Aw#165 104 pages for web

Page 1



รายนามสมาชิก

สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12. 13. 14. 15. 16. 17. 18. 19. 20. 21. 22. 23. 24. 25. 26.

บริษัท เบทาโกร โฮลดิ้ง จำกัด บริษัท แหลมทองสหการ จำกัด บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารเซ็นทรัล จำกัด บริษัท ป.เจริญพันธ์อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท กรุงไทยอาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท คาร์กิลล์สยาม จำกัด บริษัท ลีพัฒนาอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท ฟีดสเปเชียลตี้ จำกัด บริษัท โกรเบสท์คอร์โพเรชั่น จำกัด บริษัท เอเชี่ยน ฟีด จำกัด บริษัท ไทยลักซ์เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) บริษัท อาหารสัตว์ไทยสระบุรี จำกัด บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) บริษัท ท็อป ฟีด มิลล์ จำกัด บริษัท คาร์กิลล์มีทส์ (ไทยแลนด์) จำกัด บริษัท ยูไนเต็ดฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท มิตรภาพอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท เหรียญทอง ฟีด (1992) จำกัด บริษัท แหลมทองเกษตรภัณฑ์ จำกัด บริษัท อาหารสัตว์ไทยสวนหลวง จำกัด บริษัท เอส พี เอ็ม อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท อีสเทิร์น ฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท เบทาโกรนอร์ธเทอร์น จำกัด

27. 28. 29. 30. 31. 32. 33. 34. 35. 36. 37. 38. 39. 40. 41. 42. 43. 44. 45. 46. 47. 48. 49. 50. 51. 52.

บริษัท ซันฟีด จำกัด บริษัท ยูนีโกร อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัท พนัสโภคภัณฑ์ จำกัด บริษัท ยู่สูงอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท แหลมทองอะควอเทค จำกัด บริษัท เบทาโกรภาคใต้ จำกัด บริษัท บางกอกแร้นซ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท กาญจนาอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท ก้าวหน้าอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) บริษัท วี.ซี.เอฟ. กรุ๊ป จำกัด บริษัท ชัยภูมิฟาร์มผลิตภัณฑ์การเกษตร จำกัด บริษัท ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท อินเทคค์ ฟีด จำกัด บริษัท บุญพิศาล จำกัด บริษัท เฮกซ่าแคลไซเนชั่น จำกัด บริษัท บีทีจี ฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท หนองบัว ฟีด มิลล์ จำกัด บริษัท ไทย ฟู้ดส์ อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท โกลด์ คอยน์ สเปเชียลิตี้ส์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท แม่ทา วี.พี.ฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท อาร์ที อะกริเทค จำกัด บริษัท ฟาร์มจงเจริญ จำกัด บริษัท เจบีเอฟ จำกัด บริษัท อินเว (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ทีอาร์เอฟ ฟีดมิลล์ จำกัด

ิน ภ อ

น ท นั

ร า าก


คณะกรรมการบริหาร สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ประจำปี 2558-2559 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12. 13. 14. 15. 16. 17. 18.

นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล นายณรงค์ชัย ศรีสันติแสง นายประจักษ์ ธีระกุลพิศุทธิ์ นายธีรศักดิ์ อุรุนานนท์ นายบุญธรรม อร่ามศิริวัฒน์ นายประกิต เพียรศิริภิญโญ นางเบญจพร สังหิตกุล นายสถิตย์ บำรุงชีพ นายโดม มีกุล นายวราวุฒิ วัฒนธารา นางสาวถนอมวงศ์ แต้ไพสิฐพงษ์ นายหัสดิน ทรงประจักษ์กุล นายวิชัย คณาธนะวนิชย์ นายวิศิษฐ คณาธนะวนิชย์ นายสุจิน ศิริมงคลเกษม นางสาวนลิน เหล่าวรวิทย์ นายสุทธิชัย ศักดิ์ชัยเจริญกุล นายสมภพ เอื้อทรงธรรม

นายกสมาคม อุปนายก อุปนายก อุปนายก เลขาธิการ รองเลขาธิการ เหรัญญิก นายทะเบียน ประชาสัมพันธ์ ปฏิคม กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ

บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส์ จำกัด (มหาชน) บริษัท เบทาโกร โฮลดิ้ง จำกัด บริษัท ป.เจริญพันธ์อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท ซี พี เอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท อาหารสัตว์ไทยสวนหลวง จำกัด บริษัท อาหารสัตว์ไทยสระบุรี จำกัด บริษัท ลีพัฒนาอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท เบทาโกรภาคใต้ จำกัด บริษัท เบทาโกรนอร์ธเทอร์น จำกัด บริษัท แหลมทองเกษตรภัณฑ์ จำกัด บริษัท แหลมทองอะควอเทค จำกัด บริษัท กรุงไทยอาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารเซ็นทรัล จำกัด บริษัท ท็อป ฟีด มิลล์ จำกัด บริษัท อินเทคค์ ฟีด จำกัด


บรรณาธิการ

แถลง

ตลอดปีที่ผ่านมา เป็นปีที่หนักหนาสาหัสของหลายๆ คน หลายๆ ธุรกิจ แต่ทุกคนต่าง ก็ต้องประคองกันมาให้ภาคปศุสัตว์ไปได้ด้วยดี และจะต้องดีตลอดไป ทุกเหตุการณ์มีทางแก้ ต้องมองภาพรวมของธุรกิจ เพราะการเติบโตของภาคปศุสัตว์ ยังไปได้ดี ปริมาณความต้องการ อาหารสัตว์เพื่อใช้เลี้ยงสัตว์ที่ยังเติบโต การใช้วัตถุดิบของประเทศยังมีอยู่มาก แต่ผลผลิตกลับไม่ เพียงพอ ยังมีอุปสรรคจากหลายด้านที่รุมเร้า ทั้งจากธรรมชาติ ต้นทุนที่สูงขึ้น ผลผลิตต่อไร่ต่ำ ไม่คุ้มค่าการลงทุน ราคาไม่จูงใจให้ดำเนินการต่อ ต้องหลบหลีกเปลี่ยนอาชีพ เปลี่ยนพืชอื่น ซึ่งก็ ดิ้นหนีไปเรื่อยๆ ไม่ได้มีการพัฒนาปรับปรุงให้มีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะ แต่จะยึดติดตามกระแส ทำให้ความไม่แน่นอนของผลผลิตทีจ่ ะป้อนเข้าสูอ่ ตุ สาหกรรมทีม่ คี วามต้องการชัดเจน ต้องขาดแคลน วัตถุดิบ นักวิชาการทางด้านการออกสูตรอาหารสัตว์ ต้องพัฒนาและเทียบเคียงระดับนานาชาติ ที่ต้องหาวัตถุดิบที่มีอยู่ในโลกนี้ ไม่ว่าใกล้ไกลเพียงใด ต้องดิ้นรนหามาใช้ให้ได้ แม้ว่าราคาต้นทุน จะสูงขึ้น แต่เมื่อประเทศอื่นในโลกนี้เขาใช้ได้ เราก็ต้องเรียนรู้และนำมาใช้ให้ได้ เมื่อกล่าวเช่นนี้แล้ว ย่อมหมายถึงว่า นักวิชาการด้านอาหารสัตว์ทั่วโลก ได้คัดสรรวัตถุดิบที่มี อยู่ในโลกนี้ ที่เหมาะสมในการนำมาผลิตอาหารสัตว์ได้ และมีปริมาณที่เพียงพอในเชิงอุตสาหกรรมได้ ย่อมต้องคิดค้นและพัฒนาสูตรเพื่อลดต้นทุนการเลี้ยงสัตว์ในเชิงเศรษฐกิจ ให้แข่งขันได้ และต้อง มองโลกในแง่ของความยั่งยืน มั่นคง ปลอดภัย และมีเสถียรภาพ ทำให้ผู้บริโภคมั่นใจในสินค้า ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ จึงหวังไว้ว่า แต่ละภาคส่วนจะต้องร่วมมือกันสนับสนุนให้การเติบโต ควบคู่กันไปตลอดห่วงโซ่ธุรกิจ ไม่มีการกีดกัน เพราะหากมีห่วงโซ่ใดขาดไป ความเกี่ยวพันกันจะหลุดไป แล้วไปไม่รอดทั้งสายการผลิตนั่นเอง ภาคปศุสัตว์ ยังต้องการความร่วมมือและร่วมรณรงค์ที่จะให้คนในประเทศบริโภคไข่ ให้เพิ่ม มากขึ้น ในคนทุกเพศทุกวัย ที่จะสามารถรับประทานไข่ได้ตามสัดส่วนและเหตุผลของแต่ละคน เพราะ ไข่ เป็นแหล่งโปรตีนราคาถูกที่ทุกบ้านควรจะมีติดบ้านไว้ เพื่อเป้าหมายที่จะมีการพัฒนาภาคการเลี้ยง ไก่ไข่ให้รองรับการเติบโตของประชากรคนไทยที่เพิ่มขึ้น และการตั้งเป้าหมายการบริโภคให้ได้ 300 ฟอง/คน/ปี ในปี 2561 อย่างไรก็ตาม ต้นทุนการเลี้ยงของเกษตรกร ก็ยังเป็นข้อขัดแย้งกับต้นทุนของ ผู้บริโภคที่ต้องการไข่ราคาถูก คนเลี้ยงต้องการขายไข่ให้ไม่ขาดทุน ดังนั้น นักวิชาการต้องพัฒนาการ ลดต้นทุนให้ได้ และวัตถุดิบก็ต้องมีเพียงพอ และไม่แพงเกินไป จึงเป็นเรื่องที่พูดกันไม่จบว่า ใครจะยอม ให้ใครก่อน เพื่อให้ทุกคนอยู่รอดในธุรกิจปศุสัตว์..... บก.


ธุรกิจอาหารสัตว์

วารสาร

วัตถุประสงค์ 1. เพื่อส่งเสริมความรู้และเผยแพร่อุตสาหกรรมอาหารสัตว์และการปศุสัตว์ 2. เพื่อเป็นสื่อกลางระหว่างสมาชิกและผู้ที่เกี่ยวข้องทั่วไป 3. เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารสัตว์และการปศุสัตว์ของประเทศให้เจริญรุ่งเรืองในแนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของชาติ 4. ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง

ปีที่ 32 เล่มที่ 165 ประจำเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

Contents Thailand Focus

การแถลงข่าว เรื่อง "ประเมิน 5 ปี ภาคการผลิตไทยภายใต้ AEC"...................................................................................... 5 เปิดงานวันไข่โลก ปี 2558 "World Egg Day 2015" 300 ฟอง/คน/ปี.................................................................................15 ประชาคมร่วมกับสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย หาแนวทางจัดการปัญหาหมอกควันไฟป่า...............................................19 Food Feed Fuel กรมส่งเสริมสหกรณ์ลงพื้นที่ตรวจเข้มกระบวนการผลิตนมของสหกรณ์ ตั้งเป้าสหกรณ์โคนมผลิตนมที่มีคุณภาพป้อนสู่โครงการอาหารเสริมนมโรงเรียน........................................................21 ส่งออกอาหารสดไปจีนยังสดใส...................................................................................................................................... 25 กระทรวงเกษตรฯ จัดสัมมนา ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร ปี 2558 และแนวโน้ม ปี 2559 "เกษตรบริบทใหม่ ก้าวไกลด้วยนวัตกรรม"................................................................................................................27 ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร ปี 2558 และแนวโน้ม ปี 2559............................................................................................... 29 Market Leader VPF Farm ฟาร์มสุกรครบวงจรแห่งเชียงใหม่เตรียมขยายสู่ค้าปลีก...................................................................................40 กำไรที่หาได้ง่ายจากระบบป้องกันทางชีวภาพ (Biosecurity) จริงหรือ?............................................................................. 43 การจัดการสารพิษจากเชื้อราในโรงงานอาหารสัตว์.........................................................................................................47 รายงานการสำรวจข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ครั้งที่ 3/2558....................................................................................................... 52 รายงานการสำรวจข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ครั้งที่ 4/2558....................................................................................................... 59 พ.ร.ก. ประมงฉบับใหม่บังคับใช้วันนี้-'สมคิด' ติงภาคธุรกิจ.............................................................................................70 Around The World โรคติดเชื้อไมโครสปอริเดีย (Microsporidia) ในกุ้งขาว .....................................................................................................72 งานวันกุ้งกระบี่ 58 เน้น...เทคนิคเพื่อความยั่งยืน............................................................................................................ 78 เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรยื่นหนังสือนายกฯ ขอคัดค้านการเข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิก TPP.......................................................... 83 ขอบคุณ............................................................................................................................................................................ 88   ดำเนินการโดย : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย   : นายประเสริฐ พุ่งกุมาร    รองประธานกรรมการที่ปรึกษา : นายวีรชัย รัตนบานชื่น  นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล     กรรมการที่ปรึกษา : นายสมชาย กังสมุทร  นายพงษ์ เหล่าวรวิทย์  นายประสิทธิ์ ศิริมงคลเกษม  นายอดิเรก ศรีประทักษ์  นายนิพนธ์ ลีละศิธร นางเบญจพร สังหิตกุล  นายณรงค์ชัย ศรีสันติแสง  นายบุญธรรม อร่ามศิริวัฒน์  นายประจักษ์ ธีระกุลพิศุทธิ์     บรรณาธิการ : นายปรีชา กันทรากรกิติ     กองบรรณาธิการ : นายไพบูลย์ ขุนทอง  นายอรรถพล ชินภูวดล  นางสาวปัทมา ศรีเที่ยงตรง  นางสาววริศรา ธรรมเจริญ  นางสาววริศรา คูสกุล  

   ประธานกรรมการที่ปรึกษา

สำนักงาน : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย 43 ไทย ซีซี ทาวเวอร์ ห้อง 170 ชั้น 17 ถนนสาทรใต้ ยานนาวา สาทร กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 0-2675-6263-4   โทรสาร 0-2675-6265   Email: tfma44@yahoo.com   Website: www.thaifeedmill.com




Thailand Focus

การแถลงข่าว เรื่อง

“ประเมิน 5 ปี

ภาคการผลิตไทยภายใต้ AEC” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ และผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ

ทิศทางการส่งออก และส่วนแบ่งตลาดของไทยในอาเซียน

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

5


6 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165


ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

7


ตำแหน่งตลาดสินค้าเกษตร และอุตสาหกรรมที่สำคัญในตลาดอาเซียน

8 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165


ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

9


ประเมินมูลค่าส่วนแบ่งตลาดที่ ได้/เสีย ของไทยในตลาดอาเซียน

10 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165


ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

11


สถานะของอุตสาหกรรมไทยในตลาดอาเซียน

12 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165


ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

13


ติดต่อข้อมูลเพิ่มเติม : ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย โทร. 0-2 697-6348-9 www.citsonline.utcc.ac.th

14 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165




Thailand Focus

เปิดงานวันไข่โลก ปี 2558

“World Egg Day 2015” 300 ฟอง/คน/ปี กรมปศุสตั ว์ ร่วมกับ Egg Board รวมทั้งภาคเอกชน และพันธมิตร จัด กิจกรรมรณรงค์บริโภคไข่ไก่ ปี 2558 “งานวันไข่โลก 2015” ขึ้นระหว่าง วันที่ 29 ตุลาคม-1 พฤศจิกายน 2558 ณ ชั้น 1 โซน A ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซ่า เวสต์เกต (บางใหญ่) จ.นนทบุรี โดย สัตวแพทย์หญิง ดร.วิมลพร ธิตศิ กั ดิ์ รักษาการผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน เปิดงาน เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม ที่ผ่านมา

สัตวแพทย์หญิง ดร.วิมลพร ธิตศิ กั ดิ์ รักษาการผูต้ รวจราชการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า งานวันไข่โลกได้จดั ขึน้ พร้อมกัน กับประเทศต่างๆ ทัว่ โลก ตามทีค่ ณะกรรมาธิการไข่ไก่ระหว่างประเทศ (The International Egg Commission หรือ IEC) ได้รณรงค์ให้ จัดงานวันไข่โลก ทุกวันศุกร์ที่ 2 ของเดือนตุลาคมของทุกปี ซึ่งปีนี้ ตรงกับวันที่ 9 ตุลาคม 2558 เพื่อให้เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ได้ทำ ประโยชน์ตอบแทนกลับคืนสู่สังคม แต่เนื่องจากในประเทศไทยตรงกับช่วง เทศกาลกินเจ จึงได้เลื่อนการจัดงานมาเป็นวันที่ 29 ตุลาคม 2558

ที่มา : สาส์นไก่ & สุกร ปีที่ 13 ฉบับที่ 150 เดือนพฤศจิกายน 2558 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

15


สำหรับประเทศไทย ภาครัฐ ตระหนั ก และให้ ค วามสำคั ญ กั บ การรณรงค์บริโภคไข่ไก่ในประเทศ เนื่ อ งจากคนไทยมี ก ารบริ โ ภคไข่ เฉลี่ยคนละ 200 ฟอง/คน/ปี ซึ่ง เป็ น อั ต ราการบริ โ ภคที่ ค่ อ นข้ า ง ต่ ำ กว่ า ประเทศพั ฒ นาค่ อ นข้ า ง มาก ทั้งที่ไข่ไก่เป็นอาหารโปรตีน คุ ณ ภาพที่ ส ำคั ญ ช่ ว ยเสริ ม สร้ า ง ร่ า งกายให้ เ จริ ญ เติ บ โต สุ ข ภาพ แข็ ง แรงสมบู ร ณ์ แก้ ปั ญ หาทุ พ โภชนาการอย่างได้ผล ประกอบกับ เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ของไทยมีความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ผลิตไข่ไก่ได้จำนวนมากกว่า ปีละ 14,000 ล้านฟอง สามารถตอบสนองความต้องการบริโภค เป็นความมั่นคงทางอาหาร และส่งเสริมสุขภาพให้ประชาชนของประเทศได้อย่างทั่วถึง การจัดงานวันไข่โลกในวันนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ และคุณประโยชน์ของไข่ไก่ ที่ถูกต้องในทุกมิติ และการบริโภคไข่ไก่ที่เหมาะสมให้กับประชาชนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะวัยเด็ก และวัยชรา ตามยุทธศาสตร์ไก่ไข่ ปี 2557-2561 ด้วยความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ ผู้ประกอบการ และสมาคมที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมไก่ไข่ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งภาคเอกชนซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีศักยภาพ มีความพร้อม และใกล้ชิดประชาชนมากที่สุด ได้ มี ส่ ว นร่ ว มผลั ก ดั น ให้ ป ระชาชนบริ โ ภคไข่ ไ ก่ เ พิ่ ม ขึ้ น รวมทั้ ง เสริ ม สร้ า งความเข้ ม แข็ ง แก่ เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ และหวังว่า งานวันไข่โลกปี 2558 ในวันนี้ จะเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญ ในการรณรงค์ให้คนไทยบริโภคไข่ไก่เพิ่มขึ้นเป็น 300 ฟอง/คน/ปี ในปี 2561 สำเร็จบรรลุ ตามเป้ า หมายยุ ท ธศาสตร์ ไ ก่ ไ ข่ ข องคณะกรรมการนโยบายพั ฒ นาไก่ ไ ข่ แ ละ ผลิตภัณฑ์กำหนดต่อไป ด้านนายสัตวแพทย์ไพโรจน์ เฮงแสงชัย รองอธิบดี กรมปศุสัตว์ กล่าวว่า คณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่ และผลิตภัณฑ์ ได้จดั ทำยุทธศาสตร์ไก่ไข่ฉบับที่ 2 พ.ศ. 25572561 มีวิสัยทัศน์ว่า “พัฒนาอุตสาหกรรมไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ ของไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืนด้วยมาตรฐานไข่ไก่เพื่อคุณภาพชีวิต ที่ดีขึ้น” และหนึ่งในประเด็นยุทธศาสตร์กำหนดให้มีการเพิ่มการ บริโภค สร้างความเชื่อมั่นต่อผู้บริโภค และสร้างความมั่นคงยั่งยืน ต่ออาชีพเกษตรกร 16 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165


คณะกรรมการฯ ได้ร่วมมือกับสำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล มีความเห็นร่วมกันรณรงค์บริโภคไข่ไก่ โดยคนไทย ควรมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในการบริโภคไข่ให้เหมาะสมกับเพศและวัย ดังนี้ • เด็ก สามารถบริโภคไข่แดงได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือนเป็นต้นไป • เด็กวัยเรียน วัยรุน่ สามารถบริโภคไข่ได้ทกุ วัน 7 วัน/สัปดาห์ ไข่จะช่วยการเจริญเติบโต สมวัย พัฒนาสมอง หัวใจ ดวงตา ได้อย่างดี • คนวัยหนุ่มสาว วัยทำงาน สามารถบริโภคไข่ได้ทุกวัน 7 วัน/สัปดาห์ โดยไข่ไม่ได้ ก่อปัญหาความอ้วน และเหมาะสำหรับบุคคลที่ทำงานหนักต่อเนื่อง • ผู้สูงอายุ บริโภคไข่ได้ 3-4 ฟอง/สัปดาห์ โดยมีข้อพิสูจน์ชัดเจนทางการแพทย์ว่าการ บริโภคไข่ได้กอ่ ปัญหาหลอดเลือดหัวใจอุดตัน การบริโภคไข่ยงั ช่วยเพิม่ คอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) ซึ่งสามารถลดโอกาสการเกิดโรคหัวใจได้ • ส่วนผู้ป่วย บริโภคไข่ได้สัปดาห์ละฟอง หรือตามแพทย์สั่ง จากคำแนะนำดังกล่าวนี้ หากคำนวณตามโครงสร้างประชากร คนไทยสามารถบริโภคไข่ได้ 300 ฟองต่อคนต่อปี (เพิ่มจาก ปี 2555 อัตราการบริโภค 200 ฟอง/คน/ปี) การดำเนินงานครั้งนี้เป็นความร่วมมือของภาครัฐและภาคเอกชน โดยได้รับเงินสนับสนุน จากสำนักงานกองทุน สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จำนวน 200,000 บาท สมาคม และผู้ประกอบการ ซึ่งประกอบด้วย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สมาคมผู้ผลิตไก่ไข่ภาคใต้ สหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ สมาคมนิสิตเก่าคณะสัตวแพทย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะกรรมาธิการ ไข่ไก่ระหว่างประเทศ (The International Egg Commission: IEC) สมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ สมาคมผู้ผลิต ผู้ค้าและส่งออกไข่ไก่ สหกรณ์ไก่ไข่ทั่วประเทศ สัตวแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี บริษัทผู้สนับสนุน

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

17


งานวันไข่โลกในครั้งนี้ได้จัด ให้มกี จิ กรรมรณรงค์บริโภคไข่ไก่เพือ่ เผยแพร่ ค วามรู้ แ ละคุ ณ ประโยชน์ ของไข่ในทุกมิตติ อ่ สาธารณชนทัว่ ไป รวมทั้งหมด 4 วัน นับจากวันนี้ 29 ตุลาคม-1 พฤศจิกายน 2558 ณ ศู น ย์ ก ารค้ า เซ็ น ทรั ล พลาซ่ า เวสต์เกต แห่งนี้ และจะกระจายสู่ ภูมิภาคทั่วประเทศต่อไป ด้ า นนายมาโนช ชู ทั บ ทิ ม ที่ปรึกษานายกสมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ กล่าวเพิ่มเติมว่า การจัดงานรณรงค์บริโภคไข่ครั้งนี้เป็น เป้าหมายของคณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ หรือเอ้กซ์บอร์ด เป็นอีกหนึ่ง ยุทธศาสตร์ทจี่ ะรณรงค์ให้คนไทยบริโภคไข่ไก่ 300 ฟอง/คน/ปี ภายในปี 2561 ให้ได้ ซึง่ ตอนนี้ คนไทยบริโภคไข่ประมาณคนละ 200 กว่าฟอง/คน/ปี จากนี้ไปต้องรณรงค์ให้บริโภคเพิ่มขึ้นปีละ 20-25% จนปี 2561 ให้ได้ 300 ฟอง การจัดกิจกรรมครั้งนี้เป็นสิ่งที่ดีที่พวกเราได้มาร่วมกัน ทำกิจกรรม นอกจากพวกเราคนไทยจะได้บริโภคไข่ที่สด สะอาด มีคุณค่าแล้วนั้น เกษตรกร ก็จะได้ประโยชน์จากการรณรงค์ครั้งนี้ด้วย เพราะว่าปัจจุบันการผลิตไข่ไก่ของเกษตรกรไทยมี ประสิทธิภาพ แต่มีปัญหาเรื่องการบริโภค คือบริโภคค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน ที่มีการพัฒนาแล้ว เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ ถ้าบริโภคให้เทียบเท่าประเทศที่เจริญแล้วก็จะเป็น ประโยชน์ตอ่ ผูบ้ ริโภคทีจ่ ะได้ไข่ไก่ทมี่ คี ณ ุ ภาพ คุณค่าครบถ้วน เพือ่ พัฒนาสมองให้มคี วามคิดอ่านที่ จะพัฒนาชาติต่อไป ส่วนผู้เลี้ยงไก่ไข่ หรือเกษตรกรก็จะได้อานิสงส์จากการบริโภคที่เพิ่มขึ้นด้วย การรณรงค์บริโภคครั้งนี้มีหลายภาคส่วนมาร่วมกันทำกิจกรรม ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ใหญ่ ดังนัน้ เราต้องทำต่อเนือ่ ง และกระจายออกไปทัง้ ในกรุงเทพฯ ปริมณฑล ต่างจังหวัดให้มากขึน้ ให้ผู้บริโภคเห็นคุณค่าของการบริโภคไข่ให้มากขึ้น ต้องขอฝากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องที่อยู่ใน วงการนีใ้ ห้เห็นความสำคัญของโครงการนี้ ต้องร่วมมือกันทำกิจกรรมกระตุน้ ให้คนไทยได้เห็น ประโยชน์ของไข่ไก่ และให้รู้ว่าไข่ไก่มีประโยชน์ และมีคุณค่ากับคนไทยทุกคน “ส่วนราคา ช่วงเทศกาลกินเจ ราคาได้อ่อนตัวลงมาตามสภาวะตลาด ตอนนี้ก็ยังไม่ กระเตื้องขึ้น ราคาประกาศไข่คละฟองละ 2.70 บาท เกษตรกรขายได้ที่ราคาฟองละประมาณ 2.50 บาท แนวโน้มคาดว่าอีกสักประมาณไม่เกิดหนึง่ เดือน ราคาน่าจะปรับขึน้ ได้ น่าจะเป็นข่าวดี ของเกษตรกร” นายมาโนชกล่าวตอนท้าย

18 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165


Thailand Focus

ประชาคมร่วมกับสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

หาแนวทางจัดการปัญหาหมอกควันไฟป่า

จังหวัดเชียงใหม่ เปิดประชาคมร่วม กับสมาคมผูผ้ ลิตอาหารสัตว์ไทย หาแนวทาง จัดการปัญหาหมอกควันไฟป่า หลังพบปัญหา พบการเผาเศษวัสดุการเกษตรหลังการเก็บ เกี่ยว โดยเฉพาะตอซังข้าวโพด เป็นสาเหตุ สำคัญของปัญหา ห้องประชุมฝ้ายคำ สำนัก บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นายสุริยะ ประสาทบัณฑิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานเปิด การประชุมร่วมภาคประชาคมเชียงใหม่ - สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย โดยมีตัวแทนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษาใน จังหวัดเชียงใหม่ ร่วมประชุมหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับตัวแทน จากสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย เพื่อกำหนดเป็นแนวทางป้องกันแก้ไข ปัญหาหมอกควันในอนาคต ซึ่งการเผาเศษวัสดุการเกษตรหลังการเก็บ เกีย่ ว โดยเฉพาะตอซังข้าวโพด เป็นสาเหตุสำคัญของปัญหา ผูว้ า่ ราชการ จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นในการ ระดมทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเข้ามาพูดคุยหารือกัน และแลกเปลี่ยน ข้อมูลในทุกด้านจากทุกฝ่าย ทั้งข้อมูลด้าน วิชาการจากงานวิจยั รวมทัง้ ประเด็น ปัญหาอุปสรรคและสภาพปัญหา ที่เกิดขึ้นจริง ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

19


เพื่อสรุปรวบรวมแล้ววางมาตรการแนวทางในการดำเนินการป้องกัน แก้ ไ ขปั ญ หาที่ ชั ด เจนในการปฏิ บั ติ ทั้ ง การสั่ ง การมอบหมายงานให้ มี ก าร ปฏิบัติจริงในพื้นที่ และมีการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่องจริงจัง ให้เห็นผล ชั ด เจน โดยที่ จ ะมี ก ารจั ด หางบประมาณสนั บ สนุ น ด้ ว ย ซึ่ ง หลั ง จากนี้ จ ะมี การจัดประชุมเชิงปฏิบตั กิ ารเพือ่ กำหนดแผนงาน และเริม่ ดำเนินการโดยเร็วทีส่ ดุ สำหรับอำเภอแม่แจ่ม ที่ถูกระบุว่าเป็นพื้นที่ปลูกข้าวโพดแหล่งใหญ่ และมี การเผาซังข้าวโพดจำนวนมหาศาล ซึ่งเป็นต้นเหตุสำคัญของปัญหาหมอกควัน นั้น เบื้องต้นกำหนดแนวทางว่าทุกฝ่ายจะมีการหาทางออกร่วมกันด้วยการ ปลูกข้าวโพดโดยที่ไม่มีการเผา แต่จะนำเศษวัสดุเหลือใช้ไปเป็นวัตถุดิบในการ ผลิตภาชนะจากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรซึ่งมีผู้ผลิตอยู่แล้ว รวมทั้งจะมี การนำไปใช้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งจะมีการสนับสนุนองค์ความรู้ เครื่องมืออุปกรณ์ และงบประมาณให้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ จะมีการวางแผนในเรื่องการชิงเผาด้วยการกำหนดโซนนิ่ง และช่วงเวลาด้วย โดยอาศัยบทเรียนจากปีที่ผ่านมา เชื่อว่าจะดีขึ้น ขณะที่ นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย กล่าวว่า พร้อมที่จะให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ทุกด้าน เพื่อไม่ให้มีการเผาเกิดขึ้นใน กระบวนการปลูกข้าวโพดของ 9 จังหวัดภาคเหนือตอนบน เพือ่ ส่งต่อนำไปผลิต อาหารสัตว์ และต้องยอมรับว่าการปลูกข้าวโพดไม่ได้เป็นต้นเหตุของปัญหาแต่ เพียงอย่างเดียว แต่ยังมีสาเหตุอื่นๆ ที่สำคัญ และมิติอื่นอีกด้วยที่จะต้องทำ ควบคู่กันไป เสนอว่าควรจะมีการกำหนดเป็นข้อบังคับของกรมวิชาการเกษตร ไปเลยในเรื่ อ งของมาตรฐาน GAP หรื อ การผลิ ต พื ช ตามระบบเกษตรดี ที่ เหมาะสมว่า ห้ามมีการเผาในกระบวนการผลิต ซึ่งจะเป็นการบังคับเกษตรกร ไม่ให้เผาทันที หากต้องการที่จะขายผลผลิตให้ได้ โดยจะเป็นมาตรการที่มีผล กับทัง้ เกษตรกรในประเทศ และประเทศเพือ่ นบ้านด้วยหากต้องการจะขายผลผลิต ให้สมาคม ซึ่งเชื่อว่าหากมีการบังคับใช้ ข้อมูลข่าวและที่มา ผู้สื่อข่าว : เชียงใหม่ (สวท.)/กนกรัตน์ ปัญญา เชียงใหม่ (สวท.)/กนกรัตน์ ปัญญา ผู้เรียบเรียง : เติมพงศ์ กวาวภิวงศ์ แหล่งที่มา : สวท.เชียงใหม่

20 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165


Food Feed Fuel

กรมส่งเสริมสหกรณ์ลงพื้นที่ตรวจเข้ม กระบวนการผลิตนมของสหกรณ์ ตั้งเป้าสหกรณ์โคนมผลิตนมที่มีคุณภาพ ป้อนสู่โครงการอาหารเสริมนมโรงเรียน ภายหลังจากที ่ พลเอกฉัตรชัย สาริกลั ยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้วางแนวทางในการพัฒนาโครงการอาหาร เสริม (นม) โรงเรียน โดยตั้งเป้าที่จะพัฒนาและ ปรับปรุงคุณภาพและมาตรฐานนมโรงเรียนให้ สูงขึ้น เริ่มตั้งแต่การเพิ่มความเข้มข้นของนม (Tatal solid) ที่จะเข้าสู่การผลิตนมโรงเรียน จากปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 11.5% จะต้องเพิ่มเป็น 12.5% และฟาร์มของเกษตรกรที่ส่งนมเข้าร่วม โครงการ จะต้องผ่านมาตรฐาน GAP เพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำนมให้ดียิ่งขึ้น และต้องลดค่าเซลล์ เม็ดเลือดขาวในน้ำนม (Somatic cell count) จากมาตรฐานเดิมที่กำหนดไม่เกิน 1 ล้านเซลล์ ให้เหลือไม่เกิน 500,000 เซลล์ ซึ่งทุกมาตรการจะต้องดำเนินการให้ได้ภายในปี 2560 ขณะที่แหล่งผลิตน้ำนมดิบป้อนสู่โครงการนมโรงเรียน ส่วนหนึ่งเป็นผลผลิตที่ส่งมาจาก สหกรณ์โคนม ปัจจุบนั มีสหกรณ์โคนมจำนวน 101 แห่ง กระจายอยูท่ วั่ ประเทศ จำนวนเกษตรกร

ที่มา : CHAIRMAN REVIEW ฉบับที่ 196 วันอาทิตย์ที่ 1 - วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

