ เ ช้ า มาก็ ขั บ รถมาแล้ ว ก็ นั่ ง ออฟฟิ ศ ลู ก น้ อ งก็ ไ ปเบิ ก เครื่ อ งมื อ ซ่ อ มไปวั น ๆ หั ว หน้ า กั บ ที ม ไม่ คุ ย กั น เดิ ม ก็ มี ค นประเภทนี้ ม าก เมื่ อ ผมขึ้ น เป็ น ผู ้ น� ำ ผมยอมให้ พฤติ ก รรมอย่ า งนี้ เ กิ ด ขึ้ น ไม่ ไ ด้ แคบ คุณจะต้องท�ำงานเกี่ยวกับเครื่อง บินอย่างเดียว แต่ถ้าคุณจบเครื่องกลคุณ ก็ ท� ำ เครื่ อ งบิ น ได้ แ ล้ ว ก็ ท� ำ งานอุ ต สาห กรรมอื่นๆ ได้ด้วย เป็นทางเลือกที่เปิด กว้างที่สุด เมื่ อ จบปี 5 ที่ น ายเรื อ อากาศ 56 IS AM ARE www.fosef.org

และไม่ได้เข้าเป็น ศิษย์การบิน กองทัพ อากาศก็บรรจุให้เป็นหัวหน้าหมวดผลิต ลูกกระสุน กรมสรรพาวุธ ทหารอากาศ ก็ ส งสั ย ว่ า คิ ด ค� ำ สั่ ง มาได้ ไ ง หรื อ อาจ ตอนเป็นนักเรียนนายเรืออากาศปีท้ายๆ ผมได้สอนแทนอาจารย์ในวิชาอาวุธศึกษา

เพราะผมชอบเล่ น ปื น และอธิ บ ายเรื่ อ ง ราวต่างๆ ได้ดี อาจเดาว่าผมชอบงานสาย โรงงานอาวุธ หรือเดาสุ่มก็ไม่รู้ แต่เขาก็ เลยบรรจุผมเข้าไป พอเข้าไปอยู่จริงๆ มัน เกิดความเครียดจากการที่เราต้องปรับตัว มาก ต้องเป็นหัวหน้าคนที่แก่กว่าทั้งหมด


เกือบ 50 คน แล้วผมก็ยังรู้สึกว่าคนที่ทน อยู่ได้เก่งมาก ผมอาจเป็นคนที่ชอบความ ท้าทายไม่ชอบระบบราชการซ�้ำซากจ�ำเจ ไม่ชอบอะไรที่จืดๆ งานไม่แข่งขัน และ รู ้ สึ ก ว่ า งานราชการไม่ รั บ แนวความคิ ด ใหม่ๆ เท่าไร พอเรียนจบแล้ว ผมก็เข้าสมัคร เรียนต่อปริญญาโททันทีเลย วิศวกรรม เครื่องกล ซึ่งไม่ค่อยมีใครเขาเรียนกันสมัย นั้น ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หลัง จากรู้ว่าไม่ได้เป็นศิษย์การบิน ผมก็รู้แล้ว ว่าต้องมาสายงานวิศวกรรม ผมก็เรียน

ดู ง านการบิ น ไทยเยอะนะ มาที ไรต้ อ ง มาดูการซ่อมเครื่องยนต์ ผมบอกว่านั่น มันด้านวัตถุนะ ผมไม่ได้ซ่อมอย่างเดียว ผมผลิตคนซ่อมด้วย เราเอาคนไปสร้าง ความปลอดภั ย ช่ ว งหลั ง ๆ ผมจึ ง เรี ย ก ว่าเป็น “Product Integrity” ถ้าใช้ กั บ คนก็ แ ปลว่ า คนๆ นั้ น ต้ อ งซื่ อ สั ต ย์ สุจริต จนวางใจได้ ก็คือ เอาคนที่มีความ ซื่ อ สั ต ย์ สุ จ ริ ต มี จ ริ ย ธรรมในอาชี พ ไป ปฏิบัติงาน ยกตั ว อย่ า งเช่ น เครื่ อ งยนต์ (เครื่องบิน) ถ้าเกิดการผิดพลาด จะไม่มี ลู ก ค้ า ที่ มี ป ระสบการณ์ ก ลั บ มาเล่ า ได้ ตอนที่ ผ มเรี ย นประถมผมก็ ช อบอะไรที่ มั น บิ น ได้ ผมต่ อ เครื่ อ งบิ น อยู ่ เพราะเครื่ อ งยนต์ ผ มมั น แขวนอยู ่ ที่ ป ี ก ตั้ ง แต่ เ ด็ ก นะ ผมเล่ น บู ม เมอแรง ไปเล่ น ที่ ส โมสรกองทั พ บกตั้ ง แต่ ส มั ย ถ้ามันดับกลางอากาศคือก็คือตาย ความ ผมอยู ่ ร าชวิ นิ ต จนไปท� ำ กระจกเขาแตก ผมก็ โ ดนตี โ ดนครู ว ่ า คื อ ผม หมายของ Product Integrity ก็คือวางใจ สนใจเรื่ อ งของที่ บิ น ได้ ม าตั้ ง นานแล้ ว มั น ก็ เ ลยเลื อ ก โดยที่ ผ มยั ง ไม่ รู ้ ได้ อย่างเช่น เราขันน็อต สมมุติคู่มือบอก ว่าต้องขัน 70 ปอนด์ เราขันไม่ถึงหรือเกิน เลยนะว่ า โรงเรี ย นเรื อ อากาศอยู ่ ที่ ไ หน มันไม่มีใครรู้หรอก ตรงนี้มันคือ Integrity (ความซื่อสัตย์ในหน้าที่) ฉะนั้น ด้านวัตถุมีเงินก็ซื้อมาได้ วิศวกรรมเครื่องกล วิทยานิพนธ์ผมก็ท�ำ เยอะแยะ คุณก็เป็นแค่ตัวเลือกเป็นเด็ก เรื่ อ งกระสุ น จากประสบการณ์ ท หารที่ หนุ่มคนหนึ่งแค่นั้น เขาก็ต้องเลือกคนที่ แต่ ว ่ า อุ ป นิ สั ย ของช่ า งซ่ อ มเครื่ อ งยนต์ ต่างหากที่คุณจะได้สัมผัสด้วย อย่างเช่น ผ่านมา แล้วพอ 2 ปีกว่าๆ ระหว่างที่เรียน สมบูรณ์ปกติกว่า เรื่องอุปนิสัย ถ้าท�ำอะไรผิดจะต้องกล้า ปริญญาโท การบินไทยเขาประกาศรับ ผมก็ไปสอบที่อาคารโดม เขามาแปะอยู่ 26 ปี ประสบการณ์ ซ ่ อ มและผลิ ต ที่ จ ะบอก มี ป ั ญ หาก็ ต ้ อ งรายงาน ต้ อ ง ท�ำไปตามขั้นตอนที่วิศวกรหรือผู้บริหาร ตามบอร์ดที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คนซ่ อ มเครื่ อ งบิ น การบิ น ไทย ผมชอบคิ ด ต่ า งมุ ม อย่ า งคนมา ก�ำหนด ก็เหมือนวินัย เราก็เลยสมัครเนื่องจากเราเรียนอยู่ แล้ว การสอบในยุ ค นั้ น ดั น ไปเอาวิ ช าการ มาสอบ ถามอะไรมาผมตอบได้ ห มด แล้ ว ก็ ติ ด ติ ด เสร็ จ ก็ ท� ำ เรื่ อ งออกจาก กองทัพอากาศ มันเป็นจุดเปลี่ยนที่ส�ำคัญมากนะ แต่ผมเป็นคนตัดสินใจอะไรเด็ดขาดอยู่ แล้ว ไม่คิดอะไรมาก แล้วมันก็เป็นการ เปลี่ยนสายงานมาซ่อมเครื่องบิน ไม่ได้ ผลิ ต กระสุ น มั น ก็ ใ กล้ ชิ ด กั บ เครื่ อ งบิ น ที่เรารักมากขึ้น ก็มาอยู่ฝ่ายช่าง บริษัท การบินไทย เป็นวิศวกรฝึกหัด ฝ่ายซ่อม ใหญ่เครื่องยนต์อากาศยาน ตอนลาออก เพื่อนพลเรือนบางคนแซวว่า เป็นทหาร ท�ำไมไม่ไปรบ ก็ตอบไป เขาไม่ได้ให้กูไป รบแต่แรกแล้ว ไม่ได้ขับเครื่องบินไปฆ่า คนตั้งแต่แรกอยู่แล้ว ผมพูดอย่างนี้นะ เพราะผมสายตาสั้ น เดี๋ ย วเอาเครื่ อ งบิ น แพงๆ เขาไปตก แล้วมันไม่ใช่เรื่องที่จะไป วิ่งเต้นให้เป็นนักบิน เป็นเรื่องของความ ปลอดภัย ความปลอดภัยไม่มีทางลัด มัน เป็นวิทยาศาสตร์ตรงไปตรงมา ขับไม่ได้ ก็คือขับไม่ได้ คุณจะไปเถียงท�ำไม แล้ว เครื่องบินเขาไม่ได้สร้างให้คนที่วิเศษวิโส ขับหรอก เขาสร้างให้คนสภาพปกติบิน ได้อย่างปลอดภัย แล้วเขาก็มีคนให้เลือก

