Puay mag october 58 ebook

Page 1

วารสารรายเดือนเพื่อเชิดชูเกียรติ และรวมรำลึกในโอกาส 100 ปชาตกาล ดร.ปวย อึ๊งภากรณ

ปที่ 1 ฉบับที่ 6 ตุลาคม 2558

มองปวย :

อาจารยปวยในความทรงจำของ วิทยากร เชียงกูล บันทึกรำลึกปวย :

อาจารยปวย ความศรัทธาที่ไมแปรเปลี่ยน ปาฐกถา 100 ป ปวย อึ๊งภากรณ :

การศึกษากับยาพิษแอบแฝง

ตุลารำลึก

อาจารยปวยกับ 6 ตุลาคม 2519

Cover-puay-6 October.indd 1

27/9/2558 21:12:27


สารบัญ / CONTENTS ปฏิทินกิจกรรม

1

ปลายปากกาปญญาชนสยาม

2

ปาฐกถา 100 ป คณะเศรษฐศาสตร์

5

สาระของความเปนปวย

การศึกษากับยาพิษแอบแฝง ปญหา การศึกษาไทยที่ขาดการเชื่อมโยงความรู ครอบงํากระบวนการคิด

ป๋วยเสวนาสัญจร

ชีวิต แนวคิด อุดมการณ และสายธารสันติประชาธรรม

เรื่องจากปก

ตุลารําลึก… อาจารยปวยกับเหตุการณ 6 ตุลาคม 2519

8 12

มองป๋วย

20

บันทึกรําลึกป๋วย

24

กวีนิพนธ์

27

รายงานพิเศษ

28

ลูกผู้ชายชื่อ “ปวย”

30

อาจารยปวยในความทรงจํา ของ วิทยากร เชียงกูล อาจารยปวย ความศรัทธาที่ไมเคยเปลี่ยน

อังคารรําลึก 3 ป กวีที่จากไป

บทบรรณาธิการ

หลังการรัฐประหารตัวเองของจอมพลถนอม กิตติขจร ในเดือนพฤศจิกายน 2514 อาจารย์ป๋วย เขียน จดหมายของนายเข้ม เย็นยิ่ง เรียนนายท�านุ เกียรติก้อง ผู้ใหญ่บ้านไทยเจริญ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2515 เรียกร้องให้ประเทศ ในเวลานั้นกลับมามีรัฐธรรมนูญ ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพ และมีการเลือกตั้งโดยเร็ว หลังจากนั้นสองเดือน ในเดือนเมษายน อาจารย์ป๋วยเขียนบทความเรื่อง บันทึกประชาธรรมไทยโดยสันติวิธี เรียกร้องให้ การไปสู่ประชาธิปไตย หรือ “ประชาธรรม” นั้น จะต้องใช้สันติวิธี ดังที่ท่านปิดท้ายบทความนี้ว่า “หลักการที่ขอยึดมั่นเปลี่ยนไม่ได้ คือสันติวิธีเพื่อประชาธรรม” เมื่อรัฐบาลเผด็จการทหารปลาสนาการไปหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เก้าวันถัดมา อาจารย์ป๋วยเขียนบทความเรื่อง เสียชีพ อย่าเสียสิ้น เรียกร้องให้มีการช�าระข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ลบล้างผลพวงของมาตรา 17 เสนอแนวทางในการร่างรัฐธรรมนูญ วางแนวทางพิทักษ์รัฐธรรมนูญและเสรีภาพของประชาชน เพื่อให้สมกับเจตนารมณ์ของวีรชนที่ได้เสียชีวิตไปในเหตุการณ์นี้ น่าเสียดายที่ไม่อาจพิทักษ์หลักประชาธรรมซึ่งอาจารย์ป๋วยปรารถนาไว้ได้ 3 ปีหลังจากนั้น ประชาธิปไตยในเมืองไทยก็ สะดุดหยุดลงพร้อมกับการที่อาจารย์ป๋วยต้องลี้ภัยออกนอกประเทศภายหลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 โดยที่ก่อนเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาฯไม่นานนัก อาจารย์ป๋วยได้กล่าวว่า “ถ้าเผอิญประเทศไทยเกิดเคราะห์ร้าย เราเริ่มงาน ไม่เท่าไหร่ก็มีรัฐประหาร และเผด็จการนั้นมีอยู่อีก 200 ปี ก็ช่วยไม่ได้ ไม่มีทาง ผมคิดว่าทางอื่นไม่ใช่ทางที่ถูก … ส�าหรับผมแล้ว วิถีทางสันตินั้นมีอยู่ทางเดียวเท่านั้น คือจะต้องใช้ประชาธิปไตย” ก็ได้แต่หวังว่า ประเทศของเราจะไม่ต้องเคราะห์ร้ายถึง 200 ป ! กษิดิศ อนันทนาธร ข้อเขียนต่างๆ ในวารสารเล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้เขียน เจ้าของและบรรณาธิการไม่จ�าเป็นต้องเห็นพ้องด้วยเสมอไป เจ้าของ: คณะกรรมการเตรียมงาน 100 ปี ชาตกาล ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ปรึกษา: ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ สุลักษณ์ ศิวรักษ์ บุญสม อัครธรรมกุล บรรณาธิการ: กษิดิศ อนันทนาธร กองบรรณาธิการ: มนธีร์ กรก�าแหง วันฟ้าใหม่ เทพจันทร์ ปิยะดา รัตนกูล ธนวันต์ บุตรแขก ศิลปกรรม: ธิดาพร วงษ์ส�าราญ แยกสี/พิมพ์: บริษัทฐานการพิมพ์ จ�ากัด ส�านักงาน ติดต่อ: ส�านักงานเลขานุการคณะกรรมการเตรียมงาน 100 ปี ชาตกาล ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เลขที่ 2 ถนนพระจันทร์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทรศัพท์ 0-2613-3777 โทรสาร 0-2613-2043 E-mail: tualumnioff@gmail.com http:// www.alumni.tu.ac.th www.facebook.com/ สู่ 100 ปีชาตกาล ป๋วย อึ๊งภากรณ์


ปฏิทินกิจกรรม

ปาฐกถา 100 ปี ปวย อึ๊งภากรณ์ ครั้งที่ 7 วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม 2558 เวลา 13.30-15.30 น. ณ ห้องประชุมชั้น 5 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ หัวข้อ “ปฏิทินแห่งความรื่นรมย์ : ชีวิตทางวัฒนธรรมของป๋วย อึ๊งภากรณ์” โดย สุชาติ สวัสดิ์ศรี ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป งานเสวนา ในงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 20 ณ ศูนย์การประชุมแหงชาติสิริกิติ์

วันศุกร์ที่ 23 ตุลาคม 2558 เวลา 15.00 – 16.00 น. งานเปิดตัวหนังสือ ชลาลัยย์ โดย ครูดุษฎี พนมยงค์ บุญทัศนกุล รศ.อรชุมา ยุทธวงศ์ และขุนเขา สินธุเสน เขจรบุตร วันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม 2558 เวลา 19.00 – 20.00 น. งานเสวนาเรื่อง “อาเซียนภิวัตน์ กับ อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์” โดย ศ.ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ผศ.ดร.ธ�ารงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ และ กษิดิศ อนันทนาธร หมายเหตุ

มูลนิธิโครงการต�าราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ (โซน C1 บูธ S51) จัดพิมพ์ Best Wishes for Asia รวมบทความภาษาอังกฤษของ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ พร้อมภาคผนวกเนื้อความจากนิทรรศการ “คนชื่อป๋วย” จ�าหน่ายในราคาเล่มละ 200 บาท

วันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม 2558 เวลา 16.00 – 17.00 น. งานเปิดตัวหนังสือ โมฆสงคราม โดย ส. ศิวรักษ์ สันติสุข โสภณสิริ ปรีดา ข้าวบ่อ และกษิดิศ อนันทนาธร วันที่ 28 ตุลาคม 2558 เวลา 13.30 – 18.00 น. ณ ห้อง Meeting room 2 งานเปิดตัว “ปฏิทินป๋วย 2559” ร่วมเสวนาโดย ดร.สุภาพ พัสออง ประวิทย์ เยี่ยมแสนสุข และ สมบูรณ์ บูระณา ด�าเนินรายการโดย ใบพัด นบน้อม งานเสวนาเรื่อง “แรงบันดาลใจจากอาจารย์ป๋วย” ร่วมเสวนาโดย นิ้วกลม* สฤณี อาชวานันทกุล* ชานันท์ ยอดหงส์ เดช พุ่มคชา ด�าเนินรายการโดย ใบพัด นบน้อม

(* อยู่ระหว่างการติดต่อ)

กิจกรรมรําลึกและปาฐกถา 14 ตุลา ประจําปี 2558 วันพุธ ที่ 14 ตุลาคม 2558 ณ อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา 16 (แยกคอกวัว) เวลา 7.00 น. ตักบาตรพระสงฆ์ เวลา 10.30 น. การแสดงปาฐกถา 14 ตุลา หัวข้อ “ไทยในยุคบุรพาภิวัตน์ : โลกที่เปลี่ยนไปจาก 14 ตุลาคม 2516 ถึง 14 ตุลาคม 2558” โดย ศ.พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ เวลา 13.30-16.00 น. เสวนาวิชาการหัวข้อ “ว่าด้วยรัฐธรรมนูญและอุดมคติ” โดย ดร.พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย ดร.บัณฑูร เศรษฐศิโรฒน์ ดร.ภูริ ฟูวงศ์เจริญ คุณไพโรจน์ พลเพชร ณ ห้อง LT1 คณะ นิติศาสตร์ มธ.(ท่าพระจันทร์) สอบถามเพิ่มเติม 02-622-1014-5 และ 02-613-2011

1  ส า ร ป๋ ว ย


ปลายปากกาปญญาชนสยาม ส. ศิวรักษ

สาระของความเป็น

ปวย

*

I

ก่อนจะเข้าประเด็น ผมอยากจะพูดนอกประเด็นเล็กน้อย เพราะเห็นคุณปิยบุตร ชลวิจารณ์ นายกสมาคม อัสสัมชัญมา ณ ที่นี้ด้วย สมัยผมเรียนอัสสัมชัญ บราเดอร์หลุยส์แตร ท่านเป็นคนฝรั่งเศส สอนดุริยางค์ และ คณิตศาสตร์ สมัยนั้น คุณสุกิจ นิมมานเหมินท์ ซึ่งเป็นนักคณิตศาสตร์คนส�าคัญ แม้เมื่อเป็นรัฐมนตรีแล้ว ติด ปัญหาอะไรในทางคณิตศาสตร์ก็ต้องมาไต่ถามท่าน สมัยที่ผมเรียนหนังสือ ท่านพูดภาษาอังกฤษตลอดเวลา แต่ เวลาพวกเราคุยกันในห้อง จนท่านโกรธ ท่านจะด่าเป็นภาษาไทยว่า “เวลาสอนแล้วไม่เรียน พอสอบตกก็บอกไอ้บา้ มันสอนไม่ดี เอาอย่างไว้สิ เอาอย่างลูกศิษย์คนนี้ นายป๋วย เวลานี้นายป๋วยไปเรียนที่อังกฤษไปสอนคนที่อังกฤษ” * เรียบเรียงจากปาฐกถาในงานแถลงข่าว “100 ปี ร้อยกิจกรรม สานปณิธาน อาจารย์ป๋วย” ที่คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2558 ส า ร ป๋ ว ย  2


สเตฟาน คอลินยองส์ (Stefan Collingnon) ซึ่ ง เป็ น นั กวิ ช าการร่ ว มสมั ย คนส� า คั ญ จากเยอรมั น ผู้มีก�าพืดจากฝรั่งเศส และบัดนี้สอนอยู่ท่ีสหรัฐและ อั ง กฤษ 1 กล่ า วว่ า อาจารย์ ป ๋ ว ยมี ความส� า คั ญ มาก จนเรี ย กได้ ว ่ า เป็ น บิ ด าของเมื อ งไทยสมั ย ใหม่ (Founding Father of Modern Thailand) เพราะ ไม่เพียงเป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยถึง 12 ปี เท่านั้น แต่ระหว่าง 12 ปีนั้น ยังสามารถวางรากฐาน ทางการพัฒนาเศรษฐกิจและท�าให้การเงินการคลังของ ประเทศมั่นคง แม้ว่าจะมีการคอร์รัปชั่น มีรัฐประหาร 1 2 3

มีการปกครองแบบเผด็จการ นอกจากนี้อาจารย์ป๋วย ยังเอาเงินมาพัฒนาประเทศ พัฒนาชนบทอีกด้วย2 คอลิ น ยองส์ เ ปรี ย บเที ย บอาจารย์ ป ๋ ว ยกั บ Alexander Hamilton รัฐมนตรีว่าการคลังคนแรกของ สหรัฐ ซึ่งมีรูปอยู่บนธนบัตรใบละ 5 เหรียญดอลลาร์ ถ้าเมืองไทยไม่คลั่งไคล้ในทางชาติวุฒิอย่างไร้สาระ ก็ควรมีรูปอาจารย์ป๋วยอยู่บนธนบัตรใบละ 20 บาท ผมเขียนหนังสือเรื่อง นายป๋วย อึ๊งภากรณ์: ผู้ใหญ่ที่ไม่กะล่อน3 ตั้งแต่ท่านยังมีชีวิตอยู่ พิมพ์มา 9 ครั้งแล้ว และท่านไม่เคยต�าหนิว่าผมเขียนผิดพลาด

Professor of Political Economy, Santa Anna School of Advanced Studies, University of California and Visiting Professor at the London School of Economics ดูบทความของเขาได้ใน Stefan Collingnon, “Puey Ungpakorn: Founding Father of Modern Thailand” Seeds of Peace (32:2) May – August 2015, pp. 55 – 57. ส. ศิวรักษ์. นายป๋วย อึ๊งภากรณ์: ผู้ใหญ่ที่ไม่กะล่อน. พิมพ์ครั้งที่ ๙ (กรุงเทพฯ: มูลนิธิโกมลคีมทอง, ๒๕๕๖).

3  ส า ร ป๋ ว ย


ป้ามาร์เกรทภรรยาท่านก็ชม บัดนี้ มีแปลเป็นภาษา อังกฤษ4 และภาษาเยอรมัน5 แล้ว ถ้าจะให้ดี สมาคม อัสสัมชัญควรจะแปลเป็นภาษาฝรัง่ เศส เพราะมาสเตอร์ ป๋วยท่านสอนฝรั่งเศสที่อัสสัมชัญช่วงหนึ่งด้วย

II

สิ่งที่ผมจะพูดต่อไปนี้ ผมไม่เคยเขียนที่ไหน มาก่อน และท่านทั้งหลายอาจจะไม่เห็นด้วย กล่าวคือ อาจารย์ป๋วยเป็นลูกจีนที่กลายเป็นไทย และสามารถ รักษาคุณธรรรมของความเป็นจีนเอาไว้ได้ ยากมาก นะครับ คนจีนไปโพ้นทะเล (ยกเว้นบรรพชิต เช่น พระถัมซัมจั๋ง) เพื่อจุดมุ่งหมายอย่างเดียวครับ คือ ความมั่งคั่งทางเศรษฐทรัพย์ ตัวอย่างง่ายๆ บรรหาร ศิลปอาชา นี่ก็ไทยนะครับ ทักษิณ ชินวัตร นี่ก็ไทย นะครับ แต่มีความเป็นจีนยิ่งกว่าความเป็นไทยในเรื่อง ที่มุ่งความมั่งคั่ง อาจารย์ปว๋ ยเป็นลูกจีน ตอนไปเรียนอัสสัมชัญ ก็ถูกล้อว่าเป็นลูกจีน แต่ท่านไม่เคยรังเกียจความ เป็นลูกจีน เมื่อประเทศไทยเปลี่ยนชื่อจากสยามเป็น ไทยแลนด์ คนที่มีชื่อเป็นจีนต้องเปลี่ยนเป็นไทยหมด

แม้กระทั่งตัวผมเอง นามสกุลเซียวเกษมก็ต้องเปลี่ยน เป็นศิวรักษ์ หลังจากนั้น ตอนอาจารย์ป๋วยท�ำงาน กระทรวงการคลัง จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในเวลานั้น ถามท่านว่า “คุณป๋วย เมื่อไหร่ จะเปลี่ยนชื่อ” อาจารย์ป๋วยตอบว่า “ท่านนายกฯ เคย ไปล�ำปางไหมครับ ที่นั่นมีสถานีรถไฟแห่งหนึ่งชื่อ ปางป๋วย” จอมพล ป. จึงเงียบไป แม้ท่านจะมีความภูมิใจที่เป็นนายป๋วยลูกจีน แต่ท่านได้รับการอบรมบ่มนิสัยเข้าหาพื้นฐานของ ความเป็ น ไทย ท่ า นทั้ ง หลายอาจจะเถี ย งผมก็ ไ ด้ นะครับ ผมเห็นว่า ความเป็นไทยแต่ไหนแต่ไรมานั้น มุ่งประโยชน์ที่ความสุข มีความสันโดษเป็นเจ้าเรือน ไม่ใช่อำ� นาจหรือทรัพย์ คุณไปเปิดพงศาวดารดูสิครับ ผู ้ มี อ� ำ นาจที่ ร วยนั้ น มี จ� ำ นวนน้ อ ย ส่ ว นมากเป็ น คนต่างด้าว เช่น เจ้าพระยาวิชเยนทร์ (ฟอลคอน) และ พวกสกุลบุนนาคที่มาจากเปอร์เซีย คนไทยที่มีอ�ำนาจ และรวยไม่มีเลย แต่คนไทยมีความสุขตามสภาพ อยู่ กับบ้านกับวัด (โปรดอ่านต่อฉบับหน้า)

4 Sulak Sivaraksa.

Puey Ungpakorn: An Honest Siamese in a Class of His Own . translated by Zia Collinsfree (Bangkok: Foundation For Children, 2014). 5 Sulak Sivaraksa. Puey Ungpakorn: Ein ehrlicher Siamese eigener Klasse. translated by Wolfgang R. Schmidt (Bangkok: Kinderstiftung, 2015).

