คำถามอาเซียน

Page 60

๖๐

การจัดทําเป็นลักษณะโครงการนําร่อง เช่น (1) โครงการนาร่องเพื่อจัดตั้งระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียว ของอาเซียน (ASEAN Single Window: ASW) โดยเชื่อมโยงระบบข้อมูลแบบบูรณาการระหว่างหน่วยงาน ภาครัฐและผู้ใช้บริการ (2) โครงการนาร่องระบบการรับรองถิ่นกาเนิดสินค้าด้วยตนเอง (SelfCertification) ซึ่งจะช่วยปรับลดระยะเวลาการรับรองถิ่นกําเนิดสินค้าโดยให้ธุรกิจที่ได้รับ อนุญาต สามารถรับรองถิ่นกําเนิดสินค้าด้วยตนเองแทนหน่วยงานภาครัฐ (3) การใช้ใบขนสินค้าอาเซียน (ASEAN Customs Declaration Document: ACDD) ที่มีรูปแบบเดียวกัน เพื่อให้ประเทศสมาชิกใช้ในการผ่านพิธีการศุลกากร สําหรับการนําเข้า/ส่งออก และใช้ผ่านแดนภายในอาเซียน ซึ่งขณะนี้ กรมศุลกากรอยู่ในระหว่าง การพัฒนาข้อมูลใบขนสินค้าอาเซียนให้สอดคล้องควบคู่ไปกับการจัดทําระบบ ASEAN Single Window อาเซียนยังได้ร่วมกันจัดทําความตกลงอาเซียนด้านศุลกากร (ASEAN Agreement on Customs) ซึ่งทุกประเทศได้ลงนามร่วมกันแล้วเมื่อเดือนมีนาคม 2555 ที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา และอยู่ระหว่างรอให้ประเทศสมาชิกให้สัตยาบันเพื่อให้มีผลบังคับใช้ต่อไป คาถาม ข้อ 5 คาตอบ

ประเทศไทยมีจุดผ่านแดนถาวรกี่แห่ง ปัจจุบัน ไทยและประเทศเพื่อนบ้านมีจุดผ่านแดนถาวร แห่ง 34 ได้แก่ (1) จุดผ่านแดนถาวรไทย-เมียนมาร์ 4 แห่งใน 3 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย ตาก และระนอง และมีจุดผ่อนปรนอีก 13 แห่ง (2) จุดผ่านแดนถาวรไทย-ลาว 15 แห่ง ใน 8 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย น่าน เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อุบลราชธานี นอกจากนี้ มีจุดผ่อนปรน 31 แห่ง และ จุดผ่านแดนชั่วคราวอีก 1 แห่ง (จุดผ่านแดนชั่วคราวเพื่อการก่อสร้างสะพานมิตรภาพ 4 เชียง ของ-ห้วยทราย) (3) จุดผ่านแดนถาวรไทย-กัมพูชา 6 แห่ง ใน 5 จังหวัด ได้แก่ ศรีสะเกษ สุรินทร์ สระแก้ว จันทบุรี และตราด นอกจากนี้ มีจุดผ่อนปรน 9 แห่ง และจุดผ่อนปรนเพื่อการ ท่องเที่ยวบริเวณเส้นทางขึ้นเขาพระวิหาร (4) จุดผ่านแดนถาวรไทย-มาเลเซีย 9 แห่ง ใน 4 จังหวัด ได้แก่ สงขลา นราธิวาส ยะลา และสตูล


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.