21


สหกรณ์ โ คนมทุ ก แห่ ง พั ฒ นา กระบวนการผลิตนมและควบคุม สมาชิกสหกรณ์ให้ผลิตน้ำนมดิบ ทีม่ คี ณ ุ ภาพได้มาตรฐาน ปลอดภัยต่อผูบ้ ริโภค เนือ่ งจากสหกรณ์ โคนมมีหน้าที่ในการผลิตนมเพื่อ ป้อนสู่ตลาดและเป็นส่วนต้นทาง ของการผลิตนมโรงเรียน จึงควร ตระหนักถึงความสำคัญในทุกขัน้ ตอนของกระบวนการผลิตเพือ่ ให้ ได้นมทีม่ คี ณ ุ ภาพ มีการวางระบบ การผลิตและการตรวจสอบคุณภาพของนมที่เข้มข้นยิ่งขึ้น ผูเ้ ลีย้ งโคนมทีเ่ ป็นสมาชิกในระบบสหกรณ์โคนม รวม 19,495 คน สหกรณ์ที่มีโรงงานแปรรูป น้ำนมดิบ จำนวน 27 แห่ง เป็นโรงงานผลิต นม UHT 9 แห่ง และโรงงานนมพาสเจอร์ไรซ์ 18 แห่ ง กำลั ง การผลิ ต 1,944.17 ตั น ต่อวัน ดร.วิ ณ ะโรจน์ ทรั พ ย์ ส่ ง สุ ข อธิ บ ดี กรมส่งเสริมสหกรณ์ เปิดเผยว่า กรมส่งเสริม สหกรณ์ ได้มีหนังสือถึงสหกรณ์จังหวัด 35 จังหวัด ที่กำกับดูแลสหกรณ์โคนม ให้กำชับ

22 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165

และเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2558 อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ พร้อมคณะ เจ้าหน้าที ่ และสือ่ มวลชน ได้ลงพืน้ ทีอ่ ำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี เพื่อตรวจเยี่ยมกระบวน การผลิตน้ำนมดิบและระบบตรวจสอบคุณภาพ ของสหกรณ์โคนมไทยมิลค์ จำกัด ซึ่งเป็นสหกรณ์โคนมที่ดำเนินธุรกิจรวบรวมและจำหน่าย น้ำนมดิบมาตั้งแต่ปี 2530 ปัจจุบันมีสมาชิก 1,223 ราย จำนวนโคนมของสมาชิก 21,404 ตัว มีศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ และเครื่องจักร อุปกรณ์ที่สามารถรองรับปริมาณน้ำนมดิบได้


ธุรกิจการรวบรวมและจำหน่ายน้ำนมดิบ ของสหกรณ์ได้ผ่านการรับรองมาตรฐานการ ผลิต GMP และระบบ ISO 9001 2008 ฮาลาล และ HACCP ปริมาณน้ำนมดิบทีส่ หกรณ์ รวบรวมจากสมาชิกในแต่ละเดือนเฉลีย่ 4,000 ตัน มูลค่ากว่า 70 ล้านบาท หรือปีละประมาณ 850 ล้านบาท ซึง่ ในปี 2558 สหกรณ์มกี ำไร จากการดำเนินธุรกิจ 32 ล้านบาท

ผู้เลี้ยงโคนม ตั้งแต่การตั้งฟาร์ม การเลี้ยง โคนม การรีดนม โดยได้จัดจ้างผู้มีความรู้ ด้านสัตวบาลมาส่งเสริมอาชีพให้สมาชิก ช่วย เหลือให้คำปรึกษา ถ่ายทอดความรู้ด้านการ เลี้ยงโคนม เช่น การจัดการโคนม และการ ผลิตแม่พนั ธุ์ การจัดการด้านสุขภาพโคนม การ จัดการด้านอาหารสัตว์ บริการหาเครื่องจักร อุ ป กรณ์ ใ นการทำแปลงหญ้ า เลี้ ย งโคนมแก่ สมาชิก การจัดการสาธารณูปโภคและโรงเรือน การจั ด มาตรฐานฟาร์ ม โคนม การควบคุ ม คุณภาพน้ำนมดิบ การรวบรวมนมและระบบการ ขนส่ ง จากฟาร์ ม สมาชิ ก สู่ ศู น ย์ ร วมนมของ สหกรณ์ เพื่อเข้าสู่กระบวนการแปรรูป ซึ่งทุก ขั้นตอนจะมีการวางระบบดูแลน้ำนมดิบอย่าง เข้มข้นเพือ่ ให้ได้ผลผลิตทีม่ คี ณ ุ ภาพ โดยสหกรณ์ จะจัดส่งเจ้าหน้าที่ออกหน่วยให้ความรู้ และ ประชุมกลุ่ม เพื่อถ่ายทอดความรู้แก่สมาชิก รวมถึงกระจายข่าวสารผ่านสถานีวิทยุชุมชน ของสหกรณ์ เพื่อให้สมาชิกเลี้ยงโคนมได้อย่าง มีประสิทธิภาพทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ ซึ่ง จะช่วยสร้างความมั่นคงให้แก่สมาชิก

สหกรณ์โคนมไทยมิลค์ จำกัด ได้รับโล่ พระราชทานสหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติ ประเภท สหกรณ์โคนม เมื่อปี 2552 ด้วยความยึดมั่น ในภารกิ จ หลั ก คื อ การดู แ ลสมาชิ ก สหกรณ์

ขณะเดียวกัน อาหารสัตว์นับเป็นปัจจัย ที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการเลี้ยงโคนม ซึ่งจะส่งผล ให้โคนมมีสุขภาพดี ผลิตน้ำนมได้คุณภาพตาม มาตรฐาน ให้ปริมาณผลผลิตต่อตัวมาก และ

วันละไม่น้อยกว่า 200 ตัน นมที่รวบรวมมา จากฟาร์มสมาชิกในแต่ละวัน เมื่อส่งถึงศูนย์ รวบรวมน้ำนมดิบของสหกรณ์แล้ว ก็จะเข้าสู่ กระบวนการตรวจสอบคุณภาพ ชัง่ น้ำหนัก และ การรักษาคุณภาพนมตามมาตรฐานการผลิต นมส่วนหนึ่งจะป้อนเข้าสู่โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์นม เป็นนมพาสเจอร์ไรซ์และนมพร้อมดื่ม UHT เพื่อจำหน่ายให้กับโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน วันละ 50 ตัน และผลิตเป็น นมพาณิชย์ จำหน่ายในพื้นที่ ส่วนที่เหลือจะ ขนส่งไปยังโรงงานแปรรูปนมที่เป็นคู่ค้าของ สหกรณ์

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

23


คุ้มค่ากับการลงทุน ในปี 2546 สหกรณ์จึงได้ขอจดทะเบียนจากกระทรวงอุตสาหกรรม จัดตั้ง โรงงานผลิตอาหารสัตว์และขออนุญาตผลิตอาหารสัตว์จากกรมปศุสัตว์ เพื่อผลิตอาหารสำหรับ เลี้ยงโคนมประเภทต่างๆ โดยการช่วยเหลือของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน พร้อมทั้งจัดตั้งศูนย์ผลิตอาหารสัตว์ feed center ผลิตโดยระบบอัตโนมัติและจัดส่งอาหารสัตว์ ถึงฟาร์มเกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรมีอาหารสัตว์ที่มีคุณภาพดีเพียงพอสม่ำเสมอสำหรับการ เลีย้ งโคนมตลอดฤดูกาล และในปี 2558 ได้รเิ ริม่ ผลิตอาหารผสมสำเร็จรูป มีอาหารสัตว์มากกว่า 15 ชนิด เพื่อให้เหมาะสมกับโคนมในแต่ละช่วงอายุ ซึ่งช่วยลดต้นทุนในการเลี้ยงโคนมของ สมาชิก ส่งผลให้โคมีผลผลิตที่สูงขึ้น มีน้ำนมดิบมีคุณภาพดีขึ้น ซึ่งธุรกิจนี้ช่วยสร้างความเข้มแข็ง ให้แก่สหกรณ์ และยังเป็นแหล่งรับซือ้ วัตถุดบิ ของเกษตรกรในพืน้ ทีต่ า่ งๆ เช่น ข้าวโพด มันสำปะหลัง ถั่วเหลือง ราข้าว กากปาล์ม เป็นต้น อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า น้ำนมดิบที่ผลิตโดยสหกรณ์โคนมนั้น คิดเป็น 1 ใน 3 ของปริมาณนมทั้งประเทศ สิ่งที่ต้องการผลักดันคือ สร้างความเชื่อมั่นต่อผู้บริโภค ได้เห็นว่า นมทีผ่ ลิตโดยสหกรณ์โคนมนัน้ เป็นนมทีม่ คี ณ ุ ภาพ ซึง่ จากการเยีย่ มชมกระบวนการผลิต นมของสหกรณ์โคนมไทยมิลค์ จำกัด นับได้ว่าเป็นสหกรณ์ตัวอย่างที่มีระบบการผลิตนมได้ มาตรฐาน มีระบบการตรวจสอบคุณภาพนมก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการแปรรูปเป็นนมพร้อมดื่ม โดยจะต้องคำนึงถึงคุณภาพ สุขอนามัยและความปลอดภัยต่อผูบ้ ริโภคเป็นสิง่ สำคัญ และยึดสโลแกน "นมของเกษตรกรไทยเพื่อคนไทย" พร้อมทั้งสนองตอบนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ทตี่ อ้ งการให้เด็กไทยได้บริโภคนมทีม่ คี ณ ุ ภาพ ซึง่ สหกรณ์โคนม ถือเป็นต้นทาง ของการผลิตนมป้อนสู่ตลาด ดังนั้น คุณภาพของนมที่จะเข้าสู่การแปรรูปเป็นนมโรงเรียนจะต้อง ได้มาตรฐาน มีการกำกับดูแลทีเ่ ข้มข้น เพือ่ ป้องกันปัญหาเรือ่ งนมโรงเรียนบูดเสีย หรือไม่มคี ณ ุ ภาพ และต้องเริ่มตั้งแต่ระบบการผลิตของสหกรณ์ ซึ่งจะช่วยลดปัญหานี้ลงได้ ดั้งนั้น ภารกิจสำคัญ ของสหกรณ์โคนมทั่วประเทศ คือการผลิตนมที่มีคุณภาพให้กับเด็กและเยาวชนตัวเล็กๆ ในสังคม เพื่อให้มีสุขภาพแข็งแรงและเติบโตเป็น ผูใ้ หญ่ทมี่ สี มอง และกำลังทีจ่ ะช่วยพัฒนา ชาติและสังคมไทยในอนาคต ควบคู่ กับการพัฒนาอาชีพการเลี้ยงโคนม ให้มปี ระสิทธิภาพ เพือ่ ให้เป็นอาชีพที่ ยั่งยืนแก่เกษตรกรไทยสืบไป

24 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165



ª·Á ¦µ³®r°µ®µ¦Â¨³°µ®µ¦­´ ªr°¥nµ ¦ª Á¦Èª oª¥ TANGO

TANGO is the next-generation FT-NIR spectrometer ®r ¦µ³ · Á ª ¦ µ 宦 ´ ¥ ­ » ­ ªo ¡Á· «¬ ®µ¦­ ´ ª r ° ­ om °µ °o Á GO ker.c

N bru TA PT.TH@

Inf · °n Ä ­

o. B

O

Á à 襸 )7 1,5 ¦´ ¦° à ¥ %UXNHU Ä o µ nµ¥ oª¥® oµ °­´¤ ´­ ¨³¦³ µ¦ ´ µ¦ ´ª°¥nµ Á¡¸¥ ¦¦ »Ä oª¥ª´ ¦³ ´ µ¦­´ µ Â È ¦µª r° ´ à ¤´ · nµ¥Ã° ­¤ µ¦¦³®ªnµ Á ¦º°É %UXNHU 2SWLFV 1,5 ­Á à ¦¤·Á °¦r » ¦» n Å o à ¥ ¦ ­¤ µ¦¤µ ¦ µ ­Îµ®¦´ ¨· £´ r®¨µ ®¨µ¥ · Ťnªµn ³Á È °µ®µ¦­´ ªr ­ÎµÁ¦È ¦¼ ª´ » · °µ®µ¦­´ ªr  o Á ¦º°É ¦» ¦­ ¨· £´ rÄ °» ­µ ¦¦¤ Îʵ µ¨ ­¤ µ¦ ° %UXNHU ­µ¤µ¦ ÎµÅ Ä oÅ oà ¥ ¦ ¨³®µ εÁ È ­µ¤µ¦ ¦´ Á ¨¸¥É Á¡º°É Ä®oÁ oµ ´ ´ª°¥nµ Ä Â n¨³ o° ¸ÅÉ o

Á à 襸Á ¸¥¦r° · ¢¦µÁ¦ ­Á à ¦­Ã ¸ 1HDU ,QIUDUHG 6SHFWURVFRS\ 1,56 Á È »  ­Îµ ´ nª¥Ä®o µ¦ª·Á ¦µ³®r » £µ¡ ° ´ª°¥nµ εŠo°¥nµ ¦ª Á¦ÈªÃ ¥Å¤n °o 娵¥ ´ª°¥nµ ®¦º°Ä o­µ¦Á ¤¸Ä Ç ¸­É µÎ ´ µ¦ª·Á ¦µ³®r ªo ¥ 1,5 Á¡¸¥  n® ¹É ¦´ Ê ­µ¤µ¦ Ä®o °o ¤¼¨ ° r ¦³ ° µ Á ¤¸ ° ´ª°¥nµ Å o®¨µ ®¨µ¥ · Ťn µÎ Á È o° ε µ¦ª·Á ¦µ³®r ʵΠÁ®¤º° µ¦ª·Á ¦µ³®r µ Á ¤¸Â °º É Ç °Á · Á oµ¦nª¤ µ¦­´¤ µÃ ¥ª· ¥µ ¦ ¼Áo ¸É¥ª µ Ä ¦³ ´ µ µ µ · µ ¦¼Á °¦r ª´ ¡§®´­ ¸ ¸É ¦ µ ¤ µ Á¨º° Ä®¤n­ n¼ µ¦ ª »¤ » £µ¡ ¨· ¨ µ µ¦Á ¬ ¦Â¨³°µ®µ¦­´ ªr°¥nµ ¦ª Á¦Èª ¨³Å¤n µÎ ¨µ¥ ´ª°¥nµ oª¥Á · )7 1,5 µ %UXNHU æ ¦¤°¤µ¦¸ª°¦Á °¦rÁ ¦³ ¼ Êε ¦» Á ¡¤®µ ¦ ª· ¥µ ¦ µ ¦¼Á °¦r­µÎ ´ µ Ä® n ¦³Á «Á¥°¦¤´ Å o n 0U -RHUJ +DXVHU ¼Áo ¸¥É ª µ ¨³¤¸ ¦³­ µ¦ r µo µ¦ ª·Á ¦µ³®r ª´ °¥nµ ®¨µ ®¨µ¥ · µ ´ªÃ¨ ¨³ ¦ «· É ¦ · £µ «¦´ ¥rª «r ¼Áo ¸¥É ª µ oµ 1,5 ¹ É Îµ µ Ä nµ ¦³Á «Â¨³ ­ ´ ­ » °» ­µ® ¦¦¤Â¨³ª· ¥µ µ¦ oµ 1,5 Ä Á°Á ¸¥ ªnµ­· ¸

­ Ä · n° Info.BOPT.TH@bruker.com

Bruker BioSpin AG Bangkok - Thailand Phone +66 2 642 6900 Fax +66 2 642 6901

F T-NIR

Innovation with Integrity


Food Feed Fuel

ส่งออกอาหารสดไปจีนยังสดใส

เผย ปี '57 มูลค่านำเข้า เกิน 6.2 หมื่นล้านเหรียญ

นายศักดิช์ ยั ศรีบญ ุ ซือ่ รองปลัดกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ เปิดเผยว่า ฝ่ายการเกษตร ประจำสถานกงสุลใหญ่ ณ นครเซีย่ งไฮ้ ได้รายงานผลการเข้าร่วมงานสัมมนา China International Import Fresh Food Logistics Congress 2015 ร่วมกับหอการค้าไทยในจีน เมื่อวันที่ 19-21 ตุลาคมที่ผ่านมา และ ร่วมจัดงานสัมมนาในหัวข้อ "ช่องทางและโอกาสทางธุรกิจสินค้าอาหารสด ไทย" ที่เมืองเซี่ยงไฮ้ เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวโน้มสินค้าเกษตร นำเข้าในตลาดจีน การตีความกฎหมายความปลอดภัยอาหาร และนโยบาย พิธีการศุลกากรในเขตการค้าเสรีเซี่ยงไฮ้ เป็นต้น นายศักดิ์ชัยกล่าวต่อไปว่า แนวโน้ม และสถานการณ์สินค้าเกษตรนำเข้า ในตลาดจีนอีก 5-10 ปีข้างหน้า สินค้าเกษตรประเภทอาหารสดยังคงมีโอกาส อี ก มาก ซึ่ ง ในปี 2557 จี น มี มู ล ค่ า การนำเข้ า และส่ ง ออกอาหารสดรวม 62,024.76 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็นสินค้าประมง ผัก ผลไม้ ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เป็นต้น ปัจจุบันจีนมีผู้ประกอบการนำเข้าสินค้าเกษตรประมาณ 18,000 ราย และผู้ประกอบการส่งออกสินค้าเกษตรประมาณ 20,000 ราย ซึ่งส่วนใหญ่ จะใช้ช่องทางการค้าทางอินเทอร์เน็ต

ที่มา : แนวหน้า ฉบับที่ 12639 วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

25


ส่ ว นการตี ค วามกฎหมายความปลอดภั ย อาหาร (Food safety law) จีนจะเน้นด้านอาหาร ปลอดสารพิ ษ สารเจื อ ปน และมี โ ภชนาการที่ เหมาะสม โดยการประเมินความปลอดภัยอาหาร ของจี น นั้ น จะดำเนิ น การตรวจสอบทั้ ง อาหาร วัตถุเจือปนในอาหาร และผลิตภัณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งปัจจุบันจีนมีประกาศมาตรฐานความปลอดภัย แห่งชาติดา้ นอาหารจากกรมอนามัยประมาณ 500 มาตรฐาน นอกจากนี้ ยั ง มี ม าตรฐานเกี่ ย วกั บ ผลิตภัณฑ์ การผลิต และการตรวจสอบ เป็นต้น สำหรับนโยบายพิธกี ารศุลกากรในเขตการค้า เสรีเซี่ยงไฮ้ (Shanghai Free Trade Zone) จะ มี ก ารแบ่ ง หมวดหมู่ สิ น ค้ า ประเภทอาหารโดยใช้ รหัสพิกัดศุลกากร ซึ่งเอกสารที่จำเป็นในพิธีการ ศุลกากร ได้แก่ สัญญา หรือข้อตกลงการนำเข้า สินค้า เอกสารการจัดส่งสินค้า เช่น ใบขนของ ใบส่งสินค้า หนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า เป็นต้น สำหรับหลักการสำคัญในการยื่นเอกสารพิธีการ ศุลกากร ได้แก่ เอกสารตามความเป็นจริง ชื่อ สิ น ค้ า เป็ น ไปตามข้ อ กำหนดสิ น ค้ า ในการนำเข้ า ส่งออกศุลกากร หากไม่สอดคล้องกับชื่อการค้า สากล ให้ทำการอธิบายเพิ่มเติมเป็นลายลักษณ์ อักษร รวมทั้งหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า หากเกิดปัญหากับใบรับรองต่างๆ ผู้ประกอบการ สามารถใช้การประกันรับรองสินค้าเพื่อนำสินค้า ออกมาจากศุลกากรได้กอ่ น เพือ่ ไม่ให้กระทบต่อการ ส่งสินค้าสู่ตลาด

26 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165


Food Feed Fuel

กระทรวงเกษตรฯ จัดสัมมนา

ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร ปี 2558 และแนวโน้มปี 2559

"เกษตรบริบทใหม่ ก้าวไกลด้วยนวัตกรรม"

กระทรวงเกษตรฯ จัดสัมมนาเรื่อง ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร ปี 2558 และแนวโน้มปี 2559 "เกษตรบริบทใหม่ ก้าวไกลด้วย นวัตกรรม" เพือ่ ให้ภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมทีเ่ กีย่ วข้อง ได้ทราบ ถึงสถานการณ์ ปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อภาคการเกษตรที่ผ่านมา และที่กำลังจะมาถึง นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังพิธีเปิดการสัมมนาเรื่อง ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร ปี 2558 และแนวโน้มปี 2559 "เกษตรบริบทใหม่ ก้าวไกลด้วยนวัตกรรม" ว่า วัตถุประสงค์ของการสัมมนาในครั้งนี้เพื่อเสนอรายงานการวิเคราะห์ ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรปี 2558 และแนวโน้มปี 2559 เพื่อให้ภาค การเกษตรและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องได้รับทราบถึงสถานการณ์ ปัจจัย สิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อภาคการเกษตรที่ผ่านมาและที่กำลังจะมาถึง จะได้ เตรียมตัวรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น รวมทั้งได้เชิญนักวิชาการ ตัวแทน ที่มา : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

27


เกษตรกร เข้าร่วมแลกเปลี่ยนแนวคิดมุมมอง เกี่ยวกับการปรับตัวทางการเกษตร เพื่อรับมือ กับการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ และเกษตร บริบทใหม่ทจี่ ะนำนวัตกรรม เทคโนโลยีมาช่วย ในการเพิม่ ผลผลิตโดยภาพรวมเศรษฐกิจในภาค การเกษตร ปี 2558 ลดลงร้อยละ 4.2 เมื่อ เทียบกับปี 2557 โดยเฉพาะสาขาพืช สาขา ประมง และสาขาบริการทางการเกษตรหดตัว ลง ขณะทีส่ าขาปศุสตั ว์ และสาขาป่าไม้ขยายตัว เพิม่ ขึน้ ซึง่ เกิดจากปัจจัยต่างๆ โดยเฉพาะปัญหา สภาพภูมอิ ากาศทีเ่ ปลีย่ นแปลงทัว่ โลก ส่งผลให้ เกิดภาวะภัยแล้งและฝนทิ้งช่วงในประเทศไทย ตั้ ง แต่ ป ลายปี 2557 ถึ ง เมษายน 2558 ประกอบกั บ สภาพเศรษฐกิ จ และสั ง คมโลกมี ความแปรปรวนในหลายด้าน จึงส่งผลกระทบ ต่อการเกษตร ได้แก่ ปริมาณผลผลิตลดลง ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ และปัจจัยการผลิต มีราคาสูงขึ้น เป็นต้น นายธีรภัทร กล่าวเพิ่มเติมว่า นโยบาย ของกระทรวงเกษตรฯ โดยพลเอก ฉั ต รชั ย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ ในด้านปฏิรูปภาคการเกษตรเพื่อ ให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสิง่ แวดล้อม ทีเ่ ปลีย่ นแปลงไป ซึง่ จะเน้นเกษตรกรเป็นศูนย์กลาง และในปี 2559 กำหนดให้เป็นปีแห่งการ ลดต้นทุนการผลิต โดยวางแผนงานครอบคลุม ตั้งแต่การเพิ่มผลผลิตให้มากขึ้น ลดปัจจัยการ ผลิต เพิ่มช่องทางการตลาด และเพิ่มโอกาส

28 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165

ในการแข่งขัน นอกจากนี้ ยังรวมไปถึงนโยบาย สนับสนุนการเกษตรด้านอื่นๆ ด้วย เช่น การ เผยแพร่องค์ความรู้ผ่านศูนย์เรียนรู้การเพิ่ม ประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) กว่า 882 ศู น ย์ ทั่ ว ประเทศ การบริ ห ารจั ด การ เขตเกษตรเศรษฐกิจ (Zoning) เป็นต้น อีกทั้ง ยังร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการบูรณาการแก้ไขปัญหาด้านราคา และ ตลาดสินค้เกษตรอย่างครบวงจรอีกด้วย ทั้ ง นี้ แนวโน้ ม เศรษฐกิ จ การเกษตรปี 2559 คาดว่าจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 2.53.5 เนื่องจากสถานการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจ โลกมีการฟื้นตัว มีการลงทุนภาคการเกษตร มากขึน้ เช่น โครงการ Motor pool การปรับ โครงสร้างการผลิตสินค้าเกษตร สถานการณ์ ดินฟ้าอากาศจะไม่รุนแรงกว่าปีนี้ รวมทั้งราคา น้ำมันที่มีแนวโน้มทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ ทำให้ ต้นทุนการผลิตไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก อีกทั้ง รัฐบาลมีการกำหนดนโยบายรองรับด้านการ เกษตร ได้แก่ เกษตรอินทรีย์ ระบบส่งเสริม เกษตรแบบแปลงใหญ่ การแก้ปญ ั หา IUU เป็นต้น คาดว่ า จะส่ ง ผลดี ต่ อ ภาคการเกษตรไทยใน ทางบวก แต่ยังต้องระวังเรื่องภาวะฝนทิ้งช่วง ในต้นฤดูเพาะปลูกปี 2559 และสถานการณ์ เศรษฐกิจจีนซึ่งเป็นคู่ค้าสำคัญของไทยอีกด้วย นายธีรภัทร กล่าว


Food Feed Fuel

ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรปี 2558 และแนวโน้มปี 2559 ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร ปี 2558 ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร ปี 2558 หดตัวประมาณร้อยละ 4.2 เมื่อเทียบกับปี 2557 โดยสาขาพืช สาขาประมง และสาขา บริการทางการเกษตร หดตัวลง ขณะที่สาขา ปศุสัตว์ และสาขาป่าไม้ ขยายตัวเพิ่มขึ้น

ปัจจัยลบ

· ปัญหาหนี้สินของเกษตรกร สืบเนื่อง จากปัญหาภัยแล้ง ทำให้ผลผลิตสินค้าเกษตร หลายชนิดลดลง ประกอบกับราคาสินค้าเกษตร ที่ตกต่ำ ส่งผลให้ปัญหาหนี้สินของเกษตรกร เรื้อรังมากขึ้น เนื่องจากเกษตรกรจำเป็นต้อง กูย้ มื มาเพือ่ จับจ่ายใช้สอยในชีวติ ประจำวัน ไม่มี ความสามารถในการชำระหนี้เก่า รวมทั้งขาดแคลนเงินทุนเพื่อทำการเกษตรในรอบใหม่

· ปั ญ หาภั ย แล้ ง ที่ เ กิ ด ขึ้ น มาตั้ ง แต่ ช่ ว ง ปลายปี 2557 ต่อเนือ่ งมาจนถึงเดือนเมษายน 2558 ทำให้ปริมาณน้ำใช้การได้ในเขื่อนหลัก มีน้อย ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการผลิต พืชไร่ และข้าวนาปรัง ในพืน้ ทีล่ มุ่ น้ำเจ้าพระยา และลุม่ น้ำแม่กลอง ซึง่ เป็นแหล่งปลูกพืชทีส่ ำคัญ ของประเทศ นอกจากนี้ ในเดือนพฤษภาคม 2558 ซึ่งเป็นช่วงต้นฤดูเพาะปลูก หลายพื้นที่ ของประเทศยังคงประสบปัญหาฝนทิง้ ช่วง ทำให้ เกษตรกรต้องเลื่อนการเพาะปลูกข้าวนาปีออก ไปในช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2558

· การดำเนินนโยบายและมาตรการต่างๆ ของภาครัฐ อาทิ การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ ภาคเกษตร การส่งเสริมการบริหารจัดการน้ำ อย่างบูรณาการ การลดต้นทุนการผลิต ทำให้ การผลิตสินค้าเกษตรมีประสิทธิภาพมากขึ้น

· การยกเลิกสัมปทานประมงในน่านน้ำ ของประเทศอินโดนีเซีย รวมถึงการบังคับใช้ กฎหมายประมงที่มีความเข้มงวด ส่งผลให้การ ทำประมงทะเลลดลง

· การผลิ ต สิ น ค้ า ปศุ สั ต ว์ มี ร ะบบการ ผลิตที่ได้มาตรฐาน รวมถึงการเฝ้าระวัง และ ควบคุมโรคระบาดอย่างต่อเนือ่ ง ส่งผลให้ผลผลิต ปศุสัตว์ที่สำคัญเพิ่มขึ้น

· การส่งออกสินค้าเกษตร และผลิตภัณฑ์ มีทศิ ทางลดลง เนือ่ งจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ลง ส่งผลต่อเนือ่ งให้ราคาสินค้าเกษตรส่วนใหญ่ ภายในประเทศลดลงตามไปด้วย

ปัจจัยบวก

ที่มา : กองนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

29


· ปัญหาโรคตายด่วน (Early Mortality Syndrome: EMS) ในกุ้ ง ทะเลเพาะเลี้ ย ง คลี่คลายลง ทำให้มีปริมาณผลผลิตกุ้งออกสู่ ตลาดมากขึ้น · ราคาน้ำมันทีล่ ดลง ส่งผลให้ตน้ ทุนการ ผลิตทางการเกษตรลดลง

สาขาพืช สาขาพืชในปี 2558 หดตัวร้อยละ 5.8 เมื่อเทียบกับปี 2557 โดยผลผลิตพืชสำคัญ ทีล่ ดลง ได้แก่ ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง ข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ สับปะรดโรงงาน ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ลำไย ทุเรียน มังคุด และเงาะ โดย ข้าวนาปี มีผลผลิตลดลง เนื่องจากสถานการณ์ภยั แล้ง และฝนทิง้ ช่วงในต้นฤดูเพาะปลูก ปี 2558 ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ ประกาศขอความร่วมมือจากเกษตรกรให้เลื่อน การปลูกข้าวนาปี ปีเพาะปลูก 2558/2559 ออกไปจนถึงปลายเดือนสิงหาคม 2558 เพือ่ ลด ความเสี่ยงจากผลผลิตที่อาจเสียหาย ประกอบ กับราคาข้าวมีแนวโน้มลดลง ทำให้เกษตรกร บางส่วนในภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ปรับเปลี่ยนไปปลูก อ้ อ ยโรงงานที่ ใ ห้ ผ ลตอบแทนดี ก ว่ า และมี แหล่งรับซื้อแน่นอน ข้าวนาปรัง มีผลผลิต ลดลง เนื่องจากปริมาณน้ำใช้การได้ในเขื่อน หลักมีน้อย ไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูก โดย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ออกประกาศ งดการส่ ง น้ ำ เพื่ อ การเพาะปลู ก ข้ า วนาปรั ง ตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม 2557 จนถึง 30 เมษายน 2558 ในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา และ ลุ่มน้ำแม่กลอง รวม 26 จังหวัด ส่งผลให้ 30 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165

เกษตรกรบางรายปรับเปลีย่ นไปปลูกพืชทีใ่ ช้นำ้ น้อยกว่า เช่น พืชตระกูลถั่ว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และข้าวโพดหวาน เป็นต้น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีผลผลิตลดลง เนื่องจากการที่เกษตรกรปรับ เปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นที่ทนต่อสภาพอากาศ ร้อน และแห้งแล้งได้ดีกว่า เช่น มันสำปะหลัง และอ้อยโรงงาน รวมทั้งมีการเลื่อนช่วงเวลา เพาะปลูก และเก็บเกี่ยวออกไปจากปัญหาภัย แล้งที่เกิดขึ้นในช่วงต้นฤดูการผลิต สับปะรด โรงงาน มีผลผลิตลดลง เนือ่ งจากปัญหาภัยแล้ง ทำให้ผลสับปะรดมีขนาดเล็ก และน้ำหนักน้อย ประกอบกับเนื้อที่ปลูกสับปะรดแซมในสวนยาง พาราลดลง เพราะต้นยางพารามีอายุมากขึ้น ยางพารา มีผลผลิตรวมลดลง เนือ่ งจากสภาพ อากาศทีร่ อ้ น ทำให้นำ้ ยางออกมาน้อยกว่าปกติ แม้วา่ จะมีเนือ้ ทีก่ รีดได้เพิม่ ขึน้ แต่เป็นเนือ้ ทีเ่ ปิด กรีดใหม่ ผลผลิตต่อไร่จึงค่อนข้างต่ำ ปาล์ม น้ำมัน มีผลผลิตลดลง เนื่องจากเนื้อที่ให้ผล ในภาคใต้ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งที่เกิดขึ้น ตั้งแต่ช่วงปี 2557 ส่งผลต่อการสะสมอาหาร ของต้นปาล์ม ทำให้การออกทะลายในปี 2558 ลดลง ประกอบกับเนื้อที่ปลูกปาล์มน้ำมันใน ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาค กลาง เริ่มทยอยให้ผลผลิตเป็นปีแรก จึงมี ทะลายเล็ก และมีนำ้ หนักน้อย ลำไย มีผลผลิต ลดลง แม้วา่ จะมีเนือ้ ทีใ่ ห้ผลเพิม่ ขึน้ จากต้นทีป่ ลูก ใหม่ในปี 2555 ในภาคเหนือ และภาคกลาง แต่จากสภาพอากาศที่ร้อนและแห้งแล้งในช่วง เดือนมีนาคม-เมษายน 2558 ทำให้ลำไยออก ดอกน้ อ ยลง ทุ เ รี ย น มี ผ ลผลิ ต ลดลงจาก สภาพอากาศร้อน ทำให้ทุเรียนออกดอกได้ไม่ เต็มที่ ประกอบกับเกิดพายุฤดูร้อนในช่วงเดือน เมษายน-พฤษภาคม 2558 ส่งผลให้ทุเรียน


แตกยอดอ่อนแทนการออกดอก และบางส่วน ผลร่วงเสียหาย มังคุด มีผลผลิตลดลง เนื่อง จากมี ฝ นตกในช่ ว งมั ง คุ ด กำลั ง แทงช่ อ ดอก มังคุดจึงแตกใบอ่อนแทนการออกดอก รวมทั้ง การส่งเสริมให้ผลิตมังคุดคุณภาพ โดยการ ปล่อยให้จำนวนการติดผลในแต่ละต้นลดลง เงาะ มี ผ ลผลิ ต ลดลง จากการที่ เ กษตรกร โค่นต้นเงาะที่มีอายุมากเพื่อปรับเปลี่ยนไปปลูก ปาล์มน้ำมัน และผลไม้อนื่ เช่น ทุเรียน ประกอบ กับฝนทิง้ ช่วง อากาศร้อน ปริมาณน้ำไม่เพียงพอ ทำให้การติดดอกของเงาะน้อย สำหรับผลผลิตพืชทีเ่ พิม่ ขึน้ ได้แก่ มันสำปะหลัง และอ้อยโรงงาน โดย มันสำปะหลัง มีผลผลิตเพิ่มขึ้นจากราคาที่อยู่ในเกณฑ์ดี ทำ ให้เกษตรกรหันมาปลูกทดแทนพื้นที่ข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ อ้อยโรงงาน และพื้นที่ว่างเปล่า ประกอบกับเกษตรกรมีการบำรุงรักษาทีด่ ี อาทิ การเลือกใช้ทอ่ นพันธุท์ ใี่ ห้ผลผลิตต่อไร่สงู ต้าน ทานโรคได้ดี และการแช่ท่อนพันธุ์ก่อนการ เพาะปลูกเพื่อป้องกันการระบาดของเพลี้ยแป้ง อ้อยโรงงาน มีผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากการ ส่งเสริมการปลูกอ้อยโรงงานของภาครัฐ ทำให้ เกษตรกรขยายพืน้ ทีเ่ พาะปลูกอ้อยโรงงาน และ ปรับเปลี่ยนพื้นที่เพาะปลูกข้าวที่ไม่เหมาะสม มาปลูกอ้อยโรงงานแทน ด้ า นราคา ในช่ ว งเดื อ นมกราคมพฤศจิกายน 2558 สินค้าพืชที่มีราคาเฉลี่ย เพิม่ ขึน้ ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ มันสำปะหลัง สับปะรดโรงงาน ลำไย ทุเรียน มังคุด และเงาะ โดย ข้าวเปลือกเจ้า ราคาเพิม่ ขึ้นตามกลไกตลาด โดยไม่มีนโยบายแทรกแซง ของภาครัฐ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีราคาเพิ่มขึ้น

