เปลี่ยนมะเร็งเป็นพลัง

Page 1

นพ.สงวน นิตยารัมภพงศ






โดยนายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน

คุณหมอสงวน นิตยารัมภ์พงศ์ เริ่มรู้ตัวว่าเป็นมะเร็งที่ปอดก็เมื่อ โรคได้ ลุ ก ลามถึ ง ระยะที่ สี่ ซึ่ ง เป็ น ระยะสุ ด ท้ า ยแล้ ว ตามสถิ ติ ท างการ แพทย์ผู้ป่วยลักษณะนี้จะมีเวลาในชีวิตเหลืออยู่ไม่มาก แต่คุณหมอสงวน ได้ต่อสู้กับโรคร้ายนี้ร่วมกับแพทย์ที่ทำหน้าที่เยียวยารักษาจนมีอายุยืน ยาวต่อมาได้ถึงสี่ปีเศษ นับว่ายาวนานกว่าผู้ป่วยที่อยู่ในสภาพเดียวกัน เป็นอันมาก สามารถใช้ช่วงเวลาในชีวิตที่เหลืออยู่สร้างคุณูปการให้แก่ ระบบบริการสุขภาพของประเทศไทยได้อย่างเอนกอนันต์ และยังได้หา เวลาเล่าประสบการณ์บั้นปลายชีวิตเพื่อประโยชน์แก่คนรุ่นหลัง ออกมา เป็นหนังสือเล่มเล็กๆนี้ ในฐานะคนไข้ที่เป็นแพทย์ทำให้มีโอกาสศึกษาทำความเข้าใจกับ โรคภัยไข้เจ็บของตนได้มากกว่าคนทั่วไปที่ไม่ใช่แพทย์ คุณหมอสงวนจึง สามารถเล่าถึงโรคร้ายที่ตัวเองเป็นออกมาได้อย่างน่าเชื่อถือ โดยกล้า สะท้อนถึงปัญหาที่ละเอียดอ่อนอย่างตรงไปตรงมา แต่ด้วยจิตใจที่งดงาม โดยพื้นฐานของคุณหมอสงวน และด้วยทักษะในฐานะที่เป็นทั้งแพทย์ ทั้ง นักบริหาร ทำให้เรื่องราวที่นำเสนอเป็นการบอกเล่าอย่างมีศิลปะ ชวน ติดตาม และมีประโยชน์อย่างยิ่ง หนังสือเล่มนี้ มีประโยชน์โดยตรงอย่างน้อยกับบุคคลสามกลุ่ม กลุ่มแรกคือ บรรดาญาติมิตรของคุณหมอสงวน จะได้รับรู้รับทราบว่า คุณ หมอเจ็บป่วยด้วยโรคอะไร ต้องประสบกับทุกขเวทนามากน้อยเพียงไร และคุณหมอเผชิญกับโรคร้ายนี้ได้อย่างไร กลุ่มที่สองคือ คนไข้และญาติ


คนไข้ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งจะได้ทราบถึงปัญหาและการทำตัวทำใจเพื่อ แปรทุกข์หรือปัญหาให้เป็นความสุขหรือโอกาสในการพัฒนาคุณภาพชีวิต จิตใจของตน และกลุ่มที่สามคือแพทย์ที่จะได้มีโอกาสรับรู้ถึงปัญหาและ ข้อวิตกกังวลของคนไข้มะเร็งได้ดียิ่งขึ้น ตลอดจนสามารถใช้เป็นกรณี ศึกษาสำหรับแพทย์และนักศึกษาแพทย์รวมทั้งพยาบาลและบุคลากร สาธารณสุขแขนงอื่นๆทุกแขนงด้วย หนังสือเล่มนี้จึงเป็นหนังสือที่บรรดาญาติ มิตร ของคุณหมอสงวน และคนไข้ตลอดจนญาติคนไข้มะเร็ง รวมทั้งแพทย์ พยาบาล บุคลากร สาธารณสุขทุกแขนง รวมตลอดถึงนักศึกษาในสาขาสุขภาพทุกคนไม่ควร พลาด นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน กระทรวงสาธารณสุข


จากตัวแทนเครือข่ายผู้ป่วยมะเร็ง

หลั ง จากที่ ไ ด้ อ่ า นหนั ง สื อ เล่ น นี้ จ บ ดิ ฉั น รู้ สึ ก ว่ า เหมื อ นได้ อ่ า น หนังสือธรรมะเล่มหนึ่งที่มีคุณค่ามาก เป็นธรรมะของผู้ป่วยในอีกมุมหนึ่ง ที่ยังไม่เคยปรากฏมาก่อน คุณหมอสงวนท่านถ่ายทอดประสบการณ์ได้ อย่างละเอียด ชัดเจน เข้าใจง่าย เป็นธรรมชาติที่สุด ดิฉันในฐานะเพื่อนร่วมโรคคนหนึ่งรู้สึกประทับใจ แนวคิดปฏิบัติ ของท่านหลังป่วย ทำให้เกิดความรู้ในอีกด้านหนึ่งที่เราไม่เคยรู้มาก่อน แต่ อ าจรู้ เ ฉพาะวงการแพทย์ เ ท่ า นั้ น เช่ น การเจาะน้ ำ ออกจากปอด

ซึ่ ง ผู้ ป่ ว ยจะไม่ ท ราบถึ ง ผลที่ ต ามมา แต่ คุ ณ หมอได้ ใ ห้ ข้ อ แนะนำการ สมานฉันท์ ระหว่างหมอกับผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี เพื่อเป็นแนวทางให้

ทุกฝ่ายยอมรับกันได้ ลดช่องว่างซึ่งกันและกัน ร่วมมือกันรักษาในที่สุด ผลการรักษาจะดีขึ้นทั้งร่างกายและจิตใจ ซึ่งผู้ป่วยทุกคนควรจะนำมาเป็น แนวทางปฏิบัติอันจะมีประโยชน์ต่อตัวท่านเอง สิ่งที่คุณหมอสงวน เขียนมาทั้งหมด ดิฉันได้ข้อสรุปคือ คุณหมอ ได้ชัยชนะแล้ว มะเร็งเป็นโรคธรรมะ (หรือธรรมชาติ) ต้องใช้ธรรมะรักษา ร่วมกับการแพทย์แผนปัจจุบันผสมผสานกัน ท่านได้ทำครบทุกอย่าง คุณ หมอได้บรรลุธรรมแล้ว ได้ดวงตาเห็นธรรม เกิดปัญญาบารมี คุณหมอมี ความกล้าหาญ อดทน มีกำลังใจ เข้มแข็ง มีสติสัมปชัญญะมั่นคงดี จนถึง วินาทีสุดท้าย น่าชื่นชม น่ายินดี อยากให้ผู้ป่วยทุกท่านไม่ว่าจะป่วยด้วย โรคอะไรก็ตาม ได้อ่านหนังสือเล่มนี้ แล้วได้ข้อคิดข้อปฏิบัติที่ดีและถูก


ต้อง นำมาเป็นแบบอย่างปฏิบัติกับตัวท่านเอง ดิฉันเชื่อว่าผลการรักษา ของท่านจะดีขึ้นอย่างแน่นอน อีกทั้งท่านจะได้รับกำลังใจ ที่เข้มแข็ง มีสติ อดทน กล้ า หาญ อย่ า งที่ คุ ณ หมอเป็ น แบบอย่ า งและได้ ชี้ แ นะไว้ ด้ ว ย ประสบการณ์และความรู้ทั้งในฐานะผู้ป่วยมะเร็งและในฐานะแพทย์ ดิฉัน อยากจะบอกทุกคนว่าหนังสือเล่มนี้ดีมาก ให้ความรู้ที่มีคุณค่าและคุณ ประโยชน์ต่อผู้ป่วยและวงการแพทย์อย่างดียิ่ง รวมทั้งผู้คนทั่วไปที่รัก สุขภาพได้ศึกษาหาความรู้ ความเข้าใจ เพื่อ “ป้องกันดีกว่ารักษา” คุณหมอสงวน ท่านได้ทำดีที่สุด สมบูรณ์แบบที่สุดแล้วค่ะ หน้าที่ ของท่านและผลงานของท่าน ได้ก่อประโยชน์สูงสุด ตามเจตนารมณ์ของ ท่านแล้วค่ะ ขอกราบขอบพระคุณ และกราบอนุโมทนาบุญกับคุณหมอที่ได้ มอบสิ่งดีๆ มีคุณค่า มีประโยชน์ต่อผู้ป่วย นับเป็นบุญกุศลอันยิ่งใหญ่ อย่างหาที่เปรียบมิได้ ขอให้บุญกุศลนี้นำพาคุณหมอให้พบกับความสุข สุขภาพแข็งแรง ปราศจากทุกข์โศกโรคภัย ตลอดกาลทุกภพ ทุกชาติ ด้วยความเคารพรัก พรรณธร จงสุวัฒน์


จากตัวแทนศูนย์ส่งเสริมมิตรภาพบำบัด

ชีวิตเป็นสิ่งที่มีค่ายิ่ง ทุกชีวิตเกิดมาเพื่อสร้างสมความดีและทำ หน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้ดีที่สุด จึงเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะรักษาชีวิต ให้ยืนยาวเพื่อสะสมความดี แม้ความไม่เป็นโรคคือลาภอันประเสริฐ แต่ก็ ยากที่จะหาคนที่ไม่เคยเจ็บป่วยเลย เมื่อเจ็บป่วยจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะ ต้องหาหนทางรักษาให้หายจากโรคเพื่อกลับมาทำภารกิจต่อไป ถ้าการ เจ็บป่วยนั้นไม่ใช่โรคร้ายแรงก็คงไม่ยากที่จะรักษาให้หายในไม่กี่วัน แต่ ถ้าการเจ็บป่วยนั้นเป็นโรคร้ายแรง เรื้อรังและเป็นโรคที่ยังไม่มีวิธีการ รักษาวิธีใดวิธีหนึ่งที่ได้ผลจนเป็นที่ยอมรับดังเช่นโรคมะเร็ง ย่อมเป็นสิ่งที่ รบกวนจิตใจ บั่นทอนกำลังใจของผู้เจ็บป่วยอย่างยิ่ง และเกิดความสับสน ในการเลือกวิธีการรักษาซึ่งมีอยู่มากมายหลายวิธี หนังสือเล่มนี้ได้เขียนขึ้นจากประสบการณ์ของคุณหมอสงวนเอง ซึ่งท่านป่วยเป็นโรคมะเร็งปอด ท่านเป็นแพทย์ มีความรู้ในหลักการรักษา ในวงการแพทย์ทุกสาขา มองเห็นจุดเด่นและข้อด้อยในการแพทย์สาขา ต่าง ๆ มีความเข้าใจในระบบและข้อจำกัดในการให้บริการทางการแพทย์ วิธีการสร้างกำลังใจเพื่อต่อสู้กับโรคร้าย การปฏิบัติตนและการขวนขวาย หาวิธีการรักษาต่าง ๆ ของคุณหมอสงวนในหนังสือเล่มนี้จึงเป็นข้อคิด และตัวอย่างที่ดีในการนำไปปฏิบัติของผู้ป่วยรายใหม่ เป็นความรู้และ แนวทางปฏิบัติที่เหล่าอาสาสมัครมิตรภาพบำบัด เครือข่ายเพื่อนมะเร็ง สามารถนำไปเป็นแนวทางในการทำหน้าที่ให้คำแนะนำและช่วยเหลือ


ผู้ป่วยได้ถูกต้องตามหลักการแพทย์ต่อไป เป็นสื่อที่ดีสำหรับแพทย์และ บุคลากรทางการแพทย์ที่จะได้เข้าใจความรู้สึกของผู้ป่วยได้ดีขึ้น ไม่เอา ความเห็นของตนเป็นที่ตั้ง เป็นพี่เลี้ยงที่ดีให้กับผู้ป่วยในการต่อสู้กับโรค ร้าย วิกฤติโรคภัยที่รุนแรงแม้โอกาสรักษาให้หายจะมีน้อย แต่ถ้าต่อสู้ ด้วยสติที่มั่นคงก็สามารถมีชีวิตอยู่ได้อย่างมีคุณภาพ สร้างประโยชน์และ คุณงามความดีมากมายแก่สังคม ดังที่คุณหมอสงวนได้ดำเนินชีวิตช่วง เจ็บป่วยให้เป็นตัวอย่างแก่ผู้ป่วยทุกท่าน จึงขออนุโมทนากับกุศลเจตนา ในการนำเสนอหนังสือเล่มนี้แก่สาธารณชนสืบไป

นาวาอากาศเอก เกษม วิจัยธรรม ประธานคณะกรรมการบริหารศูนย์มะเร็ง

ศูนย์ส่งเสริมมิตรภาพบำบัด โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช

และเครือข่ายศูนย์ส่งเสริมมิตรภาพบำบัด


ในวันหนึง่ ของชีวติ ...ผมซึง่ กำลังมุง่ มัน่ อยูก่ บั งานทีผ่ มรัก และสิง่ ทีผ่ มใฝ่ฝนั อยากให้เกิดขึน้ มาตลอดชีวติ ก็กำลังเป็นรูปเป็นร่าง หลายภารกิจสำคัญจ่อคิวเข้ามาท่ามกลางโอกาสแห่งความสำเร็จทีไ่ ม่อาจรัง้ รอ วันทีห่ วั ใจผมเต็มเปีย่ มด้วยพลังทีจ่ ะก้าวไปข้างหน้า แต่กลับเป็นวันทีผ่ มต้องมารับฟังผลการตรวจร่างกายว่าผมเป็นโรคมะเร็ง ผมเป็นมะเร็งทีป่ อด ...ซึง่ เป็นอวัยวะทีส่ ำคัญ และเซลล์เนือ้ ร้ายก็กำลังอยูใ่ นระยะเติบโตถึงระยะสุดท้าย ถ้าว่ากันโดยสถิตทิ างการแพทย์...ผมคงเหลือแต่ชอื่ ไปตัง้ นานแล้ว แต่จากวันนัน้ จนถึงวันนีเ้ ป็นเวลากว่าสีป่ มี าแล้ว ผมผ่านวันและเวลาแห่งการต่อสูก้ บั มะเร็งมาอย่างเข้มข้น เจ็บปวดก็เจอ ทุกข์กใ็ ช่...และชนะก็เป็น วันนี้ ผมอยากพูดเรือ่ งมะเร็งในฐานะผูท้ ปี่ ว่ ยเป็นมะเร็งจริงๆ ว่า เป็นมะเร็งไม่ใช่ความตายทันที

มันอาจทำให้เราตายก็ได้ มันอาจทำให้เราไม่ตายก็ได้ เป็นมะเร็งไม่ใช่เราจะสูญสิน้ ทุกสิง่ ในทางกลับกัน มันคือเงือ่ นไขแห่งการเปลีย่ นแปลงในชีวติ มะเร็งคือพลังอีกรูปแบบหนึง่ ทีท่ ำให้ผมเลือกทำสิง่ ดี ๆ ให้เร็วขึน้ และมากขึน้ รวมทัง้ ได้ทำในกิจกรรมบางอย่างทีค่ วรจะทำมาตลอดชีวติ แต่ไม่เคยได้ทำ 10

นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์


ใครก็ตามทีต่ อ้ งพบกับเงือ่ นไขแห่งชีวติ เช่นเดียวกับผม ผมอยากให้คณ ุ มองมะเร็งว่าเป็นเงือ่ นไขทีม่ พี ลัง เปลีย่ นชีวติ คุณได้ทงั้ ในด้านบวกและด้านลบ ขึน้ อยูก่ บั ว่าคุณเลือกทีจ่ ะอยูข่ า้ งใด และมีแต่คณ ุ เท่านัน้ ทีเ่ ป็นฝ่ายตัดสินใจเลือกข้าง คุณจะปล่อยให้มะเร็งกำหนดคุณ

หรือคุณจะใช้เงือ่ นไขนีเ้ พือ่ กลับมาเป็นผูก้ ำหนดชีวติ ตัวเอง นีค่ อื สิง่ ทีท่ า้ ทายอย่างยิง่ ผมคิดว่าการแพ้ หรือชนะ ไม่ได้อยูท่ กี่ ารอยูห่ รือการจากไป แต่อยูท่ กี่ ารใช้ชวี ติ ในขณะทีเ่ รายังอยู่ และใช้เวลาในขณะทีม่ ชี วี ติ อยูใ่ ห้ดที สี่ ดุ เพราะเราทุกคนต่างไม่อาจจะรู้ ว่าเราจะอยูไ่ ด้อกี นานเท่าใด

เปลี่ยนมะเร็งเป็นพลัง

11


12

นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์


ตั้งหลักอย่างมีสติ ในวันที่หมอบอกว่า....คุณมีมะเร็ง

โดยปกติผมเป็นคนแข็งแรงและชอบออกกำลังกายมาโดยตลอด อี ก ทั้ ง ความที่ เ ป็ น แพทย์ ก็ ย่ อ มนั บ ว่ า มี ค วามรู้ ม ากพอในการที่ จ ะดู แ ล สุขภาพได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามในระยะเกือบยี่สิบปีมานี้ผมหันมา ทำงานด้านวิชาการและบริหารมาตลอด โดยมีเป้าหมายในใจที่อยากจะ ให้เกิดขึ้นในสังคมไทยก็คือ การที่ประชาชนมีหลักประกันสุขภาพถ้วน หน้า เพื่อให้คนไทยเราสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพได้ในยามจำเป็นได้ โดยที่เรื่องเงินไม่เป็นอุปสรรค ผมเริ่มต้นการทำงานสาธารณสุขด้วยการทำงานในโรงพยาบาล ชุมชนในถิ่นชนบท ต่อมาได้ย้ายเข้ามาในกระทรวงสาธารณสุข และใน ระยะสิบกว่าปีมานี้ผมเป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่มีแนวคิดร่วมกันและพยายาม ทำในสิ่งที่เรียกว่า “การปฏิรูประบบสุขภาพ” ซึ่งมีหลายเรื่องหลายระบบ ย่อยที่ต้องการการปฏิรูปไปพร้อม ๆ กัน โดยส่วนตัวผมมีความสนใจและ ได้หาความรู้ลงลึกไปในด้านการทำระบบหลักประกันสุขภาพ ซึ่งผมได้

ทำทั้งงานวิจัยและการทดลองปฏิบัติจริงในระดับพื้นที่และต่อมาก็ได้ช่วย กันผลักดันเข้าสู่ระดับนโยบายของประเทศ จนกระทั่งด้วยความร่วมใจ เปลี่ยนมะเร็งเป็นพลัง

13


เสี ย สละทุ่ ม เทจากทุ ก ฝ่ า ยในปั จ จุ บั น เรามี พ ระราชบั ญ ญั ติ ห ลั ก ประกั น สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 และมีการตั้งสำนักงานหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ (สปสช.) ขึ้นมา เพื่อเป็นองค์กรรับผิดชอบบริหารงานสร้าง ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ผมตัดสินใจมาทำหน้าที่ในตำแหน่ง เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติคนแรก ในวันที่ 4 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2546 รับผิดชอบการบริหารงานองค์กรที่จัดตั้งขึ้นใหม่ ซึ่งมีงานหลายด้านและมีทีท่าว่ากำลังจะไปได้ดีขึ้นเรื่อย ๆ แต่ ห ลั ง จากที่ ด ำเนิ น การสปสช.มาได้ เ พี ย งครึ่ ง ปี ผมก็ พ บว่ า

ตัวเองเป็นโรคมะเร็ง ผมเองไม่เคยมีอาการผิดปกติอะไรที่ชัดเจน จะมีบ้างก็คือปวด แน่นบริเวณหน้าอกเป็นบางครั้งเวลาทำงานหนัก ๆ ประชุมเครียด ๆ ทั้ง วัน ก็คิดว่าอาการที่เป็นน่าจะเป็นเพราะทำงานหนักเกินไป บางช่วงเวลา ที่มีงานหนักหลาย ๆ วันติดต่อกัน จะมีอาการตัวอุ่น ๆคล้ายกับจะเป็นไข้ ผมก็เลยเริ่มเอะใจ พยายามทบทวนวิชาการแพทย์ที่ตนเรียนมาก็ไม่มี บอกที่ใดว่า ความเครียดนี่ทำให้มีไข้ได้ และทุกครั้งที่เป็นพอกลับถึงบ้าน นอนหลับตื่นขึ้นมาตอนเช้าอาการนี้ก็หายไปเองโดยไม่ต้องทำอะไร ผม จึงไม่รู้สึกกังวลอะไรเท่าใด เมื่อมีอาการอย่างนั้นหลาย ๆ ครั้งเข้าถึงแม้

ว่าจะไม่ได้เป็นบ่อยผมก็เริ่มบ่นให้ภรรยาฟังบ้างตามประสาคนที่อยู่ด้วย กัน ภรรยาขอให้ผมไปตรวจร่างกายแต่ตัวผมก็ผัดผ่อนไปเรื่อยเพราะทั้ง ไม่อยากเสียเวลาและคิดว่าอยู่ดี ๆ ไปตรวจเกิดเจออะไรที่สงสัยเข้าจะ ทำให้ไม่สบายใจ จนกระทั่งวันหนึ่งขัดการตื๊อของภรรยาไม่ไหวก็เลยคิด ว่าลองไปตรวจดูบ้างก็ได้ ตอนที่ไปตรวจเลยไปเน้นตรวจหาโรคหัวใจ

มีการเดินสายพานและตรวจเลือดทั่วไป เนื่องจากไม่เคยใส่ใจกับอาการ ตัวอุ่น ๆ ดังกล่าวเลยสนใจแต่อาการแน่นหน้าอก แต่ภรรยาผมบอก

ภายหลังว่าวันนั้นไม่รู้ว่าคิดอย่างไรเห็นว่าเจ็บตัวเจาะเลือดไปแล้วก็เลย 14

นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์


ผมกับลูกๆ ในวันที่มีความสุข ประมาณ 2 ปีก่อนที่จะรู้ว่าผมเป็นมะเร็ง

ขอเพิ่มให้ตรวจหา CEA ซึ่งเป็นการตรวจเลือดคัดกรองโรคมะเร็งอย่าง

คร่าว ๆ เข้าไปด้วย ผลการตรวจการเดินสายพานผมแข็งแรงดีมาก ผมก็เลยไม่ได้ สนใจติ ด ตามผลเลื อ ดเท่ า ใด ต่ อ มาเพื่ อ นของภรรยาที่ เ ป็ น หมอใน

โรงพยาบาลที่ไปตรวจเลือดได้โทรศัพท์ตามหาภรรยาผม บอกว่าให้ผม ไปตรวจเอ็กซเรย์ด่วนเนื่องจากผลเลือดค่า CEA (Carcinoembryonic Antigen) สูง บ่งบอกว่าผมอาจจะมีมะเร็งที่อวัยวะใดอวัยวะหนึ่ง CEA เป็นการตรวจหาปริมาณโปรตีนชนิดหนึ่งซึ่งอาจจะปรากฏ ในเลื อ ดในผู้ ป่ ว ยซึ่ ง มี เ ซลล์ ม ะเร็ ง บางชนิ ด อยู่ ใ นร่ า งกาย โดยเฉพาะ อย่างยิ่งมะเร็งลำไส้ใหญ่ และอาจพบได้ในผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อน มะเร็ง เปลี่ยนมะเร็งเป็นพลัง

15


เต้านม มดลูก และมะเร็งปอดด้วยเช่นกัน การตรวจหา CEA จะทำเพื่อ การค้นหาหรือวินิจฉัยมะเร็ง และติดตามผลการรักษามะเร็งตลอดจน เป็ น การประเมิ น ว่ า หลั ง การรั ก ษาครบขั้ น ตอนไปแล้ ว มี ม ะเร็ ง กลั บ มา ใหม่หรือไม่ ในการตรวจครั้งแรกนั้นผลตรวจเลือดของผมมีค่า CEA สูงถึง 42 หรือประมาณ 10 เท่าของระดับปกติ ซึ่งถือว่าสูงมากพอสมควร และควรที่ จ ะตรวจหาสาเหตุ ห รื อ แหล่ ง ของเซลล์ ม ะเร็ ง โดยทั น ที โดย หมอแนะนำให้ไปรับการตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) เพื่อดู ว่ามะเร็งอยู่ที่ส่วนใดของร่างกาย ซึ่งโดยทั่วไปหมอมักจะคิดถึงมะเร็ง ลำไส้ใหญ่เป็นอันดับแรก แต่อย่างไรก็ตามหมอก็สั่งทำการเอ็กซเรย์ทั้ง ตัวเพื่อค้นหาสาเหตุให้เร็วที่สุด วั น เดี ย วกั น นั้ น ผมจึ ง ได้ ไ ปทำ CT scan ที่ โ รงพยาบาลพระ มงกุฎฯ โดยการประสานงานของภรรยาผมซึ่งมีเพื่อนเป็นแพทย์อยู่ที่นั่น หลังผ่านกระบวนการตรวจมาแล้ว เราก็มานั่งรอฟังผลกันด้วยใจ ที่ไม่ค่อยดีนัก “สงสัยในปอดคงจะมีปัญหา” คุณหมอที่ตรวจพูดพร้อมกับพาผมไปดูฟิล์มเอ็กซเรย์โดยชี้จุดที่ ผิดปกติให้ดูและมองหน้าอย่างที่เราเริ่มรู้สึกตัวว่าจะมีอะไรเพราะน้ำเสียง และสีหน้าของหมอผู้ตรวจบ่งบอกถึงความเห็นใจว่าเราอาจจะกำลังเผชิญ กับโรคซึ่งทุกคนหวั่นเกรงนั่นก็คือมะเร็ง และนับจากชั่วโมงนั้นทุกอย่างก็เริ่มต้นขึ้นอย่างรวดเร็วจนผม แทบจะไม่ ไ ด้ ล งไปเอาใจใส่ ว่ า เกิ ด อะไรขึ้ น บ้ า งในกระบวนการติ ด ต่ อ ประสานงาน หาหมอ หาเตียง เตรียมการไปตรวจอื่น ๆ เพิ่มเติม และไป จนถึงการเตรียมการรักษา ในตอนนั้นผมรู้สึกว่าตนเองกำลังพบกับอะไร บางอย่างที่ไม่อยากนึกถึง ไม่อยากจะไปค้นหารายละเอียดกับมันด้วย 16

นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์


ประมาณ 1 เดือนหลังการผ่าตัด ผมยังไปทำงานชิ้นสำคัญคือการรับรองรัฐมนตรีช่วย ว่าการกระทรวงสาธารณสุข สาธารณรัฐประชาชนจีน ที่มาดูงาน 30 บาทฯ

