Creative Thailand Magazine

Page 1

มีนาคม 2556 ปที่ 4 | ฉบับที่ 6 แจกฟรี

CLASSIC ITEM กาด

CREATIVE CITY อูบุด

THE OBJECT North Gate



กิ๋นหื้อปอตอง หยองหื้อปอตั๋ว กันจักใคหัวหื้อใคหัวแตๆ กินใหพออิ่ม แตงใหสมตัว ถาจะหัวเราะก็หัวเราะใหเต็มเสียง ภาษิตลานนา


สารบัญ The Subject

6

The Object

7

Creative Resource

8

พัฒนาเสนทาง สรางเสนหเมือง

North Gate

Featured Book/ Book/ DVD/ Magazine

Cover Story

12

Insight

20

Creative Entrepreneur

22

Creative City

24

The Creative

28

Creative Will

34

เชียงใหม หลายมุม

filmofilia.com

อนาคตเมืองเชียงใหม

Matter

สินทรัพยวัสดุเชียงใหม

นิ่มซี่เส็ง… ขนสงเพื่อขับเคลื่อนวัฒนธรรม

10

Ubud… มนตเสนหแหงความลงตัว

Classic Item กาด

11

Morinosuke Kawaguji: Everywhere has idea.

Re-Leaf Studio: You can make a green choice.

บรรณาธิการอำนวยการ l อภิสิทธิ์ ไลสัตรูไกล ที่ปรึกษา l กิตติรัตน ปติพานิช, ชมพูนุท วีรกิตติ, พิชิต วีรังคบุตร, กนกพร เกียรติศักดิ์, วราภรณ วศินสังวร, จรินทรทิพย ลียะวณิช บรรณาธิการบริหาร l ศุภมาศ พะหุโล ผูชวยบรรณาธิการ l พัชรินทร พัฒนาบุญไพบูลย กองบรรณาธิการ l ศิริอร หริ่มปราณี, มนฑิณี ยงวิกุล, เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร, กริยา บิลยะลา เลขากองบรรณาธิการ l กมลกานต โกศลกาญจน บรรณาธิการศิลปกรรม l พจน องคทวีเกียรติ, พัชราภรณ เตชะเลิศไพศาล สมาชิกสัมพันธ l ปยะพร สวัสดิ์สิงห ประสานงานกองบรรณาธิการ l ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ จัดทำโดย l ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (TCDC) ชั้น 24 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอร 622 สุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 โทร. 02 664 7667 แฟกซ. 02 664 7670 ติดตอลงโฆษณาไดที่ creativethailand@tcdc.or.th ผูออกแบบปก l Nokhookdesign พิมพที่ l บริษัท ทูโฟร พริ้นติ้ง จำกัด โทร. 02 416 7300 แฟกซ. 02 416 7320 จำนวน 50,000 เลม นักออกแบบสิ่งพิมพ ภาพประกอบชาวเชียงใหมโดยกำเนิด ผูชอบคนหาแรงบันดาลใจผานรานกาแฟใหมๆ และมอคคาเมนูโปรด นิตยสารฉบับนี้ใชหมึกพิมพจากน้ำมันถั่วเหลืองที่ไมเปนอันตรายตอสุขภาพ ทั้งยังเปนมิตรตอสิ่งแวดลอม ผลงาน : www.nokhookdesign.net และใชกระดาษรีไซเคิล ซึ่งเปนผลผลิตของผูประกอบการไทย จัดทำภายใตโครงการ “Creative Thailand สรางเศรษฐกิจไทยดวยความคิดสรางสรรค” โดยศูนยสรางสรรคงานออกแบบ สำนักงานบริหารและพัฒนาองคความรู (องคการมหาชน) ซึ่งมีเปาหมายในการเผยแพรความรูเกี่ยวกับเศรษฐกิจสรางสรรค (Creative Economy) และผลักดันการใชความคิดสรางสรรคในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส แสดงที่มา-ไมใชเพื่อการคา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย


EDITOR'S NOTE บทบรรณาธิการ

ผู้มาใหม่ ถ้าจะเอาดัชนีชี้วัดความสำ�เร็จทางเศรษฐกิจหรือการจัดอันดับความน่าอยู่น่าท่องเที่ยวมาใช้ “เชียงใหม่” คือเมืองที่ไม่เคยถูกหลงลืมจากตารางที่คำ�นวณโดยสูตรสำ�เร็จเช่นนั้น ด้วยทำ�เลที่ตั้ง ที่เชื่อมโยงกับพื้นที่ทั้งในประเทศและประเทศเพื่อนบ้านอย่างเหมาะเจาะ โครงสร้างสาธารณูปโภค พื้นฐานที่พร้อมสรรพ สถาบันการศึกษาทุกระดับ และในอนาคตอันใกล้การเชื่อมต่อเมืองสู่เมือง อื่นๆ จะยิ่งเข้มข้นขึ้นด้วยเส้นทางรถไฟความเร็วสูง โดยที่ทั้งหมดนี้เกิดอยู่เคียงข้างกับความงาม ทางธรรมชาติและวัฒนธรรมที่ยาวนาน ซึ่งผลิดอกออกผลเป็นงานสถาปัตยกรรม อาหาร เทศกาล และประเพณีที่น่าประทับใจ แต่เชียงใหม่กเ็ ช่นเดียวกับเมืองทีม่ ชี วี ติ อืน่ ๆ ในโลก ผ่านการพิสจู น์ความเปลีย่ นแปลงมายาวนาน ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม จากการได้รับสถาปนาขึ้นเป็นเมืองหลวงของอาณาจักร และเจ้าผูค้ รองนครมาเปลีย่ นถ่ายสูอ่ �ำ นาจรวมศูนย์จากส่วนกลาง จากเศรษฐกิจทีพ่ ง่ึ พิงสินค้าอุปโภค บริโภคทั่วๆไป และธุรกิจผูกขาดสัมปทานค้าไม้ของบริษัทบริติชบอร์เนียว มาสู่ธุรกิจบริการ อันหลากหลายเพือ่ รองรับนักท่องเทีย่ วจำ�นวนแตะหกล้านคนต่อปี กับชาวต่างชาติที่มาพำ�นักอีกเกือบ สี่หมื่นคน วันนี้หน้าตารูปลักษณ์ของเมืองจึงเติบโตในทิศทางที่ยากเกินจะคาดเดา แต่ถึงอย่างนั้น ความพิเศษของเมืองก็ยังคงอยู่ ด้านหนึ่งผลักดันให้คนในพื้นที่ได้ลุกขึ้นมาสร้างสรรค์เมืองบนฐาน ประเพณีและวัฒนธรรมดั้งเดิม อีกด้านหนึ่งเชียงใหม่ก็ดึงดูดผู้คนต่างถิ่นให้หมุนเวียนเข้ามาสร้าง กิจกรรมทางเศรษฐกิจและกิจกรรมทางความคิดที่เปิดกว้าง ปฏิสัมพันธ์ของเชียงใหม่ที่มีต่อผู้คน จึงมีหลายมิติ ไม่ใช่เพียงแค่เมืองที่ถูกแวะเวียนมาท่องเที่ยว เรียนหนังสือ หรือทำ�งาน แต่เป็นเมือง ที่ผู้คนตั้งใจมาปักหลักเพื่อเริ่มต้นสิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ เมื่อเมืองเปิดโอกาสให้มชี อ่ งว่างของความสำ�เร็จและความผิดพลาด ที่นจ่ี งึ เหมือนสนามทดลอง ที่ผู้คนเต็มใจจะเสี่ยง ร้านกาแฟ เบเกอรี่โฮมเมด ร้านหนังสือ แกลเลอรี่งานศิลป์ สตูดิโอออกแบบ เกสต์เฮาส์ ไปจนถึงโครงการอสั ง หาริมทรัพย์ที่มาพร้อมกับ การลงทุนระดับ หลายร้อยล้าน ล้วนขยับขยายเป็นส่วนหนึ่งของเมือง ผู้คนเปลี่ยนหน้าเปลี่ยนตา เปลี่ยนมือทางธุรกิจ หรือเปลี่ยน บทสนทนา แต่นั่นกำ�ลังบอกว่าเชียงใหม่ยังมีชีวิต และเป็นเมืองที่พร้อมจะเปิดรับ แลกเปลี่ยน และ แสดงความพิเศษออกสู่สายตาผู้คนอย่างน่าชื่นชม จากอดีตถึงปัจจุบัน เชียงใหม่ได้มอบโอกาสที่เปิดกว้างสำ�หรับผู้มาใหม่เสมอ เพื่อร่วมกันเป็น ส่วนหนึ่งของชีวิตในความเป็นเชียงใหม่ บางครั้งก็กลมกลืน บางครั้งอาจขัดเขิน แต่ชีวิตแบบไหน ที่เหมาะสมกับเชียงใหม่ ในที่สุดแล้ว เวลาที่ใช้ในการตกผลึกและธรรมชาติของเมืองก็จะค่อยๆ คัดกรองและสรรหาสิง่ ทีข่ าดหาย สอดคล้อง และพอดีกบั วิถชี วี ติ ของผูค้ น เพือ่ หนทางสูอ่ นาคตต่อไป อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล บรรณาธิการอํานวยการ

มีนาคม 2556

l

Creative Thailand

l5


THE SUBJECT ลงมือคิด

ตารางการท่องเที่ยวที่อำ�นวยให้นักเดินทางได้ตื่นตอนเช้าในบูติกโฮเต็ลราคาย่อมเยาย่านนิมมานเหมินท์ แล้วใช้เวลาเดินทาง เพียง 15 นาทีเพื่อไปเก็บสตรอเบอร์รี่สดๆ ในไร่ที่สะเมิง สายๆ วกกลับมาจิบกาแฟและรับประทานอาหารเที่ยงที่ถนนท่าแพ โดยมีฉากหลังเป็นนักท่องเที่ยวหลากเชื้อชาติร่วมกันสร้างจังหวะของเมือง ตกเย็นก็ขับรถกินลมเพียงครึ่งชั่วโมงเพื่อขึ้นดอย ไปกางเต็นท์นอนที่ม่อนแจ่มสำ�หรับการตื่นขึ้นมาชมพระอาทิตย์ในเช้าของวันถัดไป ทั้งหมดนี้คือผลลัพธ์จากความพรั่งพร้อม ของทรัพยากรธรรมชาติ ที่เป็นต้นทุนชั้นดีสำ�หรับต้อนรับการมาเยือนของนักเดินทาง ซึ่งเมื่อรวมกับการอำ�นวยความสะดวก ในทุกๆ เส้นทางที่เข้าถึง จึงส่งผลให้เชียงใหม่คือเมืองที่เปรียบเหมือน “บ้านหลังที่สอง” ของผู้คนเสมอมา

แม้เชียงใหม่จะมีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศด้วยขนาดกว่า 20,000 ตารางกิโลเมตร แต่นน่ั ก็ไม่ได้ใหญ่เกินกว่าทีจ่ ะผสมผสานความ เป็นเมืองเก่าเข้ากับความร่วมสมัยและความงดงามของธรรมชาติให้อยู่ ร่วมกัน ซึง่ ได้กลายมาเป็นเสน่หอ์ นั น่าหลงใหลของเมืองทีท่ กุ คนต่างก็รบั รูต้ รงกัน จากวิวัฒนาการเชิงพื้นที่ ตั้งแต่เริ่มสร้างชุมชนเมืองในบริเวณ ศูนย์กลางเก่าของเขตเมืองประวัติศาสตร์ จนกระทั่งขยายออกมาใน รัศมีโดยรอบไม่ตา่ํ กว่า 10 กิโลเมตรจากการตัดถนนวงแหวนรอบนอก ทำ�ให้เชียงใหม่มีเส้นทางการคมนาคมเป็นเหมือนเส้นเลือดหล่อเลี้ยง และเชือ่ มโยงความมีชวี ติ ให้แทรกซึมเข้าสูท่ กุ พืน้ ที่ ทัง้ ยังกลายเป็นปัจจัย

ให้มงุ่ สูก่ ารเติบโตในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นถนนที่ตัดเชื่อมไปยังจังหวัด ข้างเคียงอย่าง เชียงราย ลำ�ปาง หรือแม่ฮ่องสอน ระบบขนส่ง มวลชนและสนามบิ น ที่ ม าพร้ อ มกั บ สายการบิ น ทั้ ง ภายในและ ระหว่างประเทศ ซึ่งส่งผลให้เชียงใหม่กลายเป็นศูนย์กลางในการ เข้า-ออกระหว่างเมือง การมีตัวเลือกในการเดินทางที่หลากหลายเพื่อเข้าถึงความอุดม สมบูรณ์แบบเต็มเปี่ยมของธรรมชาติ ด้วยระยะเวลาที่สามารถนับ หน่วยกันเป็นนาที อาจเป็นผลมาจากภูมิศาสตร์ของเมืองที่ตั้งอยู่ บนที่ราบในหุบเขาซึ่งมีแม่นํ้าไหลผ่าน และการก่อสร้างวางระบบ คมนาคมด้วยแนวคิดอันชาญฉลาดของเหล่านักพัฒนา ผลลัพธ์ของ

พัฒนาเส้นทาง สร้างเสน่ห์เมือง

เรื่อง: กมลกานต์ โกศลกาญจน์ ภาพ: วชิรพงศ์ ธีรสวัสดิ์

สำ�คัญอย่างหนึ่งในการสนับสนุนให้ศักยภาพของเชียงใหม่ถูกนำ�มาใช้ งานได้อย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นด้านการผลิต คุณภาพประชากร และ การเข้าถึงแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งหมดนี้ส่งผลเป็นการขยายตัว ด้านการค้าและการท่องเที่ยว นอกจากนี้ การวางโครงสร้างพื้นฐาน เพื่ออำ�นวยความสะดวกยังถูกสร้างขึ้นมาเพื่อรองรับการพัฒนาเมือง

6l

Creative Thailand

l มีนาคม 2556

การผสมผสานระหว่างเส้นทางที่เชื่อมโยงเมืองให้สามารถใกล้ชิด ธรรมชาติได้ จึงเป็นเหมือนของขวัญสำ�หรับทั้งนักท่องเที่ยวและผู้อยู่ อาศัย โดยทุ ก ฝ่ายจะต้องไม่ลืมที่จะเรียนรู้เรื่องการรักษาเสน่ห์ ของเชียงใหม่ให้อยู่ต่อไปในอนาคต ทีม่ า: บทความ พฤติกรรมการเดินทางในเมืองหลักของภูมภิ าค: กรณีศกึ ษา เมืองเชียงใหม่ โดยเอกวัฒน์ พันธาสุ และ มนสิชา เพชรานนท์


THE OBJECT คิดแล้วทำ�

“ความตั้งใจเริ่มแรกคือให้มันเป็นที่เล่นดนตรี ตอนแรกผมคิดว่ามันจะเป็นแจ๊ส แต่ตอนนี้ผมไม่ได้คิดแบบนั้นแล้ว ผมคิดว่าเป็น อะไรก็ได้ จะเป็นป็อบ เป็นฟิวส์ชั่น หรือจะร็อกก็ได้ โลกนี้มีตั้งหลายอย่าง อย่าไปคิดเลยว่ามันจะต้องเป็นอะไร ให้เป็นดนตรีที่เขา อยากจะเล่นดีกว่า” ภราดล พรอำ�นวย หนึ่งในผู้ก่อตั้งร้าน “นอร์ธ เกท (North Gate)” เล่าถึงร้านของเขาเอง

ด้วยตำ�แหน่งของร้านทีต่ ง้ั อยูใ่ จกลางเมืองเชียงใหม่ ใกล้กบั แลนด์มาร์ก สำ�คัญอย่างประตูช้างเผือกและบรรดาเกสต์เฮาส์ราคาย่อมเยา ลูกค้า ส่วนใหญ่ของนอร์ธ เกทจึงมักเป็นชาวต่างชาติทช่ี น่ื ชอบสีสนั ยามคํา่ คืน และบรรยากาศอันอบอวลไปด้วยดนตรี ขณะที่ลูกค้าอีกส่วนนั้นเป็น ทั้ ง ชาวเชี ย งใหม่ แ ละนั ก ท่ อ งเที่ ย วคนไทยที่ ส นใจในสิ่ ง เดี ย วกั น แน่นอนว่าด้วยวิธกี ารสือ่ สารทีง่ า่ ยและแยบยลกว่าอย่าง “ภาษาดนตรี” ที่นี่จึงเป็นจุดรวมตัวของผู้คนที่มาจากหลายมุมโลก โดยเฉพาะทุกคืน วันอังคารที่ทางร้านจัดให้เป็นวันแจม (Jam Session) โดยเปิดโอกาส ให้ใครก็ได้สามารถเข้ามาเล่นดนตรีสดร่วมกันอย่างไม่มีข้อจำ�กัดทาง ความสามารถ เพือ่ แลกเปลี่ยนพลังงานของการเล่นดนตรีและวัฒนธรรม ที่หลากหลาย ซึ่งนอกจากเล่นดนตรีแล้ว ที่ผ่านมายังเคยมีคนมาแจม การอ่านบทกวี แร็ป เล่นปี่สก็อต เต้นฮูลาฮูป กายกรรมเดินบนเชือก รวมถึงจินตลีลา ภายใต้อาคารพาณิชย์สองคูหาทีเ่ ห็นเด่นชัดจากท้องถนน

ยิ่งเสียงดนตรีปลุกเร้า ยิ่งเป็นพลังที่เย้ายวนให้คนมุ่งหน้าเข้ามา จน กระทั่งบาทวิถีหน้าร้านคลาคลํ่าไปด้วยผู้คนที่ยืนมุงอย่างหนาแน่น เพือ่ สนุกสนานไปกับเสียงดนตรีรว่ มกัน และบางครัง้ ก็ลามเลยไปจนถึง ถนนฝั่งตรงข้ามจนกลายเป็นจุดเด่นของที่นี่ไปแล้ว เกือบหกปีทผ่ี า่ นมา นอร์ธ เกท เป็นเสมือนตัวแทนของการเปิดรับ วัฒนธรรมต่างถิ่นที่ไม่ว่าจะมาจากชาติใด พูดภาษาอะไร ก็สามารถ เข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึง่ ในชุมชนดนตรีเล็กๆ แห่งนีด้ ว้ ยกันได้ นับเป็น วิถีที่สะท้อนลักษณะนิสัยของชาวเชียงใหม่ที่มักเปิดรับวัฒนธรรม จากต่างถิ่น เป็นวิถีที่ถูกหลอมรวม และคือนิสัยใจคอที่ชื่นชอบ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จนวันนี้เชียงใหม่เต็มไปด้วยความหลากหลาย และความแตกต่างทางวัฒนธรรม และที่สำ�คัญนั่นคือ “เสน่ห์” ที่ทั้ง เชียงใหม่และนอร์ธ เกท ต่างมี ที่มา: สัมภาษณ์ ภราดล พรอำ�นวย หนึ่งในผู้ก่อตั้งร้าน นอร์ธ เกท

เรื่อง: พุทธิมน ตันติธนานนท์ ภาพ: พุทธิมน ตันติธนานนท์ และ รังสิมันต์ สิทธิพงษ์

มีนาคม 2556

l

Creative Thailand

l7


CREATIVE RESOURCE วัตถุดิบทางความคิด

เรื่อง: กริยา บิลยะลา และ ศุภาศัย วงศ์กุลพิศาล

FEATURED BOOK

LANNA COLONIAL: A RETURN TO ELEGANCE โดย ชัยรัตน์ อัศวางกูร

เมื่อพูดถึงคำ�ว่า “ล้านนา” ความคิดแรกที่มัก นึ ก ถึ ง คื อ อาณาจั ก รที่ ตั้ ง อยู่ บ นที่ ร าบสู ง และ เทือกเขาทางภาคเหนือตอนบนของไทย โดย ไม่ทนั ได้ฉกุ คิดว่าแท้จริงแล้วคำ�ว่า “ล้านนา” นัน้ สื่อความหมายในตัวของมันเองได้อย่างเสร็จ สรรพและตรงไปตรงมาที่สุด นั่นคือดินแดนที่มี ที่นานับล้าน เสน่ห์ของดินแดนล้านนาเกิดขึ้น จากความหลากหลายของผู้คนในพื้นถิ่น ซึ่งแม้ จะต่างภาษา ต่างวัฒนธรรม ต่างความเชื่อ แต่ ผู้คนในพื้นถิ่นนั้นๆ ต่างก็เปิดรับและซึมซับ ความงดงามของแต่ละส่วนไว้ แล้วหลอมรวม ความต่างให้ผสมผสานเข้ากับวิถีดั้งเดิมของ ตนจนเกิดเป็นเอกลักษณะที่เป็นหนึ่งเดียวกัน รู ป แบบอาคารบ้ า นเรื อ นในล้ า นนาซึ่ ง มี ลักษณะและสภาพที่แตกต่างหลากหลายก็เป็น เสน่ห์อีกประการหนึ่งที่แฝงไว้ด้วยเรื่องราวของ ยุคสมัยและการเปลี่ยนแปลง เปรียบเสมือน บันทึกหน้าสำ�คัญของเมืองที่ต้องได้รับการดูแล ทำ � นุ บำ � รุ ง ไม่ ใ ห้ ล บเลื อ นหายไปในกาลเวลา บ้านเรือนในเชียงใหม่นั้นวิวัฒนาการมาจาก 8l