เนื่องจากความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพิ่ ม ขึ้ น ตามการขยายตั ว ของอุ ต สาหกรรม อาหารสัตว์ภายในประเทศ มันสำปะหลัง มี ราคาเพิ่มขึ้นตามความต้องการของตลาดทั้ง ภายในประเทศ และต่างประเทศ เพื่อใช้ใน การผลิ ต เอทานอล และอุ ต สาหกรรมเกี่ ย ว เนื่องต่างๆ สับปะรดโรงงาน มีราคาเพิ่มขึ้น จากผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย ไม่เพียงพอต่อ ความต้ อ งการของโรงงานแปรรู ป สั บ ปะรด ลำไย ทุเรียน มังคุด และเงาะ ราคาเพิ่มขึ้น เนื่องจากความต้องการบริโภคทั้งในประเทศ และต่างประเทศยังคงมีอย่างต่อเนื่อง สินค้าพืชที่มีราคาเฉลี่ยลดลง ได้แก่ ข้าวนาปีหอมมะลิ อ้อยโรงงาน ยางแผ่นดิบ และปาล์มน้ำมัน โดย ข้าวนาปีหอมมะลิ ราคา ลดลงตามกลไกของตลาด อ้อยโรงงาน มี ราคาลดลง เนื่องจากราคาน้ำตาลดิบในตลาด โลกลดลง ยางแผ่นดิบ มีราคาลดลง เนื่อง จากประเทศจีนซึ่งเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่มีภาวะ เศรษฐกิจชะลอตัว ประกอบกับราคาน้ำมันดิบ ในตลาดโลกลดลง และอุปทานในตลาดโลก ที่ ยั ง มี อ ยู่ ม าก ปาล์ ม น้ ำ มั น มี ร าคาลดลง เนื่องจากสต็อกน้ำมันปาล์มดิบโลกเพิ่มขึ้น ทำ ให้ ร าคาน้ ำ มั น ปาล์ ม ดิ บ ในตลาดโลกลดลง ประกอบกับราคาถัว่ เหลืองในตลาดโลกทีล่ ดลง ทำให้ ผู้ บ ริ โ ภคหั น ไปบริ โ ภคน้ ำ มั น ถั่ ว เหลื อ ง ทดแทน ด้านการส่งออก ในช่วงเดือนมกราคมตุลาคม 2558 สินค้าพืชและผลิตภัณฑ์ที่มี ปริมาณและมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ มันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์ น้ำตาลและผลิตภัณฑ์ โดย มันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์ มีปริมาณ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

31


และมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น เนื่องจากประเทศผู้ นำเข้ามีความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์มนั สำปะหลัง จากไทย และมีความเชื่อมั่นคุณภาพผลิตภัณฑ์ มันสำปะหลังของไทย โดยเฉพาะจีนซึ่งเป็น ตลาดหลักของไทยทีจ่ ะนำไปใช้ในอุตสาหกรรม ต่อเนือ่ ง เช่น แอลกอฮอล์ กระดาษ และสิง่ ทอ น้ำตาลและผลิตภัณฑ์ มีปริมาณและมูลค่า ส่งออกเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีการระบายปริมาณ น้ำตาลในประเทศที่มีมากกว่าความต้องการ บริโภคภายในประเทศ โดยมีตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ จีน อินโดนีเซีย กัมพูชา ญี่ปุ่น และ เกาหลีใต้ สินค้าพืชและผลิตภัณฑ์ ที่มีปริมาณ และมูลค่าการส่งออกลดลง ได้แก่ ข้าวรวม ข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ ยางพารา น้ำมันปาล์ม ลำไย และผลิตภัณฑ์ โดย ข้าวรวม มีปริมาณการ ส่งออกลดลง เนื่องจากกลุ่มประเทศในตะวันออกกลางซึ่งเป็นผู้นำเข้าข้าวที่สำคัญ ได้รับ ผลกระทบจากราคาน้ำมันดิบทีต่ กต่ำ ประกอบ กับราคาข้าวของไทยสูงกว่าประเทศคู่แข่งขัน ได้แก่ เวียดนาม อินเดีย และปากีสถาน ทำ ให้มกี ารนำเข้าข้าวจากไทยลดลง ข้าวโพดเลีย้ ง สัตว์ มีปริมาณและมูลค่าส่งออกลดลง เนื่อง จากมาตรการผลักดันการส่งออกในปีที่ผ่านมา ประกอบกับความต้องการใช้ในอุตสาหกรรม อาหารสัตว์ภายในประเทศเพิ่มขึ้น ยางพารา มีปริมาณและมูลค่าส่งออกลดลง เนื่องจาก เศรษฐกิจโลกฟืน้ ตัวไม่เต็มที่ ประกอบกับอุปทาน ในตลาดโลกที่ยังมีอยู่มาก และราคายางใน ตลาดโลกทรงตัวในระดับต่ำ ทำให้มลู ค่าส่งออก ยางพาราลดลงมาก น้ำมันปาล์ม มีปริมาณ และมูลค่าส่งออกลดลง เนื่องจากราคาน้ำมัน32 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165

ปาล์มในตลาดโลกต่ำกว่าราคาภายในประเทศ ทำให้การส่งออกน้ำมันปาล์มของไทยไม่สามารถ แข่ ง ขั น ได้ ลำไยและผลิ ต ภั ณ ฑ์ มี ป ริ ม าณ และมู ล ค่ า ส่ ง ออกลดลง เนื่ อ งจากปริ ม าณ ผลผลิตลำไยในประเทศทีล่ ดลง ทำให้สง่ ออกได้ น้อยลง ขณะที่ความต้องการของประเทศคู่ค้า หลัก ได้แก่ อินโดนีเซีย และจีน ยังมีแนวโน้ม เพิ่มขึ้น สินค้าพืชที่มีปริมาณส่งออกลดลง แต่ มูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ สับปะรดและ ผลิตภัณฑ์ เนื่องจากสหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นตลาดส่องออกหลัก เศรษฐกิจ ยั ง ฟื้ น ตั ว ได้ ไ ม่ เ ต็ ม ที่ ประกอบกั บ ผลผลิ ต สับปะรดที่ใช้เป็นวัตถุดิบมีไม่เพียงพอต่อการ แปรรูป จึงทำให้ปริมาณการส่งออกลดลง แต่ จากการที่ราคาผลผลิตในประเทศเพิ่มสูงขึ้น จึงทำให้มูลค่าการส่งออกปรับเพิ่มขึ้นตามไป ด้วย ทุเรียนและผลิตภัณฑ์ เนื่องจากประเทศ คู่ค้าหลักอย่างฮ่องกงชะลอความต้องการลง แต่จากราคาในตลาดโลกที่สูงขึ้นมาก ทำให้ มูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น

สาขาปศุสัตว์ สาขาปศุสัตว์ในปี 2558 ขยายตัว ร้อยละ 2.2 เมือ่ เทียบกับปี 2557 เนือ่ งจาก ระบบฟาร์มส่วนใหญ่มีมาตรฐาน มีการเฝ้า ระวัง และควบคุมโรคระบาดที่ดี ประกอบกับ ความต้องการของตลาดยังขยายตัวได้อย่าง ต่อเนื่อง ทำให้การผลิตสินค้าปศุสัตว์ทั้งไก่เนื้อ สุกร ไข่ไก่ โคเนื้อ และน้ำนมดิบ มีปริมาณ ออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น


การผลิ ต ไก่ เ นื้ อ มี ป ริ ม าณผลผลิ ต เพิ่ ม ขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการขยายการเลี้ยง ตามความต้องการส่งออกที่เพิ่มขึ้น และความ ต้องการบริโภคภายในประเทศทีม่ อี ย่างต่อเนือ่ ง จากราคาเนื้อไก่ที่ต่ำกว่าเนื้อสัตว์ประเภทอื่น การผลิตสุกรมีการขยายการผลิตเพิ่มขึ้น เนื่อง จากราคาสุกรปี 2557 อยูใ่ นเกณฑ์ดี จูงใจให้มี การขยายการผลิต มีการปรับปรุงด้านการ จัดการฟาร์ม จึงสามารถควบคุมโรคได้ดีขึ้น ทำให้ปริมาณผลผลิตสุกรโดยรวมเพิ่มขึ้น ส่วน การผลิตไข่ไก่มีปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่อง จากราคาไข่ไก่ปี 2557 อยูใ่ นเกณฑ์ดี จูงใจให้ เกษตรกรขยายการเลี้ยงเพิ่มขึ้น แม้จะมีการ ปลดแม่ไก่ยืนกรงเร็วขึ้น และปรับลดการผลิต บางส่วน แต่ปริมาณการเลี้ยงที่ยังมีอยู่มาก ประกอบกับเกษตรกรมีระบบการจัดการฟาร์ม ทีไ่ ด้มาตรฐาน ทำให้มปี ริมาณไข่ไก่ออกสูต่ ลาด เพิ่มขึ้น ด้านการผลิตโคเนื้อมีปริมาณเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคายังอยู่ในระดับสูง และมีความ ต้องการของตลาดทั้งในประเทศ และประเทศ เพื่อนบ้าน ประกอบกับมีการส่งเสริมการเลี้ยง โคเนื้อจากภาครัฐ ทำให้มีเกษตรกรบางส่วน หันมาเลี้ยงโคเนื้อกันมากขึ้น สำหรับการผลิต น้ำนมดิบ มีปริมาณเพิ่มขึ้นเนื่องจากจำนวน แม่โครีดนมที่เพิ่มขึ้นจากการนำแม่โคสาวเข้า ทดแทนแม่โคทีป่ ลดออกจำหน่าย และการชะลอ การสัง่ ซือ้ โคนมของประเทศเพือ่ นบ้าน ประกอบ กับมาตรการปรับเพิม่ ราคารับซือ้ น้ำนมดิบ จูงใจ ให้เกษตรกรเก็บรักษาแม่โครีดนม นอกจากนี้ เกษตรกรมีการปรับการเลี้ยงเป็นฟาร์มขนาด กลาง และขนาดใหญ่ และพัฒนาระบบการจัด การฟาร์มเลี้ยง ทำให้อัตราการให้น้ำนมเฉลี่ย เพิ่มขึ้น และคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดี

ด้ า นราคา ในช่ ว งเดื อ นมกราคมพฤศจิกายน 2558 สินค้าปศุสัตว์ที่มีราคา เฉลี่ ย เพิ่ ม ขึ้ น ได้ แ ก่ โคเนื้ อ และน้ ำ นมดิ บ เนื่องจากผลผลิตโคเนื้อยังไม่เพียงพอกับความ ต้องการบริโภค ทำให้ราคาสูงขึน้ ส่วนน้ำนมดิบ มีราคาสูงขึ้นจากการปรับราคากลางรับซื้อน้ำนมดิบเพิ่มขึ้น และการปรับตัวตามคุณภาพ น้ำนมดิบที่อยู่ในเกณฑ์ดี สินค้าปศุสัตว์ที่มีราคาเฉลี่ยลดลง ได้แก่ ไก่เนื้อ สุกร และไข่ไก่ เนื่องจากการขยายการ เลี้ยงเพิ่มขึ้น ทำให้มีปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ ตลาดเพิ่มขึ้นมาก ด้านการส่งออก ในช่วงเดือนมกราคมตุลาคม 2558 สินค้าปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์ ที่ มี ป ริ ม าณและมู ล ค่ า ส่ ง ออกเพิ่ ม ขึ้ น ได้ แ ก่ เนื้อไก่และผลิตภัณฑ์ โดยเพิ่มขึ้นทั้งในส่วน ของเนือ้ ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง และเนือ้ ไก่ปรุงแต่ง โดยเฉพาะการส่งออกไปตลาดญี่ปุ่นที่ขยายตัว ได้ตอ่ เนือ่ ง และตลาดอาเซียนทีข่ ยายตัวเพิม่ ขึน้ ส่วนการส่งออกไปสหภาพยุโรปลดลงจากภาวะ เศรษฐกิจที่ยังชะลอตัว ไข่ไก่สด มีปริมาณและ มูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นจากการระบายผลผลิตใน ประเทศเพื่อแก้ปัญหาราคาตกต่ำในช่วงต้นปี โดยการส่งออกไข่ไก่ไปฮ่องกงมีการขยายตัวได้ ต่ อ เนื่ อ ง นมและผลิ ต ภั ณ ฑ์ มี ป ริ ม าณและ มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะตลาดหลัก ในอาเซียน เนือ่ งจากความเชือ่ มัน่ ในคุณภาพนม และผลิตภัณฑ์นมของไทย สินค้าปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์ ที่มีปริมาณ และมูลค่าส่งออกลดลง ได้แก่ เนื้อสุกรและ ผลิตภัณฑ์ ลดลงจากการส่งออกไปยังตลาดหลัก ทัง้ ฮ่องกง และลาว ลดลง ในขณะทีก่ ารส่งออก ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

33


สุกรมีชวี ติ ไปยังประเทศเพือ่ นบ้านยังขยายตัวได้ ส่วนปริมาณส่งออกโคมีชีวิตลดลง เนื่องจาก ปริมาณการผลิตโคเนือ้ ทีเ่ พิม่ ขึน้ ได้ชา้ แต่ราคา ที่สูงขึ้นมาก ทำให้มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น

สาขาประมง สาขาประมงในปี 2558 หดตัวร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับปี 2557 เนื่องจากผลผลิต จากการทำประมงทะเลลดลง โดยปริ ม าณ สัตว์น้ำที่นำขึ้นท่าเทียบเรือในภาคใต้ลดลง ซึ่ง เป็นผลมาจากการยกเลิกสัมปทานประมงใน น่านน้ำของประเทศอินโดนีเซีย และการบังคับ ใช้กฎหมายประมงที่มีความเข้มงวด ทำให้เรือ ประมงบางส่วนต้องหยุดทำการประมง สำหรับ ผลผลิ ต กุ้ ง ทะเลลี้ ย ง มี ผ ลผลิ ต ออกสู่ ต ลาด เพิ่มขึ้น เนื่องจากปัญหาโรคตายด่วน (Early Mortality Syndrome: EMS) คลี่คลายลง ประกอบกับเกษตรกรมีการบริหารจัดการฟาร์ม ที่ดี ใช้พันธุ์กุ้งที่ต้านทานต่อโรค ทำให้มีอัตรา การรอดสูง ในส่วนของผลผลิตจากประมงน้ำจืด มีแนวโน้มลดลง โดยผลผลิตทีส่ ำคัญ คือ ปลานิล และปลาดุก ลดลงเนื่องจากเกษตรกรผู้เลี้ยง ประสบปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้นในแหล่งผลิตที่ สำคัญตัง้ แต่ตน้ ปี 2558 ต่อเนือ่ งมาถึงปลายปี 2558 ทำให้เกษตรกรผูเ้ ลีย้ งปลาน้ำจืดลดเนือ้ ที่ เลี้ยงปลาลง หรือชะลอการเลี้ยงออกไป ด้านราคา ในช่วงเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2558 ราคากุง้ ขาวแวนนาไมทีเ่ กษตรกร ขายได้เฉลี่ยลดลง เนื่องจากผลผลิตกุ้งของไทย และประเทศคู่แข่งขัน เช่น อินโดนีเซีย อินเดีย เอกวาดอร์ และเวียดนาม มีปริมาณมากขึ้น ทำให้การแข่งขันค่อนข้างรุนแรง เป็นผลให้ 34 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165

ราคากุ้งในตลาดโลกลดลง และทำให้ราคา ภายในประเทศลดลงตามไปด้วย ประกอบกับ เกษตรกรส่วนใหญ่จบั กุง้ ขนาดเล็กออกจำหน่าย เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากโรค ทำให้ราคากุ้ง ขนาดเล็กลดลงค่อนข้างมาก ด้านการส่งออก ในช่วงเดือนมกราคมตุลาคม 2558 สินค้าประมงที่มีปริมาณและ มูลค่าการส่งออกลดลง ได้แก่ ปลาและผลิตภัณฑ์ และปลาหมึกและผลิตภัณฑ์ สำหรับกุ้ง และผลิตภัณฑ์ มีปริมาณส่งออกเพิ่มขึ้น ขณะที่ มูลค่าส่งออกลดลง จะเห็นได้ว่า การส่งออก สินค้าประมงทีส่ ำคัญเกือบทุกชนิด ทีท่ งั้ ปริมาณ และมูลค่าการส่งออกลดลง เนือ่ งจากเศรษฐกิจ ของประเทศคู่ค้าชะลอตัวลง มีเพียงกุ้งและ ผลิตภัณฑ์เท่านั้นที่ปริมาณส่งออกเพิ่มขึ้น แต่ มูลค่าการส่งออกลดลง เนือ่ งจากประเทศคูแ่ ข่ง ผลิ ต ได้ ม ากขึ้ น และมี ร าคาถู ก กว่ า ของไทย ประกอบกั บ การถู ก ตั ด สิ ท ธิ พิ เ ศษทางภาษี ศุลกากร (Generalized System of Preferences: GSP) ในสหภาพยุโรป รวมถึงสต็อกของสหรัฐอเมริกาทีย่ งั มีจำนวนอยูม่ าก จึงชะลอการสัง่ ซือ้ ทำให้มูลค่าการส่งออกของไทยลดลงตามไป ด้วย

สาขาบริการทางการเกษตร สาขาบริการทางการเกษตรปี 2558 หดตัวร้อยละ 4.0 เมือ่ เทียบกับปี 2557 โดย การจ้างบริการเตรียมดิน ไถพรวนดิน และ การให้บริการเกี่ยวนวดข้าวลดลง เนื่องจาก พื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปีลดลงจากปีที่ผ่านมา จากสถานการณ์ภัยแล้งในช่วงต้นฤดูการเพาะ ปลูก ส่งผลให้เกษตรกรเลื่อนการเพาะปลูก


ข้าวนาปีออกไป เพื่อลดความเสี่ยงจากผลผลิต ที่อาจเสียหาย รวมทั้งพื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปรังลดลง จากปริมาณน้ำในเขือ่ นหลักทีใ่ ช้การ ได้มีปริมาณน้อยกว่าปีที่ผ่านมา ประกอบกับ ผลตอบแทนจากการปลู ก ข้ า วลดลง ทำให้ เกษตรกรขาดแรงจูงใจในการปลูกข้าว อย่างไร ก็ตาม การขยายพื้นที่เพาะปลูกและการเก็บ เกี่ยวของอ้อยโรงงานขยายตัวเพิ่มขึ้น จากการ ส่งเสริมการปลูกอ้อยของรัฐบาล และโรงงาน น้ำตาล ทำให้มกี ารใช้บริการเครือ่ งจักรกลทาง การเกษตร เช่น รถตัด และเก็บเกี่ยวอ้อย เพิ่มขึ้น

สาขาป่าไม้ สาขาป่าไม้ปี 2558 ขยายตัวร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบกับปี 2557 โดยผลผลิตป่าไม้ สำคัญทีเ่ พิม่ ขึน้ ได้แก่ ไม้ยางพารา ไม้ยคู าลิปตัส ถ่านไม้ รังนกนางแอ่น และครั่ง สำหรับไม้ ยางพารา เพิ่มขึ้นจากความต้องการของตลาด ทีส่ งู ขึน้ ประกอบกับการดำเนินโครงการควบคุม ปริมาณการผลิตยางของภาครัฐ เพื่อแก้ปัญหา ราคายางตกต่ำ ทำให้เกษตรกรจำนวนมาก เข้าร่วมโครงการสงเคราะห์ และส่งเสริมการ ตัดโค่นพื้นที่สวนยางพาราเก่าที่ให้ผลผลิตไม่ คุ้มค่า และปลูกทดแทนด้วยยางพาราพันธุ์ดี หรือพืชเศรษฐกิจอื่นผ่านการยางแห่งประเทศ ไทย (กยท.) จนมีพื้นที่ตัดโค่นเกินกว่าพื้นที่ เป้าหมาย 400,000 ไร่ และสูงกว่าปี 2557 ประมาณ 100,000 ไร่ ด้านผลผลิตไม้ยูคาลิปตัสปี 2558 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปี ที่ผ่านมา ผลผลิตถ่านไม้ยังคงเป็นที่ต้องการ ของครัวเรือน และตลาดภายในประเทศ โดย เฉพาะธุรกิจร้านอาหาร ภัตตาคาร เนื่องจาก

ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการประกอบอาหารประเภท ปิง้ ย่าง สำหรับมูลค่าการส่งออกรังนกนางแอ่น ขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นจากปี 2557 เนื่องจากเป็น อาหารสุขภาพที่ได้รับความนิยมจากตลาดทั้ง ภายใน และต่างประเทศ ส่วนมูลค่าการส่งออก ครั่ง เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 75.2 เมื่อเปรียบเทียบ กับปี 2557 เนื่องจากผลผลิตครั่งสามารถนำ ไปใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมหลายประเภท เช่น สีทารถยนต์ หมึกพิมพ์ พรมน้ำมัน เครือ่ ง ประดับต่างๆ เป็นต้น

แนวโน้มเศรษฐกิจการเกษตร ปี 2559 แนวโน้มเศรษฐกิจการเกษตรปี 2559 คาดว่าจะขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 2.5-3.5 โดยทุกสาขาการผลิตมีแนวโน้มขยายตัวเพิม่ ขึน้ ได้แก่ สาขาพืช สาขาปศุสัตว์ สาขาประมง สาขาบริการทางการเกษตร และสาขาป่าไม้ สำหรับปัจจัยสนับสนุนที่ทำให้ภาคเกษตรกลับ มาขยายตัวได้ในปี 2559 ได้แก่ · สภาพอากาศที่ค่อนข้างเอื้ออำนวยใน พื้นที่ส่วนใหญ่ของภาคตะวันออก และภาคใต้ ซึ่งเป็นแหล่งปลูกไม้ผล และไม้ยืนต้นที่สำคัญ รวมถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นแหล่ง ปลูกข้าวนาปีของประเทศ · ราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มทรงตัวอยู่ใน ระดับต่ำ ทำให้ต้นทุนการผลิตไม่เปลี่ยนแปลง มากนัก · ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง ประกอบกับ เศรษฐกิจโลกในปี 2559 ทีม่ ที ศิ ทางดีขนึ้ เป็น ผลดีตอ่ การส่งออกสินค้าเกษตร และผลิตภัณฑ์ ของไทย ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

35


· การใช้นโยบายด้านการเกษตรต่างๆ ที่ สนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้า เกษตร และลดต้นทุนการผลิต ได้แก่ ระบบ ส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ เกษตรอินทรีย์ การแก้ปัญหา IUU เขตเศรษฐกิจพิเศษ การ พัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (National Single Window: NSW) การพัฒนา แหล่งน้ำ และแก้ไขปัญหาภัยแล้ง การจัดสรร ที่ดินทำกินให้แก่เกษตรกร การส่งเสริมและ พัฒนาวิสาหกิจชุมชน การดำเนินงานของศูนย์ เรี ย นรู้ ก ารเพิ่ ม ประสิ ท ธิ ภ าพการผลิ ต สิ น ค้ า เกษตร การพัฒนาสหกรณ์ การกำหนดมาตรฐานบัญชีสหกรณ์ และเขตเกษตรเศรษฐกิจ (zoning) อย่างไรก็ตาม ยังมีความเสี่ยงในเรื่อง ภาวะฝนทิ้งช่วงที่อาจเกิดขึ้นในช่วงต้นฤดูเพาะ ปลูกปี 2559 รวมถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจ จีน ซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทย

สาขาพืช ในปี 2559 คาดว่าสาขาพืชจะขยายตัว อยู่ ใ นช่ ว งร้ อ ยละ 3.0-4.0 โดยสิ น ค้ า พื ช ที่มีปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวนาปี ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อยโรงงาน สับปะรดโรงงาน ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ลำไย ทุเรียน มังคุด และเงาะ ในส่วนสินค้าเกษตรทีม่ ปี ริมาณ ผลผลิตลดลง ได้แก่ ข้าวนาปรัง และมันสำปะหลัง อย่างไรก็ตาม ยังมีความเสี่ยงกับ ปริมาณน้ำที่ใช้การได้ในเขื่อนขนาดใหญ่ เช่น ภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อย และป่าสักชลสิทธิ์ ซึ่งมีความสำคัญต่อการเพาะปลูกพืชในพื้นที่ ภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลางตอนบน รวม ทั้งความผันผวนของสภาพภูมิอากาศ และการ ระบาดของศัตรูพืชต่างๆ 36 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165

ด้านราคาพืชทีเ่ กษตรกรขายได้สว่ นใหญ่ ในปี 2559 คาดว่าใกล้เคียงกับปีทผี่ า่ นมา โดย ราคาข้าวในประเทศจีนจะมีแนวโน้มเทียบเท่า กับระดับราคาของข้าวในตลาดโลก เนื่องจาก ไม่มีมาตรการแทรกแซงด้านราคาของรัฐบาล ทำให้ราคาข้าวเป็นไปตามกลไกตลาด สำหรับ ราคาข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ มันสำปะหลัง สับปะรดโรงงาน และผลไม้ เช่น ลำไย ทุเรียน มังคุด และเงาะ จะอยู่ ใ นเกณฑ์ ดี เนื่ อ งจากความ ต้องการทั้งภายใน และต่างประเทศยังคงมี อย่างต่อเนื่อง ส่วนอ้อยโรงงาน และยางพารา จะชะลอตัวตามราคาในตลาดโลกที่ลดลง ด้ า นการส่ ง ออกพื ช และผลิ ต ภั ณ ฑ์ ใ นปี 2559 ที่มีแนวโน้มดี ได้แก่ สับปะรดและ ผลิตภัณฑ์ ลำไยและผลิตภัณฑ์ และทุเรียน และผลิตภัณฑ์ อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์ เศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ฟื้นตัวอย่างเต็มที่ ส่งผล ต่อการส่งออกสินค้าเกษตรไปยังประเทศคู่ค้า หลัก อุปทานสินค้าเกษตรในตลาดโลกที่ยังมี อยู่มาก ราคาน้ำมันดิบที่ทรงตัวในระดับต่ำ และสภาพอากาศทั่ ว โลกที่ มี ค วามแปรปรวน มากขึ้น อาจสร้างความเสียหายต่อผลผลิตพืช ของโลก และจะส่งผลกระทบต่อเนื่องมายัง ราคาและการส่งออกสินค้าเกษตรของไทยด้วย

สาขาปศุสัตว์ ในปี 2559 คาดว่าสาขาปศุสัตว์จะ ขยายตั ว อยู่ ใ นช่ ว งร้ อ ยละ 1.5-2.5 โดย ปริมาณการผลิตสินค้าหลักทั้งไก่เนื้อ ไข่ไก่ สุกร โคเนื้อ และน้ำนมดิบ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากการพัฒนาระบบการเลี้ยง และการ บริหารจัดการฟาร์มไก่เนื้อ ไก่ไข่ และสุกร ให้ได้มาตรฐานสากล การดูแลเอาใจใส่และ


ควบคุมเฝ้าระวังโรคระบาดอย่างต่อเนื่อง การ พัฒนาฟาร์มเลี้ยงโคนมตามมาตรฐานฟาร์ม ที่ดี และมีประสิทธิภาพในการเลี้ยงซึ่งจะส่งผล ให้ได้น้ำนมดิบที่มีคุณภาพ รวมถึงราคาโคเนื้อ ที่อยู่ในระดับสูง จูงใจให้เกษตรกรมีการเก็บ รักษาแม่พันธุ์โค และหาซื้อแม่โคเข้ามาเลี้ยง เพือ่ ขยายพันธุม์ ากขึน้ รวมถึงมาตรการควบคุม การส่ ง ออกโคเนื้ อ เพศเมี ย ที่ เ ข้ ม งวดมากขึ้ น ทำให้คาดว่าจะมีปริมาณโคเนื้อเพิ่มขึ้น นอก จากนี้ ความต้องการสินค้าปศุสัตว์ของตลาด ในประเทศ และต่างประเทศยังมีแนวโน้มเพิ่ม ขึ้นจากความเชื่อมั่นในมาตรฐานการผลิต และ คุณภาพสินค้าปศุสัตว์ของไทย อย่างไรก็ตาม สภาพอากาศทีแ่ ปรปรวนอาจส่งผลให้เกิดภาวะ แห้งแล้ง น้ำท่วม และการเกิดโรคต่างๆ ใน สั ต ว์ รวมถึ ง ราคาวั ต ถุ ดิ บ อาหารสั ต ว์ เช่ น กากถัว่ เหลือง และข้าวโพด ซึง่ อาจส่งผลกระทบ ต่อการผลิตสินค้าปศุสัตว์ ด้านราคาสินค้าปศุสตั ว์ในปี 2559 คาด ว่าจะอยูใ่ นระดับใกล้เคียงกับปี 2558 โดยราคา ไก่เนื้อ และไข่ไก่อาจปรับสูงขึ้นเล็กน้อย เนื่อง จากการควบคุมระดับปริมาณผลผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ราคาน้ำนม ดิบ คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากการปรับปรุงคุณภาพ น้ำนมดิบ ซึ่งเป็นผลจากการกำหนดมาตรฐาน การรับซื้อน้ำนมดิบที่ให้มีการปรับเพิ่มราคา กลางรับซือ้ ตามคุณภาพน้ำนมดิบทีเ่ ริม่ บังคับใช้ เมือ่ วันที่ 1 ตุลาคม 2558 ในขณะทีร่ าคาสุกร และโคเนื้ออาจลดลงเล็กน้อยจากปริมาณผล ผลิตที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น ด้านการส่งออกสินค้าปศุสตั ว์ในปี 2559 คาดว่าจะขยายตัว เนื่องจากความต้องการ

บริ โ ภคของตลาดต่ า งประเทศยั ง มี แ นวโน้ ม เพิ่มขึ้น การพัฒนาระบบการเลี้ยง การเพิ่ม ประสิทธิภาพในการควบคุมตรวจสอบสินค้า ปศุสตั ว์ทสี่ ง่ ออก และนำเข้าตามมาตรฐานสากล และการตรวจสอบย้อนกลับ ทำให้ประเทศคูค่ า้ มีความเชือ่ มัน่ ในสินค้าปศุสตั ว์ของไทย รวมถึง การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ทำให้มี โอกาสในการขยายตลาดสินค้าปศุสัตว์ไปยัง ประเทศในกลุ่มอาเซียนได้มากขึ้น สำหรับการ ส่ ง ออกเนื้ อ ไก่ แ ละผลิ ต ภั ณ ฑ์ ยั ง มี ทิ ศ ทาง ขยายตัวได้ดีทั้งตลาดญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป การส่งออกเนือ้ สุกรและผลิตภัณฑ์ คาดว่าจะยัง ขยายตัวได้ในตลาดอาเซียน และญี่ปุ่น ส่วน ความต้องการสุกรมีชวี ติ ของประเทศเพือ่ นบ้าน ยังมีแนวโน้มขยายตัว นอกจากนี้ การส่งออก นมและผลิตภัณฑ์ และไข่ไก่ มีโอกาสขยายตัว เพิ่มขึ้นจากความต้องการบริโภคของตลาดใน อาเซี ย น ในขณะที่ ก ารส่ ง ออกโคมี ชี วิ ต อาจ ลดลงเล็กน้อย เนื่องจากความต้องการของ ตลาดในประเทศยังมีอยู่มาก

สาขาประมง ในปี 2559 คาดว่าสาขาประมงจะ ขยายตัวอยูใ่ นช่วงร้อยละ 1.5-2.5 เนือ่ งจาก การผลิ ต กุ้ ง เพาะเลี้ ย งมี แ นวโน้ ม ฟื้ น ตั ว จาก ปัญหาการระบาดของโรค EMS ประกอบกับ เกษตรกรมีการพัฒนาการเลีย้ งได้ดยี งิ่ ขึน้ นอก จากนี้ ยังเป็นผลมาจากความร่วมมือของภาครัฐ และเอกชนในการจัดการ ตั้งแต่การผลิตพ่อแม่ พันธุ์คุณภาพ การตรวจคัดกรองโรคอย่างต่อ เนื่อง ทำให้เกษตรกรมั่นใจในการลงทุนเลี้ยง กุง้ มากขึน้ ส่งผลให้ผลผลิตกุง้ ในปี 2559 ออก สู่ ต ลาดมากขึ้ น สำหรั บ ผลผลิ ต จากการทำ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

37


ประมงทะเลมีแนวโน้มดีขนึ้ จากการปรับตัวของ ผู้ประกอบการเรือประมงทะเล ส่วนผลผลิต ประมงน้ำจืดมีทิศทางเพิ่มขึ้นจากสภาพอากาศ ที่เอื้ออำนวยมากขึ้น ด้ า นราคา ราคากุ้ ง ขาวแวนนาไมที่ เกษตรกรขายได้ คาดว่าจะลดลงเล็กน้อยตาม ปริมาณการผลิตภายในประเทศ และประเทศ คู่แข่งขันที่เพิ่มขึ้น ด้านการส่งออก คาดว่าจะขยายตัวตาม ความต้องการของตลาดทั้งในประเทศ และ ต่างประเทศที่มีอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ จากประเทศผู้นำเข้าหลัก คือ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม สินค้า ประมงในปี 2559 ยังประสบกับปัญหาบาง ประการทีเ่ ป็นข้อกีดกันทางการค้าของประเทศ ผู้ น ำเข้ า อาทิ สหรั ฐ อเมริ ก า กำหนดให้ ประเทศไทยยั ง คงอยู่ ใ นบั ญ ชี ร ายชื่ อ สิ น ค้ า ที่ เกีย่ วข้องกับการค้ามนุษย์อย่างร้ายแรง (Tier 3) ขณะที่สหภาพยุโรปยังให้ความสำคัญกับเรื่อง เรือประมงที่ทำผิดกฎหมาย IUU Fishing ซึ่ง ประเทศไทยยังเสี่ยงต่อการถูกคว่ำบาตร และ 38 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165