57 issue 105 october 2016


ด้วยทุกวัน ก่อน 9 โมง เขาก็ท�ำกัน พอท�ำบ่อยๆ มันก็ชิน พอชิน มันก็เลยไม่พลาด งานจะปลอดภัยขึ้น ปัญหาจะน้อยลง ความปลอดภั ย ไม่ มี ท างลั ด อย่างที่ประตูจะเขียนต�ำแหน่งว่า MN เป็นโค้ดส�ำหรับ ฟังชั่นในการซ่อมใหญ่เครื่องยนต์อากาศยาน ไม่ได้ย่อมาจาก อะไร เป็นรหัส เหมือนสังคมไทยจะรู้กัน DD คือเบอร์ 1 ของ การบินไทย MN มีทีมบุคลากร 200 คน แต่เดิม 10 ปีที่แล้ว MN จะมี 400 คนปั จ จุ บั น ลดลงตามแผน ใช้ เ ทคโนโลยี ม ากขึ้ น คนน้อยลง โดยผมเป็น MN มาแล้วปีเดียว เป็นรองมาก่อน 3-4 ปี เมื่อ 19 มีนาคม 2533 เข้ามาก็เป็นวิศวกรฝึกหัดก่อน ไม่มีทางลัด “เรื่องความปลอดภัยไม่มีทางลัด” ผมเข้ามาใน ต�ำแหน่งวิศวกรอากาศยาน เริ่มงานฝึกหัดจนเป็นระดับ 4 ท�ำ หน้าที่เป็นที่ปรึกษา เทคนิคการซ่อมต่างๆ การออกแบบเครื่อง มือ ออกแบบเอกสาร ฯลฯ แต่ก่อนเป็น MN ผมก็ต้องเป็นผู้บริหารไต่มาก่อน จาก ผู้จัดการแผนกซ่อมเครื่องยนต์ (Division) พอเป็น Division ที่นี่บุคลากรก็จะมีไล่ตั้งแต่เป็นช่างฝึกหัด เป็นช่าง เป็น เสร็จก็เป็น Department เสร็จแล้วก็เป็น รองผู้อ�ำนวยการ แล้ว นายตรวจ เป็นหัวหน้างาน เป็นผู้จัดการ ผมเป็นผู้อ�ำนวยการ ก็เป็นผู้อ�ำนวยการ (Director) ผมใช้เวลา 26 ปี จากต�ำแหน่ง บุคลากรเหล่านี้ก็ต้องคุยกัน สื่อสารกัน อย่างเช่น ทุกเช้าต้อง ต�่ำสุดถึงสูงสุดในสายงานซ่อมใหญ่เครื่องยนต์อากาศยาน ไม่มี Morning Brief 15-20 นาที ทุกวัน ทุกกลุ่มงาน ในขณะพูดกัน ทางลัด หัวหน้าก็ได้สังเกต ได้สัมผัส กับทีม คนไหนไม่พร้อมไม่ปลอดภัย อย่างนั้นก็ไม่ให้เข้างาน อันนี้เป็นทางอ้อม แต่ทางตรงๆ ก็คือ ผมว่ า คุ ณ ภาพการศึ ก ษา มั น ไม่ น ่ า วั ด ว่ า แค่ ใ ครอ่ า น ให้ต้องย�้ำเรื่องความปลอดภัย ย�้ำเรื่องงานในวันนั้น ย�้ำเรื่อง หนั ง สื อ มาตรงข้ อ สอบมากกว่ า กั น ได้ ค ะแนนเท่ า โปรเจคบ้าง ส่วนตัวผมก็ชอบพูดให้มันง่ายๆ เป็นรูปธรรม ภาษา ไหร่ มั น น่ า จะวั ด ว่ า เราท� ำ ให้ เ ด็ ก มี ค วามสุ ข อยาก ง่ายๆ แล้วก็สื่อบ่อยๆ เข้ า ห้ อ งเรี ย น สนุ ก ที่ ไ ด้ ถ กเถี ย งกั บ ครู ได้ ม ากแค่ คือการสื่อสารมันมี “ความเสี่ยง” ที่เราจะประมาทไม่ได้ ไหน น่ า จะดี ก ว่ า จะคิดว่าไม่มีอะไรไม่ได้ อย่างเช่น พฤติกรรมของหัวหน้าที่เช้า มาก็ขับรถมาแล้วก็นั่งออฟฟิศ ลูกน้องก็ไปเบิกเครื่องมือซ่อมไป ผู ้ ที่ ท� ำ งานกั บ เครื่ อ งบิ น มี ต� ำ แหน่ ง หน้ า ที่ อ ะไรบ้ า ง วันๆ หัวหน้ากับทีมไม่คุยกัน เดิมก็มีคนประเภทนี้มาก เมื่อผมขึ้น ถ้าเราบินอยู่ทุกวันเราก็ซื้อตั๋ว พอเครื่องลงเขาท�ำไงมั่ง เป็นผู้น�ำ ผมยอมให้พฤติกรรมอย่างนี้เกิดขึ้นไม่ได้ ผมให้ทุกทีม เราเป็นผู้โดยสารเราก็เดินออกมาประตูซ้ายพวกมดงานก็จะ ต้องมี Morning Brief ทุกเช้า ผมใช้ค�ำง่ายๆ ว่า “ต้องสุงสิงกัน” เข้า ก็จะมีแคทเทอริ่ง ก็คือ รีบเอาอาหารไปโหลด อันนี้ก็ฝ่าย (หัวเราะ) ทั้งนายทั้งลูกน้องต้องสุงสิงกัน แล้วในสังคมเวลาคนจะ ครัวการบินไทย ถ้าเป็นพวกคาโก้ก็จะรีบเอาสินค้าขึ้นลง พวก พูด สังเกตจะชอบพูดแต่เรื่องร้ายๆ ในทุกโอกาสทุกเวที แต่เวที Ground Support ก็จะมาเอากระเป๋าลง สายช่างก็จะเข้า ที่จะพูดเรื่องงาน เรื่องดีๆ เรื่องเตือนกัน เรื่องวินัย มันไม่มี ผมก็ บ�ำรุงรักษาตามลักษณะนี้เขาจะเรียกว่า Line Maintenance เลยจัดเวทีให้ ถ้าตอนนั้นสมัยผมเป็นผู้ปฏิบัติ ผมก็ปฏิบัติเลย พอ อันนี้ไม่ใช่ผม เป็นลักษณะของการซ่อมให้เร็วให้ปลอดภัยตาม เราไล่ระดับขึ้นมาเป็นผู้อ�ำนวยการเราก็สร้างเวทีให้ สร้างเวทีว่า คู่มืออาจไม่มีอะไรเสีย อีก 20 นาทีก็ไปอีกละ เขาก็ท�ำอย่างนี้ ต้องมี Morning Brief ทุกเช้านะ แล้วก็สร้างไลน์กลุ่มขึ้นมา แล้ว เหมือนมดงานรุมเครื่องอย่างนี้ เขาเรียกบริการลานจอดทั้งหมด ก็บอกว่าใครจะพูดอะไรไป (เวทีสุงสิง) ให้สรุปแล้วก็ถ่ายรูปให้ดู พอท�ำอย่างนี้ไปบ่อยๆ วิศวกรที่เป็นวิศวกรส่วนกลาง เขาเรียก 58 IS AM ARE www.fosef.org


เซ็นทรัลเอ็นจีเนีย ของบริษัทการบินไทย อันนี้ก็ไม่ใช่ผมอีก เขาจะมีข้อมูลอยู่ว่าตัว เครื่องยนต์ขึ้นลงกี่รอบ (ไซด์เคิ้ล) เมื่อ ครบก�ำหนด จะเสียไม่เสียไม่รู้ จะต้อง ซ่อมทุกกรณี ซึ่งเขาก็จะวางแผนไว้แล้ว สมมุติ 10,000 รอบ เขาก็จะบอกว่าเอา ทั้งล�ำเข้ามาซ่อมใหญ่ (Overhaul) พอเข้ า มาซ่ อ มใหญ่ จ ะมาที่ ดอนเมืองนี่แหละ มีที่นี่ที่เดียว จะไม่ใช่ สุวรรณภูมิ ซึ่งแอร์ไลน์อื่นๆ จะไม่มีศูนย์ ซ่อมใหญ่ เพราะมันเป็นการลงทุนที่สูง มาก แต่การบินไทยมีมานานแล้ว เพราะ เราเป็ น สายการบิ น พรี เ มี่ ย ม คื อ จะไป ประมาทฝื นบิน ต่อไปมัน ก็จะโทรม จะ เป็ น อะไรที่ ไ ม่ Integrity ไม่ ป ลอดภั ย เราต้องท�ำมันตามแผนให้เครื่องมีความ สมควรเดินอากาศ (Airworthiness) แม้ จะลงทุนมากก็ต้องท�ำ พอถึ ง เวลา การบิ น ไทยก็ จ ะมี ตรงนี้ แ หละที่ ไ ม่ ย อมแหกกฎ เพราะ กระบวนการซ่อมถ้าเทียบกันแล้วราคา เราจะแพงกว่า ซึ่งมันดีต่อผู้โดยสารนะ คือเราท�ำตามคู่มือเป๊ะมากกว่าด้วย พอ ครบวงรอบเข้ า ซ่ อ มใหญ่ แ ม้ จ ะแพงแค่ ไหนเราก็ลงทุน ส่วนล�ำตัวเครื่องบิน เขาจะลอกสี ออกหมดเพราะสีมันก็โทรมแล้ว เพราะใช้ เวลา 3-4 ปีกว่าจะเข้ามาทีหนึ่ง แล้วก็พ่น ใหม่ รื้อเบาะออก รื้อเก้าอี้ รื้อพวกเครื่อง วัดประกอบการบินออก เหลือแต่เครื่อง บินเปลือยๆ เขาเรียก ซ่อมเครื่องบิน ก็ เป็นอีกหนึ่งฝ่าย เครื่องยนต์ก็ถอดมาให้ผม ส่วน พวกเบาะพวกเก้าอี้พวกเรดาห์จุกจิกซึ่ง มั น มี อ ยู ่ เ ยอะ เขาเรี ย ก Component ก็ แ ยกไปอี ก ฝ่ า ย แต่ ทุ ก เรื่ อ งมี ค วาม ส� ำ คั ญ หมด เช่ น เรื่ อ งสี ก็ ส� ำ คั ญ ถ้ า พ่ น หนากว่ า ปกติ นิ ด หนึ่ ง หนั ก กว่ า แผน แค่ กิ โ ลกรั ม เดี ย วมั น คื อ ค่ า ใช้ จ ่ า ยด้ า น เชื้ อ เพลิ ง ที่ ม ากขึ้ น มหาศาล ของอะไร

ผมใช้ ค� ำ ง่ า ยๆ ว่ า “ต้ อ งสุ ง สิ ง กั น ” (หั ว เราะ) ทั้ ง นายทั้ ง ลู ก น้ อ งต้ อ ง สุ ง สิ ง กั น แล้ ว ในสั ง คมเวลาคนจะพู ด สั ง เกตจะชอบพู ด แต่ เ รื่ อ งร้ า ยๆ ในทุ ก โอกาสทุ ก เวที แต่ เ วที ที่ จ ะพู ด เรื่ อ งงาน เรื่ อ งดี ๆ เรื่ อ งเตื อ นกั น เรื่ อ งวิ นั ย มั น ไม่ มี ผมก็ เ ลยจั ด เวที ใ ห้ ถ้ า ตอนนั้ น สมั ย ผมเป็ น ผู ้ ป ฏิ บั ติ ผมก็ ป ฏิ บั ติ เ ลย ที่ บิ น ได้ น�้ ำ หนั ก ส� ำ คั ญ แต่ ถ ้ า เอาราคา เครื่องจักรอุปกรณ์ที่ใช้ซ่อมมาจัดล�ำดับ การซ่อมใหญ่เครื่องยนต์อากาศยาน ดู จะอยู ่ อั น ดั บ แรก เพราะแพงกว่ า เช่ น เครื่องยนต์อากาศยานพอซ่อมใหญ่เสร็จ จะต้องเข้าทดสอบที่อุโมงค์ทดสอบ (Test Cell) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ราคาแพงมาก แต่ เวลาผมสอนลู ก น้ อ ง ส้ ว มก็ ส� ำ คั ญ สอนว่ า อย่ า ไปดู ถู ก กั น เพราะ ว่ า หากเครื่ อ งบิ น เรา แม้ เ ครื่ อ งยนต์ คุ ณ จะดี ส มบู ร ณ์ แ บบแค่ ไ หน แต่ ส ้ ว ม เต็ ม มั น ก็ บิ น ไม่ ไ ด้ เบาะขาดอั น หนึ่ ง ใน ความรู้สึกของผู้โดยสารก็ไม่ได้ อย่าไป ถือตัวว่าเราท�ำเครื่องยนต์แล้วส�ำคัญกว่า หน่วยอื่น ฝ า ก ถึ ง เ ย า ว ช น : ค ว ร เ ข ้ า ห้ อ งเรี ย นด้ ว ยความอยากรู ้ คุ ณ ควรจะเข้ า ห้ อ งเรี ย นด้ ว ย ความสงสัยใคร่รู้ ตัวครูเองก็เหมือนกัน 59 issue 105 october 2016

