atRama issue 13

Page 1


Editor’s Talk อ.พญ.โสมรัชช์ วิไลยุค บรรณาธิการนิตยสาร @Rama “เด็กในวันนี้คือผู้ใหญ่ที่ดีในวันหน้า” คำ�ขวัญที่เราๆ ท่านๆ คุ้นหูมา นาน หากจะสร้างเด็กคนหนึ่งให้เป็นผู้ใหญ่ที่ดีเพื่ออนาคตของชาติในวันข้างหน้า ท่านรู้หรือไม่คะว่าต้องเริ่มตั้งแต่คุณแม่ตั้งครรภ์กันเลยเชียว คุณแม่ถือว่าเป็น บุคคลที่สำ�คัญมากสำ�หรับลูก หากคุณแม่ไม่รู้วิธีปฏิบัติตัวที่ถูกต้องขณะตั้งครรภ์ ลูกที่เกิดมาก็อาจไม่สมบูรณ์ทั้งกายและ ใจ การเตรียมพร้อมสำ�หรับการตั้งครรภ์จึงมีความสำ�คัญไม่แพ้การดูแลลูกหลังคลอดนะคะ @Rama ฉบับนี้เราขอนำ�เสนอเรื่องราวเกี่ยวกับคุณแม่ตั้งครรภ์ ซึ่งมีเนื้อหามากมายที่น่าสนใจในหลายแง่มุม ที่ กองบรรณาธิการได้รวบรวมมาไว้แน่นเอี้ยดเพื่อคุณแม่โดยเฉพาะค่ะ ส่วนฉบับถัดไปจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการดูแลลูก ซึ่งคุณแม่ คุณพ่อก็พลาดไม่ได้อีกเช่นกันค่ะ เริ่มกันที่ คอลัมน์ Rama Today คุณแม่หลายท่านคงจะเคยผ่านประสบการณ์การคลอดกันมาแล้ว และก็คุณ แม่หลายท่านได้มาคลอดที่รามาธิบดี อะไรนะที่ทำ�ให้คนหลั่งไหลกันมาคลอดที่นี่ แล้วการคลอดเองตามธรรมชาติกับการ ผ่าคลอดมีความแตกต่างกันอย่างไร เราจะมีวิธีการเลือกอย่างไรดี นอกจากนี้แล้วยังมีเกร็ดความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาในคุณ แม่ตั้งครรภ์มาฝากกันด้วยค่ะ ความเชือ่ ทีว่ า่ “ดืม่ น�้ำ มะพร้าวเยอะๆ แล้วลูกในท้องจะผิวสวยจริงหรือไม่?” เรามีค�ำ ตอบมาฝากกันใน คอลัมน์ Believe it or not? ค่ะ...พอพูดเรื่องอาหารการกิน ฉบับนี้น้องแพรวพาชิมก็มี “เคล็ดลับการดูแลแลอาหารเมื่อคุณแม่ ตั้งครรภ์” กินอย่างไรให้มีสุขภาพดีทั้งแม่และลูกมาให้ติดตามกัน พลิกไปอ่านกันได้เลยค่ะ เรือ่ งราวเกีย่ วกับคุณแม่ตงั้ ครรภ์ยงั ไม่จบนะคะ คอลัมน์ Easy Living ธรรมะคิดดี มีขอ้ มูลโครงการดีดมี าแนะนำ� สำ�หรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ที่กำ�ลังจะเป็นพ่อคนแม่คน กับ “โครงการจิตประภัสสร” โครงการที่จะทำ�ให้ทั้งคุณแม่และ ลูกน้อยในท้องได้เตรียมความพร้อมทางใจ ไม่ใช่เฉพาะทางกายที่จะต้องดูแล ทางใจก็สำ�คัญไม่แพ้กันนะคะ ส่วน คอลัมน์ Health Station กุมารแพทย์จะมาแนะนำ�วิธีการดูแลตนเองของคุณแม่ตั้งครรภ์ในช่วงที่ไข้หวัด ใหญ่ก�ำ ลังระบาด จะมีวธิ กี ารอย่างไรบ้าง แล้ววัคซีนทีฉ่ ดี ให้คณ ุ แม่จะทำ�ให้ลกู ได้รบั ภูมคิ มุ้ กันและมีความปลอดภัยด้วยหรือ ไม่ ติดตามกันให้ได้นะคะ ปิดท้ายกันที่ คอลัมน์ที่ให้ข้อคิดและทำ�ให้ใครต่อใครซาบซึ้งไปกับบทความดีดีกันมาแล้วใน Behind the Scene ซึ่งฉบับนี้ได้กล่าวถึงโฆษณาที่กำ�ลังเป็น talk of the town เมื่อไม่นานมานี้กับเรื่อง “ผู้หญิงที่สวยที่สุดจากข้างใน” ลอง พลิกมาอ่านดูนะคะ แล้วท่านจะรู้ว่า “ผู้หญิงที่สวยจากข้างใน” นั้นเป็นอย่างไร

แล้วพบกันใหม่ฉบับหน้านะคะ

ลิขสิทธิ์เจ้าของ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล 270 ถนนพระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400 ติดต่อกองบรรณาธิการ @Rama โทรศัพท์ 0-2201-1723 ,0-2201-2127 atrama.magz@gmail.com, www.ra.mahidol.ac.th/atrama


Contents Easy Living

: โครงการจิตประภัสสร ตั้งแต่นอนอยู่ในครรภ์ BackStage

: อะไรคือ..โรคหายาก ? Beauty-Full

: เมือ่ ผิวชรา ตอนที่ 2… วิธกี ารรักษาเมือ่ ผิวหนังเสือ่ ม รวมทั้งวิธีการชะลอการเสื่อมของผิวหนัง Health Station

: วัคซีนไข้หวัดใหญ่สำ�หรับหญิงตั้งครรภ์ Healthy Eating

: “เคล็ดลับดูแลอาหารขณะตั้งครรภ์” Believe it or not?

: ดื่มน้ำ�มะพร้าวเยอะๆ ลูกจะผิวสวยจริงหรือไม่ Varieties Corner

: เยือนถิ่นซากุระ “ญี่ปุ่น” i-Style

: ตอบไม่ให้แพ้ Behind the Scene

: ผู้หญิงสวยที่สุดจากข้างใน One Day Off

: พักหย่อน ผ่อนกาย ที่..ปางอุ๋ง Giving and Sharing

: “อยู่รอ” เพื่อคนที่ “รออยู่” Rama Today

: คลอดที่รามาธิบดี..ดีอย่างไร? Education Talk

: บทเรียนที่(ยัง)ไม่เคยสอน Research Inspiration

: “งานวิจัยเป็นเรื่องของทุกคนในองค์กร” ศ.นพ.อร่าม โรจนสกุล

ที่ปรึกษากองบรรณาธิการ ศ.นพ.วินิต พัวประดิษฐ์ รศ.พญ.จิรพร เหล่าธรรมทัศน์ ผศ.นพ.ภาวิทย์ เพียรวิจิตร พัชรี ภูรีนันทนิมิต

บรรณาธิการ อ.พญ.โสมรัชช์ วิไลยุค

หัวหน้ากองบรรณาธิการ ดนัย อังควัฒนวิทย์

กองบรรณาธิการ สิทธิ แสงเจริญวัฒนา สาธิต อุณหกะ กิติยา สุวรรณสิทธิ์ ฐิติพร สุรวัฒนวิเศษ มูลนิธิรามาธิบดีฯ

ฝ่ายออกแบบ พิชชา โภคัง

ฝ่ายช่างภาพและอิเล็กทรอนิกส์ ชนะภัย ลิ้มสุวรรณเกสร

ฝ่ายพิสจู น์อกั ษร ทิพย์สุดา ตันเติมเกียรติ

ฝ่ายการตลาดและโฆษณา กุลนรินทร์ สุขสมัย ปกรณ์ ดิษเนตร

ฝ่ายการเงิน กิตติมา ทัศนประเสริฐ

ฝ่ายจัดส่งและสมาชิก ระวีนุช วิบุญกูล

พิมพ์ท่ี บริษทั เอส.เอ็น.มีเดีย แอนด์ แพ็ค จำ�กัด 17 ซอยประชาอุทิศ 19/1 ถนนประชาอุทิศ แขวงราษฎร์บูรณะ เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพฯ 10140

ภาพปก: เมธี บัวจู นักวิชาการโสตทัศน์ งานโสตทัศนศึกษา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาล รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล


โครงการ จิตประภัสสร ตั้งแต่นอนอยู่ในครรภ์


Easy

Living

ทิพย์สุดา ตันเติมเกียรติ

“เด็กในวันนี้ คือผู้ใหญ่ในวันหน้า” หลายคนคงได้ยินคำ�กล่าวนี้มาบ้าง การสร้างพื้นฐานทางสติปัญญาและ อารมณ์ให้แก่ลูกน้อยตั้งแต่อยู่ในครรภ์นั้นเป็นสิ่งสำ�คัญที่จะทำ�ให้เขาเติบโตเป็น ผู้ใหญ่ที่ดีได้ เราขอชวนคุณพ่อคุณแม่ใช้ชีวิตแบบ Slow life น้อมนำ�ธรรมะเข้า มาสู่ในจิตใจ ทำ�ให้ลูกน้อยสมาชิกใหม่ได้มีพื้นฐานทางอารมณ์ที่ดีกันค่ะ “โครงการจิตประภัสสร ตั้งแต่นอนอยู่ในครรภ์” เป็นโครงการของ เสถียรธรรมสถาน การส่งเสริมให้คุณพ่อคุณแม่และผู้ที่เกี่ยวข้องมีสัมมาทิฏฐิใน การดำ�เนินชีวิต เพื่อให้ใช้เวลา 9 เดือนของการตั้งครรภ์ เป็นการสร้างทุนแห่ง “อริยทรัพย์” ซึ่งทำ�ให้เด็กคนหนึ่งได้มีโอกาสเกิดเป็นมนุษย์ที่อยู่บนหนทางของ “อริยบุคคล” (บุคคลผู้ประเสริฐ) “เพราะครรภ์ของแม่ คือ โลกของลูก” ลูกน้อยในครรภ์จะได้มโี อกาส เรียนรูโ้ ลกใบใหญ่นผ้ี า่ นฮอร์โมนทีบ่ ง่ บอกอารมณ์ของคุณแม่ในแต่ละขณะจิต หรือ ประมาณได้วา่ “แม่รสู้ กึ อย่างไร ลูกรูส้ กึ ได้อย่างนัน้ ” ดังนัน้ การรักษาใจของคุณ แม่ไม่ให้หงุดหงิดขุน่ มัว จึงเป็นสิง่ สำ�คัญ โดยมีคณ ุ พ่อเป็นผูเ้ กือ้ กูลและให้ก�ำ ลังใจ ซึง่ กันและกัน คอลัมน์ Easy Living ฉบับนี้ เราได้มโี อกาสสัมภาษณ์แม่ชโี มลี เขียว สะอาด หรือ “แม่ชโี อ๊ะ” มาร่วมให้ความรูใ้ นการจัดกิจกรรมครัง้ นีด้ ว้ ยค่ะ

พูดถึงโครงการจิตประภัสสร ตั้งแต่นอนอยู่ในครรภ์ โครงการจิตประภัสสรตอนนี้ย่างเข้าสู่ปีที่ 9 เป็นการเชิญชวนคู่รักหรือผู้ ที่พร้อมจะเป็นคุณพ่อคุณแม่ที่ดีของลูกมาเตรียมทิฏฐิกัน หมายความว่า ก่อนที่ จะตั้งครรภ์มาจูนคลื่นให้ตรงกันก่อน เป็นการเตรียมสัมมาทิฏฐิ เชิญเด็กดีมาอยู่ ในท้อง แล้วเราก็พบว่า เด็กที่เกิดมาในโครงการจิตประภัสสรจะเป็นเด็กที่เลี้ยง ง่าย เป็นเด็กร่าเริงและมีความสุข เพราะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่พ่อแม่ได้เตรียม กาย เตรียมใจของคนในครอบครัวกันแล้วเป็นอย่างดี

คุณพ่อคุณแม่จะได้มีโอกาสทำ�อะไรบ้างเมื่อเข้าร่วมโครงการ ก่อนอื่นต้องเตรียมจิตที่ดีมาก่อน ตั้งแต่เดินทางมาลงทะเบียนนั้น คุณ พ่อจะผูกข้อมือให้คุณแม่ ตั้งแต่ประตูทางเข้าก็จะมีบรรยากาศที่เชื้อเชิญให้เข้า มาอย่างมีความสุข จนมาถึงศาลา มาร่วมฟังเสวนารายการวิทยุ ซึ่งจะมีการสอน การปฏิบัติธรรม สอนวิธีคิดที่จะให้สามีและภรรยาอยู่ด้วยกันอย่างเข้าใจ


หลังจากจบรายการวิทยุกจ็ ะเข้าสูช่ ว่ ง “ภาวนากับบทเพลง” ให้ลกู ใน ท้องได้ดแู ลคุณพ่อ คุณแม่กด็ แู ลคุณพ่อ เป็นการดูแลซึง่ กันและกัน บางครอบครัว ทีม่ คี วามเครียดความกังวลว่า ทีผ่ า่ นมาลูกไม่เคยดิน้ ให้รสู้ กึ เลย พอมาเข้าสู่ กิจกรรมทีใ่ ช้บทเพลงแห่งสติ เพลง “ดัง่ ดอกไม้บาน” แล้วนัน้ ลูกในครรภ์กจ็ ะดิน้ หรือคุณแม่ทม่ี ฮี อร์โมนในร่างกายไม่สมดุล อารมณ์แปรปรวน ซึง่ อาจจะโกรธหรือ งอนคุณพ่อบ้าง มาทีน่ ก่ี จ็ ะเปิดโอกาสให้คยุ กัน เปิดโอกาสให้ มีกจิ กรรมร่วมกัน ถือว่าเป็นการปรับสมดุลทัง้ กายทัง้ ใจ การเลี้ยงลูกด้วยวิธีปฏิจจสมุปบาท จ๊ะเอ๋-บ๊ายบาย (เมื่อเจอความทุกข์ให้โบกมือลานำ� ความทุกข์ออกไปจากใจ) หรือวิธีการที่จะอยู่ด้วยกันอย่างไร แล้วมีความสุข นี่ก็เป็นวิธีที่คุณยายจ๋า (ท่านแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต) ได้เตรียมกายเตรียมใจทั้งคุณพ่อและคุณแม่ รวม ถึงลูกที่อยู่ในครรภ์ เป็นการจัดสภาพแวดล้อมให้สามารถอยู่ ด้วยกันได้อย่างเข้าใจซึ่งกันและกัน การนอนภาวนา เป็นการฟังเสียงการหมุนวนของคริสตัลโบวล์ (โถคริสตัล) เขย่าคลื่นน้ำ�โมเลกุลที่อยู่ในท้อง นั่นก็คือ น้ำ�คร่ำ� การฟังเสียงคริสตัลโบวล์นี้ก็จะ ช่วยไปเขย่าโมเลกุลของน้ำ�ให้เรียงตัวกันอย่างเป็นระเบียบมีความสมดุล เลือด ไม่หนืด ทำ�ให้ลูกรู้สึกสดชื่น การเดินอย่างมีสติ การเดินในแต่ละก้าวของคุณแม่ อย่างมีสติ ลูกในครรภ์ก็จะได้ก้าวอย่างมี สติไปด้วยกัน ลมหายใจของคุณแม่ก็จะ สงบเย็น ระหว่างทางเดินจะพบเส้นทาง ที่แตกต่างกันไป ทั้งพื้นหญ้า พื้นดิน พื้น ทราย ดังนั้น แม่รู้สึกอย่างไร ลูกก็รู้สึก อย่างนั้นด้วย เป็นการรู้ตัวทั่วพร้อม มีความสดชื่น รู้ตื่นและเบิกบานทั้งคุณแม่ และลูก ถือเป็นโอกาสที่ดี ถ้าหากคุณแม่ได้ทำ�กุศลอยู่ในทุกขณะ ลูกก็จะได้กุศล ด้วยเช่นกัน ลมหายใจของคุณแม่ก็คือลมหายใจของลูก ช่วงบ่ายนั้นก็จะได้มาฟังการบรรยายร่วมกัน เช่น การเตรียมจิตให้เป็น ประภัสสร การเตรียมศักยภาพสมองของลูกให้สมบูรณ์ การให้นมแม่อย่างอิ่ม อุ่น แม้กระทั่งเรื่องการออกกำ�ลังกายให้คลอดง่าย โยคะแม่ท้องเป็นอย่างไร ซึ่ง หลังจากดื่มน้ำ�ปานะก็จะเชิญชวนคุณพ่อคุณแม่ไปอธิษฐานจิตที่หอประดิษฐาน พระบรมสารีริกธาตุ เพื่อที่จะยืนยันและตั้งสัจจะว่า ขอให้ลูกน้อยที่เกิดมาเป็น เด็กดี

ความประทับใจในการจัดทำ�โครงการจิตประภัสสรฯ

การทำ�งานของพวกเราที่ได้รับใช้คุณพ่อคุณแม่ในโครงการนี้นั้น มัน ทำ�ให้เกิดกุศล เป็นการทำ�ให้เด็กในท้องมีความสุข เพราะเรารู้ว่าเด็กที่เกิดมาจะ เป็นเด็กดี ซึ่งจะเป็นผู้ดูแลโลกในอนาคตข้างหน้า การได้เห็นภาพที่คุณพ่อคุณแม่ ดูแลกัน มันรู้สึกดี นั่นหมายความว่า จริงๆ แล้ว ยังมีหลายครอบครัวที่ต้องการ เข้าร่วมกิจกรรมดีๆ แบบนี้อยู่ เพียงแต่ว่าบางคนเขาอาจยังไม่ทราบว่าจัดที่ไหน บ้าง ก็เลยอาจจะใช้วิธีอ่านหนังสือเตรียมตัวเอา แต่ไม่มีพื้นที่ให้ลงมือปฏิบัติจริง เสถียรธรรมสถานจึงเป็นอีกสถานที่ที่จะทำ�ให้คุณพ่อคุณแม่ได้เลือกมาฝึกฝนตัว เองที่จะเป็นพ่อแม่ที่ดีของลูก


หลังจากที่เด็กคลอดมาแล้ว เป็นที่น่าแปลกใจมาก สำ�หรับการนำ�เด็กทารกครบ 1 เดือนมารวมตัวกันโดย เพื่อ เข้าสู่พิธีการขลิบผมรับขวัญโดยคุณยายจ๋า (ท่านแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต) เป็นการต้อนรับสู่วงศาคณาญาติ พร้อมรับขวัญ และพระธาตุ เราพบว่า ไม่มีใครร้องไห้งอแงเลยแม้แต่คนเดียว เป็นเด็กที่เลี้ยงง่ายและมีจิตเป็นประภัสสร ถ้าหากโลก ของเรามีแต่เด็กที่ร่าเริงเบิกบานแจ่มใสก็คงจะดีทีเดียว ซึ่งทางเรายินดีที่จะเป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่จะช่วยเหลือสังคมใน ด้านนี้ เราเชื่อในการลงทุนของเรา ในทุกขณะที่เราได้ทำ�งานและดูแลคุณพ่อคุณแม่เราเต็มที่ เราเชื่อว่า ผลมันต้องดีอย่าง แน่นอน หลังจากการเข้าร่วมโครงการนี้แล้ว วันที่คุณแม่เข้าโรงพยาบาลเพื่อรอคลอด คณะแม่ชีจากเสถียรธรรมสถาน จะร่วมกันสวดมนต์และตามประทีปให้ ณ หอประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ เพื่อเป็นการเสริมความเป็นสิริมงคลแก่ ลูกน้อยสมาชิกใหม่ในครอบครัวด้วยค่ะ สำ�หรับใครที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่เสถียรธรรมสถานนะคะ โครงการนี้จัดขึ้น ทุกวันอาทิตย์สัปดาห์แรกของทุกเดือน ซึ่งนอกจากคุณพ่อคุณแม่ทั้งมือใหม่และผู้ที่มีประสบการณ์การเลี้ยงดูลูกน้อยมา แล้ว ยังสามารถเชิญชวนสมาชิกคนอื่นๆ ในครอบครัวเข้าร่วมได้อีกด้วยค่ะ มาร่วมสร้างจิตประภัสสร ตั้งแต่นอนอยู่ใน ครรภ์ร่วมกันนะคะ ธรรมะสวัสดีค่ะ

วิถีชีวิตวันครอบครัวจิตประภัสสร ตั้งแต่นอนอยู่ในครรภ์ 8.00 – 9.00 9.00 – 10.00 10.00 – 10.20 10.20 – 11.30 11.30 – 12.45 12.45 – 14.00 14.00 – 15.00 15.00 – 16.30 16.30 – 16.45 16.45 – 18.30

ลงทะเบียนครอบครัวจิตประภัสสร ร่วมสนทนากับรายการวิทยุสาวิกา “ฟังกันด้วยหัวใจ” ภาวนากับบทเพลงแห่งสติ “ปฏิจจสมุปบาท” การรู้เท่าทันอารมณ์ ไม่หลงจมอยู่ในความขุ่นมัวตลอดการตั้งครรภ์ อาหารอร่อยเพราะกินกันหลายคน ภาวนากับคลื่นเสียงคริสตัลโบวล์ ภาวนากับการเดินเล่นในสวนเสถียรธรรมสถาน สนทนากับวิทยากรผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ดื่มน้ำ�เพื่อสุขภาพ สวดมนต์ อธิษฐานจิตและตามประทีป ณ หอประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและกลับบ้านอย่างมีความสุข