การที่ไทยถูกตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) จากสหภาพยุโรป รวมทั้งปัญหาภาวะ เศรษฐกิจของประเทศผู้นำเข้าหลัก

สาขาบริการทางการเกษตร ในปี 2559 คาดว่าสาขาบริการทางการ เกษตรจะขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 1.1-2.1 เนื่องจากเนื้อที่เพาะปลูกข้าวนาปี มีแนวโน้ม เพิ่มขึ้นจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย และมี ปริมาณน้ำฝนเพียงพอ โดยคาดว่าเกษตรกร จะสามารถเพาะปลูกข้าวนาปีได้ตามฤดูกาล ปกติ ประกอบกับการขยายพืน้ ทีเ่ พาะปลูกพืชที่ สำคัญเพิม่ ขึน้ เช่น อ้อยโรงงาน และสับปะรดโรงงาน รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ตามมาตรการกำหนดเขตเกษตรเศรษฐกิ จ สำหรับสินค้าเกษตร (Zoning) ตลอดจนปัญหา การขาดแคลนแรงงานด้านการเกษตร ทำให้ ค่าจ้างแรงงานภาคเกษตรมีอัตราค่อนข้างสูง ส่งผลให้เกษตรกรเปลี่ยนมาใช้บริการทางการ เกษตรเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม พื้นที่เพาะปลูก ข้าวนาปรังลดลง จากปริมาณน้ำในเขือ่ นขนาด


กลาง และขนาดใหญ่ที่ใช้การได้มีปริมาณน้อย กว่ า ปี ที่ ผ่ า นมา ทำให้ พื้ น ที่ ภ าคเหนื อ และ ภาคกลางส่วนใหญ่ไม่สามารถปลูกข้าวนาปรัง หรือปลูกข้าวนาปรังรอบสองได้ ทำให้สาขา บริการทางการเกษตรขยายตัวไม่มากนัก

สาขาป่าไม้ ในปี 2559 คาดว่ า สาขาป่ า ไม้ จ ะ ขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 2.8-3.8 โดยมี ปัจจัยหลักมาจากเป้าหมายการตัดโค่นพื้นที่ สวนยางพาราเก่า และปลูกทดแทนด้วยยาง พาราพันธุด์ ี หรือพืชเศรษฐกิจอืน่ ของกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ ซึง่ การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ได้กำหนดเป้าหมายการตัดโค่นปี 2559

ไว้ที่ 400,000 ไร่ สำหรับพื้นที่ตัดไม้ยูคาลิปตัส ในปี 2559 คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้น ตามพืน้ ทีเ่ ป้าหมายการตัดโค่นของสวนป่ายูคาลิปตัสภาคเอกชน และสวนป่ายูคาลิปตัสของ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (ทั้งในส่วนของ เป้าหมายปี 2559 และพื้นที่ตัดโค่นที่ตกค้าง จากปี 2558) โดยความต้องการใช้ไม้ยูคาลิปตัสในอุตสาหกรรมกระดาษของตลาดภายใน และต่างประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ด้านความ ต้องการใช้ถา่ นไม้ คาดว่าจะยังคงทรงตัว หรือ ขยายตัวในช่วงแคบๆ ส่วนรังนกนางแอ่น คาดว่า ตลาดทั้ ง ใน และต่ า งประเทศยั ง คงมี ค วาม ต้องการอย่างต่อเนื่อง เนื่องด้วยคุณประโยชน์ และการนำไปใช้เป็นวัตถุดิบ

ตารางอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคเกษตร สาขา

ภาคเกษตร พืช ปศุสัตว์ ประมง บริการทางการเกษตร ป่าไม้

2558 -4.2 -5.8 2.2 -1.3 -4.0 2.8

หน่วย : ร้อยละ

2559 2.5 - 3.5 3.0 - 4.0 1.5 - 2.5 1.5 - 2.5 1.1 - 2.1 2.8 - 3.8

ที่มา : กองนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

39


Market Leader

VPF Farm

ฟาร์มสุกรครบวงจรแห่งเชียงใหม่ เตรียมขยายสู่ค้าปลีก เปิดฟาร์มคุณยุทธพงศ์ หรือ เฮียปึง้ แห่ง VPF Farm กับการขยายตัวอย่างมืออาชีพทีเ่ น้น การผลิตเนื้อสุกรที่มีคุณภาพ ภายใต้สโลแกน “Healthy Farm, Happy Pig”

คุณยุทธพงศ์ จีระประภาพงศ์ VPF Farm มีฟาร์ม 2 แห่ง 1. อ.แม่รมิ จ.เชียงใหม่ 2. อ.แม่ทา จ.ลำพูน เป็นเฟส 2 ของการ ขยายตั้งแต่ปี 2557 (2014) 70% เสร็จ คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2559 (2016) คาดว่าหลังจากฟาร์มสุกรแห่งที่ 2 แล้วเสร็จจะมีกำลัง การผลิตสุกรขุน 300,000-350,000 ตัว ต่อปี ปัจจุบัน VPF ทั้ง 2 แห่งมี 12,000 แม่พันธุ์ (6,000x2) สุกรขุน ผลิตปีนี้ได้ประมาณ 275,000 ตัว จากปี 2557 ที่ 200,000 ตัว การผลิต ลูกสุกรจะมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดประมาณ 70-80% โดยกลุ่ม VPF มีโรงชำแหละสุกรเป็นของตนเอง โดยมีการทำตลาดในการจำหน่ายชิ้นส่วน ต่างๆ ของสุกร โดยทีมงานตลาดของกลุ่ม โดยส่วนหนึ่งของผลิตภัณฑ์สุกร จะมาจากโรงชำแหละแห่งที่ 2 ของกลุ่ม ตั้งแต่กลางเดือนสิงหาคม 2558 ในส่วนของการผลิตลูกสุกร กลุ่มจะทำการผลิตเพื่อป้อนฟาร์มในกลุ่มทั้งหมด กลุ่ม VPF กำลังดำเนินการขยายเฟส 3 จะมีสายงานการผลิตส่วน ของตัดแบ่งชิ้นส่วนการแปรรูปและการสร้างห้องเย็นแห่งใหม่ เป็นการขยาย จากห้องเย็นเดิม โดยห้องเย็นใหม่จะสามารถเก็บเนื้อสุกร และผลิตภัณฑ์สุกร ได้ถึง 1,000 เมตริกตัน ที่มา : ASIAN PORK, August 2015

40 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165


สุขอนามัยและคุณภาพ การขยายฟาร์ ม  อยู่ ใ นแผนการขยาย ธุ ร กิ จ ของบริ ษั ท ที่ จ ะทำการขยายไประดั บ ปลายน้ำ การแปรรูปอาหารและร้านค้าปลีก ในปี 2558 นี้ โดยใช้ “Healthy farm, happy pig” เป็นสโลนแกน ทีจ่ ะเป็นกลยุทธ์ในการช่วย สนับสนุนแผนธุรกิจ คุ ณ ปิ ย ภรณ์ รั ต นวาณิ ช โรจน์ ได้ ก ล่ า วถึ ง สโลแกนบริษัท จะเป็นการ สะท้ อ นภาพเนื้ อ สุ ก รของ บริ ษั ท ว่ า มาจากสิ น ค้ า คุณภาพ จากสุกรสุขภาพดี มี อ นามั ย สู ง ที่ มี ก ารเติ บ โตดี ภ ายใต้ ส ภาพ แวดล้อมที่ปลอดโรค และเป็นฟาร์มที่เป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อม โดยมีการนำระบบไบโอแก๊ส มาใช้ในการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยมี การใช้ระบบบำบัดน้ำเสียเป็น 2 บ่อพัก มาใช้ ในการบำบัดน้ำเสีย ภายใต้คอนเซ็ปต์ “healthy farm, happy pig” กลุม่ มีการบริหาร 3 ระดับ-สะดวกสบาย, สนุกกับอาหารดี และเสี่ยงต่ำกับการเกิดโรค น.สพ.ณัฐวุฒิ รัตนวาณิชยโรจน์ ผู้อำนวยการ ฟาร์ ม และอาหารสั ต ว์ ได้ กล่าวถึง 3 ระดับ ของการ บริ ห ารฟาร์ ม ซึ่ ง โยงถึ ง กิจกรรมการบริหารโรงเรือน การบริหารงานบุคคล การคัดเลือกสายพันธุ์ และการติ ด ตามผลการควบคุ ม โรคโดยโปรแกรมวัคซีนโดยการใช้ยาปฏิชวี ะนะ จะใช้เฉพาะ

เพื่อการรักษากรณีมีการติดเชื้อ หรือเกิดโรค ในกลุ่มสุกร โดย น.สพ.ณัฐวุฒิ รัตนวาณิชยโรจน์ ยังดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยย้ำถึงการใช้ ยาปฏิชีวนะ จะใช้ยามจำเป็นเท่านั้น การบริหารฟาร์ม และการจัดการด้าน วั ค ซี น เป็ น ภารกิ จ หลั ก ของการดำเนิ น งาน ของบริษัท โดยประสิทธิภาพของการบริหาร ฟาร์มต้องออกมาดีที่สุด เพื่อสุขภาพที่ดีของ ฝูงสุกร โดยมีโปรแกรมวัคซีนทีเ่ สริมภูมติ า้ นทาน และลดความเสีย่ งต่อการเกิดโรค โดยเป้าหมาย ที่ ต้ อ งการลดการใช้ ย าปฏิ ชี ว นะให้ น้ อ ยที่ สุ ด เท่าที่สามารถทำได้ ระบบของฟาร์ม จะเป็นฟาร์มปิด โดยใช้ ระบบ Evaporative System โดยฟาร์มพ่อ แม่พนั ธุใ์ ช้ All-in-All-out โดยมีเกณฑ์โรงเรือน อยูท่ ี่ 1.1 ตารางเมตรต่อสุกร โดยกระบวนการ คัดเลือกสายพันธุ์มีความสำคัญที่สุด คัดมาจะ เป็นทรัพยากรบุคคล เพื่อให้ได้บุคลากรที่มี คุณภาพ และอยู่กับบริษัทอย่างระยะยาว ซึ่ง จะทำให้การบริหารฟาร์มเป็นไปอย่างราบรื่น ฟาร์มได้ร่วมมือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในการพัฒนา Autogenous Vaccine ที่พัฒนามาจากจุลินทรีย์ เพื่อเพิ่มภูมิต้านทาน การแพร่กระจายของโรค PRRS และ PED เพราะฟาร์มจะมีการใช้ถนนสาธารณะร่วมกับ ฟาร์มอื่นๆ ซึ่งมีความเสี่ยงเรื่องโรคระบาดสูง โดยมีการระบาดของ PRRS เข้ามาในฟาร์มเมือ่ 3 ปีที่ผ่านมา โดยผลจากการใช้ Autogenous Vaccine ที่ให้ฟาร์มลดปัญหาการติดโรคลง เป็นอันมาก ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

41


VPF targets an annual production capacity of 300,000-350,000 finishers per year when expansion is completed in 2016.

สำหรับปัญหาโรค PED ทีฟ่ าร์มมีการใช้ Autogenous Vaccine ทีเ่ ก็บในอุณหภูมิ 80 Cํ ซึ่งเป็นวัคซีนเข้าทางปาก เพื่อเพิ่มภูมิต้านทาน ของฝูงสุกร ซึง่ วิธกี ารนีอ้ าจจะใช้ไม่ได้กบั ฟาร์ม อื่นๆ แต่เหมาะสมกับฟาร์ม VPF สำหรับแม่พันธุ์มีอัตราการสร้างลูกสุกร เฉลี่ย 27.5 ลูกสุกร ต่อแม่พันธุ์ต่อปี ซึ่งเป็น 92% ของปี 2557 ซึง่ มีเป้าปรับให้เป็น 93% ของปี 2557 เป้าหมายลูกสุกร 12 ตัวต่อครอก จากปี 2557 ที่ 11.8 ตัวต่อครอก ในฟาร์มสุกรขุน FCR เฉลีย่ 2.45-2.55 โดยมีน้ำหนักออกขายเฉลี่ย 110 กิโลกรัม/ตัว ส่วน ADG ตั้งเป้าที่ 750-800 กรัม เพื่อ เป้าหมายของคุณภาพซากที่ดี เทียบกับต้นทุน ที่ต่ำที่สุด

42 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165

กรณี ADG ต่ำกว่า 750 กรัม ถือว่า ประสิทธิภาพต่ำ เมือ่ พิจารณาจากการให้ความ สำคัญกับการคัดเลือกสายพันธุ์ โดยสูงกว่า 800 กรัม เทียบกับคุณภาพซากแล้ว สุกรจะมี ปริมาณไขมันสูง ซึง่ จะไปกระทบกับค่าอาหารที่ สูงขึ้นเมื่อเทียบกับคุณภาพซากที่ได้ ณ จุดนี้ ถือว่า VPF บรรลุเป้าหมาย คุณภาพซากที่ดี เหมาะสมกับต้นทุนการผลิต หมอณัฐวุฒกิ ล่าว ผสมผสานกับการมีโรงงาน อาหารสัตว์ และโรงเชือดเอง ทำให้รกั ษาระดับ ต้นทุนการผลิต และความสามารถในการทำ กำไรได้ดี



» ¶ ° ° µ¦­¦oµ ¢µ¦r¤ ¨³ ¨· °µ®µ¦­´ ªr

by


Market Leader

กำไรที่หาได้ง่ายจากระบบป้องกัน ทางชีวภาพ (Biosecurity) จริงหรือ?

• โดย น.สพ.มงคล ลำไย (หมอเอก) •

พอได้ อ่ า นหนั ง สื อ เกี่ ย วกั บ โรคในสุ ก ร ต่างๆ ท่านจะเห็นว่าสุดท้าย แนวทางป้องกัน โรคเหล่านั้นเหมือนกันหมดก็คือ ระบบป้องกัน ทางชีวภาพ (Biosecurity) พูดง่ายนะครับ!! แต่ ถ้าเราจะทำให้เกิดขึ้นจริงจัง มันก็ไม่ใช่เรื่อง ยากจนเกินไป บางครั้งเจ้าของฟาร์มอาจมอง ไม่เห็นภาพว่ามันสำคัญแค่ไหน ช่วยลดต้นทุน ค่ายา วัคซีน วิตามิน เกลือแร่ ในทางอ้อม ได้อย่างไร จึงมักจะไม่ค่อยให้ความสำคัญเท่า ที่ควร รวมไปถึงคนปฏิบัติงานระดับพนักงาน ดังนั้นเราต้องเริ่มทำความเข้าใจกันก่อนเลยว่า

“ระบบป้ อ งกั น ทางชี ว ภาพ (Biosecurity)” มันคืออะไร ทำอย่างไร สำคัญแค่ ไหน??? ระบบป้องกันทางชีวภาพ (Biosecurity) คือ การกำหนดกฎเกณฑ์ และแนวทางปฏิบัติ สำหรับฟาร์ม เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของ เชื้อโรค ไม่ว่าจะมาจากภายนอกฟาร์มเข้าสู่

ภายในฟาร์ ม หรื อ ป้ อ งกั น การแพร่ ร ะบาด ของเชื้อโรคระหว่างหน่วยงานการผลิตกันเอง ภายในฟาร์ม ซึ่งจะเห็นได้ว่าเวลาเกิดโรคใหม่ ขึ้นในฟาร์ม มักจะเริ่มจากที่มีการระบาดของ เชื้ อ โรคภายนอกฟาร์ ม ก่ อ นเป็ น อั น ดั บ แรก ฟาร์ ม ที่ มี ร ะบบป้ อ งกั น ทางชี ว ภาพที่ ไ ม่ ดี พ อ สุดท้ายโรคระบาดที่อยู่ภายนอกฟาร์มก็จะเข้า มาภายในฟาร์ม และพบว่าส่วนใหญ่เวลาเชื้อ โรคเข้ามาก็มักจะเริ่มเกิดที่หน่วยการผลิตใด ผลิ ต หนึ่ ง ก่ อ น เช่ น โรคปากและเท้ า เปื่ อ ย มักจะเกิดโรคในหน่วยสุกรขุนใหญ่ ถ้าการวาง ระบบป้องกันทางชีวภาพภายในฟาร์มไม่ดีพอ ก็จะพบว่ามีการแพร่ระบาดไปทั่วทุกหน่วยการ ผลิตภายในฟาร์ม ในบทความนี้จะเน้นเฉพาะ จุดเสี่ยงที่สำคัญที่ท่านเจ้าของฟาร์มต้องระวัง เป็นพิเศษ และกลับไปดูฟาร์มตัวเองก่อนว่ามี มาตรการที่เข้มงวดพอหรือยัง

ที่มา : TSVA Newsletter ฉบับที่ 31 : 2558 : 1686-2244 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

43


จุดที่ 1 เล้าขาย คือจุดที่เสี่ยงที่สุดแล้ว ที่จะนำเชื้อโรคเข้าสู่ฟาร์ม ผลจากการศึกษา ข้อมูลหลายๆ ที่ พบว่าเชื้อโรคเข้าสู่ฟาร์มผ่าน ทางเล้าขายมากกว่า 90% เนื่องมาจากรถ ลูกค้าที่มาซื้อสุกร โดยเฉพาะรถซื้อสุกรคัดทิ้ง รถลูกค้าเหล่านี้ก็จะซื้อสุกรหลายแหล่งซึ่งจะ เป็นคนนำพาเชือ้ โรคมายังเล้าขายของท่าน ซึง่ จะเห็นได้ว่า ระหว่างที่มีการขึ้นสุกร ลูกค้าก็ จะฉีดน้ำให้สุกรเพื่อลดความร้อน ความเครียด น้ำที่ฉีดล้างก็จะชะล้างสิ่งสกปรกต่างๆ บนรถ ลูกค้าไหลลงมาบนที่พื้นเล้าขายของฟาร์ม นั่น หมายความว่ามันอาจจะมีเชือ้ โรคจากฟาร์มอืน่ ๆ ปะปนกับน้ำที่ลูกค้าฉีดล้างมาด้วย พนักงาน เล้าขายก็อาจไปเหยียบน้ำที่ปนเปื้อนพาขึ้นไป บนเล้าขาย ขณะเดียวกันพนักงานขนย้ายสุกร ของฝ่ า ยผลิ ต ก็ ม าสั ม ผั ส ที่ เ ล้ า ขาย นำพา เชื้อโรคเข้าไปในโซนผลิต โรคระบาดก็เกิดการ ปะทุใจกลางโซนผลิต ดังนั้น การจัดการของ เล้ า ขายสำคั ญ มากที่ สุ ด ที่ จ ะเป็ น ตั ว ตั ด วงจร ของเชื้อโรคก่อนที่เชื้อโรคจะแพร่ผ่านเข้าไปใน โซนผลิต รายละเอียดที่ต้องไปจัดการมีดังนี้

6. หลังจากขายสุกรเสร็จในแต่ละวัน ต้อง ล้างทำความสะอาด และพ่นยาฆ่าเชื้อทุกครั้ง ให้ทั่วบริเวณ พนักงานขายต้องล้าง ทำความ สะอาด และจุ่มน้ำยาฆ่าเชื้อรองเท้าบู๊ททุกครั้ง

1. เล้ า ขาย ต้ อ งแยกจากส่ ว นผลิ ต ให้ ชัดเจน มีรั้วกั้นขอบเขตมิดชิด พื้นที่จอดรถ ลูกค้าต้องเป็นพื้นปูนซีเมนต์ แสงแดดส่องถึง มี ค วามลาดเอี ย งเพื่ อ ให้ น้ ำ ที่ ช ะล้ า งไหลลงสู่ ท่อระบายน้ำ พื้นปูนจะแห้งเร็วและง่ายต่อการ ทำความสะอาด

7. พนักงานเล้าขาย ห้ามเข้าไปในส่วน ของฝ่ายผลิตโดยเด็ดขาด และพนักงานขนย้าย สุกรของฝ่ายผลิต ห้ามลงมาสัมผัสกับพื้นเล้า ขายโดยเด็ดขาด ต้อนสุกรให้ลงจากรถเท่านั้น ต้องแยกส่วนกันให้ชดั เจน จุดนีแ้ หละทีจ่ ะนำพา เชือ้ โรคเข้าฟาร์มถ้าไม่ปฏิบตั กิ นั อย่างเคร่งครัด

2. ประตูทางเข้าเล้าขาย ควรแยกออก จากประตูทางเข้า-ออกฟาร์ม เพือ่ ป้องกันความ เสี่ยงที่เชื้อโรคจากรถลูกค้าจะปนเปื้อนกับรถ ของฟาร์ม เช่น รถพนักงาน รถขนส่งปัจจัย การผลิต รถขนส่งอาหาร

8. รถขนย้ายสุกรฝ่ายผลิตที่มาส่งสุกรที่ เล้าขายก็ตอ้ งมีการพ่นยาฆ่าเชือ้ โรคให้ทวั่ ก่อน กลับเข้าไปในฝ่ายผลิตอีกครัง้ บางฟาร์มทำเป็น อุโมงค์พ่นยาฆ่าเชื้อชั้นนอก (เข้า-ออกฟาร์ม) และชั้นใน (เข้า-ออกโซนผลิตสุกร)

44 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165

3. ต้องมีระบบพ่นยาฆ่าเชื้อโรคก่อนที่ รถลูกค้าจะผ่านเข้ารั้วมาสู่เล้าขาย และต้อง พ่นให้ทั่วรถ รวมถึงกรงจับสัตว์ด้วย อาจจะทำ เป็นอุโมงค์พน่ ยาฆ่าเชือ้ เหมือนกับจุดเข้า-ออก ฟาร์มเลยจะดีมาก เล้าขายบางที่จะมีสะพาน ส่งหมูยนื่ ออกไปนอกฟาร์มเลย และให้รถลูกค้า เข้ามารอรับสุกร ซึ่งจอดรถอยู่นอกฟาร์ม 4. พนักงานเล้าขาย ต้องมีการตรวจเช็ค และบันทึกว่ารถลูกค้าล้างทำความสะอาดมา หรือไม่ มีสุกรจากฟาร์มอื่นติดรถมาด้วยหรือ ไม่ ถ้าพบว่ามี ต้องไปทำความเข้าใจกับลูกค้า เรื่องการป้องกันโรค รถลูกค้าต้องไม่มีสุกร อื่นติดมาด้วย 5. ห้ามลูกค้าขึ้นบนเล้าขายของฟาร์ม โดยเด็ดขาด ไม่ว่ากรณีใดๆ ก็ตาม เพราะจะ เสี่ยงมากๆ กับการปนเปื้อน


9. สุกรทีข่ นมาไว้ทเี่ ล้าขายแล้ว ไม่วา่ เหตุผลใดก็ตาม เช่น คัดทิง้ ผิดตัว ห้ามนำกลับเข้าไปในโซนผลิตโดยเด็ดขาด 10. ต้องมีคนสุ่มตรวจเช็คการทำงานบนเล้าขายอย่างสม่ำเสมอ ว่าเป็นไปตามกฎเกณฑ์ทกี่ ำหนดไว้หรือไม่ ยาฆ่าเชือ้ ละลายในอัตราส่วน ที่ถูกต้องหรือไม่ จุดที่ 2 การเข้า-ออกหน้าฟาร์ม ต้องมีระบบพ่นยาฆ่าเชื้อโรค ทั้งคน และรถ บางฟาร์มทำเป็นอุโมงค์พ่นยาฆ่าเชื้อจะดีมาก บันทึก การเข้า-ออก ถ้าเป็นบุคคลภายนอกก็ต้องมีรองเท้าบู๊ทให้เปลี่ยน และ จุ่มน้ำยาฆ่าเชื้อโรคก่อนเข้าฟาร์ม กรณีที่มีข่าวการระบาดของโรค รอบนอกฟาร์ม ต้องงดการเข้าเยี่ยมของบุคคลภายนอก และควบคุม คนในฟาร์มให้มีการเข้า-ออกฟาร์มให้น้อยที่สุด เพื่อลดความเสี่ยงของ คนที่ออกไปนอกฟาร์มซึ่งอาจจะไปสัมผัสกับเชื้อโรค และนำเชื้อโรค ที่มีการระบาดอยู่ภายนอกฟาร์มเข้ามาในฟาร์มได้ จุดที่ 3 โซนของการเลี้ยงสุกร (ฝ่ายผลิต) 1. ต้องมีห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า ผ่านน้ำยาฆ่าเชื้อโรค และอาบน้ำ ก่อนเข้าไปในโซนการเลี้ยงสุกร 2. ต้องมีอา่ งจุม่ ยาฆ่าเชือ้ โรค และมีฝาปิด หน้าโรงเรือนทุกหลัง และเปลี่ยนถ่ายยาฆ่าเชื้ออย่างน้อย 3 ครั้ง/สัปดาห์

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

45


3. รองเท้าบู๊ทที่ใช้งานบนโรงเรือน กับ รองเท้าบู๊ทที่ใช้งานนอกโรงเรือน ควรแยก จากกัน อาจแยกโดยใช้สีที่ต่างกัน ป้องกันการ ปนเปื้อนเชื้อโรคไข่พยาธิที่อยู่ตามใบหญ้าเข้าสู่ โรงเรือนสุกร 4. ต้องไม่มสี ตั ว์เลีย้ งชนิดอืน่ ๆ อยูใ่ นโชน การผลิตสุกร เพื่อป้องกันความเสี่ยงโรคที่จะ แพร่ระบาดมาสู่สุกร 5. ต้ อ งมี ก ารกำจั ด สั ต ว์ พ าหนะนำโรค อย่างสม่ำเสมอ เช่น นก หนู แมลงสาบ โดย เฉพาะนก ชอบที่จะเข้ามากินอาหารสุกร เท้า ของนกอาจจะไปเหยียบมูลสุกรจากฟาร์มอื่นๆ แล้วปนเปื้อนมาสู่ฟาร์มท่าน สำหรับโรงเรือน เปิดต้องใช้ตาข่ายคลุมป้องกัน 6. บ่อทิ้งซากต้องมีฝาปิดมิดชิด ป้องกัน การเข้ามาของสัตว์ชนิดอืน่ ทีเ่ ข้ามากินซาก เช่น สุนัข แมว นก 7. พนักงานขนย้ายสุกร ห้ามเข้าโรงเรือนเลี้ยงสุกรโดยเด็ดขาด ให้เป็นหน้าที่ของ พนักงานประจำโรงเรือนในการต้อนสุกรขึ้นรถ 8. รองเท้ า บู๊ ท พนั ก งานขนย้ า ย รถ ขนย้ า ยภายในฟาร์ ม ต้ อ งมี ก ารล้ า งทำความ สะอาด และพ่นยาฆ่าเชื้อทุกครั้งเมื่อเสร็จงาน ในแต่ละวัน 9. อุปกรณ์ตา่ งๆ ก็ใช้ในโรงเรือนต้องได้ ผ่านการฆ่าเชื้อโรคอย่างเคร่งครัด 10. ต้ อ งมี ค นสุ่ ม ตรวจเช็ ค การทำงาน ของฝ่ายผลิตอย่างสม่ำเสมอ ว่าเป็นไปตาม กฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้หรือไม่ ยาฆ่าเชื้อละลาย ในอัตราส่วนที่ถูกต้องหรือไม่ 46 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165

จะเห็นได้ว่าหลายๆ เรื่องมันไปเกี่ยวข้อง กับพฤติกรรมคน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความ เคยชินที่ยากจะเปลี่ยนมาให้ทำตามกฎเกณฑ์ ที่ ก ำหนด แต่ ใ ช่ ว่ า จะเปลี่ ย นนิ สั ย กั น ไม่ ไ ด้ เจ้าของฟาร์ม ผู้จัดการฟาร์มต้องเป็นต้นแบบ และออกมาตรการกั น อย่ า งจริ ง จั ง และต่ อ เนือ่ ง ไม่มอี ะไรเกินความสามารถคนทีจ่ ะปฏิบตั ิ ได้ เพียงแต่เราต้องรณรงค์ช่วยกันให้ทุกคน รู้ ว่ า มั น สำคั ญ อย่ า งไร เวลาเกิ ด โรคระบาด เข้าฟาร์ม ฟาร์มเสียหายเท่าไหร่ ทุกคนต้อง เหนือ่ ยเพิม่ ขึน้ อีกเท่าไหร่ ค่ายา วัคซีน วิตามิน เกลื อ แร่ ต้ อ งเพิ่ ม ขึ้ น มาอี ก เท่ า ไหร่ ค่ า เสี ย โอกาสที่ไม่มีลูกสุกรเลี้ยงขายเป็นสุกรขุนอีก เท่าไหร่ การลงทุนกับระบบ Biosecurity บาง ฟาร์มอาจจะดูวา่ เยอะ ไม่เห็นมีอะไรคืนกลับมา แต่อย่าลืมว่า ถ้าโรคไม่เข้าฟาร์มเลย โอกาส ที่ท่านจะมีสุกรขาย ทำกำไรได้มากกว่าฟาร์ม ที่เป็นโรคแล้วไม่จบสิ้นสักที ยกตัวอย่างเช่น โรค PED, APP, PRRS, FMD โรคยอดฮิต ที่ ว นเวี ย นกั น เป็ น ในรอบ 2-3 ปี นี้ หลาย ฟาร์มเสียหายเยอะ ถึงขั้นเลิกเลี้ยงกันไปเลย ก็มี ดังนั้น ต้องกลับไปดูฟาร์มของท่าน ว่า ตรงไหนคื อ จุ ด อ่ อ น ช่ อ งโหว่ รี บ กลั บ ไป ปรับปรุง และวางมาตรการการป้องกันโรค แบบนี้จะยั่งยืนแลถาวร ตัดวงจรเชื้อโรคตั้งแต่ ต้น ส่วนการใช้ยา วัคซีน เป็นการแก้ปัญหา ที่ปลายเหตุ มีแต่ต้นทุนที่สูง และอาจมีสาร ตกค้างต่อผู้บริโภคด้วย


Market Leader

การจัดการ

สารพิษจากเชื้อรา

ในโรงงานอาหารสัตว์

การจัดและการลดความเสี่ยง จากการปนเปื้อนสารพิษ จากเชื้อราในโรงงานอาหารสัตว์ ปัจจุบันโรงงานอาหารสัตว์ได้ปรับตัวให้ รองรับมาตรฐานการควบคุมการผลิตเพื่อให้ ปลอดภัยต่อการบริโภคและป้องกันการสูญเสีย ระหว่ า งการผลิ ต โดยระบบที่ เ ป็ น ที่ รู้ จั ก ใน ปัจจุบนั ได้แก่ Good Manufacturing Process, GMP หรือ Hazard Analysis and Critical Control Points, HACCP ครอบคลุมถึงการ ป้องกันปัญหาจากอันตราย 3 สาเหตุ ได้แก่ อันตรายทางชีวภาพ ซึ่งเป็นอันตรายจากเชื้อ จุลนิ ทรีย์ อันตรายจากสารเคมี ระบบทีร่ บั รอง ความปลอดภัยของอาหารเหล่านี้ ช่วยสร้าง ความมั่นใจให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบการ เลี้ยงสัตว์ แต่อย่างไรก็ตาม การควบคุมความ สะอาดปลอดภั ย ของอาหารสั ต ว์ นั้ น ต้ อ ง วิเคราะห์ตามความเสี่ยงนั้นๆ ความเสี่ยงจาก สารพิษจากเชื้อรา (mycotoxins) เป็นปัญหาที่เพิ่มระดับความรุนแรง มากขึ้นในปัจจุบันเพราะมีพัฒนาการของวิธี

การตรวจทำให้พบการปนเปือ้ นของสารพิษจาก เชื้อราหลายชนิดมากขึ้น mycotoxin เป็นสาร เคมีชนิดหนึ่ง (second metabolite) ที่ผลิต โดยเชื้อราที่ปนเปื้อนอยู่ในพืชอาหารสัตว์ ใน ปัจจุบันมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน โดยกลุ่มใหญ่ๆ ทีพ่ บได้แก่ ฟูซาเรียม (Fusarium), แอสเปอจิลลัส (Aspergillus) และ เพนนิซเิ ซียม (Pennicillium) เชื้อรากลุ่ม ฟูซาเลียม เช่น F. trichoderm, F. roseum, F. graminearum, F. monoliformin มักจะผลิตสารพิษในกลุม่ Zearalenone, Vomitoxin (DON), T-2 และ Fumonisin และพบ การปนเปื้อนมากในแปลงปลูกวัตถุดิบอาหาร สัตว์ เช่น ข้าวโพด, ข้าวสาลี, ข้าวบาเล่ย์, ข้าวโอ๊ต, ฟาง และหญ้าหมัก ส่วนเชื้อรากลุ่ม แอสเปอจิลลัส เช่น A. flavus, A. paraciticus มักจะผลิตสารพิษกลุ่ม อะฟลาท็อกซิน บี, จี และ เอ็ม (Afltoxin B1, B2, G1, G2, M1 and M2) ในวัตถุดิบประเภท ข้าวโพด, ถั่ว, เมล็ดฝ้าย ส่วน เชื้อรากลุ่มเพนนิซิเลียม เช่น P. verrucosum and A. ochraceus ผลิต สารพิษกลุ่ม Ochratoxin ในวัตถุดิบ ข้าวโพด ข้าวบาเลย์, ข้าวฟ่าง และหญ้าหมัก ซึ่งการ