หากเด็กถามไม่เข้าท่าก็อย่าโมโห เด็กอาจ จะคิดแปลก ถ้าคิดเหมือนกันก็ไม่ต้องมา เรียนในห้องหรอก ให้เขาอ่านอยู่บ้านสิ จริงไหม ผมเคยถามครูวิทยาศาสตร์ว่า ท�ำไมเวลาเราขึ้นไปยอดเขาเรากลับหนาว ได้ไงทั้งๆที่เราขึ้นไปใกล้ดวงอาทิตย์กว่า เดิ ม ผมคิ ด แบบเด็ ก ป.6 ครู โ กรธผม ครูไม่ยอมตอบ ครูโกรธเพราะอะไร ผม เพิ่ ง วิ เ คราะห์ ไ ด้ ต อนผมโตแล้ ว เพราะ ครูงงเหมือนกัน ครูก็ไม่รู้ค�ำตอบ แต่ครู ปิดบังความงงด้วยความโกรธ น่าจะลอง ไปค้นหากันสิว่าเพราะอะไร เด็กมันก็จะ อยากเข้าห้องเรียนไปค้นหาค�ำตอบจาก ครูที่ไม่ปิดบัง ผมว่าคุณภาพการศึกษา มันไม่น่าวัดว่าแค่ใครอ่านหนังสือมาตรง ข้อสอบมากกว่ากัน ได้คะแนนเท่าไหร่ มั น น่ า จะวั ด ว่ า เราท� ำ ให้ เ ด็ ก มี ค วามสุ ข อยากเข้าห้องเรียน สนุกที่ได้ถกเถียงกับ ครู ได้มากแค่ไหน น่าจะดีกว่า


ปี ชวด

การงาน-ระวังการลอบกัด มีอุปสรรคในรูปแบบของการแข่งขันอันดุเดือดในที่ท�ำงาน มิตรกลายเป็นศัตรู ได้ในช่วงข้ามคืนเมื่อผลประโยชน์สูงขึ้น หรือเมื่อมีมากกว่าหนึ่งคนหมายตาต�ำแหน่งเดียวกัน อย่าแปลกใจ ที่ความสามัคคีในทีมพังพินาศ ระวังการลอบกัดและต้องรอบคอบเวลาเลือกไว้ใจใคร ธุรกิจ-เก็บตัว อย่าท�ำตัวเด่น คุณก�ำลังอยู่ในช่วงเคราะห์ร้าย ซึ่งอาจท�ำให้คุณตัดสินผิดพลาดได้ ระวังโอกาสที่อาจดูดีจนไม่หน้า เชื่อ เพราะมันอาจไม่ควรเชื่อใจจริงๆ ไม่ควรลงนามในสัญญาใหม่และอย่างเพิ่งร่วมเป็นหุ้นส่วนกับคนที่ไม่รู้จัก ความรักเละความสัมพันธ์-ยอมดีกว่า แม้ว่าช่วงที่ผ่านมาคุณอาจลอยเคลิ้มอยู่ในวิมาน แต่เดือนนี้จะกระชากคุณกลับลงมาสู่ โลกแห่งความจริง ระวังศัตรูปะปนอยู่กับคุณและแสร้งท�ำเป็นมิตร มือที่สามอาจท�ำลายความสัมพันธ์ระหว่าคุณกับคู่รัก คนปี ชวดที่แต่งงานแล้วควรพยายามปกป้องชีวิตคู่การคอยเฝ้าดูคนนอกที่หวังจะฉวยประโยชน์ การศึกษา-เรียนเดี่ยวให้ผลดี ท�ำงานเงียบๆ คนเดียวจะให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าการยื้อจะท�ำงานเป็นกลุ่ม ระวังเรื่องการเลือกเพื่อน ร่วมเรียนของคุณ แม้ว่าคุณอาจใจกว้างที่จะแบ่งปันงานของคุณกับเพื่อน แต่พวกเขาอาจไม่ตอบสนองน�ำ้ ใจของคุณ การท�ำงาน ใกล้ชิดกันมากเกินไปยังอาจท�ำให้ผิดใจกัน

ปี ฉลู

การงาน-โชคระยะยาว คุณก็มีโอกาสจะได้ก้าวหน้าครั้งส�ำคัญด้านการงาน หากมีเพื่อนร่วมงานที่เป็นคู่กัด กันมาแสนนาน ในเดือนนี้คุณทั้งคู่จะได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น หรืออาจกลายเป็นพันธมิตรกันด้วยซ�้ำ บางทีการ เผชิญกับเคราะห์ร้ายร่วมกันก็ท�ำให้คนเข้าใจกัน และนี่อาจเป็นสถานการณ์ที่คุณพบ ผลลัพธ์จะออกมาดี ธุรกิจ-รอก่อน อาจยากที่จะหาแหล่งรายได้ใหม่ที่เป็นกอบเป็นก�ำในเดือนนี้คุณมีความคิดพร้อมอยู่แล้ว เตรียมตัวให้พร้อมก่อน จะน�ำเสนอ อย่าปล่อยให้ตัวเองลนลานจนรีบร้อนท�ำสิ่งต่างๆ เพียงเพราะการแข่งขัน คุณยังมีเวลา ความรักความสัมพันธ์-นิ่งลง คนปีฉลูที่ยังโสดอาจอยากรอจนถึงเดือนหน้าก่อนจะรุกก้าวส�ำคัญ ตอนนี้อาจเป็นช่วงเวลาที่ เพลิดเพลินกับการจีบและการคบหาดูใจ แต่หากเคลื่อนไหวเร็วเกินไป อาจเป็นภัยต่อความสัมพันธ์ของคุณก็ได้ ค่อยๆเป็น ค่อยๆ ไป คนปีฉลูที่แต่งงานแล้วควรใส่ใจชีวิตคู่ของคุณให้มากขึ้น มิฉะนั้นอาจมีมือที่สาม การศึกษา-กระตุ้นตัวเอง เด็กปีฉลูอาจรู้สึกว่ายากที่จะกระตุ้นตัวเอง ยิ่งหากคุณไม่มีใครที่จะสามารถเป็นแรงบันดาลใจให้คุณ ได้ แม้ว่าทุกคนจะโชคดีที่มีครูพิเศษคอยกระตุ้นดึงสิ่งดีๆ จากตัวนักเรียน แต่หากคุณยังไม่พบครูที่เป็นเช่นนี้ คุณก็ต้องหาทาง สร้างแรงจูงใจให้ตัวเอง ขยันเรียนเพื่อจะได้ท�ำคะแนนให้สูงสุด

ปี ขาล

การงาน-ประจักษ์แจ้ง การงานอาจไม่ราบรื่นนัก แต่ทุกครั้งที่คุณข้ามแก่งน�้ำเชี่ยวมาได้ คุณมักได้ค้นพบอะไร ใหม่ๆ ซึ่งบางอย่างอาจท�ำให้คุณประจักษ์แจ้งทีเดียว ตอนนี้คือเวลาที่คุณจะได้มองเห็นความดีความเลวร้าย และความหน้าเกลียดในตัวเองและเพื่อนร่วมงานแม้กระทั่งงานของคุณเอง ธุรกิจ-รู้จักประนีประนอม จังหวะเวลาส�ำคัญที่สุดดังนั้นแม้ว่าคุณจะมีความคิดที่เยี่ยมที่สุด แต่หากน�ำไปใช้ผิดเวลา ความคิด ย่อมสูญเปล่าก่อนจะมีโอกาสให้ผล เดือนนี้เหมาะส�ำหรับการวางแผนมากกว่าการลงมือ เพราะเป็นเดือนของการซุ่มเงียบ ดาว ร้ายห้าเหลืองอาจสร้างวิกฤตย่อยๆ ให้คุณต้องรับมือ อย่าหวั่นกับปัญหา ความรัก-รู้จักยอมเสียบ้าง ค�ำแนะน�ำในเรื่องความรักส�ำหรับเดือนนี้คือ ค่อยเป็นค่อยไปการเดินหน้าเร็วเกินไปในความสัมพันธ์ ใหม่อาจท�ำรายสิ่งต่างๆ ที่ทั้งสองฝ่ายมีให้กัน อย่าใจร้อนรีบลงเอยกันอย่างเป็นทางการ สนุกกับการจีบและคบหาลองใจกันไป ก่อนดีกว่าความเข้าใจผิดอาจเกิดขึ้นเพราะพลังที่แข็งแกร่งขึ้นของดาวร้ายห้าเหลือง การศึกษา-รักษาแรงจูงใจ ปัญหาหลักของคุณในเดือนนี้คือการรักษาแรงจูงใจให้ได้ตลอดเมื่อสิ่งต่างๆ ทุลักทุเล คุณอาจประสบ ปัญหาเช่น ครูหรืออาจารย์ไม่ชอบงานของคุณมากเท่าที่คาดไว้ อย่าให้ค�ำวิจารณ์ของคนคนเดียวท�ำให้คุณหมดก�ำลังใจ คิดเสีย ว่านี่คือการติเพื่อก่อ และจงใช้มันเพื่อปรับปรุงตัวแทนที่จะยอมแพ้ 60 IS AM ARE www.fosef.org


Wheel Of Life

ปี เถาะ

การงาน-พยายามให้มากขึ้น ตอนนี้คือเวลาที่คุณต้องเร่งความพยายามให้มากขึ้น ด้วยบุคลิกของคุณความ เป็นไปได้มีมากและยังเพิ่มขึ้นอีกด้วยในเดือนนี้ คุณเป็นที่ชื่นชอบทั้งในหมู่เจ้านายและเพื่อนร่วมงานไม่ว่า คุณจะได้รับผลดีอย่างไร ธุรกิจ-วางรากฐาน โชคระยะยาวของคุณมีแนวโน้มจะน�ำสิ่งที่ยิ่งใหญ่มาให้ ตอนนี้จึงเป็นเวลาเหมาะที่จะเริ่มวางรากฐาน ไม่ใช่ด้วยการใช้เงิน แต่ด้วยการวางแผนที่สมบูรณ์แบบให้พร้อมไว้ แล้วจึงค่อยลงมือท�ำจริงในเดือนหน้า เมื่อความมั่งคั่งใน อนาคตเปลี่ยนเป็นความมั่งคั่งในปัจจุบัน คุณมีความคิดสร้างสรรค์สูงมากและปรับตัวได้ดี ความรัก-แช่มชื่นหัวใจ คุณจะพบรักได้โดยไม่มีปัญหาหากคุณก�ำลังมองหาอยู่ มีแนวโน้มที่คุณจะเป็นฝ่ายถูกตามมากกว่าที่ จะเป็นฝ่ายไล่ตามเสียเอง แต่จ�ำไว้ว่ามีความแตกต่างระหว่างคนที่เหมาะจะเป็นคู่ชีวิตและคนที่ร่วมชีวิตกันไม่ได้ การศึกษา-ทุ่มเทให้กับเรื่องที่ควร มีหลายสิ่งเหลือเกินที่ท�ำให้คุณสนใจ ทั้งตัวคุณเองก็อยู่ในอารมณ์อยากทดลอง แม้ว่าคุณ จะอยากท�ำทุกอย่างมากเพียงใด แต่ไม่ช้าคุณจะพบว่าคุณไม่มีเวลามากพอในแต่ละสัปดาห์ที่จะท�ำทุกอย่างได้ คุณอาจต้อง ทิ้งบางอย่าง แต่คุณต้องแน่ใจเสียก่อนว่าคุณให้ความส�ำคัญกับสิ่งที่สมควร