โครงการอนุสรณ์อยุธยา-ธนบุรี 250 ปี โดย มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีปและภาคีเครือข่าย ขอเชิญชวนทุกท่านร่วมฟังบรรยายชุด “น�้ำ” ครั้งที่ 4 ในหัวข้อ “เรื่องราวของเรือที่เป็นยานพาหนะเพื่อการสัญจรฯ” โดย อ.กนก ขาวมาลา วันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม 2558 เวลา 14.00 น. ณ วัดระฆังโฆษิตาราม ส�ำรองที่นั่งได้ที่ AyutthayaThonburi250@gmail.com ส า ร ป๋ ว ย  4


ปาฐกถา 100 ป กองบรรณาธิการ

การศึกษากับยาพิษแอบแฝง

ปญหา

การศึกษาไทยที่ขาดการเชื่อมโยงความรู้ ครอบงํากระบวนการคิด ในการจัดงานปาฐกถา 100 ปี ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เนื่องในวาระร�าลึก 100 ปี ชาตกาลของ ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ครั้งที่ 6 หัวข้อ “การศึกษากับยาพิษ แอบแฝง” เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2558 ที่ผ่านมา ณ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่ า พระจั น ทร์ โดย รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เป็นองค์ปาฐก ซึ่ ง ท่ า นได้ แ สดงทั ศ นะสะท้ อ นถึ ง การศึ ก ษาไทยใน ปัจจุบนั ว่า ไม่ใช่การเติมน�า้ ใส่ถงั แต่ตอ้ งเป็นการจุดไฟ โดยการวางรากฐานให้เด็กเข้าใจ และกระตุน้ ให้เกิดแรง จูงใจที่จะไปต่อยอดความรู้ด้วยตัวเอง เพราะหากเด็ก ไม่สนใจทีจ่ ะเรียนรู้ ต่อให้มเี ครือ่ งมือหรือเทคโนโลยีใดๆ เด็กก็จะไม่สนใจ รวมไปถึงการสอนแบบกั๊กบทเรียน เพื่อท�าให้เด็กต้องเรียนพิเศษนั้น ถือว่าเป็นยาพิษ ท�าลายการศึกษา เพราะหากเด็กคนไหนไม่เรียนพิเศษ ก็จะกลายเป็นคนแปลกของสังคม และระบบการศึกษา ไทยนั้นยังขาดการเชื่อมโยงความรู้นอกห้องเรียนและ

กระบวนการคิดวิเคราะห์เป็นอย่างมาก อาจารย์วรากรณ์ กล่าวว่าความรู้ไม่ใช่การ ท่องจ�าเพียงอย่างเดียว หรือเป็นเรือ่ งของการแค่รหู้ รือ ไม่รู้ และไม่ใช่เกมในห้องเรียนเพื่อสอบให้ผ่าน เพราะ คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าการศึกษาคือการเรียนเพื่อสอบ ในห้อง แต่แท้จริงแล้วเราไม่ได้ต้องการให้เรียนเพื่อ สอบ แต่ที่มีการสอบก็เพื่อสร้างแรงกดดันให้เด็กเกิด การตั้งใจเรียน และการเรียนรู้คือสิ่งที่อยู่รอบๆ ตัว ไม่จ�ากัดเฉพาะในห้องเรียนเท่านั้น ซึ่งระบบการศึกษา ไทยยังขาดการเชื่อมโยงระหว่างในห้องเรียนกับนอก ห้องเรียน รวมทัง้ ขาดกระบวนการในการฝกฝนความคิด ขาดกระบวนการสร้างความใฝ่รู้อยู่อีกมาก “การศึกษาคือกระบวนการฝึกฝนการคิด เป็น กระบวนการสร้างความใฝ่รู้ การศึกษาไม่ใช่การตักน�้า ใส่ถัง แต่การศึกษาคือเรื่องของการจุดไฟ จุดไฟให้ใฝ่รู้ การศึกษาทีเ่ ป็นพิษนัน้ เป็นการศึกษาที่ไม่สมควรจะเป็น เช่น การครอบง�าศิษย์ ให้เด็กคิดเหมือนที่ครูคิด ส่วน 5  ส า ร ป๋ ว ย


รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

สารปรอทเปรียบเสมือนการศึกษาที่เป็นยาพิษที่ท�ำให้ คนเห็นความเลวเป็นความดี เห็นครูคอร์รัปชัน หรือ การท�ำในสิ่งที่ไม่ถูกต้องเป็นสิ่งที่ถูกต้อง เห็นความ เลวเป็นของธรรมดา ในระบบการศึกษาให้ผลประโยชน์ กับผู้สอนเป็นส�ำคัญ และการศึกษานั้นถ้าไม่มีกลไก ในการสร้างจริยธรรมและคุณธรรมแล้วนั้น การศึกษา ก็ ไม่มีประโยชน์ ฉะนั้นถ้าเรายึดหลักสิ่งเหล่านี้ ได้ ก็จะท�ำให้เห็นได้วา่ การศึกษานัน้ นอกจากเป็นเรือ่ งของ การสร้างให้เด็กมีความคิดความอ่านแล้วนัน้ การศึกษา ยังสามารถสร้างจริยธรรมและคุณธรรมได้” อาจารย์วรากรณ์ ยังกล่าวถึงยาพิษชนิดแรกใน ระบบการศึกษาว่า การสอนในห้องเรียนแบบกัก๊ บทเรียน เพื่อที่จะให้มีการสอนพิเศษและเก็บเงินเด็กเพิ่ม คือ ยาพิษและเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา เพราะความจริง แล้วเด็กบางคนไม่ได้อยากเรียน แต่รสู้ กึ ว่า การไม่เรียน คือการแปลกแยก พ่อแม่กลัวลูกสอบไม่ได้ก็ต้องยอม เสียเงิน เด็กรูว้ า่ การทีค่ รูสอนไม่เต็มทีเ่ พราะจะให้เรียน พิเศษ แต่เพราะเด็กเคยชินกับสิ่งที่ครูท�ำไม่ถูกต้อง ฉะนัน้ การกระท�ำแบบนีจ้ งึ เป็นการฆ่าเด็กทีละเล็กละน้อย และการที่เด็กเห็นคอร์รัปชันในโรงเรียนและสังคม จน ท�ำให้เกิดการคอร์รปั ชันในจิตใจ นีก่ ถ็ อื เป็นยาพิษเพราะ ส า ร ป๋ ว ย  6

เป็นการมองสิ่งที่ไม่ถูกต้องเป็นสิ่งที่ถูกต้อง พ่อแม่ ละเลยศีลธรรมท�ำผิดเล็กๆ น้อยๆ ให้ลูกเห็นจนกลาย เป็นความเคยชิน นอกจากนี้ การครอบง�ำความคิดของศิษย์ หรือ การท�ำให้กระจกเป็นหน้าต่าง กล่าวคืออาจารย์หรือ พ่อแม่โดยธรรมชาติแล้วนั้น ชอบคนที่เหมือนตัวเอง นีค่ อื สิง่ ทีเ่ กิดขึน้ ในสังคมไทย ฉะนัน้ จึงเกิดความคิดว่า ลูกต้องเหมือนตัวเอง หรือการจงใจล้างสมอง ซึ่งการ ที่ครูหรือพ่อแม่ครอบง�ำความคิดของเด็กมากเกินไป ถือว่าเป็นยาพิษอีกอย่างหนึ่งที่เราก�ำลังใส่ให้กับเด็ก อีกอย่างหนึ่งคือ สังคมไทยเน้นประวัติศาสตร์แบบ ชาตินยิ มมากเกินไป ประวัตศิ าสตร์ไทยเป็นประวัตศิ าสตร์ ทีไ่ ม่เป็นสากล ความเชือ่ ในลัทธิการเมือง ทัง้ ในเรือ่ งศาสนา หรือการมีขา่ วก่อนวันหวยออกจากความเชือ่ ต่างๆ ถือ เป็นการใส่ยาพิษเข้าไปในจิตใจของคนในสังคมทั้งสิ้น หรือแม้แต่กระทั่งการรู้สิ่งต่างๆ แบบงูๆ ปลาๆ และ ไม่ได้ขวนขวายก็เป็นยาพิษแอบแฝงเช่นเดียวกัน “นักปราชญ์ชาวอเมริกาเคยกล่าวไว้วา่ ความลับ ของการศึกษานัน้ เป็นเรือ่ งของการเคารพนักเรียน เคารพ ในที่นี้หมายความว่า เคารพสิทธิของความเป็นศิษย์ เคารพความคิดของเขา ไม่ยัดเยียด ส่วนการครอบง�ำ


ความคิดจะท�ำให้เกิดลักษณะพิเศษ คือเด็กจะเชือ่ งและ หงอย ว่านอนสอนง่าย การทีเ่ ด็กว่านอนสอนง่ายถือเป็น ยาพิษอย่างหนึ่ง เพราะเด็กจะขาดกระบวนการคิดเชิง วิเคราะห์ เก่งจดจ�ำมากกว่าวิเคราะห์ และโง่ต่อไปด้วย ความสามารถในการคิด” นอกจากนีอ้ าจารย์วรากรณ์ ยังกล่าวอีกว่า การ ศึกษาที่ขาดคุณภาพท�ำให้เสียเวลาในการสร้างโอกาส สูง ในเวลานีเ้ ราขาดเด็กทีม่ แี รงงานวิชาชีพ แต่เพราะที่ เมืองไทยให้คณุ ค่ากับคนจบปริญญาตรีทกุ คนจึงมุง่ หวัง จะเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย จบมาได้เงินเดือน 15,000 บาท ขณะที่จบ ปวช. ปวส. ได้เงินเดือน 8,000 บาท ตลาดต้องการ แต่เราให้คุณค่าเขาด้วยเงินเพียงเท่านี้ “ขณะนีส้ งั คมไทยมีปญั หามากในเรือ่ งของการ ลงทุนจากต่างชาติ วันนีเ้ ราอยูใ่ นช่วงเศรษฐกิจเปลีย่ นผ่าน อุตสาหกรรมหลายประเภทย้ายฐานการผลิตไปจากไทย ย้ายไปอยูเ่ วียดนาม ฟิลปิ ปินส์ สาเหตุเกิดจากค่าแรงที่ สูงขึน้ และปัญหาการขาดแคลนช่าง ขาดคนทีม่ คี วามรู้ ในระดับราคาทีจ่ า่ ยได้ และสาเหตุทสี่ ำ� คัญก็คอื ระบบการ แก้ปญั หาของราชการทีไ่ ม่มปี ระสิทธิภาพ ท�ำให้นกั ลงทุน ไม่มคี วามเชือ่ มัน่ จริงอยูท่ ผี่ า่ นมาจบมาก็ยงั หางานได้ แต่อีก 2 ปีข้างหน้าจากนี้ไป ไม่ใช่อย่างนั้นแล้ว เราจะ กลายเป็นเรียนมา 16 ปีแต่ไม่มีงานท�ำ ถ้าไม่เรียกว่า นี่คือยาพิษแล้วจะให้เรียกว่าอะไร” อาจารย์วรากรณ์

กล่าวย�้ำ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตยังกล่าว อีกว่า สิง่ ส�ำคัญคือ พ่อแม่ไทยเป็นพ่อแม่ประเภทรังแก ฉัน รังแกแบบรักลูก ไม่มีวินัยกับลูกตั้งแต่เด็กๆ ท�ำให้ เด็กในยุคนี้เป็นเด็กยุคสตอเบอรี่ คือเป็นพวกบอบช�้ำ ง่าย เพราะถูกเลี้ยงดูมาเหมือนไข่ในหิน ดังนั้นจึงต้อง สร้างทักษะ 4 ตัว ได้แก่ สร้างให้เป็นคนรูจ้ กั คิดวิเคราะห์ สร้างสรรค์ รู้จักท�ำงานเป็นทีม มีกระบวนการสื่อสาร ผสมกับทักษะวิชาชีพ ให้กับเด็กไทยจึงจะสามารถ ต้านทานยาพิษแอบแฝงเหล่านั้นได้ อาจารย์วรากรณ์ ยังกล่าวในตอนท้ายว่า การศึกษา ทีข่ าดประสิทธิภาพ ท�ำให้เสียทัง้ เงินและโอกาส และการ ปฎิรปู การศึกษาไทย อุปสรรคใหญ่ในการศึกษาหรือการ ร่างเรือ่ งการปฏิรปู การศึกษาในร่างรัฐธรรมนูญทีถ่ กู คว�ำ่ ไปแล้วนัน้ ยังไม่เกิดการปฏิรปู เพราะทัง้ สภาปฏิรปู แห่ง ชาติ สภานิตบิ ญั ญัติ และกระทรวงศึกษาธิการไม่ได้ทำ� งาน ร่วมกัน หากจะให้เกิดการปฏิรปู ทัง้ 3 ฝ่ายจะต้องมีการ ท�ำงานร่วมกัน และที่ผ่านมาคนที่เข้ามาเป็นครูเพราะ อยากเป็นข้าราชการมากกว่าที่จะเป็นครู นอกจากนี้ การจัดการระบบของการศึกษาก็มีปัญหา หากถามว่า ในทุกวันนี้จะดีขึ้นไหม บอกได้แค่ว่าคงไม่เลวลงไป กว่านี้แล้ว ส่วนจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ กระทรวง ศึกษาธิการต้องมีการจัดการระบบให้ดกี ว่าทีเ่ ป็นอยู่  n 7  ส า ร ป๋ ว ย


ป๋วยเสวนาสัญจร ทีมป๋วยเสวนาคารสัญจร

ชีวิต แนวคิด อุดมการณ์ และสายธารสันติประชาธรรม

ในวาระ 100 ปีชาตกาล อาจารย์ปว๋ ย อึง๊ ภากรณ์ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ร่วมกับคณะ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดกิจกรรมเพื่อร�าลึกถึงคุณความดีของปูชนียบุคคล ของไทยผู้นี้ ในหัวข้อ “ชีวิต แนวคิด อุดมการณ์ และ สายธารสันติประชาธรรม” ณ คณะมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2558 เริ่มด้วย ดร.พิสิฐ ลี้อาธรรม คณบดี คณะ เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แสดงปาฐกถา ในหั ว ข้ อ “รื้อ ฟ้นหลัก คุณธรรมและจริ ย ธรรมของ อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ สู่การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ และสังคมไทยอย่างยัง่ ยืน” เพือ่ ปูทางให้เห็นว่า อาจารย์ ป๋วยเป็นบุคคลที่มีความซื่อสัตย์ สมถะ เรียบง่าย หากแต่ยังกล้าเผชิญหน้ากับสิ่งที่เห็นว่าไม่ถูกไม่ควร แม้คนที่อยู่ฝงตรงข้ามจะมีอ�านาจเพียงใดก็ตาม เหตุ เพราะอาจารย์ป๋วยเป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่ให้ความ ส า ร ป๋ ว ย  8

ส�าคัญกับชีวิตมนุษย์มากกว่าตัวเลขความเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจ แนวคิดของท่านจึงมุง่ เน้นทีก่ ารอยูร่ ว่ มกัน อย่างเป็นประชาธิปไตย โดยประชาชนมีส่วนรวมและ มีคุณธรรมเพื่อรักษาสังคมไทยให้อยู่เย็นเป็นสุข พอเข้าสูช่ ว่ งเสวนา รศ.ดร.สุกญั ญา เอมอิม่ ธรรม ผูอ้ า� นวยการสถาบันสันติศกึ ษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ฉายภาพให้เห็นว่า สันติประชาธรรม ถือเป็นทั้ง หลักคิดและกระบวนการทีอ่ าจารย์ปว๋ ยยึดมัน่ มาตลอด เพราะสิ่งหนึ่งที่ท่านย�้าตลอดคือ สันติจะเกิดได้ก็เนือ่ ง มาจากความต้องการของประชาชน หากจะว่าไปแล้ว ความรุ น แรงทุ กวั น ถื อ เป็ น เรื่ อ งของคนส่ ว นน้ อ ย เสียด้วยซ�้า แต่สาเหตุที่บ้านเมืองเรายังย�้าอยู่กับที่ ก็เพราะประชาชนทีต่ อ้ งการสันติไม่รวมตัวกันเท่าทีค่ วร เพราะการรวมตัวจะท�าให้เกิดพลังขึน้ มาสามารถยับยัง้ ความรุนแรงต่างๆ ได้ ขณะที่ คุณจรินทร์ บุญมัธยะ ประธานมูลนิธิ บั ณ ฑิ ต อาสาสมั ค ร ลู ก ศิ ษ ย์ ใ กล้ ชิ ด ซึ่ ง ท� า งานกั บ