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

47


ปนเปื้อนของเชื้อราและสารพิษกลุ่มนี้มักพบใน สถานที่เก็บวัตถุดิบในโรงงานอาหารสัตว์ เช่น ตามที่อับชื้น อากาศไม่ถ่ายเท และแสงน้อย เช่นเดียวกันกับกลุ่ม อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน ยังมีเชือ้ ราอีกหลายกลุม่ ทีส่ ามารถผลิตสารพิษ รวมได้หลากหลายชนิด ซึง่ ปัจจุบนั มีการค้นพบ สารพิษทั้งหมดมากกว่า 1,000 ชนิด อาการของสารพิษแต่ละชนิดต่อสัตว์นั้น มีความรุนแรงไม่เท่ากัน ซึง่ ขึน้ อยูก่ บั หลายปัจจัย เช่น ชนิดสัตว์ อายุ และการรวมตัวกันของ สารพิษแต่ละชนิดทำให้เกิดความรุนแรงที่เพิ่ม มากขึ้นในตัวสัตว์ ทั้งแบบส่งเสริม additive และแบบเสริมฤทธิ์กันอย่างรุนแรง synergism โดยอาการโดยทัว่ ไปทีเ่ กิดจากสารพิษหลักกลุม่ ดังกล่าว สร้างความเสียหายต่อการผลิตสัตว์ เป็นอย่างมาก เช่น การกดภูมิคุ้มกัน ทำให้ โรคอื่นแทรกซ้อนได้ง่าย ตับถูกทำลาย อาการ ผสมไม่ติด ลดการกินอาหาร วิการที่ปากและ ลำไส้ ลดประสิทธิภาพการเจริญเติบโต และ อาการทางระบบประสาท เป็นต้น เนื่องจากสารพิษผลิตจากเชื้อรา เมื่อมี สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการผลิตสารเหล่านี้ เช่น เมื่อเชื้อราหมดอาหาร หรือต้องการดำรงสายพันธุ์ ดังนั้น เชื้อราจะทำการผลิตสปอร์เพื่อ ขยายพั น ธุ์ ภายในสปอร์ ข องเชื้ อ รานั้ น เอง ประกอบไปด้วยสารสี ซึ่งได้แก่ สารพิษชนิด ต่างๆ กัน ดังนัน้ เมือ่ มีการเจริญของเชือ้ ราและ สารพิษ เราสามารถสังเกตุเห็นจากสีของสปอร์ ที่เกิดขึ้นตามวัตถุดิบอาหาร เช่น สีส้ม สีเขียว สีชมพู สีดำ หรือสีฟ้า และอื่นๆ อีกมาก และ อาจจำแนกชนิดของเชื้อราที่ผลิตสีได้เนื่องจาก มีความใกล้เคียงกัน ต้องใช้วิธีการตรวจสอบ 48 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165

ชนิดของเชื้อราที่เกี่ยวข้องด้วยวิธีทางชีวเคมี หรือระบุด้วยพันธุศาสตร์ เชื้อรามีความแตกต่างจากสารพิษจาก เชือ้ ราในแง่การควบคุมการปนเปือ้ นในโรงงาน อาหารสัตว์ เนื่องจากเชื้อรามักจะถูกนิยามว่า เป็นจุลนิ ทรียท์ ใี่ ช้วตั ถุดบิ เป็นแหล่งอาหาร และ ทำให้เกิดการเน่าเสียของอาหารชนิดนั้นๆ แต่ สารพิษจากเชื้อราเป็นสารเคมี หรือสารพิษที่ เชือ้ ราผลิตขึน้ หลังจากเจริญเต็มทีแ่ ล้ว ประเด็น ที่สำคัญของความแตกต่างระหว่างเชื้อราและ สารพิษที่สำคัญ คือ เชื้อราถูกทำลายได้ด้วย ความร้อน ความดันระหว่างอุณหภูมอิ ดั เม็ด (80120 °C) หรือควบคุมไม่ให้เจริญ หรือเจริญได้ ช้าด้วยการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมต่อ การเจริญเติบโต เช่น มีอากาศถ่ายเท มีแสง เพียงพอ มีการปนเปือ้ นของเมล็ดแตกหัก (broken grain) และมีความชื้นภายในเมล็ดต่ำกว่า 14% หรือต่ำกว่า 12% ในวัตถุดบิ ที่มีลกั ษณะ ที่ไม่มีเปลือกหุ้มเมล็ดเช่น ground corn, soybean meal, DDGS, rice bran, palm kernel meal and copra meal. สารพิ ษ จากเชื้ อ รา เป็ น สารเคมี ที่ ไ ม่ สามารถทำลายได้ดว้ ยความร้อน หรือความดันที่ เครื่องอัดเม็ด และอาจต้องใช้สารเคมีที่มีความ เข้มข้นสูง เช่น มีความเป็นด่าง หรือเป็นกรดสูง ซึ่งไม่สามารถใช้ได้ในกระบวนการผลิตอาหาร สัตว์โดยทัว่ ไป ดังนัน้ ในการควบคุมสารพิษจาก เชือ้ ราจึงมักใช้วธิ กี ารเปลีย่ นโครงสร้างสารเคมี เพื่อลดทอนความเป็นพิษ หรือทำลายความ เป็นพิษลงโดยการใช้เอนไซม์ (enzyme) แต่ ปั ญ หาที่ เ กิ ด ขึ้ น จาการใช้ เ อนไซม์ มี ม ากกว่ า เนื่องจากเอนไซม์เป็นโปรตีนและถูกทำลายได้


ง่าย และมีความจำเพาะต่อสารพิษสูง ดังนั้น หากมีสารพิษหลายชนิดปนเปือ้ นก็ตอ้ งใช้เอนไซม์ หลายชนิดร่วมกัน ดังนั้นการใช้ตัวจับสารพิษ (mycotoxin binder) จึงเป็นที่นิยม ทั้งในเรื่อง ความคงทนต่ อ อุ ณ หภู มิ อั ด เม็ ด และการเก็ บ รักษา ตัวจับสารพิษทำหน้าทีจ่ บั และขับสารพิษ ออกจากร่างกายสัตว์ ก่อนที่จะถูกดูดซึมเข้าไป ยังกระแสเลือดและอวัยวะเป้าหมาย จึงเป็นวิธี ที่นิยมมากกว่า ทั้งในเรื่องความปลอดภัยใน การใช้ แ ละประสิ ท ธิ ภ าพในการใช้ อย่ า งไร ก็ตาม ปริมาณของตัวจับสารพิษต้องสอดคล้อง กันกับความเสี่ยงทั้งเรื่องเชื้อรา และชนิด และ ปริมาณของสารพิษในระหว่างการผลิตอาหาร สั ต ว์ ซึ่ ง มี ค วามเสี่ ย งแต่ ล ะช่ ว งเวลาไม่ เ ท่ า กั น ดังนั้น ออลเทคจึงได้มีทีมงานที่เข้าไปทำงาน ร่วมกับฟีดมิลล์ในการลดความเสีย่ งจากสารพิษ ที่เพิ่มขึ้นระหว่างการผลิต

ในการปรั บ หลั ก การ HACCP เพื่ อ ควบคุมการปนเปือ้ นของสารพิษจากเชือ้ ราของ บ. ออลเทค นั้น ใช้ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. วิเคราะห์และระบุอนั ตราย หรือความ เสี่ยง และปัญหาของสารพิษจากเชื้อรา (Identify a risk analyses) 2. การหาจุดวิกฤตทีต่ อ้ งควบคุม (Determine Critical Control Point) 3. การกำหนดค่าวิกฤตของแต่ละวิกฤต (Establish Critical Limits for each CCP) 4. การกำหนดการตรวจติ ด ตาม ใช้ คำถามดังนี้ (Establish A Monitoring Procedures of each CCPs) 5. การกำหนดวิธีการแก้ไข (Establish Corrective Actions) 6. การกำหนดวิธีการทวนสอบ (Establish Verification Procedures) ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

49


7. การกำหนดวิธจี ดั ทำเอกสาร และการ จัดเก็บบันทึกข้อมูล (Establish procedures for record keeping) ขั้นตอนการผลิตอาหารสัตว์ในโรงงาน อาหารสัตว์ ส่วนใหญ่มักจะเริ่มจากการรับซื้อ วัตถุดบิ จากผูผ้ ลิต ซึง่ อาจเป็นการนำเข้า ดังนัน้ ต้องย้อนไปตรวจสอบความเสี่ยงตั้งแต่ต้นทาง ว่าผูผ้ ลิตวัตถุดบิ อาหารสัตว์นนั้ ได้มกี ารตระหนัก และป้องกันปัญหาการปนเปื้อนเชื้อราระหว่าง การปลูก การตากแห้ง และการขนส่งมากน้อย เพียงใด เนือ่ งจากเชือ้ ราสามารถผลิตสารพิษได้ ระหว่างขัน้ ตอนดังกล่าว หากมีสภาวะแวดล้อม ที่เหมาะสม ดังนั้นจะเห็นได้ว่าสารพิษได้มีการ ปนเปือ้ นมาตัง้ แต่กอ่ นถึงโรงงานแล้ว ในระหว่าง การตรวจรับวัตถุดิบ ก็จำเป็นต้องตรวจสอบ วัตถุดบิ หลายส่วนทีเ่ กีย่ วข้อง เช่น เมล็ดแตกหัก สิ่งปลอมปน ความชื้น และชนิดและปริมาณ ของสารพิษจากเชื้อราที่เป็นปัญหาหลักๆ ของ สัตว์แต่ละชนิด ระหว่างการเก็บรักษาวัตถุดิบก็มีความ สำคัญ ทั้งส่วนที่เก็บในถัง ไซโลขนาดใหญ่ หรือเก็บในห้องเก็บวัตถุดิบก็ต้องมีการควบคุม สภาวะแวดล้อมไม่ให้เอื้อต่อการเจริญเติบโต ของเชือ้ รา และต้องมีการวางแผนการเก็บไม่ให้ ยาวนานเกินไป หรือถ้าต้องเก็บนานเกินกว่า 3 เดือน ก็ตอ้ งมีมาตรการลดการปนเปือ้ น เช่น ใช้สารควบคุมการเจริญของรา เช่น mold inhibitor กลุ่ม อะซิติกแอซิด (acetic acid), โพรพิโอนิกแอซิด (propionic acid) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ระยะเวลาการเก็บขึน้ อยูก่ บั ปัจจัย อีกหลายอย่าง เช่น ความชื้นในอากาศ หรือ คุณภาพของวัตถุดิบที่เก็บ หากอากาศชื้นมาก อาจต้องลดเวลาการเก็บให้สั้นลง 50 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165

ในอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในการผลิต ส่วน ใหญ่มักต้องสำรวจข้อบกพร่องและทำความ สะอาดอยู่เป็นประจำเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสม ของเชื้อรา หรือเชื้อโรคอื่นๆ โดยแนะนำให้ทำ ความสะอาดสัปดาห์ละครัง้ ในบริเวณทีส่ ามารถ ทำความสะอาดได้ เช่น บริเวณทีม่ กี ารเทวัตถุดบิ (intake chamber) เครือ่ งโม่ (grinding/hammer mill) เครื่องผสม (mixing tank) เครื่องอัดเม็ด (pelleting) เครื่องเป่าลมเย็น (cooler) และ บริเวณหัวจ่ายอาหารสำเร็จ (packaging duck) นอกจากเครือ่ งจักร และอุปกรณ์ตา่ งๆ ดัง กล่าวทีต่ อ้ งมีการทำความสะอาดอยูเ่ ป็นประจำ แล้ ว การสุ่ ม ตรวจนั บ จำนวนเชื้ อ ราก็ มี ส่ ว น ทำให้มองภาพรวมของความเสี่ยงได้ดียิ่งขึ้น เนื่องจากเราไม่สามารถตรวจวัดปริมาณเชื้อรา ปนเปื้อนได้ด้วยตาเปล่า ดังนั้นวิธีการ swap test ตามจุดต่างๆ เพื่อตรวจนับเชื้อรา total mold count ก็สามารถบ่งบอกความสะอาด และความเสีย่ งทีจ่ ะเกิดการปนเปือ้ นของสารพิษ ในอนาคตได้ เช่น ปริมาณเชื้อราควรต่ำกว่า 105 cfu/ml. สิง่ แวดล้อมในสถานประกอบการก็มสี ว่ น ทำให้เกิดการปนเปือ้ นจากสารพิษได้ เนือ่ งจาก สารพิษที่อยู่ในสปอร์ของเชื้อรา สามารถฟุ้ง กระจายไปในอากาศได้ ดังนัน้ หากมีการสะสม ของฝุน่ ตามพืน้ ตามผนัง หรือถุงบรรจุวตั ถุดบิ และขยะที่ไม่ได้แยกบริเวณจัดเก็บชัดเจน ก็เป็น แหล่งสะสมของเชื้อรา แมลง และมอด ซึ่ง สามาถไต่ไปตามที่ต่างๆ และสามารถนำสปอร์ ของเชื้อราไปปนเปื้อนในขั้นตอนการผลิตได้ การออกแบบโรงงานอาหารก็มสี ว่ นสำคัญ ในการช่ ว ยลดการเจริ ญ ของเชื้ อ รา ซึ่ ง เป็ น


ขั้นตอนหลักในการเริ่มปฏิบัติงาน การผลิตอาหารสัตว์ อย่างไรก็ตาม ผู้ที่อยู่ในส่วนต่างๆ ตั้งแต่ ผู้จัดซื้อวัตถุดิบ ฝ่ายตรวจรับ ฝ่ายควบคุมคุณภาพ ฝ่ายผลิต และฝ่ายขนส่งต้องมีความเข้าใจ อย่างถูกต้องตรงกันถึงแนวทางในการเกิดสารพิษและการป้องกันอย่างถูกวิธี อย่างไรก็ตาม การนำอาหารที่สะอาดส่งไปยังฟาร์มก็เป็นอีกส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างมากในการปนเปื้อนของเชื้อรา และสารพิษ โดยอาจปนเปื้อนอยู่ตามโรงเรือนและอุปกรณ์การให้อาหารและน้ำ ตลอดจนผู้ผลิต และดูแลสัตว์ ต้องหมั่นดูแลความสะอาดและสังเกตอาการที่เกี่ยวข้องกับสารพิษอยู่เป็นประจำ เพื่อให้เกิดความเสียหายจากความเป็นพิษให้น้อยที่สุด Nattawadee Jantasila, Ph.D. (Biotechnology) Technical Support-Mycotoxin Management Team Alltech Corp. Ltd.

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

51


Market Leader

รายงานการสำรวจข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ครั้งที่ 3/2558 โดย คณะสำรวจสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ระหว่างวันที่ 27-30 ตุลาคม 2558

รายชื่อผู้เข้าร่วมสำรวจ 1. นายเกษียร แสร์สุวรรณ 2. นายกรชัยวัส พานแก้ว 3. นางนิภาพร โรจน์รุ่งเรืองกิจ 4. นางสาวลาวัณย อนุวัฒนา 5. นางสาวชุลีพร ยิ่งยง 6. นางสาวลัดดา แก้วกาหลง 7. นางสาวอัญชนา ผิวเกลี้ยง 8. นายศุภชัย วิเศษสุข 9. นางสาวนิชนันท์ วัตถุรัตน์ 10. นางสาวทิพย์วรรณ โพธิ์งามวงศ์ 11. นางสาวฐิติพร อ่ำทรัพย์ 12. นางสาวกัณฑลี สระทองเทียน 13. นางสาวกัญญ์จิรา ศิลปนุภกิจ 14. นางสาวจุฑามาศ วัฒนสินพาณิช 15. นายอรรถพล ชินภูวดล 16. นางสาววริศรา ธรรมเจริญ

บริษัท ท็อป ฟีด มิลล์ จำกัด บริษัท ท็อป ฟีด มิลล์ จำกัด บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท ยูไนเต็ดฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท พนัสโภคภัณฑ์ จำกัด บริษัท เซนทาโกไซโล จำกัด บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทย ฟู้ดส์ อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท ลีพัฒนาอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท ลีพัฒนาอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท ซันฟีด จำกัด บริษัท ซันฟีด จำกัด บริษัท กรุงไทยอาหาร จำกัด (มหาชน) สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

การสำรวจข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ครั้งที่ 3/2558 ระหว่างวันที่ 27-30 ตุลาคม 2558 เป็นการออกสำรวจในพื้นที่จังหวัดอุทัยธานี-กำแพงเพชร-พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-ตาก ซึ่งทางคณะ สำรวจได้มีการรวบรวมข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และสำนักงานเกษตรจังหวัด นอกจากนีท้ างคณะสำรวจยังได้เข้าพบกับพ่อค้าในพืน้ ที/่ ไซโล และยังได้เข้าสอบถามข้อมูลเพิม่ เติม จากทางเกษตรกรในพื้นที่นั้นๆ อีกด้วย เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนสำหรับนำมาใช้ประกอบการ พิจารณา ซึ่งสรุปผลการวิเคราะห์ได้ดังนี้ 52 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165


การเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ฤดูกาลปี 2558/59 ในพื้นที่ที่สำรวจ ช่วงต้นฤดูกาล เพาะปลูกฝนตกล่าช้ากว่าปกติ และพืน้ ทีป่ ระสบภาวะภัยแล้ง ส่งผลกระทบต่อมันสำปะหลังเสียหาย และอ้อยโรงงานประสบกับโรคหนอนกอระบาด อีกทัง้ ยังมีพนื้ ทีส่ ว่ นหนึง่ ทีค่ รบอายุตดั อ้อยโรงงาน รวมทัง้ พืน้ ทีน่ าข้าวทีป่ ระสบกับภาวะขาดแคลนน้ำ ทำให้เกษตรกรปรับเปลีย่ นมาเพาะปลูกข้าวโพด ทดแทน จึงคาดการณ์ว่ามีพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้นในจังหวัดอุทัยธานี และพิษณุโลก มีเพียงจังหวัด อุตรดิตถ์ ที่มีพื้นที่เพาะปลูกลดลงเพียงเล็กน้อย เนื่องจากเกษตรกรหันไปปลูกสับปะรดเพิ่มใน บางพื้นที่ เนื่องจากยังมีความต้องการของตลาดสูง ส่วนในพื้นที่ของจังหวัดกำแพงเพชรให้คง พืน้ ทีเ่ ท่ากับปีทแี่ ล้ว จากการลงพืน้ ทีห่ ลัก ทำให้ไม่สามารถคาดการณ์ปริมาณพืน้ ที่ และผลผลิตได้ นอกจากนี้ ยังมีพนื้ ทีข่ องจังหวัดตาก ให้คงพืน้ ทีเ่ ท่ากับปีทแี่ ล้วเช่นเดียวกัน เนือ่ งจากปริมาณน้ำที่ สมบูรณ์และความชำนาญของเกษตรกรในการเพาะปลูกทำให้คุณภาพ และผลผลิตของข้าวโพด เลีย้ งสัตว์ในพืน้ ทีน่ ม้ี คี ณ ุ ภาพดีพอสมควร จึงเป็นไปได้นอ้ ยมากทีเ่ กษตรกรจะหันไปปลูกพืชชนิดอืน่ ทางด้านผลผลิตคาดว่าน่าจะทยอยออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลผลิตในช่วงนี้ส่วนใหญ่ จะเป็นแบบฝักสด หรือสีเมล็ดสด ที่ความชื้น 30% ซึ่งคาดว่าจะมีการเก็บเกี่ยวผลผลิตไปจนถึง เดือนมกราคม2559 ส่วนในพื้นที่ราบสูง (ลาดชัน) เกษตรกรจะเก็บเกี่ยวผลผลิตส่วนหนึ่ง ทยอยเข้าสู่ลานพ่อค้าพื้นที่/ท้องถิ่น พร้อมกับคัดคุณภาพดีเก็บเข้ายุ้งฉางเพื่อรอราคา และคาดว่า จะเริ่มทยอยนำออกสู่ตลาดมาขายเรื่อยๆ น่าจะส่งผลให้ผลผลิตออกสู่ตลาดได้ต่อเนื่องไปจนถึง เดือนเมษายน 2559 ในช่วงสำรวจราคารับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ราคาเฉลี่ยเมล็ดสด 6 บาทต่อกก. ที่ความชื้น 30% และราคาเฉลี่ยฝักสด 4.2-4.7 บาทต่อกก. ที่ความชื้น 30% ส่วนราคาเฉลี่ยเมล็ดแห้ง รับซื้อ 8 บาทต่อกก. ที่ความชื้น 14.5% ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบราคารับซื้อในช่วงเดียวกันนี้กับปี ที่แล้วถือว่าราคาปีนี้ยังสูงกว่าปีที่แล้ว และในส่วนของต้นทุนการเพาะปลูกก็เช่นเดียวกัน ซึ่งมี ในส่วนของค่าเมล็ดพันธุ์ ค่าปุ๋ย และค่าแรงงานที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดตาก ที่มีปัญหาเรื่องการขาดแคลนแรงงานสำหรับการเพาะปลูก และเก็บเกี่ยวผลผลิต ตารางสรุปผลผลิตในพื้นที่สำรวจ พื้นที่ปลูก (ไร่) ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ (กิโลกรัม) จังหวัด ปี ปี ปี ปี 57/58 58/59 เพิ่ม/ลด 57/58 58/59 เพิ่ม/ลด อุทัยธานี 108,659 124,958 15% 756 763 1% กำแพงเพชร 62,305 62,305 0% 670 670 0% พิษณุโลก 245,679 257,963 5% 730 737 1% อุตรดิตถ์ 176,265 174,502 -1% 651 651 0% ตาก 669,729 669,729 0% 690 700 1.5% รวม 1,262,637 1,289,457 2.12% -

ผลผลิตรวม (ตัน) ปี ปี 57/58 58/59 เพิ่ม/ลด 82,146 95,343 16.07% 41,744 41,744 0% 179,345 190,119 6% 114,748 113,601 -1% 462,109 468,810 1.45% 880,092 909,617 3.35% ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

53


จังหวัดอุทัยธานี แหล่งข้อมูล : ร้านเมฆเมืองนนท์ อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี ฤดูกาลผลิต ปี 2557/2558 ปี 2558/2559 เพิ่ม/ลด (%)

พื้นที่เพาะปลูก (ไร่) 108,659 124,958 15%

ผลผลิตต่อไร่ (กก.) 756 763 1%

ผลผลิตรวม (ตัน) 82,146 95,343 16%

สภาพทั่วไป จังหวัดอุทัยธานี มีพื้นที่เพาะปลูก 124,958 ไร่ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วประมาณ 15% เนือ่ งจากมีพนื้ ทีท่ ปี่ ลูกมันสำปะหลัง และอ้อยโรงงาน บางส่วนได้เปลีย่ นกลับมาเพาะปลูกข้าวโพด เลี้ยงสัตว์เหมือนเดิม เนื่องจากอ้อยโรงงานและมันสำปะหลังที่ในพื้นที่ที่ปลูกได้รับความเสียหาย จากภาวะภัยแล้ง นอกจากนี้ยังมีพื้นที่นาข้าวที่ประสบปัญหาภาวะภัยแล้ง ปริมาณน้ำไม่เพียงพอ ต่อการทำนาข้าว จึงปรับเปลี่ยนมาเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทดแทน จึงเป็นเหตุให้เพิ่มพื้นที่ เพาะปลูก ผลผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ 763 กก. ต่อไร่ เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วประมาณ 1% เนื่องจากผลผลิต รุ่น 1 ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งเพียงเล็กน้อย และผลผลิตในรุ่น 2 ฝนตกลงมาในพื้นที่ ได้ในช่วงจังหวะเวลาที่เหมาะสม ทำให้ได้รับปริมาณน้ำฝนเพียงพอต่อการเจริญเติบโต จึงคาดว่า น่าจะทำให้ได้ผลผลิตที่ดีมีคุณภาพมากขึ้น ผลผลิตรวม 95,343 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วประมาณ 16% ส่วนต้นทุนด้านการผลิต ของเกษตรกรอยู่ที่ประมาณ 3,000-4,000 บาท/ไร่ (รวมค่าเช่าที่ 1,500-2,000 บาท/ไร่/ปี) ราคารับซื้อผลผลิตอยู่ที่ประมาณ 6 บาทต่อกก. เมล็ดสด ที่ความชื้น 30%

54 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165


จังหวัดกำแพงเพชร แหล่งข้อมูล : ฤดูกาลผลิต ปี 2557/2558 ปี 2558/2559 เพิ่ม/ลด (%)

พื้นที่เพาะปลูก (ไร่) 62,305 62,305 0%

ผลผลิตต่อไร่ (กก.) 670 670 0%

ผลผลิตรวม (ตัน) 41,744 41,744 0%

สภาพทั่วไป ด้วยทางคณะสำรวจให้ข้อมูลเท่ากับปีที่แล้ว เนื่องจากในการลงพื้นที่สำรวจครั้งนี้ คณะ สำรวจลงพื้นที่เส้นหลัก ทำให้ไม่เห็นพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้อย่างเต็มที่ จึงขอไม่ คาดคะเนพื้นที่เพาะปลูก และปริมาณผลผลิตได้

จังหวัดพิษณุโลก

แหล่งข้อมูล : ร้านอานกี่ อำเภอวังทอง, ร้าน อ.เจริญชัย อำเภอนครไทย, ร้านอนาวิน อำเภอชาติตระการ, เกษตรกรคุณประภาด อำเภอนครไทย และคุณแห่ม วุดธา อำเภอชาติตระการ ฤดูกาลผลิต ปี 2557/2558 ปี 2558/2559 เพิ่ม/ลด (%)

พื้นที่เพาะปลูก (ไร่) 245,679 257,963 5%

ผลผลิตต่อไร่ (กก.) 730 737 1%

ผลผลิตรวม (ตัน) 179,345 190,119 6%

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

55


สภาพทั่วไป จังหวัดพิษณุโลก มีพื้นที่เพาะปลูก 257,963 ไร่ ซึ่งเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปีที่แล้วประมาณ 5% เนื่องจากมีพื้นที่นาข้าวบางส่วนปรับเปลี่ยนมาเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์แทน เพราะความ ต้องการใช้น้ำน้อยกว่า และข้าวโพดมีราคาจูงใจที่สูงกว่า ผลผลิตเฉลี่ย 737 กก.ต่อไร่ ซึ่งเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยจากปีที่แล้วประมาณ 1% เนื่องจาก ผลผลิตในรุ่นที่ 1 ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งเพียงเล็กน้อย และผลผลิตข้าวโพดรุ่นที่ 2 ฝนตก ลงมาในช่วงจังหวะที่เหมาะสมทำให้ปริมาณน้ำฝนเพียงพอต่อความต้องการในการเติบโตของ ข้าวโพด ส่งผลให้คุณภาพของผลผลิตดีขึ้นกว่าผลผลิตช่วงต้นฤดู การเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวโพดจะเริ่มทยอยออกสู่ตลาด ช่วงเดือนตุลาคมจนถึงกลางเดือน พฤศจิกายน หลังจากนั้นน่าจะเป็นข้าวโพดที่เกษตรกร เก็บเข้ายุ้งฉาง จะทยอยนำออกมาขาย เรื่อยๆ ผลผลิตรวม 190,119 ตัน เพิม่ ขึน้ จากปีทแี่ ล้วประมาณ 6% ต้นทุนการผลิตของเกษตรกร เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 2,500-3,000 บาท/ไร่ ซึ่งในบางพื้นที่อาจสูงกว่านี้ ขึ้นอยู่กับความใกล้-ไกล ของแหล่งน้ำ ส่วนราคารับซื้อผลผลิต 5.70-6 บาทต่อกก. เมล็ดสดที่ความชื้น 30% และราคา ฝักสด 4.20-4.70 บาทต่อกก. ความชื้นอยู่ที่ 30%

จังหวัดอุตรดิตถ์ แหล่งข้อมูล : สหกรณ์เพื่อการเกษตร และตลาด ฤดูกาลผลิต ปี 2557/2558 ปี 2558/2559 เพิ่ม/ลด (%)

พื้นที่เพาะปลูก (ไร่) 176,265 174,502 -1%

ผลผลิตต่อไร่ (กก.) 651 651 -

ผลผลิตรวม (ตัน) 114,748 113,601 -1%

สภาพทั่วไป จังหวัดอุตรดิตถ์ มีพื้นที่เพาะปลูก 174,502 ไร่ ลดลงจากปีที่แล้วประมาณ 1% เนื่อง จากมีเกษตรกรบางส่วนปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นๆ อาทิเช่นสัปปะรด ถั่วเขียว ฯลฯ แทนการ เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จากการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากทางสหกรณ์เพื่อการเกษตรและ ตลาดของอำเภอบ้านโคก ได้ข้อมูลมาว่า พื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดรุ่นที่ 2 ได้ปรับเปลี่ยนไปปลูก ถัว่ เขียวผิวมันทดแทน เนือ่ งจากฝนตกลงมาล่าช้าไปร่วมเดือน ส่งผลให้เกษตรกรเพาะปลูกข้าวโพด ไม่ทัน แต่สำหรับในพื้นที่อื่นๆ เช่น อำเภอน้ำปาดยังคงเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เหมือนเดิม 56 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165


ผลผลิตเฉลี่ย 651 กก.ต่อไร่ เท่ากับปีที่แล้ว แม้ว่าผลผลิต รุ่นที่ 1 จะได้รับผลกระทบจากภาวะภัยแล้งไปบ้าง โดยเฉพาะ อำเภอตรอน แต่ในพื้นที่ที่ลงเพาะปลูกข้าวโพดต่อรุ่นที่ 2 นั้น ส่ ว นใหญ่ พื้ น ที่ เ พาะปลู ก ได้ รั บ น้ ำ ฝนในจั ง หวะที่ เ หมาะสม เพียงพอต่อการเจริญเติบโต และคาดว่าจะทำให้ได้ผลผลิตดี ผลผลิตรวม 113,601 ตัน ลดลงจากปีที่แล้วประมาณ 1% ส่วนทางด้านต้นทุนการผลิตของเกษตรกรมีการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ในส่วนของค่าแรง

จังหวัดตาก

แหล่งข้อมูล : ร้านกัญญาการกษตร อำเภอพบพระ เกษตรกรคุณสุพจน์ อำเภอแม่สอด และเกษตรกรเผ่าม้ง อำเภอพบพระ ฤดูกาลผลิต ปี 2557/2558 ปี 2558/2559 เพิ่ม/ลด (%)

พื้นที่เพาะปลูก (ไร่) 669,729 669,729 -

ผลผลิตต่อไร่ (กก.) 690 700 1.50%

ผลผลิตรวม (ตัน) 462,109 468,810 1.45% ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

57


สภาพทั่วไป จังหวัดตาก มีพื้นที่เพาะปลูก 669,729 ไร่ เท่ากับปีที่แล้ว เนื่องจากในการสำรวจ ยังไม่พบเห็นโครงการสวมหมวก หรือใส่รองเท้าให้ภูเขา ยังคงเห็นพื้นที่เพาะปลูกของเกษตร อยู่บนยอดเขา ส่วนการปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นๆ นั้น ในพื้นที่เป็นคาดว่าน่าจะเป็นไปได้ น้อยมาก เนื่องจากผลผลิตได้ดี นอกจากนี้ยังไม่ได้รับผลกระทบของปัญหาภาวะภัยแล้ง ผลผลิตเฉลี่ย 700 กก.ต่อไร่ เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วประมาณ 1.5% เนื่องจากมีการบริหาร การจัดการในพื้นที่ที่ดีขึ้น มีการใช้เทคโนโลยีทางด้านเครื่องจักรกลการผลิตเพิ่มขึ้น และยังมีการ เลือกใช้เมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพมากขึ้นอีกด้วย ผลผลิตรวม 468,810 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วประมาณ 1.45% ต้นทุนการผลิตของ เกษตรกรอยู่ที่ประมาณ 2,000-3,000 บาท/ไร่ การเก็บเกี่ยวผลผลิตขอเกษตรกร มักจะเก็บ เข้ายุ้งฉาง และจะเริ่มทยอยผลผลิตออกสู่ตลาดมาขายในช่วงเดือน พ.ย. 2558 - เม.ย. 2559 ส่วนราคารับซื้อผลผลิต 4.3-4.7 บาทต่อกก. ฝักสดที่ความชื้น 30% นอกจากนี้ในพื้นที่ยังมี ปัญหาเรื่องขาดแคลนแรงงาน ทั้งแรงงานไทย และต่างประเทศ

58 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165




Market Leader

รายงานการสำรวจข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ครั้งที่ 4/2558 โดย คณะสำรวจสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ระหว่างวันที่ 23-27 พฤศจิกายน 2558

รายชื่อผู้เข้าร่วมสำรวจ 1. นางนิภาพร โรจน์รุ่งเรืองกิจ 2. นางสาวจุฑามาศ วัฒนสินพาณิช 3. นางสาวทิพย์วรรณ โพธิ์งามวงศ์ 4. นางสาวฐิติพร อ่ำทรัพย์ 5. นางสาวกัณฑลี สระทองเทียน 6. นางสาวกัญญ์จิรา ศิลปนุภกิจ 7. นางสาวชุลีพร ยิ่งยง 8. นางสาวลัดดา แก้วกาหลง 9. นายชูเกียรติ ตันติมณีรัตน์ 10. นายอรรถพล ชินภูวดล 11. นางสาววริศรา ธรรมเจริญ 12. นางสาววริศรา คูสกุล

บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท กรุงไทยอาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท ลีพัฒนาอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท ลีพัฒนาอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท ซันฟีด จำกัด บริษัท ซันฟีด จำกัด บริษัท พนัสโภคภัณฑ์ จำกัด บริษัท เซนทาโกไซโล จำกัด บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

การสำรวจข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ครั้งที่ 4/2558 ระหว่างวันที่ 23-27 พฤศจิกายน 2558 ได้ออกสำรวจพื้นที่ทางเขตภาคเหนือพื้นที่จังหวัด แพร่-น่าน-พะเยา-เชียงใหม่-เชียงราย และ ลำปาง ซึ่งทางคณะสำรวจได้มีการรวบรวมข้อมูลจากทางสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และ สำนักงานเกษตรจังหวัด เพื่อนำมาประมวลข้อมูลพื้นฐานสำหรับใช้ประกอบการสำรวจในแต่ละ พื้นที่ และยังมีการเข้าพบพ่อค้าท้องถิ่น/ไซโล อีกทั้งเกษตรกรผู้เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ สอบถามสภาพภูมิอากาศการเพาะปลูกและต้นทุนและแรงงาน อีกทั้งสถานการณ์อื่นๆ โดย ภาพรวม เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ร่วมกัน ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