ตนเองมากนัก ประกอบกับยังมีงานหลายอย่างที่ยังต้องจัดการอยู่ เลยคิด แต่ว่าหากจะเป็นอะไร ต้องใช้เวลารักษาตัวนานสักนิดก็ขอจัดการงานให้ หมดห่วงไปก่อนก็แล้วกัน ภาระในเรื่องการติดต่อหาที่รักษาตัวผมแทบจะทั้งหมดจึงตกอยู่ที่ ภรรยาของผมซึ่งมีเพื่อนเป็นหมออยู่ที่โรงพยาบาลศิริราช ทั้ง ๆ ที่ผมก็มี อาจารย์ มีพี่ มีเพื่อน และรุ่นน้องอยู่ที่รามาธิบดีหลายต่อหลายคน แต่ผม ก็ได้แต่ปล่อยให้ภรรยาผมอาศัยช่องทางที่เขามีคนคุ้นเคยประสานงานทุก อย่างให้ ส่วนผมเองในเวลานั้นยังเหมือนกับงงๆ ก็ได้แต่จัดการกับงานที่ คิดว่าอยากให้เสร็จในระยะนั้นไปก่อน การพบโรคมะเร็ ง ย่ อ มเป็ น จุ ด เปลี่ ย นที่ ส ำคั ญ ในชี วิ ต ผมก็ ค ง เปลี่ยนมะเร็งเป็นพลัง

17


หลังเข้ารับการรักษาผมพยายามมาทำงานเสมอ เพราะการทำงานทำให้ผมรู้สึกว่าตัวเอง มีคุณค่า

เหมือนกับผู้ป่วยมะเร็งทุกคนที่อดไม่ได้ที่จะตั้งคำถามว่าทำไมต้องเป็น ผม และทำไมต้องเป็นตอนนี้ด้วย เพราะว่าวันที่พบว่ามีโรคร้ายนี้อยู่ในตัว และในจุดที่สำคัญของร่างกาย กำลังเป็นช่วงของการที่เกือบจะถึงจุด สูงสุดของการที่จะทำสิ่งที่เราใฝ่ฝันมาตลอดชีวิต แต่อยู่ ๆ ผมก็ป่วยขึ้น มา การงานที่วางแผนไว้หลายเรื่องต้องชะงักหรือชะลอออกไป มันช่างเป็นเวลาที่เลวร้ายเหลือเกินสำหรับผม นอกจากจะกลัว ความเจ็บป่วยและความเจ็บปวดทางร่างกายแล้วมันยังทำให้คล้ายๆกับ รู้สึกเวิ้งว้าง จากที่กำลังรู้สึกสนุกและมุ่งมั่นกับความคืบหน้าของงานที่ กำลังเดินไปได้อย่างดี 18

นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์


ในทางจิตวิทยาซึ่งผมมาเรียนรู้ภายหลังทราบว่า ความรู้สึกโดย ปกติของทุกคนที่รู้ว่าเป็นมะเร็งหรือเป็นโรคร้ายแรงใดก็ตามความรู้สึก อย่างแรกคือจะตกใจ ต่อมาสักไม่กี่ชั่วโมงหรือไม่กี่วันก็จะเริ่มซึมเศร้า เริ่มคิดน้อยใจในโชคชะตาว่าเราก็ไม่ได้ทำอะไรที่ไม่ดีแต่ทำไมถึงเป็นเรา ทำไมไม่ เ ป็ น คนอื่ น คนอื่ น ที่ ไ ม่ ดี ก ว่ า เรามี ตั้ ง เยอะแยะ คนอื่ น ที่ เ ขา ทำความชั่วร้ายไว้ทำไมเขาไม่มีโรคอย่างนี้ เราทำความดีตั้งเยอะแยะ

แต่ เ รากลั บ มาเป็ น อย่ า งนี้ ถั ด จากนั้ น ก็ เ ริ่ ม จะคิ ด โทษโน่ น โทษนี่ เช่ น

สิ่งแวดล้อมที่เราคิดว่าเป็นสาเหตุของมะเร็ง โทษที่เรามักจะกินอะไรโดย มักง่ายไม่ค่อยพิถีพิถัน โทษการงานที่ทำให้เราเกิดความเครียด โทษตัว เองที่ไม่เคยไปตรวจร่างกายไม่ดูแลตัวเอง ฯลฯ คือโทษทั้งคนอื่นและตัว เอง ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้มันเป็นอารมณ์ความรู้สึกที่เป็นเรื่องธรรมดาที่ คนเราจะรู้สึกได้ เมื่อเราต้องรับรู้ว่าเรามีโรคเป็นครั้งแรก เวลานั้นถือว่าเป็นเวลา วิกฤติของชีวิต การตั้งหลักอย่างมีสติจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เมื่อรับรู้ว่า ป่วย ต้องพยายามตั้งสติให้ได้โดยเร็วที่สุด การตั้งสติได้เร็วจะมีผลดี ต่อ ชีวิตตนเอง เพราะจะตามมาด้วยการคิดวางแผนที่จะรับมือกับปัญหาใหญ่ อื่น ๆ ในชีวิต นอกจากนี้ การตั้งสติได้ จะลดความตึงเครียดในความคิด เพราะเท่ากับเราทำใจยอมรับและปล่อยวางได้ รับรู้ว่าเป็นแต่ไม่ร้อนรน ซึ่งการตั้งหลักอย่างมีสตินี้จะมีผลเกี่ยวเนื่องไปถึงสุขภาพทางจิตวิญญาณ ของเราด้วยในระยะยาว ดังนั้น ใครก็ตามที่กำลังจะพาตัวเองไปตรวจร่างกาย สิ่งที่ผม อยากให้ข้อคิดไว้ก็คือว่า ท่านต้องเตรียมความพร้อมทางจิตใจไว้ โดย เฉพาะคนที่มีอาการผิดปกติบางอย่างเกิดขึ้นแล้ว เมื่อผลตรวจออกมา ท่านอาจจะได้รับคำตอบที่นำไปสู่ความตกใจ ความกลัว หรือความวิตก กังวลได้ ดังนั้น ท่านต้องตระหนักถึงข้อนี้ไว้เป็นอย่างดี การมีเพื่อนคู่คิด เปลี่ยนมะเร็งเป็นพลัง

19


ภารกิจสำคัญของผม ด้านหนึ่งคือการสร้างองค์กร สปสช.ให้เป็นองค์กรของรัฐแนวใหม่ที่ มีประสิทธิภาพและพนักงานมีความสุขในการทำงาน

หรือคนสนิทที่ดูแลกันได้ไปเป็นเพื่อนจะเป็นสิ่งที่มีความหมายมาก ดัง เช่นในกรณีของผมที่มีภรรยาไปด้วยในวันนั้น คำพูดปลอบประโลมให้กำลังใจกันและกัน ทำให้เราผ่านเวลานั้น ด้วยกันมาได้ แทนที่วันที่หมอบอกว่าผมมีมะเร็งจะเป็นวันที่เหมือนฟ้า ถล่มทลายก็กลายเป็นว่า เราได้ช่วยกันคิดว่าเราจะจัดการกับโรคอย่างไร และลงมือทำทันที การตรวจร่างกายด้วยวิธีการอื่นร่วมด้วยที่นอกเหนือไปจากการ ตรวจเลือดและเอ็กซเรย์ นอกจากจะเป็นการยืนยันผลการตรวจครั้งแรก ให้เกิดความมั่นใจสำหรับแพทย์และตัวเราเองแล้ว สำหรับผมนั่นเป็น

ช่วงเวลาที่ดีที่คล้ายกับว่าเรายังมีเวลาที่จะเตรียมความพร้อมทางจิตใจ 20

นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์


มากขึ้ น ด้ า นหนึ่ ง เราอาจมี ค วามหวั ง ว่ า ผลการตรวจครั้ ง แรกอาจจะ

ผิดพลาดคลาดเคลื่อนก็ได้ และอีกด้านหนึ่งเราก็มีเวลาอีกช่วงหนึ่งที่จะ บอกตัวเองว่าอะไรจะเกิดขึ้นเราก็จะยอมรับได้ ดังนั้น ในสัปดาห์ถัดมา อาจารย์แพทย์ที่โรงพยาบาลศิริราชก็นัด ให้ผมมาตรวจโดยการส่องกล้องดูปอดจากการใส่สายยางผ่านทางลำคอ แม้ว่าจะเป็นวันอาทิตย์แต่อาจารย์หมอสุชัย เจริญรัตนกุล ซึ่งเป็นแพทย์

ผู้เชี่ยวชาญด้านทรวงอกก็กรุณามาตรวจให้ ด้วยการประสานงานของคุณ หมอนันทิยาเพื่อนของภรรยาผม อาจารย์หมอสุชัยเป็นหมอที่มีบุคลิกที่อบอุ่นอารมณ์ดีและพูดจา นุ่มนวลมีอัธยาศัยดีเป็นอันมาก เราเริ่มต้นการตรวจวินิจฉัยด้วยการส่อง กล้องเข้าไปเพื่อที่จะดูปอดให้ถึงเนื้อข้างในว่าเป็นอย่างไรบ้าง “อดทนนิดหนึ่งนะครับ ผมจะพ่นยาชาให้” หมอสุชัยบอก หลังจากนั้นเมื่อผมมีอาการชาที่ลำคอแล้วแล้ว คุณหมอก็ใส่ท่อ เข้าไปทางปาก ขณะที่ใส่เข้าไปผมก็พยายามที่จะไม่ไอ ไม่ขย้อน และใน ขณะเดียวกันก็ต้องอดทนในการที่จะหายใจตามจังหวะตามกล้องที่ใส่ เข้าไป คือพยายามจะเป็นคนไข้ที่ดีว่าอย่างนั้นเถอะ ดีที่มีการพ่นยาชาจึง ทำให้แม้จะรู้สึกเจ็บอยู่บ้างแต่ก็ไม่มาก กล้ อ งถู ก ใส่ เ ข้ า ไปในหลอดลมใส่ เ ข้ า ไปดู ใ นปอดลึ ก ไปจนถึ ง บริเวณกิ่งก้านสาขาของปอด ซึ่งเราสามารถเห็นภาพที่ฉายออกมาทาง ทีวีได้ ระหว่างที่ดูก็ได้ยินเสียงอาจารย์หมอสุชัยพูดเป็นระยะ ๆ “ผิวมันก็สวยดี เรียบนะ” “สีชมพูดีนะครับ” เสียงอาจารย์หมอสุชัยดังมาเป็นระยะ ๆ ผมรู้สึกว่าทุกคำพูดมี ความหมายต่อผมมาก ๆ เลย อาจารย์หมอค่อย ๆ ขยับกล้องไปใน ทิศทางรอบ ๆ ค่อย ๆ ดูไป ผมเองก็สามารถเห็นภาพที่ปรากฏในจอทีวี เปลี่ยนมะเร็งเป็นพลัง

21


ไม่เห็นปอดผมจะมีความผิดปกติตรงไหนเลย ไม่เห็นจะมีแผล หรือมีก้อน อะไรทั้งสิ้น “ไม่ได้เป็นอะไรเลยนะครับ... เอ็กซเรย์น่าจะผิดพลาดก็ได้นะ ครับ” เมื่ อ ออกมาจากห้ อ งตรวจ อาจารย์ ห มอสุ ชั ย บอกผมอย่ า งนั้ น ทำให้ ผ มเองก็ ใ จชื้ น ขึ้ น มาเหมื อ นคนตื่ น ขึ้ น มาจากฝั น ร้ า ย แต่ อ ย่ า งไร ก็ ต ามคุ ณ หมอจะสั่ ง ทำ CT scan ซ้ ำ อี ก ครั้ ง ในวั น รุ่ ง ขึ้ น เพื่ อ ให้ แ น่ ใ จ เนื่องจากผมอาจจะมีมะเร็งในบริเวณลึก ๆ ที่กล้องส่องดูไปไม่ถึงก็ได้ ท่ามกลางความรู้สึกโล่งอก ขณะลงมาจากอาคารตรวจโรคนั้นก็ พบกับคุณหมอประทีปและภรรยาซึ่งได้ตามมาไถ่ถามด้วยความเป็นห่วง คุณหมอประทีปเป็นเพื่อนรุ่นน้องและทำงานร่วมกับผมมาอย่างยาวนาน คุณหมอประทีปถามว่าเป็นอย่างไรบ้าง ผมก็ตอบว่าหมอเขาดูแล้วว่าไม่มี อะไรบอกว่าเอ็กซเรย์อาจจะผิดก็ได้ แล้วคุณหมอประทีปก็บอกว่าอาจจะ เหมือนกับภรรยาของคุณหมอก็ได้ที่หมอเคยบอกว่ามีก้อนในเต้านมจะ ต้องผ่าตัด แต่สุดท้ายอาจารย์แพทย์อีกคนก็มาบอกว่ามันไม่ใช่ ในที่สุดก็ ไม่ต้องผ่าตัดไม่ต้องทำอะไรเลยจนถึงตอนนี้ทั้ง ๆ ที่ตอนนั้นเข้านอนโรง พยาบาลเพื่อเตรียมผ่าตัดแล้ว คืนนั้นผมนอนค้างที่โรงพยาบาลศิริราชด้วยใจที่สงบพอสมควร ความวิตกกังวลนั้นมีอยู่บ้างแต่ก็ไม่ถึงกับกระวนกระวาย สิ่งที่เราทำได้ดี ที่สุดก็คือ รอวันพรุ่งนี้ รอคำตอบที่มีความหมายต่อชีวิตของผมจากการ ทำ CT scan ซ้ำอีกครั้ง ในการทำ CT scan ไม่มีขั้นตอนที่ยุ่งยากอะไร เพียงแค่ เวลาจะ ถ่ายเขาจะให้เราหายใจเข้าลึกๆ เราก็เพียงแต่หายใจลึก ๆ แล้วหยุด เขา ก็ จ ะถ่ า ยไปตามจั ง หวะ แต่ จ ะมี อ ยู่ ช่ ว งหนึ่ ง ที่ เ ขาจะฉี ด สี เ ข้ า ไปทาง เส้นเลือดซึ่งสีที่ฉีดมันจะแผ่ซ่านไปทั้งตัว เราจะมีความรู้สึกวูบ ๆ แล้วก็ 22

นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์


การเปิดรับลงทะเบียนผู้ใช้บัตรทองตามศูนย์บริการและรพ.ต่าง ๆ เป็นก้าวที่สำคัญในปี แรก ๆ ของ สปสช.แต่ผมต้องมาป่วยเสียกลางคัน

ร้อนไปทั้งตัว แต่ว่าก็ไม่ได้เป็นอันตรายแต่ประการใด หมอบอกว่าสีที่ฉีด สามารถที่จะขับหมดไปได้ภายใน 24-48 ชั่วโมง เพียงแต่ขอให้ดื่มน้ำ มาก ๆ หลังจากที่ทำ CT scan แล้ว ปรากฏว่าผล CT scan ครั้งที่สองออกมายืนยันผลที่ตรวจพบที่ โรงพยาบาลพระมงกุฎฯ ซึ่งนั่นก็หมายความว่าผมมีก้อนอะไรบางอย่าง อยู่ ใ นปอดอย่ า งแน่ น อน ส่ ว นที่ ส่ อ งกล้ อ งไม่ เ ห็ น นั้ น คงเป็ น เพราะว่ า ตำแหน่งของก้อนเป็นจุดที่กล้องดูเข้าไปไม่ถึง อาจารย์หมอสุชัยอธิบายผลการตรวจให้ฟังว่า สิ่งที่พบเป็นก้อน เนื้อเล็ก ๆ ขนาดประมาณ 1 เซนติเมตรกว่าๆ อยู่ตรงบริเวณที่เรียกว่า เปลี่ยนมะเร็งเป็นพลัง

23


Right lower lobe หรือกลีบปอดขวาด้านล่าง ปกติปอดข้างขวาของคนเรา จะมีกลีบปอดอยู่ 3 กลีบ ทางด้านซ้ายจะมีอยู่ 2 กลีบ การที่มีก้อนอยู่ทาง กลีบปอดทางด้านขวาจึงไม่น่าสงสัยเลยว่าเอ็กซเรย์ปกติจะไม่เห็นเลย เพราะว่ามันซ่อนอยู่ค่อนไปทางข้างหลังแล้วมันก็อยู่ทางด้านล่างด้วย ผลที่ออกมาทำให้ผมกลับไปสู่ภาวะมึนงงอีกครั้งหนึ่ง แล้วความ คิดต่อจากนั้นก็วนเวียนอยู่กับการพยายามฟื้นความทรงจำต่าง ๆ เกี่ยว กับสัญญาณที่บ่งบอกว่าผมน่าจะเริ่มมีความผิดปกติที่ผมคิดว่ามันน่าจะมี การก่อหวอดมาตั้งหลายปีมาแล้ว เพราะที่ผ่านมาไม่ใช่ว่าผมไม่เคยมี อาการอะไรเลยเสียทีเดียว เพียงแต่ผมไม่ค่อยจะเฉลียวใจมัวแต่คิดว่า

ตัวเองมีร่างกายที่แข็งแรงมาโดยตลอด ผมทบทวนอดีตเท่าที่จำได้ก็เช่นว่า มีอยู่ครั้งหนึ่งตอนไปอบรม นักบริหารระดับสูงของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาข้าราชการพลเรือน (กพ.) มีการตรวจสมรรถภาพของร่างกายของผู้เข้าฝึกอบรมทุกคน ผล การตรวจของผมก็พบว่ามีอยู่สองอย่างที่มีสมรรถภาพด้อยไป ก็คือ ความ แข็งแรงของกล้ามเนื้อมือที่บีบ โดยพบว่าความแข็งแรงของข้อมือของผม ต่ำไปหน่อย และอย่างที่สองก็คืออัตราความจุปอดจากการหายใจเข้าออก หรือ Tidal volume นั้นน้อยเกินไป แต่ตอนนั้นผมคิดว่าตัวเองเป่าลมออก ได้ไม่เต็มที่ก็เลยละเลยไปไม่ได้ให้ความสนใจแต่อย่างใด นอกจากนี้เมื่อนานหลายปีมาแล้วผมก็เคยไอออกมามีเสมหะสี สนิมเหล็กครั้งหนึ่งและได้เคยไปตรวจร่างกายและพบว่าผลการเอกซเรย์ ปอดก็เป็นปกติ อีกทั้งก็ได้ตรวจเสมหะ 3 วัน ติดต่อกัน ก็ไม่พบว่าเป็น อะไร และว่ากันตามจริงแล้วผมก็เข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี ซึ่งก็มี การเอ็กซเรย์ปอดอะไรพวกนี้มาไม่ต่ำกว่า 3-4 ปีครั้งหนึ่ง แต่ละครั้งผลก็ ปกติ ซึ่งในกรณีของผมถ้าไม่ได้ฉายด้วย CT scan ก็คงจะไม่เห็น จริ ง ๆ แล้ ว มี ก ารศึ ก ษาเรื่ อ งประโยชน์ ข องการตรวจสุ ข ภาพ 24

นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์


ทีมงานที่สปสช.ให้ความเข้าใจ เห็นใจและร่วมมือร่วมใจทำงานหนักในการบริหารจัดการ ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

ประจำปี ซึ่งระบุว่าผลดีด้านหนึ่งก็คือช่วยให้รู้ว่าสุขภาพเป็นอย่างไร มี อะไรผิดปกติก็จะได้รีบหาทางแก้ไข แต่ในอีกด้านหนึ่งถ้าผลที่ออกมาเป็น ลบหรือตรวจไม่พบอะไร แต่จริงๆแล้วมีอะไรผิดปกติอยู่เพียงแต่ตรวจไม่ พบแบบนั้นจะเป็นอันตรายเพราะคนที่เป็นก็ไม่เฉลียวใจ ดังนั้นเราจะไป เชื่อผลการตรวจจากเครื่องมือต่าง ๆ อย่างเดียวแล้ววางใจหรอชะล่าใจไม่ ได้ เราควรจะต้องเฝ้าดูและเชื่อสิ่งที่ร่างกายเราแสดงออกมาด้วย ถ้าตอน นั้นผมฟังเสียงร่างกายตัวเองมากกว่านี้ อีกทั้งพิจารณารอบคอบว่าผมมี ประวัติครอบครัวที่ชัดเจนเพราะทั้งคุณพ่อคุณแม่ก็ป่วยด้วยมะเร็ง ถ้าผม เปลี่ยนมะเร็งเป็นพลัง

25


ไม่สรุปลงความเห็นตามผลของเครื่องมือ ไม่ประมาทคิดว่าตัวเองแข็งแรง ผมก็คงจะได้พยายามขวนขวายค้นหาสาเหตุที่ทำให้ผมมีอาการผิดปกติ อย่างละเอียดมากกว่านี้ หลังจากรู้ผลแน่ชัดแล้ว สิ่งที่ตามมาอย่างกะทันหันและกระชั้นชิด เกินไปสำหรับผม ก็คือ การเตรียมการผ่าตัด ผมได้เห็นความกระตือ

รื อ ร้ น ของคุ ณ หมอสมชาย ศรี ย ศชาติ หั ว หน้ า แผนกศั ล ยกรรมของ

โรงพยาบาลศิริราชที่ตั้งใจจะผ่าตัดให้โดยเร็ว โดยกำหนดวันผ่าตัดให้

วันที่ 12 สิงหาคม 2546 ซึ่งผมอยากจะกล่าวขอบคุณอีกครั้ง แต่ว่า เนื่ อ งจากตอนนั้ น ใจผมเองยั ง ไม่ ไ ด้ เ ตรี ย มรั บ กั บ การเปลี่ ย นแปลงที่

มาอย่ า งรวดเร็ ว ขณะเดี ย วกั น ก็ มี ง านบางอย่ า งที่ ค้ า ง ๆ อยู่ ก็ เ ลยขอ

ผลั ด ผ่ อ นการผ่ า ตั ด ไปก่ อ น งานหนึ่ ง ที่ ส ำคั ญ ตอนนั้ น ก็ คื อ การรั บ รอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขจีนที่มาดูงาน 30 บาทรักษาทุก โรค ถ้าจะว่าไปแล้วผมมันก็แปลกจริง ๆ เป็นมะเร็งปอดหมอบอกว่าต้อง ผ่าตัดโดยเร็วที่สุดแต่ใจผมยังไม่นิ่งที่จะทำตามที่แพทย์แนะนำ ว่ากันตาม จริงแล้วไม่ได้ศึกษาเพิ่มเติมด้วยซ้ำเพราะความที่ยังมึนงงอยู่ ที่จริงแล้ว การตั้งสติที่ดีที่สุดก็คือการหาความรู้เพิ่มเติมและแลกเปลี่ยนปรึกษาหารือ กับคุณหมอ และร่วมกันวางแผนให้หมดทุกขั้นตอน จึงจะเกิดความมั่นใจ เดินเข้าสู่กระบวนการรักษา แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ซึ่งผมก็รวมอยู่ในนั้น ไม่ ได้ ศึ ก ษาข้ อ มู ล เพิ่ ม เติ ม อะไรเนื่ อ งจากเชื่ อ มั่ น ในระบบที่ มี อ ยู่ ขณะ เดียวกันความกระตือรือร้น ความปรารถนาดีของผู้รักษาเราก็ทำให้เรา สัมผัสได้ เราจึงเดินตามกระบวนการที่ถูกเสนอให้แต่โดยดี ความเป็นจริง แล้วระบบการแพทย์สมัยใหม่ที่มีอยู่ให้การรักษาพยาบาลแบ่งเป็นส่วน ๆ เช่น ส่วนของการผ่าตัด ส่วนของเคมีบำบัด ส่วนของการฉายรังสีรักษา ฯลฯ และเวลาพิจารณาดูผู้ให้การรักษาเราก็จะเป็นผู้เชี่ยวชาญทางโรค ผู้ มีความชำนาญผ่าตัดทางหัวใจและปอด ผู้เชี่ยวชาญระบบในช่องท้อง 26

นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์


หรือทางด้านสมอง เป็นต้น ความที่แบ่งเป็นส่วน ๆ ข้อดีก็คืออาจารย์

ผู้ให้การรักษาจะเก่งและรู้ลึกในส่วนที่ตนเองรับผิดชอบ มีความทันสมัย ในเรื่องนั้น ๆ ตลอดเวลา แต่ข้อเสียก็คือไม่มีใครดูภาพรวมของการรักษา ให้เราแบบทั้งหมดรวมกัน บางครั้งทำให้ประสิทธิภาพการดูแลรักษาอ่อน ด้อยไปบ้าง ในประเทศที่เจริญแล้วจึงเริ่มมีผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้จัดการโรค หรือ Disease Manager มาเป็นผู้ประมวลผลดูภาพรวมการรักษา รับผิด ชอบในการเป็นเพื่อนของผู้ป่วยเพื่อให้ผลการรักษาดีที่สุดจากเทคโนโลยี และผู้เชี่ยวชาญที่มีอยู่ แต่ในประเทศเรายังไม่ได้ริเริ่ม มีความพยายามอยู่ บ้ า งในโรงพยาบาลเอกชนบางแห่ ง กั บ ผู้ ป่ ว ยบางรายเท่ า นั้ น อย่ า งไร ก็ตามด้วยความหวังดีของแพทย์และความห่วงใยของภรรยา ทำให้ผม ผลัดผ่อนการผ่าตัดไปเพียง 3 วัน เป็นวันที่ 15 สิงหาคม 2546 เพื่อ จัดการงานบางอย่างที่ค้างคาอยู่ก่อนเข้ารับการผ่าตัด มะเร็งเข้ามาเป็นเงื่อนไขสำคัญในชีวิตผมแล้วจริง ๆ นับ จากวันนี้ผมจะไปไหนจะทำอะไรตามสบายอย่างที่เคยทำมาตลอด คงไม่ได้ การอยู่กับความจริงที่ว่าเรามีมะเร็งในช่วงสองสามวันแรก เป็นการต่อสู้ในจิตใจตัวเองครั้งใหญ่ ที่ต้องการกำลังใจและสติเป็น อย่างมาก ผมก็เป็นคนหนึ่งที่เหมือนกับทุกคนคือหวั่นไหวในบางครั้ง และเข้มแข็งในบางที แต่ผมก็รู้ว่าผมไม่มีเวลาให้ท้อแท้นานมากนัก มะเร็งเติบโตทุกวันในร่างกายของเรา มันอาจโตทีละนิดมานาน แล้วแต่เราไม่เคยรู้ วันนี้เมื่อเรารู้แล้วก็ถึงเวลาที่เราจะต้องรุกกลับ และทำอะไรกับมันบ้าง เราต้องคิดให้รอบคอบและต้องทำลงมือทำทันที