Creative Thailand

l มีนาคม 2556

เรือนไม้ใต้ถนุ สูง สัมพันธ์กบั วิถคี นทำ�ไม้แต่ดง้ั เดิม และบอกเล่าเรื่องราวของบริบทซึ่งเป็นที่ตั้งของ กรมป่าไม้แห่งแรกในประเทศไทย ทัง้ ยังเคยเป็น แหล่งทำ�ไม้ที่คลาคลํ่าไปด้วยช้างและคนหลาก ชนชาติทป่ี ระกอบกิจการด้านการทำ�ป่าไม้ ต่อมา ได้ถูกปรับเปลี่ยนเป็นอาคารก่ออิฐโบกปูนหรือ บ้ า นตึ ก กึ่ ง ไม้ ส ไตล์ โ คโลเนี ย ลที่ มี โ ครงสร้ า ง สง่างาม อันเกิดจากการผสานศิลปะพื้นบ้าน เข้ากับสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกในยุคขยาย อาณานิคม อาคารจึงถูกดัดแปลงให้เป็นรูปแบบ ล้านนาโคโลเนียล หรือปรับเปลี่ยนเป็นเรือน ขนมปังขิงฉลุลวดลายด้วยฝีมือเชิงช่างของสล่า ชาวล้านนา แม้ว ่า “โคโลเนี ย ลหรื อ สถาปัต ยกรรม อาณานิคม” นัน้ จะถูกเรียกขานตามการนำ�แบบ สถาปัตยกรรมของประเทศแม่ไปก่อสร้างใน ดินแดนอาณานิคม แล้วจึงค่อยปรับรูปแบบสู่ ลักษณะที่สอดคล้องกับสถาปัตยกรรมในแต่ละ ท้องถิ่น แต่การถ่ายทอดดังกล่าวนั้นมีนัยยะ ของการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมมากกว่าการ

บีบบังคับทางการเมืองการปกครอง ดังนัน้ แม้วา่ ไทยและดินแดนล้านนาจะไม่เคยตกเป็นเมืองขึน้ ของชาติตะวันตก แต่การเปิดรับศิลปะและ วัฒนธรรมของชาติอื่นก็ยังดำ�เนินสืบเนื่องมา ในทุกยุคทุกสมัย หนังสือเล่มนี้จัดทำ�ขึ้นเพื่อบันทึกรูปร่าง หน้าตาของอาคารทางประวัติศาสตร์ ประกอบ ด้วยภาพหลากสีสันที่วาดขึ้นด้วยสีนํ้าพร้อมกับ คำ�บรรยายที่กระชับได้ใจความและเข้าใจง่าย เนื้อหาแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ต่างๆ ตามลำ�ดับ เวลาพร้อมเหตุผลของการเปลีย่ นแปลง อันได้แก่ เรือนไทยทรงเครือ่ งเทศ ยุคสมัยไม้สกั ทอง เฮือน สมัยในเชียงใหม่ ตึกฝรัง่ ในเชียงใหม่ เสน่หย์ า่ น บ้านเรือนคหบดี และฟืน้ อดีต... ก่อนจะเลือนหาย นอกจากนี้หนังสือยังจัดทำ�ขึ้นเป็นสองภาษา คือภาษาไทยและอังกฤษ เพือ่ สืบทอดเจตนารมณ์ ของผู้เขียนที่ตั้งใจจะส่งต่อความมีชีวิตชีวาของ เมืองเชียงใหม่จากรุ่นสู่รุ่น


CREATIVE RESOURCE วัตถุดิบทางความคิด

BOOK

DVD

MAGAZINE

ปัน้ ดิน กินข้าว

LOST IN THAILAND กำ�กับโดย Xu Zheng

BLOOM

ไม่ใช่แค่ภาพวาดกราฟิกสีนํ้าของอาหารเหนือ ที่แลดูสีสันสดใสน่ารับประทานที่ทำ�ให้อยาก ซื้อหาหนังสือเล่มนี้เก็บไว้ หากแต่เป็นความ น่ารักและช่างบรรยายของผู้เขียนที่สะท้อนถึง ความรักและความอบอุ่นซึ่งถูกส่งต่อผ่านคน สามรุ่นในบ้าน “แม่ปั้นดิน พ่อทำ�สวน” หลังนี้ บ้านของคุณพ่ออนงค์และคุณแม่ฉลวยยังแบ่ง พื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นโฮมสเตย์สำ �หรับแขกผู้มา เยือนที่ต้องการสัมผัสวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของ ชาวแม่ริมอย่างแท้จริง นอกจากผู้อ่านจะได้รับ ความรู้เกี่ยวกับพืชผักและสูตรอาหารที่ทำ�กิน เองภายในครอบครั ว ของชาวล้ า นนาแล้ ว หนั ง สื อ เล่ ม นี้ ยั ง บรรยายถึ ง ที่ ม าที่ ไ ปของ วัตถุดบิ ส่วนใหญ่ทน่ี �ำ มาทำ�อาหาร เช่น การเก็บ พืชผักสมุนไพรในสวนของบ้านมาใช้ การซื้อ ไข่ไก่จากฟาร์มใกล้บ้าน รวมถึงกิจกรรมที่ทาง บ้านจัดขึ้นโดยให้แขกผู้มาพักไปจ่ายตลาดเพื่อ กลับมาทำ�อาหาร เป็นต้น ทำ�ให้เห็นภาพการ กระจายรายได้ที่เกิดขึ้นภายในชุมชน และเป็น อี ก หนึ่ ง ช่ อ งทางในการเชื่ อ มความสั ม พั น ธ์ ระหว่างคนในชุมชนเพือ่ กระตุน้ เศรษฐกิจอีกด้วย

อาจด้วยเหตุผลในแง่ของการเป็นเมืองที่มีจุด สมดุลระหว่างความเก่า ความร่วมสมัย และ ความเป็นธรรมชาติอย่างลงตัว ภาพยนตร์หลาย เรื่องจึงปักหลักสร้างเรื่องราวโดยใช้เอกลักษณ์ ของเมืองเชียงใหม่เป็นฉากหลัง ทั้งภาพยนตร์ ในประเทศและภาพยนตร์จากต่างประเทศ โดย เมือ่ ปลายปีทผ่ี า่ นมา มุมมองความเป็นเชียงใหม่ เพิ่งถูกนำ�มาใช้เป็นฉากหลังอีกครั้งผ่านการ ตีความของนักสร้างภาพยนตร์ชาวจีน ทีเ่ ล่าเรือ่ ง นักธุรกิจชาวจีนสองคนซึ่งเป็นคู่แข่งกันและต้อง เข้ามาตามหาประธานบริษทั ทีก่ �ำ ลังพักผ่อนอยูท่ ่ี เมืองไทย ฉากการผจญภัยและบททีส่ นุกสนาน รวมถึงเบื้องหลังที่เติมเต็มเรื่องราวความมีชีวิต ชีวาตามแบบฉบับคนไทยและเชียงใหม่ ไม่ว่า จะเป็นมวยไทย การขี่ช้าง การปล่อยโคม หรือ สาวประเภทสอง ทำ�ให้ภาพยนตร์เรื่องนี้กวาด รายได้ไปกว่า 6,000 ล้านบาทในจีน ทัง้ ยังส่งผล ต่อเนื่องถึงธุรกิจท่องเที่ยวของเมืองเชียงใหม่ ซึง่ เป็นโลเคชัน่ หลัก โดยในช่วงตรุษจีนทีผ่ า่ นมา มีนักท่องเที่ยวชาวจีนไปเที่ยวเชียงใหม่เพิ่มขึ้น กว่าสามเท่าตัวเพื่อตามรอยภาพยนตร์ รวมถึง มีเที่ยวบินบินตรงสู่เชียงใหม่กว่า 21 เที่ยว ทั้ง จากคุนหมิง ฮ่องกง และมาเก๊า

นพบุรีศรีนครพิงค์ หรือเมืองแห่งดอกไม้บาน ตลอดปี เป็นอีกหนึง่ ชือ่ เรียกของเชียงใหม่ ด้วย สภาพอากาศและภูมิประเทศที่เอื้อต่อการเป็น แหล่ ง เพาะพั น ธุ์ ด อกไม้ ร วมถึ ง พื ช พรรณ เมืองหนาว ทำ�ให้นอกจากมหกรรมพืชสวนโลก และงานมหกรรมไม้ดอกไม้ประดับซึง่ ถือเป็นงาน ประจำ�ปีท่เี รียกนักท่องเที่ยวจากทั่วสารทิศแล้ว เชียงใหม่ยังสร้างมูลค่าการส่งออกดอกไม้สด อย่างลิลลี่หรือกล้วยไม้ได้มหาศาลเช่นกัน โดย ดอกไม้ เ หล่ า นี้ จ ะถู ก ส่ ง จากเชี ย งใหม่ ไ ปยั ง ปากคลองตลาดซึง่ เป็นศูนย์กลางการค้าดอกไม้ หลักก่อนจะกระจายไปยังจุดต่างๆ ทั่วประเทศ เช่ น เดี ย วกั บ นิ ต ยสารเนื้ อ หาเฉพาะเล่ ม นี้ ซึ่ ง โฟกัสเนือ้ หาหลักของเทรนด์ผา่ นการดึงลักษณะ เด่นของดอกไม้และพืชในเรือนกระจกมาเป็น แรงบันดาลใจหลัก มีการใช้ภาพของดอกไม้เพือ่ เชือ่ มโยงกับภาคธุรกิจออกแบบอืน่ ๆ ไม่วา่ จะเป็น การออกแบบแฟชั่น เฟอร์นิเจอร์ บรรจุภัณฑ์ กระทัง่ ธุรกิจเครือ่ งสำ�อางและอาหาร ซึง่ สามารถ เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ใช้ตีความ รวมถึงขยาย ภาคธุรกิจที่ไม่ได้จำ�กัดอยู่เพียงดอกไม้สด หาก แต่ยงั เป็นลูท่ างสูค่ วามสำ�เร็จอืน่ ๆ โดยใช้ความ งดงามของดอกไม้เป็นตัวดำ�เนินเรื่องหลัก

โดย วิชุลดา นิลม่วง

มีนาคม 2556

l

Creative Thailand

l9


MATTER วัสดุต้นคิด

02

04

03

01

06

สินทรัพย์

05

วัสดุเชียงใหม่ เรื่อง: Material ConneXion® Bangkok

เชียงใหม่เป็นเมืองหัตถกรรมสร้างสรรค์ที่ได้รับการประกาศให้เป็น “หนึ่งในสิบเมืองต้นแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศไทย” ใน พ.ศ. 2554 หากกางแผนที่ดูแหล่งผลิตหัตถกรรมต่างๆ จะพบว่ามีผู้ประกอบการเป็นจำ�นวนมาก ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มคนท้องถิ่น หรือนักออกแบบต่างถิน่ ทีต่ า่ งพากันสร้างสรรค์ผลงานจนเป็นทีย่ อมรับของตลาดทัง้ ในและต่างประเทศ ดังทีเ่ ห็นได้จากฐานข้อมูลวัสดุ Material ConneXion® ห้องสมุดวัสดุเพื่อการออกแบบ Material ConneXion® Bangkok ซึ่งปัจจุบันมีวัสดุจากเชียงใหม่ที่ ผ่านการคัดเลือกแล้วกว่าสิบวัสดุ

01 แผ่นเซรามิกเขียนลวดลายด้วยมือ (MC# 6810-01)

กระเบือ้ งเซรามิกทำ�จากดินและแร่ธาตุธรรมชาติ 100 เปอร์เซ็นต์ นำ�มาอัด เป็นแผ่นรูปร่างต่างๆ ก่อนจะนำ�ไปเขียนลวดลายด้วยมือ จากนัน้ จึงนำ�ไป เผาเคลือบในเตาที่อุณหภูมิ 1,220 องศาเซลเซียส ทำ�ให้ได้แผ่นวัสดุที่มี ความคงทน นํ้าหนักเบา และดูดซึมนํ้าตํ่า • กระเบื้องไม้งาม 77/8 หมู่ 3 ต.สันกลาง อ.สันกำ�แพง

02 ไม้สักแกะสลัก (MC# 6904-01)

ไม้สักจากป่าปลูกที่แกะลวดลายด้วยมืออย่างประณีตสำ�หรับใช้ในงาน ตกแต่ง มีสามสีให้เลือกได้แก่ สีธรรมชาติ โอ๊กอ่อน และโอ๊กเข้ม สามารถ นำ�ไปแปรรูปได้โดยใช้เครือ่ งมือช่างไม้ รวมทัง้ ทำ�สีและติดกาวได้ตามปกติ • Deco Moda Studio 2 ซ.1 ถ.นิมมานเหมินท์ ต.สุเทพ อ.เมือง

03 กระดาษจากมูลสัตว์ (MC# 6782-01–MC#6782-04)

กระดาษทำ�มือจากมูลสัตว์และเส้นใยเซลลูโลสรีไซเคิลนี้ มีส่วนประกอบ เป็นมูลสัตว์ที่ได้มาจากสวนสัตว์เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี นำ�มาตากแดดจน แห้ง ผ่านกระบวนการฆ่าเชือ้ และนำ�ไปผสมรวมกับเปลือกไม้และกระดาษ รีไซเคิลอื่นๆ เพื่อผลิตเป็นเยื่อกระดาษ ก่อนย้อมสีที่ปราศจากสารอะโซ นํ้าทิ้งจากกระบวนการผลิตยังถูกนำ�ไปใช้เป็นปุ๋ย • G-Create 112/8 หมู่ 6 ต.ต้นเปา อ.สันกำ�แพง 10 l

Creative Thailand

l มีนาคม 2556

04 ผ้าไหมและฝ้ายทอมือสีธรรมชาติ (MC# 6636-01)

ผ้าย้อมสีธรรมชาติทไ่ี ด้จากไม้มะเกลือ ให้เฉดสีตง้ั แต่เทาอ่อนไปจนถึงนา้ํ ตาล และดำ� สีมะเกลือนีเ้ หมือนกับสีครามตรงทีส่ ามารถย้อมเย็นได้ จึงใช้พลังงาน ในการผลิตตํ่า มีความทนทานต่อรังสียูวี ต้านแบคทีเรีย และสีไม่ซีดจาง • Lanna Brown 30/1-2 ซ.กำ�แพงดิน 1 ต.ช้างคลาน อ.เมือง

05 ผ้าทอมือจากด้ายไหมและฝ้ายที่ปั่นด้วยมือ (MC# 6915-01)

ผ้าทอนา้ํ หนักเบามีลวดลายและผิวสัมผัสให้เลือกมากมาย รวมทัง้ สีสนั ต่างๆ ทัง้ ทีไ่ ด้จากพืชธรรมชาติและสียอ้ มเคมีทป่ี ลอดภัย มีคณุ สมบัตคิ วามคงทน ของสีที่ดี มีทั้งชนิดทอด้วยด้าย 1, 2 และ 4 เส้น เหมาะสำ�หรับทำ�เสื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์ ม่าน และสิ่งทอตกแต่งบ้าน • เพียรกุศลไหมและฝ้าย 56/3 หมู่ 3 ถ.เชียงใหม่-สันกำ�แพง ต.สันกลาง อ.สันกำ�แพง

06 ผ้าทอมือทำ�จากกิ่งอะตู (MC# 5786-01-MC# 5786-02)

ผลิตภัณฑ์จากอะตูทเ่ี สร็จแล้วจะถูกนำ�ไปรมควันด้วยเปลวทีเ่ ผานํา้ ผึง้ และ มะพร้าวเพือ่ ให้เป็นสีทอ่ี บอุน่ ผ้าทำ�จากกิง่ อะตูรอ้ ยละ 70 และฝ้ายร้อยละ 30 สามารถนำ�ไปใช้ตกแต่งทีพ่ กั อาศัยเป็นวัสดุปดิ ผนัง ปูโต๊ะ และรองจาน • Kampan Lanna 192/2 หมู่ 4 ต.บ้านแหวน อ.หางดง พบกับหลากหลายวัสดุได้ที่ห้องสมุดวัสดุเพื่อการออกแบบ Material ConneXion® ChiangMai TCDC เชียงใหม่ เมษายนนี้


© Dr.Joseph F. Rock/National Geographic Society/CORBIS

CLASSIC ITEM คลาสสิก

เรื่อง: พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์

กาด

พื้นที่ที่มีความใกล้ชิดกับวิถีชีวิตผู้คน ห้องเรียนวิชาเศรษฐกิจชุมชนขั้นพื้นฐาน แหล่งรวมการสื่อสารแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ประเพณี ไปจนถึงความเชื่อ โกดังใหญ่ที่ลำ�เลียงสินทรัพย์พื้นถิ่นสู่ตลาดบริโภค และเวทีที่ถ่ายทอดเรื่องราวด้านวัฒนธรรมพาณิชย์ที่สืบต่อ มารุ่นแล้วรุ่นเล่า อาจเป็นนิยามโดยรวมของรูปแบบกิจกรรมที่เกิดขึ้นอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันในแหล่งศูนย์รวมการค้าทีเ่ รียกว่า “กาด” หรือ “ตลาด” นั่นเอง • กาดที่ เ ก่ า แก่ แ ละอยู่ คู่ เ มื อ งเชี ย งใหม่ ม านานนั บ ศตวรรษ นอกจากกาดประตูเชียงใหม่ที่ก่อตั้งขึ้นมา พร้อมๆ กับการสถาปนาเมืองก็คือ กาดหลวงหรือ ตลาดวโรรส บนถนนช้างม่อย-ท่าแพ ทีจ่ �ำ หน่ายข้าวของ เครื่องใช้แทบทุกชนิด และยังเป็นกาดยอดนิยมของ นักท่องเที่ยวที่มักมาหาซื้อของฝากอาหารพื้นเมือง กาดหลวงยั ง เป็ น ศู น ย์ ก ลางของรถสองแถวที่ ค อย อำ�นวยความสะดวกให้คนที่อยู่ต่างอำ�เภอได้มาจับ จ่ายซื้อของ • บริเวณกาดหลวงเคยเป็นข่วงเมรุหรือสุสานเก่าของ เจ้านายฝ่ายเหนือ ก่อนทีจ่ ะมีการย้ายสุสานไปรวมกันไว้ ทีว่ ดั สวนดอกใน พ.ศ. 2452 และพัฒนาพืน้ ทีน่ ข้ี น้ึ เป็น กาดในปีต่อมา ชื่อกาดวโรรสนั้นเป็นพระนามของเจ้า อินทวโรรสสุรยิ วงศ์ เจ้าผูค้ รองนครเชียงใหม่พระองค์ท่ี 8 • ความน่าสนใจของกาดหลวง กาดต้นลำ�ไย และ กาดเจ๊กโอ้วทีต่ ง้ั อยูใ่ กล้กนั คือการทำ�มาหากินร่วมกัน อย่างลงตัวระหว่างชุมชนชาวจีน ชาวพื้นเมือง และ ชาวซิกข์ โดยชาวจีนและชาวพืน้ เมืองจะขายของจิปาถะ ทั้งของกินและของใช้อยู่ในตลาด ส่วนชาวซิกข์จะตั้ง ร้านขายผ้าเมตรจากโรงงานอยู่รอบนอกตลาดจาก ตรอกเล่าโจ๊วอ้อมไปทางถนนช้างม่อย ปัจจุบันกาด แต่ละแห่งก็ยงั มีกลุม่ ลูกค้าคนละกลุม่ ชัดเจน กาดหลวง เป็นศูนย์กลางของผ้านานาชนิดและเป็นศูนย์กลาง สินค้าของฝาก ส่วนกาดเจ๊กโอ้ว เป็นศูนย์กลางสินค้า

จากโรงงานทั้งสินค้าอุปโภคและบริโภค ขณะที่กาด ต้นลำ�ไย เป็นศูนย์กลางของพืชผลทางการเกษตรและ เนือ้ สัตว์ นอกจากนีก้ ย็ งั มีกาดดอกไม้ ทีจ่ �ำ หน่ายดอกไม้ สวยงามเช่นเดียวกับปากคลองตลาดในกรุงเทพฯ ไว้ ให้บริการผู้คนตั้งแต่เช้ายันดึก • ความเข้มแข็งทางการค้าและการเป็นศูนย์กลาง ที่สะท้อนเรื่องราวด้านวิถีชีวิตและวัฒนธรรม ทำ�ให้ นาวิน ลาวัลย์ชัยกุล ศิลปินไทยเชื้อสายอินเดียที่เกิด และเติบโตในครอบครัวค้าขายทีก่ าดหลวง จัดนิทรรศการ “มหากาด มหัศจรรย์ศิลปะกลางตลาดฉลอง 100 ปี กาดหลวงวโรรส” ขึ้นใน พ.ศ. 2553 เพื่อนำ�เสนอ เรื่องราวของ “กาด” ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ถ่ายทอดวิถีชีวิต ผู้คนหลากหลายเชื้อชาติที่ต่างผูกพันกับตลาดคู่เมือง ผ่านภาพถ่าย ภาพวาด และวีดีทัศน์สารคดีบอกเล่า เรือ่ งราวความทรงจำ�ของชุมชนต่างๆ ในอดีตของย่าน กาดและเมืองเชียงใหม่ • วิวัฒนาการของสินค้าและบริการ บวกกับวิถีชีวิต ของผู้คนที่เปลี่ยนแปลง ทำ�ให้ชาวเชียงใหม่มีกาดที่ ตอบสนองความต้องการของตนเองเพิ่มมากขึ้น เช่น กาดประตูเชียงใหม่ กาดต้นพยอม กาดสมเพชร กาด ธานินทร์ กาดสันป่าข่อย และกาดแม่เหียะ ที่ต่างก็ จำ�หน่ายสินค้าเช่นเดียวกับกาดหลวงเพื่อกระจาย ความหนาแน่นของผูท้ ม่ี าจับจ่าย นอกจากนี้ ยังมีกาด คำ�เที่ยงที่ขายต้นไม้ สัตว์เลี้ยง และของโบราณ