59


การเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ฤดูกาล ผลผลิตปี 2558/59 ในพื้นที่สำรวจจังหวัด เป้าหมายพบว่า สภาวะพืน้ ทีเ่ พาะปลูกโดยเฉลีย่ รวมทุกจังหวัดที่สำรวจลดลงประมาณ 11% โดยมีปัจจัยหลักจากปัญหาภัยแล้งที่ส่งผลให้ พื้นที่เพาะปลูกลดลง ซึ่งปีนี้สภาพภูมิอากาศ ฝนตกลงมาล่ากว่าช้ากว่าปีที่ผ่านมาประมาณ 30-45 วัน ส่งผลให้เกิดความเสียหายในพื้นที่ เพาะปลูกบางส่วน และกระทบต่อผลผลิตต่อไร่ ด้วย นอกจากนี้ ในพื้นที่ทางเขตภาคเหนือนี้ ยังมีเรื่องของการที่ภาครัฐขอเวรคืนพื้นที่ป่า ที่เกษตรกรใช้ทำกินคืนด้วยส่วนหนึ่ง ในช่วงที่คณะสำรวจลงพื้นที่ เป็นช่วงที่ เกษตรกรกำลังเก็บเกี่ยวข้าวนาปี ส่งผลให้การ หักสีข้าวโพดในพื้นที่ชะลอตัวลดลงไป ปริมาณ ผลผลิตที่ออกสู่ตลาดในช่วงนี้จึงลดน้อยลงไป บ้าง สำหรับเกษตรกรอีกส่วนหนึง่ ทีอ่ ยูบ่ นพืน้ ที่ ลาดชัน (บนเขา) เริ่มทยอยเก็บเกี่ยวผลผลิต เข้ายุ้งฉาง เพื่อรอเก็งราคาส่วนหนึ่ง จากการ สอบถามทางพ่อค้าในพื้นที่สำรวจในภาพรวม มี ก ารเก็ บ เกี่ ย วผลผลิ ต ออกสู่ ต ลาดประมาณ 40% ของพื้นที่ที่สำรวจรวมทั้ง 6 จังหวัด แม้จะมีหลายจังหวัดที่เก็บเกี่ยวผลผลิตออกเกิน กว่า 50% แต่จังหวัดน่าน ซึ่งผลผลิตส่วนมาก นั้นอยู่บนพื้นที่ลาดชัน (บนเขา) ยังเก็บเกี่ยว ได้ ป ระมาณ 30% อย่ า งไรก็ ต าม มี ก าร คาดการณ์วา่ ปริมาณของอาจจะมีการเร่งออก มาอย่างต่อเนือ่ งในช่วงเดือนธันวาคม เนือ่ งจาก เป็นช่วงที่เกษตรกรเก็บเกี่ยวข้าวนาปีเสร็จสิ้น และจะหันกลับมาเร่งหักสีข้าวโพดในไร่ส่วนที่ เหลือ ซึ่งส่วนหนึ่งคาดว่าจะเร่งเก็บเกี่ยวออกสู่ ตลาดภายในเดือนนี้ เนื่องจากเกรงว่าจะขาย 60 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165

ผลผลิตไม่ได้ เพราะบริษัทอาหารสัตว์ที่ได้ออก มาเรียกร้องเอกสารสิทธิ์ในการซื้อขาย และ มีการประกาศออกชัดเจนแล้วว่าจะเริ่มซื้อขาย วัตถุดิบข้าวโพดโดยมีเอกสารสิทธิ์ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2559 เป็นต้นไป และถึงแม้ว่า จะเร่งเก็บเกีย่ วในช่วงนีก้ ย็ งั คาดว่าผลผลิตน่าจะ ออกเก็บเกี่ยวได้ต่อเนื่องจนถึงเดือนมกราคมกุมภาพันธ์ 2559 แต่ปริมาณน่าจะลดน้อยลง ไปมาก จากการสังเกตผลผลิตในฤดูกาลปีนี้ จะมีการปลูกไล่ลดหลั่นรุ่นกัน เนื่องจากสภาพภูมิอากาศภาวะแล้ง ทำให้เกษตรกรเพาะปลูก ไม่พร้อมกัน อีกทั้งบางพื้นที่ปลูกไปแล้วเกิด ภาวะฝนแล้ง เกิดความเสียหาย ต้องทำการ ปลูกซ่อม ทำให้คณะสำรวจยังคงเห็นต้นข้าวโพด อายุตั้งแต่ 15 วันถึง 60 วัน อยู่ด้วย นอก จากนี้ยังคาดการณ์ว่า หลังจากเริ่มซื้อขายตาม ประกาศแล้ว จะทำให้ผลผลิตในรุน่ ที่ 3 ฤดูกาล ผลิตปี 2558/59 (หลังนา) จะลดลงมากกว่า ปีที่ผ่านมา เพราะเกษตรกรส่วนใหญ่ที่ปลูกบน พืน้ ทีท่ ไี่ ม่มเี อกสารสิทธิจ์ ะเลิกปลูกเพราะเกรงว่า จะขายไม่ได้ ส่วนทางด้านคุณภาพของผลผลิตมีบาง พื้นที่ที่อยู่ในระดับคุณภาพดี แต่ในพื้นที่ที่ได้รับ ผลกระทบจากภัยแล้งยังพบปัญหาในส่วนของ เมล็ดเล็ก ลีบ แคระแกรน บ้างก็มีเชื้อรา ซึ่ง โดยภาพรวม ยังถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างดี ซึง่ ราคารับซือ้ ผลผลิตเมล็ดแห้งทีค่ วามชืน้ 14% อยูท่ ปี่ ระมาณ 8.00-8.10 บาท/กก. และทีค่ วาม ชืน้ 30% ราคาอยูท่ ปี่ ระมาณ 5.30 -6.10 บาท/ กก. ซึ่ ง เป็ น ราคาที่ ต่ ำ กว่ า ปี ที่ ผ่ า นมา ทั้ ง นี้ คาดการณ์ว่าในช่วงเดือนธันวาคม ทางพ่อค้า ท้องถิ่น/ไซโล น่าจะเพิ่งเริ่มทำสต็อกผลผลิต เพื่อกักเก็บของไว้เก็งราคาต่อไป


ตารางสรุปผลผลิตการสำรวจในพื้นที่ พื้นที่ปลูก (ไร่) ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ (กิโลกรัม) ผลผลิตรวม (ตัน) จังหวัด ปี ปี เพิ่ม/ ปี ปี เพิ่ม/ ปี ปี 57/58 58/59 ลด 57/58 58/59 ลด 57/58 58/59 แพร่ 302,649 287,516 -5% 703 668 -5% 212,762 192,061 น่าน 799,850 783,853 -2% 709 674 -5% 567,093 528,317 พะเยา 243,354 228,753 -6% 714 700 -2% 173,755 160,127 เชียงราย 453,996 431,296 -5% 703 598 -15% 319,540 257,915 เชียงใหม่ 167,884 162,847 -3% 715 644 -10% 120,037 104,873 ลำปาง 175,688 170,417 -3% 696 654 -6% 122,278 111,453 ลำพูน 105,011 89,259 -15% 657 644 -2% 68,992 57,483 รวม 2,248,432 2,153,941 -4% - 1,584,457 1,412,229

เพิ่ม/ ลด -9.73% -6.84% -7.84% -19.29% -12.63% -8.85% -16.68% -11%

จังหวัดแพร่

แหล่งข้อมูล : ร้านเด่นชัยทรัพย์เกษตร อำเภอเด่นชัย, ร้านเกษตรสิน อำเภอเมือง และร้านชุนเฮงหลี อำเภอร้องกวาง ฤดูกาลผลิต ปี 2557/2558 ปี 2558/2559 เพิ่ม/ลด (%)

พื้นที่เพาะปลูก (ไร่) 302,649 287,516 -5%

ผลผลิตต่อไร่ (กก.) 703 668 -5%

ผลผลิตรวม (ตัน) 212,762 192,061 -9.73%

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

61


สภาพทั่วไป พื้นที่เพาะปลูก 287,516 ไร่ ลดลงจากปีที่ผ่านมาประมาณ 5% เนื่องจากหลายปัจจัย ด้วยกัน ไม่วา่ จะเป็นปัจจัยจากภัยแล้งทีส่ ง่ ผลกระทบต่อข้าวโพดในรุน่ ที่ 1 และบางพืน้ ทีไ่ ม่ปลูกซ่อม ผนวกกับราคาของข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ไม่เสถียร ทำให้เกษตรกรปรับเปลีย่ นพืน้ ทีไ่ ปปลูกมันสำปะหลัง เพิ่มมากขึ้น หันไปปลูกถั่วเหลืองบ้างเล็กน้อย นอกจากนี้ทางหน่วยงานภาครัฐ ยังมีการออกมา ทวงคืนพื้นที่ป่า เช่นในพื้นที่ อ.ร้องกวาง มีพื้นที่ที่ถูกทวงคืนแล้วกว่า 1,000 ไร่ ผลผลิตอยู่ที่ 668 กก./ไร่ ลดลงจากปีที่ผ่านมาประมาณ 5% เนื่องจากขาดน้ำฝนในช่วง ข้าวโพดกำลังเจริญเติบโต ส่งผลให้ฝักข้าวโพดไม่สมบูรณ์ เมล็ดเล็ก ลีบ บ้างก็แคระแกร็น นอกจากนี้ ในพืน้ ทีล่ าดชัน (บนเขา) เกษตรกรจะหักฝักข้าวโพดใส่ถงุ และรอราคาสูงจึงนำออกมาขาย ซึง่ ระหว่างรอราคานัน้ เกษตรกรไม่ได้นำผลผลิตเข้าเก็บในยุง้ จึงทำให้คณ ุ ภาพข้าวโพดทีไ่ ด้ตำ่ เพราะ มีเชือ้ รา ทัง้ นีป้ ริมาณผลผลิตอยูท่ ี่ 192,061 ตัน ลดลงจากปีทผี่ า่ นมาประมาณ 9.7% ราคารับซือ้ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อยู่ที่ 8.10 บาท/กก. ที่ความชื้น 14% และราคาเมล็ดสดอยู่ที่ 6.05-6.40 บาท/กก. ที่ความชื้น 30% ปัจจุบันผลผลิตบนพื้นที่ราบเก็บเกี่ยวออกสู่ตลาด 80% ส่วนพื้นที่ ลาดชัน (บนเขา) เก็บเกี่ยวประมาณ 30% เท่านั้น

จังหวัดน่าน แหล่งข้อมูล : ร้านวิทวัสการเกษตร, ร้านชัยมิตรการเกษตร และร้านใจงาม อำเภอเวียงสา คุณหมิ่ง ปั่นจา เกษตรกร อำเภอเวียงสา ฤดูกาลผลิต ปี 2557/2558 ปี 2558/2559 เพิ่ม/ลด (%)

พื้นที่เพาะปลูก (ไร่) 799,850 783,853 -2%

ผลผลิตต่อไร่ (กก.) 709 674 -5%

ผลผลิตรวม (ตัน) 567,093 528,317 -6.84%

สภาพทั่วไป พื้นที่เพาะปลูก 783,853 ไร่ ลดลงจากปีที่ผ่านมาประมาณ 2% แม้จะประสบปัญหา ภัยแล้ง แต่เนื่องจากเกษตรกรไม่มีทางเลือกจึงจำเป็นต้องเพาะปลูกข้าวโพดเหมือนเดิม ส่วนที่ให้ พื้นที่เพาะปลูกลดลงนั้น มาจากนโยบายการขอคืนพื้นที่ป่าของทางภาครัฐ และต้นยางพาราที่ เติบโตเต็มที่ ทำให้ไม่สามารถลงเพาะปลูกข้าวโพดแทรกได้ เกษตรกรในพื้นที่นี้จะปลูกข้าวโพด เพียงรุ่นเดียวเท่านั้น แต่ปีนี้เกษตรกรลงพื้นที่เพาะปลูกไม่พร้อมกันตามสภาพของพื้นที่ จึงมี สภาพการเพาะปลูกที่ลดหลั่นกันไป พอจำแนกแบ่งเป็น 4 รุ่น ได้แก่ รุ่นในพื้นที่ลาดชัน (บนเขา), พื้นที่ไร่, พื้นที่ลุ่มแม่น้ำ และพื้นที่หลังนา 62 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165


ผลผลิตอยู่ที่ 674 กก./ไร่ ลดลงจากปีที่ผ่านมาประมาณ 5% เนื่องจากภาวะภัยแล้ง และฝนขาดช่วง อีกทั้งพื้นที่ปลูกขาดการบำรุงปรับปรุงหน้าดิน เพราะส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เขา ไม่ สามารถใช้เครื่องมือทางการเกษตรปรับหน้าดินใหม่ได้ ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตอยู่ที่ 528,317 ตัน ลดลงจากปีทผี่ า่ นมาประมาณ 6.8% ราคารับซือ้ ข้าวโพดเลีย้ งสัตว์เมล็ดแห้งอยูท่ ี่ 7.90-8.00 บาท/กก. ที่ความชื้น 14.5% ราคา 7.2-7.5 บาท/กก. ที่ความชื้น 20% และรับซื้อเมล็ดสด ราคา 6.10 บาท/กก. ที่ความชื้น 30% ส่วนทางด้านต้นทุนการเพาะปลูกเท่ากับปีที่ผ่านมา แม้ เมล็ดพันธุ์อาจแพงขึ้น แต่ค่าปุ๋ยและสารเคมีทางเกษตรราคาถูกลง

จังหวัดพะเยา

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

63


แหล่งข้อมูล : ร้านบ่อทองกรุ๊ป อำเภอเชียงม่วน และข้อมูลจากเกษตรจังหวัดพะเยา ฤดูกาลผลิต ปี 2557/2558 ปี 2558/2559 เพิ่ม/ลด (%)

พื้นที่เพาะปลูก (ไร่) 243,354 228,753 -6%

ผลผลิตต่อไร่ (กก.) 714 700 -2%

ผลผลิตรวม (ตัน) 173,755 160,127 -7.84%

สภาพทั่วไป พื้นที่เพาะปลูก 228,753 ไร่ ลดลงจากปีที่ผ่านมาประมาณ 6% เนื่องจากมีบางพื้นที่ ที่เกษตรกรปรับเปลี่ยนไปเพาะปลูกพืชชนิดอื่นๆ เช่น มันสำปะหลัง ฟักทอง ใบยาสูบ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีเรือ่ งของการทวงคืนพืน้ ทีป่ า่ จากทางภาครัฐเช่นเดียวกับจังหวัดอืน่ ๆ ซึง่ เป็นอีกปัจจัย ทีส่ ง่ ผลให้พนื้ ทีเ่ พาะปลูกลดลง ส่วนทางด้านพฤติกรรมการปลูก เกษตรกรยังคงปลูกข้าวโพดเช่นเดิม ปัจจัยทางด้านราคาไม่มีผลต่อการตัดสินใจเพาะปลูกของเกษตรกร และในพื้นที่ลาดชัน (บนเขา) เกษตรกรปลูกเพียงรุ่นเดียว แต่ในพื้นที่ราบจะปลูก 2 รุ่น ผลผลิตอยู่ที่ 700 กก./ไร่ ลดลงจากปีที่ผ่านมาประมาณ 2% เนื่องจากได้รับผลกระทบ จากภาวะปัญหาภัยแล้งในบางพื้นที่ แต่ในพื้นที่ที่เพาะปลูกล่าช้าไม่กระทบแล้ง เนื่องจากมีพายุ เข้า และได้รับปริมาณน้ำฝนเพียงพอกับความเจริญเติบโต คุณภาพผลผลิตที่ได้จึงดีกว่าปีที่แล้ว ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตอยู่ที่ 160,127 ตัน ลดลงจากปีที่ผ่านมาประมาณ 7.84%

จังหวัดเชียงราย

แหล่งข้อมูล : ร้านจิรชัย โปรดิวซ์ อำเภอเวียงป่าเป้า และร้านเชียงรายกิจศิริไซโล อำเภอเทิง 64 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165


ฤดูกาลผลิต ปี 2557/2558 ปี 2558/2559 เพิ่ม/ลด (%)

พื้นที่เพาะปลูก (ไร่) 453,996 431,296 -5%

ผลผลิตต่อไร่ (กก.) 703 598 -15%

ผลผลิตรวม (ตัน) 319,540 257,915 -19.29%

สภาพทั่วไป พื้นที่เพาะปลูก 431,296 ไร่ ลดลงจากปีที่ผ่านมาประมาณ 5% แม้เกษตรกรปรับ เปลี่ยนไปปลูกมันสำปะหลังส่วนหนึ่ง แต่พื้นที่ที่เปลี่ยนไปปลูกมันสำปะหลังบางส่วนเสียหายจาก ภัยแล้ง เกษตรกรจึงต้องปรับเปลี่ยนกลับมาเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เช่นเดิม เพราะระยะเวลา การเพาะปลูกสั้นกว่า ได้ผลตอบแทนเร็วกว่า ทำให้พื้นที่ปลูกข้าวโพดลดลงไปเพียงเท่านี้ ในส่วน ของการขอคืนพืน้ ที่ ส่วนมากจะเป็นการขอคืนพืน้ ทีป่ ลูกยางของนายทุน จึงมองว่าไม่มผี ลกับพืน้ ที่ ปลูกข้าวโพด และพ่อค้ายังมีการคาดการณ์วา่ ฤดูกาลผลผลิตปี 2558/59 ข้าวโพดหลังนา (แล้ง) จะมีปริมาณมาก เนื่องจากยอดจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ค่อนข้างสูง ผลผลิตอยูท่ ี่ 598 กก./ไร่ ลดลงจากปีทผี่ า่ นมาประมาณ 15% เนือ่ งจากมีพนื้ ทีเ่ สียหาย จากภัยแล้งในรุ่นที่ 1 และในบางพื้นที่เกษตรกรไม่ปลูกซ่อมในพื้นที่เสียหาย ส่งผลให้ปริมาณ ผลผลิตอยูท่ ี่ 257,915 ตัน ลดลงจากปีทผี่ า่ นมาประมาณ 19.29% ส่วนมุมมองของพ่อค้า มองว่า จะมีของออกจนถึงช่วงเดือนมกราคม เนือ่ งจากผลผลิตทีจ่ ะทะลักออกในเดือนธันวาคมไม่สามารถ สีได้ทนั และคาดว่าผลผลิตจะมีออกเรือ่ ยๆ จนถึงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน ทัง้ นีต้ น้ ทุนการผลิต ของเกษตรกรอยู่ที่ประมาณ 4,000 กว่าบาทต่อไร่

จังหวัดเชียงใหม่ แหล่งข้อมูล : คุณอากอง เกษตรกรจากอำเภอเชียงดาว และพ่อค้าไซโลในพื้นที่ อ.เชียงดาว ฤดูกาลผลิต ปี 2557/2558 ปี 2558/2559 เพิ่ม/ลด (%)

พื้นที่เพาะปลูก (ไร่) 167,884 162,847 -3%

ผลผลิตต่อไร่ (กก.) 715 644 -10%

ผลผลิตรวม (ตัน) 120,037 104,873 -12.63%

สภาพทั่วไป พื้นที่เพาะปลูก 162,847 ไร่ ลดลงจากปีที่ผ่านมาประมาณ 3% เนื่องจากปัญหาภัยแล้ง และเกษตรกรบางส่วนปรับเปลีย่ นไปปลูกพืชชนิดอืน่ เช่น ถัว่ ลิสง มันสำปะหลัง พืน้ ทีเ่ พาะปลูกหลัก ของเชียงใหม่คือ อ.แม่แจ่ม ซึ่งทางสมาคมฯ ได้มีการลงพื้นที่ไปเมื่อต้นเดือนกันยายนพบว่า แม้ ทางจังหวัดจะมีปญ ั หาเรือ่ งหมอกควันจากการเผาตอซังข้าวโพด ก็ไม่ทำให้พนื้ ทีก่ ารเพาะปลูกลดลง เพราะเกษตรกรไม่มที างเลือกทีจ่ ะปรับเปลีย่ นไปเพาะปลูกพืชชนิดอืน่ ๆ จึงยังคงปลูกข้าวโพดเช่นเดิม ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

65


แต่จะใช้การบริหารการจัดการโดยกำหนดเวลาเผาซังเพือ่ ลดปัญหาหมอกควันแทน ปกติเกษตรกร จังหวัดนีจ้ ะปลูกข้าวโพดเพียงรุน่ เดียว คือจะปลูกในช่วงเดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนมิถนุ ายน และ เก็บเกี่ยวช่วงเดือนพฤศจิกายนจนถึงเดือนธันวาคม ผลผลิตอยู่ที่ 644 กก./ไร่ ลดลงจากปีที่ผ่านมาประมาณ 10% เนื่องจากปัญหาภาวะ ภัยแล้ง ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตอยูท่ ี่ 104,873 ตัน ลดลงจากปีทผี่ า่ นมาประมาณ 12.6% ต้นทุน การผลิตของเกษตกรประมาณ 1,600-1,700 บาทต่อไร่ (ไม่รวมค่าเช่าที)่ ราคาข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ ที่รับซื้อเมล็ดแห้งราคา 7.50-8.00 บาท/กก. ที่ความชื้น 18%

จังหวัดลำปาง

66 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165


แหล่งข้อมูล : ร้านเมืองมายพืชผล อำเภอแจ้ห่ม และร้าน ป.พืชผล อำเภอแม่ทะ คุณเคียคำ และคุณมงคล เกษตรกรจากอำเภอแจ้ห่ม ฤดูกาลผลิต ปี 2557/2558 ปี 2558/2559 เพิ่ม/ลด (%)

พื้นที่เพาะปลูก (ไร่) 175,688 170,417 -3%

ผลผลิตต่อไร่ (กก.) 696 654 -6%

ผลผลิตรวม (ตัน) 122,278 111,453 -8.85%

สภาพทั่วไป พืน้ ทีเ่ พาะปลูก 170,417 ไร่ ลดลงจากปีทผี่ า่ นมาประมาณ 3% เนือ่ งจากปัญหาภัยแล้ง และ มีการปรับเปลีย่ นไปปลูกพืชชนิดอืน่ ๆ อย่างมันสำปะหลัง เพราะราคามันสำปะหลังเสถียรกว่าราคา ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ นอกจากนี้ ยังมีส่วนการทวงคืนพื้นที่ป่าจากทางภาครัฐ โดยจะทยอยขอคืน พื้นที่ 1 ใน 3 ของพื้นที่ทำกินของเกษตรกรแต่ละราย ผลผลิตอยู่ที่ 654 กก./ไร่ ลดลงจากปีที่ผ่านมาประมาณ 6% เนื่องจากปัญหาภัยแล้ง ผลผลิตในรุ่นที่ 1 เริ่มเก็บเกี่ยวตั้งแต่เดือนสิงหาคม และรุ่น 2 จะเก็บเกี่ยวตั้งแต่เดือนธันวาคม และผลผลิตปีนี้ออกเร็วกว่าปีที่ผ่านมา เนื่องจากเกษตรกรใช้รถเกี่ยวเข้ามาช่วย ทำให้เก็บเกี่ยวได้ เร็วขึ้น รวมถึงข่าวเรื่องการบังคับใช้เอกสารสิทธิ์ทำให้เกษตรกรเร่งเก็บเกี่ยวเพื่อนำออกขายก่อน ส่วนด้านปริมาณผลผลิตอยู่ที่ 111,453 ตัน ลดลงจากปีที่ผ่านมาประมาณ 8.9% ราคารับซื้อ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อยู่ที่ 5.30-6.10 บาท/กก. ที่ความชื้น 30%

จังหวัดลำพูน แหล่งข้อมูล : สำนักงานเกษตรจังหวัดลำพูน ฤดูกาลผลิต ปี 2557/2558 ปี 2558/2559 เพิ่ม/ลด (%)

พื้นที่เพาะปลูก (ไร่) 105,011 89,259 -15%

ผลผลิตต่อไร่ (กก.) 657 644 -2%

ผลผลิตรวม (ตัน) 68,992 57,483 -16.68%

สภาพทั่วไป พื้นที่เพาะปลูก 89,259 ไร่ ลดลงจากปีที่ผ่านมาประมาณ 15% เนื่องจากมีพื้นที่ที่ได้รับ ความเสียหายจากปัญหาภัยแล้ง และไม่มีการปลูกซ่อมในพื้นที่เสียหาย ผลผลิตอยู่ที่ 644 กก./ไร่ ลดลงจากปีที่ผ่านมาประมาณ 2% เนื่องจากปัญหาภัยแล้ง ฝน ทิง้ ช่วงทำให้มนี ำ้ ไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าวโพด ปริมาณผลผลิตรวมอยูท่ ี่ 57,483 ตัน ลดลงจากปีที่ผ่านมาประมาณ 16.68% ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

67


ตารางสำรวจพื้นที่ปลูกและผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ฤดูกาลผลิต ปี 2558/2559 คณะสำรวจสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ลำดับ

จังหวัด

1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36

สระแก้ว จันทบุรี นครราชสีมา ลพบุรี เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ อุทัยธานี กำแพงเพชร พิษณุโลก อุตรดิตถ์ ตาก แพร่ น่าน พะเยา เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน แม่ฮ่องสอน สุโขทัย พิจิตร สระบุรี ชัยนาท สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบฯ เลย ชัยภูมิ หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ขอนแก่น

68 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165

พื้นที่ปลูก (ไร่) ปี ปี 57/58 58/59 114,270 114,270 40,318 40,318 778,166 793,729 206,676 204,609 999,731 799,784 279,754 265,766 108,659 124,958 62,305 62,305 245,679 257,963 176,265 174,502 669,729 669,729 302,649 287,516 799,850 783,853 243,354 228,753 453,996 431,296 167,884 162,847 175,688 170,417 105,011 89,259 53,443 51,840 77,211 74,895 16,902 16,395 161,279 158,053 2,932 2,815 47,121 46,650 95,424 94,470 3,245 3,115 5,798 5,624 563 529 759,817 607,854 130,002 104,002 28,437 28,153 12,203 11,837 610 592 4,887 4,838 6,182 6,308 14,775 14,627

เพิ่ม/ ลด 0% 0% 2% -1% -20% -5% 15% 0% 5% -1% 0% -5% -2% -6% -5% -3% -3% -15% -3% -3% -3% -2% -4% -1% -1% -4% -3% -6% -20% -20% -1% -3% -3% -1% -2% -1%

ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ (กิโลกรัม) ปี ปี เพิ่ม/ 57/58 58/59 ลด 741 593 -20% 627 533 -15% 748 748 0% 732 512 -30% 810 567 -30% 700 616 -12% 756 763 1% 670 670 0% 730 737 1% 651 651 0% 690 700 1.5% 703 668 -5% 709 674 -5% 714 700 -2% 703 598 -15% 715 644 -10% 696 654 -6% 657 644 -2% 615 554 -10% 608 596 -2% 657 650 -1% 742 519 -30% 613 607 -1% 703 689 -2% 678 664 -2% 601 589 -2% 586 580 -1% 583 571 -2% 663 464 -30% 639 447 -30% 667 654 -2% 528 512 -3% 556 534 -4% 749 742 -1% 718 704 -2% 613 601 -2%

ผลผลิตรวม (ตัน) ปี ปี 57/58 58/59 84,674 67,762 25,279 21,489 582,068 593,709 151,286 104,759 809,782 453,477 195,827 163,712 82,146 95,343 41,744 41,744 179,345 190,119 114,748 113,601 462,109 468,810 212,762 192,061 567,093 528,317 173,755 160,127 319,540 257,915 120,037 104,873 122,278 111,453 68,992 57,483 32,867 28,693 46,970 44,625 11,108 10,664 119,602 82,093 1,797 1,708 33,126 32,139 64,697 62,769 1,950 1,835 3,398 3,263 328 302 504,115 282,105 83,071 46,520 18,964 18,402 6,443 6,062 339 316 3,660 3,588 4,526 4,350 9,064 8,787

เพิ่ม/ ลด -20% -15% 2% -31% -44% -16% 16.07% 0% 6% -1% 1.45% -9.73% -6.84% -7.84% -19.29% -12.63% -8.85% -16.68% -13% -5% -4% -31% -5% -3% -3% -6% -4% -8% -44% -44% -3% -6% -7% -2% -4% -3% 




พื้นที่ปลูก (ไร่) ปี ปี 57/58 58/59 37 ปราจีนบุรี 11,397 11,397 38 ฉะเชิงเทรา 1,298 1,298 39 ชลบุรี 925 897 รวม 7,364,561 6,907,935

ลำดับ

จังหวัด

ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ (กิโลกรัม) ผลผลิตรวม (ตัน) เพิ่ม/ ปี ปี เพิ่ม/ ปี ปี เพิ่ม/ ลด 57/58 58/59 ลด 57/58 58/59 ลด 0% 657 526 -20% 7,488 5,990 -20% 0% 664 531 -20% 812 689 -15% -3% 667 660 -1% 617 592 -4% -6% 715 633 -12% 5,268,407 4,372,247 -17%

ข้อมูลสำรวจสิ้นสุด ณ วันที่ 27 พฤศจิกายน 2558 หมายเหตุ : ลำดับจังหวัดที่ 1-18 เป็นจังหวัดที่อยู่ในเขตพื้นที่สำรวจของทางสมาคมฯ : ลำดับจังหวัดที่ 19-39 เป็นจังหวัดที่อยู่นอกเขตพื้นที่สำรวจของทางสมาคมฯ

สรุปภาพรวมสถานการณ์เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ฤดูการเพาะปลูก 2558/2559 ภายใต้การลงพื้นที่สำรวจของสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ที่ได้ดำเนินการสำรวจพื้นที่ทั้งสิ้น 4 ครัง้ โดยเริม่ ในเขตพืน้ ทีจ่ งั หวัดสระแก้ว - จันทบุร ี - นครราชสีมา - ลพบุร ี - เพชรบูรณ์ - นครสวรรค์ พิษณุโลก - กำแพงเพชร - ตาก - อุทัยธานี - อุตรดิตถ์ - แพร่ - น่าน - พะเยา - เชียงราย - เชียงใหม่ ลำปาง - ลำพูน ซึ่งครอบคลุมกว่า 80% ของพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทั้งประเทศ ผลสำรวจพบว่าพื้นที่เพาะปลูกทั้งประเทศลดน้อยลงจากปีที่ผ่านมา 456,626 ไร่ คิดเป็น ร้อยละ 6 อันเนื่องมาจากหลายปัจจัยด้วยกัน โดยปัจจัยหลักคือปัญหาภัยแล้ง ฝนมาล่ากว่าที่ เกษตรกรคาดการณ์ และราคาทีไ่ ม่จงู ใจทำให้เกษตรกรหันไปปลูกพืชอืน่ ๆ ทดแทน อาทิ มันสำปะหลัง ถั่วเขียวผิวมัน และอ้อยโรงงาน เป็นต้น เช่นเดียวกับผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ลดลงจากปีที่ผ่านมา จาก 715 กก./ไร่ เป็น 633 กก./ไร่ คิดเป็นประมาณร้อยละ 12 เนือ่ งจากประสบปัญหาภัยแล้ง ในช่วงต้นฤดูการเพาะปลูก แม้จะพบว่าบางพืน้ ทีผ่ ลผลิตจะได้รบั ความเสียหายจำนวนมาก แต่จาก การที่เกษตรกรมีการลงปลูกซ่อมซ้ำ 2-3 รอบ ทำให้ผลผลิตเฉลี่ยโดยรวมไม่ลดลงไปมากนัก ทั้งนี้สมาคมฯ ได้คาดการณ์ปริมาณผลผลิตรวมในฤดูการผลผลิตปี 2558/59 ไว้ที่ 4,372,247 ตัน ลดลงจากปีที่ผ่านมาประมาณร้อยละ 17 โดยข้อมูลข้างต้นนี้ครอบคลุมถึง ปริมาณผลผลิตในรุ่นข้าวโพดหลังนาที่คาดการณ์ว่าจะเพิ่มมากขึ้นจากปีที่ผ่านๆ มา อันเนื่อง มาจากนโยบายของภาครัฐที่สนับสนุนให้มีการปลูกพืชน้ำน้อยแทนนาข้าว ซึ่งมีเป้าหมายให้หันมา ปลูกข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ในเขตพืน้ ทีน่ าปรัง 22 จังหวัด ลุม่ แม่นำ้ เจ้าพระยาให้ได้จำนวน 650,000 ไร่ ในส่วนนี้เอง ทำให้สมาคมฯ นำข้อมูลดังกล่าวมาใช้ในการประเมินด้วย โดยคาดการณ์ว่า หากโครงการนีส้ มั ฤทธิผ์ ลได้กงึ่ หนึง่ จะช่วยให้ผลผลิตในรุน่ หลังนาเพิม่ ขึน้ อีกอย่างน้อย 200,000 ตัน อย่างไรก็ตาม สมาคมฯ จะต้องมีการลงพื้นที่สำรวจติดตามพื้นที่ปลูกข้าวโพดหลังนาในพื้นที่ เป้าหมาย ว่าจะเป็นไปตามที่คาดการณ์หรือไม่ต่อไป สรุปโดย : นางสาววริศรา ธรรมเจริญ สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย  23 ธันวาคม 2558 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

69


Market Leader

พ.ร.ก. ประมงใหม่บังคับใช้วันนี้ -

'สมคิด' ติงภาคธุรกิจ

"ฉัตรชัย" ระบุ 26 พ.ย. นี้ พ.ร.ก.ประมงใหม่ มีผล บั ง คั บ ใช้ ตั้ ง เป้ า สร้ า งความยั่ ง ยื น กั บ ทรั พ ยากรประมง ขณะที่ "สมคิ ด " จี้ เ กษตรเดิ น หน้ า แก้ ไ อยู ยู รั ก ษา ภาพลั ก ษณ์ ป ระเทศ ลั่ น เลิ ก เกรงใจภาคเอกชนหั น ยึ ด กฎหมาย พล.อ.ฉัตรชัย สาริกลั ยะ รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรฯ ผลักดันพระราชกำหนดประมง และผ่านความ เห็นชอบของสภานิติบัญญัติไปแล้ว โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 26 พ.ย. นี้ เป็นต้นไป เป็นไปตามข้อชี้แนะของคณะทำงานของสหภาพยุโรป หรืออียู ที่ เข้ามาตรวจสอบระบบการทำงานของไทย กรณีทไี่ ด้ใบเหลืองจากการทำประมง ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน ไร้การควบคุม หรือไอยูยู ทั้งนี้รัฐบาลให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ทุกหน่วยงานที่ เกีย่ วข้องได้ประสานการทำงาน โดยมีศนู ย์บญ ั ชาการแก้ไขปัญหาการทำประมง ผิดกฎหมาย (ศปมผ.) เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อน เพื่อขจัดปัญหาให้ หมดไป มีเป้าหมายสูงสุดนอกเหนือจากการพิจารณาปลดใบเหลืองของอียู คือการทำประมงจะต้องมีความยั่งยืนต่อทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ให้ได้ ซึ่ง เป็นกฎเกณฑ์ของโลก สำหรับการตัดสินของ อียู นั้น ในต้นเดือน ม.ค. นี้ ทางคณะทำงานของ อียู จะเข้ามาตรวจสอบระบบการทำงานของไทยอีกครั้ง ซึ่งจากการที่รัฐบาล ไทยให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย และประสาน การทำงานอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีความใกล้ชิดกับอียู และแก้ไขปัญหาใน ภาพรวมได้ตรงจุดยิ่งขึ้น ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ ฉบับที่ 9926 วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