ปี มะโรง

การงาน-ข่าวดี ข่าวดีที่ไม่คาดคิดก�ำลังรอคนปีมะโรงที่ท�ำงานอยู่ หากคุณรักงานด้วยใจจริง ผู้อื่นก็เห็นค่าในผล งานของคุณและตบรางวัลให้อย่างสมน�้ำสมเนื้อ จึงควรพยายามให้เต็มที่เพื่อสร้างความประทับใจและแสดงให้ เห็นถึงความสามารถที่แท้จริงของคุณ รักษาความกระตือรือร้นและตั้งใจไว้ ธุรกิจ-หาทางให้ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ พยายามเข้าสังคม ไปงานเลี้ยงและงานสังสรรค์ต่างๆแม้ว่าคุณจะอยากใช้เวลายามเย็น หน้าจอทีวีมากกว่าก็ตาม เดือนนี้คนปีมะโรงที่วิ่งไล่ล่าความส�ำเร็จจะได้พบกับมัน ความรัก-ก�ำหนดจังหวะเอง แม้ว่าคนปีมะโรงจะพบว่าตัวเองเป็นที่ชื่นชอบอย่างที่สุดในเดือนนี้ แต่คุณอาจโหยหาเวลาอยู่ คนเดียวเพื่อท�ำอะไรของคุณไป คุณก็อาจสนใจชีวิตรัก แต่รักไม่ใช่สิ่งเดียวในรายการสิ่งที่คุณต้องท�ำ และแน่นอนว่าไม่ได้อยู่ ในอันดับต้นๆ ด้วยซ�้ำจึงยากที่ใครจะเกี่ยวเบ็ดคุณติด แต่ยิ่งยากจะเข้าถึง การศึกษา-ท้าทายตัวเอง คุณก�ำลังรู้สึกปราดเปรื่องในเดือนนี้ คนที่ก�ำลังจะมีการสอบทุกรูปแบบจะท�ำได้ดี หากคุณพยายาม คุณจะเป็นที่หนึ่งได้ไม่ยากและบางวิชาอาจน่าเบื่อส�ำหรับคุณบางทีอาจเพราะคุณน�ำหน้าไปไกลก่อนบทเรียนแล้ว

ปี มะเส็ง

การงาน-รู้สึกมีพลัง ทุกย่างก้าวของคุณดูสดใส เพราะคุณท�ำทุกอย่างด้วยความมั่นใจ แม้แต่คนที่ท�ำงานซึ่ง เริ่มจ�ำเจเกินไปก็ยังสามารถพบสิ่งใหม่ที่ช่วยให้คุณกระตือรือร้นได้ คุณรู้สึกเปี่ยมด้วยพลังและยังสามารถ ท�ำให้คนรอบข้างพลอยรู้สึกคึกคักไปด้วย คุณมีโชคด้านการเลื่อนขั้น จงพยายามให้เต็มที่ ธุรกิจ-ต้องกล้า จะมีช่องทางใหม่ๆที่ยอดเยี่ยมส�ำหรับการเติบโตและขยับขยาย ธุรกิจใหม่จะน�ำความส�ำเร็จมาให้ จึงควรเดิน หน้าท�ำด้วยความมุ่งมั่น จะมีความคิดบางอย่างปรากฏขึ้นซึ่งท�ำให้คุณกระตือรือร้นได้ในที่ท�ำงาน ความรัก-ราวกับสวรรค์ เวลาที่สุขเหมือนสวรรค์รอคนปีมะเส็งที่มีรักอยู่ คุณจะได้เรียนรู้ที่จะชื่นชมคู่ของคุณในทางใหม่ ตอน นี้เป็นเวลาดีที่จะสนใจอนาคตและวางแผนร่วมกันอย่างจริงจัง คนที่ต้องการพัฒนาความสัมพันธ์ไปสู่ระดับใหม่จะท�ำได้ใน ตอนนี้ เดือนนี้เป็นช่วงเวลาดีส�ำหรับการหมั้นหมายหรือวางแผนแต่งงาน การศึกษา-โชคช่วยให้ชนะ โชคด้านการเรียนที่ดีเยี่ยมรอเด็กปีมะเส็งอยู่ คว้าทุกโอกาสที่จะได้เรียนรู้ให้มากเท่าที่คุณจะท�ำได้ ตั้งเป้าหมายให้สูงไว้เพราะคุณมีโชคแห่งชัยชนะ จงตักตวงจากดาวแห่งชัยชนะในทิศของคุณให้เต็มที่ด้วยการพยายาม ไม่ใช่ แค่ท�ำให้ดีที่สุด แต่ต้องเป็นที่หนึ่งในห้องเรียน คุณจะก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็วในตอนนี้ 61 issue 105 october 2016


ปี มะเมีย

การงาน-ผูกมิตร การท�ำงานเป็นทีมจะมีแนวโน้มจะช่วยให้คุณก้าวไปได้ไกลความผิดพลาดที่ร้ายแรงที่สุดใน เดือนนี้คือการที่ท�ำให้เพื่อนร่วมงานเสียหายเพื่อที่คุณจะดูดีขึ้น แม้ว่าการท�ำเช่นนั้นจะให้ผลดีในระยะหนึ่ง แต่สิ่งที่ช่วยให้คุณดูดีในสายตาเจ้านายจะหายไปอย่างรวดเร็วเพราะศัตรูที่คุณสร้างขึ้นในกลุ่มเพื่อนร่วมงาน ธุรกิจ-เลือกหุ้นส่วนให้เหมาะ การเป็นหุ้นส่วนที่สร้างขึ้นในตอนนี้จะมีแนวโน้มจะไปได้สวย แต่ก่อนที่จะเข้าร่วมหุ้นกับใคร ลองศึกษาความช�ำนาญของอีกฝ่ายและสิ่งที่อีกฝ่ายจะท�ำได้ในความเป็นหุ้นส่วน จงก�ำหนดขอบเขตของบทบาทให้ชัดเจนตั้งแต่ แรก สิ่งที่ส�ำคัญยิ่งกว่าการมีความสามารถที่เติมเต็มกันได้ก็คือบุคลิกที่เข้ากันได้นั้นเอง ความรัก-เบิกบาน คุณจะรู้สึกตื่นเต้น สายตาของคุณพร้อมจะมองหาโอกาสใหม่ๆและคุณจะประจักษ์กับสิ่งต่างๆ ราวกับแสง อาทิตย์ที่ส่องในวันใหม่ ช่วงเวลาที่กระอักกระอ่วนในชีวิตผ่านพ้นไป คุณจะรู้สึกสบายใจกับความรักมากขึ้น แต่อย่าท�ำให้ตัว เองต้องอายเพราะกระตือรือร้นเกินไป เพราะคนที่คุณหมายตาไว้ก็รู้สึกชอบพอกับคุณเช่นกัน การศึกษา-โชคด้านผู้ชี้น�ำ การเรียนของคุณไปได้สวย เด็กปีมะเมียบางคนอาจโชคดีมีครูสักคนสองคนที่ให้ความช่วยเหลือ มากกว่าแค่หน้าที่การสอนในชั้นเรียน ครูที่บ่มเพาะความรักอย่างแท้จริงในวิชาและการเรียน ไม่ใช่ทุกคนที่มีโชคเช่นนี้

ปี มะแม

การงาน-อย่าพลาดข่าวคราว คุณมีก�ำลังเฉียบไวกว่าที่เคย จึงง่ายที่คุณจะตัดสินใจโดยไม่หวั่นไหว คุณรู้ดีว่า จ�ำเป็นต้องท�ำอะไร คุณจึงติดต่อกับเพื่อนร่วมงานได้ง่ายขึ้น แม้แต่คนที่ชอบง่ายขึ้น แม้แต่คนที่ชอบหักหน้า คุณ คุณจะไม่ยอมถอยในตอนนี้ เพราะคุณรู้สึกแข็งแกร่ง คุณจะมีโชคด้านการเลื่อนขั้น ธุรกิจ-ขยับขยาย ตอนนี้จะเป็นเวลาที่คุณจะส่งผลกระทบได้อย่างมากต่อแวดวงธุรกิจของคุณ คุณมีโชคและพลังที่จะเดินหน้า อย่างเด็ดเดี่ยวและยังมีทรัพยากรคอยสนับสนุน ใช้ประโยชน์จากทีมของคุณให้เต็มที่แล้วมอบหมายบทบาทที่ชัดเจนให้ทุกคน คนปีมะแมที่ท�ำงานเป็นทีมอย่างเหนียวแน่นจะสามารถประสบความส�ำเร็จได้มากขึ้นอีก ความรัก-พร้อมจะผูกมัด แม้แต่คนปีมะแมที่มีแนวโน้มรักสนุก ไม่คิดมาก ก็ยังหันมาคิดถึงเรื่องครอบครัวมากขึ้น หากคู่รักใน ตอนนี้ของคุณไม่รู้สึกแบบเดียวกัน บางทีอาจถึงเวลาที่ต้องคิดอย่างจริงจังแล้วว่าคุณเหมาะกันหรือไม่ การศึกษา-มุ่งมั่น อย่าไปสนใจสิ่งที่รบกวนคุณและจดจ่ออยู่กับงานที่มีตอนนี้คุณเกือบจะถึงหรือพ้นขีดจ�ำกัดของคุณแล้ว แต่ คุณอาจต้องยอมสละเวลาสนุกเพื่อท�ำเช่นนั้นให้ได้ ซึ่งก็ไม่ได้ยาก เพราะคุณก�ำลังรู้สึกมีแรงจูงใจและมีไฟ คุณมีความมุ่งมั่นและ พลังงานที่พร้อมช่วยคุณให้ไปถึงจุดนั้น ตอนนี้คือเวลาที่คุณจะประสบความส�ำเร็จได้มากมาย