• “กาดนัด” และ “ถนนคนเดิน” นับเป็นพืน้ ทีท่ ด่ี งึ ดูด ผู้คนจากถิ่นใกล้ไกลให้มาพบกันด้วยการนำ�สินค้ามา แลกเปลีย่ นซือ้ ขาย และเป็นอีกหนึง่ รูปแบบของกาดใน เชียงใหม่ทพ่ี ฒั นาไปตามกระแสความนิยมของเมือง เช่น ข่วงเกษตรอินทรีย์ ถนนเลียบคลองชลประทานที่ขาย เฉพาะผลผลิตออร์แกนิกจากไร่ให้กบั ผูท้ ใ่ี ส่ใจเรือ่ งสุขภาพ หรือกาดนัดสินค้ามือสองข้างโรงเรียนปรินส์รอแยลส์ ทีจ่ �ำ หน่ายสินค้ามือสองราคาย่อมเยาหลากชนิด รวมถึง บรรดาถนนคนเดินทีเ่ ป็นสีสนั ใหม่ๆ ของเมืองอย่างถนน คนเดินท่าแพ และถนนคนเดินวัวลาย เป็นต้น • กาดเมืองใหม่ บริเวณถนนเมืองสมุทร นับเป็นอีก หนึ่ ง ตลาดเก่ า แก่ ที่ มี ค วามสำ � คั ญ อย่ า งยิ่ ง ต่ อ การ ขับเคลือ่ นธุรกิจการค้าในเชียงใหม่ ในฐานะตลาดขายส่ง ที่มีสินค้าแทบทุกชนิด ก่อนที่จะกระจายต่อไปยังกาด อืน่ ๆ ทัง้ ในและต่างจังหวัด กาดแห่งนีจ้ งึ มีความคึกคัก อยู่แทบตลอด 24 ชั่วโมง ที่มา : บทความ มหากาด 100 ปีกาดหลวงของคนเชียงใหม่ : เสน่ห์หลากหลายเหนือ Modern Trade โดย อาคม (27 ธันวาคม 2553) จาก oknation.net บทความ ตลาดวโรรส (กาดหลวง) มหากาดแห่งเมือง เชียงใหม่ โดย The TripPacker (28 กันยายน 2554) จาก library.cmu.ac.th map-chiangmai.com navinproduction.com thetrippacker.com มีนาคม 2556

l

Creative Thailand

l 11


COVER STORY เรื่องจากปก

เชียงใหม่ หลายมุม เรื่อง: วิสาข์ สอตระกูล ภาพ: อดิเดช ชัยวัฒนกุล และ ศิรษา บุญมา

“เชียงใหม่เป็นเมืองเล็กๆ ที่ทำ�ให้เรามีโอกาส ได้เจอคน ได้มีเวลาให้แก่กัน ได้คิดได้ทำ�อะไร ต่างๆ ที่เราทำ�ไม่ได้ในเมืองใหญ่ๆ มันเป็นเรื่อง ของวิถีชีวิตที่แตกต่างไปจากเมืองใหญ่ที่ผม เคยอยู่” ฤกษ์ฤทธิ์ ตีระวนิช

ศิลปิน Relational Aesthetics

12 l

Creative Thailand

l มีนาคม 2556


“เมืองนี้มันมีบรรยากาศ มีพื้นที่สีเขียว และต้นไม้ จะไปไหนมาไหนก็สะดวก ที่สำ�คัญมันมีกลุ่มเพื่อน มีคอมมูนิตี้ มีคนที่สื่อสารและพูดจาภาษาเดียวกัน” อุดมศักดิ์ กฤษณมิษ

ศิลปิน Abstract Expressionism

นี่คือสองมุมมองจากสองศิลปินไทยระดับโลกที่ พลอย มัลลิกะมาส นักเขียนด้านธุรกิจวัฒนธรรมของ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) เขียนส่งมาถึงทีมเมื่อครั้งที่เธอขึ้นไปเยี่ยมเยือนเชียงใหม่เมื่อปลายปี 2010 ซึ่งนั่นก็เป็นช่วงเวลาใกล้ๆ กันกับที่ทาง TCDC เริ่มขับเคลื่อนโครงการศึกษาศักยภาพเชิงสร้างสรรค์ ของเชียงใหม่ “เมืองสำ�คัญอันดับสองของไทย” ทีเ่ ป็นหัวใจทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมของดินแดนภาคเหนือ พลอยกล่าวว่า “เชียงใหม่เป็นบ้านของศิลปินแนว Low profile, High profit” ซึง่ มันทำ�ให้เราอดสงสัยไม่ได้วา่ นอกจาก “คนเมือง” ที่อยู่กันมาแต่อ้อนแต่ออกแล้ว มนุษย์สร้างสรรค์เหล่านี้เขาสัมผัสถึงอะไร จึงได้เลือก เชียงใหม่เป็นที่ลงหลักปักฐาน เป็นบ้าน และเป็นที่สร้างงานสร้างชีวิต... มีนาคม 2556

l

Creative Thailand

l 13


COVER STORY เรื่องจากปก

“ล้านนาโปลิส” เคียงคู่แต่ไม่กลืนกิน เชื่ อ ว่ า คนรุ่ น ใหม่ ส่ ว นมากคงจะนึก ภาพเชียงใหม่เ ป็นเสมือ นหม้อ หลอมของวัฒนธรรมเก่าแก่ที่ผสานเข้ากับวัฒนธรรมเมื อง ร่ว มสมั ย ทุกวันนี้ ท่ามกลางสภาพของเมืองที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว เชียงใหม่มโี ครงการอสังหาริมทรัพย์ ทัง้ ห้างสรรพสินค้า คอมมูนิตี้มอลล์ ออฟฟิศสำ�นักงาน ฯลฯ ที่ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดทั่วเมือง หากคุณเดินไปตามตรอกซอกซอย คุณก็อาจได้พบกับ สถาปัตยกรรมโมเดิร์นรูปลักษณ์แปลกตา ที่ขึ้นผสมปนเปไปกับอาคารทรงล้านนาอนุรักษ์ กายภาพใหม่ๆ เช่นนี้เกิดขึ้นเพื่อ ตอบรับกับวิถีชีวิตและรสนิยมการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งถือเป็นสีสัน ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในนครเก่าแก่อายุกว่า 700 ปีนี้

ในวิถคี วามเปลีย่ นแปลงนี้ หลายคนอาจรูส้ กึ ถึงความกำ�กวม กระอักกระอ่วน และไม่แน่ใจว่านีค่ อื ทิศทางที่ “ใช่” สำ�หรับอดีตราชธานีลา้ นนาทีย่ งั งดงาม ในจินตนาการหรือไม่ ในขณะที่อีกหลายคนก็กลับมองว่า สถานการณ์ การแปลงเมืองที่กลิ่นอายวัฒนธรรมพื้นถิ่น ความแปลกไปจากถิ่นฐาน (Exotic) และความนุ่มนวลเนิบช้า จะต้องจับมือเคียงคู่ไปกับวิถีแบบเมือง (Urbanism) อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้นี้ มันช่างเป็นอะไรที่น่าตื่นเต้นเสียจริง แน่นอนว่าร้อยคนก็ร้อยความคิด แต่ไม่ว่าใครจะรู้สึกอย่างไร ขณะนี้ เชียงใหม่ก็เหมือนจะพิสูจน์ตัวเองได้ในระดับหนึ่งแล้วว่า การปรากฏอยู่ ของพลวัตสองแบบ อันได้แก่ เล็กๆแต่เปิดกว้าง เก่าแก่แต่ทนั สมัย เนิบช้า ทว่าสะดวกสบาย ฯลฯ มันได้เริ่มกลั่นตัวกลายเป็น “สินทรัพย์ใหม่” ของ เมือง และเป็นเสน่ห์ที่โลกปัจจุบันกำ�ลังโหยหาอยากเข้ามาสัมผัส

คนนอกที่มาเยือนเชียงใหม่ต่างก็กล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า เชียงใหม่ก�ำ ลัง อยู่ในช่วงการเปลี่ยนผ่านทางอัตลักษณ์ มันเป็นที่ที่ความเป็นท้องถิ่นแบบ ล้ า นนากำ � ลั ง เดิ น คู่ ข นานไปกั บ วิ ถี เ มื อ งใหม่ ที่ ง อกเงยขึ้ น ตามระบอบ โลกาภิวัตน์ เชียงใหม่ได้รับการโหวตจากผู้ใช้เว็บไซต์ tripadvisor.com ให้เป็น 1 ใน 25 เมืองที่น่ามาเยี่ยมเยือนที่สุดในโลก (World’s Best Destination 2012) และติดโผ 1 ใน 10 ของเมืองที่น่าอยู่ที่สุดในเอเชีย โดยนิตยสารเอเชียวีค (Asiaweek) รวมทั้งยังเป็นแคนดิเดทขององค์การยูเนสโก (UNESCO) ที่ กำ�ลังจะก้าวขึ้นสู่ฐานะเมืองสร้างสรรค์ (Creative City) ของโลกอีกด้วย

กายภาพเก่า VS วัฒนธรรมใหม่ นิทรรศการ “เล่าเรื่อง เมืองใหม่” สำ�รวจศักยภาพเพื่อการเติบโตของเมือง โดย TCDC พบว่าพื้นที่สำ�คัญหลายแห่งของเชียงใหม่ อาทิ ย่านสี่เหลี่ยมคูเมือง ย่านถนนนิมมานเหมินท์ และย่านซอยวัดอุโมงค์นั้น “มีรูปแบบวิถีชีวิตที่ซ้อนทับกันอยู่มากกว่าหนึ่ง” กลุ่ม คนสร้างสรรค์หน้าใหม่ที่เข้ามาใช้ชีวิตในพื้นที่เหล่านี้ ได้มีส่วนช่วยกันลบล้างภาพจำ�เดิมๆ ที่แน่นิ่งไร้มิติ และเปิดมุมมองใหม่ๆ ให้กับ สภาพแวดล้อม (จะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม) ซึ่งส่งผลให้คนเก่าแก่ในย่านเองเริ่มมองเห็นถึง “ศักยภาพซ่อนเร้น” ในพื้นที่ของตน อันจะเอื้อต่อการพัฒนาชีวิตและท้องถิ่นไปในทิศทางใหม่ๆ ได้

สีเ่ หลีย่ มคูเมือง: หลังเขตกำ�แพงอิฐโบราณทีเ่ ต็มไปด้วยวัดเก่า ร่องรอย ผู้ประกอบการหัวสร้างสรรค์จากเดนมาร์ก ฮานส์ บี. คริสเตนเซน (Hans ประวัติศาสตร์และอารยธรรมล้านนา ทุกวันนี้ “ย่านคูเมือง” กำ�ลังถูก แทรกซึมด้วยความสร้างสรรค์ใหม่หลายรูปแบบ โดยนอกจากธุรกิจ ออกแบบ โฆษณา สถาปนิก ฯลฯ ที่ท ยอยเข้าไปเปิดสำ � นั ก งาน เป็นจำ�นวนมากแล้ว ย่านคูเมืองยังมี “ผู้คนจากวัฒนธรรมอื่น” ที่ได้ เข้าไปตีความพืน้ ทีเ่ ก่าแก่น้ี เพือ่ การใช้งานในรูปแบบใหม่ๆ ด้วย ยกตัวอย่าง เช่น กลุ่มศิลปินสตรีทอาร์ตที่ใช้เขตคูเมืองเป็นเหมือนสนามเด็กเล่น นัดแนะกันปั่นจักรยาน เล่นสเก็ตบอร์ด และทำ�งานศิลปะบนกำ�แพง ร้านนอร์ธ เกทที่กลายเป็นแหล่งพบปะสังสรรค์ของคอดนตรีจากทั่วโลก ไปจนถึงร้านกาแฟ Ponganes ที่ประกาศจะสร้างวัฒนธรรมกาแฟคุณภาพ ขึน้ ทดแทนการขายของที่ระลึกราคาถูกข้างถนน หรือแม้แต่การมาถึงของ

14 l

Creative Thailand

l มีนาคม 2556

B. Christensen) ทีม่ าริเริม่ ธุรกิจจำ�หน่ายสินค้าหลากดีไซน์ถกู จริตคนรุน่ ใหม่ อย่าง Ginger และ The House Shop

นิมมานเหมินท์: การเกิดขึน้ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และการตัดถนน

สายหลักที่เชื่อมต่อตัวเมืองกับสนามบิน ได้ทำ�ให้ย่านนิมมานเหมินท์อัน เคยเป็นที่นารกร้าง ค่อยๆ ถูกแปรสภาพกลายเป็นย่านพักอาศัยชั้นดี ซึ่ง ต่อมาคุณลักษณะความร่มรื่นน่าอยู่ประกอบกับความสะดวกสบายที่ผู้คน เดินเท้าทะลุถึงกันได้หมดนี้ ก็ได้ทำ�ให้ถนนนิมมานฯ เติบโตกลายเป็น ศูนย์รวมของธุรกิจขนาดเล็ก และเป็นอีก “เดสทิเนชัน่ ” ของการท่องเทีย่ ว เราจะเห็นว่าตลอดทศวรรษทีผ่ า่ นมากลุม่ ธุรกิจบริการไม่วา่ จะเป็นร้านกาแฟ


COVER STORY เรื่องจากปก

สีเ่ หลีย่ มคูเมือง

ซอยวัดอุโมงค์ โรงแรมที่พัก สถานบันเทิง ฯลฯ ต่างก็หลั่งไหลเข้าตะครุบที่ดินและบ้าน หลังน้อยใหญ่ ภายในย่านทีป่ ระกาศขายทำ�กำ�ไรและหนีจากความวุน่ วาย จุดระเบิดให้ถนนนิมมานฯ กลายเป็น “ศูนย์กลางทางธุรกิจที่มีเงินสะพัด สูงสุด” อีกแห่งของเชียงใหม่ อย่างไรก็ดี แม้จะขึน้ ชือ่ ว่าเป็นโลเคชัน่ ทองสำ�หรับการค้า แต่กจิ กรรม ที่เกิดขึ้นจริงในทุกๆ วันของย่าน กลับมิได้ทำ�ให้มันเป็นเหมือน “ตลาด การค้าไร้วิญญาณ” ที่ผู้คนเข้ามาเพียงเพื่อจับจ่ายแล้วจากไป ที่น่าสังเกต คือ “ลักษณะทางกายภาพอันสวยงาม” รวมไปถึง “รสนิยมและทัศนคติ ของผู้ประกอบการภายในย่าน” ได้มีส่วนช่วยเร่ง “บรรยากาศของความ สร้างสรรค์” จนสามารถดึงดูดทั้งคนนอกและคนในให้ออกมาใช้พื้นที่ สาธารณะเพื่อการ “แลกเปลี่ยนความคิด” ระหว่างกันมากขึ้น ในทุกวันเราจะได้พบกับกลุ่มคนทำ�งาน “ฟรีแลนซ์” จำ�นวนมาก ที่ออกมานั่งคิดงาน นัดประชุม ฯลฯ ตามร้านกาแฟหรือร้านหนังสือ รวม ไปถึ ง ยั ง มี ก ลุ่ ม นั ก ศึ ก ษา/ประชาชนที่ นั ด รวมตั ว กั น เพื่ อ ทำ � โครงงาน สาธารณประโยชน์ต่างๆ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็น “กิจกรรม” ที่เอื้อต่อการ พัฒนาเมืองเชียงใหม่ให้เติบโต แถมยังช่วยให้ผู้ประกอบการรายย่อยใน ท้องถิ่น เช่น ร้านอาหารตามสั่ง รถเข็นขายเครื่องดื่ม ฯลฯ มีโอกาสอยู่ รอดเคียงคู่ไปกับร้านค้าราคาแพงที่เน้นตลาดนักท่องเที่ยวเป็นหลักด้วย

นิมมานเหมินท์

ซอยวัดอุโมงค์: แต่เดิมย่านซอยวัดอุโมงค์นี้เป็นพื้นที่สีเขียวที่หนาแน่น

ไปด้วยทิวไม้และเป็นที่ตั้งของสถานปฏิบัติธรรมหลายแห่ง เช่น วัดอุโมงค์ วัดโป่งน้อย และวัดรํ่าเปิง แม้ในปัจจุบันพื้นที่บริเวณนี้จะมีที่พักนักศึกษา และธุรกิจบริการใหม่ๆ เปิดตัวขึ้นเป็นจำ�นวนมาก (จนอาจเรียกได้ว่าเป็น “Metapolis” หรือ “เมืองซ้อนเมือง” ก็คงไม่ผิด) แต่จากสภาพโดยทั่วไป ที่ยังถือว่ามีความเป็นธรรมชาติสูงและมีพื้นที่ป่าขนาดย่อมของวัดอุโมงค์ ช่วยคั่นกลางความเจริญ ก็ทำ�ให้มีกลุ่มศิลปิน นักคิด และคณาจารย์ จำ�นวนไม่น้อยที่เข้าไปจับจองพื้นที่เพื่ออยู่อาศัย และสร้างคอมมูนติ เ้ี ล็กๆ ของตนขึน้ มา เช่น คามิน เลิศชัยประเสริฐ เจ้าของ 31st Century Museum ฤกษ์ฤทธิ์ ตีระวนิช ศิลปินร่วมสมัยทีโ่ ด่งดังระดับโลก กลุม่ Communista ร้านเสือ้ ผ้าและขนมอันเป็นแหล่งรวมคนทำ�งานฝีมอื รวมไปถึงคณะละคร หุ่นเงา Homemade Puppet Group ผู้เคลื่อนไหวเรียกร้องการพัฒนา อย่างสมดุลภายในย่าน ฯลฯ โดยกลุ่มคนสร้างสรรค์เหล่านี้ให้เหตุผลตรง กันว่า “ชื่นชอบในความสงบและวิถีชีวิตที่ยังใกล้ชิดกับธรรมชาติ แถมยัง เป็นโลเคชั่นที่ใกล้กับแหล่งความรู้ มีสถานปฏิบัติธรรม มีที่ทางให้แสดง ผลงาน และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กับคนในพื้นที่ได้” มีนาคม 2556

l

Creative Thailand

l 15


COVER STORY เรื่องจากปก

เมืองสร้างสรรค์ บ้านของทุกคน ปัจจุบันเชียงใหม่มีจุดแข็งในฐานะศูนย์กลางของหลายๆ สิ่งในภูมิภาค ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษาทั้งไทยและนานาชาติ การท่องเที่ยว ประวัติศาสตร์ อาหารการกิน วัฒนธรรมล้านนา รวมไปถึงทักษะงานฝีมือและกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความสร้างสรรค์ องค์ประกอบเล็กๆ ที่ปะติดปะต่อเข้าหากันนี้ ได้กลายเป็นแรงขับที่ทำ�ให้ภาพลักษณ์ความเป็น “เมืองน่าอยู่” ของเชียงใหม่ดูสุกสว่าง ขึ้นอย่างมากในช่วงสามสี่ปีที่ผ่านมา

จากการสำ�รวจของหน่วยวิจัยเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พบว่า ขณะนี้เมืองเชียงใหม่มีสถานกงสุลต่างชาติตั้งอยู่มากถึง 17 แห่ง (17 ประเทศ) ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าชาวต่างชาติเริ่มเล็งเห็นถึงศักยภาพของ พื้นที่นี้อย่างชัดเจน ทั้งในด้านการลงทุน การท่องเที่ยว และการใช้ชีวิต โดยในอดีตชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในเชียงใหม่แบบระยะยาว จะมี เป้าหมายด้านการลงทุนและการประกอบอาชีพเป็นหลัก แต่ในปัจจุบัน แนวโน้มนี้กำ�ลังเปลี่ยนไป มีชาวต่างชาติจำ�นวนมากขึ้นเรื่อยๆ ที่เกิด “ติดใจเชียงใหม่” และต้องการเข้ามา “อยู่อาศัย” ในเมืองนี้ด้วยเหตุผล ต่างๆ กัน อย่างไรก็ดี เหรียญทุกอันย่อมมีสองด้านเสมอ เฉกเช่นเดียวกับเมือง เชียงใหม่ที่แม้วันนี้จะตื่นตัวและเต็มไปด้วยเรื่องราวสร้างสรรค์ แต่มันก็ ยังมี “ข้อควรระวัง” และ “อุปสรรค” อีกหลายข้อที่ต้องก้าวข้ามไปให้ได้ จากการพูดคุยกับชาวต่างชาติที่เข้ามาพำ�นักอาศัยในหลายพื้นที่ทำ�ให้ เราได้ทราบถึงแง่มุมที่น่าสนใจจากสายตาของ “ผู้มาใหม่” ว่า “เชียงใหม่ จะเติบโตอย่างพอดีก็ด้วยการออกแบบทางกายภาพที่เอื้ออำ�นวย และยัง คงเก็บรักษาเอกลักษณ์ของเมืองเอาไว้ไม่ว่าจะในเรื่องการคมนาคมขนส่ง การออกแบบป้ายสัญลักษณ์ที่มีความเป็นสากล การใช้แนวคิด Universal design กับโครงสร้างต่างๆ เช่น ทางเท้า เป็นต้น” “หากมีการส่งเสริมบรรยากาศทีก่ ระตุน้ ความคิดสร้างสรรค์ และมีการ จัดกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมเพิม่ มากขึน้ ก็จะยิง่ ทำ�ให้เมืองๆ นีส้ ามารถ ดึงดูดคนวัยทำ�งาน นักท่องเที่ยวและนักลงทุนด้านศิลปวัฒนธรรม (และ อุตสาหกรรมสร้างสรรค์) เข้ามาเพิ่มได้อีก” ทรรศนะข้อหลังนี้สอดคล้อง กับการศึกษาของทีมงาน “เชียงใหม่เมืองสร้างสรรค์” (Chiang Mai Creative City-CMCC) ที่ว่า แม้ทุกวันนี้เชียงใหม่จะเป็นเสมือนบ้าน ของนักสร้างสรรค์หลายแขนง มีทั้งศิลปิน นักออกแบบ บริษัทขนาดเล็ก และคนทำ�งานฟรีแลนซ์ กระจัดกระจายอยู่ทั่วเมือง แต่ระดับของการ ลงทุนที่เป็นอุตสาหกรรมในด้านการออกแบบและนวัตกรรมนัน้ กลับถือว่า “น้อยมาก” ซึ่งหากเราใช้ไม้บรรทัดของทุนนิยมกระแสหลักมาเป็นตัวชี้วัด ปัจจัย ข้างต้นก็ถือเป็นโจทย์สำ�คัญข้อหนึ่งของการ “พัฒนาเมือง” ที่จะต้องมี เรือ่ งของขนาดเศรษฐกิจเข้ามาเกีย่ วข้อง โดยข้อเสนอแนะจาก CMCC ก็คอื หากเชียงใหม่ต้องการจะต่อยอดศักยภาพ สร้างความมั่งคั่ง และสร้าง บรรยากาศที่ดีในด้านอาชีพการงานให้กับพลเมืองรุ่นต่อๆ ไปแล้วล่ะก็ 16 l