ภาคประชาชนมานานกว่า 30 ปี ถ่ายทอดความประทับใจ ถึงอาจารย์ที่เคารพว่า ที่ผ่านมาหลายคนมองว่าการ ท�ำงานเป็นเอ็นจีโอเป็นสิง่ ที่โง่เขลา แต่สำ� หรับเขาแล้ว นี่คือความโง่ที่เดินตามรอยของอาจารย์ป๋วย คนดีที่ สังคมไทยถือเป็นแบบอย่าง เพราะอุดมคติที่ท่านคิด และท�ำมาตลอดชีวิตนั้นต่างเป็นสิ่งที่ทุกคนมีอยู่ในตัว เพียงแต่จะมีมากบ้างน้อยบ้างขึ้นอยู่กับแต่ละคน “อาจารย์ปว๋ ยเคยพูดก่อนจะพรากจากเมืองไทย ว่า เราจ�ำเป็นต้องเอาใจใส่กับการเมือง เราจ�ำเป็นต้อง เอาใจใส่กับทุกข์สุขของประชาชนและเอกราชของ ประเทศ แต่การเอาใจใส่กับการเมืองต้องมีขอบเขต สันติประชาธรรมจ�ำเป็นต้องมีประชาธิปไตย มีเสรีภาพ มีสมภาพ มีภราดรภาพ แต่นอกเหนือไปจากนั้นยัง ต้องมีสมรรถภาพ ซึ่งเกิดจากวิชาความรู้ ซึ่งเราต้อง ท�ำตัวอย่างให้เด็กรุ่นหลังว่าเราไม่จ�ำเป็นต้องใช้วิธี ฉ้อฉล วิธีโกง ที่ท่านพูดนี้ก็สะท้อนความเป็นห่วงเป็น ใยคนหนุ่มสาว ทุกคนท่านจะวิเคราะห์พวกผู้ใหญ่ว่า เหตุผลที่เด็กเป็นอย่างนี้ ก็เพราะผู้ใหญ่ท�ำตัวเองเป็น แบบอย่างนั่นเอง” ส่วน คุณทวิสนั ต์ โลณานุรกั ษ์ ประธานกิตติศกั ดิ์ หอการค้าจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า “แม้จะเป็น เพียงบุคคลที่ติดตามประวัติอาจารย์ป๋วยเท่านั้น แต่ ชีวติ ของท่านมีความสนใจ เพราะถึงท่านจะอยู่ในระบบ ทุนนิยมเต็มรูปแบบ แต่พฤติกรรมกลับเป็นสังคมนิยม ดังเช่นข้อเขียนของท่านหลายเล่ม ท่านถ่ายทอดถึง

ดร.พิสิฐ ลี้อาธรรม แสดงปาฐกถา

สวั ส ดิ การของสั ง คมไทยตั้ ง แต่ เ กิ ด จนตายว่ า ไม่ มี คุณภาพเช่นใดซึ่งน่าแปลกว่าถึงวันนี้ก็ยังเหมือนเดิม หากวิเคราะห์ปจั จัยทีห่ ล่อหลอมให้เป็นเช่นนี้ คงเพราะ ท่านอยู่ในครอบครัวที่ดี มีครูที่ดี และอยู่ในสังคมที่ดี ที่ผ่านมาต้องยอมรับว่าเป็นท่านด�ำเนินชีวิต อย่างมีศกั ดิศ์ รี เป็นผูน้ ำ� ทีส่ ามารถต่อกรกับนักการเมือง เพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติ เพราะท่านเป็น คนรักชาติจริง ไม่ใช่รักแต่ปากเท่านั้น ในฐานะของ ประชาชนคนหนึ่งจึงอยากเห็นคนแบบอาจารย์ป๋วย มีมากขึ้นโดยเฉพาะในแวดวงข้าราชการ การแก้ไขปัญหาในเวลานี้ คืออย่าผลักภาระ ไปที่คนรุ่นใหม่เท่านั้น แต่ต้องปรับที่หัวขบวนใหญ่ วิธีที่ง่ายสุดคือการไปตามสถาบันชั้นสูงหรือสถาบัน แห่งชาติต่างๆ” พอช่วงภาคบ่ายมีการฉายวิดทิ ศั น์ “จากครรภ์ มารดาถึงเชิงตะกอน” จากนัน้ จึงสนทนากันต่อในหัวข้อ “ปฏิทนิ แห่งความหวัง จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน: ต้นสายธารสวัสดิการชุมชน” ซึ่งเป็นแนวคิดที่อาจารย์ ป๋วยพยายามผลักดันมาตลอดชีวติ การท�ำงาน รวมไปถึง เขียนบทความออกมา รศ.ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “เรื่องสวัสดิการ ไม่ได้มคี วามหมายเฉพาะการอยูด่ มี สี ขุ เท่านัน้ แต่ตอ้ ง มีสิทธิด้วย ซึ่งการที่สวัสดิการจะเกิดขึ้นได้ ต้องอาศัย ปัจจัยส�ำคัญ 4 เรื่องด้วยกัน

การเสวนาในช่วงเช้า

9  ส า ร ป๋ ว ย


บางคณะ รัฐนั้นก็ไม่ใช่ของประชาชน สิ่งที่เป็นของรัฐ จึงอาจไม่ใช่ของประชาชนเสมอไป ประเด็นที่ 3 คือการลดความแตกต่างของ รายได้ด้วยราคา เช่นภาษีต้องเท่าเทียมกัน หลายคน อาจคิดว่าคนรวยจ่ายภาษีมากกว่าคนจน ความจริงแล้ว อาจไม่ใช่เพราะพอมาคิดอัตราต่อรายได้ คนจนอาจ ต้องจ่ายมากกว่า อย่างน�้ำ 1 ขวดราคา 10 บาท ต้อง จ่ายภาษี 3 บาทเท่ากันหมด แบบนี้ไม่ยุติธรรม หรือ ภาษีทดี่ นิ ภาษีมรดกก็มกี ารพูดกันเยอะว่าต้องมีการเก็บ ภาษีอตั ราก้าวหน้า แต่ผา่ นมาหลายสิบปีกย็ งั ไม่เกิดขึน้ การเสวนาในช่วงบ่าย เสียที ทั้งที่ประเทศอื่นเขาท�ำกันไปแล้ว “ประเด็นแรก คือต้องท�ำให้ทุกคนมีกรรมสิทธิ์ และประเด็นที่ 4 คือการสร้างอ�ำนาจต่อรอง ให้ได้ก่อน เวลาที่พูดถึงประชาธิปไตยมักพูดแต่ว่า สังคมจะต้องวางเงือ่ นไขว่าทุกคนมีสทิ ธิในการออกเสียง หนึ่ ง คนหนึ่ ง เสี ย ง แต่ ร ากฐานจริ ง ๆ คื อ หนึ่ ง คน และต่อรอง เพราะอ�ำนาจต่อรองเป็นพืน้ ฐานของมนุษย์ หนึ่งกรรมสิทธิ์ ถ้าไม่มีกรรมสิทธิ์ก็ ไม่มีความหมาย ท�ำให้คนค�ำนึงถึงสิทธิของตนเอง เราจะไม่มีทางลด นีค่ อื สาเหตุวา่ ท�ำไมอาจารย์ปว๋ ยจึงพยายามผลักดันให้ การเหลื่ อ มล�้ ำ ได้ เ ลยถ้ า ไม่ มี อ� ำ นาจต่ อ รอง ทั้ ง 4 คนจนปลดหนี้ เพราะพอเป็นหนี้ กรรมสิทธิ์ก็หลุดไป ประการที่ว่ามานี้คือสารตั้งต้นของสวัสดิการ ประเด็นที่ 2 คือการเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติ ค�ำถามต่อไปคือใครจะเป็นผู้หยิบสารตั้งต้นนี้ ทรัพยากรก�ำเนิดขึ้นเพื่อคนในสังคมนั้น แต่ ในยุค ไปขยายผล ค�ำตอบมีอยู่ 3 ข้อ ข้อแรกคือการขับเคลือ่ น ทุนนิยม ทรัพยากรสาธารณะกลายเป็นของส่วนตัว โดยรัฐมีบทบาทน�ำ รัฐจะต้องท�ำเรือ่ งงบประมาณ ภาษี ไปหมดแล้ ว ตั ว อย่ า งกรณี ข องป่ า ชุ ม ชน ชุ ม ชน ท�ำเรือ่ งการยอมรับอ�ำนาจของประชาชน สังเกตได้จาก ครอบครองป่าในฐานะของส่วนรวม แต่รฐั กลับไม่เข้าใจ สังคมทีเ่ ป็นรัฐสวัสดิการ จะให้อำ� นาจประชาชนเข้มแข็ง ซึง่ หากถามกลับว่ารัฐเป็นของใคร ตรงนีก้ ข็ นึ้ กับว่าใคร มาก ทุก 10 คน 7 คนเป็นสมาชิกสภาพแรงงาน ส่วน เป็นผู้มีอ�ำนาจรัฐ ถ้าอ�ำนาจอยู่ในมือของคนบางกลุ่ม ของเรา 100 คนมีเพียงแค่ 3 คนเท่านั้น แสดงว่า ส า ร ป๋ ว ย  10


การรวมตัวเพือ่ สร้างอ�ำนาจต่อรองในบ้านเราอ่อนด้อย มากๆ ประชาชนต้องร้องขอเพียงอย่างเดียว ต่อมาคือประกันสังคมหรือทีอ่ าจารย์ปว๋ ยเรียก ว่าจากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน เพราะทุกคนเมื่อ เกิดมาแล้วย่อมมีสทิ ธิจะมีชวี ติ อยูต่ ามอัตภาพ ประกัน สังคมไม่ใช่การร้องขอหรือขอเงินจากรัฐ เพราะผู้ที่มี สิทธิคือผู้ที่ออกเงินสมทบและนายจ้างผู้หวังก�ำไรจาก แรงงานก็ตอ้ งจ่ายค่าตอบแทน เพราะฉะนัน้ เรือ่ งนีต้ อ้ ง เริ่มจากตัวเองก่อน แต่ที่ผ่านมาหลายคนแทบไม่รู้เลย ว่าเงินนี้มีเท่าไหร่ และน�ำไปใช้ท�ำอะไรบ้าง ทั้งที่เป็น เงินก้อนใหญ่สุดของประเทศ สุดท้ายคือการจัดการชุมชน ถ้าชุมชนไหนที่ มีฐานทรัพยากร ฐานนวัตกรรม และฐานสิทธิพร้อมก็ สามารถสร้างภาวะกินดีอยู่ดีได้ โดยไม่ต้องพึ่งรัฐ ถือ เป็นการสร้างสังคมสวัสดิการ เพราะฉะนั้นการสร้าง สวัสดิการที่เข้มแข็งนั้นจึงต้องอาศัยความร่วมมือกัน ทั้งภาครัฐ ธุรกิจและชุมชน จะผลักภาระให้ฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่งไม่ได้เป็นอันขาด” ส่วน รศ.ดร.บัวพันธ์ พรหมพักพิง จากคณะ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขยายความเพิ่มเติมว่า “ผู้คนมักเข้าใจผิดในเรื่อง สวัสดิการ อย่างแรกคือคิดว่าภาครัฐกับภาคเอกชน เป็นผูม้ บี ทบาทเหนือกว่าในการจัดสวัสดิการ แต่ทยี่ าก ยิ่งกว่าคือการมองว่าพลเมืองเป็นลูกค้าที่ต้องพึ่งพา ต่อสินค้าจากรัฐ ประชาชนรอคอยเป็นผู้บริโภคหรือ

ผู ้ รั บ ผลบุ ญ ในทางวิ ช าการจึ ง อยากเสนอให้ ม อง ภาพกว้าง มองระดับเศรษฐกิจและสังคมที่ส่งผลต่อ ความอยู่ดีมีสุขของประชาชน แล้วจะเห็นว่าในชีวิต คนเรานั้น 80 เปอร์เซ็นต์เป็นสิ่งที่เราสร้างกันขึ้นมา เอง ส่วนทีเ่ หลือจึงเป็นสิง่ ทีภ่ าครัฐและเอกชนสร้างขึน้ ” ขณะที่ คุณสนั่น ชูสกุล นักพัฒนาองค์การ พัฒนาเอกชน เจ้าของรางวัลสันติประชาธรรม (พิเศษ) 2558 กล่าวว่า ระบบสวัสดิการนี้ไม่มีระบบตายตัว แต่ มักจะเป็นการผสมกันระหว่างชุมชนดั้งเดิมกับชุมชน ยุคใหม่ ชุมชนไทยยังมีลักษณะความสัมพันธ์แบบ เครือญาติ เพื่อนบ้าน ตัวต่อตัว จุดเด่นตรงนี้ท�ำให้เกิด ความสัมพันธ์ที่หลากหลาย โดยเฉพาะการแบ่งปัน ทรัพยากร “ทว่าสิ่งที่น่าเป็นห่วงเวลานี้คืออ�ำนาจต่อรอง ของประชาชนดูจะถูกบัน่ ทอนถูกละเมิดไปเรือ่ ยๆ ไม่วา่ จะเป็นสิทธิในการแสดงออก หรือเคลื่อนไหวตามหลัก สันติประชาธรรม เนื่องจากการชุมนุมสาธารณะต่อไป จะต้องการขออนุญาตตามกฎหมายทีอ่ อกมา ซึง่ ก็เป็น สิ่งที่ทุกภาคส่วนต้องหาทางแก้ไขร่วมกัน เพื่อสร้าง สังคมตามอุดมคติที่ทุกคนวาดหวังเอาไว้” ภายหลังการเสวนา พิธีกรได้เปิดโอกาสให้ ผู้เข้าร่วมพูดคุยและสอบถามวิทยากรในประเด็นต่างๆ ก่อนที่ ผศ.ดร.พรอัมรินทร์ พรหมเกิด ในฐานะประธาน คณะกรรมการจัดงานครั้งนี้ จะกล่าวปิดการประชุม เป็นการส่งท้าย n

11  ส า ร ป๋ ว ย


เรื่องจากปก กองบรรณาธิการ

ตุลารําลึก… อาจารย์ป๋วยกับ

เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 “ขอที่นาเสียดายสําหรับคนรุนหนุมรุนสาวที่ใฝในเสรีภาพก็คือ เหตุการณในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ไมเปดโอกาสใหเขามีทางเลือกที่ 3 เสียแลว ถาไมทําตัวสงบเสงี่ยมคลอยตามอํานาจไมเปนธรรม ก็ตองเขาปาไปทํางาน รวมกับคอมมิวนิสต ใครที่สนใจในเรื่องสันติวิธี ประชาธิปไตย และเสรีภาพ จะตองเริ่มตนใหม เบิกทางใหแกหนุมสาวรุนนี้และรุนตอๆ ไป” ดร.ปวย อึ๊งภากรณ จากบทความ “ความรุนแรงและรัฐประหาร 6 ตุลาคม 2519” (28 ตุลาคม 2519)

ส า ร ป๋ ว ย  12


นับเป็นเวลาเกือบ 40 ปีแล้ว จากเหตุการณ์ ความขัดแย้งประวัติศาสตร์ 6 ตุลาคม 2519 ซึ่ง เจ้าหน้าที่รัฐและกลุ่มที่รัฐให้การสนับสนุนได้เข้าไป ล้อมจับกุมและสังหารนักศึกษา ประชาชน ที่ก�ำลัง ชุมนุมประท้วง ภายในบริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เพื่อขับไล่จอมพลถนอม กิตติขจร1 ให้ ออกนอกประเทศ เหตุ การณ์ ใ นครั้ ง นั้ น ดร.ป๋ ว ย อึง๊ ภากรณ์ ในฐานะอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ย่อมไม่อาจหลีกเลี่ยงที่จะต้องเข้าไปมีส่วนร่วมอยู่ใน เหตุการณ์ และต้องรับผลกระทบต่างๆ ที่เกิดขึ้น ในเวลานั้น ความขัดแย้งทางการเมืองเริ่ม รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ธรรมศาสตร์เป็นดินแดนของผู้รัก