เสถียรธรรมสถาน โทรศัพท์ 02-519-1119 Website: www.sdsweb.org Facebook: เสถียรธรรมสถาน Sathira Dhammasathan


Back stage

ดนัย อังควัฒนวิทย์

ผมเองได้มีโอกาสไปร่วมงานและเป็นส่วนหนึ่งของงาน “วันโรคหายาก ครั้งที่ 4” (Rare Disease Day 2014) มาเมื่อวันที่ 1 มีนาคมที่ผ่านมา ณ ลาน Hard Rock Café สยามสแควร์ ซึ่งนอกจากจะได้ร่วมรับฟังข้อมูล ของโรคหายากที่เกิดขึ้นแล้ว ยังได้ประชาสัมพันธ์เผยแพร่นิตยสาร @Rama ของเราให้เป็นที่รู้จักด้วย ซึ่งต้องขอ ขอบคุณผู้เข้าร่วมงานและผู้ที่แวะเวียนมายังบูธกิจกรรมของเราในงานนี้เป็นอย่างยิ่งครับ และเชื่อเหลือเกินว่าข้อมูล สุขภาพดีดีที่ได้รับกลับไปจะเป็นประโยชน์ในการปฏิบัติตนเองในชีวิตประจำ�วันด้านสุขภาพได้เป็นอย่างดี

ต้องอธิบายก่อนเลยว่า โรคหายากเป็นโรคที่พบได้มากกว่า 6,000 โรค ซึ่ง แต่ละโรคมีความหลากหลายของการแสดงอาการ และมักพบโรคต่างๆ ได้ในเด็ก ซึ่ง ศ.พญ.ดวงฤดี วัฒนศิริชัยกุล หัวหน้าหน่วยเวชพันธุศาสตร์ ภาควิชากุมาร เวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ อธิบายว่า โรคหายากในประเทศไทยเป็นโรคที่รักษาได้ยากและมีวิธีการป้องกันยาก ซึ่งผู้ป่วยโรคหายากต้องการความเข้าใจและโอกาสในการรักษาที่ทัดเทียมผู้ป่วย โรคอื่นๆ และแม้ว่าโรคหายาก (Rare Disease) จะเป็นโรคที่พบได้ไม่บ่อยนัก แต่ก็ มีโรคอยู่จำ�นวนนับพันๆ โรค ทำ�ให้การตรวจคัดกรองวินิจฉัยอาจทำ�ได้ไม่ทั่วถึง


อีกทัง้ ยังพบผูป้ ว่ ยโรคหายากได้เกือบ 5% ของประชากร และกว่า 80% ของโรคทีพ่ บ เป็นโรคทางพันธุกรรมทีม่ ี ยีนผิดปกติ มียนี แฝงอยูใ่ นตัว และเด็กมักได้รบั ยีนแฝงจากพ่อแม่ นอกจากนี้ ยังไม่พบข้อมูลทีช่ ดั เจนเกีย่ วกับโรคหายากใน ประเทศไทย และมีแพทย์ทางด้านพันธุกรรมในประเทศค่อนข้างน้อย ทำ�ให้โอกาสในการเข้ารับการตรวจรักษามีไม่มากนัก

1) กลุ่มโรคมีกรดในเลือด เช่น โรคไอวีเอ (IVA) โรคเอ็มเอสยูดี (MSUD หรือโรคฉี่หอม) ซึ่งพบได้ใน เด็กทารกและเด็กเล็ก เด็กจะมีอาการซึม กินไม่ได้ ไม่รู้สึกตัว และมักเป็นอาการ แบบเฉียบพลัน บางโรคจะมีกลิ่นตัวและกลิ่นปัสสาวะฉุนคล้ายกลิ่นเหงื่อเหม็นอับ หรือกลิ่นน้ำ�ตาลไหม้ น้ำ�ตาลในเลือดต่ำ� ค่ากรดในเลือดสูง หากรักษาไม่ทันท่วงที อาจทำ�ให้สมองพิการถาวร หรือเสียชีวิตได้ 2) โรคพราเดอร์-วิลลี่ ลักษณะอาการในเด็กทารกจะหลับมาก ไม่ค่อยกิน น้ำ�หนักขึ้นน้อย เมื่อ อายุได้ 6-9 เดือน จึงจะเริ่มตื่นตัวดี เริ่มกินได้ และกินมากเกินไป เนื่องจากไม่รู้จัก อิ่ม ร่างกายจึงอ้วนผิดปกติ และมีพัฒนาการสติปัญญาล่าช้า 3) โรคกล้ามเนื้อเสื่อมดูเชน พบในเด็กผู้ชายอายุ 3-5 ปี ลักษณะอาการเริ่มจากกล้ามเนื้อขาอ่อน แรง เดินขาปัด ล้มง่าย ลุกขึ้นจากพื้นเองไม่ได้ ต้องใช้มือยันพื้น ทั้งที่เมื่อก่อนเคย วิ่งเล่นปกติ น่องโตแข็ง เดินเขย่ง หลังแอ่น อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงจะมากขึ้น เรื่อยๆ จนกระทั่งอายุ 8-9 ปี จนไม่สามารถเดินได้เอง 4) โรคมาแฟน เด็กจะมีรูปร่างสูงกว่าปกติ โดยมากมักปรากฏให้เห็นชัดเมื่อเด็กโต ผอม นิ้วยาว ข้อกระดูกหลวมอ่อน กระดูกหน้าอกบุ๋มหรือโป่ง กระดูกสันหลังคด สายตาสั้นมาก เลนส์ตาเคลื่อนหลุด ผนังหลอดเลือดใหญ่ในช่อง อกหรือช่องท้องมีการโป่ง พอง และเปราะแตกง่าย ซึ่งอันตรายถึงขั้นอาจเสียชีวิตได้ 5) กลุ่มโรคสมองน้อยเสื่อมจากพันธุกรรม (โรคเดินเซ) มักเริ่มมีอาการในวัยผู้ใหญ่ เดินเซ เวลาก้าวเดินไม่มั่นคง ต้องกางขาเพื่อช่วยการทรงตัว เสียงพูดเปลี่ยนไป ้ ดื่มนำ�แล้วสำ�ลัก การใช้กล้ามเนื้อนิ้วและมือไม่สัมพันธ์กัน ลายมือเปลี่ยน บางรายมีตากระตุกไปมา และมีอาการรุนแรงเกิด ขึ้นอย่างช้าๆ 6) โรคเพนเดร็ด จะมีอาการหูหนวกตั้งแต่กำ�เนิด บางคนมีการทรงตัวไม่ดี เมื่อโตขึ้นมักมีอาการต่อมไทรอยด์โต หรือคอพอกแบบไม่เป็นพิษ 7) โรคแองเจลแมน อาการแสดงที่พบจะมีพัฒนาการช้า ซึ่งสามารถสังเกตได้ในช่วงอายุ 6-9 เดือน มีอาการเดินเซ ไม่มั่นคง ไม่พูด มักจะยิ้ม หัวเราะเก่ง ตื่นเต้นง่าย ชอบตบมือ และสมาธิสั้น เหล่านี้คือโรคหายากที่พบได้ในเด็กแรกเกิดและในเด็กในครรภ์มารดา ซึ่งใน ปัจจุบันไม่สามารถทำ�การคาดเดาและตรวจคัดกรองโรคได้ทุกโรคในกลุ่มโรคหายาก และเพื่อต้องการให้ผู้ป่วยรายใหม่ได้เข้าใจอาการของโรค จนนำ�ไปสู่แนวทางการรักษา ที่ถูกต้องเหมาะสม รวมไปถึงการสร้างความตระหนักให้เกิดขึ้นแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อันจะนำ�ไปสู่แนวทางความร่วมมือในการรักษาโรคหายากต่อไป นอกจากนี้ยังมุ่งหวังให้ เกิดการสร้างความเสมอภาคแก่ผู้ป่วยและลดช่องว่างในสังคมอีกด้วย


เมื่อผิวชรา ตอนที่ 2 …

วิธกี ารรักษาเมือ่ ผิวหนังเสือ่ ม รวมทัง้ วิธกี ารชะลอการเสือ่ มของผิวหนัง ฉบับที่แล้ว ได้นำ�เสนอกันถึงกลไกการเสื่อมของผิวหนัง ซึ่งแบ่ง ได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่ การเสื่อมจากปัจจัยภายนอกร่างกาย เช่น แสงแดด สูบบุหรี่ และการเสื่อมจากปัจจัยภายในร่างกาย ซึ่งเกิดจากพันธุกรรม หรือยีนที่ได้จากพ่อแม่และบรรพบุรุษ สำ�หรับฉบับนี้ขอนำ�เสนอถึงวิธีการ รักษาเมื่อผิวหนังเสื่อม รวมทั้งวิธีการชะลอการเสื่อมของผิวหนัง วิ ธี ที่ ดี ที่ สุ ด สำ � หรั บ การรั ก ษาการเสื่ อ มจากปั จ จั ย ภายนอก ร่างกาย ได้แก่ หลีกเลี่ยงปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่มีผลต่อการเสื่อม ของผิวหนัง ที่สำ�คัญคือการหลีกเลี่ยงแสงแดด งดสูบบุหรี่ และงดดื่ม เหล้า วิธีการหลีกเลี่ยงแสงแดดที่ดีที่สุดคือการสัมผัสแดดให้น้อยที่สุด เลือกใช้ร่มที่ทำ�จากวัสดุกันรังสียูวีได้ ซึ่งประสิทธิภาพของร่มจะสูงที่สุดใน เวลาเที่ยงวัน อันเป็นเวลาที่ดวงอาทิตย์ทำ�มุม 90 องศากับพื้นโลก จึงควร ถือร่มในตำ�แหน่งที่สูงกว่าศีรษะประมาณ 10-20 เซนติเมตร การสวมหมวกทุกประเภท สามารถป้ อ งกั น ผิ ว หนั ง บริ เ วณ หน้าผากได้มากกว่าร้อยละ 90 รองลงมาคือบริเวณ จมูก แก้ม คาง และคอด้านหลัง สำ�หรับบริเวณ คางจะเป็ น บริ เ วณที่ ห มวกทุ ก ประเภทป้องกันแสงแดดไม่ได้ หาก พิจารณาชนิดของหมวก จะพบว่า 10-20 cm หมวกปีกกว้างซึ่งทำ�จากวัสดุสาน จะมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพในการป้ อ งกั น แสงได้น้อยกว่าหมวกปีกปานกลาง (ขนาด 2.5-7.5 เซนติเมตร) ที่ทำ� จากผ้าเนื้อหนาสีเข้ม เช่น ผ้ายีนส์ สีฟ้าน้ำ�เงิน


Beauty

Full

อ.นพ.วาสนภ วชิรมน แผนกผิวหนังและเลเซอร์ หน่วยโรคผิวหนัง ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ดังนั้น คำ�แนะนำ�ในการเลือกหมวกเพื่อป้องกันแสงแดด ควรจะเป็นหมวกที่มีปีกกว้างกว่า 7.5 เซนติเมตร และทำ�จากวัสดุเนื้อหนาสีเข้ม ในกรณีของเสื้อผ้า จะพบกว่าผ้าสีเข้มป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลตได้ดีกว่าผ้าสีอ่อน นอกจากนี้ยังพบ ว่าผ้าเนื้อหนา น้ำ�หนักมากและทอแน่น จะป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลตได้ดีกว่า นอกจากนี้ การซักผ้าด้วยน้ำ�และ ผงซักฟอกจะทำ�ให้เกิดการหดตัวของใยผ้า ทำ�ให้ช่องว่างระหว่างเส้นใยมีขนาดเล็กลง ทำ�ให้ความสามารถในการ ป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลตดีขึ้น ในทางตรงกันข้าม ผ้าที่ถูกดึง หรือขึงเนื้อผ้าให้ตึงจะทำ�ให้ความสามารถในการป้องกันรังสี อัลตราไวโอเลตลดลง ความแห้งและเปียกของผ้าก็มีผลต่อการ ส่องผ่านรังสีอัลตราไวโอเลตเช่นกัน โดยพบว่าผ้าที่เปียกจะมี การส่องผ่านรังสีอัลตราไวโอเลตที่มากกว่าผ้าที่แห้ง สำ�หรับยากันแดด แม้ไม่ใช่ว ิธีที่ด ีท ี ่ สุ ดในการ ป้อ งกั น แดด แต่จัด เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากมีความคล่องตัวสูงใช้ได้กับทุกกิจกรรม การที่ กล่ า วว่ า ยากั น แดดไม่ ใช่ วิ ธี ที่ ดี ที่ สุ ด เนื่ อ งจากยากั น แดดไม่ สามารถป้องกันแสงแดดได้ทุกความยาวคลื่น เหงื่อ น้ำ� และ แสงแดดเองทำ � ให้ ย ากั น แดดเหล่ า นี้ เ สื่ อ มประสิ ท ธิ ภ าพลง สำ�หรับวิธีการเลือกใช้ยากันแดด คือการดูค่า เอสพีเอฟ (SPF) ซึ่งเป็นค่าบอกความสามารถในการป้องกันรังสีอัลตราไวโอ เลตบี โดยทั่วไปจะแนะนำ�ให้เอสพีเอฟไม่ต่ำ�กว่า 30 และ การดูค่าพีเอ (PA) ซึ่งเป็นตัวบอกความสามารถในการป้องกัน รังสีอัลตราไวโอเลตเอ ควรทาให้ได้ความหนา 2 มิลลิกรัม ต่อตารางเซนติเมตร หรือง่ายๆ คือทั่วหน้าควรใช้ยาประมาณ 1 กรัม ปัญหาที่พบบ่อยได้แก่ การทายาไม่สม่ำ�เสมอ และทาไม่ทั่วถึง ไม่ควรทาบริเวณขมับ ใบหู ต้นคอ รอบตา และ รอบปาก ทั้งนี้ ควรทิ้งช่วงเวลาในการทายากันแดดประมาณ 15 นาที เพื่อให้มีการเกาะตัวกับผิวหนังชั้นบน สำ�หรับการเสื่อมของผิวหนังจากปัจจัยภายในร่างกาย เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงหรือป้องกันไม่ได้ จึงต้องคอย ติดตามรักษากันไป ในกรณีที่ผิวบางตัวลงและแห้งง่าย สามารถใช้ครีมเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นแก่ผิวได้ หากเป็นการ ลดลงของ คอลลาเจน อีลาสติน ใต้ผิวหนัง ก็สามารถรักษาได้โดยการใช้ยาทาบางชนิด เช่น ยาที่มีสารกระตุ้นการ สร้างคอลลาเจนและอีลาสตินใต้ผิวหนัง อย่างไรก็ตาม การทายาก็ยังมีข้อจำ�กัดเรื่องการดูดซึมของยาแต่ละชนิดอาจ ไม่เท่ากัน จึงพบว่ายาหรือเครื่องสำ�อางบางชนิดนั้นใช้ไม่ได้ผล อีกวิธีที่พบว่าช่วยสร้างคอลลาเจนและอีลาสติน ใต้ผิวหนังได้ดีกว่าการใช้ยาทาได้แก่ การใช้เลเซอร์ ซึ่งในปัจจุบันมีเลเซอร์หลายชนิดที่สามารถกระตุ้นการสร้าง คอลลาเจนได้ดี ในขณะที่หลายตัวก็ไม่สามารถกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนได้ ดังนั้น การเลือกใช้เลเซอร์ให้เหมาะกับ สภาพปัญหาของผิวหนังจึงมีความสำ�คัญ เนื่องจากเลเซอร์ในปัจจุบันมีหลายชนิด แต่ละชนิดก็มีคุณสมบัติและจุดเด่นแตกต่างกันไป ผมจะขอเล่าเรื่อง เลเซอร์ที่ใช้ในทางผิวหนังแต่ละประเภทในฉบับหน้า แล้วพบกันฉบับหน้าครับ


Health

Station

ผศ.นพ.ชนเมธ เตชะแสนศิริ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

วัคซีน ไข้หวัดใหญ่ สำ�หรับ

หญิงตั้งครรภ์ ห ญิ ง วั ย เจ ริ ญ พั น ธุ์ ที่ ว า ง แ ผ น จ ะ ตั้งครรภ์หรือหญิงที่กำ�ลังตั้งครรภ์ควรจะได้รับ การทบทวนการได้รับวัคซีนมาแล้ว ซึ่งผู้หญิง ทุกคนควรได้รับวัคซีนอย่างครบถ้วนก่อนที่การ ตั้งครรภ์โดยไม่ต้องกังวลกับการได้รับวัคซีนใน ระหว่างการตัง้ ครรภ์ หากไม่เคยได้รบั วัคซีนหรือ ไม่มหี ลักฐานการได้รบั วัคซีนมาก่อน ก็ตอ้ งมีการ วางแผนการให้วัคซีนทั้งในระยะตั้งครรภ์และ ระยะหลังคลอดอย่างเหมาะสม โดยทั่วไปแล้ววัตถุประสงค์ของการให้ วัคซีนในหญิงตั้งครรภ์ มักจะให้เพื่อกระตุ้นให้ เกิดภูมคิ มุ้ กันในมารดา หากหญิงตัง้ ครรภ์มคี วาม

เสีย่ งหากเกิดการติดเชือ้ นัน้ ๆ ขึน้ และยังช่วยเพิม่ โอกาส ในการป้องกันโรคแก่ทารกในช่วง 6-12 เดือนแรกหลัง เกิดด้วย โรคไข้หวัดใหญ่ก็่เป็นอีกโรคหนึ่งที่พบว่า หญิง ตั้งครรภ์มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจาก ไข้หวัดใหญ่มากกว่าคนทั่วไป โดยเฉพาะเกิดภาวะปอด อักเสบและอาจเสียชีวิตได้ เนื่องจากหญิงตั้งครรภ์มี การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของระบบหัวใจและ หลอดเลือด ระบบทางเดินหายใจ และมีความต้องการ ออกซิเจนเพิม่ ขึน้ พบว่าหญิงตัง้ ครรภ์ทเี่ ป็นไข้หวัดใหญ่ มีโอกาสที่จะต้องนอนในโรงพยาบาลมากกว่าหญิงที่ไม่ ได้ตั้งครรภ์และเป็นไข้หวัดใหญ่ถึง 4 เท่า


หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นไข้หวัดใหญ่ มีโอกาสที่จะต้องนอนในโรงพยาบาล มากกว่าหญิงที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ และเป็นไข้หวัดใหญ่

ถึง 4 เท่า

โรคไข้หวัดใหญ่ในประเทศไทยจะพบมากในช่วงฤดู ฝน และยังพบต่อเนื่องในช่วงฤดูหนาวด้วย เชื้อไข้หวัดใหญ่มัก มีการเปลีย่ นแปลงสายพันธุท์ รี่ ะบาดเกือบทุกปี คนทีเ่ คยเป็นไข้ หวัดใหญ่แล้วก็ยงั มีโอกาสเป็นซ�้ำ ได้ เนือ่ งจากอาจป่วยจากเชือ้ ไข้หวัดใหญ่ที่เปลี่ยนสายพันธุ์ไปได้ และภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นจะ อยู่ได้ไม่นาน วัคซีนไข้หวัดใหญ่จะมีสว่ นประกอบของเชือ้ ไข้หวัดใหญ่ 3 สายพันธุ์ โดยแบ่งเป็น type A จำ�นวน 2 สายพันธุ์ คือ H1N1 และ H3N2 และยังมี type B 1 สายพันธุ์ วัคซีนไข้หวัดใหญ่มี การเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบของสายพันธุ์ไวรัสที่จะบรรจุใน วัคซีนทุกปี ตามคำ�แนะนำ�ขององค์การอนามัยโลก ปัจจุบนั แนะนำ�ให้หญิงตัง้ ครรภ์ทกุ คนควรได้รบั วัคซีน ป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ โดยต้องเป็นวัคซีนชนิดเชื้อตาย (ส่วน วัคซีนชนิดเชื้อเป็น ซึ่งยังไม่มีในประเทศไทย ถือเป็นข้อห้าม ใช้ในหญิงตั้งครรภ์) โดยแนะนำ�ให้ฉีดได้ในทุกช่วงระหว่างการ ตั้งครรภ์ ซึ่งนอกจากจะป้องกันไข้หวัดใหญ่ในหญิงตั้งครรภ์ แล้ว ภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นยังผ่านรกจากมารดามาสู่ลูกในครรภ์ ด้วย ทำ�ให้เมือ่ คลอดออกมาลูกจะมีภมู คิ มุ้ กันไข้หวัดใหญ่ตงั้ แต่ แรกเกิดโดยไม่ต้องฉีดวัคซีน เพราะปกติแล้วจะเริ่มให้วัคซีนไข้ หวัดใหญ่ชนิดเชื้อตายได้ในเด็กตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไป การ ได้รับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ในหญิงตั้งครรภ์จึงเป็นการได้ ประโยชน์ถึง 2 ต่อ หญิงตั้งครรภ์ได้รับประโยชน์โดยตรง ส่วน ลูกได้รับประโยชน์โดยอ้อม ภูมคิ มุ้ กันทีเ่ กิดจากการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่จะลดต�่ำ ลงตามธรรมชาติหลังจากผ่าน 6-12 เดือนไปแล้ว ดังนั้นควร ฉีดวัคซีนทุกปี เนื่องจากระยะฟักตัวของโรคไข้หวัดใหญ่สั้น มาก จำ�เป็นต้องมีภมู คิ มุ้ กันสูงมากพอขณะทีไ่ ด้รบั เชือ้ เข้ามาใน ร่างกาย การฉีดวัคซีนปีละครัง้ จะทำ�ให้ระดับภูมคิ มุ้ กันสูงพอที่ จะป้องกันโรคได้ วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่มีความปลอดภัยสูง แต่ ผลข้างเคียงจากการได้รับวัคซีนมีน้อยมาก ส่วนใหญ่ที่เกิดมัก เป็นอาการเฉพาะที่บริเวณตำ�แหน่งฉีด หรืออาจมีไข้ต่ำ�ๆ และ ปวดเมื่อยได้ในช่วง 1-2 วันหลังฉีด