Creative Thailand

l มีนาคม 2556

“จากการสำ�รวจเมื่อปี 2553 กลุ่มคนต่างชาติที่เข้ามามากที่สุด คือ ชาว อเมริกัน ญี่ปุ่น และเกาหลี ซึ่งสองกลุ่มหลังมีการเพิ่มจำ�นวนขึ้นอย่าง น่าจับตา โดยชาวญี่ปุ่นส่วนมากนิยมมาใช้ชีวิตสบายๆ หลังวัยเกษียณ เพื่อพักผ่อน ตีกอล์ฟ ฯลฯ ส่วนชาวเกาหลีนิยมพาบุตรหลานมาเข้า โรงเรียนนานาชาติและอยู่ดูแลลูกไปด้วย” หน่วยวิจัยเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คนเชี ย งใหม่ เ องน่ า จะต้ อ งตั้ ง หลั ก ให้ ค วามสำ � คั ญ กั บ การพั ฒ นาที่ “ยั่งยืน” มากขึ้นเช่นกัน ทั้งในด้านองค์ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ และ การส่งเสริมสิ่งที่เป็น “นวัตกรรม” ในพื้นที่ ฯลฯ ซึ่งในที่นี้มิได้หมายถึงใน ด้านเทคโนโลยีและไอทีเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมถึงการพัฒนากระบวน การคิดและกิจกรรมต่างๆ ที่จะเอื้อต่อการสร้างมูลค่าของทักษะและ ภูมิปัญญาที่มีอยู่เดิม การเพิ่มประสิทธิภาพแรงงาน และการสร้าง ความแตกต่างเชิงสัญลักษณ์ให้กับอุตสาหกรรมท้องถิ่นด้วย ล่าสุดกลุ่มเชียงใหม่เมืองสร้างสรรค์ (CMCC) ได้ริเริ่มการมอบรางวัล Chiang Mai Design Awards (CDA) ให้กับผู้ประกอบการท้องถิ่นที่มี การต่อยอดสินค้าและบริการได้อย่างโดดเด่น ทั้งจากแง่มุมทางวัฒนธรรม ทักษะฝีมือ นวัตกรรม วัสดุ และบุคลากรสร้างสรรค์ในพื้นที่ ซึ่งใน พ.ศ. 2555 ที่ผ่านมา มีผู้ที่ได้รับรางวัลดังต่อไปนี้ 1. กลุ่มสถาปัตยกรรม/การตกแต่งภายใน/ภาพลักษณ์ร้านค้า: โรงเรียน ปัญญาเด่น, ร้านโครงการหลวง (ถนนสุเทพ), โรงแรม 137 Pillars House และวีรันดาสปา 2. กลุ่มงานหัตถกรรมและสินค้าตกแต่ง: บัวผัด, EZA Design, Ginger Home, เตาเม็งราย, Onyx, สบเมยอาร์ต, Studio Kachama, Gerard Collection และ Nice Piece 3. กลุ่มแฟชั่นและเครื่องประดับ: Rubber Killer และ Metal Studio 4. กลุ่ม New Media และอื่นๆ: CM Map (โดยสำ�นักงานการท่องเที่ยว และกีฬา) Digital Zoo, Donot6 และเหล้าข้าวเหนียว Niikki Pure Spirit 5. รางวัลพิเศษด้านความคิดสร้างสรรค์และการสร้างแรงบันดาลใจ: โครงการ Chiang Mai Creative Public Space


COVER STORY เรื่องจากปก

CHINA

AUSTRALIA

IRELAND

USA

ENGLAND

KOREA

CMCC มองว่าแนวทางการพัฒนาสินค้าและบริการเหล่านี้ คือหนทางที่ จะช่ ว ยแก้ ปั ญ หาภาพรวมทางเศรษฐกิ จ ที่ เ ชี ย งใหม่ กำ � ลั ง เผชิ ญ อยู่ ในปัจจุบันได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องขนาดเศรษฐกิจไม่ค่อยขยายตัวและ ขาดความหลากหลาย การพัฒนาเชิงคุณภาพและอัตลักษณ์ในธุรกิจ

หัตถกรรมที่ยังอยู่ในระดับตํ่า การพึ่งพารายได้จากภาคการท่องเทีย่ วและ การเกษตรมากเกินไป (ซึ่งถือเป็นธุรกิจที่อ่อนไหวง่ายจากปัจจัยภายนอก รวมไปถึงการขาดตำ�แหน่งงานสำ�หรับแรงงานชั้นสูง ที่ทำ�ให้นักศึกษาที่ จบปริญญาจำ�นวนมากต้องออกไปหางานในกรุงเทพฯ และจังหวัดอืน่ ๆ เป็นต้น

มีนาคม 2556

l

Creative Thailand

l 17


COVER STORY เรื่องจากปก

ชีวิตดีๆ ที่ไม่เกินจริง การรับรู้ถึงศักยภาพและความท้าทายใหม่ๆ ของเมืองในวันนี้ ส่งผลให้เชียงใหม่ไม่ใช่จุดหมายการท่องเที่ยวที่นอนนิ่งอยู่กับที่ อีกต่อไป ผู้ค นจากทุกแขนงที่เข้ามาพึ่งพาอาศัยมันต่างก็ได้ หยิบยื่น “โจทย์” และ “ความต้องการ” ส่วนตัวที่ทำ�ให้เมืองๆ นี้ มีเรื่องราวต้องแก้ไขไม่รู้จบ

…การท่องเที่ยวจะยั่งยืนเพียงใดหากไม่มีสาธารณูปโภคพื้นฐานรองรับ? …ชุมชนจะอยูอ่ ย่างไรหากผูม้ าใหม่ขโมยคุณภาพชีวติ ไปจากผูอ้ ยูอ่ าศัยเดิม? …ทางรอดของงานหัตถกรรมอยู่ที่ไหนในวันที่ตลาดเก่าสูญหาย? แน่นอนว่ายังมีคำ�ถามอีกมากมายที่รอคอย “คำ�ตอบ” แต่ถึงกระนั้น เราเชื่อว่าการที่คนเชียงใหม่เริ่มหันมองเมืองตามบริบทของความเป็นจริง (โดยไม่ละเลยรากเหง้าและไม่ให้รากเหง้านั้นกลายเป็นโซ่พันธนาการ ความคิด) ก็น่าจะช่วยให้เชียงใหม่ค้นพบกับทิศทางการเติบโตที่ “สมดุล” สำ�หรับผู้คน “หนึ่งล้านเจ็ดแสนคน” ในวันนี้ได้ เพราะท้ายที่สุดแล้วคนที่เรียกเชียงใหม่ว่า “บ้าน” ไม่ว่าจะอยู่มาเก่า เข้ามาใหม่ ทำ�งานอะไร หรือมีเชือ้ สายใด ทุกคนก็ลว้ นอยากจะมีความสุข กับเชียงใหม่ในแบบของตน และพร้อมที่จะเป็น “ผู้ร่วมสร้าง” มากกว่า “ผู้ร่วมทำ�ลาย” อยู่แล้ว... หรือไม่จริง ที่มา: หน่วยวิจยั เมือง (City Research Unit) คณะสถาปัตยกรรมและการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กลุ่มเชียงใหม่เมืองสร้างสรรค์ (Chiang Mai Creative City) ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC)

18 l

Creative Thailand

l มีนาคม 2556


พบกับนิตยสาร Creative Thailand

ทุกสัปดาหแรกของเดือน ที่ TCDC รานหนังสือ หองสมุด อาคารสำนักงาน และรานกาแฟใกลบาน ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จังหวัดเชียงใหม หัวหิน และ Mini TCDC 13 แหงทั่วประเทศ กรุงเทพฯและปริมณฑล

รานหนังสือ สมาคม • Asia Books • สมาคมธนาคารไทย • รานนายอินทร • สมาคมโฆษณาแหงประเทศไทย • คิโนะคูนิยะ • สมาคมอุตสาหกรรมทอผาไทย • C Book (CDC) • สมาคมหอการคาไทย • แพรพิทยา • สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุงหมไทย • ศึกษิตสยาม • สมาคมสโมสรนักลงทุน • โกมล • สภาอุตสาหกรรมแหงประเทศไทย • สถาบันบุนกะแฟชั่น รานกาแฟ / รานอาหาร • สถาบันราฟเฟลส • Chaho • สถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน • คอฟฟ เวิลด • อาฟเตอร ยู เชียงใหม • ดอยตุง คอฟฟ • รานนายอินทร • October • โอ บอง แปง • รานเลา • Tea House Siam Celadon • ซัมทาม คอฟฟ • ACE! The Academy • ดอยตุง คอฟฟ • บานไรกาแฟ เอกมัย for education USA • Book Re:public • ทรู คอฟฟ • 94 Coffee • Little Cook Café • รานกาแฟวาวี • รานแฮปปฮัท • มหาวิทยาลัยเชียงใหม • Sweets Café • คาเฟ เดอ นิมมาน • สุริยันจันทรา • วีวี่ คอฟฟ • Kanom • The meeting room art café • แมคคาเฟ • รานมองบลังค • Things Called Art • Babushka • หอมปากหอมคอ • หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม • มิลลเครป • กูชาชัก & โรตี • หอการคาจังหวัดเชียงใหม • ไล-บรา-รี่ คาเฟ • จิงเกิ้ล • โรงแรมดุสิต ดีทู • ก.เอย ก.กาแฟ • Impresso Espresso • เดอะเชดี • อะเดยอินซัมเมอร Bar • บรรทมสถาน • ชีสเคกเฮาส • บานเส-ลา • คอฟฟ แอลลีย อิน เดอะ การเดน • Minimal • Luvv coffee Bar • Yesterday The Village • รมไมไออุน ทาวนอินทาวน • บานกามปู ทรอปคอล แกลเลอรี่ • Gallery Seescape • Hallo Bar • The Salad Concept • บานศิลาดล • ไอเบอรรี่ • Casa 2511 • Cotto Studio (นิมมานฯ) • Take a Seat • 9w Boutique Hotel • รานกวยเตี๋ยวเรือทุงพญาไท • กาแฟโสด • รานสวนนม • Good Coffee • ซูเฟ เฮาส เบเกอรี่ • Greyhound (Shop and Café) • กาแฟวาวี ทุกสาขา • ไหม เบเกอรี่ • ช็อกโก คาเฟ • ดับเบิ้ลซี คุกกี้ แอนด คอฟฟ • รานกาแฟบางรัก • Love at First Bite บายนิตา • Acoustic Coffee • เวียง จูม ออน • Hub 53 Bed & Breakfast • Mango Tango • Fern Forest Café • รานแกแฟ เพนกวิน เกตโต • I Love Coffee Design • Just Kao Soi โรงภาพยนตร / โรงละคร ลําปาง • อิฐภราดร • โรงภาพยนตรเฮาส • อาลัมภางค เกสตเฮาส • เมืองไทย รัชดาลัย เธียเตอร หัวหิน แอนด มอร • ภัทราวดีเธียเตอร • เพลินวาน • Egalite Bookshop • ชุบชีวา หัวหิน หองสมุด นาน • ทรู คอฟฟ หัวหิน • หองสมุดศศินทร จุฬาฯ • รานกาแฟปากซอย • ดอยตุง คอฟฟ • หองสมุดมารวย • Nan Coffee Bean • ทูเก็ตเตอรเบเกอรี่ • ศูนยหนังสือ สวทช. ภูเก็ต แอนดคาเฟ • SCG Experience • รานหนัง (สือ) ๒๕๒๑ • อยูเ ย็น บัลโคนี่ • The Reading Room • The Oddy Apartment • สตาร บ ค ั ส หอนาิ ก า พิพิธภัณฑ / หอศิลป • วรบุระ รีสอรท แอนด & Hotel • มิวเซียม สยาม เลย สปา • อุทยานการเรียนรู (TK park) • มาเลยเด เกสตเฮาส • หั ว หิ น มั น ตรา รี ส อร ท • หอศิลปวัฒนธรรม • บานชานเคียง • เลท ซี หั ว หิ น แหงกรุงเทพมหานคร • กบาล ถมอ รี ส อร ท โคราช • การเดน แกลเลอรี่ แอนด คาเฟ • บานใกลวงั • Hug Station Resort • นัมเบอรวัน แกลเลอรี่ • บานจันทรฉาย ปาย • HOF Art • ภัตตาคารมีกรุณา • รานเล็กเล็ก โรงแรม • ลูนา ฮัท รีสอรท • ราน all about coffee • หลับดี โฮเทล สีลม • The Rock • ปายหวานบานนมสด โรงพยาบาล • บานถั่วเย็น นครปฐม • โรงพยาบาลศิริราช (ถนนแนบเคหาสน) • Dip Choc Café • โรงพยาบาลปยะเวท • ราน Rhythm & Book อุทัยธานี • โรงพยาบาลกรุงเทพ • Booktopia • โรงพยาบาลเกษมราษฎร ประชาชื่น

หมายเหตุ: แสดงเพียงบางสวนของสถานที่จัดวางเทานั้น สามารถดูสถานที่จัดวางทั้งหมดไดที่ creativethailand.org

กระบี่

• A Little Handmade Shop

หมดปญหาหยิบนิตยสารไมทัน สมัครสมาชิกรายป โดยมีคาใชจายในการจัดสง 180 บาท (12 เลม) และรอรับนิตยสารสงถึงบาน (ถายเอกสารใบสมัครได)

ขอมูลผูสมัครสมาชิก

สมาชิกใหม

ชื่อ นามสกุล เพศ ชาย โโทรศั​ัพทบาน โทรสาร

สมาชิกเกา (ตองการตออายุสมาชิก)

*สำหรับสมาชิกเกาสามารถกรอกเพียง ชื่อและนามสกุล

หญิง อายุ โโทรศั​ัพทที่ทำำงาน โทรศัพทมือถือ

อีเมล

อาชีพ นักเรียน ครู/อาจารย

นิสิต/นักศึกษา พนักงานบริษัท

นักออกแบบ/ครีเอทีฟ ผูประกอบการ

อาชีพอิสระ อื่นๆ โปรดระบุ

ขาราชการ/รัฐวิสาหกิจ

สาขา/อุตสาหกรรมที่เกี่ยวของกับอาชีพของทาน โฆษณา สถาปตยกรรม แฟชั่น ศิลปะการแสดง ดนตรี ภาพยนตร โทรทัศน/วิทยุการกระจายเสียง

ทองเที่ยว/โรงแรม/สายการบิน วรรณกรรม/การพิมพ/สื่อสิ่งพิมพ พิพิธภัณฑ/หองแสดงงาน ซอฟตแวร/แอนิเมชัน/วิดีโอเกม

หัตถกรรม/งานฝมือ การเงิน/ธนาคาร ทัศนศิลป/การถายภาพ อื่นๆ โปรดระบุ

อาหาร การแพทย การออกแบบ

คาปลีก/คาสง โทรคมนาคม

ที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ จังหวัด

ซอย

ถนน รหัสไปรษณีย

หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง

อำเภอ/เขต

หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง

อำเภอ/เขต

ที่อยูในการออกใบเสร็จ เหมือนที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ ซอย จังหวัด

ถนน รหัสไปรษณีย

ตองการสมัครสมาชิกนิตยสาร Creative Thailand จำนวน 12 เลม เริ่มตั้งแตฉบับเดือน

โดยยินดีเสียคาใชจายในการจัดสงเปนจำนวนเงิน 180 บาท

วิธีการชำระเงิน (ระยะเวลา 1 ป จำนวน 12 เลม) เช็คสั่งจายนาม ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ พรอมใบสมัครสมาชิก โอนเงินเขาบัญชีออมทรัพย ธนาคารกรุงเทพ สาขาสำนักงานใหญสีลม เลขที่บัญชี 101-808967-0 ในนาม ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ กรุณาแฟกซใบสมัครพรอมใบนำฝาก-โอนเงินมาที่เบอร 02-664-7670 หรือสงไปรษณียมาที่ ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (Creative Thailand) 622 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอรชั้น 24 ถนนสุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 สอบถามขอมูลเพิ่มเติมไดที่ 02-664-7667 ตอ 122 สำหรับเจาหนาที่ Creative Thailand

สำหรับเจาหนาที่การเงิน

1. เลขที่สมาชิก ………………………………………. 2. วันที่ ………………………………………………… 3. เริ่มตั้งแตฉบับเดือน ……………………………….

1. เจาหนาที่การเงิน …………………………………. 2. วันที่ ………………………………………………… 3. วันที่โอนเงิน ………………………………………..


