หนังสือพิมพ์รักบ้านเกิด นครศรีธรรมราช

Page 6

หน้า ๖

ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๒๐ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๖

นครศรีธรรมราช

อุไรวรรณ พรหมศร พยาบาลหัวหน้าแผนกนรีเวช โรงพยาบาลมหาราชนครศรีฯ ให้ค�ำจ�ำกัดความ ‘นรีเวช’ ว่า “นรีเวชว่าด้วยโรคเฉพาะของสตรีค่ะ เน้นไปที่ระบบ สืบพันธุ์ เช่น มดลูก รังไข่ ปีกมดลูก ช่องคลอด คนไข้อายุ ครรภ์ไม่เกิน ๒๘ สัปดาห์ ถ้าแท้งจะอยู่ที่เรา ถ้าเกิน ๒๘ สัปดาห์จะส่งไปห้องคลอด เราแบ่งกันที่ ๒๘ สัปดาห์”

นักศึกษาฝึกงาน

โรคที่ เ ป็ น มากที่ สุ ด คื อ การ แท้งบุตร สาเหตุมาจากแม่เป็นโรค เบาหวาน ความดั น โลหิ ต โรคถ่ า ย ทอดทางพันธุกรรม การยกของหนัก ลื่นล้มในห้องน�้ำ นั่งรถทางไกลเกิด กระเทื อ น ผ่ า นการคลอดลู ก หลาย คน และเคยขูดมดลูกหลายครั้ง อีก กลุ่มคือกลุ่มเนื้องอก เช่น เนื้องอก ในมดลูก หรือรังไข่ วิธีรักษาคือการ ผ่าตัด ซึ่งเนื้องอกมีทั้งถุงน�้ำหรือก้อน เลือด ผู้ป่วยมาหาหมออย่างฉุกเฉิน หรือมาตรวจ “โรคที่ เ กิ ด มี ส องรู ป แบบ คื อ คนไข้ฉุกเฉิน และมาแบบคนไข้ปกติ (Elective Case) “คนไข้ประเภทหลัง เรามีโอกาสให้เขาได้เตรียมตัว เขามี โอกาสดี คือได้รู้ล่วงหน้า...ความเสี่ยง น้อย” ห้องนรีเวชรับผู้ป่วยเข้ามาดูแล ทั้ ง คนไข้ ที่ แ พทย์ นั ด ให้ ม านอนโรง พยาบาลเพื่อเตรียมผ่าตัดหรือตรวจ ละเอียดว่าต้องผ่าตัดหรือไม่ “ถ้าคนไข้ต้องเข้ารับการผ่าตัด เป็นคนที่ไม่เคยผ่าตัด เราก็สอนว่าคุณจะเจอสภาพอย่างไร จะปฏิบัติตัวอย่างไร ให้ผ่อนคลาย..หลังผ่าตัดเป็นวิกฤติชีวิตอย่างหนึ่ง คนไข้ต้อง หายใจเองได้ คนไข้ต้องรู้สึกตัว ต้องไม่มีภาวะแทรกซ้อน ขณะผ่าตัด บางคนเลือดออกในช่องท้อง ท้องอืด ไม่สบาย