เปลี่ยนมะเร็งเป็นพลัง

27


28

นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์


เปิดแนวรุกรักษาโรค

เมื่อตั้งสติ ปรับตัวปรับใจกับผลการตรวจวินิจฉัยโรคได้แล้ว สิ่งที่ สำคัญต่อมาก็คือ การเข้ารับการบำบัดรักษาที่เหมาะสม ซึ่งปัจจุบันนี้มี หลายกระบวนการและหลายทางเลือก พูดกันถึงเฉพาะการผ่าตัดอย่าง เดียวก็ยังมีทางเลือกมากขึ้น เช่น มีการผ่าตัดโดยส่องกล้องเข้าไปผ่านรูที่ เจาะที่หน้าอกและตัดชิ้นเนื้อออกมาผ่านเครื่องมือที่ใส่เข้าไปโดยไม่ต้อง ผ่าตัดแบบเปิดหน้าอกทั้งหมด ซึ่งการผ่าตัดแบบใหม่นี้ทำช่วยให้ระยะ เวลาในการพักฟื้นสั้นลง เจ็บปวดน้อยกว่า และผลสืบเนื่องต่อร่างกาย หลังการผ่าตัดโดยกล้องก็น้อยกว่าการผ่าตัดแบบเดิมมาก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ระดับของโรคและความเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งเราต้องพยายาม ขวนขวายหาการรักษาพยาบาลที่ดีที่สุดที่เป็นประโยชน์ต่อเรา ควรแลก เปลี่ยนกับหมอไม่ใช่ปล่อยให้หมอจัดการกับชีวิตเราโดยที่เราไม่รู้เรื่อง

ไม่สนใจจะรู้อะไร อย่างนั้นก็ถือว่าเราไม่ได้พยายามที่จะดูแลสุขภาพของ เราเองอย่างจริงจังสักเท่าใด นอกจากไปหาหมอคนที่หนึ่งแล้ว อาจจะลองหาความเห็นจากที่ อื่นสักที่สองที่ เช่น ถ้าแพทย์คนแรกเห็นว่าน่าจะผ่าตัดก่อนที่จะให้คีโม เราก็อาจจะลองถามแพทย์ท่านอื่นว่ามีความเห็นอย่างไรเพื่อให้มีความ เปลี่ยนมะเร็งเป็นพลัง

29


มั่นใจ คือการทำอย่างนั้นไม่ใช่ว่าเราไม่เชื่อประสบการณ์ของแพทย์คน หนึ่งแต่ว่าการได้ความคิดเห็นหลายอย่างจะทำให้เรามีความกล้ามากขึ้น เชื่อมั่นในแนวทางที่เลือกและมีกำลังใจมากขึ้น มีความเป็นไปได้ว่าเราอาจจะได้ความเห็นของแพทย์ที่ขัดแย้งกัน บางครั้งอาจจะทำให้เราตัดสินใจลำบาก เราอาจจะต้องถามความเห็น แพทย์เป็นคนที่ 3 แต่อย่างไรก็ตามเมื่อได้ความเห็นทั้งหมดแล้วเราก็ต้อง ตัดสินใจเลือกการรักษาพยาบาลที่เราเชื่อมั่นมากที่สุด ในกรณีแพทย์ รักษามะเร็งในปัจจุบันบ้านเรายังมีจำนวนแพทย์ด้านนี้น้อยมาก เพราะ ฉะนั้นอย่าได้คาดหวังนะครับว่าหมอจะมีเวลาดูแลเราได้อย่างเต็มที่ แม้ว่า หมอส่วนใหญ่จะมีความกรุณาปราณี แต่ก็อาจจะพูดไม่เพราะบ้าง พูด ห้วนบ้าง หรือไม่ได้เอาใจใส่กับเรามากอย่างที่เราคาดหวัง เพราะคิว คนไข้ที่รอคุณหมออยู่มีเป็นจำนวนมาก เป็นเรื่องที่คนไข้ต้องเข้าใจหมอ ด้วยเหมือนกัน แต่ถ้าถึงขนาดรู้สึกว่าไม่ถูกชะตาไม่ชอบหน้าหมอคนนี้ เอาเสียเลยก็อาจจะต้องตัดสินใจเปลี่ยนหมอ เพราะว่าการรักษามะเร็งมัน เป็นการรักษาระยะยาว ถ้าเราไม่สบายใจตั้งแต่ต้น ไม่มีความเข้าใจซึ่งกัน และกั น ไม่ ไ ว้ ว างใจกั น แล้ ว การเปลี่ ย นหมอน่ า จะดี ก ว่ า แต่ ใ นขณะ เดียวกันเราก็ไม่ควรจะทำตัวเป็นคนไข้ที่ยุ่งยากถึงขนาดว่าคุยกับหมอคน ไหนก็ไม่ได้เพราะเราจุกจิกจู้จี้เกินไปเป็นปัญหากับหมอทุกคนที่เราพบ นอกจากนี้เรายังต้องเผชิญกับคำแนะนำต่าง ๆ จากคนที่หวังดี อาจจะมีทางเลือกมากมาย ทั้งยา อาหารเสริม การบำบัดด้วยวิธีทาง ธรรมชาติ ฯลฯ ซึ่งผมขอแนะนำว่าการศึกษาหาความรู้เป็นเรื่องที่ดีที่สุด เมื่อเป็นโรคขึ้นมาหนังสือจึงเป็นเพื่อนที่ดีที่สุดของเราอย่างหนึ่ง โดยทั่วไปเราอาจจำแนกให้เห็นว่าการบำบัดรักษามะเร็งนั้น มี 2 แนวทาง คือ แนวทางของการแพทย์แผนปัจจุบันหรือแผนตะวันตกกับ แผนทางเลือก 30

นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์


งานอาจนำมาซึ่งความเครียดและอุปสรรคในบางครั้ง แต่งานคือสิ่งหนึ่งที่ทำให้ชีวิตมี ความหมาย

กระบวนการทางการแพทย์แผนปัจจุบัน ได้แก่ การผ่าตัด การให้ ฮอร์โมน การฉายแสง การให้เคมีบำบัด และการใช้ยาอื่นๆ ซึ่งหมอแผนนี้ จะมีสถิติ มีความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ที่อ้างอิงได้ชัดเจน ถ้าตามความ เห็นของผมแล้ว ผมแนะนำว่ายังไงก็ยังเชื่อหมอแผนปัจจุบันไว้ก่อนจะดี กว่า เพราะว่าเขามีความรู้ที่ผ่านการทดลองทางวิทยาศาสตร์อะไรต่าง ๆ มามาก มะเร็งบางอย่าง เช่น มะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มต้น มะเร็งเต้า นมในระยะเริ่ ม ต้ น มะเร็ ง ลู ก อั ณ ฑะ เหล่ า นี้ ปั จ จุ บั น อั ต ราการรั ก ษา หายขาดค่อนข้างสูง แม้ว่าจะยังมีมะเร็งหลายชนิดที่ยังรักษาไม่หาย แต่ หมอแผนปัจจุบันที่เป็นมาตรฐานเขาก็จะมีความรู้ มีคำแนะนำที่จะจัดการ ให้โรคต่าง ๆ เหล่านี้หายขาดได้ เปลี่ยนมะเร็งเป็นพลัง

31


การที่ยังมีบางมะเร็งบางอย่างรักษาด้วยการแพทย์แผนปัจจุบัน ไม่หาย อีกทั้งประกอบกับผลข้างเคียงของการรักษาด้วยการแพทย์แผน ปัจจุบันค่อนข้างที่จะรุนแรง ทั้งนี้เพราะวิธีการรักษานั้นยืนอยู่บนหลักคิด ว่ า เซลล์ ม ะเร็ ง เป็ น เซลล์ ที่ ผิ ด ปกติ ข องร่ า งกาย วิ ธี ที่ จ ะรั ก ษาก็ คื อ จะ

ต้องกำจัดให้หายไป การกำจัดก็คือว่าจะโดยการผ่าตัดเอาออกไป หรือ โดยการฉายแสงให้มันฝ่อไป หรือโดยการฆ่าเซลล์นั้นโดยใช้เคมีบำบัด เหล่ า นี้ มั น ก็ จ ะมี ผ ลข้ า งเคี ย งที่ ไ ม่ เ ป็ น ที่ พึ ง ประสงค์ ข องคนไข้ จึ ง เป็ น สาเหตุให้คนไข้บางส่วนหันไปพึ่งการรักษาแผนทางเลือก ซึ่งก็มีทั้งแนว ฝรั่ง จีน ไทย ญี่ปุ่น ฯลฯ ซึ่งแผนทางเลือกนี้ เราอาจจะจำแนกได้ตาม หลักความเชื่อ 2 แนว คือ แนวแรก เป็ น ความเชื่ อ เรื่ อ งภู มิ คุ้ ม กั น เป็ น หลั ก โดยเชื่ อ ว่ า ร่างกายเกิดเซลล์มะเร็ง เพราะภูมิคุ้มกันร่างกายเสียไปจึงทำให้เซลล์ มะเร็งเติบโต ดังนั้น การสู้กับมะเร็งก็จะเน้นที่การฟื้นฟูภูมิคุ้มกันให้ดีขึ้น เพื่อจะกำจัดเซลล์มะเร็งออกไปได้ ซึ่งภูมิคุ้มกันที่เสียไปส่วนใหญ่เขาก็คิด ว่าน่าจะมาจากพิษต่างๆที่เข้ามาในร่างกาย เช่น พิษจากอาหาร พิษใน ฝุ่นละออง พิษจากบุหรี่ หรือเหล้า ดังนั้น ก็จะพยายามกำจัดพิษด้วยวิธี ต่าง ๆ เช่น การเปลี่ยนอาหาร อากาศ การออกกำลังกายเพื่อให้เหงื่อ ไหลออก หรืออื่น ๆ ที่เป็นการกำจัดพิษที่ดี เช่น การทำซาวน่าหรืออบ สมุนไพร และการทำดีท็อกซ์ต่าง ๆ อีกแนวหนึ่งก็กึ่ง ๆ คล้าย ๆ กับแนวแรก แต่ว่าจะเน้นที่ความเชื่อ เรื่องสมดุลของร่างกายเป็นหลัก คือทฤษฎีว่าด้วยเรื่องหยินกับหยาง โดย มองว่าของทุกอย่างที่เราสัมพันธ์และสัมผัสอยู่มีฤทธิ์เป็น หยินและหยาง การที่เป็นมะเร็งขึ้นมาก็เพราะว่าสมดุลของร่างกายเปลี่ยนแปลงไปเลย ทำให้ ค วามเป็ น หยิ น เป็ น หยางมั น ไม่ ส ะท้ อ นออกและทำให้ เ กิ ด ภาวะ สมดุลนั้นเสียไป วิธีการแก้ไขจะคล้าย ๆ กันก็คือจะเน้นในเรื่องของการ 32

นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์


รับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การทำอารมณ์ให้แจ่มใส การนั่ง สมาธิ เพื่อปรับสมดุลชีวิต การรักษาพยาบาลเหล่านี้ก็แล้วแต่คนจะเลือกที่จะเอาวิธีไหน แต่ อย่ า งไรก็ ต ามการรั ก ษาพยาบาลถ้ า ควบคู่ กั น ไปได้ ก็ น่ า จะเป็ น สิ่ ง ที่ ดี เนื่องจากจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบันดังที่ได้กล่าว แล้ว ในขณะที่แพทย์ที่ทำงานเกี่ยวกับมะเร็งยังมีจำนวนน้อย ทำให้การ สื่อสารเพื่อให้เห็นประสิทธิภาพการรักษาพยาบาลบางอย่างที่มีผลเลิศไม่ ได้ เ ป็ น ที่ รั บ รู้ ใ นสั ง คมโดยกว้ า ง ขณะเดี ย วกั น ความตื่ น ตั ว และกระแส สุขภาพที่มากับการแพทย์ทางเลือกเกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง ประสบการณ์ ปากต่อปากของการจัดการกับโรคที่เป็นอยู่จึงขยายไปอย่างรวดเร็ว บาง ครั้งก็เป็นความรู้ที่ถูกต้อง แต่บางครั้งก็เป็นความรู้ที่อยู่บนพื้นฐานของ

ผู้ป่วยแต่ละรายที่ไม่เหมือนกัน ทำให้ผู้ป่วยบางคนปฏิเสธการรักษาแผน ปัจจุบันเช่นการรับยาเคมีบำบัด ทั้งที่ยาเคมีบำบัดนั้นก็อาจจะให้ผลเลิศ ได้ ในขณะเดียวกันความที่แพทย์แผนปัจจุบันบางส่วนไม่เข้าใจคนไข้ และไม่ใจกว้างเปิดรับการแพทย์ทางเลือกบางอย่าง ก็ทำให้เกิดความ เข้าใจที่ไม่ตรงกันเกิดความตึงเครียดระหว่างผู้ป่วยกับแพทย์ได้ สำหรับตัวผม ผมเลือกการรักษาหลายทาง และสู้อย่างคนที่ไม่ ยอมจำนน ซึ่งมันทำให้ผมรู้สึกว่าไม่ได้ปล่อยชีวิตไปตามโชคชะตา และก็ ทำให้ได้ประสบการณ์หลายอย่างมาเล่าสู่แบ่งปันกับผู้ป่วยท่านอื่น ๆ ได้ ดังต่อไปนี้ครับ ผมเริ่มการรักษาด้วยการเข้ารับการผ่าตัด ประมาณ 10 วันหลัง ที่รู้ตัวว่ามีมะเร็งผมก็เข้ารับการผ่าตัดที่โรงพยาบาลศิริราชโดยเป็นการ ผ่าตัดที่หน้าอก การผ่ า ตั ด เป็ น ไปด้ ว ยดี หลั ง ผ่ า ตั ด ผมฟื้ น ตั ว และไม่ มี อ าการ แทรกซ้อนใด ๆ ยกเว้นแต่ว่าจะมีท่อและสายต่าง ๆ ต่อเข้ากับร่างกาย เปลี่ยนมะเร็งเป็นพลัง

33


คุณหมออพภิวันท์ ภรรยาผู้อยู่เคียงข้างสนับสนุนให้ผมได้ทำงานที่ผมรักเสมอมา 34

นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์


สองเส้น โดยเฉพาะท่อระบายน้ำจากปอดลงขวดซึ่งผมต้องพยายามที่จะ ลุกเดินบ้างเพื่อให้น้ำในปอดระบายออกได้ดี นั่นเป็นภาวะความเจ็บปวด ทางร่างกายที่ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดทุกคนต้องเผชิญ และในเวลาอย่าง นั้น คนไข้มักจะต้องการการพักผ่อนอย่างเป็นส่วนตัว เพื่อดูแลตัวเอง อย่างเต็มที่โดยไม่ต้องพะวักพะวงกับเรื่องอื่น ๆ โชคดีที่ทางโรงพยาบาล ศิริราชเข้าใจความต้องการของผู้ป่วยเป็นอย่างดีเพราะมีทีมงานทั้งแพทย์ และพยาบาลที่มีประสบการณ์ดูแลผู้ป่วยในลักษณะเดียวกันนี้มาอย่าง ยาวนาน การบริการต่าง ๆ จึงเป็นไปอย่างดีโดยที่ผมแทบจะไม่ต้องเอ่ย ปากขอ แม้กระทั่งการที่จะใช้ชื่อจริงนามสกุลจริงในการเข้านอนพักในหอ ผู้ป่วยทางโรงพยาบาลก็ได้สอบถามว่าผมต้องการใช้ชื่ออื่นแทนหรือไม่ แม้แต่ป้ายชื่อหน้าห้องที่ผมนอนพักรักษาตัวก็ได้รับอนุญาตจากผู้บริหาร โรงพยาบาล (อาจารย์ปิยสกล คณบดีคณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล) ว่าเอาป้ายชื่อผู้ป่วยออกน่าจะดีกว่า เผื่อคนเคยรู้จักบังเอิญผ่านมาเห็น แล้วจะมีใครมาขอเยี่ยม เพราะว่าทางทีมแพทย์ต่างก็อยากจะให้มีคน เยี่ยมน้อย ๆ เพื่อช่วยให้พักผ่อนได้มากขึ้นในช่วงแรก ซึ่งเรื่องเหล่านี้เป็น เรื่องเล็ก ๆ แต่ละเอียดอ่อนและมีผลดีกับคนไข้จริง ๆ การป่วยครั้งนี้ทำให้ผมคิดว่าชีวิตคนเราเอาแน่นอนอะไรไม่ได้เลย ตอนเข้าโรงพยาบาลผมเดินเข้าไปอย่างคนปกติ แต่ตอนอยู่โรงพยาบาล ผมมีสายยางต่อจากร่างกายไปที่ขวดที่รอรับน้ำจากปอด เนื่องจากต้อง ถูกตัดกลีบปอดออกไปกลีบหนึ่งจึงต้องใส่สายเพื่อให้น้ำออก และคนที่ใส่ สายเพื่อให้น้ำออก ควรจะออกกำลังกายทุกวันให้น้ำระบายออกดี ผมก็จะ ถือสายนั้นแหละไปพร้อมกับขวดต่างๆเดินไปเดินมาในหอผู้ป่วยเพื่อไม่ ให้รู้สึกว่าผมไม่มีแรงหรือไม่แข็งแรง ผมยังหวังใจอีกด้วยว่าคนที่มาเยี่ยม เวลากลับไปก็จะไปเล่าต่อว่าหมอหงวนไม่เห็นเป็นไรยังเห็นเดินถือสาย ไปมาได้ พูดง่ายๆ คือ ผมไม่ต้องการถูกมองว่าเป็นคนอ่อนแอ หรือเจ็บ เปลี่ยนมะเร็งเป็นพลัง

35


ไม่เคยนึกมาก่อนว่าภรรยาของผมจะกลายมาเป็นบัดดีข้ องผูป้ ว่ ยมะเร็งคนหนึง่ ซึง่ ก็คอื ผม

ป่วยเสียจนหมดท่า เรื่องนี้เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่เรียกว่า ความรู้สึกที่ดีต่อ ตัวเอง (Self esteem) ซึ่งผมตระหนักว่ามีความสำคัญกับผู้ป่วยมาก คือ แม้ว่าเราจะเจ็บป่วยหรือเป็นเหมือนคนโชคร้าย เราอยากที่จะได้รับความ เข้าใจและเห็นใจ แต่เราก็ไม่อยากจะให้ใครเขามาสงสารหรือรู้สึกว่าเรา หมดสิ้นทุกสิ่ง หรือดูเป็นคนที่น่าสมเพชเวทนาจนเกินไป หลังการผ่าตัดผมและครอบครัวไปพักผ่อนที่บ้านของเพื่อนพี่สาว ที่พัทยา อากาศบริสุทธิ์และความสงบร่มเย็นทำให้ผมได้พักผ่อนอย่างเต็ม ที่และฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว หลังการผ่าตัดเพียงสิบวันร่างกายผมก็มี ความพร้อมมากพอที่จะเข้ารับการรักษาขั้นถัดไป นั่นก็คือ การเข้ารับเคมี บำบัด ซึ่งหมอจะนัดสองสัปดาห์ครั้งหนึ่งหรือเรียกว่าหนึ่งไซเคิล (Cycle) ในช่วงนั้นผมไปทำงานได้บ้างแต่บางช่วงก็เกิดความอ่อนเพลียมากโดย 36

นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์


เฉพาะหลังจากการเข้ารับคีโมในแต่ละครั้ง คนไข้บางคนอาจจะมีอาการ แพ้ยามาก คลื่นไส้ อาเจียน ทานอาหารไม่ได้ แต่สำหรับผมโชคดีที่แพ้ไม่ มากแต่มีอาการแพ้ทางผิวหนังคือเป็นผื่นคันแดง ๆ ตามตัว แม้แต่ที่ ใบหน้าก็มีผื่นขึ้นเป็นช่วง ๆ ซึ่งก็ย่อมมีผลทำให้ขาดความมั่นใจในตัวเอง ไปบ้าง แต่ถ้าหากร่างกายแข็งแรงพอผมก็ยังไปทำงานและพยายามทำ กิจกรรมต่าง ๆ แม้วา่ จะลดลงไปสัก 20-30% เมือ่ เทียบกับตอนทีไ่ ม่ปว่ ย ช่วงที่รับคีโมเป็นเวลาสองเดือนกว่านั้น ผมได้ปรับเปลี่ยนอาหาร การกินด้วยการหันมารับประทานอาหารมังสวิรัติ เน้นผัก ผลไม้ และทาน วิตามินเสริมบางอย่าง ผมขออธิบายให้รู้จักคีโมมากขึ้นอีกนิดสำหรับบางท่านที่อาจจะ

ไม่ เ คยรู้ ม าก่ อ น คี โ มเป็ น ยารั ก ษามะเร็ ง ที่ มี ใ ช้ กั น ทั่ ว โลก แต่ ไ ม่ ไ ด้ หมายความว่าคนไข้มะเร็งทุกคนจะได้คีโมเหมือนกันหรือตัวเดียวกันหมด เพราะยามันมีหลายสูตรขึ้นอยู่กับอาการของคนไข้ และขึ้นอยู่กับความ ชำนาญของหมอด้วย แต่หมอส่วนใหญ่ก็จะชำนาญหลาย ๆ สูตร เพราะ ว่ามีตัวที่จะใช้รักษาเป็นสิบ ๆ ตัว เพราะฉะนั้นหมอจะรู้ว่าคีโมกลุ่มไหนคู่ กับกลุ่มไหน จะให้ผลได้ดีกว่ากลุ่มไหน และในระยะหลัง ๆ มานี้แพทย์ ส่วนใหญ่มักจะให้ยาเคมี 2 ตัวควบคู่กันเพราะเขาเชื่อว่าจะเสริมฤทธิ์กัน และกันและทำให้ผลการรักษาดีขึ้น ทั้งนี้ก็แล้วแต่ว่ายากลุ่มไหนเหมาะกับ มะเร็งชนิดไหน เช่น มะเร็งปอด มะเร็งลูกอัณฑะ มะเร็งเต้านม จะมีสูตร ยาที่แตกต่างกันไป อย่างไรก็ตามมีความจริงที่รู้กันดีว่ายาคีโมก็คือยาที่ทำลายเซลล์ ของร่างกาย ทั้งเซลล์ที่ดีและเซลล์ที่ไม่ดี สิ่งสำคัญนอกเหนือจากการให้ ยาเพื่อทำลายเซลล์เนื้อร้ายก็คือการลดผลข้างเคียงที่ตามมาโดยเฉพาะ การตรวจวัดปริมาณเม็ดเลือดขาว ซึ่งบ่งบอกถึงระดับภูมิต้านทานของ ร่างกายผู้ป่วย วงการแพทย์ทั่วโลกมีความพยายามที่จะคิดค้นยารักษา เปลี่ยนมะเร็งเป็นพลัง

37


มะเร็งที่ไม่เป็นอันตรายต่อเซลล์ที่ดีแต่ก็ยังไม่มียาตัวใดที่ดีไปกว่ายาที่ใช้ ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามเมื่อเร็ว ๆ นี้ มีการใช้ยามะเร็งชนิดใหม่ที่มี สรรพคุณออกฤทธิ์เฉพาะจุดหรือเจาะจงไปทำลายเฉพาะเซลล์เนื้อร้าย เรียกว่าทาร์เก็ตเซลล์ เทอราปี (Targeted Cell Therapy) ซึ่งเริ่มใช้กันใน ต่างประเทศเมื่อไม่นานมานี้และเพิ่งจะมีการนำเข้ามาในประเทศไทย ยา นี้จะออกฤทธิ์สกัดกั้นการเติบโตของเซลล์มะเร็งได้อย่างตรงจุดและลดผล ข้างเคียงได้มาก อย่างไรก็ตามแพทย์มักจะไม่สั่งใช้ทาร์เก็ตเซลล์ เทอราปี เป็นยากลุ่มแรกในการเริ่มต้นการรักษา มักจะใช้คีโมที่มีอยู่ทุกวันนี้ก่อน โรงพยาบาลในต่างประเทศบางแห่งจะเริ่มต้นด้วยคีโมแล้วจึงให้ทาร์เก็ต เซลล์ เทอราปี ต่อเลยทันทีโดยที่ไม่ต้องรอให้มีอาการว่าโรคขยายลุกลาม ทั้งนี้เพื่อที่จะรักษาสภาพเอาไว้ เพราะเชื่อว่าจะช่วยควบคุมไม่ให้เซลล์ ขยายตัวได้ แต่ในบางโรงพยาบาลแพทย์จะให้ยาตัวนี้กับคนไข้ก็ต่อเมื่อมี อะไรที่ผิดปกติหรือให้คีโมแล้วยังมีผลเลือด CEA สูงอยู่ การให้ทาร์เก็ต เซลล์ เทอราปี จะให้ต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ ยานี้ก็มีทั้งชนิดกินและชนิดฉีด ถ้าเป็นมะเร็งเต้านมจะใช้ชนิดฉีดแต่ถ้าเป็นมะเร็งปอดจะใช้ยากิน ผมอาจจะเป็นคนไข้ไม่กี่คนในเมืองไทยที่ได้ใช้ยาตัวนี้ในช่วงนั้น (ปี 2546-2547) เพราะตอนนั้นยังไม่มีการนำยานี้เข้ามาในเมืองไทย การที่ผมได้ใช้ยานี้และได้เข้าถึงยาชนิดนี้ก็ด้วยความขวนขวาย ต้องใช้ ความพยายาม และต้องใช้เงินด้วยเป็นปัจจัยสำคัญ และนั่นก็เป็นแรง บันดาลใจให้ผมลุกขึ้นมาผลักดันความคิดบางอย่างที่ค่อนข้างจะเป็นเรื่อง ใหญ่และเกี่ยวข้องกับความเป็นธรรมในการเข้าถึงยาของประชาชนทั่วไป ที่ไม่มีกำลังจะขวนขวายหามาได้ด้วยตนเองเหมือนอย่างผม ซึ่งผมจะได้ เล่าต่อไป เรื่องมีอยู่ว่าหลังจากที่ผมรับคีโมครบ 5 ไซเคิลไปแล้วประมาณ