แนะนำ�ให้ฉีด วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ได้ในทุกช่วงระหว่างการตั้งครรภ์ โดยนอกจากจะป้องกันไข้หวัดใหญ่ ในหญิงตั้งครรภ์แล้ว ภูมิคุ้มกัน ที่เกิดขึ้นยังผ่านจากรกมารดา มาสู่ลูกในครรภ์ด้วย


“เคล็ดลับ ดูแลอาหาร ขณะตั้งครรภ์” สวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่านคะ ขอต้อนรับเข้าสู่เทศกาลมีครรภ์ เอ๊ะ! วันนี้มาแปลก ทำ�ไมพูดแบบนี้ ก็ปีนี้เป็น ปีม้าทองยังไงล่ะคะ คู่รักที่เพิ่งแต่งงานใหม่ หรือที่แต่งกันมานานแล้วยังไม่มีลูกก็รอจังหวะที่จะผลิตเจ้าตัวน้อยในปีดีๆ อย่างนี้ และหลายคู่ที่กำ�ลังตั้งครรภ์อยู่ก็มีแน่นอนค่ะ เมื่อพูดถึงการตั้งครรภ์ คุณแม่มือใหม่หลายท่านต้องเริ่มกังวลกับการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย และอยากดูแล ตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการออกกำ�ลังกาย หรืออาหารที่ต้องทานระหว่างช่วงที่กำ�ลังตั้งครรภ์ วันนี้แพรวเลยมีเคล็ดลับวิธี ดูแลอาหารขณะตั้งครรภ์มาฝากค่ะ อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า อายุครรภ์ของคนเรานั้นอยู่ที่ 40 สัปดาห์ หรือประมาณ 9 เดือน เราจึงแบ่งออก เป็นทุก 3 เดือน หรือเรียกว่าไตรมาส เพราะเราจะแบ่งได้ทั้งหมด 3 ไตรมาสค่ะ คือช่วงก่อนตั้งครรภ์ คุณแม่ควรมี การเตรียมพร้อมในเรื่องของการชั่งน้ำ�หนักตัว วัดส่วนสูง เพื่อหาค่าดัชนีมวลกาย ว่าเป็นบุคคลที่มีดัชนีมวลกายอยู่ใน เกณฑ์ปกติหรือไม่ โดยใช้วิธีนี้ค่ะ

2

น้ำ�หนักตัว(กิโลกรัม) ÷ ส่วนสูง (เมตร) ²

60 kg

1.75 m


Healthy

Eating

แพรวพาชิม

สำ�หรับค่าปกติจะอยู่ที่ 18.5-22.9 สาเหตุที่ต้องหาดัชนีมวลกาย เพราะจะสัมพันธ์กับปริมาณอาหารและ พลังงานที่ร่างกายควรจะได้รับขณะตั้งครรภ์นั่นเองค่ะ แพรวจึงนำ�ตารางดัชนีมวลกายสำ�หรับหญิงตั้งครรภ์เพื่อให้ง่าย ต่อการเปรียบเทียบมาฝากกันค่ะ

นํ้าหนักที่ควรเพิ่มเมื่อครรภ์ครบกํ าหนด ดัชนีมวลกายก่อนตั้งครรภ์ น้ำ�หนักเพิ่มเมื่อครรภ์ครบกำ�หนด (BMI) (กิโลกรัม) น้อยกว่า 19.8 12.5 - 18 19.8 - 26 11.5 - 16 มากกว่า 26 - 29 7 - 11.5 มากกว่า 29 7 ครรภ์แฝด 16 - 20

พลังงานที่ควรได้รับ (กิโลแคลอรี่/กิโลกรัม/วัน) 40 30 25 12 - 18

ตามตารางที่นำ�มาให้เปรียบเทียบอาจเป็นเพียงพลังงานที่ควรได้รับ และน้ำ�หนักตัวที่ควรเพิ่มเมื่อครรภ์ครบ กำ�หนด เทียบกับดัชนีมวลกายก่อนตั้งครรภ์ ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม พลังงานที่ควรได้รับในหญิงตั้งครรภ์ โดยเฉลี่ยไม่ควร ต่ำ�กว่า 1,800 กิโลแคลอรี่ต่อวัน เพราะความต้องการพลังงานของผู้หญิงก่อนตั้งครรภ์ โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 1,500 กิโลแคลอรี่ต่อวัน เมื่อมีการตั้ง ครรภ์ก็ควรเพิ่มอีก 300 กิโลแคลอรี่ต่อวัน ทำ�ให้การจัดอาหารให้ได้พลังงาน 1,800 กิโลแคลอรี่ต่อวัน จะแบ่งเป็น ข้าว 3 ทัพพีต่อมื้อ เนื้อสัตว์ 4-5 ช้อนโต๊ะต่อมื้อ ผลไม้ 6-8 คำ�ต่อมื้อ และควรเสริมนมพร่องมันเนย หรือขาดมันเนย 2 กล่องต่อวัน หากคุณแม่ท่านใดที่แพ้นมหรือไม่ชอบการดื่มนม อาจจะเพิ่มเป็น เนื้อสัตว์อีก 1 ช้อนโต๊ะต่อมื้อก็ได้ แต่การจะเพิ่มพลังงานนั้น ควรจะเพิ่ม หลังไตรมาสแรกหรือหลัง 3 เดือน เพราะช่วงไตรมาสแรก ตัวคุณแม่เอง แทบมองไม่เห็นการเปลี่ยนแปลง และพัฒนาการทางร่างกาย หรือการเจริญ เติบโตของทารกในครรภ์ยังเป็นไปอย่างช้าๆ หรือพูดง่ายๆ ว่า ยังไม่มี องค์ประกอบของร่างกายที่ชัดเจน แต่หลังจากไตรมาสที่ 3 ไปแล้ว พัฒนาการจะชัดเจนขึ้นเป็นช่วงเวลาที่การเจริญเติบโตของทารกใกล้ จะสมบูรณ์ จึงเทียบได้ว่าเมื่อเราตัวใหญ่ขึ้น ความต้องการพลังงานก็ จะมากขึ้นตามไปด้วย ยกเว้นคุณแม่ที่มีน้ำ�หนักตัวต่ำ�กว่าเกณฑ์ ควร จะทานอาหาร หรือเตรียมความพร้อมของร่างกายให้เพียงพอตั้งแต่ ก่อนตั้งครรภ์

Milk


นอกจากอาหารหลัก 5 หมู่แล้ว ยังมีสารอาหารต่างๆ อาทิ

FOLIC - FoLate acid กรดโฟลิก โฟเลท ซึ่งพบมากในผักใบเขียว ธัญพืช ถั่ว เครื่องใน มีส่วนช่วยในการพัฒนา ระบบประสาทและสมอง

vitamin C วิตามินซี

พบมากในผัก ผลไม้สด โดยเฉพาะผักผลไม้รสเปรีย้ ว มีส่วนช่วยในการสร้างภูมิต้านทาน และช่วยในการดูดซึม ธาตุเหล็ก

vitamin B12 วิตามินบี 12 พบมากในเนื้อสัตว์

นม ธัญพืชไม่ขัดสี มีส่วนช่วยในการพัฒนา ระบบประสาทในทารก

vitamin D วิตามินดี พบมากในนม

ผลิตภัณฑ์จากนม และปลาตัวเล็ก ตัวน้อย มีส่วนช่วยในการดูดซึม แคลเซียม

เรื่องของผลิตภัณฑ์ หรืออาหารเสริมในรูปแบบสกัด อยากให้คุณแม่ระมัดระวังในการรับประทานให้มาก ทางที่ดีควร ปรึกษาแพทย์ก่อนทานจะดีกว่า เพราะที่แพรวแนะนำ� หากสังเกตดีดี จะพบว่าหากเราทานอาหารครบทั้ง 5 หมู่ให้หลากหลาย แล้ว เราจะได้รับสารอาหารต่างๆ เรียกได้ว่าแทบจะครบถ้วนเลยค่ะ แหม่! อะไรจะดี 3 เด้งขนาดนี้ได้รับพลังงานที่เพียงพอ ได้รับสารอาหารครบถ้วน แถมยังไม่ต้องเสียเงินซื้ออาหารเสริมอีก คุ้มกว่านี้ไม่มีอีกแล้วเจ้าค่ะ เรื่องอาหารที่ควรทานและพลังงานที่ควรได้รับ เราก็พูดกันไปแล้ว ลองมาดูอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงกันบ้างดีกว่า!! สำ�หรับอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงในคุณแม่ตั้งครรภ์ อย่างแรกที่รู้กันดีก็คือ แอลกอฮอล์ อย่าเอาอย่างลำ�ยองนะคะมันไม่ดี ต่อ มาก็เป็น พวกชา กาแฟ และของหมักดองต่างๆ แต่ถ้าคุณแม่ท่านใดแพ้ท้องเปรี้ยวปากอยากจะทานแล้วล่ะก็ แนะนำ�เป็น ผลไม้สดรสเปรี้ยวดีกว่า เพราะนอกจากจะได้เปรี้ยวสมใจแล้ว ยังได้วิตามินซีสูงอีกต่างหาก สำ�หรับวันนี้ Healthy Eating ขอลาไปก่อน ขอให้ว่าที่คุณพ่อคุณแม่ทั้งป้ายแดง ป้ายดำ� แฮปปี้ มีสุขภาพดี และรอ ดูหน้าเจ้าตัวเล็กที่ออกมาทั้งสมบูรณ์ แข็งแรง ต้อนรับปีม้าทองนี้นะคะ แล้วพบกันใหม่ฉบับหน้า แต่จะเป็นเรื่องอะไรนั้นต้อง ติดตามชมกันค่ะ แหล่งอ้างอิง:

http://www.tinyzone.tv/HealthDetail.aspx?ctpostid=1129 คุณอัจฉรีย์ สุวรรณชื่น และคุณมณทิชา พันธุ์ไพร (นักวิชาการโภชนาการ)


Believe It

or Not ?

จริงหรือไม่ ใช่หรือเปล่า ?

ผศ.นพ.ธวัช เจตน์สว่างศรี ภาควิชาสูติศาสตร์ – นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

น้ำ�มะพร้าวกับหญิงตั้งครรภ์ น�ำ้ มะพร้าวเป็นน�ำ้ ผลไม้ทม่ี ปี ระโยชน์มาก อุดมไปด้วยแร่ธาตุหลายชนิด เช่น เกลือแร่ โพแทสเซียม เหล็ก โซเดียม แคลเซียม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส ทองแดง กรดอะมิโน กรดอินทรีย์ และวิตามินบี

> นำ้ � มะพร้ า วมี ส่ ว น ประกอบสำ � คั ญ ในการ สร้ า งคอลลาเจน ใน ร่างกาย จึงดีตอ่ สุขภาพผิว

> น้ำ � มะพร้ า วเป็ น เครื่ อ งดื่ ม ที่ ให้ พ ลั ง งาน ช่ ว ยบรรเทาอาการ อ่อนเพลีย ให้ค วามรู้สึกสดชื่น แก่หญิงตั้งครรภ์

> มีฤทธิเ์ ป็นยาระบายอ่อนๆ ซึ่งหญิงตั้งครรภ์ส่วนใหญ่ มั ก มี อ าการท้ อ งผู ก ก็ จ ะให้ ประโยชน์ได้

น้ำ�มะพร้าวเป็นเครื่องดื่มที่มีคุณค่าทางโภชนาการ อีกทั้งรสชาติอร่อย ช่วยดับกระหายให้แม่ท้อง ส ด ชื่ น ส่วนที่มีคำ�กล่าวว่าดื่มน้ำ�มะพร้าวแล้วผิวทารกในครรภ์จะสวยนั้นไม่มีการยืนยันทางการ แพทย์และการวิจัย เป็นความเชื่อที่สืบต่อกันมา ข้อควรระวังเนื่องจากน้ำ�มะพร้าวมีความหวาน จึงอาจ มีผลต่อภาวะเบาหวานในระหว่างตั้งครรภ์ การดื่มน้ำ�มะพร้าว มากเกินไปอาจไม่ ได้มผี ลดี จึงควรดืม่ ในปริมาณเหมาะสมร่วม กับรับประทานอาหารที่สะอาด ครบทุกหมู่ ซึ่งเป็นแนวทางที่เหมาะสม


Varieties

Corner

พัชระกรพจน์ ศรีประสาร หน่วยบริการพยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน งานการพยาบาลป้องกันโรค และส่งเสริมสุขภาพ ฝ่ายการพยาบาล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

เยือนถิ่นซากุระ

“ญี่ปุ่น”

ประเทศในฝันของใครหลาย คนที่ครั้งหนึ่งในชีวิตอยากมีโอกาส ได้ไปสัมผัส ไม่ใช่เพียงแค่ธรรมชาติ ที่ ส วยงามเท่ า นั้ น ญี่ ปุ่ น ยั ง คง กลิ่นอายของการผสมผสานศิลป วัฒนธรรมทั้งเก่าและใหม่ได้อย่าง ลงตัว เทคโนโลยี ที่ ทั น สมั ย ของโลก หลายอย่างถูกค้นพบและพัฒนาที่นี่ ในวงการสาธารณสุ ข ก็ เ ช่ น เดียวกัน ประเทศญี่ปุ่นยังคงความเป็น ผู้ นำ � ด้ า นความทั น สมั ย ของเครื่ อ งมื อ เทคโนโลยีทางการรักษาและการแพทย์ ที่ล้ำ�หน้าของภูมิภาคเอเชียด้วย พ ว ก เร า ผู้ นำ � เ ย า ว ช น จ า ก ประเทศไทย 15 ชี วิ ต ได้ มี โ อกาสเข้ า ร่วมในโครงการฝึกอบรมผู้นำ�เยาวชน (Training Programme For Young Leaders) สาขาบริ ห ารและจั ด การ สาธารณสุ ข ชุ ม ชน (CommunityBased Health Operation and Management Course) โดยความ ร่วมมือระหว่างรัฐบาลญี่ปุ่นและรัฐบาล ไทย ซึ่ ง รั ฐ บาลญี่ ปุ่ น ภายใต้ อ งค์ ก ร Japan International Cooperation Agency (JICA) และประเทศไทยภาย ใต้ สำ � นั ก งานส่ ง เสริ ม สวั ส ดิ ภ าพและ พิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และ ผู้สูงอายุ (สท.) กระทรวงพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ ระหว่างวัน ที่ 17 ตุลาคม – 8 พฤศจิกายน 2556 ด้ว ยความร่ ว มมื อ ของทั้ง 2 ประเทศ

>> ยิ้มแย้ม กับภาพบรรยากาศการเข้าค่ายและพิธีมอบเกียรติบัตรหลังเสร็จสิ้นการอบรม

และทุนสนับสนุนจากรัฐบาลญีป่ นุ่ ทำ�ให้ พวกเราได้เข้าร่วมโครงการเพือ่ เก็บเกีย่ ว ประสบการณ์ ด้ า นสาธารณสุ ข ชุ ม ชน ที่ประเทศญี่ปุ่น และจะได้นำ�เอาองค์ ความรู้กลับมาพัฒนาประเทศไทยต่อไป นั บ เป็ น การอบรมดู ง านที่ ตื่ น เต้ น มาก ที เ ดี ย ว เนื่ อ งจากเป็ น การเดิ น ทางไป ประเทศญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก เมือ่ เดินทางถึงประเทศญีป่ นุ่ พวก เราได้ รั บ การต้ อ นรั บ อั น อบอุ่ น ตั้ ง แต่ ที่สนามบิน มีเจ้าหน้าที่จากสำ�นักงาน JICA KANSAI มาชี้แจงขั้นตอนต่างๆ ใน เบื้องต้น ก่อนการเดินทางเข้าที่พัก เมื่อ เดินทางถึงสำ�นักงาน มีเจ้าหน้าที่คอย อำ�นวยความสะดวกให้เป็นอย่างดี หลัง จากนั้น พวกเราจึงได้รับทราบโปรแกรม การเตรียมความพร้อมก่อนเข้ารับการ ฝึกอบรม เจ้าหน้าที่อธิบายการเข้าห้อง พัก ตารางฝึกอบรมเตรียมความพร้อม

ชี้แจงการใช้บัตรประกันสุขภาพ และค่า ใช้จ่ายต่างๆ ที่จะได้รับจากโครงการ ใช้ เวลาในเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ ทั้ง ภาษา วัฒนธรรม การเมืองการปกครอง รวมระยะเวลา 3 วันก่อนจะเดินทางสู่ จังหวัดโทคุชมิ า่ เมือ่ การฝึกอบรมเตรียม ความพร้อมเสร็จสิ้นลง พวกเราก็รู้ทัน ทีว่า..การอบรมที่เข้มข้นใกล้จะเริ่มต้น ขึ้นแล้ว!!..

>> เงียบสงบ กับภาพการศึกษาดูงานที่


โทคุ ชิ ม่ า เป็ น จั ง หวั ด ที่ อ ยู่ ท าง ฝั่งตะวันออกของเกาะชิโกะกุ ซึ่งเป็น เกาะหนึ่ ง ในสี่ เ กาะใหญ่ ข องประเทศ ญี่ปุ่น เกาะชิโกะกุตั้งอยู่ทางตอนใต้ของ ประเทศ การเดินทางมาที่นี่แม้จะเจอ กับพายุไต้ฝุ่นใน 2-3 วันแรก ก็ไม่ได้ เป็นอุปสรรคสำ�หรับการตั้งใจที่จะเรียน รู้และเก็บเกี่ยวเอาประสบการณ์อันมี ค่าในต่างแดนเลย แววตาของทุกคนยัง คงแจ่มใส ไม่ได้รู้สึกเหน็ดเหนื่อยกับการ เดินทางแม้แต่น้อย ในช่วงการดูงานวันแรกๆ พวก เราจะได้ ร ั บ การปูพื้นความรู้โดยการ ฟังบรรยายในบริเวณศาลาว่าการประจำ� จังหวัด มีการถามตอบและแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นเป็นระยะ ทำ�ให้พวกเราได้ เข้าใจระบบการบริหารงานด้านสุขภาพ นโยบายสุขภาพ รวมถึงการให้บริการ สุขภาพของประเทศญี่ปุ่นและจังหวัด โทคุชิม่ามากยิ่งขึ้น ในขณะที่หัวข้อการ บรรยายที่ เข้ ม ข้ น ก็ มี หั ว ข้ อ ทางด้ า น วัฒนธรรมและการท่องเที่ยวสอดแทรก เข้ามาด้วย นับเป็นการจัดโปรแกรมที่ ลงตัวทีเดียว ต้องขอกล่าวคำ�ว่า

“อะริกะโตะ โกะไซอิมัส” ทางทีมผู้จัดและโค้งงามๆ เพื่อแสดงความขอบคุณ สัก 3 รอบ

เดบะคลินิกและบรรยากาศบนเกาะ

>> ตื่นเต้นเร้าใจกับการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมด้วยการชมแสดงรำ� AWAODORI

นอกจากนี้ พวกเรายังมีโอกาสได้ เข้าคารวะผูน้ �ำ ของจังหวัด ซึง่ ทางจังหวัด ได้ให้ความสำ�คัญกับพวกเราเป็นอย่าง มาก มีการประชาสัมพันธ์ผา่ นสือ่ รูปแบบ ต่างๆ ทัง้ โทรทัศน์ วิทยุ และหนังสือพิมพ์ ทำ�ให้พวกเราเป็นที่รู้จักของทางจังหวัด ในครั้งนี้ พวกเราทุกคนได้รับการแต่ง ตั้ ง จากผู้ ว่ า ราชการจั ง หวั ด ให้ เ ป็ น ยุ ว ทูตความสัมพันธ์ระหว่างโทคุชิม่าและ ประเทศไทยด้วย การแบ่งการปกครองในประเทศ ญี่ปุ่นมีความแตกต่างจากประเทศไทย จึงทำ�ให้บริบทของการบริหารงานด้าน สาธารณสุขมีความแตกต่างกันออกไป ด้วย การแบ่งการปกครองที่เป็นภาค ส่วนชัดเจนและเป็นอิสระต่อกัน ทำ�ให้ ประเทศญี่ปุ่นมีความคล่องตัวสูงในการ ดำ�เนินงาน แต่ละจังหวัดสามารถออก นโยบายด้านสุขภาพได้ด้วยตนเอง โดย อิงนโยบายจากกระทรวงสาธารณสุข ซึง่ เป็นหน่วยงานกลางของรัฐ การดำ�เนิน งานด้ ว ยวิ ธี ดั ง กล่ า วทำ � ให้ ก ารบริ ห าร ภายในท้องถิ่นที่มีประสิทธิภาพ ได้รับ การแก้ปัญหาที่รวดเร็ว ตรงตามความ ต้องการของประชาชนในแต่ละพืน้ ทีม่ าก ทีส่ ดุ ในขณะทีป่ ระชาชนก็สามารถเข้าถึง บริการสุขภาพได้อย่างทั่วถึงและเสมอ ภาคกัน (ทุกคนมีความเสมอภาคและเท่า เทียมกันในการบริการ นีเ่ ป็นปรัชญาของ จังหวัดนี้เลยนะ) เมื่อได้รับการปูพื้นความรู้เกี่ยว กั บ ระบบบริ ห ารจั ด การสาธารณสุ ข เบื้องต้นแล้ว พวกเราก็ได้มีโอกาสไปฝึก อบรมดูงานในสถานที่ต่างๆ ทั้งที่เกี่ยว กั บ สาธารณสุ ข ชุ ม ชนและวั ฒ นธรรม