INSIGHT อินไซต์

เรื่อง: ดร.พีรดร แก้วลาย หน่วยวิจัยเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภาพ: TCDCCONNECT.COM

ในยุคที่ศักยภาพของการแข่งขันทางเศรษฐกิจของโลกวัดกันที่ ตัวเลขจีดพ ี ขี องแต่ละประเทศ และความสามารถในการแข่งขันของ ประเทศวัดกันที่ศักยภาพของเมือง การจัดอันดับความสามารถ ในการแข่งขันเมือง (Cities Competitiveness Rankings) ของหน่วยงานต่างๆ1 จึงสะท้อนให้เห็นถึงการมององค์ประกอบที่ เอือ้ ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างยัง่ ยืนในมิตทิ เ่ี ล็กลง “เมือง” พืน้ ทีท่ ม่ี ปี ระชากรอาศัยอยูเ่ ป็นจำ�นวนมากและเป็นศูนย์กลาง การค้าขาย ภายใต้ขอบเขตเมืองทีถ่ กู กำ�หนดขึน้ อย่างชัดเจนเพือ่ ความสะดวกในการบริหารจัดการ จึงกลายเป็นพื้นที่ที่ดัชนีและ ตัวชีว้ ดั ต่างๆ สามารถทำ�งานและสะท้อนภาพของกลไกขับเคลือ่ น เศรษฐกิจได้อย่างเป็นรูปธรรมทีส่ ดุ นอกเหนือจากมิตทิ างเศรษฐกิจ แล้ว การเปรียบเทียบเมืองผ่านดัชนี “ความน่าอยู่ (Livability)” ก็เป็นการเปรียบเทียบที่ทำ�กันมาอย่างต่อเนื่อง 2 โดยวัดกันที่ ความสะดวกสบาย คุณภาพชีวติ และโอกาสในการประกอบอาชีพ โดยคนที่มีความสามารถสูงหรือกลุ่มคนที่ “เลือกได้” ว่าจะอยู่ ที่ใดก็มักจะเลือกเมืองที่พอใจจะอยู่ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกงาน

20 l

Creative Thailand

l มีนาคม 2556

การวัดศักยภาพในการแข่งขันดังกล่าวทำ�ให้เมืองหลวงตกอยู่ในสภาพที่ ต้องแข่งขันและเกิดการเปรียบเทียบกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมืองหลวง ของหลายประเทศอยู่ ใ นภาวะอิ่ ม ตั ว และวุ่ น วายอยู่ กั บ ปั ญ หารายวั น ในการบริหารจัดการเมือง จึงเป็นเรื่องยากที่เมืองเหล่านั้นจะปรับจุดยืน หรือเปลีย่ นทัศนคติของประชากรเมือง (กว่าครึง่ ของประชากรมีภมู ลิ �ำ เนา อยูน่ อกพืน้ ทีห่ รือเป็นแรงงานต่างชาติ) ให้มงุ่ สูเ่ ป้าหมายใหม่ของเมืองเพือ่ สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ด้วยเหตุน้ี “เมืองลำ�ดับรอง (Second-tier cities)” ซึง่ ผ่านพ้นกระบวนการเปลีย่ นแปลงจากชนบทมาสูเ่ มืองได้ไม่นาน ทีม่ ภี าคประชาสังคมทีต่ น่ื ตัวต่อการเปลีย่ นแปลง และยังไม่มปี ญั หาหมักหมม เหมือนมหานคร ตลอดจนยังมีความเป็นชุมชนดัง้ เดิมทีเ่ ป็นภูมคิ มุ้ กันชัน้ ดี จึงกลายเป็นกลุ่มเมืองที่มีบทบาทมากขึ้นในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและ การสร้างสรรค์นวัตกรรมในทศวรรษที่กำ�ลังจะมาถึง ในประเทศไทย การจัดลำ�ดับของเมืองลำ�ดับรองหรือจังหวัดขนาดใหญ่ ด้วยดัชนีแบบเดิมที่คิดอยู่บนพื้นฐานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมแบบรับจ้าง ผลิต อาจทำ�ให้ไม่เห็นศักยภาพที่แท้จริงของแต่ละท้องถิ่น เมื่อประเทศ กำ � ลั ง เปลี่ ย นแปลงไปสู่ ร ะบบเศรษฐกิ จ ที่ มาจากความคิ ด สร้ า งสรรค์


INSIGHT อินไซต์

ดัชนีช้วี ัดศักยภาพของเมืองในปัจจุบันจะต้องเป็นดัชนีที่สะท้อนให้เห็น ถึงทักษะของประชากรเมือง สถานภาพของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และ สภาพแวดล้อมเมืองที่เอื้อต่อการทำ�งานและการสร้างสรรค์ ดังนั้นหาก ประเมินกันด้วยดัชนีดังกล่าวเมืองลำ�ดับรองหลายเมืองก็อาจมีศักยภาพ ทางเศรษฐกิจและการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่สูงกว่าเมืองใหญ่เมืองอื่น ก็ได้ และผลการประเมินนั้นอาจทำ�ให้เราต้องเปลี่ยนความคิดและความ เข้าใจที่เคยมีเกี่ยวกับเมืองนั้นๆ เสียใหม่ เมื่อสิ่งที่เมืองนั้นเป็นอาจไม่ใช่ สิ่งที่เราเห็นอีกต่อไป เชียงใหม่เป็นเมืองใหญ่ที่ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติรับรู้โดยทั่วกัน ว่าเป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม มีภูมิอากาศที่เย็นสบาย และตั้งอยู่ บนตำ�แหน่งที่ได้เปรียบในเชิงภูมิศาสตร์เมื่อมองในมิติของการค้าขาย ระหว่างประเทศ ทั้งหมดคือภาพที่ทุกคนรู้จักเชียงใหม่ แต่จากข้อมูลใน ปี 2553 งานวิจัยเมืองเชียงใหม่ของศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ 3 แสดง ให้เห็นว่า เมืองเชียงใหม่มกี ลไกและองค์ประกอบขับเคลือ่ นเมืองอีกหลายมิติ ที่มีส่วนในการกำ�หนดอนาคตเมืองในระยะเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจที่ มาจากความคิดสร้างสรรค์ การมีกลุม่ คนทำ�งานสร้างสรรค์ (Creative Class) ที่เข้มแข็งและมีกลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง เช่น กลุ่มธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ในพื้นที่ย่านนิมมานเหมินท์ซ่งึ เป็นกลุ่มที่มีศักยภาพ ในการพัฒนาสูง โดยกว่าร้อยละ 40 เป็นกลุ่มธุรกิจที่มีกระบวนการ ออกแบบและพัฒนาสินค้า และมีการจดลิขสิทธิ์มากกว่าอุตสาหกรรม สร้างสรรค์อื่นๆ นอกจากนั้นยังมีการสร้างแบรนด์เป็นของตนเองสูงถึง ร้อยละ 79 กลุ่มผู้ประกอบการมีความเข้าใจดีมากเกี่ยวกับการพัฒนา เศรษฐกิจสร้างสรรค์และอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ นอกจากนี้ยังเป็นกลุ่ม ทีม่ เี ครือข่ายชัดเจนและมีการทำ�งานร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะ กลุ่มนิมมานเหมินท์ซอย 1 ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีการรวมตัวอย่างแข็งแรงและ ต่อเนื่องในการเป็นฟันเฟืองสำ�คัญของการจัดกิจกรรมในพื้นที่ เช่น งาน นิมมานเหมินท์อาร์ตแอนด์ดีไซน์พรอมินาด (Nimmanhaemin Art & Design Promenade, NAP) ที่จัดต่อเนื่องกันจนปัจจุบันเป็นปีที่ 13 อี ก ปั จ จั ย หนึ่ ง ที่ มี ค วามสำ � คั ญ ในการสร้ า งและพั ฒ นาบุ ค ลากร สร้างสรรค์ให้กับเมืองเชียงใหม่ก็คือบทบาทของสถาบันการศึกษาระดับ อุดมศึกษา บัณฑิตทีจ่ บจากสถาบันการศึกษาในเมืองเชียงใหม่รอ้ ยละ 69 ตัดสินใจประกอบอาชีพและอาศัยอยู่ในเชียงใหม่ต่อ แม้ว่าจะมีภูมิลำ�เนา อยูใ่ นจังหวัดอืน่ รวมถึงบัณฑิตจากกรุงเทพฯ และจังหวัดอืน่ ๆ ก็หลัง่ ไหล เข้ามาเป็นผูป้ ระกอบการในเชียงใหม่ โดยส่วนหนึง่ เลือกทีจ่ ะทำ�งานอิสระ หรือที่เรียกกันอย่างคุ้นเคยว่า “กลุ่มฟรีแลนซ์” ซึ่งจะรับทำ�งานสร้างสรรค์ เกี่ยวกับสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยส่วนมากเป็นคนรุ่นใหม่อายุ 20-30 ปี และมักจะใช้พื้นที่ร้านกาแฟ ร้านเครื่องดื่ม หรือร้านหนังสือ เป็นที่นั่งทำ�งานประจำ�และเป็นที่พบปะแลกเปลี่ยนความคิดระหว่าง ลูกค้าและกลุ่มฟรีแลนซ์ด้วยกันเอง

การพึ่งพาอาศัยกันระหว่างกลุ่มฟรีแลนซ์และร้านกาแฟทำ�ให้เห็น การเจริ ญ เติ บ โตของธุ ร กิ จ ร้ า นกาแฟและการเพิ่ ม ปริ ม าณของนั ก สร้างสรรค์กลุ่มฟรีแลนซ์ที่สัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำ�คัญ โดยมีเทคโนโลยี ในการสื่อสารสมัยใหม่ไม่ว่าจะเป็นวายฟาย (Wi-Fi) หรือ 3G เป็นตัวช่วย สำ�คัญที่ทำ�ให้ฟรีแลนซ์ที่นั่งทำ�งานในร้านกาแฟในเมืองสามารถเชื่อมต่อ ธุรกิจและสื่อสารได้กับเครือข่ายลูกค้าทั่วโลก การเพิ่ ม ขึ้ น ของทรั พ ยากรบุ ค คลด้ า นเทคโนโลยี ส ารสนเทศใน เชียงใหม่นั้นไม่ได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ การก่อตั้งวิทยาลัยศิลปะ สื่อ และ เทคโนโลยี ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในปี 2546 นับเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ ของจังหวัดเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันในระดับภูมิภาค โดยมีเป้าหมายในการผลิตบุคลากรที่สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ อย่ างสร้ างสรรค์ เพื่ อ สนั บ สนุ น การดำ � เนิ น งานของกลุ่ มอุ ต สาหกรรม ท่องเที่ยวให้เป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งที่จะทำ�ให้เชียงใหม่พัฒนาไปข้าง หน้าอย่างรวดเร็ว ในอนาคตอันใกล้ เมืองลำ�ดับรองจะเป็นเมืองทีม่ บี ทบาทมากขึน้ ในการ ขับเคลือ่ นประเทศและเศรษฐกิจโลกในทศวรรษหน้า และการวัดศักยภาพ ในการแข่งขันของเมืองที่ให้ความสำ�คัญกับศักยภาพทางความคิดและ การสร้างสรรค์ของทรัพยากรบุคคล รวมทั้งสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นที่ เอื้อต่อการอยู่อาศัยและการทำ�งานจะเข้ามาแทนที่การประเมินศักยภาพ การผลิตแบบอุตสาหกรรม เมื่อการสร้างสรรค์ของท้องถิ่นและเศรษฐกิจ โลกเป็นเรื่องเดียวกัน ทุกองค์ประกอบของเมืองเชียงใหม่จะเป็นกลไก ขั บ เคลื่ อ นเศรษฐกิ จ ที่ สำ � คั ญอั น จะเพิ่ มศั ก ยภาพทางการแข่ ง ขั น ของ ประเทศไทยในระดับภูมิภาค ทั้งจะเป็นต้นแบบของการพัฒนาที่มาจาก รากฐานและศักยภาพของท้องถิ่นให้กับเมืองอื่นๆ ของประเทศต่อไป 1 หลายหน่วยงานที่เป็นที่ยอมรับในปัจจุบันในการวัดศักยภาพในการแข่งขันของ

เมือง เช่น อีโคโนมิสต์ อินเทลลิเจนซ์ ยูนิต (Economist Intelligence Unit) ของ นิตยสาร ดิ อีโคโนมิสต์ เดอะเมโทรโพลิเทน โพลีซี โพรแกรม ของ สถาบันบรูกคิงส์ (Brookings Institute) และซิตส้ี โคป 1.0 ของสถาบันแมคคินซีย์ โกลบอล (McKinsey Global Institute) 2 การจัดอันดับเมืองน่าอยู่ (Livable Cities) ของนิตยสารโมโนเคิล (Monocle) และการจัดอันดับของเมืองสร้างโอกาส (Cities of Opportunities) โดยหุ้นส่วนเพื่อ มหานครนิวยอร์ก (Partnership for New York City) 3 รายงานวิจัยแนวทางการพัฒนาเมืองเชียงใหม่สู่เมืองสร้างสรรค์ (2553) โดย ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC)

มีนาคม 2556

l

Creative Thailand

l 21


CREATIVE ENTREPRENEUR คิด ทำ� กิน

นิม่ ซีเ่ ส็ง... ขนส่งเพือ่ ขับเคลือ่ นวัฒนธรรม

เรื่องและภาพ: ภูริวัต บุญนัก

บุกเบิกเส้นทางการขนส่ง

ความล่าช้าของระบบการขนส่งด้วยรถไฟเมื่อ ประมาณปี 2500 มักทำ�ให้สนิ ค้าทางการเกษตร จำ � พวกผั ก และผลไม้ ที่ ทั้ ง ส่ ง ออกและนำ � เข้ า มายังเชียงใหม่ไม่ได้คุณภาพที่ดีที่สุด เนื่องจาก ขาดความสดใหม่ อั น เป็ น คุ ณ สมบั ติ ที่ สำ � คั ญ และจำ � เป็ น อย่ า งยิ่ ง สำ � หรั บ สิ น ค้ า ประเภทนี้ ทำ�ให้ร้านขายของชำ�เล็กๆ ร้านหนึ่งในตลาด วโรรสเลือกที่จะทำ�การขนส่งสินค้าด้วยตัวเอง ซึ่งมีความรวดเร็วกว่ามาก จนกลายมาเป็นจุด เริ่มต้นของ “นิ่มซี่เส็ง” หลั ง จากที่ เ ริ่ ม ขนส่ ง สิ น ค้ า ด้ ว ยตั ว เอง พ่อค้าแม่ค้ารายอื่นๆ ในตลาดวโรรส ก็มักจะ ฝากสินค้าข้าวของต่างๆ ไปกับรถขนส่งสินค้า ของนิ่มซี่เส็งด้วย ทำ�ให้สามพี่น้องตระกูลสุวทิ ย์ ศักดานนท์ คือ อุทัต อุทาน และอุดม สุวิทย์ ศักดานนท์ เริ่มมองเห็นช่องทางที่จะเปิดบริษัท ขนส่งอย่างเป็นทางการแห่งแรกขึ้นในเชียงใหม่ เพื่ อ ที่ ทำ � หน้ า ที่ รั บ ฝากและกระจายสิ น ค้ า สู่ภูมิภาคต่างๆ ในประเทศไทย รวมทั้งเปิด บริการด้านโลจิสติกส์อย่างเต็มรูปแบบ เช่น การเปิ ด ให้ เ ช่ า และการบริ ห ารคลั ง สิ น ค้ า ใน เวลาต่อมา “เพราะเราเร็วกว่า พอเขามีทางเลือก เขาก็มาใช้บริการของเรา มันไม่ได้มอี ะไรซับซ้อน หรอก เราเข้าใจธรรมชาติของลูกค้า คนมาใช้ บริการขนส่ ง ก็ ต้อ งการความรวดเร็วอยู่แ ล้ว แล้วเราก็ท�ำ หน้าทีข่ องเรา ให้ลกู ค้าพึงพอใจทีส่ ดุ ก็แค่นั้น” 22 l

Creative Thailand

l มีนาคม 2556

ด้วยความหลากหลายทางกายภาพ วัฒนธรรม และเศรษฐกิจที่ค่อยๆ เติบโตขึ้น อย่างเรียบง่าย ทำ�ให้ทุกวันนี้เชียงใหม่คือศูนย์กลางของภาคเหนืออย่างปฏิเสธไม่ได้ การกระจายตัวและการรวมเข้าสู่ศูนย์กลางดูจะเป็นเรื่องสำ�คัญในการขับเคลื่อนให้ เมืองๆ หนึ่งมีความเจริญมากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นมันยังสามารถกำ�หนดทิศทางเศรษฐกิจ ของเมืองได้อย่างชัดเจน และหนึง่ ในกิจกรรมทีด่ เู หมือนจะมีบทบาทสำ�คัญในการส่งต่อ และรับเข้ามานี้ก็คือระบบการขนส่งที่มีประสิทธิภาพสูงสุด บริษัทนิ่มซี่เส็งขนส่ง 1988 จำ�กัด จึงเกิดขึ้นเพื่อทำ�หน้าที่อันสำ�คัญในการส่งต่อผลผลิต สินทรัพย์ทางความคิด สร้างสรรค์ และวัฒนธรรมความเป็นเชียงใหม่ออกไปสู่ภายนอก รวมถึงการรับเอา ความเจริญจากต่างถิ่นสู่เชียงใหม่และจังหวัดในภาคเหนือ ซึ่งระบบบริการการขนส่งที่ ว่านี้เอง ที่ทำ�ให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างวัฒนธรรมและเศรษฐกิจอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

สินค้าคือไข่ในหิน

ในการขนส่งสินค้าทุกชนิด สิง่ ทีน่ ม่ิ ซีเ่ ส็งให้ความ สำ�คัญมากที่สุดก็คือ ความถูกต้องและรวดเร็ว ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจหลักของระบบการขนส่งใน ทุกขั้นตอน ตั้งแต่การรับของ การบรรจุหีบห่อ สินค้าให้ถูกประเภท ระบบการจัดเก็บที่ดี หรือ การติดตามสินค้าด้วยระบบจีพีเอส ซึ่งสามารถ ลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ ตลอดจน ความเสียหายต่อสินค้าและทรัพย์สิน เพื่อให้ สินค้าถึงมือผู้รับได้เร็วที่สุดในสภาพที่สมบูรณ์ ที่สุด “การจะส่งของให้รวดเร็วต้องลดขั้นตอน ทีย่ งุ่ ยาก ตัง้ แต่เรือ่ งการรับของ ไม่ตอ้ งมีเอกสาร มากมาย แค่มีชื่อผู้รับกับที่อยู่ แค่นี้ก็ส่งได้แล้ว เรามีจุดบริการที่ชัดเจน แยกประเภทสินค้าว่า สินค้าประเภทไหนไปขึน้ ตรงไหน พนักงานก็จะ แพ็กสินค้าส่งได้ถกู ต้อง การแพ็กของก็เป็นเรือ่ ง สำ�คัญ เพราะสินค้าจะได้รับความเสียหายหรือ ไม่ขึ้นอยู่กับตรงนี้ เราต้องประณีตหน่อย อย่าง พวกของที่แตกได้ ไม่ใช่ใส่กล่องสองชั้นแล้วจบ สินค้าบางอย่างมันต้องถึงห้าชั้นถึงจะปลอดภัย หรือของที่บรรจุกระสอบ พวกเสื้อผ้า เราก็มี วิธีมัดที่แน่นหนา ไม่ใช่ว่ามัดรวบๆ แล้วเวลา ขนส่งก็หลุดร่วง ทำ�ให้เสียเวลาโดยใช่เหตุ ส่วน ของสดหรือผลไม้สินค้าการเกษตร เราก็ต้องใช้ ตู้คอนเทนเนอร์ที่ควบคุมอุณหภูมิ เพื่อรักษา คุณภาพของมันไว้ อีกเรือ่ งก็คอื การติดตามสินค้า เราก็ใช้ระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วย รถทุกคัน ของเราติดจีพีเอส สินค้ามีแทรกกิ้งนัมเบอร์

สามารถรู้ได้ว่าสินค้ามีสถานะอย่างไร ลูกค้าก็ สบายใจได้”

ส่งต่อสินทรัพย์ไปให้ถงึ ดาวพลูโต

กว่า 40 ปีที่นิ่มซี่เส็งทำ�หน้าที่เป็นตัวกลางส่ง ต่อสินทรัพย์และความคิดสร้างสรรค์ออกจาก เชียงใหม่และจังหวัดทางภาคเหนือ ไปพร้อมๆ กับการนำ�สินค้าจากภูมิภาคอื่นๆ เข้ามาแลก เปลี่ ย นเพื่ อ สร้ า งความหลากหลายทาง เศรษฐกิจในระดับจังหวัดและระดับประเทศ มาวันนี้ นิ่มซี่เส็งกำ�ลังเตรีย มรับมือกับการ เปลี่ ย นแปลงครั้ ง ใหญ่ ที่ จ ะเกิ ด ขึ้ น ในแวดวง ธุรกิจการขนส่งของไทย นั่นก็คือการเกิดขึ้น ของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ซึ่งเป็น อีกหนึ่งโจทย์ที่ท้าทายให้นิ่มซี่เส็งต้องเร่งคิด พัฒนาระบบรวมถึงเส้นทางการขนส่งใหม่ๆ เพื่ อ ต่ อ ยอดความสำ � เร็ จ ในประเทศสู่ ร ะดั บ ภูมิภาคต่อไปในอนาคต “อีกหน่อยเราคงต้อง ไปให้ถึงดาวพลูโต เราอยากเป็น distributor (ผู้กระจายสินค้า) ที่ดีที่สุดในประเทศ สำ�หรับ เส้นทางภายในประเทศ ตอนนีเ้ รามีศนู ย์กระจาย สินค้าอยู่ทุกภาค ภาคเหนือมีทุกจังหวัด แค่นี้ ก็ครอบคลุมแล้ว ต่อไปเราก็เริ่มมองหาเส้นทาง ใหม่ๆ เพราะการขนส่งมันต้องไม่หยุดแค่ใน ประเทศแล้วจบ มันต้องไปให้ได้ไกลทีส่ ดุ เท่าที่ เราจะไปได้ อย่างตอนนี้เราเริ่มตีตลาดเส้นทาง R3A (เส้นทางเชือ่ มต่อระหว่างจีน ลาว และไทย)


CREATIVE ENTREPRENEUR คิด ทำ� กิน

ที่เริ่มมีการขนส่งบ้างแล้ว ต่อไปก็คือในระดับ อาเซียนซึ่งจะต้องมีเส้นทางขนส่งใหม่เกิดขึ้น แน่นอน และพอมันเกิดขึ้นมาจริงๆ เราก็ต้อง พร้อมที่จะเปิดตลาด ระบบขนส่งของเราต้อง พร้อม แล้วเราก็ต้องมีพันธมิตรที่เหนียวแน่น อย่างเช่นการร่วมมือกับบริษัทไปรษณีย์ไทย ในการบริการด้านโลจิสติกส์เพื่อเพิ่มศักยภาพ และเครื อ ข่ า ยการขนส่ ง สิ น ค้ า ให้ เ กิ ด ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และเพื่อเป็นการสร้าง โอกาสทางการแข่งขันโลจิสติกส์ไทยรองรั บ การเปิด AEC ในปี 2558 เราเคยส่งอาหาร กระป๋อง สตรอเบอร์รี่ หรือแหนมป้าย่นไปทั่ว ประเทศได้ ทำ�ไมเราจะส่งไปดาวพลูโตไม่ได้ละ่ ?” บริษัทนิ่มซี่เส็งขนส่ง 1988 จำ�กัด: nimtransport.com

มีนาคม 2556

l

Creative Thailand

l 23


CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

Ubud...