ปี วอก

การงาน-เป็นผู้น�ำ ความส�ำเร็จเกิดจากทั้งพรสวรรค์ของคุณและวิธีการอันเยี่ยมยอด เมื่อคุณได้รับการ สนับสนุนจากผู้คนรอบตัวพรสวรรค์ของคุณกลายเป็นสิ่งส�ำคัญ ทั้งหมดนี้ท�ำให้งานทั้งน่าพอใจและสนุกสนาน ธุรกิจ-เห็นโอกาสทอง เดือนที่เป็นเงินเป็นทองอย่างแท้จริงส�ำหรับนักธุรกิจปีวอกวิจารณญาณของคุณเฉียบคม และการลงทุน ของคุณก็ให้ผลตอบแทนอย่างงดงาม คุณมีเรดาร์ทีไว พร้อมจะจับสัญญาณโอกาสดีๆ และรู้ว่าจะตักตวงอย่างไรให้ได้ผลเต็มที่ คนปีวอกที่มองหาทางขยายกิจการจะสามารถท�ำได้อย่างมั่นใจ ความรัก-วิเศษสุด เวลาที่สุดวิเศษส�ำหรับชีวิตรักและความสัมพันธ์ ไม่ใช่แค่ความสุขทางกายจากการเล้าโลมกันที่ท�ำให้คุณ ล่องลอย แต่ยังรวมถึงค�ำสัญญาที่จะคงอยู่ไปอีกนาน ในเดือนนี้คุณจะตระหนักขึ้นมาในทันทีว่าคุณมีคนที่คุณอยากใช้ชีวิตที่ เหลือร่วมกันด้วย จงมั่นใจที่จะให้ค�ำมั่น แม้ว่าคุณอาจรู้สึกว่าคุณอายุยังน้อย การศึกษา-ตั้งเป้าหมายให้สูงขึ้น ความมั่นใจของคุณจะสูงขึ้น ท�ำให้คุณมีโอกาสดีที่จะลองคว้ารางวัลเกียรติยศที่ปกติแล้วคุณ ไม่เคยกล้าพอ คุณจะแปลกใจกับสิ่งที่คุณท�ำได้ หากคุณต้องการลองเข้าร่วมทีมโรงเรียนก็อย่าได้ลังเล โชคเป็นใจให้คุณ และ จะมีมือที่มองไม่เห็นคอยช่วยน�ำทางให้คุณ หากคุณเก่งด้านการเรียน ตอนนี้ก็ถึงเวลาที่จะตั้งเป้าหมายให้สูงขึ้น 62 IS AM ARE www.fosef.org


Wheel Of Life

ปี ระกา

การงาน-ผูกมิตร ชีวิตการงานช่างแสนสุขและต่างกันอย่างลิบลับจากเดือนก่อนเวลาที่คุณต้องคอยระวังทุกค�ำพูด ใน เดือนนี้คุณจะจัดการและพัฒนาความสัมพันธ์ได้อย่างดีเยี่ยม คุณวางตัวได้เหมาะสมท�ำให้ผู้อื่นรู้สึกใกล้ชิดคุณ แต่ก็ ยังมีอะไรให้ค้นหา เล่ห์เหลี่ยมของคุณแยบยลแต่มีประสิทธิภาพมากบุคลิกที่น่าคบหาของคุณ ธุรกิจ-ความสัมพันธ์ส�ำคัญ ใช้ประโยชน์จากความสัมพันธ์ที่มีให้ได้มากที่สุด เพราะนั่นคือข้อได้เปรียบที่ส�ำคัญของคุณ ซึ่งจะช่วยเปิด ประตูและเปลี่ยนทิศทางให้เข้ามาสู่คุณ เหตุการณ์ไม่ได้เป็นเช่นนี้เสมอไป แต่ดาวหมายเลข 4 ในเดือนนี้ช่วยดึงให้คนอื่นมาอยู่ฝ่ายเดียว กับคุณและยังให้พรสวรรค์ที่จะโน้มน้าวให้ผู้อื่นสนับสนุนคุณ ความรัก-สดชื่น เดือนที่สดใสชื่นมื่นในเรื่องของความรัก คนปีระกาบางคนอาจตกหลุมรัก และทุกอย่างที่เคยได้ยินในเทพนิยายรักก็ ดูจะเป็นจริง เมื่อคุณอยู่ในห้วงรัก หรือคิดว่าคุณก�ำลังมีรักความรู้สึกนั้นช่วงแสนสดชื่น สนุกกับความรู้สึกเช่นนี้ตราบเท่าที่มันยังอยู่ การศึกษา-ท�ำผลดียิ่ง เด็กปีระกาที่เรียนอยู่จะมีช่วงเวลาที่ให้ผลดียิ่งเมื่อความสามารถในการเรียนของคุณพุ่งสูง ทั้งคุณยังมีโชคที่ช่วย ให้ท�ำคะแนนได้ดีมากในทุกๆการสอบตราบใดที่คุณเตรียมพร้อมจงขยัน แต่ที่ยิ่งกว่านั้น จงเรียนอย่างฉลาด คอยพักเป็นระยะสลับเวลา เรียนของคุณกับเวลาที่ใช้กลางแจ้งบ้าง

ปี จอ

การงาน-พยายามควบคุมอารมณ์ คุณอาจพบว่าตัวเองจริงจังเกินไปในเดือนนี้และไม่มีความอดทนต่อคนที่งี่เง่า พยายามอดทนให้มากขึ้น มิฉะนั้นคนอื่นจะไม่มีทางเห็นเจตนาดีอย่างที่คุณตั้งใจ แม้ว่าคุณจะคิดว่าคุณรู้ดี ที่สุดแต่บาง ที่ความคิดของคุณก็อาจไม่ใช่สิ่งที่ส�ำคัญที่สุดแต่เป็นความคิดของคนอื่นที่มีต่อคุณต่างหาก ธุรกิจ-ถ่อมตัวและใจเย็นเอาไว้ โชคด้านธุรกิจของคุณได้รับผลกระทบจากอารมณ์ที่บูดบึ้งของคุณใส่ใจงานส�ำคัญที่ต้องท�ำ ณ ตอนนี้ แล้วลืมเรื่องท�ำสัญญาต่างๆไปก่อน ไม่ควรน�ำเสนองานหรือท�ำการประมูล ตอนนี้เสน่ห์ของคุณสูญเสียพลัง จึงท�ำให้ผู้อื่นยากจะประทับ ใจในตัวคุณ แม้ว่าคุณจะยังมีปณิธานที่สูงส่ง แต่ก็ควรกัดฟันทนไปก่อนจนกว่าจะถึงเดือนหน้า ความรัก-มีปากเสียง การโต้เถียงกันเกิดขึ้นนับครั้งไม่ถ้วน และการจะรักษาความสงบไว้ก็ยากกว่าที่เคย คุณต้องหยุดโต้เถียงในเรื่อง เล็กน้อยที่ไม่ส�ำคัญ ยิ่งคุณเถียง คุณก็ยิ่งหงุดหงิด และมีโอกาสมากขึ้นที่จะพูดสิ่งที่ไม่สมควรซึ่งอาจเปลี่ยนความสัมพันธ์ของคุณไปตลอด การศึกษา-บาดหมางกับเพื่อน หากน�ำนิสัยเช่นนี้ไปใช้กับการโต้วาทีหรืออภิปรายในเชิงวิชาการ ลักษณะเช่นนี้จะช่วยให้คุณได้เปรียบ แต่อย่าเถียงจนขาดเหตุผลหรือเถียงด้วยอารมณ์คุณอาจมึนตึงกับเพื่อนๆเพราะสาเหตุต่างๆมากมายอย่าพยายามรับบทคนกลางเพื่อ ไกล่เกลี่ยระหว่างเพื่อนสองคน คุณอาจท�ำให้สองคนนั้นจับมือกันแล้วหันมาต่อต้านคุณแทน

ปี กุน

การงาน-ใช้พลังงานกับเรื่องที่ควร สิ่งต่างๆในที่ท�ำงานจะค่อยข้างราบรื่นดีหากคุณควบคุมอารมณ์ได้ แม้ว่าคุณอาจ หัวเสียง่ายกว่าที่เคย แต่หากคุณน�ำพลังเช่นนี้ไปใช้กับกิจกรรมที่สร้างสรรค์ คุณจะสามารถท�ำอะไรได้มากมาย เมื่อ พูดคุยกับผู้อื่น ระวังค�ำน�้ำเสียง มิฉะนั้นคุณอาจถูกเข้าใจผิด พยายามแสดงทีท่าให้นุ่มนวลขึ้น ธุรกิจ-ตึงเครียด เดือนนี้เป็นช่วงที่น่าเป็นห่วงส�ำหรับคนปีกุนที่ท�ำธุรกิจ สิ่งต่างๆอาจราบรื่น คุณอาจท�ำเกินตัวและเสียใจกับการตัดสิน ใจที่ผ่านไปแล้ว คุณยังอาจมีเรื่องเข้าใจผิดกับหุ้นส่วนหรือผู้ที่ร่วมธุรกิจกัน ทั้งการสื่อสารระหว่างกันยังอาจไม่ชัดเจน ไม่ว่าจะประสบ ปัญหาอะไร พยายามอย่าให้ความเครียดเล่นงานคุณได้ ความรัก-มีปากเสียง การโต้เถียงจะท�ำให้ชีวิตโดยรวมของคุณไร้สุข ทางที่ดีที่จะปรับปรุงความสัมพันธ์ของคุณได้คือหยุดโต้เถียงในเรื่อง ที่ไม่เป็นเรื่อง ยิ่งคุณสู้ คุณก็ยิ่งหงุดหงิด แล้วก็จะพูดหรือท�ำสิ่งที่คุณต้องเสียใจในไม่ช้า คนโสดปีกุนอาจต้องรอไปอีกสักหน่อยหากคิด จะพบรักแท้ มาตรฐานที่คุณตั้งอาจสูงไปสักนิดส�ำหรับตอนนี้ การศึกษา-ข่าวลือ ตอนนี้อาจเป็นเวลาที่ล�ำบาก คุณอาจต้องทนกับการซุบซิบนินทา อย่าหวั่นไหวไปกับเรื่องที่ไม่จริงและการพูดเกิน จริง เมื่อมีใครกระจายข่าวลือเกี่ยวกับตัวคุณวิธีการรับมือที่ดีที่สุดคืออย่าไปใส่ใจ อย่าจริงจังกับค�ำพูดพวกนั้นให้มากเกิน 63 issue 105 october 2016


“หญ้าแฝก”

ที่เป็นมากกว่าหญ้า เรื่อง ภากมล รัตตเสรี ภาพ จินตนา บุญมา

64 IS AM ARE www.fosef.org


65 issue 105 october 2016


66 IS AM ARE www.fosef.org


67 issue 105 october 2016


68 IS AM ARE www.fosef.org


69 issue 105 october 2016


70 IS AM ARE www.fosef.org


71 issue 105 october 2016


72 IS AM ARE www.fosef.org


73 issue 105 october 2016


วรวุฒิ แสงเฟือง Ph.D

รองประธานกรรมการมูลนิธิครอบครัวพอเพียง (ด้านวิชาการ) ที่ปรึกษาโครงการโรงเรียนคุณธรรมในสังกัดกรุงเทพมหานคร บมจ. เทเวศประกันภัย บริษัทของส�ำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