อันดีของทางจังหวัดด้วย เช่น การศึกษา วัฒนธรรมผ่านการดู “รำ�อะวาโอโดริ” ซึง่ เป็นประเพณีทจี่ ดั ขึน้ เพือ่ ต้อนรับและ ส่งบรรพบุรุษที่เสียชีวิตไปแล้ว การฝึก ย้ อ มผ้ า ด้ วยคราม การดู ง านในสถาน พยาบาลต่ า งๆ ทั้ ง ในตั ว เมื อ งและใน ชนบทห่างไกล ที่คามิคัสซึโจว โฮแคร์ เซ็นเตอร์ เป็ น สถานพยาบาลที่ ใ ห้ บ ริ ก ารกั บ ประชาชนในพื้นที่ห่างไกล ในบริเวณ ใกล้ ๆ มี ศู น ย์ ดู แ ลผู้ สู ง อายุ ซึ่ ง พวก เราได้ เข้ า ไปศึ ก ษาดู ง านด้ ว ย ที่ โ รง พยาบาลประจำ�จังหวัดโทคุชิม่านั้นเป็น โรงพยาบาลระดับมหาวิทยาลัย มีการ ใช้เทคโนโลยีการศึกษาที่ทันสมัยทำ�ให้ การศึกษาด้านการแพทย์เป็นเรื่องที่น่า สนใจมากทีเดียว

>> ตั้งใจ กับการย้อมผ้าอะโอโซเมะ หรือ การย้อมผ้าด้วยคราม

>> ตื่นตา กับเทคโนโลยีการสอนที่ทันสมัย ที่ TOKUSHIMA UNIVERSITY


>> พร้อมเพรียง หลังเสร็จสิ้นการบรรยายในหัวข้อ Community Health in JAPAN

นอกจากนี้ ยั ง ได้ เ ดิ น ทางไป ที่ โ รงเรี ย นอาชี ว ะการแพทย์ แ ละ สวัสดิการโทคุชิม่า ซึ่งเป็นสถาบันการ ศึกษาที่จัดหลักสูตรการสอนทางด้าน กายภาพบำ�บัดและกิจกรรมบำ�บัด มี กิจกรรมการสอนที่หลากหลาย ทั้งสอง หลักสูตรมุง่ เน้นผลิตบุคลากรทีม่ คี ณ ุ ภาพ ให้กบั ประเทศ การศึกษาดูงานทางรถไฟ ที่โรงพยาบาลไคฟุ โรงพยาบาลขนาด 110 เตี ย ง ภายใต้ สั ง กั ด ของจั ง หวั ด โทคุชิม่า เป็นสถานพยาบาลที่รองรับทั้ง การบริการและการศึกษา ในวันเดียวกันยังได้เดินทางโดย เรือเพื่อไปดู ”เดะบะคลินิก” ซึ่งเป็น สถานพยาบาลขนาดเล็ ก ภายใต้ ก าร สังกัดของโรงพยาบาลไคฟุ แม้จะเป็น พื้นที่ห่างไกลมีประชากรในพื้นที่เพียง 70 คน แต่ทางจังหวัดก็ให้ความสำ�คัญกับ ประชาชนทุกคน มีการจัดบริการตรวจ รักษาโดยมีแพทย์ไปประจำ�สัปดาห์ละ 3 วัน ที่ศูนย์อนามัยของจังหวัดซึ่งเป็น สถานที่ให้ความรู้ โดยเฉพาะอนามัยแม่ และเด็ก การฉีดวัคซีนต่างๆ และยังมี โครงการรณรงค์การด้วยการเดิน การ รั บ ประทานผั ก ที่ ห ลากสี สั น มี ป ริ ม าณ รวมมากกว่า 350 กรัมทุกวัน ในอนามัย ยังมีสระว่ายน้ำ�และฟิตเนสเพื่ออำ�นวย ความสะดวกให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี

นั่นเอง ที่ซากุระคลินิกเราได้เห็นภาพ ของการดูแลผู้ป่วยที่หลากหลาย ผู้สูง อายุที่เจ็บป่วยที่ต้องนอนรักษาตัวในโรง พยาบาล การดูแลผู้สูงอายุที่ไม่เจ็บป่วย โดยการอยู่ประจำ� และแบบมาเช้าเย็น กลับด้วย ที่คลินิกได้มีการนำ�พลังงาน สะอาดมาใช้ ทั้งจากแสงอาทิตย์ จาก เปลือกไม้ จากขีเ้ ลือ่ ย ทีน่ �ำ มาผลิตกระแส ไฟฟ้า ผลิตน้ำ�ร้อนและผลิตความร้อน ในตัวอาคาร นอกจากนี้พวกเรายังได้รับ ประทานผักปลอดสารพิษที่ทางคลินิก ปลูกเองด้วยล่ะ พวกเรามีโอกาสได้ศึกษารูปแบบ การใช้ สั ต ว์ บำ � บั ด Horse therapy ในการฝึกการทรงตัว ฝึกการใช้กล้าม เนื้ อ ฝึ ก พั ฒ นาการด้ า นความคิ ด และ จิตใจด้วย เนื่องจากม้าเป็นสัตว์ที่ไวต่อ สัมผัสและความรู้ สึก ซึ่ งก็ สร้ า งความ เพลิดเพลินให้กับพวกเรา และเป็นภาพ ความทรงจำ � ที่ ป ระทั บ ใจมากที่ สุ ด อี ก โปรแกรมหนึ่ง พวกเราฝึ ก อบรมดู ง านโดยมี ล่ามที่เป็นคนไทย 1 คน คนญี่ปุ่น 1 คน และทีมงานจากสมาคมแลกเปลี่ยน ความสัมพันธ์เยาวชนนานาชาติจังหวัด โทคุชิม่า Tokushima International Youth Exchange Association (TIYEA) ซึ่ ง เป็ น ผู้ ป ระสานงานและจั ด โปรแกรมในการดูงานครั้งนี้ทั้งหมดที่ได้ กล่าวมา สมาชิก TIYEA คอยดูแลพวก

เราทัง้ 15 ชีวติ ตลอดระยะเวลาทีเ่ ข้าร่วม โครงการ พวกเราได้รับการต้อนรับและ ดูแลอย่างอบอุ่นจากทางคณะจนกลาย เป็นความสัมพันธ์อันดี “น�้ำ ตาทีไ่ หลรินในวันนีไ้ ม่ใช่น�้ำ ตา แห่งความอาลัย หากแต่เป็นน้ำ�ตาแห่ง ความรั ก และความผู ก พั น ที่ เ กิ ด ขึ้ น ระหว่างเรา” (ยามาดะ เคน) ประธาน TIYEA กล่าวในพิธีปิดการอบรมได้อย่าง ซาบซึ้ง ทำ�เอาพวกเราทุกคนกลั้นน้ำ�ตา เอาไว้ไม่อยู่เลยทีเดียว พวกเราได้กลาย เป็นเพื่อน เป็นพี่น้องที่ยังคงติดต่อกัน จนถึงทุกวันนี้ แม้ช่วงเวลาที่เข้าร่วมการ ฝึกอบรมจะเป็นช่วงเวลาที่แสนสั้น แต่ พวกเราทั้งสองประเทศต่างก็ได้มุมมอง และองค์ความรู้มาแลกเปลี่ยนกัน และ นำ � ความรู้ ก ลั บ มาพั ฒ นาประเทศไทย ของเรา การเดิ น ทางครั้ ง นี้ นั บ เป็ น ประสบการณ์ชีวิตที่แสนประทับใจ และ ตราตรึ ง ในใจของพวกเราทุ ก คน ขอ ขอบคุณทุกภาคส่วนทีม่ องเห็นศักยภาพ ในตัวของพวกเรา เปิดโอกาสให้พวกเรา ได้เดินทางไกลในครั้งนี้ เ มื่ อ ม อ ง ย้ อ น ก ลั บ ม า ที่ ประเทศไทยของเราแล้ว ก็อดคิดไม่ได้วา่

“เมื่อไหร่ประเทศของ เราจะก้าวข้ามปัญหา อุปสรรคต่างๆ ไปได้ เมื่อไหร่เราจะเป็นประเทศ ที่พัฒนา มีเทคโนโลยี การแพทย์ที่ทันสมัย มีระบบบริการสาธารณสุข ที่มีคุณภาพและ ประสิทธิภาพมากกว่าที่ เป็นอยู่ เพื่อช่วยเหลือ ประชาชนที่เจ็บป่วย” คำ�ถามซึ่งกลายเป็นสิ่งที่ท้าทาย พวกเราด้ ว ยกั น เองอย่ า งมาก และ แน่นอนคำ�ตอบจะต้องถูกเฉลยในสักวัน!!



I-Style

บ อ ต

สาธิต อุณหกะ

ไม่ให้

แพ้

ทันทีที่สิ้นเสียงโทรศัพท์ที่ดังขึ้น... เสียงปลายสายที่ดังกรอกหูแบบจิตตกปนเศร้า ทำ�เอาผมร่วมตกใจไปด้วยอีกคน “เฮีย !!!!! สรุปเจ้าเต มันเป็นโรค จี - 6 - พีดีอ่ะ เครียดเลยทำ�ไงดี ???” ครับเจ้า “เต” ด.ช.เตชพัฒน์ คือ หลานคนแรกของสายเลือดฝั่งแม่ของผม หลานคนแรกที่ทำ�ให้พี่น้องทุกคนร่วมตื่นเต้น และ “รอคอย” การมีสภาพบุคคล ตามมาตราที่ 15 ในตัวบทกฎหมายของเด็กคนนี้ แต่ “ข่าวร้าย” ซึ่งเป็นประโยคบอกเล่าของน้องสาว และผสมมาด้วย “คำ�ถาม” ที่ต้องการ “คำ�ตอบ” สำ�หรับนำ�มาจัดการชีวิตในฐานะ “แม่” โดยเฉพาะ “แม่มือใหม่” ที่คอยประคบประหงมลูกน้อยในครรภ์ มานานกว่า 40 สัปดาห์


ทำ�ให้ผมเครียดกับการจัดการ “คำ�ตอบ” ของเรื่องนี้ โดยไม่รู้ว่าจะตอบยังไงให้น้องสาวสบายใจ หรือจะต้องปลอบยังไง ให้เขามีกำ�ลังใจเพิ่มขึ้น เพื่อใช้เป็น “พลังทางใจ” ในการดูแลลูกน้อยให้เติบใหญ่แข็งแรงสมวัย ที่สำ�คัญผมก็ไม่รู้ว่าโรค จี - 6 – พีดี เป็นอย่างไร และเราจะต้อง “ดูแลรักษา” ผู้ป่วยกลุ่มนี้อย่างไร แต่สง่ิ หนึง่ ทีผ่ มรู้ คือ ในห้องคลอดทันทีทพ่ี ยาบาลขานบอกเวลา ไปพร้อมกับแพทย์ใช้ลูกยางสีแดงดูดน้ำ�คร่ำ�ในช่องปาก ช่องจมูกให้ทารกหายใจเองได้ และเมื่อแพทย์ใช้แคลมป์ 2 ตัวหนีบสายสะดือไว้ พร้อมบรรจงตัดแยก “สายสะดือ” ซึ่งเป็นดั่ง “สายชีวิต” ของทารกน้อยที่ไว้เชื่อมต่อกับครรภ์มารดา ด้วยคมกรรไกร ช่วงเวลานั้นเอง คือ ช่วงเวลาสำ�คัญที่เปลี่ยน “สายสะดือ” ให้กลายเป็น “สายสัมพันธ์” ระหว่าง “แม่” และ “ลูก” สายสัมพันธ์ของ “ใจ” ที่ไม่มี “กรรไกร” คมไหนตัด “แยก” ขาดจากกันได้อีกเลย ฉะนั้นคำ�ตอบที่ผมจะต้องใช้ตอบ !!!. ต้องไม่ส่งผลกระทบกระเทือนต่อสายสัมพันธ์ทางใจของน้องสาว พอผมคิดได้แบบนั้น ผมจึงรีบร้องขอความช่วยเหลือจาก “อาจารย์ส้ม” “อาจารย์แพทย์หญิงโสมรัชช์ วิไลยุค” บรรณาธิการนิตยสาร @ Rama และได้รับคำ�แนะนำ�ให้เข้าใจใน “บริบทของโรค” นี้ได้เพิ่มมากขึ้น “...โรคนี้ถือว่าไม่น่ากลัวเลย คนป่วยมีชีวิต เหมือนคนปกติเลยค่ะ เพียงแต่ว่าต้องระวังและหลีกเลี่ยงอาหาร และยาที่ส่งผลต่ออาการแพ้ เพราะถ้ารับสิ่งที่ร่างกายแพ้เข้าไป จะทำ�ให้เม็ด เลือดแดงแตก และซีด ปัสสาวะมีสีเข้ม แต่โรคนี้จะสำ�คัญอยู่ในช่วงวัยเด็ก วัยที่คนป่วยจะดูแลตัวเองไม่ได้ ยังไม่สามารถ ไตร่ตรองถูกผิด ในการกินอาหารกลุ่มเสี่ยงได้ แต่พอโตขึ้นก็จะจัดการตัวเองได้...” ครับ !!! จริงอยู่แม้โรคนี้จะดูเหมือนเป็นโรคที่ “ไม่ร้ายแรง” นัก แต่หลักใหญ่ใจความที่ผมคิด ว่าเป็น “ความยาก” ในการ “จัดการ” กับผู้ป่วยกลุ่มนี้ คือการดูแลผู้ป่วยใน “วัยเด็ก” วัย 2 – 5 ขวบ วัยที่กำ�ลังสนุกกับการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ด้วยตัวเอง วัยที่มัก “คับข้องใจ” กับ “ข้อห้าม” และเต็มไปด้วย “อารยะขัดขืน” อยู่ร่ำ�ไป รวมถึงเป็นวัยที่ต้องเริ่มต้น “เดินจาก” อกพ่อแม่สู่โลกกว้างในวัยเรียน ซึ่งเต็มไปด้วย “สิ่งเร้า” ที่ทำ�ให้เกิดอาการของโรคได้มากมาย


การใส่ใจในรายละเอียด และเตรียม “คำ�ตอบ” ให้กับเด็กวัยนี้จึงสำ�คัญ แล้วการเตรียม “คำ�ตอบ” เราควรทำ�อย่างไรล่ะ !?! คำ�ตอบแบบไหนที่จะทำ�ให้ “เด็กเข้าใจ” และไม่ยุ่งเกี่ยวกับสิ่งที่ทำ�ให้เกิดอาการแพ้ ??? ผมรีบตั้งคำ�ถามให้กับตัวเอง !!!!! อย่างน้อยก็จะได้มี “หลักคิด” ในการใช้ตอบคำ�ถามให้กับน้องสาวของผมด้วยเช่นกัน แต่อยู่ๆ ผมก็คิดถึงเรื่องเล่าขำ�ๆ เรื่องนี้ขึ้นมา ประมาณว่า... เย็นวันหนึ่ง พ่อกับแม่คู่หนึ่งขับรถไปรับลูกสาววัย 5 ขวบ กลับจากโรงเรียนเช่นทุกวัน ระหว่างทางกลับบ้าน ลูกสาวนั่งนิ่ง....เงียบ...สีหน้าดูเคร่งเครียด ไม่ถามนู่นถามนี้อย่างเช่นทุกวัน ถึงบ้าน ระหว่างทานอาหารเย็น แม่จึงเอ่ยถามลูกน้อยว่า “วันนี้มีอะไรไม่สบายใจหรือเปล่าลูก ที่โรงเรียนมีเรื่องอะไรหรือเปล่า” “มีค่ะ” ลูกน้อยตอบ พร้อมกับพูดต่อว่า “เพื่อนถามว่าหนูมาจากไหน” เมื่อพ่อกับแม่ได้ฟัง กลับยิ่งเครียดหนักกว่าลูกอีก และได้สัญญากับลูกน้อยว่า ระหว่างอาหารเย็นวันพรุ่งนี้ จะให้คำ�ตอบ คืนนั้นทั้งคืน หลังจากลูกหลับแล้ว พ่อกับแม่ได้ปรึกษากันถึงคำ�ตอบ ว่าควรจะอธิบายให้ลูกวัย 5 ขวบ ฟังอย่างไรจึงจะเข้าใจว่า...เขามาจากไหน วันต่อมา ในระหว่างอาหารเย็นตามปกติ แม่จึงชี้ให้ลูกมองไปที่นอกบ้าน และพูดกับลูกว่า “ลูกเห็นนกคู่นั้นมั้ย ? นกมันรักกัน เห็นผีเสื้อคู่นั้นมั้ย ? นั่นมันก็รักกัน ก็เหมือนพ่อกับแม่นี่แหละ พ่อกับแม่ก็รักกัน แต่งงานกัน (อื่นๆ อีกมากมายไม่อาจบรรยายหมด) และหนูก็เกิดจากความรักระหว่างพ่อกับแม่ไงจ๊ะ” เมื่อลูกได้ฟังคำ�ตอบ จึงพูดกับแม่ว่า “โห !!! ทำ�ไมยุ่งยากจังล่ะคะ” แม่จึงเอ่ยขึ้นว่า “แล้วเพื่อนหนูเขาบอกหนูว่า เขามาจากไหนกันบ้างล่ะ” ลูกสาวจึงตอบแม่ว่า... สำ�หรับเด็กแค่เรื่องง “เพื่อนหนูเขาบอกว่า...เขามาจากนครนายก” ่ายๆ ก็พอ ครับ!!! จากเรื่องเล่านี้ ผมเลยปิ๊งแว๊บขึ้นมาทันทีว่า “คำ�ตอบ” ที่ดีสำ�หรับเด็ก ควรเป็นคำ�ตอบที่เราไม่ต้องคิดเยอะ และควรเป็น “คำ�ตอบง่าย ๆ” ที่ฟังแล้วเข้าใจเลย แต่หากจำ�เป็นจะต้องตอบคำ�ถามให้กับ “ผู้ใหญ่” โดยเฉพาะคำ�ตอบเพื่อใช้แก้ไข “ปัญหาชีวิต” คำ�ตอบที่ดีและถูกต้องที่สุด จึงควรเป็นคำ�ตอบที่ตรงกับ “ความต้องการ” เป็นสำ�คัญ พอคิดได้แบบนั้น คำ�ตอบที่เหมาะกับน้องสาวที่สุด และผมควร รีบโทรตอบกลับไปบอกคือ ...“เฮียว่า!!!..เอ็งไปปรึกษาหมอเถอะ”


G6PD

จี-6-พีดี

จี-6-พีดี (G6PD) เป็นชื่อย่อของเอนไซม์กลูโคส-6-ฟอสเฟตดีไฮโดรจีเนส ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่มีอยู่ในเม็ดเลือดแดง มีประโยชน์ในการป้องกันการถูกทำ�ลาย ของเม็ดเลือดแดงจากยา อาหาร หรือสารเคมีบางชนิด

ภาวะพร่องเอ็นไซม์ G6PD ภาวะพร่องเอ็นไซม์ G6PD ในเม็ดเลือดแดงนั้นเป็นภาวะที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม เกิดจาก ความผิดปกติของยีน G6PD ที่อยู่บนโครโมโซมเพศ ดังนั้นภาวะนี้จะติดตัวไปตลอดชีวิตและอาจ ถ่ายทอดไปยังลูกหลานได้ ยา อาหาร หรือสารเคมีบางอย่างอาจกระตุ้นให้ผู้มีภาวะนี้เกิด อาการเม็ด เลือดแดงแตก ซีดลงและมีอาการดีซ่าน ตัวเหลืองตาเหลือง และปัสสาวะเป็นสีดำ�หรือสีโค้กได้ ดังนั้น ผู้มีภาวะนี้ควรทราบรายชื่อยา อาหาร และสารเคมีที่ควรหลีกเลี่ยง ทั้งนี้ภาวะพร่องเอ็นไซม์ G6PD ใน แต่ละบุคคลนั้น อาการแสดงของภาวะเม็ดเลือดแดงแตก อาจรุนแรงมากน้อยแตกต่างกัน ขึ้นกับระดับ ของภาวะพร่องเอ็นไซม์ซึ่งแตกต่างกันไปและขึ้นกับขนาดของยา ปริมาณอาหารหรือสารเคมีที่ได้รับด้วย ดังนั้นจึงจำ�เป็นต้อง แจ้งให้แพทย์ทราบถึงการมีภาวะพร่องเอ็นไซม์ G6PD ก่อนการรักษาทุกครั้ง