70 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165


นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวในการตรวจเยี่ยมกระทรวง เกษตรฯ เมื่อเร็วๆ นี้ว่า การแก้ไขปัญหาไอยูยู ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร ขอให้กระทรวง เกษตรฯ โดยกรมประมงดำเนินการต่อเนื่องจนกว่าต่างชาติจะยอมรับ ไม่ต้องเกรงใจ ภาคธุรกิจ เพราะกรณีนี้จะไม่เกิด ถ้านักธุรกิจไม่ทำ การตอบกลับมาของอียู เห็นได้ชัดว่าอียูไม่ต้องการเล่นงานประมงขนาดเล็ก แต่ต้องการ จัดการระดับกลางกับใหญ่ขนาดตั้งแต่ 60 ตันกรอสขึ้น ไป เนื่องจากกลุ่มนี้มีอำนาจ ทำให้ประมงขนาดเล็ก ได้รับความเดือดร้อนตามไปด้วย "ไม่ว่าไทยจะได้ใบแดงหรือไม่ ถ้าได้ก็อย่า เสียกำลังใจ แต่ต้องประกาศเจตนารมณ์ว่าจะ แก้ไขปัญหาให้ถึงที่สุด อย่าทำให้ภาพลักษณ์ ของประเทศเสี ย หายไปมากกว่ า นี้ ในช่ ว ง 7-8 เดือนที่ผ่านมา กระทรวงเกษตรฯ ได้ พยายามอย่างเต็มที่ จะตำหนิอียูก็ไม่ได้ เพราะ ภาคธุรกิจของไทยเองที่ไปซื้อวัตถุดิบจากสิ่งที่รู้ว่า มีปัญหา เห็นแก่ได้ ถ้าไทยเป็น Global Citizen ไม่ได้ ต่างชาติก็ไม่ซื้อสินค้าจากไทย ถ้าผ่านปัญหานี้ได้ถือว่าโชคดี ถ้าไม่ผ่านก็ต้องพิสูจน์ตัวเอง ต่อไป ขอให้กรมประมงดำเนินการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายอย่างต่อเนื่อง" นายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยนกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การแก้ไขปัญหาไอยูยู ในขณะนี้ เป็นหน้าที่ของภาครัฐที่จะผลักดันให้อียูเห็นภาพความคืบหน้า การเอาจริงเอาจังกับ เรื่องนี้มากน้อยเพียงใด ซึ่งที่ผ่านมา รัฐบาลชุดปัจจุบันถือว่ามีการทำงานคืบหน้าไปมาก มี ก ารออก พ.ร.ก. เพื่ อ แก้ ปั ญ หาประมงผิ ด กฎหมายที่ ชั ด เจนขึ้ น มี อ ำนาจการเอาผิ ด อย่างเข้มงวดและรุนแรง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาประมงผิดกฎหมายขึ้นมาอีก "ในขณะนี้ จะบอกไม่ได้ว่าไทยมีแนวโน้มจะได้ใบแดงหรือเหลืองต่อไป หรือไม่ เพราะทุกอย่างจะขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของอียู แต่การปฏิบัติของภาคเอกชนทุกราย ผม มั่นใจว่าสามารถตรวจสอบย้อนกลับสินค้าได้ทุกรายการ" นายธีรพงศ์ กล่าว

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

71


Around the World

โรคติดเชื้อไมโครสปอริเดีย (Microsporidia)

ในกุ้งขาว

ตัง้ แต่ปี 2555 เป็นต้นมา อุตสาหกรรม การเลี้ยงกุ้งได้ประสบปัญหาการตายของกุ้ง จากโรคอีเอ็มเอส ทำให้ผลผลิตกุ้งลดลงมาก กว่าร้อยละ 60 เมือ่ เทียบกับผลผลิตกุง้ ทีเ่ คย ผลิตได้สงู สุดในปี 2553 อย่างไรก็ตาม การ ควบคุม และจำกัดความเสียหายของกุ้งที่ เกิดจากโรคนี้ก็ทำได้ดีขึ้นตามลำดับ โดยให้ ความสำคัญกับการอนุบาลลูกกุ้งก่อนปล่อย ลงบ่อเลีย้ ง การสร้างความสมดุลของจุลนิ ทรีย์ ในบ่อด้วยโปรไบโอติก รวมทั้งเน้นการกำจัด ตะกอนเลนที่พื้นบ่อเพื่อสร้างสภาพแวดล้อม ที่ ดี และลดสารอิ น ทรี ย์ ที่ เ ป็ น อาหารของ แบคทีเรีย จากแนวทางดังกล่าว ทำให้ใน ระยะหลังนี้ ความเสียหายของกุ้งที่เกิดจาก โรคอีเอ็มเอสลดน้อยลงอย่างชัดเจน ทำให้มี ผลผลิตกุ้งเพิ่มมากขึ้น และได้กุ้งไซส์ใหญ่ขึ้น จากสถานการณ์ดังกล่าวนี้ ทำให้เกษตรกร ผูเ้ ลีย้ งกุง้ บางส่วนเริม่ เห็นปัญหาการเลีย้ งจาก โรคติดเชื้ออีกชนิดหนึ่งคือ เชื้อไมโครสปอริที่มา : ข่าวกุ้ง ปีที่ 27 ฉบับที่ 328 เดือนพฤศจิกายน 2558

72 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165

เดีย อย่างเด่นชัดมากขึน้ เนือ่ งจากโรคนีม้ กั จะ พบการติดเชือ้ และส่งผลกระทบต่อกุง้ หลังจาก ลงกุง้ แล้วมากกว่า 1 เดือน โดยผลกระทบต่อ กุ้งที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือ ทำให้อัตราการ เจริญเติบโตของกุง้ ต่ำลง ส่วนในแง่ของอัตรา การตายนั้ น มั ก จะพบในกรณี ที่ เ กษตรกร ผู้เลี้ยงกุ้งพยายามเลี้ยงต่อเพื่อให้ได้กุ้งขนาด ใหญ่ ขึ้ น ทำให้ กุ้ ง บางส่ ว นที่ มี ก ารติ ด เชื้ อ ค่อนข้างหนัก และส่วนของตับถูกทำลายมาก จึงเกิดการตาย แม้วา่ โรคนีจ้ ะไม่กอ่ ให้เกิดการ ตายของกุ้งอย่างรุนแรง ซึ่งแตกต่างจากโรค อีเอ็มเอส แต่ผลกระทบของโรคนี้ต่อผลผลิต กุ้งก็ไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่ากันเลย เพียงแต่ผล กระทบที่มีต่อกุ้งเป็นคนละแบบเท่านั้น จึง ขอนำเสนอข้อมูลพื้นฐานของเชื้อนี้ และผล กระทบที่มีต่อกุ้ง เพื่อให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง ได้รู้จักและเข้าใจลักษณะของโรคนี้ดียิ่งขึ้น ทำให้สามารถนำไปปรับใช้เพื่อป้องกัน และ แก้ไขปัญหานี้ต่อไป


ลักษณะเชื้อ และการติดต่อ เชื้อนี้มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า เอ็นเทอโรไซโตซูน เฮปพาโทพีนอี าย หรือเรียกย่อๆ ว่า เชื้ออีเอชพี (Enterocytozoon Hepatopenaei, EHP) เชื้อนี้อยู่ในกลุ่มไมโครสปอริเดีย ซึ่งเดิมถูกจัดเป็นเชื้อโปรโตซัว (Protozoa) แต่ จากการวิเคราะห์ทางรหัสพันธุกรรมพบว่า มี ความสัมพันธ์กับกลุ่มเชื้อรา (Fungi) มากกว่า จึงทำให้ปจั จุบนั เชือ้ นีถ้ กู จัดเป็นเชือ้ รา ซึง่ เชือ้ นี้ เป็นปรสิตที่อาศัยอยู่ภายในเซลล์ตับกุ้ง โดย สปอร์จะมีรูปร่างกลมรีเป็นรูปไข่ มีขนาดเล็ก ประมาณ 0.7-1.1 ไมครอน มีผนังหุ้มหนา และแข็งแรง โดยมีสารไคติน (Chitin) เป็น องค์ ป ระกอบ ทำให้ มี ค วามทนทานต่ อ การ เปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม และสารเคมี ต่างๆ ได้ดี จึงทำให้การกำจัดสปอร์ของเชื้อ นี้ด้วยสารเคมีต่างๆ มักไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ ต้ อ งใช้ ค วามเข้ ม ข้ น ที่ สู ง กว่ า ปกติ ม าก ส่ ว น การติดต่อของเชื้อนั้น สามารถติดต่อจากกุ้ง ตัวหนึ่งไปสู่กุ้งอีกตัวหนึ่งได้โดยตรง ซึ่งต่าง จากเชื้ อ หลายๆ ชนิ ด ในกลุ่ ม นี้ ที่ จ ำเป็ น ต้ อ ง ผ่านตัวกลางซึ่งเป็นสัตว์อีกชนิดหนึ่งเพื่อทำให้ วงจรชีวิตสมบูรณ์ จึงทำให้การควบคุมการ ติดต่อ และแพร่ระบาดของโรคนี้ทำได้ยากกว่า

ลักษณะของกุ้งป่วย อาการ และการตรวจวินิจฉัย เชื้อไมโครสปอริเดียสามารถก่อให้เกิด โรคทั้งในกุ้งขาว และกุ้งกุลาดำ โดยกุ้งป่วยที่ ติดเชื้อจะมีลักษณะตับฝ่อ ลำไส้ว่าง ตัวหลวม กรอบแกรบ และแตกไซส์ บางครั้งอาจพบว่า ในลำไส้กุ้งมีสีขาว ซึ่งน่าจะเกิดจากเซลล์ตับ

ที่ถูกทำลายปะปนกับสปอร์ของเชื้อนี้ลอกหลุด เข้าไปในทางเดินอาหาร จึงทำให้เห็นเป็นขีข้ าว ร่วมด้วย ซึ่งสามารถสังเกตได้ง่ายจากขี้ขาวที่ ลอยอยู่บนผิวน้ำ โดยเฉพาะด้านที่อยู่บริเวณ ใต้ลม การติดเชื้อส่วนใหญ่มักเริ่มพบหลังจาก ลงลูกกุ้งไปแล้วมากกว่า 30 วัน แต่ก็อาจพบ การติดเชื้อในระยะแรกของการเลี้ยงก็ได้ ซึ่ง มักเกิดจากการปนเปื้อนของเชื้อมากับลูกกุ้งที่ ลงเลีย้ ง การเตรียมบ่อ หรือน้ำทีไ่ ม่ได้มาตรฐาน ทำให้มีการสะสมของเชื้อในระดับที่สูงตั้งแต่ เริ่มลงลูกกุ้ง โดยทั่วไปในช่วงที่เริ่มพบการติด เชื้อนั้นมักจะยังไม่เห็นผลกระทบที่ชัดเจน แต่ จะเริ่มเห็นผลกระทบหลังจากกุ้งมีการติดเชื้อ แล้วประมาณ 2 สัปดาห์ โดยการเจริญเติบโต ของกุง้ จะเริม่ ช้าลง การกินอาหารจะเริม่ ไม่เพิม่ ขึน้ ถ้าปล่อยทิง้ ไว้จะพบว่าการเจริญเติบโตจะช้า กว่าปกติมาก หรือไม่เพิม่ ขึน้ เลย การกินอาหาร จะลดลงอย่างชัดเจน และในที่สุดจะเริ่มพบ การตายของกุ้งร่วมด้วย สำหรับการตรวจวินจิ ฉัยนัน้ สามารถทำ การวินิจฉัยเบื้องต้นโดยการดูตัวอย่างตับสด ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ ซึ่งวิธีนี้มักจะใช้ตรวจ ในกุ้งป่วยที่ได้ติดเชื้อมาระยะหนึ่งแล้ว โดยดู ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ที่กำลังขยาย 1,000 เท่า จะสามารถเห็นสปอร์ของเชื้อนี้เป็นรูปไข่ มีลกั ษณะวาวอยูเ่ ป็นสปอร์เดีย่ วๆ ไม่รวมกันเป็น กลุ่ม โดยด้านท้ายของสปอร์จะมองเห็นเป็น ช่องว่างขนาดใหญ่ (Posterior Vacuole) อย่างไร ก็ตาม ในการตรวจนั้นจะต้องเป็นผู้ที่มีความ ชำนาญ ซึ่งได้ผ่านการฝึกฝนมาในระดับหนึ่ง แล้ว จึงจะได้ผลที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ ส่วน วิธีการตรวจวินิจฉัยที่ให้ผลถูกต้องแม่นยำยิ่ง ขึ้นนั้น ได้แก่ การตรวจสอบทางเนื้อเยื่อวิทยา ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

73


เครื่องมือในการตรวจเชื้อก่อโรค สำหรับตรวจติดตามการปนเปื้อน ของเชื้อในระบบการเลี้ยง และลูกกุ้ง

(Histopathology) และเทคนิคพีซีอาร์ โดยเฉพาะเทคนิคพีซีอาร์นั้น จะมีความไวสูง สามารถ ตรวจสอบได้ในขณะที่เริ่มติดเชื้อ ซึ่งยังมีปริมาณเชื้อในระดับต่ำ จึงเหมาะสมสำหรับใช้ในการ คัดกรองลูกกุง้ ตรวจอาหารธรรมชาติทจี่ ะนำมาเลีย้ งพ่อแม่พนั ธุก์ งุ้ หรือตรวจติดตามการปนเปือ้ น ของเชื้อในระบบการเลี้ยง

ผลกระทบต่อกุ้ง จากผลการเลี้ยงของฟาร์มที่ประสบปัญหานี้ เมื่อนำผลการเลี้ยงของบ่อที่ไม่พบการติดเชื้อ มาเปรียบเทียบกับบ่อที่พบการติดเชื้อที่ทำการเลี้ยงในช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกัน จะเห็นได้อย่าง ชัดเจนว่าบ่อที่กุ้งมีการติดเชื้อไมโครสปอริเดียจะส่งผลกระทบต่ออัตราการเจริญเติบโต อัตรา แลกเนื้อ การแตกไซส์ รวมทั้งอัตรารอดของกุ้งด้วย ดังแสดงในตารางที่ 1 ตารางที่ 1 ผลการเลี้ยงของบ่อที่พบ และไม่พบการติดเชื้อไมโครสปอริเดีย รายการ จำนวนบ่อ อายุการเลี้ยง อายุที่พบการติดเชื้อไมโครสปอริเดีย อัตรารอด (ร้อยละ) น้ำหนักเฉลี่ย (กรัม) อัตราการการเจริญเติบโต (กรัม/วัน) อัตราแลกเนื้อ การแตกไซส์ (% CV)

บ่อปกติ 6 86 - 99 91.42 ± 11.66 22.55 ± 2.59 0.25 ± 0.04 1.26 ± 0.17 17.79 ± 4.25

ผลการเลี้ยง บ่อติดเชื้อไมโครสปอริเดีย 7 77 - 99 36 - 65 76.67 ± 17.85 14.15 ± 4.37 0.16 ± 0.05 1.69 ± 0.31 22.25 ± 2.39

หมายเหตุ : ลูกกุ้งปล่อยตรง ไม่ได้ผ่านการอนุบาล

ช่องทางการติดต่อ และการป้องกัน ช่องทางการปนเปือ้ นของเชือ้ ไมโครสปอริเดียเข้าสูร่ ะบบการเลีย้ งนัน้ เป็นไปได้หลายช่องทาง โดยช่องทางหลักๆ ได้แก่ การปนเปื้อนของเชื้อที่มากับลูกกุ้งที่ลงเลี้ยง การตกค้างของเชื้อจาก 74 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165


รอบการเลี้ยงที่ผ่านมาที่พื้นผิวบ่อ และการ ปนเปื้อนของเชื้อจากน้ำที่นำมาใช้เลี้ยงกุ้ง ซึ่ง แนวทางในการป้องกันทำได้ดังนี้ 1. ใช้ลูกกุ้งที่ปลอดเชื้อ การจะได้ลูกกุ้ง ที่ปลอดเชื้อนั้นไม่ใช่สิ่งที่ทำกันได้ง่ายๆ จะต้อง เป็นโรงเพาะฟักที่มีความพร้อมในทุกๆ ด้าน รวมทัง้ มีมาตรฐานทีส่ งู ในทุกๆ กระบวนการผลิต โดยโรงเพาะฟักของซีพีเอฟได้ให้ความสำคัญ กั บ การผลิ ต เพื่ อ ให้ ไ ด้ ลู ก กุ้ ง ที่ ป ลอดเชื้ อ เป็ น อย่างมาก โดยเริ่มตั้งแต่พ่อแม่พันธุ์ที่ใช้การ ผลิตปลอดเชื้อ โดยการเลี้ยงในโรงเรือนปิดที่มี ระบบไบโอซีเคียวขั้นสูงสุด จึงไม่มีความเสี่ยง จากการปนเปื้อนของเชื้อ ซึ่งต่างจากการใช้ พ่อแม่พันธุ์ที่คัดมาจากบ่อเลี้ยง ซึ่งมีโอกาส ปนเปื้อนเชื้อได้สูงมาก นอกจากนี้ เพรียง ซึ่ง เป็ น อาหารมี ชี วิ ต สำหรั บ พ่ อ แม่ พั น ธุ์ ก็ จ ะใช้ เพรียงที่ได้จากการเพาะเลี้ยงทั้งหมด จึงไม่มี ปัญหาการปนเปื้อนของเชื้อเหมือนกับเพรียงที่ จับจากธรรมชาติ และก่อนที่จะใช้เป็นอาหาร พ่อแม่พันธุ์ ก็จะมีกระบวนการฆ่าเชื้อก่อน จึง มั่นใจได้ว่าไม่มีการปนเปื้อนของเชื้ออย่างแน่นอน สำหรับกระบวนการผลิตในโรงเพาะฟักก็ เช่นเดียวกัน จะให้ความสำคัญกับการป้องกัน

โรงเรือนปิดสำหรับเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์กุ้ง ด้วยระบบไบโอซีเคียวอย่างเข้มงวดของซีพีเอฟ

การปนเปื้อนของเชื้อในทุกๆ ขั้นตอนการผลิต ตั้งแต่การฆ่าเชื้อในบ่อเลี้ยง โรงเรือน ท่อน้ำ ท่อลม รวมทั้งอุปกรณ์การเลี้ยงต่างๆ เพื่อ ป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อระหว่างรอบการ เลีย้ ง และในระหว่างการเลีย้ ง น้ำทีใ่ ช้ตอ้ งผ่าน การบำบัดหลากหลายขัน้ ตอน ทัง้ การตกตะกอน การฆ่าเชื้อด้วยสารเคมี และการกรอง ทำให้ น้ำที่ได้ปลอดเชื้อ โดยน้ำที่จะนำมาใช้ในการ เลี้ยงจะต้องมีการตรวจสอบว่าปลอดเชื้อก่อน นำมาใช้ทุกครั้ง นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญ เป็นอย่างมากกับการตรวจคุณภาพลูกกุ้งก่อน ที่จะส่งถึงมือเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง โดยเฉพาะ อย่างยิ่งการตรวจเชื้อก่อโรคที่สำคัญทุกชนิด รวมทั้งเชื้อไมโครสปอริเดียด้วย จึงมั่นใจได้ว่า ลูกกุ้งซีพีเอฟทุกชุด ปลอดจากเชื้อก่อโรคอย่าง แน่นอน 2. การกำจัดเชือ้ ทีพ่ นื้ ผิวบ่อเลีย้ ง จะพบ ว่าเลนทีพ่ นื้ บ่อเป็นทีส่ ะสมของสปอร์เชือ้ ไมโครสปอริเดียเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บ่อที่ในรอบการเลี้ยงที่ผ่านมา ประสบปัญหา กุ้งในบ่อติดเชื้อนี้ จึงต้องทำการฉีดเลนเพื่อนำ เลนไปทิ้งยังบ่อเก็บเลนให้หมด รวมทั้งทำการ ฆ่ า เชื้ อ ด้ ว ยสารเคมี ก่ อ นการเติ ม น้ ำ สำหรั บ เตรียมเลีย้ งกุง้ โดยบ่อพีออี าจสเปรย์ดว้ ยคลอรีน 2,000 พีพเี อ็ม และโซดาไฟ (NaOH) 1,0002,000 พีพเี อ็ม เพือ่ ให้ได้คา่ พีเอชสูงกว่า 12 ซึง่ จะมีฤทธิใ์ นการฆ่าสปอร์ โดยผูป้ ฏิบตั งิ านจะต้อง สวมอุปกรณ์ป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดอันตรายจาก สารเคมี ส่วนในกรณีของบ่อดินนั้น อาจจะใช้ ปูนแคลเซียมออกไซด์ (CaO) ในอัตราส่วน 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ หรือมากกว่า

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

75


3. การกำจัดเชื้อในน้ำ ดังที่กล่าวแล้ว ว่า สปอร์ของเชื้อนี้มีความทนทานต่อสารเคมี ต่างๆ จึงต้องใช้ความเข้มข้นที่สูงกว่าปกติใน การกำจัด ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนักกับสภาพ การเลี้ยงที่เป็นบ่อขนาดใหญ่ซึ่งต้องใช้ปริมาณ น้ ำ มาก ดั ง นั้ น จึ ง ต้ อ งใช้ ห ลากหลายวิ ธี ก าร ร่ ว มกั น เพื่ อ ลดการปนเปื้ อ นของเชื้ อ ให้ เ หลื อ น้อยที่สุด โดยเริ่มตั้งแต่การตกตะกอนน้ำก่อน นำไปใช้ เพื่อให้สปอร์ของเชื้อที่เกาะอยู่กับสาร แขวนลอยต่างๆ ในน้ำ เกิดการตกตะกอนให้ได้ มากที่สุดก่อนดูดน้ำส่วนใสไปใช้ ในการเพิ่ม ประสิทธิภาพของการตกตะกอนนั้นอาจใช้สาร ช่วยตกตะกอน เช่น โพลีอลูมิเนียมคลอไรด์ (Polyaluminium Chloride, PAC) ทีค่ วามเข้มข้น 25 พีพีเอ็ม นอกจากการตกตะกอนแล้ว ใน การสูบน้ำจากบ่อหนึ่งไปยังอีกบ่อหนึ่งอาจใช้ ถุงกรอง หรือใยฟู กรองตะกอนเล็กๆ ทีย่ งั หลง เหลืออยู่ออกให้ได้มากที่สุด สำหรับการใช้สาร เคมี ใ นการฆ่ า เชื้ อ ในน้ ำ นั้ น โดยทั่ ว ไปจะใช้ คลอรีน 30-35 พีพีเอ็ม ซึ่งอาจเพิ่มประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อของคลอรีนโดยการใช้ร่วมกับ กรดเกลือ เพื่อให้พีเอชน้ำต่ำกว่า 5 ทำให้ ประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อของคลอรีนสูงขึ้น โดย ความเข้มข้นของกรดเกลือที่ใช้อยู่ในช่วง 50150 พีพีเอ็ม เมื่อคลอรีนสลายตัวแล้วจะต้อง ทำการปรับค่าพีเอชน้ำให้ขนึ้ มาอยูใ่ นเกณฑ์ปกติ ด้วยโซดาไฟ 50-150 พีพีเอ็ม รวมทั้งปรับค่า อัลคาไลนิตี้ในน้ำให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน เนื่ อ งจากลั ก ษณะของโรคนี้ เ ป็ น แบบ เรื้อรัง โดยจะมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโต ของกุง้ เป็นหลัก ซึง่ ผลกระทบจะมาก หรือน้อย ขึน้ อยูก่ บั ระยะเวลาการเลีย้ งกุง้ หลังจากพบการ 76 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165

ติดเชื้อแล้ว ถ้ายิ่งต้องเลี้ยงยาวขึ้นเท่าไหร่ ก็ จะยิ่ ง ส่ ง ผลกระทบที่ รุ น แรงมากขึ้ น ดั ง นั้ น การติดเชื้อในกุ้งเล็กจึงสร้างความเสียหายที่ รุนแรงกว่าการพบในกุ้งใหญ่ที่มีขนาดใกล้จับ แล้ว จากเหตุผลข้างต้น เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งจึง สามารถลดผลกระทบที่เกิดจากโรคนี้ได้ดังนี้ · การอนุบาลลูกกุง้ การอนุบาลลูกกุง้ เป็นเวลา 25-30 วัน ทีค่ วามหนาแน่น 1,0002,000 ตัวต่อตันน้ำ จะได้กุ้งขนาดประมาณ 1 กรัม สำหรับปล่อยลงบ่อเลี้ยง ซึ่งหลังจาก ปล่อยลงบ่อเลีย้ งแล้ว 1 เดือน จะได้กงุ้ น้ำหนัก ประมาณ 10-12 กรัม ในขณะที่ลงลูกกุ้ง พีแอล 12 โดยไม่อนุบาล จะได้กุ้งที่มีน้ำหนัก เพียง 2-3 กรัมเท่านั้น ถ้าพบการติดเชื้อหลัง จากลงกุ้งแล้วมากกว่า 30 วัน ซึ่งเป็นช่วงที่มี โอกาสพบโรคนีไ้ ด้มากทีส่ ดุ บ่อทีล่ งลูกกุง้ อนุบาล จะใช้เวลาเลี้ยงอีกเพียงช่วงสั้นๆ ก็สามารถจะ จับกุง้ ได้แล้ว แต่บอ่ ทีล่ งลูกกุง้ พีแอล 12 จะต้อง ใช้ระยะเวลาอีกหลายสัปดาห์จงึ ได้รบั ผลกระทบ ที่รุนแรงกว่ามาก อย่างไรก็ตาม การลงลูกกุ้ง อนุ บ าลจะต้ อ งปลอดเชื้ อ การป้ อ งกั น การ ปนเปือ้ นของเชือ้ ในช่วงการอนุบาลจึงเป็นปัจจัย สำคัญที่จะต้องคำนึงถึง · ใช้ลกู กุง้ สายพันธุท์ โี่ ตเร็ว นอกจาก การอนุบาลลูกกุ้งเพื่อให้กุ้งมีอัตราการเจริญ เติบโตที่สูงขึ้นในบ่อเลี้ยงแล้ว การเลือกใช้สาย พันธุ์กุ้งที่โตเร็วก็เป็นอีกวิธีหนึ่งในการลดผล กระทบที่เกิดจากโรคนี้ โดยซีพีเอฟได้ทำการ พัฒนาสายพันธุ์กุ้งขาวมากกว่า 10 ปีแล้ว ทำ ให้ได้สายพันธุ์กุ้งขาวที่โตเร็ว และเหมาะสม กับสภาพการเลีย้ งในเมืองไทย จึงเป็นทีย่ อมรับ กันทัว่ ไปว่า ลูกกุง้ ซีพเี อฟมีอตั รการเจริญเติบโต


สู ง โดยปั จ จุ บั น อั ต ราการเจริ ญ เติ บ โตของลู ก กุ้ ง อนุบาลซีพีเอฟในสภาพการเลี้ยงจริงจะสูงถึง 0.4 กรัมต่อวัน ดังนั้น การเลือกใช้สายพันธุ์กุ้งที่โตเร็ว ร่วมกับการจัดการที่เหมาะสมก็จะช่วยลดผล กระทบจากโรคนี้ได้เป็นอย่างมาก · การกำจัดตะกอนเลนในบ่อ จากการทีส่ ปอร์ของเชือ้ นีถ้ กู ขับออกมาจาก กุ้งป่วย โดยปนออกมากับขี้กุ้งเข้าสู่สภาพแวดล้อมในบ่อ เมื่อกุ้งตัวอื่นได้กินสปอร์ เข้าไปก็จะทำให้เกิดการติดเชื้อ และแพร่ระบาดในบ่อต่อเนื่องไป ดังนั้น การลด การสะสมของขี้กุ้งในบ่อก็จะเป็นการลดปริมาณเชื้อในบ่อ ทำให้สามารถลดอัตรา การติดเชื้อของกุ้งในบ่อลง จะเห็นได้ว่าโรคติดเชื้อไมโครสปอริเดีย เป็นอีกโรคหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อ การเลีย้ งกุง้ อย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในแง่ของอัตราการเจริญเติบโต ดังนัน้ เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งจะต้องให้ความสำคัญกับการป้องกัน และควบคุมโรคนี้อย่าง จริงจังเพือ่ ลดผลกระทบทีจ่ ะมีตอ่ ผลผลิตกุง้ โดยเฉพาะอย่างยิง่ การให้ความสำคัญ กับการใช้ลกู พันธุก์ งุ้ ทีป่ ลอดเชือ้ ซึง่ เป็นปัจจัยทีส่ ำคัญทีส่ ดุ ปัจจัยหนึง่ ทีม่ ผี ลต่อความ สำเร็จในการเลี้ยงกุ้ง ดังนั้น เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งจะต้องพิจารณา และเลือกใช้ลูก พันธุ์กุ้งอย่างรอบคอบ ไม่ควรพิจารณาในแง่ของราคาเป็นประเด็นหลัก แต่ควร พิจารณาถึงคุณภาพของลูกกุ้ง โอกาสของความสำเร็จในการเลี้ยงด้วย ก็จะพบว่า การเลือกใช้ลกู กุง้ ทีม่ คี ณ ุ ภาพสูง และมีโอกาสของความสำเร็จในการเลีย้ งสูง จะให้ ผลตอบแทนที่คุ้มค่ากว่าอย่างแน่นอน

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

77


Around the World

งานวันกุ้งกระบี่ 58

เน้น...เทคนิคเพื่อความยั่งยืน เมือ่ วันที่ 14 พฤศจิกายน 2558 ทีผ่ า่ นมา ชมรมเกษตรกรผูเ้ ลีย้ งกุง้ จังหวัดกระบี่ ร่วมกับกรมประมง จัดงานวันกุ้งกระบี่ ปี 58 ครั้งที่ 16 ภายใต้หัวข้อ “ค้นหาวิถี หนีขาดทุน เพิ่มผลผลิต เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” ณ โรงแรมกระบี่เมอร์รี่ไทม์ ปาร์ค & สปา รีสอร์ท จ.กระบี่ โดยได้รับ เกียรติจาก ดร.จูอะดี พงศ์มณีรัตน์ รองอธิบดีกรมประมง เป็นประธาน เปิดงานฯ โดย ดร.จูอะดี พงศ์มณีรัตน์ ให้ความเห็นเกี่ยวกับความยั่งยืนของ อุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้ง จำเป็นต้องมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและ กัน ทั้งผู้เลี้ยงกุ้ง ผู้ส่งออก และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องเพื่อหาความสมดุล ระหว่างคำว่าหนีขาดทุน และเพิ่มผลผลิต และเพื่อร่วมมือในการแก้ไขปัญหา ต่างๆ ทีผ่ ลัดเปลีย่ นหมุนเวียนเข้ามาในอุตสาหกรรมกุง้ เสมอ นอกจากนี้ ความ ยั่งยืนมักมาพร้อมกับคำว่าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งถ้าหากเราละเลยก็อาจ จะเกิดปัญหา ไม่ว่าจะเป็นด้านการเลี้ยง หรือโดนเพ่งเล็งจนเป็นเหตุต่อการ กีดกันทางการค้าได้ “ต้องขอขอบคุณทางชมรมฯ กุ้งกระบี่ และสมาพันธ์เกษตรกรผู้เลี้ยง กุ้งไทย ไม่ว่าผู้ประกอบการ หรือว่าอุตสาหกรรมทั้งหลายที่เกี่ยวข้อง ที่ได้ ทำงานร่วมกันมาอย่างต่อเนื่อง...มีอะไรก็พูดคุยกัน มีอะไรก็ชี้แนะกัน เพราะ เราตกลงกันแล้วว่าจะมาร่วมกันพัฒนา การร่วมกันแก้ไข ก็เป็นสิ่งที่ทำให้ พวกเราเดินกันไปด้วยกันได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน”

ที่มา : ข่าวกุ้ง ปีที่ 27 ฉบับที่ 328 เดือนพฤศจิกายน 2558

78 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165


นอกจากนี้ ท่านได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องการทำประมงผิดกฎหมาย กรณีที่ไทยโดนใบเหลืองจากอียู และเรื่องการตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) ไว้อย่างน่าสนใจ “สิ่งเหล่านี้มันเป็นการก้าว หรือพัฒนาในเรื่องธุรกิจการค้า วันนี้ถ้าเรา ไม่เร่ง/ดำเนินการปรับเปลี่ยน ประเทศผู้ซื้อก็ต้องมาบีบเราอยู่ดี... จริงอยู่ เรา ผู้เลี้ยงกุ้งเป็นการผลิตสัตว์น้ำจากการเพาะเลี้ยง ทุกวันนี้เรามีจุดแข็งในเรื่อง ของการตรวจสอบผลผลิตที่ฟาร์มเลี้ยงคือที่ต้นทาง...แต่ด้วยวิทยาการ หรือ โลกที่มีคู่แข่งเยอะ ระบบการตรวจสอบย้อนกลับเราก็ต้องพัฒนาเพื่อให้ทันกับ สถานการณ์... เพราะฉะนั้น การที่พวกเรามาสัมมนาในวันนี้ก็ได้มีโอกาสที่ แลกเปลีย่ นความคิด ความรู้ แล้วก็สอื่ สารข้อมูล เพราะถ้าไม่มาสัมมนา... การ แลกเปลี่ยนข้อมูลในเชิงลึกมันก็ไปไม่ถึง” ด้านอาจารย์ปกครอง เกิดสุข ประธานชมรมเกษตกรผูเ้ ลีย้ งกุง้ จังหวัด กระบี่ ได้กล่าวถึงการจัดงานวันกุ้งกระบี่ครั้งนี้ว่า “จุดเด่นอย่างหนึ่งของผู้ ประกอบอาชีพเพาะเลี้ยงกุ้งไทย คือการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ที่ ตนเองทำสำเร็จไประดับหนึ่งแล้ว มีการช่วยเหลือกัน ไม่ปกปิดประสบการณ์ การรับรูข้ อ้ มูล แล้วปรับตัวได้อย่างเหมาะสม... กุง้ กระบี่ ปี 58 เทคนิคสูค่ วาม ยั่งยืนซึ่งจุดเน้นที่ทำให้เกิดความยั่งยืนคือ ค้นหาวิถี หนีขาดทุน เพิ่มผลผลิต เป็นมิตรกับสิง่ แวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิง่ เรือ่ งสิง่ แวดล้อม หากสิง่ แวดล้อมดี การเลีย้ งก็จะประสบผลสำเร็จได้ไม่ยาก ผูเ้ ลีย้ งจึงต้องมีจติ สำนึกในส่วนนีใ้ ห้มาก ทีส่ ดุ งานฯ ปีนี้ จะเน้นอยูท่ ผี่ เู้ ลีย้ งกุง้ ใน จ.กระบี่ ปรับตัว ปรับปรุงกระบวนการผลิต อย่างไร ที่ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง...มีวิธีการจัดการที่คาดว่าจะเกิด ความมัน่ คงและยัง่ ยืน หลายท่านทีท่ ำได้กอ็ ยากจะถ่ายทอดไปให้คนอืน่ ทำตาม บ้าง...เพื่อให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนในธุรกิจกุ้งต่อไป”