ความเป็นธรรม เป็นสถานที่จัดการชุมนุมประท้วง ไม่เว้นแต่ละวัน อาจารย์ป๋วยกลายเป็นหนังหน้าไฟ ถูกบีบอยู่ตรงกลางระหว่างสองฝ่าย ฝ่ายขวาก็กล่าว หาว่าอาจารย์ป๋วยเป็นผู้อยู่เบื้องหลังนักศึกษา เป็น คอมมิวนิสต์ทคี่ ดิ จะท�ำลายชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ตั้งตัวเองขึ้นเป็นประธานาธิบดี มีการกล่าวหาอาจารย์ ป๋ ว ยตลอดเวลาทางหน้ า หนั ง สื อ พิ ม พ์ แ ละวิ ท ยุ โดยเฉพาะสถานีวิทยุยานเกราะ ในขณะที่ฝ่ายซ้ายก็ โจมตีวา่ อาจารย์ปว๋ ยเป็นเผด็จการ ขัดขวางการท�ำงาน ของขบวนการนักศึกษา หลายครัง้ อาจารย์ปว๋ ยใช้ความ เด็ดขาดถึงขั้นทะเลาะกับนักศึกษาไม่อนุญาตให้ใช้ พื้นที่ในมหาวิทยาลัยท�ำกิจกรรมทางการเมือง

1 จอมพลถนอม กิตติขจร เป็นอดีตนายกรัฐมนตรีผนู้ ำ� รัฐบาลเผด็จการทหารทีป่ ลาสนาการไปเมือ่ เกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 โดยทีเ่ หตุการณ์

การประท้วงของนิสิต นักศึกษา และประชาชนโดยในครั้งนั้น ทหารได้ใช้อาวุธสงครามเข้าปราบปรามผู้ชุมนุมที่เรียกร้องรัฐธรรมนูญ ท�ำให้มี ผูเ้ สียชีวติ เป็นจ�ำนวนมาก เป็นผลให้จอมพลถนอมต้องประกาศลาออกจากต�ำแหน่ง และเดินทางออกนอกประเทศ พร้อมกับ จอมพลประภาส จารุเสถียร และ พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร หลังจากนั้น 3 ปี จอมพลถนอมเดินทางกลับมาประเทศไทยโดยบวชเป็นสามเณร และเป็นชนวนไปสู่ การขับไล่ของนักศึกษาธรรมศาสตร์ จนน�ำไปสู่เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ที่ท�ำให้มีผู้บาดเจ็บ เสียชีวิต และสูญหายเป็นจ�ำนวนมาก

13  ส า ร ป๋ ว ย


แม้ว่าอาจารย์ป๋วยจะได้พยายามใช้ทั้งไม้อ่อน และไม้แข็งตามแนวทางสันติวิธี เพื่อหลีกเลี่ยงการ เกิดความรุนแรงระหว่างเจ้าหน้าทีร่ ฐั กับนักศึกษาอย่าง ถึงที่สุดก็ตาม แต่ตัวท่านเองก็ถูกกล่าวหาจากฝ่าย อนุรักษ์ว่าเป็นคอมมิวนิสต์ ในขณะที่กลุ่มนักศึกษา บางส่วนก็มองว่าท่านประนีประนอมจนเกินไป เพื่อเป็นการร�าลึกถึงอาจารย์ป๋วย ในวาระ 39 ปี ของเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ สารป๋วย ฉบับนี้จึงขอ

คัดลอกถ้อยค�าและข้อความบางส่วนอันเป็นมุมมอง จากบุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและแวดล้อมอาจารย์ ป๋วยในห้วงเวลานั้น รวมทั้งบางส่วนของค�าให้การ ของ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ซึ่งแปลจากรายงานการ ประชุม ที่จัดพิมพ์โดยส�านักพิมพ์ของรัฐบาลสหรัฐฯ กรุงวอชิงตัน (2520) มาแสดงให้ผู้อ่านได้ร�าลึกและ ท�าความเข้าใจกับเหตุการณ์ ในอดีตและตัวตนที่แท้ ของอาจารย์ป๋วย

จอน อึ๊งภากรณ 2

“ยอนกลับไปตอน 6 ตุลาคม 2519 คุณพอ จะเลาเรื่องตางๆ ใหลูกฟง ชวงนั้นผมสอนหนังสืออยู ที่มหาวิทยาลัยมหิดล ขณะนั้นมหาวิทยาลัยปดเทอม ผมไปอังกฤษ ฟงขาวติดตามเหตุการณอยู อยากรูวา คุณพอเปนอยางไรบาง พอดีคุณพอโทรศัพทมาจาก กรุงกัวลาลัมเปอร มาเลเซีย เหตุการณที่คุณพอเลาใหฟงมากที่สุดเปน ชวงระหวางมาดอนเมืองกําลังจะออกจากเมืองไทย มีลูกเสือชาวบาน กลุมนวพล ติดตามคุณพอแลวก็มี คุณสลาง (พล.ต.อ. สลาง บุนนาค อดีตรองอธิบดี กรมตํารวจ) ไปใชมารยาทไมดีกับคุณพอขณะที่กําลัง 2

จอน อึ๊งภากรณ์

โทรศัพทไปหาองคมนตรีทานหนึ่ง คุณสลางเขามา กระชากโทรศัพท คุณพอเลาใหฟงถึงบรรยากาศที่ไมคอยดีใน ชวงนั้น ซึ่งไมเปนประชาธิปไตย เปนชวงนักศึกษา

จาก เนชั่นสุดสัปดาห์ ปีที่ 8 ฉบับ 375 วันที่ 12-18 สิงหาคม 2542 หน้า 78-79

ส า ร ป๋ ว ย  14


ที่ถูกทหารจับไปไมรูวาถูกจับไปกี่คน และที่ทหาร ยิงปนเขาไปในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร จะมีใคร เสียชีวิตบาง เมื่ อ คุ ณ พ อ มาถึ ง ลอนดอนก็ รี บ บั น ทึ ก เหตุการณ 6 ตุลาคม ทันที ตองการบันทึกเรื่องราว ตางๆ ที่คุณพอจําได คุณพอเขียนทุกวัน ใชเวลา ประมาณ 2 สัปดาหก็เสร็จ ตอมาคุณพอไดรบั เชิญจากองคกรตางๆ ทัว่ โลก ทุกครัง้ ทีไ่ ปบรรยายหรือปราศรัย จะพยายามเรียกรอง ตอสูใ หรฐั บาลสมัยนัน้ ปลดปลอยนักศึกษา ประชาชน ทีถ่ กู จับในชวง 6 ตุลาคม และตองการใหประเทศไทย

เปนประชาธิปไตย แมแตคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนของสภาคองเกรส คุณพอก็ไปพูด” “เหตุการณที่ตึงเครียดกอน 6 ตุลา ตอนนั้น คุณพอจะอยูกับนองผมคือ ไมตรี ที่ซอยอารีย ผมจะ ไปบอย ก็อยากคุยกับคุณพอวาสถานการณเปนอยางไร แตจริงๆ ก็ไมไดรูมากมายนัก หลายเรื่องที่คุณพอทํา ที่ธรรมศาสตรผมก็ไมทราบมากมาย” มีครัง้ หนึง่ ทีจ่ อนเห็นวาพอมีความเครียดอยาง มาก คือชวงกอนเหตุการณ 6 ตุลาฯ เพราะพอเห็น ความปลอดภัยของทุกคนในธรรมศาสตร จอนบอก วา ชวงนั้นคุณพอทั้งเครียดและทั้งดื่ม”

ธงชัย วินิจจะกูล3

อยาทําใหอาจารยปว ยกลายเปนเทวรูปศักดิส์ ทิ ธิ์ เมืองไทยไมขาดแคลนผูใ หญทมี่ ไี วสาํ หรับเซนไหวบชู า และยังมีรอคิวอยูอ กี หลายคน แตสามัญชนคนธรรมดา ทีย่ ดึ มัน่ และตอสูเ พือ่ อุดมคติของสามัญชนกลับหายาก กวา สามัญชนที่งามสงาอยางอาจารยปวย สมควรได รับสิ่งที่พิเศษกวาอนุสาวรียดาดๆ ที่งอกเปนดอกเห็ด ในระยะหลัง ถาหากอยากใหคนรําลึกถึงทาน คงไมมีอะไร ดีไปกวาใหอาน “ปฏิทินแหงความหวัง จากครรภ มารดาถึงเชิงตะกอน” ของทาน นี่คืออุดมคติของ สามัญชนเดินดินที่ไมตองปรุงแตงดวยถอยคําวิจิตร หรือทฤษฎีใดๆ หากมีอนุสรณชนิดใดที่ชวนใหคนรุนหลังได อานขอเขียนชิ้นนี้ ก็จะดีกวารูปเคารพใดๆ ทั้งสิ้น ถาหากอยากตอบแทนคุณความดีของอาจารย ปวย คงไมมีอะไรดีไปกวาถามตัวเองและตอบตัวเอง

3

ศ.ดร.ธงชัย วินิจจะกูล

ว า จะมี ส  ว นร ว มสร า งความหวั ง และอุ ด มคติ ข อง คนเดินดินไดอยางไร แต ก  า วแรกของการรํ า ลึ ก ถึ ง ท า นและ ตอบแทนคุณความดีของทาน คงไมมีอะไรดีไปกวา ชําระสะสางเหตุการณทที่ าํ รายทัง้ รางกายและจิตใจ ของทาน การชําระสะสางอาชญากรรมของรัฐเมื่อ 6 ตุลา 19 คือการแสดงความเคารพตอทานที่มี ความหมายที่สุด

จาก อาจารยปวยกับธรรมศาสตร, (กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, 2542), หนา 48

15

ส า ร ป ว ย


เอนก เหลาธรรมทัศน 4

ผมไดสัมผัสกับอาจารยปว ยในดานที่ทาน เปนนักประชาธิปไตย ในชวงทีป่ ระเทศไทยเขาสูค วามมืดมน จอมพล ถนอม กิตติขจร ยึดอํานาจการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2514 อาจารยปว ยไดเขียนจดหมายในนามของ “นาย เขม เย็นยิง่ ” ซึง่ เปนรหัสนามยามสูร บในอดีตของทาน ถึง “ผูใหญทํานุ เกียรติกอง” ซึ่งหมายถึงจอมพล ถนอม กิตติขจร ทานเรียกรองใหหมูบานซึ่งหมายถึง ประเทศไทยมี รั ฐ ธรรมนู ญ ผมคิ ด ว า นี่ เ ป น ความ กลาหาญอยางยิ่ง จดหมายนายเขม เย็นยิ่ง จุดประกายใหกับ ขบวนการ 14 ตุลา และหลัง 14 ตุลา 2516 อาจารย ป๋วยเปนคนทีม่ คี นยกยองนับถือมากทีส่ ดุ หลายๆ คน อยากให ท  า นเป น นายกรั ฐ มนตรี แต ท  า นกลั บ ตัดสินใจไปเปนอธิการบดีที่ธรรมศาสตร ในชวงนี้เองที่ทานถูกกลาวหา ถูกไมเขาใจ ถูกติฉินนินทา คุณงามความดีที่ทานสรางไวจนอายุ 60 ปนั้น ดูเหมือนจะมลายสิ้น… ผมเองเปนพยานไดวา เราไมคอ ยชอบความคิด อาจารยป๋วย เราอยากใหอาจารยป๋วยซายกวานี้ อยากใหทานสูมากกวานี้ แตทานบอกกับพวกเรา

ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ 4

จาก มติชนรายวัน ฉบับประจ�าวันพุธที่ 13 ตุลาคม 2542 หน้า 6

ส า ร ป๋ ว ย  16

เสมอวาใหอดทนใจเย็น และอยาดวนสรุป จํ า ได ว  า ครั้ ง หนึ่ ง เราไปพบท า นที่ ตึ ก โดม ผมเปนนายกสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย แต ว  า ไปคุ ย กั บ อาจารย ป  ว ยร ว มกั บ ผู  นํ า นั ก ศึ ก ษา ของหลายๆ มหาวิ ท ยาลั ย รวมทั้ ง นายกองค ก าร นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร เราถกเถียงกับทาน อย า งหนั ก และแข็ ง กร า วกั บ ท า นในทางความคิ ด แมวา เราจะสุภาพแตความคิดของเราสวนทางกับทาน อยางหนัก อาจารย ป ๋ ว ยเป น ผู  ใ หญ ที่ มี เ มตตาธรรม ทานพยายามเขาใจเรา ทานไมสงสัยในเจตนารมณ ของพวกเรา แตทานไมเห็นดวยกับวิธีคิดและแนว การตอสูของพวกเรา แมวาทานเองก็เห็นดวยวาจะ ตองทําใหประชาธิปไตยของเมืองไทย เปนไปเพื่อ ประโยชนของประชาชนกวางขวางกวานี้ ทานสนใจปญหาของชาวนา สนใจปญหา ของคนทุกขยากอยางแนนอน แตวธิ คี ดิ ของทานนัน้ สุ ขุ ม กว า เรารอบคอบกว า เรา...ผมมาคิ ด ได ใ น ภายหลัง แตในขณะนัน้ ความคิดของบานเมืองมันแตก ออกเปนขั้วเปนฝายชัดเจน ขางนอกมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร กระแสขวาพิฆาตซาย มีการปลุกระดม ปายสีอาจารยปว ย ปายสีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตรวา เปนแหลงซองสุม มีอาวุธ มีอโุ มงค มีอะไรตางๆ ลึกลับ มากมาย ในชวงนั้นเองอาจารยปวยไดพิสูจนถึงความ เปนมหาบุรุษของทาน ผมคิ ด ว า สิ่ ง ที่ พิ สู จ น ม หาบุ รุ ษ มากที่ สุ ด ก็ คือ เมื่อทานเผชิญกับความยากลําบากทางความคิด ตอนนั้นทานนาจะทอใจ ทานนาจะผิดหวัง ทานนาจะ นอยใจ แตทานก็มีวุฒิภาวะสูง มีความเมตตาและ ความตั้งใจที่จะใหทั้ง 2 ฝายซาย-ขวาไดคุยกัน มีอะไรหลายๆ อยางในธรรมศาสตรที่จะนํา ไปสูความรุนแรง ทานก็หามเอาไว และพยายามที่จะ ทําใหบานเมืองเขาสูภาวะสงบสันติใหเร็วที่สุด


วรากรณ สามโกเศศ5

ชี วิ ต ของท า นอาจารย ป  ว ยประสบป ญ หา ที่สําคัญดังจะเห็นไดจากคํากลาวของหลวงวิจิตรวาทการ ที่เขียนวา “จงท�าดีแต่อย่าเด่นจะเป็นภัย ไม่มีใครเขาอยากเห็นเราเด่นเกิน” ความอิจฉาริษยาในการเปนคนดีและการเปน คนที่ขาราชการ ปญญาชน และนักศึกษารักใคร เปน ภัยตอตัวทานอาจารยปวยมาตลอดชีวิต คนที่อิจฉา ริษยาเหลานี้มีตั้งแตคนที่เดนดัง มีคนนับถือในสังคม คนมีเงินและมีอํานาจการเมือง นักวิชาการบางคน คนมีความสามารถรวมสมัยกับทานหรือแมกระทั่ง คนที่ทานถือวาเปนเพื่อน นาแปลกใจที่คนเหลานี้อิจฉาริษยาทาน มุง ทําลายทานในหลายโอกาสถึงแมวาตัวเขาเหลานั้น ก็ลวนมีหนามีตาในสังคมอยูแลว การเปน “คนดี” ของทานอาจารยในสายตาของคนพวกนี้ และคนไทย อีกจํานวนไมนอยทําใหเกิดความรูสึก “น่าหมั่นไส้” ตัวอาจารย “น่าหมั่นไส้” ที่กลาสูอํานาจ ไมยอมแพ ตอลาภยศและเงินทอง และ “น่าหมั่นไส้” ยิ่งขึ้น ที่ คนจากกําเนิดธรรมดา สามารถเกงมีชื่อเสียงและเปน ที่รักของคนจํานวนมากได ยิ่ ง อาจารย ป ๋ ว ยได รั บ ความชื่ น ชอบจาก ผูคนในสังคมมากเทาใด ผูมีอํานาจในเวลานั้นและ คนพวกนี้ก็ยิ่งระแวงและ “หมั่นไส” มากยิ่งขึ้น ประกอบกับอาจารยป๋วยมีวิสัยทัศนที่ไกลกวายุค สมัย มองเห็นวา การพัฒนาชนบท การลดความ เหลือ่ มลํา้ ของรายได และโอกาสของประชาชน การ ปฏิรูปการศึกษา การพัฒนาระบอบประชาธิปไตย การเทิดทูนสิทธิเสรีภาพของประชาชน คือ สิง่ สําคัญ