การปฏิบัติตัว 1. แจ้งให้แพทย์ทราบเสมอว่ามีภาวะนี้ 2. เมื่อเกิดอาการไม่สบาย ควรปรึกษาแพทย์ไม่ซื้อยารับประทานเอง 3. เมื่อเกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตก ควรเข้าโรงพยาบาลเพื่อให้การรักษาทันที 4. หลีกเลี่ยงยา อาหาร หรือสารเคมี ที่อาจกระตุ้นให้เกิดอาการ 5. เมื่อจะมีบุตร ควรได้รับคำ�ปรึกษาและแนะนำ�จากแพทย์ เพื่อให้ทราบถึงอัตราเสี่ยงของการที่บุตรจะมีภาวะนี้

ยาที่ควรหลีกเลี่ยง - ยาปฏิชีวนะ (ยาต้านจุลชีพ) กลุ่มยา Quinolones (ควิโนโลน) ซัลฟา Nitrofurans (ไนโตรฟูแลน) - ยากลุ่มอื่นๆ ยารักษามาลาเรีย ยาเคมีบำ�บัด Genitourinary analgesic Antimethemoglobinemic agent

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง - ถั่วปากอ้า บลูเบอร์รี่ ไวน์แดง ฯลฯ

สารเคมีที่ควรหลีกเลี่ยง - ลูกเหม็น การบูร พิมเสน สารหนู ฯลฯ


Behind

The Scene

เรื่องเล่าจากหมอ

อ.พญ.โสมรัชช์ วิไลยุค ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้หญิงสวยที่สุด

จากข้างใน “ผู้หญิง..สวยที่สุดจากข้างใน” คุณจำ�ได้ไหม คำ�พูดคำ�แรกที่คุณหัดพูดคือคำ�ว่าอะไร? คุณจำ�ได้ไหม ใครที่เป็นคนคอยอยู่ข้างๆ คุณเวลาคุณหกล้ม? คุณจำ�ได้ไหม คนที่อุ้มคุณมาตลอดระยะเวลา 9 เดือนคือใคร? คุณจำ�ได้ไหม ใครที่ให้อภัยคุณได้เสมอ ไม่ว่าคุณจะทำ�อะไรผิดก็ตาม? คุณจำ�ได้ไหม ใครที่คอยปลอบโยนและให้กำ�ลังใจคุณ แม้สิ่งแวดล้อมข้างนอกจะแย่แค่ไหนก็ตาม? นี่เป็นเพียงส่วนเล็กๆส่วนหนึ่ง จากส่วนใหญ่ๆอีกหลายส่วนที่คงถามคุณได้ไม่หมด สำ�หรับคนๆนี้ .. ที่เรา เรียกสั้นๆว่า “แม่” แม่เป็นคนที่เราคุ้นเคย เป็นคนที่เราเจอทุกวัน เป็นคนกันเอง ที่เรามักจะนึกถึงน้อยที่สุด แต่ สำ�หรับแม่แล้ว ลูกคือคนสำ�คัญ คนที่เจอทุกวัน แต่ก็อยากเจออยู่ตลอด และเป็นคนแรกที่นึกถึงก่อนคนอื่นอยู่ เสมอ ความแตกต่างกันระหว่างลูกกับแม่ ดูแตกต่างกันมากโขอยู่ ราวกับฟ้ากับทะเล .. มีเพียงเส้นขอบฟ้าบางๆ ที่กั้นกลาง หวังว่าสักวันหนึ่งลูกๆ ทั้งหลายคงจะข้ามเส้นขอบฟ้ามาอยู่ข้างๆ “แม่” สักที..


เมื่อไม่นานมานี้ฉันได้มีโอกาสดูโฆษณาของผลิตภัณฑ์หนึ่งที่แสดงให้เห็นมุม มองที่แปลกออกไปของผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็น “แม่” โดยได้ผลิตเป็นหนังสั้นจำ�นวน 3 เรื่อง โดยใช้ concept ที่ว่า “ผู้หญิงสวยที่สุดจากข้างใน” หรือมีชื่อหนังสั้นชุดนี้ว่า “My Beautiful Woman” ซึ่งมีเค้าโครงเรื่องมาจากเรื่องจริง หนังสั้นชุดนี้ออกมาได้ไม่ นานประมาณต้นปีนี้เอง อ่านมาถึงตรงนี้ถ้าใคร ยังไม่มีโอกาสได้ดูเข้าไปดูได้ค่ะที่ http://www. mybeautifulwoman.org/ ก่อนที่ฉันจะ spoil หนังต่อไป

เรื่องแรกคือเรื่อง “ทางเลือกของแม่” เป็นเรื่องราวเกี่ยว กับผู้หญิงคนหนึ่ง ที่อยากมีลูกมาก แต่โลกก็ช่างโหดร้ายเหลือเกิน สำ�หรับเธอ เธอดีใจมากๆ ได้เพียงไม่นาน ก็กลายเป็นความทุกข์ ใจอย่างมหันต์แทน ทุกข์ใจที่ได้รู้ว่าในตัวเธอมีโรคร้ายซ่อนอยู่ ทุกข์ใจที่เธอต้องตัดสินใจระหว่างจะเข้ารับการรักษา เพื่อกำ�จัดโรคร้ายที่ซ่อนอยู่ในตัวเธอทิ้งไป หรือเลือกที่จะเก็บชีวิตที่สวยงามน้อยๆ ที่กำ�ลังจะลืมตาขึ้นมาดูโลกในอีก ไม่กี่เดือน .. ในความเป็นแม่ .. ถึงแม้จะยังไม่เห็นหน้าลูก แต่แม่ก็รับรู้ได้ถึงสิ่งมีชีวิตน้อยๆ ที่กำ�ลังเติบโตอยู่ภายในตัว ของแม่ “ความรัก”เกิดขึ้นตั้งแต่วินาทีแรกที่รู้ว่าเขาเริ่มเข้ามาอยู่ในตัวแม่ ถึงแม้จะไม่เคยคุยหรือเห็นหน้ากันมาก่อน สิ่งมีชีวิตน้อยๆนี้ บริสุทธิ์ ไร้เดียงสา และไม่ได้ทำ�อะไรผิด .. นั่นคือสิ่งที่ฉันเดาใจ “คุณแม่” ในเรื่องนี้ ที่เธอได้ตัดสินใจ อย่างกล้าหาญที่จะไม่รับการรักษาเพื่อที่จะรักษาชีวิตลูกน้อยให้เกิดมาครบ 32 ประการ โดยที่เธอไม่ได้คิดถึงตัวเองเลย .. ความรักที่บริสุทธิ์เช่นนี้เกิดขึ้นด้วยความเสียสละอย่างสุดประมาณ เสียสละชีวิตตัวเอง เพื่อลูก .. ฉันขอยกย่องใน ความเป็นแม่ของเธอผู้นี้จริงๆ ในที่สุดเธอเลือกที่จะทรมานกับโรคร้ายตามลำ�พัง เธอคลอดลูกออกมาแข็งแรงครบ 32 ประการดั่งที่ตั้งใจ แต่ทว่าตอนนั้นเนื้อร้ายก็ได้ลามไปมากแล้ว เธอตัดสินใจเข้ารับการรักษาหลังจากนั้น ในความทุกข์ ที่เนื้อร้ายคอยกัดกินตัวเธอ แต่ใบหน้าเธอช่างมีความสุขที่ได้ให้กำ�เนิด ชีวิตน้อยๆ ที่แสนบริสุทธิ์ขึ้นมาอีกชีวิตหนึ่ง .. ไม่มีใครตอบได้ว่าเธอได้ ตัดสินใจถูกหรือผิด แต่ฉันว่าตัวเธอเองคงรับรู้ และได้ทำ�หน้าที่ของ แม่อย่างดีที่สุดก่อนที่เธอจะจากโลกนี้ไป ..


เรื่องที่สอง “ลูกน้องที่หายไป” เป็นเรื่องราว เกี่ยวกับผู้หญิงวัยทำ�งานคนหนึ่งที่ทำ�งานในบริษัทแห่ง หนึ่งตั้งแต่เช้าจรดค่ำ� โดยไม่มีเหน็ดเหนื่อย เธอพยายาม ทำ�งานนอกเวลา ทำ�งานให้ครบทุกอย่าง ไม่ขาดตกบกพร่อง เพื่อที่จะขอหัวหน้าหยุดในวันศุกร์ หัวหน้าเธอ ให้เธอหยุด แต่ก็ยังไม่คลาย ที่จะสงสัยว่าแล้วเธอหายไปไหนในทุกๆ วันศุกร์ .. เธอ เป็นคนเงียบ ไม่ค่อยมีสังคม ไม่มีใครรู้ประวัติความเป็น มา หรือเรื่องราวของเธอ ได้แต่คิดไปต่างต่างนานา ว่า เธอแอบเลี้ยงเด็ก เธอถึงได้หายไป จนมาถึงวันหนึ่งเธอ ได้หายไปนานราวสัปดาห์ งานกองพะเนินได้ถูกทิ้งอยู่ ที่โต๊ะเธอ ราวกับว่ารอคอยเธอให้เธอมาจัดการอยู่เป็น เวลานาน .. หัวหน้าได้ตัดสินใจไปสืบหาด้วยตัวเอง เขาจอดรถหน้าบ้านเธอเพื่อเฝ้าดูเธอที่เพิ่ง กลับเข้าบ้าน แวบแรกเขาคิดเหมือนที่คนอื่นๆ นินทาคือ “หรือเธอจะเลี้ยงเด็ก?” เขาขับ รถผ่านหน้าบ้านเธอไปอย่างช้าๆ แล้วสีหน้าเขาก็คลายความเคลือบแคลงและสงสัยในตัว เธอ ขณะเดียวกันมีรอยยิ้มเกิดขึ้นบนใบหน้าเขาขึ้นมาแทน .. ในวันสุดท้ายที่บริษัท เธอได้ ตัดสินใจลาออก เพราะเธอไม่สามารถทำ�งานหลายๆ อย่างได้ในเวลาเดียวกัน เธอเข้าไปหา หัวหน้า .. หัวหน้าดูเข้าใจดี เขายื่นซองจดหมายสีขาวให้เธอ แล้วกล่าวลาเธออย่างสุภาพ ด้วยประโยคที่ทิ้งไว้เป็นปริศนาว่า “คุณอาจไม่เหมาะกับบริษัทนี้ก็ได้” เธอเดินกลับอย่าง เศร้าสร้อย เก็บข้าวเก็บของ พร้อมดูรูปแม่บนโต๊ะทำ�งานของเธอ ราวกับ จะขอกำ�ลังใจในสิ่งที่เธอได้ตัดสินใจทำ�ในวันนี้ .. เธอกลับบ้าน บ้านที่เป็น ทั้งที่อยู่อาศัยให้เธอและเด็กกำ�พร้าอีกหลายชีวิต เธอต้องเข้ามารับผิด ชอบสถานสงเคราะห์เด็กกำ�พร้าที่แม่เธอเป็นผู้ก่อตั้ง แต่ทว่าแม่เธอได้ล่วง ลับไปแล้ว เธออยากสานเจตนารมณ์ของแม่ต่อ ถึงเธอจะไม่มีลูกของเธอ เอง แต่เธอก็เป็นแม่ของเด็กกำ�พร้าอีกหลายชีวิต ณ สถานที่นั้น .. อนาคต เงินทองกับงานที่เธอรัก คือสิ่งที่เธอได้เลือกวางเอาไว้ แต่เธอกลับเลือก หยิบความสุขกับงานใหม่ งานที่ได้ให้ความรักและความอบอุ่นกับเด็กๆ ที่ โหยหาสิ่งเหล่านี้มาตลอดชีวิต เธอได้เปิดจดหมายที่หัวหน้าฝากให้เธอขึ้น มาอ่าน แล้วเธอก็อึ้งและถึงกับกลั้นน้ำ�ตาไว้ไม่อยู่ที่หัวหน้าและเพื่อนร่วมงานได้ทราบความ จริง พร้อมทั้งร่วมบริจาคเงินให้กับสถานสงเคราะห์ของเธอ หัวหน้าได้ให้กำ�ลังใจเธอ แถม ยังขอบคุณที่เธอช่วยทำ�งานให้บริษัทเขาได้เป็นอย่างดี “ความเป็นแม่มาได้ในหลายรูปแบบ เสมอ ถึงจะไม่ใช้แม่ลูกในสายเลือด แต่สิ่งที่เธอทำ�นั้น .. ฉันเชื่อว่าเด็กๆ ที่เธอดูแลอยู่นั้น เรียกเธอว่า “แม่” ได้อย่างไม่ขัดเขินอะไร” มาถึงเรื่องที่สามซึ่งเป็นเรื่องสุดท้าย .. และเป็นเรื่องที่ทำ�ให้ฉันแทบกลั้น น้ำ�ตาไม่อยู่ .. เรื่องนี้มีชื่อว่า “ความลับของเจน” เจนเป็นนักศึกษาปีที่ 4 เป็นคน เก็บตัว ไม่ค่อยสุงสิงกับใคร พอเลิกเรียน เจนก็รีบกลับบ้าน เพราะเจนต้องรีบกลับไป รับลูกสาวตัวน้อยๆ ที่โรงเรียน ที่มีชื่อว่าจูน .. เพื่อนๆ ของเธอรวมทั้งคนดู ก็คงอดคิด ไม่ได้ว่า เจนเป็นคุณแม่ที่ท้องก่อนวัยอันควรหรือ Teenage pregnancy แน่ๆ เพื่อนๆ และคนรอบข้างได้แต่นินทาเธอลับหลังต่างต่างนานา


.. เจนไม่ได้สนใจคำ�นินทา เหล่านั้น เพราะความสุขของเธอคือ “จูน” ลูกสาวตัวน้อยวัย 4 ขวบ หน้าตาน่ารัก น่าเอ็นดูต่างหาก .. เจนทำ�หน้าที่ของแม่อย่าง ไม่ขาดตกบกพร่องถึงแม้เธอจะมีหน้าที่เรียนหนังสือด้วยอีกอย่างก็ตาม เธอเลือกที่จะข้ามชีวิตวัยรุ่น เลือกที่จะไม่สังสรรค์ และเที่ยวเตร่กับเพื่อนฝูง เธอได้ก้าวกระโดดมาเป็นอีกชีวิตหนึ่งที่มีหน้าที่และความรับผิดชอบอย่างใหญ่หลวง ที่แม่แท้ๆ โดยสายเลือดของจูนต้องละอายเลยทีเดียว .. ย้อนกลับไปตอนที่จูนเกิด แม่บังเกิดเกล้าของจูนได้นำ�จูนใส่กระเป๋าแล้วมา ทิ้งไว้บริเวณกองขยะข้างมหาวิทยาลัย ด้วยความโชคดีของจูนและโชคชะตาของคนทั้งสอง ได้นำ�พาให้เจนและจูนมาเจอ กัน ทั้งที่ไม่ใช่ลูกในสายเลือด ทั้งๆที่ตัวเองกำ�ลังเรียนหนังสือ แต่ความเป็นแม่ในตัวเจนได้ก่อกำ�เนิดขึ้นมาตั้งแต่วันนั้น เจน ได้เลี้ยงดูจูนอย่างดี ประหนึ่งว่าจูนเป็นลูกในไส้ของเจน แม้เพื่อนเจนถามเจนว่า ทำ�ไมไม่บอกให้คนอื่นๆ รู้ความจริงที่ว่าจูนเป็นเด็กเก็บมาเลี้ยง .. เจนยิ้มในขณะ ที่มองจูนที่วิ่งเล่นอย่างมีความสุขและหันกลับมาตอบว่า “ให้คนอื่นมองเราไม่ดี ดีกว่ามองจูนไม่ดีหรือเปล่า” … เพื่อนเจนได้กล่าวถึงเจนว่า “เธอไม่ใช่คนหุ่นดี ไม่ใช่คนที่สวยกว่าใครๆ แต่รอยยิ้มที่เธอมีให้กับจูน เธอคือผู้หญิงที่สวยมาก สำ�หรับผม” ประโยคนี้ทำ�ให้ฉันคิดว่า “ความสวยเพียงรูปร่างหน้าตา อยู่ได้ ไม่นาน แต่ความสวยออกมาจากข้างใน อยู่ได้ยั่งยืนกว่า” อยู่ที่คุณแล้วว่าจะ เลือกที่จะสวยแต่เพียงภายนอก หรือสวยมาจากข้างใน ขอออกตัวก่อนว่าฉันไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียกับโฆษณาชุดนี้แต่อย่างใด แต่ขอชื่นชมทั้ง เจ้าของเรื่อง คนแสดง ผู้กำ�กับ และคนที่เป็นต้นคิดหนังสั้นชุดนี้ ที่ถ่ายทอดเรื่องราวทั้ง 3 เรื่อง ได้อย่างสวยงาม ทำ�ให้ผู้ชมอย่างเราๆได้รู้ว่า “แม่” เป็นบุคคลที่ยิ่งใหญ่ และมาพร้อมกับความ เสียสละและความรักแท้เสมอ แม่สามารถมาได้ในหลายรูปแบบ ไม่จำ�เป็นต้องเป็นสายเลือด เดียวกัน ขึ้นอยู่กับการกระทำ�ของบุคคลคนนั้นมากกว่า ว่าได้ทำ�หน้าที่ของ “แม่” แล้วหรือยัง? ถ้าใครยังไม่ได้ดู อยากเชิญชวนให้เข้าไปดูนะคะ ถ้าเราตัดสินใจว่าจะมีลูกคนนึงแล้ว แสดงว่าคุณ พร้อมแล้วที่จะเสียสละและมอบความรักของคุณให้กับคนอีกคนหนึ่งอย่างไม่มีเงื่อนไข แต่ถ้าคุณ ยังไม่พร้อมที่จะทำ�อย่างนั้น ขอให้ควบคุมและป้องกันนะคะ เพื่อที่เด็กที่เกิดมาดูโลกคนหนึ่งจะ ได้เติบโตขึ้นมาอย่างสมบูรณ์ทั้งกายและใจ .. สิ่งสำ�คัญที่อย่างทิ้งท้ายไว้ก็คือชีวิตน้อยๆ ที่กำ�ลัง จะลืมตามาดูโลก เป็นชีวิตที่บริสุทธิ์ ไม่ได้มีความผิดอะไร ใครๆ ก็รักชีวิตตัวเอง การที่จะตัดสิน ใจกำ�จัดเขาเพียงเพื่อความไม่ยับยั้งชั่งใจชั่วครั้งชั่วคราว มันยุติธรรมกับชีวิตน้อยๆ ชีวิตหนึ่งแล้ว หรือ? อยากให้ลองพิจารณาไตร่ตรองดู .. สุดท้ายนี้ขอขอบคุณผู้ที่เป็นแม่ทุกคน ที่ดูแลลูกๆ ของ ท่านมาอย่างดี .. คงไม่มีอะไรจะทดแทนบุญคุณของแม่ได้หมด ขอให้พวกเราทุกคนรักท่านให้ มากๆ ถึงแม้จะเป็นคนที่คุ้นเคย เจอกันทุกวัน ว่ากล่าวเราอยู่เป็นประจำ� แต่ถ้าวันใดไม่มีบุคคล คนนี้แล้ว เราจะรู้ว่าวันนั้นเราได้เสียบุคคลที่รักเรามากที่สุดในโลกไปตลอดกาล ..

“หนูรักแม่นะ”


พักหย่อน ผ่อนกาย ที่..

ปางอุ๋ง


One

Day

ff

เรื่องโดย ดนัย อังควัฒนวิทย์ ภาพโดย ชนะภัย ลิ้มสุวรรณเกสร

คอลัมน์ One Day Off ฉบับนี้ ขออาสาเขียนเรื่องราวจากปลายปาก (ไม่มีกา) ของ ช่างภาพประจำ�กอง บก. ของเรา ทีไ่ ด้ไปเยีย่ มเยียนสถานทีอ่ นั แสนจะสงบและโรแมนติกทีส่ ดุ แห่งหนึ่งในเมืองไทย

...ปางอุ๋ง...”

“ใช่แล้วครับ

แม้จะผ่านพ้นช่วงเวลาหน้าหนาวกันไปพอสมควร

แต่ความทรงจำ�ของผม (ชนะภัย) ที่นั่น...

“ปางอุ๋ง” ...ยังคงหอมหวนอยู่ในความรู้สึกอยู่ตลอดเวลา


>> บรรยากาศที่ปางอุ๋งยามเช้า (ช่วงเดือนธันวาคม)

“ปางอุ๋ง”

ดินแดนแห่งมวลแมกไม้ ที่เต็มไปด้วยต้นสนเรียงรายล้อมรอบอ่างเก็บน้ำ� ขนาดใหญ่ ที่ได้ขึ้นชื่อว่าเป็น

..นิวซีแลนด์เมืองไทย..