4–5 เดือน หลังจากนั้น ผล CEA ก็เริ่มสูงขึ้นอีก แสดงว่าเรายังเอาเซลล์ 38

นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์


มะเร็งไม่อยู่ ซึ่งผมกังวลใจมากก็เลยขวนขวายหาข้อมูลแสวงหาทางเลือก ต่าง ๆ เท่าที่จะทำได้ ต่อมาบังเอิญมีคนแนะนำให้ผมรู้จักกับคุณพาที สารสิน (ปัจจุบันเป็น CEO ของสายการบินนกแอร์) เนื่องจากเขามีญาติ ป่วยและเขาดูแลญาติเขาเป็นอย่างดี ทั้ง ๆ ที่คุณพาทีไม่ใช่หมอแต่เมื่อ ผมได้คุยกับเขาแล้วผมรู้สึกทึ่งเขามาก เพราะเขาศึกษาค้นคว้ามาก มี ความรู้อย่างกว้างขวางทั้งเรื่องยา เรื่องวิธีการรักษาต่าง ๆ โดยเฉพาะ ข้ อ มู ล การรั ก ษาในต่ า งประเทศคุ ณ พาที รู้ เ ยอะมาก หมอในประเทศนี้ รักษาอย่างไร ออสเตรเลีย อเมริกา สวิตเซอร์แลนด์ ที่ไหนใช้ยาอะไร แบบไหนเขารู้หมด รู้ว่ายาตัวนี้ใช้กับอะไรมีทั้งยาแผนปัจจุบันและแผน ทางเลือกต่างๆ นอกจากทึ่งในความรู้ของเขาแล้วผมยังได้ข้อแนะนำที่มีประโยชน์ มาก ๆ โดยเขาบอกว่าคนที่เป็นมะเร็งจะต้องมีคนสนิทหรือบัดดี้หนึ่งคน ซึ่งคอยติดตามดูแล ทั้งในเรื่องร่างกาย อาหาร บางครั้งคนไข้ต้องอยู่ใน สภาพที่ ช่ ว ยเหลื อ ตั ว เองไม่ ไ ด้ ต้ อ งมี ค นนี้ ค อยดู แ ล รวมทั้ ง คอยช่ ว ย ค้นคว้าหาข้อมูลการรักษาอย่างจริงๆจังๆ เลยว่าเป็นอย่างไรบ้าง เป็น คู่คิดคู่ปรึกษากันไปตลอด เขาแนะนำเรื่องการแพทย์ทางเลือกต่าง ๆ แนะนำหนังสือที่ควรอ่าน ที่สำคัญเขาแนะนำให้ผมไปพบหมอคนหนึ่งที่ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ บังเอิญช่วงนั้นผมได้รับเชิญไปประชุมที่บรัส เซลล์ประเทศเบลเยี่ยม ผมก็เลยถือเป็นโอกาสที่จะได้ไปทำงานและแวะ ไปหาหมอคนนั้นตามคำแนะนำของคุณพาทีด้วย หมอคนนี้เขาก็เป็นแพทย์ที่ชำนาญอย่างที่เขาว่า เขาดูเอ็กซเรย์ อย่างละเอียดและการอธิบายของเขาไม่เหมือนหมอไทย คือเขาจะบอก ละเอียดมาก แต่ทั้งนี้เราก็ต้องไม่ลืมนะครับว่าหมอต่างประเทศเขาคิดค่า การให้คำปรึกษาหรือ Consultation fee กันเป็นนาที ครั้งนั้นผมคุยกับ เขาอยู่ประมาณสักชั่วโมงครึ่ง จำได้ว่าจ่ายไปหมื่นกว่าบาท นี่ขนาดว่า เปลี่ยนมะเร็งเป็นพลัง

39


เขาลดให้ครึ่งราคาแล้วเพราะเห็นว่าเป็นหมอด้วยกัน ในชั่วโมงครึ่งนั้นเขาจะดูเอ็กซเรย์อย่างละเอียดแล้วก็ชี้อธิบายให้ ดูว่าตรงนั้นเป็นอย่างไรแผลเราอยู่ตรงไหนเป็นยังไงบ้าง จริง ๆ ก็เหมือน กับที่หมอไทยดูมา เพียงแต่ความแตกต่างคือ คนไทยดูแล้วก็บอกผลเรา เลย ไม่ได้บอกชี้ให้ดูตรงนี้ ๆ นอกจากนั้นเขาก็อธิบายถึงกระบวนการ ของโรคและแนะนำว่ า ถ้ า เป็ น อย่ า งนี้ ก็ จ ะเป็ น อย่ า งนี้ ต ามมา และถ้ า มี แพทย์ทางเลือกก็น่าจะเริ่มที่แพทย์ทางเลือกด้วยนะ เช่น น่าจะกินยา

ตัวนี้ ๆ เขาก็แนะนำยาหลายตัว ซึ่งบางตัวไม่ใช่ยาแต่ว่าเป็นกึ่งสมุนไพร หรือเป็นวิตามินซึ่งวิตามินส่วนใหญ่ที่เขาแนะนำก็จะคล้ายคลึงกับที่คุณ หมอบรรจบและอาจารย์สาทิตแนะนำผมมา จะมีบ้างบางตัวที่แตกต่างกัน เขาบอกว่ า แพทย์ ทั่ ว โลกก็ ใ ช้ ย าเหล่ า นี้ ทั้ ง นั้ น คล้ า ยกั บ ว่ า เรา

ไม่น่าจะต้องไปขวนขวายไปพบแพทย์ที่อื่นก็ได้ เพราะเราทำมาถูกทาง แล้ ว และสุ ด ท้ า ยเขาลงเอยว่ า ถ้ า อาการผมไม่ ดี ขึ้ น เขาแนะนำให้ กิ น

ทาร์เก็ดเซลล์ เทอราปี พร้อมกับให้ข้อเสนอด้วยว่า เขากำลังอยู่ระหว่าง ทดลองยาทาร์เก็ตเซลล์ เทอราปี ตัวหนึ่งที่จะขออนุญาตนำเข้ายุโรป เขา ถามผมว่าจะเข้ารับการทดลองด้วยไหมเขาจะส่งยามาให้ฟรี เจ้ายาตัวนี้ราคามันแพงมากเลยครับ ยาเม็ดหนึ่งราคา 3,000 บาท ทานวันละเม็ดเดือนหนึ่งก็ 90,000 บาท วันนั้นผมเลยลงทะเบียน ไว้ก่อนว่าเป็นคนไข้ที่อาจจะเข้าร่วมการทดลอง เมื่อไหร่ที่ต้องการก็จะ โทร.มาบอก และเมื่อผล CEA ผมสูงขึ้นอีก ผมก็โทร.แจ้งเขาไปเขาก็ส่ง ยามาให้ ผมจึงได้ทานยาฟรีมาตลอดเกือบสองปีเต็ม ๆ ปัจจุบันมีการนำ ยาชนิดนี้เข้ามาในประเทศไทยแล้วถ้าผมจะใช้สิทธิเบิกก็เบิกได้ แต่ว่าผม เลือกที่จะใช้ยาฟรีจากสวิตเซอร์แลนด์ถือว่าประหยัดเงินให้หลวงได้เดือน ละเกือบแสนบาท ผมทานยานี้ต่อเนื่องมาประมาณเกือบ 2 ปี โปรเฟชเซอร์คนนี้เขา 40

นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์


การได้ลงพื้นที่ทุรกันดารเป็นบางครั้งทำให้ผมเข้าใจปัญหาของ 30 บาทฯ มากขึ้น

มาเมื อ งไทยก็ ไ ด้ ม าเจอกั น อี ก ครั้ ง ตอนหลั ง มี อ ดี ต ผู้ บ ริ ห ารกระทรวง สาธารณสุขท่านหนึ่งโทรมาหาผมถามว่าเคยรักษากับหมอคนนี้ใช่หรือไม่ เพื่อนเขาป่วยอยู่อยากจะคุยด้วย ผมก็เลยโทรศัพท์ไปคุยกับผู้ป่วยคนนั้น หลังจากนั้นผู้ป่วยคนนั้นก็บินไปหาหมอคนนี้ที่สวิสเซอร์แลนด์ ไปอยู่ที่ นั่นอาทิตย์หนึ่ง ทราบมาว่าเสียค่าใช้จ่ายไปประมาณล้านกว่าบาท ใช่ครับ เงินยืดชีวิตคนเราได้จริง ๆ ผมประจักษ์ชัดแก่ใจในข้อนี้ และเกิดความคิดว่า ในทางปรัชญาแล้วเราอาจจะพูดถึงความเป็นธรรมใน สังคมได้ เราอาจจะพยายามสร้างความเป็นธรรมได้ในระดับหนึ่ง อย่างใน เรื่องหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ผมใฝ่ฝันก็อาจจะทำได้เพียงในระดับ ที่ เ ป็ น “สิ ท ธิ ขั้ น พื้ น ฐาน” แต่ ค นที่ มี เ งิ น มากกว่ า ก็ ย่ อ มเสาะแสวงหา เปลี่ยนมะเร็งเป็นพลัง

41


หนทางรักษาต่าง ๆ ได้มากกว่าคนทั่วไป ผลพวงอย่างหนึ่งที่ตามมาจากการที่ผมเจ็บป่วยคราวนี้คือทำให้ ผมมีประสบการณ์ตรงในการใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และ มองเห็นจุดอ่อนบางจุดโดยเฉพาะผู้ที่ป่วยด้วยโรคค่าใช้จ่ายสูงอย่างเช่น มะเร็ง และโรคหัวใจ เพราะถึงแม้ว่าจะมีหลักประกันสุขภาพแต่ก็ยังมีค่า ใช้จ่ายหลายส่วนที่ครอบครัวผู้ป่วยต้องรับภาระและบางครอบครัวก็อาจ จะไม่มีกำลังพอที่จะจ่ายได้ สำหรับกรณีของผม เนื่องจากผมลาออกจากราชการชั่วคราวเพื่อ มาทำงานที่ ส ปสช.ผมจึ ง ต้ อ งใช้ สิ ท ธิ 30 บาท ในขณะที่ พ นั ก งาน สปสช.คนอื่น ๆ ได้สิทธิเทียบเท่าข้าราชการ (แต่ได้เฉพาะตัวไม่รวมถึง ครอบครัว) ในการผ่าตัดครั้งแรกซึ่งนอนโรงพยาบาลประมาณสิบวันนั้น ผมใช้สิทธิ 30 บาทได้บางส่วน มีหลายส่วนที่ต้องจ่ายเอง เช่น ค่าห้อง พิเศษ ค่ายานอกบัญชียาหลัก และค่าบริการบางอย่างซึ่งรวมแล้วปรากฏ ว่าในการเข้ารับการรักษาครั้งแรกนั้นผมต้องจ่ายเองถึงเจ็ดหมื่นกว่าบาท ซึ่งอันที่จริงแล้วทั้งรัฐมนตรีสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ และทางผู้อำนวยการโรง พยาบาลก็ได้เสนอความอนุเคราะห์ว่าผมไม่ต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาล ใดๆแต่ผมเห็นว่าเป็นส่วนที่ผมดูแลตัวเองได้และไม่อยากจะรับสิทธิพิเศษ ในลักษณะนั้นจึงได้ยืนยันที่จะจ่ายส่วนเกินจำนวนนั้นเอง รวมทั้งค่าใช้ จ่ า ยส่ ว นเกิ น ในการเข้ า รั บ การรั ก ษาครั้ ง ต่ อ ๆ มาอี ก หลายเดื อ นด้ ว ย อย่างไรก็ตามเนื่องจากผมคิดว่าผมมีความจำเป็นที่จะต้องรักษาตัวอย่าง ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ดังนั้นต่อมาเมื่อผมรักษาตัวมาได้ระยะหนึ่ง และกลั บ มาทำงานได้ แ ล้ ว ก็ มี ก ารประเมิ น ผลงานในฐานะเลขาธิ ก าร สปสช.ซึ่งมีคณะกรรมการหลายท่านเป็นผู้ประเมิน ทางคณะกรรมการได้ สอบถามว่าผมมีเรื่องที่อึดอัดใจที่อยากจะขอให้คณะกรรมการพิจารณา เป็นพิเศษหรือไม่ ผมจึงแจ้งความจำเป็นเกี่ยวกับการเจ็บป่วยของผมและ 42

นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์


ขอที่จะใช้สิทธิในการรักษาพยาบาลได้เหมือนกับพนักงานของสปสช.คน อื่น ๆ ซึ่งทางคณะกรรมการก็ได้กรุณาอนุมัติให้ ทำให้หลังจากนั้นผม สามารถใช้สิทธิรักษาได้ครอบคลุมมากขึ้น ซึ่งตอนหลังผมกับพี่สาวก็ได้ บริจาคเงินจำนวนหนึ่งเพื่อปรับปรุงแผนกตรวจโรคผู้ป่วยนอกของแผนก มะเร็งวิทยาซึ่งเราเห็นว่ามีความแออัด เป็นการทำให้เรารู้สึกว่าเราได้เป็น ผู้ให้ตอบแทนบ้างและผลประโยชน์ก็ตกแก่คนที่มาใช้บริการรวมทั้งเจ้า หน้าที่ทุกคนด้วย นอกจากรู้สึกเห็นใจผู้ป่วยโรคค่าใช้จ่ายสูงแล้ว การที่ผมมีโอกาส ใช้ยาราคาแพงและมีคุณภาพดี ทำให้ผมคิดว่ายารักษาโรคเหล่านี้ ควรที่ จะมีการปลดล็อคเรื่องสิทธิบัตรยาลงเสียบ้าง ราคายาจะได้ไม่แพงเกินไป จนคนไข้จำนวนมากเข้าไม่ถึง แต่จะทำอย่างไรในเมื่อบริษัทยารายใหญ่ เขามีสิทธิในยาที่เขาเป็นผู้คิดค้นได้ก่อน ตอนนั้นผมเริ่มคิดว่าการคิดค้น ยาควรจะเป็นการทำในลักษณะองค์การเพื่อสังคมไม่ใช่การค้าอย่างที่เป็น มาช้านาน ผมเริ่มคิดเรื่องนี้จริงจังมากขึ้นและกลายมาเป็นเรื่องสำคัญที่ ผมอยากทำและต่อมาก็ได้เริ่มทำจากยารักษาโรคเอดส์ ก็คือ เรื่องการ ประกาศใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยา ซึ่งกลายมาเป็นวาระสำคัญระดับสากล ซึ่งผมจะขอเล่าเรื่องนี้ในตอนหลังครับ ในยามที่เจ็บป่วยเราจำเป็นต้องขวนขวายหาความรู้เกี่ยว กับโรคที่เราเป็นและวิธีการรักษาที่อาจมีมากกว่าหนึ่งทางจะทำให้ เราเป็นผู้ป่วยที่มีปัญญา รู้ว่าอะไรกำลังจะเกิดขึ้นกับเราและรู้ว่าเรา ควรทำอย่ า งไร ที่ ส ำคั ญ ก็ คื อ เราสามารถจะเตรี ย มความพร้ อ ม ทางจิตใจทั้งของเราเองและคนที่เรารักได้อย่างเหมาะสมเมื่อถึง เวลาที่ต้องก้าวเข้าสู่กระบวนการรักษาพยาบาลซึ่งจะนำมาซึ่งการ เปลี่ยนแปลงอย่างมากมายตามมา

เปลี่ยนมะเร็งเป็นพลัง

43


44

นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์


ถามหมอหรือไม่ถามดี... ผมมีเวลาเหลืออยู่อีกเท่าไร

เรื่องนี้อาจจะฟังดูเป็นเรื่องปลีกย่อยแต่จากประสบการณ์ของผม ผมคิดว่าเป็นประเด็นที่สำคัญและมีผลอย่างมากต่อสุขภาพกาย สุขภาพ ใจ ของผู้ป่วยและรวมไปถึงญาติ ๆ ด้วย เพราะว่าเป็นเรื่องของสุขภาวะ ทางจิตวิญญาณซึ่งมีผลอย่างมากต่อสุขภาพกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ ประเด็นที่ว่าเราควรจะถามหมอดีหรือไม่ว่าเราอยู่ได้อีกนานแค่ไหน ทั้งนี้ ดูเหมือนจะเป็นธรรมเนียมปฏิบัติไปเสียแล้วที่เมื่อพบว่าเป็น มะเร็งผู้ป่วยหรือญาติมักจะถามหมอว่า จะอยู่ได้อีกกี่เดือนหรือกี่ปี ผมเอง ก็เคยถามคำถามนั้นเช่นเดียวกันและก็ได้พบว่า ไม่ว่าคำตอบจะออกมา เป็นเช่นไรมันก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะเป็นเช่นนั้นเสมอไป ถ้าอย่างนั้น เราควรจะถามคำถามนี้กันอีกหรือไม่ และหมอควร จะตอบอย่างไร ผมมีประสบการณ์และความคิดเห็นที่จะแลกเปลี่ยนกับ ท่านครับ ช่วงที่นอนพักฟื้นหลังผ่าตัดอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราชประมาณ 10 วัน ผมก็ได้ทราบผลการตรวจชิ้นเนื้อซึ่งยืนยันว่าก้อนที่พบในปอดเป็น เนื้อร้ายเซลล์มะเร็งจริงตามคาด ขณะนั้นผมเริ่มปรับตัวปรับใจยอมรับได้ เปลี่ยนมะเร็งเป็นพลัง

45


มากขึ้นแล้วและคิดว่าคงไม่มีปาฏิหาริย์ที่จะทำให้ก้อนเนื้อนั้นเป็นแค่ก้อน เนื้อธรรมดาไปได้ วันหนึ่งคุณหมอเรวัตรซึ่งเป็นหมอรักษามะเร็งอยู่ที่โรง พยาบาลรามาฯและเป็นคนที่ตรวจเลือดให้กับผมครั้งแรก ก็ได้มาเยี่ยม ผม ด้วยความที่ผมเองก็เป็นหมออยู่ ยังสนใจเรื่องสถิติและอีกส่วนหนึ่งก็ คงเหมือนคนไข้ทั่วไปที่อยากจะรู้ว่าเราจะมีโอกาสอยู่รอดกี่เปอร์เซ็นต์ ผมก็เลยถามหมอไปว่า โอกาสรอดของผมเป็นอย่างไร จากวันที่ผมถามคำถามนั้นผ่านมากว่าสี่ปี ผมอยากจะบอกคนไข้ ทั้งหลายว่าคำถามเช่นนี้มันเป็นคำถามที่ไม่ควรจะถามนะครับ แล้วก็ อยากจะบอกคุณหมอทั้งหลายด้วยว่าถ้าคนไข้ถามอย่างนี้คุณหมอน่าจะ ตอบอย่างไรด้วย ที่ผมบอกว่าไม่น่าจะถามแบบนี้เพราะว่าในภายหลังที่ผมได้ศึกษา ข้อมูลมากขึ้นก็รู้ว่าสถิติมันไม่มีความแน่นอน และในทางการแพทย์ก็ไม่ เคยหยุดยั้งที่จะศึกษาค้นคว้ายาหรือแผนการรักษาใหม่ๆ ดังนั้นตัวเลข สถิติที่หมอบอกเราก็มาจากการศึกษาวิจัยในอดีตเก่าบ้างใหม่บ้างแต่ที่

แน่ ๆ ก็คือสถิตินั้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา แต่ตอนนั้นที่ผมถามคุณหมอเรวัตรคุณหมอก็แจกแจงสถิติให้ฟัง ว่าถ้าตามสถิติโดยทั่วไปแล้ว คนไข้ที่จะอยู่ถึง 5 ปี มีเพียง 5% เท่านั้น เอง ซึ่งคำตอบนี้แม้ว่าคุณหมอจะตอบแบบกลาง ๆ มาก และผมก็รับฟัง มาด้วยใจที่คิดว่ามันอาจจะไม่เป็นอย่างนั้นก็ได้ คือยังมองโลกในแง่ดี

แต่ถึงอย่างไรก็ตามโสตประสาทมันก็รับรู้ตัวเลขนั้นไปแล้วส่วนหนึ่ง ในใจ มันก็คอยจะคิดว่าแล้วผมจะอยู่ในส่วนของ 95% หรือ 5% มันก็จะคิด กลับไปกลับมาอยู่เป็นช่วง ๆ ซึ่งอีกประมาณปีหนึ่งถัดมาหลังจากวันนั้น ผมไปเจอคุณหมอเรวัตรอีกครั้ง คุณหมอเรวัตรบอกว่าเขาเพิ่งไปประชุมที่ อเมริกากลับมา และในที่ประชุมก็มีการนำเสนอข้อมูลใหม่ล่าสุดบอกว่า สถิติต่าง ๆ ตอนนี้เปลี่ยนไปหมดแล้ว โดยเฉพาะหลังจากที่มียาชนิดใหม่ 46

นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์


รพ.ศิริราชร่วมโครงการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมมิตรภาพบำบัดเพื่อให้ผู้ป่วยมะเร็งได้

แลกเปลี่ยนช่วยเหลือดูแลกันเอง ทั้งอาจารย์ประเวศ อาจารย์ปิยสกล (ผู้อำนวยการ รพ.ศิริราช) สนับสนุนทั้งความคิดและกำลังใจให้กับพวกเรา

ที่เรียกว่า ทาร์เก็ตเซลล์ เทอราปี ซึ่งผมได้กล่าวถึงไปแล้วในตอนที่แล้ว ประเด็นหนึ่งที่ผมประจักษ์กับตัวเองก็คือ ถ้าเราไปเชื่อเรื่องสถิติ มากเกินไปมันก็ทำให้คนไข้ซึ่งหวั่นไหวอยู่แล้วหวั่นไหววิตกกังวลมากขึ้น เพราะฉะนั้นการที่ไปซ้ำเติมคนไข้ด้วยข้อมูลที่ทำให้คนไข้จิตใจไม่ดีมันก็ ไม่ได้ช่วยอะไร นอกจากว่าคนไข้คนนั้นน่าจะอยู่ในภาวะที่รับฟังด้วยเหตุ ด้วยผลรอบด้านได้จริง ๆ เพราะจิตใจคนไข้ส่วนใหญ่เขาต้องการความ หวังว่าจะอยู่รอด การไปให้สถิติตัวเลขที่บ่งชี้เท่านั้นเท่านี้อาจจะเป็นผล เสียมากกว่าที่เราคิด และที่จริงแล้วสถิติก็เป็นตัวเลขเฉลี่ย บางคนก็อาจ จะได้ดีกว่านั้น บางคนก็อาจจะแย่กว่านั้น มันไม่ใช่สถิติที่ทุกคนจะตรงกัน อย่างนั้นหมด เพราะฉะนั้นผมเองตอนหลังจะเป็นคนที่ต่อต้านเรื่องการ เปลี่ยนมะเร็งเป็นพลัง

47


พูดเรื่องสถิติและก็พยายามให้กำลังใจคนไข้อื่น ๆ ไม่อยากให้ไปเชื่อหรือ คำนึงถึงคำพูดหมอมากนักในเรื่องของสถิติ สำหรับผมตอนที่ถามก็เพราะอยากที่จะได้รู้และที่จะทำใจตัวเอง หรือเพื่อที่จะเตรียมตัวอะไรสักอย่าง แต่ผมว่าวิธีตอบของหมอมีความ สำคั ญ เช่ น กั น และอย่ า งที่ ก ล่ า วแล้ ว ก็ คื อ ว่ า ความรู้ ท างด้ า นมะเร็ ง มั น เปลี่ยนแปลงไปเร็วมาก ใน 5 ปีข้างหน้า อาจจะพลิกโฉมไปอีกโฉมหนึ่ง เลยถ้าเมื่อไหร่ที่มีการตัดต่อยีนสำเร็จและรักษามะเร็งให้หายขาดเลยก็ได้ อย่างตัวยาทาร์เก็ตเซลก็เพิ่งเริ่มใช้เมื่อไม่นานนี้เองไม่กี่ปี มันก็ยังทำให้ สถิติทั่วโลกพลิกโฉมแล้ว ผมเชื่อว่าต่อไปสถิติเดิมจะใช้ไม่ได้แล้ว ผมคิดว่าคำพูดคำสนทนาที่ไม่ควรจะหลุดจากปากหมอมากที่สุด ก็คือว่า หมอคิดว่าคุณจะอยู่ได้ไม่นาน หรือพูดว่าจากสถิติคนเป็นโรคนี้ แล้วคนส่วนใหญ่จะเสียชีวิตใน 6 เดือนอะไรทำนองนี้ เพราะคำพูดอย่าง นั้นมันเป็นการดับความฝัน ดับความหวังที่เป็นสิ่งหนึ่งที่เหลืออยู่ของ คนไข้ และความหวังสำหรับคนไข้มะเร็งมีความสำคัญเป็นอันมาก สิ่งที่ หมอพูดอาจจะแสดงสถิติที่เป็นจริงและหมออาจจะพูดด้วยความหวังดี แต่เมื่อละเลยในเรื่องจิตวิญญาณไปแล้วก็จะทำให้หมอสื่อสารกับคนไข้ แบบเป็นวิชาการโดยที่ไม่ได้มีปรุงแต่งไปด้วยความรู้สึกนึกคิดที่จะเอาใจ ใส่ว่าสิ่งนี้คนไข้จะถูกกระทบอย่างไรจากการพูดของหมอ ส่วนใหญ่เวลาหมอพูดเรื่องนี้ หมอมักจะให้ข้อมูลสถิติแบบเบลล์ เคิร์ฟ (Bell curve) คือบอกว่าผู้ป่วยมะเร็งส่วนใหญ่มักจะอยู่ได้ไม่นาน มี เพียงส่วนน้อยที่อยู่รอดหรือหายขาด ซึ่งมีการศึกษาในต่างประเทศพบว่า คนไข้มะเร็งส่วนใหญ่มักจะคิดว่าตัวเองอยู่ในเบลล์เคิร์ฟและคนเหล่านี้มัก จะทอดอาลัยตายอยาก มีเพียงส่วนน้อยที่ต้องการจะสู้เพื่อที่จะให้หาย ผมอยากจะเสนอแนะการพูดที่ถูกต้องโดยเนื้อหาไม่ต่างกันเลย และหมอก็ไม่ต้องโกหก อย่างเช่นอาจจะพูดว่า ตามสถิติคนไข้ส่วนหนึ่งก็ 48

นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์


นอกจากมีอ.ประเวศที่ให้แนวทางแล้วผมยังมีพี่ เพื่อน และน้องจำนวนมากที่ทำงาน พัฒนาระบบสุขภาพมาด้วยกัน คนขวามือของผมคือคุณหมอพลเดช ปิ่นประทีป