5

รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ

ที่ควรไดรับความสนใจยิ่งขึ้น (ในปจจุบัน สิ่งเหลานี้ ดูแสนจะเปนเรื่องธรรมดาที่ใครๆ ก็เห็นดวย ซึ่ง แตกตางกวาความคิดในสมัยนั้นเปนอันมาก) เมื่อเหตุการณ 6 ตุลาคมปะทุขึ้น โดยมีการ วางแผนอยางเปนระบบเพื่อทําลายอํานาจและความ คิดของกลุม ทีเ่ รียกวา “ฝายซ้าย” ในเวลานัน้ อาจารย ป ว ยซึ่ ง เป น ที่ รั ก ใครชื่ น ชอบของนั ก วิ ช าการและ เปนอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร จึงตองถูก ทําลายดวย ผมรูสึกสังเวชใจ หนังสือพิมพบางฉบับที่เคย เปนตัวการและมีสวนรวมในการฟาดฟนยุยงใหไล ฆาฟนทําลายอาจารยปวย พาดหัวตัวโตเชิดชูอาจารย ปวย คนที่เคยจวงจาบหยาบชากับทานอาจารยก็มี นิยายเรื่องใหม ลืมนิยาย 2 เรื่องเดิมเสียสิ้น เคยบอก ในนิยายเรื่องแรกวา ไมไดตบมือที่ถือโทรศัพท ตอมา บอกวาดึงจากมือเบาๆ และลาสุด นิยายเรือ่ งใหมบอก วา ตบจริงแตเปนการเลนละครเพื่อชวยอาจารย

จาก มติชนรายวัน ฉบับประจ�าวันพฤหัสบดีที่ 12 สิงหาคม 2542 หน้า 6

17  ส า ร ป๋ ว ย


คําใหการของ ดร.ปวย อึ๊งภากรณ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร6 “...ทานประธานครับ มีปจจัยหลายประการที่มีสวนทําใหประชาธิปไตยในประเทศไทยลมเหลวใน ระยะป 2516-2519 ไมไดมีการปฏิรูปที่แทจริง มีพรรคการเมืองมากเกินไป จนกระทบกระเทือนความแข็งแรง ของรัฐบาลชุดตางๆ ที่มาจากการเลือกตั้ง นักการเมืองประพฤติตัวไมดี ฯลฯ ปจจัยทั้งหมดเหลานี้ตองใชเวลา จึงจะแกไดและในชวงที่มีเสรีภาพนั้น ทุกๆ ดานมีแนวโนมวากําลังจะดีขึ้น อยางไรก็ตามปจจัยที่สําคัญที่สุด คือ ผูที่สูญเสียอํานาจไปเมื่อป 2516 มุงมั่นที่จะยึดอํานาจคืน บุคคลเหลานี้มีเจาของที่ดินรายใหญกับนักธุรกิจ ที่มีผลประโยชนบางคนหนุนหลัง นับตั้งแตกลางป 2517 เขามีโอกาสที่จะจัดตั้งกลุมอันธพาลตางๆ เชน “กระทิงแดง” ซึ่งไดรับอาวุธจากกองทัพบกอยางเปดเผย ตลอดจนกลุมที่ปฏิบัติการทางจิตวิทยาตางๆ เชน “นวพล” “ลูกเสือชาวบาน” ฯลฯ ถึงตรงนี้ผมตองขัดจังหวะสักหนอยเพราะผมคิดวา มักมีการเขาใจผิดกันเกี่ยวกับชวงป 2519 มีการ กลาวหาวาระหวางป 2516-2519 เปนชวงที่ชุลมุนวุนวาย และสวนใหญนิสิตนักศึกษาเปนตนเหตุแตผม ตีความสถานการณดังนี้ ทามกลางความอยุติธรรมทางสังคมอันมากมาย ซึ่งเปนผลเนื่องมาจากการปกครอง แบบเผด็จการที่ดําเนินมาเปนเวลา 1 ชั่วอายุคน คือตั้งแตป 2490 นั้น ไดมีการเคลื่อนไหวเพื่อพยายามแกไข ปญหาความอยุติธรรมทางสังคมเหลานี้ ซึ่งก็ไดทํากันมาโดยใชสันติวิธี ตามปกตินักศึกษาไมมีอาวุธเลย กรรมกร สหภาพแรงงานก็ไมมี ชาวไรชาวนาก็ไมมี แตความชุลมุน วุนวายในระยะนั้น เกิดขึ้นจากกลุมที่ทําตัวเยี่ยงทหารที่ติดอาวุธอยางเปดเผยตางหาก เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2519 กลุมดังกลาวฆาคน 7-8 คนระหวางการชุมนุมประทวง ซึ่งทํากันอยางสันติ เมื่อเดือนสิงหาคม 2518 พวกเขาบุก รื้อคนทําลายมหาวิทยาลัยธรรมศาสตรโดยปราศจากการลงโทษใดๆ ทั้งสิ้น แลวในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 พวกเขา ยังจับคนแขวนคอและจุดไฟเผาโดยปราศจากการหามปรามหรือลงโทษใดๆ ที่หนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร...” “ผมมีความเชื่อมั่นอยางแนนแฟนในระบอบประชาธิปไตย และในศักดิ์ศรีของมนุษยทุกคน ผมเชื่อ ในเสรีภาพและสิทธิมนุษยชน...ผมเชื่อในสิทธิของชายและหญิงทุกคนที่จะมีสวนรวมในการกําหนดชะตากรรม สังคมที่เขาอาศัยอยู การปฏิเสธไมใหสิทธินั้นแกเขาเพราะเขายากจนหรือเพราะเขาขาดการศึกษา ผมถือวาเปน ความรายกาจอยางหนึ่ง ผมเกลียดชังเผด็จการไมวาจะมีรูปแบบสีสันอยางใดก็ตาม ผมมีความเชื่อวาระบอบ ประชาธิปไตยควรจะไดมาอยางสันติวิธี เพราะผมตองการหลีกเลี่ยงการใชกําลังอาวุธในการรักษาอํานาจของ รัฐบาล...” “...เสรีภาพของประชาชนเปนสิ่งแปลก ถาตัวเราเองไมไดถูกลิดรอนเสรีภาพดังกลาว ก็จะไมรูสึกอะไร

5

ปวย อึ๊งภากรณ, คําใหการของ ดร.ปวย อึ๊งภากรณ กรณี 6 ตุลาคม 2519, พิมพครั้งที่ 8 (กรุงเทพฯ: มูลนิธิโกมลคีมทอง, 2543), หนา 1315, 31- 33, 39

ส า ร ป ว ย

18


และจะพูดไดเสมอวาคนอื่นยังสามารถอยูไดเลยภายใตการกดขี่ปราบปราม ถาคุณเปนชาวนา และบุตร ของคุณถูกตํารวจนําตัวไปโดยที่เขามิไดกอกวนแตอยางใด มิไดทําอะไรทั้งนั้น ถูกนําตัวไปโดยปราศจากขอหา เมื่อนั้นแหละคุณจะรูสึกขมขื่นมาก ฉะนั้นผมจึงไมคิดวา จริงๆ แลวมันเปนเรื่องของปญญาชนที่จะวิตกกังวล เทานั้น คนตัวเล็กๆ ซึ่งไดรับความเดือดรอน เพราะการไรซึ่งสิทธิและเสรีภาพ ถูกขมขูจากพวกเผด็จการ จะได รับความทุกขกันทุกคน มีพวกปญญาชนเทานั้นที่สามารถจะบอกเลาอะไร ชาวนาไมทราบจะพูดออกมาอยางไร แตพวกเขารูสึกขมขื่นอยางรุนแรง ผมอยากจะเตือนคุณวา คําวา “ไทย” หมายความวามีเสรีภาพ และพวกเราคนไทยที่อยูในประเทศไทย ตองมีเสรีภาพ ไมวาเราจะจน ไมวาเราจะอานไมออกเขียนไมได ผมเห็นวาการเปนอยูของเพื่อนรวมชาติ ของผมนั้น ไมมีทางอื่นนอกจากการอยูอยางเปนไท อยางมีเสรีภาพพอสมควร ขอใหเราไดมีเสรีภาพที่จะคนควาแสวงหาสิ่งนั้น และในที่สุดแลวผมตองการสองสิ่ง สิ่งหนึ่งคือ เสรีภาพ เสรีภาพแบบธรรมดาๆ อีกสิ่งหนึ่งคือ สิทธิที่จะไดมีสวนรวมในการกําหนดชะตากรรมของสังคม สองสิ่งนี้จริงๆ แลวไมไดเปนแนวคิดของตะวันตกแตผูเดียว ในคําสอนทางพุทธศาสนามีแนวความคิด เกีย่ วกับสังฆะ เกีย่ วกับความเปนปกแผนและการมีตวั แทน แตเราละเลยแนวคิดนี้ แลวไปคิดวาประชาธิปไตย เปนสิ่งที่เอื้อมไมถึง เราจึงมักคิดวา เราตองใฝหาเสถียรภาพโดยการมีระบบเผด็จการ” “ผมใครจะเพิ่มเติมเรื่องของผมเอง ในเย็นวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ขณะที่ผมกําลังจะออกจากประเทศ ตํารวจคนหนึ่งไปจับกุมผมและคุมขังผมอยู 3 ชั่วโมง จนกระทั่งผูนํารัฐประหารสั่งเขาใหปลอยผมไป ผมถามเขา วาทําไมจึงจับผม เขาบอกวานักศึกษา 3 คน ไดอางวาผมมีสวนพัวพันในแผนการโคนลมพระมหากษัตริย ผมถาม วาพวกนั้นเปนใครและเขาพูดวาอยางไร ตํารวจคนนั้นจะเปนเพราะเขาโงหรือไมก็ตาม บอกวานักศึกษาทั้งสาม คนไมยอมรับอะไรเลยจนถูกจี้ดวยกนบุหรี่แลวพวกเขาจึงกลาววาผมมีสวนพัวพัน เรื่องทํานองนี้สามารถเรียก พยานได สําหรับเหตุการณวันที่ 6 ตุลาคม แตหลังจากเหตุการณนั้น คนที่ถูกปลอยแลวสามารถใหการไดเกี่ยว กับการทรมานซึ่งเขาประสบมาเอง หรือที่เขาเห็นคนอื่นถูกทรมาน...”

เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ท�าให้อาจารย์ป๋วย ต้องเดินทางออกนอกประเทศในวันที่มีการเข่นฆ่า นักศึกษาและประชาชนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นการจากไปอย่างไม่รู้ชะตากรรมทั้งของตนเองและ ของสังคมไทย และในท่ามกลางความเท็จที่บิดเบือน ใส่ท่าน เป็นการปิดโอกาสที่ท่านจะได้สร้างคุณูปการ แก่สังคมไทยต่อไป ไม่ว่าจะในด้านการศึกษา อย่าง การบริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การพัฒนาชนบท อย่างโครงการพัฒนาลุ่มแม่น�้ากลอง ตลอดจนทาง

เศรษฐกิจ สังคม และศิลปวัฒนธรรม ธงชัย วินิจจะกูล กล่าวได้อย่างแหลมคมว่า “ก้าวแรกของการร�าลึกถึงท่านและตอบแทนคุณความดี ของท่าน คงไม่มีอะไรดีไปกว่าช�าระสะสางเหตุการณ์ ทีท่ า� ร้ายทัง้ ร่างกายและจิตใจของท่าน การช�าระสะสาง อาชญากรรมของรัฐเมื่อ 6 ตุลา 19 คือการแสดงความ เคารพต่อท่านที่มีความหมายที่สุด” และนี่คือตุลาร�าลึก … ร�าลึกถึงอาจารย์ป๋วย ร�าลึกถึง 6 ตุลาคม 2519 n 19  ส า ร ป๋ ว ย


มองป๋วย กองบรรณาธิการ

อาจารย์ป๋วยในความทรงจํา ของ วิทยากร เชียงกูล

ในบรรดาลูกศิษย์ลูกหาของอาจารย์ป๋วย รศ.วิทยากร เชียงกูล คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต คือหนึ่งในนั้น ท่านเป็นเจ้าของบทกวี ฉันจึงมาหาความหมาย ซึ่งมีอิทธิพลมากที่สุดชิ้นหนึ่งในช่วงก่อนเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 อาจารย์วทิ ยากรเล่าว่า เมือ่ เข้าเรียนทีค่ ณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี 2508 ตอนนั้นอาจารย์ป๋วยเป็น คณบดี จึงมีโอกาสเห็นอาจารย์ป๋วยบ่อยๆ ทั้งในห้องเรียนที่ท่าน มาสอนวิชาเศรษฐศาสตร์ประเทศไทย และการได้พบในฐานะที่ ตัวเองเป็นนักกิจกรรม “ผมรู้สึกว่าท่านเป็นอาจารย์ผู้ใหญ่ที่ใจดี ตรงไปตรงมา เป็นกันเอง เป็นคนทีซ่ อื่ ตรง และระมัดระวังตัว อย่างเรือ่ งทีผ่ มท�า หนังสือประจ�าปีของคณะ ปกติเราจะขอสปอนเซอร์จากบริษทั ห้างร้าน ผมไปขอให้ทา่ นเซ็นในฐานะคณบดี ท่านก็บอกว่า ผมไม่ได้เป็นคณบดี อย่างเดียว เป็นผู้ว่าแบงก์ชาติด้วย คุณเอาจดหมายผมไปขอ บริษัทต่างๆ มันดูไม่ดี เหมือนกับว่าผู้ว่าการแบงก์ชาติไปขอเงิน เขา มันดูไม่เหมาะสม คุณต้องใช้เงินท�าหนังสือเท่าไหร่ ผมก็ตอบ ว่าไม่มากหรอกแค่ 8,000 บาท ท่านก็ว่าเอาอย่างนี้ดีกว่า ผมให้ คุณดีกว่า สบายใจกว่า คุณไม่ต้องเอาชื่อผมไปขอสปอนเซอร์ ท่านระมัดระวังเรือ่ งทีจ่ ะโดนคนวิจารณ์ และท่านก็พร้อมทีจ่ ะช่วย” อาจารย์ป๋วยกับการศึกษาของไทย เรื่องการศึกษาคือเรื่องที่อาจารย์ป๋วยให้ความส�าคัญ มาก ซึง่ อาจารย์วทิ ยากรเห็นว่า ความทีท่ า่ นเป็นนักเศรษฐศาสตร์ ท�างานด้านวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ท่านจึงมีส่วนในการพัฒนา เศรษฐกิจต่างๆ มาก แต่ท่านมีแนวคิดว่า เศรษฐกิจก็เติบโตระดับ หนึ่ง แต่การกระจายรายได้นั้นยังไม่เป็นธรรม และการเมืองยัง ด้อยพัฒนา เศรษฐกิจเจริญเติบโตอย่างเดียวไม่พอ จึงต้องแก้ เรื่องการศึกษา ต้องพัฒนาสังคม-การศึกษา-การเมือง ซึ่งใน สมัยนั้นอาจารย์มหาวิทยาลัยเป็นข้าราชการเงินเดือนน้อย และ ส า ร ป๋ ว ย  20

คนเก่งๆ ก็ไปท�างานอยูภ่ าคเอกชน ไม่มีใครอยากมาเป็นอาจารย์ อาจารย์ปว๋ ยก็ทา� ให้ดเู ป็นตัวอย่างว่าขนาดผูว้ า่ แบงก์ชาติยงั เข้ามา เป็นอาจารย์ จะได้ดึงคนเข้ามา ซึ่งท่านก็หาทุนให้คนไปเรียนต่อ เพือ่ มาเป็นอาจารย์ จนเรียกได้วา่ ท่านเป็นคนทีส่ ร้างคนให้มาเป็น อาจารย์ประจ�า “อาจารย์ป๋วยนั้นเป็นคนมองอะไรแบบติดดิน มองแบบ โลกความจริง คือในการศึกษานั้น ไม่จ�าเป็นต้องไปอ้างว่าเพื่อ อะไร แต่ขอให้คนสนใจเรือ่ งความรู้ ต่อไปก็จะน�าไปพัฒนาตนเอง ได้ ท่านจะมองในแง่การศึกษาท�าให้คนฉลาด ท�าให้คนแก้ปัญหา เป็น แต่จะไม่มองแบบว่าเรียนเพื่อสอบ เพื่อประกาศนียบัตร แต่ จะมองในแง่การปฏิบัติว่า การศึกษาต้องพัฒนาคนให้ได้ เป็นการ เน้นที่คุณภาพ ท่านบอกว่าเราต้องพยายามสร้างมาตรฐานให้ได้ เช่น คณะเศรษฐศาสตร์ ในตอนนั้น ท่านก็ไปเชิญอาจารย์ฝรั่งมา สอน และก็เปิดเป็นหลักสูตรภาษาอังกฤษ คัดนักศึกษา 20-30 คน