แนวโน้มการผลิต-การตลาดกุ้งไทยสู่ตลาดโลก โดย ดร.สมศักดิ์ ปณีตัธยาศัย นายกสมาคมกุ้งไทย

ปี 2558 คาดการณ์ผลผลิตกุ้งไทยอยู่ที่ประมาณ 250,000 ตัน ซึ่ง มีแนวโน้มการผลิตดีขึ้นกว่าปีที่แล้ว อันเนื่องมาจากการแก้ไขปัญหาเรื่องโรค อีเอ็มเอส ด้วยการจัดการทีด่ ี และพันธุก์ งุ้ ทีม่ กี ารพัฒนาทีแ่ ข็งแรงขึน้ โตไวขึน้ ซึ่งอาจมีผลต่อเนื่อง ทำให้ผลผลิตปี 2559 มีแนวโน้มสูงขึ้นโดยคาดการณ์ ผลผลิตไว้ประมาณ 300,000 ตัน โดยปัจจัยหลักที่มีผลกระทบต่อการผลิต ประการแรกคือเรื่องราคา แม้ค่าเงินบาทในปัจจุบันจะอ่อนค่าลง แต่ราคา ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

79


กุง้ กลับไม่เพิม่ อาจสะท้อนให้เห็นว่าการบริโภคของตลาดโลกมีปญ ั หา ประการ ที่สองคือ ความไม่แข็งแรงของอุตสาหกรรมแปรรูป ซึ่งขณะนี้ต้องเผชิญ ปัญหารุมเร้าด้านแรงงานประมงผิดกฎหมาย ประการสุดท้ายคือ โรคอีเอชพี ซึ่งผู้เลี้ยงกุ้งต้องตระหนักระวังกันมากขึ้น ประเทศที่มีแนวโน้มผลิตกุ้งลดลงในปีนี้ ได้แก่ จีน ผลิตกุ้งลดลง 13% เนือ่ งจากปัญหาเรือ่ งโรค และมาตรการของรัฐฯ ทีเ่ ข้มงวดในเรือ่ งสิง่ แวดล้อม คือต้องมีใบอนุญาตทิง้ น้ำออกจากฟาร์ม และตรวจพบสารตกค้างในกุง้ ส่งออก ขณะที่เวียดนามผลิตกุ้งลดลง 30% เผชิญปัญหาเรื่องโรคอีเอชพี และ อีเอ็มเอส อีกทัง้ โดนซ้ำเติมด้วยราคากุง้ ตกต่ำ ทำให้เกษตรกรขาดทุน ไม่จงู ใจ ในการลงกุ้ง ส่วนประเทศอินเดีย คาดผลผลิตกุ้งลดลง 10% เนื่องจากมี การเสียหายจากโรค ประเทศทีม่ แี นวโน้มผลิตกุง้ เพิม่ ขึน้ ในปีนี้ นอกจากประเทศไทยแล้ว ยังมี อินโดนีเซีย ซึ่งคาดว่าผลผลิตเพิ่มขึ้น 10% เนื่องจากราคากุ้งค่อนข้างดี ไม่เจอกับปัญหาเรือ่ งการกีดกันทางการค้า และรับมือกับปัญหาโรคขีข้ าว โรค ไอเอ็มเอ็นวี ได้ โดยรวมแล้ว ผลผลิตกุ้งโลกในปีนี้ลดลง 6% โดยที่การผลิตกุ้งใน ภูมภิ าคเอเซีย มีแนวโน้มผลิตกุง้ ขนาดเล็กมากขึน้ โดยมีโรคเป็นปัจจัย ทางด้าน อเมริกากลาง จะเน้นผลิตกุ้งขนาดใหญ่ ขณะที่ปรากฏการณ์ เอลนีโญ จะทวี ความรุนแรงมากขึ้น เกษตรกรต้องเตรียมพร้อมรับมือกับปัญหาการขาด แคลนน้ำ ด้านตลาดส่งออกกุง้ ...อียเู ป็นตลาดบริโภคกุง้ ทีใ่ หญ่ทสี่ ดุ ภาวะเศรษฐกิจ ไม่ดีมีผลกระทบต่อการบริโภค ไทยส่งออกกุ้งไปอียูลดลง 50% เนื่องจาก ปัญหาเรือ่ งจีเอสพี ส่วนตลาดอเมริกา ไทยเคยส่งออกกุง้ เข้าสหรัฐฯ 200,000 กว่าตัน ปี 57 ลดลงเหลือ 40,000 กว่าตัน เนื่องจากปัญหาอีเอ็มเอส ส่วนปัญหาด้านแรงงาน-การค้ามนุษย์ ส่งผลกระทบต่อภาพพจน์ของสินค้า ไทย ทางด้านตลาดญี่ปุ่น เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว การส่งออกยังทรงตัว ในส่วน ตลาดจีน การบริโภคมีแนวโน้มเพิม่ ขึน้ มีการแข่งขันสูง โดยเฉพาะกุง้ ทีม่ าจาก อเมริกากลาง อเมริกาใต้ ในเรือ่ งการปฏิเสธการนำเข้าสินค้ากุง้ นัน้ มีรายงานตรวจพบ และปฏิเสธ สินค้ากุ้งแช่แข็งในประเทศผู้นำเข้าต่างๆ จากหลายประเทศในเอเซีย อาทิ มาเลเซีย เวียดนาม อินเดีย จีน และอินโดนีเซีย เนือ่ งจากตรวจพบยาปฏิชวี นะ 80 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165


ตกค้าง คุณสมศักดิ์ ให้ข้อคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า “ประเทศไทย...เป็นที่ยอมรับ ของผูซ้ อื้ เรือ่ งคุณภาพของกุง้ เราไม่มปี ญ ั หาเลย ก็ขอให้พวกเราตระหนักเรือ่ ง การใช้สารตกค้าง พยายามหลีกเลีย่ ง และอย่าใช้ ให้เราพยายามรักษาชือ่ เสียง อันนี้ให้ดี แล้วมันจะส่งผลต่ออุตสาหกรรมกุ้งแน่นอนในอนาคต”

เจาะประเด็นอนาคตกุ้ง มุ่งสู่ความยั่งยืน

โดย คุณบรรจง นิสภวาณิชย์ ประธานสมาพันธ์เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งไทย ประเทศไทยมี ยุ ท ธศาสตร์ ด้ า นภู มิ ป ระเทศเหมาะต่ อ การเลี้ ย งกุ้ ง ภูมอิ ากาศ สภาพแหล่งน้ำธรรมชาติ สภาพดิน แตกต่างกัน ทำให้ประเทศไทย มีเกษตรกรที่มีฝีมือ มีวิธีการเลี้ยงกุ้งที่หลากหลาย แม้พื้นที่เลี้ยงจะมีไม่มาก แต่สามารถผลิตกุ้งได้ถึง 600,000 กว่าตัน ซึ่งเป็นความได้เปรียบของ ประเทศไทย คุณบรรจงได้กล่าวถึงอนาคตกุ้งกุลาดำว่า “ผมคิดว่ากุ้งกุลาดำเป็น ตัวหนึ่งที่กำลังจะเป็นอนาคตของกุ้งไทย เมื่อครั้งก่อนที่ผมไปฟังคลัสเตอร์ กุ้งดำ... มีบริษัทห้องเย็นตอนนั้นเริ่มมาทำโปรดักท์อย่างกุ้งดำเยอะละ... แสดง ว่าปริมาณกุ้งดำแล้วก็ตลาดกุ้งดำต่างประเทศตอนนี้ไม่ได้เฉพาะจีนกินกุ้งเป็น อย่างเดียว จีนก็กนิ กุง้ ตายแล้ว... ทีเ่ กษตรกรคลัสเตอร์กงุ้ ดำกำลังคิดว่าจะผลิต 20,000-30,000 ตัน อาจจะเป็นส่วนแบ่งตลาดประเทศไทย 100,000 ตัน ด้วยซ้ำ” ด้านการผลิตกุ้งขาวของไทย คุณบรรจงให้ความเห็นว่า “ผมว่า ปี 59 ผลผลิตเราจะเพิ่มขึ้นแน่นอน เนื่องจากว่าไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาการ เลี้ยงเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม วิธีการพัฒนาการเลี้ยงโดยใช้หลายๆ หลักการ... ทำให้ผลผลิตกุ้งเราในแต่ละพื้นที่ที่รายงานเข้ามาเมื่อตอนปลายปี 58 ทุก พื้นที่มีผลผลิตเพิ่มขึ้น...เราได้รับความสนับสนุนจากรัฐบาล คือกรมประมง... ยังมีส่วนสนับสนุน...มีพวกค้าปัจจัยการผลิต...มีทั้งสถาบันการศึกษา...และก็มี พวกเรานี่แหละ ชมรม สมาคม องค์กร หรือกลุ่มเกษตรกรทั้งหลาย เรา ช่วยกันแล้ว ตอนนีเ้ ราคิดว่าเราเป็นองค์กรเดียวกัน เราเป็นสมาพันธ์ เรามีการ พูดคุยกัน แลกเปลี่ยนกันตลอดเวลา และก็มีงานวิจัยของหน่วยงานอื่นๆ ที่ สนับสนุนพวกเรา”

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

81


ความยั่งยืนของเกษตรกรกุ้งไทยในปีหน้านั้นจะยั่งยืนได้ 1. สายพันธุ์ กุ้งต้องมีพันธุกรรมที่ชัดเจน ขณะนี้ประเทศไทยมีสายพันธุ์ที่หลากหลาย มีพันธุ์ซีพี ซึ่งนักเลี้ยงกุ้งทั่วโลกรู้จักว่าพันธุ์นี้โตเร็วที่สุดในโลก 2. บริษัทผลิต อาหารสัตว์ของไทยมีความตั้งใจจริงที่จะทำให้กุ้งของเกษตรกรโตเร็ว เลี้ยง แล้วมีภมู ติ า้ นทาน 3. มีการบริหารจัดการในการควบคุมโรคทีด่ ี 4. สิง่ แวดล้อม ซึ่งกรมประมงพยายามรณรงค์ และเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทุกฟาร์มเริ่มมีการ พัฒนาการเลี้ยงกุ้ง และปรับวิธีการเลี้ยง คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม 5. ความ ร่วมมือร่วมใจของผู้ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรม “เป้าหมายสุดท้าย เราต้องผลิตกุง้ ให้ได้คณ ุ ภาพ ปลอดภัย มาตรฐานสูง แล้วก็มีผลผลิตสม่ำเสมอ...ถ้าไม่เกิดความร่วมมือ ภาครัฐไม่เอื้อ เกษตรกร ไม่ร่วมมือ...ห้องเย็นก็ไม่รู้จะเอาอะไรไปขาย ถ้าผลผลิตออกมาดี ห้องเย็น ก็สามารถไปคุยได้...เราก็ไปแข่งขันในตลาดยั่งยืนได้” คุณบรรจงกล่าวทิ้งท้าย

82 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165




Around the World

เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรยื่นหนังสือนายกฯ

ขอคัดค้านการเข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิก TPP

4 ธันวาคม 2558 กำแพงแสน-นายสุรชัย สุทธิธรรม (ที่ 4 จากซ้าย) นายกสมาคม ผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ และ น.สพ.วิวัฒน์ พงษ์วิวัฒนชัย (ที่ 4 จากขวา) ประธานสหกรณ์ การเกษตรปศุสัตว์ราชบุรี จำกัด ร่วมกับ สมาชิกสมาคมและสหกรณ์ผู้เลี้ยงสุกรทั่วประเทศ ยื่นหนังสือคัดค้านการเข้าร่วม “ความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (Trans-Pacific Strategic Economic Partnership Agreement: TPP)” ต่อพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ผ่าน พลเอกปัฐมพงศ์ ประถมภัฏ (ที่ 3 จากซ้าย) ผู้ช่วยรัฐมนตรี ประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทีเ่ ป็นประธานเปิดงาน “วันสุกรแห่งชาติ ครัง้ ที่ 9” เพือ่ แสดง จุดยืนการคัดค้านความตกลง TPP ที่จะส่งผลกระทบต่อผู้เลี้ยงหมูของไทย จากการดั๊มพ์ตลาด เนื้อหมูในส่วนที่เหลือจากการบริโภคของสหรัฐอเมริกาผู้ผลิตรายใหญ่ของโลก ณ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ที่มา : http://www.swinethailand.com/ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

83


นายสั ต วแพทย์ วิ วั ฒ น์ พงษ์ วิ วั ฒ นชั ย ประธานจัดงานวันสุกรแห่งชาติ ครัง้ ที่ 9 กล่าว ระหว่างการยื่นหนังสือคัดค้านผ่านประธาน เปิดงานจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ “ตาม ทีร่ ฐั บาลได้หนั มาพิจารณา “ความตกลงหุน้ ส่วน ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟกิ ” หรือ TPP โดยอยูร่ ะหว่างรอผลการศึกษาเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสียก่อนการตัดสินใจจะเข้าร่วมหรือไม่นั้น เกษตรกรในสายปศุสตั ว์โดยเฉพาะผูเ้ ลีย้ ง สุกรตระหนักดีว่า รัฐบาลมีความพยายามเดิน หน้าเพือ่ สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจของประเทศ แต่เนื่องจากสมาชิกในกลุ่ม TPP ปัจจุบัน มี สหรัฐอเมริกา และแคนาดา ที่โครงสร้างทาง การเกษตรทั้งปศุสัตว์และพืชไร่ที่เหมือนกันกับ ประเทศของเรา โดยเฉพาะการเลี้ยงสุกร การ เลี้ยงไก่เนื้อ หรือแม้แต่การเพาะปลูกข้าวโพด อาหารสัตว์ ที่สมาชิก TPP ทั้ง 2 ประเทศนี้ มีความได้เปรียบ ทัง้ ต้นทุนการผลิตและปริมาณ ที่สามารถผลิตได้ ซึ่งการจะเข้าร่วมหลังจาก ที่สมาชิกบรรลุข้อตกลงไปแล้วนั้น เท่ากับเรา ไม่สามารถที่จะยกกลุ่มสินค้าที่ได้ตกลงกันไว้ แล้วออกได้เลย การที่ประเทศจะเข้าร่วมนั้น ผลที่จะเกิด กับเกษตรปศุสตั ว์ของไทย จะเกิดความเสียหาย อย่างใหญ่หลวง เนื่องจากผู้เลี้ยงสุกรไทยได้ ติดตามเรื่องนี้มาโดยตลอด จึงเห็นว่ารัฐบาล ไม่ควรเข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกกับความตกลงนี้ กลุ่มผู้เลี้ยงสุกรจึงขอแสดงความจำนง ยื่นคัดค้านการเข้าเป็นภาคีสมาชิก TPP ใน ครั้งนี้ โดยขอยื่นหนังสือคัดค้านถึงท่านนายก รัฐมนตรี โดยผ่านกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในวันนี้” 84 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165

จากท่าทีของกลุ่มประเทศสมาชิกความ ตกลงหุ้ น ส่ ว นยุ ท ธศาสตร์ เ ศรษฐกิ จ เอเชี ย แปซิฟิก (Trans-Pacific Strategic Economic Partnership Agreement: TPP) ที่แสดงออก ถึงความต้องการให้ประเทศไทยเข้าร่วมเป็น ภาคี ส มาชิ ก โดยเรื่ อ งดั ง กล่ า วท่ า นนายก รัฐมนตรี ได้ให้ข่าวออกสื่อสาธารณะว่ากำลัง พิ จ ารณาถึ ง ผลดี ผ ลเสี ย ที่ จ ะเกิ ด กั บ ประเทศ หลังการเข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกอยู่นั้น เรือ่ งดังกล่าวสร้างความกังวลต่อเกษตรกรไทยในหลายแขนง และไม่เห็นด้วยต่อการเดิน หน้าของรัฐบาล โดยเฉพาะกรณีทีมเศรษฐกิจ ของรัฐบาลไทยที่สื่อออกข่าวมาในทำนองว่า กำลังเจรจาให้ญี่ปุ่นสนับสนุนการเข้าร่วมของ ไทยเพื่อเป็นภาคีสมาชิก TPP กระบวนการพิ จ ารณาใดๆ ที่ จ ะมี ผ ล กระทบทางเศรษฐกิ จ ทั้ ง ของประเทศ และ ประชาชนในวงกว้าง จะจัดให้มีการร่วมหารือ กับทุกฝ่าย จนกระทัง่ มีกระบวนการทางกฎหมาย สูงสุดที่ได้ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับที่มีการลง ประชามติก่อนมีการประกาศยกเลิกไป และอยู่ ระหว่างกระบวนการจัดทำขึน้ มาใหม่ โดยเหตุผล ของการที่เรื่องดังกล่าวที่เคยถูกบัญญัติไว้ใน มาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย พ.ศ. 2550 (ฉบับประชามติ) เนื่องจาก มีเจตนารมณ์มิให้รัฐบาลกระทำการเบ็ดเสร็จ สร้ า งข้ อ ผู ก พั น ให้ ป ระเทศ ที่ น ำมาซึ่ ง ความ เสียหายกับประชาชนในระยะยาว เฉกเช่นการ ไปตกลงเขตการค้าเสรีกับหลายๆ ประเทศใน อดีตที่เกิดผลกระทบกับอุตสาหกรรมเกษตร บางแขนง เช่น พืช ผัก ผลไม้ และโคนม


ผูเ้ ลีย้ งสุกรทัง้ ประเทศทราบดีถงึ การเดิน หน้าทางเศรษฐกิจของประเทศว่า จะต้องเดิน หน้าไปพร้อมกันในทุกภาคส่วน โดย 9 ใน 12 ประเทศของภาคีสมาชิก TPP ได้มีการทำ ข้อตกลงเขตการค้าเสรีไว้แล้ว ทั้งระดับทวิภาคี และพหุภาคี เช่น AFTA ในกลุม่ ประเทศอาเซียน JTEPA กั บ ญี่ ปุ่ น โดยทุ ก คู่ เ จรจาข้ อ ตกลง มีการพิจารณากรอบการเจรจาการค้าในแต่ละ กลุ่มสินค้าชัดเจนที่คำนึงถึงผลได้ผลเสียของ ประเทศคู่ สั ญ ญา ซึ่ ง จะไม่ เ ป็ น การสร้ า งผล กระทบกับแต่ละอุตสาหกรรมของคูส่ ญ ั ญาทัง้ 2 ฝ่าย โดยที่ผ่านมา ประเทศเรามีประสบการณ์ ที่ ผิ ด พลาดจากข้ อ ตกลงกั บ บางประเทศที่ มี กรอบการเจรจาการค้าทีร่ วมกลุม่ สินค้าทีม่ กี าร ประกอบการเหมื อ นกั น แต่ ต่ า งกั น ที่ ค วาม สามารถในการผลิต จึงเป็นอุทาหรณ์ จนกระทัง่ มี ก ารบั ญ ญั ติ ขั้ น ตอนที่ ร อบคอบขึ้ น ไว้ ใ นรั ฐ ธรรมนูญดังที่กล่าวไว้ข้างต้น

ผลผลิ ต สู ง ขึ้ น ในระดั บ ที่ เ ป็ น ที่ ย อมรั บ ของผู้ บริโภคภายในประเทศ แต่ยังถูกจำกัดการเข้า ถึงการค้าในระดับนานาชาติ ซึ่งได้แก่ การที่ องค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) ซึ่งเป็นองค์การหนึ่งภายใต้การกำกับดูแลของ องค์การสหประชาชาติ ยังไม่รับรองการเป็น เขตปลอดโรคปากและเท้าเปื่อย ซึ่งเป็นปัญหา ต่ออุตสาหกรรมสุกรไทยมาอย่างยาวนาน โดย ปัจจุบัน ถึงแม้เกษตรกรครบวงจรบางส่วน สามารถเข้าสูต่ ลาดระหว่างประเทศได้แล้ว โดย ประเทศผู้นำเข้ารับรองเองโดยการเข้าตรวจ ฟาร์ม โรงเชือด และโรงงานแปรรูปสุกร โดย ไม่ให้ความสำคัญกับการที่องค์การโรคระบาด สัตว์จะรับรองหรือไม่ แต่ยังเป็นส่วนน้อย โดย การรับรองขององค์การนี้ก็เข้าข่ายถูกมองว่า เป็นมาตรการกีดกันที่ไม่ใช่ภาษี (Non-Tariff Barrier: NTB) ของประเทศใหญ่ๆ เช่นกัน แต่ละปีปริมาณการค้าเนื้อสุกร ทั้ง 3 ประเทศใน TPP ประกอบด้วย

สำหรับ 3 ประเทศสมาชิกในกลุ่ม TPP ที่ประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา แคนาดา และ เม็กซิโก ยังไม่บรรลุข้อตกลงเขตการค้าเสรีใน ระดับทวิภาคีซึ่งในบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ได้เริ่มการเจรจากันไปนานแล้ว และ จากการติดตามข่าวนี้ ปรากฏว่าสหรัฐอเมริกา ไม่ได้ให้ความสนใจที่จะเจรจาต่อ โดยหยุดไป ตั้งแต่ปี 2549 ถึงแม้หลังจากนั้นเรามีรัฐบาล จากการเลือกตั้งแล้วก็ตาม โดยสหรัฐอเมริกา หันมาผลักดัน TPP แทน ซึ่งสามารถกำหนด แนวทางเพื่อประโยชน์ของสหรัฐอเมริกาเอง ได้มากกว่า

1. ประเทศสหรั ฐ อเมริ ก า มี ก ารผลิ ต เนื้ อ สุ ก รในเชิ ง การค้ า ระหว่ า งประเทศสู ง ถึ ง ประมาณ 2.4 ล้านตันต่อปี (จากการผลิตเกิน กว่า 11 ล้านตันต่อปี และบริโภคเองประมาณ กว่า 8 ล้านเมตริกตัน) โดยมีหน่วยงานสภา ผูผ้ ลิตสุกรแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา National Pork Producer Council (NPPC) ที่ผลักดัน ให้รัฐบาลสร้างนโยบาย หรือข้อตกลงการค้า ระหว่างประเทศเพือ่ สนับสนุนอุตสาหกรรมสุกร สหรั ฐ ฯ มาตลอดโดยเฉพาะข้ อ ตกลงที่ ผ่ า น TPP

ปัจจุบันอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรของ ไทยมีการพัฒนามาตรฐานการเลีย้ ง มาตรฐาน

2. ประเทศแคนาดา มีการผลิตเชิงการค้า มากกว่าการบริโภคในประเทศสูงถึง 1.2 ล้านตัน ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

85


ต่อปี (ผลิตทัง้ หมดประมาณ 1.8 ล้านตันต่อปี) ซึ่ ง เป็ น ปริ ม าณที่ ท ำตลาดต่ า งประเทศโดยมี หน่วยงานสภาผู้ผลิตสุกรแห่งแคนาดา Canadian Pork Council ที่ผลักดันให้รัฐบาลสร้าง นโยบาย หรือข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศ เพื่ อ สนั บ สนุ น อุ ต สาหกรรมสุ ก รแคนาดามา ตลอดเช่นกัน 3. ประเทศเม็กซิโก มีปริมาณการค้าสุกร (บางส่วนจะนำเข้าเนื้อสุกรจากสหรัฐอเมริกา แล้วแปรรูปเพือ่ การส่งออก) เพิม่ ขึน้ อย่างมีนยั ยะ สำคัญ โดยคาดว่าปี 2559 จะมีปริมาณตลาด ต่างประเทศสูงถึง 190,000 เมตริกตัน (ปรับ ตัวเลขจากเดิมที่ 150,000 เมตริกตัน) ซึง่ มาก กว่าสุกรแปรรูปส่งออกจากประเทศไทย 1112 เท่า โครงสร้างต้นทุนการผลิตในส่วนของพืช อาหารสัตว์ทั้ง 3 ประเทศได้เปรียบเกษตรกร ผู้เลี้ยงสุกรไทยอย่างมาก โดยใช้ตัวเลขเดือน พฤศจิกายน 2558 ข้าวโพดอเมริกาต่อกิโลกรัม 5 บาทต้นๆ ในขณะทีไ่ ทยตอนนีป้ ระมาณ 8.65 บาท ต้นทุนกากถั่วเหลืองของอเมริกาตอนนี้ ประมาณต่อกิโลกรัม 11.20 บาท ในขณะที่ ไทย 17.25 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งนอกจาก ผู้เลี้ยงสุกรไทยจะสู้ไม่ได้ในทุกมิติ เกษตรกร ข้าวโพดไทยก็จะเปลี่ยนไปปลูกพืชเศรษฐกิจ อย่ า งอื่ น อี ก เช่ น กั น เพราะไม่ ส ามารถแข่ ง ขั น ข้าวโพดจากสหรัฐอเมริกาได้ เช่นกัน กรณีการหามาตรการกีดกันทางการค้า อื่นๆ ของสหรัฐอเมริกา และประเทศในยุโรป ก็คอื มาตรการด้านแรงงาน สิง่ แวดล้อม เข้ามา รวมในความตกลงใน TPP ด้วย ซึ่งปัจจุบันจะ เห็นได้ว่าเกษตรกรภาคประมงที่ยังคงต้องแก้ 86 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165

ปัญหาเป็นรายวันกับ ข้อกล่าวหาเรือ่ งค้ามนุษย์ ที่สหรัฐอเมริกาจัดลำดับไทยตาม TIP Report (Trafficking in Persons) อยู่ที่ Tier 3 ซึ่ง จะไม่สามารถส่งออกกุ้ง อาหารทะเลแช่แข็ง เข้าอเมริกาได้อีก หรือแม้แต่ IUU (Illegal Unreported and Unregulated fishing หรือ IUU Fishing) ทีเ่ ป็นมาตรการเพือ่ ปกป้องความ มั่นคงทางอาหารของสหภาพยุโรป ปัจจุบัน สหรัฐอเมริกาได้ร่างกฎหมายเพื่อขจัดการทำ ประมงทีผ่ ดิ กฎหมาย หรือ Presidential Task Force on Combating IUU Fishing เลียนแบบ IUU สหภาพยุโรปขึ้นมาอีก ในขณะที่ ทั้ง สหรัฐอเมริกา และประเทศในสหภาพยุโรป ที่ หันมาเพิ่มน้ำหนักด้านอุตสาหกรรมเกษตรกัน มากขึ้น หลังกลุ่มประเทศเหล่านี้ต่างประสบ กับวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจจากระบบทุนนิยม โดยมุ่งเป้าการตลาดมาที่กลุ่มประเทศในเอเชีย ตะวั น ออก แต่ ก ลั บ กี ด กั น สิ น ค้ า เกษตรจาก ประเทศแถบเอเชียกับสารพัดรูปแบบมาตรการ ที่ไม่ใช่ภาษี โดยไม่คำนึงถึงสิทธิในการเข้าถึง การค้าระหว่างประเทศของกลุม่ ประเทศทีต่ วั เอง กีดกัน ซึ่งนับวันจะเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น นอกจากนี้ TPP เป็นความตกลงที่มี เงื่อนไขเข้าทางประเทศใหญ่ โดยเฉพาะเรื่อง ที่มีลักษณะเป็นมากกว่าเขตการค้าเสรี เนื่อง จากครอบคลุมหลายมิติ ตั้งแต่ การส่ ง เสริ ม การเปิ ด เสรี ท างการค้ า บริการ การลงทุน ซึง่ ประเทศใหญ่จะได้เปรียบ เรื่องขนาดของทุนและเทคโนโลยี ซึ่งคาดว่าจะ มีการสร้างกฎเกณฑ์เพิ่มสัดส่วนการถือครอง หุ้นส่วนของต่างชาติ สิทธิในการถือครองที่ดิน ในประเทศที่เข้าไปลงทุน ซึ่งมีภาพตัวอย่าง


ให้เห็นแล้วจากร่างเงื่อนไขเสรีการลงทุนไทยสหภาพยุโรป ซึ่งกลุ่มผู้เลี้ยงสุกรโดยสมาคม ผูเ้ ลีย้ งสุกรแห่งชาติได้ตอ่ สูจ้ นมีการยกกรอบเสรี การลงทุนออกไปจากกรอบการเจรจา การกำหนดมาตรฐานสิง่ แวดล้อม ทีเ่ ป็น เรื่องที่ประเทศใหญ่ใช้เป็นข้ออ้างตลอด ซึ่ง ไทยเราก็โดนข้ออ้างเรื่องสิ่งแวดล้อมมาแล้ว ประเทศใหญ่จะทำหน้าที่ตรวจสอบ ในขณะที่ เรา หรือประเทศในอาเซียนไม่เคยให้ความสำคัญ กับการตรวจสอบประเทศอื่น มาตรฐานแรงงานที่ไทยยังมีปัญหาเรื่อง การใช้แรงงานทาส ที่ยังติด Tier 3 ซึ่งถือว่า สหรั ฐ อเมริ ก าเล่ น เกมส์ นี้ เพื่ อ กี ด กั น สิ น ค้ า ประมงไทย เพราะเกษตรกรประมงของสหรัฐฯ แข่งขันกับประเทศแถบเอเชียไม่ได้ ซึ่งประเทศ ในอาเซียนโดนการจัดลำดับลักษณะนี้ไปหลาย ประเทศ ซึ่งจุดเริ่มก็เป็นการเข้ามาทำข่าวของ นักข่าวสหรัฐฯ เมือ่ หลายปีกอ่ น ตอนนัน้ ไปเริม่ ว่าเราใช้แรงงานเด็กก่อน

ตลอดจนการปกป้องสิทธิทางปัญญาที่ ประเทศใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกามีสินค้านวัตกรรมที่ ถู ก ละเมิ ด เรื่ อ งทรั พ ย์ สิ น ทางปั ญ ญา ตลอด ซึง่ ประเทศเราก็มกี ฎหมายทรัพย์สนิ ทาง ปั ญ ญา และมิ ไ ด้ ส่ ง เสริ ม ให้ มี ก ารละเมิ ด แต่ ประการใด แต่ทกุ ครัง้ ทีม่ ปี ญ ั หาการละเมิดโดย ผูก้ ระทำความผิด บ่อยครัง้ ทีส่ หรัฐอเมริกาหยิบ ยกมาเป็นข้ออ้างเสมอมา และออกมาตรการลง โทษที่เกิดความเสียหายต่อประเทศในภาพรวม ซึ่งไม่มีความเป็นธรรม อีกทัง้ มีการกำหนดเงือ่ นไขในการลงโทษ ประเทศที่ฝ่าฝืน นี่ก็สร้างบทลงโทษเข้าทาง ประเทศใหญ่ๆ อย่างสหรัฐอเมริกาอีก จึงอาจ กล่าวได้ว่า TPP เข้าข่ายข้อตกลงที่มีแต่ความ เสียเปรียบซึ่งไม่ต่างจากสัญญาทาส เหตุผลทั้งหมดที่ผู้เลี้ยงสุกรทั่วประเทศ หยิบยกมา ถือว่าเป็นมหันตภัยที่มีภาพชัดเจน อยู่เบื้องหน้า จึงขอคัดค้านรัฐบาลไทยอย่าง เด็ดขาด เพือ่ ให้ประกาศชัดเจนว่าจะใช้แนวทาง การค้าเสรี หรือกลุ่มความร่วมมืออื่นๆ เช่น ASEAN+6 หรือ RCEP ที่เป็นความร่วมมือ ที่มีการเจรจามานาน และเป็นกลุ่มเศรษฐกิจที่ ไม่ได้ขัดกันทางผลประโยชน์แก่กันและกันมาก จนเกิดความเสี่ยงอย่างมหาศาลเช่นเดียวกับ TPP

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 165

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2558

87


ขอขอบคุณบริษัทที่ให้ความสนับสนุน และความร่วมมือในการจัดทำวารสารธุรกิจอาหารสัตว์

1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16

บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) บริษัท ซี พี เอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) สมุทรปราการ บริษัท กรุงไทยอาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท อาหารสัตว์ไทยสวนหลวง จำกัด บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ซี พี เอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) สระบุรี บริษัท ท็อป ฟีด มิลล์ จำกัด บริษัท ยูนีโกรอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัท อดิสสิโอ เทรดดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท แลบอินเตอร์ จำกัด บริษัท ฮูเวฟาร์มา (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท เชฟเฟิร์ด เทค คอนซัลแตนซี่ ไพรเวท จำกัด บริษัท เวอร์แบค (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท เวท อะกริเทค จำกัด บริษัท เอ็กซ์โปลิงค์ โกลบอล เน็ทเวอร์ค จำกัด บรูเกอร์ ไบโอสปิน เอจี

โทร. 0-2833-8000 โทร. 0-2680-4580 โทร. 0-2473-8000 โทร. 0-2814-3480 โทร. 0-2632-7232 โทร. 0-2680-4500 โทร. 0-2194-5678-96 โทร. 0-3430-5101-3 โทร. 0-2681-1329 โทร. 0-3488-6140-48 โทร. 0-2937-4355 โทร. 09-2089-1601 โทร. 0-2193-8288-90 โทร. 0-2575-5777-86 โทร. 0-2640-8013 ต่อ 25 โทร. 0-2642-6900




Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.