และคนขวาสุดคือคุณหมอประทีป ธนกิจเจริญ

อยู่ได้ 5 ปี ส่วนหนึ่งก็อยู่ได้ 3 ปี ส่วนหนึ่งก็อยู่ได้ 6 เดือนทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ปัจจัยแวดล้อมหลาย ๆ อย่าง ถ้าปฏิบัติตัวดีๆ และมีการรักษาที่ถูกต้อง กับโรค บางคนก็อาจจะหายเลย เนื่องจากผมมีประสบการณ์กับตัวเอง จากแม่ผมเองซึ่งเป็นมะเร็ง ปากมดลูกมาตั้งแต่อายุ 42 ปี เนื่องจากคุณแม่มีอาการตกเลือดร่วมด้วย หมอไม่ ส ามารถจะผ่ า ตั ด ให้ ไ ด้ จึ ง ได้ ใ ช้ ก ารฝั ง แร่ เ พื่ อ รั ก ษามะเร็ ง ปาก มดลูกแทน ตอนนั้นหมอบอกชัดเจนว่าแม่ว่าคงอยู่ได้อย่างมากอีก 2-3 ปี ตอนนั้ น พวกเราลู ก ๆ เสี ย ใจมาก และมี ค วามวิ ต กกั ง วลกั น ไปทั้ ง ครอบครัว แต่ปรากฏว่าแม่ผมอยู่มาได้อีกตั้ง 50 กว่าปี ท่านมาเสียชีวิต เมื่ออายุ 89 ปี และก็ไม่ได้เสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกด้วยแต่ท่านเสีย ชีวิตจากมะเร็งตับอ่อน ประสบการณ์นี้ทำให้ผมไม่ฝังใจเชื่อสถิติและคิด ว่าผมสามารถจะเป็นคนส่วนน้อยที่อยู่นอกเบลล์เคริฟได้ เปลี่ยนมะเร็งเป็นพลัง

49


ผมยังอ่านงานวิจัยพบอีกว่า จากจำนวนคนไข้มะเร็ง 159 คนซึ่ง ล้วนแต่ได้รับการทำนายโรคว่าจะมีชีวิตรอดไม่เกิน 1 ปี ปรากฏว่ามี คนไข้ 19% หายขาดจากโรคมะเร็ง อีก 20% มะเร็งได้ฝ่อตัวลงไป จำนวนคนไข้ที่มีชีวิตอยู่รอดมากกว่าที่ทำนายไว้ถึงเท่าตัว ผมคิดว่าการที่หมอหวังดีทำนายสถิติการอยู่รอดให้กับคนไข้ มี ข้อที่ควรต้องระมัดระวังเป็นอย่างมากเพราะบางทีมันทำให้จิตวิญญาณ คนไข้ถูกกระทบและความต้องการในการจะอยู่รอดจะน้อยลง ทั้ง ๆ ที่ จริ ง ๆแล้ ว ถ้ า คนเรามี ค วามต้ อ งการที่ จ ะอยู่ ร อดแรงกล้ า มากก็ อ าจจะ สามารถที่จะต่อสู้ได้มากกว่าที่คาดคิด ผมมีตัวอย่างผู้ป่วยที่รอดจากมะเร็งและมีชีวิตใหม่หลังการป่วยที่ น่าชื่นชม เช่น แลนซ์ อาร์มสตรอง ซึ่งเป็นนักกีฬาปั่นจักรยานระดับโลกที่ ป่วยเป็นมะเร็งลูกอัณฑะเมื่อมีอายุเพียง 32 ปี มะเร็งลุกลามต้องเข้ารับ การผ่าตัดหลายครั้งและรับการรักษาด้วยคีโมหลายรอบ แต่สุดท้ายด้วย พลังใจที่เข้มแข็งเขาสามารถผ่านการรักษาเหล่านั้นมาอย่างอดทน และ สามารถฟื้ น ฟู ร่ า งกายที่ เ คยเจ็ บ ป่ ว ยให้ ก ลั บ มาแข็ ง แรงและสามารถ เอาชนะการแข่งขันจักรยานเป็นแชมป์โลกได้หลายสมัย ยังมีเรื่องราวของผู้ชนะโรคมะเร็งอีกเป็นจำนวนมากที่มีการเขียน ไว้เป็นหนังสือหรือเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ตซึ่งผมอยากจะแนะนำให้ผู้ป่วย มะเร็งทุกท่านได้ศึกษาชีวิตของคนเหล่านี้ เพื่อจะได้มีกำลังใจในการต่อสู้ กับมะเร็ง ขณะเดียวกัน ผมมีข้อเสนอแนะสำหรับผู้ป่วยมะเร็งทุกท่านโดย ใช้ประสบการณ์ของผมเป็นหลัก กล่าวคือ ผมคิดว่าสิ่งสำคัญในการรักษา โรคเรื้อรังและโรคร้ายแรงอย่างมะเร็งนอกเหนือจากการตั้งสติ ตั้งหลัก รักษาตัวอย่างรวดเร็วและเลือกแนวทางการรักษาที่เหมาะสมแล้ว การ รักษาทางจิตวิญญาณก็เป็นสิ่งสำคัญ และอาจจะถือได้ว่าสำคัญยิ่งไปกว่า 50

นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์


เรื่องอื่น ๆ ทั้งหมด การรักษาทางจิตวิญญาณหมายถึงเมื่อรู้ตัวว่าป่วยเรา ต้องรักษาจิตของเราไม่ให้ร่วง ไม่ให้จิตตก เมื่อกายป่วยอย่าให้ใจป่วยไป ด้ ว ย สิ่ ง นี้ แ หละที่ ส ำคั ญ ที่ สุ ด สำหรั บ ผู้ ป่ ว ยมะเร็ ง ซึ่ ง ผมขอกล่ า วถึ ง แนวทางการรักษาทางจิตวิญญาณเป็นข้อ ๆ ดังนี้ 1. ก่อนอื่นเราต้อง ตระหนักและเข้าใจความสำคัญของจิต วิญญาณ ผมกล่าวได้เลยว่าไม่มีโรคใดเลยที่จะแสดงถึงความสัมพันธ์ของ จิตวิญญาณกับร่างกายได้ได้ดีเท่าโรคมะเร็ง หลายคนไม่เข้าใจเรื่องจิต วิญญาณ ไม่รู้ว่ามีผลต่อการเจ็บป่วยมาก แต่เมื่อไหร่เป็นมะเร็งแล้วจะ รู้สึกได้เลยว่าเมื่อไหร่เครียดขึ้นมาจะรู้สึกเลยว่าเจ็บหน้าอก หรือเมื่อไหร่ อารมณ์ไม่ดีหรือซึมเศร้าพอไปตรวจเลือดจะพบว่าค่า CEA สูงขึ้น มะเร็งจึงเป็นโรคที่แสดงถึงสภาวะทางจิตวิญญาณชัดกว่าโรคอื่น ทั้งหมด เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้วเราจึงจำเป็นต้องรักษาจิตวิญญาณให้ดี การ นั่งสมาธิ การฝึกปฏิบัติธรรม กลายเป็นสิ่งที่มีผู้นิยมนำมาแนะนำให้คนไข้ ปฏิบัติ ผมเองมีประสบการณ์ด้วยตัวเอง คือ โดยปกติไปรับคีโมแล้วมัก จะทำให้เม็ดเลือดขาวต่ำ แต่ตอนที่ผมจะรับคีโมรอบที่ 4 ผมได้ไปนั่ง สมาธิหนึ่งสัปดาห์ก่อนวันรับยา ปรากฏว่าน่าอัศจรรย์มากที่จำนวนเม็ด เลือดขาวขึ้นมาสูงมาก สูงเกือบเท่าตอนก่อนที่จะป่วยเสียอีก จากประสบการณ์นั้นผมยิ่งเชื่อเรื่องสุขภาวะทางจิตวิญญาณ ซึ่ง มันสะท้อนออกมาชัดเจน บางครั้งให้ผลขนาดถึงเลือดถึงเนื้อเลยทีเดียว ตัวเม็ดเลือดยังเพิ่มขึ้นได้เพราะฉะนั้นมันก็มีผลถึงเนื้อคือความเจ็บปวด ด้วย ความเจ็บปวดบางอย่างแทนที่จะปวดอยู่แค่นั้นหรือไม่ปวดเลย แต่ พอมีความเครียดขึ้นมามันก็ปวดมากขึ้น สิ่งต่างๆ เหล่านี้ที่คนไข้ควรที่จะ เข้าใจ จะต้องรู้ว่าเรื่องจิตวิญญาณเป็นเรื่องสำคัญ การที่จะทำตัวให้สบาย การปล่อยวาง คิดทางบวกจึงมีความสำคัญ 2. ดูแลใจ ปล่อยวาง ให้อภัย ข้อนี้เป็นประเด็นที่ต่อเนื่องกัน เปลี่ยนมะเร็งเป็นพลัง

51


กิจกรรมเครือข่ายผู้ป่วยมะเร็งเป็นทั้งการส่งเสริมสุขภาพให้กับผู้ป่วยและเป็นการแบ่งปัน ทุกข์ สุข ช่วยเหลือซึ่งกันและกันในรูปแบบอาสาสมัคร

กล่าวคือ เราต้องเข้าใจความสำคัญของสุขภาวะทางจิตวิญญาณเสียก่อน แล้วก็ลงมือดูแลใจของเราให้ดี เลิกเป็นคนหงุดหงิดง่าย ลดการตั้งความ หวังว่าทุกอย่างต้องสมบูรณ์แบบ พูดคำว่าไม่เป็นไรให้ติดปาก อภัยให้คน ที่อาจจะเคยกระทบกระทั่งกัน อภัยให้กับความผิดพลาดต่างๆ ของตัวเอง และคนอื่ น ปล่ อ ยวางต่ อ การงานความรั บ ผิ ด ชอบต่ า ง ๆ มอบหมาย กระจายให้ผู้อื่นดูแล หรือบางคนถึงขนาดแนะนำเลยว่าต้องหยุดงานไม่ ควรจะทำงานเลยในระหว่างที่รักษา เพื่อหลีกเลี่ยง ลด ละ สิ่งที่จะมา กระทบเรา มากระตุ้น ถ้ารู้ตัวว่าอะไรที่จะทำให้เราต้องเครียดก็ละเว้น เช่น ถ้าไปที่นั่นต้องพบกับคนที่เราลำบากใจ ก็หลีกเลี่ยงถ้าทำได้ หรือลด 52

นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์


กิจกรรมที่กระตุ้นให้เราต้องใช้ความคิดมากๆ หรือต้องปะทะสังสรรค์ทาง ความคิ ด กั บ คนที่ ห ลากหลายมาก จนอาจจะเกิ ด ความวิ ต กกั ง วลหรื อ ความเครียดในที่สุด เป็นต้น 3. เชื่อในทางบวก ดังที่กล่าวข้างต้นว่าเราไม่ควรปักใจเชื่อหรือ ฝังใจในเรื่องของสถิติต่างๆ คือต้องเปลี่ยนความเชื่อที่ว่า เป็นมะเร็งคือ ความตาย ซึ่งเป็นความเชื่อของคนทั่วไป ในขณะที่ผู้ป่วยมะเร็งจริง ๆ ที่ เขามีโอกาสได้ศึกษาข้อมูลต่าง ๆ มากกว่าคนทั่วไป เขาจะไม่เชื่ออย่าง นั้น เพราะเขารู้ว่า คนที่เป็นมะเร็งก็อยู่อย่างมีความสุขได้อีกหลายๆ ปี การที่เป็นมะเร็งก็มีโอกาสที่จะมีความสุขได้ ผู้ป่วยใหม่บางคนอาจจะถามหมอเช่นเดียวกับที่ผมเคยถาม คือ อาจจะอยากรู้ว่าจะอยู่ได้อีกสักกี่ปี ซึ่งจริงๆ แล้วสิ่งเหล่านี้อาจจะรู้ไว้เพื่อ มีประโยชน์บ้างในการเตรียมการ แต่ถ้าไม่รู้ก็ไม่เสียประโยชน์อะไร ยิ่ง ช่วงไม่กี่ปีมานี้สถิติต่างๆมันเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพราะมีการคิดค้น ยาใหม่ ๆ วิ ท ยาการใหม่ ๆ ออกมามาก แล้ ว ยาต่ า งๆเหล่ า นี้ ก็ เปลี่ยนแปลงสถิติไป โดยที่หมอบางคนอาจจะยังไม่ทันได้ศึกษาข้อมูล ใหม่ล่าสุดเหล่านี้ ก็ยังอาจจะใช้สถิติเดิม ที่ผมเคยกล่าวในตอนต้นว่าการแพทย์สมัยใหม่มีความพยายามที่ จะทำให้โรคมะเร็งกลายเป็นโรคเรื้อรัง ไม่ได้หมายความว่าแค่การสร้างให้ คนรู้สึกว่าเป็นอย่างนั้น แต่ คือ การที่เขาพยายามคิดค้นยาที่จะมายืดอายุ คนไข้ออกไป เป็นมะเร็งไม่ใช่ว่าจะต้องตายไวเสมอไป และก็พิสูจน์มา มากแล้วว่าเขาสามารถที่จะยืดเวลาของชีวิตให้ได้ยาวที่สุด และระหว่างที่ อยู่ ก็ มี คุ ณ ภาพชี วิ ต ที่ ดี ด้ ว ย การคิ ด ค้ น ยาเพื่ อ รั ก ษาให้ ห ายขาดก็ เ ป็ น วัตถุประสงค์หนึ่ง และ การคิดค้นยาเพื่อประคับประคองอาการเพื่อให้อยู่ ได้นานออกไปก็เป็นอีกวัตถุประสงค์หนึ่ง ซึ่งมีความก้าวหน้าอยู่ตลอด เวลา เปลี่ยนมะเร็งเป็นพลัง

53


ตอนเกิดสึนามิ ผมและเครือข่ายมะเร็งบางส่วนจัดกิจกรรมช่วยเหลือผู้ประสบภัย

ความเชื่อของผู้ป่วยเองนี่สำคัญมาก บางคนที่ฝังใจเชื่อว่าจะอยู่ ได้ไม่เกิน 3 ปี บางทีสองเดือนก็ตายแล้วเพราะใจมันไม่อยู่มันซึมเศร้า แต่ ค นที่ ห มอบอกว่ า จะอยู่ ไ ด้ อี ก 6 เดื อ นบางคนกลั บ อยู่ ไ ปอี ก ยี่ สิ บ ปี เพราะเขาไม่ ซึ ม เศร้ า บางคนหายขาดจากมะเร็ ง แต่ ก ลั บ ไปตายด้ ว ย อุบัติเหตุ ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตัว การดูแลตัวเอง เพราะฉะนั้น ต้องเชื่อว่า “คำว่ามะเร็งไม่เท่ากับตาย” 4. ฝึกตัวเองให้อดทน ข้อนี้ต้องคิดว่าเป็นการทดสอบพลังใจ และความเข้มแข็งของตัวเราเอง เมื่อมีโรคแล้วเราต้องอดทนหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการให้ยา การผ่าตัด การฉายรังสี ใช้เวลายาวนานทั้งสิ้น การ ผ่าตัดก็มีความเสี่ยงสูง มีแผลผ่าตัด อาจจะมีถุงมีท่อเสียบตรงนั้นตรงนี้ซึ่ง ล้วนแต่เจ็บปวดทั้งสิ้นไม่มากก็น้อย ส่วนการให้คีโมก็มีระยะเวลา เช่น อาจจะ 2 อาทิตย์ครั้งหนึ่ง โดยทั่วไปมักจะให้ถึง 6 รอบ การฉายแสง

54

นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์


บางรายก็ฉายถึง 17-20 ครั้ง พูดง่าย ๆ ก็คือว่าจะต้องเทียวเข้าเทียว ออกโรงพยาบาลซึ่งไม่ใช่สิ่งที่เราชอบ ทั้งยังมีผลแทรกซ้อน เช่น เบื่อ อาหาร คลื่นไส้อาเจียน เวียนศีรษะ หรือเจ็บปวดไปทั้งเนื้อทั้งตัว เหล่านี้คือสิ่งที่ต้องเผชิญและต้องอดทน อาจจะมียาแก้ปวด แก้ โน่นแก้นี่ที่พอช่วยได้ แต่บางคนที่จิตใจเข้มแข็งสติดี ก็ปฏิเสธการทานยา ด้วยซ้ำไปเพราะเขาคิดว่าการทานยาอาจจะทำให้หายปวดก็จริงแต่ทำให้ ความสดชื่นของตัวเองหายไปด้วย ทำให้เกิดมึนงง ง่วงเหงาหาวนอนซึ่ง เขาก็ไม่ต้องการอะไรอย่างนั้น เขาต้องการให้สติเขาแจ่มใสอยู่ตลอด บาง คนเขาก็แนะนำให้ศึกษาธรรมะ ฝึกกุมสภาพจิตให้ได้ จิตเป็นนาย กาย เป็นบ่าว ร่างกายจะเจ็บปวดจะเป็นอะไรก็เป็นไปแต่จิตอยู่ จิตไม่เป็นไป ตามร่างกาย แต่เมื่อใดที่รู้สึกอดทนไม่ไหว ถ้าอยากจะร้องไห้เป็นบางครั้งก็ สามารถทำได้ ผมเองก็เคยเหมือนกันที่ปิดประตูห้องร้องไห้ออกมาดัง ๆ แต่ตราบใดที่เรายังสู้อยู่ความเจ็บปวดต่าง ๆ ก็จะผ่านพ้นไป แล้วก็อาจจะ กลับมาใหม่เมื่อการรักษารอบใหม่มาถึง เพราะฉะนั้นเราต้องอดทนครับ 5. เปลี่ยนแปลงเป็นคนใหม่ ผมเชื่อโดยส่วนตัวว่ามะเร็งเป็น สัญญาณว่าถึงเวลาที่เราต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองแล้ว เช่น อาจจะต้อง เปลี่ ย นแปลงในวิ ถี ก ารกิ น การอยู่ การทำงาน ที่ อ ยู่ อ าศั ย สิ่ ง แวดล้ อ ม ตลอดไปจนถึงอารมณ์และความเครียด ต้องมาวิเคราะห์ตัวเองว่ามีปัจจัย เสี่ ย งอะไรบ้ า ง คนไข้ ม ะเร็ ง หลายๆ คนที่ ห ายจากมะเร็ ง เกิ ด จากการ เปลี่ยนแปลงตัวเอง เช่น แต่ก่อนเป็นคนเครียดก็ทำตัวเองให้เครียดน้อย ลง บางคนไม่เคยกินข้าวกล้องเลยตลอดชีวิตพอป่วยก็ทานข้าวกล้องได้ ทุกมื้อ แต่ก่อนก็รู้ว่าออกกำลังกายดีแต่ก็ผัดผ่อนอยู่เรื่อย มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ในอเมริกา ได้ทำการศึกษากลุ่มคนไข้ ที่มีอาการดีขึ้นและระบุว่า 10% ของคนไข้เท่านั้นเองที่ดีขึ้นจากผลของ เปลี่ยนมะเร็งเป็นพลัง

55


ยา 30% ดี ขึ้ น เพราะปั จ จั ย อื่ น ๆ แต่ 60% ดี จ ากการเปลี่ ย นแปลง พฤติ ก รรมของตั ว เอง พู ด ง่ า ยๆ ก็ คื อ การเปลี่ ย นเป็ น คนใหม่ มี ค วาม สำคัญต่อการรักษาโรคนี้มากกว่าตัวยาเสียอีก ยาเป็นเพียงช่วยให้ดีขึ้นใน ระยะที่ป่วยแรก ๆ แต่ไม่ใช่ปัจจัยหลักที่จะช่วยทำให้อยู่ได้ในระยะยาว ผมขอลงลึกในเรื่องอาหาร ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าคนเราควรจะ ทานอาหารอะไร โดยทั่วไปก็พูดถึงอาหาร 5 หมู่ แต่ว่าจากการสำรวจ วิจัยคนที่อยู่รอดจากมะเร็งส่วนใหญ่มักจะทานอาหารค่อนไปทางมังสวิรัติ หรือพูดง่ายๆ คือทานอาหารที่มีความเป็นพิษน้อย สิ่งที่เชื่อว่ามีความเป็น พิษมากหรือน้อย อยู่ที่สิ่งที่เรียกว่าระดับของไซเคิลของชีวิต หรือห่วงโซ่ อาหาร คือ กว่าจะมาเป็นสัตว์ใหญ่ได้กินทุกอย่างตั้งแต่หญ้า สัตว์เล็กและ เพราะฉะนั้นสัตว์ใหญ่จึงเอาพิษต่าง ๆ รวมเข้ามาอยู่ในตัวเอง ถ้าเป็น ปลาโอกาสที่ปลาจะมีพิษก็น้อยกว่าสัตว์ใหญ่พวกหมู หรือเนื้อโค กระบือ ดังนั้นก็ควรจะทานอาหารที่ค่อนไปทางมังสวิรัติหรือให้ทานเนื้อสัตว์ที่อยู่ ในธรรมชาติ เพราะว่าได้ยาสารกระตุ้นต่างๆ น้อยกว่าสัตว์เลี้ยง กุ้ง ปลา ไก่ เป็ดที่เลี้ยงส่วนใหญ่จะต้องถูกฉีดฮอร์โมนเพื่อเร่งการเติบโต ต้องให้ ยาเพื่อป้องกันโรคต่าง ๆ สัตว์เหล่านี้ก็จะมีพิษสะสมอยู่ในตัวมาก หลักที่สำคัญในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอาหารอีกอย่างก็คือ จะต้อง พยายามรักษาน้ำหนักตัวเองให้ได้ ดังนั้น จะรู้สึกเบื่ออาหารหรือมีอาการ ไม่สบายก็ตาม ต้องรับประทานให้ได้มาก ๆ โดยเฉพาะก่อนที่จะผ่าตัด หรือฉายแสงหรือจะรับคีโม ควรจะทำให้น้ำหนักตัวเองเพิ่มสักก 3-5 กิโลกรัม เพราะหลังการผ่าตัด หรือในระหว่างที่ฉายแสงหรือรับให้คีโม ผลจากการรักษาจะทำให้น้ำหนักลดลงอย่างแน่นอน หากมีอาการเจ็บ ปวดบริเวณลำคออาจจะกินอะไรไม่ได้เลย ก็ต้องใช้วิธีอื่น ๆ ที่ร่างกายจะ ได้รับอาหารมากพอ การรักษาน้ำหนักของตัวเองเอาไว้นอกจะทำให้เรามี ต้นทุนทางกายมากพอที่จะสู้ต่อแล้วยังมีผลในทางจิตวิทยาอีกด้วย เวลา 56

นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์


มองกระจกเราจะได้ไม่รู้สึกว่าตัวเองป่วยมาก ใครมาเห็นก็ไม่ค่อยมาทัก เรื่องรูปร่างหน้าตาว่าดูแย่ลงหรือบางทีก็อาจจะทักว่าอ้วนขึ้นเสียด้วยซ้ำ ซึ่งจะช่วยให้เรารู้สึกสบายใจได้ทางหนึ่ง 6. ช่วยเหลือผู้อื่น ผมเชื่อว่าคนเราที่อยู่ในภาวะแย่ ๆ จะรู้สึกว่า ทุกข์มันเบาบางลงเมื่อเราได้พบเห็นคนที่แย่กว่าหรือทุกข์กว่าเรา หรือ ทุกข์เช่นเดียวกันกับเรา การได้แบ่งปันความทุกข์จะช่วยให้เรารู้สึกดีขึ้น เหมือนกับคนที่ร้องไห้ถ้ามีอีกคนมาร้องไห้ด้วยด้วยความรู้สึกเดียวกัน เราก็ยังไม่รู้สึกโดดเดี่ยวสิ้นหวัง แต่จะดียิ่งกว่านั้น หากเราได้เป็นฝ่ายที่ ให้การช่วยเหลือคนอื่นด้วย เท่ากับยกระดับจากการแบ่งปันความทุกข์ เป็นการช่วยเหลือเกื้อกูลคนอื่น ซึ่งจะยิ่งทำให้เรารู้สึกว่าตัวเองยังมีคุณค่า ความรู้สึกเช่นนี้จะส่งผลต่อภาวะจิตวิญญาณของเราด้วยเช่นกัน ในกรณีของผมหลังจากที่ผมป่วยแล้วการที่ได้แก้ปัญหาคิวผ่าตัด หัวใจ การที่ได้ริเริ่มโครงการมิตรภาพบำบัด ฯลฯ คืออีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้ ผมมีกำลังใจว่าตัวเองยังสามารถทำสิ่งดี ๆ ได้ ใช้ความป่วยมาเป็นโอกาส สร้างงานใหม่ ๆ ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการสุขภาพที่ดี ในขณะที่

ผู้ ป่ ว ยมะเร็ ง บางคนอาจจะช่ ว ยผู้ อื่ น ด้ ว ยการเป็ น วิ ท ยากร บางคนก็ ทำความดีช่วยเหลือผู้อื่นด้วยวิธีการอื่น ๆ ตามโอกาสและกำลังของแต่ละ คน 7. เข้าร่วมกลุ่ม แบ่งปันประสบการณ์ การที่ผู้ป่วยมะเร็งได้ทำ อะไรเพื่อผู้อื่น ได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทำให้พยาธิสภาพของโรคดีขึ้น ด้วยอย่างประหลาด มีรายงานในต่างประเทศชัดเจนเลยว่า คนไข้มะเร็งที่ เข้าร่วมกลุ่มหรือมีสัมพันธภาพกับผู้ป่วยคนอื่น ๆ จะมีอาการดีขึ้น เขาจึง ถื อ ว่ า การจั ด กิ จ กรรมกลุ่ ม หรื อ เครื อ ข่ า ยผู้ ป่ ว ยนั้ น เป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของ แผนการรักษามะเร็ง และเป็นสิ่งที่เขาเรียกว่า heart of healing คือเป็น หัวใจของการรักษาเยียวยาผู้ป่วยมะเร็งเลยทีเดียว มีการวิจัยพบว่าผล เปลี่ยนมะเร็งเป็นพลัง

57


จากการมีกิจกรรมกลุ่มช่วยเหลือกันทำให้ลดการใช้ยาแก้ปวด ยานอน หลับ ยาลดหรือคลายความวิตกกังวล ได้อย่างชัดเจน ผู้ป่วยส่วนใหญ่มี ประสบการณ์ว่าการเข้าร่วมกลุ่มทำให้เขาเข้าใจโรคที่เป็นมากขึ้นโดยง่าย มีความรู้สึกว่าตัวเองมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น รวมทั้งมีความมั่นใจที่จะร่วมมือ กับแพทย์ในการวางแผนการบำบัดรักษาตัวเองมากขึ้น จากการวิ จั ย ที่ ม หาวิ ท ยาลั ย สแตนฟอร์ ด ในกลุ่ ม ผู้ ป่ ว ยมะเร็ ง