บริบทส�ำคัญต่อความส�ำเร็จในการพัฒนา พฤติกรรมเชิงบวกอย่างยั่งยืน

นอกเหนื อ จากคุ ณ ครู แ ละเพื่ อ นร่ ว มชั้ น เรี ย นแล้ ว พ่ อ แม่ ผู ้ ป กครอง หรื อ ครอบครั ว คื อ สภาพแวดล้ อ ม ที่ มี บ ทบาทส� ำ คั ญ ที่ สุ ด ต่ อ การปลู ก ฝั ง แนวความคิ ด และทั ศ นคติ เนื่ อ งจากเป็ น แบบอย่ า งส� ำ คั ญ ที่ ส ่ ง ผลต่ อ พฤติ ก รรมของเด็ ก จากการศึกษาในเรื่องการพัฒนาทักษะชีวิตของเด็ก พบ ว่าพ่อแม่ ผู้ปกครอง หรือครอบครัว จะช่วยส่งเสริมทักษะชีวิต ให้ลูกได้ตั้งแต่เล็กจนเป็นวัยรุ่น ดังนี้ 1. การมอบความรักความอบอุ่นและให้ความไว้วางใจจะ ก่อให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน ท�ำให้เกิดความพร้อมในการรับ ฟังและเรียนรู้ซึ่งกันและกัน 2. การสื่อสารที่ดีต่อกันจะท�ำให้ต่างคนต่างไว้วางใจ เกิดการปรึกษาหารือ หรือเล่าเหตุการณ์ต่างๆ ที่ประสบมาให้ ฟัง มีการยอมรับฟังความคิดเห็นที่ทั้งพ่อแม่และลูกจะแสดง ความคิ ด เห็ น คล้ อ ยตาม หรื อ ขั ด แย้ ง อั น ดี ไ ด้ ใ นบรรยากาศที่ เป็นกันเอง 3. การมี ห ลั ก การด้ ว ยมาตรฐานเดี ย วกั น ทั้ ง พ่ อ และ

แม่ การมี ค วามยื ด หยุ ่ น การมี เ หตุ ผ ลที่ ดี การมี ค วามมั่ น คง อดทน 4. การควบคุมตัวเองได้ดีทั้งอารมณ์และพฤติกรรม 5. การมีลักษณะที่ยอมรับความสามารถ การเข้าใจและ สนับสนุนในความสามารถด้านอื่นๆ ดั ง นั้ น โ ค ร ง ก า ร โร ง เรี ย น คุ ณ ธ ร ร ม ใ น สั ง กั ด กรุงเทพมหานคร จึงก�ำหนด “กิจกรรมสัมมนาคณะกรรมการ สถานศึกษา ผู้ปกครองและผู้น�ำชุมชน” ควบคู่ไปด้วย โดย สร้างความเข้าใจให้ พ่อแม่ ผู้ปกครอง รับรู้ว่าโรงเรียนก�ำลังท�ำอะไร แล้ว พ่อแม่ ผู้ปกครองจะมีส่วนเข้ามาช่วยในการขับเคลื่อนโรงเรียน คุณธรรม และพัฒนาพฤติกรรมดีๆ ของเด็กๆ สู่ความยั่งยืนได้ อย่างไร 74

IS AM ARE www.fosef.org


กิจกรรมสัมมนาคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองและผู้น�ำชุมชน ในการสังเคราะห์องค์ความรู้โครงการโรงเรียนคุณธรรม ในสังกัดกรุงเทพมหานคร มีรายละเอียดดังนี้ กิจกรรม : สัมมนาคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองและผู้น�ำชุมชน วัตถุประสงค์ : เพื่อชี้แจงท�ำความเข้าใจกระบวนการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรมให้ผู้ปกครอง เป้าหมาย : ผู้ปกครองเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนาโรงเรียนคุณธรรมร่วมกับโรงเรียน กิจกรรมหลัก Input กระบวนการ Process ผลผลิต Output กิ จ กรรมสั ม มนาคณะกรรมการสถาน สัมมนาร่วมกันระหว่างคณะกรรมการ 1. ผู ้ ป กครองสามารถใช้ ส มุ ด บั น ทึ ก ศึกษา ผู้ปกครองและผู้น�ำชุมชน สถานศึกษา ผู้ปกครองและผู้น�ำชุมชน ความดีเป็นเครื่องมือในการสื่อสารและ เพื่ อ สร้ า งความเข้ า ใจร่ ว มกั น ถึ ง การ พัฒนาความเอาใจใส่นักเรียน พัฒ นาโครงการโรงเรี ย นคุ ณธรรมโดย 2. ผู ้ ป กครองเป็ น แกนหลั ก ในการขั บ ประสานความร่วมมือและการเข้ามามี เคลื่อน ส่วนร่วมในการขับเคลื่อน ผลผลิต (Product) ผลลัพธ์ (Outcomes) ผลกระทบ (Impact) ผู้ปกครองสามารถใช้สมุดบันทึกความ ผู้ปกครองเป็นแกนหลักในการขับ ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจใน ดี เ ป็ น เครื่ อ งมื อ ในการสื่ อ สารและ เคลื่อนการพัฒนาโรงเรียนคุณธรรมกับ กระบวนการการพัฒนาโรงเรียน โรงเรียน พัฒนาการเอาใจใส่นักเรียน คุณธรรม ตัวชี้วัดผลผลิต ตัวชี้วัดผลลัพธ์ ตัวชี้วัดผลกระทบ ผู ้ ป ก ค ร อ ง มี ค ว า ม รู ้ ค ว า ม เข ้ า ใจ ผู ้ ป กครองมี ค วามรู ้ ค วามเข้ า ใจใน ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในกิจกรรม และ ในกระบวนการการพั ฒ นาโรงเรี ย น การใช้ ส มุ ด บั น ทึ ก ความดี สามารถใช้ ร่ ว มวางแผนการพั ฒ นาโรงเรี ย น สมุ ด บั น ทึ ก ความดี เ ป็ น เครื่ อ งมื อ ใน คุณธรรมร่วมกับครู นักเรียน คุณธรรม หลังจากเข้าร่วมสัมมนา การสื่อสารและพัฒนาการเอาใจใส่ต่อ นักเรียน บรรลุผลตามเป้าหมาย ไม่บรรลุผลตามเป้าหมาย ผู้ปกครองมีความรู้/เข้าใจในการใช้สมุด ผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมาย บันทึกความดีตรวจสอบพฤติกรรมของ บุ ต รหลาน/และมี ส ่ ว นร่ ว มในการท� ำ กิจกรรมร่วมกับโรงเรียน ร้อยละ 100 โรงเรี ย นวั ด มกุ ฏ กษั ต ริ ย าราม “รู้จักท�ำความเคารพผู้ใหญ่โดยที่แม่ไม่ต้องบอก ช่วยท�ำงาน บ้าน สวดมนต์และนั่งสมาธิก่อนนอน มีน�้ำใจช่วยเหลือ” คุณสรชา จันทพันธ์

ผลจากการประชุ ม หารื อ ระดมความคิ ด เห็ น และ ด� ำ เนิ น กิ จ กรรมร่ ว มกั น พบว่ า คณะกรรมการสถานศึ ก ษา ผู้ปกครองและผู้น�ำชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจ และมีส่วนร่วม ในการพัฒนาโรงเรียน ตลอดจนการปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อ ต่อการพัฒนาทักษะชีวิตของเด็กเพื่อยกระดับการเป็นโรงเรียน คุณธรรมในเขตพระนคร อย่างดียิ่ง อะไรเป็นตัวชี้วัดส�ำคัญของพัฒนาการของลูกๆ ลอง มาดูเสียงสะท้อนของผู้ปกครองกัน ว่าได้พูดถึงพฤติกรรมของ ลูกๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป อย่างไรกันบ้าง

“ช่วยท�ำงานบ้าน แบ่งเวลาเป็น รู้จักประหยัดและอดออม มากขึ้ น ตั้ ง ใจเรี ย นมากขึ้ น มี เ ป้ า หมายที่ ชั ด เจนเกี่ ย วกั บ อนาคต” คุณฉัตราพร คล่องแคล่ว 75

issue 105 october 2016


“มี ค วามรั บ ผิ ด ชอบต่ อ ตนเองมากขึ้ น มี เ หตุ ผ ล ท� ำ งานมี ระบบ ช่วยพ่อแม่มากขึ้น รู้จักการออมและแบ่งปัน พูดคุย กับผู้ปกครองมากขึ้น” ผู้ปกครองของ ด.ญ.ตวงพร “รับผิดชอบมากขึ้น มีความพยายามที่จะช่วยพ่อแม่ตลอด เวลา” ผู้ปกครองของ ด.ช.ปัญจพล สมคะเนย์ “มีความรับผิดชอบต่อตัวเอง ครอบครัว โรงเรียน นักเรียนมี มารยาทเรียบร้อย รู้จักช่วยเหลือพ่อแม่” ผู้ปกครองของ ด.ช.นรวิชญ์ บุญเรืองวิเศษ และด.ญ.พิชชา บุญเรืองวิเศษ โรงเรี ย นราชบพิ ธ “พูดจาไพเราะ ช่วยแม่ท�ำกับข้าวบางครั้ง” คุณอ�ำพร เถื่อนโต “เป็ น เด็ ก ดี เชื่ อ ฟั ง รู ้ จั ก จั ด ตารางสอน ไม่ ฟุ ่ ม เฟื อ ยใช้ เ งิ น ประหยัด ช่วยกวาดบ้าน” คุณสุจินดา เศรษฐาพร “ช่วยดูแลน้อง ช่วยท�ำความสะอาดบ้าน เชื่อฟังค�ำสอนของ ผู้ใหญ่” คุณวัชรา น่วมสุขุม “รับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย เป็นระเบียบมากขึ้น มีน�้ำใจต่อเพื่อนๆ ตรงต่อเวลา รู้จักออม” คุณพรรณชิรา พ่วงสมบัติ “มีความใฝ่รู้อยากร่วมกิจกรรมกีฬาและดนตรี รู้จักออมเงิน รู้จักถามแม่เหนื่อยไหม ตักน�้ำให้ดื่ม” คุณแก้วอนงค์ ช่างเสนา “ช่วยแม่ท�ำงานบ้าน ก่อนนอนจะกราบเท้าแม่ กอดแม่” คุณอัจฉราภรณ์ เสียงเสนาะ “มีช่วยเหลืองานบ้านแม่ รู้จักแบ่งเวลาท�ำการบ้านกับเวลา เล่น พูดจาไพเราะขึ้นมาก มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยมาก ขึ้น” ผู้ปกครองของ ด.ช.ณัฐฐชา เหมือนหาญ “ช่วยเหลืองานทุกอย่างที่พอจะท�ำได้ รู้หน้าที่ของตัวเอง” ผู้ปกครองของ ด.ญ.พิมพ์ชนก พรหมมณี 76 IS AM ARE www.fosef.org


“รู้จักอ่อนน้อมถ่อมตน”

คุณพิชิต หงส์โต

“กล้าแสดงออก สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ชอบวาดรูป” ผู้ปกครองของ ด.ญ.สิรัชชา ศรีศร