เรื่อง: ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ

แม้กาลเวลาจะนำ�พาความเปลี่ยนแปลงมาสู่ทุกสรรพสิ่ง แต่อูบุด (Ubud) ก็อ้าแขนโอบกอดศตวรรษที่ 21 ได้อย่างสง่างาม ด้วยการนำ�เสนอตนเองในรูปแบบเมืองเพื่อสุขภาพ ด้วยที่พักหลากหลายระดับ พิพิธภัณฑ์ศิลปะทั้งสมัยเก่าและร่วมสมัย สตูดิโอ โยคะ สปาเพื่อสุขภาพ ร้านอาหารและผลิตภัณฑ์ออร์แกนิก ในบรรยากาศวิถีชีวิตท้องถิ่นที่เรียบง่ายใกล้ชิดธรรมชาติ แต่เปี่ยมด้วย จิตวิญญาณที่ยึดมั่นในประเพณีและความเชื่ออันมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว อัญมณีเม็ดงามกลางมหาสมุทร

“บาหลี (Bali)” เกาะเล็กๆ ของอินโดนิเซีย ที่ ท อดตั ว ท่ า มกลางหมู่ เ กาะนั บ หมื่ น ใน มหาสมุทรอินเดีย ได้รับการขนานนามให้เป็น เกาะสวรรค์ ที่ เ ปี่ ย มด้ ว ยมนต์ เ สน่ ห์ เ ย้ า ยวน ดึ ง ดู ด ให้ ผู้ ค นนั บ ล้ า นหลั่ ง ไหลกั น เข้ า มาชม ความงามพิ สุ ท ธิ์ จ ากฝี มื อ การรั ง สรรรค์ ข อง ธรรมชาติอย่างไม่ขาดสาย ความงามอันเลื่องชื่อบนพื้นที่เกาะเล็กๆ เพียง 5,780 ตารางกิโลเมตรที่ได้ชื่อว่าเป็น อัญมณีแห่งมหาสมุทรอินเดีย ส่วนหนึ่งมีที่มา จากพิกัดซึ่งห่างจากเส้นศูนย์สูตรไม่มากนัก ก่อให้เกิดสภาพอากาศแบบเมืองร้อน ผนวกเข้า กับภูมิประเทศที่มีความหลากหลาย ทั้งยังมี ภูเขาไฟกุหนุงอากุง (Gunung Agung) ซึ่ง ระเบิดครั้งสุดท้ายเมื่อปี 1963 ทำ�ให้ผืนป่าของ บาหลีอุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุจากดินภูเขาไฟ จนได้ชื่อว่าเป็นดินแดนที่มีความหลากหลาย ทางชีวภาพสูงทีส่ ดุ แห่งหนึง่ ของโลก ตัง้ แต่ทงุ่ นา ขั้นบันไดเขียวขจี ไปจนถึงต้นมะพร้าวบนหาด ทรายขาวละเอียดริมชายฝั่งตัดกับสีฟ้าของนํ้า ทะเล รากเหง้าแห่งเอกลักษณ์

ภายใต้มนต์สะกดแห่งความงามทางธรรมชาติ ที่ชวนให้หลงใหล บาหลียังอาบไล้ด้วยแสงแดด แห่งจิตวิญญาณของผู้คนที่ยึดมั่นในความเชื่อ และธรรมเนี ย มปฏิ บั ติ อั น เป็ น เอกลั ก ษณ์ ไ ว้ อย่างเหนียวแน่น วิ ถี ชี วิ ต ของชาวบาหลี เ ป็ น ผลจากการ 24 l Creative Thailand l มีนาคม 2556

ตกผลึกทางความเชือ่ ดัง้ เดิม ศาสนา วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ แต่เดิมคนพืน้ ถิน่ ในหมูเ่ กาะ อิ น โดนี เ ซี ย มี ค วามเชื่ อ เรื่ อ งเทพเจ้ า และจิ ต วิญญาณที่สถิตอยู่ในธรรมชาติ ต่อมาเมื่อกลุ่ม พ่อค้าจากอินเดียตะวันออกเฉียงใต้เดินทางเข้า มาค้าขายจึงได้นำ�เอาศาสนาฮินดูเข้ามาด้วย ลัทธิต่างๆ ของฮินดูจึงค่อยๆ ขยายวงกว้าง ออกไป ตามมาด้วยศาสนาพุทธทีเ่ ข้ามาภายหลัง ยุครุ่งเรืองของอาณาจักรศรีวิชัย วัฒนธรรม ฮินดูรูปแบบใหม่ที่เกิดจากการผสมผสานใน เกาะชวา สุมาตรา และบาหลีนม้ี าถึงจุดพลิกผัน เมื่ออาณาจักรมัชปาหิตผู้ควบรวมอาณาจักร ต่างๆ ในหมู่เกาะเป็นรัฐเดียวกันครั้งแรกใน ประวัตศิ าสตร์ ถูกรุกรานและพ่ายให้แก่อาณาจักร มะละกาซึ่งเข้ารีตศาสนาอิสลาม ในปี 1478 ทำ � ให้ ก ษั ต ริ ย์ แ ห่ ง อาณาจั ก รมั ช ปาหิ ต ซึ่ ง มี ศูนย์กลางอยู่บนเกาะชวาตะวันออก พร้อมด้วย เจ้านาย นักบวช ช่างศิลป์ และชาวฮินดูที่ไม่ ต้องการเปลี่ยนศาสนาต้องหลบมาตั้งถิ่นฐาน ในเกาะบาหลีและเกาะลอมบอก (Lombok) ด้วยเหตุนี้ สถาปัตยกรรม วรรณคดี ดนตรี การร่ายรำ�และวัฒนธรรมความเชื่อพื้นเมือง ดั้งเดิมของบรรพชนในหมู่เกาะอินโดนีเซียจึง ยังหลงเหลือและงอกงามอยู่เพียงในบาหลีและ ลอมบอกเท่านั้น ใจกลางอัญมณี เจิดจรัสด้วยงานศิลป์

บริเวณใจกลางของเกาะทีง่ ามดัง่ ต้องมนต์แห่งนี้ ยังเป็นที่ตั้งของอูบุด เมืองเล็กๆ ที่ส่องประกาย ความเป็นศูนย์กลางทางศิลปะมาอย่างยาวนาน

อูบุดเริ่มเป็นที่รู้จักของชาวต่างชาติตั้งแต่ ปี 1930 โดยมีศิลปินชาวตะวันตกจำ�นวนหนึ่ง เข้ามาตั้งรกรากและทำ�งานอยู่ในอูบุดโดยการ เชื้อเชิญของกษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งอูบุด ผู้เป็น ทั้งกษัตริย์และศิลปิน เริ่มจากวอลเทอร์ ชปีส์ (Walter Spies) จิตรกรชาวเยอรมันเจ้าของผลงาน ภาพวาดทิวทัศน์บาหลีอันเลื่องชื่อ "Iseh im Morgenlicht 1938" ซึ่งเข้ามาตั้งรกรากในอูบุด เมื่อปี 1927 ตามมาด้วยรูดอล์ฟ บอนเน็ต (Rudolf Bonnet) วิลเล็ม ฮอฟเกอร์ (Willem Hofker) จิตรกรชาวดัตช์ และ ดอน อันโตนิโอ (Don Antonio) ชาวสเปน ฯลฯ เมื่อภูมิทัศน์ที่เปี่ยมด้วยเสน่ห์เฉพาะตัว ของบาหลีถูกถ่ายทอดผ่านปลายพู่กันของเหล่า จิตรกร และคำ�รา่ํ ลือในความงดงามแพร่กระจาย ออกไป อูบุดจึงได้มีโอกาสต้อนรับบุคคลสำ�คัญ ทีแ่ วะเวียนกันเข้ามาชืน่ ชมดินแดนสวรรค์แห่งนี้ ทัง้ นักแสดงชือ่ ดังอย่าง ชาร์ลี แชปลิน (Charlie Chaplin) เฮอร์เบิร์ต จอร์จ เวลส์ (Herbert George Wells) บิดาแห่งนิยายวิทยาศาสตร์ และมาร์ก าเร็ ต มี ้ ด (Margaret Mead) นักมานุษยวิทยาวัฒนธรรมชาวอเมริกัน ในปี 1936 กษัตริยแ์ ห่งอูบดุ วอลเทอร์ ชปีส์ รูดอล์ฟ บอนเน็ต และศิลปินท้องถิน่ ได้รว่ มกัน จั ด ตั้ ง กลุ่ ม เคลื่ อ นไหวทางศิ ล ปะที่ เ รี ย กว่ า “ปิตา มาฮา (Pita Maha)” ซึ่งกลายเป็นผู้ กำ�หนดทิศทางงานศิลปะของบาหลีในเวลาต่อ มา โดยรวบรวมศิลปินผู้เชี่ยวชาญทั่วทั้งเกาะ ให้มาถ่ายทอดศิลปะการวาดภาพ ดนตรีและ การร่ายรำ�แก่คนรุ่นใหม่ เพื่อสืบสานภูมิปัญญา


© Paul C. Pet/Corbis

CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

และพัฒนาทักษะด้านศิลปะ ทั้งยังสนับสนุน การนำ�งานศิลปะคุณภาพสูงโดยเฉพาะภาพวาด และงานแกะสลั ก ไม้ อ อกขายในนิ ท รรศการ แสดงผลงานในต่างแดนอีกด้วย การดำ�เนินงาน ของกลุ่มปิตา มาฮาดำ�เนินมาเป็นเวลาเกือบ สิ บ ปี ก่ อ นที่ จ ะหยุ ด ชะงั ก ลงเมื่ อ เงามื ด แห่ ง สงครามโลกครั้งสองมาเยือนเกาะบาหลี หลังสงครามสงบลง กษัตริย์อูบุดยังได้ ริเริ่มสร้างพิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งแรกของเมือง คือ “พิพิธภัณฑ์ศิลปะปูรี ลูกีซัน (Museum Puri Lukisan)” ในปี 1956 ซึ่งยังคงเปิดให้ บริการจนถึงทุกวันนี้ โดยจัดแสดงงานศิลปะ บาหลี ชั้ น เยี่ ย มตั้ ง แต่ ส มั ย ก่ อ นสงครามโลก จนถึงศิลปะร่วมสมัย นอกจากนี้ อูบุดยังมี

พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ศิ ล ปะและหอศิ ล ป์ จำ � นวนมาก กระจายตัวอยูใ่ นทุกมุมของเมือง อาทิ พิพธิ ภัณฑ์ อากุงไร หอศิลป์ชะนีวาตีของศิลปินสตรี พิพธิ ภัณฑ์ นภา พิพิธภัณฑ์เนคา พิพิธภัณฑ์ดอน อันโตนิโอ บลังโก ฯลฯ ด้วยเหตุน้ี อูบดุ จึงเป็นเหมือน ชี พ จรทางวั ฒ นธรรมที่ ห ล่ อ เลี้ ย งและเป็ น ศูนย์กลางของศิลปะบาหลีจวบจนทุกวันนี้ ทัง้ ใน สายตาของชาวบาหลีและชาวต่างชาติ อูบุด ที่สุดแห่งวิถีเพื่อสุขภาพ

ชือ่ เมืองอูบดุ นัน้ มาจากคำ�ว่า “Ubad” ในภาษา บาหลี ซึ่งหมายถึง “ยา” เนื่องจากในอดีตอูบุด เป็ น ที่ ก ล่ า วขานในฐานะแหล่ ง กำ � เนิ ด พื ช สมุนไพรและยารักษาโรค มีหลักฐานตัง้ แต่สมัย

ศตวรรษที่ 8 ว่ามีการส่งตัวเชื้อพระวงศ์ที่มี อาการป่วยมารับการรักษาในเมืองเล็กๆ แห่งนี้ ปัจจุบัน อูบุดได้กลายเป็นหนึ่งในเมืองที่นัก ท่องเที่ยวนิยมมาพักแรม เนื่องจากตั้งอยู่ใน ภาคกลางของเกาะ สามารถเดินทางไปยังเมือง อื่นๆ ได้โดยสะดวก และห่างจากสนามบิน นานาชาติงูระห์ ไร (Ngurah Rai) เพียงหนึ่ง ชั่วโมง ภูมิประเทศของเมืองที่ตั้งอยู่บนเขา ทำ�ให้อากาศเย็นสบาย บรรยากาศในตัวเมือง คลาคลํ่าไปด้วยชาวต่างชาติและคนพื้นถิ่นที่ สัญจรไปมา ริมถนนสายหลักทัง้ สามเส้นเรียงราย ไปด้วยร้านอาหารหลากสัญชาติ ร้านค้า สปา สตูดิโอโยคะ และที่พักหลากหลายระดับ ตั้งแต่ เกสต์เฮ้าส์ บูติกโฮเต็ลเล็กๆ ไปจนถึงโรงแรม มีนาคม 2556 l Creative Thailand l 25


CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

และรีสอร์ตระดับห้าดาว แต่เมือ่ เดินลัดเลาะเข้าไป ตามตรอกซอกซอยต่างๆ ก็จะพบทัศนียภาพ สวยงามและเงียบสงบของวัดเก่าแก่ ภูเขา ป่าไม้ ทุ่งนาขั้นบันได และแม่นํ้าสายเล็กๆ เมื่อรวม ปัจจัยเหล่านี้เข้ากับความเป็นศูนย์กลางของ ศิลปะบาหลี อูบดุ จึงเป็นเหมือนสวรรค์ทส่ี มบูรณ์ แบบในทุกด้าน ทุกวันนี้พลังแห่งการรักษาที่ หลอมรวมจากความงามของธรรมชาติ แ ละ ความรุ่มรวยในศิลปวัฒนธรรม ก็ยังคงดึงดูด ผูค้ นที่ใฝ่หาแรงบันดาลใจจากธรรมชาติ ใส่ใจ สุขภาพ และโหยหาการบำ�บัดให้เดินทางเข้ามา ที่นี่อย่างต่อเนื่อง ธุรกิจบริการด้านสุขภาพในอูบุดนับเป็น กิจการทีส่ อดคล้องกับตัวตนของเมือง และตอบรับ กระแสรักสุขภาพได้เป็นอย่างดี หลายปีมานี้ กิจการสตูดิโอโยคะและสปาได้รับความนิยม และเพิม่ จำ�นวนขึน้ อย่างเห็นได้ชดั ธุรกิจอาหาร เพื่อสุขภาพโดยเฉพาะอาหารออร์แกนิกและ อาหารประเภทรอว์ฟู้ด (Raw Food) ก็เป็นอีก หนึ่งกิจการที่กำ�ลังได้รับความนิยมมากในกลุ่ม ผู้บริโภคระดับกลางถึงสูง นอกจากนี้ อูบุดยังมี ตลาดออร์แกนิก Ubud Organic Market ที่ เกิ ด จากการร่ ว มทุ น และบริ ห ารงานแบบ สหกรณ์ ข องกลุ่ ม สมาชิ ก ผู้ ผ ลิ ต ผั ก ผลไม้ ออร์แกนิก เปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี 2006 ด้วย หวังว่าจะเป็นพื้นที่เชื่อมผู้ผลิตและผู้บริโภค โดยไม่ผา่ นพ่อค้าคนกลาง ทำ�ให้คนทัว่ ไปสามารถ เข้าถึงอาหารเพือ่ สุขภาพทีส่ ดสะอาด คุณภาพดี ในราคาที่เ หมาะสม ทุ ก วันพุธและวันเสาร์ บรรดาพ่ อ ค้ า แม่ ค้ า จะนำ �ผลผลิตที่ป ลูก ด้วย ความตั้งใจมาวางขาย ตั้งแต่ผลิตภัณฑ์จากผัก ผลไม้ออร์แกนิก แยม นมถั่วเหลือง นํ้าผลไม้ ขนมขบเคี้ยวเพื่อสุขภาพ ขนมปัง ไปจนถึง ผลิตภัณฑ์เพื่อความงาม ภาพลั ก ษณ์ ค วามเป็ น เมื อ งแห่ ง สุ ข ภาพ และศิ ล ปะของอู บุ ด ยั ง ได้ รั บ การตอกยํ้ า ให้ ชัดเจนขึน้ อีกในปี 2008 เมือ่ ทีมผูก้ อ่ ตัง้ เทศกาล จิตวิญญาณแห่งบาหลี (BaliSpirit Festival) เทศกาลนานาชาติที่หลอมรวมองค์ประกอบต่างๆ ที่เป็นหัวใจของความเป็นบาหลีที่โลกรู้จักไว้ใน งานเดียวกัน นัน่ คือ โยคะ การเต้นรำ� และดนตรี 26 l Creative Thailand l มีนาคม 2556

ตัดสินใจเลือกอูบุดเป็นสถานที่จัดงาน โดยจัด ต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 5 เมื่อปี 2012 ที่ผ่านมา ใน เทศกาลมีการอบรมโยคะ การแสดงดนตรีพน้ื บ้าน โดยรวบรวมท่ ว งทำ � นองพื้ น ถิ่ น จากแอฟริ ก า อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย และดนตรีร่วมสมัย จากทั่วโลก นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมการแลก เปลี่ยนทางวัฒนธรรมของผู้เข้าร่วมงานที่มา จากทุกสารทิศ โดยมีเป้าหมายเพื่อปลุกพลัง ด้านบวกและสร้างความเปลี่ยนแปลงในทาง ที่ดีให้แก่ธรรมชาติและสังคมโลก สายธารความยั่งยืนแห่งภูมิปัญญา

เป็นที่ทราบกันดีว่าหนึ่งในทิวทัศน์เฉพาะตัวที่ เป็นทีก่ ล่าวขานของอูบดุ คือ ทุง่ นาแบบขัน้ บันได สีเขียวชอุ่มและเหลืองทองในฤดูเก็บเกี่ยวซึ่งแผ่ อาณาเขตเต็มพื้นที่บนเนินเขาน้อยใหญ่และ ด้วยข้อห้ามไม่ให้สร้างอาคารสูงเกินความสูง ของต้นมะพร้าวหรือ 15 เมตร ปัจจุบนั ทัศนียภาพ สวยงามเหล่านี้จึงไม่ถูกบดบัง อย่างไรก็ตาม เบื้องหลังความอุดมสมบูรณ์ของผืนนาที่จับใจ ผู้คนนี้ แท้ที่จริงแล้วไม่ใช่เพียงกฎหมายหรือ ข้อบังคับที่กำ�หนดขึ้นเมื่อไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา แต่เป็นประเพณีการทำ�ชลประทานแบบดั้งเดิม ที่เรียกว่า ซูบัค (Subak) ซึ่งปฏิบัติสืบทอดกัน มาเป็นเวลายาวนานนับพันปี โดยเป็นระบบบริหาร จัดการนํา้ ในลักษณะสหกรณ์ชาวบ้านทีอ่ ยูภ่ ายใต้ ข้อตกลง “อาวิก-อาวิก (Awig-Awig)” ซึง่ สมาชิก ทุกคนจะเกี่ ย วข้ า วตามตารางการเพาะปลูก ที่ตกลงร่วมกัน ช่วยกันรักษาระบบชลประทาน ทีใ่ ช้ในการเพาะปลูกแบบถ้อยทีถอ้ ยอาศัย ร่วมกัน ไกล่เกลี่ยความขัดแย้งระหว่างสมาชิก และมี ส่วนร่วมในการประกอบพิธีทางศาสนารวมทั้ง งานสาธารณะอื่นๆ ของชุมชน เกาะบาหลี เคยได้ รั บ บทเรี ย นราคาแพง เรื่ อ งการวางแผนพั ฒ นาพื้ น ที่ ใ นสมั ย ที่ ประธานาธิบดีซูฮาร์โตดำ�รงตำ�แหน่งในปี 1968 ซึ่งตรงกับยุคการปฏิวัติเขียว รัฐบาลได้นำ�เข้า เทคโนโลยีการเกษตรแผนใหม่จากโลกตะวันตก เข้ามาให้เกษตรกรชาวบาหลีปลูกข้าวพันธุ์ใหม่ ใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลงเพื่อเพิ่มผลผลิต และ ส่งเสริมให้เกษตรกรพยายามปลูกข้าวบ่อยครั้ง

ที่สุดเท่าที่จะทำ�ได้ในแต่ละปี โดยไม่ต้องคำ�นึง ถึงตารางเวลาใช้น้ําของเกษตรกรเพื่อนบ้าน ซึง่ ก่อให้เกิดปัญหาแมลงศัตรูพชื และยาฆ่าแมลง ปนเปือ้ นในดินและนา้ํ และปัญหาการขาดแคลน นํ้าอย่างที่ไม่เ คยปรากฏมาก่อน ด้วยเหตุนี้ เกษตรกรและนั ก สิ่ ง แวดล้ อ มชาวบาหลี จึ ง เคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลคืนอำ�นาจ การบริ ห ารจั ด การตารางการเพาะปลู ก และ ทรัพยากรนา้ํ สูม่ อื ซูบคั อีกครัง้ กระทัง่ ได้รบั ชัยชนะ ในต้นทศวรรษ 1990 หลังจากบทเรียนดังกล่าว รัฐบาลบาหลีจึง ได้ริเริ่มจัดทำ�แผนที่เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยว บนเกาะบาหลีอย่างยัง่ ยืน มีการประเมินผลกระทบ ด้านสิง่ แวดล้อมอย่างรัดกุม เพือ่ ให้การท่องเทีย่ ว ได้รับการพัฒนาไปในทิศทางที่สอดคล้องกับ ศักยภาพด้านทรัพยากร พร้อมกันนี้ รัฐบาลยัง ได้จัดตั้งหน่วยงานใหม่ที่ทำ�หน้าที่ประเมินผล กระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการพัฒนา และ ส่ ง เสริ ม การท่ อ งเที่ ย วแบบยั่ ง ยื น โดยเฉพาะ “การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ” ที่นอกจากจะช่วย อนุรกั ษ์สง่ิ แวดล้อมบนเกาะแล้ว ยังสามารถสร้าง รายได้ที่มั่นคงแก่ชาวบ้านอีกด้วย หลายปีที่ผ่านมานี้ ปัญหาสิ่งแวดล้อมใน บาหลีเริ่มตั้งเค้าและทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ อุ ต สาหกรรมการท่ อ งเที่ ย วที่ ข ยายตั ว อย่ า ง รวดเร็วทำ�ให้ทรัพยากรนํ้าจำ�นวนมหาศาลที่ใช้ ในพื้นที่เกษตรถูกดึงไปป้อนให้ธุรกิจเพื่อการ ท่องเที่ยว ในปี 1987 บาหลีมีจำ�นวนห้องพัก รับรองนักท่องเที่ยวเพียง 5,000 ห้อง และเพิ่ม ขึ้นเป็น 90,000 ห้องในปี 2012 เพื่อรองรับ จำ�นวนนักท่องเที่ยวที่สูงถึง 2.94 ล้านคนในปี เดียวกัน จนเป็นผลให้ระบบซูบัคกำ�ลังจะถูก สั่นคลอนจากความขัดแย้งในเรื่องการปันนํ้า ระหว่างเกษตรกรด้วยกัน โดยผู้ที่ได้รับเคราะห์ เป็นกลุ่มแรกก็คือชาวบาหลีที่มีฐานะยากจน ที่สุดซึ่งไม่สามารถเข้าถึงนํ้าสะอาด หลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนต่าง ออกมาแสดงความกั ง วลใจเกี่ ย วกั บ ธุ ร กิ จ ท่องเที่ยวแบบมวลชนซึ่ ง ใช้ ท รั พ ยากรนํ้ า ใน ปริ ม าณมากและการพั ฒ นาเกิ น ขนาดของ บาหลี ซึ่งอาจพรากตัวตนของเกาะสวรรค์แห่ง