เต้านมระยะแพร่กระจายพบว่า คนไข้ที่เข้าร่วมกลุ่มมีชีวิตอยู่ได้นานกว่า คนไข้ที่ไม่ได้เข้าร่วมกลุ่มประมาณสองเท่า (เฉลี่ยประมาณ 36.6 เดือน และ 18.9 เดือน ตามลำดับ) 8. มี ม รณานุ ส ติ ข้ อ สุ ด ท้ า ยนี้ คื อ ที่ สุ ด ของทุ ก เรื่ อ ง ทุ ก ข้ อ ที่

ผ่านมา ซึ่งผมได้กล่าวถึงสิ่งที่เราควรจะอยู่ ควรจะเป็น และควรจะเชื่อ แต่สุดท้ายแล้วเรื่องของความตายมันก็เป็นสิ่งที่ลืมไม่ได้ ไม่ว่าจะหายหรือ ไม่หาย ไม่ว่าจะเป็นคนป่วยหรือคนแข็งแรง มนุษย์ทุกคนควรจะต้องมี มรณานุสติอยู่ตลอดเวลา ใครจะรู้ว่าวันรุ่งขึ้นเดินข้ามถนนอาจจะโดนรถ ชน หรือขับรถไปชนกับใครแล้วตายกระทันหัน คนที่เป็นมะเร็งอาจจะได้ สัญญาณบางอย่างว่าตัวเองอาจจะมีโอกาสตายมากจึงต้องมีมรณานุสติ มากกว่าคนอื่นเขา ในแง่หนึ่งมรณานุสติคือการจัดการชีวิต เราควรจะมี การเตรียมการไว้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของมรดก พินัยกรรมเกี่ยวกับ ทรัพย์สมบัติ พินัยกรรมชีวิตหรือการแสดงเจตจำนงหรือความปรารถนา ของตัวเอง ซึ่งไม่ใช่สิ่งเสียหายที่จะทำไว้ บางคนทำไว้เป็นสิบ ๆ ปีถึงได้ ใช้ก็มี และอีกแง่หนึ่งคือการที่ต้องมีสติอยู่ตลอดเวลา การมีมรณานุสติ ทำให้เราอยากทำความดี กลัวความชั่ว อีกทั้งเป็นโอกาสที่เราจะศึกษา หาความรู้เกี่ยวกับความตายด้วยใจที่เปิดกว้างไม่หวาดหวั่น ยกตัวอย่าง เช่น ความเชื่อของทิเบต บอกว่าเมื่อตายไปแล้วจะเป็นยังไง คนทิเบตจะ 58

นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์


การประชุมระดมสมองสะท้อนปัญหาและแนวทางการพัฒนาระบบดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็ง

มีการเตรียมตัวก่อนตายค่อนข้างมาก ว่ากันว่าการตายก็เหมือนกับการ ออกจากประตูหนึ่งไปอีกประตูหนึ่ง เหมือนกับการเดินทาง เหมือนกับ การเดินทางไปต่างประเทศ การเดินทางไปเที่ยวที่ไกล ๆ เพียงแต่ต่างว่า การเดินทางเที่ยวนี้ไปแล้วไม่ได้กลับมาเท่านั้นเอง ผู้ที่ป่วยเป็นมะเร็งควร ต้ อ งคิ ด เรื่ อ งนี้ และควรจะคิ ด ทั้ ง ครอบครั ว ด้ ว ย การมี ม รณานุ ส ติ ก็ คื อ การเตรียมการเพื่อให้ทุกอย่างมีความพร้อม กายกับจิตมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน เมื่อป่วยที่กายต้อง ดูแลใจไม่ให้ป่วยแล้วกายจะฟื้นตัวได้ดีขึ้นดังที่คำโบราณท่านว่า “จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว” นั่นเองครับ

เปลี่ยนมะเร็งเป็นพลัง

59


60

นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์


หมอกับคนไข้ “เราคือหุ้นส่วนการรักษา”

ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นว่าครั้งแรกที่พบว่าป่วยผมปล่อยภาระเกี่ยว กับการรักษาพยาบาลทุกอย่างให้ภรรยาช่วยดูแลและตัดสินใจแทน เมื่อ เขาตัดสินใจพาผมไปรักษาที่ศิริราชผมจึงเข้ารับการผ่าตัดที่ศิริราช แต่ต่อ มาเมื่อจะต้องเข้ารับคีโมซึ่งจะเป็นการรักษาที่ต่อเนื่องยาวนาน ผมต้อง ตัดสินใจอยู่นานว่าจะรับคีโมที่โรงพยาบาลไหน จะรักษาที่ศิริราชต่อหรือ จะย้ายไปรามาธิบดี เนื่องจากผมเรียนจบแพทย์จากรามา มีอาจารย์และ เพื่อน ๆทำงานที่นั่นหลายคนจึงรู้สึกว่าอยากที่จะย้ายไปรักษาต่อที่รามาฯ แต่ก็เกรงใจทางศิริราชเพราะทางโรงพยาบาลก็มีทีมแพทย์พยาบาลที่มี ความสามารถสูงและก็ได้ให้การดูแลรักษาผมมาเป็นอย่างดี หากผมขอ ย้ายโรงพยาบาลก็อาจจะทำให้เกิดความรู้สึกลำบากใจได้ ในฐานะศิษย์เก่ารามาฯ ผมมีความรู้สึกคุ้นเคยกับที่นั่นมากกว่า เพราะมีทั้งอาจารย์ รุ่นพี่และเพื่อนหลายคนทำงานที่นั่นผมจึงค่อนข้างที่ จะอยากย้ายไปรักษาที่รามาฯ อีกทั้งในตอนแรกผมมีความรู้สึกไม่แน่ใจ ในตัวคุณหมอที่ผมจะเข้ารับการรักษาด้วยคีโมที่โรงพยาบาลศิริราชสัก เท่าไร ในแง่ที่ว่าคุณหมอเป็นคนพูดน้อย เลยทำให้ผมรู้สึกว่าอาจจะไม่ เปลี่ยนมะเร็งเป็นพลัง

61


ค่อยสะดวกต่อการที่จะสื่อสารกัน คุณหมอคนนี้ชื่อว่าคุณหมอสุรชาติ

จักรภีร์ศิริสุข ผมกับคุณหมอไม่เคยรู้จักกันมาก่อน ระยะแรกที่ยังไม่คุ้น เคยกันผมรู้สึกเกรงใจมากไม่ค่อยกล้าที่จะซักถามคุณหมอ บางครั้งจบ การสนทนาไปโดยที่ยังมีหลายคำถามค้างคาในใจ โชคดีที่มีรุ่นน้องที่ มหิ ด ลคนหนึ่ ง ชื่ อ ว่ า น้ อ งแขกซึ่ ง เป็ น พยาบาลอยู่ ที่ นี่ น้ อ งแขกจึ ง เป็ น เหมือนกับคนที่คอยเชื่อมให้ระหว่างผมกับคุณหมอสุรชาติคนนี้ในช่วงที่ ผมรักษาตัวอยู่ที่ศิริราช ซึ่งในระยะต่อมาเมื่อผมกับคุณหมอสนิทสนมคุ้น เคยกันมากขึ้นก็มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อมูลเกี่ยวกับการ รักษาตัวผมมากขึ้น อีกทั้งคุณหมอได้ทำให้ผมเห็นว่า คุณหมอเป็นแพทย์ ที่เข้าใจและเห็นความสำคัญของการรักษาข้อมูลของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก เพราะผมเคยขอให้ คุ ณ หมอประที ป ลองโทรศั พ ท์ ไ ปหาคุ ณ หมอเพื่ อ สอบถามเกี่ ย วกั บ การเจ็ บ ป่ ว ยของผม ตอนนั้ น แม้ ว่ า คุ ณ หมอประที ป จะแจ้งว่าเป็นรองเลขาธิการสปสช.และเป็นเพื่อนสนิทของผมแต่คุณหมอ สุรชาติก็ไม่ได้ให้ข้อมูลใด ๆ เพราะเหตุผลว่าเป็นความลับของผู้ป่วยซึ่ง ข้อนี้ก็เป็นอีกหนึ่งในเป็นจรรยาบรรณที่สำคัญของแพทย์ ผมนำเรื่องนี้มากล่าวถึง เพราะว่าผมมีความเห็นว่า ความสัมพันธ์ ระหว่างผู้ป่วยกับแพทย์ผู้รักษานั้น เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในกระบวนการ รักษาพยาบาล การที่ผู้ป่วยมีความรู้สึกที่ดีและมีความรู้สึกว่าแพทย์มี ความยินดีและเต็มใจที่จะให้ข้อมูลและรับฟังปัญหาของคนไข้อย่างเต็มที่ จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกมั่นใจและปฏิบัติตัวได้เหมาะสมเป็นผลดีต่อการรักษา การที่ผู้ป่วยมีโอกาสได้รับรู้และทำความเข้าใจกับแผนการรักษา ของแพทย์เป็นเรื่องหนึ่งที่จำเป็น และจะช่วยให้เราตัดสินใจร่วมกับแพทย์ ได้ ในกรณี ข องผมก่ อ นจะเริ่ ม รั ก ษาด้ ว ยคี โ มผมได้ ส อบถามคุ ณ หมอ

สุรชาติว่าถ้ารักษาที่ศิริราชยาที่จะให้คือยาตัวไหน สูตรการให้ยาเป็น อย่างไร คุณหมอสุรชาติบอกว่าเขาจะให้ ซิสทาตินหรือ ซิสทาตินั่ม เป็น 62

นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์


รูปนี้ถ่ายหลังจากผมโดนคีโมรอบสองเข้าไปแล้ว ต้องสวมวิกอยู่พักใหญ่

ยากลุ่มแพทตินั่ม บวกกับ เจนเซทตาบีน ใน 2 ตัวนี้เจนเซทตาบีนจะมี ฤทธิ์ในการทำลายเม็ดเลือดขาวน้อยและปลอดภัย ส่วนซิสทาตินเป็นยาที่ แรงแต่ให้ผลกำจัดเซลล์มะเร็งได้ดีแต่จะมีผลเสียต่อไตได้ ผมเลยเพิ่งนึกออกและบอกหมอตอนนั้นเองว่าไตผมไม่ค่อยดีครับ นะ อย่างที่บอกแหละครับ ผมนึกว่าผมเป็นคนที่แข็งแรง แต่จริงๆแล้วก็ พึ่งค้นพบว่าไตตัวเองข้างหนึ่งนั้นเสียไปเหลือแค่ 1 ส่วนเท่านั้น สาเหตุที่ มันหดเหลือ 1 ส่วน 5 หมอบอกว่าน่าจะเป็นโรคเรื้อรังมาหลายปี แต่เรา ไม่เคยรู้เลยว่าเราเป็น เท่าที่จำได้คือเคยมีนิ่วตั้งแต่สมัยเป็นแพทย์ฝึกหัด และตอนนั้นได้ทานยาขับนิ่วหลุดออกมาแต่อาจจะเป็นไปได้ว่าอาจจะไม่ ได้รักษาดีพอเลยกลายเป็นกรวยไตติดเชื้อเรื้อรังมาหลายปี เมื่อไตติดเชื้อ เปลี่ยนมะเร็งเป็นพลัง

63


เรื้อรังมันก็เลยหดตัว เข้าใจว่าร่างกายมันรักษาตัวเองจนหายไปเองแต่ไม่ คิดว่าจะสูญเสียการทำงานของไตไปขนาดนั้น คุณหมอสุรชาติเขาบอกว่าเขารู้อยู่แล้วว่าไตของผมไม่ดีข้างหนึ่ง แต่ว่าอีกข้างหนึ่งก็ทำงานได้เต็มที่ดี เพราะฉะนั้นให้ยาตัวนี้น่าจะยังดี สำหรับผมอยู่ ความรู้สึกส่วนตัวของผมเรื่องหนึ่งที่ผมไม่ได้บอกหมอตรง ๆ ก็ คือว่า ผมไม่ค่อยอยากจะใช้ยาที่ทำให้ผมร่วงทั้งหมด ซึ่งพอเทียบกับการ คุยกับหมอเรวัตรที่รามาฯ ซึ่งบอกว่าถ้ารักษากับเขาเขาจะให้ยาอีกกลุ่ม หนึ่งซึ่งจะเป็นยาที่ผมร่วงหมดแน่นอนแต่ถนอมไตมากกว่า เรื่องผมร่วงนี่เป็นสิ่งที่ผมไม่อยากเจอเลย ว่ากันตามจริงแล้วมันก็ แค่รูปลักษณ์ภายนอกแต่ผมก็คงจะคล้าย ๆกับผู้ป่วยอีกหลายรายที่ห่วง เรื่องนี้เพราะเป็นกิเลสอย่างหนึ่ง ซึ่งอันที่จริงผมควรที่จะปล่อยวางได้แล้ว ภรรยาผมยังเคยพูดว่าถ้าเขาเป็นนะเขาจะโกนหัวเดินในหมู่บ้านให้ดูเลย ไม่เห็นจะต้องไปอายอะไร แต่ก็นั่นแหล่ะครับผมคิดว่าคนทุกคนอาจจะมี เหตุผลส่วนตัวที่คนอื่นรู้สึกว่าช่างไม่มีเหตุผลเอาเสียเลย ผมมีเพื่อนคน หนึ่งที่ป่วยเป็นอัมพาต ต่อมามีเพื่อนชาวต่างชาติที่เคยเรียนหนังสือด้วย กันตอนไปเรียนต่างประเทศมาเที่ยวเมืองไทย ผมก็หวังดีจะพาเพื่อนคน นั้นไปเยี่ยมเขาปรากฏว่าเขาไม่ยอมและรู้สึกว่าจะโกรธผมด้วย ตอนนั้น ผมไม่เข้าใจว่าทำไมเขาถึงไม่อยากพบเพื่อน ถึงตอนนี้ผมมาเป็นผู้ป่วย เสียเองทำให้เข้าใจเพื่อนผมในตอนนั้นขึ้นอีกมาก เรื่องบางเรื่องที่คน ทั่วไปคิดว่าไม่สำคัญแต่มันอาจจะมีความหมายต่อผู้ป่วยมากก็ได้ สุ ด ท้ า ยผมก็ เ ลื อ กรั ก ษาต่ อ ที่ ศิ ริ ร าชเพราะเหตุ ผ ลหลาย ๆ ประการ ประกอบกับที่ศิริราชก็รับรองว่าไตจะไม่เป็นอะไร โดยทุกครั้งที่ เขาให้ยาเขาจะมีการดูแลตลอดและมีการไล่น้ำทำให้ไตทำงานอยู่ตลอด เวลา ซึ่งก็เป็นความจริงเพราะหลังจากผมรับคีโมครบคอร์สแล้วไตของผม 64

นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์


ครอบครัว คือความรัก ความอบอุ่นทั้งในยามสุขและทุกข์

ก็ยังทำงานดีเป็นปกติ ไม่เป็นอะไร ที่เล่ามานี้ผมอยากจะบอกว่าในการรักษามะเร็งมากว่าสี่ปี ผมมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในแนวทางการรักษาร่วมกับแพทย์ หลาย ๆ ท่านที่ดูแลผมในแต่ละเรื่องมาโดยตลอด ดังนั้นเมื่อเกิด อะไรที่ ไ ม่ เ ป็ น ไปตามที่ ค าดหวั ง ผมก็ ไ ม่ คิ ด ว่ า จะโทษคุ ณ หมอคน ไหน เพราะทุกคนต่างก็พยายามทำสิ่งที่ดีที่สุดให้กับผมทั้งสิ้น ทุกครั้งที่เข้ารับการรักษาไม่ว่าจะเป็นโรคอะไร มีเรื่องหนึ่งที่เรา ต้องยอมรับก็คือว่า หมอไม่ได้รู้ทุกอย่าง เพราะแม้ว่าคนสองคนจะเป็น โรคเดียวกันแต่ก็อาจจะมีรายละเอียดบางอย่างที่ต่างกัน แต่ในความคิด ของคนทั่วไปมักจะคาดหวังว่าหมอต้องตอบได้ทุกเรื่อง หมอที่ตอบว่า เปลี่ยนมะเร็งเป็นพลัง

65


“ผมเองก็ไม่แน่ใจ” ก็จะโดนคนไข้และญาติพูดลับหลังว่า “อะไรกันเป็น หมอยังไงถึงไม่รู้” และตัดสินว่าหมอแบบนี้ไม่เก่ง ไม่มีความรู้ แต่ในโลก แห่งความจริงก็คือว่า หมอเองก็ต้องเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา ผู้ป่วยแต่ละราย มีความจำเพาะ และโรคก็มีการแสดงออกที่มีรายละเอียดแตกต่างกันชนิด ที่เรียกว่ายากที่จะเรียนรู้ได้หมด เมื่อหมอพบว่าคนไข้มีอาการบางอย่างที่ หมอเองก็ไม่เคยพบมาก่อน ก็เป็นเรื่องที่ต้องค้นคว้าหาคำตอบ ซึ่งก็ไม่ได้ หมายความว่าจะใช้คำตอบกันเดียวนี้กับคนไข้รายอื่น ๆ แบบสำเร็จรูปได้ เช่นกัน หลังจากรับคีโมครบแล้วผมไปตรวจร่างกายตามที่หมอนัดเป็น ประจำ แม้ว่าอาการทางกายผมจะค่อนข้างดี ทำเอ็กซเรย์ผลก็ปกติทุก ครั้ง แต่สิ่งที่ทำให้ทั้งผมและแพทย์ไม่สบายใจมาโดยตลอดก็คือผล CEA ของผมที่มีแนวโน้มว่าจะไม่อยู่ในระดับที่ควรจะเป็นแต่กลับสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้เราต่างมุ่งความสนใจไปที่ผลเลือดมากเป็นพิเศษ ด้วยความคิดที่ว่า ควรจะรีบหาสาเหตุและรักษาเสียแต่ต้นจึงพยายามที่จะดิ้นรนหาสาเหตุที่ ทำให้ผลเลือดผิดปกติอย่างนี้ สุดท้ายเมื่อทำหลาย ๆ วิธีแล้วก็ยังไม่สามารถตอบได้ว่าผลเลือด สูงขึ้นจากอะไร จึงตัดสินใจว่าจะเจาะเอาน้ำในช่องปอดของผมไปตรวจดู เนื่องจากว่าหลังการผ่าตัดซึ่งปอดล่างขวากลีบหนึ่งถูกตัดออกไป จึงเกิด ที่ว่างในถุงเยื่อหุ้มปอด และมีน้ำมาขัง (ทางการแพทย์เรียกว่า Plural effusion) ซึ่งถือว่าเป็นภาวะปกติ ไม่ได้มีอันตรายใด ๆ จากการปรึกษา กันว่ามันอาจจะเป็นไปได้ว่าน้ำที่อยู่ตรงช่องว่างนี้อาจจะมีเซลล์มะเร็งอยู่ และมันทำให้เกิดผลเลือดสูงขึ้น ดังนั้นเราควรจะเจาะเอาน้ำมาตรวจดีหรือ ไม่ ความที่ผมร้อนใจแล้วก็มุ่งประเด็นไปที่การอยากจะหาสาเหตุให้ได้ คือมีความอยากที่จะรู้ให้ได้ก็เลยตัดสินใจให้หมอเจาะปอด ซึ่งครั้งนั้นเมื่อ กลับมาทบทวนดูอีกทีผมคิดว่าเป็นการตัดสินใจ (ร่วมกัน) ที่ผิดพลาด 66

นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์


เนื่ อ งจากน้ ำ นั้ น มั น มี อ ยู่ ม าเกื อ บจะ 3 ปี แล้ ว ร่ า งกายมี ก ลไกตาม ธรรมชาติ ส ร้ า งเนื้ อ เยื่ อ มาห่ อ หุ้ ม เอาไว้ ท ำให้ มี ลั ก ษณะเหมื อ นลู ก โป่ ง ภาษาอังกฤษเขาเรียกว่า Loculated ก็คือว่าถูกห่อหุ้มอย่างดีแล้ว การไป เจาะมันจึงเหมือนกับการเจาะลูกโป่งที่มีน้ำอยู่ข้างในแล้วแตกออก น้ำนั้น ก็กระจายไปในปอด นอกจากนี้ผลจากการเจาะปอดปรากฏว่าแทนที่จะได้น้ำออกมา แต่ ก ลั บ เป็ น การทำให้ ล มเข้ า ไปในปอดเกิ ด ภาวะที่ ก ารแพทย์ เ รี ย กว่ า Pneumothorax และลูกโป่งที่แตกออกก็ทำให้น้ำกระจายไปทั่วซึ่งหากว่า ในน้ำมีเซลล์มะเร็งอยู่จริงมันก็เหมือนกับปล่อยเสือออกจากกรง พูดคำนี้แล้วผมอดที่จะหวั่นใจไม่ได้ “ปล่อยเสือออกจากกรง” ผม จำไม่ได้ว่าใครเป็นคนพูดคำนี้เป็นคำแรก แต่มันช่างเป็นคำพูดที่สร้าง จินตการได้ดีแท้ เป็นจินตนาการที่น่าพรั่นพรึงซึ่งทำให้ผมต้องพยายาม ตั้งสติให้พร้อมที่จะรับมือกับปัญหาใหญ่อีกคำรบหนึ่ง หลั ง จากนั้ น ผม ภรรยาผม และคุ ณ หมอก็ ม าประเมิ น ผลการ ตัดสินใจครั้งนี้กันอย่างไม่ค่อยสบายใจนัก ซึ่งในกรณีแบบนี้ถ้าโดยทั่วไป ที่คนไข้ไม่ได้มีสัมพันธภาพที่ดีกับหมอ ไม่ได้ร่วมกันตัดสินใจก็มีโอกาสที่ คนไข้จะบอกว่าเป็นโรคที่หมอทำให้เกิดขึ้น อาจจะเกิดการฟ้องร้องกันขึ้น ก็ได้ แต่ถ้าคนไข้กับหมอมีความสัมพันธ์ที่ดีและเราเป็นคนตัดสินใจร่วม กับหมอ ทำให้เรายอมรับในผลที่เกิดขึ้นเพราะเรามีส่วนในการตัดสินใจ ทุกวันนี้ปัญหาการฟ้องร้องเป็นปัญหาที่เรียกว่ากระทบต่อวงการ แพทย์และสาธารณสุขอย่างกว้างขวาง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเกิดความผิด พลาดในกระบวนการรักษาพยาบาล และอีกส่วนหนึ่งเกิดจากการขาด การสื่อสารที่ดีระหว่างหมอกับคนไข้ ในทางการแพทย์ไม่มีการรักษาพยาบาลใด ๆ ที่ปลอดภัยร้อย เปอร์เซ็นต์ บางครั้งอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง บางครั้งอาจเกิดผิดพลาด เปลี่ยนมะเร็งเป็นพลัง

67


ทุกครั้งก่อนไปรับคีโมผมจะทานมากๆทำน้ำหนักตัวตุนไว้ ถึงแม้จะอิดโรยจากฤทธิ์ยา แต่ก็ยังมีคนทักว่าอ้วนและดูแข็งแรงดีบ่อยๆ 68

นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์


ขึ้นได้ จึงมีผู้บัญญัติศัพท์ให้เกิดความตื่นตัวทั้งในหมู่แพทย์และประชาชน ว่า Iatrogenic diseases หรือโรคที่เกิดขึ้นโดยที่อาจจะเป็นความผิด พลาดของแพทย์โดยแพทย์ผู้ทำให้เกิดขึ้น พูดกันเข้าใจง่าย ๆ ว่า “โรค หมอทำ” ซึ่งหากการสื่อสารระหว่างหมอกับคนไข้ไม่ดีก็จะเกิดการฟ้อง ร้องว่า หมอเป็นฝ่ายทำให้เกิดความผิดพลาดขึ้น ทั้ง ๆที่การจะทำอะไร ก็ตาม ความจริงผู้ป่วยก็มีส่วนสำคัญในการตัดสินใจว่าจะยอมให้หมอทำ หรือไม่ ในกรณีของผม ที่ตัดสินใจไปเจาะปอดเป็นการตัดสินใจร่วมกัน ผมจึงไม่โทษหมอ และไม่โทษตัวเองด้วย ผมมาคิดถึงความรู้สึกก่อนที่จะ ตัดสินใจเจาะปอด ผมคิดว่าเป็นความผิดพลาดที่เราคือทั้งผมและหมอ ต่างก็มุ่งความสนใจผลเลือดหรือผลแล็บมากเกินไป กลายเป็นว่าเหมือน กับที่เรามักพูดว่า “รักษาผลเลือดหรือรักษาโรค” คือว่ามุ่งจะจัดการให้ค่า ผลเลือดให้เป็นปกติให้ได้ทั้ง ๆ ที่ร่างกายไม่ได้เป็นอะไร ผมยังแข็งแรงดี ยังว่ายน้ำได้ วิ่งได้ ทานอาหารได้ดี เป็นปกติทุกอย่าง แต่เราให้น้ำหนัก กับตัวเลขมากกว่าที่จะรับฟังหรือดูจากร่างกายของเรา ผลของการทำให้เสือออกจากกรงและก็ทำให้การควบคุมเซลล์ มะเร็งที่ทำมา 2 ปีครึ่ง มันยากยิ่งขึ้น เพราะหลังจากเจาะไปแล้วน้ำใน ปอดก็มีเพิ่มมากขึ้น และหลังจากนั้นประมาณ 2-3 เดือนก็พบว่ามีรอย แผลอยู่ในเยื่อหุ้มปอดบริเวณอื่นซึ่งแต่เดิมนั้นไม่มี ทำให้ต้องมีกรรมวิธี การรักษาพยาบาลด้วยการเข้ารับคีโมรอบใหม่ขึ้นมา บทสรุปสำหรับเรื่องนี้ที่ผมอยากจะเน้นย้ำก็คือว่า ผมคิดว่าพวก เราที่เป็นผู้ป่วยควรจะมีหลักคิดในการเข้ารับการรักษาโรคมะเร็งตั้งแต่ เริ่มต้น ว่าเราไม่ควรจะเป็นฝ่ายพึ่งพาหมอแต่เพียงฝ่ายเดียว ทางที่ดีแล้ว เราควรจะเป็นหมอของตัวเราเองด้วย เนื่องจากเวลาที่เราพบแพทย์ใช้ เวลาแค่ 15-20 นาที ในแต่ละครั้ง หลาย ๆ ครั้งหมอจะไม่มีเวลาดูแล เปลี่ยนมะเร็งเป็นพลัง