รศ.วิทยากร เชียงกูล คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต


ทีภ่ าษาอังกฤษดีๆ มาเรียน และท่านก็พยายามจะต่อรองกับ ก.พ. ว่าคนจบหลักสูตรต่างประเทศของเรามีความรูเ้ ท่ากับต่างประเทศ ต้องให้เงินเดือนเท่ากัน” อาจารย์ป๋วยภายใต้ความขัดแย้ง ในช่วงที่อาจารย์ป๋วยเป็นอธิการบดี ช่วงนั้นเป็นช่วงที่ นักศึกษามีการประท้วง ถือเป็นสถานการณ์ที่ยากล�ำบากมาก ซึ่ง อาจารย์วิทยากรมองว่าในช่วงเหตุการณ์ 6 ตุลานั้น ถือว่ามีความ รุนแรง แม้แต่ตัวท่านเองที่ตอนนั้นอยู่ที่อิตาลีก็ยังไม่กล้ากลับ เมืองไทย “ทีผ่ มประทับใจคือ ท่านเป็นผูใ้ หญ่แล้วท่านก็พยายามที่ จะเปลีย่ น ทีผ่ า่ นมาทีค่ ดิ ว่าตัวเองประสบความส�ำเร็จในการพัฒนา เศรษฐกิจ ความจริงแล้วมันมองข้ามเรื่องสังคม เรื่องความเป็น ธรรม และเรือ่ งการศึกษา ท่านคิดว่าจะต้องมาทุม่ เทท�ำงานด้านนี้ ผมคิดว่าท่านเป็นผู้ใหญ่ที่ยอมวิพากษ์วิจารณ์ตัวเอง และก็ยอม เปลี่ยน ปกติเราจะไม่ค่อยเห็น ช่วงแรกผมก็เหมือนคนอื่นๆ ผมก็ จะไปทางซ้าย และก็มองว่าอาจารย์ป๋วยกลางๆ เป็นพวกเสรีนิยม รักความเป็นธรรม คือท่านไม่ ใช่สังคมนิยม ท่านไม่เห็นด้วยกับ พรรคคอมมิวนิสต์ แนวทางสู้ด้วยอาวุธท่านไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง แต่ ต อนหลั ง เราก็ เ ริ่ ม มารู ้ สึ ก ว่ า ความจริ ง ที่ ท ่ า นพู ด ไว้ ก็ ถู ก หลายอย่าง ถ้านักศึกษาเชื่อท่านมันก็ยืดเวลาไปหน่อยนะ ถ้า ไม่เกิดเหตุการณ์ 6 ตุลา เราอาจจะค่อยๆ เปลี่ยนก็ได้ “ผมว่าระยะหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา นักศึกษากลายเป็น พวกหัวรุนแรงมากขึ้น เพราะรัฐบาลไม่ท�ำตามที่คาดหมาย เช่น ชาวนามาร้องเรียนก็ไม่ได้ คนงานเรียกร้องค่าแรงเพิ่มขึ้นก็ไม่ได้ นักศึกษาจึงถูกผลักให้มีความเป็นหัวรุนแรงมากขึ้น แต่อาจารย์ ป๋วยท่านเป็นผู้ใหญ่ และท่านก็มองว่ามันต้องใช้การเปลี่ยนแปลง โดยสันติวธิ ี ต้องค่อยๆ ปฏิรปู นักศึกษาทีห่ วั รุนแรงหน่อยก็จะมอง ว่าท่านประนีประนอมเกินไป แต่พวกรัฐบาลก็มองว่าท่านเป็นพวก ซ้าย เป็นพวกหนุนนักศึกษา พวกขวาก็มองอีกแบบหนึ่ง พอดี

ท่านก็เป็นคนรักความเป็นธรรม รักสิทธิเสรีภาพ ประชาธิปไตย แต่ท่านก็พยายามเตือนนักศึกษาว่าท�ำแบบสุดโต่งก็จะโดนโจมตี ว่าเป็นคอมมิวนิสต์ เป็นฝ่ายซ้าย และก็จะท�ำงานไม่ได้นาน แต่ว่าบรรยากาศช่วงนั้นคนเข้าไปฟังมันฟังกันล�ำบาก” “ตอน 6 ตุลา 19 ผมได้ทนุ ไปฝึกอบรมสหภาพแรงงานที่ อิตาลี พอเกิดเหตุก็ไม่กล้ากลับ เลยไปแถวฝรั่งเศส อังกฤษ ก็ไป เจออาจารย์สุลักษณ์ อาจารย์ป๋วย ที่อังกฤษด้วย ซึ่งมันก็หางาน ท�ำยากนะ อาจารย์ป๋วยก็เสนอว่าท่านได้เป็นอาจารย์ที่เคมบริดจ์ ถ้าผมหางานไม่ได้จริงๆ ท่านจะแบ่งเงินเดือนให้ ให้ผมไปเป็น ผูช้ ว่ ยเตรียมการสอนอะไรต่างๆ ท่านก็ใจดีนะทัง้ ๆ ทีท่ า่ นไม่ตอ้ งมี ผู้ช่วยก็ได้ แต่ท่านกลัวว่าผมจะอยู่ไม่ได้ กลับไปเมืองไทยอาจจะ อันตราย ท่านเป็นคนที่พร้อมจะช่วยคนในยามที่จ�ำเป็น และท่าน เป็นคนห่วงใยลูกศิษย์นะ อย่างเรื่องหลักสูตรภาษาอังกฤษที่ท่าน ปัน้ ขึน้ มา ตอนผมไปท�ำงานไทยวัฒนาพานิช ผมไปสัมภาษณ์ทา่ น สิง่ แรกทีท่ า่ นถามคือ ‘เค้าให้เงินเดือนคุณเท่าไหร่ ให้เงินเดือนคุณ สูงกว่าปริญญาตรีที่จบภาษาไทยไหม’” อาจารย์ป๋วย...เสรีนิยมหรือเผด็จการ? หลายครั้งที่คนต่างยุคต่างวัยได้เรียนรู้เรื่องราวของ อาจารย์ป๋วยแล้วเกิดค�ำถามว่า จริงๆ แล้วอาจารย์ป๋วยไม่ได้ รังเกียจเผด็จการ แต่อาจจะเป็นพวกเผด็จการด้วยซ�้ำไป แต่หาก ให้คนใกล้ชิด ลูกศิษย์ลูกหา คนที่อยู่ร่วมยุคร่วมสมัย ที่มีโอกาส ได้ซึมซับเรียนรู้แนวคิดและอุดมการณ์ของอาจารย์ป๋วย ก็คงจะ ตอบเรื่องนี้กันได้ไม่ยากนัก “ผมพยายามอ่านงานท่าน ท่านก็เขียนอธิบายไว้นะ ท�ำไมกลับมาท�ำงานที่นี่ คือประการแรก ผมคิดว่าท่านเป็นพวก ชาตินิยม และท่านไม่อยากอยู่ต่างประเทศ ท่านอยากจะกลับมา รับใช้ประเทศชาติ เหตุผลทีท่ า่ นอธิบายคือคนทีช่ วนท่านเป็นคนที่ น่าเชื่อถือ คนที่เคยเป็นผู้ว่าแบงก์ชาติ หรือเป็นรัฐมนตรีคลังเป็น คนดีน่าเชื่อถือ ท่านก็คิดว่าน่าจะโอเค และท่านก็คิดว่ามันคงช่วย ไม่ได้ คือคล้ายๆ ว่าประเทศมันเป็นแบบนี้ เราก็ต้องท�ำส่วนที่เรา ท�ำได้ท�ำนองนี้ โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ คือตอนนั้นท่านก็ไม่ได้ มองเรื่องการเมืองมากนัก ท่านมองเรื่องพัฒนาเศรษฐกิจว่าท�ำ อย่างไรจากประเทศทีย่ ากจนให้เป็นประเทศทีร่ ำ�่ รวยอะไรท�ำนองนี้ ท่านก็คดิ ว่ามาท�ำงานด้านนี้ไม่เป็นไร ผมมองว่าท่านตรงไปตรงมา นะ ทหารเคยบีบท่านเนี่ยท่านไม่ยอม ตอนพวกเขาจะไปซื้อ โรงพิมพ์มาพิมพ์แบงก์เอง อาจารย์ป๋วยไม่ยอม และก็ ไม่กลัว ผลที่สุดก็ต้องเกรงใจอาจารย์ป๋วย เพราะต่างประเทศเชื่อถือ อาจารย์ป๋วย ท่านมีหลักการยืนอยู่บนความถูกต้องและซื่อสัตย์ สุจริต ส่วนการเมืองท่านก็พูดนิดหน่อย ท่านพูดอ้อมว่าต้องสร้าง ระบบสหกรณ์ ต้องกระจายรายได้เป็นธรรม และพัฒนาการศึกษา

21  ส า ร ป๋ ว ย


อะไรท�ำนองนี้ แต่ท่านจะพูดมากขึ้นช่วงออกจากแบงก์ชาติแล้ว ช่วงมาอยูค่ ณะเศรษฐศาสตร์ทา่ นวิจารณ์จอมพลถนอมทีย่ ดึ อ�ำนาจ ปี 2514 ท่านก็เขียนจดหมายนายเข้ม เย็นยิ่ง มาอ้อมๆ ว่าน่าจะ มีกติกาของหมู่บ้าน น่าจะมีประชาธิปไตยอะไรท�ำนองนี้” เป็นนักปฏิรูป และเป็นคนเก่งที่ไม่ยอมรวย เรื่องเล่าถึงอาจารย์ป๋วยที่น่าสนใจอีกแง่มุมหนึ่งก็คือ สมัยก่อนคนทีเ่ รียนจบเศรษฐศาสตร์มนี อ้ ย หากจะหาความร�ำ่ รวย ก็มที างร�ำ่ รวยได้มาก ทัง้ การไปเป็นทีป่ รึกษาบริษทั ธุรกิจต่างๆ การ ซือ้ หุน้ ถือหุน้ แต่คนเก่งอย่างอาจารย์ปว๋ ยก็ไม่ทำ� และไม่คดิ จะท�ำ “ท่านไม่ท�ำ ท่านมองเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน ผล ประโยชน์ขดั แย้งอะไรต่างๆ ซึง่ หากมาดูยคุ หลังคนก็ไม่สนใจเรือ่ งนี้ แล้ว แต่ว่าท่านไม่ท�ำ ทั้งๆ ที่ท่านมีหัวเศรษฐศาสตร์ สมัยก่อน คนจบเศรษฐศาสตร์น้อยด้วยนะ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 พวกที่ มีความคิดก้าวหน้าเยอะ แม้ว่าจะไม่ใช่สังคมนิยม แต่มีความคิด ในเชิงก้าวหน้า รักความเป็นธรรม รักความถูกต้อง เพราะว่า หลังภาวะสงครามมันมีพวกฟาสชิสต์ ขวาจัด พวกฮิตเลอร์นี้ท�ำ อันตรายต่อประเทศอื่นที่เห็นชัด เพราะฉะนั้นหลังสงครามโลก ครัง้ ที่ 2 พวกอังกฤษเลือกพรรคกรรมกร เพราะเสนอนโยบายแบบ ประกันสังคม แบบช่วยเหลือคนจนมากกว่า อาจารย์ป๋วยก็ได้รับ ความคิดแบบนี้ และก็มคี วามคิดในแนวนีเ้ ยอะ เรือ่ งสวัสดิการแบบ ประกันสังคม แนวความเป็นธรรม สังคมนิยมแบบสันติวิธี ผมคิด ว่าลึกๆ แล้วท่านเป็นคนแบบนี้ ผมว่าส�ำคัญนะ อาจารย์ป๋วยคือ ไม่ใช่นักปฏิวัติ แต่เป็นนักปฏิรูป จริงๆ ท่านก็เขียนเรื่องสหกรณ์ เรื่องเทศบาล แต่ว่าบางคนไม่ค่อยฟัง สมัยก่อนก็ถือว่าท่านได้ น�ำเสนอสิ่งเหล่านี้ และที่ส�ำคัญผมคิดว่าการท�ำตัวเป็นแบบอย่าง คือไม่ใช่ข้อเขียนอย่างเดียว ท่านปฏิบัติด้วย” แม้อาจารย์ป๋วยจะถือเป็นแบบอย่างที่ดี แต่คนรุ่นหลัง หรือเด็กรุ่นใหม่กลับไม่ค่อยเข้าใจ เพราะระบบทุนนิยมสอนให้ เห็นแก่ตัว ซึ่ง รศ.วิทยากร มองว่า ควรจะให้คนรุ่นใหม่ได้รู้ว่ามี ความเป็นไปได้ที่จะเป็นคนแบบอาจารย์ป๋วย คนที่จะเป็นวีรบุรุษ อีกแบบหนึ่งที่เป็นตัวของตัวเอง คิดเพื่อส่วนรวม ซึ่งการเห็น แก่ส่วนรวมมันเป็นจริงและสร้างได้ มีตัวอย่างให้เห็นจริง และ ไม่ใช่คนโง่ คือไม่ใช่คนที่คิดว่าท�ำไปเพื่อจะขึ้นสวรรค์ หรือเพื่อ ชือ่ เสียงอะไร แต่คนอย่างอาจารย์ปว๋ ยท�ำไปด้วยความเชือ่ แบบนัน้ คือเชือ่ เรือ่ งจริยธรรม เรือ่ งความเป็นธรรม เป็นตัวอย่างทีน่ า่ สนใจ สมควรที่คนรุ่นใหม่จะต้องเรียนรู้จากท่าน “บางครั้งเราเจอคนไทยเลวๆ เยอะ เราก็มองว่า เอ๊ะ ประเทศนีม้ นั ไม่เคยสร้างคนดีๆ เลยหรือไง ทัง้ ๆ ทีค่ นดีๆ มันมีนะ แต่ประวัติศาสตร์มันหลงลืมหรือว่าบทบาทเค้าถูกกลบไป” รศ.วิทยากร ยังแสดงมุมมองทิ้งท้ายถึงการที่คนดี ส า ร ป๋ ว ย  22

คนเก่งอย่างอาจารย์ป๋วยต้องเจอมรสุมทางการเมืองจนต้อง พลัดถิ่นออกนอกประเทศว่า เป็นเพราะสังคมไทยในเวลานั้น ยังไม่พร้อม โครงสร้างสังคมยังเป็นแบบอนุรักษ์นิยม เป็นแบบ อ�ำนาจนิยมมานาน จึงมีความคิดในเชิงล้าหลัง ท�ำให้คนเก่งคนดี ไม่สามารถอยู่ได้ “ความจริงมันน่าเสียดายนะ คือถ้าคนอย่างอาจารย์ปว๋ ย ได้ปฏิรปู ประเทศ เราจะไม่เสียหายขนาดนี้ จะไม่มคี นแบบทักษิณ แบบระบอบทักษิณเกิดขึ้น มันจะถูกปฏิรูปมาเมือ่ ตั้งแต่เมื่อ 40 ปี ที่แล้ว แต่นี่มันยังย�่ำเท้าอยู่กับที่ แล้วมาพูดเรื่องปฏิรูปกันและยัง ไม่รู้จะไปไหน เมื่อ 40 ปีก่อนที่อาจารย์ป๋วยเสนอเรื่องการปฏิรูป เช่น เสนอเรื่องปฏิรูปที่ดิน ปฏิรูปเรื่องภาษี เรื่องอะไรต่างๆ ให้ เกิดความเป็นธรรม การกระจายอ�ำนาจให้ท้องถิ่นปกครองตนเอง การทุ่มเทพัฒนาการศึกษามากกว่าเรื่องอุตสาหกรรม ผมคิดว่า ท่านเห็นเรือ่ งอย่างนีเ้ ยอะ ถ้าเราอ่านเรือ่ ง ‘จากครรภ์มารดาสูเ่ ชิง ตะกอน’ จะรู้ว่าท่านมองว่าการพัฒนาเศรษฐกิจมันต้องกระจาย สู่ทุกคน และพัฒนาคุณภาพเป็นสิ่งส�ำคัญ ซึ่งปัจจุบันนี้เราพูด เรื่องคุณภาพชีวิต สิ่งแวดล้อม สมัยก่อนท่านก็มองเห็นปัญหา สิ่งเหล่านี้ คืออาจารย์ป๋วยไม่ใช่นักเศรษฐศาสตร์แบบจะเน้นการ เจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมอย่างเดียว ท่านจะมองในมุม กว้าง ซึ่งถ้าท�ำตามท่าน หลายอย่างก็น่าจะได้ผล ช่วงนั้นท่าน จะปฏิรูปการศึกษาเยอะนะหลังจาก 14 ตุลา และคนตื่นตัวมาก คนสนใจอยากจะร่วมพัฒนาประเทศมาก นักศึกษาอาชีวะเลิกตีกนั คนอ่านหนังสือมาก สัมมนาส่วนใหญ่คนไปฟังกันมาก คนอยากรู้ ว่าประเทศเราจะไปอย่างไรต่อ จะแก้ไขอย่างไร ผมว่าถ้าไม่สะดุด ด้วย 6 ตุลาคม นะ คนไทยน่าจะไปได้ดีกว่านี้ อย่างน้อยในกลุ่ม ประเทศอาเซียนก็น่าจะไปได้ดีกว่านี้”  n


AjarnPuey as remembered by Wittayakorn Chiengkul

Assoc.Prof.Wittayakorn Chiangkul, the

realize that Thailand definitely needed a profound

dean of the College of Social Innovation, Rangsit

social change, on top of an economic change, but the

University, and a poet who wrote the famous poem,

changeshad to be done slowly and peacefully, to

“I’m Searching for the Meaning”, during October 14,

ensure social readiness.