“พัฒ นาการเรียนอ่านเขียนโดยไม่ต้อ งคอยบอกซ�้ ำ เหมื อน เมื่อก่อน” พ.อ.อ.จิรศักดิ์ เกิดวิถี

“ไม่ ก ้ า วร้ า ว ไม่ เ ถี ย งผู ้ ใ หญ่ ช่ ว ยงานบ้ า น ไม่ พู ด โกหก ประหยัด ไม่ใช้จ่ายเกินจากที่ผู้ปกครองให้ในแต่ละวัน” ผู้ปกครองของ ด.ช.วชิรวิทย์ เสาะแสวง

“มี ค วามเป็ น สุ ภ าพบุ รุ ษ มากขึ้ น คอยถามเสมอว่ า อยาก ใช้ช่วยอะไรไหม เรียบร้อยขึ้นมากจากเดิม รู้จักช่วยผู้ใหญ่ ท�ำงาน และมีความอดทน” คุณสวาท แสงดาว

โรงเรี ย นวั ด สุ ทั ศ น์ “ช่วยงานที่บ้าน ชอบนวดให้แม่ ดูแลต้นไม้ เอาการบ้านมา ให้ดู เล่าเรื่องต่างๆ ในโรงเรียน” คุณลัดดา สุจริต

“ท�ำการบ้านโดยไม่ต้องบอก เรียบร้อยขึ้นกว่าเดิม” คุณวราวุธ บุญญลาภาเลิศ

“คอยถามความทุกข์ ความสุข ดูแลพ่อแม่ พูดคุยกับพ่อแม่ มากขึ้น ช่วยเหลืองานบ้าน การอ่านเขียนดีขึ้นมาก มีวินัยใน การท�ำการบ้าน มีความรับผิดชอบ” คุณมัฏฐิกา นุชเวช

“สนใจท�ำการบ้าน อ่านหนังสือ ช่วยท�ำงานบ้าน ช่วยนวดให้ พ่อแม่ ท�ำความเคารพทุกครั้ง” คุณประคอง กิจสิงห์

“ตื่นแต่เช้า ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อหน้าที่ ที่ได้รับมอบ หมาย มีสมาธิ ใจเย็น ช่วยเหลืองานบ้าน กิริยามารยาทดีขึ้น เล่นเกมน้อยลง ” คุณนิตยา ต้นใหญ่

“ช่วยพ่อแม่ท�ำงานบ้าน มีวินัย มีความรับผิดชอบต่อตนเอง เล่นกีฬามากขึ้น ไม่ติดเกมส์เหมือนเมื่อก่อน” ผู้ปกครองของด.ช.กฤตภาส ลิ้มอนันต์ 77

issue 105 october 2016


โรงเรี ย นวั ด อิ น ทรวิ ห าร “ รู้จักช่วยที่บ้านท�ำงาน ช่วยเหลือพ่อแม่” คุณสุปราณี บุญสมสนอง

ของตัวเอง ช่วยประหยัดน�้ำ ประหยัดไฟ” คุณวิราศิณี พิจารณีดุรกิจ ผู้ปกครอง น้องวศกร จันทร

“กลับบ้านอ่านหนังสือมากขึ้น รับผิดชอบในการท�ำการบ้าน มากขึ้น” คุณอุไลวรรณ แสงสุรัยนต์

โรงเรี ย นวั ด ราชนั ด ดา “มีระเบียบมากขึ้น เชื่อฟัง สนใจท�ำการบ้าน ตื่นแต่เช้า รู้ หน้าที่ของตนเอง อยากไปโรงเรียน” คุณศราวดี ขาวผ่อง ผู้ปกครอง น้อง ปราชญ์ ชุมรอด

“ตื่นเช้าขึ้น รู้จักท�ำการบ้านเอง มีค�ำถามกับพ่อแม่มากขึ้น ท�ำกับข้าวแบบง่ายๆได้ ช่วยล้างจาน” คุณประดิษฐ์ ปุระเหล่า

“ตื่นเช้า ช่วยเหลือตนเองได้ดีขึ้น ช่วยดูแลน้องได้ พูดจา “ชอบท�ำการบ้านและอ่านหนังสือมากขึ้น รีบท�ำการบ้านที่ ไพเราะ” คุณวิไลลักษณ์ คุณครูให้มา ช่วยแม่ล้างจานถูบ้าน มีความซื่อสัตย์ มีความ รับผิดชอบในหน้าที่ ช่วยเหลือโดยไม่ต้องให้บอก” “มีระเบียบจัดหนังสือเอง ช่วยซักผ้า เก็บเสื้อผ้า จัดเตรียม คุณนพวรรณ์ แพทย์สามัคคี ชุดที่จะใส่ไปโรงเรียนเอง มีความกตัญญู คือเวลาที่พ่อหรือแม่ ไม่สบายเขาจะคอยดูแลไม่ไปเล่น ทิ้งขยะเป็นที่เป็น” “มีความรับผิดชอบ ช่วยเหลืองานบ้าน” ผู้ปกครอง น้อง เดชิษฐ์ กาละพันธ์ คุณอารีรัตน์ เสนารัตน์ ผู้ปกครอง น้องสุรเดช เสนารัตน์ “ชอบเล่าเรื่องดีๆ ที่โรงเรียนให้ฟัง ช่วยเหลืองานบ้าน” คุณศรีจันทร์ รินฟอง “สนใจในการอ่านหนังสือ ท�ำการบ้านอย่างมีความสุข รู้หน้าที่ ผู้ปกครอง น้อง สรชัช จันทร์ไทย 78 IS AM ARE www.fosef.org


“ตื่นแต่เช้าทุกวัน ช่วยเหลืองานบ้าน”

คุณเกษม น�้ำกระจาย ผู้ปกครองน้อง พัชราลักษณ์ น้อยไขข�ำ

โรงเรี ย นวั ด ราชบู ร ณะ “ดูแลตัวเองได้ รับผิดชอบตัวเอง เป็นเด็กเรียบร้อยขึ้น แบ่ง ปันของเล่นให้เพื่อนๆ” คุณสุธิดา ผู้ปกครอง น้อง อภิญญา โพธิ์นวล “รับผิดชอบการบ้าน ช่วยขายของ ช่วยท�ำงานบ้าน” คุณอ�ำพัน ริสาว ผู้ปกครอง น้อง อภิวิชญ์ แก้วงาม

จากเสียงสะท้อนของ พ่อแม่ ผู้ปกครอง เราจะเห็นเป้า หมายหลักที่แท้จริงของกระบวนการพัฒนาโรงเรียนคุณธรรม อี ก ประการหนึ่ ง คื อ เด็ ก ๆ สามารถค้ น หาต้ น ทุ น ความดี ใ น ตัวเองพบ และสามารถก�ำหนดพฤติกรรมบ่งชี้เชิงบวกได้ทั้ง ในระดับครอบครัวและระดับโรงเรียน สามารถตั้งเป้าหมาย ชีวิตของตนเองได้และสามารถพัฒนาทักษะชีวิตของตนเองได้ อย่างสมบูรณ์แบบ โดยติดตามดูได้จาก “สมุดบันทึกความดี” เครื่องมือส�ำคัญที่ใช้ในการพัฒนาทักษะชีวิต และพัฒนาทักษะ ทางการคิดของเด็กๆ เป็นสายใยรักระหว่างเด็กๆ ผู้ปกครอง และคุณครู โดยดูได้จากการบันทึกกิจกรรมดีๆ ที่เด็กสนใจ และ ได้ลงมือท�ำจริง ในการพัฒนาพฤติกรรมของเด็กๆ พ่อแม่ ผู้ปกครอง จึง เป็นบริบทส�ำคัญต่อความส�ำเร็จในการพัฒนาพฤติกรรมเชิงบวก อย่างยั่งยืน กระบวนการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรมจึงจะมีผล การด�ำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ เพราะเป้าหมายของ การขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรมนั้น อยู่ที่การพัฒนาพฤติกรรมที่ ดีที่ประกอบด้วย ความรู้ คู่ คุณธรรม ของเด็กๆ การพัฒนาจิต วิญญาณความเป็นครู และการพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วม ของเครือข่ายผู้ปกครอง ซึ่งทั้ง 3 ส่วน คือ ศูนย์กลางการขับ เคลื่อนโรงเรียนคุณธรรมอย่างแท้จริง

“รับผิดชอบตัวเอง เสียสละ เชื่อฟังพ่อแม่” คุณอานนท์ กุลหอย ผู้ปกครอง น้อง ชญานิศ กุลหอย “กล้าแสดงออก มีความสามัคคีกับพี่น้อง ช่วยเหลืองานที่ บ้าน” ผู้ปกครอง น้องอนาวิล แดงจีน และน้อง ธนดล แดงจีน “รู้จักการไหว้ มีมารยาท กล้าแสดงออก รู้จักใส่ใจ ถามไถ่ ทุกข์สุข และมีน�้ำใจช่วยเหลือ ” ผู้ปกครอง น้อง พัชราภรณ์ แซ่จาง “มีความรับผิดชอบ พูดจากับคนในบ้านดี จะอยู่บ้านมากขึ้น ไม่ออกไปไหน” คุณบงกซกาญจน์ สีขาว “ช่วยเหลืองานบ้าน ไม่เถียง ใจเย็นมากขึ้น ขยันท�ำการบ้าน” คุณชลธิชา พลยงศ์ ผู้ปกครอง น้อง อลิชชา นิลวรรณ 79

issue 105 october 2016


Round About

กฟผ. ร่วมต้านคอร์รัปชั่ น ขับเคลื่อนยุ ทธศาสตร์ชาติ

นายสืบพงษ์ บูรณศิรินทร์ รองผู้ว่าการบริหาร การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) (คนที่ 2 จากซ้าย แถวหน้า) ร่วม แถลงข่าวโครงการสัมมนาเชิงวิชาการ ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ ในหัวข้อ “คอร์รัปชั่น...หายนะประเทศไทย” ซึ่งสมาคมผู้สื่อข่าว ต้านคอร์รัปชั่น (ประเทศไทย) ประสานความร่วมมือกับองค์กรและสถาบันการศึกษาต่างๆ จัดขึ้นรวม 5 ครั้ง ณ ม.หอการค้าไทย ม.เชียงใหม่ ม.บูรพา ม.ขอนแก่น และ ม.วลัยลักษณ์ ระหว่างเดือนตุลาคม – พฤศจิกายน 2559 เพื่อสร้างค่านิยมที่ถูกต้องแก่ ข้าราชการ ประชาชน และเยาวชน รวมถึงเสริมสร้างเครือข่ายรณรงค์ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น อันเป็นการสนับสนุนนโยบาย รัฐบาลอีกทางหนึ่ง ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอทเซ็นทรัล ลาดพร้าว เมื่อวันที่ 14 กันยายน ที่ผ่านมา