69


ทำหน้าที่ให้ดีที่สุดแม้ว่าชีวิตอาจจะกำลังเจอปัญหาใหญ่อยู่ก็ตาม

เราเต็มที่ บางครั้งก็อาจจะเผลอลืมเรื่องนั้นเรื่องนี้ แม้กระทั่งการนัดหมาย การให้ยาต่าง ๆ ซึ่งถ้าเราจดจำ ทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้เราจะร่วมมือ กับหมอได้ดีในการดูแลตัวเราเอง ข้อแนะนำคือเราควรจะมีสมุดโน้ตสักเล่มหนึ่งแล้วก็จดบันทึกลง ในสมุดโน้ตนั้น เผื่อเวลามาหาหมอครั้งถัดๆไป บางทีหมอก็อาจจะจำไม่ ได้ในครั้งแรกๆแล้วก็ไม่มีเวลาเปิดดูมากนัก เราก็ยังมีข้อมูลที่ช่วยเตือน ความจำได้ ปัญหาในบ้านเราก็คือคนไข้ส่วนใหญ่มักจะคิดว่าอยู่ในมือ หมอแล้วก็ปล่อยทุกอย่างแล้วแต่หมอ ในขณะเดียวกันหมอก็ไม่มีเวลา มากนัก มักจะเป็นฝ่ายตัดสินใจให้คนไข้เป็นหลัก แต่ในหลายกรณีผู้ป่วย ก็สามารถที่จะติดตามข้อมูลหรือศึกษาหาความรู้ใหม่ ๆ มาแลกเปลี่ยน กับหมอโดยที่หมอเองก็เปิดใจรับฟังและถือว่าเป็นการร่วมมือกันเพื่อผล การรักษาที่ดีที่สุด ยกตัวอย่างเช่นประสบการณ์ของผู้ป่วยที่บันทึกใน 70

นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์


หนังสือเล่มหนึ่งเล่าว่า เมื่อหมอของเขาตกลงใจว่าจะผ่าตัดก่อนหลังจาก นั้นถึงจะให้คีโม คนไข้ซึ่งได้หาความรู้ด้วยตนเองมาเป็นอย่างดีก็เลยทัก หมอว่า เท่าที่ตัวเองทราบมาจากการค้นคว้าทางอินเทอร์เนตบอกว่าถ้า ก้ อ นมะเร็ ง ใหญ่ ข นาดนี้ ค วรจะให้ คี โ มก่ อ นแล้ ว ถึ ง จะผ่ า ตั ด ไม่ ใ ช่ เ หรอ ปรากฏว่าหมอคนนั้นซึ่งก็เป็นหมอที่ดีมาก ก็กลับไปค้นคว้าเพิ่มตามที่ คนไข้ท้วงติง สุดท้ายหมอก็กลับมายอมรับและตกลงร่วมกับคนไข้ว่าให้คี โมก่อนแล้วถึงผ่าตัด จากประสบการณ์ของคนไข้รายนี้แสดงให้เห็นว่าหมอควรจะเป็น ทีมเดียวกันกับคนไข้ และคนไข้ก็ควรจะเป็นทีมเดียวกันกับหมอ การ ตัดสินใจควรตัดสินใจร่วมกัน แล้วอะไรจะเกิดขึ้นก็ตามก็เป็นการตัดสินใจ ที่คนไข้เองก็ยอมรับ และรู้สึกว่า เขาเองมีความรับผิดชอบที่จะทำเรื่อง อื่นๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการกินยาอย่างสม่ำเสมอ การออกกำลัง การ พักผ่อน ฯลฯ ซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่ในความรับผิดชอบของคนไข้เองทั้งสิ้นหมอ จะมากำกับคนไข้ได้ยาก หากมีความร่วมมือกันเช่นนี้จะทำให้การรักษา พยาบาลสมบูรณ์ไปด้วย นอกจากการรับผิดชอบและดูแลตัวเองแล้ว การแสวงหาความรู้ ใหม่ๆ ทั้งเรื่องโรคและความก้าวหน้าของวิทยาการในการรักษามะเร็ง จากหนังสือหรืออินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลที่ดีมากก็จะเป็นประโยชน์ ต่อการรักษาทั้งทางกายและทางจิตวิญญาณ ชีวิตและสุขภาพของเรา เราต้องมีส่วนร่วมดูแลและอย่าโยน ภาระนี้ ไ ปให้ ห มอหรื อ ใครก็ ต ามที่ ดู แ ลเราทั้ ง หมด เพราะถ้ า ตั ว คนไข้ไม่กระตือรือร้นที่จะร่วมมือ คนที่ดูแลเราอย่างเหนื่อยยาก ทุ่มเทเขาก็จะหมดกำลังใจไปได้ง่าย ๆ เช่นกัน เปลี่ยนมะเร็งเป็นพลัง

71


72

นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์


เปลี่ยนมะเร็งเป็นพลัง

การเป็นมะเร็งนี่ให้อะไรหลายอย่างเหมือนกันนะครับ หลายคนที่ ป่วยแล้วเขียนหนังสือออกมาเขาถึงกับบอกว่ามะเร็งให้ชีวิตใหม่ กลาย เป็นว่านอกจากมะเร็งจะไม่พรากชีวิตไปแล้วยังทำให้ได้รับสิ่งที่ ดี ๆ หรือ มีการเปลี่ยนแปลงชีวิตไปในทางที่ดีอีกด้วย สำหรับผมแล้วถ้าถามว่ามะเร็งให้อะไร ตอบได้ว่าทำให้ครอบครัว ได้อยู่ด้วยกันมากขึ้น เพราะแต่ก่อนนั้นผมทำงานมาก ได้เจอลูกก็ตอน ก่อนนอนกับตอนเช้าเวลาไปส่งเขาไปโรงเรียนอยู่ช่วงหนึ่งเท่านั้น ส่วน ภรรยาผมก็ทำงานมากเช่นกัน ครั้นพอผมป่วยเขาก็อยู่บ้านเป็นเพื่อนผม มากขึ้น ไปเป็นเพื่อนเวลาไปหาหมอแทบทุกครั้ง รวมทั้งเข้าครัวหัดทำ กั บ ข้ า วด้ ว ยจากแต่ ก่ อ นที่ เ ขาแทบจะไม่ มี เ วลาทำงานบ้ า นเลยด้ ว ยซ้ ำ ส่วนลูก ๆ ก็สวดมนต์ไหว้พระมากขึ้น ผมรู้สึกดีใจที่เขาเข้ามาสู่พุทธ ศาสนามากขึ้น ลูกชายซึ่งตอนนั้นอายุแค่ 11 ปี ยอมบวชให้พ่อและบวช อยู่ได้ตั้ง 5 วัน คือไปบวชที่สวนโมกข์ซึ่ง ค่อนข้างจะลำบาก ดังนั้นเด็ก อายุขนาดนั้นอยู่ได้ 5 วันก็เก่งแล้ว หลังจากป่วยผมย้ายบ้านมาอยู่ในพื้นที่ที่สิ่งแวดล้อมดีขึ้นกว่าเดิม เปลี่ยนมะเร็งเป็นพลัง

73


เพราะบ้ า นเก่ า นั้ น มี ส ภาพไม่ ค่ อ ยดี เ ท่ า ไรคื อ เป็ น ตึ ก ที่ มี ฝ้ า เพดานเป็ น แอสเบสทอส (abestos) ซึ่งอาจจะไม่ดีต่อการที่เราจะฟื้นตัวหรือเผลอๆ อาจจะเป็นสาเหตุของการสะสมจนเป็นโรคก็ได้ พี่สาวของผมก็มาช่วย ดูแลเรื่องบ้านใหม่ให้ ส่วนพี่ชายผมซึ่งค้าขายอยู่ที่เมืองจีนก็ติดต่อกัน บ่อยขึ้นเขาส่งยาบำรุงอะไรต่าง ๆ มาตลอด เหล่านี้คือสิ่งที่ดี ๆ ที่เกิดขึ้น หลังจากพบว่าเป็นมะเร็ง แต่ถึงอย่างไร ผมก็ไม่นึกชอบการเป็นมะเร็งขึ้นมาได้หรอกครับ ถ้าจะให้ดีที่สุดคือผมขอไม่เป็นมะเร็งดีกว่า ในชีวิตผมไม่มีอะไรเลวร้ายไป กว่าการเป็นมะเร็งอีกแล้ว แต่เมื่อมันเป็นแล้วก็ต้องยอมรับและปรับตัวไป แต่อย่างหนึ่งที่ผมยังภูมิใจก็คือหลังจากที่ป่วยทำให้เราซึมซาบถึงความ ทุกข์ยากของคนไข้ 30 บาทฯ มากขึ้นเพราะประสบกับตัวเอง และผม ก็ได้ลงมือปรับปรุงระบบบริการสุขภาพในหลาย ๆ ส่วนทันที อันที่จริงผมก็ตั้งใจอยู่แล้วทั้งชีวิตที่จะทำเรื่องระบบหลักประกัน สุขภาพ แต่ว่าส่วนใหญ่ที่ผ่านมาผมจะทำเรื่องนโยบายเป็นหลัก แต่เดิม ผมมองภาพแต่ในระบบใหญ่ อย่างเช่น การสร้างระบบการเงิน การจัด ระบบบริการชั้นต้น ชั้นกลาง ชั้นสูงว่ามันควรจะเป็นยังไง แต่ไม่เคยลง รายละเอียด หลังจากป่วยและกลับไปทำงานได้มากขึ้นแล้วคราวนี้ผมจับ รูปธรรมเป็นเรื่อง ๆ มากขึ้น เรื่องระบบใหญ่ก็ทำไปแต่ขณะเดียวกันใน ช่วงปีที่สามของสปสช.เราเริ่มทำงานกับเครือข่ายผู้ป่วยโรคต่าง ๆ มาก ขึ้น พยายามแก้ปัญหาจากสภาพปัญหาจริง ๆ ของเขา ซึ่งเห็นมรรคเห็น ผลเร็วเพราะเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่เขาเดือดร้อนกันเห็น ๆ ทำให้ ได้ข้อคิดว่าบางทีเรามัวแต่ไปทำเรื่องใหญ่ที่กว่าจะเห็นผลต้องรอไปสามปี ห้าปี คนก็อาจจะบ่นว่าไม่เห็นเราทำอะไร เพราะมันเห็นผลช้า ดังนั้น ถ้า เราทำทั้งงานใหญ่งานเล็กด้วยมันก็จะช่วยลดเสียงแห่งความไม่เข้าใจ เหล่านี้ได้ และเราเองก็พลอยได้ชื่นใจมีกำลังใจไปกับผลงานที่ทยอยเห็น 74

นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์


การประชุมเครือข่ายผู้ป่วยและผู้ให้บริการเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ดอกเห็นผลทีละเล็กทีละน้อยในระหว่างที่เรื่องใหญ่ ๆ ยังไม่เห็นผลได้เช่น กัน เรื่ อ งแรกที่ ผ มลงมื อ ทำก็ คื อ แก้ ปั ญ หาเรื่ อ งคิ ว ผ่ า ตั ด โรคหั ว ใจ เพราะก่อนนี้ผมมีคนไข้คนหนึ่งมาร้องเรียนว่าภรรยาเขาเป็นโรคหัวใจ เมื่อวานนี้หัวใจล้มเหลวไปนอนโรงพยาบาลหมอบอกว่าต้องผ่าตัด แต่ ปรากฏว่าหมอนัด 8 เดือน เขาก็มาร้องเรียนว่าแล้วภรรยาเขาจะไม่ตาย ก่อนหรือ ผมรู้สึกว่าทำไมหมอนัดนานจังก็เลยให้เจ้าหน้าที่ไปค้นดูใน

รายละเอียดพบว่า อย่าว่าแต่ 8 เดือนเลย 4 ปียังมีเลยกว่าจะได้รับการ ผ่าตัด คิวผ่าตัดของโรงพยาบาลบางแห่งนานถึง 2 ปี แต่โดยเฉลี่ยจะอยู่ ที่ 8-12 เดือน เพราะฉะนั้นคนไข้คนนี้นัด 8 เดือนถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ว่า เร็วแล้ว ผมมาพบว่าส่วนใหญ่ที่คิวยาว ๆ มักจะเป็นคิวในโรงพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข เช่น ที่โรงพยาบาลโรคทรวงอก โรงพยาบาลราชวิถี เปลี่ยนมะเร็งเป็นพลัง

75


ในขณะที่คิวของโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์เช่นที่ศิริราชนั้นไม่ยาวมาก ซึ่งในขณะที่ไปผ่าตัดนอนรักษาตัวเกือบสิบวันที่นั่น ผมก็สอบถามว่าคิว ผ่าตัดหัวใจที่นี่ยาวแค่ไหน เขาก็บอกว่าคิวที่นี่แค่ 3 อาทิตย์เอง ผมถามที่ รามาฯคิวก็ไม่ยาวเช่นกัน แสดงว่าคิวที่โรงเรียนแพทย์ไม่ยาว แล้วก็ไป ถามโรงพยาบาลเอกชนปรากฏว่าไม่มีคิวเลย แนวคิดที่ผมนำมาใช้ในการแก้ปัญหานี้คือหลักการปฏิรูปอย่าง หนึ่ง นั่นคือการบริหารจัดการให้เกิดการใช้ทรัพยากรร่วมกันระหว่าง หน่วยงานต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพราะจริง ๆ แล้วเครื่องมือ

แพง ๆ รวมทั้งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ ควรต้องถือว่าเป็นสมบัติของ ส่วนรวม เป็นของประเทศชาติที่สามารถจะเอามาดูแลคนไทยทุกคนได้ และการที่คิวยาวไม่ได้เป็นเพราะประเทศเราขาดแคลนเครื่องมือหรือ บุคลากรแต่เนื่องจากเราอาจจะมีเส้นแบ่งเรื่องสังกัด เรื่ององค์กร เรื่อง ความเป็นรัฐความเป็นเอกชนเราก็เลยกันของส่วนรวมไว้เป็นของที่ใดที่ หนึ่งเท่านั้น ซึ่งทำให้การใช้ทรัพยากรไม่เต็มที่ หลังจากที่พักฟื้นหลังผ่าตัดไประยะหนึ่งผมก็กลับมาทำงาน ได้ คุยกับทีมงานและสั่งให้จัดประชุมกลุ่มแพทย์จากสถาบันที่เกี่ยวกับหัวใจ ทั้งหมดก่อน เชิญมาพูดคุยแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสถานการณ์เรื่องคิวผ่าตัด เรื่องเครื่องมือและทรัพยากรต่าง ๆ ว่าที่ไหนมีอะไรรองรับอะไรได้ แล้วก็ ปรึกษาว่าจะแก้ปัญหาเรื่องคิวผ่าตัดอย่างไร อะไรที่เป็นไปได้อะไรที่เป็น ไปไม่ได้ ทำให้มีข้อมูลต่าง ๆ มากขึ้น หลังจากนั้นก็นัดประชุมกลุ่มผู้ป่วยโรคหัวใจที่เคยเข้ารับการ ผ่าตัดหัวใจโดยใช้สิทธิ 30 บาท ให้เขามาสะท้อนปัญหาที่เขาประสบมา สิ่งที่เขาไม่ได้รับความสะดวก และสิ่งที่เขาอยากให้ปรับปรุง และในการ ประชุมครั้งที่สามผมก็ให้เชิญทั้งสองกลุ่มมาประชุมรวมกัน หลังจากนั้นในเวลาเพียงแค่ประมาณสองเดือนก็ทำให้เกิดการ 76

นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์


เครือข่ายผู้ป่วยไตวายยกขบวนมาขอบคุณที่ สปสช.สนับสนุนและผลักดันการฟอกไตให้ อยู่ในสิทธิประโยชน์บัตรทอง

ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงที่ดีมาก โดยเรามี อาจารย์บุญชอบ พงษ์พาณิชย์ อดี ต คณบดี ข องรามาธิ บ ดี ก รุ ณ ามาเป็ น ประธานการประชุ ม และเป็ น ประธานคณะทำงานชุดนี้ด้วย เราก็เอาคิวของโรงพยาบาลต่าง ๆ มาจัด เกลี่ยคิวใหม่ ตรงไหนคิวยาวก็ตัดคิวให้สั้นลง อย่างเช่นคิวของกระทรวง สาธารณสุขยาวก็ส่งไปให้โรงเรียนแพทย์ คิวของรัฐยาวส่งไปให้เอกชน ผลปรากฏว่าทำให้คนไข้ได้รับบริการเร็วขึ้น จากเดิมต้องคอยอย่างน้อย 8 เดือน ก็ลดลงมาก อย่างที่ต้องรอนานที่สุดก็ 3 เดือนเท่านั้นเอง บาง แห่ง 3 สัปดาห์เท่านั้นเอง ต่อมาเราขยายงานไปที่ภูมิภาคต่าง ๆ ภาค เหนื อ ไปที่ เ ชี ย งใหม่ กั บ พิ ษ ณุ โ ลกโดยเราให้ โ รงพยาบาลใหญ่ ส องแห่ ง ประสานร่วมกัน นอกจากจะเกลี่ยคิวแล้วก็รวมไปถึงช่วยกันในการพัฒนา ทีมงานผ่าตัด ดูงาน สนับสนุนกัน ภาคใต้ขยายไปที่สุราษฎร์ธานีกับที่ เปลี่ยนมะเร็งเป็นพลัง

77


ผมเชื่อว่าภาคประชาชนเป็นพลังสำคัญของระบบหลักประกันสุขภาพที่ยั่งยืน

ยะลา ส่วนภาคตะวันออกที่จันทบุรีกับชลบุรี ที่เราทำอย่างนี้ได้ก็เพราะว่าในแง่ของการบริหารเงินเรามีระบบ กองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในหมวดโรคค่าใช้จ่ายสูง ที่สามารถ จะบริหารจัดการจ่ายค่าผ่าตัดให้กับสถานพยาบาลที่ทำการผ่าตัดได้โดย คล่องตัว ซึ่งถ้าไม่มีกองทุนแบบนี้หรือเป็นแบบเดิมที่ต่างคนต่างจ่าย ไม่มี ทางที่คนยากจนหาเช้ากินค่ำจะมีโอกาสได้เข้าผ่าตัดหัวใจซึ่งมีค่าใช้จ่าย นับแสนบาทอย่างแน่นอน การที่ผมไปเป็นคนไข้ไปนอนรับการผ่าตัดหน้าอกแล้วกลับออก มาได้มาแก้ปัญหาคิวผ่าตัดหัวใจ และกระจายบริการผ่าตัดออกไปให้ คนไข้ต่างจังหวัดไม่ต้องดิ้นรนมากรุงเทพฯ ผมถือว่าผมได้กำไรนะครับ

นี่เป็นอีกหนึ่งสิ่งดี ๆ ที่ผมได้พบหลังจากเป็นมะเร็ง ครั้นต่อมาเมื่อผมไปรับการรักษาด้วยคีโม ไปเป็นผู้ป่วยมะเร็ง 78

นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์


เต็มตัวผมก็เห็นปัญหาของการรักษามะเร็งชัดเจนอีก ผมก็มาทำคล้าย ๆ กันกับเรื่องโรคหัวใจ คือจัดประชุมสถาบันต่าง ๆ ที่รักษามะเร็ง แล้วก็เอา คนไข้มาคุยกัน ต่อมาก็เอาคนไข้กับทางสถาบันมาคุยกัน แต่ปรากฏว่า ผลของการขับเคลื่อนในเรื่องของโรคมะเร็งต่างไปจากประเด็นโรคหัวใจ คือว่าในเรื่องโรคหัวใจนั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงทางฟากของผู้ให้บริการ หรือ supply side มาก พอเราทำเรื่องนี้แล้วโรงพยาบาลต่างๆ เขามีการ ประสานกัน ร่วมมือกันดีและทำให้การคอยคิวของลดคนไข้ได้ แต่ในเรื่อง ของมะเร็งกลับกลายเป็นว่า demand side แข็งแรง คือกลุ่มคนไข้มะเร็ง ได้ ม ารวมตั ว กั น ช่ ว ยเหลื อ กั น ดั ง นั้ น สปสช.จึ ง ได้ ส นั บ สนุ น เครื อ ข่ า ย มะเร็งให้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ขยายเติบโตไปหลายกลุ่ม ตอนที่เกิดสึนามิที่ ภาคใต้กลุ่มคนไข้มะเร็งก็คิดกันว่าอยากจะไปช่วยผู้ประสบภัยสึนามิ เกิด กิจกรรมต่าง ๆ ที่ทำให้คนไข้มีความสุข ได้ทำประโยชน์ช่วยเหลือผู้อื่น ซึ่งเรื่องนี้ผมว่ามีความสำคัญมาก เป็นเรื่องในมิติทางจิตวิญญาณที่ไม่

ควรจะมองข้าม คือผมคิดว่าคนเรานี่ส่วนใหญ่จะมีศักดิ์ศรีในตัวเองเป็น พื้นฐาน อยากที่จะเป็นผู้ทำประโยชน์ ยิ่งเป็นผู้ป่วยแล้วก็ยิ่งไม่อยากจะ ถูกตอกย้ำว่าไร้ศักยภาพ ไม่อยากที่จะต้องพึ่งพาเป็นภาระของคนอื่นไป ตลอด ผมพูดได้ในฐานะผู้ป่วยคนหนึ่งว่า การที่ป่วยแล้วได้สู้ต่อไปนั้น อาจจะดูเหมือนกับว่าเป็นการทำเพื่อครอบครัวก็ดี เพื่อใครต่อใครที่รักเรา หรือเรารักก็ดี แต่จริง ๆ แล้วการที่เราทำอย่างนั้นผลดีก็กลับมาหาเรา ด้วย เมื่ อ ผมได้ ม าทำเรื่ อ งเครื อ ข่ า ยผู้ ป่ ว ยมะเร็ ง แล้ ว ต่ อ มาก็ มี ก าร พั ฒ นาและขยายรู ป แบบการดู แ ลผู้ ป่ ว ยมะเร็ ง ที่ เ รี ย กว่ า “โครงการ มิตรภาพบำบัด” โดยสปสช.สนับสนุนงบประมาณให้โรงพยาบาลที่เป็น ศูนย์ดูแลรักษามะเร็งประมาณสิบกว่าแห่งกระจายทุกภูมิภาค ให้เขาจัด เปลี่ยนมะเร็งเป็นพลัง

79


การประชุมระดับชาติหลอมรวมเครือข่ายหลักประกันสุขภาพฯ อีกงานหนึ่งที่ผมภูมิใจ

กิจกรรมสนับสนุนการรวมกลุ่มของผู้ป่วย ให้เขาได้มีความรู้จัก ได้พูดคุย แลกเปลี่ยนกัน แล้วก็มีการอบรมสร้างอาสาสมัครดูแลผู้ป่วย ไปเยี่ยม บ้าน ไปให้คำแนะนำ ไปปลอบใจ นำความรู้ใหม่ ๆ ไปแนะนำ อาสา สมัครเหล่านี้มีทั้งที่เป็นผู้ป่วยมะเร็งที่หายแล้วหรือยังไม่หายแต่มีสุขภาพ ดีรวมทั้งญาติหรือผู้ดูแลผู้ป่วยที่มีประสบการณ์ ซึ่งพบว่า กลุ่มผู้ป่วยที่ เป็นอาสาสมัครเขาพอใจมาก เขามีความสุขด้วยซ้ำไปที่พอป่วยแล้วมี โอกาสได้ไปช่วยคน ขณะนี้รวม ๆ แล้วมีศูนย์มิตรภาพบำบัดประมาณ 16 แห่ง และจากที่ประเมินคร่าว ๆ พบว่า อาสาสมัครที่เคยป่วยเป็น มะเร็ ง จะให้ บ ริ ก ารหรื อ ให้ ก ารช่ ว ยเหลื อ แก่ ค นอื่ น ได้ ดี ก ว่ า อาสาสมั ค ร ทั่วไป แม้แต่พยาบาลหรือเจ้าหน้าที่เองบางครั้งยังไม่สามารถปลุกใจ คนไข้ที่ท้อแท้ได้ดีเท่ากับอาสาสมัครเหล่านี้ 80

นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์


นอกจากโรคมะเร็งแล้ว เรายังได้ขับเคลื่อนสนับสนุนประชาคม

ผู้ ป่ ว ยโรคไตวายเรื้ อ รั ง ระยะสุ ด ท้ า ยที่ ต้ อ งรั ก ษาด้ ว ยการฟอกไตให้

เข้มแข็ง โดยเราสนับสนุนให้เขาได้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ตั้งแต่การให้ความรู้ เรื่องการปฏิบัติตัว การจัดกิจกรรมแบบเพื่อนช่วยเพื่อน ไปจนกระทั่งเขา มี ค วามรู้ ค วามเข้ า ใจในเรื่ อ งของโรคและเรื่ อ งของระบบหลั ก ประกั น สุขภาพ เรื่องสิทธิและนโยบายต่าง ๆ มากพอที่เขาจะลุกขึ้นมาร่วมเสนอ แนะเชิงนโยบายเพื่อการปรับปรุงสิทธิประโยชน์ของระบบหลักประกัน สุขภาพด้วย ขณะเดียวกันการเรียกร้องให้ปรับปรุงสิทธิประโยชน์ของ พวกเขาก็เป็นไปอย่างคนที่เข้าใจในหลักการของหลักประกันสุขภาพถ้วน หน้า คือไม่ได้เรียกร้องอย่างไม่มีขอบเขตเหตุผล และถ้าหากว่าต่อไปเรา อยากจะพั ฒ นาหลั ก ประกั น สุ ข ภาพไปในทิ ศ ทางใดพวกเขาก็ จ ะเป็ น ตัวแทนประชาชน ตัวแทนผู้รับบริการเข้ามาร่วมกับภาครัฐได้มากขึ้นด้วย จนในที่สุดในช่วงท้าย ๆ ของปี 2550 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้การฟอก ไตแบบที่ ฟ อกทางช่ อ งท้ อ งอยู่ ใ นชุ ด สิ ท ธิ ป ระโยชน์ ข องหลั ก ประกั น สุขภาพถ้วนหน้า อีกเรื่องหนึ่งผมได้กล่าวไว้ข้างต้น คือเรื่องการแก้ปัญหาเรื่องยา แพง ผมมีแรงบันดาลใจจากการที่พบว่ายาต่าง ๆ นี่มันแพงมาก ยาที่ผม ไปได้จากสวิตเซอร์แลนด์ ที่ว่าเม็ดละ 3-4 พันบาท นั้น คนยากคนจน ไม่มีทางจะเข้าถึงได้ ยาบางอย่างแพงกว่ากว่านี้อีกฉีดเข็มเดียวสองแสน บาทก็มี จึงเกิดคำถามว่าทำไมยาลิขสิทธิ์มันแพงมากขนาดนั้น และผมก็ มาคิดว่าจะทำยังไงให้ยาถูกลงในเมื่อมีประเด็นทางกฎหมาย เรื่องสิทธิ บัตรยา โดยทั่ ว ไปแล้ ว หากใครคิ ด ค้ น ยาหรื อ สิ่ ง ใหม่ ๆ ขึ้ น มาได้ ก็ สามารถจะไปขอจดสิทธิบัตรเพื่อสงวนไม่ให้ใครมาลอกเลียนแบบหรือ ผลิตซ้ำโดยไม่ได้รับอนุญาตได้ การมีระบบจดสิทธิบัตรมีข้อดีคือเป็นแรง เปลี่ยนมะเร็งเป็นพลัง