1973, recalls his experiences knowing AjarnPuey while he wasa student at the Faculty of Economics,

AjarnPuey: Liberal or Authoritarian?

Thammasat University (TU) in 1964. To him, Ajarn

From reading many of his works, I think that

Puey, was a straight forward, kind and honest man

AjarnPuey was a nationalist who wanted to work to

who chose tohelp him out by giving 8,000 Baht from

improve Thailand with high integrity. He refused to

his own pocket in sponsoring TU’s student’s activities

let the military rulers print their money freely. Ajarn

rather than issuing a request-for-sponsorship letter,

Puey won the argument, as the military knew that

signed by him at the time of his co-position as the

foreign countries trusted only AjarnPuey as the

Chairperson of the Bank of Thailand.

Chairperson of the Bank of Thailand.

AjarnPuey and Thai education

AjarnPuey, a revolutionary who refused to get rich

AjarnPuey was a realist in education; he

AjarnPuey could have profited himself from

wanted people to appreciate education as a self-

being a leading guru of the Thai economy, but he

improvement method, not just for the possibility of

chose to adhere to his own high moral path, rejecting

career advancement. Despite his low salary from

many offers that stemmed from his position at the

the Thai government, he volunteered himself to work

Bank of Thailand. AjarnPuey was an absolutely

for the government sector of Thailand to help in

perfect example of a person with high morals who

both economic and education reform. He tried to

worked for the benefit of Thailand, not for his

recruit several great people to teach for TU.

personal gain. Assoc.Prof.Wittayakorn noted that it was a great

AjarnPuey under conflict

loss for Thailand that AjarnPuey had to live in exile.

AjarnPuey wished to embrace Thailand’s social

Thailand 40 years ago was not ready for a social

change with peace. However, during the events of

change from the old dogma of conservatives, causing

October 6, 1976, he was in the hot seat, positioned

great and educated people of the era to leave Thailand.

between the hot-headed students and the military

AjarnPuey’s ideas in land, education, tax and wealth

rulers. Students mistook him as a puppet of the

distribution reform would have been a great social

military rulers. In reality, AjarnPuey had come to

advancement for Thailand. n

23  ส า ร ป๋ ว ย


บันทึกรําลึกป๋วย ประยูร อัครบวร

อาจารยปวย

ความศรัทธาที่ไมแปรเปลี่ยน

ในชีวิตคนเรา ต่างมีเรื่องค้างคาใจ ที่ตั้งใจท�า บ้างก็ ได้ท�า บ้างได้ท�าเพียงบางส่วน หรือยังไม่ได้ท�า ไม่มากก็น้อย และส่วนค้างคาใจนี่แหละจะคอยย�้าเตือน ให้เราน�าไปคิดในยามที่เรามีห้วงเวลาตรวจสอบสิ่งต่างๆ ที่ผ่านมาในชีวิต จิตใต้ส�านึกผมก็เช่นกันกว่า 8 ฤดูหนาวที่มอง ผ่านไปนอกหน้าต่าง เห็นหิมะขาวโพลนไปหมด ต้นไม้ ส า ร ป๋ ว ย  24

ไม่มีใบดูเวิง้ ว้างและเศร้าเหงาเป็นทีส่ ดุ คิดถึงแผ่นดินไทย แผ่นดินแม่ คิดถึงความสัมพันธ์เก่าๆ ในสังคมไทย คิดถึง ผู้หลักผู้ใหญ่ที่ให้ความเคารพและหนึ่งในนั้นคือ ดร.ปวย อึ๊งภากรณ นึกถึงความเมตตาที่ท่านมีต่อนักศึกษาที่ ตกระก�าล�าบาก เมือ่ 6 ตุลาคม 2519 และความรูส้ กึ ห่วงใย ต่อสุขภาพของท่านทีต่ อ้ งพลัดบ้านพลัดเมือง ทีท่ า่ นเอาชีวติ เข้าแลกเพื่อรักษาเอกราช ทุ่มเทชีวิตการงานเพื่อความ


มัน่ คงทางเศรษฐกิจ ทุม่ เทสร้างทรัพยากรมนุษย์ในวงการ ศึกษาสังคมท่านใหญ่กว่าพวกเรานักศึกษามาก เมื่อต้อง ไปอยู่ต่างประเทศด้วยสภาพร่างกายที่ไม่สมบูรณ์ก็โปรด คิดเอาเถอะว่า ต้องใช้กำ� ลังใจและความเข้มแข็งขนาดไหน ว่ากันไปแล้ว การด�ำเนินตามวิถีชีวิตของท่าน มีผลต่อความรู้สึกนึกคิด ทั้งทางอ้อมและทางตรงคือ ทางอ้อม ผมยอมรับคุณค่าอาจารย์ป๋วยผ่านมติ ทางสังคมที่มองอาจารย์ป๋วยเป็นแบบอย่างของคนกล้า คนจริง คนซือ่ สัตย์ ไม่แทงกัก๊ ไม่แทงใครข้างหลัง พูดตาม ความเชือ่ ท�ำความดีคดิ ทีไ่ ตร่ตรองแล้ว และลักษณะส�ำคัญ อีกอันหนึ่งคือ ความอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่แสดงการใช้ อ�ำนาจ หรือหลงใหลได้ปลื้มกับผู้มีอ�ำนาจ เคยฟังลูกศิษย์ ของอาจารย์อย่าง ดร.อภิชัย พันธเสน เรียกอาจารย์ว่า เตี่ย ด้วยความศรัทธาเชื่อมั่นว่าเตี่ยเป็นคนดี ดร.ณรงค์ เพชรประเสริฐ เคยเล่าให้ผมฟังว่า เคยวิจารณ์นโยบาย อาจารย์ว่าถูกเสมอ เมื่ออาจารย์ออกกฎว่าด้วยการสอบ ตกวิชาหลักสามวิชา ห้ามลงวิชาวิจัย ซึ่งหมายถึงการมี โอกาสจบการศึกษา อาจารย์ป๋วยเชิญเข้าไปพบ ท�ำไม ถึงวิจารณ์ ดร.ณรงค์เล่าว่า ก่อนเข้าพบอาจารย์ ท�ำใจไว้ แล้วว่าต้องถูกลงโทษหรือท�ำทัณฑ์บนอะไรสักอย่าง เพราะ ที่เขียนอย่างนั้นเขียนโดยตั้งใจกระทบกระเทียบ แต่เมื่อ ชี้แจงให้ อาจารย์ฟังว่าอุปกรณ์เครื่องเสียงเป็นอุปสรรค ส�ำคัญของห้องเรียนที่มีนักศึกษาถึง 300 คน เป็นเหตุ ให้ ค นสอบตก อาจารย์ ผ ่ อ นปรนให้ และพี่ ยุ ท ธพงศ์ ภูมิสัมบรรณ หรือ ระวี โดมพระจันทร์ เคยบอกว่า ถ้า ผู้ใหญ่เป็นแบบอาจารย์ป๋วยหมด สังคมไทยเจริญกว่า ประเทศอื่นในภูมิภาคนี้ไปนานแล้ว ส่วนอิทธิพลต่อจิตใจทางตรงนั้น เป็นด้านที่ผม ได้ร่วมเหตุการณ์และถูกกระท�ำจากเหตุการณ์ ผมได้เข้า ประชุมร่วม ซึ่งนับได้ว่าเป็นครั้งแรกที่มีโอกาสได้นั่ง และ เปลี่ยนความคิดเห็นกับท่านอาจารย์ป๋วย เมื่อท่านได้ รับการขอร้องจากรัฐบาลประชาธิปัตย์ ให้นักศึกษาเลิก ชุมนุมประท้วง ในช่วงที่จอมพลประภาสกลับเข้ามา ในประเทศไทย อ้างว่าตาจะบอดต้องการมารักษาตาที่ เมืองไทย การประชุมที่สภาการศึกษาแห่งชาติครั้งนั้น มี

อาจารย์ป๋วย  อาจารย์เสน่ห์ จามริก  อาจารย์นงเยาว์ ชัยเสรี และ อาจารย์ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ด้านนักศึกษา มี มหินทร์ ดันบุญเพิ่ม  ธงชัย วินิจจะกูล  จารุงพงศ์ ทองสิน และผม เป็นครัง้ แรก ผมรูส้ กึ ประทับใจโดยตรงด้วยค�ำพูด สรุปซื่อๆ ของอาจารย์ป๋วยที่ว่า “เอาล่ะ เอาเป็นว่าผมขอร้องให้นักศึกษาเลิก ชุมนุมด้วยรัฐบาลขอร้องผมมา คุณจะว่าอย่างไร” ท่าทีที่อ่อนนุ่ม วาจาขอร้อง ไม่ร้องขอ อย่าง ผู้ใหญ่เข้าใจโลก สังคมไทยเป็นสังคมที่ ให้เกียรติกัน อาจารย์ ไม่ใช้อ�ำนาจสั่งให้เลิก ซึ่งอาจมีสิทธิที่จะท�ำได้ ในฐานะอธิการบดี มีหรือที่นักศักษา แม้ว่าไม่ใช่ศิษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดยตรง จะไม่ยอมรักษาเกียรติ ของอาจารย์ เราตกลงเลิกชุมนุม แต่ขอเวลาชุมนุมถึง 6 โมงเย็น ซึ่งเราก็ได้ท�ำตามสัญญา และเหตุการณ์ทผี่ มไม่เพียงประทับใจ แต่รสู้ กึ เป็น หนี้บุญคุณ อาจารย์ป๋วย คือ เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 หกเดือนแรกทีส่ ญู เสียอิสรภาพ พวกผมทีเ่ รือนจ�ำ ชั่วคราวบางเขน เราไม่เคยเจอแสงแดดเลย ได้แต่มอง แสงแดดผ่านกรงขัง หลังจากนั้นจึงค่อยได้รับรู้ข้อหา เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่ก่อนชุดสุดท้ายที่ถูกประกาศชื่อ 49 คน ทีร่ ฐั บาลหอยต้องการตัว เรายังมีนติ ศิ าสตร์บณ ั ฑิตตกค้าง ในคุกกับเรา 2 คน คือ คุณสมชาย หอมลออ จากธรรมศาสตร์ และคุณสนธ์ ชมดี จากจุฬาฯ จึงเป็นหน้าที่ของ 2 คนนี้

25  ส า ร ป๋ ว ย


ช่วยกันสรุปด้วยข้อสรุปโทษทีเ่ ราถูกกล่าวหาประหารชีวติ ขังตลอดชีวิต ขังรวมตามข้อหาต่างๆ รวมกันได้ 100 กว่าปี และโทษที่เล็กที่สุดคือ บุกรุกท�ำลายทรัพย์สิน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในยามวิกาล มีโทษจ�ำคุกถึง 7 ปี คดี 6 ตุลาฯ นี้ในช่วงต้น ห้ามจ�ำเลยมีทนาย ห้าม อุทธรณ์ ห้ามฎีกา ต้องขึ้นศาลทหารในยามสงคราม ทั้งที่ เป็นพลเรือนล้วนๆ นิตศิ าสตร์บณ ั ฑิตของเรา ซึง่ ยังไม่เคย ว่าความเลยดูข้อกฎหมายแล้วต่างสรุปด้วยอารมณ์ขัน เพื่อปลอบใจกันเองว่า “ยังไงก็ติดคุกไปก่อน เพราะยังไง ตอนนี้ก็ติดอยู่แล้ว” ว่ากันในแง่กฎหมาย บุคคลที่เป็นกุญแจเอาผิด ติดคุกได้มอี าจารย์ปว๋ ยคนเดียวเท่านัน้ ในฐานะอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่ อ ท่ า นไม่ ไ ด้ แ จ้ ง ความในฐานะผู ้ เ สี ย หาย ประเด็นโทษของฝ่ายกล่าวหาก็ไร้น�้ำหนัก นอกจากนี้ อาจารย์ไม่เห็นด้วยกับการใช้ความ รุ น แรงที่ รัฐบาลเผด็จ การ นายธานิน ทร์ได้กระท�ำต่อ นักศึกษา อาจารย์ป๋วยยังเดินทางไปประเทศต่างๆ เพื่อ พูดเปิดเผยความจริงในเหตุการณ์วันที่ 6 ตุลาฯ การ ให้การของอาจารย์ต่อรัฐสภาของประเทศสหรัฐอเมริกา มีผลต่อท่าทีและความเปลี่ยนแปลงในการดูแลพวกเรา ในคุกมาก คุกบางขวางซึ่งเคยให้นอนบนพื้นซีเมนต์ ก็ได้

รับการเปลีย่ นแปลงสภาพทีม่ ที ปี่ นู อน คุกบางเขนก็เปลีย่ น ให้อยู่ในห้องที่มีอากาศถ่ายเทโล่งขึ้น อาหารการกินดี ความรู้สึกที่มีต่ออาจารย์ป๋วยและใครต่อใครที่ให้ ความช่วยเหลือในยามยากทีร่ สู้ กึ ตกต�ำ่ ภายใต้พนั ธนาการ ที่หนาแน่น ไม่มีโอกาสอ่านหนังสือพิมพ์หรือรับรู้ข่าวสาร ต่างๆ อย่าว่าแต่คุณูปการของอาจารย์ป๋วยเลย แค่การมา เยี่ยมเยียนก็จดจ�ำไม่ลืมแล้ว เราได้ทราบข่าวเป็นระยะๆ ในช่วงปีที่ 2 ว่า อาจารย์ป๋วยได้รณรงค์ ให้รัฐบาลออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้ปล่อยพวกเราและเรียกร้องให้นกั ศึกษาทีอ่ ยู่ในป่า ได้ออกมาใช้ชีวิตอย่างสามัญชน มีชีวิตปกติสุขในเมือง จากความตรากตร� ำ รณรงค์ เ พื่ อ ความสั น ติ สุ ข ของ ประเทศไทย อาจารย์ป๋วยถึงล้มป่วยลงเมื่อเราได้ข่าว ต่างซึมกันไปเลย หลายปีทผี่ า่ นมา ในยามคิดถึงเมืองไทยและเริม่ ตัง้ ค�ำถามตัวเองมากๆ ถึงคุณค่าการด�ำรงอยู่ที่มีเกียรติ การ ประคับประคองความนึกคิดที่ให้ความมั่นคงทางเหตุผล รวมทั้งความมั่นใจ ภาพอาจารย์ป๋วยเป็นอีกภาพหนึ่งที่ อยู่ในความนึกคิด ความเป็นแบบอย่าง และผมรู้สึกว่าถ้า ไม่พูดถึงอาจารย์ป๋วย ประวัติศาสตร์เมื่อ 6 ตุลาฯ ก็ขาด ความสมบูรณ์ จึงขอยกย่องความรู้สึกเป็นบทประพันธ์ เพื่อให้เพื่อนรัก กุลศักดิ์ เรืองคงเกียรติ ใส่ท�ำนองไว้ว่า

เพลงป๋วยคนดี...ศรีสยาม

ป๋วยนามนี่นี้ตราตรึง คุณธรรมน�้ำใจอันงดงาม ความจริงแนบน�้ำใจคน ท�ำความดีเสมอมา อุดมการณ์อาจารย์ไม่แปรเปลี่ยน ไม่ค้อมหัวเอาเงินตรา ป๋วยเป็นคุณค่าของคนดี เปิดใจกว้างสร้างสรรค์สันติธรรม

ประยูร อัครบวร / กุลศักดิ์ เรืองคงเกียรติ (จิ้นกรรมาชน) ที่มา: หนังสือพิมพ์ ฉบับวันที่ 15 สิงหาคม 2539 หน้า 34 ส า ร ป๋ ว ย  26

เฝ้าคิดถึงคนดีถิ่นสยาม เลื่องลือนามผู้วิวัฒน์สัตยา ไม่หลอกลวงไม่ลวงล่อหลอกประชา สร้างศรัทธา สมศักดิ์ศรีเสรีไทย ไม่หมุนเวียนตามอ�ำนาจวาสนา กล้าทายท้าเผด็จการ อุดมคติชี้ทางสว่างล�้ำ เราจดจ�ำแซ่ซ้อง ก้องนิรันดร์


กวีนิพนธ วันฟาใหม เทพจันทร

“ฉลบจา เธอจงอยูดีๆนะ” “ฉลบจา เธอจงอยูดีๆนะ” 1 คือคําจํากัด เมื่อพลัดเมีย จากกันวันนั้น ริมฝงโขง นํ้าโขงดั่งคือ นํ้าตาฉลบชลัยย ฝงดิน ผัวยืนชะเงอหนาหา สองตาหากัน ใจสั่นสะทาน “เพื่อชาติ เพื่อ humanity นะคุณ” 2 สองปคืนกลับนับวันเทียว เมืองจีนจุงกิง ทิ้งชีวิต ไรใครอยูขางชางทรมานใจ นํ้าฝนตนตุลา กับฟาผา นํ้าตาหลั่งรวมฝน สาดสายซึมเซา ทรงจํา ทําเนียบทาชาง ทรงอยู ผูเดียว ผานมากมาย หนึ่งให จากไปแตนอย หนึ่งนอย คือจํากัด พลางกูร 1 2