นีไ้ ปตลอดกาล และแม้ขณะนีจ้ ะมีความพยายาม จากโรงแรมบางแห่งที่เริ่มสร้างโรงบำ�บัดนํ้าเสีย เพื่อหมุนเวียนนำ�นํ้ากลับมาใช้อีกครั้ง แต่หลาย ฝ่ายก็เชื่อและหวังเป็นอย่างยิ่งว่า บาหลีจะ สามารถรักษาสมดุลระหว่างสิ่งที่มีอยู่แต่เดิม และกระแสที่เข้ามาเยือนได้อย่างลงตัวเช่นที่ เคยเป็นมา

eastcoastlife.blogspot.com

my10besttrips.blogspot.com

© Aldo Pavan/Grand Tour/Corbis

web.mit.edu

CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

ในวันนี้ การเดินทางของบาหลีได้เดินมา ถึงจุดเปลีย่ นอีกครัง้ เป็นช่วงเวลาทีท่ กุ ฝ่ายจะได้ กลับมาใคร่ครวญกันให้ดวี า่ ตลอดเวลาทีผ่ า่ นมา มนต์เ สน่ห์ที่ดึ ง ดูด ให้ผู้ค นนั บ ล้านปรารถนา จะเข้ามาสัมผัสและพักพิงบนเกาะสวรรค์แห่งนี้ แท้จริงแล้วคือธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์และ ความเป็นอยู่เรียบง่ายที่กำ�ลังถูกทำ�ลายมิใช่ หรอกหรือ

ที่มา: กรณีศึกษา “การพัฒนาอย่างยั่งยืน”: เกาะบาหลี อินโดนีเซีย โดย สฤณี อาชวานันทกุล ตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์ ประชาชาติธรุ กิจ ฉบับวันที่ 17 เมษายน 2551 จาก onopen.com matichon.co.th thebalitimes.com thejakartapost.com ubudpalace.com wikipedia.org

มีนาคม 2556

l

Creative Thailand

l 27


THE CREATIVE มุมมองของนักคิด

Morinosuke Kawaguji Everywhere has idea. เรื่อง: มนฑิณี ยงวิกุล เอื้อเฟื้อภาพ: โมริโนะสุเกะ คาวากูจิ

แม้ว่า “โมริโนะสุเกะ คาวากูจิ (Morinosuke Kawaguji)” จะไม่เคยไปเยือนเชียงใหม่และเดินทางมาประเทศไทย เพียงครั้งเดียว แต่นั่นไม่ใช่ประเด็นสำ�คัญของการเรียนรู้ “นวัตกรรมฉบับโมริโนสุเกะ” ที่ทำ�ให้เขาขึ้นแท่นเป็น นักออกแบบที่ประสบความสำ�เร็จจากการหยิบฉวยสิ่งรอบตัวมาเป็นจุดขายให้กับสินค้าและบริการ ทั้งนี้ เพราะ กระบวนการสังเกต ค้นหาที่มาของความแตกต่างทางวัฒนธรรม และการสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อตอบโจทย์ได้อย่าง ตรงจุดนั้นสามารถนำ�ไปปรับใช้ได้ทุกเมืองบนโลกใบนี้ ถ้าเพียงแต่มีความเข้าใจและสามารถใช้ประโยชน์จากวิธีคิด ที่เขายินดีเล่าให้ฟังผ่านบทสัมภาษณ์ครั้งนี้

28 l

Creative Thailand

l มีนาคม 2556


THE CREATIVE มุมมองของนักคิด

คุณเคยกล่าวว่า “นวัตกรรมฉบับโมริโนะสุเกะ” สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่อง มือในการค้นหาแนวทางการคิดค้นผลิตภัณฑ์และบริการที่น่าดึงดูดใจ ช่วยอธิบายหรือยกตัวอย่างได้ไหมว่ามันมีวิธีทำ�งานและช่วยเพิ่มมูลค่าให้ แก่ผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ อย่างไร โลกาภิวตั น์ท�ำ ให้ทกุ อย่างดูคล้ายกันไปหมด นัน่ คือสาเหตุทค่ี ณุ ถึงต้องทำ� ตัวเองให้แตกต่าง การแต่งรถบรรทุกน่าจะเป็นตัวอย่างที่ดี จากรูปแบบ นวัตกรรมฉบับโมริโนะสุเกะ เดโคโทระ (Dekotora) คือรถบรรทุกตกแต่ง ในสไตล์ญป่ี นุ่ ทีถ่ กู วางไว้วา่ ต้องทำ�ให้ดเู ด็กและมีความเป็นผูห้ ญิง การแต่ง รถบรรทุกอย่างน่ารักนี้ก็มีอยู่ในเอเชียตะวันออกและอเมริกาใต้เป็นหลัก ปากีสถานมีรถสิบล้อแต่งแบบปากีสถาน เมืองไทยมีรถตุ๊กตุ๊ก ญี่ปุ่นมี เดโคโทระ ผมคิดว่าวัฒนธรรมพื้นบ้านบนเครื่องยนต์ไฮเทคเป็นสิ่งที่ดีสำ�หรับ เมืองไทย อย่างทีเ่ ห็นได้จากรถตุก๊ ตุก๊ และรถสิบล้อแต่งอืน่ ๆ การติดสติก๊ เกอร์ ทีเ่ หมือนกับรอยสักลงบนเครือ่ งยนต์ไฮเทคเหล่านัน้ แสดงให้เห็นถึงความ เป็นไปได้ในการสร้างผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ตัวรถบรรทุกเองกับแนวคิด การแต่งรถนั้นต่างกันมาก เพราะรถบรรทุกนั้นประหนึ่งว่าเป็นรถที่ใช้ใน กองทัพ แต่การตกแต่งกลับทำ�ให้ผมนึกถึงเสือ้ ผ้าและการสวมเครือ่ งประดับ ชาวเขาในเมืองไทย ทุกสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกับวัฒนธรรมพื้นบ้านของผู้หญิง ซึง่ เกือบจะเปรียบได้เหมือนการแต่งหน้า แล้วองค์ประกอบของการออกแบบ เหล่านี้ถูกนำ�มาประยุกต์ใช้ในสิ่งที่แสดงถึงพลังอำ�นาจอย่างรถยนต์หรือ รถบรรทุก เหตุใดคนขับรถบรรทุกแต่ละพื้นที่ถึงแต่งรถของพวกเขาให้เป็น แบบนั้น อเมริกาและยุโรปก็ใช้รถบรรทุกกันมากแต่พวกเขาไม่ได้ตกแต่ง รถอย่างที่คนขับคนในเอเชียและอเมริกาใต้ทำ� ผมค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับ การตกแต่งของวัฒนธรรมเฉพาะกลุม่ มาบ้าง พบว่ามีเพียงสองทีบ่ นแผนที่ โลกที่ทำ�แบบนั้น นั่นก็คือเอเชียและอเมริกาใต้ แต่รถบรรทุกเหล่านั้นก็ จะมีรายละเอียดในการตกแต่งที่แตกต่างกันไป ซึ่งนี่อาจเชื่อมโยงกับองค์ ประกอบการออกแบบอื่นๆ เช่น รอยสักหรือการตกแต่งเล็บ ดูเหมือนว่าวัฒนธรรม ภูมิประเทศ วิถีชีวิต และความเชื่อของแต่ละ ท้องถิ่นจะเป็นองค์ประกอบหลักในการนิยามความเฉพาะตัวของผลิตภัณฑ์ และบริการต่างๆ คุณมีวธิ สี ร้างสรรค์คณุ ค่าใหม่ๆ ของผลิตภัณฑ์ทด่ี งึ ดูด ความสนใจ แต่ขณะเดียวกันก็ยังคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์นั้นๆ อย่างไร เพือ่ ทำ�ให้ผลิตภัณฑ์และบริการน่าสนใจ ลองเล่นตลกกับตัวเองดูส!ิ ถามว่า ทำ�ไม Gangnam Style ถึงกลายเป็นเพลงฮิต นั่นเพราะความไม่เจ๋ง เอาเสียเลยทีท่ �ำ ให้มนั เจ๋งขึน้ มา ในแง่หนึง่ เพลงมันก็ลอ้ เลียนเกาหลีใต้ดว้ ย เหมือนกัน เพราะที่นั่นมีนักร้องหน้าตาดีที่เต้นเพลงเร็วเก่งเยอะมาก แต่ Gangnam Style ของไซ (Psy) กลับแซงหน้าพวกเขา นี่พิสูจน์ให้เห็นว่า ถ้าคุณพยายามทำ�อะไรให้สวยงามเกินไปและให้คุณค่ากับความสวยนั้น

เพื่อทำ�ให้ผลิตภัณฑ์และบริการน่าสนใจ ลองเล่นตลกกับตัวเองดูสิ! ถามว่าทำ�ไม Gangnam Style ถึงกลายเป็นเพลงฮิต นั่นเพราะความไม่เจ๋งเอาเสียเลย ที่ทำ�ให้มันเจ๋งขึ้นมา นั่นอาจจะเป็นการเข้าข้างและพอใจในตัวเองซึ่งไม่สามารถทำ �ให้ผู้คน ประทับใจได้ วิธีสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการที่ดึงดูดความสนใจก็คือการหยิบ จับเอาลักษณะเด่นหนึ่งๆ มาใช้และทำ�ให้มันดูไม่เจ๋งเสีย ข้อผิดพลาด สำ�คัญทีส่ ดุ ทีร่ ฐั บาลทำ�ก็คอื พวกเขาทำ�ให้ทกุ อย่างให้ดเู จ๋งในความรูส้ กึ ของ คนสูงอายุ ในขณะทีส่ ง่ิ เหล่านัน้ กลับดูไม่เจ๋งเลยในสายตาของคนหนุม่ สาว บางทีคนเกาหลีหลายคนอาจไม่ชอบเพลง Gangnam Style ก็ได้ เพราะ พวกเขาคิดว่าไซไม่ใช่ภาพลักษณ์ที่ดีที่สุดของประเทศ บางทีพวกเขาอาจ อยากจะส่งออกเกิร์ลกรุ๊ปหน้าตาน่ารักอย่าง Kara ไปยังประเทศอื่นๆ แทนไซ แต่เราต่างก็รู้กันดีว่าเพลง Gangnam Style ฮิตถล่มทลาย มากกว่าเพลงของศิลปินที่หน้าตาหล่อสวยหรือดูดีคนอื่น เพราะฉะนั้น คำ�แนะนำ�ของผมสำ�หรับประเทศไทยคือ ลองจินตนาการว่าเพือ่ นบ้านหรือ ประเทศทีก่ �ำ ลังจะกลายเป็นคูแ่ ข่งจะล้อเลียนคุณอย่างไร ตัวอย่างเช่น ถ้า ตลกสักคนจากพม่าจะมาล้อเลียนคนไทย เขาจะหยิบเรื่องไหนมาล้อและ เขาจะทำ�ให้เรื่องที่ล้อนั้นตลกได้อย่างไร นี่คือประเด็นสำ�คัญ นำ�ข้อด้อย ของคุณมาแสดงให้คนอื่นเห็นว่าคุณแข็งแกร่ง กล่าวอีกนัยก็คือแม้ว่าคุณ จะแข็งแกร่ง แต่คณุ ก็แสดงความอ่อนแอให้คนอืน่ เห็นได้ ไทยเป็นประเทศที่ ประสบความสำ�เร็จมากทีส่ ดุ ในอินโดจีน เพราะฉะนัน้ การแสดงความอ่อนแอ ด้วยจิตใจที่เข้มแข็งคือไอเดียที่ดี เราชาวญี่ปุ่นมักถูกชาวต่างชาติล้อเลียนเสมอ ว่าเราเป็นมนุษย์ เงินเดือนที่เอาแต่โค้งคำ�นับ แล้วก็คล้องกล้องถูกๆ ไว้ที่คอ ใส่หมวก ใส่ แว่นตา และวิ่งวนอยู่ในกลุ่มราวกับแกะ ผมคิดว่าคนญี่ปุ่นหลายคนอาจ เคยรู้สึกอายกับภาพลักษณ์นี้เพราะตอนนั้นเรายังไม่รวยและผ่อนคลาย พอที่จะหัวเราะไปกับมุมมองนั้นได้ แต่ตอนนี้ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มั่งคั่ง เราจึงขำ�กับตัวเองได้ ภาพลักษณ์เหมารวมแบบนั้นของนักท่องเที่ยว ไม่ได้ทำ�ให้เรารู้สึกอายอีกต่อไป เราสามารถหัวเราะกับตัวเองได้แล้ว ใน มุมมองของคนตะวันตก พวกเขามองว่าการล้อเลียนตัวเองคือสัญญาณ มีนาคม 2556

l

Creative Thailand

l 29


THE CREATIVE มุมมองของนักคิด

ของความเป็นผู้ใหญ่และความรอบรู้ คนไทยก็มีอำ�นาจและความมั่นใจ เพราะฉะนั้นถึงเวลาแล้วที่จะหยอดความสนุกหรือแม้กระทั่งล้อเลียนตัว เองบ้าง ไม่ว่าภาพลักษณ์ขำ�ๆ นั้นจะดูน่ารัก สง่างาม หรือเป็นอย่างที่ เป็นอยู่จริงๆ แต่ทั้งหมดก็เป็นเรื่องของรสนิยมและเราต้องพูดคุยปรึกษา กันในเชิงลึก ผมจะไม่แนะนำ�สไตล์หรือไอเดียไหนเป็นพิเศษ แต่ผมคิด ว่าการมีอารมณ์ขันเป็นสิ่งที่จำ�เป็น อะไรคืออุปสรรคที่สำ�คัญที่สุดในการขับเคลื่อนให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ และไอเดียสร้างสรรค์เกิดขึ้นมาจากไหน ไอเดียทีด่ ที ส่ี ดุ มักมาจากความเป็นเด็ก เราจึงต้องเก็บรักษาความรูส้ กึ นัน้ ไว้ และเชือ่ ในความเยาว์วยั เพราะคนหนุม่ สาวคือคนทีจ่ ะกำ�หนดอนาคตของ มวลมนุษย์ คนที่มีอายุมักจะมีความสงสัยใคร่รู้น้อยลง ซึ่งนั่นเป็นเรื่อง น่าเศร้า เพราะเมื่อเราไม่เห็นจิตวิญญาณแห่งป่าหรือจินตนาการได้ว่ามี ยูเอฟโอบินอยูบ่ นท้องฟ้า และพวกเอลฟ์เต้นระบำ�ในดอกไม้ นัน่ ก็คอื จุดจบ ของความคิดสร้างสรรค์ และถ้าผูใ้ ดไม่เชือ่ ในมายากลอีกแล้ว เขาก็ไม่ควร จะตัดสินเนื้อหาสร้างสรรค์ใดๆ ทั้งปวง ผู้ใหญ่หรือคนที่โตแล้วนั้น ควร ยอมรับไอเดียของคนหนุ่มสาวและคนรุ่นใหม่ด้วยการไม่ไปตัดสินเนื้อหา ของพวกเขา แต่ควรถามไถ่ถึงเหตุผลว่าทำ�ไมพวกเขาถึงสร้างบางสิ่ง บางอย่างขึน้ มา ไม่วา่ พวกเขาจะเป็นคนดังหรือประสบความสำ�เร็จหรือไม่ ก็ตาม เพราะโดยทั่วไปแล้ว คนรุ่นก่อนมักจะเป็นคนปรับปรุงแต่ไม่ได้ สร้างอะไรใหม่ เพราะแม้ความคิดสร้างสรรค์ของคนรุ่นก่อนจะหายไป แต่พวกเขาจะยังคงมีทักษะและคลังความรู้ที่ใหญ่โตจากประสบการณ์ การใช้ชีวิตที่ยาวนาน ซึ่งสามารถจะเป็นประโยชน์แก่คนรุ่นใหม่ได้ ผมเคยได้ยินมาว่านักเบสบอลรุ่นใหม่ๆ บางคนสามารถตีโฮมรันได้ โดยไม่ต้องเข้าใจว่าทำ�ไมจะต้องตีหรือจะตีโฮมรันได้อย่างไร ซึ่งผู้เล่น เหล่านีไ้ ม่สามารถตีโฮมรันได้อย่างต่อเนือ่ ง แต่ผเู้ ล่นทีเ่ ล่นเป็นฤดูกาลจริงๆ จะสามารถรักษาการตีโฮมรันได้ดีกว่า เพราะว่าพวกเขามีความรู้และมี ประสบการณ์ นัน่ หมายถึงคนรุน่ ใหม่แม้จะมีไอเดียทีด่ ี แต่บอ่ ยครัง้ พวกเขา ก็ไม่สามารถทำ�ให้ความคิดนัน้ เป็นรูปเป็นร่างขึน้ มาได้ เพราะพวกเขาไม่มี ความรูพ้ อทีจ่ ะแปลงไอเดียออกมาให้ใช้งานได้จริง หรือไม่สามารถจะจัดการ โครงสร้างทางธุรกิจหรือแนวคิดด้านการออกแบบออกมาได้ ดังนั้นวิธีแก้ ปัญหาที่ดีที่สุดก็คือการมีทีมที่ประกอบด้วยทั้งคนรุ่นใหม่และคนรุ่นเก่า เพื่อที่จะกลั่นเอาไอเดียที่สดใหม่จากคนหนุ่มสาวและทำ�ให้มันเป็นจริง ด้วยคำ�แนะนำ�จากคนรุน่ ก่อนทีม่ ปี ระสบการณ์มากกว่า และด้วยการทำ�งาน ที่ต่างก็เคารพซึ่งกันและกัน

30 l

Creative Thailand

l มีนาคม 2556

เพราะเมื่อเราไม่เห็นจิตวิญญาณ แห่งป่าหรือจินตนาการได้ว่า มียูเอฟโอบินอยู่บนท้องฟ้า และพวกเอลฟ์เต้นระบำ�ในดอกไม้ นั่นก็คือจุดจบของความคิดสร้างสรรค์ คุณมองเห็นอะไรในวัฒนธรรมญี่ปุ่นหรือคาแร็กเตอร์ของแต่ละเมืองหรือ แต่ละภูมภิ าคในประเทศ อะไรคือองค์ประกอบหลักในการคิดเชิงนวัตกรรม ของคุณ ถ้ามองในมุมของชาวต่างชาติ มุมมองจากภายนอกคือสิ่งที่สำ�คัญที่สุด บางอย่ า งที่ ธ รรมดาสำ � หรั บ คนท้ อ งถิ่ น อาจจะมี เ อกลั ก ษณ์ สำ � หรั บ ผู้มาเยือน แต่สำ�หรับสิ่งที่คนท้องถิ่นภาคภูมิใจและคิดว่ามีเอกลักษณ์นั้น มักกลับเป็นอะไรที่ไม่ได้ดึงดูดชาวต่างชาติ อย่างเช่น หิมะอาจไม่มีอะไร น่าสนใจสำ�หรับผูค้ นทีอ่ ยูใ่ นพืน้ ทีท่ ม่ี หี มิ ะตกอยูเ่ สมอ แต่นกั ท่องเทีย่ วชาว ไทยทีไ่ ปฮอกไกโดอาจมีความสุขทีไ่ ด้สมั ผัสกับหิมะ ในปัจจุบนั จึงมีหมูบ่ า้ น หนึ่งในญี่ปุ่นที่ขายหิมะให้กับเด็กๆ ที่อาศัยอยู่ในประเทศแถบอบอุ่น ความสำ�เร็จที่โด่งดังอีกอย่างหนึ่งของญี่ปุ่นก็คือบรรดาคุณยายใน หมูบ่ า้ นเล็กๆ ในจังหวัดโทะกุชมิ ะบนเกาะชิโกะกุ ทีห่ นั มาเก็บใบไม้สวยๆ ในป่าแล้วส่งมันไปยังภัตตาคารในโตเกียวเพื่อใช้ในการประดับตกแต่ง จานอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชุดอาหารราคาแพงไคเซกิ (Keiseiki) ซึ่งสำ�หรับคุณย่าคุณยายในหมู่บ้านแล้ว ใบไม้หรือใบเฟิร์นสีเขียวที่ขึ้นอยู่ มากมายหลังบ้านเหล่านัน้ ไม่ได้มอี ะไรพิเศษ แต่มนั กลับมีราคาในภัตตาคาร ที่ต้องการมัน หญิงสูงวัยในหมู่บ้านจะได้รับแฟ็กซ์หรือคำ�สั่งซื้อจาก คอมพิวเตอร์จากภัตตาคารต่างๆ ทุกวัน จากนัน้ พวกเธอก็เดินไปเก็บใบไม้ ตามชนิดที่ระบุไว้ก่อนจะส่งกลับไปยังโตเกียวโดยผ่านผู้ให้บริการจัดส่ง สินค้า งานเหล่านี้ทำ�ให้คุณย่าคุณยายมีความสุขที่ได้มีงานทำ�และยังช่วย ให้สุขภาพของพวกเธอดีขึ้นจากการเดินออกไปในป่าเพื่อเก็บใบไม้ มันยัง สร้างรายได้ที่ดีและเป็นเหมือนการส่งต่อความสุขจากภูเขาสู่เมือง ซึ่งเป็น ความร่วมมือที่วิเศษมาก อีกตัวอย่างหนึ่งก็คือ ธุรกิจรีสอร์ตนํ้าพุร้อนออนเซนที่กำ�ลังซบเซา เนือ่ งจากมีคนพักในเรียวกังหรือโรงแรมแบบญีป่ นุ่ น้อยลง แต่กลับมีเมืองๆ หนึ่งที่พยายามจะขายประสบการณ์การท่องเที่ยวริมแม่นํ้าเพื่อให้ลูกค้า มาตกปลา พวกเขาโฆษณาแม่นํ้าอะยุที่สวยงามซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย


THE CREATIVE มุมมองของนักคิด

ของปลาอะยุ โดยหวังว่ามันจะสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เดินทาง มาตกปลาทีน่ ไ่ี ด้ และหลังจากทีไ่ ด้สนุกสนานกับการตกปลาในแม่นา้ํ แล้ว นักท่องเทีย่ วก็ยงั สามารถผ่อนคลายในออนเซนนํา้ พุรอ้ น เป็นรายการท่องเทีย่ ว ทีไ่ ด้รบั การผสมผสานโดยคนในชุมชน แต่นกั ท่องเทีย่ วบางคนทีม่ าทีเ่ มือง นีโ้ ดยบังเอิญกลับพบว่า แม่นา้ํ ทีช่ าวบ้านเชิญชวนให้ตกปลานัน้ เหมาะทีจ่ ะ ใช้ล่องแก่งมากกว่า ซึ่งเป็นสิ่งที่คนในพื้นที่ไม่เคยนึกถึง กิจกรรมการ ล่องแก่งในแม่นา้ํ จึงได้รบั ความนิยมแทนทีก่ จิ กรรมการตกปลา และหลังจาก ล่องแก่งเสร็จ นักท่องเที่ยวก็สามารถแช่ตัวเองในออนเซนนํ้าพุร้อนเพื่อ ผ่อนคลายได้เป็นอย่างดี ปัจจุบนั เมืองนีจ้ งึ สามารถฟืน้ ธุรกิจการท่องเทีย่ ว กลับขึ้นมาได้อีกครั้ง ดังนั้นทรัพยากรเดียวกัน แต่การนำ�ไปใช้ต่างกันก็สามารถใช้สร้าง แบรนด์ได้ เหมือนกับการนำ�แม่นํ้ามาเป็นจุดขายในกิจกรรมล่องแก่งที่ ทำ�ให้เมืองทั้งเมืองกลับมาเป็นเมืองแห่งการท่องเที่ยวได้ในที่สุด ถ้าคุณต้องเดินทางไปยังเมืองเล็กๆ เมืองหนึ่งเพื่อทำ�โปรเจ็กต์การพัฒนา สินค้าและบริการ คุณจะเลือกเมืองไหน และจะเริ่มต้นโปรเจ็กต์ของคุณ อย่างไร เป้าหมายหลักของการทำ�โปรเจ็กต์ก็คือการออกสัมภาษณ์ บางทีเราอาจ จะถามคำ�ถามเดียวกันในทุกๆ ที่ แต่ผมก็ยังไม่มั่นใจว่าจะถามอะไรบ้าง อาจจะเป็น “อะไรทีท่ �ำ ให้คณุ อายมากทีส่ ดุ ” หรือ “อะไรทีท่ �ำ ให้คณุ ติดได้” ผมอาจจะใช้ 10 ฟีเจอร์ที่ผมพัฒนาขึ้นในหนังสือเล่มแรกที่ได้รับการแปล เป็นภาษาไทยในชื่อ ซากุระกรรมศาสตร์ หรือผมอาจจะขอให้พวกเขา วาดยีราฟสักตัว วาดปากกาสักด้าม หรือวาดพระเจ้า เพื่อที่จะได้เห็นแรง กระตุ้นต่างๆ คำ�ถามที่ใช้ก็จะต้องได้รับการคัดเลือกมาอย่างระมัดระวัง เพือ่ ทีจ่ ะสามารถวิเคราะห์จดุ เด่นของพืน้ ถิน่ ได้ ในจำ�นวนคำ�ถามมากมาย นั้น เราอาจจะได้พบกับความแตกต่างแล้วเราก็จะได้ข้อมูลบางอย่างที่ เราต้องการ มันคือวิธีทางมานุษยวิทยาและหลักวิเคราะห์ทางจิตวิทยาที่เราจะไม่ วิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ตรงๆ ตามที่คนบอก แต่เราอาจจะขอให้พวกเขาลอง ทักทายด้วยการไหว้ แล้วก็ตรวจสอบองศาในการโค้งตัวที่แตกต่างกันใน แต่ละครั้ง หรือลองนับว่าพวกเราไหว้กันวันละกี่ครั้งในแต่ละวัน หรือลอง สังเกตวิธีที่พวกเราเก็บรองเท้าที่หน้าทางเข้าประตู เพราะวิธีพวกนี้จะทำ� ให้เราสามารถตรวจสอบการใช้สติปัญญา อุปนิสัย ธรรมเนียมประเพณี การแสดงออก และพฤติกรรมได้ และถ้าผมจะไปเริม่ ต้นทำ�โปรเจ็กต์ทเ่ี ชียงใหม่ (ซึง่ เป็นเมืองทีผ่ มสนใจ) หรือที่ไหนๆ เพื่อไปสัมภาษณ์ผู้คน ผมจะอยู่ในกรุงเทพฯ และใช้เวลา มากๆ เพื่อคิดหาคำ�ถามต่างๆ ให้ดีก่อนที่จะเดินทางไป

ทุกวันนี้ในหลายประเทศที่พัฒนาแล้ว ประเด็นเรื่องนวัตกรรมดูจะกลาย เป็นเทรนด์หลักของงานออกแบบและแนวโน้มตลาด คุณคิดว่ามันช่วยให้ เจอกับความท้าทายใหม่ๆ ในธุรกิจบ้างหรือไม่ นวัตกรรมคือหัวใจของการออกแบบและการตลาด มันเคยเป็นคำ�พูด ยอดนิยมสำ�หรับวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ แต่หลังจากทีว่ ทิ ยาศาสตร์ธรรมชาติ เริ่มอิ่มตัว อย่างเช่นฟิสิกส์หรือเคมี คำ�ว่า “นวัตกรรม” และ “เทคโนโลยี” ก็ถกู นำ�มาใช้กบั ด้านศิลปศาสตร์และสังคมศาสตร์มากขึน้ นัน่ จึงทำ�ให้เรา รู้สึกว่า คำ�ว่านวัตกรรมนั้นได้รับความนิยมมากขึ้นและกลายเป็นคำ�ฮิต มากกว่าแต่กอ่ น ในอดีตทีผ่ า่ นมานวัตกรรมถูกจำ�กัดอยูใ่ นฐานะเครือ่ งมือ ของวิทยาศาสตร์ แต่มันก็ค่อยๆ อิ่มตัวสำ�หรับการพัฒนาใหม่ๆ ดังนั้น เพื่อที่จะสร้างความแตกต่างให้กับคุณค่าของสินค้าและบริการ นวัตกรรม จึงถูกนำ�มาใช้ในการออกแบบที่เป็นศาสตร์ด้านศิลปศาสตร์ รวมถึงด้าน การตลาดที่เป็นศิลปศาสตร์ครึ่งหนึ่งผสมกับสังคมศาสตร์อีกครึ่งหนึ่ง ซึ่ง ยังคงมีพื้นที่อีกมากมายที่ยังเข้าไม่ถึงสำ�หรับทั้งสองศาสตร์นี้ คุณเคยมาเมืองไทยในฐานะวิทยากรในงานชุมนุมทางความคิดประจำ�ปี Creativities Unfold Bangkok 2012 ที่ผ่านมา คุณมองเห็นวัตถุดิบอะไร ในเมืองไทยที่กระตุ้นความคิดหรือเป็นโอกาสทางธุรกิจสำ�หรับคุณ ห้องนํ้าสำ�หรับเพศที่สาม มันเจ๋งมาก! ผมคิดว่าเราควรเตรียมทุกอย่างให้ กับกลุ่มเพศที่สาม ทั้งสินค้าและบริการ ผมจะยินดีมากหากได้ร่วมงาน กับบรรดาผู้นำ�กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBT) เพื่อที่จะ ขับเคลื่อนและสร้างสิ่งนี้ให้กับชาวกลุ่มเพศที่สามในแบรนด์ของคนไทย ซึ่งมันเป็นอนาคตและคนรุ่นใหม่ทั่วโลกต่างก็สนับสนุนการเคลื่อนไหว ของคนกลุม่ นี้ ผมเดาว่าคนกลุม่ เก่าบางกลุม่ ในสังคมอาจจะไม่ชอบไอเดีย นี้ แต่ผมก็ยังเชื่อว่า อนาคตนั้นเป็นของคนหนุ่มสาวและนี่ก็คือสิ่งที่พวก เขาต้องการ

วิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุดก็คือ การมีทีมที่ประกอบด้วยทั้งคนรุ่นใหม่ และคนรุ่นเก่า เพื่อที่จะกลั่นเอาไอเดีย ที่สดใหม่จากคนหนุ่มสาวและทำ�ให้มัน เป็นจริงด้วยคำ�แนะนำ�จากคนรุ่นก่อนที่มี ประสบการณ์มากกว่า ด้วยการทำ�งานที่ ต่างก็เคารพซึ่งกันและกัน มีนาคม 2556

l

Creative Thailand

l 31


THE CREATIVE มุมมองของนักคิด

Creative Ingredients หนังสือเล่มโปรด The Eternal Child ของ ไคลฟ์ บรอมฮอลล์ เป็นหนังสือที่บอกได้อย่าง ชัดเจนว่าทำ�ไมเราถึงต้องการความเป็นเด็ก เพราะวัยเด็กไม่ได้เป็นแค่ ตัวแทนของความคิดสร้างสรรค์และการออกแบบ แต่มันคือเคล็ดลับของ การเป็นมนุษย์ และยังเป็นสิ่งที่ทำ�ให้เราแตกต่างไปจากลิง ดังนั้นจงอย่า ลืมช่วงชีวิตวัยเด็กของตัวเอง สถานที่ในญี่ปุ่นเพื่อค้นหาไอเดียใหม่ ซุงะโมะในโตเกียว มันเป็นเมืองสำ�หรับผู้สูงวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดา คุณย่าคุณยาย เราเลยเรียกมันว่า “ซุงะโมะ ฮาราจูกุของคุณย่า” ที่นี่ วัฒนธรรมป็อปไม่ได้มไี ว้เฉพาะคนหนุม่ สาว แต่ประเด็นทีส่ �ำ คัญและยิง่ ใหญ่ ทีส่ ดุ สำ�หรับอนาคตก็คอื วิธกี ารรับมือกับสังคมผูส้ งู วัย เพือ่ ทีจ่ ะสร้างตลาด สำ�หรับผู้สูงอายุที่ยังคงมีพลังเต็มเปี่ยม หรือที่เราเรียกว่า “Active Silver” ผมถึงเลือกไปที่ซุงะโมะ เพราะมันยังสนุกอีกด้วย อีกวิธีหนึ่งในการสร้างแรงบันดาลใจก็คือการมองสถานที่เดิมๆ ด้วย สายตาใหม่ ง่ายที่สุดก็คือการพานักท่องเที่ยวต่างชาติไปยังสถานที่ต่างๆ ที่คุ้นเคย แล้วลองสังเกตปฏิกิริยาของพวกเขา อย่างเช่นขณะที่ผมเดินอยู่ บนถนนในกรุงเทพฯ ผมตกตะลึงที่ได้เห็นหุ่นโชว์จำ�นวนมากที่มีทั้งสีผิว และสีหน้าอารมณ์ทแ่ี ตกต่างกัน ซึง่ คนไทยอาจจะไม่ได้รสู้ กึ ประหลาดใจกับ สิง่ นีเ้ พราะพวกเขาเห็นมันอยูท่ กุ วัน แต่ผมกลับทึง่ และเกิดคำ�ถามมากมาย เช่น ทำ�ไมหุ่นโชว์ต้องมีความสูง มีรูปร่าง สีสัน และสีหน้าอารมณ์แบบนี้ ง่ายๆ ก็คือจงประหลาดใจและสงสัยอยู่เสมอเหมือนที่เด็กๆ มองโลกใบ นี้ของพวกเขานั่นเอง ประเทศที่อยากใช้เวลาในช่วงวันพักผ่อน ผมเดินทางไปมากกว่า 40 ประเทศทั่วโลกและผมก็ชอบทุกๆ ที่ที่ผมไป แต่ถ้าเป็นเพื่อการพักผ่อน ผมคงเลือกไปประเทศเขตร้อน ที่ไหนก็ได้

ติดตามผลงานของโมริโนะสุเกะ คาวากูจิ ได้ที่ morinoske.com youtube.com/user/JapanTechLessons

32 l

Creative Thailand

l มีนาคม 2556

แรงบันดาลใจในการเขียนหนังสือ สิ่งที่ขับเคลื่อนผมก็คือความอยากรู้อยากเห็น นั่นเป็นพื้นฐาน และมันยัง เป็นความแตกต่างระหว่างวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมหรือโปรแกรม คอมพิวเตอร์ เพราะวิศวกรรมหรือโปรแกรมพวกนั้นมักเป็นวิธีการเพื่อไป ให้ถึงเป้าหมาย ซึ่งนำ�มาใช้ได้ง่ายและสะดวกกว่า แต่วิทยาศาสตร์คือ เป้าหมายในตัวมันเอง เป็นความอยากรู้อยากเห็นที่บริสุทธิ์ เพราะมีคน อยากรู้ นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำ�ไมวิทยาศาสตร์ถึงได้รับการยอมรับว่ามีค่า มากกว่าวิศวกรรมหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพราะวิทยาศาสตร์เป็นพื้น ฐานของมนุษย์ และผมก็แค่อยากรู้ ดังนั้นผมจึงค้นหาและเขียนมัน นักคิดสร้างสรรค์ที่คุณอยากร่วมงานด้วยมากที่สุด ความฝันของผมก็คืออยากทำ�งานกับคนรุ่นใหม่ชาวไทยที่มีพรสวรรค์ จากทุกๆ สาขาวิชา รวมทั้งทีมงานของ TCDC และผมยังอยากเชิญ นักสร้างสรรค์คนโปรดของผมมาร่วมทีมด้วย เช่น ยาซุชิ อากิโมโตะ ผู้ที่ สร้างวง AKB48 เพราะเขาเป็นอัจฉริยะ แล้วก็ลุค เบซอง ผู้กำ�กับ ภาพยนตร์ชาวฝรั่งเศส กับดีไซเนอร์ชื่อดังฌอง ปอล โกติเยร์ เพราะเขา ทั้งคู่นั้นทั้งเจ๋งและฉลาด นอกจากนี้ผมยังอยากทำ�งานกับมิยาซากิ ฮายา โอะ และทีมของสตูดิโอจิบลิ รวมถึงคนที่สตูดิโอไกแน็กซ์ที่สร้างการ์ตูน อะนิเมะชุด “อีวานเกเลียน มหาสงครามวันพิพากษา” แล้วก็คงวิเศษ มากถ้าได้ร่วมงานกับไอดิโอ (IDEO) ด้วย



CREATIVE WILL คิด ทำ� ดี

Re-Leaf Studio You can make a green choice เรื่อง: กมลกานต์ โกศลกาญจน์ ภาพ: พุทธิมน ตันติธนานนท์

“Remove a tree, you remove its shade. We do not kill a tree.” คือความเชื่อและความตั้งใจของ “Re-Leaf studio (รี-ลีฟ สตูดิโอ)” สตูดิโอออกแบบอันประกอบด้วย สเริงรงค์ วงษ์สวรรค์ และ พาณุ งากุญชร สองผู้ก่อตั้งที่เติบโตในเชียงใหม่

จากความจริงที่ว่า หลังจากต้นกล้วยออกเครือแล้ว พวกมันจะยืนต้นแห้ง ตายไปตามธรรมชาติ การนำ�ต้นกล้วยและใบกล้วยที่ตายแล้วและถูกทิ้ง ให้ไร้ประโยชน์มาทำ�เป็นกระดาษจึงเป็นการตอบโจทย์เป้าหมายของสตูดโิ อ แห่งนี้ ทีม่ งุ่ มัน่ จะผลิตผลงานจากธรรมชาติโดยไม่ท�ำ ลายทรัพยากรเพิม่ เติม แต่รู้จักมองถึงคุณค่าในสิ่งที่มีอยู่เดิมมากกว่า และเนื่องจากเส้นใยของ ต้นกล้วยนั้นมีความแตกต่างจากเส้นใยของพืชชนิดอื่นๆ ที่นิยมนำ�มาใช้ ทำ�กระดาษอย่างต้นปอสา ดังนัน้ การจะผลิตกระดาษจากใยกล้วยเพียงเพือ่ ทำ�ปกสมุดบันทึกสักเล่มจึงไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องใช้ทั้งเทคนิควิธีที่ ไม่คนุ้ เคย และยังต้องคำ�นึงถึงขัน้ ตอนการผลิตกระดาษทีไ่ ม่พง่ึ พาสารเคมี เพื่อให้เกิดความยั่งยืนตามเจตนารมย์ ด้วยข้อจำ�กัดเพื่อโลกเหล่านี้ รี-ลีฟ สตูดิโอจึงจำ�เป็นต้องคิดค้นวิธี การผลิตที่ใช้สารเคมีน้อยที่สุด และสอดคล้องกับความเป็นธรรมชาติ มากที่สุด รวมถึงต้องไม่พึ่งพาเทคโนโลยีที่ไม่จำ�เป็น ไปพร้อมๆ กับการ สร้างเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ด้วยผิวสัมผัสที่แตกต่างซึ่งเกิดจากการ

เลือกใช้วัสดุและอุปกรณ์ที่สามารถหาได้ในท้องถิ่นอย่าง เสื่อ กก หรือฝา ขัดแตะ (ฝาเรือนไทยที่ทำ�จากไม้ไผ่สาน) ซึ่งต่างถูกหยิบจับมาสร้างสรรค์ เป็นผิวสัมผัสบนหน้าปกสมุดที่ให้ทั้งความรู้สึกแปลกใหม่และซ่อนไว้ซึ่ง เสน่ห์แห่งวิถีชีวิตล้านนา จนกลายเป็นเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ที่ช่วยให้ ผู้บริโภคสามารถจดจำ�ได้ในทันที นอกจากนี้ การตัง้ ชือ่ คอลเล็กชัน่ สมุดบันทึกของรี-ลีฟ สตูดโิ อ ตามชือ่ กาด (ตลาด) ต่างๆ ที่อยู่ในเชียงใหม่ ไม่ว่าจะเป็น กาดหลวง กาดวัว หรือกาดแม่มาลัย ยังเป็นการสือ่ สารถึงทีม่ าของวัสดุและความเป็นเชียงใหม่ ให้ถึงมือผู้รับได้อย่างสมบูรณ์ และการนำ�ยางในรถที่ไม่ใช้งานแล้วมาทำ� เป็นสันสมุดก็ยังสอดคล้องกับเจตนารมย์ในการนำ�วัสดุธรรมชาติจาก ท้องถิ่นและวัสดุเหลือทิ้งกลับมาเป็นต้นทุนของผลิตภัณฑ์ได้ครบทุกองค์ ประกอบ สิ่งเหล่านี้จึงไม่เพียงตอบโจทย์การเป็นผลิตภัณฑ์เพือ่ สิง่ แวดล้อม อย่างแท้จริง แต่ยงั เป็นการช่วยสร้างพืน้ ฐานเรือ่ งวิธคี ดิ ทีจ่ ะติดตัวไปกับผูใ้ ช้ ไม่ใช่เป็นเพียงกระแสรักษ์สิ่งแวดล้อมที่พัดผ่านไปเท่านั้น ที่มา: สัมภาษณ์ สเริงรงค์ วงษ์สวรรค์ หนึ่งในผู้ก่อตั้ง รี-ลีฟ สตูดิโอ

34 l

Creative Thailand

l มีนาคม 2556




Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.