81


จูงใจให้บริษัทยาต่าง ๆ รวมทั้งคนทั่วไปทุ่มเทในการคิดค้นยาตัวใหม่ ๆ ขึ้นมา เพราะหลังจากนั้นเขาสามารถที่จะมีอำนาจผูกขาดยานั้น และ สามารถจะตั้งราคาขายและทำประโยชน์จากยานั้นได้เต็มที่ แต่เนื่องจาก กฎหมายการค้ า โลกซึ่ ง ดู แ ลโดยองค์ ก รการค้ า โลก (World Trade Organization หรือ WTO) ก็มีความเป็นห่วงว่าการปกป้องสิทธิบัตรแบบ สุดขั้วจะทำให้คนไข้ที่ยากจนไม่สามารถเข้าถึงยาได้ จึงได้กำหนดว่า ใน กรณีที่เกิดโรคระบาด หรือมีปัญหาการเข้าไม่ถึงยา หรือเพื่อแก้ปัญหา สาธารณสุ ข องค์ ก รหรื อ หน่ ว ยงานของรั ฐ บาลประเทศต่ า ง ๆ ที่ เ ป็ น สมาชิก WTO สามารถใช้สิทธิตามข้อตกลงนี้ผลิตยานั้น ๆ ขึ้นมาใช้เอง หรือสั่งยาราคาถูกมาใช้ได้โดยไม่ผิดกฎหมายสิทธิบัตร ต่อมาในคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติก็มีการตั้ง คณะอนุกรรมการที่จะศึกษาและพิจารณาหาทางดำเนินการในเรื่องนี้ ซึ่ง ผมเองขอเป็นประธานคณะอนุกรรมการนี้เองด้วยความที่มีแรงผลักดันใน ใจอย่างมาก คณะอนุกรรมการนี้แต่งตั้งขึ้นในช่วงที่คุณพินิจ จารุสมบัติ เป็นรัฐมนตรี คณะอนุกรรมการก็ไปศึกษายาตัวแรก คือ ยาเอดส์ตัวหนึ่ง ที่เรียกว่า Antivirance เนื่องจากว่าเราก็ต่อสู้และได้รับการผลักดันจาก กลุ่มเครือข่ายที่ทำงานเรื่องโรคเอดส์มานานแล้วว่าให้นำเอายาเอดส์เข้า เป็นส่วนหนึ่งของสิทธิประโยชน์ของหลักประกันสุขภาพ ซึ่งที่ผ่านมาเราก็ ยังทำได้ไม่เต็มที่ ไม่ใช่ว่าเราไม่เห็นความสำคัญแต่เพราะว่างบประมาณ มีจำกัด เมื่อได้ผลการศึกษาว่าสถานการณ์การใช้ยาเป็นอย่างไร ถ้าทำ อย่างนี้จะถูกลงเท่าไร จนกระทั่งนายแพทย์มงคล ณ สงขลา มาเป็น รัฐมนตรี เราก็เสนอเรื่องนี้และท่านก็สนับสนุนเต็มที่ให้เรากล้าที่จะเดิน หน้าประกาศว่าเราจะผลิตยาตัวนี้เองหรือสั่งยาชื่อสามัญที่ราคาถูกกว่า เข้ามาใช้ด้วยเหตุผลที่ว่าโรคเอดส์เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของ ประเทศ 82

นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์


เครือข่ายผู้ป่วยเอดส์ต่อสู้มาอย่างยาวนานให้ยาเอดส์อยู่ในสิทธิบัตรทอง และในที่สุดก็ เป็นไปได้

ผมคิดว่าถ้าไม่ใช่ช่วงจังหวะที่รัฐมนตรีสนับสนุนเช่นนี้ เราคงไม่ สามารถจะทำได้ ถ้าเป็นนักการเมืองส่วนใหญ่คงไม่กล้าที่จะประกาศ อย่างนี้ เพราะฉะนั้นเรื่องยาก ๆ ที่ต้องการความเข้าใจและความกล้า หาญทางนโยบายเช่นนี้จึงถือว่าเป็นโชคดีที่เราสามารถทำได้ จริง ๆ แล้วที่เราทำแบบนี้ ไม่ใช่ว่าเราไม่สนใจเรื่องสิทธิบัตรเลย แต่ผมคิดว่าทั่วโลกควรจะเห็นว่าสิทธิมนุษยชนต้องเหนือกว่าสิทธิทาง ด้านการค้า อย่างไรก็ตามถ้าเกิดสิทธิทางด้านการค้าถูกลิดรอนบ่อย ๆ บริษัทยาก็อาจจะไม่มีแรงจูงใจที่จะมาทุ่มทุนทำวิจัย แต่ในด้านตรงข้าม ถ้าทำวิจัยได้แล้วถึงเวลาขายแพงๆ ประชากรส่วนใหญ่เข้าไม่ถึง การมียา ใหม่ตัวใหม่นั้นขึ้นมาในโลกมันก็ไม่ได้มีประโยชน์อะไร องค์กรของโลก เปลี่ยนมะเร็งเป็นพลัง

83


วันที่ผมแสนสุขใจ เมื่อลูกชายอายุเพียง 11 ปีบวชให้ที่สวนโมกข์

อย่างสหประชาชาติน่าจะคิดถึงเรื่องนี้และมองว่ายาเป็นสิ่งที่จะต้องทำให้ เป็ น สมบั ติ ส าธารณะไม่ ใ ช่ เ ป็ น สมบั ติ ส่ ว นบุ ค คล ก็ น่ า จะตั้ ง กองทุ น สั ก กองทุนหนึ่งในระดับโลกและเมื่อบริษัทยาคิดยาได้แล้วก็ใช้กองทุนนี้ซื้อ เลย ซื้อด้วยเงินก้อนใหญ่ที่บริษัทยาเขาก็พอใจ แล้วสิทธิบัตรยาตัวนั้นก็ เป็นของสาธารณะ สามารถที่จะผลิตได้มากขึ้น ในราคาถูกลง ผมคิ ด ว่ า สิ่ ง นี้ เ ป็ น สิ่ ง ที่ ต้ อ งมี ก ารผลั ก ดั น ต่ อ ไปอี ก แล้ ว ก็ ไ ม่ ใ ช่ เฉพาะยาเอดส์ ยามะเร็งเท่านั้น ยังรวมไปถึงยาโรคหัวใจ และยาอื่น ๆ ด้วย ตอนนี้เราเริ่มต้นต่อสู้ด้วยยาตัวหนึ่งซึ่งนอกจากจะเป็นความกล้า หาญของเราแล้วยังเป็นประเด็นในระดับนานาชาติด้วยว่า ประเทศไทย เริ่มแล้วนะ และมันอาจจะเป็นกรณีศึกษาที่นำไปสู่การขยับเขยื้อนเพื่อแก้ ปัญหานี้อย่างกว้างขวางในอนาคตก็ได้ 84

นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์


หากความป่วยไข้ ได้เข้ามากลายเป็นพลังทำให้เราสามารถ ยกระดับทางปัญญา มีความกล้าหาญที่จะทำสิ่งที่ถูกต้อง ตลอดจน นำไปสู่วิถีการใช้ชีวิตที่ดีขึ้น ไม่ว่าจะยาวนานหรือเพียงช่วงเวลา หนึ่งก็ตามก็ถือว่าเราไม่ได้สูญเปล่าไป และถ้าจะคิดให้ดีแล้วเราจะ เห็นว่า สิ่งที่เกิดขึ้นแล้วนั้นย่อมดีที่สุดเสมอ

เปลี่ยนมะเร็งเป็นพลัง

85


86

นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์


ใช้ชีวิตให้มีชีวิต

การเป็นมะเร็งเปลี่ยนแปลงชีวิตผมในอีกหลาย ๆ เรื่องนอกเหนือ จากเรื่องงานที่กล่าวมาแล้ว ในด้านชีวิตส่วนตัวผมก็เปลี่ยนไป...อย่างแรก เลยก็คือผมร้องเพลงและเต้นรำ เมื่อก่อนผมไม่เคยร้องเพลงต่อหน้าคนเยอะ ๆ ไม่เคยเลยตั้งแต่ ทำงานในชนบทมาจนถึ ง ในกระทรวงและมาเป็ น ผู้ บ ริ ห าร นั ก ข่ า วก็ ดี เพื่อนร่วมงานก็ดีไม่เคยมีใครเห็นผมร้องเพลง อาจจะเพราะเป็นส่วนหนึ่ง ของการรักษาภาพลักษณ์ ซึ่งตลอดเวลาที่ผ่านมาผมอาจจะวางตัวว่า อยากจะมีภาพลักษณ์ที่ไม่เป็นคนเสเพล ไม่หยิบโหย่ง เป็นคนเอาจริงเอา จัง เป็นนักวิชาการอะไรแบบนั้น แต่ถึงวันนี้ ผมกำลังสร้างสภาวะแวดล้อมใหม่ และปรับเปลี่ยน การใช้ชีวิตใหม่ และผมก็มาค้นพบว่าผมร้องเพลงแล้วมีความสุข และ ทำให้คนอื่นมีความสุขไปด้วย ซึ่งมันเป็นเพียงจุดเล็ก ๆ เป็นความสุข

ง่าย ๆ ที่ผมเคยมองข้ามไป นอกจากนี้หลังจากป่วยแล้วผมยังท่องเที่ยวเพื่อผ่อนคลายและได้ มองเห็นความรื่นรมย์ของชีวิตมากขึ้น โดยเฉพาะช่วงที่ทุเลาจากอาการ เปลี่ยนมะเร็งเป็นพลัง

87


ป่วย ผมเดินทางท่องเที่ยวทั้งในบ้านเราและบางครั้งก็ไปต่างประเทศด้วย ซึ่งบางคนอาจจะมองว่ามากเกินไปสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง แต่ผมคิดว่ามัน

ดีกว่าที่จะเก็บตัวอยู่กับบ้าน แต่เรื่องแบบนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละคนนะครับว่า จะเลือกแบบไหนที่เหมาะกับตัวเอง สำหรับผมมันเหมือนกับการชดเชย ให้กับตัวเองด้วยในส่วนหนึ่ง ผมอยากจะลองใช้ชีวิตที่สนุกสนานและ โลดโผนบ้าง ผมจึงได้ลองทำสิ่งที่ไม่เคยทำมาเลยในชีวิตหลายอย่าง ผม อายุขนาดนี้แล้วไปเมืองนอกมานับครั้งไม่ถ้วนแต่ไปถึงก็ประชุม ๆ ทำแต่ งานตลอด สิ่งที่คิดอยากทำแต่ไม่เคยทำสักทีก็คือการพายเรือล่องแก่งใน กระแสน้ ำ เชี่ ย ว ครั้ น พอป่ ว ยผมก็ มี โ อกาสไปพั ก ผ่ อ นที่ ป ราจี น บุ รี แ ละ

ได้ไปล่องแก่งดูก็พบว่ามันช่วยให้สนุกและผ่อนคลายเกิดความประทับใจ จริง ๆ อีกอย่างหนึ่งคือเคยไปเล่นเครื่องร่อนหรือที่เรียกว่าบินพาราชู้ท (parachute) ซึ่งเราจะต้องวิ่งจากพื้นแล้วเครื่องก็จะพาเราขึ้นไปลอย กลางอากาศ เมื่อทะยานขึ้นไปแล้วมันตื่นเต้นดีและมีความรู้สึกว่าตัวเอง เหมือนนกบินอยู่กลางอากาศ มันจะต่างจากการอยู่ในเครื่องบินเพราะว่า เรามีแต่ร่มชูชีพอยู่ข้างหลังเราและพลขับซึ่งช่วยเราขับอยู่ 2 คนเท่านั้น เอง ขึ้นไปแล้วก็บินวนไปเวียนมารู้สึกมีความสุขมาก ผมใช้คำว่า “มีความสุขมาก” โดยที่ผมก็บอกไม่ได้หรอกว่าถ้าผม มาเล่นก่อนหน้านี้ คือก่อนที่จะพบว่าตัวเองป่วยผมจะรู้สึกมีความสุขไหม หรือมีความสุขแบบไหน มันจะเป็นความสุขแบบเดียวกันหรือเปล่า ถ้า เป็นยามธรรมดาผมก็อาจจะคิดว่าจะคุ้มหรือไม่ มันเสี่ยงนะ มันจะเป็น อย่างไร ร่มมันจะกางไม่กาง มันจะตกลงมาหรือไม่ แต่อย่างไรก็ตาม ณ ขณะที่อยู่บนท้องฟ้า ผมสามารถกางมือออกสัมผัสกับลมและอากาศ รวม ทั้งมองเห็นสิ่งที่อยู่เบื้องล่างอย่างใกล้ชิด ให้ความรู้สึกอิสระและรู้สึกได้ว่า ตัวเองมีความสุข ซึ่งผมไม่มีวันที่จะรับรู้ได้ถ้าไม่ได้ทำด้วยตัวเอง 88

นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์


การไปปี น หน้ า ผาก็ เ ป็ น อี ก อย่ า งหนึ่ ง ที่ ผ มได้ ล องไปหา ประสบการณ์ ตอนที่ไปปีนหน้าผานั้นเป็นช่วงที่โดนยาคีโมเข้าไปแล้ว

ทำให้รอบๆ ขามีอาการชา เกิดจากปลายเส้นประสาทถูกยาคีโมทำลาย ทำให้ชาไปหมด พอบอกหมอที่ให้คีโมว่าขาชาเขาก็ส่งไปให้หมอ Neuro หรือหมอทางประสาทวิทยาตรวจดู หมอประสาทวิทยาถามว่ามีอาการ อะไรที่ไม่พอใจบ้างผมก็บอกว่า ขามันชาไปหมด เวลาไปปีนไต่หน้าผา มันไม่ค่อยแน่น เหยียบแล้วไม่ค่อยรู้สึก ผมก็ตอบไปเฉย ๆ อย่างนั้น แต่ หมอคนนั้นมองหน้าผมแบบว่าทำท่าเหมือนก็ไม่อยากจะตรวจผมต่อไป เลยเพราะเขามีความรู้สึกประมาณว่าป่วยแล้วยังอยากจะไปทำอะไรแบบ นั้นอีกหรือ ผมคิ ด ว่ า นี่ ค งเป็ น แง่ มุ ม หนึ่ ง ที่ เ ราพบเจอกั น เป็ น ปกติ ใ นระบบ บริการของเรา คือการที่หมอมักจะตัดสินว่าคนไข้ต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้ และไม่ควรทำอย่างนั้นอย่างนี้จากมุมเรื่องของความเจ็บป่วยและทัศนคติ ของหมอเอง แต่สิ่งที่สำคัญไปกว่าความคิด ทัศนคติ หรือสายตาของหมอหรือ คนอื่น ๆ ก็คือ ทัศนคติของตัวผู้ป่วยเอง ความเชื่อว่าโรคที่เป็นอยู่นี้ไม่ทำ อันตรายต่อเราหรอกถ้าเราจัดการมันดีๆ มันไม่ใช่สิ่งที่ทำให้ชีวิตต้องถล่ม ทลายในวันนั้นหรือวันนี้ ชีวิตเรายังมีอีกยาวนานถ้าสามารถจัดการชีวิต เราให้ยาวได้ และรู้จักการละวางการว่าเมื่อมันถึงเวลาเราก็จำเป็นต้อง ปล่อยวาง ความเชื่ออันนี้สำคัญมาก เพราะมันจะกำหนดชีวิตของเราว่าเมื่อ รู้ ตั ว ว่ า มี โ รค เราจะจั ด การกั บ ตั ว เอง การงาน และครอบครั ว อย่ า งไร ความเชื่อเหล่านี้ตั้งอยู่บนฐานคิดสองแบบ คือ“ทุกขนิยมหรือสุขนิยม” คนเราอาจจะมีใจที่ป่วยแม้ว่าร่างกายจะปกติ และอาจจะมีใจที่เป็นปกติ แม้ว่าร่างกายจะป่วยได้เช่นกัน ใครจะเป็นแบบไหนขึ้นอยู่กับพื้นฐาน เปลี่ยนมะเร็งเป็นพลัง

89


กว่าสี่ปีของการอยู่ร่วมกับผู้ป่วยมะเร็งมีวันดีๆ ที่น่าประทับใจของชีวิตเกิดขึ้นมากมาย 90

นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์


บุคลิกภาพของแต่ละคนซึ่งอาจารย์ประเวศเคยพูดไว้ว่า คนเรานั้นมีสอง พวก บางคนมีบุคลิกสุขนิยม บางคนก็มีบุคลิกทุกขนิยม พวกสุขนิยมก็คือพวกที่มองโลกในแง่ดี คิดในทางที่จะมีความสุข ความเบิกบานใจ ลดความคาดหวังต่าง ๆลงมา สามารถที่จะพึงพอใจกับ อะไรต่าง ๆ ได้ง่ายกว่า ส่วนพวกทุกขนิยมมักจะเป็นผู้ที่มีความคาดหวังสูง ทำดีแล้วก็ยัง ว่าไม่ถึงมาตรฐาน ต้องให้ดีกว่านี้อีก ซึ่งพอมาวิเคราะห์ตัวผมชีวิตที่ผ่าน มามันกลายเป็นว่าเราบ่มเพาะตัวเองแบบทุกข์นิยมมาตลอด เรื่องหลัก ๆ เลย ก็คือ การที่ตั้งเป้าว่าเกิดมาชีวิตต้องมีความหมาย ดังนั้นจึงต้องเป็น คนดีที่ทำประโยชน์ให้สังคม ซึ่งจริง ๆ แล้วความคิดแบบนี้เป็นความคิดที่ ดี แต่ประเด็นมันอยู่ที่ว่าเราเอาสิ่งที่ดีเหล่านั้นมาเพิ่มความเครียดให้กับ ตั ว เรามากเกิ น ไป การที่ แ สดงออกในลั ก ษณะที่ ผ มแคร์ ม ากกั บ ภาพ ลักษณ์ตัวเองในสายตาคนอื่น ซึ่งโดยเนื้ออาจจะเป็นเรื่องดีแต่โดยบุคลิก มันคือการเพิ่มความทุกข์ให้กับตัวเองไปเรื่อย ๆ เป็นข้อเสียของคนที่มี บุคลิกแบบทุกขนิยมสุดโต่ง ส่วนพวกสุขนิยมก็มีข้อดีที่ว่า อยู่แบบสบาย ๆ ไม่เคร่งเครียด มากนัก แต่ข้อเสียของพวกนี้บางทีเราก็จะเห็นว่าจะไม่ค่อยเอาจริงเอาจัง กับอะไรสักอย่าง มาประชุมก็พูด ๆ ให้ความเห็นแต่พอออกจากห้อง ประชุมก็จบแล้วไม่ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน แน่นอนว่าคนลักษณะแบบนี้ ปล่ อ ยวางเก่ ง ไม่ ค่ อ ยทุ ก ข์ ร้ อ นอะไร แต่ ค นเหล่ า นี้ ก็ ไ ม่ ส ามารถสร้ า ง ประโยชน์ได้จริงเพราะฉะนั้นมันก็สุดโต่งอีกเหมือนกัน มีหลายท่านที่เป็นตัวอย่างของสุขนิยมแบบอุเบกขา คือไม่ใช่สุข นิยมประเภทรักสบาย แต่คือการมีทัศนคติในแง่บวก อย่าง อ.ประเวศ ท่านทำงานตลอดเวลาแต่ก็มีความสุข การมีความสุขไม่ได้หมายความ ว่าการปล่อยวางไม่ได้ทำอะไร ตรงกันข้ามคือการทำงานอย่างใจจิตปล่อย เปลี่ยนมะเร็งเป็นพลัง

91


วาง แล้วจิตมีความชื่นบานอยู่ตลอดเวลา มีการให้อภัยคนอื่นอยู่ตลอด เวลา เช่นนั้นถึงจะถือว่ามีความสุข พื้นฐานผมเองเป็นคนทุกขนิยมอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นที่ผ่านมาผม จะรู้สึกอยู่ตลอดเวลาว่า ผมยังเป็นสามีที่ไม่ดีพอ ผมยังเป็นพ่อที่ไม่ดีพอ ผมยังเป็นผู้บังคับบัญชาที่ไม่ดีพอ ผมยังเป็นเพื่อนที่ไม่ดีพอ ไม่พอใจกับ อะไรสักอย่าง ภายหลังเมื่อป่วยแล้วมันก็ค่อยคลี่คลายไปได้ระดับหนึ่ง คือมีการยอมรับสภาพมากขึ้นในข้อจำกัดของตัวเอง แต่ด้วยความที่ตัว เองยังมีนิสัยเก่าอยู่บางครั้งมันก็อดไม่ได้ที่จะคาดหวัง สิ่ ง ที่ ผ มพยายามก็ คื อ พยายามจะเป็ น พวกสุ ข นิ ย มแบบ อุเบกขา คือทำเต็มที่เท่าที่ทำได้แต่ว่าก็ยอมรับได้ในข้อจำกัดทั้ง ของตัวเองและของคนอื่น ก็เลยมีความรู้สึกสบายใจมากขึ้นในการ ที่ จ ะละวางหรื อ ว่ า ในการที่ จ ะปฏิ เ สธอะไรบ้ า ง รวมทั้ ง รู้ จั ก สร้ า ง ความสุขให้กับตัวเองอย่างง่าย ๆ ในแต่ละวันที่ดำเนินชีวิตไป นี่ คื อ มะเร็ ง ได้ ท ำให้ ผ มเป็ น คนที่ ใ ช้ ชี วิ ต ให้ มี ชี วิ ต และ เป็นการตีความใหม่ว่าชีวิตที่ดีคืออะไร

92

นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์


เปลี่ยนมะเร็งเป็นพลัง

93


บัญญัติสิบประการของนักสู้มะเร็ง

ในวันนี้ ถ้าถามว่าผมประสบความสำเร็จในการสู้กับมะเร็งไหม ผมก็ไม่สามารถจะบอกได้อย่างนั้น การแพ้หรือชนะควรตัดสินกันที่ว่า ผม อยู่กับมะเร็งด้วยความรู้สึกเช่นไรมากกว่า หากผมทำได้ดีในส่วนที่ผม ควบคุมได้ ก็คือใจของผมเอง ก็ถือว่าผมชนะ ในบทท้ายนี้ผมขอสรุปสิ่งที่ได้กล่าวมาทั้งหมดเป็นสิ่งที่ผมเรียกว่า “บัญญัติสิบประการของนักสู้” (มะเร็ง) ที่ผมอยากจะมอบให้เป็นข้อคิด คำแนะนำแก่ผู้ที่ป่วยและผู้ที่ยังไม่ป่วยทุกคน 1. เมื่ อ แรกรู้ ต้ อ งตั้ ง หลั ก ให้ มี ส ติ คิ ด และปรึ ก ษาหารื อ หาทาง รักษาโดยเร็ว 2. เชื่อในทางบวก ไม่ฝังใจกับสถิติว่ามะเร็งหมายถึงตาย 3. รับการบำบัดรักษาที่เหมาะสม ทั้งแผนปัจจุบันและทางเลือก อื่น ๆ และปรับใช้อย่างเหมาะสม 4. เป็นเจ้าของไข้ร่วมกับแพทย์ ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับมะเร็ง เพื่อที่จะปฏิบัติตัวและร่วมมือกับแพทย์ในการรักษา 94

นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์


5. เปลี่ยนแปลงเป็นคนใหม่ ปรับเปลี่ยนอาหารการกินและจัด กิจวัตรประจำวันใหม่ 6. ฝึกตัวเองให้อดทน เพราะต้องเผชิญกับการรักษาพยาบาล และผลข้างเคียงต่าง ๆ เป็นระยะเวลานาน 7. เข้าใจความสำคัญของสุขภาวะทางจิตวิญญาณ และรักษา

สุขภาวทางจิตวิญญาณให้ดีเพราะมีผลกระทบถึงสุขภาพกายอย่างมาก 8. ดูแลใจ ปล่อยวาง รวมทัง้ อภัยให้กบั เรือ่ งราวต่าง ๆ และทุกคน 9. ช่วยเหลือผู้อื่น เมื่อฟื้นตัวจากความเจ็บป่วยควรหาโอกาส ช่วยเหลือผู้อื่น อาจจะเป็นในรูปแบบอาสาสมัคร หรือกิจกรรมเพื่อสังคม ต่าง ๆ 10. มีมรณานุสติ เตรียมใจและจัดการเรื่องต่าง ๆ เพื่อที่จะจาก ไปอย่างมีสติ นี่คือบัญญัติสิบประการที่ผมใช้เป็นคัมภีร์ชีวิตในการต่อสู้ กับมะเร็ง ผมหวังว่าคงจะมีประโยชน์ต่อผู้ป่วยมะเร็งคนอื่น ๆ ที่ อาจจะกำลังตั้งหลัก รักษาตัว และมองหาหนทางที่จะอยู่กับมะเร็ง อย่างมีความสุข สู้ต่อไปนะครับ

เปลี่ยนมะเร็งเป็นพลัง

95


หากความปวยไข ไดเขามากลายเปนพลัง ทำใหเราสามารถยกระดับทางปญญา มีความกลาหาญที่จะทำสิ่งที่ถูกตอง ตลอดจนนำไปสูวิถีการใชชีวิตที่ดีขึ้น ไมวาจะยาวนานหรือเพียงชวงเวลาหนึ่งก็ตาม ก็ถือวาเราไมไดสูญเปลา


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.