ขึ้นชื่อว่านิวซีแลนด์ หลายคนก็คงจะนึกภาพถึงบรรยากาศของต้นไม้ใบหญ้า มากมาย ที่พร้อมจะโอบกายแก่ผู้ที่รักการ ท่องเที่ยวแบบธรรมชาติป่าเขา ต้องบอกว่าป่าสนที่นี่ เรียงรายไป ตามแนวชายฝั่งของอ่างเก็บน้ำ�ทั้งสองข้าง ทาง ซึ่งหากสะพายกล้องมาด้วย ก็จะได้ แชะ.. เก็บภาพแสงอาทิตย์สาดส่องกระทบ มายังต้นสนในช่วงเย็นกัน


ทันทีที่กดชัตเตอร์... เราก็จะได้ภาพแห่งความประทับใจ ที่แสงอาทิตย์สาดส่อง มากระทบกับใบของต้นสน เห็นเป็นแสงนุ่มๆ ท่ามกลางบรรยากาศเงียบสงบ เหมาะแก่ การพักหย่อนผ่อนกายนัก ด้วยแสงทีม่ ากระทบใบต้นสน ทำ�ให้ภาพนัน้ ดูอบอุน่ แทบอยากจะหาคนข้างกาย มาเลียบเคียงบรรยากาศอันแสนโรแมนติก จุดเด่นอีกอย่างของปางอุ๋งก็คือ การเก็บภาพบรรยากาศริมน้ำ� ไม่ว่าใครที่มาที่นี่ ก็มักจะแชะภาพบรรยากาศริมน้ำ� ที่มีทั้งสะพานไม้ที่ยื่นไปยัง ผิวน้ำ� หรือบรรยากาศจากการทอดกายขยับอารมณ์ไปกับแพเรือที่ทำ�จากไม้ไผ่ สิง่ หนึง่ ทีน่ า่ เสียดายสำ�หรับครัง้ นีก้ ค็ อื ไม่ได้เก็บภาพไอเย็นๆ เหนือผิวน�้ำ มาฝากกัน อาจเพราะมาไม่ถกู ช่วงถูกเวลา จึงทำ�ให้ไม่เห็นไอเย็นๆ ทีไ่ ม่บอ่ ยครัง้ นักจะได้เห็นในบ้านเรา แม้ว่าอากาศที่นี่จะหนาวเย็น แต่ก็พอมีแสงแดดให้ไออุ่นอยู่รำ�ไร จะสบาย

รับรองเลยว่า ใครได้มาที่นี่ จะต้องได้รับความเงียบสงบ และบรรยากาศอันแสน บอกเลยว่า...คุ้มค่ากับการขับรถชิลๆ 17 ชั่วโมงมาที่นี่เสียจริงครับ

>> ใครแวะมาต้องมาเก็บบรรยากาศที่สะพานไม้แห่งนี้

>> บริการนักท่องเที่ยวด้วยแพไม้ไผ่


Giving

คำ�ว่าให้ ไม่สิ้นสุด

and Sharing

มูลนิธิรามาธิบดีฯ



คลอดที่รามาธิบดี..

ดีอย่างไร? ขึ้นชื่อว่า.. การกำ�เนิด.. หลายคนก็คงนึกถึงภาพคุณแม่ ตั้งครรภ์ คุณแม่คลอดลูก การวางแผนครอบครัวเพื่อเตรียมความ พร้อมที่จะมีบุตร แล้วเมื่อมีการตั้งครรภ์ด้วยความรักจากพ่อแม่เกิด ขึ้นแล้ว กระบวนการถัดไปของการดูแลลูกในครรภ์ก็คือ การฝาก ครรภ์และดูแลครรภ์ในช่วง 9 เดือนของคุณแม่ จนเมื่อถึงเวลาของ.. การกำ�เนิด..คุณแม่ก็จะตัดสินใจที่จะคลอดในแบบวิธีต่างๆ ทั้งคลอด เองตามธรรมชาติ คลอดในน้ำ� และผ่าตัดคลอด

อุแว้.... อุแว้.... เมื่อถึงเวลาคลอดแล้ว จะมีการเลือกวิธีคลอด อย่างไรดี แล้วการคลอดแต่ละแบบมีความแตกต่างกันอย่างไร รวม ไปถึงคลอดที่โรงพยาบาลรามาธิบดีนั้น..ดีอย่างไรบ้าง คอลัมน์ Rama Today ฉบับนี้ มีคำ�ตอบจาก รศ.นพ.พัญญู พันธ์บูรณะ ภาควิชา สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล มาฝากกัน

เลือกคลอดแบบใดอย่างไรดี การคลอดในปัจจุบันที่ทราบกันจะมีอยู่ 2 แบบ ได้แก่ การคลอดเองตามธรรมชาติ และ การผ่าตัดคลอด ซึ่งการคลอดแต่ละแบบก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน คุณแม่มีสิทธิที่จะเลือกว่าจะ คลอดแบบใด ซึ่งแพทย์มักจะให้คำ�แนะนำ�โดยคำ�นึงถึงพื้นฐานของความปลอดภัย ฉะนั้น หน้าที่ ของบุคลากรทางการแพทย์ไม่ว่าจะเป็นแพทย์เองหรือพยาบาลที่จะดูคุณแม่ที่มาฝากครรภ์ก็ มักจะให้คำ�แนะนำ�ที่เหมาะสมสำ�หรับการเลือกวิธีคลอด เมื่อคุณแม่เริ่มมาฝากครรภ์ แพทย์ จะทำ�การตรวจครรภ์และซักประวัติเพื่อตรวจหาโรคประจำ�ตัว รวมไปถึงการวินิจฉัยว่ามีภาวะ ความจำ�เป็นที่จะต้องทำ�การผ่าตัดคลอดหรือไม่ เช่น วางแผนไว้ว่าจะคลอดเอง แต่พบปัญหาว่า ปากมดลูกไม่เปิดหรือเด็กตัวโตเกินไป ก็จำ�เป็นจะต้องทำ�การผ่าตัดคลอด เป็นต้น


Rama

Today

กิติยา สุวรรณสิทธิ์ ดนัย อังควัฒนวิทย์

ความแตกต่างของการคลอดธรรมชาติกับการผ่าตัดคลอด ความแตกต่ า งของการคลอดธรรมชาติ กั บ การผ่ า คลอดนั้ น ไม่ มี ค วามแตกต่ า งกั น มากนัก เพราะสิ่งสำ�คัญที่สุดคือต้องการให้คุณแม่และลูกคลอดได้อย่างปลอดภัยที่สุด ซึ่งวิธีการ คลอดธรรมชาติเป็นวีธีที่คุณแม่ส่วนใหญ่เลือกมากที่สุดและเป็นวิธีที่เจ็บตัวน้อยที่สุด เพราะไม่มีแผล พื้นตัวเร็ว ส่วนการผ่าตัดคลอดนั้น คุณแม่อาจไม่เจ็บเพราะต้องทำ�การวางยาสลบ เมื่อตื่นมาก็จะได้ เห็นหน้าลูกเลย แน่นอนว่าการผ่าตัดผ่านทางหน้าท้องก็จะมีแผลผ่าตัดยาวหน่อย และมีการพื้นตัว ช้ากว่าคุณแม่ที่คลอดปกติ ทั้งยังอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดได้ เช่น การผ่าตัดอาจไปโดน อวัยวะข้างเคียง หรือแม้แต่ตัวเด็กเองอาจได้รับบาดเจ็บเช่นเดียวกันจากการลงมีดผ่าตัดได้ แน่นอน เป็นหน้าที่หลักของแพทย์ที่ต้องให้ความรู้แก่คุณแม่ก่อนว่า คลอดแต่ละแบบมีผลอย่างไร

ความพร้อมในการดูแลของทีมแพทย์ เมื่อคุณแม่มาฝากครรภ์ ต้องบอกว่าโรงพยาบาลรามาธิบดีเป็นโรงเรียนแพทย์ระดับชั้น นำ�ของประเทศ ฉะนั้นก็จะมีอุปกรณ์การแพทย์ที่ครบครัน ทั้งการดูแล คุณแม่ที่มาฝากครรภ์หรือทารกที่คลอดแล้ว อีกทั้งโรงพยาบาลรามาธิบดียัง สามารถให้การดูแลทารกที่มีน้ำ�หนักน้อยค่อนข้างดีและมีชื่อเสียงในระดับ ประเทศ นอกจากนี้ หากกรณีที่คุณแม่มีภาวะแทรกซ้อนอื่นร่วมด้วย ก็ยังมี ทีมระดับอาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญร่วมให้การดูแลรักษาอย่างเป็นระบบอีก ด้วย ฉะนั้น คุณแม่ที่มาฝากครรภ์และมาคลอดที่โรงพยาบาลรามาธิบดีจะ ได้รับการดูแลจากทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นอย่างดี

การเตรียมตัวเรื่องค่าใช้จ่ายและการเตรียมตัวก่อนคลอด เนื่องด้วยโรงพยาบาลรามาธิบดีมีอัตราการทำ�คลอด 2 แบบ ทั้งแบบคลอดเองตามธรรมชาติและ ผ่าตัดคลอด ซึ่งสามารถขอคำ�ปรึกษาจากอาจารย์แพทย์ได้ โดยห้องคลอดของที่โรงพยาบาลรามาธิบดีขณะนี้มี มาตรฐานคุณภาพและมีการดูแลคุณแม่ที่มาฝากครรภ์อย่างใกล้ชิด ส่วนการเตรียมตัวก่อนคลอดนั้น หากเป็นคุณแม่ที่มาฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี ที่นี่ก็จะมีการจัด คอร์สอบรมการเตรียมตัวในทุก 3 เดือน ตั้งแต่ตั้งครรภ์อ่อนๆ จนถึงใกล้คลอด และจะมีการให้คำ�แนะนำ�สำ�หรับ คุณแม่ที่ใกล้คลอดว่ามีอาการอะไรบ้างที่บ่งบอกว่าให้มาโรงพยาบาล ต้องบอกว่าท้องแรกอาจใช้เวลานานในการ เรียนรู้ แต่เมื่อท้องที่ 2 แล้ว จะใช้เวลาในการเรียนรู้เร็วมากขึ้น


ข้อมูลสำ�หรับผู้ที่สนใจคลอดที่โรงพยาบาลรามาธิบดี ห้องคลอด ห้องคลอดโรงพยาบาลรามาธิบดี มีเป้าหมายให้บริการรักษาพยาบาลสตรี ตั้งครรภ์ การทำ�คลอด และดูแลทารกแรกเกิดทั้งที่ปกติและมีภาวะแทรกซ้อนในระดับทุติย ภูมิและตติยภูมิตามมาตรฐานวิชาชีพ โดยเน้นให้ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย ด้วยมาตรฐานและ เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย รวดเร็ว ปลอดภัย พร้อมด้วยทีมแพทย์และพยาบาลที่มี ความชำ�นาญในการดูแลผู้ที่มาทำ�คลอด เพื่อให้เกิดความพึงพอใจและความปลอดภัยสูงสุด

ปัจจุบนั ห้องคลอดโรงพยาบาล รามาธิ บ ดี ไ ด้ ป รั บ ปรุ ง พื้ น ที่ ใ หม่ ใ ห้ ทั น สมัย ดูโอ่โถงสวยงาม มีความเป็น ส่วนตัวและให้บรรยากาศทีอ่ บอุน่ สำ�หรับ ผู้ท่ีม าคลอดจะได้ รับ การตรวจวิ นิจ ฉั ย ที่ ห้ อ งตรวจคั ด กรองซึ่ ง เป็ น ห้ อ งที่ เ น้ น อำ�นวยความสะดวก และมีคณ ุ ภาพสูงใน การตรวจคัดกรองผู้คลอดและทารกใน ครรภ์ มีหอ้ งรอคลอดจำ�นวน 7 ห้อง ซึง่ มีลกั ษณะเป็นห้องเดีย่ ว แต่ละห้องจะ เตรียมเตียงคลอด 1 เตียงสำ�หรับรอคลอด การคลอด และพักหลังคลอด จนกระทัง่ ย้ายออก เน้นความเป็นส่วนตัว ความสุข สบาย ความสะอาดและความปลอดภัย ของผูค้ ลอดและทารกแรกเกิด ใช้ เ ทคโนโลยี ท างการแพทย์ ที่ ทั น สมั ย และมี คุ ณ ภาพสู ง ในการ ติดตามสัญญาณชีพของทั้งมารดาและทารกตลอดระยะคลอด บรรยากาศ สงบเงียบ สามารถปรับความสว่างและอุณหภูมิห้องให้เหมาะสมกับผู้คลอด แต่ละรายโดยเฉพาะผู้คลอดที่มีภาวะแทรกซ้อน ส่วนทารกแรกเกิดจะได้รับ การดูแลและสังเกตอาการในห้องทารกแรกเกิด ซึ่งเน้นความสะอาดมิดชิด ความอบอุ่น และความปลอดภัย ญาติสามารถเยี่ยมทารกโดยมองผ่าน กระจกและติดต่อพยาบาลทางเครื่องติดต่อภายใน ที่สำ�คัญทารกแรกเกิด ทุกคนจะได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดตลอด 6 ชั่วโมงแรกเกิดจากพยาบาล วิชาชีพพร้อมเทคโนโลยีให้ความอบอุ่นและช่วยชีวิตที่มีคุณภาพสูง ขอขอบคุณข้อมูลจากรายการ Rama Kid D Live ทางสถานี Rama Channel True visions 24


เกร็ดความรู้ของคุณแม่ตั้งครรภ์กับการใช้ยา สำ�หรับการใช้ยาในคุณแม่ตั้งครรภ์ อาจมีอันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วง 3 เดือนแรก ของการตั้งครรภ์ใหม่ๆ ทารกในครรภ์จะมีการเจริญเติบโตและสร้างอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ถ้ามีสารหรือยาบางชนิด ไปกระทบกระเทือนต่อการแบ่งเซลล์ จะทำ�ให้อวัยวะนั้นมีความผิดปกติหรือหยุดเจริญเติบโต ซึ่งจะผิดปกติมากหรือ น้อยขึ้นอยู่กับระยะของการตั้งครรภ์และปริมาณของสารที่ได้รับ การรับประทานยาก็เช่นเดียวกัน หากใช้ยาไม่เหมาะ สมหรือไม่รู้เท่าทัน ก็จะเกิดอันตรายแก่ลูกในครรภ์ได้ เรามีเกร็ดความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาในคุณแม่ตั้งครรภ์มาฝากกัน

1) ยาปฏิชีวนะและยาแก้อักเสบ ยาเตตราซัยคลิน มีผลต่อการสร้าง กระดูกและฟันของลูกในครรภ์ / ยาซัลฟา อาจทำ�ให้ทารกคลอดออก มาแล้วตัวเหลือง / ยาเพนนิซิลินและแอมพิซิลิน เป็นยาที่ปลอดภัยที่สุด สำ�หรับหญิงมีครรภ์ ยกเว้นผู้ที่แพ้ยาเท่านั้น / ยาแก้อักเสบ มักจะเป็นยาที่ หาซื้อมาทานเองบ่อยมาก และมักใช้ไม่ถูกวิธี จึงทำ�ให้ดื้อยา ฉะนั้นไม่ควรใช้ ยาเอง หากใช้ในหญิงทั้งที่ตั้งครรภ์หรือไม่ อาจทำ�ให้ช่องคลอดอักเสบจาก เชื้อรา มีอาการตกขาวและคันช่องคลอดมากได้ 2) ยาแก้ปวดลดไข้ ยาแอสไพริน หากทานเมื่อใกล้คลอด อาจไปยับยั้ง การทำ�งานของเกล็ดเลือดสำ�หรับทารกในครรภ์ ทำ�ให้เลือดไหลไม่หยุดได้ / ยาพาราเซตามอล เป็นยาที่ใช้ได้ปลอดภัยในผู้ตั้งครรภ์ แต่ต้องอยู่ในความ ควบคุมจากแพทย์ / คุณแม่ตั้งครรภ์ที่เป็นไมเกรน ให้หลีกเลี่ยงยาแก้ปวด ศีรษะกลุ่มเออโกตามีน เพราะทำ�ให้มดลูกบีบตัว จนอาจแท้งหรือคลอดก่อน กำ�หนดได้ 3) ยาแก้คัน แก้แพ้ ยาคลอเฟนิรามีน หากมีการใช้ติดต่อกันนานๆ จะทำ�ให้เกล็ดเลือด ่ตำ� ลูกที่เกิดมาอาจจะมีเลือดไหลผิดปกติ 4 ยานอนหลับและยากล่อมประสาท ควรใช้ตามที่แพทย์สั่ง หากใช้ในปริมาณมาก ลูก ที่เกิดมาอาจหายใจไม่ดี เคลื่อนไหวช้า และชักกระตุกได้ 5) ยารักษาเบาหวาน หากเป็นชนิดฉีดอินซูลินสามารถใช้ได้ ไม่มีอันตราย แต่ถ้าเป็น ชนิดรับประทานอาจจะทำ�ให้น้ำ�ตาลในเลือดของทารกต่ำ�ได้ 6) ยากันชัก อาจทำ�ให้เกิดความพิการในทารกได้ โดยมีใบหน้าผิดปกติ 7) ยาแก้ไอ ไม่แนะนำ�ให้ใช้ยาชนิดที่ไม่มีไอโอดีน เพราะอาจทำ�ให้ทารกเกิดอาการ คอพอก และมีอาการผิดปกติทางสมองได้ 8) ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร ยาชนิดนี้มีส่วนผสมของแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์มาก อาจจะทำ�ให้คุณแม่ท้องเสีย และอาจเป็นอันตรายต่อลูกในครรภ์ได้ 9) ยาแก้อาเจียนหรือยาแก้แพ้ท้อง ควรให้หมอเป็นผู้สั่งยา อย่าซื้อทานเองเด็ดขาด

การใช้ยาเป็นเรื่องที่สำ�คัญมาก สำ�หรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์โปรดระลึกไว้เสมอเลยว่า ไม่ควรซื้อยาทานเองเด็ดขาด ถ้าจำ�เป็นจริงๆ ให้ไปพบแพทย์ ย้ำ�ว่า “ใช้ยาอย่างระมัดระวังเพื่อสุขภาพของตัวเองและลูกน้อยในครรภ์”


Education

Talk

ทิพย์สุดา ตันเติมเกียรติ

(ส่วนหนึ่งของการบรรยายในงาน ปัจฉิมนิเทศสำ�หรับนักศึกษาแพ ทย์รามาธิบดี ชั้นปีที่ 6 รุ่นที่ 44 เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2557 ณ หอประชุม อารี วัลยเสวี) โดย ผศ.นพ.ภาวิทย์ เพียรวิจิต ร อาจารย์ประจำ�ภาควิชาอายุรศา สตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลร ามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

การเป็นหมอที่ดีต้องมีมากกว่าความรู้ การที่เราจะได้รับความศรัทธาและ ความเชื่อจากคนไข้นั้น จะมีได้อย่างไร มันมีองค์ประกอบอยู่ 3 อย่าง นั่นคือ

Reputation การมีชื่อเสียง เป็นที่รู้จัก ของคนไข้หรือมีชื่อเสียง ในการรักษา

Past Experience

การที่คนไข้มีประสบการณ์การ รักษาที่ดีด้วย เช่น มีโอกาสได้ รักษาทั้งตัวคนไข้และญาติ พี่น้องของคนไข้มาเป็น เวลานาน

First Impression ความรู้สึกประทับใจ เมื่อแรกพบกัน

สำ�หรับแพทย์ที่จบมาใหม่ มีองค์ประกอบข้อไหนบ้าง? 2 ข้อแรกข้างต้นไม่มีกัน แน่นอน คงเหลือสิ่งเดียวก็คือ First Impression ที่คนไข้จะมีให้คุณได้ แล้วรู้หรือไม่ว่าคนๆ หนึ่งใช้เวลาตัดสินคุณ เพียงมองแค่ 3 วินาทีเท่านั้น มันเหลือเชื่อมาก คนเราพยายามจะชั่ง นํ้าหนักว่า ใครเป็นมิตรหรือเป็นศัตรู คนไหนที่เราควรไว้วางใจ หรือว่าคนนี้เราควรให้ความ นอบน้อมหรือเปล่า


สมมติคุณเป็นสัตว์อยู่ในป่า ภายใน 30 นาทีเนี่ยคุณต้องรู้แล้วว่า ใครคือหัวหน้าจ่าฝูง ใครเป็นคนแข็งแรง ใครเป็นผู้แพ้ ก็เหมือนกันครับ ภายใน 3 วินาที คนเราตัดสินได้เลยว่าคุณ เป็นใคร แต่การที่คุณจะทำ�ให้ First Impression เกิดขึ้นได้นั้น มันยาก แต่ที่ยากไปกว่านั้นคือ หากคุณสร้าง First Impression ที่ผิดแล้วล่ะก็ มันจะไม่ลบออกจากความจำ�ของคนนั้นเลย เพราะความจำ�ได้ฝังอยู่ในสมองของเค้าแล้ว ว่าคุณเป็นคนยังไง

A smile is the universal welcome. - Max Eastman “การยิ ้ ม คื อ การต้ อ นรั บ อั น เป็ น สากล”

การยิ้มนี่ก็เป็นเรื่องที่สำ�คัญมาก ยิ้มสู้ไว้ก่อนครับ เวลาคุณไปสัมภาษณ์แต่คุณ ตอบคำ�ถามไม่ได้ คุณก็ยิ้มไว้ก่อน เพราะมันทำ�ให้ทุกคนดูแฮปปี้เวลาที่อยู่ใกล้ๆ คุณ เป็นเรื่องง่ายๆ นอกจากนี้แล้ว ถ้าหัดมองตาคนที่คุณคุยด้วยแล้วก็จะดีมาก (ข้อความ การถามคนไข้)