กรมอนามัย เตือน ส�ำลักน�้ำจากแหล่งน�้ำสกปรก เสี่ยงโรคปอดติดเชื้ อ

นายแพทย์ดนัย ธีวันดา รองอธิบดีกรมอนามัย เปิด เผยว่า การส�ำลักน�้ำ ไม่ว่าน�้ำนั้นจะมาจากแหล่งใดก็ตาม หาก ส�ำลักลงปอด ก็สามารถท�ำให้เกิดอาการปอดติดเชื้อได้ แม้แต่ การส�ำลักน�้ำดื่มที่สะอาดก็มีโอกาสท�ำให้ปอดอักเสบและเกิด อาการติดเชื้อในปอดได้เช่นกัน เพราะน�้ำลายมนุษย์มีเชื้อโรค อยู่แล้ว เช่น เชื้อแบคทีเรีย แอนแอโร เพียงแต่โอกาสติดเชื้อจะ เป็นไปตามปริมาณของเชื้อโรค รวมถึงความสกปรกของแหล่ง น�้ำด้วย ยิ่งแหล่งน�้ำมีความสกปรก เชื้อโรคแปลกๆ ก็จะมาก โอกาสติดเชื้อก็ยิ่งมากขึ้น นายแพทย์ดนัย กล่าวว่า กรณีบ่อรับน�้ำฝนหรือบ่อที่ รองรับเก็บกักน�้ำ อาจเป็นแหล่งรวมเชื้อโรคที่ท�ำให้มีโอกาส ติดเชื้อในปอดสูงได้ หากส�ำลักน�้ำเข้าปอด เนื่องจากสภาพบ่อ เปิดรับน�้ำฝน น�้ำที่ไหลจากภูเขา หรืออาจรับน�้ำทิ้ง จึงรับเชื้อ โรคต่างๆ ได้ง่าย และตลอดทางที่น�้ำไหลผ่านจะกวาด ชะล้าง ละลายสารเคมี สิ่งสกปรกอื่นๆ สะสมในบ่อ น�้ำในบ่อเปิดจึงมี ความสกปรกและมีสารปนเปื้อนหลายอย่าง แต่ด้านเชื้อโรคจะ มีความเสี่ยงสูง และเป็นหนึ่งในสาเหตุของโรคระบบทางเดิน

อาหาร โดยทั่วไปน�้ำผิวดินมักปนเปื้อนเชื้อโรค โลหะหนัก และ สารเคมี แต่ส�ำหรับน�้ำในแม่น�้ำล�ำคลอง และแหล่งน�้ำธรรม ชาติอื่นๆ กลายเป็นน�้ำเสียนั้น ส่วนใหญ่มักเกิดจาก 1) บ้าน เรือนและชุมชน การอุปโภค บริโภค และกิจกรรมต่างๆ จาก ที่อยู่อาศัย ย่านการค้าขาย สถานประกอบการ เช่น การซัก ล้าง การประกอบอาหาร รวมถึงสิ่งปฏิกูลที่ปล่อยลงสู่แม่น�้ำ ล�ำคลองโดยตรง ซึ่งจะท�ำให้น�้ำเน่าน�้ำเสียได้ 2) เกษตรกรรม การใช้สารเคมี เช่น ปุ๋ยเคมี สารเคมีก�ำจัดศัตรูพืช ซึ่งบางชนิด สลายตัวยาก และจะกระจายอยู่ตามพื้นดิน เมื่อฝนตกน�้ำฝนจะ ชะล้างลงแม่น�้ำล�ำคลอง 3) อุตสาหกรรม กระบวนการผลิต การ ล้างท�ำความสะอาดเครื่องมือ อุปกรณ์ และพื้นที่ในโรงงาน น�้ำ ทิ้งจากโรงงานที่ปล่อยลงสู่แม่น�้ำล�ำคลองโดยไม่ได้มีการบ�ำบัด ให้ได้ตามมาตรฐาน รวมถึงการทิ้งวัสดุที่เหลือจากผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรมลงสู่แม่น�้ำล�ำคลองหรือปนไปกับน�้ำทิ้ง ท�ำให้น�้ำ เน่าเสีย ส่งกลิ่นเหม็น มีสารพิษและเชื้อโรคปะปน เป็นพิษต่อ สิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน

80 IS AM ARE www.fosef.org


ป.ป.ช.ปราจีนบุ รี บู รณาการกับส่วนราชการในจังหวัดเปิ ดหมู่บ้านช่ อสะอาด

ส�ำนักงาน ป.ป.ช. ประจ�ำจังหวัดปราจีนบุรี บรูณาการ ท�ำงานกับจังหวัดปราจีนบุรี อ�ำเภอศรีมโหสถ ส�ำนักงานพัฒนา สังคมและความมั่งคงของมนุษย์จังหวัดปราจีนบุรี ส�ำนักงานส่ง เสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด ปราจี น บุ รี และส� ำ นั ก งานสาธารณสุ ข จั ง หวั ด ปราจี น จั ด ตั้ ง “หมู่บ้านช่อสะอาด พัฒนา” ขึ้น และก�ำหนดมีพิธีเปิดโครงการ ในวันพุธที่ 21 กันยายน 2559 ณ ศาลาการเปรียญวัดคู้ล�ำพัง ต�ำบลคู้ล�ำพัน อ�ำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี โดยนายณรงค์ รัฐอมฤต กรรมการ ป.ป.ช. และผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี สืบเนื่องจาก ส�ำนักงาน ป.ป.ช. ประจ�ำจังหวัดปราจีนบุรี พร้อมด้วยหน่วยงานในจังหวัดดังกล่าวได้บูรณาการร่วมกัน ตั้ ง หมู ่ บ ้ า นช่ อ สะอาดขึ้ น ตามแนวทางการจั ด ตั้ ง หมู ่ บ ้ า นช่ อ สะอาด “หมู่บ้านท่าคอยนาง” ต�ำบลสวาย อ�ำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ โดยเลือกบ้านคู้ล�ำพัน หมู่ที่ 3 ต�ำบลคู้ล�ำพัน อ�ำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งเป็นหมู่บ้านศีล 5 ที่มี องค์ประกอบของ “บวร” คือ บ้าน วัด โรงเรียน เป็นหมู่บ้าน น�ำร่องเพื่อพัฒนาให้เป็นหมู่บ้าน มีคุณธรรม จริยธรรม มีความ ซื่อสัตย์สุจริต โดยความร่วมมือจากประชาชน ผู้น�ำชุมชนเข้ามา ร่วม ในการพัฒนา ตามแนวทาง 4 ประการ คือ กายสะอาด คือ หน้าบ้าน หน้ามอง สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยสะอาด เศรษฐกิจ

พอเพียง มีรายได้,พฤติกรรมสะอาด คือ การอยู่อาศัยในชุมชน ด้วยความรัก ความสามัคคี ให้เกียรติซึ่งกันและกัน , จิตสะอาด คือ การพัฒนาจิตใจตามหลักของศาสนา ละอายต่อการท�ำชั่ว ท�ำสิ่งไม่ดี เกรงกลัวต่อการทุจริต และปัญญาสะอาด คือ การ พัฒนาชุมชนให้มีความซื่อสัตย์สุจริต ไม่ใช้ปัญญาแสวงหาผล ประโยชน์ต่อตนเอง เอารัดเอาเปรียบ หรือทุจริตต่อชุมชน แต่ รักษาผลประโยชน์เพื่อชุมชน จากการประสานความร่วมมือของ หน่วยงานในจังหวัดปราจีนบุรี แต่ละหน่วยงานได้น�ำนโยบาย และมาตรการของหน่วยงานลงสู่การปฏิบัติในพื้นที่ มีโครงการ กิจกรรมต่างๆมากมาย อาทิเช่น การส่งเสริมวิชาชีพการเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การให้ความรู้สิทธิประโยชน์ ด้ า นสวั ส ดิ ก ารต่ า งๆ การท� ำ แผนพั ฒ นาตนเองสู ่ ก ารพั ฒ นา ตนเองสู่การพัฒนาที่ย่ังยืนการสร้างสุขภาวะชุมชน กิจกรรม หน้าบ้านสวย หลังบ้านสวย การเรียนรู้สู่ชุมชนสร้างสรรค์สภาพ แวดล้อม การปลูกและปลุกจิตส�ำนึกต่อต้านการทุจริต การปลูก ป่าในที่สาธารณะ การจัดท�ำถังเก็บน�้ำของ มณฑลทหารบกที่ 12 การจัดหน่วยเคลื่อนที่โครงการ พม. อ�ำเภอ และมอบรถเข็นให้ แก่ผู้พิการ ซึ่งเป็นการพัฒนาตามแนวทาง 4ประการที่ก�ำหนด ให้เกิดความสุข ความยั่งยืนต่อไป

81 issue 105 october 2016


ครอบครัวคุณศิวกร ดีชู จังหวัดนครศรีธรรมราช

ร่วมส่งภาพครอบครัวพอเพียงมาอวดเพื่อนๆ ในนิตยสาร ได้ที่ fosefpr2014@gmail.com, facebook/ครอบครัวพอเพียง 82 IS AM ARE www.fosef.org


ประโยชน์ จ ากน�้ ำ มั น เมล็ ด ชา • มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง และมีกรดไขมันอิ่มตัวต�่ำ • ช่วยลดระดับ LDL (คอเรสเตอรอลชนิดไม่ดี) และเพิ่ม ระดับ HDL (คอเรสเตอรอลชนิดดี) • ลดความเสี่ยงในการเกิดหลอดเลือดตีบตัน ความดัน เบาหวาน และโรคหัวใจ • ดีต่อผู้รักสุขภาพ ผู้สูงอายุ และผู้มีภาวะน�้ำหนักเกิน

ร่ า งกายของเราจ� ำ เป็ น ต้ อ งใช้ ไขมั น เพื่ อ เป็ น แหล่ ง พลังงานของร่ายกาย ดังนั้นการเลือกบริโภคไขมันจึงเป็นการ เลือกแหล่งพลังงานของร่างกาย ไขมันมีทั้งไขมันชนิดดี และ ไขมันชนิดร้าย น�้ำมันพืชที่มีไขมันไม่อิ่มตัวแบบเดี่ยวสูง จัดเป็นน�้ำมัน ชนิด “ดีพิเศษ” น�้ำมันเหล่านี้ช่วยลดคอเลสเตอรอลชนิดร้าย (LDL) และเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) ซึ่งช่วยท�ำความ สะอาด หรือเก็บขยะ (คราบไขมัน) จากผนังเส้นเลือด

83 issue 105 october 2016


นิตยสาร IS AM ARE ครอบครัวพอเพียง พร้อมเสริพ์ให้ทุกท่านได้อ่านแล้ว!! เพี ย งแค่ ค ลิ ก เข้ า ไปที่ www.fosef.org ท่ า นก็ ส ามารถอ่ า นนิ ต ยสาร IS AM ARE ครอบครั ว พอเพี ย ง ได้ โ ดยไม่ มี ค ่ า ใช้ จ ่ า ย เรื่ อ งราว สาระดี ๆ มากมายรอท่ า นอยู ่ หากอ่ า นแล้ ว ถู ก ใจอย่ า ลื ม บอกต่ อ นะครั บ 84 IS AM ARE www.fosef.org


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.