ประชุมพยาบาล

ทุกข์ทรมาน บางคนว่ามากกว่าปวดท้อง” ก่ อ นรั บ คนไข้ จ ากห้ อ งผ่ า ตั ด มี ขั้ น ตอนดู แ ลรั ก ษาที่ ส�ำคัญ “ก่อนคนไข้ฟื้น วิสัญญีพยาบาลจะประสานมาทางเรา ว่าคนไข้คนนี้ต้องการออกซิเยน เราต้องเตรียมไว้ ถ้าคนไข้ ต้องการเลือดเราต้องเตรียมอะไร คนไข้หายใจช้า คนไข้ หัวใจเต้นช้า เขาบอกเราๆ จะได้เตรียมพร้อม พอเข้ามา ปุ๊บเราจะดูการหายใจ ดูสัญญาณชีพที่เป็นความเสี่ยงของ ชีวิต-- ดูระดับความรู้สึกตัว ถ้าคนไข้มีแผลผ่าตัดหน้าท้องก็ ต้องดูว่ามีเลือดไหลหรือเปล่า ท้องอืดหรือไม่ อีก ๑๕ หรือ ๒๐ นาทีต้องประเมินซ�้ำเพราะถ้าเลือดออกในช่องท้องจะ อันตรายอย่างยิ่ง ท้องจะอืด เราต้องเช็คบ่อยๆ หลังออก จากห้องผ่าตัด ดูว่าคนไข้ได้สารน�้ำอะไร ปริมาณเท่าไร สิ่งที่ คามากับคนไข้ทั้งหมด เช่น สายสวนปัสสาวะ สายระบายน�้ำ ต้องเช็คหมด และต้องประเมินซ�้ำเป็นระยะๆ” ทุกเช้าจะประชุมพยาบาล “ช่วงต่อเวรต้องส่งข้อมูล คนไข้ สิ่งที่ต้องระวังต่อเนื่องในคนไข้แต่ละราย..วันนี้คุณได้ รับมอบหมายคนไข้ ๖ เตียง คุณต้องรู้เรื่องและดูแลคนไข้ ให้ดีที่สุด มีอะไรก็สอบถาม ถ้าพยาบาลคนก่อนหน้าออก เวรแล้วจะติดต่อล�ำบาก..เป็นบันทึกส่งเวร..เล่าข้อมูลผู้ป่วย อาการที่ต้องเฝ้าระวัง สิ่งที่ต้องท�ำวันนี้ หรือเคสนี้ส่งปรึกษา แพทย์อายุรกรรม หรือเคสนี้ต้องส่งต่อ” ปกติ ก รณี เ หล่ า นี้ จ ะเกิ ด ยาก อุ ไ รวรรณบอกว่ า พยาบาลทุกคนต้องระมัดระวัง “เคสที่มีเลือดออกในช่อง ท้อง หลังรับมาจากห้องผ่าตัดคนไข้ปกติ แต่หลังจากนั้น ๑ ชั่วโมงเลือดทะลักทางหน้าท้อง แสดงว่าคนนี้มีแผลมาจาก การผ่าตัด ต้องห้ามเลือดและรายงานแพทย์ทันที ประสาน ห้องผ่าตัดเพื่อตรวจใหม่ อาจเป็นอุบัติเหตุที่เกิดจากการ ผ่าตัด..ตัดโดนอะไร เย็บหมดไหม เส้นเลือดเส้นไหนไม่โอเค ไปผ่าตัดใหม่ หมอไปรื้อหา...เปิดใหม่ ตัดอะไรไม่เรียบร้อย” ห้องนรีเวชพยาบาลอาวุโสมีหน้าที่ถ่ายทอดประสบการณ์ให้พยาบาลรุ่นน้องและนักศึกษาฝึกงาน ทั้งการระวัง หน้าท้อง ดูแลสัญญาณชีพ การให้น�้ำเกลือ ภาวะท้องอืด หรือล�ำไส้ต้องปรึกษาศัลยแพทย์ ถามว่ากรณีฉุกเฉินที่หมอต้องช่วยเหลือทันทีมีอะไร บ้าง อุไรวรรณตอบทันที “ท้องนอกมดลูก แตกมาแล้ว ช็อกมาแล้ว เราต้อง ท�ำอย่างเร่งด่วน เราจึงต้องมีระบบทางลัด ไม่เช่นนั้นเราจะ ช่วยเขาไม่ทัน” . ห้องนรีเวชรับคนไข้กว่า ๒๐๐ คน ต่อเดือน ปีละ ๒,๔๐๐ - ๒,๕๐๐ คนไข้แท้งมากที่สุด ใน ๒๐๐ จะแท้ง ราว ๗๐ คน กลุ่มที่ยุ่งยากคือกลุ่มท�ำแท้งมา ซึ่งมีความเสี่ยง จากการติดเชื้อ ตกเลือด การติดเชื้อในกระแสเลือด เคยมี คนเสียชีวิต” ในจ�ำนวน ๗๐ คน ประมาณ ๑๒ - ๑๕ คน เป็นวัย รุ่น ซึ่งไม่ค่อยให้ความร่วมมือในการซักประวัติ เพราะกลัว หลายๆ อย่าง อุไรวรรณต้องปรับทัศนคติของพยาบาล ซึ่ง บางคนอาจรับพฤติกรรมวัยรุ่นไม่ได้ ปรับให้พยาบาลเข้าใจ สิ่งที่เกิดขึ้น ห้องนรีเวชมีพยาบาล ๙ คน ที่ต้องดูแลบังคับบัญชา “แต่ ล ะคนไม่ เ หมื อ นกั น ดิ ฉั น รู ้ จั ก น้ อ งๆ ทุ ก คน รู ้ จั ก ครอบครัว..ก็ให้โอกาส ทุกคนช่วยกันส่งเสริม กระบวนการ คุณภาพเราต้องไปด้วยกัน สร้างวัฒนธรรมองค์กรให้พูดคุย มีอะไรพูดกันเลย ปัญหาจะได้รับการแก้ไข เราจะได้รู้ว่าเขา คิดอะไร ใช้มติว่าเรื่องนี้เราจะเป็นอย่างนี้ ไปกันอย่างนี้” งานพยาบาลเป็นงานหนัก เพราะเกี่ยวข้องกับความ เจ็ บ ปวด ความเป็ น ความตาย บางครั้ ง ญาติ ผู ้ ป ่ ว ยอาจ หยาบคายกับพยาบาล เนื่องจากไม่เข้าใจกระบวนดูแลการ รักษา พยาบาลตอบโต้ไม่ได้ สิ่งที่ท�ำได้คือรับฟังและค่อยๆ ท�ำความเข้าใจ


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.