หมอ 1: “ป้ากินยาหรือเปล่า? กินยายังไง?” หมอ 2: “คุณป้า (ชื่อ) กินยาหรือเปล่าครับ? กินยังไงครับ?” จะเห็นได้ว่าบทสนทนาของหมอคนที่ 2 มีความแตกต่างจากหมอ คนแรก เพราะการพูดจาที่น่าฟัง รับรองได้เลยว่าสิ่งที่คุณสื่อออกมานั้น ดี มากต่อตัวคุณ คุณจะได้รับความรู้สึกจากคนไข้ที่ว่า “หมอคนนี้เป็นหมอที่ดี จัง พูดจาน่าฟังทีเดียว”

การพูดคุยกับคนไข้ก็ต้องประเมินผู้ฟังด้วยว่า เขามีความรู้ความ เข้าใจอย่างไร สังคมและวัฒนธรรมเขาเป็นอย่างไร ยกตัวอย่างเช่น คนไข้อายุ 74 ปี เป็นไขมัน เบาหวาน เดินทางมาหาคุณหมอคนใหม่ แล้วบอกว่า “ฉันกินยาเยอะมาก บางทีก็ลืมกินยา แล้วก็คุมเบาหวาน ความดัน ไขมันไม่ได้เลย จะทำ�ยังไงดี?” คนไข้จะต้องทานยาทั้งหมด 16 ตัว คำ�ถามคือ จะมีวิธี การจัดการทานยาของคนไข้คนนี้อย่างไร ถ้าเกิดหมอมือใหม่ ไม่มีประสบการณ์ แต่นิสัยดีหน่อย อาจจะค่อยๆ อธิบายยา แต่ละตัวให้คนไข้ฟัง แต่อย่าลืมว่าคนไข้อายุมาก เค้าจำ�ไม่ได้ หรอก ดังนั้น เราต้องพยายามเข้าใจคนไข้ เรียกญาติผู้ดูแลเข้า มาคุย มาช่วยจัดยาและการทานยาของคนไข้ ประเมินว่าคนไข้ มีความรู้ความเข้าใจมากน้อยแค่ไหน ต้องดูสังคมแวดล้อมของ คนไข้ด้วยว่าเป็นอย่างไร


Compassion

ความเห็ น อกเห็ น ใจ เอาใจคนไข ้ ม าใส ่ ใ จเรา ผมอยากให้คุณดูหนังเรื่อง The Doctor (1991) เรื่องมีอยู่ว่า พระเอก (แสดงนำ�โดย William Hurt) เป็นศัลยแพทย์ เป็นคนที่มุ่งมั่นตั้งใจเฉพาะการรักษาเพียงอย่างเดียว ดูเพียงแค่ว่ารูปแบบการรักษาคนไข้นั้น โอเคหรือยัง และไม่ได้สนใจว่าคนไข้ชื่ออะไรหรืออาการตอนนั้นเป็นอย่างไรบ้าง จนกระทั่งวันหนึ่ง ตัวเขาเองเป็น มะเร็ง ต้องทำ�เคมีบำ�บัด ซึ่งระหว่างที่เขาทำ�การรักษานั้น หมอคนที่รักษาตัวเขาเองก็เป็นคนที่มีนิสัยแบบเดียวกัน นั่นคือ ไม่ได้สนใจในรายละเอียด คนไข้กินยารึเปล่า? ทำ�ไมกินยาแล้วอาเจียน? ไม่ได้ให้กำ�ลังใจอะไรเป็นพิเศษ จน เขาหายจากโรคมะเร็งแล้ว และหลังจากที่เขาเจอเหตุการณ์แบบนี้ เขาเลยเปลี่ยนแปลงตัวเองใหม่ กลายมาเป็น หมอที่ดี มีความเข้าใจในตัวคนไข้มากขึ้น ดังนั้น คำ�พูดของเราถ้าเปลี่ยนแปลงนิดหน่อย มีความเห็นอกเห็นใจกัน ก็จะทำ�ให้คนไข้รู้สึกดีมากทีเดียว

Surpassing your teacher with respect ก ้ า วผ ่ า น...แต่ ไ ม ่ ก ้ า วข ้ า มอาจารย์ ข องคุ ณ

การเรียนรู้ของแพทย์ ไม่มีวันจบ ลองหัดอ่านวารสารเอง หาข้อมูลเอง เพราะอะไร? ยกตัวอย่าง ถ้าสมมติ ผมสอน 1 ชั่วโมง เรื่องหัวใจวาย แต่ผมยังมึนๆ จากงานเลี้ยงเมื่อคืนก่อน ทำ�ให้พูดผิดไป 2 คำ� แล้วคุณจดลงไปใน สมุด นั่นไม่แย่เหรอครับ แล้วอีกอย่างหนึ่งคือ ถ้าความรู้ของคุณมีเท่ากับผม แล้วเมื่อไหร่คุณจะเก่งกว่าผมล่ะ ผม ยังหวังพึ่งคุณนะครับเวลาผมแก่ตัวไป ผมยังต้องการให้พวกคุณมาดูแลผมนะ เพราะฉะนั้น คุณจะต้องเก่งกว่าผม เมื่อจบไปก็ควรหาความรู้ให้มากกว่าที่อาจารย์สอน และแน่นอนครับ เมื่อคุณก้าวผ่านอาจารย์ไปแล้ว ก็อย่าลืม แสดงความนอบน้อม ความเคารพต่ออาจารย์ที่สอนคุณด้วยนะครับ

Medico-Social Etiquette มารยาทในสั ง คมของแพทย์

สิ่งหนึ่งที่ผมอยากเตือนไม่ว่าจะไปฝึกงานที่โรงพยาบาลใดก็คือ เรื่องพูดให้ร้ายเกี่ยวกับหมอคนอื่นซึ่งเรา ไม่รู้ข้อมูล ยกตัวอย่าง ลูกถือแฟ้มประวัติการรักษา พาแม่เดินมาหาคุณหมอคนใหม่แล้วบอกว่า “หมอคนนั้นน่ะ เค้ารักษาไม่ดีเลย จะแนะนำ�ให้ทำ�แบบนี้อย่างเดียว ให้กินยาแบบนี้อย่างเดียว” บางคนได้ฟังแล้วอาจจะตอบกลับ ไปว่า “เค้าทำ�แบบนี้ได้ยังไง ไม่ได้เรื่องเลยนะเนี่ย อย่าไปหาหมอคนนี้เลยนะ” แต่ข้อมูลพวกนี้ที่ได้รับได้ฟังมา เราอาจจะไม่รู้จริงๆ ว่า เรื่องมันเป็นยังไง เพราะบางคนก็เล่าไม่หมด บางคนก็เล่าเพียงที่เขาเข้าใจ บางคนก็เล่า ผิดเล่าถูกหรือแม้แต่ญาติที่จริงๆ แล้วไม่เคยดูแลเลย แต่เมื่อเกิดความเจ็บป่วยกับคนในครอบครัว เลยมาจัดการ การรักษาให้ใหม่ ซึ่งก็อาจจะเสริมเติมแต่งคำ�พูดจากคนไข้สูงอายุอีกทอดหนึ่ง ดังนั้น ตราบใดที่เรายังไม่มีข้อมูล ทั้งหมด เราไม่เคยเห็นเอกสารการรักษาหรือรู้จักหมอที่เคยทำ�การรักษาคนไข้คนนี้มาก่อน ก็อย่าเพิ่งไปตัดสินว่า หมอคนนั้นรักษาไม่ถูกวิธี ดังนั้น การตอบว่า “ผมไม่แน่ใจว่าเกิดอะไรขึ้นที่โรงพยาบาลก่อน แต่เรามาเริ่มกัน ใหม่” พูดเช่นนี้จะดูดีกว่า


Balance your priorities การจั ด ลำ � ดั บ ความสำ � คั ญ ในชี ว ิ ต

ต่อไปในอนาคต คุณอาจจะมีหน้า ที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น หมอ อาจารย์แพทย์ ทำ�วิจัย ดำ�รงตำ�แหน่งในองค์กรและสมาคม ต่างๆ หรือต่อไปคุณอาจจะแต่งงาน ก็ต้อง ทำ�หน้าที่ดูแลลูก ดูแลครอบครัว ดูแลพ่อ แม่ และสุดท้ายก็ต้องดูแลตัวเองด้วย คน เรามีหน้าที่ที่ต้องทำ�เยอะมาก เพียงแต่ว่า จะจัดลำ�ดับเรื่องต่างๆ อย่างไร คุณกำ�ลัง ทำ�สิ่งที่ต้องการในชีวิตหรือทำ�ในสิ่งที่คนอื่น ต้องการ คุณต้องเป็นคนตัดสินใจ ในชีวิตนี้คุณอาจจะเคยเจอคนที่ เป็นเหมือนซุปเปอร์แมน ทำ�ได้ทุกอย่างทุกหน้าที่ แต่คนเหล่านี้เป็นบุคคลที่ทำ�งานหนัก เป็นคนเก่งและทุ่มเทมากๆ แต่ เราก็ต้องดูด้วยว่า อะไรบ้างที่สำ�คัญสำ�หรับตัวเราเองจริงๆ ประโยคที่ว่า “การไม่เป็นโรค เป็นลาภอันประเสริฐ” อันนี้จริงมากๆ สมมติว่าคุณไม่ออกกำ�ลังกาย ปล่อยให้ตัว เองอ้วน จนเป็นเบาหวาน คุณก็เตรียมตัวได้เลยว่า จะต้องจ่ายเงินจำ�นวนมากสำ�หรับการรักษาในอนาคต ถามว่า ถ้าให้ เงิน 10 ล้านแล้วเป็นเบาหวาน กับ ไม่รับเงิน 10 ล้านแต่ไม่เป็นเบาหวาน จะเลือกอะไร แน่นอนว่า ก็ต้องเลือกไม่เป็นเบา หวานสิ สุขภาพดีนี่ถือว่าเป็นเงินที่อยู่กับตัวคุณเลยนะ เพราะไม่ต้องนำ�เงินไปรักษาโรคเหล่านี้ มีคาถาอยู่อย่างหนึ่ง เป็นเคล็ดวิชาตกน้ำ�ไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ ตอนสมัยผมเรียนอยู่ที่อเมริกา มีอาจารย์ท่านนึง เขาบอกว่า “ถ้าหากเราไม่รู้ว่าเราจะทำ�อะไร โดยเฉพาะเกี่ยวกับคนไข้นั้น ก็ขอให้คิดว่าสิ่งที่ดีที่สุดสำ�หรับคนไข้นั้นคือ อะไร แล้วให้ทำ�ตามนั้น คุณมั่นใจได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ว่าไม่มีใครฟ้องคุณได้ ไม่มีใครมาว่าคุณได้ ถ้าการตัดสินใจนั้น มีคนไข้ เป็นที่ตั้ง” ซึ่งเมื่อผมกลับมาที่เมืองไทยแล้ว ผมพบว่า สมเด็จพระราชบิดาฯ เคยมีพระราชปณิธานมาก่อนแล้ว นั่นก็คือ “ขอให้ถือผลประโยชน์ส่วนตัว...เป็นที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์....เป็นกิจที่หนึ่ง ลาภทรัพย์และเกียรติยศจะตกมาแก่ท่านเอง” การเป็นหมอ บางทีอาจจะพบกับความยุ่งยาก บางครั้งท้อแท้ บางครั้งเหนื่อยจนคิดว่า “ไม่อยากจะเป็นหมอ แล้ว” แต่สิ่งที่อยากจะบอกก็คือ ถ้าคุณสู้ต่อไป ก็จะพบกับความสำ�เร็จ เพราะอย่างที่เค้าว่ากันว่า “ก่อนจะมาเป็นเทพ ก็ต้องห่วยมาก่อนทั้งนั้นแหล่ะครับ”

Failure is the opportunity to begin again more intelligently. - Henry Ford

ความล้มเหลวเป็นโอกาสที่จะเริ่มต้นอีกครั้ง แต่เป็นการเริ่มต้นอย่างฉลาดกว่าเดิม


Research

Inspiration

ดนัย อังควัฒนวิทย์

“งานวิจัย เป็นเรื่องของ ทุกคนในองค์กร”

ศ.นพ.อร่าม โรจนสกุล หากนึกถึงงานวิจัย หลายคนก็คงจะนึกถึงการเก็บข้อมูล การ จัดทำ�สถิติ ตารางซับซ้อน ห้องแล็บ แบบสอบถาม การนำ�เสนอ ผลงาน การตีพิมพ์ในวารสาร ซึ่งเหล่านี้ล้วนแต่ก็เป็นส่วนประกอบ หนึ่งของการทำ�งานวิจัยทั้งสิ้น ที่หลายคนก็คงมองว่าเป็นเรื่องไกล ตัว หากไม่ใช่นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ นักวิเคราะห์สถิติ หรือแม้แต่ บุคลากรทางการแพทย์เองก็ตาม นั่นเองคงไม่ใช่ในมุมมองของ ศ.นพ.อร่าม โรจนสกุล ผู้อำ�นวยการศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์ ที่มองว่า “งานวิจัยเป็นเรื่องของทุกคนในองค์กร”



วิจัย..ในความหมายส่วนตัว คำ�ว่าวิจัย เป็นการค้นหาคำ�ตอบจากปัญหา ที่เรามีอยู่ หรือจากสิ่งที่เราอยากรู้อยากเห็น ซึ่งมัก เกิดขึ้นได้ในทุกคน อย่างนักวิทยาศาสตร์สงสัยว่า สารตัวหนึ่งมีหน้าที่อะไร ก็ไปทำ�การค้นคว้าวิจัยหา คำ�ตอบ อาจารย์แพทย์สนใจว่ายาชนิดนี้จะรักษาโรคนี้ ได้อย่างไรก็ไปวิจัยค้นคว้า ชาวนาสนใจว่าเมล็ดพันธุ์พืช นี้จะทำ�ให้งอกงามได้ยังไงก็ต้องทำ�วิจัย เช่นเดียวกันกับ พนักงานสายสนับสนุนที่สนใจว่าจะทำ�อย่างไรให้การ ทำ�งานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นก็ไปค้นคิดวิธีการมา เหล่านี้มีลักษณะเข้าได้กับงานวิจัยทั้งสิ้น ในบางครัง้ การหาคำ�ตอบจากงานวิจยั เพียงแค่ ค้นคว้าจากสารสนเทศต่างๆ ก็สามารถหาคำ�ตอบได้แล้ว หากยังไม่ได้ ก็ตอ้ งทำ�การค้นคว้าวิจยั เพือ่ หาคำ�ตอบโดย มีการตัง้ วัตถุประสงค์ของการวิจยั ต่อด้วยกระบวนการ วิจัย การวัดผลอย่างไร เพื่อให้ได้ผลลัพธ์นำ�มาวิเคราะห์ และสรุปนำ�ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์และนำ�ไป ต่อยอดทางวิจัยต่อไป

งานวิจัยที่รามาธิบดีในสมัยก่อน เป็นอย่างไร ในสมัยก่อน งานวิจัยยังไม่กว้างขวางและ เป็นที่ตื่นตัวมากนัก สำ�หรับที่รามาธิบดี ศ.นพ.อารี วัลยะเสวี คณบดีท่านแรก ได้สร้างรามาธิบดีให้มีความ โดดเด่นกว่าโรงเรียนแพทย์แห่งอื่น ในขณะนั้นในด้าน งานวิจัยและนวัตกรรม ซึ่งจะก่อให้เกิดการพัฒนาอย่าง ต่อเนื่อง สร้างความเจริญเติบโตแก่องค์กร ทั้งนี้ องค์กร จะนิ่งอยู่กับที่ไม่ได้ ต้องเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะ แวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาด้านสาธารณสุขที่ เปลี่ยนไป มีทั้งโรคอุบัติใหม่ โรคเรื้อรังเพิ่มมากขึ้น ถ้า ไม่ได้ทำ�การวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่องก็จะล้าหลัง และไม่สามารถเป็นผู้นำ�ได้

มุมมองส่วนตัวเกี่ยวกับการทำ�งานวิจัย

มองว่ า งานวิ จั ย จึ ง ไม่ ใช่ เ พี ย งแค่ ห น้ า ที่ ข อง นักวิจัย หรืออาจารย์เท่านั้น แต่ยังเป็นบทบาทสำ�คัญ ที่ทุกคนสามารถทำ�ได้ โดยต่างกันที่บริบทของแต่ละ คนเท่านั้นเอง เดิมทีเราเข้าใจว่าเรื่องวิจัยเป็นเรื่อง ของแพทย์ อาจารย์ นักวิจัย และนักวิทยาศาสตร์ แต่ ในความเป็นจริงแล้ว ยังมีงานวิจัยรูปแบบอื่นที่คิดได้ ว่าเป็นงานวิจัย เช่น จากงานประจำ�สู่งานวิจัย (R2R, Routine to Research) ที่ทุกคนในองค์กรสามารถ ทำ�ได้ งานวิจัยจึงเป็นเรื่องของทุกคน

ส่วนตัวมองว่าควรทำ�การวิจัยที่มุ่งเน้นปัญหา สุขภาพของคนไทย ทำ�การวิจยั เพือ่ หาคำ�ตอบด้าน สุขภาพแก่สงั คม โดยทีใ่ นคณะฯ เองมีทรัพยากรทีจ่ �ำ กัด ทัง้ บุคลากรนักวิจยั เงินงบประมาณ จึงควรทุม่ เทไปใน การวิจยั นี้ มุง่ แก้ไขปัญหาสุขภาพในประเทศของเราได้ ช่ ว งที่ เข้ า มาเป็ น อาจารย์ แ พทย์ ท่ี ร ามาธิ บ ดี อาจารย์แพทย์จะมุ่งเน้นการเรียนการสอนและบริการ รักษาพยาบาล แต่ในขณะเดียวกันก็จะควรมุง่ ไปทีก่ าร วิจยั ด้วย งานวิจยั จึงเป็นบทบาทโดยตรงของอาจารย์ แพทย์ เมือ่ อาจารย์แพทย์ท�ำ วิจยั แล้ว ก็จะได้ความรูใ้ น การนำ�ไปสอนนักเรียนแพทย์ให้ร้จู ักค้นคว้าหาทางแก้ไข ปัญหาต่างๆ อาจารย์กจ็ ะได้องค์ความรูน้ �ำ ไปปรับปรุง การให้บริการทีด่ ขี น้ึ ไปต่อยอดในวงการแพทย์ตอ่ ไป ฉะนัน้ การวิจยั จึงเป็นหัวใจสำ�คัญของอาจารย์แพทย์

รูปแบบงานวิจัยที่หลากหลาย

งานวิจัยเป็น “หน้าที่”

มองว่างานวิจัยเป็นเรื่องของทุกคน

งานวิจัยมีหลากหลายรูปแบบ คงเคยได้ยินคำ� ว่า วิจัยทางคลินิก วิจัยในห้องปฏิบัติการ วิจัยในชุมชน วิจัยทางระบาดวิทยา วิจัยเชิงระบบ วิจัยเพื่อหาความ คุ้มค่าและประสิทธิผล กันมาบ้างแล้ว ซึ่งเป็นรูปแบบ งานวิจัยที่พบเห็นได้บ่อยครั้ง กระทั่งในปัจจุบันเราพบ ว่ามีงานวิจัยในงานประจำ� ที่ต้องการปรับปรุงผลงาน ในงานประจำ�ให้ดียิ่งขึ้น มีประสิทธิภาพดีขึ้น ช่วยลด ทอนความไม่จำ�เป็นในการทำ�งาน และเพิ่มความคล่อง ตัวในการทำ�งานได้ ดังนั้น งานวิจัยจึงมีความหมายและ รูปแบบกว้างขวางหลากหลายมาก

การทำ � วิ จั ย เป็ น ภาระหน้ า ที่ ข องอาจารย์ โดยตรง มีอาจารย์จำ�นวนมากที่ทำ�วิจัยอย่างมีความรับ ผิดชอบและมีฉันทะ ใช้เวลาทั้งในเวลาราชการและนอก เวลาราชการทุ่มเทให้กับงานวิจัย โดยที่ไม่ได้ค่าตอบ แทนใดๆ เพิ่มขึ้น ทุ่มเทเวลาให้กับงานวิจัย อยากที่จะ ค้นคว้า อยากเกาะติด อยากจะหาคำ�ตอบในสิ่งที่เป็น ประโยชน์ ซึ่งในคณะฯ ก็มีอาจารย์แบบนี้อยู่จำ�นวน หนึ่ง งานวิ จั ย เป็ น พั น ธกิ จ หลั ก ของมหาวิ ท ยาลั ย และคณะฯ แต่การที่งานวิจัยจะสำ�เร็จหรือไปข้างหน้า ได้ จำ�เป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการสนับสนุนส่งเสริม