ถือวาสละฉันใหชาติไปเสีย ในใจละเหี่ยละหอยโหยหาอาลัย นํ้าโคลงเรือเคลื่อน เลื่อนคลื่นไหว ชะรินชะไหลใจจะวายปราณ ฝงนํ้า เมียมาแลแตไกลสถาน โอ…คืนกลับบาน แคหนึ่งเดียว มีบุญอยางชา จะไดเหลียว โชครายเชี่ยว ถือสละเพื่อชาติไป 28 ปปลิดลง ปลงสังขารไข ไดเอาวิญญาณหนีกลับบานเรา แทรกทรวงอุรากระทบฉลบชลัยยเศรา บนรถยนตเขา! พาไปฟงขาวราย ทรงใจ ไมวางอาลัยหาย 99 ป ไมคลายจํา จํากัด พลางกูร หนึ่งใหอยูรวมรอยไมหายสูญ หนึ่งอยูอาดูร คือฉลบชลัยย

เปนคําที่ปรากฏในสมุดบันทึกประจําวัน (2486) ของคุณจํากัด พลางกูร เลขาธิการขบวนการเสรีไทย ระหวางเดินทางไปเมืองจุงกิง เพื่อเจรจาใหจอมพลเจียง ไคเช็ค รับรองสถานะของขบวนการเสรีไทย และรับรองเอกราชของไทยหลังสงคราม – บรรณาธิการ เปนคําทีอ่ าจารยปรีดี พนมยงค หัวหนาขบวนการเสรีไทย กลาวกับคุณจํากัด ทีท่ าํ เนียบทาชาง ไมกวี่ นั กอนออกเดินทาง - บรรณาธิการ

27

ส า ร ป ว ย


รายงานพิเศษ วันฟาใหม เทพจันทร

อังคารรําลึก 3 ป กวีจากไป

ไม่น่าเชื่อ ว่าท่านอังคาร กัลยาณพงศ์ จาก โลกนี้ไปถึง 3 ปแล้ว ทีว่ า่ ไม่นา่ เชือ่ เพราะบางความรูส้ กึ ก็ยงั เสมือน ว่าท่านยังไม่ได้จากไปไหนไกลเลย บทกวีของท่านยัง คงมนต์ขลังเปียมล้นไปด้วยพลังไปทุกตัวอักษร หาก อีกความรูส้ กึ หนึง่ ก็เหมือนว่า ท่านได้จากไปนานยิง่ กว่า 3 ปี เสียอีก เพราะดูเหมือนจะมีไม่กี่กลุ่ม กี่คน ที่ยัง คงระลึกนึกถึง พอตายจากไปแล้วก็ราวกับว่าหายแทบ จะสูญไปสิน้ แม้แต่ชอื่ ทีเดียว โดยเฉพาะในยุคสมัยใหม่ และอนุชนที่ไม่เข้าใจถึงวรรณศิลปของท่านอังคาร ส�าหรับผมแล้ว ท่านยังคงเป็นเลิศ เป็นมหากวี ในยุคสมัยของผม แม้เมือ่ ท่านยังมีชวี ติ อยูผ่ มยังคงเป็น ส า ร ป๋ ว ย  28

เด็กเมื่อวานซืน หากก็ยังดีใจที่หลังจากท่านสิ้นไป ผม ยังมีโอกาสเข้ามาจัดกิจกรรมร�าลึกถึงท่าน โดยได้รับ ความไว้วางใจจากทางครอบครัวกัลยาณพงศ์ ให้ผม เป็นผู้จัดงานและรับผิดชอบกิจกรรมทุกอย่าง ซึ่งผม ได้จัดมาเป็นปีที่ 2 แล้ว ผมใช้ชื่องานในปีนี้ว่า “อังคารร�าลึก 3 ป กวีจากไป” โดยเน้นกิจกรรมไปในทางของกวี ซึ่งได้ รับเกียรติจาก อาจารย์เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ และ อาจารย์ชมัยภร แสงกระจ่าง สองศิลปินแห่งชาติ ผู้ใหญ่แห่งวงการวรรณกรรมกวี มาร่วมเปิดงานแก่ ท่านอังคารในครั้งนี้ด้วย นอกจากนี้กัลยาณมิตรทาง ธรรมอย่ า งท่ า นจัน ทร์ แ ห่ ง สั น ติ อโศกก็ มาร่วมงาน


กลาวโอวาทธรรมและนําทีมงานมาบันทึกเทปกิจกรรม ดวย ที่จะขาดกลาวไปเสียมิไดก็คือทางครอบครัว ก็มี ลูกชายของทานอังคาร คือ คุณภูหลวง กัลยาณพงศ ไดเปนตัวแทนมารวมงานตลอดจนงานเสร็จสิ้น นอกจากที่กลาวมา ยังมีการแสดงโขน ตอน ทศกั ณ ฐ เ กี้ ย วนางเบญกาย การร า ยบทกวี จากกวี รุนใหม การเสวนาคิดถึงทานอังคาร โดย พี่วสันต สิทธิเขตต พี่เจง ประเสริฐ ฤทธิ์สําเริง และการแสดง ดนตรีประกอบบทกวีจากวงบลูอะเกต ปดทายดวย นาหวอง มงคล อุทก และผองเพื่อน ที่จะมิกลาวมิได ในแรกทีเดียวนั้น ผมได ทําประชาสัมพันธไปวา ส. ศิวรักษ จะมารวมและเปด งานนี้ ซึง่ ทานทัง้ สองเปนกัลยาณมิตรตอกันมาชานาน เห็นคนหนึ่งก็คิดถึงอีกคนหนึ่ง หากแตความผิดพลาด นั้นอยูที่ผมเพียงผูเดียว เพราะมิไดติดตออาจารย สุลักษณ ไปโดยตรง กับมารูทีหลังวาทานก็ติดธุระ ในวันดังกลาวดวย จึงถือโอกาสนี้กราบขอโทษอาจารย

สุลักษณ และผูที่มารวมงานเพื่อหวังจะไดพบอาจารย อีกครั้ง เหนือสิ่งอื่นใด ไมวาในโอกาสหนาผมจะมี โอกาสไดจัดงานใหทานอังคารอีกหรือไม หากผมก็ ภูมิใจ และจะประทับใจไปนาน ที่อยางนอยผมก็ได แสดงกตัญุตาตอครูบาอาจารยที่ผมเคารพนับถือ เอาเปนแบบอยาง ถึงแมทานจะลวงลับไปแลวก็ตาม แตผมก็ไมเคยผอนคลายความศรัทธาลงไปเลย ในขณะนี้เห็นแตผูหลักผูใหญตางลวงลับไป มาก โดยเฉพาะในวงการวรรณกรรม และระยะหาง ระหวางผูเกิดใหมก็มีมาก กลาวคือ “ศิษย ไมมีครู” มีเยอะเหลือเกิน และหรือ “ศิษยนอกครู” ก็มีมาก อยางนอยที่สุด ผมวาแมแตครูพักลักจํา หรือครูที่ ลวงลับไปแลว หากเราจะเอาเยี่ยงเอาอยางที่ดี ที่ กลาหาญทางจริยธรรม ทางศิลปะความงาม ความดี ความจริง อยางทีอ่ าจารยปว ย อึง๊ ภากรณ ไดกลาวไว… ก็นาจะดีไมนอย n 29

ส า ร ป ว ย


ลูกผู้ชายชื่อ “ป๋วย” 2457

2477

2457 - 2461 สงครามโลกครั้งที่ 1

2476

เป็นนักศึกษารุ่นแรกของมหาวิทยาลัย วิชาธรรมศาสตร์และการเมือง

เป็นมาสเตอร์ สอนวิชาค�านวณและ ภาษาฝรั่งเศส โรงเรียนอัสสัมชัญ

2481

2467

สอบได้ทุนไปเรียนที่ LSE มหาวิทยาลัยลอนดอน

เข้าโรงเรียน โรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก

2480

ส�าเร็จการศึกษาเป็น ธรรมศาสตรบัณฑิต

2477

นายปรีดี พนมยงค์ ก่อตั้งมหาวิทยาลัย วิชาธรรมศาสตร์และการเมือง และดํารง ตําแหน่งผู้ประศาสน์การ

2459

9 มีนาคม 2459 เกิดที่บ้าน ตลาดน้อย กรุงเทพฯ เป็นบุตรคนที่ 4 ของนางเซาะเซ็ง แซ่เตียว และนายซา แซ่อึ้ง

2475

คณะราษฎรเปลี่ยนแปลงการปกครอง

ส า ร ป๋ ว ย  30

2482

จอมพล ป. เริ่มนโยบายรัฐนิยม


คําวา

“ป๋วย” แปลตรงตัวไดวา “พูนดินที่โคนต้นไม้”

แตมีความหมายกวางขวางออกไปอีก คือ “บํารุง” “หลอเลี้ยง” “เพาะเลี้ยง’ และ “เสริมกําลัง”

ป๋วย อึ๊งภากรณ์ (2512)

2484

นายปรีดี พนมยงค์ และคณะ ก่อตั้งขบวนการเสรีไทยเพราะไม่เห็นด้วยกับการประกาศสงคราม ของรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม

2487

กระโดดร่มลักลอบเข้าประเทศไทยเพื่อปฏิบัติงานลับของเสรีไทย

2484

2489

จบปริญญาตรีสาขา วิชาเศรษฐศาสตร์ และการคลัง ผลการเรียนสูงสุด เป็นอันดับหนึ่ง ในบรรดาเกียรตินิยม

แต่งงานกับมาร์เกร็ท สมิท เรียนต่อปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยลอนดอน

2490

รัฐประหารโดย พลโทผิน ชุณหวัณ

2488

2484

2484 - 2488 สถานการณ์ สงครามโลก ครั้งที่ 2 ในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟค

กลับไปเจรจากับรัฐบาลอังกฤษ ให้ยอมรับขบวนการเสรีไทย ได้รับยศพันตรีแห่งกองทัพบกอังกฤษ

14 สิงหาคม 2488 ญี่ปุนประกาศยอมแพ้สงคราม

2485

ร่วมก่อตั้งคณะเสรีไทยขึ้น ในอังกฤษ ได้ชื่อจัดตั้งว่า นายเข้ม เย็นยิ่ง

16 สิงหาคม 2488 นายปรีดี พนมยงค์ ลงนามประกาศสันติภาพ ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล

31  ส า ร ป๋ ว ย


“การยอมรับความชั่วนั้นเปนความชั่วอยูในตัว (toleration of evil is evil itself)” ป๋วย อึ๊งภากรณ์ (2511)

2505

เป็นผู้อ�านวยการส�านักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง

2500

2494

จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยึดอํานาจ รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม

เปลี่ยนชื่อมหาวิทยาลัย วิชาธรรมศาสตร์และการเมือง เป็นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นอธิการบดีคนแรก

2492

กลับเมืองไทย เข้ารับราชการ ต�าแหน่งเศรษฐกร กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง

2492

นายปรีดี พนมยงค์ และขบวนการ ประชาธิปไตย 26 กุมภาพันธ์ ซึ่งต้องการฟนฟู การปกครองให้เป็น ประชาธิปไตย ประสบความล้มเหลว

2491

จบปริญญาเอกด้วยวิทยานิพนธ์ เรื่อง เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการ ควบคุมดีบุก ส า ร ป๋ ว ย  32

2502

เป็นผู้อ�านวยการ ส�านักงบประมาณ ส�านักนายกรัฐมนตรี

2496

เป็นรองผู้ว่าการธนาคาร แห่งประเทศไทย

2502

2495

เป็นผู้ว่าการธนาคาร แห่งประเทศไทย

ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วย ฝ่ายวิชาการ ของปลัด กระทรวงการคลังและ กรรมการธนาคาร แห่งประเทศไทย

2504

เริ่มใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติฉบับที่ 1

2499

เป็นที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจการคลัง ประจ�าสถานเอกอัครราชทูตไทยในอังกฤษ


“การที่จะเกิดประชาธิปไตยไดตองใหคนเกลียดเผด็จการ เวลานี้คนยังไมไดเกลียด เผด็จการ เพราะเหตุวา หนึ่ง มีความกลัวเผด็จการ เลยไมแสดงทาวาเกลียด สอง บางคนนั้นนึกวาเผด็จการดีกวาอยางอื่นซึ่งเราเคยกันมาแลว”

2506

ป๋วย อึ๊งภากรณ์ (2520)

จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ถึงแก่อสัญกรรม จอมพลถนอม กิตติขจร ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี

2507

เป็นคณบดี คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

2518

ได้รับการเสนอชื่อและได้รับเลือกให้เป็น อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์คนที่ 10

2519 2508

ได้รับรางวัล แมกไซไซ สาขาบริการ สาธารณะ

ลี้ภัยการเมืองออกนอกประเทศ

2513

2520

ลาพักไปสอน ที่ ม.ปริ๊นชตัน สหรัฐอเมริกา

เดือนกันยายน ล้มป่วยด้วยอาการ เส้นโลหิตในสมองแตก ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายที่ประเทศอังกฤษ

2519

2510

เหตุการณ์ 6 ตุลาคม

ร่วมก่อตั้ง มูลนิธิบูรณะชนบท แห่งประเทศไทย

2512

2530

เดินทางกลับมาเยี่ยม บ้านเกิดที่เมืองไทย ครั้งแรก

2516

ก่อตั้งโครงการ บัณฑิตอาสาสมัคร

เหตุการณ์ 14 ตุลาคม

2515

กุมภาพันธ์ 2515 เกิดจดหมาย เปิดผนึกของนายเข้ม เย็นยิ่ง ถึงพี่ท�านุ เกียรติก้อง แห่งหมู่บ้าน ไทยเจริญ แสดงจุดยืน สนับสนุน ให้ใช้ระบอบประชาธิปไตย ในการแก้ปัญหาของประเทศ

2542

28 กรกฎาคม ถึงแก่กรรมอย่างสงบ ที่บ้าน ณ กรุงลอนดอน รวมอายุได้ 83 ปีเศษ


นักศึกษา นิสิต นักเรียน ประชาชน และตํารวจ ไดเสียชีวิตเปนจํานวนมาก และไดรับความบาดเจ็บ ทั้งทางรางกายและจิตใจเมื่อ 14-15 ตุลาคม หลายพันคน ผมขออุทิศสวนดี (ถามี) ของขอความ ที่จะเขียนนี้ใหแกผูที่บาดเจ็บลมตายทุกคน โดยเฉพาะอยางยิ่ง นักศึกษา นิสิต นักเรียน และประชาชน ผูที่มิไดมีอาวุธตอสูกับผูสั่งใชอาวุธโดยไมชอบธรรม... ขอที่ควรจะคิดในวาระนี้ก็คือ เมื่อไดเสียเลือดเนื้อและหยาดเหงื่อ หยาดนํ้าตาไปถึงเพียงนี้ แลว เมื่อไดรับความบาดเจ็บทั้งทางจิตใจและรางกายตลอดจนชีวิตแลว จะทําอยางไรใหผลงาน ที่เพิ่งไดนั้นเปนประโยชนแกชาติไทย ประชาชนไทยอยางกวางขวางและยั่งยืน ถาความชอบธรรม ในชีวิต และสวัสดิสุขตกแกคนไทยเราทั่วถึงและถาวรจริงๆ ผลที่ไดนั้นยอมเปนอนุสาวรียอันแทจริง แหงวีรกรรมของพวกคุณ ชาติไทยทั้งชาติจะสนองคุณพวกรุนหนุมสาวและเด็กเหลานี้ได ก็โดย พยายามสรางชาติใหเปนชาติที่มีศีลธรรม คุณธรรม ใหบานเมืองของเรามีขื่อมีแป ใหคนทุกคน ในประเทศไทยมีสวัสดิภาพและศักดิ์ศรีตามสิทธิเบื้องตนแหงมนุษยชน ใหเสรีภาพที่จะเกิดขึ้นนั้น เกิดขึ้นบนพื้นฐานแหงความชอบธรรม ยุติธรรม และเมตตากรุณาตลอดไป มิฉะนั้นคนที่ตายไปแลว ก็จะตายเปลา คนที่บาดเจ็บก็จะไดรับความทุกขทรมานโดยไรประโยชน คนที่ตองโศกเศราโทมนัส ดวยคนรักสูญเสียไป ก็จะระทมใจไปโดยเปลาเปลือง เมื่อวีรกรรมเกิดขึ้น และวีรยุวชนตองสละชีวิต และเลือดเนื้อแลว อยาใหเขาตองเสียชีพแลวเสียสิ้นทุกอยางเลย

25 ตุลาคม 2516 พิมพครั้งแรกใน เสียชีพ อยาเสียสิ้น (2517)


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.