มาตรฐาน หากไม่มผี ลงานในเวลาทีก่ �ำ หนดอาจไม่ได้รบั การพิจารณาต่อสัญญาให้เป็นอาจารย์ตอ่ ไป อาจารย์แพทย์รุ่นใหม่ทุกคนก็ต้องเข้าใจและ ยอมรับในบทบาทนี้ด้วย ส่วนจะตั้งหัวข้อการทำ�วิจัย อย่างไรดีนั้น ส่วนใหญ่มักเลือกตามที่ตนเองถนัดหรือ ตามภาควิชาที่สังกัดอยู่แล้ว อยากจะแนะนำ�ว่าการ ทำ�งานวิจัยให้เริ่มต้นจากปัญหาของชุมชน ปัญหาของ สังคม ปัญหาของประเทศชาติ ว่าในสาขาวิชาที่เรารับ ผิดชอบอยู่มีปมประเด็นปัญหาสุขภาพอะไรบ้าง ให้ หยิบปัญหาเหล่านี้ขึ้นมาเป็นประเด็นในการวิจัย โดย เลือกประเด็นที่มีความท้าทายพอสมควร อยากจะ ให้แพทย์รุ่นใหม่เข้าใจว่า เมื่อเราลงทุนลงแรงไปกับ การทำ�งานวิจัยแล้วก็ควรจะได้ผลงานที่นำ�ไปใช้แก้ไข ปัญหาสุขภาพของประเทศได้ในระดับหนึ่ง ไม่ใช่เป็น วิจัยขึ้นหิ้ง หรือทำ�วิจัยเพื่อให้ได้ตำ�แหน่งทางวิชาการ เพียงอย่างเดียว โดยไม่คำ�นึงถึงการทำ�ผลงานวิจัยไป ประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์แก่มวลมนุษยชาติ หลายด้าน เช่น ทรัพยากรบุคคล จากหน่วยสนับสนุน บุคลากรทางด้านสถิติ ระบาดวิทยา ทรัพยากรการ เรียนรู้ บุคลากรทางคลินิก พยาบาล และเจ้าหน้าที่ที่ เกี่ยวข้อง อีกทั้งงานวิจัยยังต้องใช้เงินทุนสูง นอกจากนี้ ยังต้องได้รับการสนับสนุนด้านอาคารสถานที่ เช่น ห้อง ปฏิบัติการ รวมทั้ง เครื่องมือที่จำ�เป็น ซึ่งบางชิ้นมีราคา สูงมาก หากได้รับการสนับสนุนไม่พอเพียงก็อาจเป็น ปัญหาและอุปสรรคได้ อีกสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามก็คือ “เวลา” เนื่องจากเวลาส่วนใหญ่เราใช้ไปกับการบริการรักษา พยาบาล อาจารย์ของเราจะต้องทำ�หน้าที่บริการรักษา พยาบาลและจัดการเรียนการสอน จนทำ�ให้ไม่มีเวลา สำ�หรับงานวิจัยมากนัก นอกจากนี้ยังอาจมีอุปสรรค ด้านภาษาและการสื่อสารก็มีความสำ�คัญ สำ�หรับใน คณะฯ ของเรา ได้รับการสนับสนุนด้านการวิจัยเป็น อย่างดีจากหลายฝ่าย ทั้งฝ่ายบริหาร จัดการและ ปฏิบัติการ มีการสนับสนุนทรัพยากรต่างๆ รวมทั้งค่า ตอบแทนด้วย

คำ�แนะนำ�ในการทำ�งานวิจัย แก่นักวิจัยรุ่นใหม่ อาจารย์ทุกคนในมหาวิทยาลัยมีหน้าทีค่ วามรับ ผิดชอบในการทำ�วิจยั อยูแ่ ล้ว ต้องมีผลงานวิจยั ออกมา ต้องมีการตีพมิ พ์ผลงานวิจยั ในวารสารทางการแพทย์ทไ่ี ด้

ปัญหาที่มักพบในนักวิจัยรุ่นใหม่ ปั ญ หาในระหว่ า งการทำ � งานวิ จั ย สำ � หรั บ อาจารย์รุ่นใหม่มีหลายเรื่องที่สำ�คัญคือ เรื่องเวลา อาจารย์ใหม่อยู่ในระยะก่อร่างสร้างตัว ไหนจะต้อง ดูแลตัวเอง ไหนจะต้องดูแลครอบครัว ไหนจะต้องดูแล รักษาผู้ป่วยและเตรียมการสอน จึงต้องแบ่งเวลาให้ กับงานวิจัยให้ดี ต้องมีความมุ่งมั่น ในบางครั้งต้องนั่ง ทำ�งานวิจัยกลางค่ำ�กลางคืน ทำ�วันหยุด เสาร์-อาทิตย์ จึงต้องมีความอดทนสูง และมีเป้าหมายชัดเจน อย่า ท้อแท้ อย่ายอมง่ายๆ อาจจะปรึกษากับอาจารย์อาวุโส หรือปรึกษากับผู้บริหารของภาควิชา เพื่อขอรับการ สนับสนุน ก็ฝากนักวิจัยรุ่นใหม่ๆ ไว้ว่า สิ่งที่อาจารย์ รุ่นก่อนได้ทำ�ไว้ให้เรา ในขณะนี้ดีกว่าเมื่อก่อนมาก อาจารย์แต่ละรุ่นๆ ได้พยายามสร้างพื้นฐานในการทำ� วิจัยไว้ให้ ที่เราทำ�งานวิจัยได้ดีในทุกวันนี้ ก็เป็นผลจาก อาจารย์รุ่นก่อนได้ทำ�ไว้ เราเองก็จะต้องทำ�สิ่งใหม่ๆ เพื่ออาจารย์รุ่นใหม่ในอนาคตด้วย อีกปัญหาที่อยากฝากไว้ก็คือ ความไม่เข้าใจกัน ในหน่วยงานหรือภาควิชา บางคนบอกว่าเอาแต่วิจัยไม่ มาช่วยสอนหนังสือ ไม่มาช่วยงานบริการ เอาแต่วิจัย เพื่อหาประโยชน์ใส่ตัว ตำ�แหน่งวิชาการก็เป็นประโยชน์ ส่วนตัว อันนี้ต้องสร้างสมดุลระหว่างงานต่างๆ ให้ดี ให้ คิดว่าเราก็เป็นส่วนหนึ่งขององค์กร ของหน่วยงาน ของ ภาควิชา ของคณะฯ เหมือนกัน เราจะทำ�ตามใจเราแต่ เพี ย งอย่ า งเดี ย วไม่ ไ ด้ ต้ อ งมองในภาพรวม อาจารย์


ทุกคนต้องมองในภาพรวมให้เกียรติซึ่งกันและกัน โดย ส่วนตัวคิดว่า ศักยภาพและความพร้อมของอาจารย์เรา สามารถทำ�งานวิจัยให้สำ�เร็จได้อยู่แล้ว

งานวิจัยสำ�หรับบุคลากรสายสนับสนุน ปัญหาหลักของสายสนับสนุนก็คอื ไม่กล้า ไม่รู้ ว่าอันนีเ้ ขาเรียกวิจยั ไม่รวู้ า่ จะทำ�ยังไง ขอให้ปรึกษา หัวหน้าหน่วยงาน ในการส่งเสริมให้ท�ำ งานวิจยั ของ บุคลากรคณะฯ ได้เปิดโอกาสให้อยูแ่ ล้ว เช่น งานวิจยั R2R นัน่ เอง เริม่ ต้นงานวิจยั จากการทำ�งานประจำ�ของ เรา กำ�หนดวัตถุประสงค์ในการทำ�งานของเราก่อน มี จุดมุง่ หมายอย่างไร มีกระบวนการทำ�งานอย่างไร วัดผล อย่างไร ทำ�แล้วสำ�เร็จตามวัตถุประสงค์ทเ่ี รากำ�หนดไว้ หรือไม่ หากว่าไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ แล้วเกิดจาก สาเหตุอะไร นีก่ เ็ กิดคำ�ถามวิจยั แล้ว เมือ่ เราคิดหาวิธี ทางในการแก้ไขปัญหานัน้ ได้ เราก็จะเกิดกระบวนการใน การทำ�วิจยั ก่อเกิดการพัฒนา ซึง่ ทุกคนสามารถมีสว่ น ร่วมในการทำ�งานวิจยั ได้แบบ R2R บางครัง้ คำ�ว่า “งาน วิจยั ” อาจจะเป็น “ศัพท์เทพ”บุคลากรบางคนอาจเข้าใจ ว่าไกลเกินเอือ้ ม แต่ถา้ เรามีแนวคิดในการพัฒนางานให้ดี ขึน้ อย่างต่อเนือ่ งก็เป็นพืน้ ฐานสำ�คัญในการวิจยั แล้ว เชือ่ ว่าไม่เกินความสามารถของเรา หากมีความตัง้ ใจจริง นอกจากนี้ หากพิจารณาจากค่านิยมของ คณะฯ คือ “มุ่งเรียนรู้ คู่คุณธรรม นำ�สู่คุณภาพ” ซึ่ง ในการที่เรามุ่งเรียนรู้ เราต้องเรียนรู้จักตัวเอง เรียน รู้องค์กร เรียนรู้หน่วยงาน เรียนรู้ว่าทำ�แล้วดีหรือไม่ สำ�เร็จหรือไม่ นำ�ไปพัฒนาให้ดีขึ้นได้อย่างไร เหล่านี้ เกี่ยวข้องกับการวิจัยที่ทำ�ขึ้น

มองว่าคณะฯ ได้เปรียบในด้านการทำ�งาน วิจัยเมื่อเทียบกับที่อื่นหรือไม่ เราคงไม่บอกว่าได้เปรียบเสียเปรียบ ในคณะฯ มีสิ่งแวดล้อมที่สนับสนุนงานวิจัยอยู่แล้วตั้งแต่นโยบาย ของมหาวิทยาลัย และของคณะฯ ที่ชัดเจน มีกำ�หนด ไว้ในข้อตกลงการปฏิบัติงาน (Performance Agreement) มีการจัดสรรทรัพยากรให้ ไม่ว่าจะเป็นอาคาร สถานที่ นักวิจัย งบประมาณ งบวิจัย งบการศึกษา เพิ่มเติม และมีการจัดสรรเวลาสำ�หรับอาจารย์นักวิจัย เหล่านี้จะเป็นแรงสนับสนุนที่ดีเยี่ยมแก่นักวิจัย นับเป็น โอกาสที่ดี เพียงแต่ขอให้บุคลากรของคณะฯ มีใจ มี ฉันทะที่มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ที่จะต้องสร้างสรรค์ งานวิจัย ผลงานต่างๆ จะตามมาเอง

งานวิจัยในอาคารสมเด็จพระเทพรัตน์ ที่อาคารสมเด็จพระเทพรัตน์ เรามุ่งเน้นการ รักษาพยาบาลเป็นหลัก แต่ในขณะเดียวกัน ก็ให้มีการ สนับสนุนส่งเสริมหน่วยงานต่างๆ ให้ทำ�งานวิจัย เช่น การวิจัยทางคลินิก ซึ่งเราก็อำ�นวยความสะดวกแก่ อาจารย์แก่นักวิจัยต่างๆ ในการทำ�งานวิจัย แต่อย่างที่ กล่าวข้างต้นว่า แนวคิดที่ว่างานวิจัยเป็นเรื่องของทุก คนในองค์กร เราก็สนับสนุนให้ทุกคนได้ทำ�งานวิจัยได้ ในระดับหนึ่ง เช่น พยาบาลที่ทำ�งานประจำ�ก็จะพบ ปัญหาว่า การให้ยา ให้น้ำ�เกลือ ให้เลือด จะทำ�อย่างไร ให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด ไม่ให้ผิดคน ก็สามารถ ทำ�การศึกษาวิจัยหากระบวนการที่เหมาะสม เรียนรู้กัน ไป มีการสนับสนุนให้ทุกหน่วยงานทำ�งานวิจัยตลอด จนได้นำ�ไปเสนอในเวทีคุณภาพต่างๆ ในระดับคณะฯ มหาวิทยาลัย และระดับชาติ

มองภาพงานวิจยั ในรามาธิบดีวา่ ก้าวหน้า ต่อไปอย่างไรบ้าง

ในภาพรวม งานวิจัยของคณะฯ มีทิศทางที่ ดีเพิ่มขึ้น วัดจากจำ�นวนชิ้นงานและคุณภาพ ซึ่งได้รับ การตีพิมพ์ในวารสารที่มีชื่อเสียง หรือวัดจาก Impact Factor ตลอดจนการนำ�ไปใช้ประโยชน์ในสังคม ซึ่ง ที่ผ่านมาก็มีงานวิจัยดีดีหลายเรื่องที่ได้นำ�ไปใช้ให้เกิด ประโยชน์ในสังคม เช่น งานวิจัยเกี่ยวกับอุบัติเหตุ งาน วิจัยเกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัว งานวิจัยเกี่ยวกับ เด็กและวัยรุ่น งานวิจัยเกี่ยวกับสารตะกั่ว งานวิจัยเกี่ยว กับสารพิษทั้งหลาย งานวิจัยเกี่ยวกับฮีโมฟีเลีย งานวิจัย เกี่ยวกับการเติมสารไอโอดีนในน้ำ�ปลา งานวิจัยเกี่ยว กับบุหรี่ งานวิจัยเกี่ยวกับยาบางชนิด งานวิจัยเกี่ยวกับ คาเฟอีนที่มีอยู่ในยาแก้ปวด เป็นต้น จากบทสัมภาษณ์ข้างต้น ผู้เขียนเองเชื่อมั่น เหลือเกินว่า “งานวิจัยเป็นเรื่องของทุกคนในองค์กร” ไม่เฉพาะแค่ในรามาธิบดีบ้านของเราเท่านั้น แต่ยังเป็น เรื่องของทุกคน ทุกสาขาอาชีพ ที่มองปัญหาให้ออก แล้วหาทางแก้ไขให้ได้ด้วยกระบวนการความคิด แล้ว ศัพท์เทพอย่างคำ�ว่า “งานวิจัย” จะไม่เป็นปัญหาของ ทุกคนอีกต่อไป



Activities กองบรรณาธิการ

ประชุมนานาชาติรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำ�ปี 2014 มูลนิธริ างวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล จัดการประชุมนานาชาติ รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำ�ปี 2014 ภายใต้แนวคิด “ Transformative Learning for Health Equity”: การเรียนรู้เพื่อปรับกระบวนทัศน์สู่ความเป็นธรรมด้าน สุขภาพ ในการนี้ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นองค์ประธานเปิด การประชุมในครั้งนี้ เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2557 ณ โรงแรมรอยัล คลิฟฟ์ แกรนด์ พัทยา จ.ชลบุรี

มอบกระเช้าแทนคำ�ขอบคุณ

รับมอบเงินบริจาค

ศ.นพ.วินิต พัวประดิษฐ์ คณบดี คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิ บ ดี มหาวิทยาลัยมหิดล รับมอบเงินบริจาคจำ�นวน 910,795 บาท จากผูแ้ ทน บริษทั บุญถาวร จำ�กัด เพื่ อ สมทบทุ น โครงการพั ฒ นาอาคารและ จัดหาเครื่องมือแพทย์เพื่อผู้ป่วยยากไร้ เมื่อวัน ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2557 ณ สำ�นักงานคณบดี อาคารเรียนรวม

นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงสาธารณสุข มอบกระเช้าของขวัญ ในโอกาส ขอบคุ ณ บุ ค ลากรคณะแพทยศาสตร์ โ รงพยาบาล รามาธิบดี ที่ให้การดูแลประชาชนผู้บาดเจ็บจากการ ชุมนุม โดยมีรศ.นพ.สุรศักดิ์ ลีลาอุดมลิปิ ผู้อำ�นวยการ โรงพยาบาลรามาธิบดี เป็นผู้แทนรับมอบเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2557 ณ ศูนย์อุบัติเหตุและเวชศาสตร์ฉุกเฉิน


หน่วยแพทย์เคลื่อนที่พระราชทาน จังหวัดพะเยา เมื่อวันที่ 18–19 มกราคม 2557 หน่วยแพทย์ เคลื่อนที่พระราชทาน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาล รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ออกให้บริการรักษา พยาบาล ณ โรงเรียนเชียงม่วนวิทยาคม อ.เชียงม่วน และโรงเรียนเชียงคำ�วิทยาคม อ.เชียงคำ� จ.พะเยา โดย มี พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี เป็นประธานใน พิธีพระราชทานความช่วยเหลือแก่ราษฎรในพื้นที่

พิธีการลงนามบันทึกข้อตกลง เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2557 คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีลงนาม บันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ วิจัย ปฏิบัติการและ การฝึกอบรม ระหว่าง มหาวิทยาลัยมหิดล (คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี) กับ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) โดยมี รศ.ธันย์ สุภัทรพันธุ์ รองคณบดีฝ่ายบริการ และ รศ.สุรศักดิ์ ลีลาอุดมลิปิ ผู้อำ�นวยการโรงพยาบาลรามาธิบดี ลงนามร่วมกับ นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการสถาบัน การแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ และนพ.ภูมินทร์ ศิลาพันธ์ รอง เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ณ ห้องประชุม งานบริหารโรงพยาบาลรามาธิบดี

หน่วยแพทย์เคลื่อนที่พระราชทาน จังหวัดสุรินทร์ และบุรีรัมย์ นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี รศ.นพ.ธันย์ สุภัทรพันธุ์ รองคณบดีฝ่ายบริการ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้ แทนหน่วยงาน มอบสิ่งของพระราชทานแก่ราษฎร ใน โครงการพระราชทานความช่วยเหลือ ทั้งนี้ทีมแพทย์ จากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้ให้ บริการตรวจรักษาโรคทั่วไปและบริการทางทันตกรรม ในพื้นที่สำ�นักเทศบาลต.ท่าตูม อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ และ โรงเรียนพนมรุ้ง อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์ เมื่อวันที่ 6–7 กุมภาพันธ์ 2557


ขอแสดงความยินดี

ขอแสดงความยินดีแก่ ศ.รณชัย คงสกนธ์ รองคณบดีฝา่ ยการพัสดุ คณะ แพทยศาสตร์ โ รงพยาบาลรามาธิ บ ดี มหาวิทยาลัยมหิดล ในโอกาสได้รับการคัด เลือกเป็นศิษย์เก่าแพทย์ศิริราชดีเด่น ประจำ� ปี พ.ศ.2556 สาขาศิษย์เก่าผู้ทำ�ประโยชน์ แก่สังคมของสมาคมศิษย์เก่าแพทย์ศิริราช ในพระบรมราชูปถัมภ์

ขอแสดงความยินดีแก่ คุณภูริศา เวชรักษ์ นักวิชาการโภชนาการ สาขาวิชา โภชนวิทยา ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะ แพทยศาสตร์ โ รงพยาบาลรามาธิ บ ดี มหาวิทยาลัยมหิดล ในโอกาสได้รับรางวัลที่ 2 สำ�หรับการนำ�เสนอผลงานวิชาการแบบ โปสเตอร์เรื่อง “Outcomes of nutritional support with home enteral nutrition program in pediatric patients” จาก สมาคมผู้ให้อาหารทางหลอดเลือดดำ�และ ทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย

รับมอบเงินบริจาค ศ.นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา หัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อม ด้วย ศ.นพ.วินัย วนานุกูล รองผู้อำ�นวยการโรงพยาบาลรามาธิบดี และหัวหน้าศูนย์พิษวิทยาโรงพยาบาลรามาธิบดี รับมอบเงินจากผู้ แทนบริษัท SYNGENTA เพื่อใช้สนับสนุนกิจกรรมของศูนย์พิษวิทยา โรงพยาบาลรามาธิบดี จำ�นวน 300,000 บาท เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2557 ณ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาล รามาธิบดี

รับมอบเงินบริจาค เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2557 คุณสำ�เนียง เตชะศิรินุกูลและ ครอบครัว มอบเงินบริจาคสมทบทุนโครงการสถาบันการแพทย์จัก รีนฤบดินทร์ เป็นจำ�นวน 3,000,000 บาท โดยมี คุณมาลี สังวาลย์ เล็ก หัวหน้าฝ่ายรับบริจาคมูลนิธิรามาธิบดีฯ เป็นผู้รับมอบ ณ งาน ฌาปนกิจ คุณวิโรจน์ เตชะศิรินุกูล วัดดอนหวาย


คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เยี่ยมชมและศึกษาดูงาน เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2557 รศ.พญ.จิรพร เหล่าธรรมทัศน์ รองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กร คณะแพทย ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี พร้อมทีมผู้ช่วยคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรให้การต้อนรับ รศ.นพ.ดิฐกานต์ บริบูรณ์ หิรัญสาร รองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล รศ.นพ.นริศ กิจณรงค์ ผู้ช่วยคณบดี ฝ่ายสื่อสารองค์กร และเจ้าหน้าที่จากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ในโอกาสเข้าเยี่ยมและศึกษาดูงาน ด้านการบริหารงานสื่อสารองค์กร ณ ห้องประชุม อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ ชั้น 5 ศูนย์การแพทย์สิริกิติ์

Open House… สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ สำ�นักงานสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ จัดงาน Open House สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ โดยได้มี รศ.นพ.พงษ์ศักดิ์ โค้วสถิตย์ รองคณบดีฝ่ายสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์และผู้อำ�นวยการบริหาร สำ�นักงานสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ และทีมงาน ร่วมเสวนาและให้ข้อมูลความคืบหน้าของการก่อสร้าง สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ ท่ามกลางความสนใจจากบุคลากรชาวรามาธิบดีและประชาชนทั่วไป เมื่อวัน ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557 ณ อาคารเรียนรวม



Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.